Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รัฐสภาสารฉบับเดือนกันยา-ตุลา 2562

รัฐสภาสารฉบับเดือนกันยา-ตุลา 2562

Published by rpm135, 2020-07-29 23:16:40

Description: รัฐสภาสารฉบับเดือนกันยา-ตุลา 2562

Search

Read the Text Version

รฐั สภาสาร ทีป่ รกึ ษา วัตถปุ ระสงค์ นายสรศักด ์ิ เพียรเวช เป็นวารสารเพ่ือเผยแพร่การปกครองระบอบ นางพรพิศ เพชรเจรญิ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย อั น มี พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ ท ร ง เ ป็ น ป ร ะ มุ ข และเพ่ือเสนอข่าวสารวิชาการในวงงานรัฐสภาและอ่ืนๆ บรรณาธกิ าร ทง้ั ภายในและตา่ งประเทศ นางจงเดอื น สุทธริ ัตน์ การสง่ เรอ่ื งลงรฐั สภาสาร กองบรรณาธิการ สง่ ไปท่บี รรณาธิการวารสารรัฐสภาสาร นางสาวอารีย์วรรณ พูลทรัพย์ กล่มุ งานผลิตเอกสาร  ส�ำ นักประชาสัมพันธ์ นายพิษณุ จารีย์พนั ธ์ สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร  นางสาวอรทยั แสนบตุ ร เลขท ี่ ๑๑๐  ถนนประดพิ ัทธ ์ แขวงพญาไท  นางสาวจฬุ ีวรรณ เตมิ ผล เขตพญาไท  กรุงเทพฯ  ๑๐๔๐๐ นายกอ้ งเกียรติ ผอื โย โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๔-๕ นางสาวสหวรรณ เพช็ รไทย โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๒ นางสาวนธิ ิมา ประเสรฐิ ภกั ดี e-mail: [email protected] ฝา่ ยศลิ ปกรรม การสมคั รเป็นสมาชกิ นายมานะ เรอื งสอน ค่าสมัครสมาชกิ ปีละ ๕๐๐ บาท (๖ เล่ม) นายนธิ ทิ ศั น์ องคอ์ ศวิ ชัย ราคาจ�ำ หนา่ ยเลม่ ละ ๑๐๐ บาท (รวมค่าจัดสง่ ) นางสาวณฐั นนั ท ์ วิชติ พงศ์เมธี ก�ำ หนดออก  ๒  เดอื น  ๑  ฉบบั ฝ่ายธุรการ การส่งบทความลงเผยแพร่ในวารสารรัฐสภาสาร นางสาวเสาวลกั ษณ ์ ธนชัยอภภิ ทั ร จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยลงพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน นางสาวดลธี จลุ นานนท์ การพิจารณาอนุมัติบทความที่นำ�มาลงพิมพ์ดำ�เนินการ นางสาวจรยิ าพร ดีกลั ลา โดยกองบรรณาธกิ าร  ท้ังนี้ บทความ ข้อความ ความคิดเห็น นางสาวอาภรณ์ เน่อื งเศรษฐ์ หรือข้อเขียนใดท่ีปรากฏในวารสารเล่มน้ีเป็นความเห็นส่วนตัว  นางสาวสุรดา เซน็ พานิช ไม่ผกู พันกับทางราชการแต่ประการใด พิมพ์ที่ ส�ำ นกั การพิมพ์ สำ�นกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร ผพู้ มิ พผ์ ูโ้ ฆษณา นางสาวกัลยรัชต์ ขาวสำ�อางค์

บทบรรณาธกิ าร วารสารรัฐสภาสารฉบับน้ีจัดท�ำขึ้นเนื่องในวาระท่ีรัฐสภาไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ จดั การประชมุ ใหญ่สมัชชารฐั สภาอาเซยี น ครัง้ ที่ ๔๐ ภายใต้หวั ขอ้ “นิตบิ ญั ญตั ิ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล เพ่ือประชาคมที่ย่ังยืน” ระหว่างวันท่ี ๒๕-๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ซ่ึงก่อนหน้านี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียนคร้ังล่าสุดเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว และนับเป็นเวลา ๔๒ ปีแล้วที่สมัชชารัฐสภาอาเซียนได้ท�ำหน้าที่เป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง สมาชกิ รฐั สภาอาเซยี นมาอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ทงั้ นี้ สมชั ชาใหญถ่ อื เปน็ องคก์ รสงู สดุ ของสมชั ชารฐั สภาอาเซยี น ท้ังในด้านการบริหารและด้านนโยบาย โดยประธานรัฐสภาของประเทศท่ีเป็นเจ้าภาพการประชุม สมัชชาใหญ่ในปนี นั้ ๆ ดำ� รงต�ำแหนง่ เป็นประธานสมชั ชารัฐสภาอาเซียน ดงั นน้ั เพ่อื เป็นการบันทึก เรื่องราวและภาพเหตุการณค์ วามทรงจ�ำต่าง ๆ ทเี่ กิดขึน้ ในครั้งนี้ รวมทงั้ การท�ำงานของสมัชชารัฐสภา อาเซยี นในฐานะองค์กรนติ ิบัญญัติของอาเซียน จึงได้จดั ทำ� วารสารรัฐสภาสารฉบบั พิเศษ “รจู้ กั AIPA เข้าใจอาเซียน” ส�ำหรับเน้ือหาภายในเล่มส่วนแรก  จะกล่าวถึงการแถลงปิดการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภา อาเซียน คร้ังท่ี ๔๐ ของท่านชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียน ในวันท่ี ๒๙ สิงหาคม ที่ผ่านมา ซ่ึงถ้อยแถลงในพิธีปิดการประชุมคร้ังน้ีเป็นเช่นไร และมีเหตุการณ์ สำ� คญั ใดบา้ งเกดิ ขน้ึ บนเวทใี นวนั ดงั กลา่ ว สามารถตดิ ตามไดจ้ ากรายงานพเิ ศษ เรอ่ื ง การประชมุ ใหญ่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ ๔๐ ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างดี ท่ีประชุมบรรลุข้อตกลง รว่ มกันขบั เคลอ่ื นการพฒั นาอยา่ งยั่งยนื เพ่อื ประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน เน้ือหาส่วนทส่ี องซึง่ เป็น “บทสมั ภาษณ์” ได้รบั เกยี รตอิ ยา่ งสงู จากท่านอิสรา สนุ ทรวฒั น์ เลขาธกิ ารสมชั ชารฐั สภาอาเซียนคนแรกของไทย มารว่ มถ่ายทอดมุมมอง แนวความคดิ ในการทำ� งาน และประสบการณ์คร้ังส�ำคัญของชีวิตขณะด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียนในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๒ เน้ือหาในส่วนท่ีสามได้รวบรวมบทความต่าง ๆ ท่ีน่าสนใจเก่ียวกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน น�ำมาจัดท�ำเป็นบทความ เร่ือง สมัชชารัฐสภาอาเซียน : เวทีความร่วมมือระหว่างรัฐสภา ระดับภูมิภาคเพื่อขับเคล่ือนอาเซียน ซ่ึงเนื้อหาบทความส่วนใหญ่จัดท�ำโดยส�ำนักงานเลขาธิการ สภาผแู้ ทนราษฎร เพอ่ื ประชาสมั พนั ธก์ ารประชมุ ใหญส่ มชั ชารฐั สภาอาเซยี น ครง้ั ที่ ๔๐ โดยมจี ดุ มงุ่ หมาย เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้กับส่ือมวลชนและประชาชนให้มีความเข้าใจในเรื่องท่ีเก่ียวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นมาและโครงสร้างของสมัชชารัฐสภาอาเซียน การประชุมในกรอบของสมัชชารัฐสภาอาเซียน การประชมุ หารอื ระหวา่ งคณะผแู้ ทนสมชั ชารฐั สภาอาเซยี นกบั ผนู้ ำ� อาเซยี น การประชมุ ใหญส่ มชั ชารฐั สภา อาเซียน ครัง้ ที่ ๔๐ AIPA - ASEAN เพอ่ื ประชาคมทยี่ งั่ ยืน AIPA กบั การสร้างความเป็นหุ้นสว่ นกับ

ประเทศ ผู้สังเกตการณ์ สมัชชารัฐสภาอาเซียนกับการพัฒนาอย่างย่ังยืนในภูมิภาค พลงั อาเซยี นบนพน้ื ฐานของความแตกตา่ งและความหลากหลายโดยการสนบั สนนุ อยา่ งเขม้ แขง็ ของ AIPA รัฐสภาไทยกับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน คร้ังที่ ๔๐ รัฐสภาไทย กับการผลักดันประเด็นท่ีจะเสรมิ สร้างความเขม้ แขง็ ให้อาเซยี น และทศิ ทางของสมัชชารัฐสภาอาเซียน ในการน้ีกองบรรณาธิการรัฐสภาสารได้รับความอนุเคราะห์เป็นพิเศษจากกลุ่มงานสมัชชา รฐั สภาอาเซยี น ส�ำนักองค์การรัฐสภาระหวา่ งประเทศ จัดทำ� ขอ้ มลู ในภาพรวมเก่ียวกบั การประชมุ ใหญ่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน คร้ังที่ ๔๐ เพ่ือเผยแพร่ลงตีพิมพ์เป็นพิเศษในวารสารรัฐสภาสารฉบับน้ี พร้อมสรุปสาระส�ำคัญที่น่าสนใจของการประชุมครั้งนี้ ตลอดจนการประชุมกับรัฐสภาประเทศ ผู้สังเกตการณ์ จ�ำนวน ๕ ประเทศ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และสหพันธรัฐรัสเซีย และเพ่ือเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึน ในการประชุมคร้ังน้ีอย่างครบถ้วนสมบูรณ์  ทางกลุ่มงานสื่อมวลชน ส�ำนักประชาสัมพันธ์ ได้เอ้ือเฟื้อ ภาพถ่ายท้ังหมดให้มาจัดท�ำเป็นประมวลภาพเหตุการณ์ส�ำคัญต่าง ๆ  ท่ีเกิดข้ึน โดยน�ำมาจัดท�ำ ไวใ้ นสว่ นทา้ ยของเลม่ ท้ายสุดน้ี ขอขอบพระคุณทุกท่านท่ีให้ความอนุเคราะห์แก่กองบรรณาธิการรัฐสภาสาร ในการให้สัมภาษณ์และร่วมเขียนบทความต่าง ๆ ท่ีเป็นประโยชน์ ตลอดจนส่งมอบภาพถ่ายต่างๆ ทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การประชมุ ครง้ั น ้ี หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ เนอื้ หาภายในเลม่ ของวารสารรฐั สภาสารฉบบั พเิ ศษนี้ จะมสี ว่ นชว่ ยผลกั ดนั ทำ� ใหส้ มชั ชารฐั สภาอาเซยี น  หรอื   AIPA  เปน็ ทรี่ จู้ กั มากยงิ่ ขน้ึ   และทำ� ใหอ้ าเซยี น เป็นภูมิภาคท่ีมีความม่ันคง  สมานฉันท์ และยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ คณะผู้จัดท�ำมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การไดร้ ู้จัก AIPA อย่างถ่องแท้ จะทำ� ใหเ้ รามคี วามเขา้ ใจความเปน็ อาเซยี นมากย่ิงขน้ึ ด้วย คณะผจู้ ดั ท�ำวารสารรฐั สภาสาร

รัฐสภาสาร ปที ี่  ๖๗  ฉบับท่ี  ๕  เดอื นกนั ยายน - ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ Vol.  67  No.  5  September - October  2019 รายงานพิเศษ  เรอื่ ง  การประชุมใหญ่สมชั ชารฐั สภาอาเซยี น คร้ังที่ ๔๐ ๕ ประสบความส�ำเรจ็ เป็นอย่างดี ทป่ี ระชุมบรรลุขอ้ ตกลงรว่ มกนั ขบั เคลอื่ น การพัฒนาอย่างยงั่ ยืน  เพือ่ ประโยชนข์ องประชาชนในภมู ภิ าคอาเซยี น ๒๒บทสัมภาษณ์ : อิสรา  สุนทรวฒั น์  เลขาธกิ ารสมชั ชารฐั สภาอาเซยี นคนแรกของไทย ๔๓ สมัชชารฐั สภาอาเซยี น : เวทคี วามรว่ มมอื ระหวา่ งรฐั สภาระดบั ภูมิภาค เพื่อขบั เคล่ือนอาเซียน การประชมุ ใหญ่สมชั ชารัฐสภาอาเซียน  คร้งั ท่ ี ๔๐ ๗๕ ระหวา่ งวนั ท่ี  ๒๕-๓๐  สิงหาคม  ๒๕๖๒  ณ  โรงแรมแชงกรี-ลา  กรุงเทพมหานคร กล่มุ งานสมัชชารฐั สภาอาเซยี น  ส�ำนักองคก์ ารรฐั สภาระหว่างประเทศ ประมวลภาพการประชมุ ใหญส่ มชั ชารฐั สภาอาเซยี น  ครัง้ ที่  ๔๐ ๑๔๗ ระหว่างวนั ท่ี  ๒๕-๓๐  สิงหาคม  ๒๕๖๒  ณ  โรงแรมแชงกรี-ลา  กรงุ เทพมหานคร กลมุ่ งานสอื่ มวลชน  ส�ำนกั ประชาสัมพนั ธ์



รูจ้ กั AIPA เข้าใจอาเซียน  5 การประชุมใหญส่ มชั ชารัฐสภาอาเซยี น  คร้งั ที ่ ๔๐  ประสบความสำ� เร็จเป็นอย่างดี  ท่ปี ระชมุ บรรลขุ ้อตกลงร่วมกนั ขับเคล่ือนการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เพอื่ ประโยชน์ของประชาชนในภมู ภิ าคอาเซียน วนั พฤหสั บดที  ี่ ๒๙  สงิ หาคม  ๒๕๖๒  เวลา  ๑๐.๓๐  นาฬกิ า  ณ  หอ้ งบอลลร์ มู   ๒-๓ โรงแรมแชงกรี-ลา  กรุงเทพฯ  นายชวน  หลีกภัย  ประธานรัฐสภาและประธานสมัชชารัฐสภา อาเซียน  กล่าวปิดประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน  คร้ังที่  ๔๐  พร้อมส่งมอบต�ำแหน่ง ประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียนคนต่อไป  ให้กับนางเหงียน  ถิ  กีม  เงิน  ประธาน สภาแห่งชาติสาธารณรัฐ สงั คมนิยมเวยี ดนาม  ซง่ึ จะเปน็ เจ้าภาพในการประชุมใหญ่ ส มั ช ช า รั ฐ ส ภ า อ า เ ซี ย น ครั้งที่  ๔๑  โดยนายชวน หลีกภัย  ได้กล่าวถ้อยแถลง ในพิธีปิดการประชมุ   ดงั น้ี

6 รัฐสภาสาร  ปีท่ ี ๖๗  ฉบับท ่ี ๕  เดือนกันยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ มติ รผู้ทรงเกยี รติ ฯพณฯ ทา่ นสภุ าพสตรีและสภุ าพบรุ ษุ บัดน้ี  เราได้เดินทางมาถึงบทส่งท้ายในการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน คร้ังที่ ๔๐ ขอให้ผมไดก้ ล่าวปดิ ประชุมสักเลก็ นอ้ ย โลกก�ำลังเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วและความท้าทายใหม่ ๆ ก�ำลังรุมล้อมเรา ในทุกด้าน และถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาส�ำคัญในประวัติศาสตร์ของอาเซียน เราก�ำลังเผชิญกับ การก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้เราต้อง เตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้า เพื่อมิให้ต้องรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวน้อยไปหรือสายเกินไป ภัยคุกคามและโอกาสเหล่าน้ีคอยเตือนเราว่า ไม่มีส่ิงใดท่ีจะรับประกันได้ว่า ประชาคมจะม ี ความยงั่ ยนื ยาวนานตอ่ ไปได้ หากแตจ่ ะตอ้ งทำ� ใหค้ วามยงั่ ยนื เกดิ ขนึ้ ไดโ้ ดยความอตุ สาหะเทา่ นนั้ ประชาคมไม่อาจจะย่ังยืนได้หากไม่มีรากฐานท่ีม่ันคงซึ่งสร้างจากฐานรากข้ึนมา ในฐานะของสมาชกิ รฐั สภา การเชอื่ มโยงของเรากบั ประชาชนยอ่ มสง่ ผลใหส้ มชั ชารฐั สภาอาเซยี น มีความส�ำคัญอย่างท่ีไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แง่คิดท่ีเราได้แบ่งปันกันในสัปดาห์น้ี ได้วาดภาพ สะท้อนถึงล�ำดับความส�ำคัญและสถานการณ์ท่ีหลากหลายของเรา หากเราต้องการจะก้าวไป

รู้จัก AIPA เข้าใจอาเซยี น  7 ขา้ งหนา้ ร่วมกัน โดยคงไว้ซ่งึ อตั ลกั ษณ์ของเรา เราจะต้องพึงระลกึ วา่ ค�ำตอบสำ� หรับการเจรจา ที่ยากน้ัน มิได้มาจากการพูดคุยที่น้อยลง หากแต่เป็นการพูดคุยที่มากย่ิงข้ึน ถึงแม้ว่ายังคง มอี กี หลายอย่างท่ีตอ้ งท�ำ แตก่ ารพฒั นาอย่างก้าวหนา้ ยงั คงเกิดขึน้ ต่อไป ในปีน้ีเราประสบความส�ำเร็จในการจัดให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับส�ำนักงาน เลขาธิการอาเซียน นับเป็นก้าวแรกสู่ความร่วมมือครั้งส�ำคัญ อีกทั้งเรายังประสบความส�ำเร็จ ในการตกลงที่จะสร้างคลังข้อมูลกฎหมายนานาชาติ ถือได้ว่าเป็นความส�ำเร็จในด้านการติดต่อ ส่ือสาร ซ่ึงท�ำให้มั่นใจได้ว่า การอ้างอิงถึงสถานะทางกฎหมายในแต่ประเทศสามารถท�ำได ้ อยา่ งมมี าตรฐานย่งิ ข้ึน การปฏวิ ตั ิอุตสาหกรรม ครั้งท่ี ๔ กำ� ลังเกดิ ข้นึ รอบตัวเรา และเราได้ก�ำหนดสถานะ ของเราในการเก็บเก่ียวโอกาสให้ได้มากท่ีสุดด้วยการสนับสนุนภาคธุรกิจท่ีส�ำคัญหรือวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ท้ังนี้ หากเราต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน จ�ำเป็นที่จะต้องลงมือท�ำ อย่างครอบคลุมในทุกภาคส่วน เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงท่ีจะยังคงเหลือความเหล่ือมล้�ำต่อไปได้ นอกจากนี้ เราไดร้ ่วมกนั เป็นหนง่ึ ดว้ ยการกา้ วสตู่ ลาดการบินร่วมด้วยเชน่ กัน

8 รฐั สภาสาร  ปที  ่ี ๖๗  ฉบับท่ี  ๕  เดอื นกนั ยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ทั้งน้ี เม่ือเราขยายมุมมองออกไป จะเห็นได้ว่า การต่อสู้เพ่ือสิทธิสตรีถือเป็น การต่อสู้เพ่ือสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน โดยเราไม่อาจสร้างประชาคมที่ย่ังยืนได้หากประชากร อีกครึ่งหน่ึงของเรายังคงไม่มีสิทธิมีเสียงในสังคม และในปีน้ี เราได้ด�ำเนินการเพื่อให้ม่ันใจว่า ประชากรเหล่านี้จะไม่ถูกกีดกันจากเทคโนโลยีที่มีนวัตกรรมในระดับสูงและขยายตัวข้ึน อย่างรวดเร็ว ถือเป็นความอุตสาหะท่ียากล�ำบาก  ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากแง่มุมต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ดังนั้น เราจึงได้เสนอให้ขยายการเข้าถึงสถาบันการศึกษา การดูแลสขุ ภาพ การเงิน การเมือง และความยตุ ธิ รรม นอกจากนี้ ในการปกป้องคุณภาพชีวิตของประชาชน เราได้ก้าวสู่ภูมิภาคอาเซียน ปลอดยาเสพติดด้วยการส่งเสริมการพัฒนาทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตยาเสพติด อีกทั้งการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยบนท้องถนน จะช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างนับไม่ถ้วน ในแต่ละปี และการปกป้องกลุ่มคนท่ีไม่สามารถปกป้องตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ และแรงงานต่างชาติ ถือเป็นก้าวส�ำคัญในการบรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมกันทางสังคม ยิ่งไปกว่านั้น เรายังได้เพ่ิมความส�ำคัญในการรับมือกับการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพ่ือใหแ้ นใ่ จวา่ โลกของเราน้นั จะยังคงเปน็ ท่อี ยูข่ องคนรุน่ ตอ่ ไปในอนาคตได้ กรอบของสมัชชารัฐสภาอาเซียนนั้นกว้างใหญ่ไพศาล และเราไม่อาจประสบ ความส�ำเร็จได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากเพ่ือนร่วมงานและผู้มีส่วนเก่ียวข้องทุกคน ในปนี ้ี เราขอขอบคณุ สถาบนั รฐั สภาแหง่ กมั พชู า องคก์ รความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศของเยอรมนั และสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออก ส�ำหรับการสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง สมัชชารัฐสภาอาเซียนรู้สึกซาบซึ้งต่อส่ิงที่ทุกฝ่ายได้ให้ความร่วมมือ และ ขอขอบคณุ อกี ครง้ั ตอ่   ดร. เจรญิ คนั ธวงศ์ และทา่ นชาลส ์ ชง  ผทู้ ไี่ ดอ้ ทุ ศิ ตนใหแ้ กส่ มชั ชารฐั สภา

รู้จกั AIPA เข้าใจอาเซยี น  9 อาเซียนอย่างไม่เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดหลายปี และสุดท้ายนี้ ในฐานะตัวแทนของสมัชชา รัฐสภาอาเซียน ผมขอขอบคุณ คุณอิสรา สุนทรวัฒน์ เลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซงึ่ จะครบวาระการดำ� รงตำ� แหนง่ ในปนี ้ี และขออวยพรใหท้ า่ นประสบความสำ� เรจ็ ตอ่ ไปในอนาคต ท่านผู้มีเกยี รติทกุ ท่าน ทา่ นสภุ าพสตรีและสุภาพบุรษุ นบั เปน็ เกยี รตขิ องผมอยา่ งยง่ิ ทจ่ี ะไดส้ ง่ มอบตำ� แหนง่ ประธานสมชั ชารฐั สภาอาเซยี น ให้กับท่านเหงียน ถิ กีม เงิน ประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม การมีส่วนร่วมอย่างแน่วแน ่ ของประเทศทา่ นที่มีตอ่ อาเซียน ทำ� ให้ผมม่ันใจวา่ สมชั ชารฐั สภาอาเซยี นจะประสบความสำ� เรจ็ ภายใตก้ ารน�ำของท่าน ผมหวังว่าจะไดร้ ่วมมอื กบั ทา่ นอย่างตอ่ เน่อื ง เพ่ือท�ำให้อาเซยี นเขม้ แข็ง สมานฉันทแ์ ละย่ังยืนต่อไป ผมขอขอบคุณทุกท่านท่ีได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียนในครั้งนี้ นับเป็นเกียรติอย่างย่ิงที่ได้ต้อนรับท่านที่กรุงเทพฯ และหวังเป็นอย่างย่ิงว่า การพูดคุย ที่เรามีร่วมกันจะสมานสัมพันธ์ของเราอย่างยืนนาน ผมขอประกาศปิดการประชุมใหญ่สมัชชา รัฐสภาอาเซยี น ครงั้ ท่ี ๔๐ ณ บัดน้ี

10 รฐั สภาสาร  ปที ี่  ๖๗  ฉบบั ท ี่ ๕  เดือนกนั ยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ จากน้ัน  เป็นการน�ำเสนอและการรับรองรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการ ดา้ นตา่ งๆ  ดงั น ้ี m คณะกรรมาธิการด้านสมาชิกรัฐสภาสตรีของสมัชชารัฐสภาอาเซียน  (WAIPA) โดยนางพิกุลแก้ว  ไกรฤกษ ์ สมาชิกรัฐสภา    m คณะกรรมาธกิ ารดา้ นเศรษฐกจิ   โดยนายเขตรฐั   เหลา่ ธรรมทศั น ์ สมาชกิ รฐั สภา

รู้จัก AIPA เข้าใจอาเซียน  11   m คณะกรรมาธิการดา้ นสังคม  โดยนายณฐั พงษ์  สุปรยิ ศิลป ์ สมาชิกรฐั สภา    m คณะกรรมาธิการด้านกิจการสมัชชารัฐสภาอาเซียน  โดยนายเสมอกัน เที่ยงธรรม  สมาชิกรฐั สภา 

12 รัฐสภาสาร  ปีท่ี  ๖๗  ฉบบั ท ี่ ๕  เดือนกนั ยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒   m การประชุมหารือกับประเทศผู้สังเกตการณ์  โดยนายวีระชัย  วีระเมธีกุล สมาชิกรัฐสภา    m คณะกรรมาธกิ ารดา้ นการยกรา่ งแถลงการณร์ ว่ ม  โดยนายอนศุ าสน ์ สวุ รรณมงคล สมาชิกรัฐสภา 

รจู้ ัก AIPA เข้าใจอาเซยี น  13 ส�ำหรับการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน  ครั้งท่ี  ๔๑  จะจัดขึ้นระหว่าง วันท่ี  ๒๕  –  ๓๐  สิงหาคม  ๒๕๖๓  ณ  เมืองฮาลอง  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม จากนั้นเป็นการลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายชวน  หลีกภัย  ประธาน  AIPA  คนปัจจุบัน และนางเหงียน  ถิ  กีม  เงิน  ประธาน  AIPA  คนถัดไป  ร่วมกับสมาชิกรัฐสภาอาเซียน ท้งั   ๑๐  ประเทศ  พร้อมทั้งมอบรางวัล  AIPA  Distinguished  Service  Award  ให้แก่ ดร.เจริญ  คันธวงศ์  ในฐานะผู้ท�ำคุณงามความดีให้กับ  AIPA  ส�ำหรับรางวัลดังกล่าว เป็นรางวัลท่ีมอบให้แก่ผู้ที่มีความประพฤติดี  มีคุณธรรม  มีชื่อเสียงเป็นท่ีประจักษ ์ ทำ� คณุ ประโยชนแ์ ละสรา้ งช่อื เสียงให้แก ่ AIPA ........................................................

14 รัฐสภาสาร  ปที ่ี  ๖๗  ฉบบั ที ่ ๕  เดือนกนั ยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ผูแ้ ทนประเทศสมาชิกรฐั สภาอาเซยี นลงนามในแถลงการณร์ ่วม H.E.  Mr.  Pehin  Dato  Abdul  H.E.  Mr.  Heng  Sam  Rin Rahman  Taib  ประธานสภานิตบิ ัญญัตแิ ห่งชาติ  ประธานสภาแห่งชาติ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม  และคณะ ราชอาณาจักรกัมพชู า  และคณะ Hon.  Mrs.  Kartika  Yudhist สมาชกิ รฐั สภาสาธารณรฐั อนิ โดนีเซยี   และคณะ H.E.  Mr.  Bounpone  Bouttanavong Dato  Mohamad  Ariff  bin  Md  Yusof รองประธานสภาแห่งชาติ ประธานสภาผแู้ ทนราษฎร สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว  และคณะ แหง่ สหพันธรัฐมาเลเซีย  และคณะ

รูจ้ กั AIPA เขา้ ใจอาเซยี น  15 ผ้แู ทนประเทศสมาชิกรฐั สภาอาเซียนลงนามในแถลงการณร์ ว่ ม Mrs.  Su  Su  Lwin  สมาชิกรฐั สภาสาธารณรฐั Hon.  Raneo  (Enriquez)  Abu แห่งสหภาพเมยี นมา  ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร สาธารณรัฐฟลิ ิปปินส ์ และคณะ สาธารณรฐั แห่งสหภาพเมยี นมา  และคณะ H.E.  Mr. Tan  Chuan-Jin ประธานรฐั สภา สาธารณรฐั สิงคโปร ์ และคณะ ศาสตราจารยพ์ เิ ศษพรเพชร  วิชติ ชลชัย H.E.  Mrs.  Nguyen  Thi  Kim  Ngan ประธานวุฒสิ ภา  ในฐานะหัวหนา้ ประธานสภาแหง่ ชาติ คณะผแู้ ทนรัฐสภาไทย  และคณะ สาธารณรฐั สังคมนยิ มเวยี ดนาม  และคณะ

16 รฐั สภาสาร  ปที ี่  ๖๗  ฉบับท่ ี ๕  เดอื นกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒

รู้จัก AIPA เข้าใจอาเซยี น  17 จากนั้นในเวลา  ๑๑.๐๐  นาฬิกา  ณ  ห้อง  สต๊ัดดี้  ชั้น  ๑  โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ  นายชวน  หลีกภัย  ประธานรัฐสภาและประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียน  แถลงข่าว สรุปผลการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน  ครั้งที่  ๔๐  โดยท่ีประชุมมีการรับรอง ข้อมติส�ำคัญๆ  ท่ีภูมิภาคให้ความสนใจ  และได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการน�ำข้อมติ เ ห ล ่ า นี้ ไ ป เ ป ็ น แ น ว ท า ง ใ น ก า ร แ ก ้ ไ ข ป ั ญ ห า ร ่ ว ม กั น ดั ง ที่ ป ร า ก ฏ ใ น แ ถ ล ง ก า ร ณ ์ ร ่ ว ม (Joint  Communique)  โดยมี  นางเหงียน  ถิ  กีม  เงิน  ประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม  ในฐานะประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียน  คนถัดไป  พร้อมด้วย

18 รัฐสภาสาร  ปีท ี่ ๖๗  ฉบับที ่ ๕  เดอื นกนั ยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร  วิชิตชลชัย  ประธานวุฒิสภา  นายสุชาติ  ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร  คนท่ีหน่ึง  พลเอก  สิงห์ศึก  สิงห์ไพร  รองประธานวุฒิสภา คนทห่ี น่ึง  นายศุภชยั   โพธส์ิ  ุ รองประธานสภาผแู้ ทนราษฎร  คนทีส่ อง นายศภุ ชยั   สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา  คนที่สอง  นายกิตติ  วะสีนนท์  ประธานกรรมาธิการด้านการยกร่าง แถลงการณร์ ว่ ม  และนายอสิ รา  สนุ ทรวฒั น ์ เลขาธิการสมัชชารฐั สภาอาเซียน รว่ มแถลงข่าว โดยผลการประชมุ คณะกรรมาธกิ ารด้านตา่ งๆ  สรปุ ได้ดงั นี้

รู้จัก AIPA เขา้ ใจอาเซยี น  19 i การประชมุ คณะกรรมาธกิ ารดา้ นกจิ การสตรขี องสมชั ชารฐั สภาอาเซยี น  (WAIPA)    สมัชชารัฐสภาอาเซียนสนับสนุนให้สร้างความเข้มแข็งให้กับสตรีทุกวัย  โดยให้ ถือประเด็นเร่ืองบทบาทของสตรีให้เป็นหนึ่งในเสาหลักท่ียั่งยืนของอาเซียน  อีกทั้งท่ีประชุม ได้มีมติสนับสนุนและส่งเสริมบทบาทสตรี  รวมท้ังสนับสนุนให้ลดช่องว่างในข้อก�ำหนด บางอยา่ งทีท่ ำ� ใหเ้ กดิ ความเหล่ือมลำ้� ทางเพศในการเข้าถงึ เทคโนโลยี  i การประชมุ คณะกรรมาธกิ ารด้านเศรษฐกิจ  สมัชชารัฐสภาอาเซียนมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจทุกภาคส่วน อย่างเท่าเทียมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  รวมถึงให้ความเห็นชอบการเตรียมความพร้อมส�ำหรับ การปฏิวัติอุตสาหกรรม  ยุคที่  ๔  และพัฒนาความเช่ือมโยงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพ่ือสนับสนุนความเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลาง  ขนาดย่อม  และรายย่อย  ตลอดจน พัฒนามาตรฐานและเปดิ เสรีของการบริการการบนิ ภายใต้ตลาดร่วมการบนิ อาเซียน 

20 รฐั สภาสาร  ปีที่  ๖๗  ฉบับท ี่ ๕  เดือนกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ i การประชมุ คณะกรรมาธิการด้านสงั คม สมัชชารัฐสภาอาเซียนมีเป้าหมายในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นประชาคม ที่มีความผาสุกทุกช่วงวัย  โดยเฉพาะการท�ำประชาคมอาเซียนให้เป็นประชาคม ที่ปลอดยาเสพติด  การสร้างความเข้มแข็งในการออกกฎหมายและกติกาท่ีครอบคลุมกิจการ เก่ียวกับความปลอดภัยทางท้องถนน  เพ่ือลดจ�ำนวนอุบัติเหตุลงอย่างมีนัยยะส�ำคัญ การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  การขจัดการใช้ความรุนแรงและการเอาเปรียบเด็ก ในทุกรูปแบบ  การยกระดับการท�ำงานด้านสภาพภูมิอากาศในอาเซียนโดยกลไกของรัฐสภา และการเขา้ ถึงความยตุ ิธรรมของแรงงานขา้ มชาต ิ i การประชมุ คณะกรรมาธิการดา้ นกิจการสมชั ชารฐั สภาอาเซยี น  สมัชชารัฐสภาอาเซียนเห็นความส�ำคัญของการขับเคลื่อนอาเซียนให้เป็น ประชาคมท่ีรุ่งเรืองและย่ังยืน  ซึ่งองค์กรที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนการด�ำเนินงานของสมัชชา รัฐสภาอาเซียน  คือ  ส�ำนักงานเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน  สมัชชารัฐสภาอาเซียน จึงมีการพิจารณารายงานการเงินของส�ำนักงานเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียนในรอบปีท่ีผ่านมา การพิจารณางบประมาณของส�ำนักงานเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียนประจ�ำปี  ๒๕๖๓ การวางแนวทางของสมัชชารัฐสภาอาเซียนในการเชิญแขกของประเทศเจ้าภาพและรัฐสภา ประเทศผู้สังเกตการณ์  ความร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนา ศักยภาพบุคลากรของสมัชชารัฐสภาอาเซียน  และหารือวันและเวลาการจัดประชุมใหญ่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน  คร้ังที่  ๔๑  ซึ่งจะจัดข้ึนระหว่างวันที่  ๒๕  –  ๓๐  สิงหาคม  ๒๕๖๓ ณ  เมอื งฮาลอง  สาธารณรฐั สังคมนิยมเวียดนาม i การประชมุ หารือกับประเทศผู้สงั เกตการณ์   ในหัวข้อหุ้นส่วนความร่วมมือด้านแนวปฏิบัติท่ีดีด้านกฎระเบียบ  (GRP)  ซึ่งรัฐสภาไทย ได้เสนอให้มีความร่วมมือด้านกฎหมายและกฎระเบียบระหว่างประเทศสมาชิกสมัชชารัฐสภา อาเซียน  และระหว่างสมัชชารัฐสภาอาเซียนกับรัฐสภาประเทศผู้สังเกตการณ์ทั้ง  ๕  ประเทศ ผา่ นทางรฐั สภา  ได้แก ่ เครือรฐั ออสเตรเลีย  แคนาดา  สาธารณรัฐประชาชนจนี   สาธารณรัฐ เกาหลี  และสหพันธรัฐรัสเซีย  โดยทุกประเทศต่างเห็นพ้องต้องกันในเร่ืองดังกล่าว เพ่ือให้บรรลุข้อตกลงท่ีจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้ังสองฝ่าย  และได้ตหลงที่จะส่งเสริม การแลกเปล่ียนความรู้และการแข่งขันข้อมูลเชิงลึกในการสร้างความร่วมมือของแนวปฏิบัติที่มี กฎระเบยี บต่อไป

รจู้ ัก AIPA เข้าใจอาเซยี น  21 การประชุมในคร้ังน้ี  ที่ประชุมได้ผลักดันข้อมติที่ส�ำคัญให้ส�ำเร็จลุล่วงบรรลุ ผลส�ำเร็จเป็นรูปธรรมเพ่ือประโยชน์ของภูมิภาค  อีกทั้งได้ผลักดันความร่วมมือระหว่าง AIPA  และ  ASEAN  ให้ก้าวหน้าต่อไปเพ่ือความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคโดยให้ความส�ำคัญ กับการจัดล�ำดับความส�ำคัญของปัญหา  โดยมุ่งให้ความส�ำคัญกับประชาชนเป็นล�ำดับแรก ภายใต้หลักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  สร้างความร่วมมือกัน ในทุกระดับ  เพิ่มขีดความสามารถให้กับประชาชนให้สามารถยืนได้ด้วยตนเองโดยการให้ โอกาสและเสริมสร้างความมั่นคง  เคารพหลักนิติธรรม  รักษาระเบียบของสังคม ผ่านกฎหมาย  เพ่ือบรรลุการเป็นประชาคมท่ีย่ังยืน  สนับสนุนการใช้หลักการรัฐสภาในการแก้ ปัญหาโดยการเชื่อมโยงกับชีวิตของประชาชนโดยตรง  เปิดรับความหลากหลายและ เคารพในความแตกต่าง  เพ่ือขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคง โดยมปี ระชาชนเป็นศูนยก์ ลางและสร้างให้อาเซียนมคี ุณค่าสำ� หรับอนุชนร่นุ ตอ่ ๆ  ไป

22 รฐั สภาสาร  ปที ี ่ ๖๗  ฉบบั ที่  ๕  เดอื นกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ อิสรา สุนทรวัฒน์ เลขาธกิ ารสมชั ชารฐั สภาอาเซียนคนแรกของไทย

น ายอิสรา สุนทรวัฒน์ รจู้ ัก AIPA เขา้ ใจอาเซยี น  23 นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ด�ำรงต�ำแหน่ง ประชาธปิ ตั ย์ และไดร้ บั เลอื กตง้ั โดยชนะคแู่ ขง่ เลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน และ คนส�ำคัญจากพรรคไทยรักไทย  ต่อมา เปน็ เลขาธกิ ารลำ� ดบั ที่ ๔ กอ่ นหนา้ นคี้ นไทย ในชว่ งปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เกิดการเปล่ียน ท่ีเคยด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการองค์การ ขั้วทางการเมือง ท�ำให้พรรคประชาธิปัตย์ รฐั สภาอาเซียน ซึง่ เปน็ ช่อื เดิมของสมัชชา ไดเ้ ปน็ แกนน�ำจัดตัง้ รัฐบาล และนายอภสิ ิทธิ ์ รฐั สภาอาเซียนมาแลว้ เม่ือ ๒๖ ปีกอ่ น คอื เวชชาชวี ะ ดำ� รงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านจงึ ได้ นายบรุ รี กั ข์ นามวฒั น์ อดตี รองเลขาธกิ าร รับแต่งต้ังให้ด�ำรงต�ำแหน่งรองเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร การเข้ารับต�ำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และต่อมาโยกย้ายไปด�ำรง เลขาธกิ ารสมชั ชารฐั สภาอาเซยี นครง้ั ลา่ สดุ ต�ำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ ของคนไทย จึงนับเป็นเกียรติประวัติ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้นคือ แก่ประเทศไทยในการส่งเสริมบทบาท นายกษิต ภิรมย์ ในการเลือกต้ังเม่ือป ี ของทงั้ ฝา่ ยนติ บิ ญั ญตั แิ ละฝา่ ยบรหิ ารใหบ้ รรลุ พ.ศ. ๒๕๕๔ ท่านได้ลงสมัครรับเลือกต้ัง เป้าหมายของการเป็นประชาคมอาเซียน ในระบบบญั ชรี ายชอ่ื สงั กดั พรรคประชาธปิ ตั ย์ เพอื่ ประโยชนข์ องพลเมอื งอาเซยี นทง้ั หมด และต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ จงึ ไดร้ บั การเลอ่ื นเปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร ก่อนท่ีจะก้าวเข้ามารับต�ำแหน่ง แบบบัญชีรายชื่อแทนพลเอก  พิชาญเมธ ดงั กลา่ วในปี พ.ศ.  ๒๕๕๙ หลายคนรจู้ กั ทา่ น ม่วงมณี ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม จนกระทั่ง ในฐานะบตุ รชายเพยี งคนเดยี วของนายแสงชยั เม่อื เดือนเมษายน ปี ๒๕๕๘ จึงได้ตดั สินใจ สุนทรวัฒน์ อดีตผู้อ�ำนวยการองค์การ ยน่ื ใบสมคั รเขา้ รบั การสรรหาบคุ คลเพอ่ื ไปดำ� รง ส่ือสารมวลชนแห่งประเทศไทย ตลอดชีวิต ต�ำแหน่งเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน การทำ� งานทผ่ี า่ นมา ทา่ นไดเ้ กบ็ เกย่ี วประสบการณ์ และในท่ีสุดก็ได้รับการคัดเลือกจากคณะ และทุ่มเทก�ำลังกายและแรงใจในการท�ำงาน กรรมการทสี่ ภานติ บิ ญั ญตั แิ หง่ ชาตแิ ตง่ ตงั้ ขนึ้ ด้านตา่ ง ๆ อย่างเตม็ ความสามารถ ทงั้ งาน รวมท้ังได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ดา้ นสอ่ื สารมวลชน งานพธิ กี ร และคอลมั นสิ ต์ จาก สนช. ใหไ้ ปดำ� รงตำ� แหนง่ สำ� คญั ดงั กลา่ ว ในหนังสือพิมพ์มติชน แต่ทว่าโด่งดังเป็นที่ เป็นเวลา ๓ ปี ภารกิจท้าทายคร้ังส�ำคัญ รู้จักของคนท่ัวประเทศจากการเป็นพิธีกร ในบทบาทของเลขาธกิ ารสมชั ชารฐั สภาอาเซยี น ในรายการ “ฟุดฟิดฟอไฟ” ซ่ึงเป็นรายการ ในคร้ังน้ีจะเป็นเช่นไร ท่านจะมีมุมมอง สอนภาษาองั กฤษทางสถานีโทรทัศน์ ชอ่ ง ๙ ในการทำ� งานและความภาคภมู ใิ จในการดำ� รง สำ� หรบั ประสบการณก์ ารทำ� งานดา้ นการเมอื งนนั้ ต�ำแหน่งดังกล่าวอย่างไร ติดตามได้จาก ท่านได้ลงสมัครรับเลือกต้ังในการเลือกตั้ง บทสมั ภาษณ์ในคร้งั นี้ ทั่วไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ในสังกัดพรรค

24 รฐั สภาสาร  ปีท่ ี ๖๗  ฉบบั ที่  ๕  เดือนกันยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ อยากให้ท่านกล่าวถึงความเป็นมา Organization หรือองค์การรัฐสภาอาเซียน) ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ AIPO ได้ดำ� เนนิ กิจการอยู่ ของสมชั ชารัฐสภาอาเซียน มานาน ๒๐ กว่าปี โดยมสี มาชกิ แรกเรม่ิ จาก ๕ ประเทศ ไดแ้ ก่ ไทย อนิ โดนีเซยี มาเลเซีย สมัชชารัฐสภาอาเซียน หรือ AIPA สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ แล้วก็เพิ่มสมาชิก (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly) มาเร่ือย ๆ ถ้าประเทศใดเป็นสมาชิก จวบจนวนั น้กี อ่ ต้งั มาแลว้ ๔๒ ปี โดยก่อตัง้ ของอาเซียนก็เป็นสมาชิกของ AIPA ภายหลังการถือก�ำเนิดของอาเซียน ๑๐ ปี โดยอัตโนมัติ ต่อมาประเทศเวียดนาม ลาว (ASEAN ยอ่ มาจาก Association of Southeast กัมพูชา บรูไนดารุสซาลาม และเมียนมา Asian Nations หรือสมาคมประชาชาติ จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกตามมาภายหลัง แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เหตุที่ก่อตั้ง ปัจจุบันน้ีมีประเทศสมาชิกท้ังหมด จ�ำนวน เพราะว่าในช่วงแรก ๆ อาเซียนอยากจะให้ ๑๐ ประเทศ เป็นเวทีให้ฝ่ายบริหารมาพูดคุยกันเร่ือง การเปลยี่ นชอ่ื จาก AIPO มาเปน็ AIPA ปัญหาของคนอาเซียน ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติ ก็เห็นว่าควรจะมีเวทีของตนเองเหมือนกัน มีขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในระหว่าง ดังนนั้ จึงตั้งเปน็ AIPO ในชว่ งแรกนัน้ ยงั ไม่ได้ ก า ร ป ร ะ ชุ ม ส มั ช ช า ใ ห ญ ่ เป็น AIPO ต้ังเปน็ ASEAN Parliamentary อ ง ค ์ ก า ร รั ฐ ส ภ า อ า เ ซี ย น Meeting (APM) มาก่อน นัดประชุมกัน ครั้งที่ ๒๗ ณ เมืองเซบู ทงั้ หมด ๓ รอบ กวา่ จะตกลงกนั จดั ตงั้ เปน็ ส า ธ า ร ณ รั ฐ ฟ ิ ลิ ป ป ิ น ส ์ AIPO (ASEAN Inter-Parliamentary

รูจ้ กั AIPA เขา้ ใจอาเซียน  25 เหตุผลเพราะว่าก่อนหน้าน้ี AIPO ไม่มี AIPA ถือเป็นตัวแทนของทูตฝ่ายนิติบัญญัติ ส�ำนักงานเลขาธิการของตนเองอย่างเป็น ของอาเซยี นทง้ั หมด ไม่วา่ จะเปน็ ส.ส. และ ทางการหรอื ถาวร ดงั นนั้ จึงเหน็ วา่ ควรจะมี ส.ว. หรือฟิลิปปินส์เรียกว่า Congressman สำ� นกั งานอยเู่ ปน็ การถาวรดกี วา่   จะไดท้ ำ� งาน สว่ นบรไู นเรียกว่า Councilor ซงึ่ จะทำ� หน้าท่ี อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง สมยั กอ่ นตำ� แหนง่ ประธานกบั เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ไม่ว่าในช่ืออะไร เลขาธิการจะผูกกัน มีการด�ำรงต�ำแหน่ง ต่างก็เป็นตัวแทนของ AIPA ซ่ึงเป็นตัวแทน หมุนเวียนปีต่อปี ประธานกับเลขาธิการ ของฝ่ายนิติบัญญัติ จ�ำนวน ๓,๐๐๐ คน จะมาจากประเทศที่เป็นเจ้าภาพในปีน้ัน ๆ ทั่วอาเซียนท้ังหมด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น โดยประธานสภาจะเปน็ ประธานของ AIPO ดว้ ย ฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ตัวแทนเหล่าน ้ี ส่วนเลขาธิการ AIPO ก็จะเป็นเลขาธิการ ต้องเปน็ สมาชกิ ในรฐั สภาชุดปจั จบุ ันเทา่ นัน้ ของสภาหรอื ตวั แทนของเลขาธกิ ารสภา ซง่ึ จะ ดำ� รงต�ำแหน่งปตี อ่ ปี ดงั นน้ั จะทำ� งานไดย้ าก อยากใหท้ า่ นกลา่ วถงึ ประสบการณ์ พอสมควร แลว้ กไ็ มม่ สี ำ� นกั งานดว้ ย สว่ นใหญ่ แล้วเม่ือต�ำแหน่งประธาน AIPO เป็นของ ในการท�ำงาน ตลอดจนปัญหา ประเทศเจา้ ภาพประเทศใด สภาของประเทศ และอปุ สรรคทพี่ บขณะดำ� รงตำ� แหนง่ นน้ั ๆ กจ็ ะเปน็ ทต่ี งั้ ของ AIPO และสำ� นกั งาน เลขาธิการ AIPA เลขาธิการสภาก็จะเป็นท่ีตั้งของส�ำนักงาน เลขาธกิ าร AIPO ในปนี นั้   ปถี ดั ไปกห็ มนุ เวยี นไป ผมคิดวา่ ปัญหาทแ่ี ท้จรงิ ทป่ี ระสบก่อน ดงั นั้น เมอ่ื ๑๐ กวา่ ปที แี่ ล้ว จึงมีความรู้สึกว่า เข้ามาท�ำงานในต�ำแหน่งเลขาธิการ AIPA อยากจะให้มีความเป็นถาวรขึ้น การท�ำงาน จนถงึ ปจั จบุ นั กย็ งั เหมอื นเดมิ กค็ อื คนไมค่ อ่ ย จะไดม้ คี วามตอ่ เนอ่ื ง จงึ เปลยี่ นชอื่ จาก AIPO รู้จัก AIPA ตอนท่ีผมเข้ามารับต�ำแหน่ง เปน็ AIPA มเี ลขาธกิ ารเปน็ ทางการ ดำ� รงตำ� แหนง่ ใหม่ ๆ เร่ิมตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ คราวละ ๓ ปี จากแต่เดิมท่ีด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นต้นมา กระบวนการในการคัดเลือก ปีต่อปี ปัจจุบันน้ีส�ำนักงานเลขาธิการ AIPA เลขาธิการ AIPA ข้ึนอยู่ท่ีดุลยพินิจ ต้ังอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า โดยมีที่ท�ำการตั้งอยู่ ของแตล่ ะประเทศ บงั เอญิ ชว่ งเวลานน้ั ถงึ คราว ที่ตึกรัฐสภาของอินโดนีเซีย ซึ่งเขารับเป็น ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย ที่ จ ะ ไ ด ้ มี ตั ว แ ท น เ ข ้ า รั บ เจ้าภาพของเราตรงน้ี ท้ังน้ี ส�ำนักงาน ต�ำแหน่งเลขาธิการ AIPA ระหว่างป ี เลขาธิการ AIPA ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกับ พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๒ จงึ ได้ประกาศรับสมคั ร ส�ำนักงานเลขาธิการอาเซียน แต่ในอนาคต และต้ังคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือก อาจจะมีโครงการที่จะย้ายไปอยู่ด้วยกัน อกี ครงั้ มที งั้ หมด ๗ ทา่ น เรมิ่ ดำ� เนนิ การรบั สมคั ร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และด�ำเนินการ

26 รฐั สภาสาร  ปีที่  ๖๗  ฉบบั ท่ี  ๕  เดือนกนั ยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ คดั เลอื กในเดอื นกมุ ภาพนั ธข์ องปถี ดั มา ทง้ั น ้ี ของอาเซยี นในแตล่ ะประเทศดว้ ยซำ้� งบทไ่ี ดร้ บั ผมได้รับคัดเลือกให้เป็นเลขาธิการ AIPA ของ AIPA จึงท�ำอะไรได้ยากมาก ในงบ ในที่สุด โดยเร่ิมเข้ารับต�ำแหน่งและปฏิบัติ จ�ำนวน ๑๐ ล้านบาทท่วี า่ นีต้ ้องรวมทุกอยา่ ง หน้าที่ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ หลังจาก ท้ังเงินเดือนและค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เฉพาะ ได้รับการคัดเลือกในครั้งน้ัน ผมมีเวลา เงินเดือนของเลขาธิการกับเจ้าหน้าที่ก็มี ๖ เดือนกว่าท่ีจะเตรียมตัวก่อนเข้ารับ คา่ ใชจ้ า่ ยรวมกนั ถงึ สองแสนดอลลารส์ หรฐั แลว้ ต�ำแหน่ง ในช่วงเวลานั้นผมลองสืบค้นหา คิดเป็นสองในสามของวงเงินงบประมาณ ข้อมูลเกี่ยวกับ AIPA ทางอินเทอร์เน็ตและ ทงั้ หมดทไี่ ดร้ บั สว่ นงบทเ่ี หลอื กต็ อ้ งบรหิ ารจดั การ ส่ือโซเชียลท้ังอินสตราแกรมและเฟซบุ๊ก เองทั้งหมด ซ่ึงก็เก่ียวข้องกับการเดินทาง อยากจะรู้ว่าคนพูดถึง AIPA อย่างไร และ และการประกันทุกอย่าง เรียกว่าแทบจะท�ำ หน้าตาของ AIPA เป็นอย่างไรเม่ือมองผ่าน อะไรไดย้ าก เทา่ ทผ่ี มเลา่ ใหฟ้ งั ตรงนเ้ี พอ่ื ทจ่ี ะ สายตาคนอ่ืน ๆ ปรากฏว่าคนรู้จัก AIPA ได้เห็นกรอบและขอบเขตที่จ�ำกัดมากของ น้อยมาก ท้ังอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กของ AIPA ความตงั้ ใจของผมกอ็ ยากทำ� ใหม้ ากกวา่ AIPA ณ ตอนนน้ั มคี นตดิ ตามเพยี ง ๑๒๐ คน ที่เป็นอยู่ เพียงแต่ว่าติดขัดเร่ืองงบซ่ึงมีอยู่ คนกดไลคถ์ กู ใจมปี ระมาณ ๒ คน ซ่ึงหากยัง อยา่ งจ�ำกัด เปน็ เชน่ นอ้ี ยตู่ อ่ ไปคงไมด่ แี นน่ อน แตเ่ ราตดิ ขดั ส�ำหรับโครงสร้างของส�ำนักงาน ในเร่ืองงบ เน่ืองจากว่า AIPA มีงบน้อย เลขาธิการ AIPA น้นั เลขาธิการเปน็ หวั หน้า รายได้ของ AIPA จะได้จากค่าสมาชิกหรือ ส�ำนักงาน โดยมีเลขาธิการ รองเลขาธิการ จะเรียกว่าเงินบริจาคก็ได้ ซึ่งค่าสมาชิก และผู้อ�ำนวยการแต่ละหน่วย ตลอดจน จากสภาของแต่ละประเทศจะจ่ายเท่ากัน เจา้ หนา้ ทีต่ ่าง ๆ รวมทง้ั สิ้น จ�ำนวน ๑๕ คน ในขณะทอ่ี าเซยี นซงึ่ เปน็ องคก์ รของฝา่ ยบรหิ าร ซึ่งในจ�ำนวนนี้รวมแม่บ้านและคนขับรถด้วย จ ะ บ ริ จ า ค ค ่ า ส ม า ชิ ก ร า ย ป ี ป ร ะ เ ท ศ ล ะ ดงั นนั้ จงึ มเี จา้ หนา้ ทท่ี ท่ี ำ� งานจรงิ ๆ เพยี ง ๑๒ คน หนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนนี้เข้าใจว่า ในจ�ำนวนท่ีเหลืออยู่นี้ คนที่ท�ำงานเป็น สองล้านดอลลาร์สหรัฐก็คือ ๖๐ ล้านบาท และมีประสิทธิภาพ หากไม่นับรวมผมและ สว่ น AIPA คา่ สมาชกิ ของแตล่ ะประเทศเพยี ง รองเลขาธิการก็จะเหลืออยู่ ๒ คน เท่านั้น ปลี ะสามหมน่ื ดอลลารส์ หรฐั กค็ อื หนงึ่ ลา้ นบาท กเ็ ลยยาก อยา่ งไรกต็ าม ในสว่ นของเจา้ หนา้ ท่ี เท่านั้น รวมค่าสมาชิกจากประเทศสมาชิก นนั้ ไมไ่ ดม้ ขี อ้ จำ� กดั วา่ จะตอ้ งเปน็ คนอนิ โดนเี ซยี ทั้งหมด ๑๐ ประเทศก็คือ ๑๐ ล้านบาท เ พี ย ง แ ต ่ ว ่ า เ ข า ไ ม ่ ไ ด ้ รั บ สิ ท ธิ อ ะ ไ ร ทั้ ง ส้ิ น จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายปีทั้งหมดของ ทุกอย่างเหมือนคนอินโดนีเซีย โดยจะได้รับ AIPA ในแต่ละปียังน้อยกว่าเงินค่าสมาชิก เงินเดือนเป็นเงินรูเปียห์ ท่ีพักก็ต้องหาเอง

รจู้ ัก AIPA เข้าใจอาเซียน  27 นอกจากนน้ั แลว้ โครงสรา้ งของ AIPA ทง้ั หมด ทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั AIPA ดว้ ย ซง่ึ ในแตล่ ะปปี ฏทิ นิ คือจะมีประธานหมุนเวียนแต่ละปีอยู่แล้ว จะถูกก�ำหนดไว้อยู่แล้วว่าแต่ละไตรมาสจะมี ซึ่งกเ็ ป็นประธานของสภาน่นั เอง เพ่อื ให้เห็น การประชมุ ใด ทงั้ นี้ กรอบการประชมุ ของ AIPA ภาพการท�ำงานของ AIPA อย่างชัดเจน จะถกู กำ� หนดอยสู่ องหรอื สามการประชมุ ใหญ่ ๆ ใหน้ กึ ภาพของกระทรวงการตา่ งประเทศทอ่ี ยู่ ท่ีเพิ่งผ่านมาก็คือการประชุมสมัชชาใหญ ่ ในกรุงเทพฯ แล้วมีสถานทูตในแต่ละเมือง (General Assembly) การประชมุ นถี้ อื เปน็ หวั ใจ ซง่ึ จะใกลเ้ คียงกนั กระทรวงการตา่ งประเทศ ของ AIPA รองลงมาก็คือการประชุม AIPA เปรยี บเสมอื นเปน็ สำ� นกั งานเลขาธกิ าร AIPA Caucus การประชุมนี้จะมีข้ึนเพื่อติดตาม เราอยู่ท่ีอินโดนีเซีย แต่เราจะเปรียบเสมือน มติของท่ีประชุมสมัชชาใหญ่ และการประชุม มีสถานทูตแต่ละสภา ท่ีเรียกว่า National AIPACODD (AIPA Advisory Council on Secretariat หรอื หน่วยประจำ� ชาติในสมชั ชา Dangerous Drugs: AIPACODD หรือ รัฐสภาอาเซียน ท�ำงานร่วมกันเพื่อประสาน การประชุมคณะมนตรีที่ปรึกษาของสมัชชา ในเรื่องของ AIPA แต่ปัญหาและความ รัฐสภาอาเซียนว่าด้วยยาเสพติดอันตราย) แตกตา่ งทชี่ ดั เจนคอื สถานทตู ทำ� งานเพอื่ ประเทศ ซ่ึงเป็นการประชุมเกี่ยวข้องกับเร่ืองของ น้ัน ๆ ในต่างแดน แต่หน่วยประจ�ำชาติฯ ยาเสพตดิ และอาชญากรรมโดยตรง นอกจากนี้ ในแตล่ ะประเทศไมไ่ ดเ้ ปน็ เชน่ นน้ั เขามหี นา้ ท่ี แล้วกม็ ีการประชุม AIPA–ASEAN Interface อื่น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบ รวมท้ังท�ำงาน ซ่ึงเป็นการประชุมระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับ

28 รฐั สภาสาร  ปีท ่ี ๖๗  ฉบบั ท ี่ ๕  เดอื นกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ฝ่ายบริหาร ซ่ึงดูภายนอกแล้วดูดี แต่ม ี ในส�ำนักงานเลขาธิการ AIPA นั้นท�ำงาน การประชมุ เพยี ง ๑๕ นาที ทกั ทายกนั แลว้ กจ็ บ เพื่อ AIPA เพียงอย่างเดียว ดังนั้นเพื่อให้ แต่ที่ผมเล่าให้ฟังทั้งหมดเพราะว่าในแต่ละ การท�ำงานเป็นไปด้วยดีและส�ำเร็จลุล่วง ปีปฏิทินน้ันเจ้าหน้าที่ของหน่วยประจ�ำชาติฯ หากมปี ญั หาในการทำ� งานกข็ อใหเ้ ขา้ ใจกนั และ เขาไมไ่ ดท้ ำ� งานเพอ่ื AIPA อยา่ งเดยี ว สว่ นใหญ่ หาทางประนปี ระนอมเพอ่ื แกไ้ ขปญั หารว่ มกนั จะนง่ั ทำ� งานประจำ� อยใู่ นกองการตา่ งประเทศ และนก่ี ค็ อื ขอ้ จำ� กดั อกี ประการหนง่ึ ของ AIPA หรือไม่ก็กองการประชุม ซ่ึงในแต่ละปีก็จะมี ทเ่ี ปน็ ปญั หาในการทำ� งาน ปญั หาอกี ประการหนงึ่ การประชุมท่ีจะต้องรับผิดชอบมากมาย ที่ตามมาก็คือความไม่สนใจของประเทศ รวมไปถึงการประชุม IPU (The Inter- สมาชิก ซง่ึ ตามความเป็นจรงิ ของ AIPA และ Parliamentary Union หรือสหภาพรัฐสภา) อาเซยี นน้นั ประเทศท่ีเห็นคณุ ค่าในการเปน็ ดงั น้นั เรื่องของ AIPA จงึ เป็นเรือ่ งลำ� ดับรอง ส ม า ชิ ก แ ล ะ ก า ร ร ว ม เ ป ็ น ก ลุ ่ ม ม า ก ท่ี สุ ด หากในชว่ งเวลานนั้ ไมใ่ ชช่ ว่ งการประชมุ AIPA นั่นก็คือเมียนมา ขณะท่ีไทยหรือสิงคโปร์ ซึ่งในทางทฤษฎีนั้นเขาจะท�ำงานเพ่ือ AIPA กลบั ตรงกนั ขา้ ม จะเหน็ ไดว้ า่ ในสบิ ประเทศสมาชกิ แต่เราก็ไม่มีอ�ำนาจท่ีจะสั่งการเขา เลื่อนขั้น ท่ีมีอยู่นอกจากจะมีความแตกต่างของระดับ หรือไล่ออก เพียงแต่ว่าเราท�ำงานร่วมกัน เศรษฐกิจ หรือความเป็นประชาธิปไตยแล้ว แ ต ่ แ ต ก ต ่ า ง กั น ต ร ง ท่ี พ ว ก เ ร า ท่ี ท� ำ ง า น ยังมีความแตกต่างเรื่องของความสนใจด้วย

ร้จู กั AIPA เข้าใจอาเซียน  29 ท่ีเห็นได้ชัดคือประเทศสมาชิกที่มีบทบาท เลขาธิการ AIPA ในการประชุมใหญ่สมัชชา ในอาเซยี นจะใหค้ วามสนใจนอ้ ย ขณะทป่ี ระเทศ รัฐสภาอาเซยี นท่ฟี ลิ ิปปินส์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สมาชิกที่เข้ามาใหม่จะให้ความสนใจมาก ปีน้ันเป็นปีแรกที่ประเทศอินโดนีเซียเสนอ ทำ� ใหเ้ กดิ ปญั หาในทางปฏบิ ตั แิ ละทำ� งานยาก เร่อื งนเี้ ขา้ ที่ประชมุ AIPA ซึ่งกอ่ นการประชุม เพราะแต่ละคนมีความแตกต่าง แต่ละคน ดั ง ก ล ่ า ว จ ะ มี ก า ร เ วี ย น หั ว ข ้ อ ก า ร ป ร ะ ชุ ม มักจะเอาประโยชน์ส่วนตนเป็นท่ีต้ังและ ใหแ้ ตล่ ะประเทศทราบ ในครง้ั นนั้ เมอ่ื เมยี นมา ที่ต่อรองเพราะเรื่องของความเป็นเอกฉันท์ ทราบเรอ่ื งกอ็ อกมาแสดงจดุ ยนื วา่ ตนไมเ่ หน็ ดว้ ย (Consensus) ดังนั้นปัญหาหลายๆ เร่ืองท ่ี กั บ หั ว ข ้ อ ก า ร ป ร ะ ชุ ม ข อ ง อิ น โ ด นี เ ซี ย ค้างคาจึงไม่จบ ท้ังนี้ เพ่ือเป็นการแก้ไขปัญหา ผมในฐานะเลขาธิการ AIPA เห็นว่าเร่ืองน ี้ ความเป็นเอกฉันท์ท่ีหลบซ่อนอยู่ บางคร้ัง จะมปี ญั หาอยา่ งแนน่ อน จงึ ไดเ้ สนอแนวทาง เราอาจจะตอ้ งหาประเดน็ ทท่ี กุ คนตอบตกลง แก้ไขเรื่องนี้ไว้สองแนวทางคือต้องถอน แตบ่ างทกี ต็ อ้ งหาประเดน็ ทท่ี กุ คนไมต่ อบปฏเิ สธ หรอื ไมก่ ป็ รบั ถอ้ ยคำ� ใหก้ วา้ ง แทนทจี่ ะระบวุ า่ ซงึ่ สองอยา่ งนแ้ี ตกตา่ งกนั คอื การตอบตกลง Humanity Crisis in Rakhine หรือโรฮีนจา เปน็ เรอื่ งยากทท่ี กุ คนจะตอบตกลง แตใ่ นทาง เปลยี่ นเปน็ อาเซยี นไดห้ รอื ไม ่ แตอ่ นิ โดนเี ซยี ปฏิบัติท่ีจะไม่ใหเ้ ขาตอบปฏิเสธน้นั ง่ายกว่า ก็ไม่ยินยอมและยืนยันจะเอาช่ือหัวข้อเร่ือง ดังกล่าวเช่นเดิม ผมหวังว่าในที่สุดแล้วหัวข้อน้ี ก า ร น� ำ หั ว ข ้ อ เ รื่ อ ง ต ่ า ง ๆ อาจจะเป็นเรื่องกว้างๆ ก็ได้หลังจากที่ได ้ โต้เถียงกันแล้ว แต่เมียนมากลับยืนยันว่า เข้าที่ประชุม  โดยเฉพาะประเด็น ไม่ตกลง ไม่อยากให้มีการเจรจาใดๆ ท้ังส้ิน ท่ีมีความอ่อนไหวซ่ึงอาจสร้าง จึงเกิดปัญหา แต่เน่ืองจากทางส�ำนักงาน ความขัดแย้งระหว่างประเทศคู่กรณี เลขาธิการไม่มีสิทธิคัดค้านหรือปรับปรุง เชน่ ปญั หาการละเมดิ สทิ ธมิ นษุ ยชน เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง หั ว ข ้ อ ก า ร ป ร ะ ชุ ม ใ ด ๆ ใ น เ มี ย น ม า ที่ มี ต ่ อ ช า ว โ ร ฮี น จ า ทแ่ี ตล่ ะประเทศเสนอมา เพราะถอื วา่ เปน็ สทิ ธ ิ ซึ่ ง เ ป ็ น ป ั ญ ห า ค ว า ม ขั ด แ ย ้ ง ของแต่ละประเทศ ซ่ึงเรื่องนี้ผมกลับเห็นว่า ระหว่างเมียนมาและอินโดนีเซีย ไ ม ่ ใ ช ่ ป ั ญ ห า แ ต ่ เ ป ็ น เ รื่ อ ง ท่ี ยุ ติ ธ ร ร ม แ ล ้ ว ทา่ นเลขาธกิ ารมวี ธิ กี ารลดความขดั แยง้ เ พ ร า ะ ห า ก ใ ช ้ ดุ ล ย พิ นิ จ ข อ ง เ ล ข า ธิ ก า ร ทจี่ ะเกดิ ขนึ้ อยา่ งไรบา้ ง ที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหัวข้อต่างๆ ได้ ผมเห็นว่าเปน็ การกระท�ำทก่ี า้ วกา่ ยเกินไป ส�ำหรับประเด็นความขัดแย้งในเร่ืองนี้ เ กิ ด ข้ึ น ใ น ป ี แ ร ก ที่ ผ ม ป ฏิ บั ติ ห น ้ า ที่ เ ป ็ น

30 รฐั สภาสาร  ปีท ่ี ๖๗  ฉบบั ที ่ ๕  เดือนกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ การประชุมท่ีสิงคโปร์ในปีถัดมาก็เกิด ท่านไดน้ ำ� ประสบการณก์ ารทำ� งาน ปัญหาเช่นเดียวกันอีก ผมก็พยายามล็อบบี้ อินโดนีเซียแล้ว แต่ก็ล้มเหลวเช่นเดิม ด้านส่ือสารมวลชนมาปรับกลยุทธ์ ห ล า ย ค น อ า จ จ ะ ม อ ง ว ่ า เ สี ย ห น ้ า ใ น น า ม การท�ำงานในต�ำแหน่งเลขาธิการ ของความเปน็ เจา้ ภาพ แตผ่ มกลบั มองวา่ สงิ่ เหลา่ น้ี AIPA บ้างหรือไม่ เพ่ือท�ำให้ เป็นสิ่งที่ดีในเวทีการประชุมของ AIPA ภาพการทำ� งานมสี สี นั และเปน็ ทน่ี า่ สนใจ ที่ตัวแทนของปวงชนชาวอาเซียนสามารถ มากข้นึ พดู คยุ ได้ เพราะในการประชมุ สดุ ยอดอาเซยี น (The ASEAN Summit) ก็ไม่สามารถพูดได ้ ผมก็ไม่ได้ต้ังใจหรือวางแผนให้เป็น แต่เวทีน้ีพูดได้ ถึงแม้จะไม่มีมติอะไรท้ังส้ิน เช่นนี้ บังเอิญว่าเป็นเช่นน้ีในช่วงที่ผมเป็น และเท่าท่ีคยุ กบั บรรดา ส.ส. ฟลิ ิปปินส์ และ เลขาธิการ การที่ประเทศอินโดนีเซียต้องท�ำ สิงคโปร์ เขาบอกว่าอย่างน้ีสนุก ผมคิดว่า แ บ บ น้ี เ พ ร า ะ เ ก่ี ย ว กั บ เ รื่ อ ง ก า ร เ มื อ ง อยา่ งนอ้ ย ๓ ปที ผ่ี า่ นมาหลายคนอาจจะบอก ภายในของเขา คนที่เสนอหัวข้อประเด็น ว่าการประชุม AIPA ไม่ได้ดีมาก แต่ผมว่า ความขดั แยง้ นเี้ ปน็ รองประธานสภาซงึ่ มาจาก ลึกๆ แล้วผมพอใจ เพราะมันท�ำให้มีชีวิต พรรคฝ่ายค้าน ซ่ึงเม่ือสามปีท่ีแล้วรัฐมนตรี มสี ีสนั ท�ำให้เกดิ การโต้เถียงกัน ต ่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ข อ ง อิ น โ ด นี เ ซี ย ไ ด ้ ไ ป เ ยื อ น เมียนมาเพ่ือพบนางอองซาน ซูจี สอื่ ท้องถิน่ ต ่ า ง ช่ื น ช ม ก า ร เ ดิ น ท า ง ไ ป เ ยื อ น เ มี ย น ม า

ร้จู กั AIPA เข้าใจอาเซียน  31 คร้ังน้ีของรัฐบาล จึงไม่ใช่เรื่องแปลกท่ี อาเซียน ไม่มีใครสนใจ เป็นเรื่องน่าเบ่ือ พรรคฝา่ ยคา้ นจะแสดงบทบาทเชน่ นี้ สำ� หรบั ผมกเ็ ลยพยายามมีแนวความคดิ ท�ำให้ AIPA ผมแล้วประสบการณ์การท�ำงานส่ือสารมวลชน มีบทบาททางโซเชียลเพ่ิมมากขึ้น ส�ำหรับ ไมไ่ ดเ้ กย่ี วขอ้ งอะไร เพราะผมไมร่ วู้ า่ พอหมด ปัญหาท่ีใหญ่ท่ีสุดในการท�ำงานของอาเซียน วาระในการดำ� รงตำ� แหนง่ แลว้ จะมเี หตกุ ารณ์ อกี ประการกค็ อื ความหา่ งเหนิ (Indifference) เช่นนี้เกิดขึ้นอีกหรือไม่ เพราะคนที่เสนอ จะเห็นได้ว่าในการประชุมสุดยอดอาเซียน หัวข้อนี้จะไม่ได้เป็นรองประธานสภาแล้ว ท่ผี า่ นมา หนว่ ยงานของรัฐตา่ งกระตอื รอื ลน้ หลายคนอาจจะมองว่าผมท�ำให้การประชุม กั บ ก า ร จั ด ป ร ะ ชุ ม ค รั้ ง นี้ เ ป ็ น อ ย ่ า ง ม า ก AIPA มปี ญั หา ซง่ึ ไมเ่ กยี่ วกบั ผมเลย ถา้ เลอื กได้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับไม่สนใจ ส่วนสื่อ ผมก็ไม่อยากจะมีปัญหา เพราะผมจะต้อง จะสนใจอาเซียนก็ต่อเม่ือเราเป็นเจ้าภาพ ว่ิงไปมาประสานงานระหว่างทุกคนและ เท่าน้ัน เราต้องยอมรับความจริงว่าอาเซียน ต้องเจรจาข้อขัดแย้งดังกล่าว การท�ำงาน มปี ญั หา เราถงึ จะไปดว้ ยกันได้ ผมอยากจะ ปีแรกท่ีฟิลิปปินส์ผมจริงจังและทุ่มเทมาก บอกวา่ ในฐานะเป็น AIPA ใชเ้ ราได้ อย่าไป เพราะเปน็ การประชมุ ครงั้ แรก และเหตกุ ารณ์ คิดว่าการมีแถลงข่าวในการประชุมสุดยอด ความขดั แยง้ ทเี่ กดิ ขน้ึ นกี้ ไ็ มเ่ คยเกดิ ขน้ึ มากอ่ น อาเซียนแล้วคิดว่าการพาดหัวข้อข่าวแล้ว ส่วนปีที่สองน้ันเป็นการประชุมท่ีสิงคโปร ์ มันจะไปถึงชาวบ้าน แล้วชาวบ้านจะซึมซับ เขาพยายามจะคิดว่าเขาจัดการทุกอย่างได ้ และร้สู กึ รกั อาเซียนมากข้นึ ผมไมค่ ิดเช่นนน้ั ส่วนผมก็พยายามล็อบบี้อินโดนีเซียแล้ว ไมใ่ ชว่ า่ คนละภาษา  แตม่ นั คนละแนวความคดิ ส�ำหรับการประชุมท่ีไทยก็เริ่มคุ้นเคยแล้ว เนื่องจากมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิตเขา ผมทำ� งานมาสองปแี ลว้ จงึ ตดั บทไมเ่ อาเลยดกี วา่ โดยตรง ผมก็เลยบอกว่าแม้แต่ธนาคาร ซึ่งมีส�ำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองหลวงก็ยังต้อง อ ยากให้ท่านกล่าวถึงบทบาท มีสาขาอยู่ในเมืองเล็ก ๆ ในเมืองทุกเมือง ไม่ใช่เพราะท�ำธุรกิจ แต่ส่วนหน่ึงก็เพื่อท่ีจะ การท�ำงานของเลขาธิการ AIPA เอานโยบายของส�ำนักงานใหญ่มากระจาย เพื่อเชื่อมโยงการติดต่อระหว่าง ถึ ง ค น ทั่ ว ไ ป ต า ม ภ า ษ า ท ้ อ ง ถ่ิ น ห รื อ ต า ม อาเซียนกับ AIPA ซงึ่ เปน็ หนุ้ ส่วนกนั ความต้องการของคนบริเวณน้ัน สมมติว่า มีการลดดอกเบ้ีย ๑๐% ผู้จัดการธนาคาร ส่ิงแรกที่ผมจะพยายามท�ำในส่วนของ ก็ต้องน�ำนโยบายดังกล่าวมาถ่ายทอดกับ AIPA น่นั คอื ทำ� ให้ AIPA มบี ทบาททางโซเชยี ล คนในพ้ืนท่ีให้ได้ทราบเพราะเร่ืองน้ีเกี่ยวข้อง มากข้ึน แต่เนื่องจากเรามีข้อจ�ำกัดในเรื่อง กบั ชวี ติ ของเขาโดยตรง ซง่ึ คนเหลา่ นอี้ าจเปน็ งบประมาณ และต้องยอมรบั วา่ ในความเป็น

32 รัฐสภาสาร  ปีท่ ี ๖๗  ฉบบั ท่ ี ๕  เดือนกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ “สิง่ ทเี่ ราทำ� กันบ่อยๆ ในอาเซยี น ต้องตอบตกลง ถ้าเอาเรือ่ งสิทธมิ นษุ ยชนกับ นน่ั กค็ อื การโยนความผดิ ใหค้ นอ่นื ประชาธิปไตย ผมคิดว่ามีความขัดแย้งกัน ด้วยเหตุน้อี าเซยี นจงึ ไมค่ ่อยมี แน่นอน ถ้าแค่ช่ือประเทศของคุณมีค�ำว่า ความสามคั คีกันเพราะเราต่างอยู่ “people” “democracy” แสดงว่าคุณไม่ใช่ ประชาธปิ ไตย อาเซยี นของเรามที งั้ เวยี ดนาม บนพนื้ ฐานความขดั แย้งกนั และลาวท่เี ป็นอยา่ งนี้ เร่ืองสิทธิมนุษยชนกบั โดยประวัติศาสตรอ์ ย่แู ล้ว...” ประชาธิปไตยน้ัน ถ้าเราเร่ิมจากสิ่งเหล่านั้น ๑๐ ประเทศกม็ ี ๑๐ ความหมายทแี่ ตกตา่ งกนั เจา้ ของอซู่ อ่ มมอเตอรไ์ ซตห์ รอื ผปู้ ระกอบการ ตกลงกันไม่ได้ แล้วประชาธิปไตยมองผ่าน อื่นๆ สิ่งเหล่านี้จ�ำเป็นต้องมี แต่ AIPA สายตาใคร ผ่านสายตาชาวตะวันตก เอเชีย และอาเซียนกลับไม่มี มีแต่กระทรวง อาเซียน ไทย กัมพูชา ล้วนมีความ การตา่ งประเทศทแ่ี ถลงขา่ วและคดิ วา่ ทำ� แคน่ น้ั แตกตา่ งกนั โดยสน้ิ เชงิ พอถงึ เวลามกี ารประชมุ เพียงพอแล้ว ส่วนผมคิดว่าควรใช้ ส.ส. ก็คือต้องหาประเด็น แล้วปัญหาของ AIPA เพอ่ื เปน็ กระบอกเสยี งแทนประชาชน ถามวา่ ที่ผ่านมากลายเป็นหัวข้อสวยหรูทั้งหมด เราพยายามจะทำ� อยา่ งไรกบั AIPA เนอ่ื งจาก การประชุมปีหน้าก็ยังสวยหรูแต่ไม่ท�ำอะไร วา่ ไมม่ ใี ครรจู้ กั อนั นน้ั กย็ ากอยแู่ ลว้ ทจ่ี ะทำ� ให้ เพราะข้อมติท้ังหลายของเราไม่มีกฎหมาย คนรู้จัก แต่มันก็ยังง่ายกว่าท�ำให้คนรู้จัก รองรับ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของค�ำแนะน�ำ อาเซียน พูดถึงอาเซียนบางคนก็ไม่ฟังแล้ว ที่เราจะมีต่อรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ แต่หากจะพูดถึง AIPA แล้วถามว่าคืออะไร จากปัญหาดังกล่าวผมก็มีความรู้สึกว่าจะท�ำ ถ้าเราพูดในท�ำนองว่า AIPA คือฝ่าย อย่างไรให้ AIPA เป็นทย่ี อมรับและมนี ำ้� หนัก นิติบัญญัติ คนก็จะไม่สนใจ เราต้องบอกว่า ก็เลยต้องคิดเรื่องประเด็นที่พวกเราสามารถ เป็นตัวแทน ๓,๐๐๐ คน โดยเราต้องปรับ รวบรวมตัวกันได้ แต่ต้องไม่ใช่เร่ือง ค�ำพูดเสียใหม่ ซ่ึงการที่จะท�ำให้คนรู้จัก ก ารเปล่ียน แ ปลง สภ าพอ าก าศ หรือ เร่ือ ง ในอินสตราแกรมหรือเฟซบุ๊ก เราต้อง ความยากจนเพราะเรอ่ื งดงั กลา่ วกวา้ งเกนิ ไป พยายามสอ่ื วา่ AIPA และอาเซยี นเปน็ ของคณุ เราหันมาท�ำเรื่องเล็กๆ อย่างเช่นเร่ืองเด็ก ในส่วนของเร่ืองความเป็นเอกฉันท์นั้น และเยาวชนน่าจะดีกว่า เพราะอย่างน้อย เนื่องจากว่า AIPA ท�ำหน้าที่เช่ือมโยง กเ็ ปน็ เรอ่ื งทค่ี นไมป่ ฏเิ สธ สงิ่ ทเ่ี ราทำ� กนั บอ่ ยๆ เรอื่ งกฎหมายในอาเซยี น ซงึ่ มนั เปน็ เรอ่ื งยาก ในอาเซยี น นน่ั กค็ อื การโยนความผดิ ใหค้ นอนื่ ท่ีจะท�ำตรงนี้ เราจะผิดถูกอย่างไรต้องหา ดว้ ยเหตนุ อี้ าเซยี นจงึ ไมค่ อ่ ยมคี วามสามคั คกี นั ประเด็นที่แต่ละประเทศจะไม่ปฏิเสธและ เพราะเราต่างอยู่บนพื้นฐานความขัดแย้งกัน

รูจ้ กั AIPA เขา้ ใจอาเซยี น  33 โดยประวัติศาสตร์อยู่แล้ว เม่ือเป็นเช่นน ี้ มแี นวทางในการดำ� เนนิ การรว่ มกนั เพยี งแตว่ า่ ผมจึงนึกถึงเรื่องท่ีเป็นปัญหาจริง ๆ ป ร ะ เ ท ศ ท่ี มี บ ท ล ง โ ท ษ ต่� ำ สุ ด จ ะ ต ้ อ ง ของพวกเราทง้ั หมด และปญั หานตี้ อ้ งไมส่ รา้ ง ขยับปรับบทลงโทษให้รุนแรงข้ึน เพ่ือมิให ้ ความแตกแยกระหว่างเราด้วยกันเอง เพราะ มีช่องโหว่ระหว่างกันมากเกินไป ซึ่งผม ผรู้ า้ ยคอื คนขา้ งนอก แตเ่ ราคอื เหยอ่ื (Victim) ก็พยายามท�ำอยู่ ตรงน้ีใช้เวลาพอสมควร น่ันคือปัญหาเรื่องเกี่ยวกับเด็ก โดยเฉพาะ ในการเชื่อมโยงระหว่าง AIPA กับ ปัญหาโสเภณีเด็ก ซ่ึงก่อนหน้าน้ีไทยกับ อาเซยี นนน้ั เราตอ้ งหาประเดน็ ทจี่ ะเชอ่ื มโยง กัมพูชาก็มีความขัดแย้งกันในเร่ืองดังกล่าว ไม่อย่างน้ันต่างคนต่างอยู่ ซึ่งประเด็นถัดมา และต่างฝ่ายต่างก็โทษกันไปมา ในการแก้ ท่ีผมจะท�ำก็คือการต่อต้านพลาสติก เหตุผล ปัญหาเราจะไม่ประณามคุณในเรื่องดังกล่าว ที่ ไ ม ่ ห ยิ บ เ อ า เ ร่ื อ ง เ ห ตุ ก า ร ณ ์ ก ่ อ ก า ร ร ้ า ย เพราะเราท้ังคู่ก็มีปัญหานี้เหมือนกัน ในช่วง มาด�ำเนินการ เพราะเป็นเร่ืองท่ียุ่งยากที่จะ ปีแรกท่ีผมเข้ารับต�ำแหน่งได้พยายามล็อบบ้ี สื่อให้คนเข้าใจว่าหน้าตาผู้ก่อการร้ายที่จะน�ำ ทุกคนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งทุกคน ไปจัดท�ำเปน็ ส่อื โปสเตอร์จะเปน็ เช่นไร จะใส่ ต่างก็เห็นด้วย และเห็นว่าเป็นส่ิงท่ีเราควร ฮิญาบหรือไม่ เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ผิวขาว จะท�ำร่วมกันและได้เป็นข้อมติเพ่ือท�ำงาน หรือด�ำ เป็นคนอาหรับหรือไม่ใช่อาหรับ เดินหน้าต่อไป การท�ำงานครั้งนี้ได้ร่วมกับ แต่พอเป็นเรื่องพลาสติกมันง่ายข้ึน นั่นคือ ยูนิเซฟและองค์กรภายนอกต่างๆ รวมท้ัง กลยุทธ์ท่ีผมก�ำลังจะท�ำ แต่เน่ืองจากวาระ ตำ� รวจสากล เพือ่ แกไ้ ขปญั หารว่ มกนั ซง่ึ ตอนน้ี การดำ� รงตำ� แหนง่ ของผมเพยี ง ๓ ปี เปน็ เวลา เราได้มีการจัดท�ำกรอบกฎหมายเกี่ยวกับ ท่ีส้ันมาก ท้ัง ๆ ที่รู้แต่ผมก็ได้ด�ำเนินการ การค้าประเวณีและการแสวงหาประโยชน ์ ปูทางท้ังหมดไว้แล้ว ส�ำหรับประเด็นปัญหา ทางเพศจากเดก็ ในการเดนิ ทางและทอ่ งเทยี่ ว ความเป็นอาเซียนที่บางคนไม่สนใจและ (Legal Frameworks Prostitution Sexual ไม่เห็นคุณค่าความเป็นอาเซียนที่แท้จริง Exploitation of Children in Travel and Tourism) ปัญหาน้ีส่วนหน่ึงเป็นเพราะพวกเราไม่เห็น เ พ่ื อ ท่ี จ ะ ท� ำ ใ ห ้ มี ม า ต ร ก า ร ท า ง ก ฎ ห ม า ย คุณค่ากับสิ่งท่ีเรามี ในความเป็นอาเซียน ในเร่ืองดังกล่าวที่ใกล้เคียงกันในภูมิภาค ของเรา หากพูดคุยกันเองภายในอาเซียน แตไ่ ม่ใช่วา่ มกี ฎหมายเหมอื นกัน เชน่ สมมติ ไม่มีใครสนใจและไม่เห็นคุณค่า จึงต้องหา ว ่ า อิ น โ ด นี เ ซี ย มี บ ท ล ง โ ท ษ ท า ง ก ฎ ห ม า ย เ สี ย ง ส นั บ ส นุ น แ ล ะ ยื น ยั น ค ว า ม มี คุ ณ ค ่ า ในเรอ่ื งดังกลา่ วทรี่ ุนแรงสุดถึง ๑๕ ปี แต่ไทย ของอาเซียนจากคนข้างนอก ด้วยเหตุนี้ อาจจะมีบทลงโทษท่ีรุนแรงน้อยสุดเพียงแค่ ผ ม จึ ง มี แ น ว ร ่ ว ม กั บ ส ภ า ข อ ง ยุ โ ร ป แ ล ะ ๓ เดือน การมีกรอบกฎหมายจะท�ำให้เรา สภาของสหรฐั ฯ ทจ่ี ะทำ� งานรว่ มกนั ตอ่ ตา้ นเรอื่ ง

34 รฐั สภาสาร  ปีท่ี  ๖๗  ฉบบั ท ่ี ๕  เดือนกนั ยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ พ ล า ส ติ ก แ ท น ท่ี จ ะ ด� ำ เ นิ น ก า ร ใ น เ รื่ อ ง คนถัดไปท่ีมาจากเวียดนาม ผมกับท่าน สทิ ธมิ นษุ ยชนและประชาธปิ ไตย ถา้ เปน็ เชน่ นนั้ เคยพดู คยุ กนั บอ่ ยพอสมควร โดยสว่ นตวั รจู้ กั กนั ไทยก็ต้องประสบปัญหาในเร่ืองของประมง จริงๆ แล้วถือเป็นสิทธิของแต่ละคน แ ล ะ เรื่ อง ขอ ง กุ ้ ง ที่ ยั ง เ ป ็ น ป ั ญ ห า อ ยู ่ ในการทำ� งาน ตามความคดิ ของผมนน้ั เลขาธกิ าร ซ่ึงกว่าเราจะตกลงกันได้คงยากมาก ในส่วน ที่ เ ข ้ า ม า ท� ำ ง า น แ ต ่ ล ะ ค น จ ะ เ ห มื อ น กั น ของความรว่ มมอื กบั สภาของสหรฐั ฯ ผมเหน็ วา่ ก็ตรงที่จะต่อเติมบ้านให้คนต่อไปอยู่เพ่ือให้ เราควรดึงเอา ส.ส. ของสหรัฐฯ และ ส.ส. เดนิ ตอ่ ไปได้ ผมไมส่ ามารถทจี่ ะทำ� ในสง่ิ ทผ่ี มทำ� ได้ ของอาเซียนมารวมตัวกันเพ่ือท�ำงานร่วมกัน หากไมม่ เี ลขาธกิ ารคนเกา่ ๆ เพราะทา่ นเหลา่ น้ี ซึ่งเหตุผลที่ต้องน�ำเอาฝ่ายนิติบัญญัต ิ ล้วนได้ปูทางต่างๆ ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว มาทำ� งานรว่ มกนั ทงั้ ๆ ทฝ่ี า่ ยบรหิ ารกท็ ำ� กนั ผมหวงั วา่ เลขาธกิ ารคนตอ่ ไปทจี่ ะเขา้ รบั ตำ� แหนง่ อยู่แล้ว เน่ืองจากรัฐมนตรีและผู้น�ำประเทศ ต ่ อ จ า ก ผ ม ส า ม า ร ถ ที่ จ ะ รั บ ไ ม ้ ไ ป ต ่ อ ไ ด ้ มักจะมีการหมุนเวียนกันเป็นเร่ืองปกต ิ เป็นอย่างดี ส่วนจะด�ำเนินการไปในทางใด แต่พรรคการเมืองก็ยังอยู่ต่อเหมือนเดิม ก็ถือเป็นสิทธิของท่าน เลขาธิการคนเก่า และอยา่ งนอ้ ยเรากม็ อี ำ� นาจเรอ่ื งของงบประมาณ กอ่ นหนา้ ผมทมี่ าจากสงิ คโปร์ ทา่ นไดป้ รู ากฐาน ส า ม า ร ถ เ รี ย ก ข ้ า ร า ช ก า ร ม า ช้ี แ จ ง ห รื อ ในเรื่องโครงสร้างไว้ให้ผมแล้วเป็นอย่างด ี ตรวจสอบได้ สิ่งนี้คืออีกแนวทางหน่ึง ผมเลยไม่ต้องคิดใหม่ สามารถท�ำงานเน้น ที่ผมได้ด�ำเนินการไว้ ส่วนงบที่เราจะ เรอื่ งขา้ งนอกได้ แตอ่ ยา่ งทเี่ คยกลา่ วไวก้ ารไป ขอจากสภายุโรปน้ัน เร่ืองน้ียังไม่ส�ำเร็จและ ข้างนอกคือการออกไปหาเสียงสนับสนุน ยังไม่เหน็ ผลในตอนน้ี คาดว่าอีกสกั ปีกวา่ ๆ ถ้าหาเสียงกันเองภายในอาเซียนไม่มีคุณค่า ถึงจะเหน็ ผลได้ชัดขึน้ ดังน้ันจึงต้องเอาชาติตะวันตก ญ่ีปุ่น และ เกาหลีเข้ามาถึงจะเห็นคุณค่า ก่อนหน้านี้ ห ลังจากครบวาระการด�ำรง AIPA ไม่ได้มีบทบาทเท่าใดนักในสายตา ของสภาอนิ โดนเี ซยี แตก่ ารทผ่ี มดงึ เอาสมาชกิ ต�ำแหน่ง ทา่ นจะมีการสง่ ต่อนโยบาย สภาคองเกรสสหรฐั ฯ สภายโุ รป และโมรอ็ กโก การท�ำงานให้กับเลขาธิการคนต่อไป มาเยือน เขาก็เลยยอมรับและท�ำให ้ นำ� ไปสานตอ่ หรอื ไม่ อย่างไร การท�ำงานได้ผลส�ำเร็จ แต่เนื่องจากว่า เจ้าหน้าที่ในส�ำนักงานเลขาธิการ AIPA ก่อนหน้าน้ีตอนที่ผมเข้ารับต�ำแหน่ง เปน็ คนอนิ โดนเี ซยี ทงั้ หมด แลว้ กห็ มนุ เวยี นบอ่ ย ใหม่ ๆ ผมก็ถามเลขาธิการคนเกา่ เหมอื นกัน เพราะเร่ืองของเงินเดือนค่อนข้างต่�ำ ดังน้ัน ว ่ า มี ส่ิ ง ใ ด ที่ จ ะ ใ ห ้ ผ ม ส า น ต ่ อ ห รื อ ไ ม ่ เ จ ้ า ห น ้ า ที่ ส ่ ว น ใ ห ญ ่ จ ะ เ ป ็ น ค น ท่ี เ พิ่ ง จ บ ทา่ นกต็ อบผมว่าไม่มีอะไร สำ� หรับเลขาธิการ

รจู้ กั AIPA เข้าใจอาเซียน  35 การศึกษาใหม่ ๆ และเข้าไปท�ำงานท่ีน่ัน ประเทศสมาชิก AIPA เกดิ ขน้ึ เลย ซึง่ เรื่องนี้ สกั ระยะหนง่ึ เพอื่ ใหป้ ระวตั กิ ารทำ� งานของตน ทา่ นเลขาธกิ ารอาเซยี นในขณะนนั้ คอื นายลมิ ดูดีแล้วจึงลาออกไปท�ำงานท่ีอ่ืนต่อ บางคน จ๊อก ฮอย ซ่ึงเป็นชาวบรูไน ก็เห็นชอบด้วย อยากจะอยตู่ อ่ แตร่ ายไดไ้ มเ่ พยี งพอกบั สภาพ ทงั้ น้ี ทา่ นเพง่ิ รบั ตำ� แหนง่ เปน็ ปแี รกไดเ้ ดนิ ทาง ความเป็นอยู่ท่ีแท้จริง ผมก็เลยต้ังใจท่ีจะขึ้น มาในการประชุมของ AIPA ที่สิงคโปร ์ รายได้ให้เจ้าหน้าที่เหล่าน้ีเท่าท่ีจะท�ำได้ ในปี ๒๕๖๑ ซึ่งก่อนหน้านั้นเลขาธิการ ในเงนิ จำ� นวนนอ้ ยนดิ ซงึ่ กม็ บี างประเทศทบี่ น่ อาเซียนจะมาหรือไม่ผมไม่ทราบ แต่เท่าที่ ว่าท�ำไมต้องขึ้นเงินเดือนให้ ผมก็ช้ีแจงไปว่า ผมทราบชว่ งปแี รกๆ ทผ่ี มเปน็ เลขาธกิ าร AIPA ถ้าเปรียบเทียบตอนท่ีผมเข้ามารับต�ำแหน่ง นั้น ส�ำนักงานเลขาธิการอาเซียนจะส่ง ผมก็จะขน้ึ เงินเดือนใหเ้ ขาไปเรอ่ื ย ๆ เพราะ รองเลขาธิการมาเข้าร่วมแทน การประชุม ผมไม่ข้ึนเงินเดือนให้ตัวเอง เพราะเงินเดือน ใ น ค รั้ ง น้ั น จึ ง ท� ำ ใ ห ้ ผ ม กั บ ท ่ า น มี ค ว า ม ผมกบั เจา้ หนา้ ทน่ี นั้ หา่ งกนั โดยสนิ้ เชงิ เรอื่ งน้ี สนิทสนมกัน สามารถพูดเปิดอกคุยกันได้ ไม่ยุตธิ รรม เราจะขนึ้ เงนิ เดอื นให้ทีเดียวกค็ ง แต่การประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียนปีน้ี ไม่ได้ แต่ไม่ควรให้เงินเดือนทิ้งห่างมากนัก ที่กรุงเทพฯ ท่านไม่สามารถมาได้ จึงส่ง เพราะไมย่ ตุ ธิ รรม ผมกจ็ งึ ฝากฝงั ในเรอื่ งนด้ี ว้ ย ท่านคุง โพก รองเลขาธิการอาเซียน ดา้ นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน อยากให้ท่านกล่าวถึงจุดเร่ิมต้น มาแทน กอ่ นหนา้ นต้ี วั แทนทมี่ าพดู เพยี ง ๕ นาที ตามพิธีการ ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ การเจรจาระหว่างประเทศสมาชิก และโอกาสท่ีเขาจะได้พบกับประเทศสมาชิก AIPA กับส�ำนักงานเลขาธิการ AIPA มีน้อย กล่าวคือ เขา้ มาคารวะประธาน อาเซียนในประเด็นเก่ียวกับการสร้าง AIPA เพียง ๒๐ นาที กล่าวขอบคุณแล้วกจ็ บ อตั ลักษณข์ องอาเซียนในปี ๒๕๖๓ นั บ ตั้ ง แ ต ่ ก า ร ป ร ะ ชุ ม ที่ สิ ง ค โ ป ร ์ ผ ม ก็ มี ความรู้สึกว่าการประชุมหารือควรจะมีอะไร แนวความคดิ ทตี่ อ้ งการใหม้ กี ารประชมุ มากกว่านั้น ดังนั้นผมมีความรู้สึกว่าถึงเวลา หารือระหว่างประเทศสมาชิก AIPA กับ แล้วที่เราควรจะยกระดับของเราให้เป็น ส� ำ นั ก ง า น เ ล ข า ธิ ก า ร อ า เ ซี ย น นั้ น เ กิ ด ขึ้ น ตัวแทนของ ส.ส. และ ส.ว. อย่างแท้จริง จากความคิดของผม เน่ืองจากผมเห็นว่า แทนท่ีจะติดต่อเขาโดยตรงควรจะติดต่อ การประชุม AIPA ในปีก่อน ๆ ท่ีเชิญ ผ่านเรามากกว่า แล้วเราจะรบั ไปดำ� เนนิ การ ส�ำนักงานเลขาธิการอาเซียนมาเป็นแขก เพอ่ื ประสานงานใหใ้ นประเดน็ เรอื่ งทต่ี อ้ งการ ของประเทศเจ้าภาพแต่ไม่เคยมีการประชุม เช่น สมมติว่าคุณมีปัญหาภาษีเรื่องแก้ว หารอื ระหวา่ งสำ� นกั งานเลขาธกิ ารอาเซยี นกบั

36 รฐั สภาสาร  ปที ่ี  ๖๗  ฉบบั ท่ี  ๕  เดอื นกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ที่อยากจะเข้ามาที่มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ทเี่ กดิ ขน้ึ จงึ ตอ้ งดำ� เนนิ การตอ่ เนอื่ งไปเรอ่ื ย ๆ เรากจ็ ะประสานกบั ส.ส. เหลา่ นี้ท่ีเก่ียวขอ้ ง ซงึ่ การประชุม AIPA ในปี ๒๕๖๒ น้กี เ็ ช่นกัน ในเรื่องดังกล่าวให้ ผมพยายามจะปรับ ก็ได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง การท�ำงานให้เปน็ ลักษณะนี้ ประเทศสมาชกิ AIPA กบั สำ� นกั งานเลขาธกิ าร การทเี่ ราจะเชอ่ื มโยง AIPA กบั อาเซยี น อาเซยี นดว้ ย ซงึ่ ทงั้ หมดเปน็ ความตงั้ ใจของผม ในความเป็นหุ้นส่วนนั้น เราควรจะได้มี ที่จะต้องท�ำเพ่ือให้การประชุมเป็นมากกว่า การประชุมหารือกับฝ่ายต่าง ๆ ให้ AIPA ที่เห็น มิใช่แค่สวยงาม หรือดูการแสดงโชว์ ด�ำเนินการ แทนที่จะเป็นฝ่ายบริหารเพียง บนเวทีแลว้ กจ็ บ แตป่ ัญหาอยูต่ รงทีเ่ ราจะทำ� อย่างเดียว ท้ังนี้ ต้องด�ำเนินการท�ำให้ อย่างไรเพื่อเช่ือมโยงอาเซียนให้มากขึ้น การประชุมมีประเด็นหัวข้อ (Issues) ไม่เช่นนั้นฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ในการพิจารณาเป็นประเด็น ๆ ไปเหมือน ก็ไม่ไปในแนวทางเดียวกัน และมักจะบ่นอยู่ สภาโดยทวั่ ไป ซง่ึ ในการประชมุ หารอื (Dialogue) บอ่ ย ๆ วา่ สภาลา่ ชา้ ในการรา่ งกฎหมาย ทง้ั ๆ ที่ กบั ประเทศผสู้ งั เกตการณต์ า่ ง ๆ เราควรจะมี ในความเป็นจริงแล้วกฎหมายของอาเซียน อะไรท่ีมากกว่าการทักทาย ถ้าเช่นน้ันควรมี ล ่ า ช ้ า เ พ ร า ะ คุ ณ ไ ม ่ เ ค ย ใ ห ้ ค น ข อ ง เ ร า ประเด็นหัวข้อหลัก (Issues based) รว่ มอยดู่ ว้ ย ดงั นน้ั เพอื่ ใหส้ องฝา่ ยทำ� งานไปใน ในการประชุมด้วยน่าจะดีกว่า การประชุม ทางเดยี วกนั เพอื่ ใหเ้ หมอื นกรรมาธกิ ารกว็ า่ ได้ จะได้มีความต่อเนื่อง หากคุณมีปัญหาหรือ เลขาธิการอาเซียนนั่งอยู่ในท่ีประชุมตรงนี้ ข้อขัดข้องใดที่เก่ียวกับรัฐสภาอาเซียน แล้ว ให้สมาชิกซักถามว่าปัญหานั้นคืออะไร สามารถตดิ ตอ่ ประสานงานผา่ นเราไดโ้ ดยตรง คุณอยากให้เราท�ำอะไร หรือเราอยากให้ แต่เนื่องจากเป็นแนวความคิดแปลกใหม ่ คณุ ทำ� อะไร เราสะทอ้ นเสยี งจากประชาชนใหค้ ณุ

รู้จัก AIPA เข้าใจอาเซียน  37 ได้รับรู้ ส่วนคุณอยากสื่ออะไรถึงประชาชน และอาเซียน และที่ส�ำคัญคืออย่างน้อย อย่างน้อยก็เริ่มจากตรงน้ี แต่เนื่องจากว่า การประชุมจะได้มีความต่อเนื่อง ไม่เช่นน้ัน ทา่ นเลขาธกิ ารอาเซยี นมาไมไ่ ดใ้ นครง้ั น้ี จงึ ไดส้ ง่ เมอื่ มกี ารประชมุ ใหญส่ มชั ชารฐั สภาอาเซยี น รองเลขาธิการอาเซียนท่านน้ีมาแทน ซึ่งใน ชดุ นเี้ สรจ็ สน้ิ ลง แลว้ ตอ่ มามกี ารประชมุ AIPA การประชมุ ครงั้ นผี้ มไดถ้ ามทา่ นวา่ ทา่ นมอี ะไร Caucus ผรู้ บั ผดิ ชอบเปน็ ใครกไ็ มท่ ราบ กต็ อ้ ง ที่อยากจะฝากให้เราช่วยคิดช่วยท�ำและ เริ่มด�ำเนินการต้ังแต่ต้นใหม่อีก จากแนวคิด ช่วยประสานงานต่อไป ดังน้ันท่านรอง ทัง้ หมดของผมที่กลา่ วมาขา้ งตน้ ผมตอ้ งการ เลขาธิการจึงพูดถึงเร่ืองการสร้างอัตลักษณ์ ให้มีการด�ำเนินต่อไป ส่วนเขาจะท�ำหรือไม ่ ของอาเซยี น (Asian Identity ) ใหเ้ ราชว่ ยกนั คดิ ผมไม่ทราบ แต่ข้อเสนอของผมก็ผ่านมติ ส่วนเขาจะท�ำหรือไม่ผมไม่ทราบ ผมตั้งใจ ในทปี่ ระชมุ เปน็ ทเี่ รยี บรอ้ ยแลว้ ผมกเ็ ลยพอใจ ใ ห ้ ก า ร ป ร ะ ชุ ม ห า รื อ เ ป ็ น เ ช ่ น นี้ ม า ก ขึ้ น ผ ม คิ ด ว ่ า ก า ร ท� ำ ง า น ที่ ผ ่ า น ม า ข อ ง ผ ม ทกุ อยา่ งเรมิ่ จากการพดู คยุ กนั แตผ่ มไมอ่ ยาก อยา่ งนอ้ ยเรอื่ งตอ่ ตา้ นพลาสตกิ กน็ า่ จะเหน็ ผล จะใหจ้ บดว้ ยการพดู คยุ กนั ตลอด แตอ่ ยา่ งนอ้ ย ชัดเจนขึ้นในปี ๒๕๖๓ น้ี ส่วนเร่ืองการตั้ง ก็ ดี ก ว ่ า ไ ม ่ คุ ย ห รื อ ป ร ะ ส า น ง า น กั น เ ล ย คณะกรรมาธกิ ารเกยี่ วกบั AIPA และอาเซยี นนน้ั ประกอบกบั อกี สง่ิ หนง่ึ ทผ่ี มคดิ จะทำ� ซง่ึ กผ็ า่ น เ ห็ น ผ ล แ ล ้ ว แ ล ะ ก� ำ ลั ง ด� ำ เ นิ น ก า ร อ ยู ่ มติไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือผมได้ถาม ผมคดิ วา่ อยา่ งนอ้ ยการประชมุ หารอื อยา่ งนกี้ บั ความคิดเห็นในแต่ละสภาเกี่ยวกับการต้ัง การตง้ั คณะกรรมาธกิ ารไดห้ รอื ไมน่ น้ั เปน็ เรอ่ื งท่ี คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับ  AIPA และ สามารถตามได้ แลว้ สง่ิ สำ� คญั อกี ประการหนงึ่ อาเซียน เพ่ือดำ� เนนิ การในเร่ืองน้โี ดยเฉพาะ กค็ อื คนรจู้ กั AIPA มากขนึ้ กวา่ เดมิ จะเหน็ ได้ เพราะหากการดำ� เนนิ การมปี ญั หาตดิ ขดั อยทู่ ่ี จากส่อื โซเชยี ลตา่ ง ๆ เชน่ เฟซบ๊กุ ของ AIPA หน่วยงานใด ถ้าหากเป็นเราก็ไม่มีสิทธิท่ีจะ ในบางชว่ งนนั้ มยี อดสมาชกิ เพมิ่ ขนึ้ ถงึ ๑,๐๐๐ เรียกตัวแทนของหน่วยงานน้ัน ๆ เข้ามา คน สว่ นยอดการกดไลคถ์ กู ใจ ตอนนลี้ ดเหลอื แต่ถ้าเป็นกรรมาธิการมีอ�ำนาจที่จะเรียก ๓๐๐ คน และอินสตราแกรม มีผู้ติดตาม หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องมาช้ีแจงหรือซักถามได้ ๕๐๐ กวา่ คน แตเ่ มอื่ เขา้ ไปดจู รงิ ๆ แลว้ พบวา่ แ ต ่ ห า ก คุ ณ ไ ม ่ ส า ม า ร ถ ต้ั ง เ ป ็ น ค ณ ะ แ ต ่ ล ะ ค น ท่ี ก ด ไ ล ค ์ เ ป ็ น วั ย รุ ่ น อิ น โ ด นี เ ซี ย กรรมาธิการโดยเฉพาะท่ีเกี่ยวข้องกับ AIPA แทบจะทง้ั หมด ดังน้ันปญั หาอุปสรรคส�ำคัญ และอาเซยี นได้ สามารถตง้ั เปน็ อนกุ รรมาธกิ าร ของการทำ� งานกบั สำ� นกั งานเลขาธกิ าร AIPA ในคณะกรรมาธกิ ารการตา่ งประเทศไดห้ รอื ไม่ ส ่ ว น ห นึ่ ง เ นื่ อ ง ม า จ า ก เ จ ้ า ห น ้ า ที่ ทั้ ง ห ม ด คอื อยา่ งนอ้ ยใหม้ อี ำ� นาจในตรงนเ้ี พอ่ื ดำ� เนนิ การ เป็นชาวอินโดนีเซีย เขาจึงชอบคิดให้กับ ในบางส่ิงบางอย่างเพื่อความเป็น AIPA ชาวอินโดนีเซียเพียงชาติเดียว ดังน้ันเวลาที่

38 รัฐสภาสาร  ปที ่ี  ๖๗  ฉบับท ่ี ๕  เดอื นกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ เขาโพสต์แสดงความคิดเห็นบางอย่างท ี่ เป็นของคนอื่น แต่ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม ่ คนอนิ โดนเี ซยี อา่ นแลว้ อาจจะชอบ แตบ่ างครง้ั จะสนใจหรือไม่สนใจ หรืออยากจะเข้าร่วม คนชาติอื่น ๆ อาจจะไม่ชอบก็ได้ เขาก็ควร หรือไม่ มันหนีไม่พ้น เราทุกประเทศ ต้องคิดถึงความรู้สึกของคนชาติอ่ืน ๆ ในภูมิภาคน้ีล้วนแล้วแต่เป็นอาเซียนด้วยกัน ในอาเซียนด้วยเช่นกัน น่ีคือกรอบของเขา ทงั้ หมด ผมพยายามจะเชื่อมโยงให้เห็นภาพ ซงึ่ เขาเหน็ อยแู่ คน่ ี้ เราไมไ่ ดด้ ถู กู เขา แตก่ อ็ ดไมไ่ ด้ โดยยกตัวอย่างนายสมชายที่เป็นเจ้าของ อู่ซ่อมมอเตอร์ไซต์ที่สุไหงโกลก เขาไม่ได้ กทจ่ี ะคดิ วา่ ไมเ่ กยี่ วกบั เราทที่ ำ� งานเพอื่ อาเซยี น ส น ใ จ ว ่ า อ ะ ไ ร จ ะ เ กิ ด ข้ึ น ใ น จ า ก า ร ์ ต ้ า ารทเี่ ราจะสรา้ งความรสู้ กึ รว่ มกนั กัวลาลัมเปอร์ หรือสิงคโปร์ ความสนใจ ของคนภายในอาเซยี นว่า AIPA และ ของเขาจะจำ� กดั วงแคบ ๆ เฉพาะพนื้ ทบ่ี รเิ วณ อาเซยี นเปน็ ของเราทกุ คน ทา่ นคดิ วา่ ใกลเ้ คยี งบา้ นของเขาทคี่ นมาซอ่ มมอเตอรไ์ ซต์ เป็นเร่ืองที่ท�ำไดย้ ากจรงิ หรือไม่ เทา่ นน้ั แตส่ ง่ิ ทผี่ มกำ� ลงั ทำ� กค็ อื การพยายาม ที่จะบอกว่าทุกส่ิงท่ีเกิดข้ึนในอาเซียนล้วนมี ท่ีเป็นเช่นน้ีผมคิดว่าอาจจะเป็น ความเก่ียวข้องกับคุณโดยตรง โดยบอกเขา เพราะว่าเมื่อก่อนไม่มีใครบอกว่าอาเซียน ให้ลองคิดกลับกันว่าชิ้นส่วนท่ีคุณซ้ือหรือ เปน็ ของเรา กเ็ ลยไมม่ ใี ครสนใจ แตท่ ำ� อยา่ งไร สง่ั มาจากกรงุ เทพฯ อาจจะมรี าคาไมถ่ กู แตห่ าก ใ ห ้ ค น ใ น อ า เ ซี ย น มี ค ว า ม คิ ด เ ช ่ น น้ั น สั่งซื้อที่บรูไนหรือมาเลเซียอาจจะได้ราคา ซึ่งผมก็พยายามบอกว่าเมื่อก่อนอาเซียน

รจู้ กั AIPA เขา้ ใจอาเซียน  39 ท่ีถูกกว่าหรือคุณภาพดีกว่า ซึ่งปัญหานี้ “ผมคดิ เสมอว่าในการท�ำงาน ผมเขา้ ใจ ถา้ ผมไมไ่ ดน้ งั่ ทำ� งานอยทู่ สี่ ำ� นกั งาน ต้องสนุกกับมนั ทา้ ทายกับมัน เลขาธิการ AIPA ผมก็คงไม่ได้สนใจเช่นกัน เพราะอปุ สรรคในการทำ� งาน ผมพูดไดเ้ พราะผมอยตู่ รงนแ้ี ละเขา้ ใจ ดังน้นั เวลาผมไดร้ บั เชญิ ใหไ้ ปบรรยายตามที่ตา่ ง ๆ มีมากมาย...” ในเร่ืองเกี่ยวกับอาเซียน ผมจะไม่เริ่มพูดว่า อาเซียนสวยหรู หรืออาเซียนไม่มีปัญหา ดังนั้นเราจึงท�ำในส่ิงท่ีเราต้องท�ำ ท้ังน้ี เพราะว่าถ้าเริ่มพูดเช่นน้ันคนก็จะไม่สนใจ ขน้ึ อยกู่ บั วา่ ประเทศสมาชกิ จะยนิ ยอมปรบั ปรงุ ผมจะบอกว่าอาเซียนของเรามปี ัญหา ดังนนั้ เปลี่ยนแปลงด้วยหรือไม่ ซ่ึงก็กลับมาท่ีเร่ือง จึงอยู่ที่เราทุกคนเหมือนกันว่าอยากจะให้ ปัญหาเดิมอีกท่ีว่าบางประเทศพอใจที่จะให้ อาเซียนเป็นอย่างน้ีอยู่ต่อไป หรืออยาก AIPA กับอาเซียนคงท่ีไว้ตามเดิม เพราะ ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงปัญหาต่าง ๆ ท่ีเกิดขน้ึ ไมต่ อ้ งทำ� อะไรเพม่ิ เตมิ ประเทศทรี่ ำ�่ รวยทสี่ ดุ ภายในอาเซียนให้ดขี ้นึ กว่าเดิม ดังนนั้ ผมจงึ มักเน้นย้ําอยู่เสมอว่า AIPA และอาเซียน เป็นของเราทุกคน ส่วนจะได้ผลหรือไม่นั้น ดูผมคดิ ว่าอยา่ งน้อยเราก็ไดเ้ ริม่ ลงมือท�ำแล้ว เหมือนท่านจะมีความสนุกกับ ก า ร ท� ำ ง า น ที่ มี ค ว า ม ท ้ า ท า ย ตลอดเวลา ๓ ปเี ต็ม อยากทราบว่า หลงั จากครบวาระการดำ� รงตำ� แหนง่ เลขาธิการ AIPA ท่านจะท�ำงาน บทบาททางด้านอื่นที่จะต่อยอด การท�ำหนา้ ที่ในตำ� แหน่งเดิมหรอื ไม่ ผมคิดเสมอว่าในการท�ำงานต้องสนุก กับมัน ท้าทายกับมัน เพราะอุปสรรค ในการทำ� งานมมี ากมาย ผมไมไ่ ดค้ ดิ อยากจะ ปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนโฉมองค์กร AIPA ไปเป็นในส่ิงท่ีไม่ได้เป็น เพราะ AIPA เปน็ องคก์ รทตี่ อ้ งดำ� เนนิ การในเรอ่ื งกฎหมาย

40 รฐั สภาสาร  ปที ่ ี ๖๗  ฉบับที่  ๕  เดือนกนั ยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ พอใจท่ีจะบริจาคเงินแค่นี้ เพราะถ้าคิด เราน้ัน เน่ืองด้วยนิสัยของคนไทยมักไม่ค่อย คา่ สมาชกิ ตามสดั สว่ นจดี พี ี (Gross Domestic พดู หรือแสดงความคดิ เหน็ ตลอดเวลา ๓ ป ี Product: GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม ท่ีผมนั่งอยู่ในต�ำแหน่งเลขาธิการ AIPA ภายในประเทศ) ของแตล่ ะประเทศ เขาต้อง บ า ง ค ร้ั ง ผ ม ต ้ อ ง ก า ร ค ว า ม ช ่ ว ย เ ห ลื อ บรจิ าคเงนิ มากกวา่ เขากย็ ง่ิ ไมเ่ หน็ ดว้ ย ดงั นน้ั แต่ตัวแทนประเทศไทยกลับไม่พูดอะไรเลย AIPA อยู่อย่างน้ีก็พอใจแล้ว แต่ในการอยู่ ในทปี่ ระชมุ แต่ปัญหาทีเ่ กดิ ข้นึ นผี้ มเข้าใจได ้ อาเซียนตรงนี้เห็นได้ว่าอาเซียนแบ่งแยก วา่ มาจากเรอื่ งของภาษา แตค่ นไทยเราพดู ได้ ออกเปน็ สองขวั้ อยา่ งชดั เจนคอื สายบาฮาซา คนเมียนมาและลาวพูดไม่ได้ก็ยงั พดู ผมกเ็ ลย ประกอบดว้ ยอนิ โดนเี ซยี มาเลเซยี และบรไู น หวงั วา่ เราจะทำ� ไดใ้ นตรงน้ี ผมเขา้ ใจอปุ สรรค และสายพทุ ธประกอบดว้ ยไทย เขมร และลาว ในเร่ืองภาษา เป็นท่ีน่าสังเกตว่าการประชุม ซ่ึงมีหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน วัดวาอาราม ใ น บ า ง ค ร้ั ง น้ั น ค ณ ะ ตั ว แ ท น ที่ ม า จ า ก ไ ท ย หรือศาสนาเหมอื นกัน การกินกใ็ กลเ้ คียงกัน เหน็ ด้วยทกุ อย่างกบั ทปี่ ระชมุ แตไ่ มไ่ ด้แสดง ส่วนคนสายบาฮาซาก็มีหน้าตาและอาหาร ความคิดเห็นอะไรที่เป็นประโยชน์ เร่ืองนี้ การกินที่ใกล้เคียงกัน นับถือศาสนาอิสลาม ถือวา่ น่าเสยี ดายมาก เหมือนกัน ประชากรส่วนใหญ่ของสองข้ัวน้ี ปญั หาอกี ประการหนงึ่ ที่ AIPA ประสบอยู่ รวมกันแล้วมีจ�ำนวนเกินกว่า ๙๐% ของ และอาเซียนก็เป็นเช่นกัน ประการแรก อาเซียน นี่คืออาเซียน ความแตกต่างน ้ี นน่ั คอื คนไมร่ จู้ กั หนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ งบางครงั้ ของอาเซียนจะเห็นได้ชัดมากขึ้นในระหว่าง อาจทำ� งานนอ้ ยกวา่ หนา้ ทท่ี ตี่ นตอ้ งทำ� ทำ� ให้ การประชมุ หากเขาตอ้ งการจะลอ็ บบก้ี ันเอง คนไม่รู้จักและไม่อยากรู้จัก นอกจากน ้ี ภายในกลุ่มประเทศสายบาฮาซา เขาก็จะพูด หลาย ๆ คนท่ีเก่ียวข้องกับหน่วยงานก็มัก ภาษาของเขาเอง สว่ นฟลิ ปิ ปนิ สเ์ ปน็ ประเทศ พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่เพราะไม่ต้องท�ำอะไร ทอี่ ยตู่ รงกลางระหวา่ งสองสายและไมเ่ ลอื กขา้ ง เพ่ิมเตมิ ทั้งน้ี หากจะกล่าวถึงปญั หาการรบั รู้ ดังนั้นเวลาเจรจากันท้ังสองฝ่ายก็จะดึงเอา ของคนในอาเซียน ส่ิงท่ีเราเน้นก็คือเราต้อง ฟิลิปปินส์เข้ามาอยู่ด้วย ความเป็นอาเซียน รู้จกั อาเซียนให้มากข้ึนกวา่ ท่เี ป็นอยู่ เราต้อง อีกข้อท่ีควรรับรู้ ซ่ึงเป็นความจริงท่ีไม่เป็น เข้าใจเขา และเขาก็ต้องเข้าใจเรา เพราะ ความลับแต่คือบทเรียน นั่นคือประเทศ ถ้าเราไม่รู้จักกันเสียแล้ว ก็จะมีความคิด ทคี่ ลอ่ งภาษาจะมเี สยี งทดี่ งั กวา่ เสยี งทดี่ งั ทสี่ ดุ แบบเดิม ๆ ที่ว่าคนลาวและเมียนมาจะเข้า และมีอ�ำนาจในที่ประชุมจะเป็นผู้น�ำ ดังน้ัน มาแย่งงาน ซ่ึงมุมมองแบบน้ีคนอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ค่อนข้าง กค็ ดิ เหมือนกัน จะมบี ทบาทในการเปน็ ผนู้ ำ� สำ� หรบั ประเทศไทย

รู้จกั AIPA เขา้ ใจอาเซยี น  41 การทำ� งานในตำ� แหนง่ เลขาธกิ าร AIPA และอยา่ งนอ้ ยตอ้ งใหด้ กี วา่ เดมิ ใหเ้ ปน็ ทรี่ จู้ กั ตลอด ๓ ปี ทผี่ ่านมาของผม จงึ เป็นงานทม่ี ี มากกว่าเดิม บทบาทการท�ำงานของผม ความท้าทาย แม้ในบางคร้ังจะมีความรู้สึก ห ลั ง จ า ก ค ร บ ว า ร ะ ก า ร ด� ำ ร ง ต� ำ แ ห น ่ ง เหนื่อย หรือท้อแท้บ้าง แต่ผมก็ทุ่มเทก�ำลัง เลขาธิการ AIPA แลว้ คงต้องรอความชัดเจน ก า ย แ ล ะ ค ว า ม ต้ั ง ใ จ จ ริ ง ท� ำ ง า น ทุ ก อ ย ่ า ง อกี ครงั้ ในการเลอื กตง้ั ครงั้ ตอ่ ไป ซงึ่ ในระหวา่ ง อย่างเต็มที่ ส่ิงส�ำคัญที่ผมพยายามจะท�ำ ท่ีรอการเลือกต้ังคร้ังใหม่อยู่น้ัน ณ เวลาน ี้ น่ันก็คือการท�ำให้องค์กร AIPA เป็นอย่างที่ ผมขอหาประสบการณก์ ารทำ� งานดา้ นเอกชน ควรจะเป็น สร้างให้เป็นอย่างที่ควรจะเป็น ไปพลางกอ่ น ตอนนกี้ ำ� ลงั รอคำ� ตอบยนื ยนั อยู่

42 รฐั สภาสาร  ปที ่ ี ๖๗  ฉบับท ่ี ๕  เดอื นกันยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ทมี่ า: ส�ำ นักขา่ วไทย ตลอดเวลา ๓ ปีท่ีด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการ สมัชชารัฐสภาอาเซียน ผมรับประกันว่า ท ่ านมีความรู้สึกเช่นไรเม่ือต้อง ไ ด ้ ป ลู ก ฝ ั ง ใ น สิ่ ง ท่ี อ ย า ก จ ะ ท� ำ ต ่ อ ไ ป ในอนาคตเป็นท่ีเรียบร้อยแล้ว ผมสามารถ อำ� ลาจากต�ำแหน่งเลขาธกิ าร AIPA พูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า ตนเองในฐานะ ค น ไ ท ย ที่ ไ ด ้ รั บ โ อ ก า ส ค ร้ั ง ส� ำ คั ญ ใ น ชี วิ ต ผมก็คงจะรู้สึกใจหายอยู่เหมือนกัน ให้เข้ามาท�ำหน้าที่ในต�ำแหน่งเลขาธิการ แม้ว่าผมจะเดินทางไปมาระหว่างประเทศไทย AIPA ผมได้ท�ำหน้าท่ีน้ีอย่างเต็มที่สุดก�ำลัง กบั อนิ โดนเี ซยี เกอื บทกุ อาทติ ย์ เพราะครอบครวั ความสามารถ การก้าวเข้ามารับภาระ อยู่ท่ีเมืองไทย การอยู่ท่ีอินโดนีเซียท�ำให้ อันทรงเกยี รตคิ ร้ังนี้ ไมท่ �ำให้ประเทศไทยเรา ผมรักประเทศไทยมากข้ึนกว่าเดิม ผมอยาก ตอ้ งเสยี หนา้ อยา่ งแน่นอน จ ะ บ อ ก ค น ไ ท ย ทุ ก ค น ท่ี ช อ บ บ ่ น เ กี่ ย ว กั บ ระบบการเมือง หรือการจราจรของบ้านเรา ปญั หาตา่ งๆ ทอ่ี นิ โดนเี ซยี ประสบอยทู่ กุ วนั น ี้ เป็นที่หนึ่งกว่าเราทุกอย่าง อยู่ที่นั่น สองอาทิตย์จะบอกว่ารักเมืองไทย ท้ังน้ี

รู้จกั AIPA เขา้ ใจอาเซยี น  43 สมัชชารฐั สภาอาเซียน  :  เวทีความรว่ มมือระหวา่ งรัฐสภาระดับภูมภิ าค เพื่อขบั เคลื่อนอาเซียน สมัชชารัฐสภาอาเซียน  เป็นองค์กรท่ีแสวงหาแนวทางและวิธีการในการจัดการกับ ปัญหาต่าง  ๆ  ในอาเซียนผ่านมาตรการด้านนิติบัญญัติ  โดยแนวทางหรือมาตรการต่าง  ๆ เหล่านั้นจะได้มาจากการหารือภายใต้กรอบการประชุมต่าง  ๆ  ดังนั้น  การแลกเปล่ียน การประชุมระหว่างผู้น�ำ  AIPA  และผู้น�ำอาเซียน  จึงถือเป็นย่างก้าวที่ส�ำคัญในการท�ำงาน ร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ  และในอนาคต  AIPA  และอาเซียนจะพยายาม เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในทุก  ๆ  ระดับ  ในฐานะขององค์กรด้านนิติบัญญัติ AIPA  จะมุ่งมั่นในการสร้างความสอดคล้องทางกฎหมายในประเทศสมาชิก  และกระตุ้นให ้ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศสมาชิกน�ำข้อมติจากการประชุมสมัชชาใหญ่ไปสู่ การปฏิบัติท่ีเป็นรูปธรรมให้มากยิ่งข้ึน  และจะพยายามลดความเหลื่อมล�้ำของประเทศสมาชิก ในทุก  ๆ  ด้าน  เพื่อให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อม  ๆ  กัน  ซึ่งเป็น หนทางทส่ี ำ� คัญในการสร้างความมัน่ คง  มัง่ คง่ั   และยง่ั ยืนในภูมภิ าคต่อไป

44 รฐั สภาสาร  ปที  ่ี ๖๗  ฉบับที ่ ๕  เดือนกนั ยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ความเป็นมาของสมัชชารฐั สภาอาเซยี น  :  จากจดุ เร่ิมต้น  AIPO  สู่  AIPA  เร่ิมต้นจากการท่ีสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ซ่ึงประกอบด้วยสมาชิก  ๑๐  ประเทศ ได้แก่  กัมพูชา  ไทย  บรูไน  พม่า  ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย  ลาว  เวียดนาม  สิงคโปร์  และ อินโดนีเซีย  รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๑๐  โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริม และร่วมมือในเร่ืองสันติภาพ  ความม่ันคง  เศรษฐกิจ  องค์ความรู้สังคม  และวัฒนธรรม  บนพ้ืนฐาน ความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก  เม่ือด�ำเนินกิจกรรมมาได้ระยะหนึ่ง กม็ กี ารจัดตั้งองคก์ ารรัฐสภาอาเซียน  (ASEAN  Inter-Parliamentary  Organization:  AIPO)  ข้นึ    สมัชชารัฐสภาอาเซียน  (ASEAN  Inter-Parliamentary  Assembly:  AIPA)  แต่เดิม ใช้ชื่อว่าองค์การรัฐสภาอาเซียน  (ASEAN  Inter-Parliamentary  Organization:  AIPO) เริ่มก่อต้ังอย่างเป็นทางการเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๒๐  โดยการริเร่ิมของรัฐสภาอินโดนีเซียในปี พ.ศ.  ๒๕๑๗  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้ใกล้ชิด ย่ิงข้ึน  เน่ืองจากขณะน้ันความร่วมมือของอาเซียนนั้นมีอยู่ทุกกรอบแล้ว  แต่ยังขาดความร่วมมือ ในกรอบของระดับรัฐสภา  โดยแนวความคิดของรัฐสภาอินโดนีเซียได้รับความสนใจจาก ประเทศสมาชิกอาเซียนอีก  ๔  ประเทศ  คือ  มาเลเซีย  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  สาธารณรัฐ สิงคโปร์  และราชอาณาจักรไทย  โดยต่างเห็นพ้องต้องกันถึงประโยชน์ของการสร้างความร่วมมือ ให้ใกล้ชิดในระหว่างรัฐสภาของกลุ่มประเทศอาเซียน  จึงได้มีการประชุมเพ่ือปรึกษาหารือ การจัดตั้งองค์การรัฐสภาอาเซียนข้ึนถึง  ๓  ครั้ง  และในคร้ังที่  ๓  เม่ือปี  พ.ศ.  ๒๕๒๐ ได้ลงนามเห็นชอบในธรรมนูญขององค์การรัฐสภาอาเซียน  เพ่ือจัดต้ังองค์การรัฐสภาอาเซียน อย่างเป็นทางการนับแต่นั้นมา  หรือประมาณ  ๔๒  ปีที่แล้ว  ต่อมาได้มีประเทศต่าง  ๆ ในภูมิภาคอาเซียนได้ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมัชชารัฐสภาอาเซียน  (AIPA)  ตามล�ำดับ โดยเร่ิมจากสาธารณรฐั สังคมนิยมเวียดนามเขา้ รว่ มเปน็ สมาชกิ ในป ี พ.ศ.  ๒๕๓๘ สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาวเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี  พ.ศ.  ๒๕๔๐  ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี  พ.ศ.  ๒๕๔๒  บรูไนดารุสซาลามเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๒ และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเขา้ รว่ มเป็นสมาชกิ ลา่ สุดในป ี พ.ศ.  ๒๕๕๔ ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๕๔๐  ท่ีประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียน  คร้ังท่ี  ๒๗ ณ  เมืองเซบู  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  ได้ประกาศใช้ธรรมนูญขององค์กรฉบับใหม่  โดยได้เปล่ียนช่ือ จากองค์การรัฐสภาอาเซียนมาเป็นสมัชชารัฐสภาอาเซียน  (ASEAN  Inter-Parliamentary Assembly:  AIPA)  เพ่ือสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรและบูรณาการการท�ำงาน ของฝ่ายนิติบัญญัติให้เป็นรูปธรรม  ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศ

รู้จัก AIPA เขา้ ใจอาเซียน  45 สมาชิกอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งข้ึน  ปรับปรุงโครงสร้างการท�ำงานขององค์กร  เพิ่มช่องทาง การทำ� งานร่วมกันกับอาเซยี น  โดยการหารือระหวา่ งประธาน AIPA  และประธานคณะกรรมการ ประจ�ำอาเซียน  รวมท้ังให้อ�ำนาจท่ีประชุมสมัชชาใหญ่  ในการริเร่ิมการจัดท�ำกฎหมาย ในประเด็นท่ีประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน  เพ่ือบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคม อาเซียน  (ASEAN  Community) ปัจจุบันสมาชิกของสมัชชารัฐสภาอาเซียน  ประกอบด้วยรัฐสภาแห่งชาติ ของประเทศจากสมาชกิ อาเซียน  จำ� นวน  ๑๐  ประเทศ  ไดแ้ ก่ ๑. บรูไนดารสุ ซาลาม     ๒. ราชอาณาจักรกมั พชู า ๓. สาธารณรฐั อินโดนีเซีย ๔. สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว ๕. มาเลเซีย ๖. สาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมา ๗. สาธารณรัฐฟิลปิ ปนิ ส์ ๘. สาธารณรฐั สงิ คโปร์ ๙. ราชอาณาจักรไทย ๑๐. สาธารณรฐั สังคมนยิ มเวยี ดนาม วสิ ัยทศั นข์ อง  AIPA AIPA  มีวิสัยทัศน์ที่จะสร้างสันติภาพ  เสถียรภาพ  และความเจริญรุ่งเรือง ในภูมิภาค  รวมถึงรักษาความเป็นน้�ำหนึ่งใจเดียวกัน  เป็นแกนกลางของความร่วมมือระหว่าง ประเทศ  และวิสัยทัศน์ส�ำหรับด้านสังคมและวัฒนธรรม  คือ  การยึดม่ันที่จะพัฒนาคุณภาพ ชวี ิตของประชาชน วตั ถุประสงคข์ อง  AIPA ๑. การสร้างความรว่ มมือของรฐั สภาแห่งชาติในอาเซยี นใหใ้ กล้ชิดย่ิงข้นึ ๒. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร  และบูรณาการการท�ำงานของฝ่าย นิตบิ ัญญัติใหเ้ ป็นรูปธรรม ๓. การยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ใกล้ชิด ยง่ิ ขนึ้

46 รัฐสภาสาร  ปที ี ่ ๖๗  ฉบบั ที ่ ๕  เดอื นกันยายน-ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒ ๔. การปรับปรุงโครงสร้างการท�ำงานขององค์กร  เพิ่มช่องทางการท�ำงานร่วมกัน กบั อาเซยี น  โดยการหารอื ระหวา่ งประธาน  AIPA  และประธานคณะกรรมการประจ�ำอาเซยี น ๕. การจัดท�ำกฎหมายในประเด็นท่ีประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน เพ่อื บรรลุเปา้ หมายการจดั ตัง้ ประชาคมอาเซยี น โครงสรา้ งของสมชั ชารฐั สภาอาเซยี น โครงสร้างของสมชั ชารัฐสภาอาเซยี น  ประกอบดว้ ย ๑. สมัชชาใหญ่  (General  Assembly)  สมัชชาใหญ่เป็นองค์กรสูงสุด ของสมัชชารัฐสภาอาเซียน  ท้ังในด้านการบริหารและด้านนโยบาย  ท่ีประชุมสมัชชาใหญ่ ของสมัชชารัฐสภาอาเซียน  ประกอบด้วย  สมาชิกรัฐสภาจากประเทศสมาชิก  AIPA  จ�ำนวน ประเทศละไม่เกิน  ๑๕  คน  โดยมีประธานรัฐสภาหรือผู้ที่ประธานรัฐสภามอบหมาย เป็นหัวหน้าคณะ  สมัชชารัฐสภาอาเซียนจัดประชุมสมัชชาใหญ่อย่างน้อยปีละหน่ึงครั้ง เพ่อื กำ� หนดนโยบายของ AIPA  และพิจารณาเรือ่ งต่าง  ๆ  ทม่ี คี วามสำ� คัญต่ออาเซียน  และ เพื่อเสนอแนะมาตรการด้านรัฐสภาและมาตรการด้านนิติบัญญัติในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา ในอาเซียน  ท้ังน้ี  ประเทศเจ้าภาพการประชุมสมัชชาใหญ่จะหมุนเวียนไปตามล�ำดับอักษร ช่ือประเทศสมาชิก  AIPA  และในปี  ๒๕๖๒  น้ี  ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน  ก�ำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่  ๒๕-๓๐  สิงหาคม ๒๕๖๒  ณ  โรงแรมแชงกรี-ลา  กรงุ เทพฯ    ๒. ประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียน  (President  of  AIPA)  ประธานรัฐสภา ของประเทศท่ีเป็นเจ้าภาพการประชุมสมัชชาใหญ่ในปีนั้นจะด�ำรงต�ำแหน่งประธานสมัชชา รัฐสภาอาเซียน  ซ่ึงประธาน  AIPA  มีวาระการด�ำรงต�ำแหน่ง  ๑  ปี  นับต้ังแต่การสิ้นสุด การประชุมสมัชชาใหญ่ในปีหนึ่งจนถึงการส้ินสุดการประชุมสมัชชาใหญ่ของปีถัดไป  นอกจากน้ี ประธาน  AIPA  ยงั ดำ� รงตำ� แหนง่ ประธานคณะกรรมการบรหิ ารของ  AIPA  และมอี ำ� นาจเรยี ก ประชมุ คณะกรรมการบริหารเมอื่ เหน็ สมควร  และในฐานะตัวแทนขององคก์ ร  ประธาน  AIPA ท�ำหน้าท่ีประสานงานกับรัฐสภาในกลุ่มอาเซียนเพ่ือสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรนิติบัญญัติ และสร้างเสริมบทบาทของสถาบันนิติบัญญัติในกิจการของอาเซียน  โดยในปี  ๒๕๖๒  น ้ี นายชวน  หลีกภัย  ประธานรัฐสภา  ท�ำหน้าท่ีเป็นประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียน  ซึ่งในโอกาส ทปี่ ระเทศไทยเปน็ ประธาน  AIPA  ครง้ั น ้ี จงึ เปน็ โอกาสทไี่ ทยจะได้ผลกั ดันประเด็นความรว่ มมอื ต่าง  ๆ  ทจี่ ะเป็นประโยชนต์ ่อประเทศไทยและภมู ภิ าคตอ่ ไป

รจู้ กั AIPA เขา้ ใจอาเซยี น  47 ๓. คณะกรรมการบริหาร  (The  Executive  Committee)  มีหน้าท่ีกลั่นกรอง ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียนเพ่ือเสนอต่อท่ีประชุมใหญ่ ประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียนอาจเรียกประชุมคณะกรรมการบริหารนอกสมัยประชุมใหญ่ สมัชชารัฐสภาอาเซียนได้เพื่อพิจารณากิจการภายในของสมัชชารัฐสภาอาเซียน  การประชุม คณะกรรมการบรหิ าร  ประกอบดว้ ยประธานสมชั ชารฐั สภาอาเซยี นเปน็ ประธานคณะกรรมการ และสมาชิกรัฐสภาจากประเทศสมาชิกไม่เกินประเทศละ  ๓  คน  โดยหน่ึงในสามคนจะต้อง เป็นประธานรัฐสภาหรือผู้แทน  คณะกรรมการบริหารมีวาระ  ๑  ปี  เช่นเดียวกับวาระ การด�ำรงต�ำแหน่งของประธาน  AIPA หนา้ ที่ของคณะกรรมการบริหารของสมัชชารฐั สภาอาเซียน  มีดงั นี้    ๑) พิจารณาและเสนอแนะการเป็นสมาชิกภาพของรัฐสภาประเทศสมาชิก และการเข้าเปน็ ผูส้ ังเกตการณ์ของสมชั ชารัฐสภาอาเซียน  ตลอดจนพิจารณาบุคคลหรือองค์กร ที่สมชั ชารัฐสภาอาเซยี นจะเชญิ เข้ารว่ มกิจกรรมหรือการประชมุ ขององค์กร      ๒) ริเรม่ิ กจิ กรรมของสมัชชารฐั สภาอาเซยี น    ๓) ติดตามการปฏิบัติตามข้อมติท่ผี ่านการพจิ ารณาจากทป่ี ระชมุ สมัชชาใหญ่    ๔) เตรียมหัวข้อการประชุมและก�ำหนดการที่แต่ละประเทศสมาชิกเสนอเพื่อให ้ ทปี่ ระชุมสมัชชาใหญใ่ หค้ วามเห็นชอบ     ๕) เสนอการจัดต้ังคณะกรรมาธิการสามัญ  คณะกรรมาธิการศึกษาและ คณะกรรมาธกิ ารวิสามญั   เมอื่ มีความจำ� เป็นตอ้ งจดั ตัง้    ๖) ก�ำกับ  ติดตาม  และดูแลควบคุมส�ำนักงานเลขาธิการสมัชชารัฐสภา อาเซียน    ๗) เสนอการแต่งต้ังเจ้าหน้าที่ของส�ำนักงานเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน  และ   ๘) ก�ำหนดข้อบังคบั การประชุมของคณะกรรมการบริหารแต่ละครั้ง ๔. คณะกรรมาธกิ ารสามญั   (The  Standing  Committee)  คณะกรรมาธกิ ารศกึ ษา (The  Study  Committee)  และคณะกรรมาธิการวิสามัญ  (The  Ad-Hoc  Committee) ในการประชุมสมัชชาใหญ่ท่ีจัดขึ้นแต่ละปีจะมีการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญด้านต่าง  ๆ เพื่อกล่นั กรองขอ้ มตเิ สนอให้สมชั ชาใหญ่ใหค้ วามเห็นชอบ  นอกจากน้นั ทปี่ ระชมุ สมัชชาใหญ่ อาจต้ังคณะกรรมาธิการศึกษาและคณะกรรมาธิการวิสามัญข้ึนมาเป็นการเฉพาะคราว เพือ่ ทำ� หนา้ ทีเ่ ป็นการเฉพาะ  โดยศึกษาเรือ่ งใดเรอื่ งหนึง่ ในดา้ นนติ บิ ญั ญัติ การพัฒนาประเทศ และความร่วมมือของประเทศสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเป็นการเฉพาะ  คณะกรรมาธิการท้ังสอง ประเภทนจ้ี ะหมดวาระเมื่อทำ� หน้าทเ่ี สรจ็ สน้ิ

48 รฐั สภาสาร  ปีท่ ี ๖๗  ฉบับที ่ ๕  เดอื นกันยายน-ตลุ าคม  พ.ศ.  ๒๕๖๒    ๕.  ส�ำนักงานเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน  (The  AIPA  Secretariat) ส�ำนักงานเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียนเป็นหน่วยงานจัดการบริหารของสมัชชารัฐสภา อาเซียน  ต้ังอยู่ที่กรุงจาการ์ตา  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  มีเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน เป็นหัวหน้า  ได้รับการแต่งตั้งโดยประธาน  AIPA  โดยความเห็นชอบของท่ีประชุมสมัชชาใหญ่ เลขาธิการ  AIPA  ได้รับคัดสรรตามระบบหมุนเวียน  หากประเทศสมาชิกที่ถึงคราวเสนอช่ือ เลขาธิการไม่สามารถสรรหาผู้เข้ารับต�ำแหน่งได้ให้ประเทศสมาชิกล�ำดับถัดไปเสนอช่ือแทน ทง้ั น ้ี เลขาธกิ าร  AIPA  มวี าระการดำ� รงตำ� แหนง่ คราวละ  ๓  ป ี เลขาธกิ ารสมชั ชารฐั สภาอาเซยี น คนก่อนหน้านี้ของไทย  คือ  นายอิสรา  สุนทรวัฒน์  ซ่ึงด�ำรงต�ำแหน่งมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ป ี ๒๕๕๙  และครบวาระการดำ� รงตำ� แหนง่ ในเดอื นกนั ยายน  ป ี ๒๕๖๒  น ี้ โดยสง่ มอบตำ� แหนง่ เลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียนให้แก่เลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียนจากสาธารณรัฐสังคมนิยม เวยี ดนาม  ซึ่งด�ำรงตำ� แหนง่ ต้งั แต่วันท ่ี ๑  ตลุ าคม  ๒๕๖๒  ถึงวนั ท่ี  ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕     ตามธรรมนญู   AIPA  เลขาธิการ  AIPA  มหี นา้ ทดี่ ังตอ่ ไปนี้     ๑) ก�ำกับดูแลส�ำนักงานเลขาธิการ  AIPA  รับผิดชอบงานท่ีได้รับมอบหมาย จากสมัชชาใหญ ่ คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมาธกิ ารทัง้ หมดของ  AIPA    ๒) สนบั สนุนประธาน  AIPA  บริหารงานของคณะกรรมการบริหารและสมชั ชาใหญ่    ๓) ส่งข้อมติและการตัดสินใจของสมัชชาใหญ่ให้แก่ประเทศสมาชิกเพ่ือรับทราบ และปฏบิ ัติตาม    ๔) เป็นตัวแทนของ  AIPA  ในฐานะผู้สังเกตการณ์ในการประชุมรัฐสภาระหว่าง ประเทศ    ๕) ท�ำหน้าท่ีในการเชื่อมและติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการระหว่าง  AIPA กับอาเซียน  และกับองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรระดับภูมิภาคอ่ืน  ๆ  รวมทั้งรัฐบาล และรฐั สภาประเทศตา่ ง  ๆ     ๖) เตรียมประมาณการงบประมาณประจ�ำปีของส�ำนักงานเลขาธิการ  AIPA รายงานประจ�ำปีซ่ึงรวมถึงรายงานการเงิน  และน�ำเสนอรายงานดังกล่าวต่อสมัชชาใหญ ่ ผา่ นทางคณะกรรมการบรหิ ารเพอ่ื ขอความเห็นชอบ     ๗) บริหารงบประมาณของ  AIPA  และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณตาม ท่ไี ดร้ ับอนมุ ตั ิจากสมัชชาใหญ่ ๘) ปฏิบัติหน้าท่ีอ่ืน  ๆ  ตามท่ีได้รับมอบหมายจากประธาน  AIPA  คณะกรรมการ บรหิ ารและสมัชชาใหญ่    ๙) แตง่ ตัง้ เจ้าหน้าทปี่ ระจ�ำส�ำนกั งานเลขาธกิ าร  AIPA


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook