Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางการวิเคราะห์วรรณคดี-นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร

แนวทางการวิเคราะห์วรรณคดี-นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร

Published by aeja7073, 2022-07-26 08:02:59

Description: แนวทางการวิเคราะห์วรรณคดี-นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร

Search

Read the Text Version

นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร รหสั นกั ศึกษา 631102008122 ชิน้ งาน แนวทางการวิเคราะห์วรรณคดี ใหน้ ักศึกษา ศึกษาหวั ข้อด้านวรรณศลิ ปก์ ารใชส้ านวนโวหาร ดงั น้ี ๑. การใช้โวหาร โวหาร หมายถึง วิธีการเขียนเรียบเรียงข้อความให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง โวหารที่ใช้ในการเขียน เรียงความ มดี ังนี้ ๑. พรรณนาโวหาร คือ โวหารที่ใช้กล่าวถึงเรื่องราว สถานที่ บุคคล สิ่งของ หรืออารมณ์อย่าง ละเอียด สอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกลงไปเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย ใช้ในการพูดโน้มน้าว อารมณ์ของผูฟ้ ัง หรือเขียนสดดุ ี ชมเมือง ชมความงามของบุคคล สถานทแี่ ละแสดงอารมณ์ความรู้สึกตา่ ง ๆ เปน็ ต้น การใช้พรรณนาโวหาร ควรมีความประณีตในการเลือกใช้ถ้อยคาสานวนที่ไพเราะ เพราะพร้งิ เล่นคา เลน่ อักษร ใชถ้ อ้ ยคาทัง้ เสียงและความหมายใหต้ รงกับความรูส้ กึ ท่ีต้องการ พรรณนา รู้จักปรุงแต่งถ้อยคา ให้ผู้รับสารเกิดภาพพจน์ ใช้โวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ชัดเจน รจู้ กั เลือกเฟ้นเนื้อหาว่าสว่ น ใดควรนามาพรรณนาตอ้ งเข้าใจเนื้อหาทจ่ี ะพรรณนาเป็น อย่างดีและพรรณนาให้เปน็ ไปตามอารมณ์ความรสู้ ึกโดยไมเ่ สแสรง้ บางกรณีอาจตอ้ งใช้อุปมา โวหารหรอื สาธกโวหารประกอบด้วย ตัวอย่างพรรณนาโวหาร “เขาใช้แขนยันพื้นดิน อาการเหนื่อยอ่อน กลิ่นน้าฝนบนใบหญ้าและกลิ่นไอดินโซน เข้าจมกู วาบหวิว อยากให้มีใครซักคนผ่านมาพบ เพื่อพาเขากลับไปหาหมอในหมู่บ้าน มดหลายตัวเดินสวนขบวนผ่านไปมา มันไม่มีทีท่าจะสนใจเขาเลยแม้แต่น้อย เขามองดูมัน อย่างเลื่อนลอยทาไมมัน จงึ เฉยเมยกบั ฉนั มนั คงรู้แน่ ฉนั อยากให้มนั เป็นคนจริง ๆ ฉันจะต้อง กลับบ้านให้ได้ เขาคิดพลางเหม่งมองดูยอดสนของหมู่บ้าน หาดเสี้ยวเห็นอยู่ไม่ไกล ดวงอาทติ ยส์ แี ดงเขม้ กาลงั คล้อยลงเหนอื ยอดไม้ทางทิศตะวนั ตก” (นิคม รายวา: คนบนตน้ ไม้) ๒. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใชบ้ อกกลา่ ว เล่าเรื่อง อธิบาย หรือบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจนความรู้ต่าง ๆ อยา่ งละเอียด เปน็ การกลา่ งถึงเหตุการณ์ท่ตี ่อเน่ืองกัน โดยชี้ให้เห็น ถึงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์ สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้นเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างแจ่มแจ้งชั ดเจน เนื้อหา ที่บรรยายอาจเป็นเรื่องที่สมมุติหรือเรื่องจริงก็ได้ เรื่องที่ใช้บรรยายโวหาร ได้แก่

นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร รหสั นกั ศกึ ษา 631102008122 การเขียนตารา รายงาน บทความ เรื่องเล่า จดหมาย บันทึก ชีวประวัติ ตานาน เหตกุ ารณ์ บรรยายภาพ บรรยายธรรมชาติ บรรยายบุคลกิ ลักษณะบุคคล สถานท่ี รายงาน หรือจดหมายเหตุ การรายงานข่าว การอธิบายความหมายของคา การอธิบายกระบวนการ การแนะนา วธิ ีปฏิบตั ิในเรอื่ งตา่ ง ๆ เป็นตน้ ตวั อย่างบรรยายโวหาร “ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทีส่ ุดในประเทศญีป่ ุ่นมาหลายศตวรรษแล้ว แต่แรก ภูเขานี้เป็นที่เคารพบูชา ของชนพื้นเมืองเผ่าไอนุซึ่งปัจจุบันยังอยู่ตามหมู่เกาะฮอกไกโด ซึ่ง เป็นเกาะใหญ่ ที่อยู่เหนือสุดชาวไอนุขนานนาม ภูเขานี้ตามช่ือเทพธิดา “ฟูชิ” (fuchi) ผู้เปน็ เทพธิดาแห่งอัคคี ชาวญี่ปุ่นยังคงนับถือภูเขาไฟฟูจิต่อมา และเรียกชื่อตามที่พวกไอนุตั้งไว้ บรรดาผู้นับถือศาสนาชินโตเชื่อว่าในธรรมชาติทุกรูปแบบจะมีเทพ หรือ กามิ (kami) สถิต อยู่ แต่เทพที่สถิตในภูเขาจะศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ ภูเขาฟูจิซึ่งสูงที่สุดและงามที่สุดในประเทศ จึงได้รับความเคารพเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นสถานที่สถิตของทวยเทพ เป็นจุดเชื่อมโยง ระหวา่ งความ ลกึ ลบั ของสวรรค์ และความเป็นจริงของโลกมนุษย์” (เกศกานดา จตุรงคโชค (บรรณาธกิ าร): โลกพิสดาร แดนพศิ วง) ๓. อธิบายโวหาร คือ โวหารที่ทาให้ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งกระจ่างชัดเจนขึ้น มักใช้ ในงาน เขยี นทางวิชาการ และตารบั ตาราตา่ ง ๆ โดยมจี ดุ ประสงค์จะนาประเดน็ ที่สงสัยมาอธิบายให้ เข้าใจแจ่มแจ้ง การเล่าเรื่องบางตอนถ้ามีประเด็นใดที่เป็นปัญหาก็อาจใช้อธิบายโวหารเสริม ความตอนนั้นจนเรื่องกระจ่างชัดเจนขึ้น บางท่านจึงถือว่าอธิบายโวหารเป็นส่วนหนึ่งของ บรรยายโวหาร อธิบายโวหารนี้มักใช้ในการอธิบายกระบวนการ การวิเคราะห์หรือจาแนก เนอ้ื หาออกเปน็ ประเภท หรือเป็นพวก และการอธิบายความหมายของคา (จุไรรตั น์ ลักษณะ ศิริ และบาหยัน อิ่มสาราญ บรรณาธิการ, 2548, หน้า 48) การอธิบายมีหลายลักษณะ เช่น การอธิบายตามลาดับขั้น การอธิบายด้วยการให้นิยาม หรือคาจากัดความ การ ยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ การชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน และการใช้อุปกรณ์หรือ ภาษาประกอบ สุภัค มหาวรการ (2546, หน้า 11-14) กล่าวถึง หลักการเขียนอธิบายโวหารที่ดี มีการช้ีรายละเอียดของเรื่องไดช้ ัดเจนและครบถว้ น มีการอ้างเหตุผลต่าง ๆ อย่างชัดเจนและ เป็นเหตุเปน็ ผลกันดี มกี ารจัดลาดบั ขั้นตอนของเร่ืองราวได้ดี ไมว่ กวน และใช้ภาษาที่เข้าใจ ง่ายและถกู ต้อง

นางสาวอภิภาวดี มาระเพช็ ร รหสั นักศึกษา 631102008122 ตวั อยา่ งการอธิบาย “ศิลปินหรือผู้สร้างศิลปะก็คือหน่วยหนึ่งของสังคม ที่สาคัญได้แก่ กลไกทาง การเมืองและทางเศรษฐกิจ การต่อสู้กับอิทธิพลดังกล่าวเป็นเร่ืองซับซ้อนใหญโ่ ต เป็นต้น ว่า ศิลปนิ และนกั เขียนมขี อบข่าย แหง่ เสรีภาพไดแ้ ค่ไหน เม่อื ผผู้ ลิตงานศิลปะ จาเป็นต้องยังชีพ จากผลงานของเขาด้วย เขาจะมีทางแก้ปัญหาปากท้องของตัวเอง อย่างไร โดยเฉพาะใน สังคม แบบทุนนิยม นอกจากนี้ ปัญหาสาคัญอีกขอ้ หนึ่งก็คอื เมื่อศิลปะเป็นงานที่เสนอแก่ สาธารณชนในแง่การค้า ปฏิปักษ์สาคัญยิ่งของศิลปะเพ่ือ ชีวิตน่าจะมิใช่ศิลปะเพ่ืองานศิลปะ แต่เป็นศิลปะสุกเอาเผากินซ่ึงมุ่งมอมเมาประชาชนให้หนีจากความเป็นจริงของชีวิตมาสู่โลก ของกามารมณ์ หรือเรื่องตื่นเต้นหวือหวาไร้สาระซึ่งขายดี ติดตลาดและแพร่หลายในหมู่ ประชาชน” (ณรงค์ จนั ทรเ์ รือง: ศิลปะเพ่ือชาต)ิ ๔. สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการ อธิบาย เนื้อหาสาระ เพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้หนักแน่น สมเหตุสมผล ทาให้ผู้รับ สารเข้าใจเนื้อหา สาระในสิ่งที่พูด หรือเขียนอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ดูสมจริง หรือน่าเชื่อถือ ยิ่งขึ้น ตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นประกอบอาจเป็นเรื่องสั้น ๆ หรือเรื่องราวยาว ๆ ก็ได้ ตามความเหมาะสม เชน่ ประสบการณ์ตรงของผู้ส่งสาร เรื่องราวของบุคคล เหตุการณ์ นิทาน ตานาน วรรณคดี เป็นต้น สาธกโวหารมักใช้เป็นอุทาหรณ์ ประกอบอยู่ในเทศนาโวหาร หรือ อธิบายโวหาร การใชส้ าธกโวหาร ควรใชถ้ อ้ ยคาภาษาทีเ่ ข้าใจง่าย รจู้ กั เลือกว่าเน้อื หาตอนใดควรใช้ ตัวอย่าง หรือเรื่องราวประกอบ และตัวอย่างทีย่ กมา ประกอบต้องสอดคลอ้ งกับเนื้อหา และ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ สมเหตุสมผล สาธกโวหารมักแทรกอยู่ในโวหารอื่น ๆ เช่น บรรยาย โวหาร หรอื เทศนาโวหาร ตวั อย่างสาธกโวหาร “ถ้าเธอไม่อยากอยู่กับฉันจริงจรงิ ยินยอมทุกสิ่ง ให้เธอทิ้งไป ฉันขอแค่เพียงให้เวลา หน่อยได้ไหม อยากเล่านิทานให้ฟัง ชาวนาคนหนึ่งมีชีวิตลาพัง ไปเจองูเห่ากาลังใกล้ตาย สงสาร จึงเก็บเอามาเลี้ยงโดยไม่รู้ สุดท้ายจะเป็นอย่างไร คอยดูแลด้วยความจริงใจ ห่วงใย และคอยให้ความรกั เปน็ กังวลว่ามนั จะตาย เฝ้าคอยเอาใจทุกอยา่ ง แต่สุดทา้ ยชาวนาผู้ชายใจ ดี ดว้ ยความทเ่ี ขาไว้ใจ นา่ เสยี ดายกลบั ต้องตาย ดว้ ยพิษงู นทิ านมนั บอกใหย้ อมรับความจริง วา่ มีบางสิง่ ไมค่ วรไวใ้ จ อะไรบางอย่างที่ทาดซี กั แคไ่ หน ไมเ่ ช่อื ง ไม่รัก ไม่จริง” (สีฟา้ : ชาวนากบั งเู หา่ )

นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร รหสั นกั ศกึ ษา 631102008122 ๕. เทศนาโวหาร คือ โวหารที่มุ่งโน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เป็นการกล่าวในเชิง อบรม แนะนาสั่งสอน เสนอทัศนะ ชี้แนะ หรือโน้มน้าว ชักจูงใจโดยยกเหตุผล ตัวอย่าง หลกั ฐาน ขอ้ มลู ข้อเท็จจริง สุภาษติ คตธิ รรมและสัจธรรม ตา่ ง ๆ มาแสดงเพื่อให้ผู้อ่านเกิด ความเข้าใจที่กระจ่างจนยอมรับเชื่อถือมีความเห็น คล้อยตาม และปฏิบัติตาม โวหาร ประเภทนี้มักใช้ ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน อธิบายหลักธรรม และคาชี้แจงเหตุผล ใน เรือ่ งใดเรื่องหนงึ่ การเสนอทัศนะ เป็นต้น การใช้เทศนาโวหารควรใช้ถ้อยคาภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสาร ใช้ถ้อยคาในการ ชี้แจงเหตุผลที่กล่าวถึง ให้แจ่มแจ้งชัดเจน และชี้แจงไปตามลาดับไม่สับสนวกวน ควรใช้ โวหารอน่ื ประกอบดว้ ยเพอื่ ใหช้ วนติดตาม การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบอาจจะใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหารและสาธกโวหาร ด้วย มักใช้กับงานเขียนประเภทบทความชักจงู ใจ หรือบทความแสดง ความคิดเห็น ความ เรียง เปน็ ตน้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเทศนาโวหารเป็นโวหารทม่ี ุง่ ส่ังสอน ตวั อยา่ งเทศนาโวหาร “…เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านการรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ใน ทางการออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ใน วิธีการใช้ หมายความว่า วิธีใช้คามาประกอบเป็นประโยคนับเป็นปัญหาที่สาคัญ ปัญหาที่ สาม คือ ความร่ารวยในคาของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ารวยพอ จึงต้องมีการ บัญญตั ศิ พั ท์ใหม่มาใช้...” (พระราชดารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ๖. อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทยี บ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คลา้ ยคลึงกันมาเปรียบเพือ่ ให้ เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า อุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยาย โวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่าง สั้น ๆ หรอื เปรียบเทียบอยา่ งละเอียดก็ได้ ทงั้ นขี้ ้ึนอยู่กับอุปมา โวหารน้นั จะนาไปเสริมโวหาร ประเภทใด ตัวอยา่ งอปุ มาโวหาร “อันว่าแก้วกระจกรวมอยู่กับสุวรรณ ย่อมได้แสงจับเป็นเลื่อมพรายคล้ายมรกต ผู้ทีโ่ งเ่ ขลาแม้ได้อยูใ่ กลน้ กั ปราชญ์ กอ็ าจเปน็ คนเฉลยี วฉลาดไดฉ้ ันเดียวกนั ”

นางสาวอภภิ าวดี มาระเพ็ชร รหสั นักศกึ ษา 631102008122 ๒. การใช้ภาพพจน์ ภาพพจน์เป็นการใช้ถ้อยคาสานวนโวหาร ที่ทาให้ผู้รับสารเกิดมโนภาพ เกิดจินตนาการ ถา่ ยทอดอารมณ์ ทาใหม้ ีความรูส้ กึ รว่ มตรงตามความปรารถนาของผู้สง่ สาร • จดุ ประสงค์ของการใชภ้ าพพจน์ ๑. ภาพพจน์ให้ความสาเริงอารมณ์ หมายถึงภาพพจน์บันดาลให้ผู้อ่านผู้ฟังได้ใช้ความคิดและ จินตนาการ ซึ่งอาจเปรียบได้กับการที่เราได้ก้าวออกจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง มีความ เคลื่อนไหวตื่นตัว ไม่เฉยชาซึมเซาในระหว่างติดตามอ่าน ได้สังเกตพิจารณาเห็นสิ่งที่ เหมือนกันและสิ่งท่ีต่างกนั ดังเช่นเราต้งั ช่ือสิ่งต่างๆด้วยการเปรียบเทยี บส่ิงท่ีเหมือนหรือสิ่งที่ ต่าง โดยใชก้ ารสงั เกต ความคิด และจินตนาการเทียบเคยี ง ๒. ภาพพจน์ทาสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมขึ้น การใช้ภาพพจน์เป็นการช่วยผู้อ่านนึก เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าทาให้วรรณคดีเข้าสู่ประสาทสัมผัสและการรับรู้โดยตรง อาจจะโดยการได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส ฯลฯ ได้ร่วมมีประสบการณ์ จึงทาให้เข้าถึงและเข้าใจ วรรณคดเี รอ่ื งนน้ั ๆ ไดด้ ียิ่งขนึ้ ๓. ภาพพจนใ์ หค้ วามเข้มข้นทางอารมณ์มากข้นึ ดว้ ยการให้ความแตกตา่ ง ความขดั แย้ง ความ เหมอื น ความผสาน และทัศนคติที่มีตอ่ ส่ิงหนง่ึ ส่ิงใด ๔. ภาพพจน์ช่วยให้กล่าวคาน้อยแต่ได้ความมาก ทั้งนี้ด้วยลักษณะการบังคับทางฉันทลักษณ์ ที่กาหนดจานวนคา สมั ผัส คาครุ-คาลหุ ดังนั้นกวจี ึงต้องสรรคามาใชใ้ หส้ ามารถลงในตาแหน่ง น้นั อยา่ งเหมาะสม ขณะเดียวกนั กต็ อ้ งไดเ้ น้ือความหรือความหมายตามทีต่ ้องการดว้ ย เพ่ือให้ สามารถส่ือความและสื่ออารมณ์ได้ • ชนิดของภาพพจน์ ๑. อุปมา (simile) คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพท่ี แตกตา่ งกนั แตม่ ลี ักษณะเดน่ ร่วมกนั และใช้คาทมี่ ีความหมายวา่ เหมือนหรือคลา้ ยเป็นคา แสดงการเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด ได้แก่คาว่า เหมือน เสมือน ดัง ดั่ง คล้าย ดูราว เหมือนดั่ง ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง ละม้าย เสมอ ปาน เพียง ราว ราวกับ พ่าง เทียบ เทียม เฉก เช่น ฯลฯ เป็นการกล่าว การเปรียบเทียบสิ่งที่ เหมือนกันหรือต่างกันใช้คู่กับ อุปไมย อุปมา คือ สิ่งหรือข้อความที่ยกมากล่าวมาเปรียบ อปุ ไมย คอื สิง่ หรอื ขอ้ ความทีพ่ งึ เปรยี บเทยี บกบั สิ่งอ่ืนเพือ่ ใหเ้ ข้าใจแจ่มแจง้

นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร รหสั นกั ศึกษา 631102008122 ตัวอยา่ งเชน่ “… ข้าพเจ้ารีบเดินดุ่ม ๆ ไม่เหลียวหลังผา่ นไปในระวางละแวกบ้านมองดูข้างหน้าในเวลา ฟา้ ขาวจวนจะสว่างเหน็ ถนนหนทางนอกเมืองดวู ้าเหว่ทอดยาวยืดไปไกลลิบลับดู ประหน่ึง ว่าจะไมม่ ีเขตสดุ ลงไปฉะนั้น …” (กามนติ – เสฐยี รโกเศศและนาคะประทีป) สูงระหงทรงเพรยี วเรยี วลดู งามละมา้ ยคลา้ ยอูฐกะหลาปา๋ พศิ แตห่ ัวจรดเท้าขาวแต่ตา สองแก้มกัลยาดงั ลูกยอ ค้วิ ก่งดังกง่ เขาดีดฝ้าย จมูกละมา้ ยคลา้ ยพรา้ ขอ หกู ลวงดวงพักตร์หักงอ ลาคอโตตนั ส้นั กลม สองเตา้ ห้อยตงุ ดังถุงตะเคียว โคนเหยี่ วแห้งรวบเหมือนบวบตม้ เสวยสลายาจกุ พระโอษฐอ์ ม มันนา่ เชยนา่ ชมนางเทวี (ระเด่นลนั ได : พระมหามาตรี (ทรพั ย)์ ) ในบทกลอนข้างต้นนีเ้ ป็นการนาเอาลักษณะของอวัยวะหรือรูปร่างของคนมาเปรยี บ กบั ลกั ษณะของส่ิงทีด่ ูเหมือนเช่นแก้มเป็นปมุ่ ปมเหมือนกบั ผิวลูกยอ จมูกท่ีดูงองุ้มท่ีปลาย จมูกเหมือนกบั ตะขอ เป็นต้น ๒. อุปลักษณ์ (metaphor) คือการเปรียบเทียบด้วยการกล่าวว่าสิ่งหนึง่ เป็นอีกสิ่งหน่ึงเป็น การเปรียบเทียบที่ไม่กล่าวตรง ๆ ใช้การกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอง เป็นการเปรียบเทียบ โดยนาเอาลักษณะ สาคัญของสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบ มาเปรียบเทียบทันทีโดยโดยไม่ ต้องมีคาเชื่อมโยง ไม่ต้องใช้คาแสดงการเปรียบเทียบ ไม่มีคาแสดงความหมายว่า เหมือน ปรากฏอยู่ หรือถ้าจาเป็นต้องใช้ก็ใช้คาว่า “เป็น” หรือ “คือ” อุปลักษณ์ เป็นการใช้ ถ้อยคาภาษา ในเชิงการเปรียบเทียบที่มีชั้นเชิงและลึกซึ้งกว่าอุปมา นิยมใช้กับ ภาษ- หนังสือพิมพ์ เพราะใชค้ าน้อย ไดค้ วามมากเหมาะกับเน้ือท่ีอันจากดั ตัวอย่างเช่น มนั ก็ เปน็ ช้างงาอันกลา้ หาญ เราก็ เปน็ ช้างสารอันสงู ใหญ่ จะอยู่ป่าเดียวกนั นน้ั ฉันใด นานไปกจ็ ะยับอปั มาน (ขนุ ช้างขุนแผน) ในบทกลอนนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างหมื่นหาญกับขุนแผนโดยเปรียบขุนแผน เป็นชา้ งทก่ี ล้าหาญ หม่นื หาญกเ็ ปน็ ช้างทีด่ ูใหญโ่ ตจะอยดู่ ้วยกนั ไดอ้ ย่างไร

นางสาวอภภิ าวดี มาระเพ็ชร รหัสนกั ศกึ ษา 631102008122 ๓. บุคลาธษิ ฐาน (personification) คอื การสมมตุ ิให้สง่ิ ท่ีไม่มีชวี ิต ไมม่ ีความคิด สิ่งท่ีเป็น นามธรรม หรือสัตว์ให้มีสติปัญญา อารมณ์หรือกิริยาอาการ เหมือนมนุษย์เพื่อให้ส่ิง เหล่านั้นเกิดปรากฏการณ์เสมือนเป็น สิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก นึกคิดขึ้นมา แล้วสื่อ ความรู้สึกออกมาให้ผู้รบั สารได้รับรู้เป็นการเปรยี บเทียบโดยนาเอาสิ่งไม่มีชีวิต หรือมีชีวิต แต่ไม่ใช่คนมากล่าวถึงราว กับเป็นคน หรือทากิริยาอาการอย่างคน ภาพพจน์ประเภทน้ี จะทาใหส้ ิง่ ท่กี ลา่ วถงึ มชี วี ติ ชีวา ผู้รับสารจะมองเห็นภาพสิ่งนัน้ เคลื่อนไหวทากิริยาอาการ เหมือนคนมอี ารมณ์ มคี วามรู้สึก และสามารถส่อื ความรสู้ ึกนนั้ มาสผู่ รู้ บั สารได้ ตวั อยา่ งเชน่ “ลมหนาวเริม่ ล่องมาจากฟา้ แลว้ พรม จูบ แผ่วเจา้ พระยาโรยฝา้ ฝนั คลื่นคลี่เกลยี วแกว้ มว้ นกับนวลจันทร์ กระซบิ ส่ัน ซ่านกระเซน็ เปน็ ลานา” (ลมหนาว – เนาวรตั น์ พงษไ์ พบูลย์) ในบทนี้เป็นการนาเสนอของกวีที่ให้ลมหนาวมาทาอาการจูบลาน้าเจ้าพระยาคลื่น กระซิบและส่นั จนเกดิ เป็นเพลงลานา ๔. อติพจน์ (hyperbole) คือ การกล่าวเกินจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกหรือความคิดของผู้กล่าว ที่ต้องการย้าความหมาย ให้ผู้ฟังรู้สึกว่าหนักแน่นจริงจัง เน้นความรู้สึกให้เด่นชัดและ น่าสนใจ โดยไม่เน้นความเป็นจริง เพราะต้องการ ให้ผู้รับ สารเกิดความซาบซึ้งและ ประทับใจ ซึ่งอาจจะมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ได้ เพื่อเน้นความ รู้สึกมากกว่า ความ เป็นเหตุเป็นผล มุ่งเร้าอารมณ์และความรู้สึกสะเทือนใจเป็นสาคัญ ภาพพจน์ประเภทน้ี นิยม ใช้สื่อสารกันมากทั้งการพูดและการเขียน ที่ต้องการแสดงความรู้สึกเพราะสามารถ เปรยี บเทยี บใหเ้ ห็นภาพไดง้ า่ ย ตวั อยา่ งเชน่ รถเอยรถที่นัง่ บุษบกบัลลังกต์ ัง้ ตระหงา่ น กว้างยาวใหญเ่ ทา่ เขาจักรวาฬ ยอดเยีย่ มเทยี มวมิ านเมืองแมน ดุมวงกงหนั เปน็ ควนั คว้าง เทียมสงิ ห์วิง่ วางข้างละแสน สารถขี ่ีขบั เข้าดงแดน พนื้ แผ่นดนิ กระเด็นไปเป็นจณุ นทตี ฟี องนองระลอก คล่ืนกระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุน่ เขาพระเมรุเอนเอียงออ่ นละมนุ อานนท์หนุนดนิ ดานสะท้านสะเทือน ทวยหาญโหร่ อ้ งก้องกมั ปนาท สธุ าวาศไหวหวั่นลน่ั เล่อื น บดบังสรุ ิยันตะวันเดือน คลาดเคลื่อนจตรุ งค์ตรงมา (รามเกียรติ์ – รัชกาลท่ี 2)

นางสาวอภภิ าวดี มาระเพ็ชร รหสั นักศกึ ษา 631102008122 บทที่กล่าวมาน้ีถ้าพิจารณาตามหลักความเป็นจริงแล้วจะหาความจริงไม่ได้เลย เพราะจะไม่มีรถ ที่ไหนจะใช้สิงห์เทียมได้ถึง ๑ แสนตัว หากเทียมได้สนามรบก็คงใหญ่ กว่าสนามหลวงเปน็ สบิ เท่า แม้แต่น้าในมหาสมุทรกค็ งจะขนุ่ ไมไ่ ดห้ ากไม่มีคลืน่ ยักษเ์ กิดข้ึน แบบสนึ ามิ ดงั นัน้ บทกลอนทกี่ ลา่ วมาจึงอดุ มไปดว้ ยอติพจน์เปน็ อย่างยิง่ ๕. นามนัย (Metonymy) คือ การเปรียบเทียบโดยการใช้คาหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือ คุณสมบัตทิ ีเ่ ปน็ จุดเดน่ หรอื ลักษณะสาคัญ ของส่งิ ใดสง่ิ หน่ึง หรือการกล่าวถึงส่วนใดส่วน หน่งึ ของสงิ่ ใด ๆ มากลา่ วแทนคาท่ใี ช้เรยี ก ส่งิ นั้นโดยตรง เป็นภาพพจน์ที่ใช้เพ่ือหลีกเลี่ยง การใช้คาธรรมดา ๆ ซา้ ซาก ตัวอยา่ งเช่น - เมอื งโอง่ หมายถึง จงั หวัดราชบรุ ี - เมืองยา่ โม หมายถงึ จังหวัดนครราชสมี า - ทมี เสอื เหลอื ง หมายถึง ทีมมาเลเซีย - ทีมกงั หันลม หมายถึง ทีมเนเธอร์แลนด์ - ทีมสงิ โตคาราม หมายถงึ องั กฤษ - ฉัตร มงกฎุ หมายถงึ กษตั รยิ ์ - เก้าอี้ หมายถึง ตาแหนง่ หนา้ ที่ - มอื ทสี่ าม หมายถึง ผกู้ อ่ ความเดอื ดรอ้ น - เอวบาง หมายถงึ นาง ผู้หญิง ๖. อนุนามมัย (Synecdoche) คือ การกล่าวถึงส่วนย่อยที่มีลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ มา กล่าวแทนสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงท้ังหมด เปน็ การเปรียบเทียบโดยนาเอาลักษณะเด่นที่เป็น สว่ นหน่งึ มากลา่ วแทนทัง้ หมด ตัวอยา่ งเช่น - เขากนิ หมาก (หมาก หมายถึง หมากพลู ปูน และส่วนผสมอ่ืน ๆ) - เร่อื งนไี้ ด้กลิน่ ตุ ๆ วา่ คนมีสอี ยเู่ บือ้ งหลัง (คนมีสี หมายถงึ ข้าราชการ) - มนั สมองเหลา่ น้มี คี ่าแกป่ ระเทศชาตอิ ย่างยงิ่ (มนั สมอง หมายถึง ปญั ญาชน) - มีการเรยี กรอ้ งให้เพิ่มค่าแรงใหฉ้ นั ทนา (ฉันทนา หมายถงึ สาวโรงงาน) - เขามหี นา้ มตี าในสังคมได้เพราะมผี ู้มีอานาจใหก้ ารสนับสนุน (มหี น้ามตี า หมายถงึ มีเกียรต)ิ - มือกฎหมาย ปฏิบัติการอย่างไม่เกรงกลัวอิทธิพลใด ๆ(มือกฎหมายหมายถึง ผูร้ ักษากฎหมาย)

นางสาวอภภิ าวดี มาระเพ็ชร รหสั นกั ศกึ ษา 631102008122 ๗. ปฏิพจน์ (paradox) คือ การใช้ถ้อยคาที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมา กล่าวร่วมกันได้อย่างกลมกลืนกัน ภาพพจน์ประเภทนี้ผู้รับสารจะต้องมีความสามารถใน การวิเคราะหค์ วามหมาย หรือ ตคี วามจงึ จะเขา้ ใจได้ดี ตัวอย่าง รักกอ่ ววิ าทกัน! โอ้ความชงั อนั น่ารกั ! (ศัตรูทร่ี กั ) โลกมนษุ ยย์ ังมสี ีดาขาว มีดินดาวรอ้ นเย็นและเหมน็ หอม โอ้ความเบาแสนหนกั ! ความปอ้ อันงมึ งัม ขนนกหนกั ! ควนั ผอ่ งพรรณ! ไฟเยน็ อีกไข้สุขา ! ต่ืนอยแู่ ตห่ ลบั ในน่ไี มเ่ ป็นเช่นเห็นนา! (โรเมโอแอนจูเลียต – รชั กาลท่ี6) บทที่กล่าวมานี้เป็นกลอนเปลา่ ที่โรเมโอกล่าวต่อเบ็นโวเลโอสหายเพือ่ บรรยายความ รักของตนที่มีต่อจูเลียตบุตรีของตระกูลอันเป็นศัตรู จะเห็นว่าใช้ถ้อยคาที่ขัดแย้งกันเช่น ความเบาแสน หนกั ไข้สขุ า ฯลฯ ซง่ึ เปน็ ไปไมไ่ ด้ว่าความหนักนัน้ จะมสี ภาพเบา การเป็นไข้ จะทาให้เป็นสุขได้ ซึ่งในที่นี้โรเมโอรู้ว่ามิอาจจะรักศัตรูได้แต่ก็ห้ามใจแห่งตนไม่ได้จึง บรรยายด้วยความขดั แย้งของสง่ิ ต่าง ๆ มาเปรยี บ ๘. สัทพจน์ (onomatopoeia) คือ การใช้ถ้อยคาที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงร้องของสัตว์ หรือเลียนเสียงกริ ิยาอาการตา่ ง ๆ ของคน การใชภ้ าพพจนป์ ระเภทนี้ไม่ วา่ จะเป็นการพดู หรอื การเขยี น จะช่วยสือ่ ให้ผู้รบั สารรู้สึกเหมือนไดย้ นิ เสยี ง โดยธรรมชาติ ของสิ่งนน้ั ๆ และเหน็ กริ ยิ าอาการของส่ิงนน้ั ๆ ดว้ ย ตวั อย่างเชน่ - ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ - ลูกนกร้องจบิ๊ ๆ ๆ ลกู แมวรอ้ งเหมียว ๆ ๆ - เปรย้ี ง ๆ ดังเสียงฟา้ ฟาด - ตะแลกแตก๊ แต๊กตะแลกแตก๊ แต๊ก กระเด่อื งดงั แทรกสารวลสรวลสนั ต์ - คลน่ื ซัดครนื ครืนซ่าทผ่ี าแดง - น้าพพุ งุ่ ซา่ ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ เสยี งกงั วาน - มันดังจอกโครม จอกโครม มันดังจอก จอก โครม โครม - บัดเดยี๋ วดังหงา่ งเหง่งวังเวงแว่ว - อ้อยอเ๋ี อยี ง อ้อยอเี๋ อยี งส่งเสยี งรอ้ ง - เสยี งลิงค่างบ่างชะนวี ะหวีดโหวย กระหึมโหยหอ้ ยไมน้ า่ ใจหาย

นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร รหสั นักศกึ ษา 631102008122 ๙. สัญลักษณ์ (symbol) คือ การเปรียบเทียบที่เรยี กสิ่งหนึง่ ส่ิงใดโดยใชค้ าอื่นแทน คาที่ใช้ เรียกนนั้ เกิดจากการเปรียบเทยี บและ ตีความซึ่งใช้กันมานานจนเปน็ ที่เข้าใจกันโดยท่ัวไป อาจเปน็ คา ๆ เดยี ว ข้อความ บคุ คลในเรื่อง เป็นเรอื่ ง เฉพาะตอน หรือเรื่อง ๆ หนึ่งก็ได้ ตวั อย่างเช่น “อยา่ เอื้อมเด็ดดอกฟ้า มาถนอม สูงสุดมอื มกั ตรอม อกไข้ เด็ดแตด่ อกพยอม ยามยาก ชมนา สงู ก็สอยด้วยไม้ อาจเอื้อมเอาถึง” (โคลงโลกนติ ิ – สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร) โคลงบทน้ีมีความหมายเป็นสองนัย ความหมายแรกอาจจะเป็นการสอนผชู้ ายว่าอย่า หมายเป็นเจ้าของผูห้ ญงิ ท่ีมีศักดิส์ ูงกว่าโดยใชส้ ญั ลักษณ์ ดอกฟ้าแทนหญิงอันสูงศักดิ์หรือ อีกความหมายหนึ่งเปน็ การสอนว่าอย่าทะเยอทะยานเกินกว่าวิสัยของตนที่จะสามารถทา ได้ “เมฆสดี าแต้มฟ้าเวลานี้ มนั จะมวี นั จางรา้ งฟา้ ไหม เราอยากเห็นรงุ้ ทองของฟา้ ไทย ผ่องอาไพกระจา่ งทาบกลางฟา้ ” กลอนบทนี้ใช้คาว่า เมฆสีดาเป็นสัญลักษณ์แทนความทุกข์ ความชั่ว อิทธิพล การ แก่งแยง่ ชิงดชี ิงเดน่ กัน และใช้คาวา่ รุ้งทองเป็นสัญลักษณแ์ ทน ความดี ๓. การใช้รสวรรณคดี รสวรรณคดีไทย หมายถึง รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคาให้เกิดความงดงามและเกิดอารมณ์ แบง่ เป็น ๔ รส ดงั นี้ ๑. เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม) คือ การเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง อาจเป็นตัวละครที่ เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความ งามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรอื งของบ้านเมือง เช่น บทชมนางเงือก ซึ่งติดตาม พ่อแมม่ าเพือ่ พาพระอภยั มณหี นนี างผเี ส้ือสมทุ ร จากเรอื่ ง พระอภยั มณี หน่อกษตั รยิ ท์ ัศนานางเงือกนอ้ ย ดแู ช่มชอ้ ยโฉมเฉลาทัง้ เผ้าผม ประไพพักตรล์ ักษณ์ลา้ ลว้ นขาคม ทั้งเนอื้ นมนวลเปลง่ ออกเต่งทรวง ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดงั สรุ างคน์ างนาฏในวงั หลวง พระเพลินพิศคดิ หมายเสยี ดายดวง แล้วหนกั หน่วงนึกทจ่ี ะหนีไป (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)

นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร รหัสนักศกึ ษา 631102008122 ๒. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว โอ้โลม) คือ การกล่าวแสดงความรัก ทั้งการเกี้ยวพาราสีกันใน ระยะแรก ๆ หรอื การพรรณนาบทโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสน้ันด้วย เชน่ ถึงม้วยดินสิน้ ฟา้ มหาสมุทร ไมส่ นิ้ สดุ ความรักสมัครสมาน แมน้ เกิดในใต้ฟ้าสธุ าธาร ขอพบพานพศิ วาสไม่คลาดคลา แมน้ เนือ้ เยน็ เปน็ ห้วงมหรรณพ พข่ี อพบศรสี วสั ด์เิ ป็นมจั ฉา แม้นเปน็ บัวตัวพเ่ี ปน็ ภมุ รา เชยผกาโกสมุ ปทุมทอง เจา้ เปน็ ถ้าอาไพรขอให้พ่ี เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคสู อง จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพศิ วาสทุกชาตไิ ป (พระอภยั มณี : สุนทรภู่) ๓. พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ) คือ การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไป จนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง เชน่ ครงั้ น้เี สยี รกั ก็ไดร้ ู้ ถงึ เสยี รูก้ ็ไดเ้ ชาวนท์ ่ีเฉาฉงน เปน็ ชายหม่นิ ชายต้องอายคน จาจนจาจากอาลัยลาน (เจา้ พระยาพระคลัง (หน)) บทตัดพ้อท่ีแสดงท้งั อารมณ์รักและแค้นของ อังคาร กลั ยาณพงศ์ จากบทกวี “เสียเจ้า” จะเจ็บจาไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย จะเกิดกฟ่ี ้ามาตรมตาย อยา่ หมายว่าจะใหห้ วั ใจ (อังคาร กลั ปย์ าณพงศ์) ๔. สัลลาปงั คงิ ไสย (บทโศก) คือ การกล่าวข้อความแสดงอารมณโ์ ศกเศรา้ อาลัยรัก เช่นบท โศกของนางวันทอง จากเร่ืองขนุ ช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี ซึง่ คร่าครวญ อาลัยรักต้นไมใ้ นบา้ นขุนช้าง อันแสดงใหเ้ หน็ ว่านางไมต่ ้องการตามขุนแผนไป แต่ทีต่ ้องไป เพราะขนุ แผนร่ายมนต์สะกด ก่อนลาจากไป นางได้รา่ ลาตน้ ไมก้ ่อน ลาดวนเอ๋ยจะด่วนไปก่อนแล้ว ทั้งเกดแก้วพิกลุ ยสี่ ุน่ สี จะโรยร้างหา่ งกลนิ่ มาลี จาปเี อย๋ กี่ปจี ะมาพบ (พระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลศิ หล้านภาลยั )

นางสาวอภภิ าวดี มาระเพช็ ร รหัสนกั ศึกษา 631102008122 ๔. การเล่นเสยี ง การเล่นเสียง คือ การสรรคาให้มีเสียงสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติเพื่อให้เกิดทานอง เสียงท่ี ไพเราะนา่ ฟัง มีทงั้ การเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสยี งสระ และการเลน่ เสยี งวรรณยุกต์ ๑. การเล่นเสียงสัมผัสสระ ไดแ้ ก่ คาท่มี เี สียงคล้องจองกันด้วยเสียงสระและเสียงพยัญชนะท้าย พยางค์ (ตวั สะกด) เชน่ เจา้ ของตาลรกั หวานข้ึนปนี ตน้ ระวังตนตนี มอื ระมดั มน่ั เหมอื นคบคนคาหวานราคาญครัน ถา้ พลั้งพลันเจ็บอกเหมอื นตกตาล ๒. การเล่นสัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร ได้แก่ คาที่คล้องจองกันด้วยเสียงพยัญชนะต้น เช่น เมื่อมั่งมมี ากมายมิตรหมายมอง เมื่อมัวหมองมิตรมองหมน่ เหมอื นหมูหมา เมือ่ ไม่มมี ติ รหมางเมินไมม่ องมา เมื่อมอดมว้ ยแม้หมหู มาไมม่ ามอง ๓. การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ การใช้เสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ในคาที่มีพยัญชนะต้น สระ ตวั สะกดเหมอื นกัน โดยไล่เรยี งไปตามระดบั เสยี งวรรณยุกต์ เช่น บัวตูมตมุ ตมุ่ ตมุ้ กลางตม สูงส่งทงทานลม ล่มล้ม แมลงเม้าเม่าเมาฉม ซมซราบ รูรู่รู้ริมก้ม พาดไมไ้ ทรทอง เขาขนั คูคู่คู้ เคียงสอง เยือ้ งย่างนางยูงทอง ทอ่ งท้อง ทวิ ทงุ้ ทงุ่ ทงุ มอง มจั ฉพราศ เทาเท่าเท้ายางหยอ้ ง เลยี บลิ้มริมทาง ๔. การสัมผัสใจ ได้แก่ คาที่ไม่มีเสียงคล้องจองกันทั้งเสียงสระและเสียงพยัญชนะ แต่ทว่า เลือกสรรใช้ถ้อยคาได้ไพเราะก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ สัมผัสใจนี้ทาให้เกิดอารมณ์ สะเทือนใจมากยิ่งกว่าสัมผัสสระหรือสัมผัสพยัญชนะ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ให้ความสาคัญ กับสมั ผัสใจมาก และมกั จะยกตวั อยา่ งด้วยกลอนจากขุนช้างขนุ แผนบทนีเ้ สมอ “เงยหน้าขึน้ เถิดเจ้าพิมเพื่อน แก้มเปื้อนมาจะเช็ดนา้ ตาให้”


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook