Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สงครามโลกครั้งที่2

สงครามโลกครั้งที่2

Published by Guset User, 2022-05-22 06:42:16

Description: สงครามโลกครั้งที่2

Search

Read the Text Version

สงครามโลกครั้งที่ 2 ( 1939-1945)

คำนำ หนังสือE-BOOKเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาประวัติศาสตร์ไทยโดยผู้จัดทำมีจุดประสงคื์ที่จะสึกษา เรื่องสงครามโลกครั้งที่2เกี่ยวกับการเกิดสงคราม สาเหตุของการเกิด รวมถึงการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้ง ที่2 โดยผู้จัดทำได้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าE-BOOKเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ให้ผู้อ่านไม่มากก็น้อยหากมีข้อผิดพลาด ประการใดผู้จัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นางสาวขัตติยา ยอดทอง ผู้จัดทำ

สารบัญ สาเหตุของสงคราม ปัจจัยที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่2 การรบในสงครามโลกครั้งที่2 การยกพลขึ้นบกในวันดีเดย์(D Day)

สาเหตุของสงคราม สาเหตุของสงคราม ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีบุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งสนับสนุนโปแลนด์จึงประกาศสงครามต่อเยอรมนี(3 ก.ย. ) อีกหนึ่งเดือนต่อ มาเยอรมนีก็บุกเดนมาร์กและนอร์เวย์ และสามารถยึดครองประเทศดังกล่าวรวมทั้งเบลเยียมได้ภายใน เวลา 6 สัปดาห์สหภาพโซเวียตซึ่งเป็นพันธมิตกับเยอรมนีในระยะแรกของสงครามจึงประกาศสงคราม กับฟินแลนด์และประเทศแถบบอลติกสงครามในยุโรปขยายตัวและนานาประเทศก็ถูกดึงเข้าร่วมใน สงคราม ต่อมาใน 1941 ญี่ปุ่นซึ่งสนับสนุนเยอรมนีได้เข้าโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล หมู่ เกาะฮาวาย การโจมตีดังกล่าวทำให้สงครามขยายตัวไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลกและเป็นการเริ่มต้นของ สงครามทางด้านแปซิฟิกและตะวันออกไกล ทั้งทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามกับประเทศ สัมพันธมิตร

ปัจจัยที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สำคัญมี ดังนี้ 1.ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาติชาติ เป็นผลจากการที่สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้า เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ 2.การเติบโตของลัทธินิยมทหาร ความล้มเหลวของสันนิบาติชาติและการประชุม ลดอาวุธมีส่วนสำคัญทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาเสริมสร้างกำลังทหารและกำลัง อาวุธขึ้นอีกครั้งหนึ่ง 3.ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง การก้าวสู่อำนาจทางการเมืองของอด อล์ฟ ฮิตเลอร์ในเยอรมนีเมื่อ 1933 ทำให้แนวความคิดนาลัทธินาซี (Nazism) 4.การแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้เยอรมนีสูญ เสียอาณานิคมของตนให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งทำให้ทั้งสองประเทศมีความ มั่งคั่งมากขึ้น 5.ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) และสนธิสัญญาสันติภาพฉบับอื่น ๆ ที่เยอรมนีและประเทศที่แพ้ในสงครามโลกครั้ง ที่ 1 ถูกบีบบังคับให้ลงนามโดยไม่อาจต่อรองได้ ทำให้เยอรมนีและประเทศแพ้ สงครามไม่พอใจ

การรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการพัฒนาอาวุธที่เคยใช้มาแล้วจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ เช่น แนวความคิดการใช้กำลังรถถังและยานเกราะประสานกับการรบหนุนช่วยทางอากาศหรือการทิ้ง ระเบิดทางยุทธศาสตร์ ด้วยการใช้เครื่องบินโจมตีเจาะลึกในแนวหลังข้าศึก ทำลายแหล่งอุตสาหกรรม และสถานที่สำคัญทางทหารและของรัฐบาล ตลอดจนการยกพลขึ้นบกและทำสงครามสะเทิ้นน้ำสะเทิ้น บก เป็นต้น อาวุธที่นับว่าเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางทหารในสงครามครั้งนี้คือ จรวดและเครื่องบินขับไล่ที่ ใช้เครื่องยนต์เจ็ต (Jet engine)ซึ่งมีความเร็วกว่าเสียงจรวดแบบวี 2 (V-2) ที่สามารถบรรทุกหัวรบได้ หนักครึ่งตัน และมีความเร็วประมาณ 4 เท่าของเสียง ถูกนำมาใช้ใน ค.ศ. 1944 และถือได้ว่าเป็นต้นแบบ ขีปนาวุธ (Ballistic Missile ) ในเวลาต่อมา เครื่องบิน เครื่องยนต์เจ็ตซึ่งบินได้สูงถึง 10,520 เมตร และมีความเร็ว 865 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีส่วนทำให้การรบทางอากาศมีบทบาทสำคัญมากในสงคราม อย่างไรก็ตามความสำเร็จของการประดิษฐ์ระเบิดนิวเคลียร์หรือระเบิดอะตอมของฝ่ายพันธมิตรในช่วง ปลายสงครามและมีการนำระเบิดดังกล่าวไปทิ้งที่เมือง ฮิโรชิมาและนานาซากิในต้นเดือนสิงหาคม 1945 ซึ่งมีผลให้ญี่ปุ่นต้องยอมจำนนยุติสงครามลงโดยไม่มีเงื่อนไข

การยกพลขึ้นบกในวันดีเดย์ (D-Day) สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 โดยเยอรมนีบุกโจมตีโปแลนด์ เป็นผลสืบเนื่องจากการที่Adolf Hitler ผู้นำเยอรมนีต้องการขยายดิน แดนในยุโรปโดยอ้างว่าเยอรมนีจำเป็นต้องมี “ที่อาศัย” (Living space) เยอรมนีจึงละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ด้วยการฟื้นฟูอำนาจของกองทัพบกและ กองทัพเรือ รวมทั้งเริ่มสร้างป้อมค่ายและสถานที่ทางทหารในบริเวณแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นเขตปลอดทหาร ตลอดจนลาออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาติ ชาติ ต่อมาในปี 1936 เยอรมนีได้จัดทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรต่อต้านคอมมิวนิสต์กับญี่ปุ่นและในปี ค.ศ. 1938 ก็ได้ผนวกออสเตรียรวมทั้งยึดครองแควันซูเด เทนแลนด์ (Sudeten Land) ของเชโกสโลวะเกียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีโดยอ้างว่าซูเดเทนแลนด์มีชาวเยอรมันอาศัยอยู่จำนวนมาก อังกฤษและ ฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นไม่มีความพร้อมทางทหารที่จะก่อสงครามใหญ่จึงหาทางออกโดยการผ่อนปรนและประนีประนอมกับเยอรมนีโดยมีการจัดประชุมกับฮิต เลอร์ที่เรียกว่า ความตกลงที่เมืองมิวนิก (Munich Agreement) ในเดือนกันยายน 1938 โดยประเทศมหาอำนาจประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ตกลงให้เยอรมนีครอบครองแคว้นซูเดเทนแลนด์ แต่มีเงื่อนไขว่าเยอรมนีจะไม่รุกรานดินแดนส่วนที่เหลือของเชโกสโลวะเกียอย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม 1939 เยอรมนีได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองเชโกสโลวะเกียทั้งหมด ซึ่งเป็นการท้าทายอังกฤษและฝรั่งเศสในข้อตกลงที่เมืองมิวนิก อังกฤษและฝรั่งเศสจึงยกเลิก นโยบายผ่อนปรนแก่เยอรมนีและดำเนินนโยบายรับประกันเอกราชของโรมาเนีย กรีซ และโปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์เมินเฉยต่อนโยบายดังกล่าวและเรียกร้องเมือง ดานซิก (Danzig) และฉนวนโปแลนด์ที่เคยสูญเสียไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คืน โปแลนด์ซึงได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษและฝรั่งเศสปฏิเสธจะ คืนให้ เยอรมนีจึงส่งกองทัพบุกโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสตอบโต้โดยการประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน 1939 สงครามในยุโรปจึงเริ่มขึ้นและต่อมาได้ขยายตัวเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนบุกโปแลนด์เยอรมนีเจรจาทำสนธิสัญญา (Non-Aggressived)กับสหภาพ โซเวียตในเดือนส.ค.1939 เยอรมนีใช้ยุทธวิธีสงครามแบบสายฟ้าแลบ(lightening war) โดยใช้รถถังและทหารราบยานยนต์ซึ่งใช้อาวุธทันสมัยและ ยุทธภัณฑ์ชั้นเยี่ยมบุกโจมตีอย่างรวดเร็ว รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากกำลังทางอากาศ ทำให้ฝ่ายข้าศึกตระหนกและขวัญเสียจนโปแลนด์ถูกยึดครองใน ปลายเดือนกันยายน 1939 จากนั้นเยอรมนีก็บุกเข้ายึดเดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก รวมทั้งบุกโจมตีฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน 1940 จนยึดกรุงปารสได้ชัยชนะต่อฝรั่งเศสจึงหมายถึงการครอบครองภาคพื้นทวีปทั้งหมดของเยอรมนี ใน ปี 1941

:ภายยหลังที่ฮิตเลอร์ยึดฝรั่งเศสได้ ฮิตเลอร์ระดมกำลังทหารเยอรมันเข้าโจมตีเกาะอังกฤษตลอดปี 1941แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ฮิตเลอร์เปลี่ยนใจหันไป โจมตีรัสเซียเพราะต้องการได้แร่ธาตุซึ่งจะเป็นยุทธปัจจัยสำคัญและแหล่งข้าวสาลีในรัฐยูเครนของรัสเซียเพื่อจะได้มาระดมโจมตีอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง แต่การทำ สงครามกับรัสเซียไม่ได้เอาชนะได้ง่าย ๆ เหมือนที่ฮิตเลอร์คิดไว้เพราะในฤดูหนาวทหารเยอรมันก็ไม่สามารถทนสภาพอากาศที่หนาวทารุณในรัสเซียได้แหล่งแร่ ธาตุและแหล่งอาหารที่ฮิตเลอร์หมายตาไว้รัสเซียขนไปแอบซ่อนไว้หลังเทือกเขายูราลเพื่อไม่ให้เยอรมนีใช้ประโยชน์จากดินแดนของรัสเซียที่เยอรมนียึดได้และระยะ ทางยาวประมาน 1,800 ไมล์ที่ทหารเยอรมันยึดได้ก็เป็นระยะทางที่ยาวเกินไปต้องใช้ทหารจำนวนมากที่จะควบคุมพื้นที่ฉะนั้นการที่ฮิตเลอร์ตัดสินใจหันไปโจมตี รัสเซียจึงเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด : ในกลาง ค.ศ. 1942 เป็นการเปลี่ยนบทบาทของฝ่ายสัมพันธมิตรจากการเป็นฝ่ายตั้งรับเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกรานบ้าง กองทัพเยอรมนีและอิตาลีเริ่มพ่ายแพ้ในการรบที่เมืองเอล อะลาเมน (Battles of El-Alamein) ในแอฟริกาเหนือตอนปลาย ค.ศ. 1942 ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ฝ่าย สัมพันธมิตรเริ่มวางแผนที่จะเปิดการรุกใหญ่ขึ้นในยุโรป ในปี 1943 ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรวางแผนประชุมหารือร่วมกันหลายครั้งเพื่อเอาชนะสงครามและ ทำลายกองทัพเยอรมนี แผนการรบที่สำคัญคือ การยกพลขึ้นบกครั้งใหญ่ที่เรียกว่าวันดี-เดย์ ในเดือนมิถุนายน 1944

การยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่หาดนอร์มังดี (Normandy) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 1944 เพื่อปลดปล่อย ยุโรปจากการยึดครองของเยอรมนีถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีส่วนทำให้สถานการณ์ใน สงครามโลกครั้งที่ 2 เปลี่ยนแปลงไป วันดี-เดย์เป็นวันปฏิบัติการที่ได้ชื่อว่ายาวนานที่สุด (the longest day) และเป็นการยกพลขึ้นบกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสำเร็จ ของการยกพลขึ้นบกในวันดี-เดย์ ถือว่าเป็นการวางแผนการรบที่เยี่ยมยุทธ์ ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มเป็นฝ่าย รุกจนสามารถปลดปล่อยเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศสจากการยึดครองของนาซีได้สำเร็จ วันดี –เดย์ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของการรบ เพราะทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งในเวลาต่อมาสามารถเผด็จศึก เยอรมนีในยุโรปได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945 สงครามโลกในภาคพื้นยุโรปจึงสิ้นสุดลง

จัดทำโดย 6421126084นางสาวขัตติยา ยอดทองD3


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook