Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

Published by waraphorn2707, 2021-12-09 08:00:34

Description: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

Search

Read the Text Version

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดทำโดย นางสาววราพร แก้วปัน ม.๕/๖ เลขที่ ๔๑ เสนอ คุณครูเกษร ศรีทองสุข

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชริน ทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขึ้นเสวย ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ รวมดำรงสิริราชสมบัติ ๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ สิริพระชนมพรรษา ๔๗ พรรษา ที่ประชุมใหญ่ของยูเนสโก (UNESCO) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศยกย่องพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นบุคคลสำคัญของโลกในฐานะที่ทรงมี ผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี ในการประกอบพระราช กรณียกิจในไทยหลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการ ศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่อง ในโอกาสวันพระบรมราชสมภพครบรอบ ๑๐ ปีนักษัตร (๑๒๐ ปี แห่งพระบรมราชสมภพ)

พระราชกรณียกิจ ด้านการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยพระ เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์แรก ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวร ฉบับแรกของไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ และ พระองค์ยังทรงแก้ไขกฎหมายองคมนตรีด้วยการออกพระราชบัญญัติ องคมนตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยให้สภากรรมการองคมนตรีมีอำนาจหน้าที่ใน การให้คำปรึกษาในการร่างกฎหมาย โดยมีพระราชดำริให้สภาองคมนตรีเป็นที่ฝึก การประชุมแบบรัฐสภา นอกจากนี้พระองค์มีพระราชดำริให้จัดระเบียบ การปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทน เข้าไปบริหารและจัดการงานต่าง ๆ ของ ชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราช บัญญัติเทศบาลขึ้น แต่มิได้เป็นไปตามพ ระราชประสงค์เนื่องจากเกิดการปฏิวัติ สยาม พ.ศ. ๒๔๗๕

ด้านเศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายาม แก้ไขปัญหเศรษฐกิจด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การควบคุมงบประมาณ ตัดทอนรายจ่าย ลดอัตราเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงการลดจำนวนข้าราชการ ปรับปรุงระบบภาษี การเก็บภาษีเพิ่มเติม ยุบรวมจังหวัด เลิกมาตรฐานทองคำเปลี่ยนไปผูกกับค่าเงิน ของอังกฤษ รวมทั้งส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบ กิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ สหกรณ์ พ.ศ. ๒๔๗๑

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในต้นรัชสมัยได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรง เกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จ ลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสัญญาใหม่ ๆ กับประเทศ เยอรมนีหลังสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับ ดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่า สนธิสัญญาอินโด จีน พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยกำหนดให้มีเขตปลอดทหาร ๒๕ กม. ทั้งสองฝั่ งของแม่น้ำโขงแทนที่จะมีเฉพาะฝั่ ง สยามแต่เพียงฝ่ายเดียว

เ ห ตุ ก า ร ณ์ สำ คั ญ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕

สาเหตุสำคัญ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความไม่พอใจในระบอบ ความไม่พอใจระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ อภิรัฐมนตรีสภา ความไม่พอใจดังกล่าวมีด้วยกันดังต่อไปนี้ มีบุคคลหลายระดับไม่พอใจการแต่งตั้ง ๑. ทหารมีความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม และการดำเนินงานของอภิรัฐมนตรีสภา ๒. การสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินเป็นไปโดยไม่สมควร เพราะสมาชิกทั้งเก่าและใหม่ล้วนเป็นพระ ๓. การแบ่งชั้นระหว่างพวกที่เรียกตนเองว่า เจ้ากับไพร่ ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทุก ๆ คราว คนสามัญที่ ๔. ขุนนางผู้ใหญ่มีความเสื่อมทราม เหลวแหลก เป็นคนดีมีความรู้ความสามารถหรือความ ๕. ข้าราชการทำงานเอาตัวรอดไปวัน ๆ ไม่คิดถึงประเทศ ชำนาญเพียงใดก็ไม่เคยได้รับการแต่งตั้ง ๖. ราษฎรไม่ได้รับการนำพาในการประกอบอาชีพ เลย สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ๗. ชาวไร่ชาวนาไม่ได้รับการช่วยเหลือ รุนแรงมากขึ้นระหว่างเจ้ากับขุนนางและผู้ได้ ๘. ทุพภิกขภัย ความอดอยากแผ่ไปทั่วในหมู่กสิกร รับการศึกษา ๙. ภาษีอากรเพิ่มขึ้นทุกปี ๑๐. ผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่ากฎหมาย ความแตกแยก ๑๑. ขาดการศึกษาของพลเรือน ในกองทัพไทย ๑๒. ความเจริญของบ้านเมืองขาดการทะนุบำรุง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง คือเริ่มต้นเปิดประเทศพร้อม ๆ กับญี่ปุ่น แต่ความ ความแตกแยกได้เกิดขึ้นนับจากระยะเวลาที่ เจริญของบ้านเมืองเทียบกันไม่ได้เลย มีการดุลข้าราชการออก จนถึงกับเสนาบดี กระทรวงกลาโหมลาออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้ง ความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัวระหว่าง การที่กลุ่มนักเรียนทหารจากฝรั่งเศสต้องการ กลุ่มนักศึกษาในฝรั่งเศส เปลี่ยนระบบทหารให้เป็นไปตามระบบการทหาร ของฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นมีกลุ่มนายทหารซึ่งจบ กับพระราชวงศ์ชั้นสูงบางพระองค์ จากเยอรมนีเป็นกำลังสำคัญอยู่ในกองทัพ ความ แตกแยกทางด้านความนิยมในระบบฝรั่งเศสหรือ ก็ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เยอรมนีทำให้แต่ละฝ่ายแก่งแย่งและบีบคั้นกัน นักเรียนไทยในฝรั่งเศสฟ้องมายังพระบาทสมเด็จ และกันทำให้ขาดความสามัคคีในกองทัพไทย พระเจ้าอยู่หัวว่า เอกอัครราชทูตไทยขณะนั้นทำความ เสื่อมเสียแก่ประเทศชาติ เรื่องโกงเงินหลวงที่เป็นทุน เล่าเรียนของนักเรียน

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ เหตุการณ์ก่อนปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๖๙ ๕ กุมภาพันธ์ ตั้งคณะราษฎร และมีการประชุม ครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ ๙ ถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี ๗ คน การประชุมกินเวลานาน ๕ วัน และลงมติให้ ปรีดี พนมยงค์เป็นประธาน และหัวหน้าคณะ ราษฎรไปก่อนจะมีผู้ที่เหมาะสม พ.ศ. ๒๔๗๔ ๑๙ มิถุนายน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง หลังมีความขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนคร สวรรค์วรพินิต อภิรัฐมนตรี ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เปิด โอกาสอย่างมากให้แก่คณะราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๕ ๑๒ มิถุนายน คณะราษฎรวางแผนการที่บ้าน ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เพื่อจะ ดำเนินการควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการ รักษาพระนคร ๒๔ มิถุนายน คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร

เหตุการณ์หลังปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ๒๗ มิถุนายน รชั กาลที่ ๗ ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า \"ชั่วคราว\" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ ซึ่งปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ร่าง ๒๘ มิถุนายน มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกตามธรรมนูญการ ปกครองประเทศชั่วคราว เลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการ ราษฎร ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนแรก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก และมีปรีดี พนมยงค์ เป็นเลขาธิการสภาผู้แทน ราษฎรคนแรก และยังมีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ๗ นาย ซึ่ง กรรมการมีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นสมาชิกคณะราษฎรคนเดียว ๒๕ สิงหาคม พระยานิติศาสตร์ไพศาล จดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร ซึ่ง อาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย ๑๐ ธันวาคม สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก ได้รับ พระราชทานจากรัชกาลที่ ๗ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ บริหารชุดใหม่ในนามใหม่ คือ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน ๒๐ นาย คณะ บริหารชุดใหม่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี ในจำนวนนี้สมาชิก คณะราษฎรเป็นรัฐมนตรีลอย ๑o นาย ๑๕ มีนาคม หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอ \"เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ\" (สมุดปกเหลือง)

เหตุการณ์หลังปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๖ ๑ เมษายน พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรี ออกพระราช กฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา โดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรมพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี ๒ เมษายน มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ตามคำแนะนำของ คณะรัฐมนตรี ๒๐ มิถุนายน พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนารัฐประหารพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าการปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นเผด็จการ จาก นั้นมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม ๑ ตุลาคม – ๑๕ พฤศจิกายน มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรผ่านผู้แทนตำบล นับ เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย ๑๑ ตุลาคม กบฏบวรเดช: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวง กลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการ ปกครองของรัฐบาล โดยระบุเหตุผลว่ารัฐบาลปล่อยให้มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และปล่อยให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ ๒๕ ตุลาคม หลังทราบว่าแพ้ต่อรัฐบาลแน่แล้ว พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏ และพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส ๗ พฤศจิกายน ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องมือที่จะ ตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ๑๖ ธันวาคม พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะ รัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ๒๕ ธันวาคม หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณทรงเป็นประธานคณะกรรมการ พิจารณาเรื่องที่ปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์ ได้ลงมติว่าปรีดีมิได้เป็น

เหตุการณ์หลังปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๗ ๒ มีนาคม รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ใน ประเทศอังกฤษ, วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่ มีพระชนมายุ ๙ พรรษา ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ๒๒ กันยายน ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็น นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๔๗๙ พ.ศ. ๒๔๗๘ ๓ สิงหาคม เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม เปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือ กบฏนายสิบ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่เขตบางเขน พ.ศ. ๒๔๘๐ (ปัจจุบันเรียกว่า อนุสาวรีย์หลักสี่) ๑๐ ธันวาคม มีพิธีฝังหมุดคณะราษฎร ๒๗ กรกฎาคม พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจาก ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ๕ สิงหาคม จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รับสนองพระบรมราชโองการ แก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญว่าด้วยนามประเทศ โดยให้เรียกชื่อ ประเทศว่า \"ประเทศไทย\"

เหตุการณ์หลังปฏิวัติการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๘๑ ๑๘ กรกฎาคม รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายก รัฐมนตรี กำหนดให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งตรงกับวันปฏิวัติ ๑๑ กันยายน พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา ๑๖ ธันวาคม พันตรี หลวงพิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ๒๙ มกราคม รัฐบาลจับกุมศัตรูของรัฐบาล ๕๑ คน แล้วตั้งศาลพิเศษโดย มีพันเอก หลวงพรหมโยธีเป็นประธาน พ.ศ. ๒๔๘๒ พ.ศ. ๒๔๘๓ ๒๐ พฤศจิกายน ศาลพิเศษตัดสิน ๒๔ มิถุนายน มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ ประหารชีวิต ๑๘ นาย และจำคุก ประชาธิปไตย ตลอดชีวิต ๒๕ นาย พ.ศ. ๒๔๘๔ ๘ ธันวาคม สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย ๑๑ ธันวาคม รัฐบาลไทยยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น ๑๒ ธันวาคม หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครทูตไทยประจำสหรัฐ ไม่ยอมรับ การประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรี ไทยขึ้นที่นั่น โดยต่อมาคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน แยกตัวจากรัฐบาลมาเข้า ร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ผล การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสถานภาพ กระ ของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก เพราะ ทบ เป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจในระบอบ ด้าน สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และยังก่อให้เกิดความขัด การ แย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ เมือง มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การยึด อำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น หลายฝ่าย มองว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจมีลักษณะโน้มเอียงไป ในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้นความ ขัดแย้งจึงเกิดขึ้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องภายหลังการ เปลี่ยนแปลงการปกครองสิ้นสุดลงแล้วไม่นาน เมื่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ เข้าบริหารประเทศได้ไม่นาน ก็มีบุคคลคณะหนึ่งซึ่ง เรียกตนเองว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง นำโดยพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ รัฐบาลในเดือนตุลาคม ๒๔๗๖ โดยอ้างว่ารัฐบาลได้ ทำการหมิ่นประมาทองค์พระประมุขของชาติ ดำเนิน การปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็น ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในที่สุดรัฐบาลก็สามารถ ปราบรัฐประหารของคณะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็มีการจับกุมและกวาดล้างผู้ต้อง สงสัยจนดูเหมือนว่าประเทศไทยมิได้ปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยในระยะนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมา ก็กลายเป็นความขัดแย้งสืบต่อกันมาในยุคหลัง ปัญหาการเมืองดังกล่าว ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ สถาบันทางการเมืองในยุคหลัง ๆ ไม่ค่อยประสบความ สำเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาการทางการเมือง มิได้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย

ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่า ผล ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะ กระ ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทบ ทางเศรษฐกิจ ที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้ ด้าน นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนร่างเค้าโครงการ เศรษฐกิจ เศรษฐกิจเพื่อนำเสนอนั้น มิได้รับการ ยอมรับจากคณะราษฎรส่วนใหญ่ ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจภายหลัง การเปลี่ยนแปลง การปกครอง จึงยังคงเป็นแบบทุนนิยมเช่น เดิม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเน้น ที่การเกษตรกรรมมากกว่าอุตสาหกรรม ซึ่ง ต่างจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ที่มีการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไป สู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว คณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ตกลงกันได้แต่เพียงว่าจะเลิกล้มระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ไม่สามารถจะ ตกลงอะไรได้มากกว่านั้น กลุ่มผลประโยชน์ ทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงต้องต่อสู้กัน ต่อไป เพื่อบีบบังคับให้ระบบเศรษฐกิจและ การเมืองเป็นไปตามที่ตนต้องการ นอกจากนี้ กลุ่มผลประโยชน์ที่ครอบครองที่ดินและทุน อันเป็นปัจจัย การผลิตที่สำคัญ ก็รวมตัวกัน ต่อต้านกระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง กรรมสิทธิ์ที่ดินและเงินทุนจากของบุคคลเป็น ระบบสหกรณ์

ผลกระทบด้านสังคม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอ สมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่าง ๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุน มูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิ ประโยชน์ต่าง ๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและ ขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น ั ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้นำไปสู่การปรับปรุงให้ ราษฎรได้รับการศึกษา และสามารถใช้วิชาการความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ ประกอบอาชีพต่อไปอย่างมั่นคงและมีความสุข การเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูก ลิดรอนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น พระมหากษัตริย์จะได้รับเงินจากงบประมาณ เพียงปีละ ๑-๒ ล้านบาท จากเดิมเคยได้ประมาณปีละ ๒-๑๐ ล้านบาท เงินปีของพระบรม วงศานุวงศ์ถูกลดลงตามส่วน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียง บำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน

สถานที่ที่เกี่ยวเนื่อง กับการเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ หมุดคณะราษฎร จุดอ่านคำประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ (ล่าสุดหายแบบไร้ร่องรอย) หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือ “หมุดคณะราษฎร” เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูป ทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่ พ.อ.พระยาพหลพล พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อ่านประกาศคณะราษฎรเมื่อ รุ่งสางวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ที่หมุดมีข้อความว่า \"ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลา ย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญ ของชาติ\" จัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย มีพีธีฝังหมุด เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๙ โดยมีพระยาพหลพล พยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและหัวหน้าคณะ ราษฎรเป็นผู้ฝังหมุด โดยตอนหนึ่งกล่าวสุนทรพจน์ว่า “ข้าพเจ้าขอถือโอกาสวางหมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ ณ ที่ นี้ ขอให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม จงสถิตย์ เสถียรอยู่คู่กับประเทศชาติชั่วกัลปาวสาน เทอญ” ตำบลนัดพบ จุดนัดพบของพระยาพหลพลพยุหเสนา และคณะราษฎรสายทหาร ไม่ไกลจากแหล่งทำเลฮิปสเตอร์อย่างย่าน ถนนประดิพัทธ์นั้นมีสถานที่ซึ่งเป็นรหัสเรียก ขานของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า “ตำบลนัดพบ” คือเป็นจุดนัดหมายใน เวลาตี ๕ เช้ามืดวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสาย ทหาร โดย “ตำบลนัดพบ” ที่ว่าก็คือจุดที่ทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ์

ไปรษณียาคาร ควง อภัยวงศ์ นำคณะผู้ก่อการตัดสาย โทรศัพท์-โทรเลข ไปรษณียาคาร หรือชุมสาย โทรศัพท์วัดเลียบ เป็นอาคาร ที่ตั้งเดิมของกรมไปรษณีย์และที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรก ของประเทศไทย อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองโอ่งอ่าง ฝั่ งพระนคร ทางด้านทิศใต้ของสะพานพุทธ ในเช้ามืดของ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ อาคารไปรษณียาคารเป็นสถานที่ แรกๆ ซึ่งผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะต้องบุกยึด เพื่อตัดการสื่อสารโทรศัพท์และโทรเลข วัดแคนอก สถานที่ประชุมลับคณะราษฎรก่อนร่วมกัน เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี ๒๔๗๕ พระยาพหลพลพยุหเสน าผู้นำคณะราษฎรได้นำคณะมาหารือที่นี่ และกราบสักการะพระประธานในอุโบสถ ปัจจุบันคืออุโบสถหลังเก่า พระยาพหลพลหยุ หเสนาเกิดความเลื่ อมใสที่เห็นพระประธานหันหน้าลงทางทิศตะวันตกและสถานที่ ปกคลุมไปด้วยต้นโพธิ์ใหญ่มีอายุหลายร้อยปี คิดว่าสถานที่นี้น่าจะเป็นสถานที่สถิต ของเทวดาผู้ทรงฤทธิ์ จึงพากันอธิษฐานจิตถวายต่อพระพุทธศาสนา ถ้าแม้กระทำการ ปฏิวัติสำเร็จจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาที่ตรงนี้ให้เจริญ และแม้ละโลกนี้ไปแล้วก็ขอ ให้เอาอัฐิมาบรรจุ ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อให้เป็นการบูชา เมื่อท่านได้ละโลกนี้ไปแล้ว ลูก หลานตระกูล “พหลโยธิน” ได้นำอัฐิของท่านมาบรรจุไว้ ณ วัดแคนอกแห่งนี้ และให้ลูก หลานได้บำรุงวัดแห่งนี้ให้เจริญต่อไป ถนนทองหล่อ นามระลึกถึงหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร- เยี่ยมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ถนนทองหล่อ ห รือ ซอยสุขุมวิท ๕๕ ซึ่งปัจจุบันเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ โดยที่มา ของชื่อถนน ถนนสายนี้ตั้งชื่อตามชื่อเดิม ของ ร.ท.ทองหล่อ ขำหิรัญ (ร.น.) หรือต่อ มาเปลี่ยนชื่อและมียศสูงสุดคือ พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ สมาชิกคณะราษฎร สายทหารเรือ เจ้าของที่ดินในซอยแต่เดิม

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หมุดหมายประชาธิปไตยและพื้นที่ชุมนุม ทางการเมือง อนุสาวรีย์ประชาธิปไต ย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับ ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ในสมัยจอมพล แปลก พิบูล สงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลาดวิชาและมหาวิทยาลัยเปิดยุคคณะ ราษฎร ทั้งนี้หลัก ๖ ประการในคำประกาศฉบับที่ ๑ ของคณะราษฎรนั้น ประการที่ ๖ ในคำประกาศ ระบุว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” ในเวลาต่อมาจึงมีการตั้งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ขึ้นโดยมีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า \"มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง\" (มธก.) มหาวิทยาลัยนี้ถือกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มของ ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎร รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น โดยเล็งเห็นว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ขณะนั้นมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศชาติ มีความจำเป็นต้องมีบุคคล ที่มีความรู้ ทางกฎหมาย การปกครอง และสังคม มารับใช้ประเทศชาติโดยด่วน

อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สถานที่รำลึกการปราบกบฎบวรเดชที่ถูก ยกย้ายบ่อยครั้ง อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ ณ วงเวียนหลักสี่ จุดตัดระหว่าง ถนนพหลโยธินกับถนนแจ้งวัฒนะและถนนรามอินทรา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ เขต บางเขน กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญจัดสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยมีการบรรจุอัฐิทหารและตำรวจที่เสียชีวิตใน เหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม ๑๗ นาย วัดพระศรีมหาธาตุ ชื่อเดิม “วัดประชาธิปไตย” และสถานที่เก็บ อัฐิสมาชิกคณะราษฎร ใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ยังมี วัดพระศรีมหาธาตุ หรือ “วัดประชาธิปไตย” ทั้งนี้เมื่อ วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๓ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่ง ขณะนั้นดำรงยศและบรรดาศักดิ์เป็น พล.ต.หลวง พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอต่อที่ประชุม คณะรัฐมนตรีขออนุมัติเงินเพื่อสร้างวัด เพื่อให้เป็น อนุสรณ์แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและ ประสงค์จะให้แล้วเสร็จทันงานวันชาติ คือ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔ สถานที่ที่จะสร้างนั้นควรอยู่ใกล้กับ อนุสาวรีย์หลักสี่ โดยให้เหตุผลว่าชาติกับศาสนานั้น เป็นของคู่กัน จะแยกจากกันมิได้ และหลักธรรมของ พระพุทธศาสนานั้นสอดคล้องกับการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรสร้างวัดขึ้นใกล้กับ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งได้จารึกชื่อผู้ที่เสีย ชีวิตเนื่องจากการปราบกบฏบวรเดช และประสงค์จะ ให้วัดดังกล่าวตั้งชื่อว่า \"วัดประชาธิปไตย\"

แห่งรราัฐชธอรารณมานจูัญกรไทย รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕” จากนั้น ราชอาณาจักรไทยก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้ ๑. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. ๒๔๗๕ ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๘๙ ๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๔๙o รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๙๒ ๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๙๕ ๗. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๐๒ ๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ ๙. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๑๕ ๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ๑๑.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๙ ๑๒. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๐ ๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ ๑๔. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๓๔ ๑๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๓๔ ๑๖. ฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ๑๗. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๔๙ ๑๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ๑๙. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ ๒๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

อ้ า ง อิ ง - https://cutt.ly/gYQ7ALR - https://cutt.ly/jYQ5DKd - https://cutt.ly/gYQ74Md - https://cutt.ly/cYQ7KAX - https://cutt.ly/hYQ7Vbk - https://cutt.ly/EYQ7vHV - https://prachatai.com/journal/2017/06/72099 - https://cutt.ly/dYQ7hsk


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook