ขยะจากครัวเรือน
คำนำ เอกสาร เรื่อง ขยะจากครัวเรือน เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (GSP4401) จัดทำขึ้นเพื่อ เป็นสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับขยะจากครัวเรือน ความสำคัญของขยะมูลฝอย อีกทั้งเป็นแนวทางในการลดปริมาณขยะใน ครัวเรือน โดยเอกสารจะประกอบไปด้วย 1.ความหมายของขยะจากครัวเรือน หรือขยะมูลฝอย 2.ประเภทของขยะจากครัวเรือน 3.วิธีการแยกขยะจากครัวเรือน 4.ขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะ 5.ผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม 6.แนวทางในการลดขยะ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับขยะจากครัวเรือน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ เป็นอย่างดี หากมีสิ่งใดในเอกสารฉบับนี้ที่ต้องปรับปรุง ผู้จัดทำขอน้อมรับในข้อชี้แนะและจะนำมาแก้ไขหรือ พัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป คณะผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า เรื่อง 1 1 ขยะมูลฝอย (Waste) 2 ประเภทของขยะจากครัวเรือน 3 วิธีการแยกขยะ 4 ขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะ 5 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิธีลดขยะในบ้าน
ขยะมูลฝอย (Waste) ขยะมูลฝอย (Waste) คือ ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการอุปโภค บริโภค และกิจกรรม ต่างๆ ของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน แต่หากมีการก่อนที่จะทิ้งเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้จะมีคุณค่า หรือมูลค่าเพิ่มขึ้น 1 ขยะเปียก,ขยะย่อยสลายได้,ขยะอินทรีย์ เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ เศษใบไม้ กิ่งไม้ ประเภทของขยะ 2 ขยะรีไซเคิล ในครัวเรือน แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะต่างๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิล เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง 3 ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี หรือวัตถุกัดกร่อน เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปย์ เข็มฉีดยา 4 ขยะทั่วไป ขยะที่นอกเหนือจากขยะย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล และขยะ อันตราย มีลักษณะย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าต่อการนำกลับมาใช้ ใหม่ เช่น ซองขนม กล่องโฟม 1
วิธีการแยกขยะ 1 ขยะเปียก,ขยะย่อยสลาย,ขยะอินทรีย์ ให้แยกระหว่างเศษอาหารกับเศษใบไม้ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่าง โดยการจัดเก็บใน ภาชนะที่สามารถปิดได้ 2 ขยะรีไซเคิล ให้แยกขยะรีไซเคิลแต่ละชนิดออกจากกัน เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ และความง่ายในการนำ ไปขาย 3 ขยะอันตราย ให้แยกขยะอ้นตรายออกจากขยะประเภทอื่น แล้วก็แยกชนิดของขยะอีกทีด้วย อย่าเก็บปนกัน นอกจากนี้ควรใส่ไว้ในภาชนะที่แข็งแรง มิดชิด และไม่รั่วไหล 4 ขยะทั่วไป สามารถเก็บรวมกันได้เลย 2
ขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะ อินทรีย์และขยะเปียกในครัวเรือน 1 จัดเตรียมภาชนะหรือเศษวัสดุภาชนะเหลือใช้เช่น ถังสีถัง พลาสติกใช้แล้ว ขนาดของ ภาชนะขึ้นอยู่กับปริมาณขยะในครัวเรือน หากมีมากก็ใช้ภาชนะ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตาม ความเหมาะสม (ภาชนะที่ใช้อาจเป็น ถังพลาสติกหรือภาชนะอื่นๆ ที่มีฝาปิด) 2 เจาะรูหรือตัดภาชนะดังกล่าว ที่ก้นถังแล้วขุดหลุมขนาดความลึก 2 ใน 3 ส่วนของ ความสูงของภาชนะ นำภาชนะที่เตรียมไว้ไปใส่ ในหลุมที่ขุด ทั้งนี้หากมีปริมาณขยะ อินทรีย์เกิดขึ้นมากและมีพื้นที่เหลือ สามารถทำได้มากกว่า 1 จุด 3 นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ใบไม้ และเศษหญ้าที่ เหลือมาเทใส่ในถังที่ฝังไว้ และ ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด 4 จุลินทรีย์ในดิน,ไส้เดือนในดิน จะทำการย่อยเศษอาหารในภาชนะให้กลายเป็นปุ๋ย (ระยะ เวลาขึ้นอยู่กับปริมาณ ขยะเปียก) หากมีกลิ่นเหม็น สามารถเติมน้ำหมัก EM หรือ เอาเศษ หญ้าและใบไม้ขนาดเล็ก มากลบผิวชั้นบน 5 เมื่อปริมาณเศษอาหารถึง ระดับเดียวกับพื้นดินที่ขุดไว้ ให้ เอาดินกลบ แล้วย้ายถัง ไปทำตามขั้นตอนเดิมที่จุดอื่นต่อไป 3
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อทิ้งขยะลงในภาชนะรองรับ คือ ถังขยะ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่เก็บขยะจะมาเก็บ รวบรวมเพื่อนำไปทิ้งในสถานที่ที่จัดไว้โดยไม่ได้มีการกำจัดใด ๆ หรืออาจนำไปถมที่ ซึ่งทั้ง 2 กรณี สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ สารพิษที่ปนเปื้อนมากับขยะ อาจรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน ซึ่งสารพิษบางชนิดสามารถคงตัวอยู่ได้ใน สิ่งแวดล้อม โดยไม่มีการสลายตัวหรือเปลี่ยนแปลง และเมื่อสะสมเป็นเวลานานก็ก่อ ให้เกิดปัญหามลภาวะได้ ในอนาคตจะต้องหาสถานที่กลบฝังโดยไม่ทำให้เกิดโทษกับ ผู้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ความสกปรก ไม่เป็นระเบียบ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค สารพิษปนเปื้ อนสู่สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4
แนวทางในการลดขยะ (5R) R1: Reduce คือ การคิดก่อนใช้หรือการลดปริมาณขยะที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น การใช้ถุงผ้าเเทนถุงพลาสติก การใช้กล่องข้าวแทนกล่องโฟม R2: Reuse คือ การนำของที่ใช้เเล้วกลับมาใช้ซ้ำให้คุ้มค่า เช่น การนำถุง พลาสติกไปใส่ขยะ การนำขวดพลาสติกไปทำเป็นแจกัน การใช้ กระดาษให้ครบทั้งสองหน้า R3: Repair คือ การซ่อมของที่พังแล้วให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พวกเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์ พัดลมต่าง ๆ หรือพวกฟอร์นิเจอร์ที่ ชำรุด ทรุดโทรมที่สามารถนำมาตกแต่ง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ R4: Recycle คือ การแปรรูปสิ่งของต่าง ๆ ให้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ได้อย่างสร้างสรรค์ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ และอะลูมิเนียม R5: Reject คือ การงดใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก นำไปรีไซเคิลยาก หรือพวกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้แค่ครั้งเดียว เช่น โฟม แก้ว พลาสติก แก้วกระดาษ เป็นต้น 5
บรรณานุกรม https://chiangkhamlocal.go.th/content.php?cid=20200818160419bkntB95 http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=149 PowerPoint Presentation (preaksa-sao.go.th) files_5_1.pdf (saolamlukka.go.th)
ค ณ ะ ผู้ จั ด ทำ นางสาวธนาพร โหรเวช รหัสนักศึกษา 61131113014 นางสาวทุติยาทร มานะศรี รหัสนักศึกษา 61131113016 นางสาวณัฏฐิตา สัจจพันธ์ รหัสนักศึกษา 61131113021 นางสาวศรันยา สมอาษา รหัสนักศึกษา 61131113029 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป หมู่เรียน 01
Search
Read the Text Version
- 1 - 10
Pages: