Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู

คู่มือทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู

Description: คู่มือทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครู

Search

Read the Text Version

DIGITAL INTELLIGENCE QUOTIENT คู่มือทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู เสนอ อาจารย์ ดร.สุจิตตรา จันทร์ลอย อาจารย์ ดร.สุธิดา ปรีชานนท์ จัดทำโดย นายชัยวฤทธิ์ หนูเจริญ รหัสนักศึกษา 647190314 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การพัฒนาความเป็นครู หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาชีพครู ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การพัฒนาความเป็นครู (รหัสวิชา GD58201) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาชีพครู โดยมีจุดประสงค์เพื่ อศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่ องความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่งรายงานนี้มีเนื้ อหาเกี่ยวกับความรู้จากเว็บไซต์ บทความและเอกสาร ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่ องมาจากเป็นเรื่ องที่ น่าสนใจและต้องขอขอบคุณอาจารย์ ดร.สุจิตตรา จันทร์ลอย และ อาจารย์ ดร.สุธิดา ปรีชานนท์ ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา และ ขอขอบคุณเพื่ อน ๆ นักศึกษาที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำ หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน นายชัยวฤทธิ์ หนูเจริญ ผู้จัดทำ

DIGITAL INTELLIGENCE QUOTIENT สารบัญ เรื่อง หน้า 8 ทักษะความฉลาดทางดิจิดิทัจิทัล 1 ทักษะที่ 1 เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล 2 (Digital Citizen Identity) 3 4 ทักษะที่ 2 การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล 5 (Screen Time Management) 6 7 ทักษะที่ 3 การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ 8 (Cyberbullying Management) 9 10 ทักษะที่ 4 การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย 11 (Cybersecurity Management) ทักษะที่ 5 การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management) ทักษะที่ 6 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ทักษะที่ 7 ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints) ทักษะที่ 8 ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล (Digital Empathy) บทสรุป บรรณานุกรม

8 ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล 1

ทักษะที่ 1 เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen Identity) เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล เป็นความสามารถสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลก ออนไลน์และโลกความจริงอัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้ง ความคิดความรู้สึก และการกระทำ โดยมีวิจารณญาณในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็นอกเห็นใจ ผู้ร่วมใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำ ไม่กระทำการที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมในโลก ออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจาที่สร้างความเกลียดชังผู้อื่นทางสื่อออนไลน์ ตัวอย่าง อัตลักษณ์เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะบุคลที่บอกความเป็นตัวตน ดังนั้น เราจึงควรมีวิจารณญานในการใช้สื่อ ดิจิทัล การรับส่งข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น และต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ ซึ่งเราสามารถสร้างอัตลักษณ์ที่ดีได้ เช่น การสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ การเรียนรู้การใช้สื่ออย่างไรให้เป็นประโยชน์ ไม่เป็นโทษ การเรียนรู้การรับผิดชอบ ตามบทบาทหน้าที่ของตน การมีวิจารณณานในการใช้สื่อ การรักษาความปลอดภัยในการใช้สื่อ ซึ่งจะส่งผลต่ออัตลักษณ์ที่ ดีในโลกออนไลน์ได้ เป็นต้น 2

ทักษะที่ 2 การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management) การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล เป็นความสามารถควบคุมตนเอง ความสามารถในการจัดสรรเวลาในการ ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลและอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้งานสื่อสังคม (Social Media) และ เกมออนไลน์ (Online Games) ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง สามารถบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึง การควบคุมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกความเป็นจริง อีกทั้งตระหนักถึงอันตราย และสุขภาพจาก การใช้เวลาหน้าจอนานเกินไป และผลเสียของการเสพติดสื่อดิจิทัล ตัวอย่าง การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากการใช้สื่อดิจิทัลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใน ยุคปัจจุบันในการใช้งาน การเรียนรู้ การติดต่อกัน ฯลฯ แต่หากเราไม่รู้จักการบริหารจัดการเวลาให้ดีอาจใช้สื่อดิจิทัลมาก เกินไปอาจกลายเป็นการเสพติดโซเชียลมีเดียได้ ซึ่งหากเราติดโซเชียลมีเดียมากถึงในระดับหนึ่งจะวินิจฉัยว่าเป็น “โรคเสพติดโซเชียลมีเดีย” ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะอาการดังกล่าวส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การเรียน การทำงาน การดูแลสุขภาพสุขอนามัย หรือสัมพันธภาพกับผู้อื่น เกณฑ์การวินิจฉัยต้องมีอาการครบ 4 ข้อ คือ 1. เล่นมากจนเกินไป เช่น เล่นไม่รู้จักเวลา ไม่กิน ไม่นอน เสียการเรียน เสียสัมพันธภาพกับคนอื่น 2. มีอาการ เช่น หงุดหงิด อาละวาด ทำลายข้าวของ เครียด ซึมเศร้า เมื่อไม่ได้เล่น 3. มีความต้องการที่จะเล่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เพิ่มจำนวนเวลาในการเล่น ความทันสมัยของอุปกรณ์ 4. มีพฤติกรรมที่ไม่ดีที่ตามมาเพื่อให้ได้เล่น เช่น ขโมยเงิน โกหก ทะเลาะกับคนรอบข้าง ข้อเสียอย่างหนึ่งที่คนมักมองข้ามไป คือ การใช้โซเชียลมีเดียทำให้คนติดอยู่ในโลกนั้น ถอยห่างจากโลกความเป็น จริง เพราะโลกโซเชียลมีเดียทำให้เรารู้สึกมีอำนาจ อยากเป็นใครก็ได้ อยากทำอะไรก็ทำ ซึ่งแตกต่างจากชีวิตจริงที่เราต้อง อยู่ในกฎกติกาของสังคม ในปัจจุบันมีข่าวความรุนแรงมากมายที่มีสาเหตุเกิดจากการติดโซเชียลมีเดีย การติดเกม เป็นต้น หากเราพบใครที่เริ่มมีพฤติกรรมที่ติดโซเชียลมีเดียมากเกินไปจนเริ่มมีผลเสียต่อการใช้ชีวิต วิธีการช่วยเหลือ เบื้องต้น เช่น พยายามลดเวลาที่เล่นลง กำหนดเวลา จำนวนครั้งที่จะเช็คข้อมูลต่อวัน ลบแอปพลิเคชันที่ทำให้ติดมาก ๆ ออกจากเครื่อง เวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น ๆ ให้เอาอุปกรณ์หน้าจอห่างจากตัวให้มากที่สุด แต่ถ้าได้ลองหลายวิธีแล้วยัง ไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา 3

ทักษะที่ 3 การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ (Cyberbullying Management) การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ เป็นความสามารถในการป้องกันตนเอง การมีภูมิคุ้มกันในการรับมือและ จัดการกับสถานการณ์การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างชาญฉลาด การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทาง เพื่อก่อให้เกิดการคุกคามล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลกอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะ เป็นกลุ่มเด็กจนถึง เด็กวัยรุ่น การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้งในรูปแบบอื่น หากแต่การกลั่นแกล้ง ประเภทนี้จะกระทำผ่านสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ หรืออาจจะเป็นคนแปลกหน้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทำจะรู้จักผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งรูปแบบของ การกลั่นแกล้งมักจะเป็นการว่าร้าย ใส่ความ ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย การคุกคามทางเพศผ่านสื่อออนไลน์ การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น การแบล็กเมล์ การหลอกลวง การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ ตัวอย่าง การกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ สามารถแตกประเด็นออกไปได้ 6 รูปแบบดังนี้ 1. การโจมตี ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย 4. การแบล็กเมล์กัน 2. การคุกคามทางเพศแบบออนไลน์ 5. การหลอกลวง 3. การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น 6. การสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ ทั้งนี้การกระทำที่เข้าข่าย Cyberbullying จะเกิดจากเจตนาที่มุ่งร้ายให้อับอาย เจ็บใจ และเสียใจ ดังนั้น การกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์จึงมักจะเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ไม่ใช่เพียงครั้งเดียว พ่อแม่จะสังเกตอาการ Cyberbullying ได้อย่างไร ในฐานะผู้ปกครอง เราอาจสังเกตอาการ Cyberbullying ของ บุตรหลานได้จากสัญญาณต่อไปนี้ - มีอาการซึมเศร้า เครียด หรือมีความวิตกกังวล - เด็กกลายเป็นคนชอบเก็บตัว ไม่ค่อยพูดจา วัน ๆ เล่นแต่มือถือหรือแท็บเล็ต - ทำตัวห่างเหินจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อนที่โรงเรียน - ไม่อยากไปโรงเรียน แอบหนีเรียนบ่อย ๆ - การเรียนตกต่ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ - เมื่อเจอคนพูดถึงเรื่องที่น่าอับอาย หรือสอบถามถึงสาเหตุของการไม่ไปโรงเรียน เด็กอาจมีอาการกรี๊ด ร้องไห้อย่าง หนัก หรือสติหลุด วิธีป้องกัน Cyberbullying สำหรับการดูแลบุตรหลานไม่ให้เสี่ยง Cyberbullying ผู้ปกครองสามารถทำได้ดังนี้ 1. สอนลูก ๆ ว่าอย่าไว้ใจคนแปลกหน้า โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ใครมาขอเป็นเพื่อนต้องตรวจสอบให้ดี 2. คอยสอดส่องว่าลูกจะไปไหน กับใคร หรือเพื่อนที่ลูกคุยด้วย แชทด้วยเป็นใคร 3. สอนลูกให้เก็บข้อมูลส่วนตัวของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าและคนที่ไม่สนิทสนม ไม่ควรเปิดเผย ข้อมูลส่วนตัวอย่างชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลส่วนตัว ที่สำคัญควรย้ำกับลูกว่าไม่ควรนัดเจอกันส่วนตัวกับเพื่อนใน โลกออนไลน์โดยเด็ดขาด 4. ควรกำหนดข้อตกลงกันก่อนที่จะอนุญาตให้ลูกใช้เครื่องมือสื่อสารและโซเชียลมีเดีย เพื่อให้พ่อแม่สามารถ ตรวจสอบได้ว่าลูกใช้โซเชียลมีเดียยังไง คุยกับใครบ้าง หรือมีความผิดปกติอะไรในนั้นหรือไม่ 5. พ่อแม่ควรสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับลูก เพื่อให้ลูกไว้วางใจมากพอจะบอกเล่าทุกเรื่องราวในชีวิตเขาได้ เมื่อมี ปัญหาอะไรลูกจะได้กล้าขอคำปรึกษากับเรา 4

ทักษะที่ 4 การจัดการความปลอดภัยบนระบบ เครือข่าย (Cybersecurity Management) การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เป็นความสามารถในการสำรวจ ตรวจสอบ การป้องกัน และ การรักษา ความปลอดภัยของข้อมูลในระบบเครือข่าย ป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการ โจรกรรมข้อมูลหรือการถูกโจมตีออนไลน์ได้ มีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์การรักษาความ ปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ คือการปกป้องอุปกรณ์ดิจิทัลข้อมูลที่จัดเก็บและข้อมูลส่วนตัวไม่ให้เสียหาย สูญหาย หรือถูกโจรกรรมจากผู้ไม่หวังดีในโลกไซเบอร์ ตัวอย่าง การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องรู้จักขอบเขตการใช้งาน และรู้วิธีป้องกันความเสียหายของข้อมูล และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ จากไวรัสและมัลแวร์ที่อาจส่งผลต่อระบบปฏิบัติการณ์ เราจึงต้องมีทักษะรักษาความปลอดภัยใน โลกไซเบอร์ได้ โดยการดูแลอุปกรณ์และโปรแกรมต่าง ๆ เบื้องต้น รู้ว่าเว็บไซต์แบบใดที่ไม่ปลอดภัยและอาจทำให้ระบบ ปฏิบัติการณ์ของเครื่องเสียหาย ควรหลีกเลี่ยง เพราะข้อมูลส่วนตัวของเราสามารถถูกโจรกรรมได้ ดังนั้น นอกจากระวังไม่ เผยแพร่ข้อมูลของตนเองแล้ว ก็ต้องดูแลอุปกรณ์ดิจิทัลของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน สมาร์ทวอช ฯ ควรถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัว ไม่ควรแชร์กับใคร 5

ทักษะที่ 5 การจัดการความเป็นส่วนตัว (Privacy Management) การจัดการความเป็นส่วนตัว เป็นความสามารถในการจัดการกับความเป็นส่วนตัวของตนเองและของผู้อื่น การใช้ ข้อมูลออนไลน์ร่วมกัน การแบ่งปันผ่านสื่อดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการ รู้จักป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เช่น การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล การขโมยข้อมูลอัตลักษณ์ เป็นต้น โดยต้องมีความสามารถในการฝึกฝนใช้ เครื่องมือ หรือวิธีการในการป้องกันข้อมูลตนเองได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงปกปิดการสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์ และ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ คือสิทธิการปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์ของ ผู้ใช้งานที่บุคคลหรือการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รวมถึงการใช้ดุลยพินิจปกป้อง ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่เป็น ความลับของผู้อื่น ตัวอย่าง ในการใช้งานสื่อดิจิทัลต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญคือการจัดการความเป็นส่วนตัว เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลของตนเองจาก การใช้งานสื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น การ Log in การใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ เราไม่ควรบันทึก รหัสผ่านค้างไว้ และไม่ควรตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป ควรตั้งรหัสผ่านให้มีความซับซ้อน และไม่แสดงข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะ เป็นการใช้งานบนเว็บไซต์ทั่วไป หรือ แอปพลิเคชัน Facebook , Twitter, Instagram, Line อาจทำให้เราโดนมิจฉาชีพ ขโมยข้อมูลได้ นอกจากนี้การใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ เรายังสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ที่เมนูการตั้งค่า 6

ทักษะที่ 6 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถในการตัดสินของบุคคลว่าควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ ควรทำ หรือไม่ควร ทำบนความคิดเชิงเหตุและผล มีความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มี เนื้อหาเป็นประโยชน์และข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้ อินเทอร์เน็ต ทราบว่าเนื้อหาใดมีประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และประเมิน ข้อมูลจากแหล่ง ข้อมูลที่หลากหลายได้ เข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่าง ๆ ในสื่อดิจิทัล เช่น ข่าวปลอม เว็บไซต์ปลอม ภาพตัดต่อ ข้อมูล อันที่เท็จ เป็นต้น ตัวอย่าง การคิดวิเคราะห์เป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะในโลกออนไลน์มีข้อมูลข่าวสารมากมายที่จำเป็นต้องได้รับ การวิเคราะห์กลั่นกรองก่อนว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งยังต้องสามารถแยกแยะข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกจาก ข้อมูลที่เป็นอันตราย รู้เท่าทันไม่ตกเป็นเครื่องมือของปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ จึงควรตรวจสอบแหล่งที่มา และ หาข้อมูลเพิ่มเติม และการใช้วิจารณญานในการอ่านข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอาจจะเป็นข่าวปลอมหรือโฆษณาลวง รวมไปถึง การคิดก่อนโพสต์ ก่อนแชร์ และแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ ว่าสิ่งใดควรและไม่ควร เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เป็นต้น 7

ทักษะที่ 7 ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints) ร่องรอยทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่องรอย ข้อมูลทิ้งไว้เสมอ ร่องรอยทางดิจิทัล อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตจริง ที่เกิดจากร่องรอยทางดิจิทัลเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิด ขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการจัดการกับชีวิตบทโลกดิจิทัลด้วยความรับผิดชอบ ข้อมูลร่องรอยทางดิจิทัล เช่น การลงทะเบียน อีเมล การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ ไฟล์งานต่าง ๆ เมื่อถูกส่งเข้าโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว จะทิ้งร่องรอยข้อมูลส่วนตัวของ ผู้ใช้งานไว้ให้ผู้อื่นสามารถติดตามได้ และจะเป็นข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่าง รอยเท้าดิจิทัลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1.ร่องรอยดิจิทัล ที่ผู้ใช้เจตนาบันทึก (Active Digital Footprints) 2.ร่องรอยดิจิทัล ที่ผู้ใช้ไม่มีเจตนาบันทึก (Passive Digital Footprints) ซึ่งรอยเท้าดิจิทัลนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีมันคือทำให้เรามีความสะดวกสบายมากขึ้น เวลาเราเข้าเว็บก็ไม่ต้อง กรอกข้อมูลบ่อย ๆ ส่วนข้อเสียรอยเท้าดิจิทัลสามารถระบุตัวตนเราได้ ซึ่งนำไปสู่การการถูกขโมยข้อมูลไปใช้ หรือการที่ เราโพสต์อะไรไปแล้ว มันอาจทำให้เราเกิดความเสียหายได้ในภายหลัง ดังนั้น เราจึงควรระมัดระวังร่องรอยข้อมูลดิจิทัลที่ เราทิ้งไว้ เช่นระวังหรืออย่าโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลงบนโลกออนไลน์โดยไม่จำเป็น พยายามอย่าเข้าเว็บที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะ ข้อมูลอาจถูกดักเก็บไปใช้ในทางที่ผิดได้ ระวังการเปิดลิงก์หรือดาวน์โหลดอะไรที่เป็นไวรัส อาจจะทำให้ผู้ไม่หวังดีเก็บ ข้อมูลเราไปได้ ระมัดระวังในการโพสต์หรือให้ข้อมูลกับใครในโลกออนไลน์ ตัวอย่าง รอยเท้าดิจิทัลของคนมีชื่อเสียง \"ลูกกอล์ฟ\" คณาธิป สุนทรรักษ์ ติวเตอร์ภาษาอังกฤษชื่อดังโดนตามร่องรอย จากทวิตเตอร์ที่เคยโพสต์ไว้เมื่อปี 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) โดยสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ทำให้คณาธิปต้องออกมาโพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ แสดงความ \"สำนึกผิด\" เขาระบุว่า \"มีช่วงหนึ่งในชีวิต ที่พี่มีความคิดที่น่ารังเกียจ ไม่มีอะไรจะแก้ตัว ทุกอย่างที่เราแชร์ไป เราต้องรับผิดชอบ พี่ขอรับผิดชอบกับความคิดที่น่ารังเกียจของพี่ทั้งหมด พี่ขอโทษ อ่านข้อความของตัวเองในวันนั้น ยังเกลียดตัวเองเลย พี่กลับไปแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่พี่ขอทำให้ปัจจุบันดีขึ้นแล้วกันนะคะ\" ดังนั้น การโพสต์หรือการใส่ข้อมูล เราต้องระวังการทิ้งร่องรอย และผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นด้วย 8

ทักษะที่ 8 ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล (Digital Empathy) ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น การตอบสนอง ความต้องการของผู้อื่น การแสดงความเห็นใจและการแสดงน้ำใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์ อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่ เพียงอย่างเดียว และจะเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในโลกออนไลน์ ตัวอย่าง ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัลเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่ง ในปัจจุบันหนึ่งในศัพท์ บัญญัติใหม่ที่ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ปี 2019 ในประเด็นของการโพสต์ข้อความตัดพ้อชีวิตลงในช่องทางโซเชียลมีเดีย นั่นก็คือ คำว่า ‘sadfishing’ ซึ่งใช้อธิบายพฤติกรรมที่ผู้คนโพสต์ข้อความเกินจริงเกี่ยวกับปัญหาทางด้านอารมณ์ของตนลงบน โซเชียลมีเดียเพื่อเรียกร้อง ‘ความเห็นอกเห็นใจ’ ‘หิวแสง!’ / ’น่ารำคาญ’ / ‘ไม่ทำจริงหรอก ก็แค่เรียกร้องความสนใจ’ / ‘ถ้าชีวิตมันแย่มากนัก พวกนั้นคงไม่มา โพสต์อะไรแบบนี้ และลงมือทำมันจริง ๆ ไปแล้ว’ คุณอาจเคยคิดแบบนั้น หรือถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยโพสต์ข้อความ ตัดพ้อชีวิต ความคิดแง่ลบจากคนอื่นเช่นนั้น ก็อาจทำให้คุณรู้สึกผิด และจมดิ่งสู่ความทุกข์เศร้าหนักข้อเข้าไปอีก Samaritans of Singapore (SOS) องค์กรที่มุ่งป้องกันเหตุฆ่าตัวตายในสิงคโปร์บอกว่า ขณะที่การแสดงออกเกี่ยว กับความอยากตายในโซเชียลมีเดียมักถูกปัดให้เป็นเรื่องของ ‘การเรียกร้องความสนใจ’ แต่อีกแง่หนึ่งมันก็สามารถเป็น สัญญาณขอความช่วยเหลือและแรงสนับสนุนอย่างแท้จริงได้เช่นเดียวกัน พฤษภาคมปี 2019 เด็กสาวชาวมาเลเซียวัย 16 ปีคนหนึ่ง ตัดสินใจกระโดดลงจากตึกจนถึงแก่ความตาย หลังจาก เธอตั้งโพลในอินสตาแกรมของตัวเอง ถามผู้ติดตามว่าเธอควรตายหรือไม่ ซึ่งผลของโพลที่ได้คือ 69% โหวตให้เธอตาย เป็นโศกนาฏกรรม เป็นเรื่องน่าสลดหดหู่ และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นบ่อยครั้งรายรอบตัวเรา ผู้คนมากมายประสบปัญหา ของการหมดอาลัยตายอยากไม่อยากมีชีวิตอยู่ แต่สิ่งที่พวกเขาทำได้จริง ๆ คือการโพสต์ความรู้สึกออกมาลอย ๆ โดยไม่มี แรงมากพอจะร้องขอความช่วยเหลือตรง ๆ เพราะหัวใจของพวกเขากำลังหมดแรง อินสตาแกรมเอง ก็ได้บรรจุวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ใน Help Centre (https://web.facebook.com/help/instagram/553490068054878?_rdc=1&_rdr) โดยแนะนำเป็นข้อ ๆ อย่างเข้าใจ ง่ายถึงคำถามที่ว่า เราควรทำอย่างไรถ้าเห็นคอนเทนต์ของใครสักคนเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายตัวเอง ดังนี้ 1.มองหาสัญญาณเตือน: สังเกตุข้อความ หรือสเตตัสที่แปลกออกไปจากปกติ เช่น การพูดว่าพวกเขาอยากหายตัว ไป ชีวิตของพวกเขาไร้ความหวัง เป็นต้น 2.ทำความเข้าใจและรับฟัง: ให้ความใส่ใจกับพวกเขาอย่างเต็มที่ แต่อย่าพยายามเสนอทางออกหรือปลอบประโลม ว่าทุกสิ่งจะดีขึ้น เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการจริง ๆ คือความรู้สึกว่ากำลังได้รับการรับฟัง และที่สำคัญอย่างตัดสินพวกเขา 3.ถามตรง ๆ : การถามตรงๆ ว่าพวกพวกเขากำลังคิดถึง ความตายหรือไม่ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยง แต่มันเป็นการแสดงว่า คุณใส่ใจและรับฟังความทุกข์ที่พวกเขากำลังเผชิญ และอย่า เพิ่งกังวลหากพวกเขาบอกว่า กำลังคิดถึงความตายจริง ๆ จงบอก พวกเขาว่ามันเป็นความกล้าหาญที่พวกเขาพูดมันออกมาตรง ๆ ได้ และการพูดคุยถึงสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญนั้น อย่างน้อยก็จะ ช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวได้ในระดับหนึ่ง 4.กำจัดของอันตรายออกไป: การถามพวกเขาถึงวิธีการ ฆ่าตัวตายที่กำลังคิดถึง เช่น การใช้ยา เชือก หรืออื่น ๆ จะทำให้ เรารู้ล่วงหน้าและสามารถกำจัดของเหล่านั้นออกไปก่อนได้ เพื่อลดความเสี่ยง 9

สรุป 8 ทักษะความฉลาดทางดิจิดิทัจิทัล ได้แก่ ทักษะที่ 1 เอกลักษณ์พลเมือง ดิจิทัล (Digital Citizen Identity) ทักษะที่ 2 การบริหารจัดการเวลาบนโลก ดิจิทัล (Screen Time Management) ทักษะที่ 3 การจัดการการกลั่นแกล้งบน ไซเบอร์ (Cyberbullying Management) ทักษะที่ 4 การจัดการความปลอดภัย บนระบบเครือข่าย (Cybersecurity Management) ทักษะที่ 5 การจัดการความ เป็นส่วนตัว (Privacy Management) ทักษะที่ 6 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ทักษะที่ 7 ร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprints) และ ทักษะที่ 8 ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่ นทางดิจิทัล (Digital Empathy) ซึ่งทุกทักษะนั้นเป็นทักษะที่สำคัญที่ทำให้เรานั้นสามารถใช้ ดิจิทัลได้อย่างฉลาด เป็นประโยชน์ที่สุด สามารถใช้ในการสืบค้น การเรียนรู้ และการติดต่อได้อย่างไม่มีขีดจำกัดทั้งสถานที่และเวลา โดยที่ไม่มีโทษ และมี ความปลอดภัยในการใช้งานได้ หากเรามีความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่ดีใน การใช้งานสื่ อดิทัลและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ 10

บรรณานุกรม ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2562). ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital intelligence). สืบค้นเมื่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/10611-digital-intelligence แพทย์หญิงปรานี ปวีณชนา. เหรียญสองด้านของโซเชียลมีเดีย. สืบค้นเมื่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.manarom.com/blog/the_two_sided_coin_of_social_media.html Sanook. (2564). Digital Footprint รอยเท้าบนโลกดิจิทัล. สืบค้นเมื่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.sanook.com/campus/1405435/ ศิริกร เอื้ อไพจิตร. (2562). รอยเท้าดิจิทัล : ฝ่ายบุคคลเตือน ตัวตนและความคิดเห็นในโลกออนไลน์มีผลต่อการสมัครงาน. สืบค้นเมื่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-48902824 ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. Cyberbullying ภัยบนโลกออนไลน์ ทำร้ายวัยรุ่นได้ง่ายกว่าที่ คิด !. สืบค้นเมื่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก http://med.swu.ac.th/msmc/opd_psy/index.php/news-menu/168-2017- 08-17-03-52-42 Starfish Academy. (2564). Digital Intelligence เมื่ อโลกดิจิทัลคือสิ่งจำเป็นในอนาคต. สืบค้นเมื่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.starfishlabz.com/blog/336-digital-intelligence- %E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0% B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B7 %E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0% FacebooBk8.%ห9ลัBก%กาEร0ค%วBา9ม%เป8็7น%ส่วE0น%ตัวBข8%อง99F%acEe0b%oBo9k%. ส8ื3บ%ค้นE0เม%ื่ อB85%พ9ฤ9ษ%ภEา0ค%มB285%6A5Dจ%าEก0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84 ht%tpEs0:/%/wB8w%w9.f5acebook.com/about/basics/privacy-principles ฆนาธร ขาวสนิท ณัฐมน สุนทรมีเสถียร. (2564). โพสต์ ‘อยากตาย!’ ไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นสัญญาณขอความช่วย เหลือของหัวใจที่หมดแรง. สืบค้นเมื่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://becommon.co/life/heart-suicidal-post-as- sos/ 11

นายชัยวฤทธิ์ หนูเจริญ ประวัติการศึกษา : ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประวัติการทำงาน : ตำแหน่ง ครูพิเศษสอน แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี (ปัจจุบัน) ติดต่อ : โทร. 061-882-6266 อีเมล [email protected]

INQTDUEILOGLTIITGIEAENLNTCE