Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วันลอยกระทง พ.ศ.2564

วันลอยกระทง พ.ศ.2564

Published by phatthararat.sai, 2021-11-18 05:11:55

Description: วันลอยกระทง พ.ศ.2564

Search

Read the Text Version

วันลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสอง ( ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ) โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

ประเพณีวันลอยกระทง... วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะ ราวเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐาน ก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทง ได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

แล้วเคยสงสัยหรือไม่ ว่าลอยกระทงเริ่มมีเมื่อใด แล้วเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยจริงหรือ??? ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าลอยกระทงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่คำว่าลอยกระทง เริ่มเด่นชัดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ฟื้นฟู ประเพณีพิธีการสำคัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร และความจำเป็นด้านอื่นๆ จึงมีพระราชนิพนธ์หนังสือตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ โดยจะสมมุติฉากในเรื่องเป็นสมัยสุโขทัย จึงเกิดการทำกระทงด้วยใบตองแทนวัสดุอื่นๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไป การทำกระทงด้วย ใบตองก็แพร่หลายไปที่ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

เมื่อพูดถึงลอยกระทง สิ่งแรกที่นึกถึงก็คือนางนพมาศ และสมัยสุโขทัย แต่ว่าในศิลาจารึกและเอกสารต่างๆ ไม่มีคำว่า “ลอยกระทง” แต่จะมีประเพณีที่มีลักษณะ คล้ายกับการลอยกระทงโดยในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเรียกว่า “เผาเทียน เล่นไฟ” ซึ่งมีความหมายกว้างๆว่า ทำบุญไหว้พระ แม้แต่ในสมัยอยุธยา ทั้งเอกสารและวรรณคดี มีแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม และแขวนโคม ดังตัวอย่างจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ดังนี้ โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

“ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน…เราจะเห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ…ไปตาม กระแสธารมีขนาดใหญ่ย่อมต่างกันตามศรัทธาปสาทะของแต่ละคน…โดยนัยเดียวกัน เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแม่พระธรณี ที่อนุเคราะห์ให้เก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารได้อย่าง อุดมสมบูรณ์ในวันต้นๆ ของปีใหม่ชาวสยามก็จะตามประทีปโคมไฟขึ้นอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง” โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

ด้วยเหตุนี้คำว่า “ลอยกระทง” จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นาน และชัดเจนในยุค ต้นรัตนโกสินทร์ โดยจากหลักฐานพระราชพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ 3 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 อย่างไรก็ตาม ประเพณีลอยกระทงจะเกิดขึ้นหรือพัฒนามาจากสิ่งใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในครอบครัวและชุมชน ที่ร่วมกันจัดงานลอยกระทงขึ้น เพื่อให้รู้จักบุญคุณของน้ำ และดูแลรักษาทรัพยากร ของประเทศให้ยั่งยืนสืบต่อไป โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

ภาพลอยกระทง จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

ชี้พิกัด...ลอยกระทงออนไลน์ ...รักษ์โลก ปลอดภัย ห่างไกลโควิด... https://season.sanook.com/loykrathong/ https://mthai.com/loykrathong/ https://loykratong.kapook.com/online/ https://theoldsiam.co.th/loykrathong https://www.readawrite.com/?action=loykrathong โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1

แล้วประเทศสมาชิกอาเซียน มีประเพณีวันลอยกระทงไหมนะ???? โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) สพป.ปทุมธานี เขต 1



อ้างอิง หนังสือ “ประเพณี 12 เดือน ในประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมเพื่อความอยู่รอดของคน”. ปรานี วงษ์เทศ. มติชน. 2548

...วันเพ็ญเดือนสิบสอง บุญจะส่งให้เราสุขใจ... โรงเรียนวัดโบสถ์(บวรธรรมกิจวิทยา) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook