Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC

Published by Guset User, 2022-03-21 01:30:39

Description: โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC

Search

Read the Text Version

โครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เลขที่ 1 หมู่ 4 ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80280

1.ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC 2.หลักการและเหตุผล การที่จะจัดการศึกษาได้ตามแนวนโยบายของรัฐบาลนั้น ครูต้องมีความรู้ ความสามารถอย่างเพียง พอในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาประเทศในยุคประเทศไทย 4.0 ครูจะ ต้องสามารถสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (Analytic thinking) การคิดอย่างมี วิจารณญาณ (Critical thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) การคิดผลิตภาพ (Productive thinking) และต้องมีความคิดรับผิดชอบ (Responsibility thinking) ในงานที่ทำในผล งานที่ผลิตขึ้น โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) เป็นทักษะสำคัญในยุคดิจิทัล การให้ผู้เรียน ได้เริ่มเรียนรู้ภาษา คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษานั้น ถือได้ว่าเป็นที่เรื่องดี เพราะช่วยทำให้ผู้เรียนก้าวทันโลก ปัจจุบันได้มีการผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) กลายเป็นภาษาที่ 3 เป็นวิชา ใหม่ที่ผู้เรียนทุกคนจะได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน และเป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็น ผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแตกปัญหาออกเป็นส่วนๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธี แก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละขั้นตอน อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนการเขียนโค้ดจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน เมื่อฝึกฝนไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะทำให้เข้าใจหลักการและจับประเด็นได้ดีขึ้น ดังนั้น กระทรวง ศึกษาธิการ จึงได้กำหนดเป็นนโยบาย ภายใต้หัวข้อ “การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21” วิชา Coding ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) การเรียนวิชา Coding ผู้เรียนจะได้ เรียนทั้งผู้เขียน ผู้พัฒนา พร้อมทั้งได้ฝึกหัดคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น เกิดทักษะการแก้ปัญหา ทักษะ การวางแผนอย่างเป็นระบบ ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล และทักษะการเขียนโค้ดอีกด้วย นอกจากนั้น การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรม การเขียน โปรแกรม (ภาษาคอมพิวเตอร์) คณิตศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะมีการส่งเสริมการ เรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้ สามารถดำเนินชีวิตอยู่บนโลกยุคดิจิทัล และรองรับความต้องการของผู้คนในยุคดิจิทัล รองรับตลาด แรงงานที่ต้องการอาชีพด้านไอทีเพิ่มมากขึ้น และรองรับอาชีพที่เกิดขึ้นมาใหม่ อีกทั้งประโยชน์ทาง อ้อมอื่นอีก คือ “ช่วยฝึกการใช้ชีวิต” อันได้แก่ ฝึกให้เรามีความรู้ด้านเทคโนโลยี และฝึกตรรกะความ คิด (หรือ Logic) ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจการทำงานของหน้าเว็บไซต์หรือแอปฯที่เราใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพกว่าเดิม ดังนั้น การที่จะทำให้การเรียนการสอนวิชา Coding ที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีการพัฒนา ครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายของ หลักสูตรที่กำหนดไว้

3.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจวิธีการเขียนโปรแกรม (Coding) ที่ถูกต้อง และกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวทางของหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง 60 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ในเรื่องการเขียนโปรแกรม (Coding) และการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามเป้าหมายของหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง 60 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตระหนักและเห็นความสำคัญของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกระบวนการ ออกแบบเชิงวิศวกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางาน 4.หลักสูตรหรือหัวข้อการฝึกอบรม กิจกรรมจะใช้กระบวนการ PLC ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้โดยตรงผ่าน กิจกรรมต่างๆ ที่สอดแทรกการเรียนรู้เนื้อหา โดยจะเริ่มจากการฝึกแนวคิดผ่านการเขียนโปรแกรม หลังจากนั้นจึงจะเชื่อมโยงไปยังการพิมพ์โค้ด ซึ่ง task จะเริ่มจากระดับพื้นฐานและค่อยๆ เพิ่มระดับ ให้ซับซ้อนและยากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำไปสู่ตอนสุดท้าย เมื่อสิ้นสุดแต่ละ task ทีมวิทยากรและผู้เข้าร่วม กิจกรรมร่วมกันถอดข้อเรียนรู้ และสรุปสิ่งที่ได้ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจและสามารถนำ ไปปรับใช้ในชั้นเรียนเพื่อจัดการเรียนรู้ให้เกิดแก่นักเรียนได้อย่างแท้จริง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนาตนเองต่อไป หัวข้อในการอบรมที่เกิดขึ้นใน 1 วัน จะครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้ 1.แนวคิดและทฤษฎีของ Coding การจัดการเรียนรู้แบบ Coding และการใช้งานโปรแกรม scratch 2.การจัดสาระการพัฒนาหลักสูตร (เสริมพิกัด และการเขียโปรแกรมโดยใช้คำสั่งเกี่ยวกับการ เคลื่อนที่) 1) ด้านความรู้ - ความเป็นมาและความสำคัญของ Coding - องค์ประกอบแนวคิดและทฤษฎีของ Coding 3.การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำโดยใช้บล็อกคำสั่ง pen และ stamp และ repeat 4.การจัดสาระการพัฒนาหลักสูตร (การเขียนโปรแกรมแบบเงื่อนไข ) 2) ด้านทักษะ - ทักษะการเขียนโค้ด - ทักษะการออกแบบสื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ Coding 5.การจัดสาระการพัฒนาหลักสูตร (การเขียนโปรแกรมโดยใช้ตัวแปร และการเขียน โปรแกรมเกมเบื้องต้น) - ทักษะการเขียนโค้ด - ทักษะการออกแบบสื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ Coding

3) ด้านคุณลักษณะความเป็นครู - ความสามารถในการถ่ายทอดผลงานการออกแบบและสร้างสื่อ/นวัตกรรมตาม กระบวนการ Coding ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง - ความสามารถในการนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างเหมาะ สมกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียน 6. PLC โดยการจัดการเรียนรู้แบบ CODING 5.คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 5.1 ผู้เข้ารับการอบรมต้องใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารได้ เช่น อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล และโต้ตอบทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ 5.2 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ 5.3 นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 6.สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ ไฟล์เอกสารประกอบการอบรม (.pdf) 7.ระยะเวลาในการฝึกอบรม ใช้เวลาในการอบรม 1 วัน วันเสาร์ ที่ 9 เดือน เมษายน พ.ศ.2565 ตั้งแต่ เวลา 08.00 - 16.30 น. 8.สถานที่ในการฝึกอบรม อบรม On-line ผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM Meetings

9.วิทยากรในการฝึกอบรม นายฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ -โรงเรียนบ้านหัวคลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 -สถานที่ติดต่อ โรงเรียนบ้านหัวคลอง หมู่ที่6 ตำบล เจ๊ะเห อำเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96110 -โทรศัพท์มือถือ 083-0750031 -E-mail : [email protected] นางสาวอชิรญา ชนะสงคราม ครูผู้เชี่ยวชาญด้าน Coding -โรงเรียนวัดแหลมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 - E-mail : [email protected] - Gmail : [email protected]

10.รูปแบบการฝึกอบรม 1.ศึกษารายละเอียดโครงการ และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ 2.ผู้เข้าอบรมเข้าร่วมกิจกรรมตามกําหนดการที่ผู้จัดการฝึกอบรมกำหนดรายละ เอียด ดังนี้ 2.1 ผู้เข้าอบรมเข้าร่วมการอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ระบบ zoom 2.2 ผู้เข้าอบรมลงชื่อการเข้าร่วมการฝึกอบรมผ่าน Google form 2.3 กิจกรรมฝึกอบรม ระยะเวลา 8 ชั่วโมง 30 นาที 2.4 ผู้เข้าอบรมทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังการอบรมผ่านช่องทาง Google form 2.5 ผู้ที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์กำหนด สามารถดาวน์โหลดประกาศนียบัตร จากเว็บไซต์ที่ ผู้ดูแลโครงการจัดไว้ 11.เทคนิคการฝึกอบรม - เลือกกิจกรรมที่สรุปสาระสำคัญได้แง่คิด สอดคล้องกับหลักสูตรและเนื้อหา เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจทักษะและทัศนคติให้แก่ผู้อบรม - เน้นให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงาน หรือเน้นในการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน ลงมือปฏิบัติจริงหลักจากได้รับความรู้จากวิทยากร จะใช้เวลาปฏิบัติมากกว่าการ บรรยาย 12.ระยะเวลาของหัวข้อวิชา

13.การรับรองผลการอบรม เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมแล้วผู้ฝึกอบรมจะได้รับเกียรติบัตรเพื่อยืนยันว่าท่านได้ผ่านการฝึก อบรมการจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC - ในกรณีที่เข้าร่วมได้ไม่ถึง 80% ของจำนวนชั่วโมงทั้งหมด ท่านจะไม่ได้รับใบประกาศนียบัตร ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น 14.ประโยชน์ที่ได้รับ 14.1 ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทุกท่านได้พัฒนาศักยภาพทางด้านความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ ต่างๆการเขียนโปรแกรมข และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวคิดเชิงคํานวณอย่างมี ประสิทธิภาพและเต็มศักยภาพ 14.2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน Coding ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 14.3 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจและทักษะการสอน Coding ให้แก่ผู้อื่นได้ 15.การประเมินผลและการติดตามผล การประเมินผลโครงการ - ทำการประเมินผลโครงการโดยประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 16.ประมาณค่าใช้จ่าย

17. ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ดูแลโครงการ นางสาวกนกวรรณ วัตถุ นางสาววณิชชา สอนหนู นางสาวกัญญารัตน์ ช่วยสงค์ นางสาวชนิกานต์ หนูเกลี้ยง นางสาวเกศวดี วงศ์หัส นางสาวชฎาพร ฝอยทอง สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประธานโครงการ : นางสาวชนิกานต์ หนูเกลี้ยง (086-2714778) ฟิวส์ ฝ่ายประสานงานโครงการ : นางสาวกัญญารัตน์ ช่วยสงค์ (065-5654827) เมย์ E-mail : [email protected] ฝ่ายทะเบียน : นางสาวกนกวรรณ วัตถุ (063-0373197) พิมพ์ ฝ่ายการเงิน : นางสาวเกศวดี วงศ์หัส (098-3983873) ดี้ ฝ่ายสถานที่ : นางสาววณิชชา สอนหนู (092-8135263) เปิ้ล นางสาวชฎาพร ฝอยทอง (098-0782030) น้ำฝน 18.การเขียนร่างกำหนดการฝึกอบรม

เวลา กำหนดการโครงการ 08.30-09.00 น. การจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC 09.00-09.20 น. วันเสาร์ ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ.2565 ตั้งแต่ เวลา 08.00 - 16.30 น. 09.20-09.30 น. 09.30-10.30 น. กิจกรรม 10.30-11.00 น. ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ พิธีเปิดโครงการ การจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดยใช้กระบวนการ PLC 11.00-12.00 น. 12.00-13.00 น. โดย ผศ.ดร.นพรัตน์ ชัยเรือง คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 13.00-13.30 น. ชี้แจงเรื่องการจัดฝึกอบรมสัมมนา ในรายวิชาวิชาสัมมนาและฝึกอบรมเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ 13.30-14.30 น. โดย อาจารย์อนุวัฒน์ จันทสะ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา กิจกรรม: แนวคิดและทฤษฎีของ Coding การจัดการเรียนรู้แบบ Coding และการใช้งานโปรแกรม scratch 14.30-16.20 น. 16.20-16.30 น. โดย คุณครูฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวคลองและ 16.30 น. คุณครูอชิรญา ชนะสงคราม โรงเรียนวัดแหลม กิจกรรม: การจัดสาระการพัฒนาหลักสูตร (เสริมพิกัด และการเขียโปรแกรมโดยใช้คำสั่งเกี่ยวกับการเคลื่อนที่) 1) ด้านความรู้ - ความเป็นมาและความสำคัญของ Coding - องค์ประกอบแนวคิดและทฤษฎีของ Coding โดย คุณครูฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวคลอง และ คุณครูอชิรญา ชนะสงคราม โรงเรียนวัดแหลม การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำโดยใช้บล็อกคำสั่ง pen และ stamp และ repeat โดย คุณครูฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวคลอง และ คุณครูอชิรญา ชนะสงคราม โรงเรียนวัดแหลม พักรับประทานอาหารกลางวัน กิจกรรม: การจัดสาระการพัฒนาหลักสูตร (การเขียนโปรแกรมแบบเงื่อนไข ) 2) ด้านทักษะ - ทักษะการเขียนโค้ด - ทักษะการออกแบบสื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ Coding โดย คุณครูฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวคลอง และ คุณครูอชิรญา ชนะสงคราม โรงเรียนวัดแหลม กิจกรรม: การจัดสาระการพัฒนาหลักสูตร (การเขียนโปรแกรมโดยใช้ ตัวแปร และการเขียนโปรแกรมเกมเบื้องต้น) - ทักษะการเขียนโค้ด - ทักษะการออกแบบสื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ Coding โดย คุณครูฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวคลอง และ คุณครูอชิรญา ชนะสงคราม โรงเรียนวัดแหลม กิจกรรม: PLC โดยการจัดการเรียนรู้แบบ CODING โดย คุณครูฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวคลอง และ คุณครูอชิรญา ชนะสงคราม โรงเรียนวัดแหลม ปิดพิธีการฝึกอบรม โดย อาจารย์เศณวี ฤกษ์มงคล ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ทำการประเมินผลโครงการโดยประเมินความพึงพอใจของผู้ เข้ารับการฝึกอบรม **หมายเหตุ** กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง รับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30 - 10.35 น. และ 14.25 – 14.30 น.

โปรแกรมที่ใช้ในการฝึกอบรม โปรแกรม Scratch โปรแกรม Scratch อ่านว่า (สะ-แครช) เป็นโปรแกรมภาษา ที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้ อย่างง่าย เช่น นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ภาพเคลื่อนไหว เกม ดนตรี และศิลปะและเมื่อ สร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้วสามารถนำชิ้นงานที่สร้างสรรค์นี้แสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วม กับผู้อื่นบน เว็บไซต์ได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักการและแนวคิดการโปรแกรมไปพร้อมๆ กับการ คิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล เป็นระบบและเกิดการทำงานร่วมกัน

4. การดำเนินงานสำหรับระยะเวลาก่อนการฝึกอบรม 4.1 การคัดเลือกวิทยากรเชิญวิทยากร 1) พิจารณากำหนดตัววิทยากรซึ่งจะเชิญเป็นวิทยากรในแต่ละหัวข้อโดยพิจารณาจากความรู้ ทางวิชาการประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในหัวข้อที่จะอบรม 2) ติดต่อวิทยากรเป็นการภายใน โดยแจ้งให้วิทยากรทราบถึงวัตถุประสงค์การฝึกอบรม หัวข้อ ที่จะขอเชิญเป็นวิทยากร เทคนิคการฝึกอบรม กำหนดการและระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม 3) เมื่อวิทยากรตกลงรับเชิญแล้ว จึงส่งหนังสือเชิญวิทยากร พร้อมทั้งแนบเอกสารที่วิทยากร ควรทราบ ได้แก่ รายละเอียดของโครงการฝึกอบรม กำหนดการฝึกอบรม รายละเอียดหัวข้อวิชา เป็นต้น 4) ประสานงานกับวิทยากรเพื่อขอข้อมูลและรายละเอียดที่จะใช้ในการฝึกอบรม • เอกสารประกอบการฝึกอบรม • ประวัติของวิทยากร โดยอาจขอรับประวัติวิทยากรซึ่งบางรายอาจมีอยู่แล้ว หรือนำ แบบฟอร์มไปให้กรอก ซึ่งโดยทั่วไปแบบประวัติวิทยากรจะประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้ -ชื่อ-ชื่อสกุล -ตำแหน่งหน้าที่อยู่ปัจจุบัน -สถานที่ทำงาน หรือที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ หมายเลขโทรศัพท์ -ประวัติการศึกษา -ประวัติการอบรมและดูงาน -ประสบการณ์การทำงาน -ผลงานทางวิชาการ -ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ -ความสามารถพิเศษหรืองานอดิเรก • สอบถามเกี่ยวกับเทคนิคฝึกอบรม สื่อประกอบการอบรม การจัดสถานที่และโสต ทัศนูปกรณ์ ที่จะใช้ • สอบถามเกี่ยวกับการเดินทางไปสถานที่ฝึกอบรมและความต้องการบริการรับ-ส่ง

4.2 การใช้สถานที่ฝึกอบรม การเลือกใช้สถานที่อบรม on line (1) เลือกใช้ แอปพลิเคชัน ZOOM Meetings • แอปพลิเคชัน ZOOM Meetings สามารถบรรจุผู้เข้าอบรมได้ถึง 1,000 คน และเหมาะสม กับเทคนิควิธีการฝึกอบรม หรือกิจกรรมในการฝึกอบรม • รองรบการประชมรวมกนจากทกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าผู้ร่วมประชุมจะใช้ PC, Mac, IOS, Android (หรืออุปกรณ์ Zoom Presence) ก็สามารถประชุมด้วยกันได้หมด (2) การจองใช้สถานที่ • ผู้รับผิดชอบดำเนินการขอจองใช้ แอปพลิเคชัน ZOOM Meetings ล่วงหน้าก่อนการฝึก อบรมอย่างน้อย 1 เดือน 4.3 การวางแผนสำหรับพิธี – ปิดการฝึกอบรม 4.3.1 การเชิญประธานในพิธีเปิด การเชิญประธารในพิธีประกอบไปด้วย 1. ติดต่อกับหัวหน้าหลักสูตร อาจารย์ เศณวี ฤกษ์มงคล เพื่อนัดหมายวัน- เวลา พิธีเปิดการฝึก อบรม 2. ทำหนังสือเชิญประธาน โดยแนบรายละเอียดโครงการฝึกอบรม กำหนด ฝึกอบรม และร่างคำ กล่าวรายงาน และร่างคำกล่าวเปิดการฝึกอบรม ควรส่งอย่างน้อย 1 สัปดาห์ 3. ประสานงานกับคณบดีคณะครุศาสตร์เพื่อยืนยันและนัดหมายการเดินทางล่วงหน้า ก่อนวันเปิด การฝึกอบรม - ประมาณ 1-3 วัน 4. ต้อนรับและส่งประธานในวันเปิดการอบรม 4.3.2 การเชิญผู้กล่าวรายงานในพิธีเปิด - ปิดการฝึกอบรม การเชิญผู้กล่าวรายงานในพิธีเปิด - ปิดประกอบไปด้วย 1. ติดต่อกับผู้กล่าวรายงานเพื่อขอนัดหมายวัน - เวลา พิธีเปิดการฝึกอบรม 2. ทำหนังสือเชิญประธาน โดยแนบรายละเอียดโครงการฝึกอบรม กำหนด การฝึกอบรม และ ร่างคำกล่าวรายงานและร่างคำกล่าวเปิดการฝึกอบรม( ล่วงหน้าอย่างน้อย 5วัน ) 3. ประสานงานกับผู้กล่าวรายงานเพื่อยืนยันและนัดหมายการเดินทางล่วงหน้าก่อนวันเปิด อบรมประมาน 1- 3วัน 4. ต้อนรับและส่งประธานในวันเปิดฝึกอบรม

4.3.3 การจัดเตรียมร่างคำกล่าวรายงานและคำกล่าวของประธานในพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม ก ประเด็นสำคัญที่มีในคำกล่าวรายงานในพิธีเปิดการฝึกอบรม -คำขึ้นต้น -ขอบคุณประธานที่มาเป็นเกียรติ -ความเป็นมา และ เหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดการฝึกอบรม -วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรม -องค์ประกอบของหลักสูตร หมวดวิชาและระยะเวลาของหลักสูตร -เทคนิคการฝึกอบรมที่ใช้ -วัน เวลาและสถานที่ฝึกอบรม -คุณสมบัติและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เข้าอบรม -วิทยากรและผู้ให้ความร่วมมือในการจัดโครงการอบรม -ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรม -เรียนเชิญประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมและให้โอวาท ข ประเด็นสำคัญที่มีร่างคำกล่าวเปิดการฝึกอบรม -คำขึ้นต้นให้ระบุชื่อตำแหน่งของผู้กล่าวรายงาน ตำแหน่งของแขกผู้มีเกียติที่มาร่วมพิธี และ ผู้เข้าอบรมครั้งนี้ -แสดงความรู้สึกยินดีแลความรู้สึกเป็นเกียนติที่ได้มาทำพิธีเปิดการฝึกอบรม -แสดงความชื่นชมในจุดเด่นของโครงการฝึกอบรม -เน้นความสำคัญของการฝึกอบรม -ให้โอวาทและกำลังใจ -ชี้แนะประโยชน์ที่ผู้เข้าแรมควรได้รับ -ขอบคุณวิทยากร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบโครงการ -กล่าวเปิดการฝึกอบรม และอวยพรให้การฝึกอบรมประสบความสำเร็จ ค ประเด็นสำคัญที่ควรมีในร่างคำกล่าวรายงานในพิธีปิดการฝึกอบรม -คำขึ้นต้น เช่น กราบเรียน ต่อด้วยตำแหน่งบริหารขิงประธานในพิธี -ขอบคุณประธานที่ให้เกียรติ -รายงานผลการฝึกอบรม -ความร่วมมือของวิทยากร ผู้เข้าอบรม ผู้ดำเนินการฝ่ายต่างๆ -ปัญหาและอุปสรรคระหว่างฝึกอบรม -สรุปผลและข้อคิดเห็นในการฝึกอบรม -เรียนเชิญประธานมอบวุฒิบัตร / เกียรติบัตร และคำกล่าวปิดการฝึกอบรม

4.3.3 การจัดเตรียมร่างคำ กล่าวรายงานและคำ กล่าวของประธานในพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม (ต่อ) ง. ประเด็นสำคัญที่ควรมีในร่างคํากล่าวปิดการฝึกอบรม - คําขึ้นต้น ให้ระบุชื่อตำแหน่งของผู้กล่าวรายงาน ตำแหน่งของแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธีและผู้ เข้าอบรมครั้งนี้ - ขอบคุณผู้ดำเนินการฝึกอบรมและผู้ให้ความร่วมมือ - แสดงความยินดีกับผลสำเร็จของการฝึกอบรมและผู้ผ่านการฝึกอบรม - ให้แนวทางแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อนําไปปฏิบัติ - อวยพรความก้าวหน้าในการทำงาน - กล่าวปิดการฝึกอบรม 4.3.4 การคัดเลือกผู้เข้าอบรม 1. คณะผู้บริหาร ครูผู้สอนคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีการศึกษา บุคลากรทางการศึกษา 2. นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไปที่สนใจจะพัฒนาทักษะด้าน ICT เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการ สอนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4.3.5 การประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรม ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งให้หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ได้ทราบข้อมูล และ รายละเอียดที่สำคัญของโครงการฝึกอบรม หรือประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง online สื่อช่องทาง ต่างๆ โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงผู้คนได้มากที่สุด โดยมีแจ้งข้อมูลการเปิดรับสมัครผู้เข้าอบรม ไปยังหน่วยงาน ด้านประชาสัมพันธ์เพื่อให้เผยแพร่ข่าวให้ทั่วถึงทั้งองค์กรหรืออาจพยายามเผยแพร่ข่าว การเปิดรับสมัครเข้าอบรม ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในองค์กร เช่น ปิดประกาศตามบอร์ด ประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ทาง Internet เป็นต้น 4.3.6 การสร้างเกณฑ์และเครื่องมือประเมินผลการฝึกอบรม เกณฑ์และเครื่องมือสำหรับประเมินผลการฝึกอบรมควรจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ ฝึกอบรมดังนี้ 1. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวม ก่อน เข้ารับฟัง การบรรยาย 2. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวม หลัง เข้ารับฟังการบรรยาย 3. ผู้เข้าอบรมมีเข้าความเข้าใจต่อเนื้อหาในหัวข้อที่บรรยายมากน้อยเพียงใด 4. ผู้เข้าอบรมคิดว่าการบรรยายครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของท่านมากน้อยเพียงใด

4.3.7 การจัดเตรียมแฟ้มเอกสารประกอบการอบรม 4.3.7.1) รายละเอียดโครงการฝึกอบรม และกําหนดการฝึกอบรม รูปแบบ Online 1. ผู้สนใจศึกษารายละเอียดโครงการ และลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ 2. ผู้จัดการฝ่ายฝึกการอบรมตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร 3. ผู้จัดการฝ่ายฝึกการอบรมประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรม 4. ผู้เข้าอบรมเข้าร่วมกิจกรรมตามกําหนดการที่ผู้จัดการฝกอบรมกำหนดรายละเอียด ดังนี้ 4.1 ผู้เข้าอบรมเข้าร่วมการอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ระบบ Google meet 4.2 ผู้เข้าอบรมลงชื่อการเข้าร่วมการฝึกอบรมผ่าน Google form 4.3 กิจกรรมฝึกอบรม ระยะเวลา 18 ชั่วโมง จำนวน 2 วัน 4.4 ผู้เข้าอบรมทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังการอบรมผ่านช่องทาง Google form 4.5 ผู้ที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์กำหนด สามารถดาวน์โหลดประกาศนียบัตรจาก เว็บไซต์ที่ ผู้ดูแลโครงการจัดไว้ 4.3.7.2) เอกสารประกอบการฝึกอบรม 4.3.7.3) รายชื่อผู้เข้าฝึกอบรมและที่อยู่ที่สามารถติดต่อไป 4.3.7.4) กระดาษจดบันทึก และอุปกรณ์เครื่องเขียน 4.3.7 การจัดเตรียมแฟ้มเอกสารประกอบการอบรม (ต่อ) 4.3.7.5) ประวัติวิทยากร

4.3.7.5) ประวัติวิทยากร นายฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ -โรงเรียนบ้านหัวคลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 -สถานที่ติดต่อ โรงเรียนบ้านหัวคลอง หมู่ที่6 ตำบล เจ๊ะเห อำเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96110 -โทรศัพท์มือถือ 083-0750031 -E-mail : [email protected] ประวัติการศึกษา สาขาวิชา สถาบัน ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ.2560 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (กศ.ด.) กำลังศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ.2556 พ.ศ.2554 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ศษ.ม.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2552 การจัดการสารสนเทศ (วท.บ.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รัฐศาสตร์ (ศศ.บ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

4.3.7.5) ประวัติวิทยากร (ต่อ) การเป็นวิทยากร -การพัฒนาระบบแนะแนวโลกของงานอาชีพนักเรียนไทยในยุค THAILAND 4.0 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 2560 -การทำประชาพิจารณ์หลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สสวท. 2560 -การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) ครูผู้สอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนใน โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สสวท. -วิทยากร การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ และโค้ดดิ้ง ระดับประถมศึกษาตอนต้น สสวท. -วิทยากรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ และโค้ดดิ้งตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น ฐาน สสวท. -การทำประชาพิจารณ์หลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สสวท. -การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) ครูผู้สอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนใน โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สสวท. -คณะทำงานจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา สพฐ. คำสั่งที่ 214/2562 -คณะทำงานจัดทำหน่วยการเรียนรู้ต้นแบบที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา (บรรณาธิการกิจ) สพฐ. -พัฒนาหนังสือเรียนและคู่มือครูวิชาวิทยาการคำนวณ สสวท. -คณะกรรมการพิจารณาผลงานครูต้นแบบทักษะชีวิต และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเขต พื้นที่การศึกษา สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 -การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 -วิทยากร การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 -วิทยากร “การรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ -การพัฒนา Portfolio โครงการห้องเรียนพิเศษมุ่งสู่แม่พิมพ์ โรงเรียนโยธินบำรุง โรงเรียนโยธิน บำรุง

4.3.7.5) ประวัติวิทยากร นางสาวอชิรญา ชนะสงคราม ครูผู้เชี่ยวชาญด้าน Coding -โรงเรียนวัดแหลมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 - E-mail : [email protected] - Gmail : [email protected] ประวัติการศึกษา สถาบัน สาขาวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์

การเป็นวิทยากร - วิทยากร การอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 26-27 กรกฎาคม 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรมราช เขต 1 - วิทยากร การอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 8 สิงหาคม 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรมราช เขต 3 - วิทยากร การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณและโค้ดดิ้ง 19-21 กันยายน 2562 ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ แอน คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน - อบรมเพิ่มพูนศักยภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับวิทยากรแกนนำ Coding Core Trainer (CCT) 15-19 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมรอเยลเบญจา กรุงเทพมหานคร สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน - วิทยากร การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) ครูผู้สอน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 27-29 พฤศจิกายน 2562 โรงแรมรอเยลเบญจา กรุงเทพมหานคร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - วิทยากร การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณระดับประถมศึกษา เครือข่ายอำเภอหัวไทร 10 ธันวาคม 2562 ณ วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช - วิทยากร การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและโค้ดดิ้ง ระดับประถมศึกษาตอนต้น สสวท. ศูนย์ นครศรีธรรมราช 14-15 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค นครศรีธรรมราช - คณะจัดทำชุดอบรมครูหลักสูตรวิทยาการคำนวณ Unplugged Coding ประถมศึกษา สำนักงาน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 23-27 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ กรุงเทพมหานครสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - วิทยากร หลักสูตรอบรมออนไลน์การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูประถมศึกษาปีที่ 1- 3 Coding Online for Grade 1-3 Teacher (C4T–6) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.3.8 การเตรียมการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (1) ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย - คณะผู้บริหารครูผู้สอนคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีการศึกษาบุคลากรการศึกษาบุคลากร ทั่วไปที่สนใจจะพัฒนาทักษะด้าน ICT เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดไปสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น (2) ระยะเวลาสำหรับจัดกิจกรรม - ว่าจะมีเวลายาวนานสักเท่าใด วันที่19-20 มีนาคม 2565 เวลา 08.30น.- 14.30น. (3) สถานที่ในการจัดกิจกรรม - หน้าห้องประชุมพรหมโยธี ชั้น 4 อาคาร 19 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช 4.3.9 การจัดเตรียมการบริการอาหารว่าง/เครื่องดื่มและอาหารระหว่างการฝึกอบรม เลือกเป็น ขนม น้ำผลไม้ นม หรือกาแฟเป็นอาหารว่างในการฝึกอบรม 4.3.10 การจัดเตรียมสิ่งเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรม ได้แก่ ㆍจัดทำบัญชีลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม ㆍ จัดทำป้ายชื่อวิทยากร สำหรับตั้งโต๊ะบรรยาย ㆍจัดทำป้ายชื่อผู้เข้าอบรบ-ทั้งปัายตั้งโต๊ะและปัายติดเสื้อ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ต่าง ๆ เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกาเขียนไวท์บอร์ด