Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

Description: การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

Search

Read the Text Version

การวเิ คราะห์บทละครพูดคำฉันท์ เร่ือง มทั นะพาธา : ๔๖ วิทูร ตูขา้ เปนชาวขณั ฑะสีมามคธไซร้, (มัทนะพาธา : ๑๐๙) ชัยเสน ก่อนท่ตี ขู ้าจะจร ขา้ ขอรบั พร จากองคม์ นุ ที รงญาณ; (มทั นะพาธา : ๑๔๙) ข้อคดิ ทปี่ รากฏ ๑. ข้อคิดในการครองตน เนื่องจากนางมัทนามีรูปโฉมงดงาม เป็นที่หมายปองของชายทั่วไปในสังคม ที่ชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงถูกกดขี่ จึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงต้องมีความระมัดระวังตัวเอง มีสติปัญญาในการ เอาตัวรอด รู้ทันเลห่ เ์ หล่ยี ม จงึ จะสามารถเอาตัวรอดจากผทู้ ี่จะมาหยามเกียรตหิ รือหมนิ่ ศักด์ศิ รีได้ ๒. ความรักมีทั้งคุณและโทษ เมื่อมีความรักก็มักทำให้จิตใจสุขสดใส แช่มชื่น มีความสุข และเม่ือ ผิดหวังจากความรักก็อาจทำให้เกิดโทษ หากปล่อยให้ความรักนั้นเป็นความหลง ขาดสติพิจารณาไตร่ตรองอาจ ทำให้ตนเองและผูท้ ่ีเก่ียวข้องเดือดรอ้ นได้ ดังตอนที่พระกาละทรรศินกล่าวไว้ ดงั นี้ ความรกั เหมือนโรคา บนั ดาลตาให้มืดมน ไมย่ ินและไม่ยล อปุ ะสคั คะใดใด กำลังคึกผขิ งั ไว้ ความรักเหมอื นโคถกึ บยอมอยู่ ณ ทข่ี งั กโ็ ลดออกจากคอกไป กด็ ึงไปดว้ ยกำลงั บหวนคดิ ถงึ เจ็บกาย ถึงหากจะผกู ไว้ ยงิ่ ห้ามก็ยงิ่ คล่งั (มทั นะพาธา : ๘๕) ๓. ความรักที่แท้จริงควรเกิดจากใจที่บริสุทธ์ิ เพราะความรักไม่ใช่การครอบครอง หากใครสักคนมัว แต่ลุ่มหลงยึดติดในความรักหรือคนรัก ปรารถนาที่จะให้คนที่รักเป็นของตนเพียงผู้เดียวโดยไม่สนใจว่าคน ๆ นั้นมีความรู้สึกเช่นไร ผู้นั้นย่อมไมม่ ีความสุขจากความรัก เห็นได้จากตัวละครสุเทษณ์ที่มีความรกั ต่อนางมัทนา แต่เป็นความรักที่เห็นแก่ตัว แฝงไปด้วยความอยากครอบครอง มิได้เสียสละและเข้าใจความรักที่แท้จริง ความ รกั ทีส่ ุเทษณ์มใี หน้ างมทั นาจงึ กอ่ ใหน้ างเกดิ ความทุกข์ ๔. ความรักทำให้เกิดความทุกข์ ความรักที่ว่างดงาม คราไม่หวังดั่งใจก็ทำให้เกิดความเศร้าโศกจน ทกุ ข์ระทม เช่นสเุ ทษณเ์ กิดความทกุ ขท์ ไี่ ม่สมปรารถนาในความรู้ นางมทั นาและท้าวชยั เสนเกดิ ความทกุ ข์ทตี่ ้อง พลัดพรากจากคนที่ตนรัก พระกาละทรรศินเกิดความทุกข์เพราะเป็นห่วงนางมัทนา นางจัณฑีเกิดความทุกข์ เพราะความขนุ่ เคืองจากคนทีต่ นรัก เป็นต้น

การวิเคราะหบ์ ทละครพดู คำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : ๔๗ ๕. การครองรักกันจะต้องเกิดจากความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย หากชีวิตคู่ไม่ได้เริ่มต้นที่ความรักหรือ ความยินดีของทั้งสองฝ่ายอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง การนอกใจ เป็นต้น เห็นได้จากตัวละครท้าวชัยเสนและนางจัณฑี ที่ครองคู่กันเพราะบิดาของทั้งสองคลุมถุงชนโดยท่ี ท้าวชยั เสนไม่ได้รักนางจัณฑีเลย เหน็ ได้จากตอนท่ีท้าวชยั เสนกลา่ วกับนางจัณฑวี า่ ชัยเสน มคธราชา กับพระบดิ า สทิ ่านชอบกัน, จึ่งไดต้ กลง สององค์กลา่ วหม้ัน ตัวเธอกับฉัน ไวแ้ ต่ยังเยาว์; ใชฉ่ นั ตะกาย ไปรักโฉมฉาย เองเมอ่ื ไรเลา่ , (มัทนะพาธา : ๑๐๕) ๖. การมีบริวารท่ีขาดคุณธรรมอาจทำให้ประสบหายนะได้ บริวารในที่นี้มีอยู่จริงในสังคม ไม่ว่าจะ เป็นเพื่อนฝูงหรือคนใกล้ชิดรอบข้าง หากเราคบค้าสมาคมกับผู้ที่ขาดคุณธรรมคนเหล่านั้นก็มักนำพาชีวิตเรา ประสบความเดือดร้อน หรือแม้แต่คนเป็นผู้นำที่มีพรรคพวกเป็นคนขาดคุณธรรมก็จะนำพาความหายนะมาสู่ สังคมและประเทศชาติได้ ดังเช่น จิตระรถซึ่งเป็นคนธรรพ์ของสุเทษณ์ที่ทำทุกวิถีทางเพื่อบำรุงบำเรอให้ เจ้านายมีความสขุ ความพอใจและเอาใจผ้เู ปน็ เจ้านายโดยไมไ่ ดค้ ำนงึ ถงึ คณุ ธรรมหรอื ความถูกตอ้ ง ๗. กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมคืนสนอง การกระทำที่ชั่วช้า คิดร้าย พูดร้าย และทำร้าย มีแต่จะ สร้างความแตกแยก คนประเภทนี้ย่อมไม่มคี วามสุขเพราะความอิจฉาริษยา เมื่อทำสิ่งไม่ดีลงไปสักวันหนึ่งย่อม ได้รับผลกรรมนั้นกลับมา เช่น นางจัณฑีที่มีนิสัยโมโหร้าย หึงหวง คอยบงการผู้อื่นให้ทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ แตส่ ุดท้ายคนท่สี ูญเสียทกุ อย่างก็คอื ตวั นางเอง ๘. อย่าหูเบาเชื่อคำพูดของคนอื่น การพิจารณาตัดสินเรื่องใดควรใช้สติปัญญาประกอบกับเหตุผล เพอื่ ตดั สนิ ความ การเช่ือคำพูดของผู้อื่นง่าย ๆ โดยไมไ่ ด้ไตร่ตรองพิจารณา หรือยังไมไ่ ด้ถามไถส่ าเหตแุ ละความ จรงิ จากอีกฝา่ ย ทำให้เกดิ ความเขา้ ใจผิดและอาจสญู เสยี คนท่ตี นรกั ไปตลอดกาล

การวิเคราะหบ์ ทละครพดู คำฉันท์ เรอ่ื ง มัทนะพาธา : ๔๘ ข้อมลู ทางสังคม ค่านยิ ม และวัฒนธรรม ๑. ขอ้ มูลทางสงั คม ๑.๑ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ มีอำนาจสั่งหรือบังคับให้ผู้หญิงทำในสิ่งที่ ตนเองต้องการ ถ้าผู้หญงิ ไมย่ อมก็จะได้รับโทษ ผู้หญิงไม่สามารถสู้ได้ แสดงถึงความไมเ่ ท่าเทียมกันระหว่างเพศ ชายและเพศหญิง ดังที่สุเทษณ์ออ้ นวอนขอให้นางมัทนารับรักตน นางมัทนาไม่ยินยอม จึงสาปให้ลงจากสวรรค์ ไปเกิดเป็นต้นกหุ ลาบ ดังจะเหน็ ไดจ้ าก สุเทษณ์ บมยิ อมจะรว่ มรัก และสมคั สมรไซร้, กด็ ะนูจะยอมให้ วนดิ านวิ าศสวรรค,์ ผวิ ะนางเผอิญชอบ มรอุ น่ื ก็ขา้ พลัน จะทุรนทุรายศลั - ยะบอยากจะยินยล; เพราะฉะน้นั จะให้นาง จุติสู่ ณ แดนคน, มะทะนาประสงคต์ น จะกำเนิด ณ รปู ใด? ฯลฯ มัทนา อ้าเทพศกั ดิส์ ทิ ธ์ิซ่งึ (มัทนะพาธา : ๓๘ - ๓๙) ข้าเปนแต่เพยี งขา้ หม่อมฉนั นี่อาภพั พระจะลงพระอาญา, จง่ึ ไม่ไดร้ องศรี บมิม่งุ จะอวดด.ี และก็โชคบพงึ ม,ี วรบาทพระจอมแมน. (มัทนะพาธา : ๓๘ - ๓๙) ๑.๒ สะท้อนให้เหน็ สภาพสังคมที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ มีอำนาจและสิทธิ์ขาดในการ ปกครองบ้านเมือง ดังที่ท้าวชัยเสนสั่งให้ลงโทษนางมัทนา ศุภางค์ ปริยัมวะทา วิทูร และเกศินี แสดงให้เห็นถึง ความมอี ำนาจของกษัตริยใ์ นการปกครองบา้ นเมอื ง และมีอำนาจในการตดั สนิ ลงโทษผู้อืน่ ดังจะเหน็ ได้จาก ชยั เสน จงเอาโฉมตรู ไปพร้อมกบั ชู้ ของนางโฉมฉาย, ฆ่าเสยี ด้วยไซร้ จะไดส้ มหมาย พรอ้ มพรอ้ มกันตาย ไปคู่เคยี งกนั , ปรยิ ัมวะทา กช็ ่ัวหนักหนา ไม่ควรเลี้ยงมนั , จงขบั นางออก นอกเมืองกพู ลัน และอย่าให้มัน นั้นกลับคนื มา. ฝา่ ยนางทาสี โทษก็ควรมี จงลงอาญา,

การวเิ คราะห์บทละครพูดคำฉันท์ เร่ือง มทั นะพาธา : ๔๙ สง่ มันจำไว้ ในตรุจนกว่า จะครบเวลา รวมไดส้ ามป.ี ตาพราหมณ์หมอเฒ่า วนุ่ วายนักเลา่ ผดิ มากคราน,้ี จงตระเวนรอบ ขอบเขตธานี แลว้ ขบั ธชี พน้ เขตภารา! (มัทนะพาธา : ๑๒๐) ๒. ค่านยิ ม ๒.๑ กิจกรรมล่าสตั ว์ของกษัตริย์ ในวรรณคดี “การลา่ สัตว”์ เป็นการละเล่นนันทนาการของ พระเจ้าแผ่นดิน มักทำกิจกรรมนี้เพื่อความสนุกสนาน และอยากได้เขี้ยว หนังขน เล็บ ของสัตว์ป่ามาประดับ ปราสาทราชวัง จากเรื่องท้าวชัยเสนก็ได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและตามกวางจนหลงออกจาก ขบวนเสด็จ จนทำใหเ้ กิดเรื่องเป็นราวใหญ่โต ดังบทท่วี ่า ชัยเสน เรามวั ละเลงิ ไล่ มคิ ะงามตะบึงบ้า จนลึก ณ กลางป่า และระอดิ ระอาใจ; บดั นม้ี ิรู้วา่ คละแทบ ณ หนใด, อีกทัง้ จะเดินไป บรวิ ารบตามทัน. (มทั นะพาธา : ๕๑) ๒.๒ ผู้หญิงมีสามีเดียว เห็นได้จากฉากที่นางมัทนาวิงวอนขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์ หลังจากโดนใส่ร้ายว่าคบชู้กับศุภางค์ สุเทษณ์จึงชวนนางไปอยู่ด้วยกันบนสวรรค์แต่นางก็ปฏิเสธ และบอก เหตุผลกับสุเทษณ์ว่ามันผิดขนบเดิมที่ผู้หญิงจะคบผู้ชายสองคน สุเทษณ์จึงไม่ควรมาสนใจนางที่ผ่านการมีสามี แลว้ ดังความวา่ มัทนา เกรงจะผิดพระนติ ธิ รร- มะอันนารี เสพยก์ ะสองบุรุษะมี ฤใครจะชม? อันพระองคอ์ ะมระเศรษ- ฐะเดชอดุ ม. จ่งึ มคิ วรจะอภิรม- ยะนารทิ ราม; ฃ้าทำนลู วะจะนะตรง ดำรงณความ สัตยฺ ะธรรมะคะติงาม นะเทวะไท! (มทั นะพาธา : ๑๓๗ - ๑๓๘)

การวเิ คราะหบ์ ทละครพูดคำฉนั ท์ เรือ่ ง มัทนะพาธา : ๕๐ ๓. ขอ้ มลู ทางวัฒนธรรม ๓.๑ ความเชื่อเรื่องทำบุญมาก ๆ จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ จากที่ในเรื่องสุเทษณ์อยากรู้ว่า ทำไมนางมัทนาถึงไม่รักตนจึงได้ถามมายาวินซึ่งมีความสามารถพิเศษคือรู้เรื่องราวในอดีตและเก่งเรื่องการใช้ เวทมนตร์ มายาวินจงึ บอกเลา่ เรอ่ื งราวในชาติท่แี ลว้ ของสุเทษณ์ไวด้ งั น้ี มายาวนิ ฝา่ ยองคพ์ ระภูมี ก็บำเพญ็ พะลกี รรม์, จนไดส้ ำเรจ็ ผล จรดลณแดนสวฺ รรค์ มาพบและรักกนั เพราะวะเคยสิเนหา. แตก่ รรมพระทำไว้ ณพระชาต์อิ ดีตมา ข้องขัดและขวางหน้า บม่ ใิ หพ้ ระสมจนิ ต.์ (มัทนะพาธา : ๒๘) ๓.๒ ความเชื่อเรื่องชาติภพและผลกรรมจากอดีตชาติ เห็นได้จากตัวละครสุเทษณ์และ นางมัทนาที่ได้ทำกรรมร่วมกันในชาติที่แล้ว จึงทำให้ทั้งสองได้รับผลกรรมในชาตินี้ จากท่ีมายาวินถูกเรียกมา ช่วย สุเทษณ์ มายาวินบอกว่าตนใช้มนตร์เรียกตัวมัทนามาได้ แต่ก็ไม่สามารถบงั คับให้นางมัทนารักสุเทษณ์ได้ เพราะชาติก่อนสุเทษณ์เป็นกษัตริย์ หลงรักนางมัทนาที่เป็นลูกสาวอีกเมือง สุเทษณ์ไปจับพ่อนางมัทนามาและ ขู่ฆ่า นางมัทนายอมแกล้งแต่งงานด้วย แต่พอปล่อยพ่อก็ฆ่าตัวตาย ทำให้นางมัทนาผูกใจติดว่าอย่างไรก็จะไม่ รับรักสุเทษณ์ ดงั นี้ มัทนา หมอ่ มฉนั นเี้ ปนผถู้ อื สัจจาหนึง่ คอื ว่าแมม้ ริ ักจรงิ ใจ, ขอสมพาศไซร้ ถงึ แม้จะเปนชายใด โปรดขา้ นอ้ ยนดิ , กจ็ ะมิยอมพรอ้ มจิต. ดังน้ขี อเทพเรืองฤทธิ์ ข้าบาทขอบังคมลา. (มทั นะพาธา : ๓๘) ๓.๓ ความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถา การทำเสน่ห์เล่ห์กล จากเหตุการณ์ในเรื่องมีการใช้ เวทมนตร์คาถาและการทำเสน่ห์อยู่สองฉาก คือ ฉากท่ีสุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตรเ์ รียกนางมทั นามาหาตน เมอื่ นางมัทนาไดส้ ตแิ ลว้ ไมว่ ่าสุเทษณ์จะเก้ยี วพาราสแี ละรำพนั รกั อย่างไรกไ็ มเ่ ป็นผลสำเรจ็ สุเทษณจ์ งึ โกรธและ สาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์ ส่วนการทำเสน่ห์เห็นได้จากตอนท่ีจัณฑีกับนางค่อมนำหมอยาเข้ามาและ หลอกท้าวชยั เสนวา่ นางมทั นาให้หมอมาทำเสนห่ ์ ใสค่ วามวา่ นางมัทนากับศุภางค์เปน็ ช้กู นั

การวเิ คราะห์บทละครพูดคำฉนั ท์ เรอ่ื ง มทั นะพาธา : ๕๑ ๓.๔ ประเพณีการแต่งงาน จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนทั้งสองคนได้ตกลงที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน อย่างเต็มใจ หรือแบบโดนจับคลมุ ถุงชนซึ่งเปน็ ที่นิยมในสมัยก่อน โดยฝ่ายหนึ่งจะมาสู่ขออีกฝา่ ยหนึ่งให้ถูกต้อง ตามขนบธรรมเนียมประเพณี และที่จากในเรื่องมีการกล่าวถึงการแต่งงานถึงสามครั้ง ครั้งแรกคือมายาวินเล่า ถึงเรื่องในราวในอดีตของสุเทษณ์กับมัทนาที่ได้แต่งงานกันแต่มัทนาไม่ได้เต็มใจ และไม่ขอรักสุเทษณ์ ฉะน้ัน ชาตินไี้ ม่วา่ สุเทษณจ์ ะพยายามมากแคไ่ หนก็ไมไ่ ด้รบั ความรักจากมัทนา ดังความวา่ มายาวนิ เมื่อครงั้ พระองค์เปน วรราชะราชนั ครองเฃตประเทศขณั - ฑะวสิ ุทธปิ ัญจาล, ตรัสใชอ้ มาตย์เปน วรทูตะทูลสาร ถงึ ราชะผู้ผา่ น นรชาติ์สรุ าษฎร์งาม, ขอองคธ์ ิดาชื่อ มะทะนาวไิ ลยราม เปนราชินีตาม วรราชประเพณี; (มัทนะพาธา : ๒๖) กลา่ วถงึ การแต่งงานท่ีปรากฏในเร่ืองคร้ังท่สี องคือ เหตุเกิดท่ีหนา้ อาศรมพระกาละทรรศิน ท้าวชัยเสน และมัทนาได้รำพึงรำพันถึงความรักที่มีต่อกัน ทำให้มัทนาไม่ต้องกลับไปเป็นดอกกุหลาบอีกเพราะมีความรัก และพระกาละทรรศนิ กม็ อบมัทนาให้กบั ท้าวชยั เสน กาละทรรศิน ราชะ! อันพระวาที กลมกลอ่ มถอ่ มดี, และรูปถวายพระพร; กบั องคบ์ งั อร, อนั องคพ์ ระปิ่นนกิ ร เปนธิดาสวฺ รรค์ ที่แท้กค็ ่คู วรกนั , ก็เปนธิดา เพราะนางมใิ ชส่ ามญั , จะยกนารนิ จุติมาจากฟากฟ้า, ดังทรงปราถนา อกี ในชาตก์ิ อ่ นนั้นนา แห่งจอมกษัตรท์ รงดนิ , ดงั น้ีควรพระภมู นิ ทร์ ขนึ้ เปนพระอคั คะชายา; ฃา้ จะทำการอาวาห์ สวัสดิ์พพิ ัฒนผ์ ่องใส. (มทั นะพาธา : ๘๖ - ๘๗)

การวิเคราะหบ์ ทละครพูดคำฉนั ท์ เรื่อง มัทนะพาธา : ๕๒ ครั้งทส่ี ามทีไ่ ดก้ ลา่ วถงึ การแสดงวา่ มีการแต่งงานเกิดขน้ึ แล้ว คอื ท้าวชยั เสนกบั นางจณั ฑีซึ่งเป็นมเหสี ของทา้ วชยั เสน ทั้งสองคนไมไ่ ด้แตง่ งานกันด้วยความรัก มเี พยี งนางจณั ฑเี ท่านัน้ ที่รกั ท้าวชยั เสน การแตง่ งาน จงึ เป็นแค่การแต่งงานเพอ่ื การเมอื งเทา่ นัน้ ชัยเสน ก็ตามประเพณี พระบดิ าประสาทให้ มาเพอ่ื ประพนั ธไ์ ม- ตฺริระหว่างประเทศสอง, แลว้ ฉันก็ต้งั ใจ ทนนุ างและยกย่อง, กค็ งจะคู่ครอง บมิเรดิ มริ า้ งกัน. (มทั นะพาธา : ๑๐๓) ๓.๕ พิธกี รรม ๓.๕.๑ การทำพิธีมนต์สะกด เห็นได้จากตอนที่สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียก นางมัทนามาหาตนเอง มายาวนิ ไดท้ ำพธิ ซี ึ่งกลา่ วไว้ในบทบรรยาย ดงั นี้ “คนใช้นำเครื่องทำพิธีออกมา, คือบายศรี ๑, หัวหมู, เป็ด, ไก่, มะพร้าวอ่อน, ขันเหมสำหรับจุดไฟ, และเทียนชนวนจุดไฟพร้อม; ของเหล่านี้เอาไปตั้งตรงหน้ามายาวิน, และมีคนเอาหญ้าคามาทอดแล้วเอา หนงั กวางปบู นหญา้ คาเปนอาสนะ, มายาวนิ ขึ้นนงั่ ขดั สมาธบิ นอาสนะ, จดุ ไฟในขันเหม, แล้วกลา่ วคำบูชา…” (มัทนะพาธา : ๒๘) จากนนั้ มายาวนิ ข้ึนนง่ั ขดั สมาธบิ นอาสนะ จดุ เทยี นในขันเหม แลว้ กลา่ วคำบูชาดังต่อไปนี้ มายาวิน โอบบงั คมพระคณเณศะเทวะศวิ ะบตุ ร์ ฆ่าพฆิ นะสนิ้ สดุ ประลัย; อา้ งามกายะพระพรายประหนึง่ รวิอทุ ยั ก้องโกญจะนาทให้ สะหรรษ์; เปนเจ้าสปิ ปะประสิทธ์วิ ิวิธะวรรณ วิทยาวิเศษสรร- พะสอน; ยามขา้ กอบกรณพี ธิ มี ะยะบวร, จงโปรดประทานพร ประสาท. โอนารายะณะเทพเถลิงอุระคะอาสน,์ ขี่ขุนสบุ รรณร์ าช จรัล; ถือศงั ข์จกั ระคะทาธรณิผนั ปราบยกั ษะกุมภัณฑ์ มลาย;

การวเิ คราะห์บทละครพูดคำฉนั ท์ เรือ่ ง มัทนะพาธา : ๕๓ เช่ียวชาญโยคะวธิ พี ระพรี ะอภปิ ราย ดลกิจจะทงั้ หลาย สะมิทธ.์ิ ยามข้ากอบกรณีย์พธิ ีมะยะวิจติ ร จงสมมะโนสทิ - ธิเทอญ. (มัทนะพาธา : ๒๙) จากบทสวดข้างต้นจะเห็นได้ว่ามายาวินได้กล่าวถึงเทพ คือ พระพิฆเนศและพระนารายณ์ โดยเชื่อกัน ว่าพระพิฆเนศทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จและด้านสติปัญญา มายาวินก็ได้ขอให้ตนใช้วิทยาความรู้ที่มีให้ ประสบความสำเร็จ ส่วนพระวิษณุ/พระนารายณ์ เป็นเทพเจ้าแห่งความรุ่งเรือง ทั้งยังมีความเมตตา กรุณา มีหน้าทีป่ กปอ้ งคุ้มครองโลกมนุษย์และสรรพส่ิงให้พ้นจากส่ิงชั่วร้าย มายาวินก็ได้ขอให้ตนประกอบพิธีนี้ผ่านไป ไดด้ ว้ ยดีเช่นกนั ๓.๕.๒ การทำเสน่ห์ เป็นพิธีกรรมที่มีมาแต่โบราณ การทำเสน่ห์มีหลากหลายอย่าง เช่น การทำเสน่หย์ าแฝก เปน็ การเอาของสองสิง่ ท่ีอยใู่ นร่างกายทง้ั สองฝ่ายมาผสมกนั ทำเป็นยาและนำไปให้กิน ผู้ที่โดนทำเสน่ห์จะมีหน้าตาเศร้าหมอง หลงใหลคนที่ทำของใส่ เป็นการกระทำที่บาปมาก เนื่องจากเป็นการ บังคับจิตใจผู้อื่น เมื่อตายไปผู้ชายจะเป็นผีกระหัง ถ้าเป็นผู้หญิงจะเป็นผีกระสือ และอีกอย่างหนึ่งคือการทำ แบบฝังรูปฝังรอย เป็นการกระทำด้วยอำนาจมนต์ตรา คาถาอาคม ซึ่งเป็นอำนาจที่เกิดจากวิชาไสยศาสตร์ ทำโดยการปั้นหุ่นขี้ผึ้งรูปคนสองคน ลักษณะของหุ่นผู้นหญิงและผู้ชายกำลังกอดกัน มีทองคำเปลวติดที่ตัวหุ่น มีด้ายสายสิญจน์พันรอบหุ่นหลายรอบ ผู้ที่โดนมักมีอาการนอนไม่หลับ หัวใจเต้นแรง บางครั้งเจ็บเสียวหัวใจ เหมือนถูกบีบ รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ หงุดหงิดบ่อย ๆ ครอบครัวแตกแยก ดังในตอนที่นางจัณฑีได้วางแผนให้ พราหมณแ์ กล้งทำเปน็ เหมอื นถกู นางมัทนาเรียกมาใหท้ ำเสนห่ ์ เพือ่ ใหไ้ ดร้ ่วมรักกับศุภางคท์ หารของท้าวชัยเสน ทา้ วชัยเสนหลงเช่อื และโกรธนางมัทนามาก ดังน้ี นนั ทวิ รรธนะ มีรูปขีผ้ ึ้ง เปนสามรปู ซง่ึ พราหมณป์ ้ันเตรยี มไว้; ชัยเสน รปู หนึ่งหนามแหลม มีแนมเหน็บใส่ ตรงที่หทัย และตรงอุทร; อกี สองรปู ป้นั เปนค่ตู ิดกนั เช่นคู่สมร, เพราะตา่ งกอดรัด ตระวัดเกีย่ วกร, ชายกับบังอร เชงิ ชู้ค่ใู จ. เอะ๊ พราหมณห์ มอเฒ่า น่ีอย่างไรเล่า จะคิดทำใคร? แกจงแถลง ให้แจง้ ทันใด โดยจรงิ หาไม่ จะต้องเคอื งกนั . (มทั นะพาธา : ๑๑๓)

การวิเคราะห์บทละครพดู คำฉนั ท์ เร่อื ง มัทนะพาธา : ๕๔ ๓.๕.๓ การทำพิธีอาวาห์หรืออาวาหมงคล หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะนำหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ที่บ้านของตน เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศ อินเดียฝ่ายเหนือ ในเนือ้ เร่อื งแสดงใหเ้ ห็นถงึ พิธกี รรมตา่ ง ๆ ดังนี้ - พิธีโหมกูณฑ์, พิธีโหมะและโหมกรรม คือ ชื่อของพิธีบูชาไฟของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู เป็นพิธีที่วรรณะพราหมณ์สามารถทำได้เพียงวรรณะเดียวเท่านั้น จัดเป็นพิธีกรรมโบราณตาม คัมภีร์พระเวท สังเกตได้ว่าใน ก่อนเริ่มพิธีอาวาห์พวกศิษย์ของพระกาละทรรศินกำลังเตรียมพิธีโหมกูณฑ์อยู่ หนึ่งในนั้นมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ แท่นกูณฑ์ (แท่นบูชาไฟ) เครื่องสังเวยเทวดา และเตรียมของอื่น ๆ เพื่อทำพิธี อาวาห์ อย่างสังข์สำหรับรดน้ำกับแป้งเจิมหน้าผาก เมื่อเตรียมของเสร็จแล้ว พระกาละทรรศินจึงจุดไฟบน แท่นกูณฑ์ และเริ่มสวดทำนองสรภญั ญะ จุดประสงค์ในการทำพิธีโหมกูณฑ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลและฝากคำ เชิญไปถึงเทพองค์อนื่ ผ่านอคั นีเทพ “โสมะทัตกับพวกศิษย์ออกมาเตรียมการพิธี, คือบางคนเอาหญ้าคามาโรยบนแท่นศิลาแล้วเอาหนัง กวางปูทับอีกที ๑; บางคนยกแท่นกูณฑ์ออกมาตั้งตรงหน้าแท่นศิลา, เอาโถน้ำมันและช้อนมาวางบนแท่นศิลา, และขนเชอื้ เพลิงมากองไว้พร้อมฃ้างแท่นกูณฑ์ ; บางคนยกเคร่ืองสงั เวยเทวดา, สังขส์ ำหรบั รดน้ำ, และแป้งเจิม มาตั้ง. ระหว่างท่ีเตรียมการน้ี, พระกาละทรรศินเรยี กทา้ วชยั เสนกับมัทนาขึ้นไปสนทนากนั เบา ๆ ที่บนระเบียง อาศรม, เพ่ือให้โอกาสใหพ้ วกที่จัดเตรียมพธิ ีไดพ้ ดู กันตามควร. เม่อื จัดของต่าง ๆ ต้ังตามทีแ่ ล้ว, พวกศิษย์ยกตง่ั ๒ อันมาตั้งตรงหน้าแท่นกูณฑ์, แล้วโสมะทัตเรียกนักสวด ๔ คน กับคนเป่าสังข์ ๒ คนมาคอยไว้. ฝ่ายศุภางค์ บัดนี้ก็นำนายทหารและบริวารของท้าวชัยเสนออกทางหลืบซ้าย, และนั่งเรียงรายทางด้านซ้ายแห่งเวที. พอ พร้อมหมดแล้ว, พระกาละทรรศินชวนท้าวชัยเสนและมัทนาลงมาจากระเบียงอาศรม, พาคู่บ่าวสาวไปนั่ง ตามท่ี, คือหันหน้าไปทางแท่นกูณฑ์ทั้ง ๒ คน ให้ท้าวชัยเสนนั่งตั่งขวา, มัทนานั่งตั่งซ้าย, แล้วพระกาละทรรศิน ไปนง่ั บนแทน่ ศิลา. โสมะทตั นำใต้จดุ ไฟออกมาจากในอาศรมไปส่งให้พระกาละทรรศนิ . พระกาละทรรศินรับไป จบแลว้ ก่อไฟในกูณฑ์พลาง, เสกมนตรเ์ บา ๆ พลาง. บดั นีน้ กั สวดจง่ึ ยนื ขึ้นและสวดดงั ต่อไปน้ี.” (มทั นะพาธา : ๘๘) ในตอนที่พระกาละทรรศินเริ่มกล่าวถึงอัคนีเทพ เพื่อกล่าวคำเชิญถึงเทพองค์อื่น ตามบทมีเทพที่ถูก เชญิ ดังนี้ ๑. พระนารายณ+์ พระลักษมี ๒. พระศวิ ะ+พระแม่อมุ า ๓. พระพรหม+พระสุรสั วดี ๔. พระอนิ ทร์+มเหสขี องพระอนิ ทร์ ๕. พระอาทิตย+์ พระจันทร์

การวิเคราะห์บทละครพูดคำฉันท์ เรือ่ ง มัทนะพาธา : ๕๕ ๖. เทพประจำอากาศ เชน่ มารตุ (ลม) ๗. เทพประจำแผ่นดนิ เชน่ อคั นี (ไฟ) ปถวี (แผน่ ดิน) และยม (พระยม) เป็นตน้ ๘. เทพท่ปี ระเสริฐและปราศจากมลทิน หลังจากกล่าวถึงความเป็นมาของบ่าวสาวแล้ว (บทพากย์นักสวด) จะเริ่มรดน้ำสังข์และเจิมหน้าผาก บา่ วสาวและอวยพร ดงั น้ี บัดน้ีองคพ์ ระดาบส จะถวายรด อุทกประกอบคาถา เพิ่มมงั คะลา อกี เฉลิมพระพกั ตรา ศภุ ะสฺวัสดี ธิการณกจิ พธิ ี ขอจงสององคท์ รงศรี ครองคกู่ ันอยูจ่ ีระกาล ฯ (มัทนะพาธา : ๙๒) “ในระหว่างที่สวดบทข้างบนน้ี พระกาละทรรศินนั่งบริกรรม, ตักน้ำมันเนยหยอดในไฟเปนครั้งคราว; พอถึงบทที่เริ่มด้วยคำว่า “แด่ราชาธิบดี ฯลฯ”, พระกาละทรรศินรินน้ำจากหม้อกลศลงในสังข์และเปิดตลับ แป้งเจิม, ส่งสังข์ให้โสมะทัตและตลับแป้งเจิมให้ศิษย์อีกคน ๑ ถือตาม, แล้วเดินไปยังที่คู่บ่าวสาวนั่ง. พอเขา สวดว่า “จะถวายรด ฯลฯ” พระกาละทรรศินก็รดน้ำให้คู่บ่าวสาว, และพราหมณ์เป่าสังข์เมื่อรับตะโพน; ในระหว่างเขาสวดว่า “อีกเฉลิมพระพักตรา ฯลฯ” พระฤษีเจิมคู่บ่าวสาว, และพราหมณ์เป่าสังข์เช่นครั้งก่อน; ในระหว่างเวลาที่เขาสวดบทสุดท้ายนั้น, พระฤษีกลับไปนั่งแท่นตามเดิม. แล้วคู่บ่าวสาวจึ่งยืนขึ้นและกล่าวคำ ปฏญิ ญาดังนี้.” (มัทนะพาธา : ๙๒ - ๙๓) จากบทข้างต้นจะเห็นว่าขณะทำพิธีพระกาละทรรศินจะคอยเติมน้ำมันเนยใส่แท่นกูณฑ์ เมื่อนักสวด สวดถึง “จะถวายรด ฯลฯ” เริ่มรดน้ำสังข์ ซึ่งการรดน้ำสังข์เป็นความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เนื่องจาก สังข์ เป็น ๑ ใน ๑๔ สิ่งศักดิ์สิทธ์ิที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทรของเหล่าเทวดาและอสูร จึงถือเป็นของ สิริมงคลสำหรับคู่บ่าวสาว ส่วนน้ำแทนความมั่นคง ร่มเย็น เป็นปึกแผ่น จึงเป็นดั่งคำอวยพรให้คู่บ่าวสาวได้ ครองรัก ครองเรือนกันอย่างยาวนานและมีความใจเย็นเฉกเช่นความเย็นของสายน้ำ และเมื่อนักสวดสวดถึง “อีกเฉลมิ พระพักตรา ฯลฯ” จะเริ่มเจิมหน้าผากตอ่ ซ่งึ การเจิมจะมี ๓ จุด ตามความเชอ่ื ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๓ จดุ นแ้ี ทน ตรมี รู ติ หรือเทพ ๓ องค์ ไดแ้ ก่ พระศวิ ะ พระนารายณ์ และพระพรหม การเจิมน้ีเป็นสิริมงคลของ พระเจา้ ไดอ้ ยกู่ ับคบู่ ่าวสาวน้ัน และจะชว่ ยดลบนั ดาลให้ชีวติ คูร่ าบรืน่ ด้วยดี

การวิเคราะหบ์ ทละครพูดคำฉันท์ เร่อื ง มัทนะพาธา : ๕๖ ด้านศาสนาพุทธมีความเชื่อนี้อยู่เหมือนกัน โดยแทน ๓ จุดเป็นแก้ว ๓ ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม และพระสงฆ์ เจิมเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับคู่บ่าวสาวเช่นกัน หลังจากเจิมหน้าผากเสร็จ คู่บ่าวสาวจะยืนขึ้นเพื่อกล่าวคำปฏิญาณ เมื่อพราหมณ์เป่าสังข์ คู่บ่าวสาวจูงมือเดินเวียนขวารอบกองไฟสาม รอบ ขณะที่นักสวดสวดฉันท์สดุดีสังเวย การเดินเวียนขวารอบกองไฟนี้ คือ อัคนีทักษิณา การเดินประทักษิณ (เวียนขวา) รอบกองไฟ ในพิธีนี้คู่บ่าวสาวจูงมือกันเดินรอบแท่นบูชาไฟ ๓ รอบ ขณะที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีสวด คาถาจากโศลกในพระเวท ตามทกี่ ล่าวไว้ในบทบรรยาย ดงั น้ี “พราหมณ์เป่าสังข์. คู่บ่าวสาวจูงมือกันเดินประทักษิณเวียนรอบไฟและพระฤษี ๓ รอบช้าๆ. ใน ระหว่างที่คู่บา่ วสาวเดนิ ประทกั ษิณดังน้ี นกั สวดสี่คนสวดฉนั ท์สดดุ ดี ังตอ่ ไปน.ี้ ” (มัทนะพาธา : ๙๓) เมื่อคู่บ่าวสาวเดนิ เวียนขวาครบ ๓ รอบแล้ว จึงมายนื หนา้ พราหมณ์ผู้ทำพิธใี นท่ีนี้คือพระกาละทรรศิน เพอื่ รับพรเปน็ ภาษามคธ (ภาษาอินเดยี ) ดงั นี้ “คู่บ่าวสาวประทักษิณไฟเสร็จแล้ว, ไปยืนประนมมืออยู่ที่ตรงหน้าพระกาละทรรศิน, และ พระกาละทรรศินอำนวยพรเปนภาษามคธดงั ต่อไปน้ี.” (มัทนะพาธา : ๙๔) ๓.๕.๔ การทำพิธีพิธีขอขมาต้นไม้ ในฉากที่พระกาละทรรศินหลั่งน้ำไปที่โคน ตน้ กุหลาบกอ่ นทจ่ี ะขดุ ต้นกุหลาบ แสดงใหเ้ หน็ ถงึ พิธีกรรมทปี่ รากฏในเร่อื ง ดังนี้ พิธีบวงสรวงพลีกรรมตดั ตน้ ไม้ คือ พธิ กี รรมของพราหมณ์ท่ีขอขมารุกขเทวดาสงิ สถิตอยู่ ไมใ่ ห้ท่านเกิด ความไม่พอใจ และเป็นการบวงสรวงขอพรให้ท่านได้อวยพรให้สถานที่นั้น ๆ มีแต่ความสุข ความเจริญ ความรุ่งเรือง ท่านจะได้อวยพรก่อนที่จะเสด็จออกจากต้นไม้นั้น ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อของสองศาสนาคือ ศาสนาพุทธมีการกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า รุกขเทวดาคือเทวดาประเภทหนึ่งซึ่งมีวิมานอยู่ในต้นไม้ หรือไม่ก็ อาศัยต้นไม้เป็นวิมาน และการบชู ารกุ ขเทวดาก็เป็นการบูชาตน้ ไม้ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดกู ็มีความเช่อื ใน การบูชาต้นไม้เช่นกัน ดังปรากฏในตอนที่นาคและศุนกำลังจะขุดต้นกุหลาบตามคำสั่งของโสมะทัต เพื่อที่จะ นำไปถวายพระกาละทรรศิน เพราะพระกาละทรรศินจะนำต้นกหุ ลาบไปปลูกหลงั อาศรม โดยที่เขาเหล่าน้ันคิด วา่ ต้นทกี่ ำลงั จะขดุ นนั้ เปน็ ตน้ กุหลาบธรรมดา (โสมะทัตสั่งพวกบริวารให้ขุดต้นกุหลาบ. พอบริวารเอาเครื่องมือขุดลง ก็มีเสียงเหมือนผู้หญิงร้อง “โอ๊ย!” พวกบริวารตกใจ, โจษกันต่างต่างนานา โสมะทัตบังคับให้ขุดอีกก็มีเสียงร้องเช่นนั้นอีกทุกคราว. เล่นตลกพูดกันเองพอสมควร, แล้วในที่สุดพวกบริวารไม่มีใครกล้าขุด. โสมะทัตจะลงมือขุดเอง, แต่ พระกาละทรรศนิ ยกมอื ห้ามไว้)

การวิเคราะห์บทละครพดู คำฉันท์ เรอ่ื ง มัทนะพาธา : ๕๗ (มัทนะพาธา : ๔๘ - ๔๙) กาลทรรศนิ อ้ามาลเี ลิศฤดีเพลนิ , สวุ ิมะละและเจรญิ , ขา้ จะขอเชญิ ผะกาไป สู่สวนงามขา้ งกฎุ ใิ ห้ ระมะณิยะจะบำรงุ ไว้ เพือ่ บมีภัย พบิ ตั ปิ วง; ขา้ รบั คำว่าจะแหนหวง ประดุจะวรธดิ าดวง ใจจะใฝห่ ว่ ง สดุ าภา. อ้าเชญิ ไปกบั บดิ านา! ดรณุ ิอภยะครา ขดุ ชะลอพา จรัลไป! (พระกาละทรรศินเรียกเอาหม้อน้ำไปหลั่งที่โคนต้นกุหลาบ. พิณพาทย์ทำเพลงรัวฉิ่ง. พอ พระกาละทรรศินหลั่งน้ำเสร็จแล้ว. สั่งให้บริวารขุดต้นกุหลาบ. คราวนี้ไม่มีเสียงร้องเช่นครัง้ ก่อน; พิณพาทย์ทำ เพลงฉิ่งในเวลาที่ขุดตลอดจนขุดเสร็จ, และพวกบริวารจัดการยกต้นกุหลาบขึ้นจากหลุมแล้ว, พิณพาทย์จึง หยดุ .) (มัทนะพาธา : ๕๐) จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า ก่อนที่พระกาละทรรศินจะทำพิธีขอขมาต้นกุหลาบ นางมัทนาที่โดน สุเทษณ์สาปให้กลายเป็นต้นกุหลาบก็ได้ร้องด้วยความเจ็บปวด จากการขุดของบริวารตามคำสั่งโสมะทัต แต่ เมื่อพระกาละทรรศินจะทำพิธีขอขมาต้นกุหลาบ โดยการหลั่งน้ำใต้ต้นกุหลาบพร้อมคำบอกกล่าวให้นางมัทนา ไว้ใจทำให้นางยอมย้ายไปกับพระกาละทรรศินแต่โดยดี ดังปรากฏในตอนที่พระกาละทรรศินนำเสด็จ ท้าวชัยเสน โดยมีนันทิวรรธนะ โสมะทัต และนายทหารตามเสด็จมาที่นางมัทนาทำพิธีกิจพลี เพื่อขอพรจาก สุเทษณ์ ทำใหส้ ุเทษณ์สาปนางเป็นต้นกหุ ลาบตลอดกาล (พระกาละทรรศนิ เรียกสงั ข์มาหลั่งน้ำท่โี คนตน้ กหุ ลาบ, แล้วทูลเชญิ ท้าวชัยเสนใหต้ รสั ชวนเอง.) (มทั นะพาธา : ๑๔๘) (ท้าวชัยเสน เรียกสังข์หลั่งน้ำที่โคนต้นกุหลาบ, แล้วให้คนขุดก็ขุดได้โดยสะดวก. นันทิวรรธนะก็เรียก วอทองออกมา, และให้ยกต้นกุหลาบขน้ึ บนวอ.) (มทั นะพาธา : ๑๔๙)

การวิเคราะหบ์ ทละครพดู คำฉนั ท์ เรื่อง มทั นะพาธา : ๕๘ จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า เป็นเหตุการณ์ครั้งที่สองที่พระกาละทรรศินได้ทำพิธีขอขมาต้น กุหลาบ หลังจากที่สุเทษณ์ได้สาปนางมัทนาให้กลายเป็นต้นกุหลาบตลอดไปชั่วนิรันดร์ พระกาละทรรศินและ ท้าวชัยเสนได้หลั่งน้ำที่โคนต้นกุหลาบ และท้าวชัยเสนได้กล่าวกับนางมัทนาให้ไปกับท้าวชัยเสนเพื่อที่จะนำ ต้นกุหลาบไปยังเมอื งของท้าวชยั เสนโดยไดร้ ับการยินยอมจากนางมทั นา ความดเี ดน่ ของเร่ือง ๑. การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนำฉันท์มาแต่งเป็นบทละครพูด ซึ่งทรงทำ ได้เช่นนี้เพราะพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ทางภาษาและวรรณคดี จึงทรงสามารถสรรคำที่ง่ายแก่การเข้าใจ ของผู้อ่านมาแตง่ เปน็ ฉันท์ ซึง่ เปน็ รอ้ ยกรองทแ่ี ต่งยากเนอ่ื งจากบังคบั ใชค้ ำครุ ลหุ ตามฉนั ทลักษณ์ทุกคำ ท้ังยัง ทรงสามารถผูกเป็นบทเจรจาตามลักษณะของบทละครพูดให้ดำเนินเรื่องราวตามโครงเรื่องที่วางไว้ได้อย่างดี จนผู้อ่านสมั ผสั ไดท้ ั้งรสคำและรสความท่ีไพเราะและความงดงามทางวรรณศิลป์ ๒. การที่ทรงตั้งชื่อตัวละครและสถานที่อันเป็นฉากของเรื่องได้อย่างถูกต้องตามยุคแห่งภารตวรรษ คือยุคแห่งอาณาจักรพวกภารตะซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระภรต พระจักรพรรดิโบราณของอินเดียตามเรื่อง มหาภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์สำคัญเรือ่ งหนึ่งแตง่ ในประเทศอินเดียโบราณ เป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤตเรื่อง ยาวทส่ี ดุ ในโลกทท่ี รงแต่งไดเ้ ช่นน้ีกเ็ พราะพระองค์ทรงเชย่ี วชาญทางวรรณคดภี าษาสนั สกฤตด้วย ๓. ทรงใช้เครอ่ื งหมายวรรคตอนตามแบบการเขียนภาษาอังกฤษมีเคร่ืองหมายจุลภาค มหัพภาค ฯลฯ. ส่วนการสะกดการันต์นั้น ได้ทรงใช้วิสรรชนีย์ (สระอะ) กำกับเพื่อให้อ้านออกเสียงตามพระราชประสงค์ เช่น ม–ณี (มณี) ดจุ ะ (ดุจ) มะทะนา (มทนา) พ–ธู (พธ)ู ฯลฯ การเขียนอยา่ งแบบท่ที รงใชน้ ปี้ รากฏวา่ ไม่มีผู้ใดใช้ ตาม ทั้งนี้อาจขัดกับอักขรวิธีไทยซึ่งใช้กันมานาน การที่ทรงใช้อักขรวิธีอย่างที่ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ อาจ เป็นเพราะทรงคิดมาจากภาษาองั กฤษ ซึ่งพระองค์ทรงมีความเชย่ี วชาญมาก

การวิเคราะหบ์ ทละครพดู คำฉันท์ เรอ่ื ง มทั นะพาธา : ๕๙ บรรณานกุ รม พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยู่หัว. (ม.ป.ป.). สืบคน้ จาก http://kingchulalongkorn.car.chula.ac. th/th/history/rama6_bio มงกฎุ เกลา้ เจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๕๔). มัทนะพาธา. กรงุ เทพฯ: ศลิ ปาบรรณาคาร. ศรีสินทร มหาวชิราวุธ, สมเด็จพระรามาธิบดี. (๒๔๖๗). มัทนะพาธา หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ. สืบค้น ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔, จาก https://vajirayana.org/มัทนะพาธา-หรอื ตำนานแห่งดอกกหุ ลาบ สิทศิธรรม คีรีรักษ์. (๒๕๕๘). ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. สืบค้น ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔, จาก https://sites.google.com/site/mjsite2345/sasna-ni-thiy/sasna-phrahmn ภาษามคธ. (ม.ป.ป.). สบื ค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษามคธ ศาสนาพราหมณ์-ฮนิ ดู. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/wichasangkhom/sasna- phrahmn-hindu ไขข้อข้องใจพร้อมคายความลับ 3 จุดบนหน้าผากบ่าวสาว คืออะไรไปดูกัน. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://praewwedding.com/thai-wedding/21319 พระราชประวตั ิ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยหู่ ัว. (ม.ป.ป.). สืบค้นจากhttp://www.sriayudhya. ac.th/sri60/R6.html ความหมายของพิธีรดน้ำสงั ข์ ในพิธแี ตง่ งานไทย. (ม.ป.ป.). สบื คน้ จาก https://www.weddinglist.co.th/ blog/ความหมายพธิ รี ดน้ำสังข์/

การวิเคราะห์บทละครพดู คำฉนั ท์ เร่อื ง มัทนะพาธา : ๖๐

การวิเคราะห์บทละครพดู คำฉนั ท์ เร่อื ง มัทนะพาธา : ๖๑