Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore lesson 2

lesson 2

Published by Sean, 2019-05-31 02:40:03

Description: lesson 2

Search

Read the Text Version

1 เอกสารประกอบการสอน DIGITAL MEDIA PRODUCTION รายวชิ าการผลติ สื่อระบบดจิ ทิ ัล 1031502 ฟิ สิกส์ ฌอณ บวั กนก Digital Media Production 1031502

2 บทที่ 2 ส่ือดจิ ิทลั สาหรับการผลติ และการบันทึกขอ้ มูลดิจิทลั สื่อดิจิทัลหลักๆท่ีนิยมทาการผลิตมีอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ คือ ข้อความ เสียง ภาพเคล่ือนไหว วีดีโอ โดยแต่ละรูปแบบจะถูกนาไปประยุกต์และพัฒนาเป็นส่ือต่างๆท่ีสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ ละอย่าง การนาสื่อพ้ืนฐานเหล่าน้ีมาผสมผสานและใช้งานร่วมกัน จะเรียกว่า สื่อผสม หรือ มัลติมีเดีย(Multi- media) เม่ือมีการผลิตสื่อดิจิทัล สิ่งท่ีอย่างมากคือการบันทึกข้อมูล เพราะหน่วยการบันทึกข้อมูลดิจิทัลเป็น แหล่งสะสมสัญญาณข้อมูลดิจิทัลที่สามารถแปลงสัญญาณธรรมชาติที่มนุษย์รับรู้และเข้าใจได้ การบันทึกที่ ถูกต้องและจัดเก็บในหน่วยการบันทึกข้อมูลดิจิทัลท่ีเหมาะสม จะสามารถนาข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างมี ประสิทธภิ าพ 1. รปู แบบของสือ่ ดจิ ิทัลสาหรับการผลติ รปู แบบส่อื ดิจทิ ัลสาหรับการผลิตมีอย่ดู ้วยกนั 5 รูปแบบ ซง่ึ สอ่ื ดจิ ิทลั แตล่ ะรูปแบบจะมีลักษณะที่ แตกต่างกัน ในบทนจี้ ะนาเสนอลักษณะของแตล่ ะรูปแบบพอสังเขปเพอื่ ใหผ้ ศู้ กึ ษาได้เขา้ ใจภาพรวมของส่ือ ระบบดจิ ทิ ลั ทั้งหมด ส่วนรายละเอียดกระบวนการผลติ เครอื่ งมือการผลิต การจัดเก็บสอ่ื ที่ผลิต ของแตล่ ะ รปู แบบจะนาเสนอแบบเจาะลึกในบทที่ 3 -6 ตอ่ ไป 1.1 ขอ้ ความ (Text) ข้อความเป็นส่วนท่ีเก่ียวกับเน้ือหา ใช้แสดงรายละเอียด หรือเนื้อหาของเร่ืองที่นาเสนอ ถือว่าเป็น องค์ประกอบพ้ืนฐานสาคัญของส่ือดิจิทัล ซ่ึงสามารถนาเสนอผ่านจอภาพของคอมพิวเตอร์ หรือจอภาพของ อุปกรณด์ ิจทิ ลั อื่นๆได้ อกี ทั้งข้อความดิจทิ ัลยังกาหนดรูปแบบและสีของตัวอักษรได้ตามความต้องการ สามารถ กาหนดลกั ษณะของการปฏิสมั พันธ์ได้ ซึ่งการสรา้ งขอ้ ความดจิ ิทัลมหี ลายรปู แบบ ไดแ้ ก่ 1.1.1 ข้อความสร้างขึ้นจากการพิมพ์ เป็นข้อความปกติท่ีพบได้ทั่วไป ได้จากการพิมพ์ด้วย โปรแกรมประมวลผล (Word Processor) เช่น NotePad, Text Editor, Microsoft Word โดยตัวอักษรแต่ ละตวั จัดเก็บในรหสั ดิจิทลั หรอื เลขฐานสอง แสดงตวั อย่างการสรา้ งข้อความจากการพิมพ์ ดงั ภาพที่ 2.1 ภาพท่ี 2.1 แสดงการสรา้ งข้อความสาหรับสอ่ื ดจิ ิทัลจากการพมิ พ์ ทม่ี า : ฟิสิกส์ ฌอณ บวั กนก (2556) Digital Media Production 1031502

3 1.1.2 ข้อความสร้างขึ้นจากการสแกน ซ่ึงข้อความท่ีถูกสร้างในลักษณะนี้จะถูกจัดเก็บแบบ รูปภาพ หรือ Image ข้อความท่ีสร้างข้ึนเกิดจากการสแกนด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (ดังภาพท่ี 2.2) ซ่ึงจะได้ผล เหมือนกับเป็นภาพ ในปัจจุบันสามารถแปลงข้อความภาพกลับมาเป็นข้อความปกติได้ ข้อความดิจิทัลหรือ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อความที่พัฒนาให้อยู่ในรูปของสื่อที่ใช้ประมวลผลได้ ด้วยเทคโนโลยีท่ีก้าวหน้า และทันสมัยปัจจุบันเคร่ืองแสกนเนอร์ได้ถูกพัฒนาและออกแบบให้มีขนาดเล็กลง (ดังภาพท่ี 2.3) เพื่อความ สะดวกในการเคลอื่ นยา้ ย ภาพที่ 2.2 แสดงตัวอยา่ งรปู ลกั ษณ์เครื่องแสกนเนอรท์ ่ัวไป ที่มา : http://www.xeroxscanners.com ภาพที่ 2.3 แสดงเครอื่ งแสกนเนอรท์ พ่ี ฒั นาใหม้ ีความสะดวกในการใชง้ านและเคลือ่ นย้าย ทม่ี า : http://images.gizmag.com 1.1.3 ข้อความไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) เป็นรูปแบบของข้อความ ที่ได้รับความนิยมสูงใน ปัจจุบนั โดยเฉพาะการเผยแพร่เอกสารในรูปของเอกสารบนเว็บ(website) เน่ืองจากสามารถใช้การลิงก์(link) หรือการเชื่อมข้อความไปยังข้อความอื่นหรือจุดอ่ืนๆได้ ทาให้สามารถทาความเข้าใจเพิ่มเติมในข้อความแต่ละ สว่ น ดงั ภาพท่ี 2.4 Digital Media Production 1031502

4 ภาพท่ี 2.4 แสดงภาพผงั การเชือ่ มโยงขอ้ มลู ของข้อความHypertext ทีม่ า : http://www.cs.cf.ac.uk 1.2 เสยี ง (Digital Audio) เสียงดิจิทัลถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัลท่ีสามารถเล่นซ้ากลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรม สาหรับงานด้านเสียง เสียงเป็นส่วนประกอบสาคัญหลักของการผลิตส่ือ การใช้เสียงท่ีสัมพันธ์กับเน้ือหาการ นาเสนอ จะส่งเสริมให้ส่ือสามารถสร้างความเข้าใจ และเร้าความสนใจได้ดีย่ิงข้ึน อย่างไรก็ตามการใช้เสียง ประกอบในการผลติ สอ่ื ควรคานงึ ถึงจุดประสงคก์ ารนาเสนอเปน็ หลัก การทางานของสื่อเสียงดิจิทัลเริ่มจากการนาเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน ผ่านกระบวนการแปลง สัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิทัล และสุดท้ายจัดเก็บในหน่วยบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นซีดี ดีวีดี เป็นต้น ชุด ไมโครโฟนจึงเป็นอุปกรณ์สาหรับการนาสัญญาณเสียงเข้ารหัสดิจิทัล(ภาพที่2.5) ซึ่งชุดไมโครโฟนก็มีให้เลือก แตกต่างมากมายขึ้นอยู่กับการใช้งาน หลังจากมีการบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เม่ือจะรับฟังก็ทาการแปลง สัญญาณดิจทิ ัลให้เป็นสัญญาณธรรมชาติอกี คร้ังแลว้ นาออกหรือเผยแพร่ผ่านลาโพง ภาพท่ี 2.5 แสดงอุปกรณช์ ดุ ไมโครโฟนสาหรบั ผลิตเสยี งในงานสือ่ ดจิ ิทลั ทม่ี า : http://europe.beyerdynamic.com Digital Media Production 1031502

5 1.3 ภาพนิง่ (Image) ภาพที่ 2.6 แสดงตัวอย่างภาพนงิ่ ภาพน่ิงเข้าใจได้ง่ายๆ คือ ภาพที่ไม่มีการ ท่ีมา : http://ho.files-media.com เคลอ่ื นไหว เชน่ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพลายเส้น เป็นต้น ประกอบขึ้นจากหน่วยเล็กๆที่เรียกว่าพิกเซล(pixel) โดย ความละเอียดของภาพ(Resolution) จะข้ึนอยู่กับ จานวนพิเซลที่ประกอบกันข้ึนเป็นภาพ ยิ่งมีจานวนมาก ภาพก็ย่ิงมีความละเอียดสูงทาให้มีความคมชัด ภาพน่ิง นับว่ามีบทบาทต่อการทาความเข้าใจ เพราะภาพน่ิงจะ ให้ผลในเชิงการรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่าข้อความ นอกจากนภ้ี าพนง่ิ ยงั สามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ้ง มากกว่าข้อความหรือตัวอักษร ซ่ึงข้อความหรือตัวอักษร จะมีข้อจากัดด้านความแตกต่างของแต่ละภาษารวมถึง เรื่องของความสามารถทางการอ่าน แต่ภาพนั้นสามารถ สื่อความหมายได้กบั ทุกคน ในการผลิตสื่อดิจิทัลหากพื้นท่ี จัดเก็บน้อย ภาพน่ิงจะนิยมผลิตมากกว่าภาพเคล่ือนไหว ด้วยใช้พ้ืนที่เก็บข้อมลู ไม่มากและมีต้นทุนการผลติ ต่ากว่า 1.4 ภาพเคลือ่ นไหว (Graphic) ภาพเคล่ือนไหวเป็นศิลปะแขนงหน่ึงซึ่งใช้ส่ือความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพ่ือให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามท่ีผู้สื่อสารต้องการ ภาพกราฟิก เป็นภาพเคล่ือนไหวท่ีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความเสมือนจริง(ภาพท่ี2.7) การผลิตภาพเคล่ือนไหวจะต้องใช้ โปรแกรมทม่ี คี ณุ สมบตั เิ ฉพาะทางและศาสตรห์ ลายแขนงประกอบกันมคี วามซับซอ้ นใชค้ วามรู้ขั้นสูง นอกจากน้ี ในการจัดเก็บไฟล์ภาพกราฟิกยังมีลักษณะการบันทึกที่พิเศษ ด้วยเกิดจากขนาดของไฟล์ที่ใหญ่ต้องใช้พ้ืนที่ใน การจัดเกบ็ มากกวา่ ภาพนิ่งหลายเท่า ทาให้อาจมีปัญหาการบันทึกเกดิ ข้ึนไดห้ ากไม่มีความเช่ียวชาญ ภาพที่ 2.7 แสดงตวั อย่างภาพกราฟฟิก ท่ีมา : http://www.techxcite.com Digital Media Production 1031502

6 1.5 วีดีทศั น์ (VDO) วีดีทัศน์เป็นอีกส่ือดิจิทัลท่ีนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ด้วยปัจจุบันนี้การสร้างงานด้านวีดี ทัศน์ไม่ใช่เร่ืองยากทจี่ ากัดเฉพาะในบางกลุ่มคนอีกต่อไปมีเพียงโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียวก็สามารถถ่ายวี ดีทัศน์ได้(ภาพท่ี2.8) อย่างไรก็ตามส่ือวีดีทัศน์ยังสามารถนาเสนอรูปแบบดิจิทัลอ่ืนๆเช่นข้อความ ภาพน่ิง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถนามาประกอบกับเสียงไดอ้ ย่างสมบูรณ์ แตป่ ญั หาหลักของการผลิตสื่อวีดีทัศน์ คือ การส้ินเปลืองทรัพยากรของพน้ื ท่ีบนหน่วยความจาเป็นจานวนมหาศาล แพราะการนาเสนอวีดีทัศน์ด้วยเวลาท่ี เกดิ ขนึ้ จริง(Real-Time) จะต้องประกอบดว้ ยจานวนภาพไมต่ า่ กว่า 30 ภาพตอ่ วนิ าที และการประมวลผลภาพ ต้องผา่ นกระบวนการบบี อัดขนาดของสัญญาณด้วย ภาพท่ี 2.8 แสดงตัวอยา่ งภาพการบนั ทกึ วีดที ศั น์ดว้ ยโทรศพั ท์มือถือ ท่มี า : http://www.pindigit.com/wp-content 2. อปุ กรณบ์ นั ทึกข้อมลู ดจิ ิทลั และเทคโนโลยกี ารบันทึกขอ้ มูล ลกั ษณะเด่นขอความเป็นสอ่ื ระบบดิจิทัลคอื การเข้ารหัสสัญญาณธรรมชาติ ให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัล น่ันเอง แล้วดาเนินการบันทึกข้อมูล และนาข้อมูลที่อยู่ในรูประหัสไปทาการถอดรหัสให้อยู่ในรูปสัญญาณ ธรรมชาติอีกคร้ังเพื่อคนธรรมดาอย่างเราๆได้เข้าใจ ซ่ึงอุปกรณ์สาหรับการบันทึกข้อมูลดิจิทัลท่ีถูกพัฒนาข้ึน สามารถสรุปไดด้ งั นี้ 2.1 จานบันทกึ แบบอ่อน (Floppy Disk) จานบันทกึ แบบออ่ น หรือ ฟลอปปีดิสก์ หรอื ท่ีนยิ มเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ เป็น อุปกรณ์เก็บ ข้อมูล ทอ่ี าศัยหลักการเหนย่ี วนาของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติก สี่เหลี่ยมดังภาพที่2.9(ซ้าย) ในส่วนการทางานคอมพิวเตอร์จะสามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผา่ นทางฟลอปป้ีดสิ กไ์ ดรฟ์ (floppy disk drive) ฟลอปปี้ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถือได้ว่าอยู่มานานแสน นานและยังคงใช้กันอยู่จนถึงทุกวันน้ี ในอดีตฟลอปป้ีดิสก์จะมีขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งเป็นแผ่นใหญ่บรรจุข้อมูลได้ Digital Media Production 1031502

7 1.2 เมกะไบต์จะบรรจุได้น้อยกว่าฟลอปปี้ดิสก์รุ่นใหม่ขนาด 3.5 นิ้ว ซ่ึงจะบรรจุข้อมูลได้มากกว่า 1.44 เมกะ ไบต์ในขนาดของแผน่ ทีเ่ ล็กกว่า Mylar ภาพท่ี 2.9 แสดงภาพ Floppy Disk และกลไกลภายใน ทมี่ า : http://www.dvdyourmemories.com กลไกการทางานของฟลอปปี้ดิสก์ คือตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุท่ีอ่อนน่ิม เช่น ไมลาร์ ( Mylar ) ท่ีเป็น พลาสตกิ สงั เคราะหเ์ คลือบสารแมเ่ หลก็ เอาไว้ ดงั ภาพท2ี่ .9(ขวา) ในดิสก์ 1 แผ่นจะมีจานเดียว หัวอ่านจะเล่ือน เข้าไปสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรงเพ่ืออ่านข้อมูล เหตุนี้ทาให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เม่ือมีการเปล่ียนแปลง ข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็กที่หัวอ่าน เม่ือหัวอ่านของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะ ทาการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุมข้อมูลแบบอนุกรมทีละบิตต่อเน่ืองกัน ในขณะท่ีหัวอ่านกาลังทางาน อุปกรณอ์ ื่นๆตอ้ งหยุดรอทาใหก้ ารทางานของระบบหยดุ ชะงักไป ด้านลักษณะกายภาพ มุมด้านหน่ึงของฟลอป ป้ีดิสกจ์ ะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล(write-protect hole) ดังภาพท่ี 2.9(ขวา) หากเป็นแผ่น 5.25 น้ิว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างจากดิสก์3.5 นิ้ว ท่ีจะเป็นสลักพลาสติกเล่ือน ไปมาหากเล่อื นเปดิ เป็นช่องจะบันทกึ ไมไ่ ด้ ซึง่ ลกั ษณะตวามจแุ ละการบันทึกของฟลอปปี้ดิส์แบบต่างๆ แสดงไว้ ในตารางที่ 2.1 ตารางท่ี 2.1 แสดงความจุของฟลอปปีด้ สิ ก์แบบต่าง ๆ ขนาด แบบที่เรียกว่า ด้านทบ่ี นั ทกึ ความจุข้อมลู 5.2 นิ้ว Single sided-Double Density 1 160/180 KB 5.2 นว้ิ Double sided-Double Density 2 320/360 KB 5.2 นว้ิ HD(High Density) 2 1.2 MB 3.5 นิ้ว Double sided-Single Density 2 720 KB 3.5 น้วิ Double sided-High Density 2 1.44 MB 3.5 น้วิ Double sided-Quad Density 2 2.88 MB 3.5 นิว้ Floptical Disk 2 120 MB ทมี่ า : ฟสิ กิ ส์ ฌอณ บวั กนก (2555) Digital Media Production 1031502

8 2.2 จานบนั ทึกแบบแข็ง (Hard disk) จานบนั ทกึ แบบแข็งหรือฮาร์ดดิสก์(hard disk) คืออุปกรณ์ บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน ลักษณะเป็นจานโลหะเคลือบ ด้วยสารแม่เหล็กดังภาพที่2.10 หากต้องการติดต้ังเข้ากับ เคร่ืองคอมพิวเตอร์สามารถทาได้โดยผ่านการต่อเข้ากับมา เธอร์บอร์ด(motherboard) ได้ท้ังอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) นอกจากนีย้ ังสามารถตอ่ เขา้ เครือ่ งจากภายนอกได้ผ่านทาง สายยเู อสบี ด้วยความจุในการบันทกึ ทีม่ มี ากสามารถใช้เอ็ก เทอร์นอลล์ฮาร์ดดิสก์(External hard disk) เก็บข้อมูลได กรณีทไี่ ม่มีคอมพวิ เตอร์เปน็ ของตนเอง ภาพที่ 2.10 แสดงภาพ Hard Disk ทม่ี า : http://www.maxprotechgen.com ในปัจจบันความจุของฮาร์ดดิสก์มีตั้งแต่ 20 ถึง 250 กิกะไบต์ ย่ิงมีความจุมากก็จะย่ิงทาให้การทางานมี ประสิทธิภาพมากข้ึน ฮาร์ดดิสก์ทางานโดยอาศัยการควบคุมจาก CPU และจะมีการส่งสัญญาณการใช้งานไป ยัง Controller Card ซ่ึง Controller Card ในปัจจุบันมีอยู่เพียง 3 ชนิด (ศิลป์ณรงค์ ฉวีพัฒน์และคณะ, 2549). คอื 2.2.1 IDE (Integrated Drive Electronics) ระบบน้ีมีความจุใกล้เคียงกับแบบ SCSI แต่มี ราคาและความเรว็ ในการขนยา้ ยข้อมลู ตา่ กวา่ ตัวควบคุม IDE ปจั จบุ ันนิยมรวมอยูใ่ นแผงตัวควบคมุ 2.2.2 SCSI (Small Computer System Interface) เป็น Controller Card ท่ีมี Processor อยใู่ นตัวเองทาใหเ้ ป็นสว่ นเพมิ่ ขยายกับแผงวงจรใหม่ ใช้ควบคุมอุปกรณ์เสริมอ่ืนที่เป็นระบบ SCSI ได้ เช่น Modem CD-ROM Scanner และ Printer ใน Card หนึง่ ๆจะสนับสนุนการต่ออปุ กรณ์ได้ถึง 8 ตัว 2.2.3 Serial ATA (Advanced Technology Attachment) Serial ATA มีความเร็วใน เข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทางานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub มีจานวน pin น้อยกว่า Parallel ATA 2.3 ซดี ีรอม (CD-ROM) คาว่า ซีดีรอม หรือ CD-ROM ย่อมาจากคาว่า Compact Disk Read Only Memory ก็เป็นอุปกรณ์ บันทึกข้อมูลท่ีได้รับความนิยมด้วยมีราคาถูก เคร่ืองคอมพิวเตอร์ปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีหน่วยบันทึกที่อ่าน ซีดีรอมได้ แต่ก็มีบางรุ่นบางย่ีห้อที่ไม่สามารถอ่านได้เพราะไม่มีช่อง ซีดีรอมไดร์ฟ(CD-ROM Drive) เพ่ือลด ขนาดตัวเครื่อง ซีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะก็เหมือนจานซีดีท่ีบรรจุ Digital Media Production 1031502

9 เพลงดังภาพท่ี 2.11 มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 น้ิว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่า ของจานบนั ทกึ ขนาด 3.5 นว้ิ ส่วนใหญจ่ านบนั ทกึ ประเภทนย้ี งั คงใชอ้ า่ นไดอ้ ยา่ งเดียว (read only) ซ่ึงลักษณะ ของซดี รี อม การทางานของซดี ีรอม และชนิดของซดี ีรอม มรี ายละเอยี ดดงั น้ี 2.3.1 ลักษณะแผ่นซีดีรอม เป็นสื่อในการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล (Optical Storage) ใช้ ลาแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล แผ่นซีดีรอม ทามาจากแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียม เพื่อสะท้อนแสง เลเซอร์ที่ยิงมา เม่ือแสงเลเซอร์ที่ยิงมาบนแผ่นพลาสติกเคลือบด้วยอลูมิเนียมก็จะสะท้อนกลับไปท่ีตัวอ่าน ข้อมูลทเ่ี รยี กวา่ Photo Detector และทาการอา่ นขอ้ มูลท่ไี ด้รับมาว่าเป็นอะไร และส่งค่า 0 และ 1 ไปให้ซีพียู เพ่ือประมวลผลต่อไป ภาพท่ี 2.11 แสดงภาพซดี ีรอม ที่มา : http://www.howtodothings.com ความเร็วของไดร์ฟซีดีรอม มีหลายความเร็ว เช่น 2x 4x หรือ 16x เป็นต้น ซึ่งค่า 2x หมายถึงไดร์ฟซีดีรอมมี ความเร็วในการหมุน 2 เท่า ไดร์ฟตัวแรกที่เกิดขึ้นมามีความเร็ว 1x จะมีอัตราในการโอนถ่ายข้อมูล (Data Transfer Rate) 150 KB ต่อวนิ าที สว่ นไดร์ฟทม่ี คี วามเร็วสูงกว่านี้ ก็จะมคี วามเรว็ การโอนถา่ ยขอ้ มลู สงู ย่งิ ขึ้น 2.3.2 การทางานของแผ่นซีดีรอม ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับ แผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทาให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากข้ึน เมื่อไดร์ฟ ซดี ีรอมเร่ิมทางานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็วหลายค่า ท้ังนี้เพ่ือให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอม คงที่สม่าเสมอทุกเซ็กเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากน้ันแสงเลเซอร์จะฉายลง ซีดีรอม โดยลาแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตาแหน่งได้โดยการทางานของขดลวดลาแสงเลเซอร์จะทะลุ ผ่านไปท่ซี ีดรี อมแล้วสะท้อนกลบั ทผ่ี วิ หน้าของซีดีรอมจะเปน็ หลุมเปน็ บอ่ ส่วนทเี่ ป็นหลมุ เรยี ก“แลนด์” สาหรับ บริเวณท่ีไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก“พิต” ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เม่ือแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเห ผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลาแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกาเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ท่ีทาให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมน้ันต้องใช้แสง เลเซอรเ์ ชน่ กนั โดยมลี าแสงเลเซอร์จากหัวบันทกึ ของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพ้ืนผิวหน้าของแผ่น ถ้า Digital Media Production 1031502

10 ส่องไปกระทบบริเวณใดจะทาให้บริเวณน้ันเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพ้ืนเรียบ สลบั กันไปเรอื่ ยๆตลอดทงั้ แผ่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time) คือช่วงระยะเวลาท่ีซีดีรอมไดร์ฟ สามารถอา่ นขอ้ มูลจากแผน่ ซดี รี อมแล้วสง่ ไปประมวลผล หน่วยท่ใี ช้วัดความเร็วน้ีคอื มิลลิวินาที (milliSecond) หรอื ms ปกติแล้วความเร็วมาตรฐานท่ี เป็นของไดร์ฟซีดรี อม 4x กค็ ือ 200 ms แต่ตวั เลขนีจ้ ะเป็นตัวเลขเฉลี่ย เท่าน้ัน เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าไดร์ฟ ซีดีรอมจะมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลบนแผ่นซีดีรอมเท่ากันทั้งหมด เพราะว่าความเร็วท่ีแท้จริงน้ันจะข้ึนอยู่ กับว่าข้อมูลท่ีกาลังอ่าน อยู่ในตาแหน่งไหนบนแผ่นซีดี ถ้าข้อมูลอยู่ใน ตาแหนง่ ดา้ นใน หรือวงในของแผ่นซีดี กจ็ ะมีความเร็วในการเข้าถึงสูง แต่ถ้าข้อมูลอยู่ด้านนอกหรือวงนอกของ แผ่น กจ็ ะทาใหค้ วามเร็วลดลงไป (พนู ศักด์ิ ธนพนั ธพ์ าณชิ , 2551) 2.3.3 ชนิดของแผน่ ซดี รี อม แบง่ ออกไดเ้ ปน็ 3 ชนดิ ดงั น้ี 2.3.3.1 ชนิดที่อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ซีดีรอมไดร์ฟจะมีการบอกเสปคเป็น “x” เด่ยี วๆ เช่น48 x หรือ52 x ก็จะหมายถึงอ่านข้อมูลได้ท่ีความเร็ว 48x และ 52 x ตามลาดบั 2.3.3.2 ชนดิ ทส่ี ามารถอ่านและเขียนบนั ทกึ ข้อมูลได้ คือ ซีดีรอมไดร์ฟ(CD-R Drive) ย่อมาจาก CD Recordable Drive ซึ่งนอกจากจะอ่านแผ่นซีดีแล้วยัง สามารถเขียนบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R : CD-Recordable ท่ีเป็น แผ่นซีดีแบบบันทึกข้อมูลอย่างเดียวได้อีกด้วยโดยจะมีการแบ่งสเปคไว้ 2 ตวั เชน่ 4x24 หมายถงึ เขียนข้อมลู ไดท้ ่ี 4 x ละอา่ นขอ้ มูลได้ท่ี 24x เป็นตน้ 2.3.3.3 ชนิดท่ีสามารถอ่านบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้ คือ CD-RW Drive ย่อมา จาก CD-Rewritable Drive ท่สี ามารถอา่ นและบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีอาร์ CD-R อีกทั้งยังเขียนและลบข้อมูลจากแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวCD-RW ท่ี สามารถเขียน และลบข้อมูลได้ เหมือนฮาร์ดดิสก์อีกด้วยซึ่งจะแบ่งสเปค ออกเป็น 3 ตัว เช่น12x 12x32xสามารถเขียน CD-R ได้ที่ความเร็ง 12x เขยี น CD-RW ไดท้ ่ีความเรว็ 12x และอ่านขอ้ มูลไดท้ ี่ 32x 2.4 ดีวีดี (DVD) ดีวีดี (DVD; Digital Versatile Disc) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึก ขอ้ มลู ต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสยี งทด่ี ี โดยมีรปู ลักษณต์ ามรปู ที่ 2.12 ดีวีดีถูกพัฒนา มาใช้แทนซีดรี อม โดยใชแ้ ผ่นทม่ี ขี นาดเดียวกนั ( เสน้ ผ่าศนู ย์กลาง 12 เซนติเมตร ) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลท่ี แตกต่างกนั และความละเอียดในการบันทึกท่ีหนาแน่นกว่า เดิมทีดีวีดีมาจากช่ือย่อว่า digital video disc แต่ ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปล่ียนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคานิยามอย่างเป็น ทางการแลว้ DVD จึงแปลวา่ แผ่นดจิ ทิ ลั อเนกประสงคช์ นดิ บนั ทึกได้ตามช่ือใหม่ Digital Media Production 1031502

11 ภาพท่ี 2.12 แสดงภาพดีวดี ี ท่มี า : http://1.bp.blogspot.com 2.4.1 คณุ สมบัติของดวี ีดี โดยทว่ั ไปดีวดี ีมคี ณุ สมบตั ติ ่างๆดงั นี้ 2.4.1.1 สามารถบนั ทึกข้อมูลวดี ที ศั น์ทค่ี วามละเอียดสูงได้ถึง 133 นาที 2.4.1.2 การบีบอัดของวีดที ัศน์ในรูปแบบ MPEG-2 นน้ั มีอัตราสว่ นอยทู่ ี่ 4 : 0 : 1 2.4.1.3 สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็น ระบบเสยี ง สเตอริโอ 2.0 ชอ่ ง (รปู แบบ PCM) หรือ ระบบเสยี งรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS) 2.4.1.4 มีคาบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถงึ 32 ภาษา 2.4.1.5 ภาพยนตรด์ ีวดี ีบางแผน่ น้นั สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ดว้ ย (Multiangle) 2.4.1.6 สามารถทาภาพนิ่งไดส้ มบูรณเ์ หมอื นภาพสไลด์ 2.4.1.7 ควบคมุ ระดับสิทธกิ ารเลน่ (Parental Lock) 2.4.1.8 มีรหัสพ้ืนทใ่ี ช้งานเฉพาะพน้ื ที่กาหนด (Regional Codes) 2.4.2 ชนิดของแผ่นดวี ดี ที ใี่ ชบ้ นั ทกึ นน้ั มีอยู่ 6 ชนิด คอื 2.4.2.1 DVD-R 2.4.2.1 DVD+R 2.4.2.1 DVD-RW 2.4.2.1 DVD+RW 2.4.2.1 DVD-R DL 2.4.2.1 DVD+R DL 2.4.3 ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW ข้อดีของ DVD-RW และ DVD+RW คือ สามารถนากลับมาบันทึกใหม่ ได้กว่า 100,000 คร้ัง แตด่ ีวีดที ่ไี ด้รับความนิยมอยา่ งมากในปัจจุบันน้ีคือ DVD-R ในการบันทึก DVD แต่ละชนิดน้ันไม่สามารถใช้งาน ข้ามชนิดได้ คือ ไม่สามารถใช้งานข้ามไดร์ฟได้ เช่น DVD-RW ไม่สามารถใช้งานในเคร่ืองบันทึก DVD+RW ได้ Digital Media Production 1031502

12 ตอ้ งเขยี นกับเครื่องบนั ทึก DVD-RW เทา่ นน้ั ส่วนการอ่านขอ้ มลู ในดีวีดีน้ัน สามารถอ่านกับเครื่องไหนก็ได้ เช่น DVD+RW สามารถอ่านกบั เครอ่ื งเลน่ DVD-RW ได้ 2.5 แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive) แฟลชไดรฟ์ หรือ ยูเอสบีไดรฟ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สาหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจาแบบ แฟลช ทางานร่วมกับยูเอสบี 1.1 หรือ 2.0 มีลักษณะเล็ก น้าหนักเบาเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัว ขับเคล่ือน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเคร่ืองคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุ ของไดร์ฟมตี ั้งแต่ 8, 16, 32, 64, 128 จนถงึ 1024 เมกะไบต์ ทง้ั นี้ยังมไี ดร์ฟลกั ษณะเดียวกัน ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) บางรุ่นมีความจุสูงถึง 16 GB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทางานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซ่ึงรวมถึง วินโดวส์ 98/ME/2000/XP แมคอินทอช ลินุกซ์ และยูนิกซ์ แฟลชไดรฟ์ รู้จักกันในชื่อต่างๆ รวมถึง “ทัมบ์ไดรฟ์” “คีย์ ไดรฟ”์ “จมั ปไ์ ดรฟ”์ และชอ่ื เรียกอ่นื โดยข้นึ อยกู่ บั ผู้ผลิต ภาพที่ 2.13 แสดงแฟลชไดรฟ์ ทม่ี า : http://www.toxel.com 2.6 บลเู รย์ (Blu-Ray) เทคโนโลยีน้ีกาเนิดขึ้นมาเพราะแผ่นดีวีดี โดยทั่วไปแผ่นดีวีดีมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ หากข้อมูลเป็น ภาพยนตร์จะสามารถเก็บภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบมาตรฐานท่ีถูกบีบอัดแล้ว แต่ไม่ สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแแบบความคมชัดสูงได้ ถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาวเท่ากันในรูปแบบท่ีมี ความคมชัดสูงจะต้องการพื้นท่ีเพ่ิมมากถึงหา้ เท่า ทาให้บลเู รย์ถอื กาเนิดข้ึนมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่าน และเขียนแผ่นดสิ ก์แบบใหมซ่ ึ่งเปน็ แสงสีนา้ เงิน แสงสนี า้ เงนิ น้ีมีความยาวคลืน่ สน้ั กวา่ แสงเลเซอร์สีแดงของแผ่น ดีวีดีทั่วๆไป ทาให้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มากกว่าในเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blu-ray สามารถเก็บวีดี ทัศน์ความคมชัดสูงได้นานถึง 9 ชั่วโมง ในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วีดีทัศน์ท่ีบีบอัดตาม มาตรฐานที่ใชใ้ นดวี ีดีทวั่ ๆ ไปได้นานต่อเนอื่ งถึง 23 ชัว่ โมง Digital Media Production 1031502

13 บลเู รยด์ สิ ค์ (Blu-ray Disc : BD) คือ รูปแบบของแผ่นออพตคิ อลสาหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชอื่ ของบลูเรย์มาจากชว่ งความยาวคลนื่ ทใี่ ชใ้ นระบบบลเู รย์ ท่ี 405 nm ของเลเซอรส์ ี \"ฟ้า\" ซึ่งทาใหส้ ามารถทา ใหเ้ กบ็ ข้อมูลได้มากกว่าดวี ีดีท่มี ขี นาดแผน่ เทา่ กนั โดยดีวดี ีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650nm ปกติแผ่นบลู เรย์จะมลี ักษณะคลา้ ยกบั แผ่น ซดี ี/ดวี ีดี ลกั ษณะมที งั้ แบบหนา้ เดยี วและสองหนา้ โดยแตล่ ะหนา้ สามารถรองรับ ไดม้ ากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่นบลูเรย์แบบหน้าเดียวท่ีเรียกว่า BD-R (SL) หรือ Blu-Ray Disc ROM/Single Layer จะมีความจุ 25 GB แผน่ บลูเรย์แบบหน้าเดียวท่ีเรียกว่า BD-R (DL) หรือ Blu-Ray Disc ROM/Double Layer จะมีความจุ 50GB แผ่นบลูเรย์แบบหน้าเดียวที่เรียกว่า BD-R (2DL) หรือ Blu-Ray Disc ROM/Double Layer มีความจุ 100GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือการบันทึกของแผ่นบลูเรย์ จะมีค่า 1x, 2x, 4x โดยในแต่ละ 1x จะมี ความเร็ว 36 เมกะบติ ต่อวินาที หมายความว่า 4x ก็จะสามารถบันทึกได้เร็วถงึ 144 เมกะบิต ตอ่ วนิ าที (อปุ กรณ์ ส่ือบันทึกขอ้ มูลและเทคโนโลยีบนั ทกึ ขอ้ มลู , 2011) ลักษณะทางกายภาพของบลูเรย์ก็มีความแตกต่างจากดีวีดีหรือ ซีดีในเรื่องของช้ันเคลือบแผ่นดิสก์ โดยชั้นเคลือบมีความหนา เพยี งหน่ึงในหกของความหนาของดวี ีดีท่วั ไป นั่นทาให้ช้ันข้อมูล ของบลูเรย์ใกล้ชิดกับผิวหน้าของแผ่นมากขึ้นและทาให้แสง เลเซอร์จากเครื่องเล่นแบบบลูเรย์ทะลุเข้าไปอ่านข้อมูลท่ีแบ่ง เก็บไว้เป็นช้ันได้จานวนมาก ในอนาคตอาจเพิ่มช้ันไปเร่ือยๆให้ ได้มากทสี่ ุด ซง่ึ ทาให้ดสิ กแ์ บบบลูเรย์ สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ขน้ึ รูปลกั ษณข์ องแผ่นบลูเรย์มลี ักษณะ ดงั ภาพท่ี 2.14 ภาพท่ี 2.14 แสดงภาพแผน่ บลเู รย์ ท่มี า : http://www.circuitstoday.com 2.7 เฮชดี ดีวีดี HD-DVD เฮชดี ดีวีดี หรือ HD DVD (High Definition DVD หรือ High Density DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบ บนั ทกึ ด้วยแสง(optical disc) ที่ใช้บันทึกวดี ที ัศน์ความละเอยี ดสงู (high definition) มลี กั ษณะดงั ภาพที่ 2.16 เฮชดี ดวี ดี ี มลี กั ษณะใกล้เคยี งกบั บลูเรย์ โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม.) เฮชดี ดีวีดี มีหลายเลเยอร์ให้เลือก โดยแบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และแบบสองเลเยอร์จุข้อมูลได้ 30GB แบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้ พร้อมกนั การอ่านข้อมลู ใช้เลเซอร์ความยาวคลืน่ แสงสฟี า้ (405 นาโนเมตร ) หรือคล่ืนสีแดง (650 นาโนเมตร) ช้ันข้อมูลจะถกู บนั ทึกถดั ไปจากพืน้ ผวิ 0.6 มิลลเิ มตรเช่นเดียวกับดีวดี ี ดงั ภาพท่ี 2.15 และอาศัยเทคโนโลยีการ บีบอัดข้อมูลวีดีทัศน์คือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ7.1 ในสว่ นความละเอียดของภาพนน้ั ขึน้ กบั จอภาพท่ีใช้ด้วย Digital Media Production 1031502

14 ภาพที่ 2.15 แสดงภาพการทางานของเฮชดี ดีวีดี ภาพที่ 2.16 แสดงภาพ เฮชดี ดวี ดี ี ทมี่ า : http://blog.sethioz.com ท่มี า : http://blog.sethioz.com 2.8 แผ่นฟล็อปตคิ อล (Floptical Disk) แผ่นฟล็อปติคอล อาศัยการนาเทคโนโลยีด้านแสงเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้แสง โดยตรง ลักษณะของแผ่นฟล็อปติคอล ดังภาพท่ี 2.17 จะมีรูปร่างเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วทุก ประการ แต่มีความจุมากขึ้นเป็น 120 เมกะไบต์ และตัวไดร์ฟยังใช้อ่านเขียนข้อมูลแผ่นดิสก์ธรรมดาได้ด้วย บางที แผน่ ฟล็อปติคอลที่เป็นท่ีรู้จักในช่ือ ซุเปอร์ดิสก์ (SuperDisk) หลักการของ แผ่นฟล็อปติคอลอาศัยการ บันทึกข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็กเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ธรรมดา แต่ใช้กลไกการอ่านท่ีเรียกว่า optical servo (หรือบางทเี รียกวา่ Laser servo) หรือวงจรเลื่อนตาแหน่งหัวอ่านควบคุมด้วยแสง ทาให้สามารถเล่ือนหัวอ่าน เขียนได้ตรงกบั แทรคท่ีมคี วามหนาแน่นกวา่ ดิสเก็ตธรรมดามาก เชน่ ในดิสก์ธรรมดามี 80 แทรค 2480 sector แต่ในแผ่นฟล็อปติคอลจะมี ถึง 1,736 แทรค 245,760 sector ทาให้ได้ความจุรวมถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น หมนุ ด้วยความเร็ว 720 รอบต่อนาที และมอี ตั รารบั ส่งข้อมลู ประมาณ 3.2-5.4 เมกะบิตตอ่ วนิ าที ภาพท่ี 2.17 แสดงภาพแผน่ ฟลอ็ ปติคอล http://www.computissimo.ch Digital Media Production 1031502

15 2.9. ซิปไดรฟ์ (Zip Drive) ซิปไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีความจุ 100 MB (ปัจจุบันพัฒนาได้ถึง 250 MB) ประกอบด้วย ตัวแผ่นบันทึกข้อมูล ท่ีมีขนาดใหญ่กว่า แผ่นดิสก์ 3.5 นิ้วเพียงเล็กน้อย และตัวบันทึกข้อมูล คลา้ ยๆ ดสิ กไ์ ดรฟ์ แบบตอ่ ภายนอกทางานโดย การต่อตัวบันทึกข้อมูล เข้ากับพอร์ตขนาน หรือต่อกับ SCSI (มี ให้เลอื กใชส้ องระบบ) แล้วใช้โปรแกรมไดรเวอร์ เปน็ ตวั ควบคมุ การทางาน ทั้งระบบดอส และวินโดวส์ ลักษณะ ของ ซปิ ไดรฟ์ ดงั ภาพท่ี 2.18 ภาพที่ 2.18 แสดงภาพซปิ ไดรฟ์ ทม่ี า : http://www.takethegame.co.uk 2.10 เทปแบ็คอพั (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สาหรับการสารองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสารองข้อมูลท่ีมีขนาดใหญ่ๆ ระดับ 10-100 กิกะไบต์ ลักษณะของเทปแบค็ อัพ ดงั ภาพที่ 2.19 ภาพที่ 2.19 แสดงภาพเทปแบ็คอัพ ทมี่ า : http://www.zetta.net Digital Media Production 1031502

16 2.11 การด์ เมมโมร่ีหรอื เมมโมรี่การด์ (Memory Card) เป็นส่ือจัดเกบ็ ข้อมูลประเภทหน่วยความจาสารองสามารถบันทึกข้อมูลลงได้โดยที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ และข้อมูลไม่มีการสูญหายเม่ือปิดสวิตซ์ เมมโมร่ีการ์ดมีความเร็วสูงในการขนถ่ายเคล่ือนย้ายข้อมูล ส่วนที่ใช้ บันทึกข้อมูลของเมมโมร่ีการ์ดจะเป็นชิปซึ่งเรียกว่า solid state chips ซ่ึงใช้กระบวนการทางไฟฟ้าในการ บนั ทกึ ข้อมลู และมตี ัวควบคมุ การอ่านและเขยี นในตวั เอง ลกั ษณะของ Memory Card ดังภาพท่ี 2.18 ปัจจุบัน มเี มมโมร่กี ารด์ มากมายหลากหลายแบรนดเ์ นมและหลากหลายขนาดความจุ เช่น MultiMedia Cards (MMC) , Secure digital card (SD), MicroSD card, CompactFlash card (CF), Memory stick (MS), XD เป็น ตน้ (Memmory card คอื อะไร, 2555). ภาพที่ 2.20 แสดงภาพ Memory Card ท่ีมา : http://www.ttrdatarecovery.com Digital Media Production 1031502

17 3. สรปุ ท้ายบท องค์ประกอบเบือ้ งต้นของส่ือดิจิทลั ทใ่ี ช้ในการผลิตมีอย่ดู ว้ ยกัน 5 ชนดิ คือ 1) ข้อความ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ นาเสนอเก่ียวกับเนื้อหา ใช้แสดงรายละเอียด หรือเนื้อหาของเรื่องที่นาเสนอ ปัจจุบันจะมีรูปแบบและสีของ ตัวอกั ษรใหเ้ ลือกมากมายตามความต้องการแล้วยงั สามารถกาหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์(Interactive)ใน ระหวา่ งการนาเสนอได้อกี ดว้ ย 2) เสยี ง มกี ารจัดเกบ็ อยู่ในรูปของสัญญาณดจิ ิทลั สามารถเล่นกลับไปกลับมาได้ เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาในการนาเสนอ จะช่วยให้สื่อดิจิทัลเกิดความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น สร้าง ความน่าสนใจและน่าติดตามในเร่ืองราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 3) ภาพนิ่ง คือภาพท่ีไม่มีการเคล่ือนไหว มี บทบาทต่อระบบงานสื่อดิจิทัลมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร ด้วยให้ผลเชิงการรับรู้จากการมองเห็น ไม่มี ข้อจากัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา สามารถส่ือความหมายได้กับทุกชนชาติ 4) ภาพเคล่ือนไหว เป็นภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงข้ันตอนหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นอย่างต่อเน่ือง การผลิต ภาพเคล่ือนไหวจะต้องใช้โปรแกรมท่ีมีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับขนาดไฟล์ท่ีต้องใช้พ้ืนท่ีใน การจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่า 5) วีดีโอ สามารถนาเสนอข้อความหรือรูปภาพทั้งภาพนิ่งหรือ ภาพเคลื่อนไหวมาประกอบกับเสยี งไดส้ มบูรณ์มากกว่าองคป์ ระกอบชนิดอื่นๆ หลังจากดาเนินการการผลิตตาม กระบวนการทางานท่ีแสดงไว้ในขอบเขตกระบวนการผลิตส่ือ ควรมีการจัดเก็บในอุปกรณ์สาหรับการบันทึก ข้อมูลดิจิทัลท่ีถูกต้อง เพ่ือคุณภาพสื่อที่ดีในการนาไปใช้งาน โดยอุปกรณ์บันทึกสื่อดิจิทัลท่ีพัฒนาขึ้นตาม วิวัฒนาการของเทคโนโลยีมีมากมาย อาทิ จานบันทึกแบบอ่อน(Floppy Disk), จานบันทึกแบบแข็ง(Hard disk), ซีดรี อม(CD-ROM), ดวี ีดี(DVD), แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive), บลเู รย(์ Blu-Ray) เปน็ ตน้ Digital Media Production 1031502

18 4. แบบฝึกหัดท้ายบท 1. จงยกตวั ยา่ งสื่อดจิ ิทัลแต่ละประเภททนี่ ักศกึ ษาพบเจอในชวี ติ ประจาวันให้ครบทง้ั 5 แบบ 2. สอ่ื ตอ่ ไปน้มี ีองคป์ ระกอบพน้ื ฐานของสื่อดจิ ทิ ัลกปี่ ระเภท 2.1 มวิ สคิ วดี ที ศั น์ 2.2 Blog 2.3 Facebook 2.4 Line 2.5 PDA 2.6 Siri (Iphone) 3. หากต้องการบันทึกซีรีส์เกาหลีจานวน 25 ตอน ความยาวตอนละ 1 ช่ัวโมง นักศึกษาจะเลือก บันทกึ ดว้ ยอุปกรณ์ชนิดใดเพราะเหตุใด 4. จงบอกขอ้ ดี และขอ้ เสียของ สอ่ื ข้อความดจิ ทิ ลั 5. Hyperlink คอื อะไร มรี ูปแบบการทางานอยา่ งไร และมขี อ้ ดขี อ้ เสยี อย่างไร 6. DVD มีรากศัพทใ์ หม่มาจากคาว่าอะไร มีความหมายว่าอยา่ งไร 7. ฟลอปปดี้ สิ ก์จะมีกลไกป้องกันการเขยี นทบั ข้อมูล เรยี กว่าอะไร และมีการทางานอย่างไร 8. ภาพเคล่อื นไหวมีอัตราการเล่นภาพ (play) อยา่ งน้อยจานวนกภ่ี าพน่ิงตอ่ 1 วนิ าที 9. ในการอ่านขอ้ มูลโดยใชเ้ ลเซอร์ความยาวคลน่ื แสงนนั้ มี 2 คอื คล่ืนแสงสีฟ้า และคล่ืนสีแดง โดยใน แต่ละคลืน่ แสงมีความยาวก่ีนาโนเมตร 10. Floptical Disk มคี วามเหมือนและแตกตา่ งจาก Floppy Disk อย่างไร Digital Media Production 1031502


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook