กฏหมายเกี่ยวกับ การศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง ชาติ พ.ศ. 2542 • ให้ไว้ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2542 ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม 2542 • มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542 รัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการรักษาการ • เกิดจากหมวด 5 มาตรา 81 ของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ (จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่ง ชาติ) มาตรา 4 การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญ งอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกการ อบรมการสืบสานทางวัฒนธรรม การสรรค์สร้างจรรโลงความก้าวหน้า ทางวิชาการการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุน ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
หมวดที่ 1 บททั่วไป ความมุ่งหมาย และหลักการ มาตราที่ 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตราที่ 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขรู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฎหมายความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มี ความภาคภูมิใจในความเป็นไทยรู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนาศิลปะวัฒนธรรมของ ชาติการกีฬาภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็น สากลตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี ความสามารถในการประกอบอาชีพรู้จักพึ่งตนเองมีความริเริ่ม สร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตราที่ 8 หลักการจัดการศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้ - เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน - ให้สังคมมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา - การพัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง
หมวดที่ 2 สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา มาตราที่ 10 การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับ การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มาตราที่ 11 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ใน ความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา 17 และตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษา นอกเหนือจากการ ศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว มาตราที่ 12 นอกเหนือจากรัฐเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้บุคคล ครอบครัวองค์กรชุมชนองค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้น พื้นฐานทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตราที่ 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้ (1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรม เลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล (2) เงินอุดหนุนจากรัฐ สำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ บุตร หรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ทั้งนี้ตามที่ กฎหมายกำหนด (3) การลดหย่อน หรือยกเว้นภาษี สําหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่ กฎหมายกําหนด มาตราที่ 13 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กร วิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่ง สนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ตามควรแก่กรณี
หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา มาตราที่ 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบคือการศึกษาในระบบการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มาตราที่ 16 การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษา ระดับอุดมศึกษา มาตราที่ 17 ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้น แต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการ นับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตราที่ 18 การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถาน ศึกษาดังต่อไปนี้ (1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนาศูนย์บริการช่วยเหลือ ระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษหรือ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น (2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนที่ สังกัดสถาบันพุ ทธศาสนาหรือศาสนาอื่น (3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษา นอกโรงเรียนบุคคลครอบครัวชุมชนองค์กรชุมชนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นองค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนาสถาน ประกอบการโรงพยาบาลสถาบันทางการแพทย์สถานสงเคราะห์และ สถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
หมวดที่ 3 (ต่อ) ระบบการศึกษา มาตราที่ 19 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัยสถาบัน วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ให้เป็นไปตาม กฎหมายเกี่ยวกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากฎหมาย ว่าด้วยการ จัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตราที่ 20 การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษา ของรัฐสถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความ ร่วมมือระหว่างสถานศึกษา กับสถานประกอบการทั้งนี้ให้เป็นไปตาม กฎหมาย ว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตราที่ 21 กระทรวงทบวงกรมรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการ ศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน นั้นได้ โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมวดที่ 4 แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 2ิ2 การจัดการศึกษายึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และ พัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่ง เสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ มาตราที่ 23 จุดเน้นในการจัดการศึกษา ( ทั้ง 3 ระบบ ) 1.ความรู้ 2.คุณธรรม 3. กระบวนการเรียนรู้ 4. บูรณาการ ตามความเหมาะสม ดังนี้ -ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม รวมถึงประวัติ ความเป็นมาของสังคมไทย และระบอบการปกครอง -ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี -ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการ ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา -ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูก ต้อง -ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้ เรียน โดย คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการ ประยุกต์ความรู้มา ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำ ได้ คิดเป็น ทำ เป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอน สามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการ เรียน และ อำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับ บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
หมวดที่ 4 (ต่อ) แนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงาน และการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวน สัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอ เพียงและมีประสิทธิภาพ มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจาก พัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการ ทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสม ของ แต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็น ไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตาม มาตรา 10 วรรคสอง วรรค สาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลายทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสม ของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัย และศักยภาพ มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้ม แข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการ จัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จัก เลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้ สอดคล้อง กับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลก เปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชนมาตรา 30 ให้สถานศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับ การศึกษา
หมวดที่ 5 การบริหาร และการจัดการศึกษา ส่วนที่ 1 มาตรา 31 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษา ทุก ระดับและทุกประเภทกำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุน ทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลัก ที่เป็นคณะบุคคล ในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวนสี่องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะ กรรมการการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำ แก่ รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่น ตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา 33 สภาการศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้ 1) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับ การศึกษาทุกระดับ (2) พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดำเนินการให้ เป็นไปตามแผน (3) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา (4) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษา ตาม (5) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับ กฎหมายและกฎกระทรวง ที่ออกตาม ความใน พระราชบัญญัตินี้ มาตรา 34 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอ นโยบาย แผน พัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 35 องค์ประกอบของคณะกรรมการ ตามมาตรา 34 ประกอบด้วย กรรมการโดย ตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจำนวนไม่ น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน
หมวดที่ 5 (ต่อ) การบริหาร และการจัดการศึกษา มาตรา 35 องค์ประกอบของคณะกรรมการ ตามมาตรา 34 ประกอบด้วย กรรมการโดย ตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจำนวนไม่ น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน มาตรา 36 ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัด เป็นส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะ ทางตามมาตรา 21 มาตรา 37 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึง ถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสม ด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา มาตรา 38 ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงาน เขตพื้นที่การ ศึกษามีอ านาจหน้าที่ในการก ากับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสาน มาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา โดยตรง มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับ ต่ำกว่าปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษา ของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทำ หน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
หมวดที่ 5(ต่อ) การบริหาร และการจัดการศึกษา ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการภายใน ท้องถิ่น มาตรา 42 ให้กระทรวงก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการ จัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการ ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการ ศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา
หมวดที่ 5(ต่อ) การบริหาร และการจัดการศึกษา ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน มาตรา 43 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดย มีการกำกับติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ มาตรา 44 ให้สถานศึกษาเอกชนตามมาตรา 18 (2) เป็นนิติบุคคล และมีคณะ กรรมการบริหารประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบ อนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทน ศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ มาตรา 45 ให้สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภท การ ศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด โดยรัฐต้องกำหนด นโยบายและ มาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอกชนในด้านการ ศึกษา มาตรา 46 รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือการ ยกเว้นภาษี และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ในทางการ ศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนตามความเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมและ สนับสนุนด้านวิชาการ ให้สถานศึกษาเอกชนมีมาตรฐานและสามารถ พึ่งตนเองได้
หมวดที่ 6 มาตรฐาน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาทุกระดับประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และ ระบบการประกันคุณภาพภายนอก มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมี การจัดท ารายงานประจ าปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกัน คุณภาพภายนอก มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็น องค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผล การจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพ ของสถานศึกษา มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการ ของสถานศึกษา มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐาน ที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้สถาน ศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็น วิชาชีพชั้นสูง มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะ เป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา มาตรา 54 ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากร ทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหาร งานบุคคลของข้าราชการครู มาตรา 55 ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ เกื้อกูลอื่น สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีรายได้ที่ เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคม และวิชาชีพ มาตรา 56 การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนา มาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคลของ ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษา ระดับปริญญาที่เป็น นิติบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มาตรา 57 ให้หน่วยงานทางการศึกษา ระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษาโดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าวมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการ ศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
หมวดที่ 8 ทรัพยากร และการลงทุน เพื่อการศึกษา มาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และ ทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนเอกชน องค์กรเอกชน องค์กร วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น มาตรา 59 ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา มาตรา 60 ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษาในฐานะที่มีความสำคัญ สูงสุด ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศโดยจัดสรรเป็นเงินงบประมาณ เพื่อการศึกษา มาตรา 61 ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ตามความเหมาะสมและความจำเป็น มาตรา62 ให้มี ระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการ ใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการศึกษา แนว การจัดการศึกษา และคุณภาพมาตรฐานการศึกษา โดยหน่วยงานภายใน และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบภายนอก
หมวดที่ 9 เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่จำเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อ ใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตาม อัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือ ทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดย เร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมี การให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้ โดยเปิดให้มี การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มี ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการ ศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคน ไทย มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงิน อุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลก าไรที่ได้จากการด าเนินกิจการด้านสื่อสาร มวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษใน การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และ ประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
บทเฉพาะกาล มาตรา 70 บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งเกี่ยวกับ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการดำ เนินการ ปรับปรุงแก้ไขตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 71 ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษาที่มีอยู่ใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงมีฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาตาม บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระ ราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 72 ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติ มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 17 มาใช้บังคับ จนกว่าจะมีการด าเนินการให้เป็น ไปตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยใช้บังคับ มาตรา 73 ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติในหมวด 5 การบริหารและการจัดการ ศึกษา และหมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มาใช้บังคับ จนกว่าจะได้มีการดำเนินการให้เป็นไป ตามบทบัญญัติในหมวดดังกล่าว รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงพระราช บัญญัติครู พุทธศักราช 2488 และ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ซึ่งต้องไม่เกินสามปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 74 ในวาระเริ่มแรกที่การจัดตั้งกระทรวงยังไม่แล้วเสร็จ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการทบวง มหาวิทยาลัย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎ กระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน มาตรา 75 ให้จัดตั้ง สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน เพื่อทำหน้าที่
Search
Read the Text Version
- 1 - 16
Pages: