Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่-6-การเขียนในงานอาชีพแทรกสื่อ

หน่วยที่-6-การเขียนในงานอาชีพแทรกสื่อ

Published by nsdv, 2019-09-01 21:18:20

Description: หน่วยที่-6-การเขียนในงานอาชีพแทรกสื่อ

Search

Read the Text Version

ชดุการเรยน หลักสูตรประกาศนียบตัรวชาชพีชัน้สงูพทธศกัราช๒๕๖๒ óðððð-ññðñ ทกัษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี (OccupationalThaiLanguageSkill) ˹‹Ç·Õè ö ¡ÒÃà¢Õ¹㹧ҹÍÒªÕ¾ http://www.nsdv.go.th/ ศูนยอาชวีศึกษาทวภาคี ศูนยสงเสรมและพฒันาอาชวีศึกษาภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึษากระทรวงศึกษาธิการ

ชดุ การเรียน หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชีพชั้นสูง พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี หนว่ ยที่ ๖ สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงน้ี จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้รายวิชา ๓๐๐๐-๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงาน อาชีพ หลักสตู รประกาศนียบัตรวิชาชพี ช้นั สงู พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะ ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓-๐-๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยมี จุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการใช้ภาษาไทย สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพ โดยชุดการเรียนน้ี ประกอบด้วย ๗ หน่วยการเรียน และแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน แผนการเรียนประจำหน่วย เนื้อหาสาระและกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งในระบบปกติและระบบ ทวิภาคีสามารถศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ตลอดจนสามารถดาวน์โหลด (Download) ชุดการเรียน นี้เพื่อศึกษาเรียนรู้ในระบบออฟไลน์ (Offline) ได้ด้วย นอกจากนี้ ครูผู้สอนรายวิชาดังกล่าวยังสามารถ นำไปใชใ้ นการจดั การเรียนการสอนในสถานศกึ ษาได้ เป็นการสนองตอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วย ทั้งนี้ ชุดการเรียนนี้จะนำไปใช้ใน สถานศึกษานำร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและขยายผลแก่สถานศึกษา อาชีวศกึ ษาทกุ แหง่ ต่อไป สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษาขอขอบคณุ ศนู ย์อาชีวศกึ ษาทวิภาคี ศนู ย์ส่งเสรมิ และ พัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูผู้สอน คณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทกุ ท่าน ท่ีมีส่วนช่วยให้การดำเนินการจัดทำชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาไทยครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง และหวังว่าผู้เรียนจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ พฒั นาตนเองและประยุกต์ใชใ้ นงานอาชพี ได้เป็นอย่างดี ศูนย์สง่ เสริมและพัฒนาอาชวี ศกึ ษาภาคเหนือ ศูนย์อาชวี ศึกษาทวภิ าคี พฤษภาคม ๒๕๖๒

สารบญั ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี รายละเอยี ดรายวิชา หนา้ วิธกี ารศึกษา (ก) • ขั้นตอนการเรียนชุดการเรยี น • ข้นั ตอนการเรียนระดบั หน่วย (ข) (จ) หน่วยที่ ๖ การเขยี นในงานอาชีพ (ฉ) • แบบประเมนิ ตนเองก่อนเรยี น หน่วยท่ี ๖ ๑ • แผนการเรยี น หนว่ ยที่ ๖ การเขยี นในงานอาชพี ๑ - แผนการเรยี น มอดูลที่ ๖.๑ การเขียนจดหมายธุรกิจ ๒ - แผนการเรยี น มอดลู ที่ ๖.๒ การเขยี นโฆษณา ๔ - แผนการเรยี น มอดลู ที่ ๖.๓ การเขยี นประชาสัมพนั ธ์ ๒๐ • แบบประเมนิ ตนเองหลงั เรียน หนว่ ยท่ี ๖ ๓๕ • ภาคผนวก ๔๘ ๔๙

รายละเอยี ดรายวชิ า ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓-๐-๓ (Occupational Thai Language Skills) จดุ ประสงค์รายวชิ า เพ่ือให้ ๑. เข้าใจหลกั การใช้ภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๒. สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่าสารและใช้ภาษาไทยเปน็ เคร่ืองมอื สอ่ื สารใน วชิ าชพี ตามหลักภาษา เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลและสถานการณ์ ๓. เหน็ คุณค่าและความสาคญั ของการใชภ้ าษาไทยในวชิ าชีพอยา่ งมจี รรยาบรรณ สมรรถนะรายวชิ า ๑. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การ สังเคราะห์และการประเมินคา่ สารภาษาไทยเชิงวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ ๒. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารท่ีได้จากการฟัง การดูและการอ่านส่ือประเภท ต่าง ๆ ๓. พดู นาเสนอขอ้ มูลเพือ่ สือ่ สารในงานอาชพี และในโอกาสตา่ ง ๆ ตามหลักภาษา กาลเทศะ บคุ คลและสถานการณ์ ๔. เขียนเพ่ือติดต่อกิจธุระ บันทึกข้อมูลและรายงานการปฏิบตั ิงานเชิงวชิ าชพี ตามหลักการ ใช้ภาษาไทย คาอธบิ ายรายวชิ า ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากส่ือประเภทต่าง ๆ การพูด นาเสนอข้อมูลเพื่อส่ือสารในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพ่ือกิจธุระ การจดบันทึก ขอ้ มลู และเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงานเชงิ วิชาชีพ และจรรยาบรรณในการใชภ้ าษาไทยเชิงวชิ าชีพ (ก)

วธิ กี ารศกึ ษา ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ในการศึกษาชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ผู้เรยี นจะต้องทาความเขา้ ใจเกีย่ วกบั ๑. โครงสรา้ งเน้อื หาสาระ ๒. โครงสรา้ งสื่อการเรียนรู้ ๓. วิธกี ารเรียน โครงสร้างเนือ้ หาสาระ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพได้แบ่ง โครงสรา้ งเน้ือหาสาระ ดงั น้ี หนว่ ยท่ี ๑ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารอยา่ งมีประสิทธภิ าพ หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะห์สารจาการฟงั การดู การอา่ น หนว่ ยท่ี ๓ การพดู ในงานอาชีพ หนว่ ยที่ ๔ การพดู ในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือตดิ ตอ่ ธรุ ะ หน่วยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชพี หนว่ ยท่ี ๗ การเขยี นรายงานการวจิ ยั โครงสร้างสอ่ื การเรยี นรู้ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ประกอบด้วย ส่ือ ๒ ประเภท คือ (๑) สือ่ ส่งิ พิมพ์ ได้แก่ แผนการเรยี นและใบกิจกรรม และ (๒) ส่ือออนไลน์ วิธีการเรยี น เพ่ือให้การเรียนในชุดการเรียนรายวิชาน้ีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล ตามจดุ ประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวชิ า ผเู้ รยี นควรดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี ๑. เตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องจัดตัวเองให้อยู่ในสภาพการณ์ ที่เออื้ ต่อการเรียนรู้ ๔ ประการ คือ ๑.๑ มสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้อย่างกระฉับกระเฉง โดยการคิด เขียนและ ทากิจกรรมการเรียนรู้ทก่ี าหนดอย่างสม่าเสมอตลอดเวลา ๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบผลการเรยี นรูห้ ลงั ทากิจกรรมแตล่ ะกิจกรรมจากแนวการ ตอบหรอื เฉลย ๑.๓ ซือ่ สตั ย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูแนวการตอบหรอื เฉลยกอ่ น (ข)

๑.๔ ศึกษาเรยี นรู้ไปตามลาดับขน้ั ตอน เพ่อื ให้ไดค้ วามรู้ครบถว้ นตามท่กี าหนด ๒. ประเมนิ ผลตนเองกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น ๒.๑ ก่อนท่ีจะเรียนหน่วยการเรียนใด ผู้เรียนควรจะตรวจสอบความรู้ด้วยการ ประเมินผลตนเองก่อนเรียนจากแบบประเมินของหน่วยนั้น ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวม คะแนนไว้ หากทาไดค้ ะแนนเกนิ กวา่ รอ้ ยละ ๖๐ ผเู้ รยี นอาจจะไม่ต้องศกึ ษาหน่วยนั้น ๒.๒ เม่ือศึกษาหน่วยนนั้ เสร็จแล้ว ขอให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองหลังเรียน โดย ทาแบบประเมินทก่ี าหนดไวต้ อนท้าย ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวมคะแนนไว้ หากทาได้ต่ากว่า รอ้ ยละ ๘๕ ผ้เู รยี นควรศกึ ษาทบทวนหนว่ ยนั้นแล้วประเมินซา้ อกี จนกว่าจะได้คะแนนเพม่ิ ข้ึนตาม เกณฑท์ ก่ี าหนด ๓. ศึกษาเอกสารชดุ การเรียนและส่ือท่ีกาหนด โดย ๓.๑ ศกึ ษารายละเอยี ดชุดวิชา ๓.๒ ศึกษาแผนหนว่ ยการเรยี นทุกหนว่ ย ๓.๓ ศกึ ษารายละเอียดของแต่ละหนว่ ยการเรียน ดงั นี้ ๓.๓.๑ แผนการเรียนประจาหน่วย ๓.๓.๒ แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน ๓.๓.๓ แนวคดิ ๓.๓.๔ เนอื้ หาสาระในแตล่ ะหน่วย และแต่ละมอดูล ๓.๓.๕ กจิ กรรมและแนวการปฏบิ ตั หิ รอื แนวการตอบ ๓.๓.๗ แบบประเมินตนเองหลงั เรียน ๔. ทากจิ กรรมตามทีก่ าหนดในหน่วยการเรยี น “กิจกรรม” เป็นส่วนที่ผู้เรียนจะต้องบันทึกสาระสาคัญและทากิจกรรมทุกอย่าง ตามทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ใหเ้ ขียนกิจกรรมลงในแบบฝึกปฏบิ ัติที่กาหนด บางกจิ กรรมอาจให้ผู้เรียน ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ขอให้ผู้เรียนจัดทาและจัดส่งครูผู้สอนหรือครูเจ้าของ วิชาตามวนั เวลาและสถานทท่ี ก่ี าหนด (ค)

๕. การศึกษาสอื่ ประกอบการเรยี นรู้ บางหน่วยการเรียน อาจกาหนดให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อท่ีกาหนดหรือ ศึกษาส่ือควบคู่ไปกับการอ่านเอกสารชุดการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ขอให้ผู้เรียนศึกษา รายละเอียดตา่ ง ๆ ตามทกี่ าหนด และจดบนั ทึกสาระสาคัญของสิ่งทไี่ ด้เรยี นรู้ไว้ในกจิ กรรมปฏิบัติ ด้วย ๖. การเข้ารับการสอนเสรมิ หรือรบั บรกิ าร ณ สถานศกึ ษา ผู้เรียนต้องนาบัตรประจาตัวนักศึกษาและบัตรลงทะเบียนเรียนรายวิชาไปแสดง ดว้ ย และเมอ่ื เขา้ รับการสอนเสรมิ รับฟังและรบั ชมส่อื ต่าง ๆ ใหบ้ ันทกึ รายละเอยี ดการเขา้ รับการ สอนเสรมิ หรือรบั บริการในแบบฝกึ ปฏบิ ัตติ อนทา้ ยหน่วยดว้ ย ๗. การร่วมกจิ กรรมภาคปฏิบตั เิ สริมประสบการณ์ ผู้เรียนชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ อาจจะตอ้ งเขา้ ร่วมกิจกรรมอย่างใดอยา่ งหน่ึงตอ่ ไปนี้ ๗.๑ เข้าห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ใน แตล่ ะหน่วยการเรียน ๗.๒ เข้าสงั เกตการณ์การสอนในหนว่ ยการเรียนทก่ี าหนด ๗.๓ เข้าฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการหรือหน่วยงาน ๗.๔ ประดิษฐค์ ิดคน้ หรอื ศึกษาสารวจข้อมูลตามท่กี าหนด หลังจากทากิจกรรมข้างต้นแล้ว ให้มีการสรุปรายงานให้แก่ครูผู้สอนหรือครู เจ้าของวิชาทราบเพ่ือตรวจสอบผลการปฏิบัติ และเก็บผลการประเมินเป็นคะแนนเก็บของ รายวิชา ๘. เขา้ รบั การสอบ เม่ือส้ินภาคการศึกษา ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาหรือ สอบไล่ ตามวนั เวลาและสถานทท่ี ีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพอื่ การตัดสินผลการเรยี น (ง)

(จ)

(ฉ)

แบบประเมินตนเองก่อนเรยี น หน่วยที่ ๖ http://bit.ly/thai-test6 ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๑

แผนการเรียน หนว่ ยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชีพ มอดูลท่ี ๖.๑ การเขียนจดหมายธรุ กิจ ๖.๒ การเขยี นโฆษณา ๖.๓ การเขียนประชาสัมพันธ์ แนวคิด การเขียนในงานอาชีพมีความจำเป็นที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การ เลือกรูปแบบและภาษาที่เหมาะสมในการส่ือสารจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจดังนั้นในการ เขยี นจดหมายธุรกิจ การเขยี นโฆษณา และการเขียนประชาสมั พนั ธ์จงึ จำเป็นตอ้ งศกึ ษารูปแบบการเขียน และวิธกี ารใช้ภาษาใหเ้ หมาะสมกบั การเขียนในงานอาชีพแตล่ ะประเภท ๕ จดุ ประสงคก์ ารเรยี น ๑. เมื่อศึกษามอดูลที่ ๖.๑ “การเขียนจดหมายธุรกิจ” แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียนจดหมาย ธุรกจิ แต่ละประเภทไดอ้ ย่างถกู ตอ้ ง ๒. เมื่อศึกษามอดูลที่ ๖.๒ “การเขียนโฆษณา” แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียนโฆษณาในสื่อ สง่ิ พมิ พไ์ ด้อย่างถูกต้อง ๓. เมื่อศึกษามอดูลที่ ๖.๓ “การเขียนประชาสัมพันธ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียน ประชาสมั พนั ธใ์ นรูปแบบตา่ ง ๆ ไดอ้ ยา่ งถูกต้อง กิจกรรมการเรียน ๑. ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน หน่วยท่ี ๖ ๒. อ่านแผนการเรียนประจำหน่วยที่ ๖ ๓. อ่านสาระสงั เขปประจำมอดูลท่ี ๖.๑-๖.๓ ๒ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

๔. ดำเนินกจิ กรรมที่กำหนดของแตล่ ะมอดูลหรือหวั ขอ้ เร่อื ง ๕. ตรวจสอบคำตอบจากแนวตอบของแต่ละกิจกรรม ที่กำหนดไวท้ ้ายหนว่ ยที่ ๖ ๖. ทำกจิ กรรมภาคปฏบิ ัติเสริมประสบการณเ์ พื่อเกบ็ คะแนน ๗. ทำแบบประเมนิ ตนเองหลงั เรียน สื่อและแหล่งการเรยี น ๑. เอกสารชุดการเรียน หน่วยที่ ๖ ๒. ใบช่วยสอน การประเมินผลการเรียน ๑. ประเมินความกา้ วหนา้ ระหวา่ งเรียน การประเมินตนเองก่อนและหลงั เรียน ๒. ประเมนิ กิจกรรมภาคปฏิบตั ิ (๒๐ คะแนน) ๓. ประเมินคุณธรรม จรยิ ธรรม (๒๐ คะแนน) ๔. การสอบปลายภาค (….. คะแนน) ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ๓

แผนการเรียน มอดลู ท่ี ๖.๑ การเขียนจดหมายธรุ กิจ มอดลู ที่ ๖.๑ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๖.๑ แล้วจึงศึกษา รายละเอยี ดต่อไป หัวข้อเรื่อง ๖.๑.๑ ความหมายของจดหมายธรุ กจิ ๖.๑.๒ ความสำคญั ของจดหมายธรุ กจิ ๖.๑.๓ ลักษณะของจดหมายธรุ กจิ ท่ีดี ๖.๑.๔ รูปแบบการเขียนจดหมายธุรกจิ ๖.๑.๕ ประเภทของจดหมายธรุ กจิ ๖.๑.๖ การเขียนจดหมายธุรกจิ ประเภทตา่ ง ๆ แนวคิด จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายที่ใชต้ ิดต่อระหว่างบรษิ ัท ห้างร้านหรือระหว่างลูกค้ากับบริษัทห้าง รา้ นดว้ ยเร่อื งธรุ กิจ การใชจ้ ดหมายธุรกจิ เปน็ วธิ กี ารทีส่ ะดวก ประหยดั ใช้ได้ในวงกวา้ ง เพราะสามารถส่ง ข้อความไดอ้ ย่างครบถว้ นและเก็บเปน็ หลักฐานอา้ งอิงได้ จดหมายธรุ กิจทีด่ ตี อ้ งมเี น้อื หาทีช่ ัดเจน สมบูรณ์ กะทัดรัด ใช้ภาษาในการสอ่ื สารถูกต้องตามหลกั ไวยากรณ์ สภุ าพ เหมาะสมกับกาลเทศะและบคุ คล และ คำนงึ ถงึ ความร้สู ึกของผู้อา่ นเป็นสำคัญ รูปแบบการเขยี นจดหมายที่นิยมใชม้ ากที่สุด คือ รูปแบบหนังสือ ราชการภายนอก จดหมายธุรกิจแบ่งตามจุดมุ่งหมายในการสือ่ สารได้ ๔ ประเภท คือ จดหมายท่ีใชเ้ พ่อื การติดต่อทางธุรกิจ จดหมายเพื่อดำเนินธุรกิจ จดหมายเพื่อส่งเสริมธุรกิจ และจดหมายสมัครงาน การ เขียนจดหมายธุรกิจต้องมีส่วนนำ ส่วนเนื้อหาและ ส่วนท้าย ซึ่งมีวิธีการเขียนแตกต่างกันไปตาม วตั ถปุ ระสงค์ของการส่อื สาร จดุ ประสงค์การเรียน ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๑.๑ “ความหมายของจดหมายธุรกิจ” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอก ความหมายของจดหมายธรุ กิจได้อยา่ งถกู ตอ้ ง ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๑.๒ “ความสำคัญของจดหมายธุรกิจ” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอก ความสำคญั ของจดหมายธรุ กิจได้อย่างถกู ต้อง ๔ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเรือ่ งที่ ๖.๑.๓ “ลักษณะของจดหมายธุรกิจที่ดี” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอกลักษณะ ของจดหมายธรุ กจิ ท่ดี ีได้อย่างถูกตอ้ ง ๔. เมื่อศกึ ษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๖.๑.๔ “ประเภทของจดหมายธุรกจิ ” แล้ว ผเู้ รยี นสามารถแยกประเภทของ จดหมายธรุ กิจได้อย่างถูกต้อง ๕. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๑.๕ “รูปแบบจดหมายธุรกิจ” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอกประเภท รปู แบบจดหมายธรุ กิจได้ ๖. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๑.๖ “การเขียนจดหมายธุรกิจประเภทต่าง ๆ” แล้ว ผู้เรียน สามารถเขียนจดหมายธรุ กจิ แตล่ ะประเภทได้อยา่ งถกู ต้อง ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี ๕

เนอ้ื หา ๖.๑.๑ ความหมายของจดหมายธรุ กจิ จดหมายธุรกจิ หมายถึง จดหมายท่ีใช้ติดตอ่ ระหว่างบริษัท ห้างร้านกับลูกค้า หรือระหว่างลกู คา้ กบั บริษัทหา้ งรา้ นโดยมจี ุดประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ เชน่ การเสนอขายสินค้าและบรกิ าร การสอบถาม การส่ังซ้ือ สินค้า การตอบรับการสั่งซื้อ การขอเปิดเครดิต การติดตามหน้ี การร้องเรียนเและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ ลูกค้า จดหมายธุรกิจจะมีความแตกต่างจากจดหมายส่วนตัวในด้านรูปแบบและการใช้ถ้อยคำภาษาที่ต้องเป็น ทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการไม่ใช้ภาษาปากหรือภาษาพูดดังที่มักปรากฏในจดหมายส่วนตัว (นวภรณ์ อุ่น เรือน. ๒๕๔๗ : ๑๑๔) ๖.๑.๒ ความสำคญั ของจดหมายธุรกจิ สภุ คั มหาวรากร (๒๕๔๗ : ๘๒) ได้กล่าวถงึ ความสำคัญของจดหมายธุรกิจไว้ดงั นี้ ๑. สะดวกเพราะไมต่ อ้ งเสยี เวลาในการเดินทางไปด้วยตนเอง ๒. ประหยัดเวลาและค่าใช้จา่ ย ๓. สามารถใชใ้ นการติดตอ่ สื่อสารกับบุคคลทรี่ จู้ กั และไม่รจู้ ักได้ ๔. สามารถเขยี นรายละเอียดไดช้ ัดเจนและสมบูรณม์ ากกวา่ การพูด ๕. สามารถเก็บเปน็ หลกั ฐานอ้างอิงได้ ๖.๑.๓ ลกั ษณะของจดหมายธรุ กิจท่ดี ี จดหมายธุรกิจที่ดีย่อมส่งผลให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ ตรงกนั รวมทัง้ ก่อให้เกดิ ความพึงพอใจท้ังผูส้ ่งและผรู้ ับ จดหมายธุรกิจทีด่ ตี อ้ งมลี ักษณะดังต่อไปนี้ ๑. กะทัดรัด คือ การใช้คำน้อยแต่ได้ใจความครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมด ใช้คำและประโยคที่ กะทดั รัดไดใ้ จความ ๒. ชัดเจน คือ ต้องแสดงความคิดเห็นหรือความตอ้ งการอย่างชดั เจน เพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจและ ปฏบิ ตั ิตามได้อย่างถกู ตอ้ ง ๓. ถูกต้อง คอื การเลือกใชค้ ำ การสะกดคำ การเรยี งคำ และการใชป้ ระโยคถกู ตอ้ งตามหลกั ไวยากรณ์ หลกี เลยี่ งสำนวนตา่ งประเทศ ๔. สุภาพ คือ ใช้ถ้อยคำที่แสดงความสุภาพ เพื่อสร้างความประทับใจที่ดีในการติดต่อ เช่นคำว่า ขอบคณุ ขออภัย ยนิ ดี ๕. ประณีต คือใช้ภาษาทเ่ี ปน็ ทางการหรือกง่ึ ทางการ และเหมาะกบั กาลเทศะและบุคคล ๖. คำนงึ ถงึ ผ้อู า่ น คือเขียนโดยคำนงึ ถงึ ความรู้สกึ ของผ้อู า่ นเป็นสำคัญ ๖ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

๖.๑.๔ ประเภทของจดหมายธุรกจิ นวภรณ์ อนุ่ เรือน (๒๕๔๗ : ๑๑๘) แบง่ ประเภทจดหมายธรุ กิจแบง่ ตามวตั ถปุ ระสงคด์ งั นี้ ๑. จดหมายเพ่ือติดต่อทางธุรกิจเป็นจดหมายธุรกิจท่ีเขยี นขึ้นเพื่อใหธ้ ุรกิจหรอื การค้าเกิดขึน้ ได้แก่ จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการจดหมายสอบถามและตอบแบบสอบถาม จดหมายขอเปิดเครดติ และสอบถาม เครดติ เป็นต้น ๒. จดหมายเพื่อดำเนินธุรกิจ เป็นจดหมายธุรกิจที่เขียนขึ้นเพื่อให้ธุรกิจหรือการค้าประสบ ความสำเร็จ ไดแ้ ก่ จดหมายสั่งซอ้ื จดหมายตอ่ วา่ และปรบั ความเข้าใจและจดหมายทวงหน้ี ๓. จดหมายเพื่อส่งเสริมธุรกิจ เป็นจดหมายที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าของ ธรุ กจิ และลกู ค้า เป็นจดหมายท่แี สดงไมตรีจิตในโอกาสต่าง ๆ เชน่ จดหมายอวยพร หรือแสดงความยนิ ดี จดหมาย แสดงความเห็นใจหรอื เสียใจ จดหมายตอบขอบคณุ เปน็ ต้น ๔. จดหมายสมัครงาน จัดเป็นจดหมายธุรกิจประเภทหนึ่งเพราะเป็นการนำเสนอคุณสมบัติต่าง ๆ ของตนเองใหเ้ จา้ ของกจิ การหรือผูบ้ รหิ ารในองค์การพิจารณา ๖.๑.๕ การเขยี นจดหมายธรุ กิจประเภทตา่ ง ๆ ๑) จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ เป็นจดหมายที่บริษัทห้างร้านต่าง ๆ มีไปถึงลูกค้าเพื่อบอก ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้า เช่น คุณภาพ ราคาและสิ่งจูงใจที่จะเรียกร้องความสนใจของลูกค้าให้เกดิ ความต้องการและพร้อมที่จะส่งั ซ้ือทันที องค์ประกอบของจดหมายเสนอขายสินคา้ และบริการแบ่งเปน็ ๓ สว่ น ดังนี้ ๑. ส่วนนำ เปน็ สว่ นเรียกร้องความสนใจจากลูกคา้ ด้วยเง่ือนไขใดเง่อื นไขหนึง่ หรือประโยชน์ท่ีจะ ไดร้ ับจากสินค้านนั้ ๆ ควรใชภ้ าษาที่เร้าความสนใจให้ตดิ ตามใจความในตอนตอ่ ไป ๒. ส่วนเนื้อหา ต้องเขียนเพื่อมุ่งให้ลูกค้าเกิดความต้องการสินค้าหรือบริการที่นำเสนอโดย กล่าวถึงรายละเอียดของสินค้าหรือบริการเพื่อก่อให้เกิดความกระจ่าง แต่ควรเสนอตามข้อเท็จจริง ไม่ควรแอบ อ้างหรือโฆษณาชวนเชื่อจนเกินจริง มีการยืนยันหรือรับประกันคุณภาพสินค้าด้วยรางวัลหรือมาตรฐานการ รบั รองสินค้าทนี่ ่าเชือ่ ถอื เพ่อื กอ่ ใหเ้ กิดความพึงพอใจ ๓. ส่วนท้าย ควรเขียนข้อความเร่งเร้า ยั่วยุให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการด้วย เงอ่ื นไขการขายพเิ ศษ และให้ความหวังว่าจะไดร้ ับใบส่ังซื้อหรือจดหมายสั่งซอื้ จากลูกคา้ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๗

ตวั อย่างจดหมายเสนอขายสินค้า บริษัท สมทุ รเทวา จำกดั ๕/๖ ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี กทม. ๑๐๔๐๐ โทร ๒๖๑๐๕๓๔ ๑๔ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๕๘ เรื่อง เกลือป่นคณุ ภาพ เรยี น คุณแม่บา้ น แม่บ้านที่ชาญฉลาด ย่อมต้องเลือดใช้เครื่องประกอบอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมาชิกในครอบครัว เพอื่ ให้ทกุ คนในครอบครัวท่ที า่ นรกั มสี ขุ ภาพท่ดี ี เกลือป่น สมุทรเทวา เป็นเกลือป่นที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าเกลือป่นโดยทั่วไปเพราะนอกจากจะ ประกอบด้วยสารโซเดยี มคลอไรด์แล้ว ผผู้ ลติ ยงั ได้เพิม่ เตมิ สารเสรมิ ไอโอดีนและเกลอื แร่ต่าง ๆ ทำให้อาหารที่ ปรงุ รสดว้ ยเกลอื “สมทุ รเทวา” มีรสละมนุ ขน้ึ และทำให้ผบู้ รโิ ภคไดร้ บั เกลอื แรท่ เี่ ปน็ ประโยชน์ตอ่ รา่ งกายมากข้ึน แม้การใชเ้ กลอื ป่นจะเปน็ เรอื่ งเลก็ ๆ นอ้ ย ๆ แตท่ า่ นกค็ วรจะได้ประโยชน์จากการใชเ้ กลือป่นมากกว่า ทีเ่ ปน็ อยู่ บริษัทจงึ ขอแนะนำ เกลอื ปน่ “สมุทรเทวา” อยา่ ลมื เรียกใช้ “สมทุ รเทวา” เมอื่ ต้องการใช้เกลอื ปน่ “เกลือป่น สมุทรเทวา” ได้รับใบรับรองคุณภาพจากกองควบคุมอาหารและยากระทรวงสารณสุข แล้ว จึงม่ันใจได้ในคุณภาพ โปรดกรอกรายละเอียดลงในบัตรที่บริษัทได้แนบมาน้ี แล้วส่งไปยังบริษัท เพื่อบริษัทจะได้ส่งเกลือป่น “สมทุ รเทวา” มาใชท้ า่ นทดลองใชท้ ันที ขอแสดงความนบั ถอื ปรก สมทุ รเทวา (นายปรก สมทุ รเทวา) ผ้อู ำนวยการฝา่ ยขาย ๒) จดหมายสอบถามและตอบแบบสอบถาม เป็นจดหมายติดต่อระหว่างลูกค้ากับบริษัทห้างร้านท่ี ต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า หรือสอบถามเพิ่มเติมจากข่าวโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ โดยอาจจะให้บริษัทสง่ รายละเอยี ดหรือแคตตาลอกมาให้ เม่ือบริษทั ได้รบั ก็จะต้องมจี ดหมายตอบทนั ทเี พ่ือแสดงให้ ๘ ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

เห็นว่าบริษทั ให้ความสำคัญกบั ลกู คา้ และเป็นโอกาสในการนำเสนอขายสินคา้ ต่อไป องค์ประกอบของจดหมายสอบถามและตอบแบบสอบถามแบ่งเปน็ ๓ ส่วน ดังนี้ ๑. ส่วนนำ เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องแนะนำตนเอง บอกแหล่งที่มาของข่าวสาร พร้อมแจ้งความ ประสงค์ในการเขยี นจดหมาย ๒. ส่วนเนอื้ หา ผเู้ ขยี นต้องระบขุ ้อมูลที่ต้องการสอบถามอย่างละเอยี ดชดั เจนโดยใชข้ ้อความสนั้ ๆ ชดั เจน ตรงประเด็น ๓. ส่วนท้าย ผู้เขียนควรกล่าวขอบคุณและแสดงความหวังว่าจะได้รับคำตอบหรือความร่วมมือ จากบรษิ ัทโดยเรว็ ตวั อย่างจดหมายสอบถาม ๑๒๓ หมู่ ๖ ต.ทงุ่ กวาว อ.เมือง จ.แพร่ ๕๔๐๐๐ ๒๐ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๗ เร่อื ง สอบถามรายละเอยี ดเคร่อื งคอมพวิ เตอรใ์ นโครงการคอมพิวเตอร์ ICT เพอื่ นอ้ งเล็ก เรียน ฝา่ ยลกู ค้าสมั พนั ธ์โครงการคอมพวิ เตอร์ ICT เพอ่ื นอ้ งเล็ก เนื่องจากกระผมได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ราคาถูกในโครงการคอมพิวเตอร์ ICT เพื่อน้องเลก็ จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ กระผมมคี วามสนใจทีจ่ ะเขา้ ร่วมโครงการและประสงคจ์ ะขอข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ ๑) ข้อมูลจำเพาะและความสามารถของเครื่องแต่ ละรุ่น ๒) ระยะเวลารับประกันและ วิธีการผ่อนชำระเงิน ๓) ราคาคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นซึ่งรวมภาษี แลว้ กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับทราบข้อมูลเหล่านี้จากท่าน ขอให้ท่านโปรดส่ง รายละเอยี ดมายงั ที่อยขู่ า้ งบนและขอขอบคณุ มา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ อรรถพร ใจมา (นายอรรถพร ใจมา) ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๙

๓) จดหมายขอเปิดเครดิตหรือจดหมายขอเปิดบัญชีเงินเชื่อ หมายถึง จดหมายที่ลูกค้าต้องการที่จะ ติดต่อเรื่องการค้าด้วยบัญชีเงินเชื่อ ลูกค้าที่ขอเปิดเครดิตต้องแสดงรายละเอียดส่วนตัวและฐานะทางการเงิน ประกอบการพิจารณา พรอ้ มระบชุ อื่ บุคคลทจ่ี ะรับรองฐานะทางการเงนิ ใหช้ ัดเจนเพื่อใหต้ ิดตอ่ สอบถามได้สะดวก และจะตอ้ งมีการระบุเง่ือนไขการชำระเงนิ และระยะเวลาใหแ้ นน่ อน องคป์ ระกอบของจดหมายขอเปดิ เครดิตแบง่ เปน็ ๓ ส่วน ดงั นี้ ๑. สว่ นนำ เปน็ สว่ นทผี่ ู้เขยี นแจง้ ความประสงค์ทจี่ ะซ้อื สนิ คา้ ด้วยการขอเปิดเครดติ ๒. ส่วนเนื้อหา ผู้เขียนต้องแสดงรายละเอียดเพื่อการพิจารณา ประกอบด้วยการแนะนำตนเอง กจิ การ อาชพี รายได้ ทอี่ ยู่ และชือ่ ทอ่ี ย่ผู คู้ ้ำประกนั หรอื ผรู้ ับรองฐานะทางการเงนิ ๓. สว่ นทา้ ย ผูเ้ ขยี นควรแสดงความหวงั วา่ จะมโี อกาสไดร้ บั คำตอบตกลงให้เปิดเครดิต ตัวอยา่ งจดหมายขอเปิดเครดิต ห้างหนุ้ สว่ นจำกัด รชต อิเลก็ ทริกส์ ๒๓ ถนนเหมอื งหิต ตำบลในเวยี ง อำเภอเมอื ง จงั หวดั แพร่ ๕๔๐๐๐ ๒๔ มนี าคม ๒๕๕๘ เรอื่ ง ขอเปดิ เครดิตในการส่ังซ้ือสนิ คา้ เรียน ผู้จดั การฝ่ายสินเชอื่ บรษิ ทั กรุงไทยการไฟฟา้ จำกัด ส่งิ ทีส่ ่งมาด้วย ใบรายการสินค้าท่ีขอเปดิ เครดิต ห้างหุ้นสว่ นจำกัด รชต อิเลก็ ทริกส์ มีความประสงค์จะซือ้ สนิ ค้าประเภทอุปกรณเ์ ครอ่ื งใชไ้ ฟฟา้ จากบรษิ ทั ฯ ของ ทา่ นด้วยการขอเปดิ เครดิตใหม่ ตามสนิ ค้าในรายการทแี่ นบมาดว้ ย หา้ งหุ้นส่วนจำกดั รชต อิเล็กทรกิ ส์ ทำธุรกิจประเภทค้าขายอปุ กรณ์เครอ่ื งใช้ไฟฟา้ มาเปน็ ระยะเวลา ๑๐ ปี เป็นท่ี เชอ่ื ถอื และไว้วางใจของลูกคา้ ทกุ ระดบั ขณะนบี้ ริษทั กำลงั ขยายกจิ การจึงมคี วามประสงค์จะขอเปิดเครดติ ในการสั่งซ้ือสินค้า เพื่อให้บริษัท ฯ ของท่านเกิดความมั่นใจ ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลของห้างหุ้นส่วนจำกดั รชต อิเล็กทริกส์ ได้ท่ี คณุ สมัคร สมทิ ธเิ วช ประธานหอการค้าจงั หวดั แพร่ เลขที่ ๒๒๕ ถนนเจริญเมอื ง ตำบลในเวียง อำเภอเมอื งแพร่ จังหวัดแพร่ ๕๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๘๑๒๓๔๕๖๗๗ เพ่อื ประกอบการพิจารณาในการใหเ้ ครดิต ห้างหุน้ ส่วนจำกัด รชต อิเล็กทริกส์ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า จะได้รับความกรุณาจากท่านและได้ดำเนินธุรกิจรว่ มกนั ตอ่ ไป ขอแสดงความนบั ถอื รชต สุวรรณรักษา (นายรชต สวุ รรณรักษา) กรรมการผ้จู ดั การ ๑๐ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี

๔) จดหมายสั่งซื้อสินค้า เป็นจดหมายที่ลูกค้าเขียนสั่งซื้อสินค้าโดยระบุชนดิ ของสินค้าและรายละเอียด ต่าง ๆ อย่างชดั เจนซง่ึ บางครั้งอาจใชเ้ ป็นแบบฟอร์มหรือใบส่ังซื้อที่บรษิ ทั จัดทำขนึ้ กไ็ ด้ องค์ประกอบของจดหมายสัง่ ซอ้ื สนิ ค้าแบ่งเปน็ ๓ ส่วน ดงั น้ี ๑. ส่วนนำ เป็นการเขยี นข้อความนำการส่งั ซ้ือ บางคร้งั อาจไม่ต้องเขยี นในกรณีทีใ่ ชใ้ บส่งั ซื้อแต่ให้ ระบุเลขทใี่ บส่ังซือ้ เพอ่ื ใช้เป็นการอ้างอิงในการติดตอ่ คร้ังต่อไป ๒. สว่ นเนอ้ื หา ผ้เู ขียนตอ้ งระบรุ ายละเอยี ดของสนิ คา้ ให้ชัดเจน เชน่ จำนวน ขนาด เบอร์ สี รหสั ราคาและสว่ นลด ๓. ส่วนท้าย ผู้เขียนควรระบุการส่ัง กำหนดส่ง วิธีการส่ง วิธีการชำระเงิน และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ ตกลงกนั และแสดงความหวงั ว่าจะได้รบั สนิ ค้าตามเงอ่ื นไขทรี่ ะบุ ชดุ การเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑๑

ตวั อยา่ งจดหมายสั่งซื้อสนิ ค้า บรษิ ทั ป.พาณิชย์ จำกัด ๔๓๖ ถนนพานิชเจรญิ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๐๐๐ โทร. ๐ ๓๒๔๑ ๑๗๘๙ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ เรอื่ ง ขอสง่ั ซอ้ื สนิ ค้า เรียน ผู้จดั การบริษทั นครแพร่ทาวเวอร์ บ๊คุ เซ็นเตอร์ จำกดั บริษัทป. พาณิชย์ จำกัด ขอขอบคุณที่ท่านได้ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับหมึกพิมพ์ “INKJET ORIGINAL” มาให้บริษัทฯ มีความสนใจนสินค้าและขอสั่งซื้อสินค้าตามรายละเอียด โปรดส่งสินค้าตามรายการไปให้บริษัทฯ ภายในวันที่ ๒๕ เมษายน ศกนี้ ทางพัสดุ ไปรษณีย์ จำนวน หน่วยนบั รหสั สนิ ค้า ช่ือสินคา้ ราคาต่อหน่วย เปน็ เงนิ ๕ ชุด TQ๖๗๑๓ EPSON ๗๖๐ ๓,๘๐๐ ๑๐ ชดุ BC ๕๖M CANNON ๔๔๒ ๔,๔๒๐ รวมเงนิ ๘,๒๒๐ การสั่งซื้อสินคา้ ครั้งนี้ ขอให้ท่านนำรายการสั่งซื้อดังกล่าวเข้าบัญชีของบริษัทฯ ตาม เงอื่ นไขข้อตกลงท่ีเคยปฏิบัติกนั มา ขอแสดงความนบั ถือ มุกดา แสงแก้ว ๕) จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ เป็นจดหมายที่เขียนขึ้นเพ่ือต่อว่าหรือร้องเรียนในกรณีท่ีสนิ คา้ ชำรุด ผดิ ขนาด ไมค่ รบจำนวน หรอื ลา่ ช้า เป็นต้น การเขยี นตอ้ งมีความชัดเจน สภุ าพ กะทดั รัดและมเี หตผุ ล เมือ่ บริษัทได้รบั จดหมายประเภทนี้ต้องรีบเขยี นจดหมายปรับความเข้าใจโดยชี้แจงเหตุผลหรือสาเหตทุ ี่ผิดพลาดโดย แสดงความเสียใจและยอมรบั ข้อผิดพลาดทเี่ กิดขน้ึ พรอ้ มแสดงความรบั ผิดชอบโดยการยินดีปฏิบตั ิตามเงอ่ื นไข องค์ประกอบของจดหมายต่อว่าแบ่งเป็น ๓ ส่วน ดงั น้ี ๑๒ ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

๑. ส่วนนำ เป็นการเขียนเท้าความถงึ การสั่งซ้ือสินคา้ หรือบริการโดยอ้างตามเลขที่ใบสั่งซื้อหรือ วันท่ีจดหมายสั่งซ้อื และรายละเอียดสนิ คา้ ๒. สว่ นเนือ้ หา ผ้เู ขียนอธบิ ายถึงความชำรุดหรือความบกพรอ่ งของสนิ ค้า ๓. ส่วนท้าย ผู้เขยี นควรแสดงความประสงค์วา่ ต้องการใหบ้ ริษัทแกไ้ ขอย่างไร ตัวอย่างจดหมายต่อวา่ /รอ้ งเรยี น บรษิ ัท เสรสี ยาม จำกัด ๔ ซอยสุขมุ วิท ๑๑๑ เขตพระโขนง กรงุ เทพมหานคร โทร ๐๒ ๐๐๑๐๐๓๑ ตอ่ ๑๑๒ ๕ เมษายน ๒๕๕๘ เรื่อง สนิ คา้ ไมไ่ ดม้ าตรฐาน เรียน ผจู้ ัดการบริษัท แสงดี จำกัด ตามที่บริษัท เสรีสยาม จำกัด ได้สั่งซื้อพัดลมโคจรจากท่านตามจดหมายสั่งซื้อฉบับวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘ และได้สินคา้ เรยี บรอ้ ยแลว้ น้ัน ปรากฏว่ามพี ดั ลมโคจร ๒ เคร่ือง ไมส่ ามารถปรับระดบั ความ แรงทร่ี ะดบั ๑ ได้ จึงเรยี นมาเพือ่ ทราบและขอใหท้ า่ นดำเนินการเปลยี่ นสนิ ค้าใหม่ ท่มี ีคณุ ภาพตามมาตรฐาน ส่งให้ บรษิ ทั ฯ ภายในวนั ท่ี ๑๕ เมษายน ๒๕๕๘ เพือ่ บริษัทจะไดน้ ำสง่ สนิ คา้ ให้ลูกค้าตอ่ ไป ขอแสดงความนบั ถือ มณจี ันทร์ บญุ ทวี (นาง มณีจันทร์ บญุ ทว)ี บรษิ ทั เสรีสยาม จำกดั ๖) จดหมายทวงหนี้ เป็นจดหมายท่ีผู้ขายเขียนถึงลูกค้าเพื่อแจ้งหนี้ให้ทราบ หากลูกค้าเพิกเฉยก็อาจจะ ตอ้ งส่งจดหมายเตือนหนี้ และจดหมายทวงหน้ตี ามลำดับ องค์ประกอบของจดหมายทวงหน้ีข้ันแจง้ แบ่งเปน็ ๓ สว่ น ดังน้ี ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๑๓

๑. ส่วนนำ เป็นการเขียนแจ้งให้ทราบถึงรายการสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อ ยอดเงินที่ค้างชำระและ กำหนดวันชำระ ๒. สว่ นเน้ือหา ผเู้ ขียนเตอื นหนอ้ี ย่างสภุ าพโดยการแจง้ ยอดเงินท่ีคา้ งชำระ ๓. สว่ นท้าย มีขอ้ ความขออภยั หากมีขอ้ ผิดพลาดในการเตอื นหนี้ องคป์ ระกอบของจดหมายทวงหน้ีขนั้ เตอื นแบง่ เป็น ๓ สว่ น ดงั น้ี ๑. ส่วนนำ เปน็ การเท้าความถงึ จดหมายแจง้ หน้ีว่าไม่ไดร้ ับคำตอบหรือการชำระหนี้ ๒. ส่วนเนื้อหา ผู้เขียนสอบถามเหตุผลที่ลูกค้าไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดโดยมีเนื้อหาจูงใจให้ ลูกค้ายอมชำระหน้ี ๓. สว่ นท้าย ผเู้ ขยี นกลา่ วสรุปโดยการย้ำใหล้ ูกคา้ ชำระเงินหรอื ปฏิบัตติ ามขอ้ แนะนำ องค์ประกอบของจดหมายทวงหนี้ข้ันทวงหน้แี บง่ เป็น ๓ สว่ น ดงั นี้ ๑. สว่ นนำ เป็นการเทา้ ความถึงจดหมายแจง้ หนี้ว่าไม่ไดร้ บั การชำระพร้อมแจง้ ยอดเงนิ คา้ งชำระ ๒. ส่วนเนื้อหา ผู้เขียนแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าการเตือนหนี้ครั้งนี้เป็นการเตือนครั้งสุดท้าย และ ขอให้มีการชำระหน้ีโดยระบุให้ชดั เจนวา่ หากลูกหนไ้ี ม่ชำระหน้จี ะดำเนนิ การอย่างไร ๓. ส่วนท้าย ผเู้ ขียนกล่าวสรุปโดยการย้ำใหล้ ูกค้าชำระหนี้ ๑๔ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

ตัวอย่างจดหมายทวงหนฉ้ี บับทีส่ อง (ข้ันเตอื น) บรษิ ัทกรงุ ไทยออพติค จำกัด ๑๐๔๕/๒ หมู่ ๑ ต.นครสวรรคต์ ก อ.เมอื ง จ.นครสวรรค์ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เรียน................................. เนอ่ื งจาก เมือ่ วนั ท่ี ๑๐ เมษายน ๒๕๕๘ บรษิ ัทฯ ได้มจี ดหมายเรียนให้ท่านทราบว่าท่านยัง มบี ัญชี ค้างชำระกับบริษทั ตงั้ แต่เดอื น มนี าคม ๒๕๕๘ และขอให้ทา่ นจดั การชำระเงนิ โดยเรว็ ด้วยน้ัน บัดน้ี บริษัทฯได้รบั แจ้งจากเจ้าหนา้ ที่ของบริษัท ว่าท่านยงั มิได้ให้คำตอบหรือดำเนนิ การชำระเงินแต่ อยา่ งใด บรษิ ัทฯจึงขอเรียนแจ้งว่า บรษิ ทั ฯ มีความจำเป็นต้องใชเ้ งินหมุนเวียนสำหรับการดำเนินธรุ กจิ อยู่ตลอดเวลาซึ่งร้านค้าที่มี ประสบการณ์ยาวนาน และมีสถิติจำหน่ายสินค้าได้สูงเช่นท่าน ย่อม ตระหนกั ดอี ย่แู ล้ว บริษัทจึงใคร่ขอให้ท่านดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทฯ โดยเร็ว หากดำเนินการได้ก่อน วันที่ ๑๐ มิถุนายน ศกนี้ จะเป็นพระคณุ ยิง่ ขอแสดงความนบั ถอื สมหวงั บญุ บันดาล (นายสมหวงั บญุ บันดาล) ผูจ้ ดั การฝ่ายสินเช่ือ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๑๕

๗) จดหมายไมตรีจิต เป็นจดหมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายโดยตรงแต่เขียนขึ้นเพื่อกระชับ ความสมั พนั ธ์ระหว่างบรษิ ทั หา้ งรา้ นกบั ลูกค้าให้แนน่ แฟน้ ยง่ิ ขึน้ เพ่ือประโยชน์ทางธุรกิจในอนาคตแบ่งออกเป็น จดหมายแสดงความยินดี จดหมายแสดงความเสียใจ จดหมายขอความร่วมมือหรือขอความช่วยเหลือ จดหมาย ขอบคุณ และจดหมายเชญิ เป็นต้น ตวั อย่างจดหมายขอบคณุ ๑๖ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

๘) จดหมายสมัครงาน ถือเป็นจดหมายธุรกิจรูปแบบหนึ่ง เพราะเป็นจดหมายที่เขียนขึ้น เพื่อนำเสนอ คุณสมบัติของผู้สมัครงานให้เจ้าของกิจการหรือผู้รับสมัครงานพิจารณา การเขียนจดหมายสมัครงานผู้เขียน จะต้องคำนึงถึงรูปแบบการเขียนและกลวิธีการเขียนที่ถูกต้อง สมบูรณ์และจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิด ข้อผิดพลาดอันจะทำให้เกิดผลเสียแก่ตัวผู้สมัครเอง เพราะจดหมายสมัครงานที่เขียนขึ้นอย่างประณีตพิถีพิถัน ย่อมแสดงใหเ้ ห็นถึงบุคลกิ ภาพและอปุ นสิ ัยในการทำงานของผสู้ มัครและสามารถสรา้ งความประทับใจใหผ้ อู้ ่านได้ องค์ประกอบของจดหมายสมัครงานแบง่ เปน็ ๓ สว่ น ดังน้ี ๑. สว่ นนำ เป็นการกลา่ วถงึ แหลง่ ขอ้ มูลในการสมคั รงานและตำแหนง่ ท่ตี ้องการสมคั ร ๒. ส่วนเน้ือหา เป็นส่วนสำคญั ที่ผู้เขียนตอ้ งบอกประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา สถานศึกษา ผลการเรียน ประสบการณ์หรือคุณสมบัติทีเ่ หมาะสมกับตำแหนง่ งาน ความสามารถพิเศษที่จะช่วยเสริมตำแหนง่ งาน ผู้รับรอง ซึ่งจะต้องระบุ ชื่อ ตำแหนง่ งาน หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับอยา่ งน้อย ๒ คน อาจเป็น ครู หวั หนา้ หน่วยงานในการฝึกงาน หรือบุคคลท่เี ป็นทยี่ อมรับทางสังคม ๓. ส่วนท้าย ผู้เขียนกล่าวสรุปโดยขอโอกาสเข้ารับการสัมภาษณ์ ให้แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ สามารถติดต่อได้และการนัดหมายเวลาที่ผู้รับสมัครสะดวกในการติดต่อนัดหมายกับผู้สมัคร จดหมายสมัครงานสามารถเขียนได้ ๒ แบบคือจดหมายที่มาต้องแนบประวัติย่อ และ จดหมายที่ต้องไม่แนบประวัติย่อ ถ้ามีประวัติย่อ อาจจะเขียนรายละเอียดในส่วนเนื้อหาน้อยลงเพราะ รายละเอยี ดจะปรากฏอย่ใู นสว่ นของประวตั ิยอ่ ท่แี นบไป ชดุ การเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี ๑๗

ตัวอยา่ งจดหมายสมคั รงานแบบไมแ่ นบประวัตยิ ่อ ๖๖ หมู่ ๒ ต.ปา่ แมต อ.เมือง จ.แพร่ ๕๔๐๐๐ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ เร่ือง ขอสมัครงานในตำแหน่งชา่ งยนต์ เรียน ผู้จัดการฝา่ ยบุคคล บริษทั มิตซบู ิชิ ประเทศไทย จำกัด สง่ิ ท่ีส่งมาด้วย ๑. รูปถา่ ย ๒ รูป ๒. สำเนาใบรายงานผลการศกึ ษา ๑ ฉบบั ๓. สำเนาใบรับรองผลการทำงาน ๑ ฉบบั กระผมทราบข่าวจากโฆษณาในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ว่าบริษัทต้องการพนักงานใน ตำแหน่งชา่ งยนต์ กระผมมีความสนใจใคร่ขอสมคั ร เพือ่ รบั การพิจารณาบรรจุในตำแหนง่ ดงั กล่าว กระผมชอ่ื นายสุบนิ แผ้วสาตร์ อายุ ๒๑ ปี สญั ชาติไทย สุขภาพสมบรู ณ์ มีภูมิลำเนาอยูท่ จี่ งั หวดั แพร่ สำเรจ็ การศกึ ษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเทคนิคยานยนต์ ระบบทวิภาคี วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ได้คะแนนเฉลี่ยตลอด หลักสูตร ๓.๗๕ กระผมมีความรู้ในสาขางานยานยนต์และได้รบั การฝึกฝนในการซ่อมบำรงุ รักษารถยนต์เป็นอยา่ งดี และผ่านการ ยกระดับและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานระดับ๑ ของกรมพัฒนาฝมี ือแรงงานแล้ว ระหวา่ งการศกึ ษาระดบั ประกาศนียบตั รวิชาชพี (ปวช.) กระผมไดเ้ ข้ารบั การฝึกอาชีพทอ่ี เู่ ชาว์การชา่ ง เปน็ ระยะเวลา ๑ ปี ๖ เดือน และในระดบั ประกาศนียบัตรวชิ าชพี ชั้นสงู (ปวส.) กระผมไดเ้ ขา้ รบั การฝึกอาชีพท่ศี นู ย์มิตซูบชิ ิ บรษิ ัทแพร่ยนตรการมติ ซู จำกดั เป็นระยะเวลา ๑ ปี ท่านสามารถสอบถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การศึกษา ความประพฤติ ตลอดจนประสิทธิภาพในการทำงานของ กระผมไดท้ บ่ี ุคคลตอ่ ไปนี้ ๑. อาจารย์ สงวน แก้วมูล สาขางานยานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ๕ ถนนเหมืองหิต ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จงั หวดั แพร่ ๕๔๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๘๔ ๗๒๗๒๗๒๗ ๒. คุณสวัสด์ิ ธิติมูล ผู้จัดการฝ่ายศูนยบ์ ริการบริษัทแพร่ยนตรการ มิตซูจำกดั ตำบลร่องกาศ อำเภอสงู เม่น จังหวัด แพร่ ๕๓๐๐๐ โทรศพั ท์ ๐๘๕ ๘๖9๒๑๗๗ กระผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงได้รับการพิจารณาจากท่านให้เข้ารับการสัมภาษณ์ ตามวันเวลาที่สะดวกเพื่อชี้แจง รายละเอยี ดเพิม่ เติม และขอเสนออัตราเงินเดอื นเดอื นละ ๑๒,๐๐๐ บาท เพื่อให้ท่านใช้ประกอบการพจิ ารณา กระผมต้ังใจทจ่ี ะ ทำงานให้บรษิ ัทอย่างสุดความสามารถ เพื่อความก้าวหน้าของบริษัท ท่านสามารถติดต่อเรยี กตัวกระผมได้ตามที่อยู่ข้างต้น และ ขอขอบคณุ ในความกรณุ าของท่าน ขอแสดงความนับถือ สุบิน แผ้วสาตร์ (นายสุบนิ แผ้วสาตร์) ๑๘ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

มาทบทวนความรู้กนั https://h5p.org/node/454929 กิจกรรมที่ ๖.๑.๑ 1. ศึกษารปู แบบและวิธีการเขียนจดหมายธรุ กจิ แต่ละประเภทให้เขา้ ใจ 2. เลือกเขียนจดหมายธรุ กจิ ทีเ่ ก่ยี วข้องกับงานในสถานประกอบการ ๑ ประเภทโดย คำนึงถึงรปู แบบ เน้อื หาและการใช้ภาษาที่ถกู ต้องและเหมาะสม กิจกรรมท่ี ๖.๑.๒ ๑. หาประกาศรบั สมัครงานทีต่ รงกับสาขางานที่เรยี น ๒. ศึกษารูปแบบและวธิ ีการเขยี นจดหมายสมคั รงานใหเ้ ข้าใจ ๓. เขยี นจดหมายสมคั รงานโดยคำนงึ ถึงรูปแบบ เนอื้ หาและการใชภ้ าษาท่ถี ูกตอ้ งและ เหมาะสมโดยใช้ขอ้ มลู ของตนเองในการสมัครงาน เอกสารอา้ งอิง นวภรณ์ อ่นุ เรือน (๒๕๔๗). ทกั ษะภาษาไทยเพ่ืออาชพี . กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์จิตรวัฒน.์ สภุ คั มหาวรากร. (๒๕๔๗). ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ . กรุงเทพ ฯ : เอมพันธ์. ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑๙

แผนการเรยี น มอดูลท่ี ๖.๒ การเขียนโฆษณา มอดูลที่ ๖.๒ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๖.๒ แล้วจึงศึกษา รายละเอยี ดตอ่ ไป หัวขอ้ เรอ่ื ง ๖.๒.๑ ความหมายของ “โฆษณา” ๖.๒.๒ ความสำคญั ของการโฆษณา ๖.๒.๓ การใช้ภาษาในการโฆษณา ๖.๒.๔ องคป์ ระกอบของโฆษณาในสื่อสงิ่ พิมพ์ แนวคดิ การโฆษณา เป็นการนำเสนอรายละเอียดของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ผูบ้ ริโภครูจ้ ัก สนใจและ เกิดความตอ้ งการสินคา้ หรือบริการนัน้ โฆษณาเป็นสารโน้มน้าวใจ การใช้ภาษาในการโฆษณาจะต้องเร้า ความสนใจและสามารถทำใหล้ กู ค้าเกดิ การตัดสนิ ใจเลือกซ้ือ เลือกใชส้ นิ คา้ หรอื บริการได้ การใชภ้ าษาใน การโฆษณาจงึ ใชไ้ ด้หลายรปู แบบและมลี ักษณะเฉพาะทีน่ ่าสนใจ จุดประสงคก์ ารเรยี น ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๒.๑ “ความหมายของโฆษณา” แล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบาย ความหมายของคำว่า “โฆษณา” ได้ ๒. เม่ือศกึ ษาหัวขอ้ เรื่องที่ ๖.๒.๒ “ความสำคัญของการโฆษณา” แลว้ ผู้เรยี นสามารถบอกบทบาท และความสำคัญของการโฆษณาได้ ๓. เมอ่ื ศึกษาหวั ข้อเร่ืองท่ี ๖.๒.๓ “การใชภ้ าษาในการโฆษณา” แลว้ ผเู้ รียนสามารถวเิ คราะห์การ ใช้ภาษาในการโฆษณาได้ ๔. เมือ่ ศกึ ษาหวั ข้อเรื่องที่ ๖.๒.๔ “องค์ประกอบของโฆษณา” แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียนข้อความ โฆษณาโดยครบองค์ประกอบของโฆษณาได้ ๒๐ ชุดการเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

เน้อื หา ทดสอบความรู้คำขวญั ประจำจังหวัด https://h5p.org/node/454933 ๖.๒.๑ ความหมายของ “โฆษณา” การโฆษณาหมายถึงการให้ข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อ โน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคคล้อยตามเนื้อหาสารที่โฆษณา ซึ่งจะทำให้เกิดการซื้อหรือใช้สินค้าและ บริการ ตลอดจนชักนำใหป้ ฏบิ ัตติ ามแนวความคดิ ที่นำเสนอ ๖.๒.๒ ความสำคญั ของการโฆษณา การโฆษณาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ โดยหวังผลประโยชน์ในทางการค้า การ โฆษณามีบทบาทและความสำคัญต่อการดำเนินธุรกจิ ดังนี้ (สุภัค มหาวรากร. ๒๕๔๗ : ๑๕๓) ๑. เพื่อให้ผบู้ รโิ ภครูจ้ ักสนิ ค้าหรอื บริการ ๒. เพ่ือเน้นยำ้ ลกั ษณะพิเศษของสนิ ค้าหรือบริการ ๓. เพ่อื กระตนุ้ การตดั สินใจของผู้บรโิ ภค ๔. เพอื่ สรา้ งความใกล้ชิดกบั ผูบ้ รโิ ภค ๕. เพื่อการแข่งขันทางดา้ นการค้า ๖. เพอ่ื เร่งการขายให้เรว็ ขึน้ ๗. เพ่อื ขายสินค้าหรือบริการ ๖.๒.๓ การใช้ภาษาในการโฆษณา โฆษณา เป็นสารโน้มน้าวใจ ดังนั้นภาษาที่ใช้ในการโฆษณาจึงมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ โดย เนน้ การจงู ใจให้ผบู้ รโิ ภคคล้อยตามด้วยวิธกี ารใช้ภาษาดว้ ยวิธีการตา่ ง ๆ ดงั น้ี ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๒๑

๑. การใช้ภาษาอย่างมีจติ วทิ ยา เปน็ การใชห้ ลักทางจติ วทิ ยามาดงึ ดูดใจผูบ้ รโิ ภคโดยการนำ ลกั ษณะค่านยิ มของคนในชาติมานำเสนอ หรอื การแสดงลักษณะเฉพาะพิเศษของคนหรือกลมุ่ รวมถงึ การ แสดงความเปน็ หมู่เป็นพวก ตวั อยา่ งการโฆษณาโดยการใช้ภาษาอยา่ งมีจติ วทิ ยา ตวั อยา่ งเชน่ คนไทยหวั ใจลูกทงุ่ (เครอ่ื งดม่ื ลกู ทุง่ ) รเี จนซ่ี บรั่นดีไทย ( รเี จซ)่ี เขาชอ่ งรสแท้กาแฟไทย (กาแฟเขาช่อง) ไบกอน พลงั ในมือคุณ (ไบกอน) ลูกผู้ชายตวั จรงิ กระทิงแดง (เครอื่ งดม่ื กระทิงแดง) เบนซ์ ศกั ด์ศิ รแี หง่ ผู้นำ (รถยนต์) ๒. ใช้ภาษาเพ่อื แสดงเหตผุ ล เปน็ การใช้ภาษาท่แี สดงรายละเอยี ด หรือโยงไปสูเ่ หตกุ ารณ์ ปจั จบุ นั ท่ีกำลงั เปน็ ที่สนใจ มกี ารอ้างเหตแุ ละผลเพือ่ โน้มนา้ วใจผบู้ ริโภคซ่งึ อาจจะมคี วามสมเหตสุ มผลจรงิ หรือ เป็นเพียงการสร้างแรงจูงใจดว้ ยเหตุผลสมมติ ตวั อยา่ ง เชน่ เรม่ิ ต้นดี มีชยั ไปกว่าครึง่ ไมย่ ดึ ตดิ ชวี ิตอิสระ (นสิ สนั เอกซ์ ไทรอัล) โนต้ บุ้กจอกว้างใหค้ ุณยิ้มกว้าง ทกุ อย่างเปน็ ไปได้ ถ้าใจมุ่งมนั่ (ฟอร์ด) เที่ยวเมอื งไทย ไมไ่ ปไม่รู้ (ท.ท.ท.) ไมร่ จู้ ักคดิ ชวี ติ ก็ไมแ่ ตกต่าง (อาซาฮี บนี ) ๓. ใช้ภาษาที่เกินความจริง เป็นการใช้ภาษาที่มุ่งดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค โดยไม่คำนึงถึงหลักความเป็นจริง บางครั้งอาจใช้เพื่อเป็นการสร้างอารมณ์ขัน หรือทำให้เกิดภาพและ จินตนาการ การใช้ภาษาเกินความจริงบางครั้งอาจมีความหมายสื่อไปถึงการโฆษณาเกินจริงได้ จึงควร ระมัดระวงั ในการใช้ภาษาในการสอ่ื สารได้ดว้ ย ตวั อยา่ งเชน่ ความสขุ ของมวลมนษุ ย์คอื หนา้ ท่ีของเรา ความสขุ ที่คุณด่ืมได้ (คลอสเตอรเ์ บยี ร)์ (ชาเขยี วโมช)ิ การบินไทยรกั คณุ เท่าฟา้ (การบนิ ไทย) กะรัตอญั มณแี หง่ สุขภณั ฑ(์ เครอื่ งสขุ ภณั ฑ์) สวยสยบทกุ สายตาด้วยนาฬกิ า... อรอ่ ยจนหยดุ ไมไ่ ด้ (มนั ฝรัง่ ) ๔. ใช้ภาษาที่ผู้บริโภคต้องตีความเอง เป็นการใช้ภาษาที่ไม่ได้ให้ความจริงทั้งหมด เนื่องจาก ภาษาทใี่ ชส้ อื่ ความหมายไมช่ ดั เจนและตีความได้หลายอย่าง ตวั อย่างเช่น ราคาพเิ ศษ สำหรับคนพิเศษ (บ้าน) สัมผัสใหม่แห่งการนอน (เครื่องนอนโตโต)้ ผอ่ นสบาย ๆ ดว้ ยเงื่อนไขพิเศษ (รถยนต์) ไบกอน พลงั ในมือคุณ (ไบกอน) Clarks ก้าวเดนิ อยา่ งมนั่ ใจ ในสไตล์ ปกปอ้ งไม่มวี นั หยดุ (Castrol) โดดเดน่ ทเี่ ปน็ คณุ (รองเทา้ Clarks) ๒๒ ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

๕. ใช้ภาษาต่างประเทศ คนไทยมีค่านิยมเรื่องการใช้สินค้าต่างประเทศมากกว่าสินค้าไทย การใชภ้ าษาตา่ งประเทศจะทำใหโ้ ฆษณาน้นั น่าเชื่อถอื ยิ่งขึน้ วา่ เป็นสนิ ค้าตา่ งประเทศ True Together. (ทรู) The national next step. (เนชน่ั แนล) LG Life’s Good. (แอลจี) Toto Beyond Expectation. (เครอื่ งนอนโตโต้) SUZUKILife is acion. (ซซู ูก)ิ VOLVO for life.(รถยนตว์ อลโว) ๖.๒.๔ องคป์ ระกอบของการโฆษณาในสอ่ื ส่ิงพิมพ์ การเขียนโฆษณาเป็นการให้ข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและจุดเด่นของสินค้าเพือ่ โน้มนา้ วใจให้เกิด การตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการ การเขียนโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์มีองค์ประกอบดังนี้ (นวภรณ์ อุ่นเรือน. ๒๕๔๗: ๑๔๘-๑๔9 และสภุ ัค มหาวรากร. ๒๕๔๗ : ๑๕๕) ๑. พาดหัว เป็นส่วนแรกที่ทำให้ผู้พบเห็นสะดุดตาและประทับใจโฆษณาอาจใช้ขนาด และสีสนั ตัวหนังสือ หรือขอ้ ความซ่ึงควรมีจำนวนคำในสว่ นพาดหัวประมาณ ๘–๑๕ คำ ๒. พาดหัวรองหรือข้อความขยายพาดหัว เป็นส่วนที่ช่วยอธิบายหรือขยายข้อความพาดหัวให้ เข้าใจกระจา่ งยงิ่ ขึน้ ถ้าพาดหัวหลกั มีความชัดเจนแล้ว พาดหวั รองอาจไมจ่ ำเป็นตอ้ งมีก็ได้ ๓. บทขยายรายละเอียดของสินค้าหรือบริการ หรือเรียกว่า ส่วนข้อความโฆษณา เป็นส่วนท่ี นำเสนอขอ้ มูลรายละเอียดของสนิ ค้าหรอื บรกิ ารทจ่ี ะโฆษณา ๔. ข้อความปิดท้าย เปน็ ส่วนสรุปหรอื ส่วนทา้ ยของโฆษณา ส่วนนีอ้ าจจะเปน็ คำคมหรือคำขวัญ ซึ่งเป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้น หรือเป็นส่วนที่บอกถึงแหล่งผลิตหรือสถานที่ท่ี สามารถซื้อสินคา้ ได้ ๕. ภาพประกอบ เป็นส่วนที่มีหรือไม่มีก็ได้ ภาพประกอบที่ดีเป็นส่วนดึงดูดใจลูกค้าให้สนใจ โฆษณาไดเ้ ป็นอยา่ งดี ภาพท่ีใช้ควรมลี กั ษณะสร้างสรรค์และสมั พนั ธ์กบั เนือ้ หาโฆษณา ชดุ การเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ๒๓

ตวั อย่างโฆษณาในส่อื สิ่งพิมพ์ พาดหวั หลกั รูปภาพ พาดหวั รอง เนอ้ื หา สว่ นท้าย ภาพที่ ๖.๒.๑ ภาพการโฆษณาทพิ ยประกนั ภัย ๖.๒.๕ การเขยี นโฆษณาในส่ือส่ิงพิมพ์ ๑. การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา การเขียนพาดหัวโฆษณาให้ดึงดูดความสนใจมีหลาย วิธกี ารท่ีนิยมใชด้ งั น้ี ๒๔ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

๑.๑ การใช้คำคมคำขวัญ เป็นวิธีการที่นิยมกันมากเพราะทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายเพราะใช้ ถอ้ ยคำส้ัน ๆ และมีเสียงสัมผัสคล้องจอง เช่น ภาพท่ี ๖.๒.๒ ภาพโฆษณาทใ่ี ชค้ ำคมคำขวญั เป็นสว่ นพาดหัวโฆษณา ๑.๒ การใช้คำถาม เป็นวิธกี ารต้ังคำถามไปยงั กลมุ่ ลูกคา้ หรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความ สนใจในการคน้ หาคำตอบจากโฆษณา ตวั อยา่ งเชน่ ภาพที่ ๖.๒.๓ ภาพโฆษณาทีใ่ ชค้ ำถามเป็นสว่ นพาดหวั โฆษณา ๑.๓ การใหส้ ญั ญาหรอื รับรองคณุ ภาพ เป็นวธิ ีการใช้ถ้อยคำเพ่ือสรา้ งความม่ันใจเพื่อให้เกิด ความพงึ พอใจและประโยชน์ที่จะไดร้ ับจากสินคา้ นน้ั ๆ ตัวอย่างเช่น ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๒๕

ภาพท่ี ๖.๒.๔ ภาพโฆษณาทใี่ ชก้ ารรบั รองคุณภาพเปน็ สว่ นพาดหัวโฆษณา ๑.๔ การบอกวิธีการใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจในสินค้าหรือบริการ ตวั อย่างเชน่ ต้มผัดแกงทอดหอมอร่อยในพริบตาคคู่ รัวรสดี ใชด้ มใช้ทาในหลอดเดยี วกนั (ยาดมตราโป๊ยเซยี น) คดิ จะเคยี้ ว เค้ียวคทิ แคท (คทิ แคท) ยาหมอ่ งตราถ้วยทอง ทาถู ทาถู เปดิ ปบุ้ ตดิ ป้บั (โทรทัศนฮ์ ิตาช)ิ ปวดหวั เปน็ ไขไ้ ชซ้ ารา่ (ยาแกป้ วดแก้ไข)้ ๑.๕ การเจาะจงถึงกลมุ่ ลูกคา้ เปา้ หมาย เป็นวธิ ีการทเ่ี ลือกระบกุ ลุ่มลกู ค้ามี่จะเลือกใช้สนิ คา้ หรือบริการตัวอย่างเชน่ คนไทยหัวใจลกู ทงุ่ (เครื่องดม่ื ลูกทุ่ง) เบนซ์ ศกั ดิศ์ รแี ห่งผ้นู ำ ใกลห้ มอนิตยสารสำหรบั คนรักสขุ ภาพ โดโซะ อรอ่ ยถูกใจคนทกุ วัย ลูกผ้ชู ายตัวจรงิ กระทงิ แดง (เครื่องดม่ื กระทงิ แดง) ตอบรบั ไลฟ์สไตล์ชีวติ ทมี่ ีระดับ กับนิสสนั X-Trail ใหม่ ๒. การเขียนข้อความในสว่ นเนอ้ื หาโฆษณา ส่วนเนื้อหาโฆษณาจะเป็นส่วนที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในสินค้าและ บริการ การเขียนข้อความต้องชัดเจน อ่านง่าย สามารถชักจูงหรือโน้มน้าวใจลูกค้าได้ การเขียนในส่วน เนื้อหาโฆษณามหี ลายวธิ กี ารดังน้ี ๒๖ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

๒.๑ การเขียนข้อความเนื้อหาโฆษณาแบบขายตรง เป็นวิธีการนำเสนอสินค้าโดยตรงเพ่ือ เน้นให้ลกู ค้าซ้ือสินค้าที่นำเสนอ ตวั อย่างเชน่ ภาพที่ ๖.๒.๕ ภาพโฆษณาทใี่ ช้ข้อความเน้อื หาโฆษณาแบบขายตรง ๒.๒ การเขียนข้อความเนื้อหาโฆษณาแบบกล่าวอ้างเกียรติภูมิ เป็นการนำเสนอถึง ความสำเร็จ โดยการกล่าวอ้างถึงรางวัล การรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เช่น มาตรฐานการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) หรือมาตรฐานการรับรองจากกระทรวง อุตสาหกรรม (มอก. ) เป็นต้น ตวั อย่างเช่น ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ๒๗

ภาพที่ ๖.๒.๖ ภาพโฆษณาทใี่ ชข้ อ้ ความแบบกล่าวอา้ งเกยี รติภมู ิ ๒.๓ การเขียนข้อความเนื้อหาโฆษณาแบบกล่าวอ้างประจักษ์พยาน เป็นวิธีการนำเสนอ สินค้าโดยการกล่าวอ้างอิงบุคคล หรือคำพูดของบุคคล หรือการกล่าวอ้างเอกสารอ้างอิงเพื่อยืนยัน คุณภาพหรือขอ้ ดขี องสินค้าและบริการ ตวั อยา่ งเช่น ภาพที่ ๖.๒.๗ ภาพโฆษณาทใี่ ชข้ ้อความเนอ้ื หาโฆษณาแบบกลา่ วอา้ งประจกั ษพ์ ยาน ๒.๔ การเขียนข้อความเนื้อหาโฆษณาแบบเร้าอารมณ์ เป็นวิธีการนำเสนอสินค้าเพื่อให้ ลกู ค้าเกิดอารมณ์หรือความรู้สึกคล้อยตามเนื้อหาของโฆษณา มกั จะใชว้ ิธีการเขยี นเชงิ สร้างสรรค์ มีการ เลอื กใช้คำทีท่ ำให้เกดิ ภาพ จนิ ตนาการหรือเกิดอารมณ์ความรสู้ ึกคลอ้ ยตาม ตวั อย่างเชน่ ภาพที่ ๖.๒.๘ ภาพโฆษณาทใ่ี ชข้ อ้ ความเน้ือหาโฆษณาแบบเร้าอารมณ์ ๒๘ ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

๒.๕ การเขียนข้อความเนื้อหาโฆษณาแบบใช้ภาพและบรรยายใต้ภาพ เป็นการใช้ภาพใน การสร้างความสนใจหรือแสดงลักษณะของสินค้าและบริการโดยมีการบรรยายประกอบภาพ ตวั อย่างเชน่ ภาพท่ี ๖.๒.๘ ภาพโฆษณาท่ใี ชข้ ้อความเนอื้ หาโฆษณาแบบใชภ้ าพและบรรยายใตภ้ าพ ๓. การเขยี นขอ้ ความปิดท้ายโฆษณา สว่ นทา้ ยโฆษณาเปน็ ส่วนสำคัญที่จะสรปุ เนื้อหาโฆษณาเพ่ือใหล้ กู ค้าประทบั ใจและกระตุน้ ให้ เกดิ การตัดสนิ ใจซ้อื สนิ ค้าหรือบรกิ าร ขอ้ ความปิดท้ายจะนยิ มใชค้ ำขวญั ซึ่งเปน็ ข้อความส้ัน ๆ มีถ้อยคำ สัมผสั คล้องจองเพ่ือความไพเราะและจดจำงา่ ย ดงั นี้ ๓.๑ คำขวัญท่ีโฆษณาสนิ ค้าโดยตรง เปน็ การสรุปคุณสมบัตหิ รอื ลกั ษณะสำคัญของสนิ คา้ หรือบรกิ ารโดยตรง ตัวอย่างเชน่ นมตรามะลใิ หมส่ ดเสมอ ขาวข้น หวานมนั ไวตามลิ ค์ ใหโ้ ปรตีนอม่ิ สบายทอ้ ง นมสดหนองโพ นมโคแท้ มิรนิ ด้า ซ่าสุดใจ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๒๙

ข้าวมาบญุ ครอง สะอาดทุกถงุ หงุ ขึน้ หม้อ หอม อรอ่ ย นุ่ม...เหลือเช่ือ (ขา้ วหงสท์ อง) Good Year อีกขีดข้นั แหง่ ความลำ้ หนา้ ทางเทคโนโลยี ๓.๒ คำขวญั ทใ่ี ช้ช่อื สินค้า สถาบัน หรอื บรษิ ทั เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือหรือความม่ันใจ ในคณุ ภาพสินค้าที่เป็นที่ยอมรับของลูกคา้ เพือ่ ให้เกิดการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ตัวอยา่ งเช่น รีเจนซ่ี = รีเจนซี่ บร่นั ดีไทย SHARP ก้าวล้ำไปในอนาคต SAMSUNG สัมผัสทล่ี ึก...ถงึ พลงั สร้างสรรค์ Sanyo เสริมความสขุ ทุกครอบครัว โตชิบา...นำสิ่งทด่ี สี ่ชู ีวิต คมุ้ คา่ ทุกนาที ดทู ีวีสชี ่อง ๓ ช่อง ๕ นำคณุ คา่ ส่สู งั คมไทย Dtac งา่ ยสำหรบั คุณ One-๒-call ง่ายยิง่ กวา่ นบั ๑-๒-๓ บางจาก ผ้นู ำดา้ นพลงั งานทดแทน เอสโซ่พลงั เสอื เพื่อคุณ ธนาคารนครหลวงไทย ใสใ่ จดูแลคณุ บลจ.ทหารไทย คู่ชีวิตการลงทนุ มาทดสอบความรู้กันหน่อยนะคะ https://h5p.org/node/454932 ๓๐ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

กจิ กรรมที่ ๖.๒.๑ ใหน้ ักศกึ ษาวเิ คราะหโ์ ฆษณาสนิ คา้ จากสอ่ื สง่ิ พิมพ์ตามใบงานที่ ๖.๒.๑ กิจกรรมท่ี ๖.๒.๒ ให้นักศึกษาศึกษารายละเอียดของสินค้า ๑ ประเภทแล้วนำข้อมูลมาเขียนโฆษณาสินค้า ให้มี องค์ประกอบของการโฆษณาครบทั้ง ๕ ประกอบโดยคำนึงถึงการใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจ และเหมาะสมกบั องค์ประกอบแต่ละสว่ นตามใบงานท่ี ๖.๒.๒ ทบทวนความรู้การเขยี นจดหมายธรุ กจิ โฆษณา ประชาสมั พนั ธ์ http://bit.ly/thaiact64 ชดุ การเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓๑

เอกสารอ้างอิง เชอรา ซีเคียว จำกดั . (๒๕๕๖) “เจา้ แรกในประเทศไทย ปทู บั กระเบื้องไดโ้ ดยไม่ต้องทบุ .” บา้ นและสวน. ๓๗ (๔๓๘), ๗9. เชฟโรเลท็ . (๒๕๕๘) “Chevrolet Spin.”ยานยนต์. ๒๕ (๑๕), ๑๒. ทพิ ยประกันภยั .(๒๕๕๖) “โฆษณาทพิ ยประกันภัย.” อนสุ าร อสท. ๕๔ (๒), ๔๕. นครชยั แอร์. (๒๕๕๖) “โฆษณานครชัยแอร์.” อนสุ าร อสท. ๕๔ (๒), ๑๕๐. นวภรณ์ อุ่นเรอื น. (๒๕๔๗). ทกั ษะภาษาไทยเพอ่ื อาชีพ..กรุงเทพฯ : จิตรวัฒน.์ สภุ ัค มหาวรากร. (๒๕๔๗). ทักษะภาษาไทยเพอื่ อาชพี . กรงุ เทพฯ : เอมพนั ธ.์ แอมเวย.์ (๒๕๕๓) “แผ่นซับมันบนใบหนา้ อารท์ ิสทร.ี ” Amway แคตตาลอ็ กผลติ ภัณฑ์, ๑(๑),๘๔. ไออาร์พจี .ี (๒๕๕๖) “ชน้ั วางของ Queen.” บา้ นและสวน. ๓๗ (๔๓๘), ๒๔9. โฮมมารท์ . (๒๕๕๖) “ตราชา้ ง Excella กระเบ้อื งหลังคาเซรามคิ แท้ที่ดีท่สี ุด.” บ้านและสวน. ๓๗ (๔๓๘), ๒๖. Banner on line. (๒๕๕๗). ตัวอย่างงาน Hilight สนิ ค้า. สืบค้นเม่ือ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘, จาก http://www.bannerline.net. ๓๒ ชุดการเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

ใบกิจกรรมที่ ๖.๒.๑ การวเิ คราะห์โฆษณาสินค้าจากสอ่ื สงิ่ พมิ พ์ ................................................. คำส่งั ใหน้ กั ศกึ ษาตัดโฆษณาจากสื่อส่ิงพมิ พโ์ ดยเลอื กโฆษณาทมี่ อี งค์ประกอบสมบูรณน์ ำมา วิเคราะห์องค์ประกอบและรปู แบบการใชภ้ าษาตามแบบฟอรม์ ทีก่ ำหนดโดยการคดั ลอกขอ้ ความ แต่ละสว่ นของโฆษณาลงในชอ่ งว่างท่กี ำหนด 1. ชอ่ื สินคา้ .................................................................................................................................... 2. พาดหวั โฆษณา .................................................................................................................................... รปู แบบพาดหวั โฆษณา .................................................................................................................................... 3. พาดหัวรอง ..................................................................................................................................... 4. เนื้อหาโฆษณา ................................................................................................................................... รปู แบบการใช้ภาษาในเนอื้ หาโฆษณา ................................................................................................................................... ส่วนทา้ ยโฆษณา .................................................................................................................................. 5. รูปภาพประกอบการโฆษณา มี ไมม่ ี 6. ข้อความคำขวญั โฆษณา .................................................................................................................................... 7. จุดเด่นของโฆษณาน้ีคอื .................................................................................................................................... จุดด้อยของโฆษณานีค้ ือ .................................................................................................................................... ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๓๓

ใบกิจกรรมที่ ๖.๒.๒ การเขียนโฆษณาสินคา้ ................................................. คำสัง่ ให้นักศกึ ษาศึกษารายละเอยี ดของสินค้า ๑ ชนดิ แลว้ นำมาเขยี นโฆษณา ตามหัวขอ้ ทก่ี ำหนด ๑. พาดหัวโฆษณา ................................................................................................................................................. ๒. พาดหัวรอง ................................................................................................................................................. ๓. เนอื้ หาโฆษณา .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. ๔. ส่วนทา้ ยโฆษณา .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. ๕. ข้อความคำขวญั โฆษณา .................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................. ๓๔ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

แผนการเรียน มอดูลท่ี ๖.๓ การเขียนประชาสัมพันธ์ มอดลู ที่ ๖.๓ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลท่ี ๖.๓ แล้วจึงศึกษา รายละเอียดต่อไป หวั ขอ้ เรอ่ื ง ๖.๓.๑ ความหมายของการประชาสมั พันธ์ ๖.๓.๒ วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพนั ธ์ ๖.๓.๓ หลกั การเขยี นประชาสัมพนั ธ์ ๖.๓.๔ การใช้ภาษาในการประชาสัมพนั ธ์ ๖.๓.๕ การเขยี นประชาสัมพนั ธ์ในรปู แบบตา่ ง ๆ แนวคิด การประชาสัมพันธ์เป็นการแจ้งข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานของตนให้ประชาชนได้ ทราบเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และเกิดความศรัทธาต่อหน่วยงานในระยะยาว การประชาสัมพันธ์ที่ดีต้อง เลือกรปู แบบในการประชาสัมพันธใ์ หเ้ หมาะสมกับเน้อื หา และจะตอ้ งนำเสนอขอ้ มูลทีเ่ ป็นจริง โดยใช้ภาษา ทส่ี ภุ าพ ส่ือความหมายชดั เจน หากต้องใชภ้ าพประกอบกค็ วรเลือกภาพท่ีเหมาะสมเพ่ือสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ตอ่ หน่วยงาน จุดประสงคก์ ารเรียน ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๓.๑ “ความหมายของการประชาสัมพันธ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบาย ความหมายของการประชาสมั พันธไ์ ด้อยา่ งถูกตอ้ ง ๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๓.๒ “วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอก วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพนั ธ์ได้อยา่ งถกู ต้อง ชุดการเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๓๕

๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๓.๓ “หลักการประชาสัมพันธ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการ ประชาสัมพันธ์ได้อยา่ งถูกต้อง ๔. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๓.๔ “การใช้ภาษาในประชาสัมพันธ์” แล้ว ผู้เรียนสามารถบอก ลกั ษณะของภาษาในการประชาสัมพนั ธไ์ ด้อยา่ งถกู ตอ้ ง ๕. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๖.๓.๕ “การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ” แล้ว ผู้เรียนสามารถ เขยี นประชาสัมพันธ์ในรูปแบบตา่ ง ๆ ได้อยา่ งถกู ตอ้ ง ๓๖ ชุดการเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

เนอื้ หา ๖.๓.๑ ความหมายของการประชาสัมพนั ธ์ การประชาสัมพันธ์ เป็นการเผยแพร่ความรู้และข่าวสารของหน่วยงานแก่ประชาชน เพ่ือ ถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสาร เผยแพร่ความรู้ ข้อเท็จจริง รายงานเหตุการณ์การจดั กิจกรรมภายในองค์การ โ ด ย ม ี จ ุ ด ม ุ ่ ง ห ม า ย เ พ ื ่ อ ส ร ้ า ง แ ล ะ ร ั ก ษ า ไ ว ้ ซ ึ ่ ง ค ว า ม ส ั ม พ ั น ธ ์ อ ั น ด ี กั บ ป ร ะ ช า ช น ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเขา้ ใจ และให้การสนับสนุนการดำเนนิ งานขององค์การรวมถึงเป็นการสรา้ ง ภาพลกั ษณท์ ดี่ ใี ห้กบั องค์กร ๖.๓.๒ วตั ถปุ ระสงค์ของการประชาสมั พนั ธ์ สุภคั มหาวรากร (๒๕๔๗ : ๑๗๑) และนวภรณ์ อ่นุ เรือน (๒๕๔๗ : ๑๕๕) กล่าวถงึ วัตถุประสงคข์ องการ ประชาสัมพันธไ์ วด้ งั นี้ ๑. เพือ่ บอกกลา่ ว เผยแพร่ ให้ความรู้และแจ้งขา่ วสารของหน่วยงานให้บุคคลท่วั ไปไดท้ ราบเพื่อ สรา้ งความสมั พนั ธก์ ับประชาชนหรือกลมุ่ เป้าหมาย ๒. เพื่อป้องกันและแกไ้ ขไม่ให้เกิดความเข้าใจผดิ ต่อองค์กร สถาบัน หรือหน่วยงาน โดยการให้ ความรแู้ ละสร้างทัศนคตทิ ่ดี ตี อ่ องคก์ ร ๓. เพื่อตรวจสอบกระแสประชามติของประชาชนต่อหน่วยงานอันจะเป็นประโยชน์ในการ พฒั นาและแก้ไขปญั หาที่อาจเกดิ ข้นึ ได้ ๔. เพอ่ื สรา้ งความศรัทธา ความนยิ มให้เกิดข้ึนกับองคก์ ร สถาบนั หรอื หน่วยงานนั้น ๆ ๕. เพอ่ื รักษาชื่อเสียงเกียรตยิ ศขององค์กร สถาบันหรือหน่วยงาน มใิ หเ้ สอื่ มเสีย ๖. เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์กร สถาบัน หรือหน่วยงาน ให้ เป็นไปอย่างมปี ระสิทธภิ าพ ๖.๓.๓ หลกั การเขียนเพ่อื การประชาสมั พันธ์ การเขียนเพือ่ การประชาสัมพันธม์ หี ลักการดงั น้ี (สภุ คั มหาวรากร. ๒๕๔๗ : ๑๗๑) ๑. นำเสนอข้อมูลที่เป็นความจริง ผู้เขียนต้องศึกษาข้อมูลทั้งหมดอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ ข้อความทีต่ รงตามวตั ถปุ ระสงค์ท่ีตงั้ ไว้อยา่ งเปน็ จรงิ ๒. ใช้ภาษาที่เข้าใจงา่ ย ถูกตอ้ งตามหลักภาษา เขยี นใหก้ ระชับชดั เจนและตรงประเด็นมากที่สุด ชุดการเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓๗

๓. หลีกเลี่ยงการใช้สถิติหรือตัวเลขต่าง ๆ เพราะอาจทำให้เกิดความสับสน ควรเขียนหรือ ยกตวั อยา่ งงา่ ย ๆ ๔. องค์ประกอบในขอ้ ความประชาสัมพนั ธ์ควรสอดคล้องกันทัง้ ขอ้ ความ และรูปภาพประกอบ ๕. ไมเ่ ขยี นโจมตหี รอื ยกยอ่ งผหู้ นง่ึ ผู้ใดมากเกนิ ไป ๖. ควรเขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีโดยมุ่งให้เกิดความรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมระหว่าง หนว่ ยงานกับประชาชน ๗. ในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการตลาด ควรนำเสนอเร่ืองราวที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทาง ธรุ กจิ อยา่ งใกลช้ ิดเพื่อส่งเสรมิ ให้ผบู้ รโิ ภคยอมรับและตอ้ งการสนิ คา้ หรอื บริการ ๖.๓.๔ การใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในหน่วยงานหรือองค์กรสู่ ประชาชนผา่ นสือ่ มวลชนทัง้ สื่อสิ่งพมิ พ์ประเภท หนังสอื พิมพ์ นติ ยสาร วารสาร และแผน่ พบั ใบปลวิ ตา่ ง ๆ และ สือ่ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ เชน่ วทิ ยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เนต็ ซงึ่ การประชาสัมพนั ธผ์ ่านส่ือแตล่ ะประเภทจะมีรูปแบบ ในการนำเสนอที่แตกต่างกัน การใช้ภาษาในการประชาสัมพันธ์ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับรูปแบบของสื่อที่ นำเสนอและหลกั การใช้ภาษาดังนี้ ๑. ใชภ้ าษาทางการ หรอื ก่ึงทางการ เพราะเป็นการให้ขอ้ มลู ข่าวสารอยา่ งตรงไปตรงมา ๒. ใชภ้ าษาทส่ี ุภาพ หลกี เล่ยี งการใชศ้ พั ท์สแลง ๓. ใช้ภาษาทสี่ ่ือความหมายชัดเจน ๔. เขยี นถ้อยคำตา่ ง ๆ ตรงไปตรงมาในสว่ นทเ่ี ปน็ ขอ้ เท็จจรงิ ๕. ไมค่ วรเขียนขอ้ มลู อวดอา้ งเกนิ ความจริง ๖. หากใชภ้ าพประกอบควรเลอื กภาพท่เี หมาะสมเพ่ือสรา้ งภาพลักษณท์ ด่ี ีใหห้ น่วยงาน ๖.๓.๕ ประเภทของงานเขียนเพอ่ื การประชาสัมพันธ์ การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นการเขียนเพือ่ นำเสนอเนื้อหาข้อมูลในเชิงสร้างสรรค์หรือเชิงบวก ตอ่ หน่วยงาน ซึ่งมวี ิธีการเขยี นได้หลายวิธีการดังน้ี ๑. การเขียนคำบรรยายภาพ เป็นการเขียนเพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงอธิบายเสริมรายละเอียดของภาพ โดยยึดหลักเสนอเกี่ยวกับใคร ทำอะไร ที่ไหน ทำไม อย่างไร เมื่อไร ส่วนใหญ่การเขียนมักนำเสนอกิจกรรมท่ี หน่วยงานใหก้ ารสนบั สนุนหรอื ชว่ ยเหลือสังคมในดา้ นต่าง ๆ ซง่ึ เปน็ วธิ ีการท่ีสร้างภาพลักษณท์ ี่ดใี ห้กบั หนว่ ยงาน ได้ดีที่สุด ๓๘ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

ตัวอย่างการเขยี นประชาสมั พันธ์ในรูปแบบการเขียนคำบรรยายภาพ สอศ.จับมอื องคก์ ร Friends Cooperative Association มอบทนุ เดก็ อาชีวะฝึกวิชาชีพทีญ่ ่ีป่นุ นายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา เป็นประธานลงนามความรว่ มมือกับ มร.เคอิชิ โอกาโน ประธานองค์กรเฟรน โคเปอรเ์ รทฟี แอสโซซิเอชน่ั ( Friends Cooperative Association : F.C.A) เ พ่ื อ ประสานความร่วมมือในการส่งนักศึกษาวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีและวิทยาลยั ประมง สถาบันอาชวี ศกึ ษาเกษตรภาคกลาง รับทุนไปฝึกงานที่ประเทศญ่ปี ่นุ ณ ห้องประชุม ๑ สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา กระทรวงศึกษาธกิ าร ท่ีมา : สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา, ๒๕๕๘ ๒. การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นการเขียนข่าวสารซึ่งหน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อจัดส่งไปยัง สื่อมวลชนเพื่อกระจายข่าวสารสู่ประชาชนโดยมุ่งเสนอข้อเท็จจริงที่เที่ยงตรงกระชับรัดกุมชัดเจนและ ปราศจากขอ้ คิดเห็นของผู้เขยี น ข่าวประชาสมั พนั ธ์เรียกอกี อยา่ งหน่งึ วา่ ขา่ วแจก มีหลกั ในการเขียนข่าว เช่นเดียวกับข่าวทั่วไปคือมุ่งตอบคำถามว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไมและอย่างไร ใช้ภาษาก่ึง ทางการในการนำเสนอ สุภัค มหาวรากร (๒๕๔๗ : ๑๘๑) กลา่ วถึงลกั ษณะการเขียนขา่ วประชาสัมพนั ธด์ ังน้ี ๒.๑ นิยมเขียนแบบปิระมิดหัวกลบั โดยนำใจความสำคญั มาไวต้ อนต้น อาจมี ๒-๕ ย่อหน้า ตามความเหมาะสม การเขยี นข่าวแบบปิระมิดหัวกลบั ทำให้สามารถตดั เน้อื หาสว่ นทย่ี าวเกินออกไปได้ โดยไมเ่ สียส่วนสำคัญของข่าว ๒.๒ ใหค้ วามสำคญั กับการเขียนหวั ขอ้ ข่าวหรอื หัวเรอ่ื ง โดยใชข้ อ้ ความส้ัน ๆ ดงึ ดดู ความ สนใจของผอู้ า่ น ๒.๓ การนำเสนอขา่ วอาจเสนอล่วงหน้าได้โดยพจิ ารณาตามความเหมาะสม ๒.๔ เขยี นเฉพาะขอ้ เท็จจรงิ ไม่แทรกอารมณ์และความรสู้ กึ สว่ นตวั ของผูเ้ ขียน ๒.๕ ใช้ภาษาทก่ี ะทัดรดั ส่อื ความหมายไดช้ ดั เจน ใชป้ ระโยคสน้ั ๆ ไม่ซบั ซอ้ น ๒.๖ ไม่ควรใส่เครื่องหมายคำพูดเพื่อเน้นความสำคัญของข่าว ยกเว้นเป็นการยกคำพูดของ แหลง่ ขา่ วโดยตรงเท่านั้น ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓๙

๒.๗ หากมีภาพประกอบควรเก่ียวขอ้ งโดยตรงกับข่าวทส่ี ง่ ไป ๒.๘ ควรพิมพข์ ่าวเพียงหนา้ เดยี วเพอื่ ความสวยงามและสะดวกในการอ่าน ๒.9 เมอื่ จบขา่ วให้ระบุคำว่า “จบ” หรอื ทำเคร่ืองหมายเพอ่ื แสดงวา่ จบข่าวแลว้ เชน่ # หรอื ... เปน็ ตน้ ๒.๑๐ กรณีทเ่ี ปน็ การเขยี นข่าวประชาสมั พนั ธ์สง่ ส่อื มวลชน ควรระบุแหล่งทมี่ าของขา่ วหรอื ช่อื นามสกุล หมายเลขโทรศพั ท์ทสี่ ามารถติดตอ่ ได้ของผู้สง่ ขา่ วไว้ท่ีมุมซา้ ยดา้ นลา่ งใตเ้ คร่อื งหมายจบขา่ ว และระบวุ ัน เดอื น ปที ่ีส่งข่าวโดยระบุไว้ท่ีมมุ ขวาด้านลา่ งคกู่ ับแหลง่ ท่ีมาของข่าว รปู แบบการเขียนข่าวประชาสมั พันธส์ ง่ สื่อมวลชน ชือ่ /ตราหนว่ ยงาน ท่ตี ง้ั และหมายเลขโทรศัพท/์ โทรสาร หัวข้อข่าวประชาสัมพนั ธ์ ........................................เนื้อหาข่าวส่วนที่สำคญั ที่สดุ ........................................................ ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .........................................เนอื้ หาขา่ วส่วนที่สำคญั รองลงมา.............................................. ............................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................. .........................................รายละเอยี ดเสริม (อาจไม่มกี ็ได้)……………………………………… ................................................................................................................................................................. ###### (เครอื่ งหมายจบขา่ ว) ชอ่ื -สกลุ ผูส้ ่งข่าว วนั เดอื นปีท่ีสง่ ข่าว ฝ่ายประชาสมั พนั ธ์ โทรศพั ท์..............ต่อ.............. ๔๐ ชุดการเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook