Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู-นางสาวปัญญาพร กำไม หมู่ 5 เลขที่ 20

คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู-นางสาวปัญญาพร กำไม หมู่ 5 เลขที่ 20

Published by 20 ปัญญาพร กําไม, 2022-02-27 08:54:08

Description: คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู-นางสาวปัญญาพร กำไม หมู่ 5 เลขที่ 20

Search

Read the Text Version

ความคู่ฉสมืำลอหาทดรัักบทษคางะรดูิจิทัล รายวิชา การพัฒนาความเป็นครู (GD58201) Muban Chombueng Rajabhat University (MCRU)

คำนำ คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับครู เ็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการพัฒ ความเป็นครู (GD58201) หลักสูตรป.บัณฑิต จัดทำขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของ การนำสื่อออนไลน์ และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาในยุคปัจจุบัน ซึ่งคู่มือนี้เน้นทักษะ ความฉลาดทางดิจิทัล 8 ทักษะ ที่เป็นทักษะสำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบันและ ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ ผู้จัดทำหวังว่า คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับครูจะเป็นประโยชน์กับ ผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากมีข้อเสนอแนะหรือมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย นางสาวปัญญาพร กำไม ผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า 1 เรื่อง 2 1. การแสดงตัวตนบนโลกดิจิทัล (Digital Identity) 3 2. การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล (Digital Use) 4 3. ความปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Safety) 5 4. ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Security) 5. ความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล 6 7 (Digital Emotional Intelligence) 8 6. การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) 7. การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) 8. สิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights) เอกสารอ้างอิง

8 ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (8 Skills of Digital Intelligence Quotient) 1. การแสดงตัวตนบนโลกดิจิทัล (Digital Identity) ความสามารถในการสร้างและจัดการ ลักษณะเฉพาะของตนเองบนโลกออนไลน์ สร้างความตระหนักในเรื่องของภาพลักษณ์การแสดงออกทาง ความคิดและสามารถ จัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแสดงตัวตนบนโลกออนไลน์ทั้งในระยะสั้นและใน ระยะยาว ซึ่งการแสดงตัวตนบนโลกดิจิทัลจะประกอบด้วยความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen) ความเป็นผู้สร้างสรรค์ดิจิทัล(Digital Co-creator) ความเป็น ผู้ประกอบการดิจิทัล(DigitalEntrepreneur) ตัวอย่าง การยืนยันตัวตน หรือการแสดงหลักฐานว่าเป็นตัวตน ของตัวเอง โดยบัตรประชาชนตัวจริง เพราะเป็นสิ่งที่ ยืนยันได้ว่าข้อมูลในบัตรนั้นเป็นควาจริง เนื่องจากออก บัตรโดยสถานที่ราชการ การยืนยันตัวตนผ่านทางธุรกรรมออนไลน์ โดยการก รอกข้อมูล username และ password ของตนเองเพื่อ เป็นการยืนยันตัวตนว่าคือตัวเราจริงๆ เช่นการ กรอก รหัสเข้า แอพธนาคาร หรือ การ lod in เข้า Facebook เป็นต้น

2. การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัล (Digital Use) ความสามารถในการใช้งาน การควบคุม และการจัดการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลและ สื่อดิจิทัลเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างชีวิตออนไลน์และออฟไลน์เพื่อให้ เกิดประโยชน์และ เหมาะสมกับการใช้งาน การใช้เครื่องมือและสื่อดิจิทัลประกอบด้วยการบริหารจัดการ เวลาบนโลกดิจิทัล(ScreenTime)สุขภาพบนโลกดิจิทัล(Digital Health)การมีส่วนร่วม ในชุมชนดิจิทัล (Community Participation) ตัวอย่าง มีความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต ตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการ เข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยี อุบัติใหม่ เช่น Cloud computing เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต โปรแกรม แอพพลิเคชั่น หรือ ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของครูและนักเรียน ที่จำเป็นเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน ควรมีการศึกษา และพัฒนาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่ิอให้เท่าทันเทคโนโลยี ่

3. ความปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Safety) ความสามารถในการจัดการความเสี่ยง ในโลกออนไลน์เช่น การกลั่นแกล้งบน อินเทอร์เน็ต (Cyberbullying) ล่อลวง คุกคาม การเข้าถึงเนื้อหา ที่ผิดกฎหมายหรือเป็น อันตราย เช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรงและความหยาบคาย สื่อลามกอนาจาร และ รวมถึง การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและจัดการความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ ประกอบด้วยความเสี่ยง จาก พฤติกรรมการใช้งาน (Behavioral Risks) ความเสี่ยงจากเนื้อหา (Content Risks) ความเสี่ยงจาก การติดต่อกับคน (Contact Risks) ตัวอย่าง การใช้รหัสผ่านที่เดาง่ายเกินไปจะเกิดความเสี่ยง ต่อแฮคเกอร์ - วิธีการจัดการความเสี่ยงนี้คือ ควร ตั้งรหัสผ่านที่มีตัวเลขและตัวอักษรไม่ยาวเกินไป มี ตัวอักษรพิเศษ และควรมีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ เช่น 303Math#07 ระวัง !! การเข้าเว็บไซต์จากแหล่งที่ไม่น่า เชื่อถือ - ไม่ควรเข้าเว็บไซต์จากแหล่งที่ไม่ น่าเชื่อถือ หรือดาว์โหลดไฟล์ จากเว็บไซต์ ที่ไม่น่าไว้ใจ ไม่ควรดาว์โหลดซอฟแวร์เถื่อน เพราะอาจจะติด spyware มากับ โปรแกรมทำให้เป็นช่องทางของแฮกเกอร์ ขโมยข้อมูลได้

4. ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Security) ความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ เช่น การแฮก (Hacking) และมัลแวร์ (Malware) เพื่อทำความเข้าใจ และสามารถเลือกแนวทาง ปฏิบัติที่ดีที่สุด เลือกใช้เครื่องมือในการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับการ ป้องกันข้อมูลครอบคลุมถึงความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เช่น การทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ การ ป้องกันภัยและควบคุมการทำรายการผ่านระบบออนไลน์ การป้องกันการละเมิด ข้อมูล มาตรฐานที่เกี่ยวข้องและวิธีการจัดการความปลอดภัยและความเชื่อมั่นของ ผู้ใช้ ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลจะประกอบด้วยการป้องกันรหัสผ่าน (Password Protection) ความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต (internet Security) ความมั่นคงปลอดภัยทางโทรศัพท์มือถือ (Mobile Security) ตัวอย่าง ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันหลายบัญชี - อาจจะดูยุ่ง ยากที่เราต้องมาจำทั้ง username และ password ในหลายๆบัญชี แต่ว่าถ้าเหล่าบรรดาhackerรู้ username และ password ของบัญชีหนึ่งๆแล้ว จะ มีแนวโน้มที่พวกเขาจะเข้าไปละเมืดโจมตีในบัญชีอื่นๆอื กกับกลายเป็นว่า รู้เพียงแค่รหัสเดียวสามารถเข้าถึง ได้ทุกๆบัญชีของเรา ง่ายต่อการโจมตีอีก ระวังการติดตั้ง แอฟในมือถือ - แฮกเกอร์ อาจจะสร้างแอฟหลอกๆให้เราโหลดไปติดตั้ง และขอสิทธิเข้าถึงข้อมูลบนสมาร์ทโฟน ที่ เกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวเช่นขอสิทธิ อ่าน รายชื่อเบอร์โทรศัพท์ ( Contact ), พิกัด ( GPS ) , ซึ่งมีความเสี่ยงที่ข้อมูลมือถือ และความเป็นส่วนตัว อาจหลุด หรือถูกขโมย ตกในมือของ Hacker ได้

5. ความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล (Digital Emotional Intelligence) ความสามารถในการเข้าสังคมโลกออนไลน์ ได้แก่ การเอาใจใส่ การเข้าใจความ รู้สึกของคนอื่น การเห็นใจ การแสดงน้ำใจ การช่วยเหลือ และการสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ ในโลกออนไลน์ แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ ความเข้าใจ เห็นใจ มีน้ำใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัล (Empathy) ความตระหนักและการ ควบคุมอารมณ์ (Emotional Awareness and Regulation) ความตระหนัก ด้านอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Awareness) ตัวอย่าง เราต้องมีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ เข้าใจ เห็นใจ มีน้ำใจต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัล (Empathy) ถือ เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นบนโลกดิจิทัล เช่น การแบ่งปันความรู้บน โลกออนไลน์ การแสดงความเห็นใจและช่วยเหลือต่อ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ มีการควบคุมอารมณ์ เมื่อเห็นเนื้อหาที่ไม่ถูกใจ ไม่ควรแสดง ความคิดเห็นเชิงลบผ่านในโลกออนไลน์

6. การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) ความสามาถในการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ และทำงานร่วมกันกับผู้อื่นโดยใช้ เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ รอยเท้าหรือร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) การติดต่อสื่อสารออนไลน์ (Online Communication) ความร่วมมือออนไลน์ (Online Collaboration) ตัวอย่าง รอยเท้าทางดิจิทัลที่เกิดโดยเจตนา หรือ ไม่เจตนา - เจตนา เช่น ข้อความ หรือ บันทึก หรือ โพสต์ ที่ผู้ใช้ตั้งใจโพสต์ลงบนโซเชียล เมื่อเรา โพสต์ลงไปแล้วมีคนเห็นหรือกดถูกใจ ก็ยากที่จะลบออก - ไม่เจตนา เช่น ประวัติการค้นหา หรือประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เราลืมลบออก การติดต่อสื่อสารทางออนไลน์ มีทั้งข้อดี และข้อเสีย - ข้อดี รู้ข่าวสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เข้าถึงง่ายทุกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ รวม ไปถึงการสร้างรายได้ให้ตนเอง เช่นการไลฟ์สดขายของออนไลน์ - ข้อเสีย ช่องทางออนไลน์ค่อนข้างเปิดกว้าง บางครั้งเราอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำให้ถูก ล่อลวงได้ง่าย หรือขาดวิจารณญาณในการสื่อสารได้

7. การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) ความสามารถในการค้นหา การประเมินผล การใช้ประโยชน์ การแบ่งปัน และ สร้างสรรค์เนื้อหา รวมถึงความสามารถในการประมวลผล การคิดคำนวณอย่าง เป็นระบบ แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creation) การคิดเชิงประมวล ผล (Computational Thinking) ตัวอย่าง การรู้การสื่อสารเป็นรากฐานสำหรับการคิด การจัดการ และการเชื่อมต่อกับคน อื่นๆ ในสังคมเครือข่าย ทุกวันนี้เด็กและเยาวชนไม่เพียงจำเป็นต้องเข้าใจการบูรณาการ ความรู้จากแหล่งต่างๆ เช่น เพลง วิดีโอ ฐานข้อมูลออนไลน์ และสื่ออื่นๆ พวกเค้ายัง จำเป็นต้องรู้วิธีการใช้แหล่งสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ การรู้สังคมหมายถึงวัฒนธรรมแบบการมีส่วนร่วม ซึ่งถูกพัฒนาผ่านความร่วมมือ และเครือข่าย เยาวชนต้องการทักษะสำหรับการทำงานภายในเครือข่ายทางสังคม เพื่อ การรวบรวมความรู้ การเจรจาข้ามวัฒนธรรมที่แตกต่าง และการผสานความขัดแย้ง ของข้อมูล

8. สิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights) ความสามารถในการเข้าใจและรักษาสิทธิส่วนบุคคลของตนเอง สิทธิเสรีภาพตาม กฎหมาย รวมถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สินทางปัญญา เสรีภาพในการพูด การ แสดงความคิดเห็น และการป้องกันตนเอง จากคำพูดที่แสดงถึงความเกลียดชัง แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ เสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) สิทธิ์ในทรัพย์สินทาง ปัญญา (IntellectualProperty Rights) ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ตัวอย่าง สิทธิและความรับผิดชอบ - ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบเมื่อ ใช้สิทธินั้นบนสื่อสาธารณะยุคดิจิทัล โดยความรับผิดชอบนี้รวมถึงความรับผิดชอบต่อ ตัวเอง และความรับผิดชอบต่อสังคม จะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันเกิดความ สงบสุข เพื่อจะอยู่ในสังคมออนไลน์ที่มีการเชื่อมโยงประชากรจากทุกประเทศทั้งโลก การมาของอินเทอร์เน็ตสร้างบริบทให้กับโลกใบเดิม ดังนั้น การที่สิทธิมนุษยชนย้าย ไปอยู่บนโลกดิจิทัล ก็ต้องหมายความว่าสิทธิของมนุษย์คนนั้นต้องได้รับการคุ้มครอง เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นความรับผิดชอบของรัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการปกป้องคุ้มครองและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิบนโลกดิจิทัล หากไม่มีการ ประกันสิทธิเหล่านี้ การใช้เสรีภาพอื่นๆ ก็จะเป็นไปในทางที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัย

เอกสารอ้างอิง นิตยา นาคอินทร์, สุภาณี เส็งศรี, รุจโรจน์ แก้วอุไร, กิตติพงษ์ พุ่มพวง, (2020). 8 ทักษะ “ความฉลาดทางดิจิทัล” ของนักศึกษาวิชาชีพครูสู่ การเป็นพลเมือง 4.0, ปีที่ 14 ฉบับที่ 1, 3-4 .https://so01.tci- thaijo.org

เสนออาจารย์ผู้สอน อ.ดร. สุธิดา ปรีชานนท์ อ.ดร. สุจิตตรา จันทร์ลอย รายวิชาการพัฒนาความเป็นครู (GD5820) ผู้จัดทำ นางสาวปัญญาพร กำไม นักศึกษาป.บัณฑิตรุ่น 23 หมู่เรียนที่ 5 เลขที่ 20