Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่2

หน่วยที่2

Description: pdf_20220217_111203_0000

Search

Read the Text Version

หน่วยที่2 หลักการดำเนินงาน และรู ปแบบ สาระการเรียนรู้ รูปแบบการบริการอาหาร การประสานงานกับแผนกต่างๆ วิธีการจัดงานรูปแบบงานเลี้ยง

รูปแบบการบริการอาหาร ประเภทและรูปแบบของการบริการอาหารและเครื่องดื่ม การบริการอาหารแบบตะวันตกนั้ น ได้มีการแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ของการบริการได้ 2 ประเภท โดยยึดถือลักษณะของการบริการเป็น หลัก คือ 1. การบริการอาหารโดยใช้บริการ (Table Service) หมายถึง การบริการอาหารให้กับผู้มาใช้บริการถึงโต๊ะ และการสั่ง อาหารจะสั่งอาหารกับพนั กงานบริการ หลังจากอาหารเสร็จ พนั กงานบริการจะเป็นผู้นำมาเสิร์ฟให้ที่โต๊ะ การบริการลักษณะนี้ ได้ รับความนิ ยมอย่างมาก โดยเฉพาะลูกค้าที่มีเวลามากในการรับ ประทานอาหาร นอกจากนี้ การให้บริการอาหารลักษณะนี้ ได้มีการ แบ่งย่อยออกเป็นแบบต่างๆ ได้อีกดังนี้ คือ 1.1 การบริการแบบฝรั่งเศส (French Service) การบริการแบบนี้ จะเป็นการบริการแบบเป็นทางการ มีระเบียบแบบแผน มีความ สวยงามและเป็นการบริการที่หรูหราและสิ้นเปลืองมาก สำหรับ พนั กงานบริการนั้ นจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมและฝึกฝนมาเป็น อย่างดี ในการบริการแบบนี้ จะต้องใช้พนั กงานเสิร์ฟเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้มาใช้บริการ การบริการอาหารแบบฝรั่งเศสนี้ มี วิธีการเสิร์ฟ คือ อาหารที่จะเสิร์ฟให้ลูกค้านั้ นจะต้องนำมาปรุงแต่ง และจัดใส่จานต่อหน้ าลูกค้า โดยนำอาหารมาปรุงแต่งหรือจัดลงจาน

1.2 การบริการแบบรัสเชียน (Russian Service) เป็นการบริการที่ดัดแปลงมาจากการบริการแบบฝรั่งเศส ดังนั้ น จึงมีลักษณะคล้ายแบบฝรั่งเศสมากแต่จะมีข้อแตกต่างที่จะใช้ พนั กงานบริการเพียงคนเดียว ดังนั้ นพนั กงานบริการจะต้องชำนาญ มากสำหรับการเสิร์ฟแบบนี้ จะมีการเตรียมและการประกอบอาหาร ที่ทำเสร็จมาจากครัวเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้รับคำสั่ง (Order) จากลูกค้า ซึ่งอาหารจะถูกจัดใส่ถาดให้พนั กงานบริการนำมาวางที่ โต๊ะพักอาหาร และพนั กงานบริการจะนำจานไปวางตรงหน้ าลูกค้า โดยเข้าทางด้านขวามือโดยหมุนไปรอบๆ ตามเข็มนาฬิกา จากนั้ นจึง จะเสิร์ฟอาหาร โดยใช้มือซ้ายถือถาดอาหารมาแสดงต่อหน้ าลูกค้า ก่อน แล้วทำการเสิร์ฟทางซ้ายมือลูกค้า การบริการแบบรัสเซียน นิ ยมใช้งานพระราชพิธี รัฐพิธีต่างๆ และในภัตตาคารที่มีการบริการที่ มีมาตรฐานสูง 1.3 การบริการแบบอังกฤษ (English Service) การบริการแบบนี้ ไม่ค่อยเป็นที่นิ ยมในปัจจุบัน จะใช้เฉพาะการจัด เลี้ยงในโอกาสพิเศษที่จัดขึ้นโดยเฉพาะ มีความเป็นส่วนตัว และมี ห้องรับประทานของตนเองแยกเป็นสัดส่วน เช่นงานเลี้ยงภายใน ครอบครัว หรือในหมู่เพื่อนสนิ ท สำหรับวิธีการเสิร์ฟการบริการ แบบนี้ อาหารอาจมีการปรุงและประกอบมาจากครัวและจัดใส่ภาชนะ มาเรียบร้อยแล้ว จากนั้ นพนั กงานบริการจะนำไปวางที่โต๊ะพักอาหาร ที่จัดไว้ ต่อจากนั้ นเจ้าภาพจะเป็นผู้ตักแบ่งอาหารใส่จานให้แขกแต่ละ คนโดย พนั กงานบริการเป็นผู้นำไปเสิร์ฟ ซึ่งการเข้าเสิร์ฟจะใช้วิธี เดียวกับการบริการแบบฝรั่งเศส

1.4 การบริการแบบอเมริกัน (American Service) เป็นการรวบรวมเอาวิธีการบริการหลายๆ แบบเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อ ความง่ายและสะดวก รวดเร็ว มีลักษณะเป็นทางการน้ อยกว่าการ บริการในรูปแบบอื่นๆ แต่นิ ยมใช้มากที่สุดตามห้องอาหาร และ ภัตตาคารโดยทั่วไป แต่การบริการแบบนี้ จะมีลักษณะแตกต่างไป จากการบริการแบบอื่นๆ คือ อาหารที่จะนำมาเสิร์ฟจะถูกปรุงและ ประกอบเรียบร้อยแล้ว และจะถูกจัดใส่จานเฉพาะสำหรับลูกค้า แต่ละคน พนั กงานบริการสามารถนำไปเสิร์ฟให้ลูกค้าแต่ละคนได้ ทันที จึงใช้เวลาในการบริการน้ อย แต่ถึงอย่างไรยกเว้นสลัด ขนมปัง และเนยพนั กงานบริการจะต้องนำมาตักแบ่งใส่จานของ ลูกค้าที่โต๊ะ สำหรับวิธีการเสิร์ฟจะนำอาหารเข้าทางซ้ายมือของ ลูกค้าโดยใช้มือซ้ายเสิร์ฟ การเสิร์ฟจะเริ่มจากลูกค้าคนแรกทาง ด้านขวามือของเจ้าภาพ (ยกเว้นเด็ก คนแก่ และสุภาพสตรี) ส่วน การเก็บจานจะเข้าทางด้านขวามือของลูกค้า 1.5 การบริการแบบโต๊ะจีน (Chinese Style) เป็นรูปแบบการบริการแบบหนึ่ งซึ่งไม่มีพิธีรีตองมากนั ก และ เป็นรูปแบบการบริการของชาวเอเชีย โดยอาหารจะถูกประกอบ ปรุง และจัดตกแต่งใส่ภาชนะมาจากฝ่ายครัว พนั กงานจะนำมา เสิร์ฟโดยนำมาวางที่กลางโต๊ะ เพื่อให้ลูกค้าแต่ละคนตักอาหาร ด้วนตนเองทีละอย่าง ตามลำดับอาหารที่สั่งไว้เป็นชุด เมื่ออาหาร อย่างใดหมด พนั กงานบริการก็จะนำภาชนะเก่าเก็บไปและนำ อาหารจานใหม่มาเสิร์ฟจนกระทั่งครบชุดของอาหารที่สั่งไว้ โดย ปกติอาหารโต๊ะจีนจะมี 8-12 อย่าง/ชุด ไม่จำกัดรายการอาหารที่ เลือก หรือทางภัตตาคารจะจัดอาหารเป็นชุดให้เลือกรับประทานไว้ แล้ว

การประสานงานกับแผนกต่างๆ การแบ่งแผนกหรือหน่ วยงาน (Departmentalization) กิจกรรม ต่างๆจะถูกแบ่งและนำมารวมกันเป็นกลุ่มที่มีความชำนาญเฉพาะ ด้าน(work specialization) โดยเน้ นความเหมือนกัน เพื่อเพิ่ม ประสิ ทธิภาพของงาน โรงแรมโดยทั่วไป แบ่งงานออกเป็น 8 ฝ่าย คือ - ฝ่ายบริหาร (Administration) - ฝ่ายห้องพัก (Room Division) - ฝ่ายบุคคล (Personnel) - ฝ่ายบัญชี (Accounting) - ฝ่ายการตลาดและการขาย (Marketing & Sales) - ฝ่ายช่าง (Engineering) - ฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing) - ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) แผนกต้อนรับส่วนหน้ า (Reception) แผนกต้อนรับส่วนหน้ าเป็นแผนกที่ทุกโรงแรมต้องมีเมื่อมีแขกเข้ามาใน โรงแรม ก็ต้องเดินมาที่เคาเตอร์แผนกต้อนรับก่อนเสมอพนั กงาน ต้อนรับมีหน้ าที่ต้อนรับแขก ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องพัก และขอ ให้แขกลงทะเบียน และชำระค่าห้องพัก แผนกต้อนรับ หรือสำนั กงาน ส่วนหน้ านั้ นอาจเปรียบได้กับศูนย์รวมเส้นประสาท (nerve center) หรือศูนย์ประสานงานของโรงแรม และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อ ประสานงานกับแผนกอื่นๆ ในโรงแรมเพื่อช่วยเหลือเรื่องต่าง ๆ เมื่อ แขกเรียกร้อง แผนกต้อนรับส่วนหน้ าแบ่งออกเป็นหน่ ยงานย่อยๆ ดังนี้ 1.ผู้จัดการสำนั กงานส่วนหน้ า (Front Office Manager) 2.พนั กงานต้อนรับ (Reception) 3.พนั กงานสัมภาระ (Hall Porter) 4.พนั กงานสัมภาระภาคกลางคืน (Night Porter) 5.พนั กงานรับโทรศัพท์ (Telephone หรือ Telephone Operator) 6.เจ้าหน้ าที่สำรองห้องพัก (Reservations Clerk) 7.พนั กงานแคชเชียร์ (Cashier)

แผนกแม่บ้าน (Housekeeping) ใในหญบ่า(Gงโeรnงeแrรaมl Mแผaนnaกgแeมr่บ)้าแนต่ทบั้งางหโมรดงจแะรขึม้นก็ตขึ้รนงตกัรบงผกู้ัจบัดผูก้จัาดรการส่ วน หน้ า (Front of House Manager) ในแผนกแม่บ้านจะมี หัวหน้ าแม่บ้าน (Head Housekeeper) ทำหน้ าที่คอยดูแลตรวจตราการทำงานของผู้ ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper) ซึ่งปกติจะมีประมาณ 3 คนขึ้นไป ในกรณี เป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้ าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่ บ้านทั้งหมดในการทำงานเป็นหัวหน้ าแผนกแม่บ้านต้องทำงาน ประสานอย่างใกล้ชิดกับแผนกต้อนรับส่วนหน้ าที่เกี่ยวกับห้องพักที่ พร้อมจะขาย(ให้เช่า)ได้อีกทั้งต้องประสานงานกับแผนกซ่อมบำรุงเพื่อ ให้ช่วยซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะชำรุดเสียหายทั้งภายในห้องพักและ บริเวนอื่นในโรงแรม แผนกครัว (Kitchen) ในโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีห้องอาหารหลายห้องและบาร์เครื่องดื่มอยู่ หลายจุด มักจะมีตำแหน่ งและบุคคลที่มีหน้ าที่ ผู้จัดการฝ่ายอาหารและ เครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) ซึ่งมีหน้ าที่รับผิดชอบงาน ทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องทำงานประสานกับหัวหน้ าแผนกครัว (Head Chef) อย่างใกล้ชิด หน้ าที่งานหลัก ๆ ของผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ การ สรรหาคัดเลือกและฝึกอบรมพนั กงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อ ของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปโดยมีมาตรฐานสูงตลอดจน กำหนดและควบคุมงบประมาณที่เกี่ยวข้องกุ๊กทำงานอะไรบ้างแผนก ครัวแบ่งย่อยเป็นแผนกต่างๆ ดังนี้ 1. ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Manager) 2. กุ๊กใหญ่ หรือ หัวหน้ าแผนกครัว (Head Chef or Executive Chef) 3. รองกุ๊กใหญ่ หรือรองหัวหน้ าแผนกครัว (Second Chef or Sous Chef) 4. หัวหน้ าครัวหรือหัวหน้ าหน่ วยในครัว (Section ChefหรือChefdePartie) 5. ผู้ช่วยกุ๊ก (Commia Chef) 6. กุ๊กฝึกหัด (Apprentice หรือ Trainee Chef) 7. พนั กงานทำความสะอาดในครัว (Kitchen Porter/Kitchen Assistant)

แผนกบัญชี (Accounting) แผนกบัญชี (Accounting) เป็นแผนกที่บริษัทไหนก็ต้องมี และต้อง เน้ นหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ ก็จะให้ความสำคัญต่อการ ควบคุมด้านบัญชีและการเงิน พนั กงานบัญชีจะต้องมีความเข้าใจใน ลักษณะงานต่าง ๆ ของระบบบัญชี และทำความคุ้นเคยกับลักษณะ การดำเนิ นงานของโรงแรมอีกด้วย เช่น การควบคุมด้านอาหารและ เครื่องดื่ม หรือระบบการเก็บเงินของแผนกต้อนรับส่วนหน้ า พนั กงานบัญชีที่ดีนั้ นไม่ควรจำกันความสามารถ หรือหน้ าที่เพียงการ รวบรวมตัวเลขทางการเงินอย่างเดียวเท่านั้ น แต่ต้องทำความเข้าใจ และตีความได้ว่าตัวเลขแบบใดเป็นตัวชี้ว่าเกิดปัญหาอะไร ขึ้น ตรง ไหน และสามารถเข้าจัดการแก้ไขได้ แต่ในบางโรงแรม เวลาผู้ จัดการใหญ่ไม่อยู่ ผู้จัดการฝ่ายการเงินมักจะเป็นผู้รักษาการแทน แผนกขายและการตลาด (Sale & Marketing) ตามโรงแรมใหญ่ ๆ มักจะมีเจ้าหน้ าที่ชำนาญการเป็นผู้ดูแลการขาย และการตลาดโดยเฉพาะ ได้แก่ ผู้จัดการแผนกขาย/การตลาด และ ทีมงาน ซึ่งมีงานหลัก ๆ ในการติดต่อกับลูกค้าที่จองเป็นกลุ่ม หรือที่ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Group Bookings หรือที่ติดต่อมาเพื่อจัด ประชุมหรือจัดงานเลี้ยงที่โรงแรม นอกจากนั้ น แผนกขายจะทำ หน้ าที่ติดต่อกับบริษัททัวร์และบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว รวมถึง การติดต่อกับบุคคลที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของโรงแรม โดยไปหาด้วย ตนเอง หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือทางจดหมาย ส่วนแผนกการ ตลาดจะทำหน้ าที่วางแผน และส่งเสริมงานขายด้วยวิธีส่งเอกสารถึง ลูกค้าทางไปรษณีย์ (Direct mail selling) เช่น ส่งแผ่นพับโฆษรา และเอกสารส่งเสริมการขายไปยังลูกค้า และการทำงานโฆษณาด้วย

วิธีการจัดงานรูปแบบงานเลี้ยง การจัดเลี้ยงแบบค็อกเทล (The Cocktail Party) การจัดเลี้ยงแบบค็อกเทล (The Cocktail Party) การจัดเลี้ยงแบบค็อกเทล เหมาะที่ จะใช้จัดเลี้ยงกับแขกจำนวนมาก ๆ เหมาะกับแขกในสังคมอีกระดับ หนึ่ งที่นิ ยมพบปะพูดคุยได้สะดวกในระหว่างรับประทานอาหารและไม่มีโต๊ะ สาหรับนั่ งรับประทานอาหารโดยเฉพาะ จะมีเพียงโต๊ะจัดวางอาหาร เวลาที่ นิ ยมจัดเลี้ยงจะเริ่มระหว่างเวลา 5 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม เหมาะสาหรับโอกาส พิเศษ เช่น งานแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ งานมงคลสมรสงานเลี้ยง ค็อกเทลส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่ องจากมี เวลาสั้นและแขก หมุนเวียนเข้าออกมาก อาหารที่ใช้จะเลือกอาหารประเภทคานาเป้ และ ออร์เดิร์ฟ และการจัดโต๊ะจะจัดแบบ บุฟเฟ่ต์ การจัดเลี้ยงแบบนี้ เพื่อพบปะ พูดคุยกัน ไม่มีเก้าอี้ให้แขก แขกจะจับกลุ่มคุย กัน เดินไปมาเพื่อคุยกัน อาหารที่ใช้ควรเลือกอาหารที่รับประทานง่ายเป็นชิ้น ๆ หรือ เป็นคำ ๆ สะดวกในการรับประทานใช้มือหยิบจัดได้สะดวกสำหรับเครื่องดื่มประเภท แอลกอฮอล์ อย่างน้ อยควรมี 3 อย่างเช่น ยินหรือวอดก้าสก๊อตเบอร์เบิ้น และควรมีรัมสำหรับผสมนอกจากมีเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์จะมี เครื่องดื่มสาหรับผู้หญิง เช่น พั้นซ์ (Punch) เหล้าเวอร์มูธ (Vermouth) น้ำ มะนาวเหมาะที่จะใช้เป็น เครื่องดื่มผสมกับเหล้าอื่นๆ ได้ดี ตัวอย่างอาหาร แบบค็อกเทลสาหรับงานเลี้ยงแห้วพันเบคอน หมูกับขิง ไส้กรอกกับ มัสตาร์ด เนื้ อปั้ นก้อนปรุงรส หมู ย่างแบบจีน เนื้ อย่างแบบเกาหลี ฮังกา เรี่ยนค็อกเทล กุ้งกับเครื่องเทศ กุนเชียงกับผัก ลูกชิ้นปลาปรุงรสสับปะรด เนยแข็งขนมปังเนยแข็งพิซซ่าหน้ าเนยแข็งและแฮมแซนด์วิชหน้ าแฮม แซนด์วิชหน้ าไก่อบแซนด์วิชเนยแข็ง แซนด์วิชไข่ต้ม แซนด์วิชม้วนไส้ปลา ซาร์ดีน คานาเป้ หน้ าไข่ปลา คาร์เวียร์ คานาเป้ หน้ ามะพร้าว คานาเป้ หน้ า กุ้ง คานาเป้ หน้ าปู ฯลฯ เลือก อาหารได้ตามความเหมาะสมกับผู้รับประทาน แต่ถ้าเป็นค็อกเทลก่อน อาหารกลางวัน อาหารที่ใช้ควรเป็นพวกคานาเป้ และเครื่องดื่มอ่อนๆ ที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น น้ าผลไม้ พั้นซ์ คานาเป้ จัด เพียง 2-3 อย่าง

การจัดเลี้ยงอาหารแบบโต๊ะจีน การเลี้ยงอาหารแบบโต๊ะจีนรายการอาหารที่นิ ยมจัดเลี้ยงโต๊ะจีนจะมี อาหารอย่างน้ อย 8 อย่างขึ้นไปเสิร์ฟเป็นลำดับดังนี้ 1.1 เริ่มต้นด้วยกับแกล้มเย็นและร้อน 1.2 ซุปน้ำข้นมีเนื้ อซึ่งมักเป็นอาหารพิเศษ เช่น หูฉลาม 1.3 อาหารต่าง ๆ จัดเรียงลาดับกันตามความคิด ในเรื่องให้มีรส อาหารหลาย หลาก และจัดสมดุลของรสให้มีการประกอบรสกัน ส่ง เสริมกันตามกันและแก้รสกัน การจัดลาดับอาหารที่ดีจะไม่ทำให้ ผู้รับ ประทานเกิดความรู้สึก “เลี่ยน” หรือ “เอียน” • 1.4 อาหารคาวกลุ่มสุดท้ายจะเสิร์ฟเป็นชุด ซึ่งมักจะประกอบด้วย ข้าว ผัด หมี่ผัด แกงจืดต่าง ๆ หรือต้มยำ 1.5 อาหารทุกมื้อต้องมีปลา เพราะมีความเชื่อว่าปลาแสดงนิ มิต หมาย ถึงความสุขสมบูรณ์อาหารบางอย่างแสดงลักษณะพิเศษ เช่น เส้นหมี่ ทุกประเภท แสดงถึงความยืนยาวของอายุ ควรเสิร์ฟในงานวัน เกิด ซาลาเปาทอดใส่ ถั่วกวนแสดงถึงความรุ่งเรือง 1.6 การจัดอาหารที่แปลกและที่ถือว่าเป็นของดี เช่น หูฉลาม เป๋าฮื้อ ปลิงทะเล หมูหันเป็ดปักกิ่ง รังนก ประกอบกับเห็ดหอม ซึ่งราคาก็ สูง ด้วยจะเป็นนิ มิตหมายของการให้เกียรติอย่างสูง 1.7 ของหวานหรือผลไม้สด 1.8 เครื่องดื่ม เหล้าจีนเสิร์ฟได้ทุกโอกาส ไวน์ สีชมพู ก็เหมาะสาหรับ อาหารจีน ชาเป็นเครื่องดื่มที่ควรเสิร์ฟประจำ นอกจากนั้ นเครื่องดื่ม อื่น ๆ ก็ไม่ขัดกับอาหารจีน

การเลี้ยงอาหารแบบไทย 1.แบบนั่ งกับพื้นจัดสำหรับเฉพาะคน แบบนี้ เป็นการเลี้ยงตาม ประเพณีไทยแท้ หมายถึง 1 คนต่อ 1 สำรับคาว 1 สำรับหวาน 1 ใช้ สำหรับเลี้ยงพระผู้ใหญ่หรือเจ้านาย ชั้นสูง 2.แบบนั่ งกับพื้นรวมกันเป็นวง การเลี้ยงแบบนี้ จัดเลี้ยงแขกหรือ พระ สงฆ์จะนั่ งกับพื้นซึ่งปูด้วยเสื่อหรือพรม การวางอาหารจะวางของ คาวก่อน อาหารทุกอย่างจะจัดมาวางตรงกลางทั้งหมดและถ้วยหรือ ทุก คนจะมีช้อนกลางให้แขกตัก แขกทุกคนจะมีจานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ด มือ แก้วน้ าประจาตัว ส่วนโถข้าว คนโทน้ าจะใช้รวมกัน การ จัดเป็นวง ๆ หนึ่ งประมาณ 5-6 คน เมื่อแขกรับประทานของคาว เสร็จแล้วก็จะเปลี่ยน ของคาวออกแล้วนำของหวานเข้ามาเสิร์ฟแทน 3.แบบนั่ งโต๊ะ การนั่ งโต๊ะรับประทานอาหารเป็นวัฒนธรรมแบบ ตะวันตก โดยแทนที่จะวางอาหารกับพื้นรวมกันเป็นวง แต่การ เสิร์ฟ แบ่งเป็น ๒ อย่างคือ นำอาหารทุกอย่างมาวางบนโต๊ะและการ เสิร์ฟ อาหารที่ละอย่าง 4.แบบออกร้าน การเลี้ยงแบบนี้ เหมาะสาหรับการเลี้ยงคนจำนวน มาก และต้องอาศัยบริเวณกว้างขวาง และต้องเลี้ยงภายนอกตัว อาคาร การจัดอาหารแต่ละร้านไม่ควรซ้ากัน

แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการดำเนิ นงานและรู ปแบบ

1.รูปแบบการบริการอาหารแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้กี่ประเภท ก.1 ข.2 ค.3 ง.4 2.การบริการอาหารแบบ( Table service ) คือแบบใด ก.การบริการให้กับผู้มาใช้ถึงโต๊ะอาหาร ข.แขกบริการตนเองตลอดงาน ค.เสิ ร์ฟเพียงแค่เครื่องดื่ม ง.เดินเบียดกันวุ่นวาย 3.การบริการแบบฝรั่งเศษแบบใดถูกต้อง ก.มีระเบียบแบบแผน ข.บริการอาหารด้วยตนเอง ค.พนั งงานเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม ง.บริการเครื่องดื่มด้วยตนเอง 4.ข้อใดไม่ใช่การบริการแบบฝรั่งเศษ ก.มีความสวยงามและบริการมี่หรูหรา ข.เป็นการบริการแบบเป็นทางการ ค.บริการตนเองมีพนั งงานเพียงแค่เวิร์ฟเครื่องดื่ม ง.ต้องทำอาหารมาปรุงต่อหน้ าลูกค่าและจัดจานเสิร์ฟ 5.วิธีการเสิ ร์ฟอาหารแบบย่อยๆมีกี่แบบ ก.3แบบ ข.4แบบ ค.5แบบ ง.6แบบ

6.จัดงานเลี้ยงแผนกใดที่ไม่ต้องประสานงาน ก.แผนกครัว ข.แผนกช่าง ค.บุคคล ง.แผนกตอนรับ 7.แผนกตอนรับแบ่งออกเป็ นกี่หน่วยย่อยๆ ก.3 ข.7 ค.6 ง.4 8.แผนกงานแม่บ้านมีหน้ าที่ตรงกับข้อใด ก.เสิร์ฟอาหารในห้องอาหาร ข.ออกมาตอนรับแขกหน้ าฟร้อน ค.ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ าภายในโรงแรม ง.จัดทำความสะอาดห้องพัก 9.แผนกครัวมีแผนกย่อยๆตรงกับข้อใด ก.กุ๊กใหญ่ ข.ผู้ช่วยกุ๊ก ค.พนักงานทำความสะอาดครัว ง.ถูกทุกข้อ 10.การจัดงานแต่งควรจัดงานแบบใด ก.แบบโต๊ะจีน ข.แบบโต๊ะไทย ค.แบบฝรั่งเศษ ง.แบบค็อกเทล