Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เล่าเรื่องบทประพันธ์

เล่าเรื่องบทประพันธ์

Published by auzaza.2222, 2021-11-16 19:19:25

Description: เล่าเรื่องบทประพันธ์

Search

Read the Text Version

เล่าเรื่อง บทประพันธ์ ธนัญญา เจ้ยแก้ว

สารบัญ เรื่อง หน้า กาพย์ยานี ๑๑ เรื่อง ทะเลความรู้สึก ๑ กาพย์ยานี ๑๑ เรื่อง ฉันชอบฉันรัก ๓ กาพย์ฉบัง ๑๖ เรื่อง ฉันเกลียดฉันกลัว ๔ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เรื่องวันนี้วันหน้า ๕ กลอนคละ เรื่อง นาโปแก ๖ ดอกสร้อยสักวา เรื่อง โควิด 19 ๘ โคลงสี่สุภาพ เรื่อง พ่อของเรา ๙ ร่ายโบราณนิทานอีสป เรื่อง อีกากับเหยือกน้ำ ๑๑ โคลงกระทู้ เรื่อง การเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ๑๔ อินทรวิเชียรฉันท์ เรื่อง นามนี้ธนัญญา ๑๕ กลอนเปล่าวรรณรูป เรื่อง ไดอารี่เล่มน้อย ๑๖

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เรื่องเล่าบทประพันธ์ เป็นส่วน หนึ่งของรายวิชา การอ่านและการเขียนร้อยกรองเชิง สร้างสรรค์ ๖๐๔-๒๐๕ ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์และ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จัดทำขึ้นเพื่อเรียบเรียงบท ประพันธ์ประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ซึ่งผู้ ประพันธ์ได้รวบรวมบทประพันธ์ไว้ทั้งหมด จำนวน ๑๑ เรื่อง โดยจะมีการประพันธ์ทั้งรูปแบบงานเดี่ยวและงานกลุ่มซึ่งเป็น งานประพันธ์ร่วมกัน ผู้ประพันธ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เรื่องเล่าบทประพันธ์ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากมีข้อ แนะนำหรือข้อเสนอแนะประการใด ผู้เขียนขอน้อมรับคำติชม อย่างเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ธนัญญา เจ้ยแก้ว ผู้จัดทำ

๑ ทะเลความรู้สึก ( กาพย์ยานี๑๑ ) ทะเล สถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจสำหรับ ใครหลายๆคน ไม่ว่าจะมีความสุขหรือเศร้า ทะเลจะ สามารถเยียวยาทุกอย่างได้ การที่เราได้มอง บรรยากาศต่างๆจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและลืม เรื่องราวเลวร้ายต่างๆที่เราได้พบเจอมา และยังเป็น ภาพประทับใจอีกด้วย

๒ ทะเลความรู้สึก (กาพย์ยานี๑๑) มองคลื่นยืนริมหาด คลื่นซัดสาดพาใจเหงา เมื่อเรามีเรื่องเศร้า ช่วยบรรเทาให้สุขใจ ทะเลช่วยเยียวยา ให้เวลาผ่านพ้นไป เป็นภาพที่สดใส ชื่นฤทัยสุดบรรยาย

๓ ฉันชอบฉันรัก (กาพย์ยานี๑๑) ฉันชอบอ่านนิยาย ฉันชอบสายในวันเรียน ฉันชอบการอ่านเขียน ฉันชอบเพียรพยายาม ฉันรักป่าชุ่มชื้น ฉันรักคลื่นที่คำราม ฉันรักแก้วจานชาม ฉันรักล่ามแปลภาษา ผู้ประพันธ์ อีมาน เปาะซา อัฟนาน มะลี นัจวา แซะอาหลำ ธนัญญา เจ้ยแก้ว

๔ ฉันเกลียดฉันกลัว (กาพย์ฉบัง๑๖) ฉันเกลียดบ่ายที่ฟ้าครึ้ม เป็นเหมือนคนทึ่ม เมื่อยามที่ฉันตื่นนอน เรื่องสิบปีก่อน ฉันกลัวตอนยายเล่าย้อน เมื่อตอนที่ยายเจอผี ผู้ประพันธ์ อีมาน เปาะซา อัฟนาน มะลี นัจวา แซะอาหลำ ธนัญญา เจ้ยแก้ว

๕ วันนี้วันหน้า (กาพย์สุรางคนางค์๒๘) เข้าสวนทั้งที วันนี้วันดี ทั้งปลูกทุเรียน เราช่วยกันทำ ทุกคนนั่งขำ และเวียนรดน้ำ อย่างสบายใจ ทุกคนเข้าสวน ทุเรียนหมอนทอง วันหน้าเราชวน จะเอาฝากใคร ทั้งเก็บลำใย ชะนีลูกใหญ่ ต่างก็ชื่นชอบ ผู้ประพันธ์ อีมาน เปาะซา อัฟนาน มะลี นัจวา แซะอาหลำ ธนัญญา เจ้ยแก้ว

๖ นาโปแก (กลอนคละ) ลอมข้าวลอมใหญ่ มาใส่ในลาน ทุกคนทำงาน สำราญอุรา ลอมให้สูงใหญ่เป็นกอง เก็บเกี่ยวรวงข้าววางไว้ ชวนมองเป็นกองใหญ่โต มองดูรวงข้าวสีทอง นั่นแลกุญแจสำคัญ สืบสานสัมพันธ์ความเป็นไทย พูดถึงที่นี่นาโปแก ทุกคนที่มาล้วนรู้กัน

๗ นาโปแก (กลอนคละ) ประเพณีของไทยแต่โบราณ มีมานานสืบสานสู่รุ่นลูก ข้าวสีทองที่เรานำมาปลูก นำมาผูกมาลอมให้ดูกัน การเกี่ยวข้าวและลอมข้าวของคนไทย สืบต่อไปให้อยู่นานไม่เสียหาย ฤดูกาลเกี่ยวข้าวนั้นอาจเหนื่อยกาย แต่สบายไม่อดตายในทุกวัน

๘ โควิด 19 (ดอกสร้อยสักวา) สักวาว่าด้วยเรื่องโควิด เราอาจติดหากเราไม่ระวัง โควิดนี้รุนแรงน่ากลัวจัง ร่างกายพังป้องกันอย่าให้มี ต้องใส่แมสล้างมือให้บ่อยครั้ง อย่าพลาดพลั้งเว้นที่ให้พอดี บางพื้นที่จะมีจุดตามสี ทำตามที่วางไว้อย่าลืมเอย

๙ พ่อของเรา (โคลงสี่สุภาพ) พระราชาที่สามารถอยู่ได้อย่างสบาย สามารถ สั่งให้คนทำหน้าที่ต่างๆแทนพระองค์ได้ กลับไม่ ยอมสั่งผู้อื่น แต่เลือกที่จะลงมือทำด้วยพระองค์เอง พ่อยอมทำงานหนัก ยอมเหงื่อไหล เพื่อประชาชน ชาวไทยทุกคน เพราะพ่อทรงห่วงใยประชาชนของ ท่านและอยากให้ทุกคนมีความสุข

๑๐ พ่อของเรา (โคลงสี่สุภาพ) ทรงงานหนักเยี่ยงนี้ ทำไม พ่อเอย แลเหงื่อหยดรินไหล ทั่วหล้า ทรงงานเพื่อชาวไทย ทุกถิ่น ทรงห่วงใยแรงกล้า ทั่วหน้ามีสุข

๑๑ อีกากับเหยือกน้ำ (ร่ายโบราณ นิทานอีสป) ณ ป่าแห่งหนึ่ง ในฤดูร้อนที่มีอากาศร้อน อบอ้าว ทำให้แม่น้ำ ลำธารแห้ง ในขณะเดียวกัน ก็มีกาตัวหนึ่งบินหาน้ำดื่มด้วยความหิวกระหาย แต่หาเท่าไรก็หาไม่เจอ จนมันเริ่มเหนื่อยและ หมดแรงลงเรื่อย ๆ

๑๒ อีกากับเหยือกน้ำ (ร่ายโบราณ นิทานอีสป) ทันใดนั้นเองสายตาของเจ้ากาก็เหลือบไป เห็นเหยือกน้ำขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งอยู่ที่หน้า บ้านของชาวนา มันจึงรีบบินไปดูด้วยความดีใจ แล้วค่อย ๆ ใช้ตาข้างหนึ่งส่องลงไปดูผ่านปาก เหยือก แต่ทว่ามีน้ำเหลือเพียงก้นเหยือกเท่านั้น ทำให้เจ้ากาไม่สามารถเอาจะใช้ปากของมันลง ไปกินน้ำได้ ในระหว่างที่เจ้ากากำลังคิดหาวิธีที่ จะกินน้ำในเหยือกอยู่นั้น สายตาของมันก็หันไป เห็นก้อนหินเล็ก ๆ ที่อยู่ตามพื้น จึงทำให้เจ้ากา คิดแผนการดี ๆ ขึ้นมาได้ จากนั้นมันจึงเริ่มใช้ ปากคาบก้อนหินเล็ก ๆ มาใส่ลงไปในเหยือกน้ำ อย่างใจเย็น ยิ่งเจ้ากาใส่หินมากเท่าไรน้ำใน เหยือกก็ค่อย ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดระดับ น้ำก็สูงขึ้นมาถึงปากเหยือก ทำให้เจ้ากาสามารถ ใช้จะใช้ปากดื่มน้ำได้อย่างง่ายดาย นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า ความพยายามอ​ ยู่​ ที่ไหน ความสำเร็จอ​ ยู่ท​ี่นั้น

๑๓ อีกากับเหยือกน้ำ (ร่ายโบราณ นิทานอีสป) กาลครั้งหนึ่งมี อีกาบินหาน้ำ สุดช้ำแสนกระหาย ตาลาย เพราะหิวโหย โอดโรยและหมดแรง เมื่อแสงใกล้จะหมด เริ่ม ลดไปช้าช้า ดูหน้าของอีกา สายตาเหลือบไปเห็น นั่นเป็น เหยือกน้ำใหญ่ คงใส่น้ำไว้มาก จากนั้นรีบบินไป ด้วยความ ไวทันที มองดูให้ดีดี มีน้ำแค่ก้นเหยือก มันเลือกกินไม่ได้ จึง ได้หาวิธี ให้อีกาได้กิน จึงบินไปคาบหิน อยู่บนดินด้านหน้า ไม่ช้าหรือรีรอ พอคาบใส่ลงไป น้ำข้างในเริ่มมาก จากก้น จนถึงปาก ไม่ลำบากเกินใจ จนทำให้ได้กินก จากก้นจนถึง ปาก ไม่ลำบากเกินใจ จนทำให้ได้กิน ผู้ประพันธ์ ธนัญญา เจ้ยแก้ว นัจวา แซะอาหลำ

๑๔ การเรียนการสอน รูปแบบออนไลน์ (โคลงกระทู็) การเรียน ในที่นี้ ทำให้ การสอน ที่ดีไว้ ถิ่นนี้ รูปแบบ ที่แปลกใหม่ สืบต่อ ออนไลน์ รูปแบบนี้ ส่งให้ความรู้

๑๕ นามนี้ ธนัญญา (อินทรวิเชียรฉันท์๑๑) ฉันชื่อธนัญญา นามมีค่าและเพราะดี นิสัยฉันนั้นมี จริงใจดีกับทุกคน บางครั้งอาจเหลวไหล แต่ไม่ให้ตัวอับจน มีค่าความเป็นคน เพราะตัวตนของตัวเอง

๑๖ ไดอารี่เล่มน้อย (กลอนเปล่าวรรณรูป)

๑๗ ไดอารี่เล่มน้อย (กลอนเปล่าวรรณรูป) ไดอารี่เล่มน้อย อ่านแล้วคล้อยตามเนื้อหา บันทึกความเป็นมา เผื่อวันหน้ามาอ่านใหม่

การอ่านและการเขียน ร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ ประวัติผู้แต่ง นางสาวธนัญญา เจ้ยแก้ว ๔๔๓ หมู่ ๔ ตำบลฝาละมี อำเภอ ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง การศึกษา กำลังศึกษาอยู่ สาขาภาษาไทย ชั้นปีที่ ๓ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

เล่าเรื่อง บทประพันธ์ ผศ.พิชญา สุวรรณโน อาจารย์ผู้สอน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook