Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Thai shrimp

Thai shrimp

Description: Thai shrimp

Search

Read the Text Version

ขกาอวงตกอไุงปไทย หลังวิกฤตโรคตายดวน สำนักงานพฒั นาการวิจัยการเกษตร (องคก ารมหาชน)

ขกอา้ งวกตุ้ง่อไทไปย หลังวิกฤตโรคตายดว่ น

ก้าวต่อไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายดว่ น จัดท�ำโดย สำ� นกั ส่งเสริมการใชป้ ระโยชน์ ส�ำนักงานพฒั นาการวิจยั การเกษตร (องคก์ ารมหาชน) 2003/61 ถนนพหลโยธนิ แขวงลาดยาว เขตจตจุ กั ร กรงุ เทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2579 7435 โทรสาร : 0 2579 7693 พิมพ์ครัง้ ท่ี 1 : กมุ ภาพันธ์ 2559 จ�ำนวนหน้า : 96 หน้า จำ� นวน : 1,000 เลม่ พิมพ์ที่ : หจก. ภาพพิมพ์ ISBN : 978-616-91805-5-5 สาํ นกั งานพฒั นาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศพั ท์ : 0 2579 7435 โทรสาร : 0 2579 7693

5ก้าวตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

คำ� นำ� หนังสือ “ก้าวต่อไปของกุ้งไทยหลังวิกฤตโรคตายด่วน” เล่มนี้ได้จากการ สังเคราะห์ผลงานวิจัยเก่ียวกับโรคตายด่วนในกุ้งและการจัดการฟาร์มเล้ียงกุ้ง ซึ่ง สวก. ได้ให้การสนับสนุน อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2556 ซึ่งเป็นช่วงท ี่ เกษตรกรประสบภาวะโรคกุ้งตายด่วนระบาดทั่วประเทศ งานวิจัยในช่วงแรกเน้น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าซ่ึงได้แนวปฏิบัติในภาวะท่ีเกิดโรคตายด่วนระบาดรุนแรง ต่อมาได้ศึกษาเชิงลึกถึงสาเหตุของโรคตายด่วน ท�ำให้ได้มาตรการในการป้องกัน และแนวทางการรักษาในอนาคต นอกจากน้ีผลงานวิจัยยังได้เสนอแนวทางของ การเล้ียงกุ้งอย่างเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อมซ่ึงจะช่วยทั้งลดต้นทุนการผลิต ปลอดโรค สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นที่เช่ือมั่นในตลาดโลก ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเชิง นโยบายในการจัดการเชิงระบบ

สวก. ขอขอบคุณคณะนักวิจัย ท้งั จากกรมประมง มหาวทิ ยาลยั มหิดล และ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ทไี่ ดท้ มุ่ เททำ� งานวจิ ยั อยา่ งเตม็ กำ� ลงั ความสามารถ และ เกาะติดสถานการณ์ปัญหามาอย่างต่อเน่ือง สวก. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเผยแพร่ องค์ความรู้จากเอกสารเล่มนี้จะช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมกุ้งไทยให้กลับมาเป็นผู้น�ำ ในการสง่ ออกสนิ คา้ กุ้งอันดบั หนึ่งของโลกได้อกี ครงั้ ซึง่ เคยผลติ ไดถ้ งึ 500,000 ตนั ตอ่ ปี วกิ ฤตอิ เี อม็ เอสในครง้ั นถี้ อื เปน็ โอกาสปรบั ตวั ของอตุ สาหกรรมกงุ้ ไทยทง้ั ระบบ ด้วยความร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างจริงจังของภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาควิชาการ เพื่อให้อุตสาหกรรมการเพาะเล้ียงกุ้งของประเทศไทยมีความมั่นคง และเป็นผนู้ �ำในการผลิตและการสง่ ออกสินค้ากุ้งในระดบั โลกและภูมิภาคอาเซยี น รองผู้อ�ำนวยการสำ� นักงานพัฒนาการวจิ ัยการเกษตร รกั ษาการแทน ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร 7กา้ วตอ่ ไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

สารบญั 1. ทิศทางและแนวโนม้ การผลติ กงุ้ ไทย 8 1.1 สถานการณ์ก้งุ ไทยหลังวิกฤตโรคตายด่วน 8 1.2 ปัจจัยเส่ียงที่มีผลกระทบต่อการผลิต การตลาด และการสง่ ออก 10 2. โรคตายด่วนในฟาร์มเลีย้ งกงุ้ 22 2.1 สาเหตุของโรคตายด่วนในการเพาะเลย้ี งกงุ้ 22 2.2 การกระจายตวั ของปัญหาโรคตายด่วนในพืน้ ที่เลีย้ งกุ้งของไทย 24 2.3 แนวทางป้องกนั และรกั ษาโรคกุ้งตายดว่ น 26 3. เลี้ยงก้งุ ให้สำ� เร็จในภาวะโรคตายด่วนระบาดรุนแรง 32 3.1 ปัจจยั เสย่ี งท่กี ่อใหเ้ กิดโรคตายด่วนในฟารม์ เลี้ยงกุ้ง 32 3.2 แนวทางการจดั การเพ่ือลดความเส่ยี งการเกดิ โรคก้งุ ตายดว่ น 40 4. แนวทางการเลีย้ งกงุ้ อยา่ งย่ังยนื 52 4.1 การเพ่มิ ประสทิ ธิภาพการใหอ้ าหาร 53 4.2 การลดการใชพ้ ลงั งานในฟาร์มเลีย้ งก้งุ 59 4.3 การจดั การกา๊ ซเรอื นกระจกและน้�ำทง้ิ จากฟารม์ เลี้ยงกงุ้ 65 5. ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบายเพอื่ แก้ไขปญั หาโรคกงุ้ ตายดว่ นอยา่ ง 76 เปน็ ระบบและยัง่ ยนื 5.1 การควบคุม ปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หาโรคกุ้งตายดว่ น 76 อยา่ งเป็นระบบ 5.2 การเล้ียงกงุ้ อย่างยั่งยืนและเสริมศักยภาพการแขง่ ขัน 81 6. เอกสารอา้ งองิ 86 7. รายชอื่ โครงการวิจัยดา้ นการแกป้ ญั หาโรคกงุ้ ตายดว่ นและ 90 การจัดการคาร์บอนในฟารม์ เลย้ี งก้งุ ภายใต้การสนบั สนนุ ของ ส�ำนักงานพฒั นาการวจิ ยั การเกษตร

9ก้าวตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

บทท่ี 1 ทิศทางและแนวโน้ม การผลติ กุ้งไทย 1.1 สถานการณก์ ้งุ ไทยหลงั วกิ ฤตโรคตายดว่ น อุตสาหกรรมการเพาะเล้ียงกุ้งทะเลท้ังกุ้งกุลาด�ำและกุ้งขาวแวนนาไม ในประเทศไทยมีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นอุตสาหกรรมส�ำคัญ ท่ีน�ำรายได้เข้าประเทศปีละเกือบแสนล้านบาท ข้อมูลจากสมาคมกุ้งไทยระบุว่า ในปี 2554 ประเทศไทยสามารถผลติ กงุ้ ได้ปรมิ าณสูงสดุ ถึง 611,194 ตนั แต่โดย เฉล่ียผลผลิตกุ้งทะเลอยู่ที่ปีละประมาณ 500,000 ตัน ท้ังน้ีสืบเนื่องมาจาก เทคโนโลยตี า่ งๆ ในการเพาะเลย้ี งกงุ้ มกี ารพฒั นาอยา่ งตอ่ เนอื่ งทำ� ใหไ้ ดผ้ ลผลติ สงู ขนึ้ ในขณะเดียวกนั กส็ ง่ ผลใหเ้ กดิ ปัญหาการตายของกุ้งจากโรคระบาดเพ่มิ มากขน้ึ ด้วย ในปี 2558 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรไดร้ ายงานสถานการณก์ ารผลติ กุง้ จากการเพาะเลยี้ งทงั้ หมดของไทยในชว่ ง 5 ปที ผี่ า่ นมา (2554-2558) พบวา่ มแี นวโนม้ ลดลงร้อยละ 23.38 ต่อปี (ตารางท่ี 1.1) เนื่องจากเม่ือปลายปี 2554 ผลผลิต กุ้งของไทยประสบปัญหาโรคกุ้งตายด่วน หรือ EMS ท�ำให้ผลผลิตกุ้งลดลงจาก ภาวะปกติอยา่ งมาก ภาครัฐโดยกรมประมงรว่ มกับภาคเอกชนสามารถแกไ้ ขปัญหา และควบคมุ การระบาดของโรคตายดว่ นไดใ้ นระดบั หนง่ึ ถงึ แมส้ ถานการณก์ ารเลยี้ ง ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ แต่พบแนวโน้มท่ีดีขึ้น โดยในปี 2558 มีปริมาณผลผลิตกุ้ง 250,000 ตนั เพ่มิ ข้นึ จาก 217,438 ในปี 2557 ร้อยละ 14.97 และมเี กษตรกร บางสว่ นปรบั ตวั ในการเลยี้ งกงุ้ ไดด้ ขี นึ้ โดยการเปลย่ี นจากการเลยี้ งกงุ้ ขาวแวนนาไม

ไปเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำมากข้ึน โดยเฉพาะพื้นท่ีเล้ียงในแถบฝั่งทะเลอันดามัน ส�ำหรับ ภาพรวมของประเทศไทยมสี ดั สว่ นการเลยี้ งกงุ้ ขาวแวนนาไมรอ้ ยละ 96 และสดั สว่ น การเลย้ี งก้งุ กุลาดำ� รอ้ ยละ 4 ของผลผลิตกุง้ ทะเลจากการเพาะเลีย้ งทัง้ หมด ส�ำหรบั ภาพรวมการเพาะเล้ียงกุ้งของโลกในช่วงปี 2554-2558 มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน และในปี 2558 ประมาณการว่ามีปริมาณผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของโลก เพิ่มข้ึนร้อยละ 8.46 เมื่อเทียบกับปี 2557 เน่ืองจากประเทศผู้ผลิตหลัก ได้แก ่ เอกวาดอว์ ไทย และอินโดนีเซีย ยังคงขยายการผลิตจากราคากุ้งที่อยู่ในเกณฑ์สูง ในปี 2557 จงึ จงู ใจใหเ้ กษตรกรมีการเลีย้ งมากขนึ้ แมบ้ างประเทศยงั ประสบปัญหา โรคระบาด เช่น อินเดียประสบปัญหาจากโรคไมโครสปอริเดียน ส่วนเวียดนาม และไทยยงั คงประสบปญั หาโรคตายดว่ น (EMS) โดยผลผลติ สว่ นใหญม่ าจากประเทศ ในแถบเอเชีย ในปี 2559 สำ� นกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรคาดวา่ ผลผลติ กงุ้ จากการเพาะเลยี้ ง ของไทยจะมีปริมาณ 300,000 ตัน เพ่ิมขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2558 โดยภาครฐั ไดพ้ ยายามแกไ้ ขปญั หาเรอ่ื งโรคกงุ้ มาอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง โดยเฉพาะการพฒั นา สายพันธุ์และด�ำเนินการฝึกอบรมเพ่ือให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึงมากย่ิงข้ึน ประกอบกับการด�ำเนินงานตามโครงการรวมพลังยับยั้ง EMS ของกรมประมง ซึ่ง มีการน�ำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งและผลิตลูกพันธุ์กุ้งคุณภาพจ�ำหน่ายให้กับเกษตรกรใน ราคาถูก นอกจากนี้ยังมีการตรวจคัดกรองโรคให้กับโรงเพาะฟักและเกษตรกร ผเู้ พาะเลย้ี ง เพอื่ สรา้ งความเชอ่ื มน่ั ใหเ้ กษตรกรในการกลบั มาทำ� การเลยี้ งกงุ้ ตามปกติ ตอ่ ไป ในขณะที่สถานการณก์ ารผลิตกงุ้ ในภาพรวมของโลกยงั คงลดลงเมือ่ เทยี บกับ ปี 2558 เนอื่ งจากประเทศผเู้ ลีย้ งหลัก เช่น อนิ เดยี อนิ โดนีเซีย เร่ิมประสบปัญหา การระบาดของโรคชว่ งปลายปี 2558 และคาดวา่ จะเผชญิ กบั โรคตอ่ เนอื่ งในปี 2559 ขณะทไ่ี ทยมกี ารปรบั ตวั และบรหิ ารจดั การการเลยี้ งไดด้ ขี นึ้ ทำ� ใหผ้ ลผลติ มแี นวโนม้ เพมิ่ ข้นึ (สำ� นักงานเศรษฐกจิ การเกษตร, 2558) 11กา้ วตอ่ ไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ตารางที่ 1.1 ผลผลติ ก้งุ จากการเพาะเลีย้ งของโลก ปี 2554-2559 หนว่ ย: พันตนั อตั ราเพมิ่ ประเทศ/ปี 2554 2555 2556 2557* 2558* (ร้อยละ) 2559* เอกวาดอว์ 178 208 213 278 321 15.83 345 เวยี ดนาม 240 170 240 400 320 15.38 300 อินเดีย 170 190 300 350 280 17.45 270 ไทย 600 540 256 217 250 -23.38 300 จีน 565 450 300 270 250 -19.28 230 อนิ โดนีเซีย 150 105 180 225 230 17.55 220 ประเทศอ่นื ๆ 414 361 356 270 529 2.02 450 รวม 2,317 2,024 1,845 2,010 2,180 -1.28 2,115 หมายเหตุ: * ประมาณการ ทีม่ า: สมาคมกงุ้ ไทย 1.2 ปัจจยั เส่ยี งท่มี ีผลกระทบต่อการผลิต การตลาด และการสง่ ออก ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้วิเคราะห์ว่า ในปี 2559 การเพาะเล้ียงกุ้ง ของไทยยังคงมีปัญหาจากโรคตายด่วนในบางพื้นท่ี แต่เกษตรกรเริ่มมีการปรับตัว และมีการจัดการฟาร์มเลี้ยงได้ดีข้ึน ท�ำให้สถานการณ์การผลิตกุ้งเริ่มฟื้นตัว และ มีปริมาณผลผลิตกุ้งเพ่ิมข้ึนในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือของภาครัฐ และภาคเอกชนในการจัดการตง้ั แตก่ ารผลติ พ่อแม่พันธุก์ งุ้ คณุ ภาพ การสง่ เสรมิ การ ใช้หัวเช้ือจุลินทรยี ์ ปม.1 และการตรวจคดั กรองโรคอย่างต่อเนื่อง ซ่งึ การตรวจพบ เชอื้ ทกี่ อ่ โรคมแี นวโนม้ ลดลง ทำ� ใหเ้ กษตรกรมน่ั ใจในการลงกงุ้ มากขนึ้ อยา่ งไรกต็ าม เกษตรกรควรมกี ารปรบั ตวั เพอื่ ใหก้ ารเลย้ี งมคี วามยงั่ ยนื เชน่ การปรบั ปรงุ ฟารม์ เลย้ี ง ให้มบี ่อพักน้�ำ การนำ� น�ำ้ กลบั มาใช้เพอ่ื ใหก้ ารผลิตเปน็ มิตรกบั สิ่งแวดลอ้ ม

ในส่วนของการตลาดและการส่งออกกุ้งของไทยยังต้องเผชิญกับปัญหา กีดกันทางการค้าท้ังในเรื่องท่ีไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) และปัญหา การท�ำประมงท่ีผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) จากกลมุ่ สหภาพยโุ รป ทำ� ใหก้ ารสง่ ออกของไทยลดลงทง้ั ปรมิ าณและมลู คา่ หากไทย ไมส่ ามารถแก้ปัญหาได้ อาจท�ำให้ไทยสูญเสียตลาดในภมู ภิ าคน้ใี หก้ บั คู่แขง่ อ่นื นอกจากนี้ หากสหรฐั อเมรกิ ามกี ารนำ� กฎหมายเกยี่ วกบั การคา้ ระหวา่ งประเทศ เพื่อขจดั การทำ� ประมงท่ผี ดิ กฎหมาย (Presidential Task force on Combating IUU Fishing) ซงึ่ คาดวา่ จะบงั คบั ใชไ้ ดใ้ นปี 2559 ซง่ึ จะครอบคลมุ การจบั (catcher) ไปถึงการเพาะเล้ียงสัตว์น้�ำ (aquaculture) และการปิดฉลากต้องถูกตรวจสอบ ยอ้ นกลบั ไปถงึ ประเทศตน้ ทางใหร้ ว่ มรบั ผดิ ชอบดว้ ย โดยสหรฐั ฯ จะมกี ารตรวจสอบ ยอ้ นกลบั ตลอดหว่ งโซก่ ารผลติ (supply chain) ของแหลง่ วตั ถดุ บิ กฎหมายดงั กลา่ ว จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเล้ียงและการส่งออกกุ้งของไทยท้ังระบบ เนอื่ งจากสหรัฐฯ ถือเป็นตลาดสง่ ออกหลกั ของไทย การเตรียมความพรอ้ มของไทย ควรเร่งปรับโครงสร้างการผลติ กุ้งท้ังระบบใหส้ ามารถตรวจสอบย้อนกลบั ได้ เพื่อให ้ เกิดการเลี้ยงที่ยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในทุกตลาด (ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร, 2558) 13ก้าวต่อไปของก้งุ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ตารางท่ี 1.2 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งในตลาดโลกแยกตาม ประเทศผู้ส่งออก ปี 2554-2559 ประเทศ 2554 2555 2556 ปรมิ าณ มลู คา่ ปริมาณ มลู ค่า ปรมิ าณ มูลคา่ อินเดยี 240 1,581.42 280 1,742.42 253 2,569.56 เอกวาดอร์ 188 1,183.81 210 1,288.54 226 1,821.05 อนิ โดนีเซยี 152 1,285.90 148 1,235.39 152 1,582.11 จนี 305 2,188.98 274 2,253.41 270 2,538.72 ไทย 392 3,484.61 352 3,104.72 213 2,252.75 ประเทศอื่นๆ 877 5,961.21 891 5,497.72 1,098 6,142.22 รวม 2,154 15,685.93 2,155 15,122.20 2,212 16,906.41

ปริมาณ: พันตัน มลู ค่า: ลา้ นเหรียญสหรฐั ฯ 2557 2558* อัตราเพ่ิม 2559* ปรมิ าณ มูลค่า ปรมิ าณ มลู คา่ (รอ้ ยละ) ปรมิ าณ มลู ค่า ปรมิ าณ มูลค่า 347 3,721.51 389 3,352.41 12.53 25.38 400 3,500.00 300 2,599.46 350 2,312.12 17.35 22.64 385 2,450.00 181 2,039.30 201 2,257.50 7.90 17.67 210 2,400.00 233 2,555.18 190 1,998.87 -10.49 -0.56 200 2,100.00 167 2,002.03 171 1,935.48 -21.37 -14.91 195 2,145.00 1,009 6,871.22 980 8,249.45 3.52 9.12 910 8,405.00 2,237 19,788.70 2,281 20,105.83 1.53 7.95 2,300 21,000.00 หมายเหต:ุ * ประมาณการ กุ้ง หมายถึง กุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาด�ำ กุ้งก้ามกราม และกุ้งอ่ืนๆ ภายใต้พิกัด ศุลกากรในระดับ 6 หลกั (Digit) ไดแ้ ก่ 030613 030623 และ 160520 ตามรหัส HS.2007 (ปี 2007-2011) และภายใตพ้ ิกัดศลุ กากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ตามรหสั HS.2012 (ปี 2012-2016) ที่มา: Global Trade Information Service, September 2015 15กา้ วต่อไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ตารางที่ 1.3 ปริมาณและมูลค่าการน�ำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกา ปี 2554-2559 ประเทศ 2554 2555 2556 อนิ โดนีเซีย ปริมาณ มลู ค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า อินเดีย เอกวาดอว์ 70 695.10 74 658.82 81 909.27 เวียดนาม 48 523.90 66 575.02 94 1,043.53 ไทย 74 531.02 81 559.90 74 654.86 เมก็ ซิโก 45 521.15 41 448.08 60 729.08 จีน 186 1,718.95 136 1,203.40 84 906.49 มาเลเซีย 31 290.94 26 256.15 18 263.97 43 289.79 36 228.51 32 238.63 ประเทศอ่นื ๆ 29 209.45 23 171.00 10 79.52 รวม 51 385.39 52 364.09 56 487.27 577 5,165.69 535 4,464.97 509 5,312.62

ปริมาณ: พนั ตนั มลู ค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ 2557 2558* อัตราเพ่ิม 2559* ปรมิ าณ มลู ค่า ปริมาณ มูลคา่ (รอ้ ยละ) ปรมิ าณ มูลคา่ ปริมาณ มลู คา่ 103 1,319.33 120 1,195.09 15.13 19.46 134 1,335.49 109 1,382.65 108 1,032.18 23.66 25.03 105 1,003.51 92 901.42 86 639.30 4.37 8.84 97 721.08 74 1,005.49 51 573.20 8.77 10.50 58 651.87 65 814.74 41 786.72 -31.36 -17.74 42 805.91 20 300.78 38 519.11 1.46 14.09 27 368.84 32 271.36 26 179.81 -10.63 -7.53 24 165.98 18 180.57 14 126.35 -15.65 -9.12 15 135.38 56 527.39 96 461.52 14.33 7.59 92 411.95 569 6,703.73 580 5,514.15 0.72 5.52 594 5,600.00 หมายเหตุ: * ประมาณการ กงุ้ หมายถึง กงุ้ ขาวแวนนาไม กงุ้ กุลาด�ำ ก้งุ น�ำ้ เยน็ และกงุ้ อ่นื ๆ ไม่รวมก้งุ กา้ มกราม ทีอ่ ยู่ภายใตพ้ กิ ัดศลุ กากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ในระดับ 11 หลกั (Digit) ตามรหัส HS.2012 (ปี 2012-2016) ที่มา: Global Trade Information Service, September 2015 17กา้ วต่อไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ตารางที่ 1.4 ปริมาณและมูลค่าการน�ำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของสหภาพยุโรป ป ี 25 54- 2559 ประเทศ 2554 2555 2556 อินเดีย ปริมาณ มูลคา่ ปรมิ าณ มลู ค่า ปริมาณ มลู ค่า เอกวาดอว์ เวยี ดนาม 56 422.89 58 413.63 64 510.24 กรีนแลนด์ 90 588.63 88 549.75 81 625.66 บงั คลาเทศ 42 366.57 32 271.71 34 320.38 66 286.23 40 132.23 39 136.01 จีน 37 352.08 37 322.17 37 358.80 แคนาดา 38 214.51 35 197.76 36 194.98 อินโดนเี ซยี 26 212.20 28 230.17 35 267.85 17 168.00 10 93.85 11 122.45 ไทย 59 536.78 51 468.36 29 332.87 ประเทศอ่นื ๆ 178 1,522.53 166 1,357.60 165 1,454.95 611 4,670.42 545 4,037.23 534 4,324.19 รวม

ปริมาณ: พนั ตัน มูลค่า: ลา้ นเหรยี ญสหรฐั ฯ 2557 2558* อตั ราเพิม่ 2559* ปรมิ าณ มูลค่า (รอ้ ยละ) ปรมิ าณ มูลค่า ปริมาณ มลู คา่ ปรมิ าณ มูลคา่ 94 911.02 87 717.71 14.61 20.29 84 690.00 93 816.65 83 599.00 -1.06 4.40 84 600.00 43 472.67 51 528.67 7.08 13.72 49 500.00 54 248.74 44 212.50 -4.98 0.36 41 190.00 40 483.50 40 468.62 2.37 10.27 41 480.00 29 177.49 40 238.17 -0.85 1.02 35 210.00 34 308.25 37 340.85 9.41 13.20 41 380.00 15 183.17 13 141.84 -1.30 3.36 12 130.00 14 205.81 8 112.68 -41.07 -32.59 7 100.00 184 1,704.23 178 1,440.90 1.03 1.18 186 1,420.00 601 5,511.53 581 4,800.94 -0.03 3.73 580 4,700.00 หมายเหต:ุ * ประมาณการ กุ้ง หมายถงึ ก้งุ ขาวแวนนาไม กงุ้ กลุ าดำ� ก้งุ นำ�้ เย็น และก้งุ อน่ื ๆ ไม่รวมกุ้งก้ามกราม ที่อยูภ่ ายใตพ้ กิ ัดศลุ กากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ในระดบั 11 หลกั (Digit) ตามรหสั HS.2012 (ปี 2012-2016) ท่มี า: Global Trade Information Service, September 2015 19ก้าวตอ่ ไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ตารางที่ 1.5 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและการน�ำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของ ประเทศไทย ปี 2554-2559 ประเทศ 2554 2555 2556 ปรมิ าณ มูลค่า ปรมิ าณ มูลคา่ ปรมิ าณ มลู คา่ สง่ ออก 392 110,031.42 349 95,751.30 211 68,790.56 กุ้งแช่เย็นแช่แขง็ 201 52,235.51 184 45,605.48 97 29,470.56 กงุ้ แปรรูป 191 57,795.91 165 50,145.82 113 39,320.00 นำ� เขา้ 30 1,408.71 25 2,036.28 24 3,134.33 กุ้งแชเ่ ย็นแชแ่ ข็ง 20 1,284.17 18 1,944.67 21 3,093.19 10 124.54 7 91.61 3 41.14 ก้งุ แปรรปู

ปริมาณ: พันตนั มูลคา่ : ล้านบาท 2557 2558* อตั ราเพม่ิ 2559* (รอ้ ยละ) ปรมิ าณ มูลค่า ปรมิ าณ มูลคา่ ปรมิ าณ มูลค่า ปริมาณ มูลคา่ 165 64,342.93 171 57,818.31 -21.40 -15.50 195 65,000.00 80 29,185.35 82 24,859.47 -23.10 -17.56 95 29,000.00 85 35,157.58 89 32,958.84 -19.67 -13.74 100 36,000.00 24 3,749.15 26 3,605.69 -3.22 28.27 23 3,335.00 20 3,689.66 21 3,544.85 2.05 30.62 20 3,300.00 4 59.49 5 60.84 -17.68 -17.01 3 35.00 หมายเหต:ุ * ประมาณการ ก้งุ หมายถงึ กงุ้ ขาวแวนนาไม กุง้ กุลาดำ� กุ้งนำ�้ เยน็ และกุ้งอื่นๆ ไมร่ วมกุ้งก้ามกราม ทีอ่ ยู่ภายใต้พกิ ัดศลุ กากร 030616 030617 030626 030627 160521 และ 160529 ในระดับ 11 หลกั (Digit) ตามรหัส HS.2012 (ปี 2012-2016) ท่มี า: สำ� นักงานเศรษฐกิจการเกษตร 21กา้ วต่อไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



23กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

บทที่ 2 โรคตายด่วน ในฟาร์มเลย้ี งกงุ้ 2.1 สาเหตขุ องโรคตายด่วนในการเพาะเลีย้ งกุง้ ปญั หาโรคตายด่วนในกงุ้ เริ่มมกี ารระบาดครั้งแรกทางตอนใตข้ องประเทศจนี เมอื่ ปี 2552 จากนนั้ ขยายไปสปู่ ระเทศเวียดนามและมาเลเซยี ในปี 2553 ซงึ่ ในขณะ นนั้ ยงั ไมท่ ราบสาเหตทุ แี่ นช่ ดั และตอ่ มาไดแ้ พรก่ ระจายมาสไู่ ทยในชว่ งปลายปี 2554 ถงึ ปี 2555 โดยพบการตายของกงุ้ หลงั ปลอ่ ยลงเลย้ี งในบอ่ ดนิ เพยี ง 7-30 วนั ในฟารม์ บรเิ วณปากแม่นำ้� พังราด อำ� เภอนายายอาม จังหวดั จันทบรุ ี บางบอ่ มีอัตราการตาย สงู ถงึ 100% การตายของกงุ้ มลี กั ษณะของ “กลมุ่ อาการตายดว่ น (Early Mortality Syndrome: EMS)” หรือที่เกษตรกรเรียกกันทั่วไปว่า “โรคตายด่วน” ลักษณะ อาการท่ีพบคือ กุ้งเริ่มป่วยเม่ือปล่อยเลี้ยงได้ 10 วัน ระยะแรกกุ้งไม่แสดงอาการ ผดิ ปกติอยา่ งเด่นชดั ไม่พบกุง้ เกยขอบบ่อ แตเ่ ร่มิ พบกุง้ ตายในยอและทกี่ น้ บ่อ หลงั จากน้ันจะพบซากกุ้งลอยขึ้นมา ในบ่อที่มีการตายมากพบกุ้งมีอาการว่ายน�้ำเฉ่ือย เซ่ืองซึม กินอาหารลดลง เปลือกน่มิ และมีสีเขม้ ขน้ึ ตบั ลบี นิ่ม ซีด หรือสีคลำ้� ปญั หา นไี้ ดร้ ะบาดไปพนื้ ทเ่ี ลย้ี งกงุ้ ทว่ั ประเทศทำ� ใหผ้ ลผลติ กงุ้ ทะเลจากการเพาะเลย้ี งลดลง อยา่ งต่อเนือ่ งจนถึงปัจจุบัน โรคตายด่วนในกุ้งทะเลมีลักษณะอาการเด่นชัด คือ ตับและตับอ่อนมีการ ตายอย่างฉับพลนั จงึ มกี ารเรยี กช่ือโรคนวี้ ่า Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease (AHPND) ตบั และตบั ออ่ นเปน็ อวยั วะทส่ี ำ� คญั ของกงุ้ ทท่ี ำ� หนา้ ทห่ี ลากหลาย

ตั้งแต่การสร้างและหลั่งน้�ำย่อย การดูดซึมอาหาร การขับถ่ายของเสียและก�ำจัด สารพิษ อีกทั้งเป็นแหล่งส�ำรองสารอาหารของกุ้งอีกด้วย การตายของเซลล์ในตับ และตบั ออ่ นจึงสง่ ผลให้เซลลต์ ่างๆ ไมส่ ามารถท�ำงานได้ตามปกติ วิธสี ังเกตอาการโรคตายด่วน • พบการตายของกงุ้ ได้ตั้งแต่ 10 วันหลงั จากปล่อยลงบอ่ • ตบั ก้งุ ผดิ ปกติ: ซีดขาว ฝอ่ ลบี อาจมีจดุ หรือเส้นด�ำท่ีตับ ตับเหนียวบ้ดี ว้ ยน้ิวยากกว่าปกติ • ล�ำไส้ไม่มีอาหารหรอื ขาดชว่ ง • กงุ้ มสี ขี าวขนุ่ เปลือกนิม่ • กงุ้ โตชา้ เฉ่อื ยหรอื ว่ายนำ้� ควงสว่าน หรือกระโดดแล้วจมลง กน้ บ่อ และตายในทีส่ ุด ในปี 2556 Tran et al. (2013) รายงานสาเหตุท่ีก่อให้เกิดโรคตายด่วน ในกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาด�ำ เป็นเช้ือแบคทีเรียที่ใกล้ชิดกับ Vibrio para- haemolyticus ซึ่งเป็นสายพันธุ์ท่ีสามารถสร้างสารพิษท�ำลายเซลล์ของตับและ ตับอ่อน และในปี 2557 กรมประมงร่วมกับ Tokyo University of marine Science and Technology ค้นพบ toxin gene ในแบคทีเรียสายพันธุ์ท่ีมี ความรุนแรงโดยสร้างสารพิษท�ำลายตับและตับอ่อนจนท�ำให้กุ้งท่ีติดเชื้อตาย ในที่สุด และยังได้พัฒนา primer ในการตรวจหาเช้ือก่อโรคดังกล่าว ด้วยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) เพอ่ื ตรวจสอบการปนเปือ้ นของเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ในระบบการผลิตกุ้งทะเลตลอดสาย ต้ังแต่พ่อแม่พันธุ์ใน โรงเพาะฟกั ลกู กงุ้ ในโรงอนบุ าล และกงุ้ ทเี่ ลย้ี งในบอ่ ตลอดจนปจั จยั อน่ื ๆ ทเี่ กยี่ วขอ้ ง เชน่ อาหาร น�้ำ และดนิ ในบอ่ เล้ยี ง 25ก้าวตอ่ ไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

2.2 การกระจายตัวของปัญหาโรคตายด่วนในพ้ืนท่ีเลี้ยงกุ้ง ของไทย การศึกษาทางระบาดวิทยาแบบ cohort โดยการตรวจสอบคุณภาพลูกกุ้ง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องก่อนปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดิน รวมถึงติดตามและตรวจสอบ| ความสัมพันธ์ของเชื้อก่อโรคกับการตายของกุ้งก่อน 35 วัน หลังการปล่อยลูกกุ้ง| ลงบอ่ ดิน จ�ำนวน 200 บอ่ ในพืน้ ที่เล้ยี งทวั่ ประเทศ โดยวารินทร์ และคณะ (2558) พบว่า คุณภาพลูกกุ้งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคตายด่วนในบ่อดิน โดยบ่อที่กุ้ง เป็นโรคตายด่วนมีคะแนนประเมินคุณภาพลูกกุ้งตามเกณฑ์ของกรมประมงต�่ำกว่า บ่อที่ไม่เป็นโรคตายด่วน โดยเฉพาะความผิดปกติทางพยาธิสภาพของตับและ ตับออ่ น ความเครียดโดยการแช่น้�ำจืด ปริมาณการปนเปอ้ื นแบคทีเรีย vibrio รวม และ vibrio กลุ่มสีเขียว ในลูกกุ้งบ่อท่ีเกิดโรคมีมากกว่าลูกกุ้งบ่อที่ไม่เกิดโรคตาย ด่วนอย่างมีนัยส�ำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า ลูกกุ้งจากพ้ืนท่ีหรือแหล่งผลิตเดียวกัน มคี ณุ ภาพแตกตา่ งกนั มากและมบี างตวั อยา่ งทไ่ี มผ่ า่ นเกณฑค์ ณุ ภาพของกรมประมง แสดงให้เห็นว่าโรงอนุบาลขนาดใหญ่แหล่งเดียวกันยังไม่สามารถควบคุมการผลิต ลูกกุ้งให้มีคุณภาพอย่างสม่�ำเสมอ เช่นเดียวกับโรงอนุบาลขนาดเล็กซ่ึงมีอยู่จ�ำนวน มาก จึงควรมีการควบคุมและดูแลคุณภาพการผลิตลูกกุ้งให้มีคุณภาพดีโดยเฉพาะ โรงอนุบาลขนาดเล็ก เนื่องจากเกษตรกรเลือกใช้ลูกกุ้งจากโรงอนุบาลเล็กมากกว่า 50% การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้งพบว่า ในบ่อเลี้ยงที่มี การตดิ เชอ้ื microsporidian Enterocytozoon hepatopenaei (EHP) ในกงุ้ ขณะ ทเ่ี ลยี้ งในบอ่ มผี ลผลติ และอตั รารอดตายไมแ่ ตกตา่ งกบั บอ่ ทไ่ี มพ่ บการตดิ เชอื้ ซงึ่ ตา่ ง ไปจากการตรวจพบการตดิ เชอื้ EHP ในลกู กงุ้ กอ่ นปลอ่ ยลงบอ่ เลย้ี งทพี่ บวา่ มผี ลผลติ กุ้งต่�ำกว่าบ่อที่ใช้ลูกกุ้งที่ไม่ติดเช้ือ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเช้ือ EHP มีความรุนแรงต่อ ลกู กงุ้ มากกวา่ กงุ้ ทโ่ี ตแลว้ อยา่ งไรกต็ าม เนอ่ื งจากบอ่ เลย้ี งกงุ้ มตี วั แปรและปจั จยั ตา่ งๆ ทีเ่ กยี่ วขอ้ งคอ่ นข้างมาก จงึ ควรมีการศกึ ษาถึงปจั จัยสาเหตุ ระดับความรุนแรงของ เช้ือ EHP ตอ่ การตายและผลผลิตของกุ้ง ตลอดจนความสมั พนั ธ์ระหว่างเชอ้ื EHP

กับเชื้อ Vibrio parahaemolyticus สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงในการก่อโรคตาย ด่วนใหแ้ นช่ ดั ต่อไป ผลการศึกษายังพบด้วยว่า สายพันธุ์กุ้งเป็นอีกตัวแปรหนึ่งท่ีอาจมีผลต่อ สุขภาพและความแข็งแรงของลูกกุ้ง จากผลทดสอบความทนทานต่อเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ทก่ี ่อโรคตายดว่ น ในลกู ก้งุ สายพนั ธุต์ ่างๆ พบว่า ลกู ก้งุ สาย พันธุ์ SIS ท่ีนำ� เขา้ จากต่างประเทศ มคี วามทนทานกวา่ และสายพนั ธ์ุท่ปี รับปรงุ พนั ธ์ุ ภายในประเทศ ส�ำหรับการศึกษารูปแบบของการเคล่ือนย้าย (movement pattern) ของ การเล้ียงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาด�ำในจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช สงขลา ระยอง และนครปฐม ด้วยการวิเคราะหเ์ ครือขา่ ยทางสงั คมพบวา่ ปัจจัยท่เี ก่ยี วขอ้ ง กบั การพบโรคตายดว่ นรวมไปถงึ แนวทางการแกไ้ ขปญั หาของโรค จ�ำเป็นต้องคำ� นงึ ถงึ โรคทเ่ี กิดในลกั ษณะ co-factors เนื่องจากโรคนอ้ี าจไมไ่ ดม้ ีปัจจัยใดปจั จัยหนึ่งมี อิทธิพลต่อการเกิดโรคอย่างเด่นชัด ท้ังน้ีในการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แหล่งที่มา ของลกู กุ้ง เช่น โรงเพาะฟกั รวมไปถงึ แหลง่ นำ�้ พบวา่ มีบทบาทสำ� คญั ต่อการพบโรค ในบอ่ เลยี้ ง นอกจากนยี้ งั พบลกั ษณะเครอื ขา่ ยทสี่ ะทอ้ นถงึ ความเดน่ ชดั ของกจิ กรรม ที่มีการส่งออกลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักท่ีสูง ท�ำให้จ�ำเป็นต้องเน้นมาตรการควบคุม โรคไปที่โรงเพาะฟักหรือแหล่งท่ีมาของลูกกุ้งต้นทาง จึงจะท�ำให้การควบคุมโรค มปี ระสทิ ธภิ าพมากทส่ี ดุ ตวั อยา่ งของมาตรการทส่ี ำ� คญั เชน่ การพฒั นาวธิ กี ารตรวจ คัดกรองโรคก่อนส่งลูกกุ้งให้กับเกษตรกร โดยจ�ำเป็นต้องให้วิธีการตรวจสอบนี้ม ี คา่ ความไว (sensitivity) สงู การพจิ ารณาถงึ รปู แบบการสมุ่ ตวั อยา่ งและการคำ� นวณ วธิ กี ารเกบ็ ตวั อยา่ งเพอื่ ตรวจคดั กรองควรไดร้ บั การออกแบบใหม่ เพอื่ ใหว้ ธิ กี ารตรวจ ที่ได้มีประสิทธิภาพมากท่ีสุดบนพ้ืนฐานของมาตรการการคัดกรองโรคท่ีมีความไว ของมาตรการสูงเชน่ กัน ลกั ษณะการเกดิ โรคทป่ี รากฏไมพ่ บวา่ มรี ปู แบบการตดิ ตอ่ สอ่ื สารชดั เจน กลา่ ว คอื เชอื้ สาเหตขุ องการเกดิ โรคหากมที มี่ าจากโรงเพาะฟกั เชอ้ื อาจกระจายไปยงั พนื้ ท่ี ต่างๆ ของประเทศตามกิจกรรมการซ้ือ-ขายลูกกุ้งโดยอิทธิพลท่ีเก่ียวข้องกับความ 27กา้ วตอ่ ไปของก้งุ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

แตกต่างระหว่างพื้นท่ีมีน้อยกว่า ดังน้ัน จึงสามารถพบการเกิดโรคได้ในทุกพื้นที่ ของประเทศไทย ขอ้ มลู นช้ี ใ้ี หเ้ หน็ วา่ หากตอ้ งการจำ� กดั พน้ื ทก่ี ารเกดิ โรคจำ� เปน็ ตอ้ ง พิจารณาควบคุมกิจกรรมการเคลื่อนย้ายหรือซ้ือ-ขายลูกกุ้ง โดยอาจก�ำหนดการ เคล่ือนย้ายให้จ�ำกัดอยู่เฉพาะโซน อย่างไรก็ตาม การพิจารณาถึงผลกระทบด้าน เศรษฐกิจและสงั คมจ�ำเป็นต้องพิจารณาดว้ ยเช่นกนั 2.3 แนวทางป้องกันและรกั ษาโรคกุ้งตายด่วน 2.3.1 การใช้เชอื้ จลุ ินทรีย์เพ่ือยับยั้งเชื้อกอ่ โรคตายดว่ น ผลการทดสอบความสามารถของเชื้อแบคทีเรีย bacillus ที่เป็นหัวเชื้อของ จลุ นิ ทรยี ์ ปม. 1 จำ� นวน 3 ชนิด ไดแ้ ก่ B. subtilis, B. megaterium และ B. licheniformis พบวา่ แบคทเี รยี ท้งั 3 ชนดิ ไม่มผี ลยบั ยง้ั การเจริญของเช้อื Vibrio parahaemolyticus สายพนั ธก์ุ อ่ โรคตายดว่ นโดยตรง แตอ่ าจมผี ลทางออ้ มโดยเชอื้ bacillus ชว่ ยยอ่ ยสลายสารอนิ ทรยี ์ ทำ� ใหป้ รมิ าณสารอนิ ทรยี ซ์ งึ่ เปน็ อาหารของเชอ้ื แบคทเี รยี ในบ่อเลยี้ งกุง้ ลดลง สง่ ผลให้เช้อื Vibrio parahaemolyticus สายพนั ธุ์ ก่อโรคลดลงด้วย นอกจากน้ี การให้เชื้อ bacillus โดยเฉพาะ B. licheniformis ผสมในอาหารเพ่อื เป็น probiotic ใหก้ งุ้ กิน เปน็ การทำ� ให้เชอื้ bacillus เข้ายดึ พ้นื ท ่ี ในระบบทางเดินอาหาร (colonize) เพือ่ ไม่ให้เช้อื ก่อโรคได้มโี อกาสเข้ายดึ เกาะกับ ผนังของทางเดินอาหาร จึงเปน็ การลดโอกาสในการเกดิ โรค 2.3.2 การใชส้ มุนไพรเพอื่ ทดแทนการใช้สารต้านจุลชีพ การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดข่า (Alpinia galanga Linn.) เพ่ือ ยับยง้ั การเจรญิ เตบิ โตของเชอื้ Vibrio parahaemolyticus พบว่า สารสกัดขา่ และ สารสกัดข่าผสมกรดอินทรีย์มีฤทธ์ิยับย้ังเช้ือก่อโรคตายด่วนได้ดี โดยความเข้มข้น ต�่ำสุดในการยับย้ังการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 50% (Minimum Inhibitory Concentration: MIC50) มีสว่ นผสมของสารสกัดขา่ : กรดอนิ ทรีย์ อยู่ท่ี 0.25 : 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และความเข้มข้นต�่ำสุดในการก�ำจัดแบคทีเรีย (Minimum

Bactericidal Concentration: MBC) มีส่วนผสมของสารสกัดข่า : กรดอินทรีย ์ อยู่ที่ 4 : 16 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ท้ังนี้การผสมกรดอินทรีย์ในสารสกัดข่ามีฤทธิ์ ในการยบั ยงั้ แบคทเี รยี Vibrio parahaemolyticus สายพนั ธก์ุ อ่ โรคตายดว่ นเพม่ิ ขนึ้ เมอ่ื เปรยี บเทยี บกบั การใชส้ ารสกดั ขา่ เพยี งอยา่ งเดยี ว จงึ มคี วามเปน็ ไปไดท้ จี่ ะนำ� ขา่ ซง่ึ เปน็ สมนุ ไพรทอ้ งถน่ิ มาประยกุ ตใ์ ชใ้ นการปอ้ งกนั และรกั ษาโรคกงุ้ ทะเลทเ่ี กดิ จาก เชื้อ Vibrio parahaemolyticus สายพันธกุ์ ่อโรคตายดว่ น โดยพัฒนาให้สามารถ น�ำมาใช้ป้องกันและรักษาโรคตายด่วนในกุ้งทะเลแทนการใช้ยาต้านจุลชีพและ สารเคมี เพอ่ื ความปลอดภัยต่อผบู้ ริโภค 2.3.3 การใชแ้ บคทรี โิ อเฟจในการรกั ษาโรคตายดว่ น แบคทีรโิ อเฟจ (bacteriophage) เป็นไวรสั ของแบคทเี รียทม่ี อี ย่ใู นธรรมชาติ ซงึ่ สามารถใชแ้ บคทเี รยี นนั้ เปน็ เจา้ บา้ น (host) ในการเพม่ิ จำ� นวน และแบคทรี โิ อเฟจ แตล่ ะชนิดมคี วามจำ� เพาะกับแบคทีเรียเพียงชนดิ เดยี ว หรือสองถงึ สามชนิดเทา่ นน้ั ด้วยความจ�ำเพาะของแบคทีริโอเฟจต่อแบคทีเรีย จึงมีการน�ำมาประยุกต์ใช้ใน ด้านต่างๆ เพ่ือรกั ษาและปอ้ งกนั โรคตดิ เช้อื แบคทีเรยี (bacteriophage therapy) รวมทั้งการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในการเพาะเล้ียงสัตว์น้�ำ จึงมีความเป็นไปได ้ ทจี่ ะคน้ หาแบคทรี โิ อเฟจทม่ี อี ยใู่ นธรรมชาตโิ ดยมคี วามจำ� เพาะกบั เชอ้ื Vibrio para- haemolyticus สายพนั ธก์ุ อ่ โรคตายดว่ น เพอ่ื เพม่ิ ทางเลอื กสำ� หรบั การปอ้ งกนั และ รกั ษาโรคตายดว่ น 29กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย แนวทางปองกนั และรักษาโรคกุงตายดว น 31หลังวิกฤตโรคตายด่วน ãªàŒ ªÍ×é ¨ØÅ¹Ô ·ÃÂÕ à¾Íè× ÂѺÂÑé§àªÍé× ¡Í‹ âäµÒ´‹Ç¹ ઋ¹ ËÇÑ àª×Íé ¨ÅØ Ô¹·ÃՏ »Á.1 ·èÁÕ Õ Bacillus 3 ª¹´Ô ¤×Í B. subtilis B. megaterium áÅÐ B. licheniformis ãªÊŒ Á¹Ø ä¾Ãà¾Í×è ·´á·¹¡ÒÃãªÊŒ ÒõҌ ¹¨ÅØ ªÕ¾ ä´áŒ ¡‹ ÊÒÃÊ¡´Ñ ¢‹Ò ãªáŒ º¤·ÕÃâÔ Í࿨㹡ÒÃÃ¡Ñ ÉÒâäµÒ´‹Ç¹ â´ÂàÅ×͡㪌 ª¹´Ô ·ÁèÕ Õ¤ÇÒÁ¨íÒà¾ÒСºÑ àªé×Í Vibrio parahaemolyticus



33กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

บทท่ี 3 เลยี้ งก้งุ ใหส้ �ำเร็จ ในภาวะโรคตายดว่ น ระบาดรนุ แรง 3.1 ปัจจยั เส่ียงทีก่ อ่ ใหเ้ กดิ โรคตายดว่ นในฟารม์ เลี้ยงก้งุ จากการศึกษาปัจจัยท่ีมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคตายด่วนในพื้นที่ท่ีมี การรายงานการระบาดของโรคตายด่วนในฟาร์มเลี้ยงกุ้ง จ�ำนวน 4 พื้นท่ี คือ ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง ภาคกลาง: จังหวัดนครปฐม ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย: จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา และภาคใต้ฝั่งอันดามัน: จังหวัดกระบี่ ดว้ ยวิธี logistic regression แบบตวั แปรหลายตัว (multivariate analysis) พบว่า สามารถจัดกลุ่มปัจจัยเสี่ยงได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1) แหล่งลูกกุ้ง 2) การเตรียมบ่อ 3) การจัดการอาหาร และ 4) การจดั การน�้ำ ดงั นี้ 3.1.1 แหลง่ ลูกกุ้ง ความสัมพันธ์ของแหล่งลูกกุ้งต่อการเกิดโรคตายด่วนนั้น เกิดขึ้นได้ท้ังกับ โรงเพาะฟักท่ีผลิตลูกกุ้งท่ีได้มาจากพ่อแม่พันธุ์ท่ีมีการเลี้ยงในระบบ High health system เช่น ลูกกุ้งที่ผลิตจากบริษัทใหญ่ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างเป็นระบบ และมีฟาร์มพ่อแม่พันธุ์อยู่ภายในประเทศ และลูกกุ้งที่ผลิตขึ้นมาจากพ่อแม่พันธุ ์ ท่ีน�ำเข้ามาจากต่างประเทศ (imported broodstock) และลูกกุ้งท่ีผลิตมาจาก พ่อแม่พันธุ์ต่อไปโดยไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า (home grow broodstock) ดังนั้นสาเหตุหลักท่ีพบว่าแหล่งที่มาของลูกกุ้งมีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยง ของการเกิดโรคตายด่วนได้มากข้ึนนั้น น่าจะมีสาเหตุจากการปนเปื้อนของเช้ือ

แบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ที่เป็นสาเหตุของโรคตายด่วน เข้ามาใน ระบบการเลี้ยงและอนุบาลลูกกุ้งของฟาร์มโรงเพาะฟัก ซ่ึงอาจจะเข้ามาในระบบ การเล้ียงผ่านทางลูกกุ้งในระยะ nauplius ท่ีน�ำเข้ามาสู่ฟาร์ม น�้ำท่ีใช้เลี้ยงลูกกุ้ง ท่ีน�ำเข้ามาใช้ภายในฟาร์ม อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกกุ้ง หรือเชื้อโรคท่ีแฝงตัวอยู่ในระบบ ทอ่ นำ้� ภายในฟารม์ ในรปู ของ biofilm เปน็ ทน่ี า่ สงั เกตวา่ โรงเพาะฟกั และโรงอนบุ าล จะมีวิธีการเตรียมน้�ำ เพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียท่ีปนเปื้อนมากับน้�ำก่อนน�ำ น�้ำมาใช้ แต่พบว่าเมื่อระยะเวลาผ่านไป น้�ำที่ผ่านการบ�ำบัดแล้ว 2-3 วัน กลับมี เชื้อแบคทีเรียเพ่ิมมากขึ้น เป็นไปได้ว่าปริมาณเชื้อแบคทีเรียท่ีเพิ่มข้ึนนั้นมาจาก แบคทเี รยี ทเ่ี กาะตดิ อยกู่ บั เมอื กในทอ่ นำ้� และเกดิ การแบง่ ตวั เพม่ิ จำ� นวนขน้ึ นอกจาก นนั้ ระบบทอ่ ลมทไี่ มเ่ หมาะสม และระบบการจดั การทเ่ี ออ้ื อำ� นวยตอ่ การเพม่ิ จำ� นวน ของเชื้อในน�้ำ เชน่ อัตราการเล้ียงลูกกุ้งท่ีหนาแนน่ การหมกั หมมของของเสียภาย ในบ่อเล้ียง การควบคุมให้อุณหภูมิของน้�ำที่ใช้เล้ียงกุ้งสูงกว่าปกติเพ่ือเร่งการ เจริญเติบโต ก็เป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการกระจายตัวและการก่อโรคในระบบการ เล้ยี งได้ ความหนาแน่นของการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงในบ่อดินเป็นอีกปัจจัยหน่ึงท่ี สามารถเพิ่มความเส่ียงในการเกิดโรคตายด่วนให้สูงข้ึน จากการวิเคราะห์ข้อมูล รวมการเล้ียงของพ้ืนที่การเล้ียงกุ้งบริเวณชายฝั่งพบว่า เกษตรกรจะลงกุ้งใน อัตรา 90,000-170,000 ตัว/ไร่ หรอื 56-107 ตัว/ตารางเมตร ซงึ่ คอ่ นข้างสงู กว่า มาตรฟาร์มกุ้งท่ีแนะน�ำใหป้ ล่อยลูกกงุ้ ในอตั รา 50,000-100,000 ตวั /ไร่ โดยทั่วไป แล้วความหนาแน่นของกุ้งที่สูงเกินไปจะช่วยส่งเสริมการระบาดของโรค โดยเพิ่ม โอกาสการสมั ผสั ระหวา่ งกงุ้ ดว้ ยกนั เอง ดงั นนั้ การปลอ่ ยลกู กงุ้ ในปรมิ าณทหี่ นาแนน่ มคี วามเสีย่ งท่จี ะเปน็ โรคตายดว่ นมากยิง่ ขนึ้ 3.1.2 การเตรยี มบอ่ การเตรียมบ่อโดยให้มีระยะเวลาในการตากบ่อยาวนานขึ้น เป็นวิธีการที่ให้ ผลในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคตายด่วนได้ในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดสงขลา 35กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

เป็นต้น ซึ่งวิธีการเตรียมบ่อโดยการน�ำของเสียท่ีค้างจากการเล้ียงกุ้งรุ่นท่ีแล้ว ออกจากบ่อและตามด้วยการตากบ่อท่ียาวนานข้ึนน้ัน นอกจากจะเป็นการลด ปริมาณของเสียในรูปสารอินทรีย์ไนโตรเจนออกจากบ่อแล้ว ขบวนการนี้ยัง สามารถฆ่าเช้ือแบคทีเรียท่ีสะสมอยู่ในตะกอนเลนก้นบ่อได้ เนื่องจากเช้ือ Vibrio parahaemolyticus สามารถมีชวี ิตอย่ใู นนำ�้ และในตะกอนดนิ เลนกอ้ นบ่อ ดงั นัน้ การตากบอ่ จงึ เปน็ วธิ ที ด่ี ใี นการลดปรมิ าณเชอ้ื Vibrio parahaemolyticus สายพนั ธ ์ุ กอ่ โรคตายด่วนท่ตี กค้างอยภู่ ายในบอ่ ได้ ผลการศึกษายังพบว่าการใช้จุลินทรีย์ในการเตรียมบ่อและระหว่างการ เลี้ยงมีแนวโน้มที่จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตายด่วน เนื่องจาก เช้ือแบคทีเรียที่เติมลงไปจะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ท่ีมีอยู่ในบ่อและในน�้ำ ซงึ่ สอดคลอ้ งกบั การเลยี้ งกงุ้ ทอี่ าศยั สมดลุ ธรรมชาติ มกี ารเตมิ จลุ นิ ทรยี เ์ พอ่ื การยอ่ ย สลายและควบคุมปรมิ าณเชอ้ื แบคทเี รยี ทอี่ ยใู่ นน้ำ� ระหวา่ งการเลย้ี ง ได้แก่ การเล้ียง กุ้งแบบตราดโมเดล การเลี้ยงกุ้งตามแบบชมรมผู้เลี้ยงกุ้งปัตตานี หรือการอนุบาล ลกู กงุ้ ด้วยวธิ ี semi floc ของ น.สพ.สวุ รรณ ย้มิ เจรญิ นอกจากน้ี เกษตรกรหลายรายที่มีแนวทางในการบ�ำบัดดินก้นบ่อก่อนน�ำน้�ำ เข้าบอ่ โดยการใช้ปุย๋ จากมลู ไส้เดือน และกรด humus รวมทงั้ การคราดเลนกน้ บอ่ ในระหว่างการเตรียมบ่อและตลอดระยะเวลาการเลี้ยง พบว่าเป็นผลดีในการลด ความเส่ียงของการเป็นโรคตายด่วนได้ เนื่องจากการท�ำให้ดินมีความเป็นกรด-ด่าง ต่�ำลง เปน็ การลดความเหมาะสมในการทเ่ี ช้อื ในกลมุ่ Vibrio จะเจริญไดด้ ี ส�ำหรับการท�ำสีน�้ำในช่วงการเตรียมบ่อก่อนการปล่อยลูกกุ้งลงเล้ียงพบว่า เป็นวิธีการที่ลดโอกาสการเกิดโรคตายด่วนในพ้ืนท่ีจังหวัดนครปฐมได้ แต่ไม่พบ ความสัมพันธ์น้ีในจังหวัดอ่ืนๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการท่ีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน เขตภาคกลางมักนิยมปล่อยลูกกุ้งลงเล้ียงในขณะที่น�้ำมีความลึกไม่มาก (ประมาณ 60-80 เซนติเมตร) เน่ืองจากบ่อมีความลึกไม่มากหรือต้องการลดปริมาณการใช ้ น�้ำเค็มลง ในขณะที่การเลี้ยงกุ้งในพื้นท่ีตามแนวชายฝั่งมีการปล่อยลูกกุ้งลงเล้ียง ในนำ�้ ที่ลึกมาก (1.2-1.5 เมตร) การปล่อยกงุ้ ในนำ�้ ที่ต้นื ท�ำใหข้ บวนการท�ำสนี ำ้� กอ่ น ปล่อยลูกกุ้งลงเล้ยี งมีความส�ำคัญมากยิ่งขนึ้

3.1.3 การจัดการอาหาร ปริมาณอาหารเม็ดส�ำเร็จรูปที่ให้กับกุ้งม้ือแรกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นปัจจัยที่เพ่ิม โอกาสการเกิดโรคตายด่วนได้ จากการเปรียบเทียบข้อมูลการเล้ียงในช่วงท่ีเกิด โรคตายด่วนกับการเล้ียงกุ้งที่ผ่านมาก่อนกุ้งเป็นโรคตายด่วน พบว่า เดิมเกษตรกร สว่ นใหญจ่ ะเรมิ่ ใหอ้ าหารลกู กงุ้ มอ้ื แรก 5-7 วนั หลงั ปลอ่ ยกงุ้ และมกี ารเตรยี มอาหาร ธรรมชาติก่อนปล่อยกุ้ง โดยจะเร่ิมให้อาหารในอัตราส่วนอาหาร 1 กิโลกรัม/กุ้ง 100,000 ตัว แต่ในช่วงก่อนเกิดการระบาดเกษตรกรไม่เตรียมอาหารธรรมชาต ิ และเรมิ่ ใหอ้ าหารมอื้ แรกทนั ทหี ลงั ปลอ่ ยกงุ้ ในอตั ราสว่ น 2 กโิ ลกรมั /กงุ้ 100,000 ตวั ซึ่งเป็น 2 เท่าของปริมาณอาหารท่ีเคยให้ นอกจากนี้ปริมาณอาหารส�ำเร็จรูปท่ี ใหก้ บั กงุ้ มอื้ แรกทเี่ พม่ิ ขนึ้ ยงั เปน็ ปจั จยั ทสี่ ะทอ้ นแนวทางปฏบิ ตั ใิ นการจดั การอาหาร ของเกษตรกรผดู้ แู ลบอ่ เลย้ี งนน้ั วา่ มแี นวโนม้ ทจ่ี ะใชป้ รมิ าณอาหารทม่ี ากในการเลยี้ ง กุ้งในช่วงเดือนแรกก่อนท่ีจะสามารถควบคุมอัตราการให้อาหารกุ้งโดยการใช้ยอ อาหารได้ ซง่ึ จะสง่ ผลใหป้ รมิ าณอาหารรวมของกงุ้ ในชว่ งเดอื นแรกของการปลอ่ ยกงุ้ ลงเล้ยี งตอ่ กงุ้ 100,000 ตัว มีปริมาณที่สูงขึน้ ด้วย ปัจจัยดังกล่าวนพ้ี บความสัมพนั ธ์ กบั การเพ่ิมโอกาสการเกิดโรคตายด่วนได้เชน่ กัน นอกจากน้ันอาจเป็นเพราะเกษตรกรลงกุ้งหนาแน่นข้ึนกว่าเดิม ความหนา แน่นมีส่วนสัมพันธ์กับปริมาณอาหารที่ให้และของเสียที่เกิดข้ึนภายในบ่อ ส่ิงท่ีเกิด ขึ้นตามมาคือ มขี องเสยี ท่เี กดิ จากการขับถา่ ยของกงุ้ เพ่ิมมากขึน้ อาหารทีเ่ หลือจาก การบรโิ ภคของกงุ้ และของเสยี จากการขบั ถา่ ย ถา้ ถกู กำ� จดั ไมห่ มด เกดิ การหมกั หมม ท่ีก้นบ่อกลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ท�ำให้เช้ือแบคทีเรียเพิ่มจ�ำนวนมากขึ้น อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สมดุลจุลินทรีย์ภายในบ่อเสียไป กุ้งเกิดความเครียดและ ยอมรับเชื้อก่อโรคได้ง่ายขึ้น โรคตายด่วนนั้นเกิดได้ตั้งแต่เร่ิมปล่อยลูกกุ้งจนถึงอายุ ประมาณ 1 เดือน ความหนาแน่นลูกกุ้งท่ีปล่อยเล้ียงผนวกกับปริมาณอาหารท ่ี ให้มากเกินไปตง้ั แตต่ น้ จงึ มสี ่วนสง่ เสรมิ ให้กุ้งปว่ ยง่ายมากยง่ิ ขึ้น 37ก้าวต่อไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

การปฏิบัติที่สามารถลดปริมาณการใช้อาหารส�ำเร็จรูปในการเล้ียงกุ้งใน ระยะเดือนแรกหลังการปล่อยกุ้งลงเลี้ยง ได้แก่ การเพ่ิมระยะเวลา (วัน) หลัง จากการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงจนถึงการให้อาหารเม็ดเป็นวันแรก ซ่ึงเป็นปัจจัยท่ี พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตายด่วนได้ แต่การปฏิบัติตามข้อควร ปฏบิ ตั นิ ี้ เกษตรกรควรมกี ระบวนการสรา้ งอาหารตามธรรมชาตใิ นชว่ งการเตรยี มบอ่ เพื่อให้ลูกกุ้งพ่ึงพาอาหารตามธรรมชาติในช่วงท่ีกุ้งอายุน้อยๆ ซ่ึงจะเป็นแนวทาง ในการป้องกนั โรคตายด่วนได้ 3.1.4 การจดั การนำ�้ เช้ือสาเหตุของโรคตายด่วนสามารถแพร่กระจายไปกับน้�ำได้ การจัดการน�้ำ จงึ มสี ว่ นสำ� คญั ตอ่ การเกดิ โรคตายดว่ น โดยการพกั นำ้� ในบอ่ พกั จะชว่ ยปอ้ งกนั โรคได ้ เพราะบ่อพักน�้ำจะท�ำหน้าที่เป็นท่ีส�ำรองน�้ำส�ำหรับเติมในบ่อเล้ียง โดยไม่จ�ำเป็น ต้องน�ำน้�ำเข้ามาจากแหล่งน�้ำโดยตรง จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะน�ำเชื้อโรคจาก ภายนอกเข้าสู่ระบบการเล้ียง นอกจากนั้นการพักน�้ำยังเป็นการลดปริมาณสาร อินทรีย์ท่ีปะปนมากับน�้ำได้ดีอีกทางหนึ่ง การเติมน�้ำและการถ่ายน�้ำในระหว่าง การเลี้ยงเป็นวิธีการท่ีพบว่าสามารถลดโอกาสการเกิดโรคตายด่วนได้ โดยการเติม หรือถ่ายน้�ำเป็นกระบวนที่สามารถลดความเข้มข้นของสารอินทรีย์ในน้�ำ ซึ่งจะส่ง ผลใหป้ ริมาณแบคทเี รียในน�้ำลดลง

39กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



41กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

3.2 แนวทางการจดั การเพอื่ ลดความเสย่ี งการเกดิ โรคกงุ้ ตายดว่ น ผลจากการศึกษาปัจจัยเส่ียงท่ีท�ำให้เกิดโรคตายด่วนในฟาร์มเลี้ยงกุ้ง พบว่า การปฏิบัติเพื่อลดความเส่ียงของการเกิดปัญหาโรคตายด่วน สามารถด�ำเนินการ ได้โดยใช้หลักในการควบคุมปริมาณของเสียในรูปอินทรียสารให้มีปริมาณคงเหลือ ในบ่อน้อยทสี่ ุด ควบคุมจุลนิ ทรีย์ในบ่อใหม้ ีความสมดุลโดยสง่ เสริมใหเ้ ชือ้ แบคทีเรยี กลุ่มที่เป็นประโยชน์ เช่น Bacillus spp. Nitrifying bacteria เจริญเติบโตได้ด ี เพื่อแข่งขันกับเชื้อในกลุ่ม Vibrio spp. การเตรียมอาหารธรรมชาติก่อนปล่อย ลูกกุ้งลงเลี้ยงและลดปริมาณการใช้อาหารส�ำเร็จรูป เลือกใช้ลูกกุ้งท่ีมาสุขภาพด ี แขง็ แรงปราศจากเชอื้ กอ่ โรค ตลอดจนควบคมุ เชอ้ื แบคทเี รยี ในตวั กงุ้ ระหวา่ งการเลยี้ ง ซ่งึ เปน็ วิธีการปอ้ งกันโรคและลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ตัวอย่างแนวปฏิบัติในการจัดการเพ่ือลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาโรค ตายด่วนท่ีผ่านการทดสอบกับบ่อกุ้งในจังหวัดระยองและจันทบุรี ประกอบด้วย 1) การเตรยี มพืน้ บ่อทด่ี ี 2) การควบคมุ สมดุลของแบคทีเรียภายในบ่อเลีย้ ง 3) การ ปลอ่ ยลกู กงุ้ ทช่ี ว่ งอายแุ ละความหนาแนน่ ทเี่ หมาะสม 4) การสรา้ งและพงึ่ พาอาหาร ธรรมชาติเพ่ือให้สามารถเริ่มให้อาหารเม็ดแก่กุ้งให้ช้าที่สุดในระยะแรกของการ ปล่อยลูกกุ้งลงเล้ียง 5)การควบคุมคุณภาพน�้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและน่ิง ดว้ ยการสง่ เสรมิ ใหม้ วี ฏั จกั รอยา่ งสมบรู ณข์ องแบคทเี รยี ทมี่ ปี ระโยชนภ์ ายในบอ่ เลยี้ ง โดยเฉพาะอย่างย่ิง “วัฏจักรไนโตรเจน” ตามแนวทางของตราดโมเดล หรือการ ช�ำลูกกุ้งและการเลี้ยงกุ้งตามระบบ semi-floc 6) การปรับอัตราการให้อาหาร เม็ดลง ซง่ึ มีรายละเอียดดังนี้ ขนั้ ตอนการเตรยี มบ่อ (1) การจดั การพน้ื บอ่ เลีย้ งหลงั จบั กงุ้ ตอ้ งใหค้ วามสำ� คญั และจดั การดแู ลพน้ื บอ่ ไมใ่ หม้ กี ารหมกั หมมของสารอนิ ทรยี ์ หลังจากจับกุ้ง ก�ำจัดเลนและของเสียก้นบ่อ ตากบ่อให้แห้ง เติมน้�ำเข้าบ่อให้ม ี ปรมิ าณนำ�้ เพยี งพอทอี่ ปุ กรณใ์ นการคราด ไถ พรวน หรอื คราดโซท่ ำ� งานได้ โดยคราด พน้ื บอ่ ทงั้ หมด ใสจ่ ลุ นิ ทรยี ป์ ม. 1 หรอื จลุ นิ ทรยี ก์ ลมุ่ แบซลิ สั ทมี่ ขี ายในทอ้ งตลาด หรอื

อเี อ็ม สาดให้ทว่ั บอ่ เพอ่ื ให้เลน สารอนิ ทรยี ์ น�้ำและออกซเิ จนท่กี น้ บอ่ ผสมกัน ซงึ่ จะ ช่วยให้ก๊าซพิษ เช่นก๊าซไข่เน่า หรือสารพิษ รวมท้ังจุลินทรีย์ที่สะสมในดินสัมผัส กับออกซิเจนอย่างทั่วถึง ท้ิงไว้ 2-3 วัน ตรวจวัดแอมโมเนียในน้�ำ ค่าแอมโมเนีย รวมท่ีเหมาะสมเป็น 0.5-1.0 ppm ถ้าแอมโมเนียยังสูงอยู่ให้คราดพ้ืนบ่อและ เติมจุลินทรีย์ซ�้ำจนกว่าระดับแอมโมเนียรวมจะอยู่ท่ี 0.5-1.0 ppm ควรคราดโซ่ ทกุ วนั เชา้ บา่ ยตลอดระยะเวลาทเี่ ตรยี มบอ่ รอบใหม่ เตมิ วสั ดปุ นู ใหด้ นิ พนื้ บอ่ มพี เี อช เปน็ กลาง (2) การเตรยี มห่วงโซอ่ าหารธรรมชาติ เม่ือท�ำความสะอาดพื้นบ่อและระดับแอมโมเนียรวมคงที่แล้ว ให้สูบน้�ำจาก บ่อพักท่ีผ่านการกรอง ก�ำจัดพาหะ และฆ่าเชื้อในน้�ำด้วยยาฆ่าเชื้อ คลอรีน หรือ ยาฆ่าเชื้อประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะบ่อที่เคยเป็นโรคหรืออยู่ในบริเวณที่มีการ ระบาดของโรคกุ้ง แต่ถ้าบ่อไม่เคยเป็นโรคหรือมีการป้องกันโรคดีแล้วก็ไม่จ�ำเป็น ตอ้ งใช้ยาฆา่ เชอ้ื ปรบั พเี อชน้�ำให้อยู่ท่ี 7.8-8.2 ด้วยวัสดปุ ูน หลังจากนน้ั 2 วนั ใส่ กากน้ำ� ตาลในอัตรา 20 ลิตรต่อไรแ่ ละจลุ ินทรีย์ ปม.1 ทีห่ มักแลว้ ในอัตรา 100 ลิตร ตอ่ ไร่ เตรยี มนำ้� หมักเพือ่ ทำ� สีน้ำ� และสรา้ งอาหารธรรมชาติ โดยใช้สูตรน้�ำหมัก เชน่ รำ� +อาหารกงุ้ +กากนำ้� ตาล+จลุ นิ ทรยี ์ หรอื ปลาปน่ +จลุ นิ ทรยี +์ นำ�้ หรอื ปยุ๋ อนิ ทรยี ์ หมัก+ปลาป่นต้ม+ร�ำต้ม เป็นต้น เมื่อมีอาหารธรรมชาติบริบูรณ์จึงค่อยปล่อย ลกู กงุ้ ในอตั รา 100,000-120,000 ตวั ตอ่ ไร่ ขณะเดยี วกนั ตอ้ งรกั ษาระดบั แอมโมเนยี ให้อย่ใู นชว่ ง 0.5-1 ppm ตลอดการเลย้ี ง (3) คณุ ภาพลกู กุ้งและการปล่อยลกู กุง้ ลงเล้ยี ง ลูกกุ้งที่จะน�ำมาปล่อยเล้ียงควรผ่านการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของ โรคตายด่วน ด้วยวิธพี ีซีอาร์เสียก่อนจะเป็นแนวปฏิบัตทิ ่ีดที ่สี ดุ อย่างไรก็ตามลกู ก้งุ ท่ีตรวจไม่พบเช้ือโรคตามวิธีดังกล่าวอาจมีการติดเชื้อโรคในระดับท่ีต่�ำจนวิธีการ ตรวจสอบในปัจจุบันไม่สามารถตรวจพบได้ นอกจากนั้นลูกกุ้งอาจมีการติดเช้ือ ภายหลงั จากนำ้� หรอื ดนิ ในบอ่ เลย้ี งทม่ี กี ารปนเปอ้ื นของเชอ้ื โรคได้ ลกั ษณะภายนอก ของลูกกุ้งท่ีดีควรมีขนาดความยาวของล�ำตัวเหมาะสมกับอายุ ตับขนาดใหญ่สีเข้ม 43ก้าวต่อไปของก้งุ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

เห็นได้ชัดเจน ลูกกุ้งมีความแข็งแรง ต้องได้รับการตรวจสุขภาพและความทนทาน ต่อความเครียดตามมาตรฐานของกรมประมง หรือห้องปฏิบัติการท่ีเช่ือถือได้ โดย ตรวจสอบ • ทอ่ ตบั และตบั ออ่ น ไมค่ วรพบหด บดิ เสยี รปู หรอื มเี ซลลห์ ลดุ ลอกจากทอ่ ตบั • เชลล์ทอ่ ตับและตับอ่อน มีเม็ดไขมันสะสมในปรมิ าณมาก • มคี า่ แบคทีเรยี วบิ รโิ อรวมไมเ่ กนิ 102 cell/g • และ/หรือไม่พบเช้อื V. parahaemolyticus ปลอ่ ยลกู กงุ้ ทรี่ ะยะ P12-13 ในอัตราไม่เกิน 120,000 ตวั /ไร่ (รวมตวั แถม) ควรช�ำลูกกุ้งภายในบ่อเลี้ยงหรือบริเวณข้างบ่อเล้ียงที่ไม่ห่างไกลจากบ่อเล้ียง ก่อนปล่อยลงเล้ียงท่ัวท้ังบ่อ โดยปล่อยลูกกุ้งในบ่อช�ำอัตราส่วน 100,000 ตัว ต่อน้�ำ 100 คิว ให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ สร้างอาหารธรรมชาติในบ่อช�ำก่อน ปล่อยกุ้ง ตรวจวัดคุณภาพน�้ำ ใส่จุลินทรีย์ ควบคุมระดับแอมโมเนียรวมไม่ให้ เกิน 1 ppm pH อยู่ในชว่ ง 7.8-8.0 ช�ำลูกกงุ้ นาน 25-30 วนั จงึ ปล่อยลงบอ่ เล้ยี ง ที่ปรับสภาพน�ำ้ ให้ใกลเ้ คียงกับบอ่ ชำ� ล่วงหน้าแล้ว ในกรณีที่ไม่ได้ช�ำลูกกุ้ง ในช่วง 10-15 วันแรกควรให้ลูกกุ้งพึ่งพาอาหาร ธรรมชาตเิ ปน็ หลกั และเรม่ิ ใหอ้ าหารเมด็ สำ� เรจ็ รปู เมอื่ อาหารธรรมชาตภิ ายในบอ่ ลด ปริมาณลงโดยทอี่ าหารรวมใน 1 เดอื นแรกไมค่ วรเกนิ 150 กก.ต่อ ลกู กุ้ง 1 แสนตัว (4) การควบคมุ เชอ้ื แบคทีเรยี ในตวั กุง้ ระหว่างการเล้ียง (4.1) ให้กินโปรไบโอตกิ ชนิดทีผ่ ่านการหมกั แล้ว เช่น โปรไบโอติกสตู รนำ้� หมักสับปะรด โปรไบโอติกสูตรยาคูลท์ และ/หรือโยเกิร์ต หรือ โปรไบโอติกโดยใช้ตามค�ำแนะน�ำของผู้ผลิต ผสมอาหารให้กุ้งกิน เร่ิมใช้ได้ตั้งแต่กุ้งเร่ิมกินอาหารและผสมให้อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ จนกวา่ จะจับกุ้งขาย หรอื

(4.2) ผสมสมุนไพรหรือสารสกัดจากธรรมชาติท่ีมีฤทธ์ิในการยับย้ัง แบคทเี รยี เชน่ ขา่ ในอาหาร โดยเรม่ิ ใชไ้ ดต้ งั้ แตก่ งุ้ เรมิ่ กนิ อาหารและ ผสมให้อย่างนอ้ ยวนั ละ 1 ม้อื จนกว่าจะจบั กงุ้ ขาย (5) รักษาสมดลุ ของจุลนิ ทรียภ์ ายในน�้ำระหวา่ งการเลีย้ งกงุ้ การส่งเสริมวัฏจักรการท�ำงานของจุลินทรีย์ โดยเฉพาอย่างย่ิง “วัฏจักร ไนโตรเจน” จะท�ำให้ปริมาณของแบคทีเรียก่อโรคและจุลินทรีย์ท่ีเป็นประโยชน์ ภายในน�้ำอยู่ในภาวะสมดุล ปริมาณแพลงก์ตอนไม่เพ่ิมจ�ำนวนขึ้นจนสร้างปัญหา ภายในบ่อ คุณภาพน�้ำจะอยู่ในระดับที่พอเหมาะ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพกุ้ง ซ่ึงการรักษาสมดุลดังกล่าวเกษตรกรอาจยึดตามระบบ การเลย้ี งแบบตราดโมเดล หรือ ระบบ semi-floc ทมี่ ีการเผยแพรอ่ ย่างกวา้ งขวาง ในปัจจุบัน หรือถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ตามวิธีการดังกล่าวก็อาจจะปฏิบัติตาม โปรแกรมทีไ่ ด้นำ� เสนอตอ่ ไปนี้ (5.1) ใส่จุลินทรีย์ในน้�ำทุกๆ 3-5 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ของการปล่อย กุ้งลงเลีย้ ง (5.2) ควบคุมแอมโมเนียรวมในน�้ำให้ได้ประมาณ 0.5-1 ppm และไน เตรทท่ี 25-50 ppm (5.3) เร่ิมใส่กากน้�ำตาลทุกๆ วัน โดยการละลายน้�ำสาดให้ท่ัวบ่อก่อน การให้อาหารม้ือแรกของแต่ละวัน โดยดูจากปริมาณอาหารรวม ทใี่ หแ้ กก่ งุ้ ในบอ่ ในวนั กอ่ นหนา้ และคำ� นวณเปน็ ปรมิ าณกากนำ้� ตาล ทใี่ ช้ โดยใชก้ ากนำ้� ตาลในอตั รา 1 ลติ รตอ่ ทกุ ๆการใหอ้ าหารกงุ้ 8 กก. (5.4) ตรวจเชค็ ปรมิ าณเชื้อวบิ รโิ อรวมในน�ำ้ ทกุ ๆ 1 อาทิตย์ โดยเร่ิมเมื่อ กุ้งอายไุ ด้ 15 วัน (5.4.1) ไมค่ วรมวี บิ รโิ อรวมในน�ำ้ เกนิ 103 cell/ml 45ก้าวต่อไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

(5.4.2) สดั ส่วนของโคโลนีสเี ขยี วไมค่ วรเกนิ ร้อยละ 30 ของท้งั หมด • ในกรณีค่าทั้งสองต�่ำกว่าท่ีก�ำหนดให้ปฏิบัติตามข้อ 3-4 ต่อไป ตลอดการเล้ยี ง • ในกรณที ผี่ ลการเพาะเชอื้ ในนำ�้ เกนิ กวา่ คา่ ทกี่ ำ� หนดทง้ั 2 คา่ หรือมีวิบริโอรวมในน้�ำเกิน 103 cell/ml และเกินกว่า รอ้ ยละ 50 เปน็ โคโลนสี เี ขียว ให้ปฏิบัตดิ งั น้ี » ลงยาฆา่ เชื้อแบคทเี รยี ในน้ำ� » หลงั จากลงยาฆา่ เชอื้ แลว้ 6-8 ชม. ใหใ้ สก่ ากนำ�้ ตาล 20 ลติ รตอ่ ไรแ่ ละจลุ นิ ทรยี ป์ ม.1 ทผ่ี า่ นการหมกั แลว้ ในอัตรา 100 ลิตรตอ่ ไร่ หรือจลุ นิ ทรยี ์กลุ่มแบซิลัส ท่ีมขี ายในทอ้ งตลาด หรือ อีเอ็ม (20 ลติ รตอ่ ไร่) » ใส่จุลินทรีย์ซ�้ำอีกคร้ังในอีก 3 วันถัดไป จากนั้น ให้ปฏิบตั ติ ามข้อ 3-4 ตอ่ ไป ตลอดการเลยี้ ง ควรรักษาสภาวะสมดุลจุลินทรีย์และวัฏจักรไนโตรเจนในบ่อตลอดช่วงการ เลยี้ งจนกวา่ จะจบั ขาย โดยควบคุมแอมโมเนยี รวมในน�้ำให้ไม่เกิน 1 ppm อยา่ เรง่ อาหารมากเกินไปเมื่อพบว่ากุ้งติดดีและพ้นระยะเสี่ยงของการเป็นโรคตายด่วน เพราะอาจเป็นต้นเหตุให้สมดุลจุลินทรีย์และไนโตรเจนภายในบ่อเลี้ยงเสียไป แพลงกต์ อนเพมิ่ จำ� นวนมากขน้ึ ในบอ่ เลยี้ ง เปน็ ตน้ เหตใุ หส้ นี ำ�้ เขม้ และลม้ ในทสี่ ดุ pH นำ้� จะสูงขึน้ และแกวง่ (เช้า-บา่ ย แตกตา่ งเกิน 3.0) ระดับแอมโมเนยี รวมจะสงู กว่า ช่วงท่ีเหมาะสมและไม่สามารถควบคุมให้ลดลงได้ กุ้งจะกินอาหารลดลง อ่อนแอ และเป็นโรคไดง้ า่ ย

สรุปขัน้ ตอนการด�ำเนนิ งาน การด�ำเนนิ งาน ขัน้ ตอนปฏบิ ัติ การจัดการเลนก้น • น�ำเลนของเสียก้นบ่อออกจากบ่อเลี้ยงด้วยวิธีใดวิธีหน่ึง ตากบ่อ บอ่ ใหแ้ หง้ ในกรณไี มส่ ามารถเอาเลนออกได้และมเี ลนอยู่ไมม่ ากนกั ใหท้ ำ� การบำ� บดั เลนโดยการกระจายเลนใหท้ วั่ บอ่ โดยการไถพรวน หรือคราดโซ่ จากน้นั เตมิ น�ำ้ ใหท้ ว่ มกน้ บ่อ 30-40 ซม. บ่อพกั น�ำ้ • ใสจ่ ลุ นิ ทรยี เ์ พอ่ื ยอ่ ยสลายของเสยี คราดพนื้ บอ่ และเตมิ จลุ นิ ทรยี ์ การเติมน้ำ� เขา้ บ่อ ซ้ำ� ท้งิ ไว้ 2-3 ทำ� ซ�้ำจนกวา่ จะได้แอมโมเนียไม่เกิน 1.0 สว่ นใน ลา้ นสว่ น (ppm) เลย้ี ง • ควรมีบ่อพักน้�ำท่ีมีพ้ืนท่ีเก็บน�้ำไม่น้อยกว่า 30% ของพ้ืนท่ีเล้ียง การสรา้ งอาหาร กุ้ง เพื่อใช้พักน�้ำในช่วงการเตรียมบ่อและส�ำรองไว้เติมหรือถ่าย ธรรมชาติ ในช่วงการเลย้ี งกุ้ง • กรองน�้ำจากบ่อพักเพ่ือก�ำจัดพาหะ ในกรณีที่บ่อเคยเป็นโรคมา ก่อน อาจใช้ยาฆ่าเช้ือในขนาดท่ีเหมาะสมที่สามารถฆ่าเชื้อโรค ได้ผล ในกรณีท่ีบ่อมีผลการเลี้ยงปกติในรุ่นการเลี้ยงก่อนก ็ ไม่จ�ำเป็นต้องใช้สารฆ่าเชื้อ ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของน�้ำ ช่วงเช้าไม่ให้เกิน 7.8 (ในพื้นท่ีท่ีมีความเส่ียงสูงในการระบาด ของโรคไวรสั เช่น ไวรสั ดวงขาว ไวรสั หัวเหลือง เป็นตน้ จะตอ้ ง เน้นการก�ำจดั พาหะนำ� โรคอยา่ งเขม้ งวดมากขน้ึ ) • ใสก่ ากน้ำ� ตาล 20 ลิตรตอ่ ไร่และจลุ ินทรีย์ ปม. 1 ในอัตรา 100 ลิตรต่อไร่ เตรียมน�้ำหมักเพ่ือท�ำสีน้�ำและสร้างอาหารธรรมชาติ โดยใช้สูตรน�้ำหมัก เช่น ร�ำ+อาหารกุ้ง+กากน�้ำตาล+จุลินทรีย์ หรอื ปลาป่น+จลุ ินทรยี +์ น้�ำ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์หมัก+ปลาป่นต้ม +ร�ำต้ม รักษาระดับแอมโมเนียในบ่อ 0.5-1 ส่วนในล้านส่วน (ppm) หรือสูตรอื่นๆ ท่ีเกษตรกรเคยปฏิบัติและสามารถสร้าง อาหารธรรมชาติอย่างได้ผลมาก่อน เช่น หนอนแดง ไรแดง เป็นต้น โดยประมาณว่าอาหารธรรมชาติจะพอเพียงแก่ลูกกุ้ง ในระยะ 10-15 วนั แรกของการปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยง 47กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

การดำ� เนนิ งาน ข้นั ตอนปฏบิ ตั ิ การสร้างอาหาร • ควรมีการลากโซ่ในช่วงการเตรียมบ่อและระหว่างการเล้ียง ธรรมชาติ อยา่ งสม่ำ� เสมอ เพือ่ ลดการสะสมของแบคทเี รียทพ่ี น้ื บอ่ ลง ลูกกงุ้ มีคณุ ภาพดี • ควรผ่านการตรวจหาเช้ือแบคทีเรียสาเหตุของโรคตายด่วน ด้วย วิธีพีซีอาร์ และลูกกุ้งมีความแข็งแรง มีลักษณะตับและตับอ่อน การปล่อยลกู ก้งุ ทป่ี กตแิ ละมปี รมิ าณเมด็ ไขมนั สะสมในระดบั ปกติ ไดร้ บั การตรวจ สุขภาพและทดสอบความทนทานต่อความเครียดตามมาตรฐาน ของกรมประมง หรือห้องปฏิบัติการทเี่ ชือ่ ถือได้ • ปล่อยลูกกุ้งที่ระยะ P12-13 ไม่เกิน 120,000 ตัว/ไร่ (รวมตัว แถม) อาจท�ำกระชังช�ำลูกกุ้งภายในบ่อเลี้ยงในอัตราส่วนลูก กุ้ง 100,000 ตัวต่อน้�ำ 100 คิว มีเคร่ืองให้อากาศรักษาระดับ ออกซิเจนให้สูงกว่า 4.0 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ตลอดเวลา สรา้ งอาหารธรรมชาตใิ นบอ่ ชำ� กอ่ นปลอ่ ยกงุ้ ตรวจวดั คณุ ภาพนำ้� ใสจ่ ุลินทรีย์ คมุ แอมโมเนียไมเ่ กิน 1 ส่วนในล้านสว่ น (ppm) ค่า ความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 7.8-8.0 ช�ำกุ้งนาน 25-30 วันจึง ปล่อยลงบ่อใหญ่ท่ีปรบั สภาพน�ำ้ ใหใ้ กลเ้ คียงกับสภาพของบ่อชำ� • ในกรณที ีไ่ ม่ได้ช�ำกุง้ ลกู กงุ้ ในช่วง 10-15 วนั แรกควรกินอาหาร ธรรมชาติเป็นหลัก เริ่มให้อาหารส�ำเร็จเม่ืออาหารธรรมชาต ิ ลดปริมาณลง โดยท่ีอาหารรวมใน 1 เดือนแรกไม่ควรเกิน 1 กโิ ลกรมั /ลกู กุ้ง 100,000 ตัว การให้อาหารเมด็ • ให้เลือกใช้อาหารเม็ดที่มีคุณภาพ มีการใช้วัตถุดิบที่กุ้งสามารถ ส�ำเร็จรปู ย่อยและดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้มาก โดยไม่จ�ำเป็นต้องเน้น ท่ีการมีระดับโปรตีนที่สูงเพียงอย่างเดียว ควบคุมอัตราการให้ อาหารอย่างเข้มงวด ระวงั การให้อาหารท่มี ากเกนิ ความต้องการ ของก้งุ การควบคุมปริมาณ • มีการระบายของเสียออกจากบ่อโดยการดดู เลนจากกลางบอ่ ทกุ สารอินทรียใ์ นน�้ำใน วัน มีการเติมน�้ำหรือถ่ายน้�ำท่ีผ่านการพักน้�ำในบ่อพักในระยะ ระหว่างการเลย้ี ง เวลาไม่น้อยกว่า 5-7 วัน รักษาระดับออกซิเจนในบ่อเล้ียงให ้ ไมน่ อ้ ยกว่า 4.0 สว่ นในล้านส่วน (ppm) ตลอดเวลา

การด�ำเนินงาน ขนั้ ตอนปฏิบัติ การรักษาสมดลุ ของ • รักษาสัดส่วนของระดับคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C:N ratio) ให้ จลุ ินทรีย์ภายในน้ำ� สูงกว่า 5:1 โดยอาจปฏิบัติตามระบบตราดโมเดล หรือ ระบบ ระหวา่ งการเล้ยี งก้งุ semi-floc หรอื การเตมิ กากนำ�้ ตาลแปง้ มนั หรอื นำ�้ ตาลลงในนำ้� ในระหว่างการเล้ียงในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อทุกการใช้อาหารเม็ด ส�ำเรจ็ รูป 8-10 กิโลกรมั และเตมิ จลุ นิ ทรีย์ เชน่ ปม.1 Bacillus spp. เปน็ ตน้ ทกุ ๆ 7 วนั เพอื่ เรง่ การยอ่ ยสลายของเสยี โดยทำ� ให้ ตลอดการเลี้ยงควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างของน้�ำในช่วงเช้า ไม่ให้เกิน 7.8 และความแตกต่างของค่าความเป็นกรด-ด่าง ในรอบวนั ไมเ่ กนิ 0.3 การควบคมุ เช้อื • เสริมอาหารกุ้งด้วย probiotics ชนิดท่ีผ่านการหมักแล้ว หรือ แบคทเี รียในตวั กงุ้ ผสมสมุนไพรหรือสารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธ์ิในการยับย้ัง ระหวา่ งการเลย้ี ง เช้อื แบคทเี รีย เช่น ข่า กระเทยี ม 49ก้าวต่อไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



51กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook