แมช่ ีไทย พระราชกวี (พระอุบาลีคุณูปมาจารย์) ได้ตั้งข้อกติกาสำหรับเนกขัมมาภิรมณ์สถาน ประกาศไวเ้ ม่ือ 1 กนั ยายน รัตนโกสนิ ทรศก ร.ศ. 128 หรอื พ.ศ. 24523 มีความวา่ ใหผ้ ูท้ ีม่ า อาศยั อยู่ประพฤตติ ามใหถ้ ูกตอ้ งตามขอ้ กตกิ าตอ่ ไปน้ี ข้อหา้ มกายกรรม 1) ให้รู้กันทั่วว่า เนกขัมมาภิรมย์สถานนี้ เป็นที่ธรณีสงฆ์วัดบรมนิวาส ผู้ที่จะมาอยู่ ต้องได้รับอนุญาตแต่เจา้ อาวาสกอ่ น ถา้ เจ้าอาวาทเห็นวา่ เปน็ คนไม่ควรอยู่ จะบงั คับให้ไปเสีย จากท่ีน้ีเมื่อไรก็ได้ 2) หา้ มมใิ หเ้ บียดเบยี นผู้อน่ื มที ุบตี เปน็ ต้น 3) หา้ มมใิ ห้ฉอ้ โกงลกั ขโมยของผูอ้ ืน่ 4) ห้ามมใิ หค้ บชแู้ ลผัวและเปน็ คนชักสอื่ ใหเ้ จา้ บ่าวเจา้ สาว ข้อหา้ มวจกี รรม 5) หา้ มไมใ่ หพ้ ดู ล่อลวงอำพรางเปน็ คำเท็จ 6) ห้ามไม่ให้ด่าเสียดสี หยาบคายแก่ผู้อน่ื 7) หา้ มไม่ใหเ้ ก็บเอาเรอื่ งคนอนื่ ซงึ่ เป็นข้อติเตยี นนนิ ทาท่าน มาพูด 8) ห้ามไมใ่ หพ้ ูดอวดดเี ลอะเทอะเหลวไหลหาเปน็ ประโยชน์ตนประโยชนท์ า่ นมไิ ด้ ข้ออนญุ าตให้ประพฤติ 1) ให้ชว่ ยกิจการงานท่ีเกิดข้ึนแก่กันแลกันใหส้ ำเร็จ 2) ให้ช่วยแนะนำตักเตือนซึ่งกันแลกันอย่าให้ทำความผิด ส่วน ผู้ผิดก็อย่าดื้ออย่า เถยี ง ให้ถอื เอาตามสว่ นท่ถี ูก 3) ใหเ้ ก้ือกลู แกก่ นั แลกันตามได้ตามมี อย่าตระหนห่ี วงแหนแตค่ นผ้เู ดยี ว 4) ให้เคารพยำเกรงซึ่งกันและกันตามวุฒิแลวัย อย่าเป็นคนกระด้างด้วยทิฏฐิมานะ ใหเ้ ป็นคนว่างา่ ยสอนง่าย 34
แม่ชไี ทย 5) ใหต้ งั้ ตนเป็นคนดี อยา่ ทำบาปในที่ลบั ให้เพอื่ นบา้ นเกลียดชงั 6) ให้รู้ตนเสมอว่า มาอยู่ในที่นี้ประสงค์จะมาประพฤติตนเป็นคนดี ไม่ได้มาเพื่อลาภ ยศสรรเสริญ 7) จะไปมาทางใดใหบ้ อกลาซง่ึ กนั แลกนั อยา่ หนีไปเฉย ๆ 8) ผมู้ าอย่ใู นท่ีนี้ ต้องเป็นคนมศี ลี มสี จั หัดกายวาจาให้เรียบร้อย ผู้ใดประพฤติล่วงข้อ ห้าม ไม่ทำตามข้ออนุญาตดังที่มีไว้นี้ ให้พึงรู้ตนว่าเป็นผู้ไม่ควรอยู่ในเนกขัมมาภิรมย์สถาน แหง่ นี้ ให้จัดแจงหนีไปโดยเรว็ ถึงไมไ่ ปเจ้าอาวาสกจ็ ะไล่ เป็นอันอยู่ไม่ได้ 2.3 ข้อกติกา ระเบยี บ วนิ ยั และจริยวัตร: สำนกั แม่ชีสงบจิตต์ ศีลและข้อกติกา สำหรับแม่ชีสำนักสงบตจิตต์ ใช้สำหรับอ่านในวันประชุมวันที่ 1 และวันที่ 15 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรนิ ทราวาส ได้เมตตาตรวจ แก้ มรี ายละเอียด ดงั น้ี แมช่ ีสำนกั สงบจิตต์ ตอ้ งรักษาสิกขาบททัง้ 8 และขอ้ กตกิ าอกี 4 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เรยี กว่า เมถนุ าจาร โทษ 10 ประการ หมวดที่ 2 เรยี กวา่ กายสมาจาร โทษ 8 ประการ หมวดท่ี 3 เรียกว่า วจสี มาจาร โทษ 13 ประการ หมวดที่ 4 เรยี กวา่ อะโคจาร โทษ 7 ประการ การรักษาสิกขบททั้ง 8 เรียกว่า สมาทานศีล และการรักษาข้อกติกา เรียกว่า สมาทานวัตต์ ศีล 8 กับทั้งวัตต์สมาทาน 38 ข้อนี้ เป็นหน้าที่ของชี จะพึงสมาทานสำรวม รกั ษาไวใ้ ห้บริสุทธิ์ในสิกขาบททั้ง 8 ถ้าขาดในสิกขาบทใดก็ตามตอ้ งต้ังใจสมาทานใหม่ ศีลจึง จะบริสุทธิ์ได้ต่อไป ส่วนวัตต์สมาทาน 38 ข้อนั้น ชีเป็นโทษในข้อใด พึงเปิดเผยข้อนั้นใน เพื่อนพรหมจาริณีผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว พึงตั้งใจสำรวมระวังต่อไป เป็นอันพ้นโทษบริสุทธิ์ได้ ถ้าชี 35
แมช่ ไี ทย ผู้ใดแกล้งล่วงในศีล ได้ชื่อวา่ เป็นผู้เสียศลี ถ้าแกล้งล่วงในวัตต์คือขอ้ ห้ามรู้ตัวแลว้ ไม่เห็นโทษ ไม่เปิดเผยแสดงโทษของตน เพื่อความสำรวมระวังต่อไป ได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสัจจ์ ในผู้ที่ได้ สมาทานศีลและวัตต์ จงึ ควรตัง้ ใจปฏิบัติใหจ้ ริงจัง สมดงั ความต้ังใจของตนว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติ ละโทษ ทำตัวให้เป็นผู้บริสุทธิ์พ้นโทษทั้งปวง สิกขาบททั้ง 8 และข้อกติกา 38 ข้อ4 จาก การศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ยังพบว่า สำนักแม่ชีสงบจิตต์ มีคำประกาศสีลวัตต์ที่ประกอบการ พิจารณาวา่ จะขาดหรอื ไมข่ าดนัน้ ด้วยการตดั สินตามองค์5 2.4 ขอ้ กตกิ า ระเบียบ วนิ ัย และจรยิ วัตร: สำนกั แม่ชศี าลาสันตสิ ุข ระเบียบกติกาในการรับสตรที จ่ี ะเข้ามาอยู่ในสำนกั แมช่ นี ้ัน จะดำเนนิ การดงั ตอ่ ไปน้ี 1) ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการจะรบั สตรผี ูท้ ีจ่ ะมาอยใู่ นสำนักน้ี ตอ้ ง ใหม้ ผี ปู้ กครองมาฝากและต้องไดร้ บั อนญุ าตดว้ ย 2) ควรรับคนอายุอย่างน้อยตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปและต้องอยู่ศึกษาขนบธรรมเนียม ระเบยี บตา่ ง ๆ ก่อนจึงจะพจิ ารณาให้นุง่ ขาว 3) เมื่อผ่านการฝึกหัดพอสมควรตามข้อ 2 ในเบื้องต้นแล้วนั้น ประธานกรรมการพึง อนุญาตขอรับศีล 8 จากเจา้ อาวาส 4) หมั่นศกึ ษาหาความรจู้ ากประธานและคณะกรรมการเพ่อื พฒั นาตนอยตู่ ลอดเวลา 5) หากพบว่ามผี ู้ที่ประพฤติไม่ควรหรือไม่ปฏบิ ตั ิตามขอ้ กติกา จะนำเข้าท่ีประชุมเพื่อ กล่าวตักเตือนและรับการพิจารณายกโทษ ให้โอกาสหรือลงทัณฑกรรมตามมติที่ประชุม เหน็ สมควร 6) สำหรับผู้ท่ีนุ่งขาวมาแลว้ และมาจากทอ่ี ื่น จะมาขอพักอยู่อาศัยน้ัน ผู้เป็นประธาน และรองประธานเป็นผสู้ อบถามข้อมลู และพจิ ารณา 7) ผู้ที่ได้ศึกษาในข้อกติกาแล้ว ต้องหมั่นตรวจในข้อที่จะบอกบริสุทธิ์ 4 อย่าง คือ มรรยาท 4, กรรมบถ 10, ศลี 8 หรือ 10 และ เมถุนสังโยค 76 36
แมช่ ไี ทย 2.5 ขอ้ กตกิ า ระเบียบ วินยั และจริยวตั ร: สำนกั แม่ชวี ัดเสนหา สำนักแมช่ วี ดั เสนหา ได้ประกาศกฎระเบยี บปฏิบัติ ไวด้ ังนี้ 1) ผูท้ ีจ่ ะมาปฏบิ ัติธรรม ตอ้ งนำหลักฐานบัตรประชาชนหรอื สำเนาทะเบียนบ้านหรือ บตั รทางราชการรับรองชัดเจนพรอ้ มด้วยสำเนา 1 ชุดและตอ้ งศกึ ษาข้อศีลใหเ้ ข้าใจ 2) มไิ ด้มคี วามผดิ ทางอาญาอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่เปน็ โรคติดต่อรา้ ยแรง ไม่ติดยา เสพติดผิดกฎหมาย มสี ติสัมปชัญญะสมบรู ณ์ ไม่วกิ ลจริต 3) มีความเคารพ สงบ สำรวม ต่อผู้อยู่ร่วมกัน ไม่ทะเลาะวิวาทวุ่นวาย ยะแหย่ใส่ ความอันก่อใหเ้ กดิ ความแตกแยกเสยี หายในสำนักแม่ชี 4) ไม่ใช่สาวประเภทสอง (แม้แปลงเพศมาแล้ว) และสตรีที่มีนิสัยคล้ายบุรุษ ถ้ามี ความประพฤตไิ มเ่ หมาะสมก็ใหพ้ น้ สภาพไป 5) ให้การเชื่อฟัง ผู้ใหญ่ในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ถ้ามีเหตุ อันทะเลาะวิวาท วุ่นวายเกิดขึ้นทางคณะหัวหน้าและผู้ใหญ่ในวัดจะพิจารณาให้พ้นจาก สภาพสึกออกจากสำนักไปโดยวันและเวลานั้น ๆ ได้ ไม่มีสิทธิ์ที่จะกลับมาบวชและอยู่อาศยั อกี ตอ่ ไป 6) จะไม่นำบุคคลภายนอกแม้เป็นญาติมาก่อความวุ่นวายมั่วสุม ปราศจากความ เคารพแมช่ แี ละสถานทปี่ ฏิบตั ธิ รรมไม่อนญุ าตให้พักอาศยั ในบริเวณสำนักแมช่ ีโดยเด็ดขาด 7) ให้มีจิตเอื้อเฟื้อดูแลสำนักแม่ชี ถ้ามีบุคคลที่มีความประพฤติอันไม่เหมาะสม อัน เปน็ เหตุทจ่ี ะใหเ้ กิดอนั ตรายตอ่ สำนักแม่ชดี ้วยกนั ต้องบอกหมคู่ ณะใหท้ ราบ 8) ในเวลาขึ้นสวดมนต์ ทำกิจวัตรที่ศาลาให้สำรวม กาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย เพ่ือให้ความเป็นระเบยี บของหมูค่ ณะ 37
แม่ชีไทย 9) จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันแม่ชีไทย และข้อกติกาของสำนักและไหว้ พระสวดมนต์ฟังธรรมเทศนาเจริญสติกรรมฐานในวันพระและเชือ่ ฟงั ท่านหัวหน้าหรอื ผู้ใหญ่ ทใ่ี หค้ ำแนะนำ เพ่อื ความสามัคคีธรรมและความเจริญในธรรมของผู้ปฏบิ ัติ 10) แม่ชีผู้มีความประพฤติไม่เคารพกติกาของสำนัก และสถาบันแม่ชีไทย ต้อง พิจารณาลงโทษตามกติกา กฎระเบยี บของสำนกั หรือสถาบนั แม่ชีไทย 11) ผู้นุ่งดำที่มาพักอาศัยอยู่ในสำนักแม่ชี ถ้ามีความประพฤติผิดกติกา กฎระเบียบ ของสำนักแม่ชี และไม่เชื่อฟังคำตักเตือนของผู้ใหญ่ในสำนัก ใช้กิริยา วาจาไม่สุภาพต่อไม่ชี จะต้องถูกลงโทษตามกติกา กฎระเบียบของสำนักหรือไล่ออก จากสำนักแม่ชี โดยไม่มีการ โต้แย้งทุกประการ7 2.6 ขอ้ กตกิ า ระเบียบ วินยั และจริยวัตร: สำนกั แม่ชปี ระชมุ นารสี ามัคคีธรรม วัด มหาธาตวุ รวหิ าร การพิจารณาผู้มีจติ ศรทั ธาใคร่จะมาอยู่ประพฤตปิ ฏิบัติ ณ สำนักแห่งนี้ จะต้องมีผู้นำ มาฝากและมีผูร้ บั รองเพือ่ เป็นหลักฐานอันมัน่ คงก่อนแล้วทางสำนักจึงรับไว้ ถ้ามาโดยลำพัง ผเู้ ดยี วซ่งึ ทางสำนักยังไม่เคยรจู้ ักมักคุ้นกับผู้น้ันมาก่อนและไมม่ ผี ้มู าทำการรับรองในบุคคลผู้ นั้นแล้ว ทางสำนักจะไม่ยอมรับไว้เป็นอันขาด หากการเข้ามาอยู่ของบุคคลน้ันได้ดำเนินไป อย่างถูกต้องตามระเบียบแล้ว จุดแรกอันสำคัญจะต้องศึกษาให้ทราบในเรื่องไตรสรณคมน์ ศีลทั้งบาลีและแปล กรรมบถ 10 ประการ อุปกิเลส 16 ข้อ และข้อกฎกติกาที่วางไว้นั้นๆ เมื่อได้ศึกษาไปตามลำดับดังกล่าวนี้สมบูรณ์ดีทุก ประการ จะต้องเข้าทำการสอบทานให้ เป็นไปอย่างถูกต้อง เมื่อเข้าทำการสอบทานเห็นว่าถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้ว อันดับต่อไปต้อง เข้าทำการอบรมในด้านมรรยาทให้เรียบร้อย เพื่อความเหมาะสมแกภ่ าวะทุกอย่าง พิจารณา 38
แม่ชไี ทย เห็นว่าพอสมควรที่จะให้นุ่งขาวได้จึงยอมให้นุ่งขาวสำหรับกฎกติกาที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติ ประจำสำนักนัน้ มอี ยู่ 33 ข้อด้วยกนั คือ 1. ห้ามไม่ให้ผ้ปู ฏบิ ัติเบยี ดเบยี นสตั วด์ ว้ ยกาย 2. ห้ามมิให้ผู้ปฏิบัติกล่าวปิสุณาวาจาและผรุสวาจาต่อเพื่อนผู้ปฏิบัติด้วยกันและ ผอู้ น่ื 3. ห้ามมิให้ผู้ปฏิบัติไปมาหากันโดยไม่มีกิจธุระ ซึ่งเป็นการพร่าเวลาของตนเองและ ของเพื่อนให้เสยี ไปมบิ ังควร 4. เวลาเท่ยี ง ขอใหผ้ ู้ปฏบิ ตั ิพึงตง้ั อยูใ่ นความสงบเงยี บไปจนถึงบ่าย 3 โมงเย็น ไมค่ วร ส่งเสียงดังหรือทำงานอันเกี่ยวด้วยเสียงจนเสียความสงบของบุคคลอื่น เว้นแต่มีกิจจำเป็น สว่ นรวมเกิดขน้ึ ในสำนกั ต้องกระทำเป็นการด่วน 5. ถ้ามีกิจการอันใดเกิดขึ้นในสำนักให้ช่วยเหลือกันไม่นิ่งเฉยแล้วแต่จะทำได้เพียงไร หรือมเี หตปุ ่วยไขก้ ต็ อ้ งชว่ ยกันรักษาพยาบาลเทา่ ทค่ี วร เป็นตน้ 2.7 ข้อกตกิ า ระเบียบ วนิ ยั และจรยิ วตั ร: สำนกั แมช่ ีสนามชี วดั สนามพราหมณ์ ผู้ที่ได้ศึกษาในข้อกติกาแล้วต้องหมั่นตรวจในข้อที่จะบอกบริสุทธิ์ 4 อย่างคือ (1) มรรยาท 5 (2) กรรมบถ 10 (3) ศลี 8 หรือ 10 (4) เมถนุ สังโยค 7 ว่าขอ้ ใดขอ้ หน่งึ จะบกพรอ่ งหรือเศร้าหมองอยา่ งไร ถ้าตรวจดู รสู้ ึกวา่ มคี วามบกพรอ่ ง อย่างใดอย่างหนงึ่ แลว้ ตอ้ งไมป่ ิดบงั ไว้ ควรรบี ชำระโทษของตนกบั อบุ าสิกาผูอ้ ยู่กอ่ นได้เป็นดี หรอื อุบาสิกาผปู้ ระพฤติดว้ ยกนั กไ็ ด้ ระเบียบปฏิบตั ิเพม่ิ เติมใหม่ ณ วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 1. ผู้แรกตั้งใจจะประพฤติพรหมจรรย์ ต้องศึกษาในข้อกติกา และประพฤติโดย เรียบร้อยจนประธานกรรมการหรอื ทป่ี ระชมุ เห็นสมควรแลว้ จึงจะอนญุ าตให้นุ่งขาว 39
แมช่ ีไทย 2. ผู้ที่ประพฤติในข้อกติกาแล้ว เมื่อจะไปในที่ใดๆก็ตาม โดยเหตุที่ไม่สมควร ถ้ามี ประธานกรรมการ หรอื เพือ่ นพรหมจรรยท์ ักทว้ งว่ากล่าวโดยไม่เหน็ ควรแลว้ จะขืนไปไม่ได้ 3. เมื่อข้อประพฤติของกายหรือวาจาที่ไม่สมควรอย่างไร ถ้ามีเพื่อนพรหมจรรย์ว่า กล่าวตักเตอื นแลว้ ต้องทำอาการเอือ้ เฟอื้ และเคารพเพอื่ ตั้งใจทำส่งิ ท่คี วรทำตอ่ ไป 4. บ้านถ้าไม่มกี จิ ธุระจำเป็นแลว้ ไม่ควรจะไป 5. เมื่อมีกิจที่จำเป็นเกิดขึ้น ก็ต้องปรึกษาประธานกรรมการเสียก่อนว่า จะควรไป หรอื ไมถ่ ้าประธานกรรมการเหน็ ควรแล้ว และอนญุ าตจงึ ไปได้ 6. แม้ไปโดยกจิ ธุระจำเปน็ พอเสรจ็ ธรุ ะแลว้ ไม่ควรจะอยใู่ หช้ า้ วนั 7. การสวดมนต์ไหว้พระเวลาเช้าเวลาเย็นนอกจากมีกิจจำเป็นหรือป่วยไข้ ต้อง กระทำทกุ เวลา เปน็ ต้น 2.8 ขอ้ กติกา ระเบยี บ วนิ ัย และจริยวัตร: สำนักแม่ชีวัดบญุ ทวี (ถ้ำแกลบ) ข้อกติกา มรี ายละเอยี ด ดงั นี้ 1. ผู้ที่แรกจะเข้ามาศึกษาหรือบวชในสำนักนี้ ต้องมีผู้รับผิดชอบจึงจะให้อยู่ได้ แล้ว ต้องศึกษา คำอาราธนาศีล 8, นะ โม, ไตรสรณาคม, มารยาท 5 ศีล 8 กรรมบถ 10 คำขอ บวช เมถุนสังโยค 7 ให้ได้ความชดั เจนเสยี ก่อนจงึ จะบวชได้ 2. ผู้ใดมาพักในสำนักนี้ ใครจะใช้พิธีรดน้ำมนต์ เสกเป่า หาหมอดูหรือทำพิธีต่าง ๆ ซง่ึ เปน็ เครื่องเศรา้ หมองแกไ่ ตรสรณาคมไดไ้ ด้เป็นอนั ขาด และไม่ใหห้ มอนวดซึ่งเป็นบุรุษด้วย เพราะเปน็ เครื่องเศร้าหมองแกพ่ รหมจรรย์ 3. ผู้ปฏบิ ตั ใิ นท่ีน้ี ห้ามมใิ ห้ผใู้ ดไปชิดชินกับพระภิกษุสงฆ์ ถา้ มกี ิจจำเป็นจะต้องไปหา พระ ห้ามมิใหไ้ ปคนเดยี ว ต้องมีเพอื่ นเปน็ พยานไปด้วย 40
แมช่ ไี ทย 4. ใครจะไปไหนค้างคืนต้องแจ้งให้หัวหน้าทราบเสียก่อนและบอกให้เจ้าหน้าท่ี ลงบัญชีทั้งไปและกลับ และไม่ให้เดินคนเดียว เดินต้องสำรวมกายให้เรียบร้อย ไม่ยืนคุยกับ บุรุษข้างถนนหนทาง 5. ถ้ามีกิจธุระเกิดขึ้นในหมู่คณะให้ช่วยเหลือกันแล้วแต่จะทำได้ ถ้ามีกิจส่วนตัว จะต้องไปในที่อื่น ควรปรึกษาหรือแจ้งให้ประธานกรรมการทราบเสียก่อน ถ้าประธาน กรรมการเห็นสมควรอนุญาตให้ไปจึงจะไปได้ และในการประชุมจะเคาะระฆังเป็นเครื่อง เหมาย ดังนี้ ตีรัว 1 ครง้ั ประชุมเพื่อจุดเพลิงเผาศพและฟงั ธรรม ตีรวั 2 คร้ัง ประชมุ กนั ทำกจิ หมู่ ตีรวั 3 คร้ัง รับแจกไทยทาน ตีช้า ๆ 10 ที มกี ิจทจ่ี ะตอ้ งประชมุ ใหญ่ ขอใหก้ ำหนดเป้าหมายไว้ทกุ ทา่ น เวลาวนั ฟัง ข้อกติกาทุกท่านไม่ควรจะขาดประชุม ทั้งผู้นุ่งขาวและนุ่งดำ เว้นไว้เฉพาะผู้มีกิจจำเป็นหรอื เจบ็ ปว่ ยจนไม่สามารถจะไปร่วมประชมุ ได้เทา่ นน้ั 6. ใครจะมีจดหมายไปหากัน ต้องมีหัวหน้าหรือกรรมการตรวจเสียก่อน เว้นไว้แต่ จดหมายของคหปตานที ม่ี ไิ ดน้ งุ่ ขาว 7. ห้ามมิให้ทุ่มเถียงทะเลาะวิวาทกับเพื่อนพรหมจรรย์ ตลอดจนชาวบ้าน ถ้ามีกิจ ธรุ ะอะไรกใ็ ห้พูดกนั ทีละทา่ นไม่ใหป้ ระสานเสยี งกันอือ้ องึ ใหเ้ ป็นที่รังเกยี จของหมู่คณะ 8. ห้ามการใช้วาจาตะโกนเรียกกันคนละกุฏิและห้ามคุยกันในที่ประชุมอันเป็นที่ รำคาญแก่ผูอ้ ืน่ ถ้ามีกจิ ธุระอะไร ก็ใหไ้ ปพูดกันท่ีกุฏิ พูดก็ใหส้ ำรวมระวังแต่เบา ๆ ไม่ควรพูด เสยี งดัง เอะ อะ และหวั เราะดังเกินประมาณ ห้ามกลา่ ววาจาส่อเสียดยุยงและกล่าวคำหยาบ 41
แม่ชไี ทย พดู จาเสียดสเี ปรยี บเปรยให้เป็นท่ีเดือดรอ้ นแก่เพอื่ พรหมจรรย์และไม่เบียดเบยี นเพื่อนมนุษย์ และสตั วเ์ ดรฉานด้วยกายมกี ารทุบตี เป็นต้น 9. ผู้ใดมาพักในสำนักนี้ ไม่เลือกว่าผู้นุ่งขาวหรือนุ่งดำ ห้ามมิให้นำเรื่องมิดีต่าง ๆ ซึ่ง อาจจะเกิดขึ้นในหมู่คณะนี้ ออกไปกล่าวนอกหมู่เป็นอันขาด เพราะเป็นทางนำความเสื่อม เสียมาสหู่ ม่คู ณะ 10. เมื่อผู้ปกครองว่ากล่าวสั่งสอนอะไร ห้ามพูดโต้ตอบขึ้นในขณะนั้น ให้นิ่งฟังใน ระหว่างพูด เมื่อผิดถูกอย่างไร จึงค่อยชี้แจงต่อภายหลังตามข้อเหตุนั้น ๆ เฉพาะหน้า ผูป้ กครองท่ีตักเตือน 11. ผู้นงุ่ ขาวมาแต่ท่อี ื่นจะต้องเอือ้ เฟือ้ และศึกษาในข้อกติกาให้เข้าใจโดยชดั เจน เมื่อ พกั ครบ 15 วนั แล้วจะต้องบอกบริสุทธิ์ทุกคร้ัง ส่วนผู้ท่ไี ด้ศกึ ษาในข้อกติกานี้แล้ว ต้องหม่ัน ตรวจดู ถา้ เหน็ วา่ ข้อใดข้อหน่ึงบกพร่องหรือเศร้าหมองขึน้ ท่ีตน แล้วควรรีบแสดงโทษเสียต่อ ทปี่ ระชมุ ไมค่ วรปิดบงั ไว้ 12. ผู้นุ่งขาวแล้วต้องท่องสวดมนต์ทุก ๆ ท่านเพื่อความเจริญของหมู่ เว้นนอกจาก คนแกเ่ ท่านนั้ 13. ห้ามไมใ่ ห้ผทู้ ีอ่ ย่ใู นสำนักนี้ นำเด็กที่ยังไมร่ เู้ ดียงสามาเล้ียงเป็นอนั ขาด (เด็กท่ีอายุ ต่ำกวา่ 6 ขวบลงมา) 14. ผู้ปฏิบัติในสำนักนี้ ทุกท่านห้ามมิให้รับบุรุษตั้งแต่อายุ 15 ปี ขึ้นไปมาค้างตาม กุฏิเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะหาว่าผูน้ ั้นไม่ประพฤตไิ ม่บริสุทธิ์ แม้ผู้ใดรู้เห็นว่ามาค้างที่กุฏิ ใครเพียงคืนเดียวให้ผู้นั้น ไปแจ้งผู้ปกครองให้ทราบทันที (ถ้าผู้ใดมีเหตุขัดข้อง) เรื่องบุรุษที่ จะมาค้างใหไ้ ปปรกึ ษาท่านผูป้ กครองเสียก่อน 42
แม่ชีไทย 15. ห้ามมิให้ผู้นุ่งขาว นำผ้าดำหรือผ้าสีมานุ่งเที่ยวเดินให้ผู้อื่นเห็นเป็นอันขาดเพ่ือ รักษาความงามของหมู่ ข้อกติกา ระเบียบ วนิ ยั และจริยวตั ร ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น นับเป็นเครื่องพิสูจน์ให้ เห็นถึงหลักธรรมพนื้ ฐานของแม่ชีไทยท่ีจะปฏบิ ัติตามศีลกรรมบถ 10 และเสขยิ วตั ร 75 และ ละเวน้ เพอ่ื ความสมบรู ณใ์ นตวั เอง พทุ ธปรัชญาเถรวาทถอื ว่า ศีล 8 เป็นจริยธรรมที่เป็นสากล เมื่อมนุษย์ทุกคนถือปฏิบัติแล้วย่อมนำไปสู่ ความสงบสุขทั้งต่อตนและสังคมโดยส่วนร่วม การพัฒนาชีวิต คือ การทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นไปจนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตในพุทธ ปรัชญาเถรวาท คืออิสรภาพ หรือภาวะไร้ปัญหา ไร้ทุกข์ ความเต็มอิ่มที่ชีวิตไม่มีความ บกพร่อง หลักพัฒนาคุณภาพชวี ติ ตามหลักพทุ ธปรชั ญาเถรวาท มี 4 ประการ ดังนี้ 1. กายภาวนา คือ การเจริญกาย พัฒนากาย การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อ เกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลาย ภายนอกทางอินทรีย์ทัง้ ห้าดว้ ยดีและปฏิบัตติ ่อสิง่ เหล่านั้นในทางท่ี เปน็ คุณ มใิ หเ้ กดิ โทษ ให้กศุ ลธรรมงอกงาม ให้ อกุศลธรรมเส่อื มสูญ การพัฒนาความสมั พันธ์ กบั ส่ิงแวดล้อมทางกายภาพ 2. สีลภาวนา คือ การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติการฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ใน ระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูล แก่กัน 3. จิตภาวนา คือ การเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญ งอกงามด้วย คุณธรรมทงั้ หลาย เช่น มเี มตตากรณุ า ขยันหมนั่ เพียร อดทนมีสมาธิ และสดชืน่ เบกิ บาน เปน็ สุขผ่องใส เปน็ ตน้ 4. ปัญญาภาวนา คือ การเจริญปัญญา พัฒนาปญั ญา การฝึกอบรมปญั ญา ใหร้ ูเ้ ข้าใจ สิ่งทั้งหลายตาม เป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิต ตามสภาวะ สามารถท าจิตใจให้เป็น 43
แมช่ ไี ทย อิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและ ปลอดพ้นจากความทุกข์แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วย ปัญญา การพัฒนาทั้ง “แม่ชี” หรือการพัฒนาสตรีในทางพระพุทธศาสนา นำไปสู่การสร้าง ตัวตนที่ชัดเจน ความมีตัวตนของแม่ชี เท่ากับการประกาศความเท่าเทียมกันของผู้ชายและ ผู้หญิงในการปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนา เป็นการยกระดับคุณค่าของผู้หญิงขึ้นเป็นอย่าง มาก เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอนในทางศาสนา จนนำไปสู่แรง กระขับเคลื่อนให้เกิดมีข้อกำหนดที่แน่นอนเกี่ยวกับแมช่ ี มีกฎหมาย รองรับ สถานภาพแม่ชี สบื ตอ่ ไป 44
แมช่ ไี ทย บรรณานกุ รมทา้ ยบทท่ี 2 1. แม่ชีณัฐสุดา เชี่ยวเวช. (2561). ศึกษาศีลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่ชีไทยในยุค ปัจจบุ นั . วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจยั ธรรมศกึ ษา ส านกั เรียนวดั อาวธุ วิกสิตาราม, 3(2):18-24 2. พระพิมลธรรม, คำสั่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ที่พิเศษ/2526 เรื่อง ให้ อุบาสิกา (ช)ี ท่อี าศัยอย่วู ัดมหาธาตยุ ุวราชรังสฤษฏ,์ิ 2526, เอกสารอัดสำเนา. 3. ประกาศ ข้อกติกาสำหรับเนกขัมมาภิรมณ์สถาน, 1 กันยายน รัตนโกสินทรศก ร.ศ. 128 เอกสารอดั สำเนา. 4. แมช่ ีสำนกั สงบจิตต์, ศลี และข้อกติกา สำหรับแม่ชสี ำนักสงบจติ ต์, ( กรุงเทพมหานคร: โรง พมิ พท์ วีรัชต์, 2524), หน้า 1-15. 5. ป้ายประกาศ กติกาสำหรับผู้ที่เข้ามาในสถานที่นี้, สำนักชีสงบจิตต์, ซอยอ่อนนุช ถนน สุขุมวิท เขตพระโขนง กรงุ เทพมหานคร 10110. 6. มหามกุฏราชวิทยาลัย, ศาลาสันติสุข คณะอุบาสิกาในความอุปถัมภ์ของมหามกุฏราช วิทยาลัย, อนุสรณ์ในการฉลองสำนักใหม่ ท่าตำหนัก นครไชยศรี นครปฐม, (พระนคร, 2513), หน้า 2-4. 7. สำนักแมช่ วี ัดเสนหา จงั หวดั นครปฐม, ประกาศ กฎระเบียบปฏบิ ตั .ิ 8. วัดมหาธาตุวรวิหาร, ประวัติวัดมหาธาตุราชบุรี, (กรุงเทพมหานคร:บริษัทสหธรรมิกจำกัด, 2538)หน้า 102-103. 45
แมช่ ไี ทย 46
บทที่ 3 บทบาทหลกั ของแม่ชีไทยในดา้ นต่าง ๆ คำว่า “ชี” ตามหลักคำสอนของศาสนาพุทธ ในส่วนที่เป็นภาษาบาลี ชีมาจากคำว่า “ชินะ” แปลว่าผู้ชนะกเิ ลส ซงึ่ เปน็ จดุ ม่งุ หมายของนักบวชโดยตรง ชีในความหมายนหี้ มายถึง ผู้ที่ต้องการบวชแบบมุ่งหมายการหลุดพ้นและไม่อาศัยบ้านเรอื น ส่วนรูปแบบการแต่งกายก็ แตกตา่ งจากหญิงท่ัวไป โดยมีจุดมงุ่ หมายสละทางโลกเพ่อื ศึกษาธรรม ในบทนี้ผู้เขียนพยายามที่จะสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านเกี่ยวกับ บทบาทหลักของ แม่ชีไทย โดยมีหลากหลายบทบาท ทั้งการมีพื้นที่ในการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย และบทบาทของการสนับสนุนดูและวัด ศาสนสถาน รวมไปถึงพระภกิ ษุสงฆ์ ดงั รายละเอียด ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. แมช่ ีผู้พัฒนาตนเอง จากข้อกติกา ระเบียบ วินัย และจริยวัตร ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น นับเป็นเครื่อง พสิ ูจนใ์ หเ้ หน็ ถงึ หลกั ธรรมพืน้ ฐานของแมช่ ีไทยทจี่ ะปฏิบัตติ ามศีลกรรมบถ 10 และเสขิยวัตร 75 และละเว้นเพื่อความสมบูรณ์ในตัวเอง โดยแม่ชีจะต้องพัฒนาตนให้มีความรู้ ความสามารถและความดี จนพึ่งตนเองได้ ถึงแม้จะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง แต่ก็ต้องปฏิบัติ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระองค์ช่วยให้เรามีความดี ให้ขยันหมั่นเพียรใน การศึกษาหาความรู้ และสร้างสมความดีพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยสร้างกำลังกาย กำลัง ความรู้ และกำลังความดีให้สมบูรณ์ หากว่ามีความสมบูรณ์ดีแล้วก็จะได้รับความสุขและ ความสำเร็จในชีวิตและยังสามารถมีบทบาทในด้านสังคมได้ทุกระดับ ทั้งทางโลกและทาง
แม่ชไี ทย ธรรม ดังปรากฏในคำสัมภาษณ์ แม่ชีอารี บริกุล สำนักแม่ชีเนกขัมมาภิรมย์สถาน วัดบรม นวิ าส วนั ท่ี 7 มกราคม 2566 “หนึ่ง ต้องพัฒนาด้านจิตใจก่อน จิตใจของแม่ชีแต่ละคน หนึ่งต้องให้ทราบว่า ขณะนี้เราเป็นนักบวชนะต้องให้รู้ตัวว่าเราบวชแล้วและไม่ใช่ฆราวาส พอคิดหรือจะทำอะไร ก็แล้วแต่ตามใจชอบสุ่มสีส่ ุ่มห้าไม่ได้ ข้อแรกต้องเตือนตนก่อน ต้องเตือนใจเราก่อนเราต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีก่อนพ่อ แม่ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกก่อนใช่ไหมค่ะ ถ้าเราเป็น แบบอย่างไม่ได้แล้วเราจะออกไปสอนใครไม่ได้เปล่า ประโยชน์มันต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา สอง ต้องมีความสามคั คีในหมู่คณะ ต้องมีความสามัคคีเกิดขึ้นอันดับแรกในหมู่คณะเสียก่อน ถ้า ไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะ มันก็ยากที่จะทำอะไรให้ประสบผลสำเร็จ อันนี้คิดนะ แล้วก็ ทำงานมันก็จะต้องเข้าขากันได้ด้วย มีความคิดเห็นไปในทางทิศเดียวกันและมีความคิดเห็น แตกต่างก็จริง แต่มีทิศทางเดียวที่จะไป เหมือนอยู่ภายในสำนกั หลายๆกุฎิเวลาจะออกเราก็ ประตูเดียวกัน เช่นกัน ประพฤติก็เช่นกัน ต้องเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน ก่อนที่เราจะไปเริ่มต้นท่ี คนอื่นตอ้ งเรม่ิ ต้นตวั เราก่อน” เฉกเช่นเดียวกันกับคำสัมภาษณ์ของแม่ชี ประทิน ขวัญอ่อน สถาบันแม่ชีไทย สาขา ปากท่อ สัมภาษณ์เมื่อวันท่ี 10 มกราคม 2566 “ใช่ค่ะเรามีศรัทธาที่ ท่านแม่ชีที่ท่านปฏบิ ัติ ดี ปฏิบัติชอบ และทำให้การละกิเลส มันยาก มันง่าย เราจะรู้ด้วยใจตัวเองว่า เรามีสติได้ ขนาดไหน ฉะนน้ั ท่ที ่านทำได้เนีย่ ก็เป็นตัวอยา่ งท่ีทำให้เราได้คิดว่า ถา้ เราตั้งใจจริง ๆ ก็ต้อง ได”้ แม่ชีบุญเลี้ยง แออ่วม1 ได้จัดทำหนังสือบทบาทแม่ชีไทยใน เวลาออกปฏิบัติงานในต่างจังหวัด กล่าวคือ บทบาทที่แม่ชีควรปฏิบัติ ในเวลาออกปฏิบัติ สาธารณประโยชนแ์ กป่ ระชาชนในตา่ งจังหวัด โดยการเป็นผพู้ ฒั นาตนเองจนเป็นแบบอย่างที่ ดตี ่อผ้อู นื่ และสงั คม มดี ังน้ี 1) ต้องสมณะสญั ญา รกั ษากิริยาใหเ้ รียบร้อย 48
แมช่ ไี ทย 2) ต้องต้งั ใจบำเพ็ญประโยชน์ ด้วยกุศลจิตและเสยี สละ 3) ต้องทำตวั เปน็ คนเลี้ยงงา่ ย อย่าจกุ จิกจจู้ ้ีขบี้ น่ 4) ต้องทำตนให้เข้ากับคนอื่นได้ ไม่เย่อหยิ่ง แต่มีการวางตัวตามสมควรแก่ฐานะ และสรา้ งความสามัคคี 5) ต้องทำใหเ้ ป็นตวั อย่างแห่งความดี และแสดงอัธยาศัย 6) เรื่องอาหารและน้ำตอ้ งระวัง อาจปว่ ยเพราะผดิ อาหารและน้ำ 7) อยกู่ ใ็ ห้เขาไวใ้ จ จะไปกใ็ หเ้ ขาคิดถึง 8) หม่ันทำกิจวัตรอย่าให้ขาด เช่น ทำวัตรไหว้พระ สวดมนต์ ทำสมาธิและ แนะนำให้ผูอ้ น่ื ทำตามดว้ ย 9) เมื่อจะเดินทางไปไหน ต้องคิดว่าเรามาเพื่อความดีของผู้อื่น เพื่อดำเนินตาม ปฏิปทาของบรมครู 10)ให้อุทิศตนบำเพ็ญกิจการเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เมื่อเกิด ท้อถอยเอือมระอาจะได้เกดิ กำลงั ใจในการปฏบิ ัติงาน 11)ขอให้ทำกิจการดว้ ยเมตตาจิต 12)อย่าไปไหนคนเดียวในเวลาออกไปปฏิบัติงาน นอกจากจำเปน็ จรงิ ๆ 2. แม่ชีทำครวั แม่ชีทำครัวเป็นกลุ่มแม่ชีที่ถูกจัดให้อยู่ในพื้นที่ครัวที่เป็นพื้นที่ของผู้หญิง สะท้อนให้ เห็นค่านิยมในการแบ่งระหว่างหญิงชาย แต่จากเรื่องเล่าของ แม่ชีสำเริง ชาวใต้ สัมภาษณ์ เมอ่ื วนั ที่ 11 มกราคม 2566 สำนักแม่ชี วัดเสนหา “นโี่ รงครวั โรงครัวทำอาหารทำอาหารใหพ้ ระ แล้วพระทา่ นจะเอาสำรับมารับไปฉันท่ี ในวัดโน่นเป็นปิ่นโต เป็นสำรับ ตั้งแต่สมัยย่าเขานี่เป็นสำรับนะเป็นถาดๆน่ะ ให้เด็กวัดพา มามาตั้งไวต้ รงนัน้ นะท่านจะรับเอาไปเป็นชามถ้วย ชามฝา ชามฝา เป็นโรงครวั ทำอาหารให้ 49
แมช่ ีไทย พระเลยนะและเป็นที่พักของแม่ชี แม่ชีที่ทำครัว แม่ชีทำครัวฉันยังนอนในนี้เลยตอนนั้นมา ใหม่ๆฉันมาพักที่นี่มันเป็นหลังคาจากและมุงด้วยสังกะสีทับเก่าแก่นะประมาณ 50 ปีที่แล้ว น่ะคะ่ ” แม่ชีโรงครัวมีปริมาณมากที่สุดใน วัด เป็นแรงงานที่สำคัญที่สุดของวัดมาตั้งแต่อดีต อาศัยการทำครัวเพื่อเป็นหนทางในการ สร้างบุญ คือ ทานบารมีอันเป็นบุญสำคัญอย่างหนง่ึ ในบารมี 10 ประการ สถานภาพแม่ชีโรงครัว แสดงออกด้วยแนวคิดหลัก คือ แนวคิดเรื่อง ศรัทธา (faith) แม่ชีโรงครัวไม่สามารถจะปฏิบัติธรรมได้ผล ดังเช่นแม่ชีสายปฏิบัติ นอกจากนั้นยังศึกษาทั้งปริยัติธรรมและปริยัติสามญั น้อยกว่าแมช่ ีผู้บริหาร มีศรัทธาใน การ ทำงานอุทิศตนเพื่อวัดสูง มีหน้าที่ทำอาหารถวายพระสงฆ์เนื่องจากไม่มีความรู้มากพอที่จะ ท้าหนา้ ท่อี ่นื ๆ ได้จึงเน้นงานครวั ว่ามคี วามสำคญั พอใจในงานครัววา่ เป็นงานไดบ้ ญุ กศุ ล ดังนนั้ แมช่ ีโรงครัวใหค้ วามหมายของการ ทำครัววา่ เป็นการปฏบิ ตั ิธรรม ฝกึ ฝนตนเอง ขัดเกลากิเลส สะสมบญุ ใหม้ ากยิ่งขึ้น อุดมการณเ์ พศ นิยมภายใต้ระบบความเชื่อปิตาธิปไตย ครอบงำทำให้ทำครัวโดยไมม่ ีขอ้ โต้แย้งว่าเป็นเรื่องของ ความไม่เทา่ เทียมกันระหว่างแม่ชีกับ สงฆ์1 3. แม่ชีนกั บรหิ าร หากย้อนกลับไปทบทวนประวัติศาสตร์ของสถาบันแม่ชีไทยในบทที่ 1 จะพบข้อมูล สำคัญว่า วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ได้มีจัดประชุมคณะแม่ชีไทยทั่วทุกภาค มีแม่ชีมา ประชุมกันประมาณ 1,000 รูป ณ ตึกสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศ วิหาร โดยการริเริ่มของท่านเจ้าคุณพระเทพกวี เลขาธิการสภาการศึกษามหามกุฏราช วิทยาลัยในขณะน้ัน ได้มีมติร่วมกันจดั ตั้งสมาคมของแม่ชไี ทยข้ึนภายใตช้ ื่อวา่ “สถาบันแม่ชี ไทย”ร่างกฎระเบียบขึ้นใช้มีคณะกรรมการ 25 ท่าน ตำแหน่งประธาน 1 ท่าน รองประธาน 50
แมช่ ีไทย 2 ท่าน คณะกรรมการ 22 ท่านมีวาระ 4 ปี เมื่อดำรงตำแหน่ง 4 ปีแล้วจึงเลือกตัง้ ครั้งหนึง่ ผู้ มีสิทธิ์เลือกตั้ง ได้แก่ ตัวแทนของสำนัก และผู้อาสาเข้าทำงาน ตามความเห็นชอบของ คณะกรรมการ ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งคือตัวแทนของสำนักที่เข้าประชุมในวันเลือกต้ัง สำนักละ 2 ท่าน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2515 ได้ก่อตั้งทุนเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ได้จด ทะเบียนมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิสถาบันแม่ชีไทย”มีคณะกรรมการ 9-10 ท่าน มีทั้งแม่ชีและ ฆราวาสคัดเลือกกรรมการมูลนิธิจากผู้ก่อตั้งมูลนิธิสถาบันแม่ชีไทยได้ลงทะเบียนไว้ 3 เนื่องจากการจัดตั้งสถาบันแม่ชีไทย อาศัยความร่วมมือของมหามกุฏราชวิทยาลัยและแม่ชี โครงสร้างการบริหารงานของมหาปชาบดีเถรีวิทยาลัยอยู่ภายใต้องคก์ รสงฆ์ขึ้นตรงต่อมหาม กฏุ ราชวทิ ยาลัย วัดบวรนเิ วศนว์ หิ าร องคก์ รมุง่ ยกระดับสถานภาพของแม่ชีและปรับเปล่ียน ภาพลักษณ์ของแม่ชีผ่านทางการศึกษา ได้รับการสนับสนุนทั้งจากแม่ชีนักบริหารในอดีต รายช่อื ดังตารางด้านลา่ ง ตารางท่ี 3.1 รายชื่อประธานสถาบันแม่ชไี ทยและวดั /สำนัก4 ลำดับ ชอื่ -สกลุ วัด/สำนัก 1. แม่ชีญาณี ศริ ิโวหาร วัดปากนำ้ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2. แมช่ ีละม้าย บุตรเมฆ สำนกั พรหมจารณิ ีสนั ติอมั พวัน ต.ปากน้ำ อ.บางเคลา้ จ.ฉะเชงิ เทรา 3. แม่ชบี ญุ เลย้ี ง แออ่วม สำนกั ชสี งบจติ ต์ แขวงสวนหลวง เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 4. แมช่ ีจำลองลกั ษณ์ คงสาหร่าย วัดสร้อยทอง เขตบางซือ่ กรงุ เทพมหานคร 5. แมช่ ีรมั ภา โพธค์ิ ำฉาย วัดปากน้ำ เขตภาษเี จริญ กรุงเทพมหานคร 6. แม่ชีทองใบ บริสทุ ธ์ิ วดั พุทธมงคลนิมิต ต.ปากนำ้ โพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 51
7. แม่ชีประทิน ขวัญออ่ น แมช่ ีไทย 8. แม่ชสี โรชา ไชยเกตุ สำนักแม่ชไี ทยปากท่อ ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบรุ ี สำนักแมช่ ปี ฏิบัตธิ รรมเขาพระ ต.เขาพระ อ.เดมิ บาง นางบวช จ.สุพรรณบรุ ี 4. แม่ชนี กั ดูแลวัดและพระสงฆ์ พระสงฆ์มีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียนและเผยแพร่ธรรม แม่ชีต่างจากพระสงฆ์ คือ ต้อง ทำงานควบคู่กบั การเรียนและปฏิบตั ิธรรม โดยแบง่ งาน ออกเปน็ 2 อย่าง ได้แก่ งานสว่ นรวม และงานส่วนตัว แม่ชีมีวิธีการสร้างสถานภาพของตนเอง ให้ความหมายตนเองแตกต่างจาก พระสงฆ์ โดยนำเอาหลักคำสอนทางศาสนามาอธิบายและรองรับบทบาทการทำงานของ ตนเองว่าการเรียนธรรมในโรงเรยี นได้ผลประโยชน์นอ้ ย ได้ประโยชนเ์ ฉพาะแกต่ วั เอง บำเพ็ญ ตามหลักธรรม คือ อัตตประโยชน์หรือประโยชน์ส่วนตน การเรียนจึงเป็นเพียงเรื่องส่วน บุคคลเท่านน้ั แตง่ านดูแลวัดและพระสงฆ์เป็นงานกองเสบยี งในด้านการสนับสนุนวัด ทำเพ่ือ ประโยชน์ผู้อื่น คือ บำเพ็ญปรัตถประโยชน์แม่ชี ต้องทำทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อ่ืน ดังนั้น จึงเลือกที่จะเป็นแม่ชีทำงานดูแล อำนวยความสะดวกภายในวัด ซึ่งเป็นงานที่องค์กร คาดหวังให้แม่ชีทำ และเป็นงานที่ได้บุญเช่นกับแม่ชีประเภทอื่น ด้วยการทำประโยชน์กับ องคก์ รเพือ่ ตอบแทนบุญคุณวัด 52
แม่ชีไทย บรรณานกุ รมทา้ ยบทที่ 3 1. แม่ชบี ุญเลี้ยง แออ่วม, บทบาทของแม่ชีไทย, มลู นิธสิ งบจติ ต,์ (กรุงเทพมหานคร: สิงห์ สุวรรณการพิมพ์, 2532), หนา้ 76-77. 2. แม่ชณี ัฐหทยั ฉัตรทนิ วัฒน์. (2564). สถานภาพของแมช่ ไี ทย : กรณศี กึ ษาวัดปากนา้ ภาษี เจริญ.ภาวิชาบาลแี ละสันสกฤต คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลัย, 17 (1): 124-143 3. สัมภาษณ์แมช่ สี ภุ าพ อาสนส์ วุ รรณ,สำนักแม่ชีสนามชี วัดสนามพราหม์ จังหวัดเพชรบุรี, วันท่ี 10 สงิ หาคม 2558. 4. มูลนิธิสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์,แผนผังคณะกรรมการ, แหล่งข้อมูล: http://thainunfoundation.com/th/board-map, [19 ธนั วาคม 2565]. 53
แมช่ ไี ทย 54
บทที่ 4 พลงั ของสตรี: แม่ชีผสู้ รา้ งประโยชน์ การศึกษาบทบาทหลักของแม่ชีไทยในด้านต่าง ๆ ในบทที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็น บทบาทของแม่ชีที่เป็นพลังของสตรีในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ด้วยการเข้าไปมีส่วน ร่วมในการพัฒนาสงั คม การช่วยเหลือสังงคม หรือสังคมสังเคราะห์ ถือว่าเป็นบทบาทหนึ่งท่ี จำเป็นของมนุษย์ที่ต้องแสดงออกมาในรูปของการกระทำ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลและ สงเคราะห์เพือ่ นมนษุ ยด์ ้วยกัน ให้มคี วามเป็นอยู่ดขี ึ้น ไม่ว่าในดา้ นวัตถุสิง่ ของ เช่น มีอาหาร มีที่พักอาศัย มีเสื้อ ผ้าและการช่วยแนะนําสั่งสอนให้เขาเกิดความรู้หรือเกิดปัญญาเพื่อให้ สามารถดำรงชีวิตได้ถูกต้อง ดังนั้น การช่วยเหลือสังคมจึงเป็นการช่วยเหลือผู้ที่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันกบั เราใหไ้ ดร้ ับความสขุ และความสะดวกสบายมากขน้ึ บทบาทด้านนี้เป็นบทบาทที่แสดงออกถึงความมีคุณธรรมอย่างแท้จริง มุ่งหวัง ช่วยเหลือผู้ลำบาก ยากไร้ และช่วยป้องกันและแบ่งเบาภาระสังคม ทำให้สังคมที่เราอยู่ ร่วมกันเกิดความสงบสุข ผลจากการศึกษาสามารถสรุป พลังของสตรี: แม่ชีผู้สร้างประโยชน์ ไวพ้ อสังเขปไดด้ งั นี้ 1) พลังของสตรี: แมช่ ผี สู้ ร้างประโยชน์ ด้านการศกึ ษา o ร่วมกับสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยเปิดการศึกษาบาลีและธรรมศึกษา สำหรบั แมช่ ี
แม่ชีไทย o ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เปิดอบรมเคหะพยาบาลให้แก่แมช่ ีเพื่อว่าจะได้นำ ความรู้เหล่านั้นไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนในชนบทโดยการเปิดโครงการอบรม เยาวชนสตรีในทอ้ งถิ่นธุระกันดาร o เปดิ การอบรมเคหะศลิ ป์ o อบรมแม่ชีเพื่อให้มีความรู้สามารถที่จะไปเป็นวิทยากรผู้นำโครงการต่าง ๆ ในถิ่น ทุรกนั ดารได้ o จัดทำโครงการธรรมจารินวี ิทยาเพ่ือส่งเสรมิ สนับสนุนให้ทนุ การศึกษาแก่แม่ชีและ เยาวสตรีผู้ยากไร้ให้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนด้านการศึกษาสายสามัญและสาย อาชีพ o จัดสร้างสถานศึกษาสำหรับแม่ชีชื่อมหาปชาบดีโคตมีเถรีวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมให้ แม่ชีได้เข้ารับการศึกษาทั้งด้านธรรมะและด้านวิชาความรู้ต่าง ๆ จนถึง ระดบั อุดมศกึ ษา o จดั ให้บรรยายธรรมะหรือเสวนาธรรม ในวันธรรมสวนะหรอื วนั หยุดเพื่อความรอบ รู้ในธรรมและชกั นำใหป้ ฏบิ ัติธรรมโดยควรแก่เพศภมู ิและวยั แห่ตน o จัดตง้ั การศึกษาตามอัธยาศยั ซึ่งเป็นการศึกษาท่จี ดั ตามความต้องการของผเู้ รยี น o ส่งเสรมิ การเรยี นธรรมศกึ ษา อภธิ รรม บาลีศึกษา o จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และสอนพระพุทธศาสนาเสาร์- อาทิตย์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่น ๆ ดังเช่น โครงการบวชแม่ชีน้อยพบธรรมครอบครัวพบ สุข โครงการอบรมค่ายคุณธรรมสานรักแม่และลูก โครงการอบรมสร้างเสริมศักยภาพแม่ชี 56
แมช่ ีไทย วิทยากร โครงการล้างพิษกายด้วยสมุนไพร-ล้างพิษใจด้วยธรรมะ โครงการสวดมนต์สร้าง ปัญญาพัฒนาสุขภาวะ โครงการบวชใจงดเหล้าเข้าพรรษาเพื่อแม่ ของสำนักแม่ชีเนกขัมมา ภริ มณส์ ถาน วดั บรมนิวาสราชวรวหิ าร2 ส่วนสำนักแม่ชีประชุมนารีสามัคคีธรรม วัดมหาธาตุวรวิหารเมื่อ พ.ศ. 2480 ได้เปิด โรงเรยี นธรรมศกึ ษาในสำนักโดยมแี ม่ชหี นเู ปน็ ครสู อนคนแรกแตใ่ นขณะน้ัน ไม่ได้ทำการสอบ เนื่องจากแม่ชีหนูต้องเดินทางกลับ กรุงเทพมหานคร ต่อมาปี พ.ศ. 2481 จึงได้เริ่มทำการ เรียนการสอนอีกครั้ง มีนักเรียนประมาณ 30-40 คน โดยการสอนของพระวัดมหาธาตุ วัด เขาวังเป็นอาจารย์ผู้สอน และได้เปิดการสอบที่สำนักโดยการอุปการะจากเจ้าคุณพระธรรม เสนานี วัดสัตตนารถ ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีในขณะนั้น ในสมัยสงครามได้หยุดพัก การเรียนการสอนอีกครั้ง ปัจจุบันได้เปิดโรงเรียนสอนบาลีและอภิธรรมiเมื่อ พ.ศ. 2480 ได้ เปดิ โรงเรียนธรรมศึกษาในสำนักโดยมีแม่ชีหนูเปน็ ครูสอนคนแรกแต่ในขณะนั้น ไม่ได้ทำการ สอบเนื่องจากแม่ชีหนูต้องเดินทางกลับ กรุงเทพมหานคร ต่อมาปี พ.ศ. 2481 จึงได้เริ่มทำ การเรียนการสอนอีกครั้ง มีนักเรียนประมาณ 30-40 คน โดยการสอนของพระวัดมหาธาตุ วัดเขาวังเป็นอาจารย์ผู้สอน และได้เปิดการสอบที่สำนักโดยการอุปการะจากเจ้าคุณพระ ธรรมเสนานี วัดสัตตนารถ ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีในขณะนั้น ในสมัยสงครามได้หยุด พกั การเรียนการสอนอีกคร้ัง ปัจจุบันไดเ้ ปิดโรงเรยี นสอนบาลแี ละอภธิ รรม3 57
แม่ชไี ทย 2) ด้านบรกิ ารสังคมสงเคราะห์ o ตง้ั ศูนยเ์ ล้ยี งเดก็ กอ่ นวัยเรยี นทจ่ี ังหวดั ปราจนี บรุ ี o เข้าร่วมกับสภาสังคมสงเคราะห์ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสังคมเช่นการจัด สิ่งของบริจาคแกผ่ ู้เดอื ดร้อนประสบภัยต่าง ๆ การดแู ลเดก็ กำพร้าต่าง ๆ การดูแล แมช่ ีชราการช่วยเหลอื พยาบาลผู้ป่วยอนาถาเปน็ ต้น o สงเคราะห์เด็กกำพร้าและผู้ประสบปัญหาต่าง ๆ เช่น คณะแม่ชีเป็นตัวแทน ร่วมกับหน่วยงานราชการและภาคีเครือข่ายในการออกไปช่วยเหลือ บริจาคและ มอบสงิ่ ของให้กบั ผูป้ ระสบภยั นำ้ ทว่ มและผู้ทีเ่ ดือดร้อนในกรณีอน่ื ๆ 3) ดา้ นการเผยแพร่ศาสนา สำนักแมช่ ีมีบทบาทดา้ นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ การสอนพระอภิธรรมให้กับ พุทธศาสนิกชน ที่โรงเรียนอภิธรรมโชติกวิทยาลัยภายในวัดมหาธาตุฯ การสอนพุทธศาสนา ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และการออกไปจัดการสอนปฏิบัติธรรมทั้งใน กรุงเทพและต่างจังหวัด อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการเป็นผู้ช่วยสอนการปฏิบัติธรรมให้กับวัด มหาธาตุฯ จากศกั ยภาพและความสามารถของแมช่ บี ญุ เรอื ง บุญปัญญา หัวหนา้ สำนกั แม่ชีคนที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากสมาคมสถาบันแม่ชีไทย เมื่อ วันท่ี 2 เมษายน 2561 โดยมีแม่ชีสโรชา ไชยเกตุ ประธานสถาบันแม่ชีไทย เป็นผู้รับรองการ แต่งตั้ง เพ่ือทำหน้าที่ในการดูแลคณะแมช่ ไี ทยในทางพระพุทธศาสนา เปน็ ภาระสั่งสอน ช่วย แกป้ ญั หาต่าง ๆ และอนเุ คราะหใ์ นเขตการปกครองของแม่ชไี ทย o จดั กระบวนการอบรมศลี ธรรม จรยิ ธรรมตามสถานศึกษา o สอนธรรมศึกษาตามสถานศึกษา 58
แม่ชีไทย o จดั ปฏบิ ตั ธิ รรมตามสำนกั ต่าง ๆ o อบรมธรรมะให้ผู้สงู อายุ o จดั อบรมศีลธรรม จรยิ ธรรมแกเ่ ยาวชนและบุคคลท่วั ไป 4) ด้านการปกครอง o ออกกฎ ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของแม่ชีทั่วประเทศตามคู่มือ (ระเบียบสถาบันแมช่ ีไทย) o ดแู ลแมช่ ีทป่ี ระพฤตไิ ม่เหมาะสม 5) ด้านการอุปถัมภ์ชุมชน การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลก ที่พึงจะ ปฏิบัติต่อกัน พยายามช่วยเหลือผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน โดยมี วัตถุประสงคใ์ ห้เยาวสตรีมีบทบาทท้ังดา้ นเศรษฐกิจและสังคมตามกำลังความรู้ความสามารถ ของตนเองท่พี ึงทำได้โดยไม่ผิดศลี ธรรม ซึ่งในการทำงานและเข้าอบรมแต่ละโครงการที่สำนัก แม่ชสี งบจิตตไ์ ด้จดั ขน้ึ ตอ้ งไดร้ บั ประโยชนจ์ ากโครงการ ดงั น้ี o แม่ชีที่ได้รับการอบรมแล้ว ทำให้เป็นผู้รู้จักเหตุผล สามารถปรับตนเข้ากันได้กับ สังคมทกุ ชนั้ โดยไม่เกอ้ เขิน o ทำให้รจู้ กั หลักเกณฑ์ในการเผยแพร่ ไดแ้ ก่ ศลี ธรรม เคหศิลป์ และวิชาข้ันพื้นฐาน เพือ่ ให้เหมาะสมกับสภาวะและภูมิของตน o ทำให้แม่ชีได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ได้ส่งเสริมเยาวสตรีให้มีความรู้ในธรรม ตามหลักพุทธศาสนาและช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้ ในการตัดเย็บเสื้อผ้า อย่างง่าย ๆ สำหรับตนเองและครอบครัว โดยเฉพาะเยาวสตรีที่อยู่ในท้องถ่ิน ทุรกันดาร เปน็ ตน้ 59
แม่ชไี ทย o ทำให้แม่ชี ได้ประสบการณ์ตา่ ง ๆ ของท้องถิ่นทไ่ี ดอ้ อกไปปฏิบัติงาน จะได้เก็บมา เป็นข้อมูลในการออกไปปฏิบัตงิ านในปีต่อ ๆ ไป o ทำให้แม่ชีมีการเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คือ การออกไป บำเพ็ญประโยชน์นั้นจะต้องมีขันติ ความอดทน ให้พร้อมทั้งกาย วาจา ใจ จะคิด จะพดู จะทำสิ่งใดก็จะต้องเป็นไปตามเหตุและผล 60
แม่ชีไทย บรรณานกุ รมทา้ ยบทท่ี 4 1. สถาบนั แม่ชไี ทย, ใบแตง่ ตง้ั หัวหนา้ ภาค, 2 เมษายน 2561, เอกสารอัดสำเนา. 2. สถาบนั แม่ชีไทย, 50 ปี สถาบันแม่ชีไทย, 2562. หน้า 54 3. สถาบันแม่ชไี ทย, 50 ปี สถาบันแม่ชไี ทย, 2562. หนา้ 120. 61
แมช่ ไี ทย 62
บทท่ี 5 ศกั ยภาพแมช่ ีไทย: หากมองหา จึงมองเห็นคณุ ค่า การบวชแม่ชีเป็นโอกาสให้ผู้หญิงได้เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมทางศาสนามากยิ่งข้ึน กว่าเดิม ทั้งเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วย การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของการ ขัด เกลาอัตตา ข้อมูลจากบทที่ 3 และ 4 ที่ผ่านมา ทำให้เราได้ทราบถึงบทบาทหลัก และ พลังของแม่ชีในการทำคุณประโยชน์ต่อสังคม โดยทั้งสองส่วนจัดว่าเป็นจุดตั้งต้นของการ ชวนมองให้เกิดการเห็นคุณค่าของแม่ชีไทย จนกลายไปเป็นพลังของการรวมตัวที่ยิ่งใหญ่ ที่ เรียกว่า ศักยภาพ คำว่า ศักยภาพ มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่าน อาทิเช่น ณรงค์วิทย์ แสนทอง1 (2547: 8) ให้ความหมายของ Competency หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะส่วน บุคคล ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมที่จำเป็นและมีผลทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในหน้าท่ี รับผิดชอบได้ดี ซึ่ง Competency เกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะ คือ 1) เป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมา ตั้งแต่เกิด 2) เกิดจากประสบการณ์การทำงาน และ ๓) เกิดจากการฝึกอบรมและพัฒนา สอดคล้องกับสุกัญญา รัศมีธรรมโชติ2 (2548: 13) กล่าวถึง คำจำกัดความของคำว่า ศักยภาพ มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น ขีดความสามารถ หรือ สมรรถนะ ซึ่งมาจากศัพท์ ภาษาองั กฤษวา่ Competencyii กล่าวโดยสรุปได้ว่า Competcncy หมายถึง ความรู้ ทักษะและคุณลักษณ์ส่วน บุคคลที่ทำ โดยศักยภาพนั้นก่อให้เกิดประโยชน์มากมายมหาศาล ดังคำกล่าวของ สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงศักยภาพของมนุษย์ คือจุดเริ่มของ พระพุทธศาสนา ในบทความ รวมธรรมะ ไว้ว่า ความจริงแห่งธรรมชาติของมนุษย์ในข้อที่วา่
แมช่ ไี ทย มนษุ ย์เปน็ สัตว์ทฝ่ี ึกได้ พระพทุ ธศาสนาถอื เป็นหลักสำคัญ ความเปน็ พระศาสดาและการทรง ทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า ดังที่ได้เน้นไว้ในพุทธคุณบทที่ว่า “เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ผู้ ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวะและมนุษย์ทัง้ หลาย” และยังมีพุทธพจน์ที่เน้นย้ำถึงหลักการ พัฒนาตนของมนุษย์ เช่น “อัสดร สินธพ อาชาไนย และช้างหลวง ฝึกแลว้ ลว้ นดีเลศิ แต่คนที่ ฝึกตนแล้วประเสริฐกว่า (ทั้งหมด) นั้น” “ในหมู่มนุษย์ ผู้ประเสริฐสุด คือคนที่ฝึกแล้ว” “ผู้ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจริยะ เป็นผู้ประเสริฐสุด ทั้งในหมู่มนุษย์และมวลเทวดา” หากใช้ คำศัพท์ในปัจจุบัน หมายถึง มนุษย์มีศักยภาพสูง มีความสามารถที่จะศึกษาฝึกตนได้ ศักยภาพนี้ เรียกว่า โพธิ ซึ่งแสดงว่าจุดเน้นอยู่ที่ปัญญาและศักยภาพที่มนุษย์ฝึกได้ และใน ด้านของปัญญาให้เห็นว่าแกนนำของการฝึกศึกษาอยู่ที่ปัญญาและศักยภาพสูงสุดก็ แสดงออกทป่ี ญั ญา3 ดังนั้น เพื่อให้เกิดการต่อจุดการพัฒนาตนเองที่ผสมผสานระหว่างบทบาทหน้าที่ ดั้งเดิม เช่น แม่ชีทำครัว แม่ชีนักบริหาร แม่ชีนักดูแลวัด ทำความสะอาด ปรนิบัติพระสงฆ์ แม่ชีเองก็ต้องพัฒนาเปลี่ยนจุดสนใจ เปลี่ยนตัวเองเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ให้การทำงานในหน้าที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นำไปสู่การจุดประกาย จูงใจ สร้างความ ภาคภูมิใจในศักยภาพแม่ชีไทย ด้วยการพัฒนาส่วนที่เป็น Knowledge และ Skill เป็นสิ่งท่ี แต่ละคนต้องพัฒนาให้ดีขึ้นได้ไม่ยาก ด้วยการศึกษาค้นคว้าทำให้เกิดความรู้และการฝึกฝน ปฏิบัติทำให้เกิดทักษะ สำหรับ Self-concept, Trait และ Motive เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ยาก เพราะเปน็ ส่งิ ที่ซอ่ นอย่ภู ายในแตล่ ะบคุ คล จากการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างแม่ชีไทยใน 10 สำนัก ทำให้เกิดข้อค้นพบว่า แม่ชี ของไทยมีศักยภาพด้านที่มีคุณค่า ในส่วนของความรู้เฉพาะด้าน (Knowledge) อาทิเช่น ความรู้ ด้านภาษาบาลี ปฏิบัติกรรมฐาน ดังคำสัมภาษณ์ของ แม่ชีประสิทธิ์ เรืองฤทธิ์ สัมภาษณเ์ ม่ือวันท่ี 10 มกราคม 2566 I สำนักแมช่ ีประชมุ นารี ท่ีกลา่ วไวว้ า่ 64
แม่ชไี ทย “รนุ่ น้ี รุ่นน้จี ะสง่ เสรมิ รู้สกึ จะเรยี นบาลี พ.ศ 2515 เปดิ กม็ าเปิดนะส่งพระ รุ่นเก่าๆ ก็หมดไปก่อนรุ่น พ.ศ 15 ก็จะเริ่ม แม่ชีเริ่มต่ืนตัวในการศึกษาเยอะ เมื่อก่อนมีนกั ธรรมเอก จบกนั กเ็ ลิกไป พอหลงั ๆอภิธรรม อภธิ รรมบัณฑติ อยา่ งนเี้ รมิ่ เน่ยี พ.ศ 2515 ตามประวตั ิแม่ ชีสังวาลย์ เริ่มให้การศึกษาให้สูงๆขึ้น เราก็ส่งเสริมตอนนี้ก็มีอภิธรรมบัณฑิตเยอะ ทั้งนี้แม่ ชีเราน้อยลงก็ไมม่ ี เราก็ไมม่ กี ารสง่ ไม่มีคนเรียนนะคะ มีฆราวาสไปเรียนแม่ชไี ปสอน เรียน ที่วัดมหาธาตุหลวงพ่อดึงไปเรียนที่ข้างโบสถ์วัดมหาธาตุนะ แต่สอบมาสอบที่สำนักเรียนที่นี่ รสู้ ึกว่าแมช่ ีอะไรแม่ชีสมศรี ใชไ่ หม สมศรี ประโยค 9 คนแรกนะ สมศรี จารเุ พลง นะ ปีน้ีมา คุมสอบยังแนะนำอาจารย์ที่พวกที่เรียนครูสมาธิของหลวงพ่อวิริยังค์มาเรียนเยอะ ว่าปีน้ี พวกคุณโชคดีนะ ได้ครูที่เป็นอภิธรรมบัณฑิตและประโยค 9 คนแรกของประเทศมาคุม สอบ อาจารย์สมศรี จารุเพลง จารเุ พลงไหม” “พระไม่ค่อยได้เรียนอภิธรรม แต่แม่ชีนี่เรียนอภิธรรม อ่า รุ่นแรกๆก็จะไปเรียนที่ วัดมหาธาตุนะค่ะ พระครูบวร พระครูบวร ธรรมสมาจารย์ เป็นพระฝั่งที่ปฏิบัติวิปัสสนา แล้วก็ไปเรียนที่วัดมหาธาตุจนจบและมาเผยแพร่ รุ่นเก่าๆก็เรียนขึ้น มาเรียนขึ้น มาตอน หลังก็ เอ่อ แม่ชกี ส็ อน พอแม่ชีเกง่ แมช่ ีก็สอนเร่อื ย ๆมา สืบๆ กนั มานั่นแหละค่ะ คนไหน เรียนพอมปี ญั ญา พอมีความสามารถ ก็สอนร่นุ นอ้ ง ๆ ต่อไปเปน็ ปึกแผน่ มอี ภิธรรมบัณฑติ มากในสำนกั น้องคนนั้นเขากจ็ บอภธิ รรมบัณฑิต แลว้ กต็ อนนกี้ ็แม่ชีไมค่ อ่ ยบวชนะ ไม่ค่อย มีใครบวชนะ มา 7 วัน 15 วนั กส็ ึกไป เหลือแตผ่ ้เู ฒา่ เฝา้ วดั เนีย่ กย็ อม” ผลจากการสัมภาษณ์ ทำให้เกิดข้อค้นพบ ว่า ศักยภาพแม่ชีไทย จะซึ่งสามารถ ผลักดนั ใหแ้ ม่ชีนน้ั สร้างผลการปฏิบัตงิ านท่ดี ี หรือเป็นไปตามเกณฑท์ ี่กำหนด หรือสรา้ งสรรค์ โลกใบนี้ให้น่าอยู่ขึ้นด้วยการผสมผสานระหว่างการพัฒนาส่วนที่เป็น Knowledge Motive ที่หมายถึง แรงจูงใจหรือแรงขับภายใน และ Skill คือทักษะสิ่งที่บุคคลกระทำได้ดีและฝึก ปฏิบัติเป็นประจำจนเกิดความชำนาญ ด้วยการอาศัยเทคโนโลยี ความสามารถด้าน 65
แมช่ ไี ทย ภาษาต่างประเทศ ซึ่งการพัฒนาทักษะเหล่านี้เพิ่มเติมจากความรู้เฉพาะดา้ น ด้วยการฝึกฝน และสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับตนเอง โดยอาศัยการพัฒนาศักยภาพของตนเองผ่าน รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการเพิ่มโอกาสให้แม่ชีได้เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ยอ่ จาก information technology) หมายถงึ เทคโนโลยี สำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การ ประมวลผล และ การค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทาง เทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูล แบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการท างานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูล ต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย) ซึ่งในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยี สารสนเทศและการ สื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)4 โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่แม่ชีนั่นมีอยู่แต่เดิมอยู่แล้วหากได้รับการเพิ่มศักยภาพ โดย อาศัยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เทคโนโลยีการสื่อสาร ซอฟท์แวร์ ถกู นำมาใช้เพอ่ื การนำเสนอข้อมลู (Data) มาเป็นสารสนเทศ (Information) และ องค์ความรู้ (Knowledge) จึงเรียนได้ว่าเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน หลายคนบนโลกน้ี สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยการค้นหาเรื่องราวที่ตนสนใจที่จะศึกษา การ นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ปัจจุบันได้ถูกนำมาเผยแผ่ บนอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และ E-Learning ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้จากสือ่ ต่าง ๆ นำเสนอออกมาทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ในรูปแบบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถแสดงผลด้วยภาพ ข้อความ เสียง สีสัน และภาพเคลื่อนไหว ได้ ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความบันเทิงในการศึกษาข้อมูลมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถพกพาไป 66
แมช่ ไี ทย อ่านได้ทุกที่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงแสงมากหรือน้อย เพราะอุปกรณ์ E-Book มักมีแสง Backlight ของตัวเอง E-Book ยงั ทำใหอ้ ่านหรือทำความเข้าใจได้งา่ ยกวา่ หนังสือ นอกจากนี้ ยังสามารถเกบ็ ข้อมลู ไดเ้ ปน็ จำนวนมากอกี ดว้ ย ในส่วนของการเพิ่มเติมความสามารถด้านภาษาต่างประเทศของแม่ชี เนื่องจาก ภาษาองั กฤษเปน็ ภาษาทม่ี ีความจำเป็นอยา่ งมากเพราะภาษาอังกฤษ เปน็ ภาษาสากลท่ีใช้ใน การตดิ ตอ่ ระหวา่ งชนชาติต่างๆ ภาษาองั กฤษจึงเป็นภาษาต่างประเทศท่คี วรจะได้เรียนรู้เพื่อ สามารถติดต่อกับ ชนชาติต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อส่วนตัว การเจรจาทางการทูต การเมือง การทำธุรกิจ ค้าขายและการท่องเที่ยว5 ในสังคมปัจจุบัน การเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสาร ภาษาอังกฤษเป็น ภาษาท่ีเป็นบันไดสู่การศึกษาและความก้าวหนา้ ทางดา้ นวชิ าการ การแลกเปลย่ี นความรู้หรือ วิทยาการใดๆ ย่อมใชภ้ าษาองั กฤษ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของการมองหา คุณค่าด้านความสามารถทางภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของการสร้างศักยภาพของแม่ชีไทย ทำให้นานาประเทศได้เห็นถึง บทบาทที่สำคัญ พลังของสตรี ที่สามารถพัฒนาทั้งตนเอง ขับเคลื่อนสังคมผ่านความรู้เดิม ด้านการปฏิบัติตามข้อกติกา ระเบียบ วินัย และ จริยวัตร ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น นับเป็น เครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงหลักธรรมพื้นฐานของแม่ชีไทยที่จะปฏิบัติตามศีลกรรมบถ 10 และ เสขยิ วตั ร 75 และละเว้นเพอ่ื ความสมบูรณ์ในตัวเอง ด้วยการเพิ่มการรับรู้ภาพลักษณ์ ตัวตน ของแม่ชีเพิ่มเติมมากขึ้นในวงกว้าง เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์กับบุคคล หลายกลมุ่ อายุ อาจจะประยุกต์หลกั ธรรมคำสอนใหท้ ันสมัยย่ิงขนึ้ เชน่ นทิ าน การต์ ูน วดี ีโอ แอนนิเมช่นั รวมถึงสอดแทรกสาระธรรมะเข้าไปด้วยควรเปน็ ส่ือที่ดูง่ายไม่ซบั ซ้อนทำออกมา ให้เขา้ ใจงา่ ย และดูสนุก 67
แมช่ ีไทย ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ศักยภาพแม่ชีไทย: หากมองหา จึงมองเห็นคุณค่า ท่ี นอกจากทักษะ ความรูเ้ ดิม ที่แม่ชีทุกสถาบันเชี่ยวชาญแลว้ ควรมีการส่งเสริมสนบั สนุนให้มี การอบรมเพิ่มศักยภาพ ด้านเทคโนโลยี แอฟพลิเคชั่น การใช้สื่อออนไลน์ต่าง ๆ และ ภาษาต่างประเทศเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างตัวตนของพลังแม่ชี ผ่านการรับรู้บน สื่ออินเทอร์เน็ตจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ สามารถทำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายและ กว้างขวางมากที่สุดไม่จำกัดเวลาและสถานที่ผู้ใช้อยู่ที่ไหนเวลา จนกระทั่งคนในสังคมเห็น ศักยภาพของแม่ชีไทย ในการก่อให้เกดิ คณุ คา่ ดา้ นการสรา้ งพลงั สตรขี องทุกชว่ งวัยนนั่ เอง 68
แม่ชไี ทย บรรณานกุ รมทา้ ยบทที่ 5 1. ณรงค์วิทย์ แสนทอง, มารู้จัก Competency กันเถอะ, (กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็น เตอร์, 2547), หน้า 8. 2. กัญญา รัศมีธรรมโชติ, แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning, พิมพ์ครง้ั ที่ 2, (กรงุ เทพมหานคร: บรษิ ัท ศิริวฒั นา อนิ เตอรพ์ รนิ ท์ จำกดั (มหาชน), 2548), หนา้ 13. 3. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต), รวมธรรมะ: ศักยภาพของมนุษย์ คือ จุดเริ่มของ พระพุทธศาสนา, แหล่งที่มา: https://www.payutto.net/book-content/ [27 ตุลาคม 2565]. 4. ชุมพล ศฤงสารศิริ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ป.สัมพันธ์พาณิช, 2540 5. ดวงเดือน แสงชัย. (2533). การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โครงการ ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. 69
แมช่ ไี ทย 70
บทที่ 6 พลงั ของสตรี: กา้ วต่อไปในการทางานของแม่ชีไทย เนื้อหาของบทนี้ เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติที่ดี สำหรับการทำงานในก้าวต่อๆ ไปของแม่ชีไทย ข้อมูลลดังกล่าวจะเป็นแรงขับเคลื่อนโดย อาศยั การทำงานของแม่ชีเปน็ ฐานในการสรา้ งความเปล่ยี นแปลงทั้งด้านตนเองและสังคมไทย ไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี การพัฒนาศักยภาพตนเอง การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการเกอื้ กูลสังคม ดังไดก้ ลา่ วมาแล้ว ดงั นั้น เม่ือพิจารณา ถึงกรอบแนวทางและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการทำงานในก้าวต่อๆ ไปของแม่ชีไทย สามารถ แบ่งได้ดังนี้ 1. กา้ วแรก: การทางานดา้ นการศึกษา เพื่อพฒั นาตน้ ทนุ มนษุ ยอ์ ยา่ งยง่ั ยืน การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและ สงั คม โดยการถ่ายทอดความรู การฝกึ การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต1 จากความใน มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 นั้น การศึกษาจะต้องเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงามขึ้น โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้นมีหลายทางได้แก่ การถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การ สืบสานวัฒนธรรม การทำให้เกิดการสร้างสรรค์ การจรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ อัน เป็นวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้วิชาการนั้นเจริญก้าวหน้า การจัดสภาพแวดล้อมสังคมที่ทำให้เกิด
แม่ชไี ทย การสร้างองค์ความรู้ การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ของ บุคคลรวมถงึ ปจั จัยท่ีเกอื้ หนุนใหบ้ ุคคลได้เรียนรู้ท้ังหมดน้ัน จะตอ้ งทำให้เกิดการเรียนรู้อย่าง ต่อเนอ่ื งและตลอดชีวติ แสดงวา่ การศึกษาจะต้องเปน็ กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้ คนในสงั คมไดเ้ รยี นรู้ เกิดปจั จยั หรอื ส่งิ ท่ชี ่วยใหเ้ กิดการเรยี นรู้ มกี ารจดั สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคมใหเ้ กิดการสรา้ งองค์ความรู้ เกดิ การสรา้ งสรรค์งานวชิ ากา มีการถา่ ยทอดความรู้จาก บุคคล องคก์ รและจากส่วนต่าง ๆ ให้บคุ คลได้เรยี นรู้ การฝกึ ให้บุคคลได้เรียนรู้ การอบรมให้ บุคคลได้เรียนรู้ และเกิดการสืบสานทางวัฒนธรรมให้บุคคลได้เรียนรู้ ทั้งนี้กระบวนการ ทง้ั หลายจะต้องทำให้บุคคลเรยี นร้อู ยา่ งต่อเนอื่ งตลอดเวลาและเกดิ การเรยี นรตู้ ลอดชีวิต นอกจากนี้ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพือ่ พัฒนาคนไทยให้เปน็ มนษุ ย์ที่สมบูรณท์ งั้ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 นั้น ระบุว่าการจัด การศึกษาต้องทำให้เกิดการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทุกด้านคือ พัฒนาด้าน ร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา ด้านความรู้ และด้านคุณธรรม คือ การจัดการศึกษาต้อง พัฒนาคนไทยในทุกด้าน แม้จะเกิดการเน้นด้านใดด้านหนึ่งมาก็จะต้องพัฒนาด้านอื่นให้ ครบถ้วน ทั้งนั้นจะต้องพัฒนาคนไทยให้มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตควบคู่ได้ ดว้ ย ซึ่งจะต้องทำให้บคุ คลน้นั สามารถอยูร่ ่วมกับคนอ่นื ในสังคมไดอ้ ย่างมคี วามสขุ เมื่อพิจารณาควบคู่กันทั้งการศึกษาและการจัดการศึกษาว่าจะต้องพัฒนาคนด้ วย กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายและให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต พร้อมทั้ง พัฒนาให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และ คุณธรรม รวมทั้งมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ความสขุ แม่ชีไทยจึงมสี ิทธไิ ด้รับการศึกษาเชน่ เดียวกับบุคคลอ่ืนในสังคมไทยและมีสิทธิและ 72
แม่ชไี ทย หน้าที่ที่จะต้องร่วมในการด้านการศึกษา โดยเฉพาะในการพัฒนาคนไทยในด้านจิตใจ สติปัญญา และคุณธรรม รวมทั้งการพัฒนาให้คนไทยมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการอยู่ ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข แม่ชีไทยถือเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสงฆ์ถึงแม้จะมิได้เป็นท่ี ยอมรับอย่างเป็นทางการ เนื่องจากได้ปฏิบัติภารกิจครบถ้วนตามแบบอย่างในอดีตท่ี พระสงฆ์ได้ปฏิบัติมา และสอดคล้องกับความหมายของการศึกษาในมาตรา 4 และการจัด การศกึ ษาในมาตรา 6 (ปริชาติ สวุ รรณบปุ ผา, 2545:39) โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ กบั กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมที่หลากหลายให้เกิด การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกด้าน มี จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสขุ แม่ชีผู้ ซึ่งอุทิศตนเป็นนักบวชปฏิบัติธรรมที่วัดและสำนักชี สละบ้านเรือนเป็นอนาคาริก นุ่งขาวห่ม ขาว โกนควิ้ โกนผม ถอื ศีล 8 โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจริยะ ย่อมจะ ช่วยในการจัดการศึกษาแก่บุคคลและสังคมให้เกิดความเจริญงอกงามด้วยกระบวนการ เรียนรู้ที่หลากหลายทำให้เกิดการเรียนรู้อยา่ งต่อเนื่องตลอดชีวติ ด้วยความเปน็ นักบวชแม่ชี ย่อมเอื้อให้การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในด้านจิตใจ สติปัญญา คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี ความสุข แม่ชีไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสาขาของสถาบันแม่ชีไทยทั้ง 22 แห่ง มกี ิจกรรมการศกึ ษา 4 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 โครงการนำรอ่ งมหาประชาบดีเถรีวิทยาลัย (มปถ.) ในพระสังฆราชูป ถัมภ์ สังกัดคณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย เป็นวิทยาลัย พระพุทธศาสนาของสตรีแห่งแรกในประเทศไทย จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 73
แมช่ ีไทย หลักสูตร 4 ปี แก่แม่ชีและอบุ าสิกาท่ีสนใจตัง้ แต่ปี 2542 คณาจารย์ ผู้สอนเป็นอาจารย์จาก มหาวทิ ยาลยั มหามงกุฏราชวิทยาลัย และแม่ชี รวมท้งั อาจารยจ์ ากมหาวิทยาลยั บางแห่งร่วม ทำการสอน มีจุดหมายเพื่อการศึกษาสร้างนักบวชหญิงให้เป็นครูที่ดี และเป็นศาสนทายาท ที่สามารถเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยหวังที่จะได้เห็น สถานภาพที่ดีขึ้นของนักบวชหญิง ซึ่งเป็นกลุ่มนักบวชที่ช่วยพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมท่ี เจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม การจัดการเรียนการสอน ของมหาปชาบดีเถรี วทิ ยาลยั เป็นสถานศกึ ษาในระบบแห่งเดียวที่มแี มช่ ีมสี ่วนร่วมในการเรียนการสอน หลักสูตร เป็นหลักสูตรศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์ ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2543 มี เนื้อหาวิชาครอบคลุมทุกด้าน โดยคาดหวังว่าแม่ชีที่จบการศึกษาจะเป็นนักวิชาชีพคือเป็น นักบวชหญิงท่ดี ี สามารถศึกษาตอ่ ตามท่ตี นตอ้ งการ ตามความสนใจและความ สามารถ ประเภทที่ 2 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ เป็นการตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เป็นกิจการของวัดที่ดำเนินการโดยแม่ชี ที่แม่ชีตั้งและ ดำเนินการเองโดยลำพัง ทั้งนี้ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดที่ดำเนินการโดยแม่ชีท่ัว ประเทศมีมากมาย ตัวอย่างเชน่ 1) ศูนย์พฒั นาเดก็ และเยาวชนวัดพุตะเคียน เป็นศูนย์อบรมเด็กกอ่ นเกณฑ์ในวัดตาม ระเบียบการจัดตั้งของกรมการศาสนา ตั้งอยู่ที่วัดพุตะเคียน ตำบลท่าเสา อำภอไทรโยค จังหวัดกาญจบุรี จัดตั้งโดยเจ้าอาวาสวัดพุตะเคียนและเป็นประธานศูนย์ ในการดำเนินงาน เปน็ ศนู ย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด สนบั สนนุ เด็กเกินเกณฑ์ทไี่ ม่รู้หนังสือให้เข้ามาเรียนและ สนับสนนุ ใหเ้ รียนต่อในโครงการศึกษานอกโรงเรยี น 2) การศึกษาทางเลือกนานาชาติไทยภูเขา เป็นสถานศึกษาที่เป็นทั้งศูนย์อบรมเด็ก ก่อนเกณฑ์ที่ตั้งอยู่ในวัดศรีสุวรรณาราม ตำบลหนองลู สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่ อุปการะเด็กและสอน การเตรียมความพร้อมก่อนข้ึนประถมศึกษา และสอนเด็กท่ีโตกว่าเด็ก 74
แม่ชไี ทย เล็ก ศูนย์นี้เป็นสถานศึกษาอย่างไม่เป็นทางการไม่ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของวัดตาม ระเบียบกรมการศาสนา แตด่ ำเนนิ การโดยแมช่ ีพมิ พ์ใจ มณรี ัตน์ อีกทัง้ แมช่ ีมีเชือ้ สายกระเห รี่ยงจึงรับเด็กที่เป็นลูกของชนกลุ่มนอ้ ยตามแนวชายแดนไทย-พม่า ทั้งมอญ กระเหรี่ยง กระ หล่าง ลาว พม่า และทวาย เป็นเด็กกำพร้า เด็กยากจนและเด็กที่ครอบครัวยังอาจมีปัญหา เร่อื งการสง่ กลับประเทศประมาณ 40 คน มาสอนภาษาไทย การอา่ นออกเขียนได้ วิชาทั่วไป แบ่งการสอนเป็น 3 ระดับ ระดับเด็กเล็กปฐมวัย จำนวน 10 คน ระดับ กลาง ม.1-ม.3 จำนวน 20 คน ระดับปลาย มัธยมศึกษาตอนต้นและเรียนกศน. ที่ทางการจัดให้จำนวน 10 คน ประเภที่ 3 การศึกษานอกระบบ ที่สาขาของแม่ชีไทย 22 แห่ง มีโครงการเกี่ยวข้อง กบั การศกึ ษานอกระบบ ตวั อยา่ งเช่น 1) สถานศึกษาธรรมจาริณีวิทยา สาขาสถาบันแม่ชีไทย ปากท่อ จังหวัดราชบุรี เป็น สถานศึกษาที่จัดการสอนโดยคณะแม่ชีและผู้รักษาศีล จัดการสอนวิชาสามัญระดับ มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ และมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบการศึกษานอกระบบโรงเรยี น (กศน.) และสอนวิชาพระปรยิ ัตธิ รรม ธรรมศกึ ษาและบาลศี กึ ษา เรม่ิ ดำเนนิ การเมื่อปี พ.ศ. 2533 ใน ปี พ.ศ. 2543 มนี กั เรยี น กศน. 86 รูป/คน สายปริยตั ิธรรม 8 รูป/คน บาลี 4 รปู ธรรมศึกษา 80 รูป/คน นกั เรียนทง้ั หมดอยู่ประจำทธี่ รรมจาริณีวิทยา เป็นสถานศกึ ษาท่ีเปิดโอกาสให้แม่ ชีและเด็กหญิงที่ไม่มีโอกาสศึกษาในระบบโรงเรียนได้ศึกษาวิชาสามัญ และวิชาสำคัญทาง พระพุทธศาสนาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นักเรียนทุกคนต้องทำกิจกรรมโครงการ เช่น โครงการ พัฒนาชุมชน โครงการขุดคลองการมีโครงการศึกษานอกระบบที่จัดการเรียนการสอนและ บริหารจัดการโดยมีแม่ชีประทิน ขวัญอ่อน เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาและเป็นประธาน สถาบันแม่ชีไทย ผู้สอนเป็นแม่ชีและผู้ถือศีล 15 รูป/คน ทุนทรัพย์ในสถานศึกษาเป็นเงิน 75
แม่ชีไทย บริจาคของผู้มีจิตศรัทธา สถานศึกษาจัดการบวชเนกขัมมะแก่เด็กหญิงและประชาชน ผสู้ นใจมาอบรมสมาธิวิปสั สนา และรับเชญิ ไปสอนศลี ธรรมในโรงเรยี น 2) ศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นการจดั การศึกษาที่ดำเนินการโดยแม่ชีผู้เปน็ สมาชิกของสถาบันแม่ชีไทย ซึ่งฆราวาสผู้ต้องการศึกษาพระพุทธศาสนา ธรรมศึกษาและ วิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการสอนวิชาพุทธศาสนา และเรียนรู้หลักธรรมหรื อธรรมศึกษา ตามหลักสูตรของคณะสงฆ์และส่งเข้าสอบสนามหลวง หลักสูตรประกอบด้วย วิชาพุทธศาสนา ศาสนพิธี วัฒนธรรม วิชาภาษาอังกฤษภาคพระพุทธศาสนา วิชาธรรม ศึกษา วิชาวาทศิลป์ วิชานาฎศิลป์ วิชาดนตรี พิมพ์ดีด และคอมพิวเตอร์ การจัดการเรียน การสอน เน้นกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมเสริมความสามัคคี และกิจกรรมบำเพ็ญ ประโยชน์ ใหเ้ ด็กมีพัฒนาการและการร่วมกิจกรรม ศนู ยศ์ กึ ษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ ดำเนินงานโดยแม่ชีได้แก่ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สวนแก้ว จังหวัดราชบุรี ตั้งอยู่ในสำนักปฏิบัติสวนแก้ว ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิอาจารย์แม่ชีหวานใจ ชูกร ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่งพระ อาจารย์มาสอนวิชาพุทธศาสนา 3 ท่าน โรงเรียนเทคนิคศรวี ฒั นาส่งอาจารย์มาสอนพิมพด์ ีด คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ และวิชานาฏศิลป์ สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จัดรถรับส่ง นักเรยี น เป็นตน้ นบั เป็นการจดั การศึกษาทส่ี ังคมมีส่วนรว่ ม ประเภทที่ 4 การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นโครงการที่แม่ชีส่งเสริมการศึกษาตาม อัธยาศัย มีโครงการ 3 โครงการ คือโครงการให้การอบรมธรรมะ ความรู้พระพุทธศาสนา และอบรมวิปัสสนากรรมฐาน โครงการให้การฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อเสริมรายได้ให้ครอบครัว และโครงการให้การอบรมเก่ยี วกบั ผสู้ งู อายุ สขุ ภาพ และสมุนไพร 1. โครงการอบรมวิทยากรภาคฤดูร้อน เป็นการอบรมการเผยแผ่ธรรมะให้แก่แม่ชี เพื่อให้แมช่ ีมีความพร้อมในการอบรมเยาวชน 76
แม่ชไี ทย 2. โครงการอบรมปรยิ ัตธิ รรม เปน็ การอบรมการเผยแผธ่ รรมะให้แก่แมช่ ีผู้สอนปริยัติ ธรรม เพื่อให้แม่ชีมีความสามารถสอนธรรมศึกษาตรี โท เอกได้สถานที่ใช้ในการอบรม โครงการทั้งโครงการอบรมแม่ชีเป็นวิทยากรภาคฤดูร้อน และโครงการอบรมแม่ชีครูสอน ธรรมศึกษาได้รับการอนุเคราะห์สถานที่จิตตภาวันวิทยาลัย และเงินสนับสนุนค่าใช้จ่าย โครงการจากสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ฝ่ายส่งเสริมและ พัฒนากรมประชาสงเคราะห์ นอกจากนี้ มูลนิธิสถาบันแม่ชียังขอทุนจากกรม ประชาสงเคราะห์สนับสนุนกลุ่มแม่ชีจัดโครงการอบรมค่ายจริยธรรม ที่สำนักแม่ชีปฏิบัติ ธรรมเขาพระบาท ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และสำนัก เนกขมั มจาริณี ตำบลธงชยั อำเภอเมอื ง จงั หวัดเพชรบรุ ใี ห้แกเ่ ยาวชนชาย-หญิง 77
แมช่ ีไทย 2. กา้ วท่ีสอง: การทางานดา้ นการสรา้ งสมั มาชีพ เพ่ือหารายไดเ้ ล้ียงดตู นเอง ชมุ ชน และแบ่งปันใหก้ บั สงั คม การนำความรู้ ความสามารถของแมช่ ี ที่ไม่ไดเ้ ป็นเพยี งการทำครัว ทำความสะอาดวัด งานในสถาบันศาสนาบางส่วน เช่น การร่วมกับสงฆ์ในพิธีทางศาสนาบางอย่าง ได้แก่ การ ทำบญุ ขึน้ บา้ นใหม่ งานบวชนาค แจกฎกี าเรีย่ ไรเงนิ ใหว้ ัดและสำนักชี นับแตจ่ ัดตัง้ สถาบันแม่ ชีไทย เมื่อ 28 สิงหาคม 2521 ทำให้แม่ชีมีบทบาทต่อศาสนาและสังคมมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ แม่ชีมีการศึกษาดีขึ้น และมีธรรมะ จะสามารถช่วยบ้านเมืองได้หลายทาง เช่น แนะนำสั่ง สอนบุคคลโดยเฉพาะเยาวชนของชาติให้รูจ้ ักธรรมะ เปน็ พลเมืองดีของชาติ ให้ความรู้ เอาใจ ใส่ดูแลคนป่วยคนยากจน ซึ่งเป็นการแผ่เมตตาปฏิบัติบูชาตามคำสอนในพุทธศาสนา เป็น กุศลอย่างย่ิง2 บทบาทของแมช่ ีท่จี ะมีต่อพระพุทธศาสนาละสังคมมากข้ึน แมช่ ีหวานใจ ชูกร เป็นผู้นำในการสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุ เป็นผู้นำการดำเนินการเปิดโรงเรียนพุทธ ศาสนาวันอาทิตย์แก่ยุวชนพุทธศาสนิกชนแห่งเมืองราชบุรี การจัดฟื้นฟู ประเพณีเทศน์ มหาชาติและลอยกระทง เพื่อธำรงรักษาประเพณีท้องถิ่นอันดีงาม แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถานให้เป็นสถานธรรมให้ความรู้หรือปริยัติ การฝึกปฏิบัติหรือปฏิบัติ ด้วยโครงการต่าง ๆ ที่มีผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิดต่อพุทธศาสนิกชน เช่น โครงการศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา โครงการชีวิตเพื่อพระธรรม โครงการนักสู้คู้คุณธรรม โครงการอาสาสมัครโลกสวยด้วยน้ำใจ โครงการสร้างภูมิคุ้มกันให้ ครอบครัว และโครงการเผยแผ่สื่อทางธรรมที่ผลิตสื่อธรรมเป็นธรรมบรรณาการ และแม่ชี ประยูร ยุวบุณย์ ทจี่ ัดกจิ กรรมเพอ่ื การปฏิบตั ิภายในสถานธรรมของวัด ในขณะเดียวกันพลังของแม่ชีในหลายหลายสำนัก แสดงให้เห็นถึงพลังของการ ถ่ายทอด ด้วยการทแ่ี มช่ ีไดน้ ำความร้ใู นดา้ นทีต่ นเองถนัด ไปเปน็ วทิ ยากรไปสอนวชิ าชพี เปน็ โครงการที่สำคัญของแม่ชี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีผู้ว่างงานมากจึงต้องการเพ่ิม 78
แมช่ ีไทย รายได้ให้ครอบครัวด้วยการให้ผู้หญิงในชนบทมีส่วนร่วมในการหารายได้ สำนักแม่ชีจึงจัด อบรมแม่ชีและเยาวสตรีให้มีความรู้ทางการฝีมือ ทำดอกไม้ ตัดเสื้อผ้า ปั้นดินหอม ทำ กระดาษสา เปน็ ทรี่ ู้จักของแม่ชีทงั้ หลาย ได้แก่ 1) สำนักสงบจิตแม่ชีไทย ตั้งอยู่ที่ 49-51 ซอยอ่อนนุช 30 แขวงสวนหลวง กรุงเทพ มหา นคร 10250 ดำเนินงานโดยแม่ชีชวนชม แออ่วม โดยรับแม่ชีที่สนใจเรียนวิชาชีพ เบื้องต้น และส่งเสริมแม่ชีไปอบรมกลุ่มแม่บ้านเยาวสตรีตามที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่ม สถาบันราชภัฎขอมา วัตถุประสงค์ของสำนักเพื่อเป็นโอกาสให้สตรีได้มารวมกลุ่มและได้ พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาของตน และแม่ชีก็มีโอกาสให้คำปรึกษา สอนให้ไหว้พระสวดมนต์ และนั่งสมาธิ พร้อมกันนั้นกลุ่มแม่บ้านจะได้มีวิชาชีพเบื้องต้น เพื่อเสริมรายได้ให้แก่ ครอบครัว ยังให้ทุนการศึกษาให้แก่แม่ชีที่สนใจเรียนในระดับ ป. 6 และกศน. ม.ปลาย โดย จะต้องทำงานใช้ทุนให้สำนัก 2 ปี สำนักขาดแคลนบุคลากรด้านวิชาชีพ เพราะแม่ชีที่บวช สนใจเรียนในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มวิทยะฐานะของตนมากขึ้น ทั้งการเรียนกศน. เรียน มหาวิทยาลยั เปิดของรัฐ และเรยี นตอ่ บาลีศึกษา เงินคา่ ใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักได้ จากเงินดอกผลของมูลนิธิสำนักสงบจิตแม่ชีไทยที่แม่ชีช้อย มณีขาว เป็นประธาน เงิน สนบั สนนุ จากกรมประชาสงเคราะห์ และขายของทผี่ ลิตโดยสมาชกิ แม่ชซี งึ่ มอี ยู่ 12 รูป 2) บ้านหัตถภัณฑ์ ตั้งอยู่ 332 หมู่ 4 ตำบลบุญจิต อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120 ดำเนนิ งานโดยแม่ชีพิสมัย เสฎฐัตต์ เปน็ สมาชิกสถาบนั แม่ชีไทย ดำเนินการกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการอบรมวิชาชีพ เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้า ทำดอกไม้ โภชนาการ ด้วยการรวมกลุ่ม ชาวบ้านแล้วจัดอบรมวิชาชีพ โดยแม่ชีและชาวบ้านที่เคยรับการอบรมเดินทางไปเป็น วิทยากรสอนชาวบ้านในเขต อำเภอเมือง อำเภอเชียงคำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา อำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ค่าใช้จ่ายในการเรยี นเสียคนละ 500 บาท เป็นค่าตอบแทนวิทยากร ส่วนอุปกรณ์ในการเรียน แม่ชีนำไปจากโรงงานที่บ้าน 79
แมช่ ไี ทย หตั ถภณั ฑ์ พรอ้ มกบั หางานจากกรุงเทพ คอื เสื้อผ้า กระโปรง จากกรงุ เทพท่ีตลาดโบ๊เบ๊ไปให้ กล่มุ แมบ่ ้านเย็บเพื่อหารายได้พิเศษ อีกทงั้ ยังสอดแทรกการสอนศลี ธรรม การนำพุทธศาสนา มาใช้แก้ปัญหาชีวิต และจัดการบวชศีลธรรมจารณิ ี ภาคฤดรู ้อนเป็นประจำ ช่วยทำให้ผู้หญิง ในหมู่บ้านมีอาชีพ มีรายได้ทำในชุมชนของตน ช่วยสกัดกั้นการอพยพมาทำงานใน กรงุ เทพมหานคร การมาขายบริการทางเพศใน กรงุ เทพมหานครและที่อ่ืน ๆ เพราะชาวบ้าน มรี ายไดเ้ พมิ่ และมีธรรมเป็นเครอ่ื งยึดเหนี่ยวในการตัดสนิ ใจส่งิ ต่าง ๆ ไดด้ ีขนึ้ เป็นภารกิจการ จัดการศึกษาตามอัธยาศยั ท่เี ปน็ ประโยชน์แกส่ ังคมไทยและผู้หญิงไทยอยา่ งยิง่ 80
แม่ชีไทย 3. กา้ วท่ีสาม: การทางานดา้ นสขุ ภาวะ เพ่ือดแู ลสขุ ภาพ “สงู วยั หา่ งไกลโรค ดว้ ยตารบั ยาไทย” โครงการให้การอบรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุสุขภาพและสมุนไพร เป็นโครงการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ชาวบ้าน เฉพาะกลุ่มได้แก่โครงการอบรมผู้สูงอายุ โครงการสุขภาพชุมชน และโครงการอบรมให้คำแนะนำเก่ยี วกบั การใชส้ มุนไพรรักษาโรค ดังน้ี 1) โครงการชมรมผู้สูงอายุ เป็นโครงการให้ความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วย การรวมกลุ่มผสู้ ูงอายุ จดั เฉพาะวันพระ ให้รูจ้ ักวธิ ีการรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหารท่ี ถูกตอ้ ง การออกกำลงั กาย การฝกึ กายบริหารท่ีเหมาะสมกับวัย ร่วมปฏิบตั ธิ รรม ถือศีล และ นั่งสมาธิ ฝึกโยคะตามความเหมาะสมของบุคคล จัดโดยสถาบันแม่ชีไทย เชิญวิทยากรผู้มี ความรเู้ ฉพาะทาง เช่น เจา้ หน้าทส่ี าธารณสขุ พระ แม่ชี ให้การอบรมและฝกึ ปฏิบัติ รวมกลุ่ม ผู้สูงอายุที่วัดบุญญฤทธยารามและวัดธรรมนิมิต จังหวัดชลบุรี ได้รับการสนับสนุนเงิน งบประมาณจากกรมประชาสงเคราะห์ 2) โครงการสุขภาพชมุ ชน เป็นโครงการทม่ี ีกิจกรรมให้การอบรมธรรมะและการสอน อาชีพแก่ผู้ติดเชื้อเอดส์ และญาติผู้ป่วย จัดกิจกรรมการสอนอาชีพเบื้องต้น โดยแม่ชี 2 รูป จากสถาบันแม่ชีไทย ด้วยการนำของแม่ชีวารี เชื้อทัศนประสิทธิ์ ได้แก่การทำการบรูหอม น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม โภชนาการ ยาหม่องฯลฯ แก่ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเอดส์จำนวน หนึ่ง ครอบครัว กลุ่มสตรแี ละเด็กทไ่ี ดร้ บั ผลกระทบจากเอดส์ กลุ่มผดู้ ้อยโอกาส กลุ่มคนที่ถูก เลิกจ้าง และว่างงานเนอ่ื งมาจากการติดเช้ือ ซ่ึงคนกลุ่มนปี้ ระสบปัญหาทางสังคม ถูกรังเกียจ และกีดกันออกจากสังคม ผู้บริหารโครงการและประสานงานโครงการสุขภาพชุมชน คือคุณ พิมพ์ใจ อินทะมูล ซึ่งได้รับรางวัลคนดีศรีสังคม พ.ศ. 2540 และเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ด้วย สำหรับแม่ชีเป็นผู้จัดการอบรมอาชีพเบื้องต้นให้และจัดหาอุปกรณ์ให้โดยไม่คิดมูลค่าเพ่ือ ช่วยผู้ป่วยและครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น นำธรรมะ การนั่งสมาธิให้แก่ผู้ป่วย ให้ผู้ป่วย 81
แม่ชีไทย สามารถยอมรับสภาพชีวิตให้อยู่ได้ด้วยความเข้มแข็งและอยู่ในชุมชนที่รวมตัวกันได้อย่าง เขม้ แขง็ พึง่ ตนเองได้ 3) โครงการอบรมใหค้ ำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรรักษาโรค เปน็ โครงการให้การ แนะนำช่วยเหลือชาวบ้านรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร ซึ่งหลวงพ่อญาท่านเป็นผู้ค้นพบตัวยา สมุนไพรจากการปฏิบัติกรรมฐานและเป็นเจ้าของโครงการ ผู้ดำเนินการเป็นคณะแม่ชีโดย การนำของแม่ชีบุญหลี ดอนปัดสา เป็นผู้ผลิตยาลูกกลอนและยากวน ทำจากสมุนไพรรักษา โรคเบาหวาน ความดันโลหิต โรคเก๊าต์ โรคอัมพาต โดยไม่คิดมูลค่า แต่ผู้มาขอรับยาและ ขอรับคำแนะนำต้องมีสัจจะ ต้องอธิษฐานศีล 5 เป็นอย่างน้อย แม้โครงการนี้หลวงพ่อยาจะ เป็นเจ้าของโครงการและเจ้าของสตู รยา แต่การบรหิ ารจัดการและการดำเนนิ กิจการท้ังหมด ของโครงการเป็นของคณะแม่ชี นอกจากน้หี ลวงพ่อญาท่านโดยคณะแม่ชจี ัดการบวชเยาวชน ปีละ 2 ครงั้ เปน็ การบวชเพ่อื ฝึกปฏบิ ัติกรรมฐาน ในขณะเดยี วกนั แมช่ จี ะพาเยาวชนเหล่าน้ัน ไปดูตัวยาสมุนไพร สอนและอบรมให้รู้สรรพคุณของสมุนไพรการยาว่าบำบัดโรคใด เป็น กิจกรรมที่วัดป่าสามัคคีศิริพัฒนาราม ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ดำเนินมานานากว่า 30 ปีแล้ว การให้การศึกษาแนะนำของกลุ่มแม่ชีกลุ่มนี้ เป็นการให้ การศึกษาแนะนำตามความสนใจของผู้ต้องการศึกษา ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย อนุรกั ษ์ความเป็นไทย เกดิ ความภาคภมู ิใจในความเป็นชุมชน การชว่ ยเหลอื และพึ่งพาตนเอง ได3้ 82
แม่ชีไทย บรรณานกุ รมทา้ ยบทที่ 6 1. สำนกั งานรบั รองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2547:2. 2. สถาบันแมช่ ีไทย ในพระบรมราชินูปถมั ภ์, มูลนธิ ิ. ระเบยี บปฏิบัติของมูลนิธิสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถมั ภ์. (กรงุ เทพมหานคร : แสวงหาสทุ ธิการพิมพ์, 2526), หน้า 2. 3. ปารชิ าติ สวุ รรณบปุ ผา, 2545:40-94 83
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126