Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์

Published by Lilly Rinranee, 2021-10-04 02:02:47

Description: อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์

Search

Read the Text Version

E-BOOK อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ อารย ธรรมลุ่ม แม่น้ำไนล์ จัดทำโดย น.ส.รินลนี มีสมิง ม.6/1 เลขที่ 38 เสนอ ผศ.ดร.อำพร ขุนเนียม

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ หรือ อารยธรรม อียิปต์โบราณ ก่อกำเนิดบริเวณ ดินแดนสองฝั่ ง แม่น้ำไนล์ ตั้งแต่ปากแม่น้ำไนล์ จนไปถึง ตอน เหนือของประเทศซูดานในปัจจุบัน ทิศเหนือ ติดกับ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและ คาบสมุทรไซนาย ทิศตะวันตก ติดกับ ทะเลทรายลิเบียและ ทะเลทรายซาฮารา ทิศตะวันออกและทิศใต้ ติดกับทะเลทราย นูเบียและทะเลแดง จากสภาพภูมิอากาศดังกล่าวจะเห็นว่า บริเวณ ลุ่มแม่น้ำไนล์เปรียบเสมือนโอเอซิสท่ามกลางทะเล ทราย จึงเป็นปราการธรรมชาติป้องกันการ รุกรานจากภายนอกได้

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สภาพภูมิประเทศของลุ่มแม่น้ำไนล์ก่อนที่จะ รวมเป็นปึกแผ่น ได้แบ่งออกเป็นบริเวณลุ่มน้ำ ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ บริเวณอียิปต์ล่าง (Lower Egypt) อยู่บริเวณที่ราบลุ่มปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นบริเวณ ที่แม่น้ำไนล์แยกเป็นแม่น้ำสาขาที่มีลักษณะเป็น รูปพัด แล้วไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวกรีก โบราณเรียก บริเวณนี้ว่า เดลตา และ บริเวณอียิปต์บน (Upper Egypt) ได้แก่ บริเวณที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่าน หุบเขา เป็นที่ ราบแคบๆ ขนาบด้วยหน้าผาที่ลาดกว้างใหญ่ ถัด จากหน้าผา คือ ทะเลทราย ต่อมาเมเนส (Menes) ประมุขแห่งอียิปต์ล่างจึงได้รวมดิน แดนทั้งสองเข้าด้วยกัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์ 1. ที่ตั้ง เนื่องจากหิมะละลายในเขตที่ราบสูง เอธิโอเปีย ทำให้บริเวณแม่น้ำไนล์มีดินตะกอนมา ทับถมจึงเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความได้เปรียบทางธรรมชาติ เนื่องจาก ประเทศอียิปต์เป็นดินแดนที่ล้อมรอบด้วยทะเล ทรายทำให้มีปราการธรรมชาติในการป้องกัน ศัตรูภายนอก

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์ 2. ทรัพยากรธรรมชาติ แม้อียิปต์จะแห้งแล้ง แต่สองฝั่ งแม่น้ำไนล์ก็ ประกอบด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งใช้ ก่อสร้างและพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองด้าน สถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความแข็งแรงคงทน แข็งแรงและช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรม ของอียิปต์ให้ปรากฏแก่ชาวโลกมาจนกระทั่ง ปัจจุบัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์ 3. ระบบการปกครอง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือ กษัตริย์ฟาโรห์ดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง จึงมีอำนาจใน การปกครองและบริหารอย่างเต็มที่ทั้งด้าน การเมืองและศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยใน การปกครอง และพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา ซึ่ง การที่พาโรห์มีอำนาจเด็ดขาดทำให้อียิปต์สามารถ พัฒนาอารยธรรมของตนได้อย่างเต็มที่

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เกิดอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์ 4. ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นเทคโนโลยีและ วิทยาการความเจริญด้านต่างๆเพื่อตอบสนอง การดำเนินชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่อียิปต์ เช่น ความรู้ ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่ง เสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและ สถาปัตยกรรม เป็นต้น

สมัยอาณาจักรอียิปต์ 1. สมัยอาณาจักรเก่า มีความเจริญในช่วงประมาณปี 2,700 – 2,200 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มี ความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และ ศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็น เอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์ 2. สมัยอาณาจักรกลาง ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2050 – 1652 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านทาง วิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการ ชลประทาน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทอง ของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยเกิด ความวุ่นวายภายในประเทศ จนต่างชาติเข้ามา รุกรานและปกครองอียิปต์

สมัยอาณาจักรอียิปต์ 3. สมัยอาณาจักรใหม่ ชาวอียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติ และ กลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ใน ช่วงประมาณปี 1567 – 1085 ก่อนคริสต์ ศักราช สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาดในการ ปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้ เคียงจนเป็นจักรวรรดิ 4. สมัยเสื่อมอำนาจ จักรวรรดิอียิปต์เริ่มเสื่อมอำนาจตั้งแต่ ประมาณปี 1,100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ ชาวต่างชาติ เช่น พวกอัสซีเรียนและพวก เปอร์เซียจากเอเชีย รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้ เข้ามายึดครอง จนกระทั่งเสื่อมสลายในที่สุด

การเมืองการปกครอง 1. สมัยอาณาจักรเก่า กษัตริย์หรือฟาโรห์ (Pharaoh) มีอำนาจ สูงสุด โดยมีผู้ช่วยในการปกครองคือ ขุนนาง หัวหน้าขุนนางเรียกว่า “วิเซียร์” และมีหน่วยงาน ย่อย ๆ ในการบริหารประเทศ แต่ละเมืองแต่ละ หมู่บ้านมีผู้ปกครองระดับต่าง ๆ ดูแลเป็นลำดับ ขั้น แต่ละชุมชนถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้แก่ ทางการซึ่งส่วนใหญ่ คือ การสร้างพีระมิดแต่ละ อาณาจักรมีอำนาจปกครองเหนือมณฑลต่าง ๆ หรือเรียกว่า โนเมส

การเมืองการปกครอง ซึ่งแต่ละโนเมสมีสัญลักษณ์แตกต่างกัน ต่อมา มีการรวมกันเป็นอาณาจักรใหญ่ 2 แห่ง คือ อียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ต่อมาทั้ง 2 อาณาจักร ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเกิดราชวงศ์อียิปต์โดย ประมุขแห่งอียิปต์ (เมเนสหรือนาร์เมอร์) ความ เสื่อมของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การ สร้างพีระมิดขนาดใหญ่ เป็นการบั่นทอน เศรษฐกิจและแรงงานของอียิปต์ ซึ่งนำความ เสื่อมมาสู่ราชวงศ์อียิปต์

การเมืองการปกครอง 2. สมัยอาณาจักรกลาง ฟาโรห์เปลี่ยนภาพลักษณ์จากผู้ปกครองที่ อยู่ห่างไกลประชาชนมาเป็นผู้ปกป้องประชาชน ลดการสร้างพีระมิด แต่ประชาชนต้องตอบแทน ด้วยการทำงานสาธารณะต่าง ๆ เช่น การระบาย น้ำในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพื่อช่วย การเกษตร การขุดคลองเชื่อมแม่น้ำไนล์กับ ทะเลแดงเพื่อการสะดวกในการค้าและขนส่ง

การเมืองการปกครอง 3. สมัยอาณาจักรใหม่ ฟาโรห์อเมนโฮเตปที่ 4 ทรงเปลี่ยนแปลง ความเชื่อในเรื่องการนับถือเทพเจ้าหลายองค์มา เป็นการนับถือเทพเจ้าองค์เดียว คือ เทพเจ้าแห่ง ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ขุนนาง และประชาชน รัชกาลนี้จึงตกต่ำ แต่เมื่อฟาโรห์ตุ ตันคาเมนขึ้นครองราชย์จึงเปลี่ยนกลับไปนับถือ เทพเจ้าหลายองค์เช่นเดิม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช อียิปต์สูญเสียความเข้มแข็ง ชนเผ่าต่าง ๆ สลับกันมีอำนาจปกครองอียิปต์ เช่น อัสซีเรีย ลิเบีย เปอร์เซีย สุดท้ายอียิปต์กลาย เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน

เศรษฐกิจ อาชีพหลักของชาวอียิปต์ คือ เกษตรกรรม เพราะว่าดินอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลิตอาหารเกิน ความต้องการ การผลิตทางการเกษตรที่เป็นหลัก ของอียิปต์ คือ ข้าวสาลี บาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ถั่วฝักยาว ถั่ว ผักและผลไม้ และต่อมาชีวิตที่ มั่งคั่งและฟุ่มเฟือยของบางคนนำไปสู่การพัฒนา งานหัตถกรรมและอุตสาหกรรม บางส่วนทอผ้า บางส่วนผลิตเครื่องตกแต่ง หม้อ ลินิน และ อัญมณี เหล็กและทองแดงมีการถลุง นำมาใช้ใน การทำเครื่องมือ แก้ว และเครื่องปั้ นดินเผา มี การผลิตทั้งแบบเรียบ ๆ และวาด ทั้งยังมีวิศวกร จิตรกร ประติมากร และสถาปนิกอีกด้วย

สังคม เป็นสังคมแบบลำดับชั้น ผู้ปกครองสูงสุด คือ ฟาโรห์ และชนชั้นปกครองอื่นๆ คือ ขุนนาง และ นักบวช ชนชั้นรองลงมา คือ พ่อค้าและช่างฝีมือ ชนชั้นล่าง คือ ชาวนา และทาส ซึ่งเป็นคนส่วน ใหญ่ ที่ดินทั้งหมดเป็นของฟาโรห์ สำหรับขุนนาง และนักบวชก็ได้ครอบครองที่ดินจำนวนมาก ชาวนาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือเมืองเล็กๆ และเสีย ภาษีเป็นผลผลิตให้ฟาโรห์ ขุนนาง และ พระ รวม ทั้งต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้รัฐ และ เป็นทหารสตรีมีบทบาทสูงไม่น้อยกว่าผู้ชาย คือ ให้สถานภาพแก่สตรีสูง ยอมให้สตรีขึ้นครองราช บัลลังก์ได้ มีสิทธิในการมีทรัพย์สินและมรดก ราชินีที่มีชื่อเสียงของอียิปต์ คือ แฮตเชพซุต (Hatchepsut) ซึ่งปกครองในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช และ ทำความงดงามให้กับ เมืองคาร์นัก

สังคม ชาวอียิปต์ไม่ยอมให้ชายแต่งงานกับสตรีเป็น ภรรยามากกว่า 1 คน แม้ว่าการมีเมียน้อยเป็น เรื่องปกติและยอมรับทั่วไป ลักษณะที่แปลกของ ระเบียบสังคมนี้ คือ ชอบให้พี่ชาย-น้องสาว แต่งงานกัน หรือแต่งงานภายในตระกูล ฟาโรห์ แต่งงานกับตระกูลของตน เพื่อรักษาความ บริสุทธิ์ของสายเลือด ประเพณีนี้ได้มีผู้อื่นนำไปใช้ ต่อมา

ศาสนา ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองค์ที่เกี่ยวข้อง กับอำนาจธรรมชาติโดยเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพ สูงสุด คือ เร หรือ รา (Re or Ra) เทพเจ้าแห่ง ดวงอาทิตย์ และเป็นหัวหน้าแห่งเทพเจ้าทั้งปวง ซึ่งปรากฏในหลายชื่อและหลายรูปลักษณ์ เช่น ผู้ มีร่างกายเป็นมนุษย์ มีหัวเป็นเหยี่ยว และในรูป ของมนุษย์คือ ฟาโรห์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น บุตรของเร และมีเทพเจ้าสำคัญองค์อื่น ๆ อีก เช่น เทพเจ้าแห่งแม่น้ำไนล์หรือโอซิริส

ศาสนา และยังเป็นผู้พิทักษ์ดวงวิญญาณหลังความ ตาย เทพเจ้าแห่งพื้นดินหรือไอซิส เป็นผู้สร้าง และชุบชีวิตคนตาย เป็นต้น การยกย่องกษัตริย์ ให้เทียบเท่าเทพเจ้า ทำให้สถาบันกษัตริย์มีความ ศักดิ์สิทธิ์ประดุจเป็นเทพเจ้า ความเชื่อนี้มีผลต่อ การสร้างอารยธรรมดังเช่น การสร้างพีระมิด

ภาษาและวรรณกรรม ชาวอียิปต์ได้พัฒนาระบบการเขียนที่เรียกว่า เฮียโรกริฟิค (Hieroglyphic) เป็นคำภาษากรีก มี ความหมายว่า การจารึกอันศักดิ์สิทธิ์ เริ่มต้น ด้วยการเขียนอักษรภาพแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ แล้วค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบพยัญชนะ ในระยะแรก ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการ แกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่ง ก่อสร้าง เช่น วิหารและพีระมิด ต่อมาจึงค้นพบ วิธีการทำกระดาษจากต้นปาปิรุส ทำให้มีการ บันทึกแพร่หลายมากขึ้น

ศิลปวิทยาการ 1. ด้านดาราศาสตร์ ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์เกิดจากการ สังเกตปรากฏการณ์จากการเกิดน้ำท่วมของ แม่น้ำไนล์ ซึ่งได้นำความรู้นี้มาคำนวณเป็นปฏิทิน แบบสุริยคติที่แบ่งวันออกเป็น 365 วันใน 1 ปี ซึ่งมี 12 เดือน และในรอบ 1 ปี ยังแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก็บเกี่ยว

ศิลปวิทยาการ 2. ด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตที่ อียิปต์ให้แก่ชาวโลก เช่น การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และ สามเหลี่ยม ความรู้ดังกล่าวเป็นฐานของวิชา ฟิสิกส์ที่ใช้คำนวณในการก่อสร้างพีระมิด วิหาร และเสาหินขนาดใหญ่

ศิลปวิทยาการ 3. ด้านการแพทย์ ชาวอียิปต์โบราณมีความรู้ทางการแพทย์ สาขาทันตกรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา เช่น กระเพาะอาหาร และศัลยกรรม ซึ่งมีหลัก ฐานการบันทึก และต่อมาถูกนำไปใช้แพร่หลาย ในทวีปยุโรป ตลอดจนวิธีเสริมความงามต่าง ๆ เช่น การรักษาริ้วรอยเหี่ยวย่น การใช้ผมมนุษย์ ทำวิกผม เป็นต้น

ศิลปวิทยาการ 4. ด้านสถาปัตยกรรม เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอียิปต์ คือ พีระมิดที่บรรจุศพของฟาโรห์ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจุด ประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง นอกจากพีระมิดแล้ว ยังมีการสร้างวิหารจำนวน มาก เพื่อบูชาเทพเจ้าในแต่ละองค์ และเป็นสุสาน ของกษัตริย์ เช่น วิหารแห่งเมืองคาร์นัก เป็นต้น

ศิลปวิทยาการ 5. ด้านประติมากรรม ชาวอียิปต์สร้างประติมากรรมไว้จำนวนมาก ทั้งที่เป็นรูปปั้ นและภาพสลักที่ปรากฏในพีระมิด และวิหาร ภาพสลักส่วนใหญ่จะประดับอยู่ใน พีระมิดและวิหาร ในพีระมิดมักพบรูปปั้ นของ ฟาโรห์และพระมเหสี รวมทั้งเรื่องราววิถีชีวิตของ อียิปต์ ส่วนภายในวิหารมักจะเป็นรูปปั้ น สัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว เป็นต้น และภาพสลักที่แสดงเรื่อง ราวและเหตุการณ์

ศิลปวิทยาการ 6. ด้านจิตรกรรม ผลงานด้านจิตรกรรมมีเป็นจำนวนมาก มัก พบในพีระมิดและสุสานต่างๆ ภาพวาดของชาว อียิปต์ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจ ของฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคล ทั่วไปและภาพที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ เช่น ภาพการประกอบอาชีพ เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม 1. เทพเจ้าอียิปต์โบราณ เทพีไอซิส (Isis) ลักษณะเด่น : รูปร่างเป็นสตรี สวมหมวกเป็นรูป บัลลังก์ ความหมาย : เทพีแห่งเวทมนตร์ บทบาท : เป็นเทพีผู้ปกป้องกษัตริย์อียิปต์ และ พระโอรส “ฮอรัส”เปรียบเสมือนเทพีแห่งมารดาผู้ มีพลังในการเยียวยารักษา

ข้อมูลเพิ่มเติม เทพเจ้าอนูบิส (Anubis) ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็นหมาในสีดำ ร่างกายเป็น มนุษย์ผู้ชาย ความหมาย : เทพแห่งความตาย เจ้าแห่งดินแดน ศักดิ์สิทธิ์ บทบาท : ต้อนรับผู้ตาย และ ปกป้องร่างกายไม่ให้ เน่าเปื่ อย เป็นเทพองค์แรกที่มนุษย์จะได้พบหลัง ความตาย

ข้อมูลเพิ่มเติม เทพเจ้าฮอรัส (Horus) ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็นเหยี่ยวร่างกายเป็นมนุษย์ ผู้ชาย ดวงตาข้างซ้ายคือดวงสุริยะ ดวงตาข้างขวา คือดวงจันทร์ ความหมาย : เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ตามพระนาม แปลว่า เทพผู้อยู่เบื้องบน บทบาท : ตัวแทนองค์ฟาโรห์ เชื่อมโยงถึงกษัตริย์ และมีความเชื่อว่าเป็นผู้กอบกู้อาณาจักรอียิปต์จาก อธรรมในยุคเทพเจ้าปกครอง

ข้อมูลเพิ่มเติม เทพีฮาเธอร์ (Hathor) ลักษณะเด่น : รูปร่างเป็นสตรี บนศีรษะมีเขาวัว และดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง ความหมาย : เทพแห่งความรัก ความเป็นแม่ ศิลปะและดนตรี บทบาท : เทพแห่งความรัก ความเป็นแม่ และเป็น เทพีแห่งสตรีทั้งมวล เป็นเทพแห่งการเจริญพันธุ์ และการให้กำเนิด รวมทั้งเรื่องสุขภาพ ความงาม

ข้อมูลเพิ่มเติม เทพเจ้ารา (Ra/Re) ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็นเหยี่ยว มีสัญลักษณ์รูป ดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ ความหมาย : เทพแห่งความเป็นอมตะ บทบาท : เทพเจ้ารา หรือ เร ถือเป็นสุริยเทพ หรือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นเทพสูงสุดอียิปต์ อียิปต์โบราณเชื่อว่า ฟาโรห์ เจ้าผู้ปกครอง อาณาจักร เป็นโอรสแห่งสุริยเทพที่ถูกส่งลงมาปก ครองโลกมนุษย์

ข้อมูลเพิ่มเติม เทพอามอน/อามุน (Amon/Amun/Amen) ลักษณะเด่น : ศีรษะเป็นมนุษย์ สวมกระโปรงแบบ ฟาโรห์และสวมหมวกมงกุฎขนนกคู่ ความหมาย : จอมราชันแห่งปวงเทพ บทบาท : เทพสูงสุดของทวยเทพอียิปต์ทั้งมวล ตามประวัติบอกว่าเทพอามุนได้รับการเคารพบูชา ในอาณาจักรโบราณและขยายไปถึงดินแดน เอธิโอเปีย นิวเบีย ลิเบีย และปาเลสไตน์ ทั้งยังเป็น เทพแห่งสุริยะและสายลม

ข้อมูลเพิ่มเติม เทพเจ้าโอซิริส (Osiris) ลักษณะเด่น : รูปร่างเป็นมนุษย์มีเครา ถือแส้และ คฑาหัวขอ ความหมาย : เทพแห่งแม่น้ำไนล์ บทบาท : เป็นผู้พิพากษา ดวงวิญญาณของมนุษย์ หลังความตายว่าใครจะได้ขึ้นสวรรค์ ขั้นตอนการ พิพากษา จะนำก้อนเนื้อหัวใจของผู้ตายที่ติดอยู่ใน ร่างมัมมี่นั้น มาชั่งบนตาชั่งเทียบกับน้ำหนักของขน นก หากหัวใจเบากว่าขนนก ถือว่าคนนั้นเป็นคนดี สมควรได้ขึ้นสวรรค์

ข้อมูลเพิ่มเติม 2. การทำมัมมี่ ขั้นตอนที่ 1 ศพถูกนำไปยังเต๊นท์พิเศษ ที่เรียกว่า อีบู ซึ่งมี ความหมายว่า สถานที่ชำระศพให้บริสุทธิ์ ผู้ทำมัมมี่ จะอาบศพด้วยเหล้าที่ทำจากน้ำตาลสด และชำระ ล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์ ขั้นตอนที่ 2 ช่างก็จะผ่าช่องท้องด้านซ้ายเพื่อเอาอวัยวะภายใน ออก เนื่องด้วยอวัยวะภายใน ซึ่งมีความชื้นสูง จะ เป็นสิ่งแรกที่เน่าสลายอย่างรวดเร็ว จึงต้องเอาออก เหลือไว้แต่หัวใจที่จะทิ้งไว้ภายในศพ เพราะพวกเขา เชื่อว่า หัวใจคือศูนย์รวมแห่งปัญญาและความรับรู้ ทั้งปวง ที่ผู้ตายยังต้องการใช้ในโลกแห่งวิญญาณ

ข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 3 ส่วน ตับ ปอด กระเพาะ และลำไส้ จะถูกนำมา ชำระล้างจนสะอาด แล้วนำไปกลบไว้ด้วยเกลือเม็ด ที่เรียกว่า Natron ซึ่งเป็นเกลือโซเดียมคาร์บอร์ เนต แล้วเขาจะสอดตะขอผ่านเข้าทางช่องจมูก เพื่อ เกี่ยวเอาเนื้อสมองออกมา เพราะสมองก็เหมือน อวัยวะภายในที่มีความชื้นสูง ถ้าทิ้งไว้จะทำให้แห้ง ยาก และก่อให้เกิดการย่อยสลายได้ง่าย ขั้นตอนที่ 4 จากนั้นก็เอาศพไปวางกลบด้วยเกลือเม็ดให้แห้ง ของเหลวจากร่างกาย และผ้าที่ใช้ในการเตรียมศพ ทุกชิ้น ก็จะเก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อนำไปฝังพร้อม กับศพ

ข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 5 ช่องว่างภายในก็ใส่เกลือเม็ดไว้ เพื่อป้องกันการ เจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันจะทำให้ร่าง เปื่ อยเน่าสูญสลายไปได้ ขั้นตอนที่ 6 ศพจะถูกแช่เกลือไว้สี่สิบวันจนแห้งดี แล้วจะถูกนำ มาชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์อีก แล้วจะเคลือบ ผิวหนังด้วยน้ำมันเพื่อให้ผิวหนังคงสภาพอ่อนนุ่มไม่ แห้งกระด้างไปตามกาล เวลา ขั้นตอนที่ 7 อวัยวะภายในที่แห้งแล้วจากการแช่เกลือ ก็จะถูกนำ กลับมาบรรจุในช่องท้องและช่องอกตามเดิม

ข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 8 แล้วจะเติมด้วยของแห้งอย่างอื่นให้เต็ม เช่นขี้เลื่อย หรือใบไม้และผ้าลินิน เพื่อให้ดูเหมือนยามมีชีวิตอยู่ ไม่ยุบตัวลง ขั้นตอนที่ 9 จากนั้นก็จะชำระศพด้วยน้ำมันหอมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปพันผ้าลินินในขั้นต่อไป การพันห่อมัมมี่ขั้นแรก ศีรษะและลำคอจะถูกพัน ก่อน ด้วยแถบผ้าลินินอย่างดี แล้วก็จะพันนิ้วมือ และนิ้วเท้าแยกกันทีละนิ้ว แล้วก็พันห่อแขนและขา แต่ละทบก็จะใส่เครื่องราง เพื่อปกปักรักษาผู้ตาย ในระหว่างการเดินทางไปสู่ภพใหม่

ข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 10 ในขณะที่ร่างของมัมมี่กำลังถูกห่อพันด้วยผ้าลินิน ก็จะมีพระท่องมนต์ เพื่อขจัดสิ่งที่เลวร้ายมิให้ แผ้วพานผู้ตาย และเป็นการช่วยให้ผู้ตายเดินทางได้ สะดวกในภพหน้า ขั้นตอนที่ 11 แล้วแขนขามัมมี่ก็จะถูกพันเข้ากับส่วนร่าง ตำรา “มนตราสำหรับผู้ตาย” ก็จะรวมห่อไปด้วยให้ถือไว้ ในมือของมัมมี่ ขั้นตอนที่ 12 จากนั้นก็จะพันผ้าเพิ่มรวมให้ร่างถูกพันรวมกันหมด แต่ละชั้นของผ้าลินิน ผู้ทำมัมมี่ก็จะทาไว้ด้วยเรซิน เพื่อให้ผ้าลินินยึดติดกันไม่หลุดรุ่ยออกได้ง่าย แล้ว ห่อด้วยผ้าผืนใหญ่อีกทีหนึ่ง จากนั้นก็จะวาดรูป เทพ โอซีรีส บนผ้าที่ห่อมัมมี่นั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 13 จากนั้นก็เอาผ้าผืนใหญ่ห่ออีกชั้นหนึ่ง แล้วมัดตรา สังข์ด้วยแถบผ้าลินินตลอดร่างอย่างแน่นหนาอีก เป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็ปิดด้านบนของมัมมี่ด้วย แผ่นกระดานก่อนที่จะเอาไปใส่ในโลงศพสองโลง ซ้อนกัน ในพิธีศพ ญาติพี่น้องของผู้ตายมาไว้อาลัย และทำพิธี “เปิดปากศพ” เพื่อเป็นการเลี้ยงอาหาร ให้ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็จะเอาโลงไปใส่ใน โลงหินแกะสลัก ที่ตั้งอยู่ในสถานเก็บศพ พร้อมด้วย เครื่องเรือน เสื้อผ้า ของมีค่า อาหารและเครื่องดื่ม จะถูกจัดวางไว้อย่างพร้อมเพรียง เป็นเสบียงกรัง ให้ผู้ตายได้เดินทางสู่ปรภพโดยสะดวก

THANK YOU FOR READING


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook