ก คณะผู้จัดท�ำ 1. รองศาสตราจารย์ ดร. ภาณวุ รรณ จนั ทวรรณกรู บรรณาธกิ าร วิทยาลัยนานาชาตนิ วัตกรรมดจิ ิทลั และคณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ 2. ศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศริ ิ ทีป่ รึกษา บัณฑิตวทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั แมโ่ จ้ 3. ผูช้ ว่ ยศาสตาจารย์ ดร. ณพศิษฎ์ จกั รพิทักษ ์ ที่ปรึกษา วทิ ยาลัยนานาชาตนิ วัตกรรมดจิ ิทลั มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ 4. ดร.ชยั ณรงค์ สนิ ภู่ วิทยาลัยนานาชาตนิ วตั กรรมดิจทิ ัล มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ 5. นายศภุ ฤกษ์ ขอนดอก วทิ ยาลยั นานาชาตินวัตกรรมดิจทิ ัล มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่ 6. นายธนชู ยั สมติ ะสริ ิ วทิ ยาลยั นานาชาตินวัตกรรมดิจทิ ลั มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ 7. น.ส.พมิ พอ์ บุ ล หวายคำ� วิทยาลยั นานาชาตนิ วัตกรรมดิจทิ ลั มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ สนับสนุนโดย งบประมาณรายจา่ ยประจำ� ปงี บประมาณ พ.ศ. 2561 (แผนงานบูรณาการเสรมิ สร้างความเข้ม แข็งและย่ังยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ) โครงการพัฒนาภาคการเกษตรภาคเหนือ ใน โครงการศนู ยส์ ง่ เสรมิ เทคโนโลยดี า้ นแมลงเศรษฐกจิ แบบครบวงจร ภาคเหนอื (Smart Insect) โดย ศูนยว์ ิจยั และบรกิ ารวิชาการนานาชาติ วทิ ยาลัยนานาชาตนิ วัตกรรมดจิ ทิ ลั มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ เลขมาตราฐานสากลประจ�ำหนงั สือ ISBN: ปที ี่พิมพ์ : พฤษภาคม 2561 พมิ พค์ ร้ังที่ 1 จำ� นวน 500 เล่ม สงวนลขิ สิทธิ์ Copyright, All Rights reserved ออกแบบรูปเล่มโดย : ธนกฤต แซ่ลี้ พมิ พท์ ่ี : บรษิ ทั โชตนาพร้ินท์ จำ� กัด เลขท่6ี 9 ซอย7 ถนนชา้ งเผอื ก ต�ำบลศรีภมู ิ อำ� เภอเมือง จงั หวัดเชยี งใหม่ 50200
ข ค�ำน�ำ ผ้ึง เปน็ แมลงผสมเกสรที่สำ� คัญอย่างยิ่งตอ่ ระบบนิเวศและการเกษตร มีการประมาณการ วา่ ในพชื ผล 100 ชนดิ จะใชเ้ ป็นแหล่งอาหารแกม่ นุษยท์ งั้ โลก ถึง 90 เปอรเ์ ซ็นต์ ในจำ� นวนนัน้ มี 71% ที่ต้องใช้ผ้ึงเป็นผู้ผสมเกสร นอกจากความส�ำคัญในด้านนี้แล้ว ผลผลิตจากผึ้งยังถูกน�ำมาใช้ประโยชน์ อย่างแพร่หลายและยาวนาน ได้แก่ น้�ำผึ้งใช้บริโภคเป็นอาหารและยา ไขผ้ึงใช้ส�ำหรับท�ำเทียนไข นมผ้ึงใช้ส�ำหรับเป็นส่วนประกอบหลักในการท�ำเครื่องส�ำอาง เป็นต้น ในปัจจุบันจึงมีการเล้ียงผึ้ง เพ่ือเก็บผลผลิตจากผ้ึงโดยเฉพาะ ซ่ึงน�ำมาสู่อุตสาหกรรมการเล้ียงผ้ึง โดยอุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้ และการจ้างงานมหาศาล โดยรายงานของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปี พ.ศ. 2556 พบว่ามีการเลีย้ งผง้ึ ทัว่ โลกกวา่ 135 ประเทศ กระจายอยู่ในทุกทวปี ท่วั โลก โดยมผี ลผลิต น้ำ� ผง้ึ รวม 1.8 ลา้ นตัน ในประเทศไทยมีการเลย้ี งผ้งึ มากกว่า 300,000 รงั กระจายใน 50 จังหวัดทวั่ ประเทศ โดย การเลย้ี งผง้ึ หนาแน่นที่สดุ ทางภาคเหนอื ของประเทศ ถดั มาคอื ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ภาคกลางและ ภาคใตต้ ามล�ำดับ สามารถผลิตน�้ำผึ้งจากพืชต่าง ๆ ได้แก่ ลำ� ไย ลน้ิ จ่ี สาบเสอื เงาะ นุ่น ยางพาราและ ทานตะวัน ได้จำ� นวนมากกว่า 10,000 ตนั ตอ่ ปี นอกจากน้ำ� ผึง้ แล้วยงั มผี ลิตภัณฑ์อืน่ ๆ จากผึง้ ร่วมดว้ ย คอื นมผง้ึ น�ำ้ หนกั เฉลย่ี 200 ตันต่อปี ไขผ้งึ น้�ำหนกั เฉล่ีย 300 ตันตอ่ ปี และเกสรผึ้ง น้�ำหนักเฉล่ยี 100 ตันต่อปี ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากผ้ึงหลากหลายชนิด ท้ังในอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ และความงาม อตุ สาหกรรมการเลย้ี งผึง้ ในประเทศไทยมแี นวโนม้ ขยายตัวอยา่ งต่อเนอ่ื ง มีเกษตรกรรายใหม่ เพ่ิมข้ึนในแต่ละปี องค์กรรัฐและเอกชนได้เข้ามาให้การสนับสนุนและสร้างมาตรฐานของฟาร์มผึ้งและ มาตรฐานของผลติ ภัณฑจ์ ากผ้งึ เพอ่ื ใหเ้ กิดการผลติ ที่ไดม้ าตรฐานในระดับประเทศและระดับสากล เอกสารเลม่ นเี้ ปน็ ชอ่ งทางหนง่ึ ทจี่ ะชว่ ยเสรมิ สรา้ งศกั ยภาพของผเู้ รมิ่ ตน้ หรอื เกษตรกรเลย้ี งผงึ้ รายใหม่ โดยไดร้ วบรวมความรพู้ นื้ ฐานเกยี่ วกบั ผง้ึ ในประเทศไทย สายพนั ธผ์ุ ง้ึ ทน่ี ยิ มเลย้ี งในประเทศไทย การเลอื กซอ้ื ผงึ้ การเตรยี มรงั และพน้ื ทสี่ ำ� หรบั เลยี้ งผงึ้ รวมไปถงึ การแนะนำ� ชว่ งเวลาทเ่ี หมาะสมสำ� หรบั การผลิตน้�ำผึ้งในช่วยฤดูดอกไม้บาน นอกจากน้ียังรวบรวมความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับโรคและศัตรูผ้ึง ท่จี ะเป็นประโยชน์อยา่ งมากสำ� หรับเกษตรกรเลยี้ งผึง้ รายใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร. ภาณวุ รรณ จันทวรรณกูร วทิ ยาลยั นานาชาตนิ วัตกรรมดจิ ิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ค หน้า สารบัญ ข ค ค�ำน�ำ สารบัญ 7 11 การเลี้ยงผ้ึง 13 ความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับผึ้งและผ้ึงในประเทศไทย 20 วรรณะของผ้ึง 23 การเพาะเลี้ยงนางพญา 25 การรวมรัง ขั้นตอนการเก็บเก่ียว
ง หน้า การเก็บรักษาซ่อมแซมอุปกรณ์เลี้ยงผ้ึง 29 สถานท่ีส�ำหรับเลี้ยงผ้ึง 31 พืชอาหาร 33 โรคผ้ึง 35 ศัตรูผึ้ง 44 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ (มาตรฐานฟาร์ม) 50 เอกสารอ้างอิง 62
6 การเล้ียงผ้ึง
7 ในการเลี้ยงผึ้งน้ัน ผู้เลี้ยงจะต้องท�ำความเข้าใจชีวิตในสังคมผึ้งและพฤติกรรมของผึ้ง เพื่อจัดการรังผึ้งให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผึ้งมีสุขภาพท่ีดี แข็งแรง มีประชากรผ้ึงงานหนาแน่น รวมทั้งมีปริมาณอาหารที่เหมาะสม โดยผู้เลี้ยงผึ้งควรมีการตรวจฟาร์มผ้ึงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 คร้ัง เพ่ือดูสภาพต่าง ๆ ภายในรัง ได้แก่ การเจริญเติบโตของผ้ึง ประสิทธิภาพการวางไข่ของผึ้งนางพญา และก�ำจัดศัตรูผึ้งไม่ให้มีโรคและศัตรู อีกทั้งยังต้องดูแลให้อาหารเสริมในช่วงเวลาที่ไม่มีพืชอาหารใน ธรรมชาติเพียงพอต่อความต้องการ ส่วนการบริหารจัดการภายในฟาร์มเลี้ยงผ้ึง ควรมีการจัดแบ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีการบันทึก ข้อมูลบริหารฟาร์มผ้ึง ข้อมูลประวัติฟาร์มผ้ึง และข้อมูลโดยรวมเพื่อตรวจสุขภาพของผึ้งแต่ละรังที่ เล้ียงในฟาร์ม นอกจากนี้ยังต้องมีการท�ำเครื่องหมายและจดบันทึกการจัดการรังผ้ึง ข้อมูลการใช้ยา และสารเคมี ตลอดจนข้อมูลโรคและศัตรูผ้ึง
8 การเตรียมตัวก่อนการเล้ียงผ้ึง 1. ความรู้เก่ียวกับการเล้ียงผ้ึงพันธุ์ ผู้ท่ีจะเลี้ยงผ้ึงพันธุ์ จ�ำเป็นต้องมีความรู้ ดังนี้ 1.1 ความรู้ด้านชีววิทยาและพฤติกรรมของผึ้งพันธุ์ ได้แก่ ความรู้เก่ียวกับชีวิตของผ้ึง วงจรชีวิต การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของวัยผ้ึง ช่วงอายุระยะต่าง ๆ รวมทั้งความเป็นอยู่ นิสัยและสภาพสังคมภายในรังผ้ึง การจัดระบบโดยธรรมชาติภายในรังผึ้ง การหาอาหาร การให้อาหาร การป้องกันรัง การเล้ียงดูตัวอ่อน รวมท้ังความต้องการของผึ้งในแต่ละ สภาพแวดล้อมด้วย 1.2 ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดูแลภายในรังผึ้ง 1.3 ความรู้เก่ียวกับพืชพันธุ์ท่ีเป็นแหล่งอาหารของผ้ึง ได้แก่ ความรู้เก่ียวกับต้นไม้และดอกไม้ท่ี จะเป็นแหล่งอาหารของผ้ึง คือ น้�ำต้อย (nectar) เป็นของเหลวรสหวานที่ผลิตจากดอกไม้ หรือส่วนอ่ืนของต้นไม้ และเกสรดอกไม้ ระยะการบานและช่วงเวลาการบานของดอกไม้ รวมถึงต�ำแหน่งการวางรังผ้ึง 1.4 ความรู้เกี่ยวกับโรคและศัตรูของผึ้ง 2. ทุนส�ำหรับการด�ำเนินการ ต้องค�ำนึงถึงความประหยัด คุณภาพและมาตรฐาน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังนี้ 2.1 ค่าพันธุ์ผ้ึง 2.2 ค่าท�ำกล่องผึ้ง คอนผึ้ง แผ่นรังเทียม ฐานรัง ฝารัง 2.3 ค่าอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง เช่น หมวกตาข่าย เหล็กงัดรัง เครื่องมือพ่นควัน ฯลฯ 2.4 ค่าน้�ำตาล และวัสดุอาหารเสริม เพ่ือเล้ียงผ้ึงในบางช่วงของฤดูที่ขาดแคลนอาหารผ้ึง ตามธรรมชาติ 2.5 ค่าใช้จ่ายส�ำรองอื่น ๆ ในระหว่างการเล้ียงผ้ึง เช่น ค่ายาป้องกันก�ำจัดศัตรูผ้ึงและค่าใช้จ่าย ในการขนย้ายรังผ้ึง
9 3. อุปกรณ์ส�ำหรับการเลี้ยงผ้ึง 3.1 กล่องผ้ึง (bee box) มี 2 แบบ ได้แก่ แบบยุโรปและแบบไต้หวัน ในประเทศไทยนิยม ใช้กล่องผ้ึงแบบไต้หวันซ่ึงมีขนาดใหญ่กว่าแบบยุโรป 3.2 คอนหรือเฟรม (frame) ส�ำหรับใส่แผ่นฐานรวงผึ้ง 3.3 แผ่นฐานรวงหรือแผ่นรังเทียม (comb foundation) 3.4 ขาตั้งรังผึ้ง มักท�ำจากไม้หรือโครงเหล็กที่สูงไม่น้อยกว่า 6 น้ิว 3.5 เคร่ืองมือพ่นควัน (smoker) คือ อุปกรณ์ส�ำหรับท�ำให้เกิดควัน โดยใช้การเผาวัสดุ ธรรมชาติ เช่น ขี้เลื่อย ใบไม้แห้ง 3.6 เหล็กงัดรัง (hive tool) 3.7 แปรงปัดผ้ึง (bee brush) 3.8 หมวกตาข่ายส�ำหรับกันผ้ึงต่อยหน้า (bee veils) 3.9 ถุงมือ (bee gloves) 3.10 ชุดเส้ือผ้าที่สวมใส่เวลาท�ำงาน (overalls) 3.11 อุปกรณ์อ่ืน ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะมีตลอดเวลาที่เข้าไปปฏิบัติงานในการเลี้ยงผ้ึง ได้แก่ กล่องเคร่ืองมือ ประกอบด้วย ค้อน คีม ตะปู เลื่อย ลวด มีดถากไม้ มีดพับ กรรไกร ขนาดเล็ก กรรไกรตัดลวด กล่องขังนางพญา ยาหม่อง ฯลฯ 3.12 วัสดุอื่น ๆ เช่น น้�ำตาลทราย เกสรเทียม สารก�ำจัดศัตรูผึ้ง
10 4. การเลือกซื้อพันธุ์ผึ้ง การซื้อพันธุ์ผ้ึงควรเลือกซ้ือจากฟาร์มผู้ขายท่ีมีความน่าเชื่อถือ มีการเล้ียงและเอาใจใส่ผึ้ง เพ่ือให้ได้ผึ้งที่แข็งแรง มีสุขภาพดี หน้ารังผึ้ง (ปากรัง) สะอาด โดยสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ ดังนี้ คือ - ไม่มีผึ้งงานตายหน้ารัง - ผ้ึงงานมีการกระจายตัวอย่างสม่�ำเสมอภายในรัง - ผึ้งนางพญา สามารถวางไข่ได้ในปริมาณสูง มีการวางไข่เป็นวงกว้างและวางไข่ได้ทั่วคอน - มีดักแด้สม�่ำเสมอ - ผ้ึงในรังมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีประชากรผ้ึงในรังเฉลี่ยประมาณ 12,000 - 20,000 ตัว ส�ำหรับคอนผึ้ง 8 – 10 คอน ในจ�ำนวนนี้รังผึ้งควรมีตัวอ่อนอย่างน้อย 4 - 5 รวง ส่วนรวงที่เหลือเป็นรวงที่เก็บน้�ำผึ้งและเกสร - ไม่พบโรคและไรศัตรูผึ้ง
11 ความรู้เบ้ืองต้นเก่ียวกับผ้ึง และผ้ึงในประเทศไทย ผึ้ง เป็นแมลงท่ีนักกีฏวิทยาด้านอนุกรมวิธานได้จัดไว้ในอันดับ (Order) ไฮมีนอพเทรา (Hymenoptera) ได้แก่ แมลงพวกผ้ึง ต่อ แตน มด รวมท้ังพวกต่อห�้ำ และแตนเบียน (predator and parasitic wasps) เป็นแมลงสังคม (social insect) ที่มีการแบ่งวรรณะส�ำหรับท�ำหน้าที่ ท่ีแตกต่างกันอีกทั้งยังเป็นแมลงเศรษฐกิจท่ีผลิตน้�ำผึ้งส�ำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องส�ำอาง ต่าง ๆ รวมถึงเป็นแมลงที่มีบทบาทส�ำคัญส�ำหรับการผสมเกสรของพืช อนุกรมวิธานของผ้ึงท่ีพบในประเทศไทย Order : Hymenoptera Family : Apidae Subfamily : Apinae Genus : Apis Species : ท่ีพบในประเทศไทย dorsata (ผึ้งหลวง) florea (ผึ้งมิ้ม) andreniformis (ผึ้งม้าน) cerana (ผึ้งโพรง) mellifera (ผ้ึงพันธุ์)
12 ลักษณะส�ำคัญของแมลงพวกผึ้งโดยสังเขปคือ มีปีกสองคู่ ลักษณะของปีกเป็นแผ่นบางมีเส้น ปีกท่ีส�ำคัญเห็นได้ชัดเจน ใช้เป็นลักษณะแตกต่างในการวินิจฉัยชนิดต่าง ๆ ของผ้ึงได้ ปีกคู่หลังเล็ก และมีเส้นปีกน้อยกว่าปีกคู่หน้า ปีกคู่หน้าและปีกคู่หลังติดกันด้วยตะขอขนาดเล็กเรียงกันเป็นแถว เรียกว่า ฮามูไล (hamuli) เพื่อให้ปีกท้ังคู่กระพือข้ึนลงได้พร้อมกันท�ำให้บินได้เร็ว ท่ีหัวมีหนวดรูป หักข้อศอก (geniculate) ปากเป็นแบบกัดเลียมีท้ังตาเด่ียวและตารวม มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะพวก ผึ้งตัวผู้ ขาหลังของผึ้งงานมีอวัยวะพิเศษส�ำหรับเก็บเกสร (pollen basket) ท่ีขา ล�ำตัว และหัวมีขน ปกคลุมมาก ตัวเมียมีอวัยวะวางไข่ที่ดัดแปลงเป็นอวัยวะส�ำหรับต่อยและมีเหล็กในใช้แทงให้เกิดการ เจ็บปวด ยกเว้นพวกชันโรงเป็นผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน (stingless bees) แมลงในกลุ่มผึ้งดังกล่าวมีผ้ึงรู ผึ้งกัดใบ ผึ้งห่ึง แมลงภู่ กายวิภาคศาสตร์ของผึ้งพันธุ์ (A. mellifera) ภาพโดย นายศุภฤกษ์ ขอนดอก
13 การหาอาหารของผึ้ง พื้นท่ีส�ำหรับหาอาหารของผ้ึงนั้นไม่แน่นอนข้ึนอยู่กับ ปริมาณและความหนาแน่นของดอกไม้ พืช อาหาร ปริมาณเกสร และน�้ำหวาน โดยปกติผ้ึงจะเลือกแหล่งอาหารที่อยู่บริเวณใกล้รังในรัศมี 3 กิโลเมตร แต่หากไม่มีแหล่งอาหารที่เหมาะสมภายในรัศมี 3 กิโลเมตรน้ัน ผ้ึงสามารถบินไปหาแหล่ง อาหารได้ไกลถึง 12 กิโลเมตร การเก็บน้�ำหวานของผึ้งในแต่ละรอบจะเลือกเก็บจากพืชเพียงชนิดเดียว จากการสังเกตพบว่าผ้ึงจะลงเก็บน้�ำหวานสองคร้ังจากดอกไม้ดอกเดียว และพบว่าก้อนเกสรที่ผึ้งเก็บ มาน้ันจะมีเกสรของพืชหลายชนิดปนอยู่ แต่จะมีพืชอาหารหลักชนิดใดชนิดหน่ึงมากที่สุด และมีเกสร จากพืชอาหารชนิดอ่ืนเพียง 2-4 ชนิดปะปนมา ผ้ึงพันธุ์สามารถตอมดอกไม้ได้มากกว่า 40 ดอกใน 1 นาที ผึ้งหนึ่งตัวสามารถออกหาอาหารได้มากถึง 4 ล้านรอบ โดยเฉลี่ยแล้วสามารถตอมดอกไม้ ได้ 100 ดอก ด้วยการใช้ proboscis แทงเข้าไปในต่อมน้�ำหวานของดอกไม้ ดูดน�้ำหวานมาเก็บไว้ ใน nectar sac โดยปริมาณเฉลี่ยของน้�ำหวานที่ผึ้งเก็บไว้ในแต่ละเที่ยว ประมาณ 20-40 มิลลิกรัม หรือประมาณร้อยละ 90 ของน�้ำหนักตัวผ้ึง การเก็บเกสรผึ้งจะใช้ tongue และ mandibles เจาะ และกัดอับละอองเกสร ให้เกสรกระจายออกมาติดตามขน จากน้ันจะใช้ขาคู่กลาง และขาคู่หน้ารวม เกสรผสมกับน้�ำหวานส�ำหรับปั้นให้เป็นก้อน ก่อนท่ีจะน�ำไปเก็บไว้ท่ี pollen basket หรือ corbicula ของขาคู่หลัง ก้อนเกสรท่ีเก็บจะมีน้�ำหวานประมาณร้อยละ 10 ของน้�ำหนักก้อนเกสร ประมาณ 8-29 มิลลิกรัม ประมาณการได้ว่าก้อนเกสรที่มีน�้ำหนัก 20 กิโลกรัมต่อรังต่อปี (Oldroyd and Wongsiri 2006; Sinpoo, 2012) วรรณะของผึ้ง ผ้ึงเป็นแมลงที่มีวรรณะ ภายใน 1 รัง ประกอบไปด้วย ผึ้งนางพญา (queen) ผึ้งตัวผู้ (drone) ผึ้งงาน (worker) ซ่ึงท�ำหน้าที่ต่างกันภายในรัง โดย \"ผึ้งนางพญา เป็นผึ้งที่มีล�ำตัวใหญ่ที่สุด\" มีอายุขัย มากกว่า 1 ปี อาจได้มากถึง 7 ปี โดยท่ัวไป ใน 1 รังจะมีผึ้งนางพญา 1 ตัวเท่านั้น ยกเว้นบางรังที่มี ขนาดใหญ่ อาจพบได้ 2-3 ตัว ท�ำหน้าท่ีส�ำคัญคือวางไข่ภายในรัง \"ผ้ึงตัวผู้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากผึ้งนางพญา\" แต่อ้วนสั้นกว่าผ้ึงนางพญา ภายใน 1 รัง มีจ�ำนวน 200-500 ตัว มีอายุขัย 4-6 สัปดาห์ ท�ำหน้าที่คอยผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญา \"ผึ้งงานเป็นผ้ึงที่มีขนาดเล็กที่สุด\" แต่มีปริมาณมากท่ีสุดในรัง มีจ�ำนวนมากถึง 5,000- 30,000 ตัวต่อรัง มีอายุขัย 6-8 สัปดาห์ เป็นผ้ึงเพศเมีย เกิดจากไข่ท่ีได้รับการผสมจากผ้ึงตัวผู้ แต่เป็น เพศเมียท่ีไม่สมบูรณ์เพศ ท�ำหน้าที่ออกหาอาหาร หาน�้ำหวาน สร้างรังจากไข่ท่ีผลิตจากต่อมคอยเลีย ท�ำความสะอาดนางพญา และรัง นอกจากน้ียังท�ำหน้าท่ีป้อนอาหารให้แก่ผึ้งนางพญา และผึ้งตัวผู้
14 ผึ้งท่ีผลิตน�้ำหวาน ในประเทศไทย ผึ้งม้าน ชื่อภาษาอังกฤษ: Black dwarf honey bee ชื่อวิทยาศาสตร์: Apis andreniformis รูปร่างลักษณะ มีขนาดของตัวและรังเล็กท่ีสุด เปรียบเทียบกับผ้ึงท้ัง 4 ชนิด เส้นผ่าน ศูนย์กลางของรังประมาณ 20 เซนติเมตร ผึ้งม้านชอบสร้างรังบนต้นไม้และในซุ้มไม้ท่ีไม่สูงจนเกิน ไปนัก ลักษณะรังเป็นรวงรังชั้นเดียวมักจะมีท่ีปกปิดด้วยซุ้มใบไม้และกิ่งไม้เพ่ือป้องกันศัตรูพบเห็น รังผึ้งม้าน รังผึ้งม้าน (Chantawannakul, 2017) ภาพโดย รศ. ดร. ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร ผึ้งมิ้ม ชื่อพ้อง: ผึ้งแมลงวัน ผ้ึงหว่ี มิ่นโต ชื่อภาษาอังกฤษ: little bee, dwarf Honey bee ช่ือวิทยาศาสตร์: Apis florea รูปร่างลักษณะ ขนาดของผึ้งมิ้ม ล�ำตัวสีน้�ำตาลด�ำ ด้านหน้าของท้องสีเหลืองอมน้�ำตาล มีขนสีเทาปกคลุมตัว ขนาดล�ำตัวยาว 7 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 2.60 มิลลิเมตร มีหนวดแบบหักศอก ปากแบบกัดเลีย ความยาวของลิ้น 3.40 มิลลิเมตร ปีกบางใส ปรากฏตาเด่ียว 3 ตา ตารวม 2 ตา เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดใกล้เคียงกับแมลงวัน บางคร้ังจึงเรียกว่าผ้ึงแมลงวัน โดยทั่วไปผ้ึงม้ิม จะสร้างรังอยู่บนกิ่งไม้ที่ไม่สูงมากนัก มีรวงรังชั้นเดียว ขนาดเล็ก (ขนาดประมาณ 20-30 เซนติเมตร)
0.5 cm 15 ผึ้งม้ิมแดงตัวผู้ (เส้นขีดบอกขนาดท่ี 0.5 cm) ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่ 0.5 cm ผึ้งมิ้มแดงตัวเมีย (เส้นขีดบอกขนาดที่ 0.5 cm) ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่ ผ้ึงโพรง ชื่อพ้อง: ผึ้งหนอกวัว ผึ้งรวง ม้ิมโต พรวด (ภาคใต้) ผึ้งโกน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ผึ้งโก๋น (ภาคเหนือ) ชื่อภาษาอังกฤษ: Eastern honey bee ชื่อวิทยาศาสตร์: Apis cerana รูปร่างลักษณะ เป็นผึ้งขนาดกลาง ขนาดล�ำตัวยาว 12 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 3.3 มิลลิเมตร ลิ้นมีความยาว 4.8-5.6 มิลลิเมตร ขนาดตัวเล็กกว่าผ้ึงพันธุ์แต่ใหญ่กว่าผ้ึงมิ้ม มีประชากร 5,000-30,000 ตัวต่อรัง สร้างรังในท่ีมืดตามโพรงไม้หรือโพรงหิน ในหน่ึงรังอาจมี 5-15 รวง เกษตรกร นิยมเลี้ยงผึ้งชนิดนี้ในกล่องไม้เพื่อสะดวกในการเก็บเก่ียวน้�ำผ้ึง โดยผึ้งโพรงหน่ึงรังสามารถผลิตน้�ำผ้ึง ได้ 3-15 กิโลกรัม
16 0.5 cm (เส้นขีดบอกขนาดท่ี 0.5 cm) ผึ้งโพรงตัวเมีย ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่ 0.5 cm (เส้นขีดบอกขนาดท่ี 0.5 cm) ผึ้งโพรงตัวผู้ ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่ รังผ้ึงโพรง ในประเทศไทย ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่
17 ผ้ึงหลวง ชื่อพ้อง: ผ้ึงใหญ่ ผึ้งโขดหิน ผึ้งเขา ชื่อภาษาอังกฤษ: Giant honey bee ช่ือวิทยาศาสตร์: Apis dorsata รูปร่างลักษณะ เป็นผึ้งท่ีมีขนาดใหญ่ที่สุด ล�ำตัวยาวรี ขนาดล�ำตัวยาว 17-19 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 5 มิลลิเมตร ล้ินมีความยาว 6-7 มิลลิเมตร รังรวงของผ้ึงหลวงมีขนาดใหญ่เป็นรวง ชั้นเดียว ซ่ึงอาจมีความกว้างได้ถึง 2 เมตร ลักษณะรวงโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม มักพบอยู่ตามใต้ก่ิง ไม้ใหญ่ หน้าผา โขดหิน ตามอาคารสูง ซึ่งเป็นท่ีโล่งที่มีร่มเงา อากาศไม่ร้อนจนเกินไป ในหน่ึงรังมี ประชากร 10,000-80,000 ตัว ผึ้งหลวงตัวเมีย 0.5 cm (เส้นขีดบอกขนาดที่ 0.5 cm) ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่ ผ้ึงหลวงตัวผู้ 0.5 cm (เส้นขีดบอกขนาดที่ 0.5 cm) ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่
18 ผึ้งพันธุ์ ช่ือพ้อง: ผ้ึงฝรั่ง ผึ้งยุโรป ชื่อภาษาอังกฤษ: European honey bee ชื่อวิทยาศาสตร์: Apis mellifera เป็นผ้ึงที่มีล�ำตัวใหญ่รองลงมาจากผ้ึงหลวง และใหญ่กว่าผ้ึงโพรง จัดเป็นผ้ึงที่นิยมเล้ียง มากที่สุด เป็นพันธุ์ผึ้งท่ีมีถ่ินก�ำเนิดในทวีปแอฟริกา และยุโรป ถูกน�ำเข้ามาเล้ียงเพ่ือผลิตน�้ำผึ้งเป็น หลัก บางครั้งจึงเรียกว่า ผึ้งฝร่ัง หรือผึ้งอิตาเลียนบ้าง 0.5 cm (เส้นขีดบอกขนาดท่ี 0.5 cm) ผึ้งพันธุ์ตัวเมีย ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่ 0.5 cm (เส้นขีดบอกขนาดที่ 0.5 cm) ผ้ึงพันธุ์ตัวผู้ ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่
19 ประวัติการเล้ียงผ้ึง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2496 ศาสตราจารย์หลวงสมานวนกิจ ได้ส่ังผึ้งพันธุ์อิตาเลียนจากประเทศ ออสเตรเลียมาเล้ียงในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2519 - 2522 นักธุรกิจ เอกชนในประเทศไทยรวมกลุ่มกันจัดต้ังบริษัทประกอบธุรกิจเล้ียงผึ้ง และได้มีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยง ผ้ึงชาวไต้หวันเป็นจ�ำนวนมาก เข้ามาประกอบอาชีพเลี้ยงผ้ึงในจังหวัดเชียงใหม่ และล�ำพูน ปี พ.ศ. 2523 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ด�ำเนินการศึกษาทดสอบและพัฒนาการเลี้ยงผ้ึง และจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์ผึ้ง และศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้ง 5 ศูนย์ จนถึงปัจจุบัน การรายงานเมื่อ พ.ศ. 2550 ของกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ กรมส่งเสริม การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานสายพันธุ์ผ้ึงที่นิยมเล้ียงเป็นระบบอุตสาหกรรมมี 4 ชนิด ได้แก่ ผ้ึงพันธุ์อิตาเล่ียน (Apis mellifera ligustica/ Spin) เป็นผึ้งท่ีมีล�ำตัวอวบอ้วน สีเหลือง ส่วนท้องเรียวมีแถบสีเหลืองหรือสีออกเป็นสีทอง ขนบนล�ำตัวสีทอง โดยเฉพาะสีขนบนตัวผู้สีทองจะ เด่นชัดกว่าตัวเมีย เป็นพันธุ์ที่นิยมเล้ียงอย่างแพร่หลายท่ัวโลกรวมทั้งการเลี้ยงผึ้งภายในประเทศไทย เนื่องจากให้ผลผลิตสูง มีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย และเล้ียงง่าย ผึ้งพันธุ์คาร์นิโอลาน (Apis mellifera carnica/ Pollman) เป็นผ้ึงท่ีมีล�ำตัวเพรียวมีขนาด เล็ก สีน�้ำตาล มีจุดสีน้�ำตาลอ่อนถึงสีน้�ำตาลเข้มบริเวณส่วนท้องของผ้ึงงาน ขนสีเทาหรือเทาปนน�้ำตาล ในผ้ึงเพศผู้ มีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย เล้ียงง่าย ปรับตัวต่อสภาพอากาศได้ดี มีถิ่นก�ำเนิดทางตอนใต้ของ ประเทศออสเตรีย ในเมืองคาร์นิโอลาน ผ้ึงพันธุ์คอเคเซี่ยน (Apis mellifera caucasica/ Gorb) ช่องท้องปล้องแรกมีจุดสีน้�ำตาล กระจาย ล�ำตัวมีขนสีเทาปนน้�ำตาล มีขนสีด�ำที่อกในตัวผู้ ขยันสร้างรัง ออกหาอาหาร ชอบแย่ง น้�ำผ้ึงจากรังอ่ืน ชอบเก็บสะสมยางเหนียว และมีนิสัยดุร้ายมากกว่าผ้ึงพันธุ์ชนิดอ่ืน ผ้ึงพันธุ์ด�ำ (Apis mellifera mellifera/ L.) บริเวณช่วงท้องปล้องที่ 2 และ 3 มีจุดสีเหลืองอยู่ ด้านบนหน้าอก มีขนสีน�้ำตาลบริเวณอกในผ้ึงตัวผู้ มีขนยาวปกคลุมบริเวณบั้นท้ายของผึ้งงาน ทนต่อ สภาพอากาศท่ีเปล่ียนแปลงได้ดี มีถิ่นก�ำเนิดทางตอนเหนือของทวีปยุโรปและทางตะวันตกของเทือก เขาแอลป์
20 การเพาะเล้ียงนางพญา การเพิ่มจ�ำนวนรังผึ้งเพ่ือขยายจ�ำนวนรังเล้ียงผ้ึง จ�ำเป็นจะต้องมีผึ้งนางพญาที่มีคุณภาพดี จ�ำนวนมาก เพื่อใช้เป็นผ้ึงนางพญาของรังใหม่ หรือใช้เปลี่ยนผึ้งนางพญาในรังเดิมที่มีอายุมากและ มีประสิทธิภาพการวางไข่ลดลง ซึ่งตามสภาพธรรมชาตินั้นการเกิดของผ้ึงนางพญาตัวใหม่จะเกิดได้ เพียง 3 กรณี คือ 1. ผึ้งนางพญาเก่าตาย หรือสูญหายไปอย่างกะทันหัน 2. ผึ้งนางพญาตัวเดิมแก่เกินไป ประสิทธิภาพในการวางไข่ลดลง 3. สภาพของรังแข็งแรง สมบูรณ์เต็มที่ผ้ึงต้องการแยกรังใหม่ ในกรณีที่ผึ้งนางพญาเก่าตายหรือหายไป ผ้ึงงานจะสร้างหลอดรวงนางพญาและคัดเลือกตัว อ่อนมาเพ่ือเป็นนางพญา หากมีหลอดรวงนางพญาที่เกิดข้ึนกลางแผ่นรวงผึ้ง นั่นหมายความว่านางพญาเก่าได้ตายหรือหายไป จึงเรียกหลอดรวงนางพญานี้ว่า “หลอดรวงนางพญาฉุกเฉิน” หลอดรวงนางพญาฉุกเฉิน ภาพโดย ธนูชัย สมิตะสิริ หลอดรวงนางพญาตามธรรมชาติ ภาพโดย ธนูชัย สมิตะสิริ ในกรณีที่นางพญาเก่ามีการวางไข่ลดลงหรือผึ้งต้องการแยกรังใหม่ จะมีการสร้างหลอดรวง นางพญาใหม่ขึ้นมาในลักษณะห้อยลง อยู่ด้านล่างของแผ่นรวงผึ้ง (สิริวัฒน์ และ สุรีรัตน์, 2555)
21 วัสดุและอุปกรณ์ ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการผลิตผึ้งนางพญา 1. ถ้วยส�ำหรับเพาะนางพญา (queen cup) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร 2. คอนส�ำหรับติดถ้วยส�ำหรับเพาะนางพญา 3. กรงขังผึ้งนางพญา (queen cage) 4. ไม้ส�ำหรับย้ายตัวหนอน (stainless steel) 5. รอยัลเจลลี่ (royal jelly) หรือ นมผ้ึง 6. รังผึ้งท่ีใช้ท�ำพันธุ์ 7. รังผึ้งท่ีใช้เป็นรังเพาะเลี้ยง
22 ปัจจัยส�ำคัญซ่ึงมีผลต่อการผลิตผึ้งนางพญา 1. สภาพความแข็งแรงของรังท่ีใช้ส�ำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ท่ีจะผลิตผึ้งนางพญา หากมีความแข็งแรง และสมบูรณ์มาก อัตราการอยู่รอดจะสูงกว่ารังท่ีไม่ค่อยแข็งแรง 2. สภาพอากาศท่ีปลอดโปร่งแจ่มใส มีแสงแดด ฝนไม่ตก ผึ้งงานจะยอมรับตัวหนอนที่ใส่ ลงไปได้ง่าย ท�ำให้อัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนมีมากกว่าในกรณีที่สภาพอากาศไม่ค่อยดี ไม่ปลอดโปร่ง ฝนตก 3. การบาดเจ็บของตัวหนอนขณะย้ายจากหลอดรวงไปใส่ในถ้วยนางพญา หากตัวหนอนบาดเจ็บ หรือไม่สมบูรณ์มีโอกาสท่ีจะไม่ได้รับการยอมรับสูง เนื่องจากการย้ายหนอนต้องใช้ไม้หรือโลหะ ตักตัวหนอนออกมา หากท�ำอย่างไม่ระมัดระวัง ก็มีโอกาสที่จะท�ำอันตรายกับตัวหนอนได้ง่าย ดังน้ันผู้ที่ฝึกท�ำในระยะแรก ควรตรวจดูผลของการย้ายตัวหนอนก่อน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ แบบสเตอริโอ 4. ระยะเวลาในการย้ายตัวหนอนควรใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่าท่ีจะท�ำได้ แล้วรีบเอาคอนถ้วย นางพญากลับคืนรังทันที ถ้าหากใช้เวลานานอาจท�ำให้ตัวหนอนตายได้ง่าย 5. การแยกหลอดและการขนยา้ ยหลอดผงึ้ นางพญา ไมค่ วรทำ� ในขณะทผ่ี งึ้ มอี ายนุ อ้ ยเพราะมโี อกาส กระทบกระเทือนสูง และต้องกระท�ำอย่างนุ่มนวลที่สุด 6. เม่ือผึ้งนางพญาที่อยู่ในรังผสมพันธุ์เริ่มวางไข่อย่างสม่�ำเสมอ และแน่ใจว่าผึ้งรุ่นลูกที่ออกมาเป็น ผึ้งงานแล้ว จึงเร่ิมแยกรังโดยน�ำผึ้งนางพญาตัวใหม่ ไปใส่ในรังที่ขาดผ้ึงนางพญาท่ีเตรียมไว้ได้ ทันที ในกรณีเปลี่ยนนางพญาที่มีอายุมากให้จับนางพญาตัวที่ไม่ต้องการออก แล้วใส่นางพญา ตัวใหม่ ที่อยู่ในกรงขนาดเล็กลงไป โดยแขวนไว้ระหว่างคอนผึ้ง เป็นเวลา 1 - 2 วัน จนกว่าผ้ึง งานจะยอมรับเล้ียงดูนางพญาตัวใหม่ จากน้ันจึงเปิดกรงขนาดเล็ก ให้นางพญาตัวใหม่ออกมา
23 การรวมรัง หลังจากการเก็บน�้ำผ้ึงแล้ว ผู้เลี้ยงผ้ึงควรตรวจดูสภาพของรังผ้ึงแต่ละรัง ถ้าพบว่าประชากร ของรังผึ้งมีน้อย ก็จ�ำเป็นท่ีจะต้องท�ำการรวมหรือยุบรังผึ้งท่ีอ่อนแอเข้าด้วยกัน หรืออาจเพิ่มประชากร ให้กับรังที่ไม่อ่อนแอมาก ด้วยการย้ายคอนท่ีเต็มไปด้วยผ้ึงงานในระยะดักแด้จากรังผึ้งท่ีมีประชากร มากเกินพอ ไปสู่รังที่จ�ำเป็นต้องมีประชากรเพ่ิม การย้ายรวงผึ้งตัวอ่อนจากรังหน่ึงไปสู่อีกรังหนึ่งนั้น จ�ำต้องแน่ใจว่าไม่เป็นการน�ำโรคหรือศัตรูไปให้ และไม่เป็นการท�ำให้รังผึ้งฝ่ายที่มีประชากรมากพอ อยู่แล้ว ต้องสูญเสียความแข็งแรงทางด้านน้ีไปมาก จนฟื้นตัวไม่ทันต่อฤดูอาหารท่ีจะมาถึง สาเหตุท่ี จ�ำเป็นต้องเลือกเอาคอนที่มีผึ้งงานในวัยดักแด้ (คอนท่ีหลอดรวงทั้งสองด้านอยู่ในลักษณะปิดฝาหมด หรือเกือบหมด) เพราะผึ้งในวัยนี้ไม่กินอาหาร จึงไม่เป็นการเพ่ิมภาระให้กับผึ้งงานตัวเต็มวัยในรังท่ี อ่อนแอกว่า ที่จะต้องมาดูแลให้อาหารตัวอ่อนผึ้งท่ีน�ำเข้าไปเพ่ิมเติม และถ้าย้ายตัวเต็มวัยโดยตรง ก็อาจเกิดปัญหาไม่ยอมรับกันระหว่างผึ้งตัวเต็มวัยของทั้งสองรัง ซ่ึงการรวมรังมักจะท�ำในตอนเย็น เน่ืองจากเป็นเวลาที่ผ้ึงงานบินกลับเข้ามาในรัง 1.การรวมรังโดยอาศัยกระดาษหนังสือพิมพ์คั่นระหว่างรัง (ควรท�ำในตอนเย็น) อุปกรณ์ 1) กระดาษหนังสือพิมพ์ 1 แผ่น 2) ปากกาหรืออุปกรณ์ท่ีมีปลายแหลม วิธีการ 1) ตัดกระดาษให้ได้ขนาดกว้างและยาวเท่ากับกล่องรังผ้ึง ใช้ปลายปากกาหรืออุปกรณ์ท่ี มีปลายแหลมเจาะรูกระดาษให้กระจายทั้งแผ่น 2) เปิดฝารังและแผ่นปิดรังด้านใน น�ำกระดาษหนังสือพิมพ์ท่ีเตรียมไว้วางไว้ด้านบน 3) น�ำรังผึ้งท่ีจะรวมรังวางซ้อนขึ้นไปข้างบนแล้วปิดฝารังด้านบน 4) ปล่อยไว้เป็นเวลา 1-2 วัน จากนั้นเปิดฝารังตรวจสอบจะพบว่าผึ้งทั้งสองรังจะท�ำลาย กระดาษและรวมรัง 2. การรวมรังโดยอาศัยน�้ำเชื่อม (ควรท�ำในตอนเย็น) อุปกรณ์ 1) กระบอกสเปรย์ 2) น้�ำเช่ือม วิธีการ 1) น�ำน้�ำเชื่อมบรรจุใส่กระบอกสเปรย์ ฉีดพ่นให้ทั่ว 2) น�ำผึ้งแต่ละคอนมารวมกันในรังเดียว 3. การรวมรังโดยน�ำไปรวมกันทันที \"สังเกตรังจะต้องมีปริมาณน้�ำหวานมากพอสมควร และผึ้งท่ีอยู่ในคอนควรเป็นผึ้งอนุบาล สามารถน�ำไปรวมกันได้ทันที วิธีนี้ต้องอาศัยความช�ำนาญพอสมควร\"
24 3. การรวมรังโดยน�ำไปรวมกันทันที สังเกตรังจะต้องมีปริมาณน�้ำหวานมากพอสมควรและผ้ึงท่ีอยู่ในคอนควรเป็นผึ้งอนุบาล สามารถน�ำไปรวมกันได้ทันที วิธีนี้ต้องอาศัยความช�ำนาญพอสมควร 4. การรวมรังโดยเขย่าผึ้งหน้ารัง (วิธีนี้ใช้เพ่ือช่วยเพ่ิมจ�ำนวนผึ้งอนุบาล) อุปกรณ์ 1) เครื่องเป่าควัน 2) กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษอ่ืน ๆ ส�ำหรับปูพื้น วิธีการ 1) ปูกระดาษรองที่พ้ืน วางรังที่ต้องการจะเสริมให้เตี้ยหรือวางกับพ้ืน 2) ใช้เคร่ืองเป่าควัน เป่าควัน 2-3 ครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที 3) น�ำคอนผ้ึงท่ีต้องการรวมเขย่าให้ผึ้งตกลงไปหน้ารัง แล้วพ่นควันใส่ผ้ึงอีกครั้ง ผึ้งจะ คลานไปรวมกันในรังทันที 5. การรวมรังโดยอาศัยน�้ำมันหอมระเหย อุปกรณ์ 1) น�้ำมันหอมระเหย 2) กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษอ่ืน ๆ วิธีการ 1) น�ำกระดาษหนังสือพิมพ์ตัดให้ได้ขนาดเท่ากับรังผึ้งตามแนวขวาง 2) หยดน�้ำมันหอมระเหยลงบนกระดาษทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 2-4 หยด 3) น�ำผึ้งจากทั้งสองรังมารวมในรังเดียวกัน โดยใช้กระดาษที่หยดน้�ำมันแล้ว ค่ันระหว่างคอนที่อยู่คนละรัง 4) ปิดฝา ท้ิงไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเปิดฝา ดึงกระดาษที่คั่นตรงกลางออก
25 ข้ันตอนการเก็บเก่ียว การเตรียมรังผ้ึงให้พร้อมส�ำหรับฤดูดอกไม้บาน เป็นข้ันตอนที่ส�ำคัญมากในการผลิต น�้ำผึ้ง โดยในแต่ละรังต้องมีผ้ึงงานที่อยู่ในวัยของผ้ึงสนามจ�ำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 - 60,000 ตัว ต่อรัง เพื่อท่ีจะได้มีผลผลิตน�้ำหวานปริมาณมาก นอกจากนี้นางพญาต้องมาจากสายพันธุ์ท่ีเก็บน้�ำผึ้ง ดี และไม่ควรมีอายุเกิน 1 ปี ควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมส�ำหรับการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างย่ิง คอน ต้องมีปริมาณเพียงพอท่ีจะใช้ในการเก็บน้�ำผึ้ง อีกประการหนึ่งที่ส�ำคัญคือบริเวณท่ีต้ังรังนั้น จะต้องมี ปริมาณน้�ำหวานและเกสรท่ีเป็นอาหารของผ้ึงมากพอ การประเมินปริมาณเกสรดอกไม้ ในพ้ืนที่ โดย การสังเกตที่ประตูเข้าออกของรัง เวลาระหว่าง 07:00 - 08:00 น. ว่าในจ�ำนวนผ้ึง 10 ตัว มีเกสรติด มาที่เปาะขาหลังของผึ้งเป็นจ�ำนวนเท่าไหร่ หากมากกว่า 6 ตัว สามารถประเมินเบ้ืองต้นได้ว่าบริเวณ โดยรอบท่ีเลี้ยงผ้ึงนั้นมีปริมาณเกสรเพียงพอ และการประเมินปริมาณน้�ำหวาน โดยสังเกตผ้ึงท่ีบินเข้า รังในช่วงบ่ายหากผึ้งตัวอ้วนเป่ง (สังเกตบริเวณท้องผ้ึง) และบินเข้าออกบ่อยคร้ัง สามารถประเมิน เบ้ืองต้นได้ว่าบริเวณโดยรอบท่ีเลี้ยงผ้ึงน้ันมีปริมาณน�้ำหวานเพียงพอ ผึ้งงานเก็บเกสรจากดอกของต้นปืนนกไส้ ภาพโดย ศุภฤกษ์ ขอนดอก
26 \"การเตรียมรังผึ้งก่อนฤดูดอกไม้บาน ควรใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ (งดการใช้สารเคมีในการก�ำจัดโรคและศัตรูผึ้ง) และเน้นเตรียมให้ผึ้งในรังที่ อายุ 21 วันขึ้นไป มีจ�ำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 - 60,000 ตัวต่อรัง\" โดยกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์เป็นดังนี้
27 การสลัดน้�ำผ้ึง การเก็บผลผลิตในฤดูดอกไม้บาน (กรณีน้�ำผ้ึงดอกล�ำไย) ควรเก็บหลังจากวางรังท้ิงไว้บริเวณ แหล่งอาหารเป็นระยะเวลา 7 - 8 วัน และสามารถเก็บผลผลิตอย่างต่อเน่ืองได้ประมาณ 3 ครั้ง การเก็บผลผลิต (การสลัดน้�ำผึ้ง) อุปกรณ์ 1) แปรงปัด 2) มีดปาดรวงผึ้ง 3) ถังปั่นสลัดน�้ำผ้ึง 4) ตะแกรงส�ำหรับกรอง 5) ผ้าขาวบางส�ำหรับกรอง 6) ภาชนะส�ำหรับรองรับน�้ำผึ้ง 7) ถังพักน้�ำผึ้ง
28 วิธีการ 1) คัดเลือกคอนน�้ำผึ้งท่ีปิดหลอดรวงแล้ว 30-70% 2) น�ำคอนน�้ำผึ้งออกจากกล่อง โดยสลัดผ้ึงและใช้แปรงปัดผ้ึงออกจากคอนให้หมด 3) ใช้มีดปาดเปิดหลอดรวง น�ำใส่ถังปั่นเพ่ือสลัดน�้ำผ้ึง หมุนถังปั่นด้วยความเร็ว 4) ปล่อยน้�ำผ้ึงจากถังลงภาชนะ กรองหยาบในคร้ังแรกด้วยตะแกรง และกรองละเอียด ในครั้งที่สองด้วยผ้าขาวบาง 2 ชั้น 5) พักน�้ำผ้ึงไว้ถังบรรจุ หลังจาก 15 วันแล้ว น�ำแบ่งบรรจุได้ตามความเหมาะสม
29 การเก็บรักษาและซ่อมแซม อุปกรณ์การเล้ียงผ้ึง หลงั จากฤดดู อกไมบ้ าน สง่ิ ทจี่ ำ� เปน็ ตอ้ งทำ� ตอ่ ไปคอื การดแู ล เกบ็ รกั ษา และซอ่ มแซมอปุ กรณ์ เพื่อเตรียมไว้ใช้ ในฤดูดอกไม้บานของปีถัดไป ซึ่งผู้เลี้ยงผึ้งจะพบว่า มีจ�ำนวนกล่องผ้ึงเปล่าและ คอนว่าง ที่ต้องเก็บรักษาอยู่จ�ำนวนหน่ึง กล่องผ้ึงท่ีมีรอยแตกร้าวหรือโยกคลอนควรได้รับการซ่อมแซม ให้แข็งแรง และถ้าจ�ำเป็นก็ควรได้รับการทาสีใหม่เพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน กล่องผ้ึงว่างท่ีมีเศษยางไม้ และไขผ้ึงติดพอกอยู่ จ�ำต้องได้รับการขูดออกให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน คร้ังต่อไป ส่วนคอนว่างจากการสลัดน�้ำผ้ึงออกหมดแล้ว บางคอนก็จ�ำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม บางคอนท่ีเสียหายมากไม่อยู่ในสภาพท่ีสามารถซ่อมแซมได้ ผู้เล้ียงผ้ึงก็ควรรวบรวมเศษและ ช้ินส่วนรวง ไปหลอมแยกเอาไขผ้ึงเพ่ือน�ำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ส่วนกล่องผึ้งและคอนท่ีจะเก็บไว้ ใช้นั้น จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ \"ผู้เลี้ยงผึ้งควรมีห้องเก็บรวงผ้ึงหรือโรงเก็บกล่องผ้ึงท่ีสร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพ่ือป้องกันการวางไข่หรือการระบาดของหนอนกินรวงผึ้ง และป้องกันความเสียหายท่ีอาจเกิดจากหนู หรือสัตว์ฟันแทะอื่น ๆ\" เคร่ืองมือท่ีใช้ในการสลัดน�้ำผึ้ง ได้แก่ มีดปาดรวง ถังสลัด ถังพักน้�ำผ้ึง ฯลฯ ควรได้รับการดูแลท�ำความ สะอาดเช่นกัน หากเคร่ืองมือช�ำรุดควรซ่อมแซม ชิ้นส่วนท่ีอาจเกิดสนิมหรือฝืดเคือง ควรชโลมด้วย น�้ำมัน หรือไขพืชเพ่ือป้องกันสนิม การหมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือให้อยู่ในสภาพดี เท่ากับ เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในอนาคต
30 การส่ือสาร (Communication) (สิริวัฒน์ และ สุรีรัตน์, 2555) ผึ้งสามารถสื่อสารกันภายในรังด้วยภาษากาย ผ่านภาษาเต้นร�ำ (dance language) ซ่ึงการ เต้นจะสื่อความหมายแตกต่างกันไป เช่น ท่าเต้นเพื่อบอกถึงระยะทางของแหล่งอาหาร ท่าเต้นเพื่อ ส่งสัญญาณเตือนภัย ท่าเต้นเพื่อขอรับการท�ำความสะอาด เป็นต้น ตัวอย่างภาษาผ้ึงท่ีส�ำคัญมีรูปแบบและความหมายดังน้ี ก)การเต้นแบบวงกลม (Round dance) และ ข)การเต้นแบบเคียว (Sickle dance) ผึ้ง งานจะเต้นแบบวงกลมหลังจากบินกลับมาเม่ือพบแหล่งอาหารภายในรัศมี 100 เมตร โดยจะเต้นเป็น วงกลมวนไปมานานกว่า 1 นาที เพื่อบอกให้สมาชิกในรังทราบ แล้วจึงย้ายไปเต้นในต�ำแหน่งอ่ืน ๆ ของรัง ถ้าหากผึ้งที่ออกไปส�ำรวจพบแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ผ้ึงก็จะเต้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว แต่หากพบแหล่งอาหารที่ไม่สมบูรณ์ผ้ึงก็จะเต้นอย่างช้า ๆ เมื่อผึ้งงานตัวอื่น ๆเห็นท่าเต้นน้ีแล้วก็จะ บินออกหาแหล่งอาหารน้ีในทันที ค)การเต้นแบบส่ายท้อง (Tail wagging dance) เป็นการเต้นของผึ้งงานส�ำรวจเพื่อท่ีจะ บอกสมาชิกภายในรังว่า แหล่งอาหารที่พบน้ันอยู่ไกลเกินกว่า 100 เมตร และจะท�ำการเต้นอย่าง รุนแรงหากแหล่งอาหารมีความอุดมสมบูรณ์ การเต้นแบบนี้จะเร่ิมจากการส่ายท้องไปมาและวิ่งเป็น เส้นตรง แล้วจึงหมุนวนรอบขวาและรอบซ้าย รอบละคร่ึงวงกลม โดยองศาบนเส้นแบ่งครึ่งวงกลมจะ เป็นตัวบอกทิศทางระหว่างท่ีต้ังของรัง แหล่งอาหารและดวงอาทิตย์ท่ีผ้ึงงานส�ำรวจพบ โดยจะเต้น แบบนี้ซ�้ำไปซ้�ำมา จ�ำนวนรอบและระยะเวลาในการเต้นจะเป็นตัวก�ำหนดระยะทางของแหล่งอาหาร กับท่ีตั้งของรัง ผ้ึงงานส�ำรวจจะย้ายต�ำแหน่งการเต้นไปอีกหลายจุดภายในรังเพื่อแจ้งการพบแหล่ง อาหารก่อนจะหยุดเต้น การเต้นแบบส่ายท้องนี้ยังส่ือความหมายเมื่อผ้ึงจะท�ำการแยกรัง โดยหากผึ้ง ส�ำรวจที่บินกลับมาเต้นอย่างรุนแรงและช้ีทิศทางไปยังท่ีต้ังรังใหม่เหมือนกันทุกตัว สมาชิกผ้ึงท่ีแยกรัง จะพร้อมกันบินไปยังที่ตั้งรังใหม่ในทันที ดังภาพที่ 1
31 สถานท่ีส�ำหรับเล้ียงผ้ึง สถานที่ตั้งรังผ้ึงควรอยู่ในที่ที่มีพืชอาหารปริมาณเพียงพอ ต่อการด�ำรงชีวิตของผ้ึง โดยมีการบานของดอกไม้ต่อเน่ืองกัน เพราะผ้ึงจะมีรัศมีในการหาอาหารโดยเฉล่ีย อยู่ในระยะ 2 - 3 กิโลเมตร รัศมีนี้มีแหล่งน้�ำในบริเวณใกล้เคียง และควรอยู่ห่างจากชุมชน นอกจากน้ีจ�ำนวนรังผ้ึงต่อ หน่วยพื้นที่ควรก�ำหนดให้เป็นไปตามชนิด และปริมาณของพืชอาหาร รวมท้ังวัตถุประสงค์ของการ เล้ียงผ้ึง เช่น ต้องการเก็บเกสร หรือน�้ำหวาน หรือเพียงช่วยในการผสมเกสรเท่าน้ัน เพราะถ้ามีจ�ำนวน รังผึ้งมากไปจะท�ำให้ผึ้งแย่งอาหารกัน ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ลดลง แต่ถ้ารังผึ้งน้อยเกินไปก็ท�ำให้เสีย โอกาสในการเก็บน�้ำผ้ึงหรือได้รับผลผลิตน้อยไปด้วย ฟาร์มผ้ึงต้องต้ังอยู่ในสถานที่ท่ีผู้เล้ียงสามารถดูแลได้โดยสะดวก แต่ควรอยู่ห่างจากชุมชน เมือง และอยู่ห่างไกลจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยน�้ำเสียหรือมลพิษ นอกจากนี้ในฟาร์มผึ้งต้องมีการจัดแบ่งพื้นท่ีอย่างเป็นระเบียบ สะอาด เหมาะสมกับการ ปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์พ้ืนฐานท่ีจ�ำเป็นในการเล้ียง มีตู้เก็บยาและสารเคมี ที่ภาชนะบรรจุต้องมีฉลาก ติดไว้อย่างชัดเจนแยกเป็นสัดส่วน และสะดวกต่อการน�ำอุปกรณ์ไปใช้ รวมท้ังการล�ำเลียงผลผลิตเข้า ออกจากโรงเรือน ท่ีตั้งรังผ้ึง ต้องตั้งให้สูงจากพ้ืนดินไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว การวางกล่องรังผึ้งใต้ร่มต้นล�ำไย ภาพโดย ศุภฤกษ์ ขอนดอก
32
33 พืชอาหาร พืชอาหารมีความส�ำคัญต่อวิถีชีวิตการด�ำรงชีวิตของผึ้งเป็นอย่างมาก เพราะผ้ึงจะขาด น้�ำหวานและเกสรดอกไม้ไม่ได้ ในขณะเดียวกันดอกไม้ย่อมต้องการให้ผ้ึงช่วยผสมเกสรเช่นกัน น�้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทที่ให้พลังงานแก่ผ้ึง ส่วนเกสรดอกไม้นั้น คือ แหล่งโปรตีน ช่วยให้ผ้ึงเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ ชนิดและปริมาณพืชอาหารมีผลโดยตรง ต่อการด�ำรงชีวิตของผ้ึง พืชบางชนิดให้น้�ำหวาน บางชนิดให้เกสร บางชนิดให้ทั้งน้�ำหวานและเกสร ถ้าผ้ึงได้รับอาหารอย่างสมบูรณ์ ท้ังน�้ำหวานและเกสร ผ้ึงจะแข็งแรงและมีจ�ำนวนประชากรเพ่ิมข้ึน แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีน้�ำหวานและเกสร ผึ้งจะอ่อนแอจะมีจ�ำนวนประชากรลดลง \"การท�ำให้ผ้ึงมีอาหารส�ำหรับด�ำรงชีวิตได้ตลอดปี ผู้เล้ียงต้องพิจารณาถึง ชนิด และปริมาณของพืชอาหารท่ีเพียงพอ ในรัศมีท่ีผ้ึงบินออกหาอาหารได้\" ตัวอย่างพืชอาหารท่ีส�ำคัญของผึ้ง ทั้งชนิดที่ให้เกสรและ หรือ น้�ำหวาน ได้แก่ 1. ชนิดท่ีให้ท้ังน�้ำหวานและเกสร ได้แก่ ล�ำไย ลิ้นจี่ นุ่น ทานตะวัน งา มะพร้าว เป็นต้น 2. ชนิดที่ให้เฉพาะน้�ำหวาน ได้แก่ เงาะ สาบเสือ เป็นต้น 3. ชนิดที่ให้เฉพาะเกสร ได้แก่ ข้าวโพด ไมยราบ เป็นต้น
34 ตารางที่ 1 ตารางตัวอย่างพืชอาหารท่ีส�ำคัญของผ้ึง (กรมสง่ เสรมิ การเกษตร, 2556)
35 โรคผ้ึง โรคหนอนเน่าอเมริกัน (American Foulbrood Disease, AFB) สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Paenibacillus larvae) โรคนี้จะกระจายภายในรัง ส่งผลเฉพาะ กับตัวอ่อนเท่าน้ัน โดยสปอร์จะเจริญภายในทางเดินอาหารของตัวอ่อนท่ีได้รับเช้ือน้ีเข้าไป ตัวอ่อน จะตายภายในระยะเวลา 5-6 วัน หลังจากได้รับเชื้อแล้ว เชื้อน้ีจะเกิดการระบาดลุกลามกระจายไป สู่รังอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขโมยน�้ำผึ้งระหว่างผึ้งด้วยกัน อาการ ตัวอ่อนจะตายภายในหลอดรวงท่ีมีการปิดฝาที่ผิดปกติ ได้แก่ ฝาบุ๋มลงไป และมีรูขนาดเล็ก มีกล่ินเหม็นรุนแรง เมื่อเกิดการเน่า และมีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน�้ำตาลเกือบด�ำ ท�ำการทดสอบ ง่าย ๆ ด้วยวิธี stretch test โดยใช้ปลายไม้ขนาดเล็กเข่ียตัวหนอนท่ีเน่าตายแล้ว จากน้ันดึงก้านไม้ ออก ตัวหนอนที่ตายจะยืดติดออกมากับปลายไม้ ตัวหนอนที่ตายและแห้ง จะเป็นสะเก็ดติดอยู่กับ ส่วนล่างของพื้นหลอดรวง เป็นสีด�ำหรือสีน้�ำตาลด�ำ การป้องกันและก�ำจัด โรคนี้เป็นปัญหารุนแรงมาก ดังน้ันวิธีการเผาท�ำลายผ้ึงท่ีเป็นโรคพร้อมอุปกรณ์ที่เก่ียวข้อง ท้ังหมดจึงเป็นการก�ำจัดที่ดีที่สุด ที่มาของภาพ : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Paenibacillus_larvae.jpg
36 โรคหนอนเน่ายูโรเปียน (European Foulbrood Disease, EFB ) สาเหตุของโรค เกิดจากเช้ือแบคทีเรีย Melissococcus plutonius ท่ีมีรูปร่างกลม อยู่รวมกันเป็นสาย เหมือนลูกปัด เป็นเชื้อท่ีไม่มีสปอร์ มีการแพร่กระจายของโรคเช่นเดียวกับหนอนเน่าอเมริกัน อาการ โรคน้ีท�ำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่มีอายุไม่เกิน 4-5 วันตายไป ตัวอ่อนท่ีติดโรคจะมีสี เหลือง เทา หรือน�้ำตาล ขณะท่ีเน่าสลายจะมีกลิ่นเหม็นเปร้ียว สามารถตรวจสอบได้โดยใช้ไม้เขี่ยลง บนตัวหนอนที่ก�ำลังเน่าสลาย ยกขึ้นช้า ๆ ตัวหนอนจะไม่ยืดออกมาเหมือนตัวหนอนที่เป็นโรคหนอน เน่าอเมริกัน เม่ือตัวหนอนแห้งตาย สะเก็ดของตัวอ่อนที่ตายจะไม่ติดกับผนังของหลอดรวง มีลักษณะ เป็นแผ่นขนาดเล็ก ไม่เปราะหรือแตก การป้องกันและก�ำจัด กรณีเม่ือตรวจพบการระบาดในระดับปานกลาง ส�ำหรับรังที่อ่อนแอจะมีการเปลี่ยนผ้ึง นางพญาตัวใหม่ หรือเพิ่มจ�ำนวนคอนผึ้งที่แข็งแรง 2-3 คอน เพ่ือเพิ่มความแข็งแรง นอกจากน้ีการ วางไข่ให้ได้มากขึ้น จะเป็นการเพิ่มประชากรในรังและเพ่ิมจ�ำนวนผ้ึงที่ท�ำหน้าท่ีท�ำความสะอาดรัง ขนย้ายตัวที่เป็นโรคออกจากรัง และเป็นการเพ่ิมความต้านทานโรคให้กับผึ้งด้วย ที่มาของภาพ : https://www.agric.wa.gov.au
37 โรคที่มีสาเหตุมาจากเช้ือรา โรคชอลช์คบรูด (Chalkbrood, CB ) สาเหตุของโรค เกิดจากเช้ือรา (Ascosphaera apis) เข้าท�ำลายได้ทั้งตัวอ่อนและดักแด้ เชื้อราท่ีพบใน ประเทศไทยมีทั้งสายพันธุ์ที่สร้างสปอร์ และไม่สร้างสปอร์ โดยในสายพันธุ์ท่ีสร้างสปอร์จะท�ำให้ เส้นใยของเชื้อราปกคลุมตัวอ่อนและดักแด้ของผ้ึงที่ตาย ลักษณะสปอร์เหมือนแท่งส่ีเหล่ียมส้ัน ๆ สีด�ำ ส่วนอีกสายพันธุ์ไม่สร้างสปอร์ ท�ำให้ตัวอ่อนและดักแด้ของผึ้งที่ตายถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว มีลักษณะคล้ายแท่งชอล์คสีขาว โดยปกติสปอร์จะไม่ท�ำให้เกิดโรคจนกระท่ังมีการเติบโตเป็นเส้นใย ซึ่งเส้นใยจะเจริญได้ดีท่ีอุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิปกติในรังผ้ึง อาการ ผ้ึงที่ถูกเช้ือเข้าท�ำลายมีท้ังตัวอ่อนและดักแด้ ตัวอ่อนอายุ 3-4 วัน จะสังเกตเห็นอาการของ โรคได้ โดยตัวอ่อนจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยของเชื้อราสีขาว เม่ือเช้ือรามีการสร้างสปอร์สีด�ำข้ึนหรือ มีลักษณะคล้ายเศษชอล์ค แสดงว่ามีอาการระบาดอย่างรุนแรง จะมีตัวอ่อนที่ปิดฝาตายและแห้งอยู่ ภายในหลอดรวง ส�ำหรับรังผึ้งท่ีเป็นโรคนี้ในระดับท่ีรุนแรง จะพบตัวอ่อนที่เป็นโรคแห้งตายตกอยู่ท่ี พื้นรังเป็นจ�ำนวนมาก จึงสามารถตรวจพบโรคน้ีได้ง่าย การป้องกันและก�ำจัด ยังไม่มีวิธีการควบคุมท่ีแน่นอน แต่ก็มีหลายวิธีที่ให้ผลในการป้องกันโดยการรักษาผ้ึงไว้ให้ ปลอดภัยจากเช้ือโรคน้ี การท�ำให้รังผ้ึงมีประชากรที่แข็งแรง ระบายอากาศท่ีดีไม่ให้ความช้ืนภายใน รังสูง มีการเพ่ิมตัวเต็มวัยใหม่ ๆ ที่เพ่ิงออกจากหลอดรวงให้กับรังที่เพิ่งเริ่มเป็นโรคนี้เพ่ือช่วยท�ำความ สะอาดรัง โรคเชื้อราชอล์คบรูดที่เกิดขึ้นกับตัวอ่อนผึ้ง ภาพโดย บงกช บุปผา
38 โรคโนซีมา (Nosema Disease) สาเหตุของโรค เกิดจากเช้ือโรคสองชนิด คือ Nosema apis และ Nosema ceranae ซึ่งสืบพันธุ์โดยการ ใช้สปอร์ โดยสปอร์เหล่าน้ีจะเข้าท�ำลายเม่ือผึ้งกินเข้าไป เชื้อจะเจริญในทางเดินอาหารของผึ้งและ เพิ่มจ�ำนวนสปอร์ได้อย่างรวดเร็ว (Sinpoo et al., 2017) เช้ือน้ีสามารถอยู่ในผ้ึงตัวเต็มวัยและแพร่ กระจายได้โดยมีผ้ึงงานเป็นพาหะ อาการ ผ้ึงท่ีเป็นโรคน้ีจะมีอาการคล้ายเป็นอัมพาต ปล้องท้องยืดและบวมผิดปกติ ถ้าจับตัวที่เป็น โรคน้ีมา ดึงส่วนหัวและอกออกจากกันอย่างระมัดระวัง จะพบทางเดินอาหารบวมโต สีขาวขุ่น ซึ่ง แตกต่างจากผ้ึงปกติที่ทางเดินอาหารจะมีสีใส การป้องกันและก�ำจัด สามารถท�ำได้โดยแยกรังผ้ึงที่เป็นโรคออกจากรังอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจาย ไปสู่รังอื่น โรคโนซีมา (Nosema apis ) โรคโนซีมา (Nosema ceranae) (เส้นขีดบอกขนาดที่ 50 µm) (เส้นขีดบอกขนาดท่ี 50 µm) ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่ ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่
39 โรคท่ีมีสาเหตุมาจากไวรัส โรคแซคบรูด (Sacbrood Disease) สาเหตุของโรค เกิดจากเช้ือไวรัส Sacbrood Virus (SBV) ซ่ึงจะเข้าท�ำลายในระยะตัวอ่อน โดยตัวอ่อนท่ีได้ รับเช้ือเม่ือปิดฝาหลอดรวงแล้วจะไม่ลอกคราบ จะนอนตายหรือยืดตัวตาย ตามความยาวของหลอด รวงซากของตัวอ่อนจะมีผนังล�ำตัวเหนียวท�ำให้ของเหลวในตัวอ่อนไหลออก ทำ� ให้มีลักษณะเป็นถุง และเปล่ียนสีจากขาวขุ่นเป็นเหลืองซีด น้�ำตาลและด�ำในท่ีสุด \"เมื่อดึงตัวอ่อนออกจากหลอดรวงมาตรวจสอบ จะพบว่าตัวอ่อนตายอยู่ในถุง (sac) ภายในตัวอ่อนเต็มไปด้วยน�้ำ และเมื่อแห้งจะเป็นสะเก็ดที่ติดอยู่อย่างหลวม ๆ กับผนังของหลอดรวง\" ที่มาของภาพ : http://windowbee.com/viruses_en/
40 โรคอัมพาตในผึ้ง (Bee paralysis) โรคอัมพาตในผึ้งเกิดจากไวรัสท่ีสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลัน (Acute Bee Paralysis Virus, ABPV) และแบบเร้ือรัง (Chronic Bee Paralysis Virus, CBPV) โรคอัมพาตแบบเฉียบพลัน (Acute Bee Paralysis Virus, ABPV) เกิดจากไวรัสเข้าท�ำลายที่ระบบ ประสาท ตัวเต็มวัยท่ีได้รับเชื้อในระยะแรกมักไม่แสดงอาการท่ีชัดเจน จากนั้นสามารถสังเกตได้จาก ผ้ึงท่ีเป็นโรคจะแสดงอาการ โดยปีกและตัวจะส่ันผิดปกติ เคล่ือนท่ีช้าและไม่สามารถบินได้ สังเกตได้ ว่ามีผ้ึงคลานตามพ้ืนและบนใบหญ้าเป็นกลุ่ม ๆ บางคร้ังผึ้งท่ีเป็นโรคจะกองพะเนินบนรังผึ้ง มีรูปปีก ที่ผิดปกติ ปีกคู่หน้าและคู่หลังเกี่ยวกันไม่ได้ จะมีช่วงท้องที่บวมอ้วนพอง โดยช่องท้องที่บวมเกิดจาก การบวมน้�ำของถุงเก็บน�้ำผึ้ง (honey sac) ซ่ึงส่งผลต่อระบบล�ำไส้ และเกิดเป็นโรคล�ำไส้อักเสบหรือ ดิสเซนเทอรี (dysentery) ผึ้งที่เป็นโรคจะตายภายในระยะเวลา 2-3 วัน ABPV จะพบในปมประสาท ของผึ้งท่ีเป็นโรค ซ่ึงสามารถท�ำลายประสาทส่วนกลางได้มากกว่า CBPV \"โรคอัมพาตแบบเรื้อรัง (Chronic Bee Paralysis Virus, CBPV) อาจเรียกว่าโรค Black rubbers หรือ Little balcks หมายถึง ผ้ึงเป็นสีด�ำ \" เนื่องจากเป็นอาการของโรคที่สังเกตเห็น ผึ้งจะมีสีด�ำและช่องท้องที่ขยายบวม การแสดง อาการของเชื้อ CBPV จะช้ากว่า ABPV เนื่องจากการเจริญเติบโตของเช้ือเป็นไปได้ช้า อาการของ โรคอัมพาตพบเฉพาะในผึ้งตัวเต็มวัยเท่าน้ัน ทั้งท่ีตรวจพบเชื้อในผ้ึงระยะอ่ืน ๆ แต่ไม่แสดงอาการ เนื่องจากไวรัสทั้ง 2 ชนิดมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถตรวจพบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ การวินิจฉัยโรค นี้จึงท�ำได้ยาก ต้องใช้เทคนิคการเพ่ิมจ�ำนวนดีเอ็นเอโดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) (Tentcheva et al., 2004)
41 ที่มาของภาพ : http://windowbee.com/abpv_en/ โรคปีกผิดรูป (Deformed wing virus) ไวรัสชนิดน้ีพบคร้ังแรกจากผึ้งพันธุ์ท่ีเป็นโรคในประเทศญ่ีปุ่น สามารถพบเชื้อไวรัสน้ี ทั่วโลก พบในผ้ึงพันธุ์ (Berenyi et al., 2006) และผึ้งโพรง ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มักพบ Deformed Wing Virus (DWV) ในตัวอ่อนท่ีเป็นโรค ผ้ึงตัวเต็มวัยที่ตาย และผึ้งที่แสดงอาการ ปีกผิดปกติ ร่วมกับการพบไรวาร์รัว (Varroa destructor) จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการและภาค สนามพบว่า ไรแพร่เช้ือไวรัสแบบเดียวกับเชื้อ ABPV เชื้อ DWV จะเพิ่มจ�ำนวนอย่างช้า ๆ และตัว ดักแด้ที่ติดเชื้อในระยะที่ตัวยังไม่เป็นสีด�ำจะสามารถอยู่รอดได้ แต่จะกลายเป็นผ้ึงท่ีมีปีกเจริญไม่เต็ม ที่และตายในท่ีสุด DWV เป็นไวรัสที่พบได้บ่อยในผึ้งที่มีไรวาร์รัวเป็นปรสิต จากการตรวจสอบไร วาร์รัวในรังผ้ึงในประเทศไทย พบว่า \"ไร สามารถมีสารพันธุกรรมของไวรัสหลาย ๆ ชนิด ภายในตัวเดียวกัน ซึ่งแสดงว่า ไร สามารถเป็นพาหะของไวรัสได้หลายชนิด\" (Chantawannakul et al., 2006)
42 ไรทรอปปิเลแลปส์ (Tropilaelaps) ในผ้ึงท่ีเป็นโรคไวรัสปีกกุด (Chantawannakul, 2017) ภาพโดย รศ. ดร. ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร โรคที่เกิดจาก Kashmir Bee Virus Kashmir Bee Virus (KBV) เป็นไวรัสที่ค้นพบคร้ังแรกจากการแยกเช้ือในผ้ึงโพรงตัว เต็มวัย (Apis cerana) จากแคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) (Bailey and Woods, 1977) และจาก Mahableshwar ประเทศอินเดีย (Bailey et al., 1979) ผึ้งจากแคว้นแคชเมียร์ท่ีติดเช้ือ KBV มี เช้ือ Apis Iridescent Virus ร่วมอยู่ด้วย ส่วนผ้ึงท่ีได้มาจากประเทศอินเดียพบเช้ือไวรัส KBV เพียง อย่างเดียว \"หากทดลองฉีดเชื้อ KBV ในผึ้งพันธุ์ตัวเต็มวัยหรือถูเชื้อบนตัว พบว่าเชื้อไวรัสจะเพ่ิมจ�ำนวนอย่างมากและรวดเร็ว จะฆ่าเชื้อภายใน 3 วัน ตัวหนอนผึ้งสามารถมีชีวิตรอด หลังจากได้รับไวรัสทางปาก และบางตัวกลายเป็นพาหะเม่ือเจริญเป็นผึ้งตัวเต็มวัย\" (Anderson and Gibbs, 1989) ความรุนแรงของโรค KBV เกิดขึ้นทันทีที่ผ้ึงมีไรวาร์รัว (Varroa destructor)
43 โรคที่เกิดจากไวรัสชนิดอ่ืนๆ เช้ือไวรัส Cloudy Wing Virus (CWV) ไวรัสชนิดนี้ทำ� ให้ปีกผ้ึงขุ่น และพบว่าเชื้อนี้สามารถ ติดต่อทางการหายใจ (air borne) เม่ือผึ้งมีความสัมผัสใกล้ชิดกัน (Bailey et al., 1980) จะพบก้อน ผลึกของอนุภาคไวรัสบริเวณเส้นใยกล้ามเน้ือท่ีควบคุมระบบหลอดลม (tracheal system) ผ้ึงที่ติด เช้ือจะตายในที่สุด เช้ือไวรัส Black Queen Cell Virus (BQCV), Filamentous Virus (FV) และ Bee Virus Y (BVY) ไวรัสทั้ง 3 ชนิดน้ีจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Nosema apis ไวรัส BQCV จะท�ำหลอด รวง (cell) ของผึ้งนางพญาเป็นสีน้�ำตาลด�ำถึงด�ำ และตัวดักแด้จะตายหากพบไวรัสชนิดน้ีจ�ำนวนมาก ในตัวดักแด้ ในระยะแรกตัวดักแด้ที่ติดเช้ือจะเป็นสีเหลืองซีด และผนังที่คล้ายถุงที่เหนียวท่ีคล้ายกับ ตัวอ่อนก่อนระยะดักแด้ (propupa) ที่ตายด้วยโรคแซคบรูค FV เป็นเช้ือไวรัสในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นไวรัสท่ีเพ่ิมจ�ำนวนในเน้ือเยื่อไขมัน (fat body) และเนื้อเยื่อรังไข่ (ovanrian tissue) ของผ้ึงตัวเต็มวัย เลือด (haemolymph) ของผ้ึงที่ ติดเช้ือจนเห็นอนุภาคสีขาวขุ่น ส่วนอาการอื่น ๆ แสดงไม่ชัดเจน การระบาดไวรัสมักเกิดในช่วงเดือน พฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ในแต่ละปี (Bailey, 1981) BVY จะเกิดข้ึนบ่อยในตัวเต็มวัยของผึ้ง ในช่วงต้นฤดูร้อน ผึ้งจะเป็นโรคก็ต่อเมื่อได้รับเช้ือ ไวรัสทางอาหาร การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิดน้ีพบในประเทศอังกฤษ ทวีปอเมริกาเหนือ ออสเตรีย ญี่ปุ่น รัสเซีย และพบในทวีปยุโรปอีกด้วย เช้ือไวรัส AIV พบเฉพาะผึ้งโพรงจากแคว้นแคชเมียร์และอินเดียตอนเหนือ ธรรมชาติอาจ จ�ำกัดไวรัสชนิดน้ีให้มีความจ�ำเพาะในบริเวณแถบเทือกเขาหิมาลัย ไวรัสชนิดนี้สามารถเพ่ิมจ�ำนวน ในผึ้งพันธุ์ได้เช่นกัน เช้ือไวรัสจะเพ่ิมจ�ำนวนในเน้ือเย่ือหลาย ๆ ชนิด เช่น fat body, alimentary tract, hypopharyngeal gland, และรังไข่ (ovary) ดังน้ันไวรัสจึงสามารถแพร่กระจายผ่านมูล ไข่ น�้ำคัดหลั่งจากต่อมต่าง ๆ และปรสิต (ectoparasite) การป้องกันและก�ำจัด ยังไม่มีสารเคมีใดที่ใช้ในการควบคุมก�ำจัดโรคชนิดน้ีได้ ผู้เล้ียงผ้ึงจึงควรจัดการสภาพภายใน รังให้ดี มีการเปล่ียนผึ้งนางพญาใหม่ การจัดการประชากรผ้ึงให้แข็งแรง และการเพิ่มประชากรผ้ึงงาน
44 ศัตรูผ้ึง ไรผึ้ง (Bee mites) ไรผ้ึงเป็นศัตรูที่ส�ำคัญท่ีสุดในการเลี้ยงผ้ึงพันธุ์โดยเฉพาะในแถบเอเชีย โดยพบรายงานการ ระบาดของไรผึ้งค่อนข้างรุนแรง การควบคุมไรศัตรูผ้ึงจึงมีความส�ำคัญเป็นอย่างย่ิงต่อความส�ำเร็จของ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในเอเชียเขตร้อน ไรท่ีเป็นศัตรูส�ำคัญของผึ้ง ได้แก่ ไรวาร์รัว (Varroa destructor) และไรทรอพีลีแลปส์ (Tropilaelaps clareae) ในประเทศไทยพบว่าไรวาร์รัว และไรทรอพีลีแลปส์ มักจะอาศัยอยู่ร่วมกัน และพบว่าไรทรอพีลีแลปส์เป็นศัตรูท่ีส�ำคัญส�ำหรับผึ้งพันธุ์มากกว่าไรวาร์รัว ไรวาร์รัว (Varroa destructor) รูปร่างลักษณะ ไรวาร์รัวมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับไรชนิดอ่ืน มีล�ำตัวแบนในแนวราบ ล�ำตัวกว้างมากกว่า ความยาว โดยมีความกว้างอยู่ระหว่าง 0.5-1.6 มิลลิเมตร ความยาวอยู่ระหว่าง 1.1-1.2 มิลลิเมตร มีสีน้�ำตาลแดง และมีขนสีน้�ำตาลแดงปกคลุมล�ำตัวส่วนบน เคลื่อนท่ีได้อย่างรวดเร็ว สามารถมอง เห็นได้ด้วยตาเปล่า ไรตัวเมียท่ีผสมพันธุ์แล้ว จะเดินเข้าสู่หลอดรวงท่ีมีตัวอ่อนระยะตัวหนอนก่อน เข้าดักแด้ และอยู่ในหลอดและวางไข่ จ�ำนวน 3-10 ฟอง หลังจากน้ัน 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็น ตัวอ่อน ส่วนไรท่ียังไม่เป็นตัวเต็มวัยจะมีสีขาว การเข้าท�ำลาย ไรวาร์รวั เขา้ ท�ำลายผ้งึ โดยตรง โดยใชส้ ว่ นของปากเจาะเขา้ ไปทบี่ รเิ วณรอบตัวของผงึ้ บริเวณ ระหว่างปล้องของตัวผึ้งเพ่ือดูดเลือด ท�ำให้ผึ้งตายก่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัย ถ้าผึ้งสามารถรอดชีวิตได้ ก็มักจะพิการ ปีกไม่สมบูรณ์ ส่วนท้องสั้น และขาหายไป
45 ไรทรอพีลีแลปส์ (Tropilaelaps clareae) รูปร่างลักษณะ ไรทรอพีลีแลปส์มีขนาดเล็กกว่าไรวาร์รัว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวเต็มวัยเพศเมีย มีสีน�้ำตาล รูปร่างรูปไข่กว้าง 0.55 มิลลิเมตร ยาว 0.96 มิลลิเมตร ล�ำตัวปกคลุมด้วยขนส้ัน ตัวเต็มวัยเพศเมียท่ีได้รับการผสมจะวางไข่ในหลอดรวงของตัวอ่อนผ้ึง หลังจากท่ีปิดฝาหลอดรวงแล้ว ส่วนตัวเต็มวัยเพศผู้จะไม่ดูดกินเลือด เพราะอวัยวะท่ีใช้ในการเจาะดูดเลือด ได้เปลี่ยนเป็นท่อล�ำเลียง น�้ำเชื้อตัวผู้ ท�ำให้ไรเพศผู้มีอายุส้ันกว่าเพศเมีย ระยะตัวอ่อนของไรทรอพีลีแลปส์จะอาศัยในหลอด รวงของตัวอ่อนผึ้ง ดูดกินของเหลวและเลือดของตัวอ่อนผ้ึง ตัวอ่อนไรที่เจริญอยู่ในหลอดรวงผึ้งจะ ออกมาหลังจากที่ตัวเต็มวัยของผึ้งกัดฝาหลอดรวงออกมา การเข้าท�ำลาย การเข้าท�ำลายของไรชนิดนี้คล้ายคลึงกับไรวาร์รัว คือ ส่วนท้องของผึ้งที่ถูกไรเข้าท�ำลายจะ ลดขนาดลง มีช่วงชีวิตท่ีส้ันกว่าผ้ึงปกติ ถ้าไรเข้าท�ำลายมาก จะพบผ้ึงท่ีมีความผิดปกติทางสรีระ อาทิ ปีกพิการอยู่ท่ีทางเข้าออกและภายในรัง ไรวาร์รัว ไรทรอพีลีแลปส์ บนตัวผึ้งทม่ี ีลกั ษณะปีกกดุ บนตัวผง้ึ ท่มี ีลกั ษณะปีกกุด ภาพโดย ดร. ชัยณรงค์ สินภู่
46 การป้องกัน ก�ำจัด และควบคุมไรที่ใช้ได้ดีมีอยู่ 2 วิธี 1.การใช้สารเคมี การใช้สารเคมีจะมีความเส่ียงในการเจือปนของสารเคมีในน้�ำผ้ึงและการเป็นพิษ ต่อผึ้ง จึงควรใช้สารเคมีก่อนฤดูดอกไม้บาน อย่างไรก็ตามวิธีการน้ีเป็นวิธีการที่รวดเร็ว และให้ความ ม่ันใจในการระงับการระบาดของไรได้ มีสารเคมีหลายชนิดท่ีใช้ในการควบคุมโดยวิธีการรมหรือการ ฉีดพ่นบนรวงผึ้ง ได้แก่ Folbex VA เป็นแถบกระดาษท่ีมีสาร Bromopropylate เป็นสารออกฤทธิ์ และมีส่วน ผสมอื่นที่จะช่วยท�ำให้เผาไหม้ได้รวดเร็ว ใช้จุดพ่นควันใส่ในรังเพ่ือให้ควันกระจายอบอยู่ในรัง โดย ปิดทางเข้าออกของรังเป็นเวลา 20-30 นาที มีอัตราการใช้อยู่ที่ 1 แผ่นต่อ 1 รัง โดยทิ้งระยะเวลา การพ่นควันอยู่ระหว่าง 4-6 วันต่อครั้ง เป็นจ�ำนวน 3-4 คร้ัง ไรก็จะถูกก�ำจัด Amitraz เป็นสารละลายผสม มีสารอามีทราสเป็นสารออกฤทธิ์อยู่ 12.5% ในการใช้จะ เจือจางอามีทราสปริมาตร 1-2 มิลลิลิตร กับน้�ำปริมาตร 10 ลิตร ฉีดพ่นเบา ๆ บนรวงตัวอ่อนและ ผนังของรัง ในช่วงระยะเวลา 3-4 วันต่อครั้ง ประมาณ 3-4 ครั้ง ข้ึนอยู่กับขนาดของรังผึ้ง หรืออาจ จะใช้ในรูปแบบของการรมด้วยแผ่นท่ีจุ่มสารน้ีด้วยปริมาตร 0.1 มิลลิลิตร แล้วจุดไฟรมเหมือนวิธีของ Folbex VA Tau-fluvalinate (เทา-ฟลูวาลิเนต) เป็นแผ่น มีอัตราการใช้ 1-2 แผ่นต่อรัง หากรัง ผึ้งมาตรฐานที่มีจ�ำนวน 10 คอน ให้วางแผ่นแรกไว้ระหว่างคอนผ้ึงท่ี 3 หรือ 4 ส่วน แผ่นที่ 2 วาง ระหว่างคอนผ้ึงที่ 7 หรือ 8 ส�ำหรับรังผ้ึงขนาดเล็กให้ใช้จ�ำนวน 1 แผ่น วางกึ่งกลางของรัง แผ่นสาร เคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ 6-8 สัปดาห์ กรดอินทรีย์ (organic acid) เช่น กรดฟอร์มิก (formic acid) กรดออกซาลิก (oxalic acid) เป็นต้น การใช้งานท�ำได้โดยน�ำกระดาษหรือก้อนส�ำลีมาชุบกรดเจือจางความเข้มข้น 60% หรือ เทกรดลงในภาชนะ แล้วน�ำไปวางในกล่องรังผึ้ง โดยปริมาณที่ใช้จะข้ึนอยู่กับจ�ำนวนคอนของแต่ละ รัง หากรังผึ้งมีจ�ำนวนคอนประมาณ 4-6 คอน ให้วางกรดไว้ 1-2 จุด หากมีจ�ำนวนคอน 7-10 คอน ให้วางกรดไว้ 3-4 จุด ควรเปลี่ยนกรดใหม่ทุกสัปดาห์ และท�ำซ�้ำ 4-6 สัปดาห์ น้�ำมันหอมระเหย (essential oil) เช่น น�้ำมันสะระแหน่ น�้ำมันกานพลู น�้ำมันตะไคร้หอม เป็นต้น การใช้งานสามารถน�ำกระดาษหรือส�ำลีมาชุบน�้ำมันหอมระเหย แล้วน�ำไปวางไว้ภายในรังเช่น เดียวกับการใช้กรดอินทรีย์ (Sanluang and Chalermsan, 2016; ปิยรัตน์, 2539)
47 2. การควบคุมโดยการจัดการรัง วงจรพัฒนาการของไรท่ีสมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับตัวอ่อนของผึ้ง ไรชอบ ตัวอ่อนของผึ้งตัวผู้มากกว่าตัวอ่อนของผึ้งงาน เม่ือมีรวงตัวอ่อนผึ้งตัวผู้อยู่ในรัง (ด้วยการเตรียมแผ่น ฐานรวงตัวผู้ใส่ลงไปในรังให้ผ้ึงงานสร้างหลอดรวง และให้ผ้ึงแม่รังวางไข่) การใช้แผ่นก้ันผึ้งแม่รัง แบบแนวตั้ง กั้นผ้ึงแม่รังให้วางไข่ในรวงที่เป็นตัวผู้เท่าน้ัน ไรเพศเมียก็จะถูกดึงดูดโดยตัวอ่อนของผึ้ง ตัวผู้ให้เข้าไปอยู่ในหลอดรวงของผ้ึงตัวผู้นั้น เมื่อหลอดรวงปิดแล้วก็จะน�ำหลอดรวงผึ้งตัวผู้น้ันออก ไปท�ำลายก็จะเป็นการก�ำจัดไรได้ มด (Ants) มดเป็นแมลงสังคมช้ันสูง สามารถเข้าท�ำลายผึ้งและกินผึ้งได้ท้ังหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวผ้ึง เป็น ๆ หรือผ้ึงที่ตายแล้ว ทั้งตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และน้�ำผึ้ง การท้ิงรังของผึ้งเป็นวิธีการในการหนีการ เข้าท�ำลายของมด มดที่เป็นปัญหาส�ำคัญของการเล้ียงผ้ึง ได้แก่ มดแดง (Oecophylla smaragdula) และมดด�ำ (Monomorium indicum, M. destructue) มดจะเข้าท�ำลายรังผึ้งที่อ่อนแอ มีประชากร น้อยหรืออาจจับกลุ่มดักผึ้งหน้ารังและอาจเข้าท�ำลายผึ้งภายในรังได้ โดยมดแดงจะช่วยกันกัดขา ปีก และท้องของผึ้ง แล้วลากผ้ึงกลับไปกินท่ีรังของมดแดง ส่วนมดด�ำจะคาบผ้ึงท่ีตายแล้วไปกินท่ีรัง วิธีการป้องกันและก�ำจัดที่ดี คือการหารังมดแล้วท�ำลายด้วยการเผา และลดการเข้าท�ำลายของมดโดยการท�ำความ สะอาดตัดแต่งกิ่งไม้หรือหญ้า ส�ำหรับการเล้ียงผึ้งในเขตร้อนชื้น มักจะมีการใช้ขาตั้งกล่องผึ้ง สูง ประมาณ 30-50 เซนติเมตร โดยมีจารบีหรือน้�ำมันทาขาตั้งเพื่อป้องกันมดได้ หรือหล่อน�้ำที่ขาตั้ง กล่องผึ้ง การเข้าท�ำลายผ้ึงของมดแดง การเผาเพื่อก�ำจัดมดแดง ภาพโดย ธนูชัย สมิตะสิริ
48 ตัวต่อ (Wasps) ตัวต่อเป็นศัตรูผึ้งท่ีมีชุกชุมในหน้าฝน ตัวต่อจะบินวนบริเวณทางเข้าออก และจับผึ้งกิน ถ้ารังผ้ึงที่อ่อนแอตัวต่อจะบุกเข้าไปในรังผ้ึงแล้วกินผ้ึงทุกตัว ต่อมีหลายชนิด เช่น ต่อหัวโขน ต่อหลุม ต่อภูเขา การป้องกันและก�ำจัด สามารถท�ำได้หลายวิธี อาทิ การเผารังต่อที่พบในเวลากลางคืน การใช้สวิงจับตัวต่อมาฉีด น้�ำให้เปียกและชุบด้วยสารเคมี เช่น เซฟวิน แล้วปล่อยตัวต่อกลับรัง พิษจากสารเคมีจะถูกถ่ายทอด ไปท่ีรังต่อท�ำให้ตัวต่อตายท้ังรัง อีกวิธีหนึ่งคือการใช้กรงกับดักตัวต่อ ซึ่งสามารถใช้กล่องรังผ้ึงเป็น กล่องล่อให้ตัวต่อเข้ารัง โดยด้านบนท�ำเป็นกรงตาข่ายรูปกรวยเพ่ือให้ตัวต่อบินเข้าไปได้แต่บินออก ไม่ได้ นก (Birds) นกเป็นศัตรูผึ้งท่ีสามารถกินผ้ึงที่บินออกหากินได้วันละหลายร้อยตัว ท�ำให้ผึ้งไม่กล้าบินออก หาอาหาร ถ้านกมาเป็นฝูง เช่น นกก้ิงโครง นกจาบคา นกนางแอ่น ย่ิงท�ำให้ผึ้งได้รับความเสียหาย มาก การป้องกันและก�ำจัด ไม่ควรวางรังผ้ึงไว้ในท่ีโล่งแจ้ง อาจใช้วัสดุสะท้อนแสง เช่น กระดาษตะก่ัว แขวนเป็นราว สูงจากพ้ืนประมาณ 2 เมตร ให้มีแสงสะท้อนเข้าตานก และตาข่ายดักนกหรือใช้เสียงไล่นก หากไม่ สามารถไล่ได้ควรย้ายสถานท่ีวางกล่องผ้ึง หนอนกินไขผึ้ง (Wax moth) หนอนกินไขผ้ึงเป็นเป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน โดยผีเสื้อตัวเต็มวัยจะเข้าไปไข่ในกล่องผึ้ง แล้วไข่จะกลายเป็นตัวหนอนเข้าไปกัดกินไขผึ้งในรังผ้ึงที่อ่อนแอหรือคอนเก่าที่ถูกเก็บไว้ในโรงเก็บ ส�ำหรับรังของผึ้งพันธุ์ที่แข็งแรงจะไม่เกิดปัญหาการเข้าท�ำลายของผีเส้ือชนิดดังกล่าว การป้องกันและก�ำจัด สามารถท�ำได้โดยลดขนาดทางเข้าออกกล่องรังผ้ึง เพื่อป้องกันตัวเต็มวัยของผีเสื้อกลางคืน ที่จะเข้ามาวางไข่ เมื่อเกิดการระบาดของหนอนกินไขผึ้ง ให้น�ำคอนผึ้งท่ีเกิดการระบาดไปใส่ในช่องแช่ แข็งของตู้เย็นเป็นเวลา 24 ช่ัวโมง ซ่ึงวิธีการนี้สามารถท�ำลายได้ท้ังไข่และตัวหนอน และการน�ำคอน ผึ้งไปอบที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที หรือ 49 องศาเซลเซียส เป็นระยะ เวลา 40 นาที สามารถก�ำจัดหนอนได้ทุกระยะ แต่ไขผ้ึงอาจเกิดการละลายหากใช้อุณหภูมิสูงกว่านี้
49 ตัวเต็มวัยของหนอนกินไขผ้ึง ภาพโดย ศุภฤกษ์ ขอนดอก ลักษณะรังผ้ึงที่มีหนอนกินไขผ้ึงอาศัยอยู่ ภาพโดย ศุภฤกษ์ ขอนดอก สัตว์ศัตรูชนิดอื่นๆ สัตว์ศัตรูผ้ึงอ่ืน ๆ ได้แก่ แมงมุม จ้ิงจก ตุ๊กแก คางคก กบ อ่ึงอ่าง กิ้งก่า จ้ิงเหลน เป็นต้น สัตว์เหล่านี้จะจับผ้ึงกินเป็นอาหาร เม่ือพบในแหล่งเลี้ยงผึ้งให้ก�ำจัดทิ้งหรือไล่ให้ออกไปจากแหล่งเลี้ยง ผ้ึง และท�ำความสะอาดกล่องรังผึ้งเป็นประจ�ำ
Search