ย้อนรอย พิธีโล้ชิงช้าในสยาม
ใบพาดหน้า ติดกาว
ย้อนรอย พิธีโล้ชิงช้าในสยาม กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช 2563
พย้อิธนีโลร้ชอิงยช้าในสยาม พมิ พค์ ร้งั แรก ๑,๐๐๐ เลม่ พุทธศกั ราช ๒๕๖๓ จัดพมิ พโ์ ดย กรมศิลปากร ราคา ๑๔๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนกั หอสมุดแหง่ ชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ย้อนรอย พิธโี ล้ชิงชา้ ในสยาม.-- กรงุ เทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวฒั นธรรม, 2563. 80 หนา้ . 1. ตรียัมปวาย. I. ชอื่ เรอื่ ง. 390.088 ISBN : 978-616-283-531-5 ที่ปรกึ ษา อธบิ ดกี รมศลิ ปากร นายประทีป เพง็ ตะโก รองอธิบดกี รมศลิ ปากร นายพนมบตุ ร จนั ทรโชต ิ อดตี นักอกั ษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร นางสาวฉวีงาม มาเจรญิ อดตี นักอกั ษรศาสตร์เช่ยี วชาญ สำ� นกั วรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ นายธรี ะ แก้วประจันทร ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ นางสาวอรสรา สายบวั ผ้อู �ำนวยการกลมุ่ จารีตประเพณี นางสาวอสิ รีย์ ธรี เดช ค้นคว้าเรยี บเรียง นางสาวฉัตราภรน์ จนิ ดาเดช นักอักษรศาสตร์ชำ� นาญการพเิ ศษ ศิลปกรรม ส�ำนกั สถาปัตยกรรม นายวุฒนิ ันท์ จนิ ศริ วิ านิชย์ นางสาวอษุ ณา บัวศรี ภาพประกอบ ส�ำนกั หอจดหมายเหตุแหง่ ชาติ กรมศิลปากร ออกแบบและพิมพ์ท ่ี บริษทั อมรินทร์พรนิ้ ตงิ้ แอนด์พับลิชชง่ิ จำ� กัด (มหาชน) 376 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลงิ่ ชนั เขตตล่ิงชนั กรงุ เทพฯ 10170 โทรศพั ท์ 0 2422 9000, 0 2882 1010 โทรสาร 0 2433 2742, 0 2434 1385 E-mail: [email protected] Website : www.amarin.com
คำ�นำ� การโล้ชิงช้า เป็นประเพณีพิธีกรรมท่ีมีมาแต่โบราณ พบเห็นท่ัวไปในหลายท้องถ่ิน บางแห่งอาจเป็นเพียงการละเล่น เพื่อผ่อนคลาย แต่บางแห่งถือปฏิบัติเป็นพิธีกรรมส�ำคัญ ตามความเชอื่ ของผคู้ นในทอ้ งถ่ินนน้ั ๆ มนี ยั ส�ำคัญคอื ม่งุ ใหเ้ กดิ ความอดุ มสมบรู ณห์ รอื เกดิ สริ มิ งคล แลว้ จงึ ถอื ปฏบิ ตั สิ บื ตอ่ กนั มา จนกลายเปน็ ประเพณใี นทสี่ ดุ ในบรบิ ทของสงั คมไทยนน้ั โลช้ งิ ชา้ ถอื เปน็ พธิ กี รรมสำ� คญั เก่าแก่คู่บ้านเมืองมาช้านาน โดยนับเป็นพิธีกรรมขั้นตอนหนึ่ง ในพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย ซึ่งเป็นประเพณีตามคติความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู แต่เดิมพิธีน้ีถือปฏิบัติกันแต่เฉพาะ ในชุมชนพราหมณ์ ภายหลังเมื่อพราหมณ์เข้ามารับราชการ และมีบทบาทในราชส�ำนัก คติความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ที่เก่ียวเน่ืองในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู จึงถูกน�ำมาปฏิบัติ ในราชสำ� นกั ดว้ ย ตอ่ มาเมอ่ื พธิ โี ลช้ งิ ชา้ ไดร้ บั การยอมรบั และยกขนึ้ เปน็ ประเพณีราชส�ำนัก จึงเป็นเหตใุ ห้ทอ้ งถ่นิ ทมี่ ชี มุ ชนพราหมณ์ มาแต่เดิม เช่น เมืองนครศรีธรรมราช และยังคงถือปฏิบัติ พิธีโล้ชิงช้า จ�ำเป็นต้องหลีกเล่ียงหรือเปล่ียนช่ือเรียกพิธีน้ีว่า พิธีแห่นางดาน แทน เพื่อมิให้พ้องกับประเพณีราชส�ำนัก อยา่ งไรกด็ ี ภายหลังเมอื่ เกดิ เหตกุ ารณ์เปล่ยี นแปลงการปกครอง ในประเทศไทยไม่นานราชส�ำนักจึงได้ยกเลิกการจัดพิธีโล้ชิงช้า ท้ังน้ีอาจเนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นเป็น ส�ำคัญ และในเวลาใกล้เคียงกันนั้น จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ยุติการจัดพิธีแห่นางดานเช่นกัน จนกระท่ังในปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงมีมติให้ร้ือฟื้นพิธีแห่นางดาน ขนึ้ อกี ครงั้ เพอื่ เปน็ การอนรุ กั ษส์ บื สานประเพณโี บราณคบู่ า้ นเมอื ง และยังคงจัดพธิ ีนเี้ ป็นประจ�ำต่อมาทกุ ปี
ท้ังน้ีจากการศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลทั้งพิธีโล้ชิงช้า และพิธีแห่นางดานพบว่า แม้ท้ังสองพิธีจะมีความสืบเนื่อง เชื่อมโยงกันและมีบทบาทในสังคมไทยมายาวนาน แต่พิธี แห่นางดานยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเม่ือเทียบเคียงกับ พธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย ดงั นนั้ เพอื่ เปน็ การรวบรวมองคค์ วามรู้ อนั จะนำ� ไปสกู่ ารอนรุ กั ษส์ บื สานวฒั นธรรมไทยอยา่ งยง่ั ยนื ตอ่ ไป กรมศลิ ปากร โดยสำ� นกั วรรณกรรมและประวตั ศิ าสตร์ กลมุ่ จารตี ประเพณี จึงไดจ้ ัดทำ� หนังสอื “ย้อนรอย พิธีโล้ชิงชา้ ในสยาม” อันมเี น้ือหาว่าดว้ ยพิธีตรยี มั ปวาย - ตรปี วาย และพธิ ีแห่นางดาน ในแง่มุมต่างๆ ทั้งภูมิหลังความเป็นมา ข้ันตอนล�ำดับพิธีกรรม ความสืบเน่ืองเชื่อมโยง รวมถงึ บทบาทและคุณคา่ ต่อสังคมไทย กรมศิลปากร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “ย้อนรอย พธิ โี ล้ชิงช้าในสยาม” จะอำ� นวยประโยชน์ตอ่ การศกึ ษาคน้ ควา้ อา้ งองิ ของนกั เรยี น นกั ศกึ ษา นกั วชิ าการ ตลอดจนผทู้ สี่ นใจศกึ ษา ด้านประวัตศิ าสตรแ์ ละจารตี ประเพณโี ดยทั่วกัน (นายประทีป เพง็ ตะโก) อธบิ ดกี รมศิลปากร สำ� นักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ พฤษภาคม ๒๕๖๓
สารบัญ คำ�นำ� ใบนทสบังาคทมขแอลงะศวาฒั สนนธารพรรมาไหทมยณ์ - ฮินด ู 6 อทิ ธพิ ลคติความเชือ่ ของศาสนาพราหมณ ์ - ฮนิ ดตู ่อสงั คม 7 และวฒั นธรรมไทย ความสัมพันธร์ ะหว่างพราหมณ์ในราชธานีกบั พราหมณห์ วั เมอื ง 14 และการจัดระเบยี บแบบแผนพระราชพธิ ตี ่างๆ ในราชส�ำนกั คติความเชื่อเรื่องการโลช้ ิงชา้ ในท้องถิน่ ตา่ ง ๆ 21 พระราชพิธีตรียมั ปวาย - ตรีปวาย : โลช้ ิงชา้ 32 ในประเพณีราชสำ�นกั ความเปน็ มาของพระราชพิธีตรยี มั ปวาย - ตรปี วาย 32 ความคลค่ี ลายของพระราชพธิ ีตรียมั ปวาย - ตรปี วาย 39 พิธีแหน่ างดาน : โลช้ ิงชา้ ในประเพณีทอ้ งถิน่ 63 จงั หวัดนครศรีธรรมราช ความเปน็ มาของพธิ แี ห่นางดาน จังหวดั นครศรีธรรมราช 65 ความคล่คี ลายของพธิ ีแหน่ างดาน จังหวดั นครศรธี รรมราช 66 พิธีโล้ชิงชา้ ภาพสะท้อนสังคมและวฒั นธรรมไทย 71 ความสำ� คัญของพิธโี ล้ชิงชา้ ในบริบททางประวตั ศิ าสตร ์ 71 74 พธิ ีโล้ชงิ ชา้ ความสบื เน่อื งเช่อื มโยงระหวา่ งประเพณรี าชส�ำนกั กบั ประเพณีทอ้ งถ่ิน 76 บทสง่ ทา้ ย บรรณานุกรม 77
6 บทบใานทสขังอคงมศแาลสะนวาัฒพนรธารหรมมณไท์ -ย ฮินดู ในยุคบรรพกาล ก่อนการก�ำเนิดศาสนาท่ีเป็นสากลเช่นใน ทกุ วนั น้ี มนษุ ยช์ าตพิ นั ธต์ุ า่ งๆ แทบทกุ แหง่ ทว่ั โลก มคี วามเชอื่ ดงั้ เดมิ คล้ายคลึงกันแม้จะไม่เคยมีการติดต่อไปมาหาสู่กันเลย น่ันคือ เชอ่ื ในเรอ่ื งการมอี ยขู่ องจติ หรอื วญิ ญาณหรอื อำ� นาจเหนอื ธรรมชาติ เชอื่ วา่ สงิ่ ตา่ งๆ ไมว่ า่ จะมชี วี ติ หรอื ไมก่ ต็ าม ลว้ นมจี ติ วญิ ญาณ รวมถงึ ธรรมชาตทิ อี่ ยรู่ อบตัว เชน่ แม่น้�ำ ทอ้ งฟ้า ลม ฝน ดวงดาว ฯลฯ และส่ิงเหล่าน้ันมีพลังอ�ำนาจท่ีสามารถช่วยเหลือหรือลงโทษก็ได้ มนุษยจ์ ึงเกรงกลัวและให้ความเคารพย�ำเกรง เกิดการบชู าเซน่ สรวง หรือมีพิธีกรรมรองรับความเชื่อเหล่านั้นตามมา ซึ่งอาจมีรูปแบบ แตกต่างหรือคล้ายคลึงกันตามแต่สภาพแวดล้อมและประสบการณ์ ของมนุษย์เหล่านั้น และจากความพยายามท่ีจะหาทางคล่ีคลาย ความหวาดกลวั ดงั กลา่ ว มนษุ ยไ์ ดพ้ ยายามเรยี นรแู้ สวงหาคำ� อธบิ าย เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทั้งหลาย กอปรกับความจ�ำเป็นท่ีจะต้อง อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเป็นชุมชน เพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยกันในการ ด�ำรงชีพ ซ่ึงเชื่อมโยงกับการสร้างกติกาควบคุมพฤติกรรมของ มนุษย์ในสังคม ท�ำใหค้ วามเช่ือด้ังเดิมคอ่ ยๆ ววิ ัฒนาการกลายเปน็ ลัทธิวญิ ญาณนิยมหรือศาสนาปฐมภูมิ (บางแหง่ ก็เรยี กว่า ศาสนาผ)ี อันเป็นรูปแบบเก่าแก่ท่ีสุดทางความคิดของมนุษย์ ซ่ึงมีส่วนส�ำคัญ ในการสร้างสรรค์อารยธรรมต่างๆ ให้กับมนุษย์นับแต่อดีตเร่ือยมา และมคี วามสมั พนั ธเ์ ชอื่ มโยงกบั การกำ� เนดิ ของลทั ธหิ รอื ศาสนาตา่ งๆ ทงั้ ทไ่ี มป่ รากฏผ้เู คารพนบั ถือและท่ียงั คงเคารพนับถือกนั ในปัจจุบัน
7 ในบริบทสังคมไทย คติความเชื่อต่างๆ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจน ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดปฏิบัติต่อกันมาน้ันก็ได้รับ การสรา้ งสรรคห์ รอื มพี ฒั นาการคลา้ ยคลงึ กบั สงั คมอน่ื ๆ คอื เปน็ การผสมผสานสง่ิ ละอนั พนั ละนอ้ ยเขา้ ดว้ ยกนั ทง้ั จากความเชอื่ ดง้ั เดมิ หรอื การนบั ถอื ผี จากศาสนา พราหมณ์ - ฮินดู และจากศาสนาพุทธ ที่เข้ามาเผยแผ่ในช่วงหลัง โดยท่ีความ เช่ือต่างๆ เหล่าน้ันถูกน�ำมาปรับแต่งให้เหมาะสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตของผู้คน ในสังคมและตามกาลเทศะ จนเกดิ เปน็ อัตลกั ษณ์อย่างไทยในปัจจบุ ัน อย่างไรก็ตาม ในแง่การศึกษาขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีท่ีมี ปฏิสัมพันธ์กับราชส�ำนักโดยตรงพบว่า พราหมณ์ ซ่ึงเป็นนักบวชหรือกลุ่ม ผู้ท่ีนับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู มีบทบาทโดดเด่นอย่างยิ่ง ดังนั้น ในการ อภิปรายเบ้ืองต้นจึงมุ่งเสนอบทบาทของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ที่มีต่อสังคม และวัฒนธรรมไทยโดยสังเขปเพ่ือเสริมความเข้าใจภูมิหลังและพัฒนาการของ พธิ โี ลช้ งิ ชา้ หรือตรยี ัมปวาย - ตรปี วาย ใหช้ ัดเจนย่งิ ขึน้ อิทธิพลคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ต่อสังคม และวัฒนธรรมไทย จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ ท้ังทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ พบว่า มีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ปรากฏอยู่ในดินแดนซ่ึงเป็นประเทศไทย มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่าไทย ได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เข้ามาหลายยุคสมัยและหลายเส้นทาง โดยมีเส้นทางส�ำคัญๆ เส้นทางแรก คือรับอิทธิพลเข้ามาทางภาคกลางตอนบน ภาคตะวนั ออกและภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของประเทศไทยสว่ นใหญจ่ ะรบั อทิ ธพิ ล ผ่านทางเขมรทั้งในด้านรูปแบบอ�ำนาจการเมืองการปกครองและรูปแบบศิลปะ ซึ่งขณะนั้นมีอาณาจักรฟูนันเป็นอาณาจักรท่ีมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดน แถบน้ี ดงั ปรากฏหลกั ฐานทางโบราณคดี เชน่ ปราสาทพนมรงุ้ ปราสาทหนิ พมิ าย อีกเส้นทางหนึ่งคือทางภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันตกของประเทศไทย ในแถบนมี้ อี าณาจกั รทวารวดเี ปน็ ศนู ยก์ ลางความรงุ่ เรอื ง และไดร้ บั อทิ ธพิ ลศาสนา
8 พราหมณ ์ - ฮนิ ดู จากอนิ เดยี โดยตรง ตงั้ แตค่ รงั้ ทพ่ี ระเจา้ อโศกมหาราชแหง่ อนิ เดยี ส่งสมณทูตเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนายังอาณาจักรทวารวดี หลักฐานท่ีแสดงถึง การรับอทิ ธพิ ลศาสนาพราหมณ ์ - ฮินดู เชน่ เทวสถาน เทวรปู พระเปน็ เจ้าตา่ งๆ ในบรเิ วณพน้ื ทจ่ี งั หวดั นครปฐม ราชบรุ ี เพชรบรุ ี และกาญจนบรุ ี เปน็ ตน้ นอกจาก ทกี่ ลา่ วแลว้ ภาคใตข้ องประเทศไทยกเ็ ปน็ อกี เสน้ ทางหนง่ึ ทพี่ บหลกั ฐานจำ� นวนมาก แสดงถึงการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ต้ังแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย มคี วามเจรญิ รงุ่ เรอื งในแถบน้ี เนอ่ื งจากเปน็ พนื้ ทตี่ ดิ ทะเล เหมาะแกก่ ารเปน็ เมอื งทา่ หรือจุดแวะจอดพักเรือเพ่ือหลบลมมรสุมของบรรดาพ่อค้าหรือผู้เดินทางสัญจร โดยทางเรือในทะเล รวมท้ังเป็นท่แี วะเตมิ เสบียงขนถา่ ยสนิ ค้า ซ่งึ ในการเดินเรือ เข้ามาติดต่อค้าขายของพ่อค้าอินเดียมักมีพวกพราหมณ์ร่วมเดินทางมาด้วย และทำ� หนา้ ทป่ี ระกอบพธิ กี รรมตา่ งๆ ใหก้ บั คณะเดนิ ทางตามคตคิ วามเชอ่ื ดงั นน้ั ในช่วงที่มกี ารจอดเรือแวะพกั ตามเมืองทา่ ตา่ งๆ จึงเกิดการแลกเปลยี่ นถา่ ยทอด วัฒนธรรมประเพณีพิธีกรรมหรือคติความเชื่อระหว่างกัน ดังปรากฏว่าพบ หลกั ฐานตา่ งๆ ท่ีเกย่ี วเนอื่ งในศาสนาพราหมณ ์ - ฮินดู กระจายท่วั ไปในทกุ พ้นื ที่ ของภาคใต้ แตบ่ รเิ วณทพี่ บหลกั ฐานจำ� นวนมาก ไดแ้ ก่ บรเิ วณจงั หวดั สรุ าษฎรธ์ านี นครศรีธรรมราช ปตั ตานี พังงา และพทั ลุง ชมุ ชนการค้าและเมอื งท่าค้าขายบนคาบสมทุ รมลายู ทม่ี า : พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรธี รรมราช นิทรรศการห้องศาสนาพราหมณ์ ¯ ฮนิ ดู : ป้ายจัดแสดงหลักฐานวฒั นธรรมต่างแดน
9 แผนทแี่ สดงเส้นทางการเดินเรอื บริเวณคาบสมทุ รมลายูสมัยโบราณ ทม่ี า : เอกสารเก่าเกีย่ วกบั เมืองนครศรธี รรมราช, ปกหลัง อยา่ งไรกต็ าม นกั วชิ าการมคี วามเหน็ วา่ ในระยะแรก กลมุ่ ทใี่ หก้ ารยอมรบั ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ปกครองหรือชนช้ันสูง เน่ืองจาก คติความเช่ือในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เช่น คติความเชื่อเร่ืองเทวราชาหรือ สมมติเทพ มีส่วนช่วยส่งเสริมการสร้างความชอบธรรมและเพิ่มพูนบารมี ทางการเมือง ซ่ึงการยอมรับคติความเชื่อดังกล่าวแสดงออกผ่านการประกอบ พธิ กี รรมอนั ศกั ดส์ิ ทิ ธโิ์ ดยกลมุ่ พราหมณร์ าชปโุ รหติ สว่ นกลมุ่ สามญั ชนทว่ั ไปยงั คง ถือปฏิบัตติ ามความเชื่อดงั้ เดมิ เช่น นบั ถอื ผี หรือบางส่วนกน็ ับถือท้งั ความเชอื่ ดั้งเดิม พทุ ธศาสนา และศาสนาพราหมณ ์ - ฮินดู ปะปนกัน1 1 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, “เทวสถานโบสถ์พราหมณ์,” สารานุกรมไทยส�ำหรับ เยาวชน โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ๓๔ (๒๕๕๒) : ๑๕ - ๑๘. ปรชี า นนุ่ สขุ , “พฒั นาการของศาสนาพราหมณใ์ นนครศรธรรมราช,” ใน รายงานการสมั มนา ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช คร้ังท่ี ๔ : ศิลปวัฒนธรรมนครศรีธรรมราชกับการ เปลยี่ นแปลงทางเศรษฐกจิ และสงั คมนครศรธี รรมราช, พมิ พค์ รง้ั ที่ ๒ (นครศรธี รรมราช : โรงพิมพ์ไทม์ พร้ินตงิ้ , ๒๕๕๔), หนา้ ๑๘๔. และวาทิน ศานต์ิ สันต,ิ อาเซยี น : การรบั อารยธรรมอนิ เดยี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับปรับปรงุ ), [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถงึ ได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/328841.
10 ต่อมาช่วงปลายพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ แม้อาณาจักรเขมรเร่ิมเสื่อมอ�ำนาจลง และสุโขทัยซึ่งเป็นแว่นแคว้นที่อยู่บริเวณพ้ืนท่ีภาคเหนือตอนล่างหรือบริเวณพ้ืนท่ี ตอนล่างของลุ่มแม่น�้ำปิง ยม และน่าน สามารถตั้งตนเป็นแคว้นอิสระจากอ�ำนาจ อาณาจักรเขมรได้ส�ำเรจ็ แตห่ ลักฐานต่างๆ ที่พบในยคุ นท้ี ำ� ใหท้ ราบวา่ ในขณะทีก่ ษัตริย์ แห่งสโุ ขทัยมพี ระราชศรทั ธาท�ำนบุ �ำรงุ พุทธศาสนา อทิ ธพิ ลของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู กม็ ไิ ดเ้ สอื่ มถอยสญู หายไปจากพนื้ ทแ่ี ถบนี้ ดงั ปรากฏวา่ มกี ารกอ่ สรา้ งเทวสถานและเทวรปู พระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู มีการบวงสรวงแด่พระเป็นเจ้าและเทพต่างๆ โดยมีพราหมณเ์ ป็นผ้ปู ระกอบพระราชพธิ ีหรือพธิ กี รรมต่างๆ ในเทวสถาน สำ� คัญ เช่น ศาลตาผาแดง ต้ังอยภู่ ายในอทุ ยานประวัติศาสตร์สุโขทัยหรอื ในเขตกำ� แพงเมอื ง จากการขุดแตง่ ได้พบชนิ้ สว่ นเทวรปู และเทวสตรี ประดับดว้ ยเครอ่ื งตกแต่งอย่างงดงาม มีรูปแบบศิลปะเทียบได้กับศิลปะเขมรแบบบายนรนุ่ แรกๆ วัดศรีสวาย ต้ังอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยหรือในเขตก�ำแพงเมือง จากการขดุ แตง่ ไดพ้ บทบั หลงั สลกั เปน็ รปู นารายณบ์ รรทมสนิ ธ์ุ ชนิ้ สว่ นของเทวรปู และศวิ ลงึ ค์ เทวาลัยมหาเกษตร เป็นโบราณสถานนอกเขตก�ำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก ท่ีแห่งน้ีเป็นท่ีประดิษฐานรูปพระอิศวรและรูปพระนารายณ์ เพื่อเป็นที่สักการบูชา ของพวกดาบสและพราหมณ์ทงั้ หลาย ฯลฯ นอกจากน้ี ยังพบว่าในสมัยสุโขทัยมีการตัดสินอรรถคดีโดยอาศัยหลักการ จากคัมภีร์ธรรมศาสตร์ รวมท้ังมีการแต่งต้ังพราหมณ์ให้รับราชการต�ำแหน่งต่างๆ ในราชส�ำนัก เป็นต้น ส่วนความเช่ือด้ังเดิมเร่ืองผีหรือสิ่งเหนือธรรมชาติน้ันชาวสุโขทัย ทงั้ ชนชั้นสงู และสามญั ชนกย็ งั คงเชอื่ ถอื เหมือนท่ผี ่านมา2 2 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, “เทวสถานโบสถ์พราหมณ์,” สารานุกรมไทยส�ำหรับ เยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓๔ (๒๕๕๒) : ๑๕ - ๑๘. วาทนิ ศานต์ิ สนั ต,ิ อาเซยี น : การรบั อารยธรรมอนิ เดยี ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ (ฉบบั ปรบั ปรงุ ), [ออนไลน]์ , สืบค้นเมอ่ื ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถึงได้จาก https://www. gotoknow.org/posts/ 328841. กรมศลิ ปากร, อทุ ยานประวตั ศิ าสตร์ สโุ ขทยั , โบราณสถานสำ� คญั ของอทุ ยานประวตั ศิ าสตร์ สุโขทยั , [ออนไลน์], สบื ค้นเมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เข้าถงึ ไดจ้ าก http://www.finearts.go.th/ sukhothaihistoricalpark/parameters/km/item/โบราณสถานส�ำคัญของอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย.html. กรมศิลปากร, อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย, ประวัติเมืองสุโขทัย, [ออนไลน์], สืบคน้ เม่ือ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถงึ ไดจ้ าก http://www.finearts.go.th/sukhothaihistorical park/parameters/km/item/ประวัติเมืองสุโขทัย.html. และ บ�ำรุง ค�ำเอก, อิทธิพลของศาสนา พราหมณ ์ - ฮินดใู นสมัยรัตนโกสนิ ทรต์ อนต้น Veridian e-Journal, Silpakorn University ฉบบั ภาษาไทย สาขามนษุ ยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศลิ ปะ. ปีที่ ๘ ฉบบั ที่ ๒ (พฤษภาคม - สงิ หาคม ๒๕๕๘) : ๓.
11 ประมาณกลางพุทธศตวรรษท่ี ๑๙ เป็นต้นมา มีศูนย์อ�ำนาจแห่งใหม่ เกิดขน้ึ ๒ อาณาจักร คือ ล้านนา อยทู่ างเหนอื ของสุโขทัย มีศนู ย์กลางอ�ำนาจ อยู่ท่ีเมืองเชียงใหม่และสามารถแผ่ขยายอาณาเขตมาถึงเมืองตากซึ่งเคยเป็น ของสุโขทัย ส่วนทางใต้ของสุโขทัย คือ อยุธยา ท่ีได้รับการสถาปนาข้ึนในราว พ.ศ. ๑๘๙๓ มีศนู ยก์ ลางอำ� นาจอยทู่ กี่ รงุ ศรีอยุธยา ซ่ึงอย่บู รเิ วณพื้นทล่ี ่มุ แม่น้�ำ เจ้าพระยา ท้ังน้ี จากหลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์พบว่าเม่ือสิ้นรัชกาล ของพอ่ ขุนรามคำ� แหงมหาราชแหง่ กรุงสโุ ขทยั เมอื งต่างๆ ของอาณาจักรสโุ ขทยั เรม่ิ ออ่ นแอ และไมป่ รองดองกนั ทำ� ให้อาณาจักรสุโขทัยไม่อาจด�ำรงเสถยี รภาพ ทางการเมืองได้อย่างมั่นคงและต่อเน่ือง ขณะเดียวกันก็ถูกแทรกแซงจาก อาณาจกั รอยธุ ยา และในราว พ.ศ. ๑๙๘๑ อาณาจกั รสโุ ขทยั ทงั้ หมดไดก้ ลายเปน็ ดินแดนส่วนหนงึ่ ของอาณาจกั รอยุธยาในทีส่ ุด ในช่วงระยะเวลาท่ีอาณาจักรอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองนั้น มีหลักฐาน จ�ำนวนมากแสดงถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ในสังคม อยุธยาอย่างชัดเจน เน่ืองจากกลุ่มผู้ปกครองหรือชนชั้นสูงให้การยอมรับ คตคิ วามเชอื่ และพธิ กี รรมตา่ งๆ ของศาสนาพราหมณ ์- ฮนิ ดู ผา่ นทางวฒั นธรรมเขมร และผ่านทางคณะพราหมณ์ที่ได้เข้ามาอาศัยต้ังชุมชนถิ่นฐานอยู่มาก่อน กบั ทงั้ ทเี่ พงิ่ เดนิ ทางเขา้ มาตง้ั ถนิ่ ฐานในอยธุ ยาและทางภาคใตใ้ นยคุ นคี้ ตคิ วามเชอ่ื ท่ีส�ำคัญ คือ คติความเช่ือเร่ืองเทวราชาหรือสมมติเทพ ซึ่งมีแนวความคิดว่า กษัตริย์มีสถานะเป็นสมมติเทพเทียบเท่าพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู (พระนารายณ์ หรอื พระอศิ วร) เปน็ เทวราชหรือผู้สืบเชอื้ สายมาจากพระเปน็ เจา้ คติความเช่ือดังกล่าวนี้ถูกน�ำมาใช้เป็นหลักการในการปกครองบ้านเมืองตั้งแต่ แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ตัวอย่างท่ีสะท้อนให้เห็นคติความเชื่อ เรอื่ งนอ้ี ยา่ งชดั เจน ไดแ้ ก่ พระนามของพระมหากษตั รยิ แ์ หง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยา ซงึ่ พอ้ ง กบั พระนามของพระเปน็ เจา้ อาทิ สมเดจ็ พระรามาธบิ ดี สมเดจ็ พระราเมศวร สมเดจ็ พระยาราม สมเดจ็ พระนเรศวร สมเดจ็ พระนารายณ์ ฯลฯ ในสว่ นของการประกอบ ประเพณพี ธิ กี รรมตา่ งๆ สำ� หรบั บา้ นเมอื งหรอื กษตั รยิ ท์ แี่ สดงวา่ สอดคลอ้ งเชอื่ มโยง คติความเช่ือดังกล่าว เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีปราบดาภิเษก พระราชพิธอี ินทราภิเษก พระราชพิธีบษุ ยาภเิ ษก พระราชพธิ ีถือน้�ำพระพิพฒั น์ สตั ยาพระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย ฯลฯ นอกจากน้ี ในการสรา้ งบา้ นแปงเมอื ง
12 พบวา่ มีการกำ� หนดผงั โดยใช้อุดมคตแิ บบเป็นศนู ยก์ ลางของจักรวาล ในด้านการ บริหารและการปกครอง มีการนำ� รปู แบบระบบศักดินาและจตุสดมภ์มาใช้ปฏบิ ตั ิ ในด้านกฎหมาย มีการน�ำกฎหมายพระธรรมศาสตร์มาใช้เป็นแนวทางประกอบ การพิจารณาตดั สนิ คดคี วามขอ้ พิพาท เปน็ ต้น3 หลงั การเสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยา ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ไดม้ กี ารรวบรวมกำ� ลงั กนั กอบกู้ เอกราชและขับไล่พม่าออกไปจากดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้�ำเจ้าพระยาพร้อมกับ สถาปนาศูนย์กลางอ�ำนาจข้ึนใหม่ คือ กรุงธนบุรี แต่กรุงธนบุรีก็เป็นศูนย์กลาง อ�ำนาจในช่ัวระยะเวลาส้ันๆ เพียง ๑๕ ปี อิทธิพลคติความเช่ือในศาสนา พราหมณ์ - ฮินดู ทีป่ รากฏในยุคน้ีโดยรวมจึงสบื ทอดมาจากสมัยอยุธยา ในชว่ ง ปลายสมยั ธนบรุ มี เี หตกุ ารณค์ วามวนุ่ วายเกดิ ขน้ึ ภายในอาณาจกั ร เมอื่ เหตกุ ารณ์ ความวุ่นวายสงบลงได้มีการย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงธนบุรีแล้ว สถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นเป็นศูนย์กลางอ�ำนาจแห่งใหม่ ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ มพี ระมหากษัตรยิ ใ์ นราชวงศ์จกั รปี กครองสืบตอ่ มาจนถงึ ปจั จุบัน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมีพระราช ด�ำริที่จะฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่คร้ังสมัยอยุธยาเพ่ือสร้างขวัญ กำ� ลงั ใจแกไ่ พรฟ่ า้ ขา้ แผน่ ดนิ รวมทงั้ เพอื่ สรา้ งเสถยี รภาพแกร่ าชวงศท์ เี่ พง่ิ สถาปนา ข้ึนใหม่ แต่ด้วยเหตุว่าต�ำรับต�ำราต่างๆ ถูกท�ำลายและสูญหายไปจ�ำนวนมาก อีกทั้งพราหมณ์ในราชส�ำนักต่างกระจัดกระจายพลัดหายไปในคราวสงคราม เสียกรุงศรีอยุธยา ในการน้ี จึงโปรดให้น�ำบรรดาพราหมณ์ที่ยังเหลือตัวอยู่ ตามหัวเมืองให้เข้ามารับราชการในราชส�ำนัก ฉะน้ัน ภายใต้สถานการณ์เช่นน้ี แบบแผนข้อปฏิบัติต่างๆ ท้ังด้านการปกครอง ด้านกฎหมาย ตลอดจน พระราชประเพณพี ธิ กี รรมตา่ งๆ ทฟ่ี น้ื ฟขู นึ้ ใหมส่ ว่ นใหญจ่ งึ เปน็ การรบั เอาอทิ ธพิ ล คติความเช่ือในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ผ่านทางพราหมณ์ท่ีมาจากหัวเมือง แตแ่ ตกตา่ งกนั บา้ งในเรอ่ื งรายละเอยี ดของขนั้ ตอนทม่ี คี วามซบั ซอ้ นมากกวา่ เดมิ 3 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, “เทวสถานโบสถ์พราหมณ์,” สารานุกรมไทยส�ำหรับ เยาวชน โดยพระราชประสงคใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ๓๔ (๒๕๕๒) : ๑๕ - ๑๘.
13 นอกจากการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีท่ีมีมาแต่คร้ังสมัยอยุธยาแล้ว ยังมีพระราชพิธีที่เกิดข้ึนใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์หลายพระราชพิธี กับท้ังยัง แทรกขั้นตอนพิธีสงฆ์เข้าไปในพระราชพิธีต่างๆ ทั้งในส่วนท่ีเป็นพระราชพิธี ทป่ี ฏบิ ตั ปิ ระจำ� ทกุ ปแี ละพระราชพธิ จี รหรอื พระราชพธิ พี เิ ศษ (คอื การพระราชพธิ ี ท่พี ระมหากษัตริย์ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ ใหป้ ระกอบข้นึ ในมงคลสมัยตา่ งๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติและประชาชน) ซ่ึงส่วนใหญ่เป็น พระราชดำ� รใิ นพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ลว่ งมาถงึ ปลายรชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เกดิ เหตกุ ารณเ์ ปลยี่ นแปลงทางการเมอื งการปกครองครง้ั สำ� คญั โดยคณะราษฎร ท�ำการยึดอ�ำนาจจากสถาบันกษัตริย์และเปล่ียนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ในส่วนของสถาบันกษัตริย์ แม้จะได้รับผลกระทบโดยตรงหลายประการ รวมทั้งถูกลดทอนพระราชอ�ำนาจ ในทางการเมอื งการปกครอง แตย่ งั คงไดร้ บั ความเคารพเทดิ ทนู สงู สดุ ไมเ่ สอื่ มคลาย ในฐานะประมุขของประเทศและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ดังนั้น คติความเช่ือที่มาจากศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ซ่ึงมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ สถาบันกษัตริย์จึงยังคงด�ำรงอยู่ในสังคมไทยเคียงคู่กับพุทธศาสนา ตลอดจน คติความเช่ือที่มีอยู่แต่ด้ังเดิม และหล่อหลอมรวมกันจนกลายเป็นรากเหง้า วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจบุ นั 4 4 เรอื่ งเดยี วกนั . และ ฉตั รบงกช ศรวี ฒั นสาร, การสบื สานและความเปลย่ี นแปลง ของพระราชประเพณีในสมัยรชั กาลท่ี ๗, [ออนไลน์], สืบค้นเมอ่ื ๒๐ มกราคม ๒๕๖๑, เข้าถึงไดจ้ าก http://kingprajadhipokstudy.blogspot.com/2016/04/blog-post.html.
14 ความสัมพันธ์ระหว่างพราหมณ์ในราชธานี กับพราหมณ์หัวเมืองและการจัดระเบียบแบบแผน พระราชพิธีต่าง ๆ ในราชส�ำนัก ในสงั คมอนิ เดยี ตามแนวคดิ ของศาสนาพราหมณ ์ - ฮนิ ดู เชอ่ื วา่ พราหมณ์ เป็นวรรณะที่ถือก�ำเนิดขึ้นจากพระโอษฐ์ (ปาก) ของปุรุษะ (พรหมัน) เป็น ผู้มีความรู้คัมภีร์พระเวทและมีหน้าท่ีสั่งสอนพระเวท สัจธรรมความรู้สูงสุด อนั เปน็ แกน่ แทข้ องศาสนาใหศ้ าสนกิ ชนเขา้ ถงึ ความสขุ ตามวรรณะของตน รวมทงั้ หนทางหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ การกลับเป็นอันหน่ึง อันเดียวกบั ปรมาตมนั ด้วยเหตุนี้ นอกจากพราหมณ์แล้ว คนในวรรณะอืน่ จะทำ� หนา้ ทพ่ี ธิ กี รรมบชู าพระเปน็ เจา้ ดว้ ยตนเองไมไ่ ด้ ตอ้ งมพี ราหมณเ์ ปน็ ผปู้ ระกอบพธิ ี ให้เสมอ ด้วยแนวคิดน้ีจึงจ�ำเป็นต้องมีพราหมณ์ปุโรหิตท�ำหน้าท่ีบวงสรวง พระเปน็ เจา้ โดยเฉพาะแกค่ นในวรรณะอนื่ ๆ ซง่ึ ในสว่ นของราชสำ� นกั กจ็ ำ� เปน็ ตอ้ ง มพี ราหมณป์ โุ รหติ ประจำ� พระราชวงศเ์ พ่ือท�ำพิธีส�ำหรับพระราชวงศ์ด้วยเช่นกัน เนอ่ื งจากตามความเชอ่ื ในคมั ภรี ไ์ อตเรยพราหมณะซง่ึ เปน็ คมั ภรี ท์ เี่ นน้ ความสำ� คญั ของพราหมณ์ท่ีมีต่อกษัตริย์ให้เหตุผลว่าพระเป็นเจ้าจะไม่รับเครื่องสังเวย จากกษตั รยิ ์ หากไม่มีพราหมณ์ปุโรหิตเปน็ ผูท้ �ำพิธีบวงสรวงให้ ดงั น้นั พราหมณ์ ปโุ รหิตจึงมคี วามส�ำคัญอยา่ งยิ่งต่อสถาบันกษัตริยม์ าแต่คร้ังโบราณ อย่างไรก็ตาม ความเป็นพราหมณ์ในสังคมอินเดียยังแบ่งออกเป็น พราหมณ์โดยก�ำเนิด คือเกิดในวรรณะพราหมณ์ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานด้าน ศาสนา และพราหมณท์ กี่ ำ� เนดิ ในวรรณะพราหมณ์ ไดร้ บั การศกึ ษาคมั ภรี พ์ ระเวท จนเชี่ยวชาญ และผ่านการบวชตามหลักศาสนา ฉะนั้นจึงไม่ใช่พราหมณ์ทุกคน ทจี่ ะประกอบพธิ กี รรมได้ พราหมณท์ ที่ ำ� หนา้ ทบ่ี วงสรวงบชู าพระเปน็ เจา้ ไดจ้ ะตอ้ ง ผา่ นการศกึ ษาและออกบวชตามหลักศาสนาแลว้ เท่านนั้ 5 5 ประวัตศิ าสนาพราหมณ์ - ฮินด,ู [ออนไลน์], สบื คน้ เมือ่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถงึ ไดจ้ าก http://www.devasthan.org/history_main.html. และ สพุ าภรณ์ ไผแ่ กว้ , สถานะ และบทบาทของพราหมณ์ในราชส�ำนักในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒). สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าประวตั ศิ าสตร์ คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั รามคำ� แหง, ๒๕๔๙. หนา้ ๑๗ - ๑๙.
15 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับต้ังแต่มีการติดต่อกับอินเดียและ ไดร้ บั อทิ ธพิ ลอารยธรรมอนิ เดยี ดา้ นการศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ ์- ฮนิ ดู ท�ำให้มีชาวอินเดียหลายกลุ่มเข้ามาพ�ำนักต้ังถิ่นฐานมากข้ึน ส่งผลให้เกิดความ เปล่ียนแปลงแนวความคิดคติความเช่ือ การนับถือศาสนา ตลอดจนรูปแบบ การปกครองในทอ้ งถนิ่ ดังปรากฏวา่ เกิดชนช้นั ปกครอง มีการสรา้ งพระราชวงั ศูนย์กลาง มีศาสนสถานส�ำหรับประกอบพิธีกรรม ฯลฯ และพัฒนาต่อมา จนเปน็ ระบบแบบแผนชดั เจนในรปู แบบรฐั หรอื อาณาจกั รทม่ี กี ษตั รยิ ป์ กครองในทส่ี ดุ ทั้งนี้ นักวิชาการบางท่านเสนอความเห็นว่า พิธีกรรม ถือเป็นกิจกรรม ทางสงั คมทมี่ ศี กั ยภาพอยา่ งยงิ่ ในการหลอ่ หลอมนอ้ มนำ� ความคดิ ความเชอื่ ทำ� ให้ ผู้คนยอมรับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมจนกลายเป็นวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีได้โดยง่าย รวมถึงท�ำให้เกิดการยอมรับนับถือและเช่ือมั่นในตัวผู้น�ำ โดยปราศจากข้อสงสัย พราหมณ์ในฐานะผู้ท�ำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมจึงได้ เขา้ มามีบทบาทตอ่ สังคมและราชสำ� นกั มากขน้ึ ตามล�ำดบั 6 ในสว่ นราชสำ� นกั ไทยนน้ั จากผลการศกึ ษาเอกสารหลกั ฐานตา่ งๆ ทงั้ ทาง โบราณคดีและประวัตศิ าสตร์พบว่า นบั แต่ยุคประวัตศิ าสตร์เปน็ ตน้ มา เมือ่ กลุ่ม คนไทยเร่ิมก่อต้ังแว่นแคว้นอาณาจักรของตนเองชัดเจนก็มีหลักฐานท่ีแสดงถึง การเข้ามามีบทบาทของพราหมณ์ในราชส�ำนักอย่างต่อเนื่อง อาทิ ศิลาจารึก วดั ปา่ มะมว่ ง (อกั ษรขอม ภาษาเขมร) โบราณวตั ถชุ นิ้ สำ� คญั สมยั สโุ ขทยั มอี ายรุ าว พ.ศ. ๑๙๐๔ มีข้อความในจารกึ ดา้ นท่ี ๒ ชว่ งตน้ กลา่ วถงึ บทบาทของพราหมณ์ ราชส�ำนักในขณะน้ันว่ามีหน้าท่ีเป็นอาจารย์ให้แก่ชนช้ันสูง นอกจากสั่งสอน เผยแพร่หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์แล้วยังส่ังสอนศิลปศาสตร์ รวมถึงการ ให้ความเห็นเกี่ยวกับอรรถคดีความต่างๆ ส่วนต�ำแหน่งต่างๆ ของพราหมณ์ ในราชส�ำนักนั้น พบแต่เพียงว่าในราชส�ำนักสุโขทัยมีต�ำแหน่งพราหมณ์ เป็นพระศรีมโหสถและพระมหาราชครูปุโรหิต ซึ่งพอจะท�ำให้เห็นร่องรอยว่า 6 สุพาภรณ์ ไผ่แก้ว, สถานะและบทบาทของพราหมณ์ในราชส�ำนักในสมัย พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒), หนา้ ๒๐ - ๒๑.
16 มีการก�ำหนดต�ำแหน่งของพราหมณ์ในราชส�ำนักสุโขทัยเกิดข้ึนแล้ว แม้จะ ไมช่ ดั เจนวา่ ในครงั้ นน้ั มตี ำ� แหนง่ ต่างๆ มากน้อยเพยี งใด7 ต่อมาในสมัยอยุธยา บทบาทหน้าที่ของพราหมณ์ในราชส�ำนักมีเพิ่มขึ้น ชดั เจน ดงั ปรากฏตำ� แหนง่ หนา้ ทข่ี องพราหมณใ์ นกฎหมายตราสามดวง โดยระบถุ งึ หนา้ ทแ่ี ละสงั กดั กรมกองในราชสำ� นกั พรอ้ มศกั ดนิ าของพราหมณห์ ลายฝา่ ย อาทิ ฝา่ ยโหรดาจารย์ มหี นา้ ทใ่ี นเรอ่ื งการประกอบพระราชพธิ ตี า่ งๆ ทว่ั ไป ฝา่ ยปโุ รหติ มีหน้าท่ีในเร่ืองเก่ียวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ฝ่ายพิธี มีหน้าท่ีปฏิบัติงาน ดา้ นพระราชพธิ ที ง้ั ปวง ฝา่ ยพฤฒบิ าศ มหี นา้ ทใ่ี นการท�ำพธิ เี กย่ี วกบั ชา้ ง ฝา่ ยศาล ท�ำหน้าท่ีเป็นผู้พิจารณาชี้ตัวบทกฎหมายในคดีต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ท่ีรอบรู้ เช่ียวชาญคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ แต่จะไม่มีอ�ำนาจในการบังคับคดี พราหมณ์ เหลา่ น้ีเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีทัง้ สน้ิ ๑๒ คน โดยมีพระราชครปู โุ รหติ และพระมหาราชครมู หธิ ร เปน็ หวั หนา้ และดว้ ยเหตดุ งั นที้ ำ� ใหม้ ชี อ่ื เรยี กพราหมณ์ เหลา่ นอ้ี กี ชอื่ หนง่ึ วา่ ธรรมาธกิ รณ์ คอื ผรู้ กั ษาความยตุ ธิ รรม อกี ทงั้ ยงั มพี ราหมณ์ ท่ีท�ำหน้าท่ีเป็นผู้ถวายพระอักษรแด่พระบรมวงศานุวงศ์ควบคู่กับการสั่งสอน ความรู้ศิลปศาสตร์แขนงต่างๆ หรือแต่งต�ำรับต�ำราต่างๆ ตลอดจนวรรณคดี เชน่ สมทุ รโฆษคำ� ฉนั ท์ แตง่ โดยพระมหาราชครู จนิ ดามณี แตง่ โดยพระโหราธบิ ดี และ ฉนั ทด์ ษุ ฎสี งั เวยกลอ่ มชา้ ง แตง่ โดยขนุ เทพกระวี เปน็ ตน้ นอกจากน้ี กฎหมาย ตราสามดวงยงั กลา่ วถงึ สงั กดั กรมกองทพี่ ราหมณป์ ฏบิ ตั งิ านวา่ มกี ารแบง่ ตำ� แหนง่ เปน็ ชั้นพระมหาราชครู พระราชครู พระครู รวมถึงขุนนางตำ� แหนง่ ต่างๆ ท่ตี ้อง ปฏบิ ตั งิ านเกยี่ วเนอื่ งกบั พราหมณด์ ว้ ย ซงึ่ บางต�ำแหนง่ ยงั คงปรากฏในสมยั ตอ่ มา8 7 อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, “เทวสถานโบสถ์พราหมณ์,” สารานุกรมไทยส�ำหรับ เยาวชน โดยพระราชประสงคใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ๓๔ (๒๕๕๒) : ๓๘. และ สพุ าภรณ์ ไผแ่ กว้ , สถานะและบทบาทของพราหมณใ์ นราชสำ� นกั ในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระพทุ 8ธย ออภดิลฟักษ้าจณุฬ์ าเกโลษกมมผหลการูลา,ช“เ(ทพว.ศส.ถ๒าน๓โ๒บ๕ส ถ- ๒์พ๓รา๕ห๒ม),ณห์,น” า้ ส๒าร๙า น- ๓ุก๓รม. ไทยส�ำหรับ เยาวชน โดยพระราชประสงคใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ๓๔ (๒๕๕๒) : ๓๕ - ๔๐. และ ประวัติศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู, [ออนไลน์], สืบค้นเม่ือ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เข้าถงึ ได้จาก http://www.devasthan.org/history_main.html.
17 ภาพคณะพราหมณ์ชาวสยามในเอกสารต่างประเทศ : จากรปู แบบการแต่งกาย สันนษิ ฐานว่าน่าจะเป็นพราหมณ์ท้องถน่ิ หวั เมืองทางใต้ เพราะแต่งกายคล้ายกับพราหมณ์เมอื งนครศรธี รรมราชและเมืองพทั ลงุ ในอดตี และพราหมณ์เมอื งพทั ลงุ ก็ยังคงแต่งกายแบบดัง้ เดมิ มาจนถึงปัจจบุ นั ท่มี า : Arnold Wright, Twentieth century impressions of Siam : its history, people, commerce, industries, and resources (Lloyd’s Greater Britain Publishing Company, Ltd., 1908), p.42. เกี่ยวกับอิทธิพลคติความเชื่อเนื่องในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ภายใน อาณาจักรอยุธยาน้ัน พบว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างราชธานีกับเมือง นครศรีธรรมราชและเมืองรามนครแห่งอินเดีย หรือเมืองพาราณสี ดังปรากฏ ในต�ำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช ความว่า เจ้าเมืองรามนครได้ส่ง เครื่องราชบรรณาการเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู มาถวายแด่ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพ่ือเจริญพระราชไมตรี โดยมอบหมายให้ คณะพราหมณ์ มี ผแดงธรรมนารายณ์ เป็นหัวหน้าคณะในการเดินทางมายัง ราชอาณาจักรอยุธยา แต่ปรากฏวา่ ไม่สามารถน�ำเคร่ืองราชบรรณาการมาถวาย ท่ีกรงุ ศรีอยธุ ยาได้ เน่ืองจากเกิดพายหุ นกั พระมหากษัตรยิ ์แหง่ กรุงศรอี ยุธยาจึง มีพระบรมราชานุญาตให้ประดิษฐานรูปเคารพอันเป็นเครื่องราชบรรณาการไว้ ณ เมืองนครศรีธรรมราช และให้คณะพราหมณ์เหล่าน้ันท�ำหน้าที่ดูแลรักษา เทวสถานซงึ่ สรา้ งไวป้ ระดษิ ฐานรปู เคารพดงั กลา่ ว ณ เมอื งนครศรธี รรมราช อกี ทงั้ มอบหมายหนา้ ทใ่ี นการประกอบพธิ กี รรมตา่ งๆ ใหเ้ จา้ เมอื งนครศรธี รรมราชดว้ ย
18 นอกจากนี้ ตำ� นานพราหมณเ์ มอื งนครศรธี รรมราชและทำ� เนยี บขา้ ราชการ เมืองนครศรีธรรมราช ยังระบุถึงสังกัดกรมกองของพราหมณ์ท�ำนองเดียวกับ ในราชสำ� นักอยธุ ยา เชน่ หัวหน้าคณะพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช คือ ผแดง ธรรมนารายณ์ มีหน้าที่ปกครองดูแลเทวรูปและเทวสถานดังที่กล่าวแล้ว รองหวั หนา้ คอื แผดงศรกี าเกยี ตอ่ มามกี ารเลอ่ื นตำ� แหนง่ หวั หนา้ คณะพราหมณ์ เป็น ออกพระธรรมนารายณ์ รองหัวหน้าหรือผู้ช่วยเล่ือนเป็น ออกพระศรีราช โภเบนทรฯ เฉพาะหัวหนา้ คณะพราหมณ์ ในช้ันหลงั ๆ มตี �ำแหนง่ เป็นท่ี พระราม เทพมนุ ี ศรกี ษตั รยิ ส์ มทุ ร อยา่ งไรกต็ าม ทงั้ สองตำ� แหนง่ นเี้ ปน็ ตำ� แหนง่ ทไ่ี ดร้ บั แตง่ ตง้ั จากราชธานีโดยตรง ไม่เพียงแต่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาจะให้การ สนับสนุนพราหมณ์และศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ในลักษณะน้ีเท่านั้น หากยัง ปรากฏว่าโปรดให้สร้างเทวรูปหรือรูปเคารพหลายองค์กับทั้งสิ่งของเครื่องใช้ใน การประกอบพิธีกรรมส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อฝ่ายข้างพราหมณ์ ด้วยเหตุดังนี้ การพระราชพิธีที่เก่ียวข้องกับ คติความเช่ือเนื่องในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู จึงเป็นท่ียอมรับถือปฏิบัติ ท้ังในราชธานแี ละหวั เมอื งทางใต้ ถงึ แมว้ ่าเรอ่ื งเกี่ยวกบั ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู อาจจะจ�ำกัดอยู่เพียงราชส�ำนักหรือแวดวงชั้นผู้ปกครอง แต่กระน้ันก็ยังท�ำให้ กลุ่มพราหมณ์ได้รับสิทธิพเิ ศษจากพระมหากษตั รยิ ์ รวมทงั้ ไดร้ บั การนบั ถอื เคารพ ยกยอ่ งจากสงั คมอยา่ งยงิ่ 9 9 วิเชียร ณ นคร, วมิ ล ดำ� ศรี และ สืบพงศ์ ธรรมชาติ, เอกสารเก่าเกีย่ วกับเมือง นครศรธี รรมราช (นครศรธี รรมราช : โครงการอาศรมวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยวลยั ลักษณ์, ๒๕๔๕), หนา้ ๑๑ - ๘๖. อภลิ กั ษณ์ เกษมผลกลู , “เทวสถานโบสถพ์ ราหมณ,์ ” สารานกุ รมไทย ส�ำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงคใ์ นพระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั ๓๔ (๒๕๕๒) : ๑๗ - ๑๘ และ ๓๖. และ สพุ าภรณ์ ไผแ่ กว้ , สถานะและบทบาทของพราหมณใ์ นราชสำ� นกั ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒), หนา้ ๓๓ - ๔๐.
19 คณะพราหมณ์ราชสำ� นกั ในอดตี ท่มี า : จดหมายเหตกุ ารบูรณปฏสิ ังขรณ์เทวสถาน สำ� หรับพระนคร, หน้า 182 หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ บทบาทของพราหมณ์ ในนครศรธี รรมราชทมี่ ีตอ่ ราชธานยี ิ่งมีความชดั เจนมากขน้ึ เนื่องจากตำ� รบั ตำ� รา พิธีการต่างๆ ถูกท�ำลายไปเป็นอันมาก เม่ือมีการกอบกู้เอกราชและสถาปนา กรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ เป็นราชธานีแห่งใหม่ตามล�ำดับ พระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์ทรงเร่งฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีท่ีมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพอ่ื สรา้ งขวญั กำ� ลงั ใจแกไ่ พรฟ่ า้ ขา้ แผน่ ดนิ และเพอื่ สรา้ งเสถยี รภาพแกบ่ า้ นเมอื ง ในการนี้ ได้มีการเรียกตัวบรรดาพราหมณ์ท่ียังเหลืออยู่ตามหัวเมืองมาร่วม ดำ� เนนิ การดงั กลา่ ว โดยเฉพาะเมอื งนครศรธี รรมราชซงึ่ ไดร้ บั การกลา่ วถงึ อยเู่ สมอ ในฐานะที่เป็นเพียงเมืองเดียวที่มีพราหมณ์ผู้รักษาศาสนพิธีของตนไว้เป็น เอกลกั ษณอ์ ยา่ งชดั เจน ในขณะทพ่ี ราหมณใ์ นเมอื งอน่ื ๆ แทบไมม่ กี ารกลา่ วถงึ เลย ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้จึงท�ำให้พระราชประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ในราชส�ำนัก มตี ้นแบบมาจากต�ำรับต�ำราพราหมณ์เมอื งนครศรีธรรมราช แล้วน�ำมาดัดแปลง ผสมผสานเพอ่ื ใหเ้ ขา้ กบั บรบิ ทของราชธานี ดงั นนั้ โดยภาพรวมประเพณพี ธิ กี รรม ทถี่ อื ปฏบิ ตั กิ นั ในราชสำ� นกั และทน่ี ครศรธี รรมราชจงึ มโี ครงสรา้ งลกั ษณะพธิ กี รรม ใกลเ้ คยี งกัน อาจแตกต่างกนั บ้างในส่วนรายละเอยี ดปลีกยอ่ ย อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเปล่ียนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ยกเลิกกรมพิธีพราหมณ์ ซึ่งสังกัดกระทรวงวัง ส่งผลให้บทบาทหน้าที่ของพราหมณ์ราชส�ำนักลดลงด้วย
20 และในรัชกาลต่อมายังคงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พราหมณ์ในราชส�ำนัก ประกอบพระราชพธิ สี ำ� หรบั พระองคแ์ ละสำ� หรบั บา้ นเมอื งตอ่ ไป โดยปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี ในฐานะข้าราชการข้ึนตรงต่อส�ำนักพระราชวัง และปฏิบัติศาสนกิจท่ีเทวสถาน โบสถ์พราหมณส์ บื มา ส่วนการแต่งตั้งพราหมณ์ราชส�ำนัก ปัจจุบันมีระเบียบปฏิบัติคือต้องมี เชอ้ื สายของพราหมณแ์ ละตอ้ งเปน็ บตุ รของพราหมณร์ าชสำ� นกั ซงึ่ เหลอื อยเู่ พยี ง บางตระกูล อาทิ ตระกูลรังสิพราหมณกุล รัตนพราหมณ์ ภวังคนันท์ สยมภพ วุฒิพราหมณ์ นาคะเวทิน โกมลเวทิน บุรณศิริ นอกจากนี้ ในการบวชช้ันต้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าคณะพราหมณ์ราชส�ำนักก่อน เมื่อผ่าน การพจิ ารณาเหน็ ชอบวา่ มคี ณุ สมบตั เิ หมาะสมกบั การเปน็ พราหมณร์ าชสำ� นกั แลว้ จงึ จะไดร้ บั การบรรจใุ หเ้ ปน็ พราหมณป์ ระจำ� ราชสำ� นกั แตก่ ย็ งั ไมส่ ามารถประกอบ พระราชพิธีได้ จนกว่าพระครูพราหมณ์จะเห็นชอบอนุญาตให้บวชครั้งหลังได้ จงึ จะไดร้ บั พระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ แตง่ ตงั้ ใหด้ �ำรงตำ� แหนง่ ตอ่ ไป ส�ำหรบั ต�ำแหนง่ คณะพราหมณ์ในปัจจุบันมีต�ำแหน่งประธาน คือ พระมหาราชครู ซึ่งเป็น พระราชครทู ไี่ ดป้ ระกอบพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษกแดพ่ ระมหากษตั รยิ แ์ ลว้ จงึ ได้ เลือ่ นตำ� แหน่ง ดงั น้ันในแต่ละรัชกาลจงึ มพี ระมหาราชครูเพยี ง ๑ ท่าน รองลงมา คอื พระราชครู พระครู และ พราหมณ์ ตามลำ� ดบั 10 จากข้อมูลข้างต้น แสดงถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างพราหมณ์ ในราชธานีกับพราหมณ์จากหัวเมือง โดยเฉพาะเมืองนครศรีธรรมราช ท่ีมีมา ตง้ั แตค่ รงั้ อดตี ซงึ่ เปน็ ไปตามบรบิ ทอำ� นาจการเมอื งการปกครอง และมผี ลตอ่ การ วางแบบแผนพระราชพิธีตา่ งๆ ในราชส�ำนกั สืบมาจนปจั จุบนั 10 อภลิ ักษณ์ เกษมผลกูล, “เทวสถานโบสถ์พราหมณ,์ ” สารานกุ รมไทยส�ำหรับ เยาวชนโดยพระราชประสงคใ์ นพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ๓๔ (๒๕๕๒) : ๓๘ - ๔๐. และ ประวตั ิศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู, [ออนไลน์], สืบค้นเมอื่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เข้าถงึ ไดจ้ าก http://www.devasthan.org/history_main.html.
21 คติควาใมนเทช้อื่องเรถ่ือิ่นงตก่าางร ๆโล้ชิงช้า เดิมเป็นที่เข้าใจกันว่าไทยรับคติความเชื่อเรื่องการโล้ชิงช้า เพอื่ ความเปน็ สริ มิ งคลและบชู าพระเปน็ เจา้ มาจากอนิ เดยี เนอื่ งจาก มกี ารตดิ ตอ่ คา้ ขายกบั อินเดียและมีชาวอินเดียเข้ามาตั้งชมุ ชนอาศัย ในดนิ แดนแหง่ นม้ี าตง้ั แตก่ อ่ นสมยั อยธุ ยา แตป่ จั จบุ นั ไดม้ กี ารศกึ ษา วจิ ยั ดา้ นโบราณคดี ประวตั ศิ าสตร์ ตลอดจนศลิ ปวฒั นธรรมรอบดา้ น ย่ิงขึ้น ท�ำให้พบหลักฐานข้อมูลเพ่ิมเติมว่า โล้ชิงช้า เป็นวัฒนธรรม พื้นเมืองด้ังเดิมในหลายภูมิภาค ซ่ึงแต่ละแห่งจะมีความเช่ือ เกี่ยวกับการโล้ชิงช้าต่างกันหรือคล้ายคลึงกันตามบริบททางสังคม และประสบการณ์ของผคู้ น อินเดีย : โล้ชิงช้า บูชาพระเป็นเจ้า การรวมกันของ ความศรัทธาและการเฉลิมฉลอง จาก ค�ำให้การของพราหมณ์ อัจจุตะนันน�ำกับค�ำอธิบายของพราหมณ์ ป. สุพรหมัณย ศาสตรี กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีโล้ชิงช้าในอินเดีย ความว่า พราหมณ์ ชาวอนิ เดยี คนหนง่ึ ชอ่ื อจั จตุ ะนนั นำ� เดนิ ทางมายงั กรงุ เทพฯ แตค่ รงั้ รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยหู่ วั รชั กาลท่ี ๓ ให้การวา่ ทเ่ี มอื งพาราณสี ประเทศอินเดีย ในชว่ งเดือน ๓ วนั ข้นึ ๓ ค�่ำ มีการ ประกอบพระราชพิธีมาฆวิธาน�ำ ในพิธีน้ีจะน�ำเอาเทวรูปพระอิศวร ใส่ชงิ ชา้ แกวง่ ไกวเพ่อื สักการบชู าเปน็ เวลา ๓ วัน ต่อมาภายหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพ ขณะยังทรงด�ำรงต�ำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงพจิ ารณาเหน็ วา่ จดหมายเหตคุ ำ� ใหก้ ารของพราหมณอ์ จั จตุ ะนนั นำ� เอกสารเก่าคร้ังรัชกาลท่ี ๓ มีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เปน็ อนั มาก จงึ ทรงมอบหมายใหพ้ ราหมณช์ าวอนิ เดยี คอื พราหมณ์
22 ป. สุพรหมณั ย ศาสตรี ซง่ึ เปน็ ผเู้ ช่ยี วชาญภาษาสันสกฤต รภู้ าษาไทยอ่านออก เขียนได้ และรับราชการอยู่ในราชบัณฑิตยสภา ด�ำเนินการตรวจสอบช�ำระ เฉพาะขอ้ มลู สว่ นทว่ี า่ ดว้ ยพธิ โี ลช้ งิ ชา้ ในอนิ เดยี พราหมณ์ ป. สพุ รหมณั ย ศาสตรี ช้ีแจงว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลจากหนังสือนิรฺณยสนฺธุ เป็นเอกสารหลักฐานท่ี เรยี บเรยี งขึ้น ณ เมืองพาราณสี ซึ่งเปน็ สถานท่จี ดั พิธีดงั กลา่ วโดยตรง พบข้อมลู เพ่ิมเติมว่า ที่เมืองพาราณสีมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้าบูชาพระอิศวรตรงตามที่ พราหมณ์อัจจุตะนันน�ำให้ข้อมูลไว้ แต่เรื่องก�ำหนดเวลาประกอบพิธี หนังสือ นริ ณฺ ยสนธฺ ุ ใหข้ อ้ มลู ตา่ งออกไปวา่ ทเ่ี มอื งพาราณสี จดั พธิ โี ลช้ งิ ชา้ บชู าพระอศิ วร ในชว่ งเดอื นไจตรฺ หรอื เดอื น ๕ นอกจากน้ี ทเี่ มอื งตญั ชาวรู ์ ทางภาคใตข้ องอนิ เดยี กม็ พี ธิ โี ลช้ งิ ชา้ แตท่ ำ� ในเดอื นอา้ ย สว่ นทเี่ มอื งมถรุ า ท�ำพธิ โี ลช้ งิ ชา้ ในชว่ งเดอื น ๗11 นอกจากข้อมูลในเอกสารหลักฐานเก่าข้างต้นแล้ว ที่อินเดียยังมีเทศกาล Teej ซงึ่ มกี ารเลน่ โลช้ งิ ชา้ แทรกอยดู่ ว้ ย เทศกาลนจี้ ดั กนั ในหลายพน้ื ทข่ี องอนิ เดยี สว่ นใหญพ่ บในรัฐทางตะวนั ตกและทางตอนเหนือของอนิ เดยี และเนปาล ในภาพรวม เทศกาล Teej เป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติสืบเนื่องมายาวนาน ของชาวฮินดู ท�ำกันในเดือนศราวณะ คืออยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมคาบเกี่ยว เดอื นสงิ หาคม เพอื่ ตอ้ นรบั ฤดมู รสมุ เฉลมิ ฉลองความอดุ มสมบรู ณข์ องธรรมชาติ การมาถึงของเมฆและฝน ความเขียวขจี และเพื่อบูชาพระแม่ปาราวตี (หรือ พระแมอ่ มุ า) กบั พระอศิ วร เปน็ การรำ� ลกึ ถงึ ครง้ั ทพ่ี ระอศิ วรยอมรบั พระแมป่ าราวตี มาเป็นชายา หลังจากที่พระแม่ปาราวตีออกจากบ้านเมืองเข้าป่าปฏิบัติตน อยา่ งเครง่ ครดั และอดอาหารเปน็ นานเวลาหลายปี หรอื เพอื่ บชู าพระกฤษณะกบั พระแมร่ าธา ตามความเช่ือของแต่ละท้องถ่ิน ชว่ งเทศกาลน้ี ถอื เปน็ วนั อสิ ระของเดก็ หญงิ และหญงิ สาว รวมถงึ หญงิ สาว ทแ่ี ตง่ งานแลว้ โดยทญ่ี าตพิ นี่ อ้ งของหญงิ สาวทแ่ี ตง่ งานไปอยบู่ า้ นของสามจี ะพา กนั ไปขออนญุ าตสามขี องพวกเธอให้ไดก้ ลับไปเท่ยี วบ้านพอ่ แม่ ตามธรรมเนียม ในวนั เทศกาลนี้ผหู้ ญงิ ไดร้ บั เสอื้ ผา้ และเครอื่ งประดบั ใหมๆ่ จากครอบครวั และแตง่ กาย อวดโฉมสวยงามหลากสีสนั โดยนิยมแต่งกายดว้ ยแพรพรรณสแี ดง สเี ขยี ว สีสม้ 11 คำ� ใหก้ ารของพราหมณอ์ จั จตุ ะนนั นำ� กบั คำ� ใหก้ ารของพราหมณ์ป.สพุ รหมณั ย ศาสตรี (พระนคร : โรงพิมพบ์ ำ� รงุ นกุ ูลกจิ , ๒๔๗๒), หน้า ก - จ, ๒๑ และ ๕๓ - ๕๔.
23 และเขยี นลวดลายสวยงามตา่ งๆ ท่ีมอื และเทา้ มกี ารร้องเพลงเตน้ ร�ำกบั เพอ่ื นๆ รับประทานอาหารที่ท�ำเป็นพิเศษตามเทศกาลร่วมกัน และมีการเล่นโล้ชิงช้า ใต้ต้นไมห้ รือลานกลางแจง้ แต่การโลช้ งิ ช้าในพธิ ีนี้กไ็ ม่มีหลักเกณฑข์ อ้ ก�ำหนดใด บรรดาหญิงสาวรวมถึงหญิงที่แต่งงานแล้วจะผลัดกันโล้ชิงช้าซึ่งตกแต่งประดับ ประดาด้วยดอกไม้งดงามพร้อมกับร้องเพลงอย่างสนุกสนาน อย่างไรก็ตาม เทศกาล Teej ของบางทอ้ งถน่ิ ในอนิ เดยี กม็ ขี อ้ ปฏบิ ตั ปิ ลกี ยอ่ ยทแี่ ตกตา่ งกนั อาทิ บางแหง่ หญงิ สาวอาจตอ้ งทำ� พิธถี ือศลี อดอาหารและน้�ำหนึง่ วัน เพอื่ สวดภาวนา บชู ารำ� ลกึ ถงึ เรอ่ื งราวการววิ าหร์ ะหวา่ งพระแมป่ าราวตกี บั พระอศิ วรตามความเชอ่ื และอธิษฐานขอพรซึ่งหญิงสาวท่ีแต่งงานแล้วจะอธิษฐานขอพรให้สามีและ สมาชิกในครอบครัวมีอายุยืนยาว มีความสงบสุข และม่ังค่ัง ส่วนผู้หญิง ท่ยี ังไมไ่ ดแ้ ต่งงานมกั จะอธษิ ฐานขอพรให้พบกับสามที ี่ดี เปน็ ตน้ 12 เทศกาล Teej เทศกาลเฉลิมฉลองของสตรชี าวฮินดูทางตอนเหนือและตะวนั ตกของอินเดีย ท่มี า : https://cdn.dnaindia.com/sites/default/files/styles/full/public/2020/07/23/914822-717481-teej.jpg : https://www.adotrip.com/public/images/festivals/5d415b6ea7ea8-Teej%20Festival%20 Sightseeing.jpg. 12 วาทิน ศานต์ิ สนั ติ, พราหมณ์ : การโล้ชงิ ช้า การผอ่ นคลายของหญิงสาวใน อินเดียและเกาหลี, [ออนไลน]์ , สบื คน้ เมอื่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เข้าถึงได้จาก https:// www.gotoknow.org/posts/486432. และ Teej, [ออนไลน]์ , สบื คน้ เมือ่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถึงไดจ้ าก https://en.wikipedia.org/wiki/Teej.
24 เกาหลี : โล้ชิงช้า การละเล่นและเกมกีฬาพื้นบ้าน การโล้ชิงช้าในเกาหลี เป็นการละเล่นพ้ืนบ้านที่มีมาแต่อดีต เล่นกันทุกเพศทุกวัย แต่จะนิยมเล่นกันในกลุ่ม ผู้หญิงมากกว่า ส�ำหรับชิงช้าของเกาหลีท�ำข้ึนโดยใช้เชือก ๒ เส้น ผูกติดกับแผ่นไม้ แล้วน�ำไปแขวนติดกับต้นไม้สูงหรือผูกติดกับไม้ซุงซึ่งต่อเป็นคาน ว่ากันว่าสมัยก่อน หญิงสาวชาวเกาหลีจะโล้ชิงช้าให้สูงเพ่ือท่ีจะได้แอบมองหนุ่มๆ ข้างนอกผ่านก�ำแพง บ้านตวั เอง หรือเพื่ออวดความงามให้บรรดาหนุ่มได้ยลโฉมกนั นอกจากน้ี ชาวเกาหลยี ังนิยมโลช้ ิงช้ากนั ในงานเทศกาลเฉลมิ ฉลองฤดใู บไม้ผลิ และการเพาะปลกู (Dano) ซึ่งตรงกับวนั ท่ี ๕ เดอื น ๕ ทางจันทรคตติ ามปฏทิ ินเกาหลี ชว่ งเทศกาลนี้ถือเป็นวันรื่นเรงิ ของหญิงสาว บรรดาหญิงสาววยั แรกรุน่ ที่ยงั ไม่แตง่ งาน จะแต่งกายด้วยเส้ือผ้าสีสดงดงามและพากันมาเล่นโล้ชิงช้าอย่างสนุกสนาน ในงาน จะมีทั้งการร้องร�ำท�ำเพลงบรรเลงดนตรีตามวัฒนธรรมเกาหลี13 ท้ังนี้ในแต่ละ ทอ้ งถ่นิ อาจจะมชี ือ่ เรียกงานเทศกาลหรอื มีความเชอื่ มีขอ้ ปฏบิ ตั แิ ตกตา่ งกนั อยู่บ้าง ภาพวาดการโล้ชิงช้าของสาวเกาหลใี นเทศกาลเฉลิมฉลองวนั ท่ี ๕ เดือน ๕ (Dano) โดย Shin Yun-bok จิตรกรชาวเกาหลี ที่มา : http://www.korea.net/NewsFocus/Society/view?articleId=137305#none. 13 วาทนิ ศานต์ิ สนั ต,ิ พราหมณ์ : การโลช้ งิ ชา้ การผอ่ นคลายของหญงิ สาวในอนิ เดยี และ เกาหล,ี [ออนไลน]์ , สบื คน้ เมอ่ื ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถงึ ไดจ้ าก https://www.gotoknow.org/ posts/486432. และ Dano, [ออนไลน์], สืบค้นเม่ือ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๐, เข้าถึงได้จาก http://www.korea.net/NewsFocus/Society/view?articleId=137305#none.
25 ทเี่ กาหลใี ต้ มงี านเทศกาลซงึ่ มกี ารจดั กจิ กรรมโลช้ งิ ชา้ พนื้ บา้ นแทรกอยดู่ ว้ ย และท่ีเป็นรู้จักกันทั่วไป คือ Gangneung Danoje จัดขึ้นที่เมือง Gangneung ใน Gangwon-do ซึ่งต้ังอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของเกาหลีใต้ เทศกาลนี้ เป็นเทศกาลเก่าแก่ของท้องถิ่น จัดข้ึนเพ่ือบูชาวิญญาณผู้พิทักษ์แห่งภูเขาท่ี ปกปอ้ งเมอื งและเพอื่ ขอพรให้เกิดความสงบสุขแก่บา้ นเมอื งและชาวเมอื งทกุ คน รวมถึงเพ่ือความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก และเน่ืองจากเป็นงานเทศกาล สำ� คญั ของทอ้ งถนิ่ จงึ มพี ธิ กี รรมหลายขน้ั ตอนและมกี จิ กรรมทห่ี ลากหลาย ทำ� ให้ มีการเตรียมงานและจัดงานนานหลายวัน แต่งานเทศกาลจะส้ินสุดลงในวันที่ ๕ เดือน ๕ ทางจันทรคติตามปฏทิ นิ เกาหลี สว่ นกจิ กรรมโล้ชิงชา้ พ้นื บา้ นซ่งึ จัด เนอื่ งในงานเทศกาลนแี้ บง่ เปน็ การแขง่ ขนั ประเภททมี และประเภทบคุ คล ทกุ ปจี ะมี ผู้สนใจจ�ำนวนมากหลั่งไหลมาร่วมงานเทศกาล Gangneung Danoje ซึ่งมีท้ัง ชาวเกาหลีใตแ้ ละชาวตา่ งประเทศ14 การโล้ชิงช้าพน้ื บ้านในเทศกาล Gangneung Danoje ท่ีเกาหลใี ต้ ทม่ี า : https://www.danojefestival.or.kr/contents.asp?page=505. 14 Gangneung Danoje, [ออนไลน์]. สบื ค้นเมอ่ื ๑๐ มิถนุ ายน ๒๕๖๐, เข้าถึงได้ จาก https://www.danojefestival.or.kr/contents.asp?page=505.
26 การละเล่นโล้ชิงช้า ช่วงเทศกาลตรุษจีน ที่เมืองซอี าน มณฑลส่านซี สาธารณรัฐประชาชนประเทศจนี ทมี่ า : https://www.xinhuathai.com/tra/68664_20200112. จีน : โล้ชิงช้า การละเล่นต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ส�ำนักข่าวซินหัว องคก์ รสอื่ สารมวลชนระดบั ชาตขิ องจนี ใหข้ อ้ มลู สงั เขปวา่ ทห่ี มบู่ า้ นซา่ งหยางฮวา่ อ�ำเภอโจวจ้ือ เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ทางภาคตะวันออกของสาธารณรัฐ ประชาชนจนี ยงั คงมกี ารจดั ประเพณโี ลช้ งิ ชา้ เปน็ ประจำ� ทกุ ปเี พอื่ ตอ้ นรบั เทศกาล ตรษุ จีน ซ่งึ ประเพณีน้ีสบื ทอดมายาวนานกว่า ๗๐๐ ป1ี 5 ส่วนที่เมืองลเ่ี จยี ง มณฑลหยนุ หนนั (หยุนหนาน หรือยนู นาน) ทางภาค ตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อถึงช่วงเทศกาลตรุษจีน ชนชาติน่าซีท่ีอาศัยอยู่ในแถบนี้จะท�ำพิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ อวยพรปีใหม่ เพอื่ นบา้ นญาตสิ นทิ มติ รสหาย รวมทงั้ ทำ� พธิ บี วงสรวงเทวดาเพอ่ื ความเปน็ สริ มิ งคล และเพื่อให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ นอกจากมีพิธียิงเกาทัณฑ์แล้ว ในแต่ละหมู่บ้าน ยงั ทำ� ชงิ ชา้ เพอ่ื ใหห้ นมุ่ สาวไดม้ านงั่ เลน่ และมขี อ้ กำ� หนดวา่ คบู่ า่ วสาวทแี่ ตง่ งานกนั ในปีนั้นมีหน้าที่ต้องท�ำชิงช้าเพ่ือความสิริมงคลให้แก่หนุ่มสาวที่มานั่งชิงช้า ด้วยกันจะได้สมหวังในความรักเช่นเดียวกับคู่บ่าวสาวท่ีท�ำชิงช้า โดยฝ่ายชาย 15 ประเพณี “โล้ชิงช้า” ฉลองตรุษจีนในซีอาน, [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓, เข้าถงึ ได้จาก https://www.xinhuathai.com/tra/68664_20200112.
27 หรือเจ้าบ่าวท�ำหน้าท่ีหาไม้มาท�ำโครงชิงช้า ส่วนฝ่ายหญิงหรือเจ้าสาวมีหน้าที่ ผูกเชอื ก16 เวยี ดนาม : โลช้ งิ ชา้ การละเลน่ การแสดงความเคารพตอ่ บรรพบรุ ษุ และ ธรรมชาตใิ นเทศกาลตรษุ ฤดฝู น ทเ่ี มอื งแต จงั หวดั ลายโจว์ หรอื ลายเจวิ (laichau) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในช่วงกลาง ฤดฝู น หรอื เดอื น 6 ในทางจนั ทรคติ ถอื เปน็ ชว่ งเวลาแหง่ การพกั ผอ่ นหลงั เสรจ็ สนิ้ งานเก็บเกยี่ วผลผลติ ชาวเผ่าห่า หญี่ จะจัดงานตรุษฤดฝู นขึน้ มีกำ� หนด ๔ วนั ซ่ึงในเทศกาลตรุษฤดูฝนน้ี ชาวเผ่าห่า หญี่ จะให้ความส�ำคัญกับการโล้ชิงช้า อยา่ งมาก โดยในวันเซ่นไหวบ้ รรพบรุ ุษ ชาวเผา่ ห่า หญี่ จะปลกู ชิงชา้ ขนาดเลก็ ไว้กลางบา้ น ดว้ ยการเอาเชือกผกู ทคี่ านของบา้ นสงู ประมาณ ๓ เมตร ห้อยลงมา สำ� หรบั ผกู แผน่ ไมเ้ ปน็ ชงิ ชา้ โดยทำ� ไวท้ กุ บา้ นสำ� หรบั เดก็ ๆ ไดโ้ ลช้ งิ ชา้ เลน่ ในบา้ น ส่วนชงิ ช้าขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๖ - ๗ เมตร จะปลกู สรา้ งไว้ท่หี นา้ บ้านชนเผา่ ห่า หญี่ ในหม่บู ้านวฒั นธรรมและการท่องเทีย่ วกล่มุ ชาตพิ ันธุ์เวยี ดนาม ใชเ้ ปน็ ชงิ ชา้ สำ� หรบั ทกุ คนในหมบู่ า้ นได้มาเลน่ การละเลน่ โลช้ งิ ชา้ เทศกาลตรษุ ฤดฝู น ของชนเผา่ หา่ หญ่ี ทสี่ าธารณรฐั สงั คมนยิ มเวยี ดนาม ทม่ี า : https://vovworld.vn/th-TH/สีสันวัฒนธรรม54ชนเผ่าเวียดนาม/ชาวเผ่าห่า-หญี่โล้ชิงช้าในวันตรุษ ฤดูฝน-769645.vov. 16 ตรษุ จนี ของชนชาตติ า่ งๆ ในจนี , [ออนไลน]์ , สบื คน้ เมอ่ื ๒๐ มกราคม ๒๕๖๑, เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/china/detail/9540000014224.
28 การท�ำชิงช้าขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน นิยมใช้ต้นไผ่ ๖ ต้น ท�ำขาชิงช้า โดยจะแบ่งท�ำขาชิงช้าข้างละ ๓ ต้น ขาชิงช้าด้านล่างถูกตอกลึกลงในดิน ส่วนด้านบนจะถูกน�ำมาผูกเข้าไว้ด้วยกันเพ่ือรองรับไผ่อีกต้นหน่ึงที่วางแนวนอน เป็นคานส�ำหรับแขวนเชือกผูกแผ่นไม้ด้านล่าง แผ่นไม้น้ีเป็นแผ่นไม้ขนาดใหญ่ และกวา้ งพอให้คนน่ังหรอื ยืนโลช้ ิงชา้ ได้ ขณะทำ� การปลกู ชงิ ชา้ ฝา่ ยหญงิ จะรอ้ งเพลงใหก้ ำ� ลงั ใจฝา่ ยชายทผี่ กู เชอื ก อยู่ด้านบน และหากิง่ ไม้มหี นามแหลมส�ำหรับใช้ท�ำพิธีไหว้ผชี งิ ชา้ เมือ่ ปลกู ชงิ ชา้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซ่ึงชาวเผ่าห่า หญ่ี เชื่อว่ากิ่งไม้มีหนามแหลมจะช่วยขับไล่ ภูตผีปีศาจที่สิงในชิงช้าและที่อยู่รอบๆ แถวนั้น และป้องกันภัยแก่คนที่มาเล่น โลช้ งิ ช้า เพ่อื ใหก้ ารละเลน่ เปน็ ไปอย่างราบรนื่ ไมม่ ีอุบัติเหตุเกิดขึน้ ไมม่ คี นลม้ บาดเจ็บ ส�ำหรับพิธีไหว้ผีชิงช้านั้น ผู้ใหญ่บ้านจะเป็นผู้ท�ำพิธี เริ่มพิธีด้วยการ ผูกก่ิงไม้มีหนามแหลมไว้กับชิงช้า แล้วผลักเชือกให้ชิงช้าแกว่งและอ่านบทสวด และเมื่อกิ่งไม้มีหนามแหลมหล่นลงไปใต้ชิงช้า หมายความว่าภูตผีปีศาจ ถกู ขบั ไล่ออกไปแล้ว ทกุ คนสามารถมาโลช้ งิ ช้าไดอ้ ยา่ งสบายใจ ส่วนการเล่นโลช้ งิ ชา้ กำ� หนดให้มีผ้เู ล่น ๒ คน คนหนึ่งยนื และคนหนง่ึ นง่ั ขณะท�ำการโล้ชิงช้า ผู้ชมที่อยู่รอบๆ จะพากันส่งเสียงเชียร์ให้ออกแรงแกว่ง ชิงช้าให้สูงข้ึน ทั้งนี้ ชาวเผ่าห่า หญี่ เชื่อกันว่าหากโล้ชิงช้าได้ยิ่งสูงย่ิงไกล ในปีน้ันจะยิ่งได้รับโชคลาภและสิ่งดีงามให้แก่ตัวเองและครอบครัว นอกจากน้ี ตามคำ� บอกเล่าของคนรุน่ กอ่ น เช่อื ว่าการโลช้ งิ ชา้ เป็นการขอขมาต่อเทพเทวดา พืชพรรณ และต่อส่ิงอ่ืนใดท่ีอาจกระท�ำผิดพลาดล่วงเกินตลอดฤดูการท�ำนา ท�ำไร่ในปีน้ัน การถูกแกว่งไกวกลางอากาศด้วยการโล้ชิงช้าจึงแสดงถึงการถูก ท�ำโทษหรอื ขอขมาในอกี นยั หน่ึงดว้ ย หลังส้นิ สุดเทศกาลตรุษฤดูฝน ชงิ ชา้ จะถกู รื้อลง และสรา้ งขึน้ ใหมใ่ นชว่ งเทศกาลตรุษฤดูฝนปีถดั ไป17 17 ชาวเผา่ หา่ หญ่ี โล้ชิงช้าในวันตรษุ ฤดูฝน, [ออนไลน์], สบื ค้นเมอ่ื ๑ สงิ หาคม ๒๕๖๒, เข้าถึงได้จาก https://vovworld.vn/th-TH/สีสันวัฒนธรรม54ชนเผ่าเวียดนาม/ ชาวเผ่าหา่ -หญโี่ ล้ชงิ ช้าในวันตรุษฤดูฝน-769645.vov.
29 โดยสรุป ชาวเผ่าห่า หญ่ี ท�ำการเล่นโล้ชิงช้าในเทศกาลตรุษฤดูฝน เพอ่ื ความรน่ื เรงิ พกั ผอ่ นหยอ่ นใจ ตลอดจนเพอื่ แสดงถงึ การขอบคณุ และขอขมา ทอี่ าจกระทำ� ลว่ งเกนิ ตอ่ สง่ิ ทม่ี อี ำ� นาจเหนอื ธรรมชาตติ า่ งๆ ในระหวา่ งท�ำมาหากนิ เพ่อื ขอให้มีโชคลาภและเป็นสิริมงคล ในส่วนของไทย นอกจากมีการประกอบพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย หรือโล้ชิงช้าของกลุ่มพราหมณ์ชาวสยามและราชส�ำนักแล้ว ยังพบพิธีโล้ชิงช้า ของชาวอาข่า (อีก้อ) ซง่ึ เปน็ ชนกลุม่ นอ้ ยด้วย อาข่าหรืออีก้อ เป็นกลุ่มชนที่จัดอยู่ในเช้ือชาติทิเบต - พม่า พบกระจาย ตัวแถบจีน เวียดนาม ลาว พม่า และทางภาคเหนือของไทย นิยมตั้งถ่ินฐาน บนไหล่เขาหรือท่ีสูงใกล้แหล่งน�้ำ ท�ำอาชีพด้านการเกษตร ส�ำหรับเขตพ้ืนท่ี ของไทย พบชุมชนชาวอาข่าตั้งถ่ินฐานบ้านเรือนมากท่ีสุดท่ีจังหวัดเชียงราย และมีบางส่วนที่กระจายตัวอยู่ตามท่ีสูงของจังหวัดเชียงใหม่ ล�ำปาง ตาก แพร่ เป็นต้น แมช้ าวเผ่าอาข่ามหี ลายกลุม่ แตม่ ีวัฒนธรรมประเพณที ีค่ ล้ายคลงึ กนั อาขา่ (อกี อ้ ) : โลช้ งิ ชา้ การละเลน่ รนื่ เรงิ ในเทศกาลปใี หมแ่ ละการฉลอง ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหาร การโล้ชิงช้าของชาวอาข่าถือว่า เปน็ ประเพณีพิธกี รรมอนั ศกั ด์สิ ิทธิ์ เก่ยี วข้องกับการดำ� รงชีวติ โดยตรง ชาวอาขา่ จะจัดประเพณีน้ีในช่วงหลังเสร็จส้ินการเพาะปลูก ผลผลิตก�ำลังงอกงามและ พร้อมท่ีจะเก็บเก่ียวในอีกไม่นาน คือประมาณปลายเดือนสิงหาคม - ต้นเดือน กันยายนของทุกปี มีระยะเวลาในการจัดงาน ๔ วัน โดยวันแรก เป็นวันท่ี ฝ่ายหญิงเตรียมอาหารและส่ิงต่างๆ ส�ำหรับท�ำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ วันท่ีสอง เป็นวันสร้างปลูกชิงช้า ฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายออกไปตัดไม้ท�ำเสาชิงช้า ชิงช้า ของอาข่ามีอยู่ ๓ แบบ คือ แบบกระโจมส่ีเสาหรือชิงช้าใหญ่ท่ีชาวบ้านร่วม กันสร้างขึ้น ท�ำด้วยไม้ ๔ ต้น ริดก่ิงให้หมดเหลือไว้แต่ยอด เมื่อปักเสาทั้งสี่ลง ในดนิ แลว้ กร็ วบยอดเขา้ หากนั มดั ผกู ตดิ กนั และมเี ชอื กทำ� ดว้ ยเถาวลั ยห์ อ้ ยลงมา ตรงกลางทป่ี ลายเชอื กท�ำเปน็ หว่ ง ชงิ ชา้ อกี แบบคลา้ ยระหดั วดิ น้�ำหรอื ชงิ ชา้ หมนุ ท�ำด้วยเสา ๒ ต้น ปักลงในดิน ด้านบนเป็นง่ามบากส�ำหรับรองรับแกนกลาง และมีแขนย่ืนออกไป ๔ ด้าน ปลายแขนตรงข้ามแต่ละคู่นั้นยึดปลายด้วยไม้ไผ่
30 มีลักษณะคล้ายระหัดวิดน�้ำ มีเชือกผูกห้อยลงมาท้ัง ๔ แขน ชิงช้าแบบนี้ โลค้ รง้ั ละ ๔ คน และแบบสำ� หรบั เดก็ หรอื ชงิ ชา้ ขนาดเลก็ ทำ� เหมอื นแบบกระโจมสเี่ สา แตข่ นาดเล็กกวา่ มเี ชอื กที่หอ้ ยตรงกลาง ตรงปลายเชือกมไี มไ้ ผ่วางให้เด็กข้ึนไป นัง่ โล้ ชงิ ชา้ ขนาดเล็กน้ี ทกุ ครวั เรอื นจะต้องสรา้ งไวท้ หี่ น้าบา้ นของตนเอง เพอ่ื ให้ ลูกหลานของตนได้เล่นด้วยเพราะถือว่าเป็นประเพณีพิธีของชนเผ่า หลังจากที่ สร้างชิงช้าเสร็จจะมีพิธีเปิดโล้ชิงช้า โดยผู้น�ำศาสนาหรือหมอผีประจ�ำหมู่บ้าน จะเป็นผู้เปิดโล้ก่อน จากน้ันทุกคนจึงจะสามารถโล้ชิงช้าได้ ตอนกลางคืน จะมีการเต้นร�ำ ฉลองชิงช้าด้วยการเต้นร�ำกระทุ้งกระบอกไม้ไผ่อย่างสนุกสนาน จนถงึ รุ่งเชา้ ของวนั ใหม่ และมีการเลยี้ งอาหารเครือ่ งดมื่ กันอยา่ งอ่มิ หน�ำสำ� ราญ วนั ทส่ี ามเปน็ วนั เซน่ ไหวบ้ รรพบรุ ษุ โดยจะทำ� พธิ กี รรมเซน่ ไหวใ้ นตอนเชา้ จากนน้ั เปน็ การละเลน่ โลช้ งิ ชา้ ใหญก่ นั อยา่ งสนกุ สนาน ชายหนมุ่ หญงิ สาวจะมานง่ั พดู คยุ กนั ทลี่ านสาวกอด ผลดั เปลย่ี นกนั โลช้ งิ ชา้ โดยเฉพาะหนมุ่ ๆ ตอ้ งแสดงความสามารถ ในการโหนชงิ ช้าให้สูงเพื่อให้สาวๆ สนใจ พร้อมรอ้ งเพลงเกีย้ วพาราสี ส่วนเด็กๆ กเ็ ลน่ ชงิ ชา้ ทบ่ี า้ นของตนเชน่ กนั กลางคนื จะมกี ารเตน้ รำ� กระบอกไมไ้ ผต่ ลอดทง้ั คนื วันสุดท้ายเป็นพิธีปิดเทศกาลของแต่ละชุมชน ผู้ท่ียังไม่ได้โล้ชิงช้าจะมาโล้ชิงช้า เพ่ือเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว แล้วหมอผีประจ�ำหมู่บ้านท�ำการ เก็บเชือกของชิงช้าโดยการมัดติดกับเสาชิงช้าก่อนตะวันจะตกดินและหลัง อาหารคำ�่ กจ็ ะทำ� การเกบ็ เครอ่ื งเซน่ ไหวต้ า่ งๆ เขา้ ไวท้ เี่ ดมิ ถอื วา่ เสรจ็ สนิ้ พธิ กี รรม สว่ นชิงช้าเลก็ ๆ ที่แตล่ ะบา้ นสร้างขน้ึ เลน่ กันก็จะถูกรอื้ ถอนท้งิ ไป หลงั จากพธิ โี ลช้ งิ ชา้ ผา่ นพน้ ไปแลว้ มขี ้อห้ามมใิ หผ้ ใู้ ดเลน่ ชงิ ชา้ อกี จนกวา่ เทศกาลโลช้ ิงช้าในปใี หม่จะเวยี นมาถึงอีกวาระหนึง่ 18 18 ธันวดี สุขประเสริฐ, ประเพณีท้องถ่ินในประเทศไทย : โล้ชิงช้าของอาข่า, [ออนไลน์], สืบค้นเม่ือ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๐, เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/ databases/rituals/detail.php?id=7. และ ชาวเขาเผ่าต่างๆ ชนเผ่าอาข่าหรืออีก้อ, [ออนไลน์], สืบค้นเม่ือ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๐, เข้าถึงได้จาก http://www.sawadee.co.th/ thailand/hilltribes/akha.html.
31 การโล้ชิงช้าของชาวเขาเผ่าอาข่า (อีก้อ) ที่มา : https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=7. จากท่ีกล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการโล้ชิงช้าอยู่ท่ัวไปทุกมุมโลก ซ่ึงแต่ละท้องถ่ินก็มีคติความเช่ือในการโล้ชิงช้าแตกต่างกันออกไป แม้แต่ ในอินเดียเอง ในหมู่ชนท่ีนับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ก็ไม่พบการโล้ชิงช้า ซง่ึ มที ม่ี าจากคตคิ วามเชอ่ื เหมอื นในไทย ดงั นนั้ พธิ โี ลช้ งิ ชา้ ทป่ี รากฏในประเพณี พธิ กี รรมของไทยจงึ นา่ จะเปน็ ประเพณที อ้ งถนิ่ ดงั้ เดมิ ทมี่ อี ยกู่ อ่ นแลว้ ภายหลงั เมอื่ มี การรับศาสนาพราหมณ ์ - ฮนิ ดู เข้ามาเผยแผ่ในดนิ แดนแหง่ น้ี พราหมณ์ผูเ้ ผยแผ่ ศาสนาคงได้ปรับและผนวกประเพณีโล้ชิงช้าเข้ามาเป็นของฝ่ายข้างตนด้วย แล้วคงผูกต�ำนานการเกิดประเพณีพิธีกรรมน้ีข้ึนใหม่ให้ศักดิ์สิทธ์ิเช่ือมโยง เขา้ กบั เรอ่ื งพระเปน็ เจา้ ของตน รวมทงั้ ใหม้ กี ารสรา้ งเสาชงิ ชา้ ไวเ้ ปน็ สถานทสี่ ำ� หรบั ประกอบประเพณพี ธิ กี รรมอยา่ งถาวรบรเิ วณโบสถพ์ ราหมณต์ ง้ั แตค่ รง้ั สมยั อยธุ ยา มาจนปัจจุบนั
32 พรโะลร้ชาิงชชพ้าิธใีตนรปียรัมะปเพวาณยีร -า ตชสรีป�ำนวาักย : ปจั จบุ นั แมค้ ตคิ วามเชอื่ ตา่ งๆ เนอ่ื งในศาสนาพราหมณ์ - ฮนิ ดู ยงั คงมอี ทิ ธพิ ลตอ่ สงั คมและวฒั นธรรมไทยอยา่ งแนบแนน่ เพราะ หยั่งรากฝังลึกในจิตใจของคนไทยมาช้านาน แต่การประกอบ ประเพณีพิธีกรรมซึ่งกระท�ำกัน ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในอดีตมักเป็นการพระราชพิธีของฝ่ายราชส�ำนักและพิธีกรรม ท่ีเก่ียวข้องกับการบูชายัญ ซึ่งคณะพราหมณ์ไทยได้เลิกปฏิบัติ พธิ อี ยา่ งหลงั ไปแลว้ จนหมดสนิ้ คงเหลอื แตก่ ารประกอบพระราช พธิ หี ลวงในพระบรมราชานเุ คราะห์ และการประกอบพธิ สี าธยาย พระเวทสร้างมงคล ล้างอัปมงคล รวมทั้งการด�ำเนินงานทาง ศาสนาควบคไู่ ปกบั พุทธศาสนา ความเป็นมาของพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย พระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย ประกอบดว้ ยพธิ สี องพธิ ี ตอ่ เนอ่ื งกนั คอื พธิ ตี รยี มั ปวายกบั พธิ ตี รปี วาย โดยพธิ ตี รยี มั ปวาย เปน็ พธิ พี ราหมณก์ ระทำ� เพอ่ื ตอ้ นรบั พระอศิ วร เรยี กอยา่ งสามญั วา่ พิธีโล้ชิงช้า ซ่ึงการโล้ชิงช้าต้อนรับพระอิศวรจะกระท�ำในวันขึ้น ๗คา่ํ ตอนเชา้ และวนั ขนึ้ ๙คาํ่ ตอนเยน็ ของเดอื นย่ีสว่ นพธิ ตี รปี วาย เป็นพิธีพราหมณ์กระท�ำเพ่ือต้อนรับพระนารายณ์ เรียกอย่าง สามญั วา่ พธิ แี หพ่ ระนารายณ์ กระทำ� กนั ในวนั แรม ๑ คํ่า ถึงวัน แรม ๕ คํ่า เดือนย่ี ท้ังสองพิธีน้ีเป็นพิธีปีใหม่ของพราหมณ์ และเป็นประเพณพี ิธีกรรมประจ�ำปี
33 พระราชพธิ สี ิบสองเดือน : พิธีเดอื นยี่ พระราชพิธีตรยี มั ปวาย ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วดั เสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรอี ยธุ ยา ท่มี า : http://watsenasanaram.blogspot.com/p/blog-page_20.html. พระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย คนท่ัวไปนิยมเรียกรวมกันว่า พิธีโล้ชิงช้า และเช่ือกันว่ารับอิทธิพลมาจากฝ่ายศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ตามตำ� นานเรื่องพระอศิ วรทดสอบความม่นั คงแขง็ แรงของโลก ซึ่งในต�ำนาน กล่าวว่า เมื่อพระพรหมทรงสร้างโลกรวมท้ังเหล่าสรรพสัตว์แล้วได้ขอให้ พระอิศวรไปรักษา แต่พระอิศวรทรงห่วงใยเกรงว่าโลกนี้จะไม่แข็งแรงและ เป็นเหตุให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่ท้ังหลายล้มตาย จึงเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ เพอื่ ทดสอบความแขง็ แรงดว้ ยการยนื ดว้ ยพระบาทขา้ งเดยี วในลกั ษณะไขวห่ า้ ง บนตัวพญานาคนามว่า นาลิวัน ซึ่งใช้หัวและหางผูกยึดระหว่างภูเขา ทง้ั สองฝง่ั มหาสมทุ ร แลว้ พระอศิ วรทรงทำ� การโลแ้ กวง่ โยนไปมาเพอื่ ทดสอบ ความแข็งแรง ผลปรากฏว่าโลกยังคงแข็งแรงดีอยู่ ไม่ส่ันไหวแตกร้าวไปกับ การโลช้ งิ ชา้ ทรี่ นุ แรงนนั้ พระอศิ วรโสมนสั เปน็ อยา่ งยงิ่ เหลา่ บรรดาพญานาค ทงั้ หลายกต็ า่ งพากันดใี จลงเลน่ นำ�้ เปน็ การเฉลิมฉลองสนกุ สนาน ส่วนในคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวว่า เมื่อพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระพรหม พระนารายณ์ และพระอศิ วร รว่ มกนั สรา้ งโลกเสรจ็ แลว้ พระอมุ าเทวี
34 ชายาของพระอิศวร ทรงจินตนาการไปว่าโลกท่ีพระเป็นเจ้าท้ังสาม สร้างข้ึนมานั้นมีแผ่นดินน้อยกว่ามหาสมุทร อุปมาเหมือนดังดอกจอกน้อย ลอยอยใู่ นมหาสมทุ ร ทำ� ใหท้ รงเศรา้ โศกทเี่ หลา่ มนษุ ยแ์ ละสรรพสตั วท์ งั้ หลาย ที่พระเป็นเจ้าทั้งสามทรงสร้างขึ้นจะถึงกาลวิบัติในมิช้า ถึงกับไม่บรรทม ไม่เสวย พระวรกายซูบผอม เม่ือพระอิศวรทอดพระเนตรเห็นจึงตรัสถาม พระอุมาเทวีทรงตอบไปดังที่ทรงจินตนาการ และไม่ว่าพระอิศวรจะปลอบ หรอื อธิบายวา่ โลกมีความแข็งแรงปานใด พระชายากม็ ไิ ดค้ ลายความปริวติ ก ดังน้ัน พระอิศวรจึงทรงท้าพนันถึงความแข็งแรงของโลกกับพระชายา โดยการให้พญานาคนาลิวันเอาหัวเก่ียวกับต้นพุทราท่ีริมแม่น้�ำฟากหน่ึง และเอาหางเก่ียวพันกับต้นพุทราท่ีอยู่ฟากตรงข้ามกัน จากนั้นพระอิศวร เสด็จข้ึนไปประทับยืนบนตัวพญานาคด้วยพระบาทข้างเดียวในลักษณะ ไขวห่ า้ งแลว้ ใหพ้ ญานาคไกวตวั ในการน้ี ถา้ โลกทส่ี รา้ งขนึ้ มาไมม่ คี วามแขง็ แรง พอก็จะไม่สามารถต้านต่อการไกวตัวอันรุนแรงของพญานาคได้ พระอิศวร ท่ีประทับยืนด้วยพระบาทข้างเดียวก็จะตกลงมา เป็นอันว่าแพ้พนัน แก่พระอุมาเทวี แต่ถ้าพระอิศวรไม่ตกลงมา แสดงว่าโลกท่ีสร้างขึ้นมาน้ัน มคี วามแขง็ แรงมนั่ คง สามารถตา้ นทานการไกวตวั ของพญานาคได้ เมอื่ ทงั้ สอง พระองค์ตกลงกันได้แล้วก็เสด็จไปท่ีริมฝั่งแม่น�้ำ พระอิศวรจึงท�ำทดสอบ ด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งเม่ือพญานาคไกวตัว พระอิศวรก็มิได้ตกลงมาจาก ตัวพญานาค รวมท้ังโลกท่ีสร้างขึ้นก็ไม่ได้สั่นสะเทือนจากการไกวตัวของ พญานาค จึงเป็นอันว่าโลกท่ีพระเป็นเจ้าท้ังสามสร้างขึ้นนั้นมีความมั่นคง แข็งแรงดี และพระอิศวรก็ชนะพนันแก่พระอุมาเทวี พระนางดีพระทัย และคลายความวิตกกังวล สว่ นเหลา่ พญานาคทีร่ ว่ มการทดสอบนน้ั ตา่ งร่วม ปีติยนิ ดี พากันดำ� ผดุ ดำ� ว่ายเล่นสาดนำ้� กนั เปน็ การใหญ่ สบื เนอ่ื งจากตำ� นานขา้ งตน้ จงึ ทำ� ใหเ้ กดิ เปน็ พธิ โี ลช้ งิ ชา้ เพอ่ื บชู าพระเปน็ เจา้ และเสรมิ สรา้ งขวญั กำ� ลงั ใจแกห่ มชู่ น อนั นำ� ไปสกู่ ารสรา้ งเสาชงิ ชา้ กลางพระนคร โดยสมมติให้ เสาชิงชา้ คอื ภเู ขาท้งั สองริมฝง่ั มหาสมุทรหรอื ตน้ พทุ รา ขันสาคร บรรจุน้�ำ ต้ังเบื้องหน้าเสาชิงช้าระหว่างกลางเสาทั้งสอง คือ มหาสมุทรหรือ แมน่ ำ�้ นาลิวัน ซง่ึ สวมเครอ่ื งประดบั ศรี ษะรปู พญานาคสมมตใิ ห้เป็นตวั แทนของ
35 เหลา่ พญานาค ผแู้ ทนพระองคท์ ไ่ี ดร้ บั มอบหมายเปน็ พระยายนื ชงิ ชา้ สมมตวิ า่ คอื พระอศิ วร เปน็ ประธานของการโลช้ งิ ชา้ การแสดงประกอบพธิ กี รรม มี การรำ� เสนง รอบขันสาคร ผูแ้ สดงถือเขาสัตว์วกั น้�ำจากขนั สาครสาดไปรอบๆ เปรยี บเสมือน พญานาคมาแสดงความยินดี ส่วน แผ่นไม้กระดานสลักภาพเทพเทวี คือ พระแม่ธรณี พระแม่คงคา และพระอาทิตย์ พระจนั ทร์ สมมติให้เป็นเทพและเทวี ผเู้ ปน็ บรวิ ารมาเข้าเฝา้ รบั เสด็จพระอศิ วร อยา่ งไรกต็ าม มนี กั วชิ าการบางทา่ นไดต้ ง้ั ขอ้ สงั เกตเกยี่ วกบั ตำ� นานทมี่ าของ พธิ โี ลช้ งิ ชา้ ทง้ั สองเรอื่ งวา่ ปจั จบุ นั ตำ� นานทง้ั สองเรอ่ื งนไี้ มส่ ามารถตรวจสอบไดว้ า่ มีท่ีมาจากคัมภีร์ปุราณะหรือเทพปกรณัมฉบับใด แม้จะอ้างว่าเป็นต�ำนาน ในคมั ภรี เ์ ฉลมิ ไตรภพ แตเ่ มอื่ ตรวจสอบแลว้ พบวา่ เรอื่ งราวในคมั ภรี เ์ ฉลมิ ไตรภพนน้ั มีลักษณะเป็นต�ำราโหราศาสตร์ท่ีน่าจะเขียนขึ้นในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ และไม่ ปรากฏต�ำนานเร่ืองพระอิศวรหย่ังความแข็งแรงของพ้ืนดินแต่อย่างใด ดังนั้น เปน็ ไปไดว้ า่ ตำ� นานทงั้ สองเรอื่ งทอี่ า้ งวา่ เปน็ ตน้ เคา้ ทม่ี าของพธิ โี ลช้ งิ ชา้ อาจจะแตง่ ขน้ึ เพอ่ื อธบิ ายเหตกุ ารณห์ รอื องคป์ ระกอบในพธิ กี รรมโดยคนในยคุ หลงั เพราะมี ข้อสังเกตว่าไม่ใช่เร่ืองทรี่ ู้จกั กนั อยา่ งแพรห่ ลายนกั 19 19 เปรมวัฒนา สุวรรณมาศ, “เฉลิมไตรภพ” : การศึกษาแนวคิดและกลวิธี สร้างสรรค์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบณั ฑติ , สาขาวิชาภาษาไทย ภาควชิ าภาษาไทยและ ภาษาวฒั นธรรมตะวนั ออก คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร,์ ๒๕๖๐), หนา้ ๒๒. และวาทนิ ศานติ์สนั ต,ิ พราหมณ์:ตำ� นานการโลช้ งิ ชา้ ในเอกสารไทย,[ออนไลน]์ .สบื คน้ เมอ่ื ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/485888.
36 เสาชิงช้า ณ เทวสถาน สำ� หรบั พระนคร ในอดีต ทม่ี า : จดหมายเหตุการบรู ณปฏิสงั ขรณ์เทวสถาน สำ� หรับพระนคร, หน้า ๕. พระยายืนชงิ ช้าและเครือ่ งยศในภาพ คือ พระยาประดพิ ทั ธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) ขณะเปน็ พระยายืนชิงช้า ใน พ.ศ. ๒๔๗๔
37 แผ่นไม้กระดานสลักเป็นรปู พระแม่ธรณี พระแม่คงคา และพระอาทติ ย์ พระจนั ทร์ ซ่ึงสมมตใิ ห้เปน็ เทพบริวารมาเข้าเฝ้ารบั เสดจ็ พระอศิ วรในพธิ ีโล้ชิงช้า ที่มา : จดหมายเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์เทวสถาน ส�ำหรับ พระนคร, หน้า ๑๐๔. นอกจากต�ำนานพธิ ตี รยี ัมปวาย - ตรปี วาย หรือโล้ชงิ ชา้ ถูกนำ� ไปเช่อื มโยง กับคติการสร้างโลกของพระเป็นเจ้าแล้ว ยังมีผู้เสนอความเห็นที่ต่างออกไปว่า อาจมีต้นเค้าที่มาจากต�ำนานเรื่องท่ีมีสามีภรรยาคู่หนึ่งพลอดรักกันอยู่บนชิงช้า ในนันทวันอุทยานซึ่งเป็นสวนของพระอินทร์ ชิงช้านั้นท�ำมาจากไม้มาธวิ เล้ือยพันอยู่กับต้นสันตานะและต้นปาริชาติ ต้นไม้ท้ังสองต้นนี้ถือว่าเป็น ตน้ กลั ปพฤกษ์ ๒ ใน ๕ ประเภท ดว้ ยความพเิ ศษของตน้ ไมน้ ที้ ำ� ใหบ้ รรดาเทพบตุ ร เทพธดิ าพากนั เคลบิ เคลมิ้ ไปตามบรรยากาศแวดลอ้ มตน้ ไมว้ เิ ศษน้ี เมอื่ พระอศิ วร และพระอุมาเทวีเสด็จผ่านมา ทรงเห็นสองสามีภรรยาก�ำลังโล้ชิงช้าก็ต้อง พระทัยยิ่ง พระอุมาเทวีจึงทูลขอพระอิศวรให้บันดาลชิงช้าอันงามวิจิตร ส�ำหรับท้ังสองพระองค์ได้นั่งโล้เล่นเหมือนกับสามีภรรยาคู่น้ันบ้าง พระอิศวร จึงให้บรรดาเหล่าอสรู ทั้งหลายสร้างชงิ ชา้ ข้ึน โดยเหลา่ อสรู เนรมิตเสาข้นึ สองตน้ มไี มแ้ ผน่ หนง่ึ วางขวาง ใหพ้ ญานาควาสกุ รเี ปน็ เชอื ก ภายใตพ้ ระเศยี รทแี่ ผพ่ งั พาน ของพญานาควาสุกรีน้ันมีไหมถัก ข้างบนประดับประดาด้วยพวงบุปผชาติ เพชรนิลจนิ ดาและไข่มุก แล้วประดบั ดว้ ยผนื ผา้ และหนงั กวางอีกชน้ั หนงึ่ จากน้นั
38 พระอศิ วรและพระอมุ าเทวเี สดจ็ ประทบั ทชี่ งิ ชา้ มเี หลา่ เทพบตุ รชว่ ยกนั แกวง่ ไกว ในการโลช้ งิ ชา้ นนั้ เทพบรวิ ารตา่ งพากนั รน่ื เรงิ หรรษา แตก่ ารโลช้ งิ ชา้ กลบั ทำ� ใหโ้ ลก เกิดความแปรปรวนวิปริต เทพท้ังหลายเกรงว่าโลกท้ังสามโลกจะแหลกลาญ จากการโล้ชิงช้าของพระอิศวร จึงพากันเข้าเฝ้าเพ่ือขอให้หยุดการโล้ชิงช้าคร้ังน้ี พระอิศวรเข้าพระทัยและยอมหยุดการไกวชิงช้า และตรัสว่าต่อไปจะให้จัดพิธี โลช้ งิ ชา้ ในฤดใู บไมผ้ ลิ สว่ นชงิ ชา้ นนั้ ตอ้ งตกแตง่ ประดบั ประดาใหง้ ดงามกบั ทง้ั ใหม้ ี ทำ� การบชู าไฟและมเี ครอื่ งสำ� หรบั สกั การบชู า มพี ราหมณผ์ รู้ อบรทู้ ำ� หนา้ ทป่ี ระกอบ พธิ สี วดมนต์ ใหม้ กี ารบชู าเทพยดาดว้ ยดอกไม้ และเครอื่ งหอมตา่ งๆ ใหน้ ำ� สตี า่ งๆ ผสมในนำ�้ กบั ขมนิ้ แลว้ สาดไปในฝงู ชนดว้ ยเขาทอง คอื เขาสตั ว์ หรอื ทเ่ี รยี กวา่ เสนง ซงึ่ ผทู้ ำ� พธิ โี ลช้ งิ ชา้ ดงั นจ้ี ะไดร้ บั อานสิ งสน์ านปั การ คอื มอี ายยุ นื ยาว มคี วามผาสกุ มบี ตุ รหลานสบื ทอดสกลุ มที รพั ยส์ มบตั มิ ง่ั คง่ั มขี า้ วปลาอาหารบรบิ รู ณ์ และขา้ มพน้ จากวัฏสงสารแลว้ บรรลุถึงโลกสวรรค์ในท่ีสดุ ในส่วนนักวิชาการชาวต่างประเทศบางท่านให้ความเห็นว่าการโล้ชิงช้า เปน็ การจ�ำลองฉากการกวนเกษยี รสมทุ ร โดยเสาทง้ั คเู่ ปรยี บเสมอื นเขาพระสเุ มรุ ส่วนเชือกเป็นตัวแทนของพญานาควาสุกรี บางท่านเสนอแนวความคิด เรอ่ื งการโลช้ งิ ชา้ วา่ มเี คา้ มาจากคตกิ ารบชู าพระอาทติ ยห์ รอื บชู าธรรมชาตซิ งึ่ เปน็ ความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ คัมภีร์พระเวทบางส่วนอธิบายถึงพระอาทิตย์ว่า มีลักษณะเหมือนกับชิงช้าสีทองที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า ซ่ึงประเพณีท่ีเกี่ยวข้องกับ การโล้ชิงช้าของชาวอินเดียยังมีร่องรอยท่ีแสดงถึงคติการบูชาพระอาทิตย์ หรือพระสุริยเทพ แต่ต่อมาในยุคหลังพระสุริยเทพคลายความส�ำคัญลงจึงถูก แทนที่ด้วยพระอิศวร เพราะชาวอินเดียเช่ือกันว่าพระอิศวรน้ันเป็นผู้ท�ำลาย เพื่อได้มีการสร้างขึ้นใหม่ตามคติตรีมูรติ เปรียบดังดวงอาทิตย์ท่ีขึ้นและตก ในแต่ละวัน นับแต่นั้นมา ต�ำนานที่มาของพิธีโล้ชิงช้าจึงเก่ียวข้องเชื่อมโยงกับ พระอิศวรแทน ส่วนการโล้ชงิ ชา้ ในประเทศไทยน้นั พบรอ่ งรอยความเชอ่ื ด้ังเดิม ซ่ึงเก่ียวกับธรรมชาติและวิถีชีวิตในท้องถ่ิน คือเป็นประเพณีพิธีกรรมท่ีจัดข้ึน ในช่วงฤดูหนาว (ในสมัยอยุธยาท�ำพิธีนี้กันในเดือนอ้าย ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์ ท�ำพิธีนี้กันในเดือนย่ี) ซึ่งไม่ใช่ช่วงเวลาท�ำการเพาะปลูกของผู้คนในแถบนี้
39 สว่ นการไกวชงิ ชา้ ทแ่ี กวง่ ไปตามแนวแกนทศิ ตะวนั ออกและตะวนั ตกกส็ อดคลอ้ ง กับเสน้ ทางการโคจรของพระอาทติ ย์ รวมทั้งการร่ายร�ำรอบขนั สาครของนาลวิ นั หลังจากท่ีท�ำการโล้ชิงช้าก็อาจจะเป็นสัญลักษณ์แทนการโคจรของพระอาทิตย์ เช่นเดยี วกัน20 แม้จะมีนักวิชาให้ความเห็นเก่ียวกับความเป็นมาของพระราชพิธีน้ี หลายประเดน็ แตต่ ำ� นานทไ่ี ดร้ บั การยอมรบั จากพราหมณใ์ นราชสำ� นกั ผทู้ ำ� หนา้ ที่ ประกอบพระราชพิธีนี้ก็คือต�ำนานเร่ืองราวที่เชื่อมโยงกับคติการสร้างโลกหรือ ทดสอบความแข็งแรงของโลกท่ีกล่าวไปแล้วเบ้ืองต้น ซ่ึงต�ำนานดังกล่าวอาจมี การแตง่ ขนึ้ ในชนั้ หลงั โดยปรบั เรอื่ งราวเกย่ี วกบั พระเปน็ เจา้ ในศาสนาพราหมณ ์- ฮนิ ดู ให้มีบทบาทสอดคล้องกบั คตคิ วามเช่ือดัง้ เดมิ และบริบทในสังคมไทย ความคลี่คลายของพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย จากเอกสารหลกั ฐานตา่ งๆ ทบี่ นั ทกึ เกยี่ วกบั การพระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย พบวา่ เปน็ ประเพณที มี่ มี าแตส่ มยั โบราณและเปลย่ี นแปลงไปตามกาลเวลา แตก่ ็ยังมีการปฏบิ ัติสบื ทอดมาจนปัจจบุ นั วาทนิ ศานติ์ สนั ติ ไดเ้ สนอความเหน็ เกย่ี วกบั เรอื่ งพระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรีปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการท�ำพิธีน้ี กนั มานานมากแลว้ โดยเฉพาะดนิ แดนซงึ่ เปน็ ประเทศไทย เพราะพบหลกั ฐานวา่ มพี ธิ นี ม้ี าตงั้ แตก่ อ่ นสมยั สโุ ขทยั ทง้ั นี้ สนั นษิ ฐานตามหลกั ฐานเกา่ แกท่ สี่ ดุ ทบ่ี นั ทกึ เร่ืองราวเกี่ยวกับลัทธิไศวนิกายในดินแดนประเทศไทย คือ ศิลาจารึกหุบเขา ช่องคอย อายุราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๒ ค้นพบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซ่ึงให้ ข้อมลู ว่ากลมุ่ ท่สี รา้ งจารกึ หุบเขาช่องคอยข้นึ นีค้ งเป็นกลมุ่ ชนท่ีใช้ภาษาสันสกฤต นบั ถอื ศาสนาพราหมณล์ ทั ธไิ ศวนกิ าย และคงเดนิ ทางมาพกั พงิ อาศยั ในบรเิ วณนี้ 20 วาทิน ศานต์ิ สันติ, พราหมณ์ : การโล้ชิงช้าในคติพราหมณ์, [ออนไลน์], สบื คน้ เมอื่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถงึ ไดจ้ าก https://www.gotoknow.org/posts/486431.
40 เป็นการช่วั คราว ไมใ่ ช่กลมุ่ คนทอี่ ยปู่ ระจ�ำถน่ิ อีกท้ังยังไดก้ �ำหนดสถานทบี่ ริเวณ ศลิ าจารกึ หบุ เขาชอ่ งคอยขน้ึ เปน็ เทวสถานไศวนกิ ายเพอื่ ปฏบิ ตั กิ จิ ตามจารตี ของตน การประกอบพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย ซ่ึงถือว่าเป็นพิธีส�ำคัญในลัทธิไศวนิกาย คงจะจัดขนึ้ ณ ท่ีน้ดี ว้ ย นอกจากน้ี ข้อความที่ จารกึ ปราสาทพนมรุ้ง หลักที่ ๙ อายรุ าวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๘ ซงึ่ พบทจ่ี งั หวดั บรุ รี มั ย์ มกี ารกลา่ ววา่ ถงึ การถวายชงิ ชา้ แดพ่ ระอศิ วรและพระชายา ดงั นน้ั จงึ เปน็ ไปไดว้ า่ ดนิ แดนทเ่ี ปน็ ประเทศไทยปรากฏ ร่องรอยคติการโล้ชิงช้ามาตัง้ แตค่ รัง้ สมัยอาณาจักรเขมรยงั เรืองอำ� นาจ21 ต่อมาสมัยสุโขทัย แม้ไม่ปรากฏหลักฐานท่ีแน่ชัดว่าได้มีการประกอบ พระราชพิธีตรยี มั ปวาย - ตรีปวาย หรอื พิธโี ลช้ ิงชา้ แต่จากขอ้ มลู หลกั ฐานต่างๆ ร่วมสมัยที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ในแว่นแคว้นสุโขทัย ทั้งท่ีเป็นจารึกหลักต่างๆ หรือเทวสถานอันเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปเคารพ ซ่ึงจะต้องมีเหล่าพราหมณ์ดูแลรักษาประจ�ำเทวสถานอยู่ด้วยเสมอ ท�ำให้ สันนิษฐานได้ว่า ในสมัยสุโขทัยคงจะมีการประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวายแลว้ โดยเฉพาะที่ วดั ศรสี วาย โบราณสถานเก่าแก่และส�ำคัญแหง่ หนง่ึ ในจงั หวดั สโุ ขทยั สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ เจา้ ฟา้ กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศ์ ประทานข้อวินิจฉัยว่า วัดศรีสวายแห่งน้ี น่าจะเป็นโบสถ์พราหมณ์ เนื่องจาก ทรงพบหลักไม้ปกั อยู่ ๒ หลกั ลักษณะเหมอื นท่นี ัง่ พระยายืนชิงชา้ ดว้ ยว่าพิธีน้ี จะท�ำกันแต่ที่โบสถ์พราหมณ์ และแต่เดิมอาจจะเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า ศรีศิวายะ กับทั้งยังทรงพบศิลาท�ำเป็นรูปสยุมภูที่บริเวณน้ัน ซ่ึงเป็นหลักฐาน ยืนยันชัดเจนอีกข้อหนึ่ง อีกท้ังข้อมูลจากต�ำนานพระแท่นมนังคศิลาบาตร กลา่ วถงึ โบราณสถานแหง่ นว้ี า่ เปน็ สถานทสี่ ำ� หรบั ประกอบพธิ โี ลช้ งิ ชา้ สอดคลอ้ งกบั ขอ้ วนิ จิ ฉยั ขา้ งตน้ นอกจากนวี้ รรณคดเี รอ่ื งตำ� รบั ทา้ วศรจี ฬุ าลกั ษณห์ รอื นางนพมาศ ซ่ึงเช่ือว่าแต่งข้ึนสมัยสุโขทัยแต่อาจมีการเพิ่มเติมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีข้อความกล่าวถึงการประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย ว่าเป็น 21 วาทนิ ศานต์ิ สนั ต,ิ การถวายชงิ ชา้ พระอศิ วร ตน้ เคา้ พธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย ? [ออนไลน]์ . สบื คน้ เมอ่ื ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถงึ ไดจ้ าก https://www.gotoknow.org/posts/ 591558.
41 งานพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่และส�ำคัญพิธีหนึ่งในสมัยสุโขทัย โดยมีการประกอบ พระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย ในเดือนอ้ายของทุกปีและเป็นแบบแผน แต่กไ็ ม่มรี ายละเอยี ดขั้นตอนพิธีกรรมทชี่ ัดเจนว่าเปน็ อยา่ งไร22 ในสมยั อยธุ ยา มหี ลกั ฐานกลา่ วถงึ การโลช้ งิ ชา้ หรอื พระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรีปวาย ตามคติเรื่องทดสอบความมั่นคงของแผ่นดินและเพ่ือเป็นขวัญก�ำลังใจ แกป่ ระชาชน โดยพงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยา ฉบบั วนั วลติ ใหข้ อ้ มลู วา่ การโลช้ งิ ชา้ ในสมัยอยธุ ยาท�ำพธิ ีกนั ในเดอื นยี่ และเริม่ มีในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดที ี่ ๒ โดยหลังจากที่กษัตริย์แห่งอินเดียทรงยอมเป็นพระราชไมตรีกับพระมหากษัตริย์ แหง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยา พระองคม์ พี ระราชประสงคจ์ ะสง่ สนิ คา้ ทห่ี ายากและยงั ไมเ่ ปน็ ที่รู้จักในอยุธยามาถวายแด่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จึงตรัสถาม ผู้ที่เคยทรงให้ไปอยุธยามาแล้วซึ่งได้ค�ำตอบว่ายังไม่เคยพบเห็นพราหมณ์หรือ กระดานโลช้ งิ ชา้ ในอาณาจกั รอยธุ ยา ดงั นนั้ จงึ ทรงสง่ พราหมณท์ ม่ี คี วามรพู้ รอ้ มทงั้ พระราชสาส์นซ่ึงมีใจความขอเจริญพระราชไมตรีกับพระมหากษัตริย์แห่ง กรุงศรีอยุธยา กับรับส่ังให้พราหมณ์แสดงวิธีโล้ชิงช้าให้เป็นที่รู้จักและคงอยู่ ในดนิ แดนแหง่ นต้ี ลอดไป พราหมณเ์ หลา่ นตี้ อ่ มาไดร้ บั การยกยอ่ งนบั ถอื อยา่ งยง่ิ ในอาณาจักรอยุธยา นอกจากต�ำนานการเข้ามาของเสาชิงช้าในกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 2 ตามพงศาวดารฉบับดังกล่าวแล้ว ยังมีต�ำนาน พราหมณน์ ครศรธี รรมราชทกี่ ลา่ วถงึ การนำ� เสาชงิ ชา้ จากอนิ เดยี เขา้ ในอาณาจกั ร อยธุ ยาเชน่ เดยี วกนั ถงึ แมต้ ำ� นานทง้ั สองอาจกลา่ วถงึ ประวตั กิ ารเขา้ มาไมต่ รงกนั รวมทง้ั ไม่มหี ลกั ฐานใดบง่ บอกชีแ้ น่ชัดว่าพระราชพิธตี รียมั ปวาย - ตรปี วาย และ การโล้ชิงช้าในสมัยอยุธยาน้ันเริ่มข้ึนในรัชกาลของกษัตริย์พระองค์ใด แต่จาก หลกั ฐานทไ่ี ดก้ ลา่ วมาขา้ งตน้ นำ� ไปสขู่ อ้ สนั นษิ ฐานทว่ี า่ พธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย น่าจะมีมาต้ังแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ก่อนรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และคงประกอบพธิ กี นั ในเดอื นอา้ ย คอื ราวเดอื นธนั วาคม (ฤดหู นาว) ซงึ่ นา่ จะเปน็ ไปไดว้ า่ สืบทอดมาแต่สมยั สุโขทยั 22 วาทนิ ศานติ์สนั ต,ิ พราหมณ์:พระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย-ตรปี วายในสมยั สโุ ขทยั , [ออนไลน]์ , สบื ค้นเมือ่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เข้าถึงไดจ้ าก https://www.gotoknow.org/ posts/452696.
42 สว่ นรายละเอยี ดการประกอบพธิ นี นั้ ในกฎหมายตราสามดวงกลา่ วแตเ่ พยี งวา่ มกี ารประกอบพระราชพธิ ใี นเดอื นอา้ ย และกฎมณเฑยี รบาลกก็ ลา่ วถงึ พระราชพธิ ี เพยี งสนั้ ๆ เชน่ เดยี วกนั สว่ นโคลงทวาทศมาสระบถุ งึ การโลก้ ระดานในพระราชพธิ ี ตรียัมปวาย - ตรีปวาย ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ในสมัยอยุธยามีการประกอบ พระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย และโล้ชิงช้า แต่ไม่ปรากฏรายละเอียด การประกอบพิธีแน่ชัด ท�ำนองเดียวกับสมัยก่อนหน้าน้ี ท้ังน้ีอาจเป็นเพราะ หลกั ฐานตา่ งๆ สญู หายหรอื ถกู ทำ� ลายในคราวเสยี กรงุ ศรอี ยธุ ยา เมอ่ื พ.ศ. ๒๓๑0 แตห่ ลกั ฐานจากตำ� นานพราหมณน์ ครศรธี รรมราชไดใ้ หข้ อ้ มลู เพมิ่ เตมิ วา่ ในรชั กาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ได้เสด็จไปส่งเทพเจ้าในงานพระราชพิธี ตรยี มั ปวาย - ตรปี วาย ทกุ ปมี ไิ ดข้ าด และยงั โปรดใหจ้ ดั ขา้ วของจากกรงุ ศรอี ยธุ ยา ออกไปทำ� พธิ ี ณ เทวสถานเมอื งนครศรีธรรมราชดว้ ย ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระราชพิธีตรียัมปวายได้รับการปรับเปลี่ยน มาประกอบพิธีภายในเดือนย่ี หลักฐานส�ำคัญท่ีบ่งบอกการเปล่ียนก�ำหนดการ มาประกอบพิธีในเดือนยี่ คือ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้า ธรรมธเิ บศร ไชยเชษฐสรุ ยิ วงศ์ หรอื เจา้ ฟา้ กงุ้ ซง่ึ ตรงกบั รชั กาลสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ ซง่ึ การเปลยี่ นการประกอบพระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย จากเดอื นอา้ ย มาเปน็ เดือนยี่ เพราะวา่ ช่วงเดือนอ้ายเป็นเวลาทนี่ ำ�้ เพิง่ ลด ถนนหนทางเปน็ น้�ำ เป็นโคลนทั่วไป ไม่สะดวกตอ่ การคมนาคม จึงย้ายมาประกอบพิธใี นช่วงเดือนยี่ ทถ่ี นนหนทางแหง้ 23 ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เม่ือแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการ ประกอบพิธีกันอย่างยิ่งใหญ่เพื่อเป็นขวัญก�ำลังใจแก่พสกนิกรกับทั้งเพ่ือแสดง เสถยี รภาพของบา้ นเมอื งที่เพง่ิ ก่อตัง้ ใหม่ พธิ นี ้ีแท้จริงแล้วเป็น ๒ พิธตี ่อเนอ่ื งกนั คอื พิธีตรียัมปวายกับพธิ ีตรปี วาย กระทำ� ในเดอื นยี่ของทกุ ปี เปน็ เวลา ๑๕ วนั โดยพระราชพิธีตรียัมปวายเป็นพิธีต้อนรับพระอิศวร ส่วนพระราชพิธีตรีปวาย 23 วาทนิ ศานติ์สนั ต,ิ พราหมณ์:พระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย-ตรปี วายในสมยั อยธุ ยา, [ออนไลน]์ , สบื คน้ เมอ่ื ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙, เขา้ ถงึ ไดจ้ าก https://www.gotoknow.org/posts/ 452699.
43 เป็นพธิ ีตอ้ นรบั พระนารายณ์ ซึ่งการต้อนรับพระอศิ วรนน้ั จดั ใหม้ กี ารโล้ชิงชา้ ๒ วนั คอื วนั ข้นึ ๗ ค�่ำ เวลาเชา้ และวนั ขน้ึ ๙ ค�่ำ เวลาเยน็ สมมตใิ ห้ข้าราชการชัน้ ผู้ใหญ่ เป็นพระอศิ วร เดมิ ใช้ข้าราชการต�ำแหนง่ เกษตราธิบดี คอื เจา้ พระยาพลเทพ ตอ่ มา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชด�ำริว่าพระยาพลเทพ ตอ้ งแหซ่ ำ้� ทกุ ปี ทงั้ ยงั ตอ้ งแจกจา่ ยเลยี้ งดผู คู้ นทเี่ ขา้ กระบวนแหส่ นิ้ เปลอื งเงนิ ทองมาก จึงก�ำหนดให้พระยาท่ีได้รับพระราชทานพานทองสลับเปล่ียนกันปีละคน เรียกว่า พระยายนื ชงิ ชา้ ผทู้ ำ� การโลช้ งิ ชา้ แทนทา้ วจตโุ ลกบาลเรยี กวา่ นาลวิ นั มจี ำ� นวน ๑๒ คน โล้กระดานละ ๔ คน รวม ๓ กระดาน ท้ังเป็นผู้ร�ำเสนงแทนพญานาคและเทพยดา ซงึ่ เปน็ พธิ ที างศาสนาพราหมณ์ ภายหลงั โปรดใหเ้ พมิ่ พธิ สี งฆใ์ นพระราชพธิ โี ลช้ งิ ชา้ ดว้ ย โดยพระสงฆ์จะรับพระราชทานฉันท่ีพระท่ีน่ังสุทไธศวรรย์ในวันขึ้น ๗ ค่�ำ เวลาเช้า และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พราหมณ์ได้ท�ำพิธีสมโภช เทวรปู และทำ� บญุ ตามประเพณที างพุทธศาสนา สว่ นพธิ ีตอ้ นรับพระนารายณ์ท�ำกัน ในวนั แรม ๑ คำ�่ จนถงึ วนั แรม ๕ คำ�่ เปน็ พธิ ที ไี่ มเ่ อกิ เกรกิ เหมอื นพธิ ตี อ้ นรบั พระอศิ วร เกย่ี วกบั รายละเอยี ดการพระราชพธิ ตี รยี มั ปวาย - ตรปี วาย ในสมยั รตั นโกสนิ ทร์ ตอนต้นนั้น มีกล่าวในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซ่ึงเป็นพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั ดงั นี้ “...แต่ก่อนมาเปน็ แตพ่ ิธพี ราหมณ์ พระราชทานเงินและสีผงึ้ ชว่ ยและมกี ารแหแ่ หน ตามสมควร แต่คร้ันแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนับว่าพิธีนี้ เป็นเหมือนพิธีมะหะหร�่ำของแขกเจ้าเซ็น และวิศาขบูชาในพระพุทธศาสนา เป็นพิธีใหญ่ สำ� หรบั พระนครอยขู่ า้ งจะทรงเปน็ พระราชธรุ ะมาก จงึ ไดโ้ ปรดใหม้ พี ธิ สี งฆเ์ พมิ่ เตมิ ขน้ึ ดว้ ย พระสงฆ์รับพระราชทานฉันท่ีพระท่ีน่ังสุทไธศวรรย์ในวัน ๗ ค�่ำ เวลาเช้าซ่ึงเป็น วนั ทอดพระเนตรแหก่ ลบั เสดจ็ ออกเลย้ี งพระเสรจ็ แลว้ พอทนั เวลาแหก่ ลบั พระสงฆฉ์ นั พรอ้ มกนั ทง้ั ๑๕ รปู คอื พระราชาคณะ ๓ รปู พระพธิ ธี รรม ๑๒ รปู มเี ครอ่ื งไทยทานสบง, รม่ , รองเทา้ , หมากพลู, ธปู เทยี น และมีกระจาดขา้ วเม่า, ขา้ วตอก, เผอื ก, มัน, กลว้ ย, อ้อย, มะพรา้ ว, น�ำ้ ตาลทราย ถวายให้ตอ้ งกนั กับการพิธี เวลากลางคนื ในวนั ข้ึน ๗ ค่�ำ ขนึ้ ๘ ค่�ำ ขึน้ ๙ ค�่ำ แบ่งสวดมนต์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามวันละ ๕ รูป พระราชาคณะ รูป ๑ พิธีธรรม ๔ รูป ทุกคืน ในช้ันแรกเสด็จพระราชด�ำเนินออกทุกคืนแต่ภายหลังมา กจ็ ดื ๆ ไป การทเี่ สดจ็ ออกนนั้ ดเู ปน็ แทนเสดจ็ เทวสถานซง่ึ พระเจา้ แผน่ ดนิ ในกรงุ เกา่ เสดจ็ ทกุ ปี ทห่ี นา้ พระพทุ ธปฏมิ ากรแกว้ มรกต มพี านขา้ วตอก มะพรา้ ว กลว้ ย ออ้ ย ตงั้ บชู าเหมอื นเชน่ พราหมณ์ต้ังท่ีหน้าเทวรูปในเทวสถาน ทรงจุดเครื่องนมัสการแล้วราชบัณฑิตอ่านค�ำบูชา แสดงพระราชดำ� รใิ นเบอ้ื งตน้ ทท่ี รงเหน็ วา่ การพระราชพธิ นี ค้ี วรจะเนอ่ื งดว้ ยพระพทุ ธศาสนา
44 แล้วจึงได้ว่าสรรเสริญพระพุทธคุณ ถวายข้าวเม่า ข้าวตอก ผลไม้ต่างๆ เป็น ๓ คร้ัง มีข้อความต่างๆ กัน ถ่ายอย่างที่พราหมณ์ยกอุลุบถวายพระเป็นเจ้า เม่ือจบค�ำบูชา ถวายขา้ วตอกนน้ั แล้วจึงไดส้ วดมนตต์ ่อไปทง้ั สามวนั คร้ันวันแรม ๕ คำ�่ เรม่ิ พระราชพิธี ตรีปวายกม็ พี ระสงฆ์รับพระราชทานฉัน พระราชาคณะไทย ๑ รามญั ๑ พระครูปรติ รไทย ๕ รามัญ ๔ ถวายเคร่ืองไทยทานเหมอื นอย่างพระราชพธิ ีตรียมั พวาย เวลาคำ่� สวดมนต์ ท่ีพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ไม่มีค�ำบูชาเจือ อยู่ข้างจะบ�ำบัดพิษหน่อยๆ การพิธีสงฆ์ทเ่ี กย่ี วในสองพิธมี อี ยเู่ ท่านี้ ในการพระราชพิธีน้ีต้องมีข้าราชการผู้ใดผู้หน่ึง ซ่ึงรับท่ีสมมติว่าเป็นพระอิศวร เปน็ เจา้ ลงมาเย่ยี มโลก... ...ขา้ ราชการผซู้ งึ่ ตอ้ งยนื ชงิ ชา้ นน้ั ตอ้ งกราบทลู ถวายบงั คมลาเขา้ พธิ กี อ่ นหนา้ ทจ่ี ะ ไปยนื ชงิ ชา้ คนทเี่ ขา้ กระบวนเปน็ คนจา่ ยกำ� หนดอยใู่ น ๘๐๐ คอื ตำ� รวจสวมเสอื้ คาดรตั คด ถือหวายเส้น ๑๖ ดาบเขน ๓๐ ดาบโล่ ๓๐ ดาบ ดง้ั ๓๐ ดาบสองมอื ๓๐ พรา้ แปะ๊ กกั ๓๐ ดาบเชลย ๓๐ สวมกางเกงร้วิ เสื้อแดงหมวกหนงั สารวดั สวมเสอ้ื อัตลดั โพกผ้า ๑๘ คน บโทน ๓๐๐ เปน็ คนในตวั นงุ่ ตาโถงคาดผา้ ลายรวิ้ เสอ้ื ปศั ตแู ดงปศั ตเู ขยี ว ตะพายกระบเ่ี หลก็ ขุนหมื่น ๒๐๐ เสื้ออย่างน้อยแพรสีต่างๆ นุ่งม่วงโพกแพรขลิบทองตะพายกระบี่ ฝักทองเหลือง สารวัดขุนหมื่น ๕๐ นุ่งยกเส้ือเข้มขาบ โพกแพรขลิบทอง ตะพายกระบ่ี ฝักเงิน กลองชนะ ๑๐ คู่สวมเส้ือแดง จ่าปี่ ๑ เส้ือร้ิวตุ้มปี่แดง กรรชิงแดงหน้า ๒ คัน หลัง ๒ คัน สวมเสื้อมัสรู่ กางเกงปูม คนหามเสลี่ยงโถงไพร่หาม ๑๒ คน กางเกงปัศตู เสอื้ ขาวคาดเกย้ี ว คเู่ คยี ง ๘ คน หลวงในกรมทา่ ๒ กรมเมอื ง ๒ กรมวงั ๒ กรมนา ๒ แตง่ ตวั นงุ่ สนบั เพลา นุง่ ยก เสือ้ เข้มขาบ โพกตาด อภิรมกั้นสัปทนแดง ๑ บังตะวนั ๑ สวมเสอื้ มสั รรู่ วิ้ กางเกงแดง รวิ้ หลงั ขนุ หมน่ื ๕๐ แตง่ ตวั เปน็ อยา่ งขา้ งหนา้ หวา่ งรว้ิ ทนายของตวั เอง ตบั ละ ๖ คนน่งุ ผ้าไหมจนี เสอื้ เขม้ ขาบอตั ลดั ตับท่ีหนึง่ ทสี่ องถือดาบกระบ่ี ตบั ที่ ๓ ท่ี ๔ ท่ี ๕ ถอื เครอื่ งยศ ตอ่ นนั้ ไปถอื หอกงา้ วทวนเปน็ ตบั ๆ ตอ่ ไปเปน็ ทหารเลวอกี ๒๐๐ ตามแต่ จะมี รวิ้ นอกถอื ปไิ สหวาย ๓๐ ถอื งา้ ว ๓๐ ตระบองหมุ้ ปลาย ๓๐ ถอื ทวิ ๑๐๐ ทวิ นเ้ี คยมมี า แตโ่ บราณไมเ่ คยขาดเลยสมมตกิ นั วา่ ถงุ ปนื แตท่ จ่ี รงิ ดถู กู ลมสะบดั ปลวิ กง็ ามดอี ยู่ กระบวน ท่ีเกณฑ์ก�ำหนดเพียงเท่าน้ี แต่ผู้ซ่ึงต้องแห่ คิดแต่งกระบวนตามก�ำลังของตัวเองเพ่ิมเติม เป็นกระบวนหนา้ บ้างกระบวนหลังบา้ ง ถงึ สองพันสามพันจนสี่พนั คนกม็ ี อน่ึง มีธรรมเนียมเกิดใหม่ คือใครเป็นผู้ต้องแห่ได้รับราชการอยู่กรมใด ก็ท�ำธง เป็นรูปตราต�ำแหน่งเย็บลงในพ้ืนปัศตูแดงน�ำไปหน้ากระบวน เป็นของเกิดขึ้นเมื่อมีทหาร แห่เสด็จถือธงน�ำหน้าก็ลงเป็นต�ำราใช้กันมา ตลอดจนถึงขบวนที่เป็นของเจ้าของ หามาเองนนั้ ถา้ ผใู้ ดอยกู่ รมใดกม็ กั จะจดั เครอ่ื งแหน่ นั้ ใหเ้ ขา้ เรอ่ื งกนั เปน็ ตน้ วา่ ไดว้ า่ การคลงั ก็มีคนถือกระดานแจกเบี้ยหวัด เป็นสัสดีก็มีคนถือสมุด เป็นอาสาหกเหล่าก็มีคนหาบ โพลแ่ ฟม้ เป็นตน้ ไม่มีกำ� หนดนยิ มวา่ อย่างไร แตล่ งทา้ ยแล้วคงเปน็ โคง้ ๆ โฉ่งฉา่ งเปน็ อยู่ ธรรมดาทุกๆ กระบวน ตวั พระยาผยู้ นื ชงิ ชา้ แตง่ ตวั นงุ่ ผา้ เยยี รบบั แตว่ ธิ นี งุ่ นนั้ เรยี กวา่ บา่ วขนุ มชี ายหอ้ ยอยู่ ขา้ งเบอื้ งหนา้ สวมเสอ้ื เยยี รบบั คาดเขม็ ขดั สวมเสอ้ื ครยุ ลอมพอกเกย้ี ว ตามบรรดาศกั ด์ิ การแหช่ งิ ชา้ นเ้ี ปน็ หนา้ ทขี่ องกรมเกษตราธกิ าร หรือจะเรียกว่ากรมนา เป็นต้น หมายและ
45 จัดกระบวนทั่วไป การซึ่งหน้าที่ยืนชิงช้าตกเป็นพนักงานของกรมนาอยู่น้ี ก็ชะรอย จะติดมาจากจรดพระนงั คลั ซึง่ เปน็ หนา้ ที่ของกรมนาแท้ การยืนชงิ ช้าน้ถี า้ จะวา่ ขา้ งหน้าท่ี ทใี่ กลเ้ คยี งแลว้ นา่ จะเอาเจา้ พระยายมราชมากกวา่ แตเ่ หน็ จะเปน็ มาเพราะงา่ ยทไี่ ดเ้ คยแลว้ จึงได้รวมอยคู่ นเดยี ว วนั ข้ึน ๗ ค�่ำเวลาเช้า ตัง้ กระบวนแหแ่ ต่วัดราชบุรณ ไปตามทางถนนรอบก�ำแพง พระนครเลี้ยวลงถนนบ�ำรุงเมือง ในวันแรกหยุดพักโรงมานพ หรือ “มาฬก” ปลูกไว้ ริมเชิงสะพาน นอกเฉลวก�ำหนดเขต พราหมณ์น�ำกระดานชิงช้าซ่ึงสมมติว่าจะไปแขวน มารับพระยา เม่ือพระยามาถึงโรงมานพแล้ว ก็น�ำกระดานน้ันกลับคืนไปไว้ในเทวสถาน แล้วปล่อยกระดานซ่ึงแขวนไว้ที่เสาชิงช้าเสร็จแล้ว เอาเชือกรัดให้ต้ังติดอยู่กับเสาน้ันลง สมมตวิ า่ เอากระดานแผน่ ทเี่ อาไปเกบ็ ไวใ้ นเทวสถานขนึ้ ไปแขวนแลว้ จงึ ไดร้ ดนำ�้ สงั ขจ์ ณุ เจมิ เสรจ็ แลว้ น�ำพระยาไปทช่ี มรม โรงชมรมนน้ั ท�ำเปน็ ปะรำ� ไมไ้ ผด่ าดผา้ ขาวเปน็ เพดานมมี า่ น สามด้าน กลางชมรมตง้ั ราวไมไ้ ผ่หุ้มขาวส�ำหรบั นง่ั ราวหนึ่ง ส�ำหรบั พิงราวหนึง่ นำ� พระยา เขา้ ไปนงั่ ทรี่ าว ยกเทา้ ขวาพาดเขา่ ซา้ ย เทา้ ซา้ ยยนั พนื้ มพี ราหมณย์ นื ขา้ งขวา ๔ คน ขา้ งซา้ ย เกณฑ์หลวงในกรมมหาดไทย ๒ คน กรมพระกลาโหม ๒ คนไปยืน มพี ราหมณ์เปา่ สงั ข์อยู่ เบอื้ งหนา้ ๒ คน เมอ่ื พระยาไปถงึ ชมรมแล้ว ส่งธปู เทียนไปบชู าพระศรศี ากยมนุ ีในวหิ าร วดั สทุ ศั นท์ งั้ เวลาเชา้ เยน็ เมอื่ แตก่ อ่ นทข่ี า้ พเจา้ ไปดอู ยู่ เหน็ ตวั พระยาเขา้ ไปในวดั นมสั การพระ ถึงวิหารทีเดียวก็มี เวลาท่ีไปนั้น มีกลองชนะตีน�ำหน้าเข้าไป และตีน�ำกลับออกมา แต่ภายหลงั นวี้ า่ ไมไ่ ด้เขา้ ไป เหน็ จะเป็นยอ่ กันลง ดว้ ยเสด็จออกเย็นจะไมท่ นั เวลาโล้ชงิ ชา้ เป็นต้น จึงได้เลยเลือนไปทีเดียว นาลิวันข้ึนโล้ชิงช้ากระดานละ ๔ คน ๓ กระดาน มเี สาไมไ้ ผป่ ลายผกู ถงุ เงนิ ปกั ไว้ กระดานแรก ๓ ตำ� ลงึ กระดานทสี่ อง ๑๐ บาท กระดานทสี่ าม ๒ ต�ำลงึ นาลิวันซึ่งโล้ชิงช้านนั้ แรกขึ้นไปน่ังถวายบงั คม และน่งั โลไ้ ปจนชิงชา้ โยนแรงจงึ ได้ ลุกข้ึนยืน คนหน้าคอยคาบเงินที่ผูกไว้บนปลายไม้ คนหลังคอยแก้ท้ายให้ตรงเสาเงิน คร้ันโล้ชิงช้าเสร็จสามกระดานแล้ว ตั้งกระบวนกลับมาตามถนนบ�ำรุงเมืองเล้ียวลงถนน ทอ้ งสนามชยั เมอื่ กระบวนแหม่ าถงึ หนา้ พลบั พลา กระบวนทถ่ี อื อาวธุ ตอ้ งกลบั ปลายอาวธุ ลง แต่ก่อนมาก็ไม่ได้มีเสด็จพระราชด�ำเนินออกทอดพระเนตรเลย พึ่งมีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เมอื่ เสลยี่ งมาถงึ ทา้ ยพระทน่ี งั่ สทุ ไธศวรรย์ พระยาลงจากเสลยี่ งเดนิ มา จนถงึ หนา้ พระทน่ี งั่ ทีป่ ูเส่ืออ่อนไว้ถวายบังคม พระราชทานผลกลั ปพฤกษ์ ๒๐๐ ผล ถวายบงั คมอกี คร้ังหนึ่ง แล้วเดินไปจนสุดท้ายพระที่นั่ง ข้ึนเสล่ียงกลับไปท่ีชมรมวัน ๘ ค�่ำ เป็นวันเว้น มีแต่พิธี พราหมณ์ วัน ๙ ค�่ำ ตั้งกระบวนแต่วัดราชบุรณมาคอยหน้าวัดพระเชตุพน เวลาเสด็จ ออกให้เรียกกระบวนแห่เม่ือใดจึงได้เดินกระบวน หยุดถวายบังคมและพระราชทาน ผลกลั ปพฤกษ์ ๒๐๐ ผล เหมอื นอยา่ งวนั ๗ คำ�่ กระบวนเดนิ เลย้ี วออกถนนบำ� รงุ เมอื ง พกั ท่ี โรงชมรมทหี่ นงึ่ ขา้ งตะวนั ออกเหมอื นวนั ๗ คำ่� แตไ่ มต่ อ้ งพกั โรงมานพ และไมต่ อ้ งมกี ระดาน มารบั ดว้ ยแขวนอยเู่ สรจ็ แลว้ นาลวิ นั โลช้ งิ ชา้ ๓ กระดาน เงนิ ทผี่ กู ปลายไมก้ เ็ ทา่ กนั กบั วนั แรก เมื่อโลช้ ิงชา้ แลว้ นาลวิ ันทง้ั ๑๒ คน ยกขันท่เี รยี กขันสาคร มนี ำ้� เตม็ ในขันมาตัง้ หน้าชมรม ร�ำเสนงสาดน�้ำกันครบสามเสนง แล้วพระยาย้ายไปน่ังชมรมที่ ๒ ท่ี ๓ นาลิวันก็ยกขัน ตามไปรำ� เสนงทห่ี นา้ ชมรม สาดนำ้� แหง่ ละสามเสนงๆ เปน็ เสรจ็ การแหก่ ลบั ลงไปตามถนน บ�ำรุงเมืองข้างตะวันออก เล้ียวถนนริมก�ำแพงพระนครไปท่ีประชุมหน้าวัดราชบุรณ
Search