Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แบบฝึกหัดที่2

แบบฝึกหัดที่2

Published by jidapakib, 2023-07-25 18:01:15

Description: แบบฝึกหัดที่2

Search

Read the Text Version

Lesson on Computer tools And Equipment NAPASSAWAN PHATEEPUSANON 108 JIDAPA SONGKROARAJ 123

ความหมายของ อุปกรณ์ ฮคาอรม์ดพิแววเรต์อร์ ฮาร์ดแวร์ หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ สามารถมองเห็นและจับต้องได้เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอ คอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบด้วย อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ได้ กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องสแกน เนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสา รอื่นๆ ดังนั้น ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่ง ตาม หน้าที่การทำงานของเครื่องได้ การทำงานของ หน่วยรับข้อมูล หน่วยรับข้อมูล เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรม และ ข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็น ส่ ว น ใ ห ญ

อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ของ หน่วยรับข้อมูล แป้นพิมพ์ จะรับข้อมูลจากกดแป้น แล้วทำการเปลี่ยนเป็น รหัสสัญญาณทาง ไฟฟ้าเพื่อส่งเข้าไปในหน่วยประมวล ผ ล ข อ ง เ ค รื่ อ ง เมาส์ (MOUSE) ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนเมาส์ ที่จอภาพจะปรากฏเป็นลูกศร เรียน กว่าตัวชี้เมาส์ (MOUSE POINTER) เคลื่อนที่ไปมาบนจอภาพในทิศทางเดียวกันกับที่ผู้ใช้ เมาส์เลื่อนไป เมื่อตัวชี้เมาส์เลื่อนออกไปอยู่ยังตำแหน่งที่ ต้องการ ให้ผู้ใช้กดปุ่มด้านซ้าย ที่อยู่บนตัวเมาส์ (คลิก) เพื่อเลือกรายการนั้น ๆ ขึ้นมา ตัวเลื่อนเมาส์พอยท์เตอร์แบบสัมผัส เป็นอุปกรณ์นำเข้า ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋า หิ้ว (NOTE BOOK) ซึ่งใช้งานแทนเมาส์ มีลักษณะ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ด้านล่างมีปุ่มอยู่ 2 ปุ่ม ทำหน้าที่เหมือนกับปุ่มซ้ายและขวา ของเมาส์ สามารถเลื่อนเมาส์พอยท์เตอร์ได้โดยการ สัมผัสที่แผ่นสี่เหลี่ยม จอยสติก เป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลงและซ้ายขวา เพื่อย้าย ตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ หลักการ ทำงานเช่นเดียวกับเมาส์แต่ต่างกันตรงมี แป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือควบคุมหุ่นยนต์

เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี เป็น เครื่องอ่านความถี่คลื่นวิทยุซึ่ง จะ อ่านข้อมูลจากไมโครงชิปอาร์เอฟ ไอดีที่ฝังอยู่ในอุปกรณ์หรือสิ่งต่าง ๆ เช่น สินค้า ใบขับขี่ บัตรประชาชน เป็นต้น ในชิปอาร์เอฟไอดีจะมีการ บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ใน รูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ กล้องถ่ายภาพดิจิทัล เป็นอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับถ่ายภาพ แบบไม่ต้องใช้ ฟิล์ม ภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุด เล็ก ๆ จำนวนมาก และสามารถ นำ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน ได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ สแกนเนอ ร์อีก เป็น อุปกรณ์ที่เริ่มได้รับความ นิยมเพิ่มขึ้นแทนที่กล้องฟิล์มแบบ เดิมเนื่องจากสามารถถ่ายดู ผลลัพธ์ได้ทันที อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์รับ ข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยจะ ทำการแปลงสัญญาณเสียง เป็น สัญญาณดิจิKทัลแล้วจึง ส่งไปยังคอมพิวเตอร์

จอภาพระบบสัมผัส เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียง แตะปลายนิ่วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้เพื่อ เลือก การทำงานที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางใดและสั่งให้ทำงานตามนั้น จอภาพ ระบบสัมผัสนี้ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก สมาร์ทโฟนหรือแท็บแล็ต สไตลัส เป็นปากกาที่ใช้กับแท็บแล็ตและอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ซึ่งใช้แรงกดในการวาดบนหน้าจอ สามารถ ใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์รู้จำลายมือ เพื่อแปลงจากลายมือที่วาดหรือเขียนให้อยู่ใน รูปแบบที่หน่วยระบบสามารถ ประมวลผลได้ ปากการแสง ใช้เซลล์แบบซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกำหนด ตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาด ลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบน จอภาพ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบน จอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ เครื่องอ่านภาพ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือ เครื่องอ่านแทบสี ทำหน้าที่อ่านรหัสที่มี สแกนข้อมูลบน เอกสารเข้าสู่เครื่อง ลักษณะเป็น แถบสีขาวสลับดำ (BAR- คอมพิวเตอร์ใช้วิธีส่องแสงไปยังวัตถุที่ CODE) ที่นิยมกันมากคือ UPC ต้องการสแกน แสงที่ส่องไป ยังวัตถุแล้ว (UNIVERSAL PRODUCT CODE) เป็น สะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่เซลล์ไว รหัสที่ติดอยู่บนห่อสินค้าทั่วไป เครื่อง แสง ปัจจุบันสแกนเนอร์ที่นิยมมากที่สุด คือ อ่านแถบสีจะทำการอ่านแถบรหัสบน เครื่องสแกนเนอร์แบบแท่น สินค้า แล้วแปลเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไป ยังเครื่องคอมพิวเตอร์

การทำงานของหน่วยประมวล ผลกลาง หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : CENTRAL PROCESSING UNIT) จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงาน ของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยนำข้อมูล จากอุปกรณ์รับข้อมูลมาทำการประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งของ โปรแกรมและส่ง ผลลัพธ์ที่ได้ออกไปที่หน่วยแสดงผลในรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจ หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบขึ้นมา จากวงจรอิเล็กทรอนิกส์อยู่ 2 ส่วน คือ -หน่วยคำนวณและตรรกะ (ARITHMETIC AND LOGICAL UNIT : ALU) -ส่วนควบคุม (CONTROL UNIT) หน่วยคำนวณและตรรกะ (ARITHMETIC AND LOGICAL UNIT : ALU) ทำ หน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ใน เครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณ ทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร มีความสามารถอีก อย่างหนึ่งที่เครื่อง คำนวณธรรมดาไม่มีคือความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ ส่วนควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการ ประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และ หน่วยความจำสำรองด้วย หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำหลัก (MAIN MEMORY) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ระหว่างการ ประมวลผลของคอมพิวเตอร์หรือในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งาน บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วย เก็บข้อมูลหลัก (PRIMARY STORAGE) หน่วยความจำหลักจะทำงานควบคู่ไปกับซีพียูและช่วยให้การ ทำงานของซีพียูมีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยวงรอบการทำงานของซีพียูนั้นทำงานเร็วมาก หากไม่มีที่เก็บ หรือพักข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่มีขนาดเพียงพอ จะทำให้การประมวลผลช้าลง หน่วย ความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ROM RAM หน่วยความจำสำรอง หน่วยความจำรอง (SECONDARY STORAGE) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูล และคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำแรมขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของ โปรแกรมประยุกต์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ภายหลังซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุ ข้อมูลมากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำแรม

Rom รอม (ROM : READ ONLY MEMORY) เป็นหน่วยความจำที่ ได้รับการบรรจุข้อมูลไว้ภายในก่อนแล้ว โดยทั่วไปแล้วรอมจะถูกอ่านอย่างเดียวเท่านั้น จะเก็บค าสั่งที่ใช้อยู่เป็นประจำและคำสั่งเฉพาะโปรแกรม ที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป เรียกว่า นอน-โวลาไทล์ (NON- VOLATILE MEMORY) คือข้อมูลจะไม่หายไปเมื่อปิดเครื่อง ในหน่วยความจ าหลักที่เป็นประเภท ของ ROM มีอีก 3 อย่างคือ PROM (PROGRAMMABLE READ ONLY MENORY) PROM เป็น ROM ชนิดที่ยังไม่มีการบันทึก โปรแกรมใด มาจากผู้ผลิต EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ ONLY MEMORY) EPROM มีลักษณะคล้าย ROM มาก แต่สามารถลบข้อมูลได้หลายครั้ง โดยการใช้แสง อัลตราไวโอเลต (UV) หลังจากลบ ข้อมูลแล้วสามารถลงโปรแกรมได้ -EEPROM (ELECTRONIC ERASABLE PROGRAMMABLE READ ONLY MEMORY) มีลักษณะคล้ายกับ EPROM ซึ่งสามารถเขียนและลบโปรแกรมที่ถูกจัด เก็บ ภายในหน่วยความจำได้โดยการใช้กระแสไฟฟ้า Ram RAM ย่อมาจาก (RANDOM ACCESS MEMORY) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มี กระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่ เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (INPUT) หรือ การนำออกข้อมูล (OUTPUT) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1. INPUT STORAGE AREA เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้ จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป 2. WORKING STORAGE AREA เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล 3. OUTPUT STORAGE AREA เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการ ของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ 4. PROGRAM STORAGE AREA เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละ คำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุม ฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

ยกตัวอย่างอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ในหน่วยแสดงผล พร้อมบอกหน้าที่การทำงาน ของอุปกรณ์เหล่านั้น อุปกรณ์ฉายภาพ (PROJECTOR) เป็น อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน หรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำ เสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน ในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่ สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ โดยตรง หรือ ใช้อุปกรณ์พิเศษในการ วางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OVERHEAD PROJECTOR) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส่แผ่น หนึ่ง OUTPUT UNIT หน่วยแสดงผล (OUTPUT UNIT) แบ่งเป็น 2 ประเภท 4.1 อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว หมายถึงอุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์ แก่ผู้ใช้ในระยะเวลา หนึ่งไม่สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ เช่น จอภาพ เป็นต้น 4.2 อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์แบบถาวร หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์ ที่สามารถเก็บไว้เป็น หลักฐานได้ต่อ ๆ ไปในอนาคต เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook