Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Template_(Ebook แม่ชีไทย) วิจัยปี 66 (24-26 มี.ค.)

Template_(Ebook แม่ชีไทย) วิจัยปี 66 (24-26 มี.ค.)

Published by kannikar[กรรณิการ์] khaw-ngern, 2023-03-23 15:04:30

Description: Template_(Ebook แม่ชีไทย) วิจัยปี 66 (24-26 มี.ค.)

Search

Read the Text Version

บทท่ี 7 การพฒั นาศกั ยภาพดา้ นการสง่ เสริมการรพู้ ระพทุ ธศาสนา โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการส่งเสริมการรู้พระพุทธศาสนาให้กับแม่ชีไทยมี เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรู้ภาษาบาลีและการปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อเพิ่มพูนทักษะและ ประสบการณ์ในหัวข้อ “ภาษาบาลีในชีวิตประจำวัน” จำนวน 15 ครั้ง และ “กรรมฐานใน ชีวติ ประจำวนั ” จำนวน 15 ครง้ั ครง้ั ละ 1.5 ช่ัวโมง มีแม่ชสี นใจลงทะเบียนเขา้ ร่วมโครงการ ตามจำนวนที่กำหนด อบรมแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM โดยจัดให้มีการปฐมนิเทศใน วันที่ วันที่ 9 มีนาคม 2566 เวลา 12.00-13.00 น. ออนไลน์ผ่านระบบ Zoom สำหรับ ขอ้ มูลการจัดกิจกรรมมดี ังนี้ 1) รายละเอยี ดของโครงการ โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพแม่ชีไทยในพุทธศาสนาเถรวาทด้านการ ส่งเสริมการรู้พระพุทธศาสนาและการขับเคลื่อนการทำงานทางศาสนาของชุมชนสตรีใน สงั คมไทย” วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาศักยภาพของแม่ชีด้านการรู้ภาษาบาลีและการปฏิบัติ กรรมฐาน และยังผลประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ เพิ่มพูน ทกั ษะและประสบการณ์ กำหนดวัน เวลา อบรม:

แมช่ ไี ทย 1. หวั ข้อ “บาลีในชีวิตประจำวัน” ระหวา่ งวนั ที่ 13 ม.ี ค.-14 เม.ย.66 (15 ครง้ั ) เรียน ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เวลา 13.30-15.00 น. วิทยากร พระมหาสาโรจน์ ปญฺญาวชิโร (ป.ธ. 9) อบรมออนไลนผ์ ่านระบบ Zoom 2. หวั ข้อ “กรรมฐานในชีวิตประจำวัน” ระหว่างวนั ที่ 14 มี.ค.-15 เม.ย.66 (15 ครั้ง) เรียนทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เวลา 13.30-15.00 น. วิทยากร พระมหานุกูล อภปิ ณฺโณ,(ป.ธ.9), ดร. อบรมออนไลน์ผา่ นระบบ Zoom จำนวนผ้เู ข้าอบรม: หัวขอ้ จำนวน (คน) บาลีในชีวติ ประจำวนั 22 กรรมฐานในชวี ติ ประจำวนั 22 44 รวมท้ังส้ิน ข้อกำหนดในการเข้าอบรม: 1. ผเู้ ขา้ อบรมโปรดเข้าอบรมตามวัน เวลา และหัวขอ้ ทล่ี งทะเบียนรบั การอบรม 2. ผูเ้ ขา้ อบรมตอ้ งรบั การประเมินความรู้กอ่ นและหลงั การอบรม 3. ห้องอบรมออนไลน์จะเปดิ กอ่ นเวลาโดยประมาณ 13.20 น. 4. ขอความร่วมมือในการเปิดกล้องขณะเข้าอบรมและการมีส่วนร่วมในการ แลกเปลยี่ นรู้ 5. หากท่านใดไม่สามารถเข้าอบรมในครั้งต่อไปได้ กรุณาแจ้งวิทยากรให้ทราบ ล่วงหน้า 6. การอบรมทุกครั้งจะบันทึกข้อมูลและเผยแพร่ใน Google Drive, youtube เพื่อ การทบทวนย้อนหลัง 86

แม่ชีไทย ประโยชน์ทไี่ ดร้ บั 1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลีและการปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน ตลอดจนการนำไปประยกุ ต์ใชใ้ นชวี ติ ประจำวันได้ 2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและถ่ายทอดให้กับแม่ชีในสำนัก และการทำงานทเี่ ก้ือกูลตอ่ สงั คมไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ 3. ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับค่าตอบแทนและเกียรติบัตรเมื่อเข้าอบรมครบตาม หลักสูตร 2) แผนการสอน แผนการสอน “ภาษาบาลใี นชวี ิตประจำวนั ” อาจารย์ประจำหลกั สตู รการอบรม: พระมหาสาโรจน์ ปญญฺ าวชิโร (ป.ธ. 9) 87

แมช่ ีไทย ครั้งท่ี วัน/เดอื น/ปี รายละเอียดการสอน 1 จ. 13 มี.ค. 66 สิ่งล้ำคา่ ภาษาบาลี 2 พ. 15 มี.ค. 66 ฝึกอา่ น, เขียนภาษาบาลีอยา่ งงา่ ย 3 ศ. 17 มี.ค. 66 ประวัตนิ ะโม 4 จ. 20 ม.ี ค. 66 ฝกึ แปลคำถวายสงั ฆทาน 5 พ. 22 ม.ี ค. 66 คำไวพจน์ของพระพุทธเจา้ 6 ศ. 24 มี.ค. 66 ศกึ ษาความหมายและคณุ สมบัตอิ บุ าสกอบุ าสกิ า 7 จ. 27 มี.ค. 66 ฝกึ แปล คำถวายขา้ วพระพุทธ 8 พ. 29 ม.ี ค. 66 ฝกึ แปลพุทธศาสนสุภาษติ ขอ้ คิดเตือนใจ 9 ศ. 31 ม.ี ค. 66 วิเคราะหศ์ ัพทว์ า่ “บุญ” ในภาษาบาลี, บญุ กริ ิยาวัตถุ ๑๐ 10 จ. 3 เม.ย. 66 ถอดรหัสคาถา “อุ อา กะ สะ” หวั ใจเศรษฐี 11 พ. 5 เม.ย. 66 หลกั ธรรมครองใจคน 12 ศ. 7 เม.ย. 66 ฝึกแปลบทสวดให้พร 13 จ. 10 เม.ย. 66 ศกึ ษาจำนวนตัวเลขในภาษาบาลี 14 พ. 12 เม.ย. 66 วเิ คราะหศ์ พั ท์สังฆทาน, ถวายอยา่ งไรใหไ้ ด้บญุ สูงสดุ 15 ศ. 14 เม.ย. 66 ฝึกแปลบทสวดอรยิ ธนคาถา 88

แม่ชไี ทย 2) แผนการสอน แผนการสอน “กรรมฐานในชีวติ ประจำวนั ” อาจารย์ประจำหลกั สูตรการอบรม: พระมหานกุ ูล อภปิ ณฺโณ,(ป.ธ.9), ดร. ครง้ั ที่ วัน/เดอื น/ปี รายละเอียดการสอน 1 อ. 14 ม.ี ค.66 ทบทวนความรู้เรือ่ งกรรมฐาน และประเมินความรู้ก่อนอบรม 2 พฤ. 16 ม.ี ค.66 กำหนดดลู มหายใจ (อานาปานบรรพะ) 3 ส. 18 มี.ค.66 กำหนดอิริยาบถใหญ่ (อริ ยิ าบถบรรพะ) 4 อ. 21 ม.ี ค.66 กำหนดดคู วามรสู้ กึ (สมั ปชัญญบรรพะ) 5 พฤ. 23 ม.ี ค.66 กำหนดใสใ่ จสกปรก ไม่สะอาด (ปฏิกูลมนสิการบรรพะ) 6 ส. 25 ม.ี ค.66 กำหนดใสใ่ จ ดนิ นำ้ ลม ไฟ (ธาตุมนสกิ ารบรรพะ) 7 อ. 28 มี.ค.66 กำหนดพิจารณาป่าชา้ 9 (นวสวี ถิกาบรรพะ) 89

แมช่ ีไทย 8 พฤ. 30 ม.ี ค.66 กำหนดตามดอู าการสุข ทุกข์ เฉย ๆ (เวทนาบรรพะ) 9 ส. 1 เม.ย.66 กำหนดตามดใู จ (จติ ตบรรพะ) 10 อ. 4 เม.ย.66 กำหนดตามดูรูป นาม ขนั ธ์ 5 (ขนั ธะบรรพะ) 11 พฤ. 6 เม.ย.66 กำหนดตามดสู ังโยชน์ 10 ผา่ นการรบั รู้ (อายตนบรรพะ) 12 ส. 8 เม.ย.66 กำหนดตามดูกิเลสเครอื่ งกัน้ (นวิ รณบรรพะ) 13 อ. 11 เม.ย.66 กำหนดตามดอู งค์แห่งการรู้แจ้ง (โพชฌงคบรรพะ) 14 พฤ. 13 เม.ย.66 กำหนดตามดูอรยิ สจั 4 (สจั จบรรพะ) 15 ส. 15 เม.ย.66 สรุปบทเรยี นและประเมนิ ผลหลงั อบรม 3) ภาพการจดั กจิ กรรมการเรียน “บาลใี นชีวติ ประจำวนั ” 90

แมช่ ไี ทย 91

แมช่ ไี ทย 4) ภาพการจดั กจิ กรรมการเรียน “กรรมฐานในชีวิตประจำวัน” 92

แมช่ ไี ทย 5) ภาพผู้เข้าอบรมและกจิ กรรมผา่ นหอ้ งเรียนออนไลน์ระบบ ZOOM 93

แมช่ ไี ทย 94

บทที่ 8 กอ่ นจบ: บทสรปุ ทา้ ยเลม่ ก่อนจะจบ บทสรุปท้ายเล่มจะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ แม่ชีไทย ที่ถูกเล่าผ่านตัวอักษรในบทที่ 1 ซึ่งถ้าหากจะย้อนกลับไป ประเทศไทย พบคำว่า “แม่ชี” ปรากฏขึ้นในสมัยอยุธยาตามหลักฐานของชาวตะวันตกที่ได้บันทึกในจดหมายเหตุ ของนิโคลาส์ แชร์แวส์ นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่ติดตามคณะสอนศาสนาคริสต์เข้ามาในสมยั อยุธยา พ.ศ. 2224 และเมื่อ พ.ศ. 2508 คณะแม่ชีคณะหนึ่งมาเรียนบาลีและวิชาการต่าง ๆ ที่มหามกุฎราชวิทยาลัย แม่ชีคณะนี้ได้เดินผ่านจากบางลำพูเพื่อจะไปเรียนที่มหามกุฏราช วิทยาลัยเป็นประจำประชาชนแถวบางลำพูเห็นแม่ชีมีศีลและวัตรปฏิบัติที่ดีงามก็บังเกิด ความศรัทธาภาพลักษณ์ของแม่ชีในสายตาของประชาชน หลังจากนั้นในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ไดม้ กี ารจัดตั้งมลู นิธิ โดยมูลนธิ ิให้ชื่อว่า “มูลนิธิสถาบันแม่ชไี ทย” อยใู่ นพระบรม ราชินูปถัมถ์ มูลนิธิสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จะดำเนินการ เพื่อส่งเสริม กิจการของคณะแม่ชีไทย ให้มีศักยภาพในด้านสถานะทางสังคม การศึกษาอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้มีการตั้งโรงเรียน วิทยาลัยและสถานศึกษาเพื่อเป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้ ท้ัง วิชาการทางโลกและการพระพุทธศาสนา ให้การสนบั สนุนและส่งเสริมการเผยแผพ่ ระศาสนา ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีพระสงฆ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังมีร่องรอยหลักฐานการเปิด ประชุมครั้งแรกของสถาบันแม่ชีไทยโดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหลังจากมีการจัดต้ัง สถาบันแม่ชไี ทย หลังจากนัน้ หากย้อนกลับไปศึกษาเร่ืองราว ประวัติศาสตร์ของสถาบนั แม่ชี

แมช่ ไี ทย ในประเทศไทย สามารถสรุปภูมิหลังชุมชนทางศาสนาของแม่ชีและสตรีไทยที่สำคัญไว้พอ สังเขปได้ 10 สถานท่ี ดงั แสดงไว้ในภาพด้านล่าง ภาพท่ี 7.1 รายช่อื สถาบนั แม่ชไี ทย และผูก้ อ่ ตั้ง/ผู้บรหิ ารทา่ นแรก ลำดับต่อมาจะขอเล่าถึงการสร้างชุมชนและการมีตัวตนของแม่ชีไทย ซึ่งหลักการท่ี แมช่ ไี ทยได้ใชร้ ่วมกันถึงแม้ว่าการอยู่รวมกันจะมีความแตกตา่ งด้วยบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล แตใ่ นทกุ สำนักแมช่ ีจะใช้กฎเกณฑ์ ระเบียบวินยั ในการสรา้ งชุมชน ซ่ึงเป็นเครอ่ื งยึดเหน่ียวท่ี ช่วยจัดการการสร้างชุมชน เป็นภาพสะท้อนทางกายภาพที่ชัดเจน ซึ่งมารยาทและระเบียบ ปฏบิ ัติ คอื วินยั นั่นเอง ในสังคมทกุ สงั คมจะสงบสุขได้ ก็เพราะสังคมนั้นมกี ฎระเบียบควบคุม บุคคลให้เป็นระเบียบ เมื่อความเป็นระเบียบเกิดขึ้นความสามัคคี พร้อมเพรียง เป็นอันหน่ึง อันเดียวกันก็เกิดตามลำดับ ระเบียบปฏิบัติเป็นกระบวนการขัดเกลา กาย วาจา ให้มีความ เป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันความประพฤติไม่ดีไม่งามในหมู่ สถาบันแม่ชีไทยได้กำหนด 96

แม่ชีไทย ระเบยี บปฏบิ ัติ ขอ้ ธรรมทค่ี วรเจริญ ควรละ และขอ้ ธรรมที่ใช้ตรวจศลี ที่ได้ทำการสรุปมาได้ ดงั น้ี ขอ้ ปฏบิ ตั ิ (1) ศีล 8 (2) มารยาท 5 (3) สงั โยค 7 (4) เสขยิ วตั ร 75 มีรายละเอยี ดดงั นี้ ศลี 8 เป็นวินยั ที่จะต้องปฏบิ ตั ิตาม ไดก้ ล่าวศีล 8 ไว้แลว้ ในวธิ ีการบวช มารยาท 5 คอื 1) วา่ ด้วยการยนื เราจะไม่ยนื หนา้ หรือทสี่ ูงกวา่ ผทู้ ่ีบวชกอ่ นตน เวน้ ไวแ้ ตม่ เี หตุจำเป็น หรือสมควร ยนื มสี ตสิ ำรวมกายให้เรียบร้อย 2) ว่าด้วยการเดิน เราจะไม่เดินหน้าผู้ที่บวชก่อน ไม่เดินเป็นหมู่กัน ไม่จำเป็นแลว้ ไม่ เดินเหลียวแลซ้ายขวาหรือเดินพรางพูดพราง ถ้าจะไปแรมคืนต้องลาท่านผู้เป็นหัวหน้าหรือ ผู้ใหญ่เสียกอ่ น ถ้าขัดข้องหรอื ไมม่ ีโอกาส ต้องบอกเพื่อนพรหมจรรย์ให้ทราบ และหากไม่ไป แรมคืนก็ควรบอกเพื่อนพรหมจรรย์ให้ทราบไว้ด้วย ไม่จำเป็นแล้วไม่เดินทางผู้เดียว ต้องมี เพ่ือนพรหมจรรย์หรอื สตรอี ืน่ ที่รู้ความไปด้วยเดินมีสตริ วมกายให้เรียบรอ้ ย 3) วา่ ดว้ ยการน่งั ไมน่ ่ังหนา้ ผูท้ บ่ี วชมากอ่ นตน เมอื่ ตนนงั่ อยถู่ ้ามีผ้บู วชก่อนมา ก็ต้อง ถอยที่ให้นั่ง ทั้งไม่นั่งกั้นทางเดินไปมา นั่งให้เป็นหมวดเป็นหมู่กัน นั่งมีสติสำรวมกายให้ เรียบร้อย 4) ว่าด้วยการนอน ไม่นอนเกะกะ ถา้ หลายรูป ก็ให้นอนเปน็ แถวกนั ไมก่ ลับศีรษะกัน ไม่จำเป็นแล้วไม่นอนมุ้งเดียวกัน เสื่อผืนเดียวกัน และผ้าห่มผืนเดียวกัน ถ้าจำเป็นแล้วนอน ได้เพียง 3 คืนเป็นอย่างมาก นอนโดยจำเป็นต้องระวังอย่าใหถ้ ูกตัวกัน เมื่อจะนอนปิดประตู เสยี ก่อนจงึ นอน กลางคืนตอ้ งใสก่ ลอน ทัง้ ตอ้ งนอนสำรวมกายใหเ้ รยี บร้อย 5) ว่าด้วยการพูด ไม่ชิงผู้ใหญ่ที่บวชก่อนตนพูด ไม่พูดจา กลบเกลื่อนผู้ที่บวชก่อน ตกั เตอื นตนหรอื ผูอ้ ืน่ อยู่ ไม่พดู จาขม่ ขด่ี ุดนั ไม่ชิงพูดประสานเสียงกนั ควรพดู คำทอ่ี ่อนหวาน 97

แมช่ ีไทย ควรฟังหรือคำที่เป็นประโยชน์สอง (ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน) ไม่พูดกับบุรุษเกินกว่า 6 คำ โดยไม่มีเพื่อนพรหมจรรย์ หรือสตรีอื่นที่รู้ความได้ยินด้วย ไม่รับสิ่งของกับมือบุรุษ โดยตรงและไม่ถูกต้องกระทบกายบุรุษ (บุรุษทุกวัยทุกเพศ แม้เป็นญาติ) ผู้ใหญ่ในที่น้ี ประสงค์ผู้ที่บวชมาก่อนตน ถ้าผู้บวชทีหลังแต่มีความรู้และความสามารถในทางธรรม ได้รับ ความยกย่องจากท่านที่เป็นหัวหน้าและที่ประชุมแล้ว ก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่กว่า ต้องยกย่อง ความรคู้ วามสามารถเป็นผใู้ หญ่ สังโยค 7 ผู้ประพฤติในเมถุนวิรัตไม่เสพเมถุนเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้พึงรู้ว่า พรหมจรรยจ์ ะเศร้าหมองด้วยเมถนุ สังโยค 7 คือ 1) จติ กำหนัดยินดใี นเมถุนแลว้ ใชส้ ตรี บุรุษใหป้ ฏบิ ตั ิ นวดเฟ้นและพดั วี 2) จติ กำหนดั ในเมถุนแล้ว ยิม้ แย้มหัวเราะ ลอ้ เลียนกับสตรบี รุ ุษ 3) เพ่งเล็งตาตอ่ ตาของสตรี บุรุษ ด้วยจิตกำหนดั ในเมถุนธรรม 4) ได้ยนิ เสยี งสตรี บุรุษ ขับร้อง เจรจาเกิดความกำหนัดยินดีดว้ ยเมถนุ ราคะ 5) ได้เห็นหรือไดย้ ิน สตรกี ับบุรุษบำเรอกนั ด้วยกามคุณ ด้วยอาการต่าง ๆ ก็เกิดกาม ราคะกำหนดั ในเมถุน 6) ตนแต่ก่อนได้พูดจาแทะโลม สัมผัสกันด้วยสตรี ด้วยบุรุษและคิดถึงเรื่องความแต่ ก่อนน้ันกเ็ กดิ กามราคะกำหนดั ยินดีในเมถุนธรรม 7) ตนได้ทำบุญกุศลอันใดอันหนึ่งไว้ ปรารถนาจะเกิดเป็นเทวดาเสวยสมบัติ คือกาม คุณอันเปน็ ทิพย์ ผู้หวังความสุขความเจรญิ แกต่ น ควรปฏบิ ตั ิให้ไกลจากเมถนุ สงั โยค 7 น้ี เสขิยวัตร 75 วัตรที่แม่ชีจะต้องศึกษาเรียกว่าเสขิยวัตร เสขิยวัตรนั้นจัดเป็น 4 หมวด หมวดที่ 1 เรียกว่าสารูป หมวดที่ 2 เรียกว่าโภชนปฏิสังยุต หมวดที่ 3 เรียกว่าธัมม เทสนาปฏยิ ตุ หมวดท่ี 4 เรียกวา่ ปกณิ ณกะ 98

แม่ชีไทย ภาพท่ี 7.2 กฎเกณฑ์ ระเบยี บวนิ ัย ในการสร้างชมุ ชน ตัวตนของแม่ชีไทยโดยสังเขป อย่างไรก็ตาม บทบาทหลักของแม่ชีไทยในด้านต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็นบทบาท หลัก ๆ 4 ด้าน ได้แก่ 1.แม่ชีสตรีผู้พัฒนาตนเอง นับได้ว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักของแม่ชี ตามข้อจากขอ้ กตกิ า ระเบยี บ วินยั และจรยิ วัตร เพือ่ การสร้างตวั ตนดังได้กล่าถึงไปเรียบร้อย ในบทที่ 3 2. แม่ชีทำครัว นับว่าเป็นบทบาทที่ทุกท่านได้เห็นกันบ่อย ๆ โดยแม่ชีโรงครัวให้ ความหมายของการ ทำครัววา่ เป็นการปฏิบัติธรรม ฝึกฝนตนเอง ขัดเกลากิเลส สะสมบุญให้ มากยิ่งขึ้น 3. แม่ชีนักบริหาร เป็นบทบาทของแม่ชีที่จะมีต่อพระพุทธศาสนาละสังคมมาก ข้นึ ได้แก่ แมช่ ีศนั สนีย์ เสถยี รสุต แม่ชีประยูร ยุวนบณุ ฑ์ และแม่ชหี วานใจ ชูกร ในด้านต่าง ๆ ดังน้ีiii แม่ชีหวานใจ ชูกร เป็นผู้นำในการสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุ เป็นผู้นำการ ดำเนินการเปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตยแ์ ก่ยวุ ชนพุทธศาสนิกชนแห่งเมืองราชบุรี การ จัดฟื้นฟู ประเพณีเทศน์มหาชาติและลอยกระทง เพื่อธำรงรักษาประเพณีท้องถิ่นอันดีงาม แม่ชศี นั สนีย์ เสถยี รสุต ผู้ก่อตั้งเสถยี รธรรมสถานให้เปน็ สถานธรรมใหค้ วามรู้หรอื ปรยิ ัติ การ 99

แม่ชไี ทย ฝึกปฏิบัติหรือปฏิบัติ ด้วยโครงการต่าง ๆ ที่มีผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ แนวคิดต่อพุทธศาสนิกชน เช่น โครงการศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา โครงการชีวิตเพื่อพระธรรม โครงการนักสู้คู้คุณธรรม โครงการอาสาสมัครโลกสวยด้วยน้ำใจ โครงการสร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบครัว และโครงการเผยแผ่สื่อทางธรรมที่ผลิตสื่อธรรมเป็น ธรรมบรรณาการ และแม่ชีประยูร ยุวบุณย์ ที่จัดกิจกรรมเพื่อการปฏิบัติภายในสถานธรรม ของวัด และ 4. แม่ชีดูแลวัดพระสงฆ์ เป็นบทบาทงานดูแลวัดและพระสงฆ์เป็นงานกอง เสบียงในด้านการสนับสนุนวัด ทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่น คือ บำเพ็ญปรัตถประโยชน์แม่ชี ต้อง ทำท้ังประโยชน์ตนและประโยชน์ผอู้ ่ืน นอกจากบทบาทหลักของแม่ชีไทยในด้านต่าง ๆ แม่ชีของไทยยังมีบทบาทของ แม่ชี ด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ กลายเป็นพลังสตรี แม่ชีผู้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ด้วยการเข้าไปมี ส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม การช่วยเหลือสังงคมหรือสงคมสังเคราะห์ ถือว่า เป็นบทบาท หนึ่งที่จำเป็นของมนุษย์ที่ต้องแสดงออกมาในรูปของการกระทำ เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูล สงเคราะห์เพื่อนมนุษยด์ ้วยกัน ให้มีความเป็นอยูด่ ีข้ึน ไม่ว่าในดา้ นวตั ถุสิง่ ของ เช่น มีอาหาร มีที่พักอาศัย มีเสื้อ ผ้าและการช่วยแนะนําสั่งสอนให้เขาเกิดความรู้หรือเกิดปัญญาเพื่อให้ สามารถดำรงชีวิตได้ถูกต้อง โดยสามารถแบ่งงานสร้างประโยชน์ออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1. พลังของสตรี: แม่ชีผู้สร้างประโยชน์ ด้านการศึกษา ปม่ชีของไทยมีส่วนสนับสนุน การศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะการถ่ายทอดบรรยายธรรมะหรือเสวนาธรรม ในวันธรรมสวนะ หรือวันหยุดเพ่ือความรอบรู้ในธรรมและชักนำให้ปฏิบัติธรรมโดยควร ส่งเสรมิ การเรียนธรรม ศึกษา อภิธรรม บาลีศึกษา เป็นต้น 2.ด้านการบริการสังคมสงคราะห์ เช่น เข้าร่วมกับสภา สังคมสงเคราะห์ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสังคมเช่นการจัดสิ่งของบริจาคแก่ผู้เดือดร้อน ประสบภัยต่าง ๆ การดูแลเด็กกำพร้าต่าง ๆ การดูแลแม่ชีชราการช่วยเหลือพยาบาลผู้ป่วย อนาถาเป็นต้น 3. ด้านการเผยแพร่ศาสนา ด้วยการสอนพระอภิธรรมให้กับพุทธศาสนิกชน 100

แมช่ ไี ทย ที่โรงเรียนอภิธรรมโชติกวิทยาลัยภายในวัดมหาธาตุฯ การสอนพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และการออกไปจัดการสอนปฏิบัติธรรมทั้งในกรุงเทพและ ต่างจังหวัด อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการเป็นผู้ช่วยสอนการปฏิบัติธรรมให้กับวัดมหาธาตุฯ 4. ด้านการปกครอง มีการออกกฎ ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของแม่ชีทั่ว ประเทศตามคู่มือ (ระเบียบสถาบันแม่ชีไทย) และ 5. ด้านการอุปถัมภ์ชุมชน การบำเพ็ญ ประโยชน์เพื่อผู้อื่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลก ที่พึงจะปฏิบัติต่อกัน พยายาม ช่วยเหลือผ้อู ่ืนโดยเฉพาะผูท้ ่ไี ด้รบั ความทุกขค์ วามเดอื ดร้อน โดยมวี ัตถุประสงค์ให้เยาวสตรีมี บทบาททั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมตามกำลังความรู้ความสามารถของตนเองที่พึงทำได้โดย ไม่ผิดศลี ธรรม เมื่อได้ทราบบทบาทหน้าที่หลักในด้านต่าง ๆ ของแม่ชีไทย และพลังในการสร้าง ประโยชน์ต่อสังคม ทำให้สามารถมองเห็นศักยภาพ และคุณค่าของแมช่ ีไทยท่ีชว่ ยทำใหพ้ ลงั ของสตรเี ปน็ พลังที่ยิง่ ใหญใ่ นการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดขี น้ึ ได้ อย่างไรกต็ าม อย่างไรก็ตามจากผลการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างแม่ชีไทยใน 10 สำนัก ทำให้เกิดข้อ ค้นพบว่า แม่ชีของไทยมีศักยภาพด้านที่มีคุณค่า ในส่วนของความรู้เฉพาะด้าน (Knowledge) อาทิเช่น ความรู้ ด้านภาษาบาลี ปฏิบัติกรรมฐาน แต่ศักยภาพด้านอื่น ๆ ท่ี สามารถเพิ่มพูนให้ แม่ชีเองก็ต้องพัฒนาเปลี่ยนจุดสนใจ เปลี่ยนตัวเองเพื่อรับการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้การทำงานในหน้าที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นำไปสู่การจุด ประกาย จูงใจ สร้างความภาคภูมิใจในศักยภาพแม่ชีไทย ได้แก่ การเพิ่มโอกาสให้แม่ชีได้ เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology) การนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ปัจจุบัน ได้ถูกนำมาเผยแผ่บนอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และ E-Learning ในรูปแบบหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ E-Book ตลอดจนการเพิ่มเติมความสามารถด้านภาษาต่างประเทศของแม่ชี 101

แมช่ ีไทย ซึ่งเป็นการขยายการรับรู้ เพิ่มเติมไปในนานาประเทศ หากเกิดการบูรณาการกันระหว่าง ศักยภาพเดิมที่มีอยู่ กับศักยภาพด้านใหม่ ๆ ที่ต้องรีบเร่งพัฒนาจะก่อให้เกิดประโยชน์ มากมายมหาศาล ดังคำกล่าวของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึง ศกั ยภาพของมนุษย์ คือจุดเรมิ่ ของพระพุทธศาสนา ทา้ ยทีส่ ุดนอกจากการคุณค่าและศักยภาพของแมช่ ีไทยที่เป็นพลังขับเคล่ือน ในบทท่ี 6 ยังกล่าถึง แม่ชีไทย ก้าวต่อไปของการทำงาน มุ่งพัฒนาและแก้ปัญหาสังคมไทย โดย ข้อสังเกตและมุมมองจากการทบทวนวรรณกรรมและผลจากการสัมภาษณ์งานวิจัยเชิง คุณภาพทำให้เห็นถึงพลังของแม่ชีในการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อเกื้อกูลสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ที่มากกว่าข้อวัตรปฏิบัติและความรู้ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน จากนี้ผู้เขียนจะขอเล่าถึง บทบาทของแม่ชีที่สำคัญที่จะกลายเป็นก้าวต่อไปของการทำงาน มุ่งพัฒนาและแก้ปัญหา สงั คมไทยโดยก้าวแรกของแมช่ ีไทย คอื การทำงานดา้ นการศึกษา มุง่ พฒั นาต้นทุนมนุษย์ อย่างยั่งยืน การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล และสังคม โดยการถ่ายทอดความรู การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การ สร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัด สภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นการ พัฒนาต้นทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแม่ชีไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทั้ง 3 รปู แบบ คอื 1.การศกึ ษาในระบบ 2.การศึกษานอกระบบ และ3.การศึกษาตามอัธยาศยั สว่ น ก้าวถัดไปแม่ชีไทย สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ชุมชน การนำความรู้ ความสามารถของแม่ชี ที่ ไม่ได้เป็นเพียงการทำครัว ไปแสดงพลังของการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการอบรมให้เกิด วชิ าชีพ นำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับคนในสังคม 3. ก้าวทส่ี าม ตำรบั ยาไทย สูงวัยห่างไกล โรค เป็นโครงการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ชาวบ้าน เฉพาะกลุ่มได้แก่โครงการอบรม 102

แม่ชีไทย ผู้สูงอายุ โครงการสุขภาพชุมชน และโครงการอบรมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร รกั ษาโรค ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า แม่ชีของไทยเป็นชุมชนของสตรีที่มีพลังมหาศาลในการมีพื้นที่ ของตนเองในการขัดเกลาตนเอง และมีบทบาทหน้าทีหลักในการช่วยขับเคลื่อนสังคม สร้าง ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ผ่านการเป็นแบบอย่างที่ดี การให้ความรู้ ตลอดจนสามารถสร้าง โอกาสให้กับสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูงอย่างประเทศที่คนฐานะอยากจนมีจำนวน มากกวา่ คนรวย ได้รบั โอกาสท่ที ดั เทยี ม โดยเฉพาะกลุม่ สตรนี ั่นเอง 103





ภาคผนวก

ความสาคญั ของชมุ ชนทางศาสนาของสตร:ี ความเป็ นตวั ตนและศกั ยภาพดา้ นการสง่ เสรมิ การรพู้ ทุ ธศาสนา และการขบั เคล่อื นการทางานทางศาสนาของชมุ ชนสตรใี นสงั คมไทย The significance of female monasticism in Thailand: a historical and ethnographic investigation of Thai mae chis’ socio-religious roles and statuses and their importance in the creation of Buddhist knowledge and community building

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทย.าศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook