ชดุการเรยน หลกัสูตรประกาศนียบัตรวชาชพีช้นัสูงพทธศกัราช๒๕๖๒ óðððð-ññðñ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิาชพี (OccupationalThaiLanguageSkill) ˹‹Ç·Õè ÷ ¡ÒÃà¢Õ¹ÃÒ§ҹ¡Òû¯ÔºÑµÔ§Ò¹àªÔ§ÇÔªÒªÕ¾ http://www.nsdv.go.th/ ศูนยอาชีวศกึษาทวภาคี ศูนยสงเสรมและพฒันาอาชีวศึกษาภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชวีศกึษากระทรวงศกึษาธกิาร
ชดุ การเรียน หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชีพชั้นสูง พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี หนว่ ยที่ ๗ สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
คำนำ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงน้ี จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้รายวิชา ๓๐๐๐-๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงาน อาชีพ หลักสตู รประกาศนียบัตรวิชาชพี ช้นั สงู พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะ ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓-๐-๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยมี จุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการใช้ภาษาไทย สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพ โดยชุดการเรียนน้ี ประกอบด้วย ๗ หน่วยการเรียน และแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน แผนการเรียนประจำหน่วย เนื้อหาสาระและกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งในระบบปกติและระบบ ทวิภาคีสามารถศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ตลอดจนสามารถดาวน์โหลด (Download) ชุดการเรียน นี้เพื่อศึกษาเรียนรู้ในระบบออฟไลน์ (Offline) ได้ด้วย นอกจากนี้ ครูผู้สอนรายวิชาดังกล่าวยังสามารถ นำไปใชใ้ นการจดั การเรียนการสอนในสถานศกึ ษาได้ เป็นการสนองตอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วย ทั้งนี้ ชุดการเรียนนี้จะนำไปใช้ใน สถานศึกษานำร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและขยายผลแก่สถานศึกษา อาชีวศกึ ษาทกุ แหง่ ต่อไป สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษาขอขอบคณุ ศนู ย์อาชีวศกึ ษาทวิภาคี ศนู ย์ส่งเสรมิ และ พัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูผู้สอน คณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทกุ ท่าน ท่ีมีส่วนช่วยให้การดำเนินการจัดทำชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาไทยครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง และหวังว่าผู้เรียนจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ พฒั นาตนเองและประยุกต์ใชใ้ นงานอาชพี ได้เป็นอย่างดี ศูนย์สง่ เสริมและพัฒนาอาชวี ศกึ ษาภาคเหนือ ศูนย์อาชวี ศึกษาทวภิ าคี พฤษภาคม ๒๕๖๒
สารบญั ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี รายละเอียดรายวชิ า หน้า วิธีการศึกษา (ก) • ขัน้ ตอนการเรยี นชุดการเรียน • ข้นั ตอนการเรยี นระดบั หนว่ ย (ข) (จ) หนว่ ยที่ ๗ รปู แบบการเขียนรายงานการวิจยั (ฉ) • แบบประเมนิ ตนเองกอ่ นเรียน หนว่ ยท่ี ๗ ๑ • แผนการเรียน หนว่ ยท่ี ๗ รูปแบบการเขยี นรายงานการวิจยั ๑ ๒ - แผนการเรียน มอดลู ที่ ๗ รายงานการวิจัย ๔ • แบบประเมนิ ตนเองหลงั เรียน หนว่ ยที่ ๖ ๔๔
รายละเอยี ดรายวชิ า ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓-๐-๓ (Occupational Thai Language Skills) จดุ ประสงค์รายวชิ า เพ่ือให้ ๑. เข้าใจหลกั การใช้ภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๒. สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่าสารและใช้ภาษาไทยเปน็ เคร่ืองมอื สอ่ื สารใน วชิ าชพี ตามหลักภาษา เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลและสถานการณ์ ๓. เหน็ คุณค่าและความสาคญั ของการใชภ้ าษาไทยในวชิ าชีพอยา่ งมจี รรยาบรรณ สมรรถนะรายวชิ า ๑. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การ สังเคราะห์และการประเมินคา่ สารภาษาไทยเชิงวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ ๒. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารท่ีได้จากการฟัง การดูและการอ่านส่ือประเภท ต่าง ๆ ๓. พดู นาเสนอขอ้ มูลเพือ่ สือ่ สารในงานอาชพี และในโอกาสตา่ ง ๆ ตามหลักภาษา กาลเทศะ บคุ คลและสถานการณ์ ๔. เขียนเพ่ือติดต่อกิจธุระ บันทึกข้อมูลและรายงานการปฏิบตั ิงานเชิงวชิ าชพี ตามหลักการ ใช้ภาษาไทย คาอธบิ ายรายวชิ า ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากส่ือประเภทต่าง ๆ การพูด นาเสนอข้อมูลเพื่อส่ือสารในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพ่ือกิจธุระ การจดบันทึก ขอ้ มลู และเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงานเชงิ วิชาชีพ และจรรยาบรรณในการใชภ้ าษาไทยเชิงวชิ าชีพ (ก)
วธิ กี ารศกึ ษา ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ในการศึกษาชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ผู้เรยี นจะต้องทาความเขา้ ใจเกีย่ วกบั ๑. โครงสรา้ งเน้อื หาสาระ ๒. โครงสรา้ งสื่อการเรียนรู้ ๓. วิธกี ารเรียน โครงสร้างเนือ้ หาสาระ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพได้แบ่ง โครงสรา้ งเน้ือหาสาระ ดงั น้ี หนว่ ยท่ี ๑ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารอยา่ งมีประสิทธภิ าพ หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะห์สารจาการฟงั การดู การอา่ น หนว่ ยท่ี ๓ การพดู ในงานอาชีพ หนว่ ยที่ ๔ การพดู ในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือตดิ ตอ่ ธรุ ะ หน่วยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชพี หนว่ ยท่ี ๗ การเขยี นรายงานการวจิ ยั โครงสร้างสอ่ื การเรยี นรู้ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ประกอบด้วย ส่ือ ๒ ประเภท คือ (๑) สือ่ ส่งิ พิมพ์ ได้แก่ แผนการเรยี นและใบกิจกรรม และ (๒) ส่ือออนไลน์ วิธีการเรยี น เพ่ือให้การเรียนในชุดการเรียนรายวิชาน้ีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล ตามจดุ ประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวชิ า ผเู้ รยี นควรดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี ๑. เตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องจัดตัวเองให้อยู่ในสภาพการณ์ ที่เออื้ ต่อการเรียนรู้ ๔ ประการ คือ ๑.๑ มสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้อย่างกระฉับกระเฉง โดยการคิด เขียนและ ทากิจกรรมการเรียนรู้ทก่ี าหนดอย่างสม่าเสมอตลอดเวลา ๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบผลการเรยี นรูห้ ลงั ทากิจกรรมแตล่ ะกิจกรรมจากแนวการ ตอบหรอื เฉลย ๑.๓ ซือ่ สตั ย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูแนวการตอบหรอื เฉลยกอ่ น (ข)
๑.๔ ศึกษาเรยี นรู้ไปตามลาดับขน้ั ตอน เพ่อื ให้ไดค้ วามรู้ครบถว้ นตามท่กี าหนด ๒. ประเมนิ ผลตนเองกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น ๒.๑ ก่อนท่ีจะเรียนหน่วยการเรียนใด ผู้เรียนควรจะตรวจสอบความรู้ด้วยการ ประเมินผลตนเองก่อนเรียนจากแบบประเมินของหน่วยนั้น ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวม คะแนนไว้ หากทาไดค้ ะแนนเกนิ กวา่ รอ้ ยละ ๖๐ ผเู้ รยี นอาจจะไม่ต้องศกึ ษาหน่วยนั้น ๒.๒ เม่ือศึกษาหน่วยนนั้ เสร็จแล้ว ขอให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองหลังเรียน โดย ทาแบบประเมินทก่ี าหนดไวต้ อนท้าย ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวมคะแนนไว้ หากทาได้ต่ากว่า รอ้ ยละ ๘๕ ผ้เู รยี นควรศกึ ษาทบทวนหนว่ ยนั้นแล้วประเมินซา้ อกี จนกว่าจะได้คะแนนเพม่ิ ข้ึนตาม เกณฑท์ ก่ี าหนด ๓. ศึกษาเอกสารชดุ การเรียนและส่ือท่ีกาหนด โดย ๓.๑ ศกึ ษารายละเอยี ดชุดวิชา ๓.๒ ศึกษาแผนหนว่ ยการเรยี นทุกหนว่ ย ๓.๓ ศกึ ษารายละเอียดของแต่ละหนว่ ยการเรียน ดงั นี้ ๓.๓.๑ แผนการเรียนประจาหน่วย ๓.๓.๒ แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน ๓.๓.๓ แนวคดิ ๓.๓.๔ เนอื้ หาสาระในแตล่ ะหน่วย และแต่ละมอดูล ๓.๓.๕ กจิ กรรมและแนวการปฏบิ ตั หิ รอื แนวการตอบ ๓.๓.๗ แบบประเมินตนเองหลงั เรียน ๔. ทากจิ กรรมตามทีก่ าหนดในหน่วยการเรยี น “กิจกรรม” เป็นส่วนที่ผู้เรียนจะต้องบันทึกสาระสาคัญและทากิจกรรมทุกอย่าง ตามทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ใหเ้ ขียนกิจกรรมลงในแบบฝึกปฏบิ ัติที่กาหนด บางกจิ กรรมอาจให้ผู้เรียน ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ขอให้ผู้เรียนจัดทาและจัดส่งครูผู้สอนหรือครูเจ้าของ วิชาตามวนั เวลาและสถานทท่ี ก่ี าหนด (ค)
๕. การศึกษาสอื่ ประกอบการเรยี นรู้ บางหน่วยการเรียน อาจกาหนดให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อท่ีกาหนดหรือ ศึกษาส่ือควบคู่ไปกับการอ่านเอกสารชุดการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ขอให้ผู้เรียนศึกษา รายละเอียดตา่ ง ๆ ตามทกี่ าหนด และจดบนั ทึกสาระสาคัญของสิ่งทไี่ ด้เรยี นรู้ไว้ในกจิ กรรมปฏิบัติ ด้วย ๖. การเข้ารับการสอนเสรมิ หรือรบั บรกิ าร ณ สถานศกึ ษา ผู้เรียนต้องนาบัตรประจาตัวนักศึกษาและบัตรลงทะเบียนเรียนรายวิชาไปแสดง ดว้ ย และเมอ่ื เขา้ รับการสอนเสรมิ รับฟังและรบั ชมส่อื ต่าง ๆ ใหบ้ ันทกึ รายละเอยี ดการเขา้ รับการ สอนเสรมิ หรือรบั บริการในแบบฝกึ ปฏบิ ัตติ อนทา้ ยหน่วยดว้ ย ๗. การร่วมกจิ กรรมภาคปฏิบตั เิ สริมประสบการณ์ ผู้เรียนชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ อาจจะตอ้ งเขา้ ร่วมกิจกรรมอย่างใดอยา่ งหน่ึงตอ่ ไปนี้ ๗.๑ เข้าห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ใน แตล่ ะหน่วยการเรียน ๗.๒ เข้าสงั เกตการณ์การสอนในหนว่ ยการเรียนทก่ี าหนด ๗.๓ เข้าฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการหรือหน่วยงาน ๗.๔ ประดิษฐค์ ิดคน้ หรอื ศึกษาสารวจข้อมูลตามท่กี าหนด หลังจากทากิจกรรมข้างต้นแล้ว ให้มีการสรุปรายงานให้แก่ครูผู้สอนหรือครู เจ้าของวิชาทราบเพ่ือตรวจสอบผลการปฏิบัติ และเก็บผลการประเมินเป็นคะแนนเก็บของ รายวิชา ๘. เขา้ รบั การสอบ เม่ือส้ินภาคการศึกษา ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาหรือ สอบไล่ ตามวนั เวลาและสถานทท่ี ีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพอื่ การตัดสินผลการเรยี น (ง)
(จ)
(ฉ)
แบบประเมินตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ ๗ http://bit.ly/thai-test7 ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชีพ ๑
แผนการเรยี น หน่วยท่ี ๗ รูปแบบการเขยี นรายงานการวจิ ยั มอดูล รายงานการวิจัย แนวคิด การเขียนรายงานการวิจัยเป็นกระบวนการนำเสนอความรูห้ รอื ขอ้ เท็จจริงที่ได้ศึกษาค้นคว้า โดยเรียบเรียงขึน้ อย่างมรี ะบบ ระเบียบ เพื่อเสนอความคิด หลกั การ วธิ กี ารทำวิจยั เรื่องนั้น ในรูปการ เขียน เพอ่ื ใหผ้ ้อู า่ นมีความรู้ และเข้าใจในสงิ่ ทผ่ี ้วู ิจัยได้ทำการวิจยั น้ัน จดุ ประสงค์การเรยี น เมื่อศึกษามอดูล “การเขียนรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถเขียนส่วนประกอบของ รายงานการวิจัยได้ กจิ กรรมการเรยี น ๑. ทำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ ๗ ๒. อา่ นแผนการเรียนประจำหน่วยที่ ๗ ๓. อ่านสาระสังเขปประจำมอดลู ๔. ดำเนินกิจกรรมท่ีกำหนดของแต่ละมอดูลหรือหัวข้อเรอื่ ง ๕. ตรวจสอบคำตอบจากแนวตอบของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดไว้ท้ายหน่วยท่ี ๗ ๖. เข้ารับการสอนเสริม ๗. ทำแบบประเมินตนเองหลังเรียน ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี ๒
ส่อื และแหล่งการเรยี น ๑. เอกสารชดุ การเรยี น หนว่ ยท่ี ๗ ๒. ใบชว่ ยสอน การประเมนิ ผลการเรียน ๑. ประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน การประเมนิ ตนเองก่อนและหลังเรียน ๒. ประเมินกิจกรรมภาคปฏิบตั ิ (๒๐ คะแนน) ๓. คณุ ธรรม จริยธรรม (๒๐ คะแนน) ๔. การสอบปลายภาค (…… คะแนน) ๓ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี
แผนการเรียน มอดูลท่ี ๗ รายงานการวจิ ัย โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจดุ ประสงค์การเรียนของมอดูล แล้วจึงศึกษารายละเอียด ต่อไป หัวขอ้ เรื่อง ๗.๑ ความหมายของการเขยี นรายงานการวจิ ัย ๗.๒ ความสำคัญของรายงานการวิจยั ๗.๓ ประโยชนข์ องการวจิ ัย ๗.๔ ประเภทของรายงานการวจิ ยั ๗.๕ หลกั การเขียนรายงานการวิจยั ๗.๖ เทคนคิ การเขยี นรายงานการวจิ ยั ๗.๗ ข้ันตอนการเขยี นรายงานการวิจยั ๗.๘ ส่วนประกอบของรายงานการวจิ ัย ๗.๙ การจัดรูปแบบการพมิ พร์ ายงานการวจิ ยั แนวคิด การเขียนรายงานการวจิ ยั เป็นกระบวนการนำเสนอความรหู้ รือขอ้ เทจ็ จริง ทไี่ ดศ้ กึ ษาคน้ คว้า โดยเรียบเรียงข้นึ อยา่ งมรี ะบบ ระเบียบ เพ่อื เสนอความคดิ หลกั การ วธิ ีการทำวจิ ยั เรื่องน้ัน ในรปู การ เขียน เพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ และเข้าใจในสิ่งที่ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยนั้น ดังน้ั นผู้วิจัยต้องเข้าใจ ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ประเภทของรายงานการวิจัย หลักการเขียนรายงานการวิจัย เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย ขั้นตอนการเขียนรายงานการวิจัย ส่วนประกอบของรายงานการ วิจัย และการจัดรปู แบบการพมิ พ์รายงานการวจิ ยั จดุ ประสงคก์ ารเรยี น ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๗.๑ “ความหมายของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ อธบิ ายความหมายของรายงานการวิจัยได้ ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี ๔
๒. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๒ “ความสำคัญของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนบอก ความสำคญั ของรายงานการวิจัยได้ ๓. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องท่ี ๗.๓ “ประโยชน์ของการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนบอกประโยชน์ของ การวิจยั ได้ ๔. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๔ “ประเภทของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ จำแนกประเภทของรายงานการวิจัยได้ ๕. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๕ “หลักการเขียนรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ อธิบายขัน้ ตอนการเขียนรายงานการวจิ ยั ได้ ๖. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๖ “เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ บอกเทคนคิ การเขียนรายงานการวิจัยได้ ๗. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๗ “ขั้นตอนการเขียนรายงานการวจิ ัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ เขยี นขั้นตอนรายงานการวจิ ัยได้ ๘. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๗.๘ “ส่วนประกอบของรายงานการวิจัย” แล้ว ผู้เรียนสามารถ เขียนสว่ นประกอบตา่ ง ๆ ของรายงานการวิจัย และเขียนบรรณานุกรมได้ ๕ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ
เน้อื หา ๑. ความหมายของรายงานการวิจยั บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (๒๕๕๓) กล่าวว่า รายงานการวิจัย หมายถึง เอกสารที่ได้จาก การค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วสังเคราะห์เรียบเรียงขึ้นใหม่อย่างมีระบบ ระเบียบ ตามสากลนิยม และได้เนื้อหาสาระที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าทำ อะไร (ตอ้ งการค้นคำตอบอะไร) ทำไมจงึ ทำ (เร่ืองนเ้ี ป็นปัญหาอยา่ งไร มีแนวคดิ หลักการและเหตุผล อย่างไรจึงเลือกทำวิจัยเรื่องนี้) ทำอย่างไร (มีวิธีการค้นหาคำตอบนั้นอย่างไร) และทำแล้วได้ผล อย่างไร (ผลการวจิ ยั ท่ีทำได้ มีข้อสรุปอยา่ งไรบา้ ง) สิริลักษณ์ ตีรณธนากุล (๒๕๕๐) กล่าวว่า รายงานการวิจัยเป็นรายงานเสนอผลการวิจัย โดยทั่วไปจะมีรูปแบบที่แน่นอน และเข้มงวด แต่ในรายละเอียดนั้นมีความแตกต่างกันบ้างระหว่าง สังคมศาสตร์ และวทิ ยาศาสตร์ สรปุ รายงานการวจิ ยั หมายถงึ เอกสารท่ไี ด้จากการคน้ ควา้ เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู มาวิเคราะห์ แล้วสงั เคราะหเ์ รียบเรยี งขึ้นใหม่อย่างมีระบบ และมรี ูปแบบท่แี นน่ อน โดยอธิบาย ชีแ้ จงรายละเอียด ทั้งหมดของงานวิจัยนั้น ๆ อย่างตรงไปตรงมา ครบถ้วน ซึ่งผู้เขียนไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นหรือ เพ่มิ เติมความคดิ เหน็ ของตนลงไป รายงานการวิจัยจะมีท้งั ดา้ นสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ๒. ความสำคัญของการวิจยั พิสณุ ฟองศรี (๒๕๕๓) ได้ให้ความสำคญั ของรายงานการวิจัยไว้ ๔ ประการ ไดแ้ ก่ ๑. เป็นสื่อกลางระหว่างผู้วิจัยกับผู้อ่านหรือผู้ใช้ผลวิจัย เนื่องจากรายงานการวิจัย เปรียบเสมอื นสอ่ื ท่ีวงิ่ ผ่านความคดิ การกระทำ ขอ้ ค้นพบ ความคดิ เห็น และขอ้ เสนอแนะของผู้วิจัย ไปสู่ผสู้ นใจ และจะนำผลงานวจิ ยั ไปใชป้ ระโยชน์ในดา้ นตา่ ง ๆ โดยศกึ ษาจากเนอ้ื หาในรายงาน ๒. ป้องกันความซ้ำซ้อน เพราะการทำวิจัย เป็นการหาความรู้ ความจริงใหม่ ๆ หากมีการ ทำซ้ำก็ไมเ่ ป็นประโยชน์ เหมอื นยำ่ อยกู่ บั ที่ ๓. เป็นแหล่งสำหรับการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ เนื่องจากรายงานการวิจัย เปรียบเสมือนวัสดุเบื้องต้นสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปจัดเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ให้เป็น หมวดหมู่ เพอื่ ความสะดวกในการศกึ ษาค้นคว้า ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ สื่อสารในงานอาชพี ๖
๔. ช่วยสร้างเครือข่ายวิจัย เมื่อมีการเผยแพร่รายงานการวิจัยไปสู่สาธารณะแล้ว ผู้ที่สนใจ ศึกษาในเรื่องเหมือนหรือคล้ายกันก็สามารถประสาน เพื่อให้ความร่วมมือกัน และอาจเป็นเครือข่าย การวิจยั ในเร่อื งน้ัน ๆ ได้ ๓. ประโยชนข์ องการวจิ ยั วิธีการวิจยั เปน็ วธิ กี ารแสวงหาความรวู้ ิธีหนึง่ ทใี่ หค้ วามนา่ เชอื่ ถือได้มาก ผลของการวิจัยจะ นำมาใชป้ ระโยชนต์ อ่ มนุษยชาตมิ ากมาย ซึง่ อาจสรุปได้ดงั นี้ (ยทุ ธพงษ์ กัยวรรณ์,๒๕๔๓) ๑. การวจิ ยั จะทำให้เกิดความร้ใู หม่ เพ่ิมพนู วิทยาการของศาสตร์ตา่ ง ๆ ใหก้ วา้ งขวางมาก ยงิ่ ขึน้ ๒. นำผลการวจิ ยั ไปแก้ปญั หาได้ คำตอบท่ไี ดจ้ ากการวจิ ัยจะทำใหม้ ่นั ใจและนำผลการวิจยั ไปใช้แก้ปัญหาหรอื พฒั นาส่ิงประดิษฐใ์ หม่ ๆ ได้ เชน่ นำผลการวจิ ยั ไปใชใ้ นดา้ นสงั คมศาสตร์ หรือ พฤติกรรมศาสตร์ ดา้ นการแพทย์ ดา้ นธรุ กิจการคา้ ดา้ นวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น ๓. ช่วยปรบั ปรงุ การทำงานใหม้ ีประสทิ ธิภาพ ๔. ชว่ ยในการพิสจู น์ ตรวจสอบ ทฤษฎี กฎเกณฑต์ ่าง ๆ ๕. ชว่ ยใหเ้ ข้าใจ ปรากฏการณ์ หรอื สถานการณต์ ่าง ๆ ๖. ชว่ ยในการพยากรณ์ สถานการณ์ ปรากฏการณ์ พฤตกิ รรมต่าง ๆ ได้อยา่ งถูกต้อง ๗. ผลท่ไี ดจ้ ะนำไปประกอบการตัดสนิ ใจ ๔. ประเภทของรายงานการวจิ ัย บุญธรรม กิจปรดี าบริสุทธิ์ ไดแ้ บ่งรายงานการวจิ ยั ออกเปน็ ๕ ประเภท ดังนี้ ๑. โครงเสนอการวิจัย (Research Proposal) เป็นแผนงาน โครงการ และกลวิธีในการทำ วจิ ัยทกี่ ำหนดไว้ล่วงหนา้ เพอ่ื บอกใหท้ ราบวา่ จะทำวจิ ัยในประเด็นปัญหาอะไร ทำไมจงึ ทำ และจะหา คำตอบในประเดน็ ปัญหาการวจิ ัยน้ันได้อย่างไร ๒. สารนิพนธ์ (Independent study report) เป็นรายงานการศึกษาอิสระ อาจมีลักษณะ เป็นการทบทวนวรรณกรรม กรณีศึกษา การทำโครงการ หรือทำวิจัยในขอบเขตเนื้อหาท่ี เฉพาะเจาะจงได้ ๓. วิทยานิพนธ์ (Thesis) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) เป็นรายงานการค้นคว้าวิจัยที่เรียบ เรียงขึ้นอย่างละเอียด รอบคอบ มีเหตุ มีผลตามขั้นตอนระเบียบวิธีวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลกั สูตรปริญญามหาบณั ฑิตหรอื ดุษฎีบัณฑติ ๗ ชุดการเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ
๔. รายงานการวิจัย (Research Paper or Report) เป็นรายงานการคน้ ควา้ วิจยั ทเี่ รียบเรยี ง ขึ้นอยา่ งมรี ะบบ ระเบยี บ มเี นอ้ื หาสาระอยา่ งละเอียดสมบูรณ์ ๕. บทความวิจัย (Research Article) เป็นรายงานเชิงวิเคราะห์ที่เรียบเรียงขึ้นในลักษณะ บทความทีส่ ั้น กะทัดรัด ชัดเจน แต่มีเนื้อหาสาระครบถ้วน เพื่อเสนอผลงานที่ได้จากการค้นคว้าวิจยั และสง่ พมิ พเ์ ผยแพรใ่ นวารสารวชิ าการ ใหน้ ักศกึ ษาทำกิจกรรมประเภทของรายงานการวิจยั https://h5p.org/node/454938 ๕. หลกั การเขยี นรายงานการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย ต้องยึดหลักวิชาการ โดยเขียนอย่างตรงไปตรงมา ไม่อคติหรือ ความรสู้ กึ ใด ๆ ใชภ้ าษาที่เป็นทางการดงั น้ี (พสิ ณุ ฟองศร,ี ๒๕๕๓) ๑. ยึดรูปแบบของต้นสังกัด การเขียนรายงานการวิจัย จะมีโครงสร้างตามที่หนว่ ยงานหรอื สถาบันการศึกษากำหนดไว้ ดังนั้นผู้วิจัยควรศึกษาและยึดรูปแบบตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ส่วน ผู้วิจัยซึ่งไม่ได้เป็นนิสิต นักศึกษา ก็ต้องยึดของหน่วยงานต้นสังกัด หากหน่วยงานต้นสังกัดไม่ได้ กำหนดไว้ กอ็ าจยดึ ของหนว่ ยงาน สถาบันการศึกษาใด สถาบันหนง่ึ เปน็ หลกั ๒. เขยี นให้ถกู ตอ้ ง สาระของเนอื้ หา ข้อมูล ภาษา ต้องมคี วามถูกตอ้ งตามหลกั วิชาการ เป็น เหตุ เปน็ ผลซึง่ กันและกันอย่างน่าเช่ือถือ ๓. เขียนให้ชัดเจน เพื่อให้การอ่านเข้าใจง่าย และตรงกันระหวา่ งผู้เขียนกับผู้อ่าน ข้อความ ทุกคำ ทุกประโยค ทุกหัวข้อรอง หัวข้อหลัก และทุกบทตลอดทั้งเล่มต้องมคี วามหมายชดั เจน เข้าใจ ง่าย ๔. เขียนให้กระชับ เขียนให้ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม หรือวกวนไปมา เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ งา่ ย ภายในเวลาอนั รวดเรว็ ๕. เขียนให้คงเส้นคงวา เนื้อหาภายในรายงานวิจัยทั้งเล่มต้องคงเส้นคงวา สม่ำเสมอท้ัง ภาษาและตัวเลข เช่น จะใช้คำว่า เพศหญิงกต็ ้องใช้ เพศหญิงตลอดทั้งเล่ม ถ้าใช้ทศนยิ ม ๒ ตำแหน่ง ก็ใช้ ๒ ตำแหนง่ ตลอดทง้ั เล่ม ๖. เขียนให้สอดคลอ้ งกัน การเขียนให้สอดคลอ้ งกัน อาจเขียนใหส้ อดคล้องกันในเชงิ เหตผุ ล ทำให้เนอ้ื หามีน้ำหนัก นา่ เชื่อถอื หรอื สอดคล้องกบั ขน้ั ตอนหัวขอ้ ต่าง ๆ เชน่ การวเิ คราะหข์ ้อมลู และ สรปุ ผลการวิจัยควรจะสอดคลอ้ งกับวัตถปุ ระสงค์ ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชพี ๘
๗. เขียนให้เชื่อมโยงกัน การเขียนให้เชื่อมโยงกัน โดยปรับภาษาจากเอกสารที่ค้นคว้ามา เรียบเรียงด้วยภาษาของตนเอง หรือมีการเชื่อมโยงระหว่างหวั ขอ้ เช่น การอภิปรายผลตอ้ งเชื่อมโยง มาจากผลการวจิ ยั ๘. ต้องอ้างองิ การเขียนรายงานการวิจัย ผู้เขียนไม่ได้คดิ เองทั้งหมด ต้องนำแนวคิด ทฤษฎี หลกั การ เน้อื หา ผลการวจิ ัยหรอื ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของผูอ้ น่ื มาใช้ จงึ ต้องมกี ารอา้ งองิ ถงึ แหล่งท่ีมา ดว้ ย ๙. ยึดผู้อ่าน รายงานการวิจัยมคี วามสำคัญในฐานะส่ือกลางระหวา่ งผเู้ ขยี นกบั ผูอ้ ่าน หรือใช้ ผลงานดังกล่าวแล้ว ดังนั้นหากไม่มีข้อกำหนดตายตัว ก็ควรคำนึงถึงผู้อ่านด้วยว่า เป็นบุคคลทั่วไป นักวิชาการ ผู้บริหาร หรือผู้นำไปใช้ เพราะแต่ละกลุ่มจะต้องการเนื้อหาสาระต่างกันไปตามความ ประสงค์ ๖. เทคนคิ การเขียนรายงานการวจิ ยั เทคนคิ การเขยี นรายงานการวิจยั มีดังนี้ (พสิ ณุ ฟองศรี, ๒๕๕๓) ๑. เขียนเอง ผู้วิจัยต้องเขียนรายงานการวิจัยด้วยตนเอง ไม่ควรจ้างให้ผู้อื่นเขียนให้ การ เขียนรายงานการวิจัยด้วยตนเอง จะเป็นการฝึกฝนตนเอง และสามารถนำประสบการณ์ ทักษะการ เขยี นรายงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ไดต้ ลอดเวลา ๒. เขียนตามความจริง การเขียนตามความจริงหรือมีข้อเท็จจริง จะทำให้เขียนได้ง่าย รวดเรว็ ไมต่ ้องประดิดประดอยทำใหส้ วยงาม ๓. ใช้ภาษาของตนเอง แม้จะมีการอ้างอิงก็ควรปรับภาษาให้เป็นของตัวเอง ซึ่งจะทำให้ รายงานวิจัยน้ันมีความสละสลวย สอดคล้องเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน คำใดที่ต้องใช้ภาษาวิชาการก็ ใชต้ ามหลักสากลท่ีได้กำหนดไว้ แตโ่ ดยรวมควรใชภ้ าษาของตัวเองตามความเข้าใจ ๔. ยึดหลักมากกว่าตัวอย่าง การเขียนรายงานการวิจัยมีแนวทาง หลักการ โครงสร้างท่ี ค่อนข้างชัดเจน ผู้วิจัยจึงควรยึดหลักไว้ ไม่ควรนำตัวอย่างจากรายงานเล่มหนึ่งเล่มใดมาเป็นหลักใน การเขียน หรืออาจเรียกว่าคดั ลอกงานของผู้อืน่ ๕. เลี่ยงคำซ้ำ การเขียนประโยคหรือย่อหน้าต่าง ๆ ไม่ควรใช้คำซ้ำกันมาก จะทำให้ขาด ความสละสลวย เชน่ คำวา่ “ซงึ่ ” “ที่” “โดย” “และ” อย่าใชซ้ ้ำกนั หรือการขนึ้ คำย่อหนา้ ไมค่ วรใช้ คำเดียวกัน เช่น คำว่า “การ” ไม่ควรใช้กับย่อหน้าที่ติดกัน โดยอาจเพิ่มคำอื่นเข้าไปให้ต่างกัน เช่น “สำหรับ” “เกยี่ วกบั ” “ใน” เป็นตน้ ยกเว้นกรณที ่มี คี วามจำเป็น ๙ ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี
๖. เขียนเนื้อหาของย่อหน้าพอเหมาะ ส่วนที่เป็นเนื้อหา ความเรียง ไม่ควรให้สั้นหรือยาว เกินไป ควรเขียนให้ได้หน้าละ ๓-๕ ย่อหน้า ๆ ละ ประมาณ ๖-๑๐ บรรทัด ในกรณีที่ทำเนื้อหาของ ผู้อ่นื มาอ้างองิ ควรปรบั เพม่ิ ลดใหอ้ ยู่ในปริมาณดังกล่าว เพอ่ื ใหผ้ ู้อ่านใชเ้ วลาอ่านและพักเปน็ ระยะ ๆ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม ๗. เชื่อมโยงแตล่ ะย่อหน้าดว้ ยคำหรือประโยคเดียวกนั ควรเชื่อมโยงแต่ละย่อหน้าทีเ่ ห็นว่า เน้อื หาต่อเนื่องกันดว้ ยการใชค้ ำหรอื ประโยคเดยี วกัน ในท้ายประโยคก่อนกบั ตน้ ประโยคถดั มา จะทำ ให้อ่านไดอ้ ยา่ งราบร่ืน แตก่ ต็ ้องใช้ทกั ษะและเวลาพอสมควร ๘. ปรับคำเพื่อความสวยงาม การพิมพ์รายงานการวิจัยในปัจจุบันจะใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ และมีกั้นหลังด้วยเพื่อความสวยงาม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะใช้โปรแกรมเวิร์ด ทำให้มี ช่องว่างระหวา่ งคำหรือตัวอักษร ซึ่งอาจเรียกว่าชอ่ งไฟ ไม่สวยงาม หรือมีการฉีกคำได้ ดังนั้นผ้จู ัดทำ อาจใช้วิธีการปรับคำบางคำโดยการเปลี่ยน เพิ่มลด เพื่อช่วยลดช่องว่าง ซึ่งก็มีข้อเสียคืออาจทำให้ ภาษาที่ใช้ชาดความสละสลวยไปบ้าง ผู้เขียนรายงานการวจิ ัยต้องพิจารณาเปรียบเทยี บดูว่า ภาษาท่ี เสียไปบ้างกบั ความสวยงามของช่องไฟนนั้ อยา่ งไหนควรจะเหมาะสมกว่ากนั ทดสอบความรู้เรอ่ื งหลกั และเทคนคิ การเขยี นรายงานการวจิ ัย http://bit.ly/thaiact72 ๗. ขั้นตอนการเขียนรายงานการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย แบ่งขั้นตอนเพื่อสะดวกในการเขียน ดังนี้ (บุญธรรม กิจปรีดา บริสทุ ธ,ิ์ ๒๕๕๓) ๑. การกำหนดหัวเรื่อง ขั้นแรกจะต้องกำหนดหรือตั้งชื่อหัวข้อเรื่องก่อนว่าจะเขียนเรื่อง อะไร ซึ่งอาจจะใช้ชื่อเรื่องทีเ่ ป็นหัวข้อเรื่องของโครงเสนอการวิจัยที่ได้ทำเสนอไวก้ ่อน หรือตั้งใหม่ให้ เหมาะสม สอดคล้องกับเนือ้ หาท่จี ะเสนอ ๒. กำหนดขอบเขตและทำความเข้าใจหัวข้อเรื่อง จากหัวข้อเรือ่ ง ก่อนเขียนจะต้องกำหนด ขอบเขตหัวข้อเรื่องใหช้ ดั เจนวา่ ต้องการเสนอกว้างขวางแค่ไหน จะเสนออะไรบา้ ง และอะไรบา้ งท่ีไม่ เสนอ เมื่อกำหนดขอบเขตได้แล้ว ต่อไปต้องทำความเข้าใจด้วยการตีความหมาย วิเคราะห์คำ ข้อความ และแนวคดิ รวมทั้งทฤษฎีทีเ่ กย่ี วขอ้ งใหช้ ดั เจน ๓. วางโครงเรอื่ ง เป็นการกำหนดโครงเรื่องท่จี ะเขียน ควรเริ่มจากกำหนดหวั ขอ้ เรื่องใหญ่ ๆ ก่อนว่าจะกล่าวถึงเร่ืองอะไร จะทำเป็นบทหรือไม่ ถ้าทำเป็นบท ควรจะมีกี่บท ถ้าไม่ทำเป็นบท จะมี ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่ือสารในงานอาชพี ๑๐
หัวข้อเรื่องใหญ่ ๆ อะไรบ้าง แต่ละบทหรอื แต่ละหัวข้อใหญ่ จะแบ่งเป็นหัวข้อย่อยอะไรบ้าง จัดเรียง หวั ขอ้ ตามลำดับ การวางโครงเรอ่ื งกค็ ือการทำสารบัญเนื้อหาท่จี ะเขยี นนนั่ เอง ๔. การรวบรวมขอ้ มูลจากเอกสาร เม่ือวางโครงเรือ่ งทจี่ ะเขียนแลว้ จากนน้ั จึงทบทวนสำรวจ เน้อื หาจากเอกสารตา่ ง ๆ และจากผลการวิเคราะห์ขอ้ มลู ทัง้ หมด การรวบรวมขอ้ มลู ควรพยายามเก็บ จากหลาย ๆ แหล่ง หนงั สอื หลาย ๆ เล่ม เพื่อจะได้ตรวจสอบความถูกตอ้ งของขอ้ มูลและเน้ือหา ๕. รวบรวมข้อมูลสนาม ข้อมูลสนามเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาโดยตรง จำเป็นต้อง ตรวจสอบและวเิ คราะหผ์ ล จดั เตรียมทำเป็นตารางไว้ให้เรียบร้อยกอ่ นเขียนรายงาน ๖. เขียนฉบับร่าง เริ่มเขียนฉบับรา่ งตามโครงเรอื่ ง เรยี งลำดบั ของหัวขอ้ เร่ืองใหญ่ และหัวข้อ เรื่องย่อยที่กำหนดไว้ การเขียนควรทำความเข้าใจข้อมูล เนื้อหาสาระของบท ตอน หรือหัวข้อนั้น ๆ อย่างละเอียดและครบถ้วน เพื่อให้ทราบว่าจะเขียนอะไรบ้างทั้งหมด และในหัวข้อนั้นจะเสนอ อะไรบา้ งเปน็ ใจความสำคญั กอ่ น จากนน้ั จึงเรยี บเรยี งเขยี น ๗. แก้ไขและขัดเกลา หลังจากเขียนฉบับร่างเสร็จแล้ว ค่อยนำมาอ่านใหม่ ทำความเข้าใจ ตลอดทั้งเรื่อง เพื่อตรวจสอบสำนวนภาษา ข้อมูล ความถูกต้องของเนื้อหา และความสอดคล้อง ต่อเน่ืองของเรื่อง จะได้แก้ไขและขดั เกลาให้เรยี บร้อย ๘. ส่งให้ผู้อื่นวจิ ารณ์ จากทีไ่ ด้แก้ไข ขัดเกลาเรียบร้อยแล้ว จัดพิมพ์เป็นฉบับร่าง ส่งให้ผู้อ่นื อ่าน และวิจารณ์ก่อน จากนั้นจึงส่งใหผ้ ู้เชี่ยวชาญเนื้อหาและวิจัยที่เกี่ยวขอ้ งกับเร่ืองนัน้ ได้อ่าน และ ขอคำวิจารณ์ รวบรวมข้อวิจารณ์และข้อเสนอแนะที่ได้ทั้งหมดมาพิจารณาวิเคราะห์ ใช้เป็นแนว ทางแกไ้ ขใหส้ มบรู ณอ์ กี คร้ัง ๙. เขียนฉบับสมบูรณ์ นำฉบับร่างมาอ่านให้ตลอดทัง้ เล่มอีกครั้ง พร้อมนำข้อวิจารณ์ และ ข้อเสนอแนะจากเพื่อน ๆ และผู้เชี่ยวชาญมาใช้ประกอบการแก้ไข ปรับปรุง จัดทำให้เป็นฉบับ สมบูรณต์ ่อไป ทบทวนความรู้ที่เรยี นมา ในกจิ กรรมขัน้ ตอนการเขียนรายงานการวจิ ยั https://h5p.org/node/454945 https://h5p.org/node/454939 ๑๑ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี
๘. สว่ นประกอบของรายงานการวิจัย พสิ ณุ ฟองศรี (๒๕๕๓) ไดจ้ ดั แบ่งโครงสร้างหรือส่วนประกอบของรายงานการวจิ ัยออกเป็น ๓ ส่วนคอื ส่วนประกอบตอนตน้ สว่ นเน้อื หา และส่วนประกอบตอนท้าย วลั ลภ ลำพาย (๒๕๔๙) ได้ จัดแบ่งรูปแบบของรายงานวิจัยออกเป็น ๓ ส่วนเช่นกัน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และเอกสารอ้างองิ สว่ นยุทธพงษ์ กยั วรรณ์ (๒๕๔๓) ได้แบง่ สว่ นประกอบของรายงานการวิจัยออกเปน็ ๔ สว่ น คอื ส่วน ตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนบรรณานุกรม และส่วนภาคผนวก ดังนั้นสรุปได้ว่ารายงานการวิจัย สามารถแบ่งโครงสรา้ งหรือองคป์ ระกอบออกเป็น ๓ สว่ น คือ ๑. ส่วนประกอบตอนตน้ หรอื สว่ นนำ ๒. สว่ นเน้อื หาหรือเนื้อเรื่อง ๓. ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วยบรรณานุกรมและภาคผนวก สว่ นที่ ๑ ส่วนประกอบตอนตน้ หรอื ส่วนนำ เปน็ สว่ นแรกของรายงานการวิจยั เพ่ือแนะนำโครงการวิจัย และเพอ่ื ให้ผู้อ่านได้มโี อกาสทำ ความรู้จกั กบั งานวจิ ัยนนั้ ๆ เปน็ พ้นื ฐาน รวมทั้งไดม้ โี อกาสเขา้ ใจงานวจิ ัยนนั้ อย่างงา่ ย ๆ ส้ัน ๆ โดย รวดเรว็ ได้ ส่วนนำ จะประกอบด้วย ๗ สว่ นย่อย ดังน้ี ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื สื่อสารในงานอาชีพ ๑๒
๑. ปกนอก เปน็ สว่ นนอกของรายงานการวิจยั เปน็ สว่ นแสดงรายละเอยี ดของชือ่ เรือ่ งงานวจิ ยั ชอ่ื ผู้วจิ ยั สถานทที่ ำวิจัย และปที ท่ี ำวิจยั ดังตัวอย่าง การใช้ควิ อารโ์ คด้ ศึกษาข้อมลู พชื สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา Title : Using QR Code for Herbal Studying in Botanical School at Phayao College of Agriculture and Technology โดย นายณัฐพล รวมสุข นางสาวนุชนาถ บวั เงนิ นางสาวระพพี รรณ เขื่อนคำ การประชมุ วิชาการระดบั ชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชปู ถัมภ์สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี ครั้งท่ี 36 ระหว่างวันท่ี 10 - 14 กุมภาพนั ธ์ พ.ศ. 2558 ณ วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีตาก ๑๓ ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี
๒. ปกใน จะมีรูปแบบคล้าย ๆ กับปกนอก ซึ่งจะประกอบด้วยชื่อเรื่องที่ทำวิจัย ชื่อผู้ทำวิจัย หรือคณะผู้วิจัย ในกรณีที่ผู้ทำวิจัยมีหลายคน อาจใส่ชื่อผู้วิจัยทั้งหมด เรียงตามลำดับ ความสำคญั หรอื สว่ นของผลงานที่มตี ่อโครงการวิจัยน้ัน จากมากไปหาน้อย หรอื อาจใส่ช่ือผู้วิจัยเรียง ตามลำดบั อักษรตวั แรกของแตล่ ะชื่อ ในกรณที ี่ผูท้ ำวิจัยมีบทบาทตอ่ งานวจิ ัยนน้ั เทา่ ๆ กนั ดังตวั อย่าง การสมั มนาผลงานวจิ ยั สาขาทั่วไป เรื่อง การใชค้ ิวอาร์โค้ดศกึ ษาข้อมูลพชื สมนุ ไพร ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา Title : Using QR Code for Herbal Studying in Botanical School at Phayao College of Agriculture and Technology โดย นายณฐั พล รวมสุข นางสาวนชุ นาถ บวั เงนิ นางสาวระพพี รรณ เข่ือนคำ ครทู ปี่ รึกษา นางสาวศรเี พญ็ มะโน นายอาวธุ จุมปา นางสาวปณั ฑกิ า ศิริอำมาต ๓. บทคดั ย่อ เป็นข้อความโดยสรปุ ของรายงานทส่ี น้ั กะทดั รัด ชดั เจน ได้ใจความ ครอบคลุมเนอ้ื หาสำคัญของการศึกษาคน้ คว้าวจิ ยั เรอื่ งนน้ั ไว้ทัง้ หมด โดยระบถุ งึ ประเด็นที่วจิ ัย วิธีวิจยั ขอ้ มลู และขอ้ ค้นพบเพยี งยอ่ ๆ เทา่ นนั้ บทคดั ยอ่ อาจมที ้งั ท่เี ปน็ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังตวั อย่าง ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่อื สารในงานอาชีพ ๑๔
บทคัดยอ่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้คิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรใน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา และความพึงพอใจ ในการใช้คิวอาร์โค้ด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย คิวอาร์ โค้ด และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้คิวอาร์โค้ดในการศึกษาข้อมูลพืช สมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สถิติที่ใช้ คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่า เบย่ี งเบนมาตรฐาน จากผลการวจิ ยั พบวา่ การใชค้ ิวอารโ์ ค้ดศกึ ษาขอ้ มลู พชื สมนุ ไพร สามารถใช้ คิวอารโ์ คด้ ศกึ ษาพืชสมุนไพร จำนวน 50 ชนดิ ผา่ นสมารท์ โฟนไดจ้ ริง เมื่อสรุปผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา พบว่านักศึกษามีความ พงึ พอใจในการใช้ควิ อารโ์ ค้ดศึกษาข้อมลู พชื สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรยี น ใน ระดับมากท่สี ุด คำสำคัญ คิวอารโ์ ค้ด (QR Code) พชื สมนุ ไพร สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ๔. คำนำและกิตติกรรมประกาศ โดยปกตแิ ล้วจะแยกออกจากกันเปน็ ๒ หนา้ ซึ่ง คำนำนั้นเป็นการกล่าวย่อ ๆ ถึงที่มาของการทำวิจัยโครงการนั้น ๆ มูลเหตุจูงใจ จุดมุ่งหมาย และ ขอบเขตของงานวิจัย รวมทั้งประโยชน์ที่จะนำผลการวิจัยนั้นไปใช้ ส่วนกิตติกรรมประกาศจะเป็น ขอ้ ความทผี่ ู้วิจัยแสดงความในใจเกีย่ วกบั การวิจัยนัน้ ตลอดจนแสดงขอ้ ความ ดังตัวอยา่ ง ๑๕ ชุดการเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ
กติ ติกรรมประกาศ การวิจัยเรื่อง การใช้คิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ฉบับนี้สำเร็จด้วยดีด้วยความกรุณาอย่างสูง จาก นายจรัสพงษ์ วรรณสอน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา นางสาว ศรีเพ็ญ มะโน ที่ปรึกษาหลัก นายอาวุธ จุมปาและนางสาวปัณฑิกา ศิริอำมาต ที่ปรึกษา ร่วม ที่ได้ให้คำชี้แนะ ให้คำปรึกษาแนะนำ ตรวจ แก้ไขปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวกตา่ ง ๆ ให้การวจิ ัยมีความสมบรู ณย์ ่ิงข้ึน ขอขอบคุณ ดร.สาคร เมฆ รักษาวนิช อาจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ดร.ไพศาล จี้ฟู อาจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชา ภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และ นายวศิน รวมสุข ครูชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีพะเยา ท่ีได้กรณุ าใหค้ ำแนะนำและใหค้ วามช่วยเหลือในการตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูล และเครื่องมือวิจัย ขอขอบคุณกำลังใจจากครูที่ปรึกษา เพื่อน ๆ และขอบคุณผู้ที่ ไมไ่ ด้เอ่ยนามท่ีให้กำลังใจและความหว่ งใยเสมอมา ทา้ ยที่สดุ นขี้ อขอบพระคณุ บิดามารดา ทเี่ ลยี้ งดูสนับสนนุ ใหก้ ารศกึ ษา ตลอดจนให้ กำลังใจจนไดร้ ับความสำเรจ็ ในวันน้ี ประโยชนอ์ นั ใดท่จี ะไดร้ ับจากการวจิ ัยฉบบั น้ี ขอมอบแดค่ รู อาจารยท์ ุกคนทใี่ ห้ การศกึ ษาอบรมมาโดยตลอด คณะผูว้ ิจัย พฤศจิกายน 2557 ๕. สารบญั เป็นรายการแสดงบทหรอื ตอน หรอื หวั ขอ้ ต่าง ๆ ที่เขยี นไวใ้ นรายงาน การวิจัย หวั ข้อน้ันอาจประกอบด้วยหัวข้อหลักและหวั ข้อยอ่ ย ๆ ด้วยก็ได้ ๖. สารบัญตาราง (ถ้ามี) เป็นรายการแสดงข้อมูลที่ได้นำเสนอเป็นตารางต่าง ๆ ไวใ้ นรายงานการวจิ ัย โดยมีเลขหนา้ ที่ตารางน้นั ปรากฏในรายงานวจิ ัยดว้ ย ๗. สารบัญภาพ หรือสารบัญแผนภาพ (ถ้ามี) เป็นรายการแสดงข้อมูลที่ได้ นำเสนอเป็นแผนภาพตา่ ง ๆ แผนภาพนัน้ อาจแสดงในรูปตา่ ง ๆ กันกไ็ ด้ เชน่ แผนที่ แผนภูมิ โดยมี เลขหน้าท่ปี รากฏของแผนภาพน้ันดว้ ย ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สื่อสารในงานอาชพี ๑๖
ตัวอย่าง สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพมีดังนี้ ๑๗ ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี
สารบัญตาราง ตารางที่ แสดงจำนวนและร้อยละของผตู้ อบแบบสอบถามจำแนกตามระดับชนั้ หน้า 1 และเพศ.............................................................................. 27 แสดงค่าเฉลย่ี และคา่ เบี่ยงเบนมาตรฐานและระดบั ความพงึ พอใจในการ 2 ใชค้ ิวอารโ์ คด้ ศกึ ษาขอ้ มลู พืชสมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์ 28 โรงเรียน............................................................................................ สารบญั ภาพ หนา้ 6 ภาพท่ี 7 1 ควิ อารโ์ ค้ด...................................................................................... 8 2 รปู แบบการค้นหา........................................................................... 3 การระบตุ ำแหนง่ ของควิ อารโ์ คด้ ..................................................... สว่ นท่ี ๒ ส่วนเน้อื หาหรือเนอ้ื เรอื่ ง เป็นสว่ นหลักของรายงานการวจิ ัย ประกอบด้วย บทท่ี ๑ บทนำ ๑. ทีม่ าและความสำคญั ของปัญหา เป็นการกลา่ วถึงข้อความนำเรื่องทจี่ ะโยงเขา้ สู่เรื่อง ที่จะวิจัย เป็นการบอกให้ทราบถงึ สาเหตุ ความจำเป็น และความสำคัญที่ทำทำวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียน เกร่นิ นำหรืออารมั ภบท โดยโนม้ น้าว จูงใจใหผ้ ูอ้ า่ นหรือผู้เก่ียวข้องคล้อยตาม การนำเรือ่ งไม่ควรยาว เกินไป เพราะจะนำเข้าสู่เรื่องยาก ส่วนนี้อ้างอิงได้บ้างพอสมควร แต่ไม่ควรอ้างอิงมากเกินไป ดังตวั อย่าง ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ สือ่ สารในงานอาชีพ ๑๘
ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน มีสรรพคุณในการนำมาใช้ปรุงหรือ ประกอบเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพรเปน็ ผลผลิต จากธรรมชาตทิ ่ีมนษุ ย์รู้จกั นำมาใชป้ ระโยชน์…… วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ได้จัดทำแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียนท่ี รวบรวม พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ไว้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของวิทยาลัย เพื่อให้ นักเรียน นักศึกษาและผสู้ นใจไดศ้ ึกษาคน้ คว้า และนำไปใชป้ ระโยชนใ์ นด้านต่าง ๆ ......... ดงั น้ันผ้วู ิจยั จงึ มคี วามสนใจที่จะนำเทคโนโลยีคิวอารโ์ คด้ มาใช้ในการศึกษาขอ้ มูล พืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีพะเยา เพอื่ ให้ นักเรยี น นกั ศกึ ษา ที่เขา้ มาศกึ ษาเรียนรเู้ รอ่ื งพืชสมุนไพร ได้ศกึ ษาเรียนรู้ดว้ ยตนเอง อีกทัง้ เป็น การปลูกฝัง ให้มจี ิตสำนกึ การอนรุ ักษ์ภมู ปิ ญั ญาของคนไทย เพื่อใหค้ นรุน่ หลงั ได้ใช้ประโยชน์ ตอ่ ไป ๒. วตั ถุประสงค์ของการวิจยั จะประกอบดว้ ยหัวขอ้ และข้อความทแ่ี สดงถึงสิ่งทีน่ กั วจิ ยั ต้องการคน้ พบ พรอ้ มทั้งให้เหตุผล ควรแบง่ ออกเป็นหวั ขอ้ ตา่ ง ๆ ให้ชัดเจน ตวั อย่าง การเขยี นวัตถุประสงคก์ ารวจิ ยั วัตถปุ ระสงค์ของการวิจัย ๑. เพื่อจัดทำคิวอาร์โค้ดใช้ศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ๒. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษาที่ใช้คิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมูลพืช สมุนไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา ๓. สมมุติฐานของการวิจัย เป็นข้อสันนิษฐาน ซึ่งเป็นข้อความที่เดาหรือคาดคะเน ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้า การวิจัยเรื่องนั้นจะได้ข้อค้นพบอะไรบ้าง การเขียนต้องมีทฤษฎีข้อเท็จจริง และผลการวิจัยในอดีตสนับสนุน มิใช่ตั้งสมมุติฐานขึ้นมาลอย ๆ การเขียนสมมุติฐานการวิจัย ควร เขียนหลังจากไดท้ บทวนเอกสารและงานวจิ ัยท่เี กีย่ วข้องเรยี บร้อยแล้ว สมมุติฐานไม่จำเป็นต้องมีทุก ๑๙ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี
ครั้งในการวิจัย บางลักษณะถ้าผู้วิจัยไม่ได้คาดหวังอะไรไว้เลย สมมุติฐานของการวิจัยก็จะไม่มี การ เขยี นสมมุติฐานการวิจัยมขี ้อเสนอแนะดงั น้ี (บุญธรรม กจิ ปรีดาบริสทุ ธ์ิ, ๒๕๕๓) ๓.๑ ควรเขยี นเป็นประโยคบอกเล่า ๓.๒ ถ้ามีประเด็นหลาย ๆ ขอ้ ควรเขียนสมมตุ ิฐานหลายขอ้ ดว้ ย แยกเป็นข้อ ๆ ตามประเดน็ ปัญหา และตัวแปรอสิ ระทต่ี ้องการศึกษา ๓.๓ ควรเขียนหลงั จากทบทวนเอกสารและงานวจิ ยั ทีเ่ กย่ี วขอ้ งอย่างสมบรู ณ์และ ละเอยี ดรอบคอบ ๓.๔ ควรเขียนให้มีความสัมพันธ์กนั ๓.๕ ควรเขยี นใหส้ ามารถทดสอบได้ ๓.๖ ควรเขียนให้โยงถงึ ข้อสรปุ ของผลการวิจยั ๔. นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย เป็นการให้ความหมายของคำหรือข้อความที่ใช้ใน รายงานการวิจัย ซง่ึ หมายถงึ เฉพาะในงานวิจยั นเ้ี พอื่ ให้ผ้อู า่ นเขา้ ใจตรงกับผูว้ ิจัย การเขยี นรายงานการวจิ ยั มีคำศัพท์หรือขอ้ ความท่จี ะต้องใหค้ วามหมาย แบง่ ออก ได้ ๔ กลมุ่ ใหญ่ (บญุ ธรรม กจิ ปรีดาบริสุทธ,ิ์ ๒๕๕๓) ๔.๑ คำศัพทท์ างวชิ าการ (Technical Term) เปน็ คำศพั ท์ ขอ้ ความทางเทคนคิ ทรี่ ู้ กันเฉพาะสาขาวิชา ๔.๒ คำศัพท์ที่มีหลายความหมาย เป็นคำศัพท์หรือข้อความที่มีหลายความหมาย ซึ่งอาจจะเป็นคำศพั ทท์ างวิชาการหรือคำศัพท์ทั่วไปก็ได้ การที่คำศัพท์คำเดียวกัน สะกดเหมือนกนั จะมีความหมายต่างกันก็ได้ นอกจากนั้นคำศัพท์ที่สะกดเหมือนกันแต่ต่างสาขาวิชากันจะมี ความหมายแตกต่างกนั ๔.๓ คำศัพท์ที่มีความหมายไม่แน่นอน เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายหลากหลาย สามารถให้ความหมายในเชิงแคบ ๆ หรือกว้าง ๆ ก็ได้ เป็นคำที่ยังให้ความหมายไม่ค่อยตรงกัน แลว้ แตย่ ดึ แนวคดิ ทฤษฎขี องใคร ชดุ การเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ สอื่ สารในงานอาชพี ๒๐
๔.๔ ข้อความที่เป็นวลียาว ๆ ภาษาไทยมีคำวลียาว ๆ ซึ่งขยายคำนาม หรือขยาย คำกริยามากมายที่นำมาใช้ในการวจิ ัย ในการเขียนรายงานการวิจัย ควรให้นิยามศัพท์เฉพาะไว้ โดย ใชค้ ำนามหลกั ตัดคำชยายออกทงั้ หมด แลว้ ให้นิยามคำนามหลกั นั้น นยิ ามศพั ทเ์ ฉพาะ ๑. คิวอารโ์ คด้ (qr code) หมายถึง บารโ์ ค้ดสองมติ ชิ นดิ หนงึ่ ทปี่ ระกอบด้วยส่ีเหล่ยี ม สดี ำและสีขาวเรียงตัวกนั มพี ื้นหลังสีขาว ทสี่ ามารถอ่านได้ดว้ ยเครื่องสแกนควิ อาร์ ๒. สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หมายถงึ แหล่งท่รี วบรวมพนั ธพ์ุ ืชชนิดตา่ ง ๆ ที่ปลูก ตามความเหมาะสมกบั สภาพถนิ่ อาศยั เดิม ทใี่ ช้เพอ่ื การเรียนรู้ และพักผอ่ นหยอ่ นใจใน วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา ๕. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าโครงการวิจัยนี้จะให้ประโยชน์ อะไรบา้ ง และเป็นประโยชนต์ ่อบุคคล หนว่ ยงานหรอื องคก์ ารใด การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (๒๕๕๓) ได้ กล่าวถงึ ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะไดร้ ับไว้ ๓ ลักษณะ ไดแ้ ก่ ๕.๑ การวจิ ัยเรื่องน้ีได้ข้อคน้ พบใหม่อะไรบา้ ง เป็นการยำ้ ให้ผอู้ า่ นทราบถึง ผลการวจิ ัยที่ไดค้ รงั้ น้ี ๕.๒ ผลการวจิ ัยนำไปใช้แกไ้ ขปัญหา หรือเป็นแนวทางในการแกไ้ ขปญั หาอะไร และอย่างไรบา้ ง ควรเขยี นใหร้ ะบุชดั เจน ท้งั บคุ คลทีจ่ ะนำไปใชป้ ระโยชน์ และผทู้ ี่จะได้รับประโยชน์ ๕.๓ การวจิ ยั แตล่ ะเรอื่ งมีท้ังรปู แบบและวธิ กี าร ฉะน้ันประโยชนท์ คี่ าดว่าจะ ไดร้ ับอีกประการหนึง่ คือ การเปน็ ตวั อยา่ งและเปน็ แนวทางในการศกึ ษาคน้ ควา้ ต่อไป ทำใหค้ นรุ่นหลงั ไดใ้ ช้ศึกษาและต่อเตมิ เสรมิ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องดงั กลา่ วให้สมบูรณม์ ากยง่ิ ขนึ้ ๒๑ ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ
ประโยชนท์ ีค่ าดวา่ จะไดร้ บั นักเรียน นักศกึ ษาและประชาชนท่สี นใจ สามารถใช้ควิ อารโ์ ค้ดใน การศึกษาพชื สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี พะเยา ได้ดว้ ยตนเอง และสามารถนำความรทู้ ี่ได้จากการศกึ ษาไปใชป้ ระโยชน์ได้ ๖. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการบอกรอบของงานวิจัยว่า มีขอบเขตกว้างขวางหรือ แคบเพยี งใด ครอบคลุมกลุ่มใดบา้ ง หรือมเี นื้อหาอยูใ่ นกรอบอยา่ งไร อะไรท่ีครอบคลมุ ไมถ่ ึง เป็นต้น ขอบเขตการวจิ ยั ๑. ขอบเขตของเนอ้ื หา เนือ้ หาที่นำมาศึกษาคร้ังนี้เปน็ การใชค้ วิ อาร์โค้ดในการศึกษาข้อมลู พืช สมนุ ไพร จำนวน ๕๐ ชนิด ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ………. ๒. ขอบเขตดา้ นเวลา การวิจัยคร้งั น้ี เร่ิมตงั้ แต่ เดอื น........................................... ๓. ประชากรและกลมุ่ ตวั อยา่ ง ประชากรทท่ี ำการศกึ ษาครง้ั น้ี เป็นนักเรยี น นักศกึ ษาวทิ ยาลยั เกษตร และเทคโนโลยพี ะเยา ……. จำนวน ๔๓๔ คน บทท่ี ๒ เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กี่ยวข้อง หรือการตรวจเอกสาร เป็นส่วนที่สรุปแนวคิดทางทฤษฎี และแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ และผลงานวจิ ัยท่ีเกีย่ วข้องทัง้ ในประเทศและตา่ งประเทศ เพ่อื สำรวจดวู า่ มงี านวจิ ัยในเรื่องดังกล่าวท่ี พอจะมีส่วนเกย่ี วข้องกับงานวจิ ัยเร่อื งนี้ ที่ได้เคยทำมาแลว้ ทำในดา้ นใดบ้าง ใชว้ ิธศี กึ ษาอยา่ งไร ในการเรียบเรยี งเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง หากผจู้ ัดทำไดน้ ำข้อมูลหรือข้อความ ใด ๆ มาอ้างอิงไว้ในเนื้อหาของรายงานการวจิ ยั หรือเพื่อมาสนับสนุนให้รายงานการวิจัยนั้นมีความ สมบูรณ์น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ผู้เขียนจะต้องแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือข้อความ นั้น ๆ เพื่อเป็น หลักฐานอ้างอิง และเพ่ือเป็นการแสดงถึงจริยธรรมของผู้เขียน รวมทั้งเป็นการขอบคุณต่อเจ้าของ ผลงานที่ผู้เขียนได้ศึกษามา เรียกว่าการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา คือการระบุแหล่งข้อมูลไว้ในวงเล็บ แทรกอยูใ่ นเน้ือหาของรายงานการคน้ คว้า เปน็ การเขยี นอา้ งองิ ทสี่ ะดวก รวดเร็ว และเขียนง่าย ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ สอื่ สารในงานอาชีพ ๒๒
วิธีการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปคือ แบบนาม-ปี ซึ่งมีหลักใหญ่คือระบุ แหลง่ อ้างอิงไว้ในวงเล็บ สิง่ ทีร่ ะบุมี ๒-๓ ส่วนคือ ชอ่ื ผแู้ ต่ง หรือผผู้ ลิต ผู้ให้ข้อมลู ปีทพ่ี มิ พ์ หรือปี ที่ผลิต หรือปีที่เผยแพร่ข้อมลู หรอื ปีที่ปรากฏข้อมูล ซงึ่ การเขียนอ้างองิ ในเนอ้ื หาน้ันนิยมเขียนสอง รูปแบบ ไดแ้ ก่ การเขยี นแบบเนน้ เน้ือหา และ การเขยี นแบบเนน้ ผแู้ ตง่ ตัวอย่าง เอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กี่ยวขอ้ ง ความหมายของ คิวอาร์ โคด้ (QR Code) บษุ รา ประกอบธรรม (๒๕๕๔) ได้อธิบายความหมายของคิวอารโ์ คด้ ว่า ควิ อาร์ โค้ด เป็นบาร์โคด้ ๒ มิติ ท่มี ปี ระสทิ ธภิ าพในการเกบ็ ข้อมูลมากกวา่ บาร์โค้ด ๑ มติ ิ ....... งานวจิ ัยทเ่ี กี่ยวขอ้ ง ศกั รนิ ทร์ ชะนะ (๒๕๕๔) ศึกษาการประยุกตใ์ ชค้ วิ อารโ์ คด้ ระบบระบตุ ำแหน่ง ด้วยเครอื ข่ายโทรศัพทม์ อื ถอื และระบบฐานขอ้ มลู สำหรับผูโ้ ดยสารอากาศยาน.... สิ่งท่ีตอ้ งระมดั ระวังในการเขียนเอกสารและงานวิจัยทเี่ กยี่ วขอ้ ง มดี ังน้ี ๑. ขาดระบบ ระเบยี บในการจัดลำดับหัวขอ้ ใหญ่และหัวขอ้ ย่อย ๒. หัวขอ้ กับเนอื้ หาไม่สอดคลอ้ งกัน หรอื ไม่ใช่เรอ่ื งเดียวกนั ๓. ขาดการผสมกลมกลนื และไม่ต่อเนอื่ งกนั เพยี งแต่นำเนอ้ื หามาเรยี งต่อกันเทา่ นน้ั ๔. เนอ้ื หาขาดการปรับปรุง ตบแตง่ ให้ตรงกับเรือ่ งทีต่ ้องการศึกษา ๕. การอ้างอิงไมถ่ ูกต้อง สมบรู ณ์ ไมเ่ ปน็ ไปตามระบบการอา้ งองิ ระบบใดระบบหนึ่ง ๖. การคัดข้อมูล ตัวเลข ตัวเลขทศนิยม ศัพท์เทคนิค ศัพท์ชื่อเฉพาะผิด หรือ คลาดเคลอ่ื น บทที่ ๓ วิธีดำเนินการวิจยั เป็นส่วนที่บอกถึงลักษณะทั่วไปของการวิจัย มีข้อความอธิบายขั้นตอนการวิจัย มี ข้อความที่บอกถึงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษา และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล แนวคิดที่ใช้ใน การศึกษา ประชากรและเป้าหมาย และวิธีการสุ่มตัวอย่าง การจัดกระทำข้อมูล และการวิเคราะห์ ข้อมลู ๒๓ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี
หัวข้อของวิธีดำเนินการวิจัยจะแตกต่างกันตามประเภทและวิธีการวิจัยที่ใช้ และ ต่างกันตามสาขาวิชา และสถาบันการศึกษา แต่โดยทั่วไปหลักการเขียนวิธีดำเนินการวิจั ย ประกอบดว้ ยหวั ขอ้ ดงั นี้ ๑. รปู แบบและวิธีการวิจัย ๒. ประชากรและกลุ่มตัวอยา่ ง ๓. การสรา้ งเครอ่ื งมือการวิจยั ๔. เครอื่ งมือเก็บรวบรวมขอ้ มูล ๕. การเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ๖. สถิตทิ ใ่ี ชใ้ นการวเิ คราะห์ขอ้ มูล ๑. รปู แบบและวธิ ีการวิจยั หัวข้อนี้ให้บอกถึงวิธีการทำวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาวิธีการใด โดยต้องมี รายละเอียดของวธิ กี ารดว้ ย โดยเฉพาะการวจิ ัยเชงิ ทดลอง นอกจากจะบอกรปู แบบและวธิ ีการทำแลว้ ต้องบรรยายให้ทราบว่ามีตัวแปรที่ศึกษาอะไรบ้าง มีวิธีการจัดหรือสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุมหรอื กลุ่มเปรยี บเทยี บอย่างไร สว่ นการวจิ ยั วธิ ีอื่นอาจไม่ตอ้ งเขยี นกไ็ ด้ ตัวอยา่ ง การเขียนรูปแบบการวิจยั งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการใช้ เอกสารประกอบการสอน ดังแผนภูมิ S O๑——— X ——— O๒ ๒. ประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง ๒.๑ ประชากร เป็นการกำหนดกรอบประชากรที่ใช้ในการศึกษา จึงต้องบอกว่า ประชากรท่ีใช้ในการวจิ ัยเรื่องนี้มคี ณุ สมบัติ หรือมีลักษณะอยา่ งไรทีเ่ ลือกศึกษา และมีคุณสมบัติหรอื ลักษณะอย่างไรที่คัดออก นอกจากนั้นควรระบุขอบเขตของพื้นที่ บริเวณและเวล าที่ศึกษา ถ้า ประชากรมีจำนวนแน่นอน ควรระบุจำนวนประชากรด้วย เพื่อใช้ในการคำนวณขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างตอ่ ไป ๒.๒ กลุ่มตัวอย่าง ต้องเขียนระบุว่า การวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ถ้าใช้ประชากรก็เขียนเพียงคุณสมบัติหรือลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ศึกษาเท่าน้ัน ถ้าใช้กลมุ่ ตัวอย่าง ตอ้ งเขยี นว่าใชต้ ัวอย่างจำนวนเท่าใด มีหลกั และเหตุผลอยา่ งไร จงึ ใช้ตัวอย่างจำนวนเทา่ น้ัน ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชีพ ๒๔
๒.๓ การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เมื่อระบุจำนวนตัวอย่างได้แล้ว ต้องระบุต่อไปว่า จำนวนตัวอย่างที่ต้องการศึกษาครั้งนี้เลือกหรือสุ่มมาด้วยวิธีการอย่างไร ควรบอกรายละเอียดของ เทคนคิ วธิ กี ารสุ่มกลมุ่ ตวั อย่าง พรอ้ มทงั้ อธบิ าย ช้แี จงเหตผุ ลประกอบ เพ่ือยนื ยนั ใหผ้ ู้อ่านเหน็ วา่ กลุ่ม ตัวอยา่ งทใี่ ช้ศกึ ษาเป็นตวั แทนท่ดี ขี องประชากรเป้าหมาย ตวั อย่าง ประชากรและกลมุ่ ตัวอยา่ ง ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง ประชากรทีท่ ำการศึกษาครง้ั นี้ คือ นักศึกษาระดบั ประกาศนยี บัตรวิชาชพี ชัน้ สูง (ปวส.) ช้นั ปีที่ ๑ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา จำนวน ๗๘ คน กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการศกึ ษา ได้แก่ นักศกึ ษาระดบั ประกาศนยี บัตรวชิ าชีพชนั้ สงู (ปวส.) ช้ันปที ่ี ๑ สาขาวชิ าพชื ศาสตร์ วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา จำนวน ๒๘ คน ....... ได้มาโดยการสุม่ แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ๓. การสร้างเครื่องมอื การวิจยั การวิจัยเชิงทดลองหรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้วิจัยจะต้องสร้างและพัฒนา นวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำไปทดลองดูว่าได้ผลเป็นอย่างไร ผู้วิจัยต้องอธิบายให้ชัดเจน เรม่ิ ตง้ั แต่ ข้นั ตอน วิธกี ารสร้างและพัฒนาเคร่อื งมือ พร้อมทง้ั การนำไปใช้ โดยมหี ลกั การดังนี้ ๑. เขยี นเป็นข้อ ๆ ตามลำดบั ขน้ั ตอน ๒. ระบวุ ธิ ีการ ข้นั ตอนการสรา้ งและพฒั นานวัตกรรมหรอื สงิ่ ประดิษฐ์ อุปกรณ์ เคร่ืองมือ คู่มือหรือวิธกี ารใช้ ให้ครบถ้วน ๓. ระบุการเตรียมและจำนวนครัง้ ในการทดลองใช้ตามความเปน็ จรงิ ๔. ระบุการเตรยี มสรุปผลการทดลองและการปรบั ปรงุ ๕. ระบกุ ารเตรียมสรุปผลครง้ั สดุ ท้ายกอ่ นเผยแพร่ แนวทางการเขยี นวิธกี ารสร้างเคร่อื งมือวิจยั ๑. ศกึ ษาค้นคว้า รวบรวม (เนื้อหา/วิธีการ/ขอ้ มลู อน่ื ๆ / ฯลฯ) ๒. นำ (เนอื้ หา/วิธีการ/ข้อมลู อนื่ ๆ/ ฯลฯ) มายกรา่ งโดย............ ๓. นำผลจากขอ้ ๒ ไปใหผ้ ทู้ รงคณุ วุฒ/ิ ผ้เู ชี่ยวชาญพิจารณาโดย.. ๔. นำผลจากข้อ ๓ มาปรบั ปรุงก่อนทีจ่ ะนำไปทดลองใชภ้ าคสนามกบั . ๕. นำผลจากข้อ ๔ มาปรบั ปรงุ และทดลองอกี ............(ถา้ ม)ี ....... ๖. สรุปผลการทดลองจาก........................................................... ๒๕ ชุดการเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี
การสร้างเครื่องมอื ในการวิจยั การสร้างเครอ่ื งมอื ในการวิจยั ผวู้ ิจยั ได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้ ขั้นตอนท่ี ๑ การจัดทำขอ้ มูลพืชสมนุ ไพร ประกอบด้วย 1. ศึกษาและสำรวจพชื สมุนไพรทปี่ ลกู ในสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา…………………………………… ขัน้ ตอนท่ี ๒ การจดั ทำควิ อาร์โค้ดขอ้ มูลพืชสมุนไพร ๑. สมคั รสมาชกิ เว็บไซต์ www.google.co.th ๒. เข้าใชบ้ รกิ ารของ Google Drive โดยใช้ User Name และPassword ท่ีสมคั รไว้…… ข้ันตอนท่ี ๓ การสรา้ งแบบสอบถามความพงึ พอใจในการใช้ คิวอารโ์ ค้ด…………………………………………………. ชดุ การเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอ่ื ส่อื สารในงานอาชพี ๒๖
๔. เครื่องมอื เก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยทุกเรื่องต้องใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิจัยทาง วิทยาศาสตร์มีความสะดวก เนื่องจากมักจะวัดข้อเท็จจริงได้โดยตรง และมีเครื่องมือมาตรฐานที่ให้ เลือกใช้ไดม้ ากมาย แตก่ ารวจิ ัยทางสงั คมศาสตร์มักจะประสบปัญหาเรื่องเคร่อื งมอื เพราะเปน็ การวัด พฤติกรรมซึ่งทำได้ยาก ต้องอาศัยการวัดทางอ้อมด้วยเครื่องมือที่อาจไม่ได้มาตรฐาน เช่น แบบสอบถาม แบบสมั ภาษณ์ และแบบสังเกต เป็นต้น ซึง่ ส่วนใหญ่มักจะต้องสร้างและพัฒนาข้ึนเอง หรือนำของผู้อ่ืนมาปรับ จึงต้องเขียนให้ละเอียดเพียงพอเพื่อใหผ้ ู้อ่านเข้าใจได้ง่าย สำหรับการเขยี น รายงานในหัวข้อเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจะต้องเขียนว่า การวิจัยนั้นใช้เครื่องมือและวิธีการใด รวบรวมข้อมูลบ้าง เครื่องมือและวิธีการนั้นมีลักษณะและคุณภาพอย่างไร เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้มาอย่างไร ใช้เครื่องมือมาตรฐานหรือเครื่องมือที่เคยมีผู้นำมาใช้แล้ว หรือว่าสร้างและพัฒนาขึ้น ใหม่เพอ่ื ใชใ้ นการวจิ ัยนโี้ ดยเฉพาะ ตอ้ งเขยี นบอกใหช้ ดั เจน แนวทาง การเขียนการเกบ็ รวบรวมข้อมูล เคร่ืองมือทใ่ี ชใ้ นการวจิ ัยครง้ั นี้ (คอื ......................ในกรณีมีฉบับเดยี วประกอบดว้ ย ................กรณีมหี ลายฉบับ) ซง่ึ มีรายละเอยี ด ขน้ั ตอนการสรา้ งและพฒั นาดงั น้ี ๕. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เปน็ ข้นั ตอนการดำเนินการจากการสรา้ งเครื่องมอื เสร็จแล้ว หากเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ขั้นตอนการเก็บข้อมูลจะไม่ยุ่งยาก แต่ก็ควรเสนอรายละเอียดให้ ครบถ้วน รวมทง้ั จำนวนขอ้ มูลที่ได้มาตามความเปน็ จริง หากเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ขนั้ ตอนการเก็บ จะละเอียด และผู้วิจัยต้องเก็บข้อมูลเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง หรือมีความคลาดเคลื่อนน้อย ทสี่ ุด หลกั การเขียนการเก็บรวบรวมขอ้ มลู ๑. ระบุรายละเอียดตามวธิ กี าร ขัน้ ตอนให้ครบถ้วน ๒. ระบุผเู้ ก็บข้อมลู ๓. ระบุสถานที่ วธิ ีการเกบ็ วสั ดุ อุปกรณ์ เครือ่ งมือทใ่ี ช้ ๔. ระบจุ ำนวนขอ้ มูลทไ่ี ด้ ๒๗ ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ
ตัวอยา่ ง การเก็บรวบรวมข้อมูล ๑. ขอความรว่ มมือจากครูผู้สอนวชิ าพฤกษศาสตร์ และวชิ าทักษะพฒั นาเพ่อื การ สอ่ื สารภาษาองั กฤษ ๒ ท่ไี ด้มอบหมายงานให้แกน่ กั ศกึ ษา ในการศกึ ษาข้อมลู เรอ่ื งพืช สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี นโดยใช้คิวอาร์โค้ด....... ๒. เกบ็ รวบรวมข้อมูลความพงึ พอใจของนกั ศึกษาในการใช้คิวอาร์โค้ด ศกึ ษาข้อมูล พืชสมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น โดยเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ดว้ ยตนเอง ได้ แบบสอบถามคนื มา ๑๐๐ เปอรเ์ ซน็ ต์ ๖. สถติ ิทีใ่ ชใ้ นการวเิ คราะห์ขอ้ มูล การวิจัยเชิงปรมิ าณจะใชส้ ถติ ติ า่ ง ๆ ในการวิเคราะหข์ อ้ มูล หลักการ ๑. ระบชุ ่อื สถติ ิทใ่ี ชท้ งั้ หมด ๒. หากใช้โปรแกรมสำเร็จรปู อาจไมต่ อ้ งระบรุ ายละเอียดของสูตร ๓. หากใช้สถติ ิหลายชนดิ ควรแบง่ เป็นกลุ่ม ๆ ๔. ระบุวา่ ใชว้ เิ คราะหต์ วั แปรหรอื ข้อมูลใด ตวั อยา่ ง ใช้สถิติพืน้ ฐาน ได้แก่ ค่ารอ้ ยละ (Percentage) ค่าเฉล่ยี (Mean) และ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถติ ทิ ่ใี ชใ้ นการวิเคราะห์ข้อมูล สถติ ิพืน้ ฐาน ไดแ้ ก่ ค่าร้อยละ (Percentage) คา่ เฉลยี่ (Mean) และคา่ เบีย่ งเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื ส่ือสารในงานอาชพี ๒๘
บทท่ี ๔ ผลการวจิ ัย การเขียนผลการวิจัย จะเน้นเขียนตามวัตถุประสงค์ของการวจิ ัยที่ได้กำหนดไว้ในบทท่ี ๑ ดงั นนั้ หากกำหนดวตั ถุประสงค์การวจิ ัยไมถ่ กู ตอ้ ง หรือไม่ชัดเจนพอทจ่ี ะใช้ผลการวจิ ยั ไปนำเสนอ ไดก้ จ็ ะเกดิ ปัญหาข้นึ หลักการ ๑. เกร่ินนำว่าจะเสนอผลการวเิ คราะหข์ ้อมูลอะไรบา้ ง ๒. เสนอผลการวเิ คราะห์ขอ้ มลู อย่างตรงไปตรงมา กระชบั ๓. เสนอผลการวิเคราะหข์ ้อมลู ให้เขา้ ใจงา่ ย โดยอาจเปน็ ตาราง ภาพ หรือกราฟ หรอื ผสมผสานกนั ๔. ไม่แสดงความเห็นใด ๆ ตอ่ ผลการวิเคราะหท์ ไี่ ด้ ตัวอย่าง การนำเสนอผลการวิจยั สรุปผลการวิจัย การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการ วิเคราะหข์ ้อมลู ตามลำดับวตั ถุประสงคข์ องการวจิ ัยดงั น้ี ๑. ผลทีไ่ ด้จากการจดั ทำคิวอาร์โค้ดขอ้ มูลพชื สมนุ ไพร …… ๒. ผลการประเมนิ ความพงึ พอใจของผใู้ ช้คิวอารโ์ คด้ ………… บทท่ี ๕ สรปุ อภปิ รายผลและข้อเสนอแนะ การสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เป็นบทสุดท้ายหรือบทที่ ๕ ในส่วนที่เป็น เน้อื หาของรายงานวิจยั ปรมิ าณอาจมีเนื้อหาไม่มากนกั แตก่ ็เป็นบทสำคญั ทจี่ ะแสดงถงึ ความรู้ ความ เข้าใจของผู้วิจัย เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นความคิดของผู้วิจัยเองที่จะวิเคราะห์ วิจารณ์ ผลการวิจัยที่ได้ และให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นบทที่มีความสำคัญมากบทหนึ่ง ด้วยเหตุ ดังกล่าวผู้วิจัยจึงต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการเขียนบทนี้มาก การเขียนสรุป อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ มแี นวทางดังนี้ ๑. การเกรนิ่ นำ เนื่องจากบทน้ีเป็นบทสรปุ จึงต้องมีการเกริน่ นำ เพื่อเป็นการเช่ือมโยงเนื้อหาตา่ งๆ โดยสรุปให้สอดคล้องกนั ด้วยการนำสาระสำคัญ ๆ ของบทต่าง ๆ มาขมวดไว้อีกครั้งหนึ่ง สาระจะมี มากหรือน้อยขึน้ กบั จำนวนตวั แปร วิธีการ หรอื องค์ประกอบอ่นื ๆ ๒๙ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ
ตวั อยา่ ง การเขียนเกรน่ิ นำ การวิจัยเรื่องการใช้คิวอาร์โค้ด (QR Code) ศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพรในสวน พฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗ จำนวน ๔๓๔ คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ช้นั ปที ่ี ๑ สาขาวิชาพชื ศาสตร์ ทีเ่ รยี นวชิ าทกั ษะพฒั นาเพอ่ื การสอื่ สาร......... ผู้วิจัยขอ สรปุ ผลการวิจยั อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ๒. การสรปุ ผลการวจิ ยั การสรุปผลการวิจัย เป็นการนำข้อสรุปจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลในบทที่ ๔ มา สรุปอีกครั้งหนึ่ง โดยเน้นเฉพาะผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยเท่านั้น สาเหตุที่ต้องสรุปผลอีกครั้งก็ เพอื่ ใหเ้ น้ือหาเช่ือมโยงกัน เพราะผลการวจิ ัยจะนำไปสู่การอภปิ ราย และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้ง ตอ่ ไปนน่ั เอง แนวทาง ๑. เขียนเป็นข้อ ๆ ตามลำดบั วตั ถปุ ระสงค์การวจิ ัย ๒. นำผลทไี่ ด้จากบทท่ี ๔ มาสรปุ เฉพาะสว่ นที่เปน็ เนอ้ื หาให้กระชับ ๓. ไม่ควรเสนอรายละเอียดตัวเลขใด ๆ เวน้ แตม่ ีความจำเป็น ๔. ไมแ่ สดงความคิดเห็นใด ๆ ตอ่ ผลที่ได้ ตัวอยา่ ง การเขียนสรุปผลการวิจยั ๑. ผลที่ได้จากการใชค้ ิวอาร์โค้ดศึกษาข้อมลู พชื สมนุ ไพร ไดค้ ิวอาร์โคด้ แสดงขอ้ มลู พชื สมุนไพร ในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน วทิ ยาลัย เกษตรและเทคโนโลยีพะเยา ............ ๒. ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้ควิ อาร์โค้ดศกึ ษาขอ้ มลู พชื สมนุ ไพรใน สวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรียน ของนักศึกษา สามารถสรุปผลไดด้ งั นี้ โดยภาพรวม นกั ศึกษามีความพงึ พอใจในการใช้คิวอาร์โคด้ ศึกษาข้อมูลพืช สมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อยู่ในระดับมากทส่ี ดุ ( x = ๔.๕๔, S.D.= ๐.๔๕) เมอื่ พจิ ารณาเปน็ รายดา้ นไดแ้ ก่ ................ครบถ้วน ( x = ๔.๗๘, S.D. =๐.๔๒) ........... ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอื่ ส่ือสารในงานอาชีพ ๓๐
๓. การอภปิ รายผล การอภิปรายผล เป็นเนื้อหาที่แสดงถึงความคิดเห็นของผู้วิจัยที่มีตอ่ ผลการวิจัยวา่ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่ (ถ้ามี) โดยต้องเขียนจากงานวิจัย แนวคิด ทฤษฎี หลักการต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือมารองรับ อาจนับได้ว่าเนื้อหาในหัวข้อนี้เป็นของผู้วิจัยมากกว่าหัวข้อ อนื่ ๆ หากผวู้ จิ ัยนำเสนอเนอ้ื หามาก ก็ยิ่งทำใหเ้ หน็ ถงึ ความรู้ ความเขา้ ใจ และความพยายามได้อย่าง ชดั เจน ในการเขยี นอภปิ รายผล มีหลักการดังนี้ ๑. อภิปรายเปน็ ขอ้ ๆ ตามวัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั ๒. มเี น้ือหาพอสมควร ข้อละครึ่งหน้าข้ึนไป ๓. เพ่อื ป้องกันการอภปิ รายนอกขอบเขตการวิจัย แต่ละข้อควรขน้ึ ตน้ ด้วยคำ วา่ “จากผลการวิจัยทพี่ บว่า.................” ๔. กรณีที่ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมุติฐาน (ถ้ามี) ก็เขียนว่าสอดคล้องกับ งานวิจัย แนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการของใคร โดยนำเนื้อหาที่เรียบเรียงไว้ในบทที่ ๒ มาใช้ ประกอบการอภปิ ราย ๕. กรณีที่ผลการวิจัยไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน (ถ้ามี) ก็ต้องนำเสนอว่าสาเหตุ หรือปัจจัยใดบา้ งที่ทำให้ผลเป็นเชน่ นน้ั ๖. ควรอภปิ รายใหเ้ ชื่อมโยงไปสขู่ อ้ เสนอแนะดว้ ย ตัวอยา่ ง การเขยี นอภิปรายผลการวจิ ยั จากผลการวจิ ัยพบวา่ นกั ศกึ ษามคี วามพึงพอใจในการใช้ควิ อารโ์ ค้ดศกึ ษาขอ้ มูล พชื สมนุ ไพร ในสวนพฤกษศาสตรโ์ รงเรยี น ด้านความเหมาะสมของเน้ือหาและขอ้ มูล ......ในระดับมากทส่ี ดุ ทัง้ น้ีเนื่องจาก.. ผลการวิจัยดงั กลา่ ว สอดคล้องกับงานวิจัยของอำนาจวิทย์ หมูศ่ ลิ ป์ (๒๕๕๕) ที่ ไดศ้ ึกษา การพฒั นาระบบสารสนเทศเพือ่ การบริหารครภุ ัณฑ์คอมพิวเตอร์ด้วยคิวอาร์ โค้ด กรณีศึกษา สำนักงานการตรวจเงนิ แผน่ ดนิ และพบวา่ ผใู้ ช้งาน มีความพึงพอใจใน ระดบั มาก …………….. ๓๑ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ
๔. ข้อเสนอแนะในการนำวิจัยไปใช้ การนำผลการวิจยั ไปใช้ มหี ลกั การดงั นี้ ๑. ควรระบผุ ู้จะใช้ผลการวจิ ยั และใช้กบั ใคร ๒. เขียนเปน็ ขอ้ ๆ ๓. ขอ้ เสนอแนะในการนำไปใชต้ อ้ งมาจากผลการวจิ ยั เท่านั้น ๔. เขยี นให้ชดั เจน ละเอยี ดเพยี งพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างเปน็ รูปธรรม ตัวอยา่ ง การเขยี นขอ้ เสนอแนะ ขอ้ เสนอแนะทัว่ ไป ๑. วทิ ยาลยั ควรจัดทำระบบสัญญาณอนิ เตอร์เนต็ ใหท้ ั่วถึง…… ๒. ควรเลือกใช้แอพพลิเคชั่นสแกนคิวอาร์โค้ดที่รองรับการขยาย ขอ้ มูลไดก้ ว้างและสะดวกที่สุด ๓. ควรนำคิวอารโ์ ค้ดไปประยุกตใ์ ช้ในงานอนื่ ๆ ๕. ขอ้ เสนอแนะในการทำวิจยั คร้ังต่อไป เป็นการเขียนเสนอแนะให้ผู้อื่นวิจัยครั้งต่อไป เป็นการเขียนโดยใช้ความรู้ ประสบการณ์จากงานวิจัยที่ทำ มาเป็นแนวทางให้ผู้อื่นได้ทำวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยมี หลกั การเขียนดังน้ี ๑. เขียนเป็นข้อ ๆ โดยระบุเปน็ แนวชือ่ เร่ืองที่จะนำไปวจิ ยั ได้ ๒. ไม่จำเปน็ ตอ้ งมหี ลายขอ้ ๓. เขียนให้เกีย่ วขอ้ งกบั เร่ืองทวี่ ิจัย โดยเพ่ิมเตมิ ประเด็นทน่ี า่ สนใจ หรือมี ขอ้ จำกัดทผ่ี วู้ จิ ัยไมส่ ามารถทำในครั้งน้ีได้ ๔. มเี หตุผลและความเปน็ ไปได้ ตวั อย่าง ข้อเสนอแนะในการทำวจิ ัยครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะในการทำวจิ ัยครั้งตอ่ ไป พฒั นา Application Herb ฐานขอ้ มลู พืชสมนุ ไพรในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา ชุดการเรยี น วชิ าภาษาไทยเพอื่ สอื่ สารในงานอาชีพ ๓๒
สว่ นท่ี ๓ สว่ นประกอบตอนทา้ ย ประกอบดว้ ยบรรณานกุ รมและภาคผนวก ๑. บรรณานกุ รม ๒. ภาคผนวก หลงั จากศกึ ษาเรือ่ งส่วนตา่ ง ๆ ของรายงานการวจิ ยั กนั แล้ว เรามาตรวจสอบความเข้าใจ ในกจิ กรรม ดงั น้ี http://bit.ly/thaiact73 https://h5p.org/node/454941 https://h5p.org/node/454943 https://h5p.org/node/454944 ๑. บรรณานกุ รม บรรณานุกรม เป็นส่วนขยายรายละเอียดเพิ่มเติมจากการอ้างอิงไว้ในเนื้อหาทั้ง ๕ บท ของรายงานวิจยั บรรณานุกรมจะแสดงให้เห็นถงึ ความครอบคลุมเพยี งพอ คุณค่า และความทันสมัย ของเอกสารหรอื แหล่งอ้างองิ ต่าง ๆ ทีผ่ วู้ ิจัยค้นควา้ มา โดยมีรายละเอียดตา่ ง ๆ เชน่ ช่อื ผู้แต่ง ชือ่ ของ แหลง่ อ้างองิ ครง้ั ทพี่ มิ พ์ สถานท่ีพิมพ์ สำนกั พมิ พ์ เปน็ ตน้ โดยมหี ลกั การดังน้ี ๑. จำนวนต้องครบเทา่ กับที่อ้างอิงไว้ ๒. ใช้รปู แบบเดียวกันตลอดท้ังเลม่ ๓. หากมที ั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้ข้ึนด้วยภาษาไทยก่อน ๔. ยึดของตน้ สงั กดั เป็นหลกั (ถา้ มี) ถ้าไม่มีใหใ้ ช้แหล่งอนื่ ได้ หลักการลงรายการบรรณานกุ รม การเขียนบรรณานุกรมนั้น มีรูปแบบการเขียนแตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ ซ่ึง ขน้ึ อยู่กบั สถาบนั การศกึ ษาหรือองคก์ ารจะเป็นผกู้ ำหนด สำหรบั หลกั การลงรายการท่ีจะนำมากล่าว ในทนี่ ีจ้ ะใช้หลักของ APA (American Psychological Association) มอี งคป์ ระกอบ ดังนี้ ๑. การลงรายการชอ่ื ผ้แู ตง่ มหี ลักดังน้ี ๑.๑ ผ้แู ตง่ คนไทย ลงรายการด้วยชื่อตัวและตามด้วยนามสกลุ ถา้ เป็นชาว ต่างประเทศใหใ้ ชน้ ามสกุลขน้ึ ก่อน ค่ันดว้ ยเคร่อื งหมายจุลภาค (,) แล้วตามด้วยอักษรยอ่ ของชื่อตน้ และช่อื กลาง อรรถสิทธิ์ วงศ์มณีโรจน์ ๓๓ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี
๑.๒ ผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ หรือบรรดาศักดิ์ หมายถึงผู้แต่งที่ได้รัพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อิสริยยศ บรรดาศักดิ์ การลงรายการผู้แตง่ ให้ลงฐานันดรศักด์ิบรรดาศักด์ิ ไวท้ ้ายชือ่ โดยมเี ครอื่ งหมายจลุ ภาคคนั่ ดังนี้ ชาตรีเฉลิม ยคุ ล, ม.จ. ๑.๓ ผแู้ ต่งท่ีมีสมณศักดิ์ หมายถงึ ผูแ้ ตง่ ทีด่ ำรงอย่ใู นสมณเพศ มยี ศพระสงฆท์ ไ่ี ดร้ ับ พระราชทาน ซงึ่ แบง่ เปน็ หลายชัน้ แต่ละชน้ั มีพดั ยศเปน็ เครอื่ งกำหนดทางสงฆ์ ให้ลงรายการตามท่ี ปรากฏ เช่น สมเดจ็ พระพฒุ าจารย์ ๑.๔ ผูแ้ ต่งทเี่ ปน็ กลุม่ บุคคล หรอื นติ บิ ุคคล หรือสถาบัน ลงชอ่ื หน่วยงานนน้ั ตาม ช่อื ที่ถูกระบุถงึ มากทีส่ ดุ ตวั อยา่ ง สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ถา้ เปน็ หน่วยงานย่อยท่ลี งไวห้ ลงั หน่วยงานหลกั ให้คน่ั ด้วยเครื่องหมายจุลภาค ตามแบบของ APA ดงั น้ี จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , คณะอักษรศาสตร์ ๑.๕ ผแู้ ตง่ ๒-๕ คน ให้ลงชอ่ื ทกุ คน ค่ันด้วยเคร่อื งหมายจลุ ภาคระหว่างช่อื ผแู้ ตง่ แต่ละคน และใชค้ ำวา่ “และ” นำหนา้ คนสุดท้าย หรือ เครอ่ื งหมาย “&” ในภาษาอังกฤษ ดงั ตวั อย่าง อรจรีย์ ณ ตะกว่ั ทุง่ , สกุ รี รอดโพธท์ิ อง, และวชิ ดุ า รตั นเพียร ๑.๖. ผู้แตง่ ๖ คนหรือมากกวา่ ๖ คน ให้ลงช่ือผ้แู ต่งคนแรก แล้วตามด้วย “และคนอนื่ ๆ ” ในภาษาไทย หรอื คำวา่ “et al.” ในภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง สมศักดิ์ ศรสี มบญุ และคนอื่น ๆ ๑.๗ หนังสอื ท่มี ีผรู้ ับผิดชอบเปน็ บรรณาธกิ าร ใหล้ งชอ่ื บรรณาธกิ าร แล้วระบุคำวา่ บ.ก. หรอื Ed.(s) ไว้ในวงเล็บ กิตติ สูงสง่ (บ.ก.) ๑.๘ หนงั สือที่ไม่มชี ่ือผู้แต่ง ใหล้ งชอ่ื หนังสอื แทน โดยใช้ตัวเนน้ หนัก แล้วตามดว้ ยปี พมิ พ์ ตวั อยา่ ง กลอ่ งวิเศษ. (๒๕๔๗) ชดุ การเรียน วิชาภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชพี ๓๔
๒. การลงรายการปีทพี่ ิมพ์ มหี ลักดังนี้ ๒.๑ ลงรายการปที ี่พมิ พด์ ้วยปลี ขิ สทิ ธิ์ (ถา้ เปน็ วสั ดุทไ่ี มไ่ ด้ตพี ิมพ์ใหล้ งปที ่ผี ลติ ) และลงเฉพาะตัวเลขไว้ในวงเลบ็ ไมต่ ้องลงคำวา่ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ดงั ตัวอย่าง (๒๕๕๐) ๒.๒ สำหรับส่ิงพมิ พต์ ่อเน่อื ง ลงปที ่พี ิมพ์ ตามดว้ ยเดือนและวนั ท่ี ตวั อย่าง (๒๕๕๗, มถิ ุนายน) ๒.๓ ถ้าไม่มีปที ่พี ิมพใ์ ห้ลงคำว่า “ม.ป.ป.” ซึ่งมาจากคำวา่ ไมป่ รากฏปที ีพ่ ิมพ์ หรือ คำว่า “n.d.” มาจากคำวา่ no date ในภาษาองั กฤษ (ม.ป.ป.) (n.d.) ๓. การลงรายการชอ่ื เรอื่ ง ๓.๑ การลงช่อื เรื่อง ใหข้ ึ้นต้นดว้ ยอักษรตวั ใหญเ่ ฉพาะคำแรกของช่ือเรือ่ ง และคำ แรกของช่อื เร่อื งย่อย และชือ่ เฉพาะหรือวิสามานยนาม ขีดเสน้ ใต้หรือใชต้ วั เน้นหนัก ดงั ตวั อยา่ ง การฝกึ สมาธิ ๓.๒ รายการเพ่ิมเตมิ เกีย่ วกบั หนังสอื เชน่ ครง้ั ทพ่ี ิมพ์ จำนวนเลม่ หรือเลม่ ท่ี ลง ไว้ในวงเลบ็ ต่อจากช่ือเรอื่ ง โดยไม่ตอ้ งมเี ครอื่ งหมายใด ๆ มาคัน่ ดงั ตวั อยา่ ง ฟสิ กิ ส์สำหรับเยาวชน (พิมพ์คร้ังที่ ๒) ๓.๓ รายการท่ีระบปุ ระเภทของวัสดุ ให้ใส่วงเลบ็ สีเ่ หล่ียมต่อจากช่อื เรื่อง ดงั ตัวอย่าง ปา่ ชายเลน [แผ่นพบั ] ๓.๔ ช่ือบทความหรอื ชอ่ื บท ขึ้นต้นดว้ ยอกั ษรตวั ใหญ่เฉพาะ คำแรกของชอ่ื เร่อื ง ช่อื เรอ่ื งย่อยและช่อื เฉพาะ ไมต่ อ้ งขีดเส้นใต้ และไม่ต้องใสเ่ ครอื่ งหมายอัญประกาศ ดังตัวอยา่ ง Firing up the front line ๓.๕ ชื่อวารสารและข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ ลงชื่อวารสาร คั่นด้วยเครื่องหมาย จุลภาค แล้วต่อด้วยปีที่ ทั้งหมดขีดเส้นใต้ ถ้ามีฉบับที่ให้ลงไว้ในวงเล็บต่อจากปีที่ทันทีโดยไม่เวน้ ระยะ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค รายการสุดท้ายคือเลขหน้าชื่อวารสารภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วย อกั ษรตวั ใหญ่ทุกคำหลัก ดังตัวอยา่ ง จันเพ็ญ เอ้ือพาณิช, และรัชนีกร หงศพ์ นสั . (๒๕๕๕). การเรียนการสอนที่ เน้นผ้เู รียนเปน็ ศนู ย์กลาง: การจดั กิจกรรม เพอ่ื เรยี นรู้คณุ ธรรม. วารสารครศุ าสตร,์ ๓๐ (๒๐), ๑๐- ๓๖ ๓๕ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ
๔. การลงรายการขอ้ มูลเกยี่ วกบั การพมิ พ์ ประกอบด้วย ๒ ส่วนคอื สถานท่ีพมิ พ์และ สำนักพิมพ์ ๔.๑ สถานที่พมิ พ์ ลงช่ือเมอื งทสี่ ำนักพิมพห์ รือโรงพิมพ์นน้ั ตงั้ อยู่ การลงช่ือเมืองใน ต่างประเทศ ถ้าเป็นเมืองที่ไม่เป็นที่รู้จัก ให้ระบุชื่อรัฐหรือชื่อประเทศกำกับไว้ด้วยหลังสถานที่พิมพ์ ใชเ้ ครอ่ื งหมายทวภิ าค (:) คั่น ดงั นี้ กรงุ เทพฯ : ๔.๒ สำนกั พมิ พ์ และโรงพมิ พ์ ก. ลงชื่อสำนักพิมพ์ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ถ้ามีทั้งสำนักพิมพ์และ โรง พมิ พใ์ ห้ใสช่ ่ือสำนกั พมิ พ์ ถ้าไมม่ สี ำนักพิมพใ์ หล้ งรายการดว้ ยโรงพมิ พ์แทน ข. ลงชื่อสำนักพิมพ์อย่างสั้น ๆ ในรูปแบบที่ทุกคนเข้าใจ รวมถึงชื่อสมาคม หรือองค์กร โดยตัดคำประกอบที่เปน็ ส่วนหนึ่งของชื่อสำนกั พิมพอ์ อก เช่น คำว่า สำนักพิมพ์ ห้าง หุ้นส่วน...จำกัด บริษัท....จำกัด สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัย ให้ใส่คำวา่ สำนักพมิ พ์ หรือโรงพิมพ์ หรือ Press ลงไปด้วย เพื่อให้แตกต่างไปจากผลงานที่เป็นของมหาวิทยาลัยในฐานะ สถาบนั การศึกษา ตวั อยา่ ง บริษัทซเี อ็ดยเู คชน่ั ลงวา่ ซเี อด็ ยเู คชน่ั สำนกั พมิ พจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ลงว่า สำนักพมิ พ์จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั บริษัทสำนักพิมพไ์ ทยวัฒนาพานชิ ลงวา่ ไทยวฒั นาพานชิ นานมบี ุค๊ ส์ จำกัด ลงวา่ นานมบี ุ๊คส์ ค. ถา้ บอกชอ่ื เมอื งทีต่ ง้ั ของสำนกั พมิ พ์ไว้หลายแห่ง ให้ใชช้ ่ือเมืองแรก ใส่ เครื่องหมายมหัพภาค เมือ่ จบรายการสำนักพมิ พ์ ตวั อย่าง กรงุ เทพฯ : ไทยวัฒนาพานชิ ๕. การสืบค้นวสั ดุอเิ ล็กทรอนิกส์ การแจง้ ข้อมูลการสืบคน้ วสั ดอุ เิ ล็กทรอนกิ ส์ ใหร้ ะบุ วัน เดือน ปี ทส่ี บื คน้ พร้อม ดว้ ยชอื่ และ/หรอื ท่ีอยู่ของแหลง่ สารสนเทศ โดยใช้คำว่า “สบื คน้ เมอื่ .........จาก.......” ดังตวั อยา่ ง อารยา สงิ หส์ วสั ด์ิ. (๒๕๕๑). เด็กตดิ เกม...ภัยร้ายโลกไซเบอร.์ สบื คน้ เม่อื ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐, จาก http://www.thaihealth.or.th/node/๔๑๑๘. รูปแบบการเขยี น บรรณานกุ รม ชุดการเรียน วชิ าภาษาไทยเพอ่ื สือ่ สารในงานอาชพี ๓๖
การเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA ใช้ได้ทั้งกับแหล่งสารสนเทศที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบของเอกสารประเภทหลัก ๆ ที่ APA กำหนดไว้ขอ ยกตวั อย่างดังตอ่ ไปนี้ ๑. หนังสอื ช่ือผ้แู ต่ง./(ปที ่ีพมิ พ์)./ช่อื เรอื่ ง./สถานทีพ่ มิ พ์:/สำนกั พิมพ.์ ชยนั ต์ พิเชยี รสุนทร. (๒๕๔๕). คู่มอื เภสชั กรรมแผนไทย. กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทรพ์ รินติ้ง. ๒. บางสว่ นของหนังสอื (เชน่ บท) ชอ่ื ผู้แตง่ ./(ปที ีพ่ มิ พ)์ ./ช่ือบท./ใน/ช่ือบรรณาธิการ./ชอ่ื เร่ือง/(หนา้ )./ สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์. ตัวอย่าง เจริญขวัญ แพรกทอง. (๒๕๔๗). ห้องสมดุ พระไตรปฎิ กมหายาน. ในเท่ยี วห้องสมุด (หนา้ ๒๔๔-๒๔๗). กรุงเทพฯ :ซเี อ็ดยูเคชั่น. ๓. บทความจากวารสาร ชอื่ ผแู้ ต่ง./(ปที ่พี ิมพ)์ ./ชอ่ื บทความ./ ชื่อวารสาร,/ปที /่ี (ฉบบั ท่ี),/เลขหนา้ . ตัวอยา่ ง อารมณ์ ศรพี ิจิตต์. (๒๕๔๔). อิทธิพลของระยะสกุ แกแ่ ละการลด ความชนื้ ต่อความงอก ความแข็งแรง และการรัว่ ไหลของ เมล็ดพันธถ์ุ ว่ั เหลืองในระหว่างการเก็บรักษา. วารสารวิชาการเกษตร, ๑๙ (๑), ๕๘-๗๐ ๔. หนงั สืออิเลก็ ทรอนกิ ส์ ช่ือผ้แู ตง่ ./(ปที พ่ี มิ พ์)./ชื่อเร่อื ง./สบื ค้นเม่อื /วนั ที่/เดอื น/ปี, /จาก/ ชือ่ แหลง่ . ตวั อย่าง ชวนนั ท์ สามดี. (๒๕๔๗). ธุรกิจสปาไทยกา้ วไกลไม่หยดุ ยั้ง. สบื ค้นเม่ือ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๐,จาก http://www.businessthai.co.th ให้นกั ศกึ ษาเรยี งส่วนต่าง ๆ ของบรรณานุกรมให้ถูกต้อง ตามกจิ กรรม ตามลิงก์ด้านลา่ ง https://bit.ly/30eN3H6 https://bit.ly/2vRbqwo ๓๗ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ
๒. ภาคผนวก ภาคผนวกจะนำสาระส่วนต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นเนื้อหาบางเรื่องที่เห็นว่าไม่เหมาะจะ เสนอในส่วนที่เป็นเนื้อหา จึงนำมาเสนอไว้ในภาคผนวก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรื่องหนึ่ง เรื่องใดเป็นพิเศษ สามารถที่จะศึกษาเพิ่มเติม นอกเหนือจากเนื้อหาภายในเล่มได้ เช่น หนังสือขอความร่วมมือในการ วิจัยตามขัน้ ตอนต่าง ๆ รายชือ่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นวัตกรรมหรือสิ่งประดษิ ฐ์ เครื่องมือในการ วิจัย เป็นต้น หากมีจำนวนมาก ให้เลือกเฉพาะที่จำเป็น โดยจัดกลุ่มหรือเรียงลำดับให้เหมาะสม หลกั การเขยี นภาคผนวก ๑. นำสาระที่เป็นรายละเอียดมาก และเห็นว่าผู้อ่านส่วนใหญ่ไมต่ ้องการทราบ มาเสนอ ไวใ้ นภาคผนวกสำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียด ๒. หากมีสาระมาก ก็จัดกลุ่มเรียงลำดับตามความเหมาะสม โดยยึดเกณฑ์ใดเกณฑ์หน่งึ เปน็ หลกั ๓. หากสาระเรื่องใดมีเนื้อหามาก ไม่สามารถเย็บเล่มรวมกับรายงานวิจัยได้ ก็ให้แยก ออกมาตา่ งหาก ๔. สาระที่ไม่จำเป็นต้องเสนอรายละเอียดทั้งหมด เช่น ผลงานของกลุ่มตัวอย่าง ภาพถา่ ยต่าง ๆ ถ้ามีจำนวนมาก ก็คัดเฉพาะตวั อย่างบางส่วนมาเสนอ ๙. การจัดรูปแบบการพมิ พ์รายงานการวจิ ัย หลกั เกณฑก์ ารพิมพร์ ายงานการวิจยั ๑. กระดาษท่ใี ช้ กระดาษที่ใช้พิมพ์ปกรายงานการวิจัย ต้องเป็นกระดาษหนากว่ากระดาษด้านในจะใช้สี ใดก็ได้แต่ไม่ควรใช้สีเข้มจัด ส่วนกระดาษด้านในต้องเป็นกระดาษปอนด์ขาวพิเศษ ไม่มีเส้นบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A ๔ (๒๑๐ x ๒๙๓ ม.ม.) มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๘๐ กรัมต่อตารางเมตร ไม่ควรใช้ กระดาษที่ฉีกขาดง่าย หรอื กระดาษที่หมกึ พิมพ์ลบเลือนงา่ ย และกระดาษหนึง่ แผน่ ใช้พมิ พ์เพียงหน้า เดยี วเท่านน้ั ๒. การวางรูปหน้ากระดาษพมิ พ์ การเวน้ ขอบระยะห่างจากรมิ กระดาษใหเ้ ว้นระยะหา่ ง ดงั น้ี ๒.๑ หัวกระดาษให้เว้น ๓.๘๑ ซ.ม. (๑.๕ นิ้ว) ยกเว้นหน้าทีข่ ึน้ บทใหม่ของแต่ละบท ให้ เวน้ ๒ นว้ิ ชดุ การเรยี น วิชาภาษาไทยเพอื่ สือ่ สารในงานอาชพี ๓๘
๒.๒ ขอบลา่ งและขอบขวามือ ให้เว้น ๒.๕๔ ซ.ม. (๑ นิ้ว) ๒.๓ ขอบซา้ ยมือใหเ้ ว้น ๓.๘๑ ซ.ม. (๑.๕ นิ้ว) ๓. ตวั พมิ พ์และระยะในการพิมพ์ ตัวพิมพ์ต้องพิมพ์ด้วยหมึกดำ ขนาดและแบบของตัวพิมพ์เป็นแบบเดียวกันตลอดเล่ม คำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่กล่าวถึงในรายงานการวิจัย หากไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ควรถอด คำศัพทน์ ัน้ เป็นภาษาไทยพรอ้ มทัง้ ใส่คำศัพท์ภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บ รายงานการวจิ ัยทกุ เล่มท่ี เสนอต้องสะอาด ชัดเจน สัญลักษณ์ หรือตัวพิมพ์พิเศษที่เครื่องพิมพ์ไม่มี ให้เขียนด้วยหมึกดำอย่าง ประณีต การเว้นระยะระหว่างบรรทัดให้เป็นแบบเดียวกันโดย ระหว่างหัวข้อสำคัญให้ เว้นห่าง ๒ บรรทัดพิมพ์คู่ การย่อหน้า ให้เว้นระยะจากกรอบพิมพ์ด้านซ้ายมือ ๗ ช่วงอักษร และเริ่มพิมพ์ ในช่วงตัวอักษรที่ ๘ ย่อหน้าที่สอง ที่สาม หรือย่อหน้าต่อ ๆ ไป ให้เว้น เข้าไปอีกครั้งละ ๓ ช่วง ตัวอักษร ถ้าเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การเคาะทีละตวั อักษรนั้นมักมีความคลาดเคลื่อน จงึ ควรใชก้ ารตัง้ แท็บ ๔. การพิมพข์ อ้ ความในแต่ละบรรทดั ของหนา้ กระดาษ เนื่องจากการพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำให้การจัดกรอบการพิมพ์เป็นไปโดย อตั โนมัติ อันเปน็ สาเหตุให้มีการตัดคำท้ายบรรทัดไมถ่ ูกต้อง ทำให้ความหมายของคำเปลยี่ นไป ดังนั้น การพิมพ์ข้อความแต่ละบรรทัด ควรคำนึงถึงคำท้ายบรรทัดด้วย หากมีการตัดคำ ต้องไม่ทำให้ ความหมายของคำ ๆ นั้นเสยี ไป ๕. การลำดับหนา้ และการพมิ พเ์ ลขหน้า ๕.๑ การลำดับหน้าในส่วนนำเรื่อง ให้ใช้ตัวอักษรเรียงตามลำดับพยัญชนะภาษาไทย (ก,ข,ค...) โดยพิมพ์ไว้กลางหนา้ กระดาษดา้ นล่างห่างจากขอบกระดาษข้นึ มา ๑/๒ นว้ิ โดยเรมิ่ นบั จาก หน้าคำนำเป็นตน้ ๕.๒ การลำดับหน้าในส่วนเนื้อหาและส่วนประกอบตอนท้าย ให้ใช้ตัวเลขอารบิก (๑,๒,๓...) ตลอดทั้งเล่ม โดยพิมพ์ไว้ริมขวาบนของกระดาษ ห่างจากขอบบนและขวามือด้านละ ๑ นิ้ว ยกเว้นหน้าที่ขึ้นบทใหม่ ให้ใส่ตัวเลขกำกับหน้าไว้ตรงกลางหน้ากระดาษห่างจากขอบล่างขึ้นไป ๑/๒ นิว้ หา้ มมีหนา้ แทรก เชน่ ๒n , ๒/๑ เปน็ ต้น ๖. การพมิ พ์บทท่ี หวั ข้อสำคัญและหัวข้อยอ่ ย ๖.๑ เม่อื ขึ้นบทใหม่ใหข้ น้ึ หน้าใหม่ พิมพค์ ำวา่ “บทท่ี” พรอ้ มระบเุ ลขประจำบทด้วยเลข อารบิกไว้กลางกระดาษ โดยเว้นระยะห่างจากขอบบนของกระดาษ ๒ นิ้ว พิมพ์ชื่อลงบนกลาง หน้ากระดาษ โดยไมต่ อ้ งขีดเส้นใต้ช่ือบทท่ียาวเกนิ ๑ บรรทดั ใหแ้ บง่ พิมพ์เปน็ ๒ บรรทัดตามความ เหมาะสมโดยพมิ พเ์ รยี งลงมาในลักษณะสามเหลยี่ มกลับหวั ๓๙ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี
๖.๒ หัวข้อสำคัญ ให้พิมพ์ชิดริมกรอบกระดาษด้านซ้ายมือและขีดเส้นใต้ หรือทำตัว เน้นหนัก ไม่ต้องใส่หมายเลขหรือตัวอักษรกำกับ โดยพิมพ์ห่างจากบรรทัดบนและบรรทัดต่อไป ๒ บรรทัดพมิ พค์ ู่ ๖.๓ หัวข้อย่อย ให้พิมพ์โดยเว้นระยะ ๕ ช่วงตัวอักษร และเริ่มพิมพ์ในตัวอักษรที่ ๖ หากหัวข้อย่อย มีการแบ่งมากกว่า ๓ ระดับให้ใส่ตัวเลขหรือตัวอักษรเข้าช่วย ซึ่งอาจทำได้ ๒ แบบ และหากเลอื กใช้แบบใดแบบหน่ึงแลว้ ตอ้ งใช้แบบเดียวกนั ตลอดทงั้ เลม่ แบบท่ี ๑ ใชร้ ะบบตวั เลขท้งั หมด โดยเพม่ิ ตวั เลขและเครอ่ื งหมายของมหัพภาค (.) ตามลำดบั ดังนี้ หัวขอ้ สำคญั ๑.ขอ้ ความ ๑.๑ ข้อความ ๑.๑.๑ ข้อความ ๑.๑.๑.๑ ขอ้ ความ แบบท่ี ๒ ใช้ระบบตวั อักษรสลับหรอื กับตัวเลขดงั นี้ หวั ข้อสำคัญ ก.ขอ้ ความ ๑. ขอ้ ความ ก) ข้อความ ๑) ขอ้ ความ ๗. การพมิ พ์ตาราง ๗.๑ องค์ประกอบของตารางมีดังน้ี ๗.๑.๑ ลำดับที่ของตาราง ให้พิมพ์คำว่าตารางที่ ชิดริมกรอบกระดาษซ้ายมือตาม ด้วยหมายเลขกำกับตารางโดยเรียงลำดับหมายเลขจากตารางที่ ๑ ไปจนจบเล่ม ทั้งนี้รวมตารางใน ภาคผนวกดว้ ย ให้ขีดเสน้ ใต้ทกุ ครั้ง ๗.๑.๒ ชื่อตาราง ให้พิมพ์ชื่อตารางต่อจากเลขที่ตาราง โดยเว้นระยะห่าง ๒ ช่วง ตวั อักษร หากช่อื ตารางยาวเกนิ กว่า ๑ บรรทดั ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกของบรรทดั ถัดไป ให้ตรงกับ อกั ษรตัวแรกของชือ่ ตาราง ชุดการเรยี น วิชาภาษาไทยเพอ่ื สอื่ สารในงานอาชพี ๔๐
Search