Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore writing

writing

Published by kannikar[กรรณิการ์] khaw-ngern, 2021-09-15 14:03:40

Description: writing

Search

Read the Text Version

49 ขอร้องให้หมอช่วยให้พวกเขาจบชีวิตอาจมีสาเหตุมา จากปัญหาบางอย่างที่สัมพันธ์กับการป่วยของพวก เขา ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอาจประสบปัญหาความส้ิน หวังเพราะการรักษาท่ีไม่ได้ผล โกรธต่อค่ารักษา พยาบาลที่แพงเกินไป เสียใจท่ีตัวเองเป็นภาระของ ครอบครัว (Maskin, 1999) ด้วยเหตุผลน้ีเอง ผู้ คัดค้านจึงให้เหตุผลว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับ การบำบัดทางจิต ดั้งนั้น คนท่ีคัดค้านการจบชีวิตผู้ ป่วยแบบให้หมอช่วยเหลือ (doctor-assisted) จึง เช่ือว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มีภาวะซึมเศร้ามากเกินกว่าท่ีจะ ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล” (อ้างจากงานของ Nancy E. Dollahite และ Julie Haun) หลังจากนำเสนออาร์กิวเมนต์แย้งที่ตรงข้ามกับ จดุ ยืนของเราแลว้ ได้ ลำดับต่อไปให้ท่านหาเหตผุ ลมาแยง้ ให้ เห็นว่าอาร์กิวเมนต์แย้งนี้ไม่มีสมเหตุสมผลหรือผิดพลาด อยา่ งไร ดงั ตัวอย่างต่อไปน้ี:

๕0 อาจจะจริงท่ีว่า คำขอทั้งหมดของผู้ป่วยใกล้ ตายที่ขอให้หมอช่วยพวกเขาให้จบชีวิต มาจาก ภาวะซึมเศร้าตามที่นักจิตวิทยาบางคนอ้าง และที่ว่า ผู้ป่วยจะเปลี่ยนใจหากพวกเขาได้รับการบำบัดทาง จิต อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยระยะสุดท้ายทั้งหมดที่ผ่าน การบำบัดทางจิตแล้ว สุดท้ายก็เลือกที่จะรีบเร่งให้ ความตายของตนแน่นอนมากขึ้น ในงานเรื่อง “ทัศนะคัดค้านอัตวินิบาตกรรมแบบช่วยเหลือ” (Opposing Views on Assisted Suicide” เฟย์ เกิร์ช (Faye Girsh) ได้ช้ีให้เห็นว่า ผู้ป่วยใกล้ตาย จำนวนมากต้องการรู้ว่าทำอย่างไรถึงจะได้รับความ ช่วยเหลือจากหมอให้ตนประสบความสำเร็จในการ ตายอย่างสงบ ถึงแม้ว่าสุดท้ายพวกเขาจะไม่เลือก อัตวินิบาตกรรม (1999) อีกประการหนึ่ง ผู้ป่วย ระยะสุดท้ายที่เต็มใจเลือกขอร้องให้หมอช่วยพวก เขาให้จบชีวิตเป็นผู้ท่ีตัดสินใจอย่างรอบคอบท่ีจะได้ รับประโยชน์จากกฎหมายว่าด้วยอัตวินิบาตกรรม แบบให้หมอช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น เกิร์ชบอกว่า ผู้ ป่วยท่ีพิจารณาอัตวินิบาตกรรมแบบหมอช่วยเหลือ

๕๑ ตระหนักรู้ถึงเงื่อนไขการรักษาทางการแพทย์อย่าง ถูกต้องผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหมอ ผู้ป่วย เหล่าน้ีเข้าใจถึงการรักษาทางการแพทย์ท่ีมาพร้อม กับความเส่ียง ประโยชน์ และทางเลือกอ่ืนๆ และ พวกเขาต้องพูดคุยกับนักจิตวิทยาในการตัดสินใจว่า พวกเรามีสามารถตัดสินใจเช่นน้ันได้หรือไม่ (1999) คนเหล่าน้ีไม่ใช่ผู้ป่วยที่ต้องการจบชีวิตของตนเพียง เพราะว่ามีภาวะซึมเศร้า กล่าวโดยสรุป ผู้ป่วยระยะ สุดท้ายที่เลือกขอร้องให้หมอช่วยพวกเขาให้จบชีวิต เป็นผูม้ คี วามสามารถทางจติ และแน่วแน่ม่ันคงในส่งิ ท่ีพวกเขาต้องการเลือก” (อ้างจากงานของ Nancy E. Dollahite และ Julie Haun) จากข้อความท่ียกมาสองตอนจะเห็นว่า หัวใจของ อาร์กิวเมนต์แย้งของฝ่ายตรงข้ามกับเราก็คือเหตุผลท่ีว่าการ ตัดสินใจท่ีจะจบชีวิตของตนของผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นผล มาจากภาวะซึมเศร้ารุนแรง หากได้รับการบำบัดทางจิต พวกเขาจะเปล่ียนใจ นี้คือเหตุผลท่ีฝ่ายตรงข้ามนำมาใช้ค้ำ ยันจุดยืนของตนที่ว่าไม่ควรอนุญาตให้มีอัตวินิบาตกรรม แบบให้หมอช่วยเหลือ เวลาปฏเิ สธหรอื แยง้ อารก์ ิวเมนตข์ อง

๕2 ฝ่ายตรงขา้ มต้องแย้งใหต้ รงประเดน็ ไม่ควรโจมตที ต่ี วั บุคคล ว่าคนคิดเช่นน้ีเป็นคนโหดร้าย เป็นคนใจไม้ไส้ระกำ ไม่เห็น อกเห็นใจความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยระยะสุดท้าย (วิธีการ แบบนนี้ ยิ มเอาไปใช้ในสภาบ่อย ทำใหผ้ ฟู้ งั ทางบ้านเคลิ้มไป ตามๆกัน) เหมือนเด็กสองคนทะเลาะกัน พอเถียงสู้ไม่ได้ก็ บอกว่าจะฟ้องแม่หรือไม่ก็ด่าแม่ฝ่ายตรงข้ามไปเลย วิธีการ แบบนี้ในทางวิชาการเราถือว่าเป็นคนไม่มีเหตุผล วิธีแย้งให้ ตรงประเด็นคือต้องดูว่าอะไรคือเหตุผลที่ฝ่ายตรงข้ามเอามา คำ้ ยนั ขอ้ สรุปของตน แล้วโตแ้ ยง้ ตรงเหตุผลค้ำยันน้ัน จากข้อความท่ียกมาข้างต้น เหตุผลที่ฝ่ายตรงข้าม ยกมาค้ำยันคือ การท่ีผู้ป่วยระยะสุดท้ายขอร้องให้หมอช่วย จบชวี ติ ของตนเปน็ เพราะผปู้ ว่ ยมภี าวะจิตซึมเศรา้ รนุ แรง ไม่ สามารถทำการตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล เมื่อได้รับการ บำบัดทางจิตแล้วจะเปล่ียนการตัดสินใจเอง ดังน้ัน จึงไม่ ควรอนุญาตให้มีอัตวินิบาตกรรมแบบให้หมอช่วยเหลือ วิธี แย้งกลับคือเราต้องทำให้เหตุผลที่ว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายมี ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างมี เหตุผล ให้หมดความน่าเช่ือถือลงไปด้วยการยกเหตุผลและ หลักฐานใหม่ๆมาโต้แย้ง ดังข้อความท่อนท่ีสองท่ียกมาข้าง

๕3 ต้น หลักฐานท่ีผู้เขียนนำมาโต้แย้งหลักล้างคืองานวิจัยของ เฟย์ เกิร์ช ท่ีค้นพบว่า ผู้ป่วยระยะสดุ ท้ายทต่ี ัดสนิ ใจเลอื กให้ หมอช่วยพวกเขาให้จบชีวิต ไม่ใช่มาจากภาวะซึมเศร้าอย่าง รุนแรง แต่มาจากการตัดสินใจอย่างรอบคอบและมีเหตุผล เปน็ ต้น

๕4 การเขยี นส่วนเนื้อหา/อาร์กวิ เมนต์แย้ง (๗) ขอนำเสนอเรื่อง “อาร์กิวเมนต์แย้ง” (counter- argument) ต่อเน่ืองจากคร้ังทีแ่ ลว้ อีกสักคร้ังหน่งึ เพ่อื ให้เกิด ความชัดเจนย่ิงข้ึน ผู้เขียนคิดว่ามีอาร์กิวเมนต์ชุดหนึ่งที่มี การกล่าวถึงกันมากและมีคนโต้แย้งมากท่ีสุดในวงการ ปรัชญาคืออาร์กวิ เมนตท์ เี่ รียกกนั ว่า “หนทางห้าสาย” (five ways) ของนักบุญโทมัส อไควนัส (Saint Thomas Aquinas, ค.ศ. ๑22๕-๑274) ที่เขียนไว้ใหนังสือช่ือ “Summa Theologica” (ซูมมา ธิโอโลจิกา) อไควนัสได้ นำเอาปรัชญากรีก-โรมัน โดยเฉพาะตรรกวิทยาของอริสโต เติล มาใช้เป็นเครื่องมือปกป้องความเช่ือเร่ืองความมีอยู่ของ พระเจา้ (Existence of God) ตามหลกั ศาสนาครสิ ต์ ถือว่า เป็นตัวอย่างท่ีดีในการเขียนบทความทางปรัชญาที่เร่ิมต้น ดว้ ยการเสนอจดุ ยนื (thesis) ทว่ี า่ “พระเจา้ มอี ย”ู่ แล้วตาม มาดว้ ยการใช้อารก์ วิ เมนต์ถงึ ๕ อารก์ ิวเมนต์สำหรบั ปกปอ้ ง จดุ ยนื น้ี ขอสรุปมาใหด้ ูสัก 2 อารก์ วิ เมนต์ดงั น้:ี

๕๕ อาร์กวิ เมนต์ท่ี ๑: เรอื่ งการเคลือ่ นที่ (motion) อไควนัสได้รับอิทธิพลจากงานของอริสโตเติลท่ีบอ กว่าวัตถุทั้งหลายเช่นดวงดาวและก้อนหินเป็นต้น เคลื่อนท่ี ได้เพราะมีวัตถุอื่นหรือแรง (force) อะไรบางอย่างผลักให้ มันเคลื่อน ไม่มีอะไรเคลื่อนท่ีได้อย่างลอยๆ โดยไม่ถูก กระทำจากส่ิงอื่น จากแนวคิดนี้ทำให้อไควนัสเช่ือว่าหากเรา ไลไ่ ปเรื่อยๆจนทา้ ยทีส่ ุดจะต้องมอี ะไรบางอยา่ งเปน็ ผู้ผลักสง่ิ อื่นให้เคลื่อนแต่ตัวเองไม่เคลื่อน (Unmoved Mover) สิ่ง น้ัน คือ พระเจ้า (God) อารก์ ิวเมนต์โดยสรุปดงั น้ี ๑. ไมม่ วี ตั ถุส่ิงใดเคล่ือนทไี่ ดด้ ้วยตัวมันเอง 2. ถ้าวัตถุทุกอย่างที่เคล่ือนท่ีมีผู้ทำให้มันเคลื่อน แส ดงวา่ วตั ถุอนั แรกทีเ่ คลอ่ื นทก่ี ต็ อ้ งมีผ้ทู ำใหเ้ คลื่อนเหมอื นกนั 3. ผู้ทำให้เคล่ือนคนแรกก็คือผู้เคลื่อนที่ไม่ถูกส่ิงอ่ืน ทำให้เคลื่อน (Unmoved Mover) น่ันคอื พระเจ้า

๕6 อาร์กิวเมนต์ท่ี ๒: เรื่องสาเหตุแห่งความมีอยู่ (Causation of Existence) อไควนัสเสนอว่า การสังเกตด้วยประสาทสัมผัส สามัญบอกเราว่า ไม่มีวัตถุสิ่งใดเลยที่สร้างตัวมันเองขึ้นมา จะต้องมีส่ิงอ่ืนท่ีมีอยู่ก่อนสร้างมันขึ้นมา หากเราไล่เรียง สาเหตุแห่งความมีอยู่ของสิ่งทั้งหลายย้อนหลังกลับไป เรือ่ ยๆ ในท้ายท่ีสุดจะไปถึงจุดสน้ิ สุดท่ีไม่สามารถย้อนไดอ้ กี ตอ่ ไป จดุ นน้ั กค็ อื ปฐมเหตทุ ไี่ มม่ สี ง่ิ ใดเปน็ สาเหตุ (Uncaused First Cause) นั่นคอื พระเจ้า (God) อาร์กวิ เมนต์โดยสรปุ ดังน้ี ๑. สิ่งทั้งหลายมีอยู่เพราะมีส่ิงอ่ืนเป็นสาเหตุ (ถูก สร้างดว้ ยส่งิ อื่น) 2. ไม่มีส่ิงใดสามารถเป็นสาเหตุของตัวมันเอง (ไม่มี ส่ิงใดสรา้ งตัวมนั เองได้) 3. สาเหตุแห่งความมีอยู่ของสิ่งทั้งหลายแบบไม่มี จดุ จบไมส่ ามารถเป็นไปได้ 4. ดังนั้น จะต้องมีปฐมเหตุท่ีไม่มีส่ิงอ่ืนเป็นสาเหตุ น่ันคือพระเจ้า

๕7 อาร์กิวเมนต์ของอไควนัสถูกนักวิชาการรุ่นหลัง จำนวนมากยกขึ้นมาโต้แย้ง (counter-argument) เช่น อาร์กิวเมนต์ท่ีว่าถ้าอไควนัสสรุปว่าผู้เคล่ือนคนแรกจะต้อง เป็นพระเจ้า คำถามคือแล้วอะไรขับเคลื่อนให้พระเจ้าทำการ เคล่ือนท่ีคร้ังแรกน้ัน ถ้าบอกว่าการเคลื่อนที่ไม่อาจย้อนถอย หลังแบบไม่มีจุดจบ (infinite regression of motion) จะ ต้องไปจบลงท่ีผ้เู คลอื่ นคนแรกคือพระเจา้ คำถามคอื ถ้าไม่มี สง่ิ ใดสามารถเคลื่อนท่ไี ด้ด้วยตัวมนั เอง แลว้ พระเจ้าสามารถ เคลื่อนพระองค์เองได้อย่างไร (เคลื่อนพระองค์เองเพ่ือจะไป เคลอื่ นสง่ิ อื่น) อาร์กิวเมนต์ท่ีสองของอไควนัสก็เช่นเดียวกัน ถูกนัก วิชาการรุ่นหลังจำนวนมากโต้แย้งเช่นว่า ถ้าสมมติฐานที่ว่า เราไม่สามารถสืบย้อนสาเหตุแห่งความมีอยู่ของสิ่งทั้งหลาย แบบไมม่ จี ุดได้ (infinite regression of causes) เป็นสิ่งที่ ถูกต้อง คำถามคือ อะไรเป็นสาเหตุแห่งความมีอยู่ของ พระเจ้า ถ้าไม่มีอะไรเป็นสาเหตุให้พระเจ้ามีอยู่ คำถามคือ พระเจา้ สามารถเป็นสาเหตุใหต้ วั เองไดอ้ ย่างไร เปน็ ต้น ที่ยกมาน้ีคือตัวอย่างของอาร์กิวเมนต์ที่มีคนยกข้ึน มาโต้แย้ง (counter-argument) อาร์กิวเมนต์ของอไควนัส

๕8 สมมติว่าท่านเป็นอไควนัสท่ีเขียนบทความทางปรัชญาเพื่อ ค้ำยนั จดุ ยืนท่วี า่ “พระเจา้ มอี ยู”่ แล้วมีคนเสนออาร์กิวเมนต์ ตรงกนั ขา้ มกบั อารก์ วิ เมนตข์ องทา่ น ทา่ นตอ้ งยกอารก์ วิ เมนต์ ดงั กล่าวน้นั เข้ามาใสไ่ วใ้ นงานดว้ ย เสร็จแล้วให้หาเหตผุ ลทด่ี ี กว่ามาหักล้างอาร์กิวเมนต์นั้นให้ตกไปหรือให้อ่อนลงไป แลว้ ย้อนกลบั มายนื จุดยนื ของทา่ นทวี่ ่า “พระเจ้ามีอย”ู่

การเขียนสว่ นสรปุ Conclusion การเขียนส่วนสรุป (๑) ต่อไปขอนำเข้าสู่การเขียนส่วนสุดท้ายของ บทความ คือ ส่วนสรุป (conclusion) คิดว่าน่าจะ เป็นส่วนที่เขียนยากพอๆ กับการเขียนส่วนนำ อาจารย์ผู้แนะนำการเขียนบทความในต่างประเทศ หลายท่านก็ยอมรับว่า ส่วนนำกับส่วนสรุปของ บทความเป็นส่วนท่ีเขียนยาก นักเขียนมือใหม่มัก ทำสองส่วนน้ีไม่ค่อยถูกเท่าไร เคยได้ยินนักเขียน นวนิยายและนักสร้างหนังหลายคนก็บอกตรงกันว่า

60 ฉากเปิดเรื่องกับฉากปิดเร่ืองเป็นส่วนที่ทำยากมากท่ีสุด เพราะต้องคิดหลายตลบว่าจะเปิดเร่ืองอย่างไรถึงจะเร้าความ สนใจของผู้อ่าน/ผู้ชมให้อยากติดตามเร่ืองของเราไปจนจบ และจะปิดฉากเร่ืองอย่างไรถึงจะแนบเนียนและสร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้อ่าน/ผู้ชมได้ การเขียนบทความวิชาการก็ คล้ายกัน เวลาเราเขียนส่วนนำก็หมายความว่าเรากำลังใช้ เหตุผลผ่านตัวหนังสือเพื่อโน้มนำจิตใจของผู้อ่านให้มาสนใจ ในเร่ืองของเรา เม่ือโน้มนำได้แล้วเขาก็พร้อมที่จะเดินตาม อ่านส่วนเนื้อหาของเราไปตลอดท้ังเรื่อง สุดท้ายตอนจบ เรื่องเราต้องทำให้เขาได้รับคำตอบสมกับความอยากรู้อยาก เหน็ ของเขาใหไ้ ด้ คำว่า “สรุป” ที่เราใช้พูดกันในภาษาไทยมีความ หมายกำกวมอยู่มิใช่น้อย เมื่อนำมาใช้กับการสรุปบทความ วิชาการหรือวิทยานิพนธ์ก็พลอยสับสนตามไปด้วย บางคร้ัง เราก็เข้าใจในความหมายว่า “ย่อความ” หมายถึงการย่อ เร่ืองท่ียาวให้ส้ันลงแต่ได้สาระเท่าเดิม เช่น การย่อนวนิยาย ท่ีมีความยาวหลายร้อยหน้าให้เหลือประมาณห้าถึงสิบหน้า แต่อา่ นแลว้ เขา้ ใจเร่อื งราวตั้งแต่ต้นจนได้เหมือนกนั บางครงั้ เราก็เข้าใจในความหมายว่าการตัดสินใจข้ันสุดท้าย (final

61 decision) ว่าจะเอาอย่างไร เช่นในเวทกี ารประชุม หลงั จาก สมาชิกได้ร่วมถกเถียงกันพอสมควรแล้วประธานก็ขอมติ สุดท้ายว่าเรื่องนี้จะเอาอย่างไร เท่าท่ีได้สังเกตงานเขียนของ นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นการสรุปแบบท่ีฝรั่งเรียกว่า “summary” (การย่อความ) หรือการสรุปแบบย่อเน้ือหา ของงานท้ังเร่ืองให้เหลือสั้นๆเพียงหน้าสองหน้า ไม่ใช่การ สรุปแบบ “conclusion” หรือการสรุปแบบเอาคำตอบหรือ ขอ้ ค้นพบมานำเสนอ การยอ่ ความ (summary) กบั การสรปุ (conclusion) มีความหมายต่างกัน แต่อาจเก่ียวข้องกันได้ในบางแง่มุม พูดให้ภาพง่ายๆเหมือนท่านไปดูหนังเร่ืองหน่ึงแล้วกลับมา เล่าเพื่อนฟัง ท่านอาจจำรายละเอียดของเร่ืองราวไม่ได้ ท้ังหมด แต่สามารถเล่าลำดับเรื่องให้เพื่อนฟังต้ังแต่ต้นจน จบได้ว่าหนังเร่ิมอย่างไร เดินเร่ืองไปอย่างไร แล้วจบลง อย่างไร การเล่าแบบน้ีเรียกว่าเล่าแบบ “ย่อความ/ summary” แต่ถ้าท่านกำลังตื่นเต้นกับการดูละครทีวีเรื่อง หนง่ึ อยู่ เผอิญงานยงุ่ มากเลยไม่มเี วลาดูให้จบท้งั เรอ่ื ง ไดแ้ ต่ รอลุ้นอยู่ว่าละครเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร การรอลุ้นแสดงว่า ท่านกำลังสงสัยอยากได้คำตอบว่าละครจะลงเอยอย่างไร

62 พระเอกกับนางเอกจะกลับมาคืนดีกันไหม จะได้แต่งงานกัน ไหม อย่างไร ตวั โกงจะถกู กำจดั ไหม อยา่ งไร เป็นตน้ อยู่มา วันหนึ่งเพื่อนของท่านที่ได้ตามดูตลอดทั้งเรื่องมาเฉลยให้ฟัง ว่าละครจบอย่างนี้ๆ และแล้วปมความสงสัยใคร่รู้ในใจของ ท่านก็มลายหายไปในบัดดล การเล่าแบบเฉลยคำตอบหรือ คล่ีคลายข้อสงสัยน่ีแหละเรียกว่า “การสรุป/conclusion” โดยนัยนี้ การเขียนส่วนสรุปของบทความหรือวิทยานิพนธ์ จึงไม่ใช่การย่อความเน้ือหาทั้งหมดให้อยู่ในหน้าสองหน้า แต่คือการเขียนเฉลยคำตอบ (answer) เขียนข้อค้นพบ (findings) หรือเขียนผลของการตรากตรำศึกษาค้นคว้าว่า สุดท้ายได้เจออะไรบ้าง อุปมาเหมือนชาวบ้านร่ำลือกันว่าที่ ถ้ำลึกลับแห่งหน่ึงมีเพชรนิลจินดาซ่อนอยู่มากมาย เราจึง อาสาชาวบ้านรับหน้าที่เป็นผู้เข้าไปพิสูจน์ความจริงของเรื่อง น้ี ลองคิดดูว่าหลังจากเข้าไปพิสูจน์ในถ้ำแล้วกลับออกมา ท่านคิดว่าชาวบ้านเขาอยากฟังอะไรจากปากของท่านมาก ที่สุด แน่นอนพวกเขาต้องอยากฟังคำเฉลยว่าในถ้ำน้ันมี เพชรนิลจินดาอยู่จริงหรือไม่ การเอาสิ่งที่ค้นพบมาคล่ีคลาย ข้อสงสัยของชาวบ้านน่ีแหละคือ “การสรุป” ในส่วนสุดท้าย ของบทความวิชาการหรอื วทิ ยานิพนธ์

63 ท่านท้ังหลายคงคุ้นเคยกับการทำการบ้านวิชา คณิตศาสตร์สมัยเรียนประถมมัธยม เวลาเฉลยโจทย์แต่ละ ขอ้ เราถกู สอนใหจ้ ดั วางโครงสรา้ งเป็นสามสว่ น คอื : -ส่วนท่ี 1: ส่วนโจทย์หรือคำถามทางคณิตศาสตร์ที่ ครใู หม้ า -ส่วนท่ี 2: ส่วนแสดงวิธีทำ หรือส่วนแจงราย ละเอียดการบวก ลบ คูณ หาร ตามโจทยท์ ค่ี รใู ห้มา -สว่ นที่ 3: ส่วนคำตอบหรือส่วนสรุป (conclusion) ว่าไปแล้ว โครงสร้างสามส่วนน้ีมาจากฐานคิดแบบ เ ดี ย ว กั น กั บ โ ค ร ง ส ร้ า ง ก า ร เ ขี ย น บ ท ค ว า ม วิ ช า ก า ร วิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัย ที่เร่ิมต้นจากการเขียนส่วนนำ (introduction) เพื่อนำเสนอโจทย์หรือประเด็นคำถาม เทียบได้กับส่วนโจทย์คณิตศาสตร์ที่ครูให้มา จากน้ัน เข้าสู่ การเขียนส่วนเนื้อหา (body) เพ่ือนำเสนอหลักฐานและ เหตุผลสนับสนุน เทียบได้กับส่วนแสดงวิธีทำของ คณิตศาสตร์ (ความจริงแล้วส่วนนี้ของคณิตศาสตร์ก็คือการ ใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ [mathematical reasoning] เพื่อหาข้อสรุปนั่นเอง) แล้วจบลงด้วยการเขียนส่วนสรุป

64 (conclusion) เพื่อนำเสนอคำตอบหรือข้อค้นพบ เทียบได้ กับส่วนสรุปหรือส่วนคำตอบของคณิตศาสตร์ โปรดสังเกต ว่า เวลาเราเขียนสรุปคำตอบทางคณิตศาสตร์ก็คือการเขียน ผลทีไ่ ดร้ ับจากการบวก ลบ คูณ หาร ในส่วนวธิ ที ำ หรือการ เขียนคำตอบที่ได้มาจากการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ใน ส่วนแสดงวิธีทำนั่นเอง ไม่ใช่การเขียนย่อความเนื้อหาของ ทง้ั สามสว่ นให้ไดใ้ จความส้ันๆ

65 การเขียนส่วนสรุป (๒) คร้ังที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึงแนวคิดการเขียนส่วน สรุป (conclusion) ของบทความวิชาการโดยท่ัวไป สำหรับ ครั้งน้ีขอนำเสนอแนวทางการเขียนส่วนสรุปโดยตรงตามที่ ครูอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆได้แนะนำเอาไว้ ข้อ แนะนำของแต่ละท่านอาจแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่ก็มีหลกั ใหญใ่ จความที่เป็นจุดร่วมกนั ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. ส่วนสรุปเป็นเวทีสำหรับทบทวนจุดยืนและ อาร์กวิ เมนต์ วัตถุประสงค์ของส่วนสรุปคือการย้อนกลับไป ทบทวนจุดยืน (restating your thesis) ที่ได้นำเสนอไว้ใน ส่วนนำ แต่ไม่ใช่การคัดลอก (copy) เอามาวางเฉยๆ ควร เขียนด้วยภาษาใหม่ท่ีอ่านเข้าใจง่าย จากนั้น ให้นำ อาร์กิวเมนต์ที่เรานำเสนอไปแล้วในส่วนเนื้อหามาเขียนใหม่ ในรปู แบบการยอ่ ความ (summary) เพ่ือแสดงให้ผ้อู า่ นเห็น เป็นครั้งสุดท้ายว่าที่ผ่านมาเราได้เสนอจุดยืนไวอย่างไรและ

66 มีอาร์กิวเมนต์อะไรบ้างที่เรานำมาค้ำยันจุดยืนนั้น ดังท่ี ศาสตราจารย์โรเบิร์ต พอว์ล โวลฟฟ์ (Robert Pawl Wolff) ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตต์ ได้ แนะนำไวว้ า่ : วัตถุประสงค์พื้นฐานของส่วนสรุปก็คือการ ทบทวนจุดยืนของท่านและย่อความอาร์กิวเมนต์ของ ทา่ น (restate your thesis and summarize your argument) แต่ไม่ควรทำเพียงแค่คัดลอกส่วนนำมา ในส่วนสรุปท่านควรใช้ความพยายามเป็นคร้ัง สุดท้าย (final effort) เพ่ือโน้มน้าวผู้อ่านให้เห็นว่า ท่ า น ไ ด้ ส ร้ า ง จุ ด ยื น เ อ า ไ ว้ แ ล้ ว แ ล ะ ไ ด้ น ำ เ ส น อ อาร์กิวเมนต์ที่น่าเชื่อถือ (cogent) เพื่อปกป้อง จดุ ยนื นน้ั แล้ว... ๒. ส่วนสรุปเป็นเวทีสำหรับแสดงนัยยะทาง ทฤษฎแี ละการปฏิบัติ ส่วนสรุปนอกจากจะเป็นเวทีสำหรับให้เรามองกลับ หลังเพ่ือทบทวนจุดยืนและอาร์กิวเมนต์ท่ีเราได้เสนอมาแล้ว

67 ยังเป็นเวทีสำหรับให้เรามองไปข้างหน้าได้ด้วย กล่าวคือ เราอาจใช้เวทีแห่งนี้สำหรับอภิปรายให้เห็นว่า อาร์กิวเมนต์ หรือข้อค้นพบในบทความ/งานวิจัยของเรามีนัยยะทาง ทฤษฎีและทางปฏิบัติอย่างไร (theoretical and practical implications) กล่าวคือสามารถนำไปปรับเปล่ียนความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติท่ีสังคมยึดถือกันอยู่ในอดีตและ ปัจจุบันได้อย่างไร ดังข้อแนะนำของมหาวิทยาอินเดียน่า สหรัฐอเมริกา (Indiana University) ท่ีว่า การเขียนส่วน สรุปของบทความนั้น นอกจากทบทวนจุดยืนและสรุปสาระ สำคัญของอาร์กิวเมนต์ท่ีใช้ค้ำยันแล้ว ควรให้ข้อคิดใหม่ๆ แก่ผู้อ่านนอกเหนือไปจากสิ่งท่ีเรากล่าวไว้ในบทความด้วย เราอาจเขียนโดยใช้กลยุทธคำถามประเภท “แล้วไงล่ะ?” (So what?) ก็ได้ ตัวอย่างเช่น บทความของเราเป็นเร่ือง เก่ียวกับการเสพแอลฮอลของนักศึกษามหาวิทยาลัย ได้ข้อ สรุปว่า “การเสพแอลกอฮอลของนักศึกษามหาวิทยาลัยขึ้น อยู่กับปัจจัยทางจิตวิทยามากกว่าการมีแอลกอฮอลขายอยู่ ในสถานศกึ ษา” เมื่อไดข้ อ้ สรปุ อย่างนี้แล้ว คำถามคือ “แลว้ ไงล่ะ?” วิธกี ารเขยี นคอื ควรแสดงให้เห็นว่าข้อคน้ พบของเรา มีนัยยะ(imply/suggest) ต่อการปรับเปล่ียนความรู้ความ

68 เข้าใจและวิธีการป้องกันไม่ให้นักศึกษาเสพแอลกอฮอล์แบบ เดิมๆ ได้อย่างไร (เช่น จากเดิมเคยเช่ือว่าการท่ีนักศึกษา เสพแอลกอฮอลเพราะมีการวางขายอยู่ในมหาวิทยาลัย หรอื จากเดิมท่ีเคยหาวิธีป้องกันไม่ให้นิสิตเข้าถึงแหล่งซ้ือขาย แอลกอฮอลก็อาจเปลี่ยนมาสนใจแก้ปัญหาทางจิตวิทยา ก็ได)้ ๓. ส่ ว น ส รุ ป เ ป็ น เ ว ที ส ำ ห รั บ ช้ี ช่ อ ง ป ร ะ เ ด็ น คำถามที่ยงั ไม่ได้ตอบ นอกจากน้ัน ส่วนสรุปยังสามารถใช้เป็นเวทีสำหรับ ทิ้งประเด็นคำถามสำหรับให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อหรือนำไป ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบต่อไป ซ่ึงเป็นประเด็นที่เก่ียวข้อง กับงานของเรา แต่งานของเรายังศึกษาไปไม่ถึงหรือไม่ใช่ เป้าหมายหลักในงานของเรา อุปมาเหมือนเราเข้าป่าหายา สมุนไพร เรามีเป้าหมายอยู่แล้วว่าจะไปหายาอะไรและไป ตรงส่วนไหนของป่า เราจึงมุ่งตรงไปหายาชนิดนั้นอย่าง เดยี ว ในระหวา่ งทางท่ีเราเดินเขา้ ป่าไปนน้ั เราได้พบยาสมุน ไพรท่ีน่าสนใจชนิดอ่ืนๆ อีกมากมาย แต่ไม่ได้เก็บออกมา ด้วยเพราะไม่มีเวลาและไม่ใช่เป้าหมายของเรา เมื่อออกมา จากป่ามาแล้ว นอกจากบอกให้คนอื่นรู้ว่าเราได้เก็บยา

69 สมุนไพรอะไรมา เราควรบอกยาชนิดอื่นๆท่ีเราพบระหว่าง ทางให้คนอืน่ ไดร้ ู้ช่องทางทีจ่ ะไปเก็บยาเหลา่ นัน้ ด้วย เช่ือว่าทุกคนที่มีประสบการณ์เขียนงานวิชาการ จาก วันแรกทเ่ี ราลงมอื เขยี นจนถึงวนั สดุ ทา้ ยที่เขียนจบ จะต้องได้ ประสบพบเจอเรื่องราวน่าสนใจมากมาย อาจเจอระหว่าง ครุ่นคิดขณะเขียนหรือเจอระหว่างค้นคว้าข้อมูลประกอบการ เขียนก็ได้ หลายคนคงรู้สึกเสียดายว่าเร่ืองน้ันๆ ตนไม่มี โอกาสได้ศึกษา เพราะไม่เกี่ยวกับงานท่ีกำลังทำโดยตรง หรืออาจจะเกี่ยวกับกับงานของเรา แต่คำตอบในงานของเรา ไม่ครอบคลุมเร่ืองนั้นๆได้ทั้งหมด ประเด็นที่น่าสนใจเหล่านี้ แหละที่เราควรนำมาฝากผู้อ่านในส่วนสรุปของบทความหรือ งานวิจัย วิธีการเขียนท้ิงประเด็นคำถามควรทำให้ผู้อ่านมอง เห็นภาพหรือทิศทางที่จะเดินไป ไม่ควรเขียนเสมือนว่าเรา กำลังต้ังหัวข้อบทความหรือหัวข้อวิจัยให้ผู้อ่าน (ซ่ึงพบมาก ในหมู่ผู้เขียนมือใหม่) ให้คิดเหมือนหนึ่งว่าเรากำลังช้ีช่อง ทางให้คนทำธุรกิจใหม่ๆท่ีกำลังมีอนาคต ควรพูดบรรยาย ให้เขามองเห็นภาพหรือทางทิศทางท่ีจะทำธุรกิจนั้นว่าจะ เริม่ ต้นอะไรอย่างไร

การเขยี นบทคดั ยอ่ Abstract เรื่องการเขียนบทความทางปรัชญาที่ได้นำ เสนอมาทั้งหมด ๑2 ตอน คิดว่าน่าจะครอบคลุม ประเด็นสำคัญท่ีควรรู้พอสมควรแล้ว สำหรับครั้งนี้ ขอนำเสนอเรื่องที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการเขียน งานทางปรัชญาโดยตรง แต่ก็เป็นเร่ืองสำคัญที่รู้ไว้ก็ ไม่เสียหลาย โดยเฉพาะในหมู่นิสิตนักศึกษาที่กำลัง เ ขี ย น บ ท ค ว า ม เ พื่ อ ตี พิ ม พ์ เ ผ ย แ พ ร่ ใ น ว า ร ส า ร วารสารทางวิชาการส่วนใหญ่มักมีข้อกำหนดว่า บ ท ค ว า ม ที่ จ ะ ล ง ตี พิ ม พ์ จ ะ ต้ อ ง มี บ ท คั ด ย่ อ (abstract) ด้วย

7๑ ก่อนท่ีจะรู้ว่าบทคัดย่อมีวิธีการเขียนอย่างไร คิดว่า เราควรมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าบทคัดย่อมีบทบาท หน้าที่อะไรถึงต้องนำมาบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของบทความ ท่ีผ่านมาได้นำเสนอแล้วว่า องค์ประกอบแต่ละส่วนของ บทความมีหน้าท่ีเฉพาะของมัน ส่วนนำ (introduction) มีหน้าท่ีนำเสนอภูมิหลัง ประเด็นคำถาม และจุดยืนของผู้ เขียน ส่วนเนื้อหา (body) มีหน้าท่ีนำเสนออาร์กิวเมนต์ (หลักฐานและเหตุผล) เพ่ือค้ำยันจุดยืนหรือตอบคำถาม และส่วนสรุป (conclusion) มีหน้าท่ีทบทวนจุดยืน ย่อสรุป อารก์ วิ เมนต์ รวมถงึ ช้แี นะ (implication/suggestion) การ ปรับเปลี่ยนความเชอื่ และวธิ ปี ฏิบตั ทิ ม่ี อี ยู่เดิม บทคัดย่อไม่ได้มีหน้าเฉพาะเจาะจงเหมือนองค์สาม ส่วนเหล่านี้ แต่มีหน้าที่สะท้อนให้เห็นภาพรวมของงาน ทัง้ หมด เปรียบเหมือนแผนท่ปี ระเทศไทย องค์ประกอบสาม ส่วนเหมือนพื้นที่แต่ละจังหวัด บทคัดย่อเหมือนแผนที่ทั้ง ประเทศท่ีช่วยผู้อ่านให้มองเห็นภาพรวมพื้นที่ทุกจังหวัดได้ อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องรอจนกว่าจะได้ลงไปดูพื้นท่ี จริงของแตล่ ะจังหวัดก่อน

72 ฐานคิดอันเป็นที่มาของบทคัดย่อเกิดจากความ พยายามท่ีจะหาช่องทางลัดเพ่ือช่วยเหลือผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคย กับงานของเรามาก่อน นักวิชาการบางท่านบอกว่า บทคัดย่อช่วยสร้างความประทับใจครั้งแรก (first impression) ให้แก่ผู้อ่าน และช่วยให้ผู้อ่านใช้ประกอบการ ตัดสินว่าจะอ่านงานของเราต่อหรือจะเลิกอ่านดี คิดว่า หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ที่ยากลำบากในการตัดสินใจ ว่าจะยอมเสียเวลาตะลุยอ่านหนังสือเล่มนั้นให้จบทั้งเรื่องดี หรือไม่ จะควักกระเป๋าซื้อหนังสือเล่มน้ันมาครอบครองเป็น ของตัวเองดีหรือไม่ เพราะเราไม่ม่ันใจว่าเนื้อหาของมันจะ ตรงกับเร่ืองท่ีเราต้องการหรือไม่ หลายท่านคงเคยมี ประสบการณ์เวลาเดินทางไปต่างประเทศหรือต่างจังหวัดท่ี ไม่เคยไปมาก่อน เรามีความรู้สึกมืดแปดด้านเหมือนคนหลง ป่า ไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงไหน ไม่รู้ว่าจะไปเส้นทางไหนแล้ว ต่อไปไหนได้อีก ในสถานการณ์อย่างน้ีสิ่งที่ช่วยเราได้มาก คือแผนท่ขี องเมอื งนนั้ ๆ การเขียนบทคัดย่อตามที่ครูอาจารย์ผู้แนะนำการ เขียนบทความอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง แต่มีหลัก ใหญใ่ จความดังตอ่ ไปน้ี:

73 ๑. ทำทำไม (Why did you do this study?): เริ่มต้นให้บอกผู้อ่านถึงเหตุผล (why) หรือภูมิหลังท่ีมาว่า ทำไมถึงเขียนบทความ/วิทยานิพนธ์เร่ืองนั้น ซึ่งก็คือการจับ เอาแก่นส่วนบทนำของเรามาเขียนใหม่ในรูปแบบที่ส้ันและ กระชบั ทีส่ ุดน่นั เอง 2. ทำเพ่ืออะไร (What problem were you trying to solve?): ต่อมาให้บอกผู้อ่านถึงประเด็นคำถาม สำคัญท่ีเราต้องหาคำตอบ รวมถึงจุดยืน (thesis) ของเราท่ี มตี ่อเร่ืองนั้น 3. ทำอย่างไร (How did you do?): ต่อมาให้ บอกผู้อ่านถึงวิธีการท่ีจะได้มาซึ่งคำตอบของประเด็นคำถาม นั้นเราใช้วิธีการอย่างไร (หรือระเบียบวิธีวิจัย) เหมือนการ เสนอว่าเราจะสร้างบ้าน ให้บอกว่าการท่ีจะสร้างบ้านให้ สำเร็จเรามวี ิธกี ารสรา้ งอยา่ งไร ๔. ทำแลว้ ไดอ้ ะไร (What did you find?): ต่อมา ให้บอกผู้อ่านถึงข้อค้นพบหรือผลการศึกษาว่าเม่ือศึกษา เสร็จเรียบร้อยแล้วได้พบคำตอบของประเด็นปัญหาท่ีต้ังไว้ ตอนต้นว่าอย่างไร ถ้าเป็นงานทางปรัชญาก็คือการเน้นย้ำ จดุ ยืนและหวั ใจของอารก์ ิวเมนต์ท่เี ราใช้สนับสนุนจดุ ยนื น้นั

7๔ ๕. ได้แล้วมีประโยชน์อะไร (What do you findings mean?): สุดท้ายให้บอกผู้อ่านว่าข้อค้นพบของ เรามีนัยยะ (implications) หรือมีคุณูปการต่อการแก้ไข ปรับเปลี่ยนแนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติต่อเร่ืองนั้นๆ อยา่ งไร สรุปแลว้ การเขยี นบทคัดยอ่ ควรเขยี นใหค้ รอบคลุม ๕ ประเด็นดงั กล่าวขา้ งตน้ นยิ มเขยี นดว้ ยภาษาท่เี รยี บงา่ ย คน ไม่เคยรู้เรื่องของเรามาก่อนก็สามารถอ่านเข้าใจได้ เขียนให้ สั้นกระชับท่ีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควรเขียนให้จบภายในย่อ หนา้ เดยี ว ความยาวประมาณครงึ่ หนา้ กระดาษ มหาวทิ ยาลยั ในต่างประเทศนิยมให้นักศึกษาเขียนยาวไม่เกิน ๑๕๐ คำ ภาษาองั กฤษ หรอื บางแหง่ ใหไ้ มเ่ กิน 2๕๐ คำภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาไทยเรานับคำลำบาก คิดว่าเขียนประมาณคร่ึง หน้ากระดาษน่าจะกำลงั พอดี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook