Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่-2 การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า

หน่วยที่-2 การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า

Published by nsdv, 2019-08-30 18:15:34

Description: หน่วยที่-2 การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า

Search

Read the Text Version

ชดุการเรยน หลักสูตรประกาศนียบตัรวชาชพีชัน้สงูพทธศักราช๒๕๖๒ óðððð-ññðñ ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ (OccupationalThaiLanguageSkill) ˹‹Ç·Õè ò ¡ÒÃÇÔà¤ÃÒÐˏÊÒèҡ¡Òÿ˜§¡Òô١ÒÃÍ‹Ò¹ http://www.nsdv.go.th/ ศูนยอาชีวศกึษาทวภาคี ศนูยสงเสรมและพัฒนาอาชวีศกึษาภาคเหนอื สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศกึษากระทรวงศกึษาธิการ

ชดุ การเรียน หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชีพชั้นสูง พุทธศกั ราช ๒๕๖๒ ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี หนว่ ยที่ ๒ สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงน้ี จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเรียนรู้รายวิชา ๓๐๐๐-๑๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงาน อาชีพ หลักสตู รประกาศนียบัตรวิชาชพี ช้นั สงู พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะ ภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๓-๐-๓ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๖๒ โดยมี จุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการใช้ภาษาไทย สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานอาชีพ โดยชุดการเรียนน้ี ประกอบด้วย ๗ หน่วยการเรียน และแต่ละหน่วยประกอบด้วยแบบประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน แผนการเรียนประจำหน่วย เนื้อหาสาระและกิจกรรม ซึ่งผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งในระบบปกติและระบบ ทวิภาคีสามารถศึกษาเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและทบทวนความรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ตลอดจนสามารถดาวน์โหลด (Download) ชุดการเรียน นี้เพื่อศึกษาเรียนรู้ในระบบออฟไลน์ (Offline) ได้ด้วย นอกจากนี้ ครูผู้สอนรายวิชาดังกล่าวยังสามารถ นำไปใชใ้ นการจดั การเรียนการสอนในสถานศกึ ษาได้ เป็นการสนองตอบนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วย ทั้งนี้ ชุดการเรียนนี้จะนำไปใช้ใน สถานศึกษานำร่อง ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและขยายผลแก่สถานศึกษา อาชีวศกึ ษาทกุ แหง่ ต่อไป สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษาขอขอบคณุ ศนู ย์อาชีวศกึ ษาทวิภาคี ศนู ย์ส่งเสรมิ และ พัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูผู้สอน คณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทกุ ท่าน ท่ีมีส่วนช่วยให้การดำเนินการจัดทำชุดการเรียนโดยใช้สื่อดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ภาษาไทยครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามที่มุ่งหวัง และหวังว่าผู้เรียนจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ พฒั นาตนเองและประยุกต์ใชใ้ นงานอาชพี ได้เป็นอย่างดี ศูนย์สง่ เสริมและพัฒนาอาชวี ศกึ ษาภาคเหนือ ศูนย์อาชวี ศึกษาทวภิ าคี พฤษภาคม ๒๕๖๒

สารบญั ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี รายละเอยี ดรายวิชา หนา้ วิธีการศึกษา (ก) • ขน้ั ตอนการเรียนชดุ การเรยี น (ข) • ขน้ั ตอนการเรียนระดบั หนว่ ย (จ) (ฉ) หน่วยที่ ๒ การวิเคราะห์สารจากการฟัง การดู การอ่าน ๑ ๑ • แบบประเมนิ ตนเองกอ่ นเรียน หน่วยที่ ๒ ๒ • แผนการเรียน หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะหส์ ารจากการฟงั การดู การอ่าน ๔ - แผนการเรียน มอดูลท่ี ๒.๑ การวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ และประเมนิ ค่าสาร จากการฟัง และการดู ๒๒ ๓๓ - แผนการเรยี น มอดลู ที่ ๒.๒ การวเิ คราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคา่ สาร จากการอา่ น • แบบประเมนิ ตนเองหลังเรยี น หน่วยที่ ๒

รายละเอยี ดรายวชิ า ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ ทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๓-๐-๓ (Occupational Thai Language Skills) จดุ ประสงค์รายวชิ า เพ่ือให้ ๑. เข้าใจหลกั การใช้ภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๒. สามารถวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ ประเมนิ ค่าสารและใช้ภาษาไทยเปน็ เคร่ืองมอื สอ่ื สารใน วชิ าชพี ตามหลักภาษา เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลและสถานการณ์ ๓. เหน็ คุณค่าและความสาคญั ของการใชภ้ าษาไทยในวชิ าชีพอยา่ งมจี รรยาบรรณ สมรรถนะรายวชิ า ๑. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ การ สังเคราะห์และการประเมินคา่ สารภาษาไทยเชิงวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ ๒. วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารท่ีได้จากการฟัง การดูและการอ่านส่ือประเภท ต่าง ๆ ๓. พดู นาเสนอขอ้ มูลเพือ่ สือ่ สารในงานอาชพี และในโอกาสตา่ ง ๆ ตามหลักภาษา กาลเทศะ บคุ คลและสถานการณ์ ๔. เขียนเพ่ือติดต่อกิจธุระ บันทึกข้อมูลและรายงานการปฏิบตั ิงานเชิงวชิ าชพี ตามหลักการ ใช้ภาษาไทย คาอธบิ ายรายวชิ า ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการฟัง การดู การพูด การอ่านและการเขียนภาษาไทย การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสารในงานอาชีพจากส่ือประเภทต่าง ๆ การพูด นาเสนอข้อมูลเพื่อส่ือสารในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ การเขียนเพ่ือกิจธุระ การจดบันทึก ขอ้ มลู และเขยี นรายงานการปฏบิ ตั ิงานเชงิ วิชาชีพ และจรรยาบรรณในการใชภ้ าษาไทยเชิงวชิ าชีพ (ก)

วธิ กี ารศกึ ษา ชดุ การเรยี น ปวส. ๒๕๖๒ วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ในการศึกษาชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ผู้เรยี นจะต้องทาความเขา้ ใจเกีย่ วกบั ๑. โครงสรา้ งเน้อื หาสาระ ๒. โครงสรา้ งสื่อการเรียนรู้ ๓. วิธกี ารเรียน โครงสร้างเนือ้ หาสาระ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพได้แบ่ง โครงสรา้ งเน้ือหาสาระ ดงั น้ี หนว่ ยท่ี ๑ การใชภ้ าษาไทยในการสอื่ สารอยา่ งมีประสิทธภิ าพ หน่วยท่ี ๒ การวเิ คราะห์สารจาการฟงั การดู การอา่ น หนว่ ยท่ี ๓ การพดู ในงานอาชีพ หนว่ ยที่ ๔ การพดู ในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม หนว่ ยท่ี ๕ การเขยี นเพ่ือตดิ ตอ่ ธรุ ะ หน่วยท่ี ๖ การเขียนในงานอาชพี หนว่ ยท่ี ๗ การเขยี นรายงานการวจิ ยั โครงสร้างสอ่ื การเรยี นรู้ ชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ประกอบด้วย ส่ือ ๒ ประเภท คือ (๑) สือ่ ส่งิ พิมพ์ ได้แก่ แผนการเรยี นและใบกิจกรรม และ (๒) ส่ือออนไลน์ วิธีการเรยี น เพ่ือให้การเรียนในชุดการเรียนรายวิชาน้ีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล ตามจดุ ประสงค์รายวิชาและสมรรถนะรายวชิ า ผเู้ รยี นควรดาเนินการตามข้ันตอน ดงั น้ี ๑. เตรียมตัวเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนต้องจัดตัวเองให้อยู่ในสภาพการณ์ ที่เออื้ ต่อการเรียนรู้ ๔ ประการ คือ ๑.๑ มสี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้อย่างกระฉับกระเฉง โดยการคิด เขียนและ ทากิจกรรมการเรียนรู้ทก่ี าหนดอย่างสม่าเสมอตลอดเวลา ๑.๒ ติดตาม ตรวจสอบผลการเรยี นรูห้ ลงั ทากิจกรรมแตล่ ะกิจกรรมจากแนวการ ตอบหรอื เฉลย ๑.๓ ซือ่ สตั ย์ต่อตนเอง โดยไม่ดูแนวการตอบหรอื เฉลยกอ่ น (ข)

๑.๔ ศึกษาเรยี นรู้ไปตามลาดับขน้ั ตอน เพ่อื ให้ไดค้ วามรู้ครบถว้ นตามท่กี าหนด ๒. ประเมนิ ผลตนเองกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น ๒.๑ ก่อนท่ีจะเรียนหน่วยการเรียนใด ผู้เรียนควรจะตรวจสอบความรู้ด้วยการ ประเมินผลตนเองก่อนเรียนจากแบบประเมินของหน่วยนั้น ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวม คะแนนไว้ หากทาไดค้ ะแนนเกนิ กวา่ รอ้ ยละ ๖๐ ผเู้ รยี นอาจจะไม่ต้องศกึ ษาหน่วยนั้น ๒.๒ เม่ือศึกษาหน่วยนนั้ เสร็จแล้ว ขอให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองหลังเรียน โดย ทาแบบประเมินทก่ี าหนดไวต้ อนท้าย ตรวจคาตอบจากเฉลย แล้วรวมคะแนนไว้ หากทาได้ต่ากว่า รอ้ ยละ ๘๕ ผ้เู รยี นควรศกึ ษาทบทวนหนว่ ยนั้นแล้วประเมินซา้ อกี จนกว่าจะได้คะแนนเพม่ิ ข้ึนตาม เกณฑท์ ก่ี าหนด ๓. ศึกษาเอกสารชดุ การเรียนและส่ือท่ีกาหนด โดย ๓.๑ ศกึ ษารายละเอยี ดชุดวิชา ๓.๒ ศึกษาแผนหนว่ ยการเรยี นทุกหนว่ ย ๓.๓ ศกึ ษารายละเอียดของแต่ละหนว่ ยการเรียน ดงั นี้ ๓.๓.๑ แผนการเรียนประจาหน่วย ๓.๓.๒ แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน ๓.๓.๓ แนวคดิ ๓.๓.๔ เนอื้ หาสาระในแตล่ ะหน่วย และแต่ละมอดูล ๓.๓.๕ กจิ กรรมและแนวการปฏบิ ตั หิ รอื แนวการตอบ ๓.๓.๗ แบบประเมินตนเองหลงั เรียน ๔. ทากจิ กรรมตามทีก่ าหนดในหน่วยการเรยี น “กิจกรรม” เป็นส่วนที่ผู้เรียนจะต้องบันทึกสาระสาคัญและทากิจกรรมทุกอย่าง ตามทีไ่ ดร้ บั มอบหมาย ใหเ้ ขียนกิจกรรมลงในแบบฝึกปฏบิ ัติที่กาหนด บางกจิ กรรมอาจให้ผู้เรียน ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนรายงาน ขอให้ผู้เรียนจัดทาและจัดส่งครูผู้สอนหรือครูเจ้าของ วิชาตามวนั เวลาและสถานทท่ี ก่ี าหนด (ค)

๕. การศึกษาสอื่ ประกอบการเรยี นรู้ บางหน่วยการเรียน อาจกาหนดให้ผู้เรียนศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อท่ีกาหนดหรือ ศึกษาส่ือควบคู่ไปกับการอ่านเอกสารชุดการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ขอให้ผู้เรียนศึกษา รายละเอียดตา่ ง ๆ ตามทกี่ าหนด และจดบนั ทึกสาระสาคัญของสิ่งทไี่ ด้เรยี นรู้ไว้ในกจิ กรรมปฏิบัติ ด้วย ๖. การเข้ารับการสอนเสรมิ หรือรบั บรกิ าร ณ สถานศกึ ษา ผู้เรียนต้องนาบัตรประจาตัวนักศึกษาและบัตรลงทะเบียนเรียนรายวิชาไปแสดง ดว้ ย และเมอ่ื เขา้ รับการสอนเสรมิ รับฟังและรบั ชมส่อื ต่าง ๆ ใหบ้ ันทกึ รายละเอยี ดการเขา้ รับการ สอนเสรมิ หรือรบั บริการในแบบฝกึ ปฏบิ ัตติ อนทา้ ยหน่วยดว้ ย ๗. การร่วมกจิ กรรมภาคปฏิบตั เิ สริมประสบการณ์ ผู้เรียนชุดการเรียนรายวิชา ๓๐๐๐๐-๑๑๐๑ วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ อาจจะตอ้ งเขา้ ร่วมกิจกรรมอย่างใดอยา่ งหน่ึงตอ่ ไปนี้ ๗.๑ เข้าห้องปฏิบัติการในสถานศึกษา เพื่อฝึกทักษะปฏิบัติตามที่กาหนดไว้ใน แตล่ ะหน่วยการเรียน ๗.๒ เข้าสงั เกตการณ์การสอนในหนว่ ยการเรียนทก่ี าหนด ๗.๓ เข้าฝกึ ปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการหรือหน่วยงาน ๗.๔ ประดิษฐค์ ิดคน้ หรอื ศึกษาสารวจข้อมูลตามท่กี าหนด หลังจากทากิจกรรมข้างต้นแล้ว ให้มีการสรุปรายงานให้แก่ครูผู้สอนหรือครู เจ้าของวิชาทราบเพ่ือตรวจสอบผลการปฏิบัติ และเก็บผลการประเมินเป็นคะแนนเก็บของ รายวิชา ๘. เขา้ รบั การสอบ เม่ือส้ินภาคการศึกษา ผู้เรียนต้องเข้ารับการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาหรือ สอบไล่ ตามวนั เวลาและสถานทท่ี ีส่ ถานศกึ ษากาหนด เพอื่ การตัดสินผลการเรยี น (ง)

(จ)

(ฉ)

แบบประเมินตนเองก่อนเรียน หน่วยท่ี ๒ http://bit.ly/thai-test2 ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๑

แผนการเรยี น หน่วยที่ ๒ การวเิ คราะห์สารจากการฟงั การดู การอ่าน มอดูลที่ ๒.๑ การวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ และประเมนิ คา่ สารจากการฟงั และการดู ๒.๒ การวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ และประเมนิ ค่าสารจากการอ่าน แนวคดิ ในสังคมปัจจบุ ันมีชอ่ งทางการนาเสนอข้อมูลให้อ่านดูและฟังจานวนมาก การรู้จกั เลือกอ่าน ดูและฟังเมื่อได้รับข้อมูลแล้วรู้จักวิเคราะห์ ประเมินค่าเพื่อนาไปใช้ในทางสร้างสรรค์เป็นส่ิงที่จาเป็น เพราะผลทต่ี ามมาจากการอา่ น ดแู ละฟงั จะเป็นผลบวกหรือลบต่อสงั คม ขนึ้ อย่กู บั การนาไปใช้ ดงั นน้ั ผู้อ่าน ดูและฟังต้องรับสารอย่างมีวิจารณญาณ โดยเข้าใจเน้ือหาสาระ ใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญ อาศัย ความรู้ ความคิดเหตุผลและประสบการณ์แล้วนาไปใช้อย่างเหมาะสม จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ตนเองและสงั คม จุดประสงค์การเรียน ๑. เมอ่ื ศึกษามอดลู ท่ี ๒.๑ แล้ว ผเู้ รยี นสามารถวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ ค่าสารจากการฟงั ได้ ๒. เม่ือศกึ ษามอดูลที่ ๒.๑ แลว้ ผเู้ รียนสามารถวเิ คราะห์และประเมินคา่ สารจากการดไู ด้ ๓. เมือ่ ศกึ ษามอดลู ท่ี ๒.๒ แล้ว ผูเ้ รียนสามารถวิเคราะห์และประเมนิ คา่ สารจากการอ่านได้ ๔. เมอื่ ศึกษามอดลู ท่ี ๒.๒ แล้ว ผู้เรียนสามารถวเิ คราะห์และประเมนิ คา่ สารโดยไม่มีอคติ กจิ กรรมการเรยี น ๒ ๑. ทาแบบประเมนิ ตนเองก่อนเรียน หน่วยท่ี ๒ ๒. อ่านแผนการเรียนประจาหน่วยที่ ๒ ๓. อ่านสาระสงั เขปประจามอดูลท่ี ๒.๑ - ๒.๒ ๔. ดาเนินกจิ กรรมท่กี าหนดของแตล่ ะมอดูลหรือหัวขอ้ เรือ่ ง ๕. ตรวจสอบคาตอบจากแนวตอบของแต่ละกจิ กรรม ท่ีกาหนดไว้ทา้ ยหนว่ ยท่ี ๒ ชุดการเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

๖. ทากจิ กรรมภาคปฏบิ ตั ิเสริมประสบการณ์เพื่อเก็บคะแนน (ถา้ ม)ี ๗. เข้ารับการสอนเสริม ๘. ทาแบบประเมินตนเองหลังเรียน สื่อและแหล่งการเรยี น ๑. เอกสารชุดการเรียน หนว่ ยท่ี ๒ ๒. ใบงาน การประเมนิ ผลการเรียน ๑. ประเมนิ ความกา้ วหน้าระหว่างเรยี น การประเมินตนเองก่อนและหลังเรียน ๒. ประเมินกจิ กรรมภาคปฏบิ ตั ิ (……..คะแนน) ๓. คุณธรรม จริยธรรม ( ๒๐ คะแนน) ๔. การสอบปลายภาค (….….คะแนน) ๓ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

แผนการเรยี น มอดูลท่ี ๒.๑ การวเิ คราะห์ สงั เคราะห์ และประเมนิ คา่ สารจากการฟัง และการดู มอดูลท่ี ๒.๑ โปรดอา่ นหวั ข้อเร่ือง แนวคดิ และจุดประสงคก์ ารเรยี นของมอดูลที่ ๒.๑ แล้วจงึ ศึกษารายละเอยี ด ตอ่ ไป หัวข้อเร่อื ง ๒.๑.๑ ลกั ษณะการสื่อสารทมี่ ีประสทิ ธิภาพ ๒.๑.๒ ความหมายของการวิเคราะห์และประเมินค่าสาร ๒.๑.๓ ประเภทของสาร ๒.๑.๔ การวิเคราะห์และการประเมนิ คา่ สารจากการฟัง ๒.๑.๕ การวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ ค่าสารจากการดู แนวคดิ ในสังคมปัจจุบันมีช่องทางการนาเสนอข้อมูลให้ฟังและดูจานวนมาก การรู้จักเลือกท่ีจะฟัง และดู เมื่อได้รับข้อมูลแล้วรู้จักวิเคราะห์ ประเมินค่าเพ่ือนาไปใช้ในทางสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่จาเป็น เพราะผลทต่ี ามมาจากการฟงั และการดู จะเปน็ ผลบวกหรือลบต่อสังคม ข้นึ อยูก่ บั การนาไปใช้ ดังนั้น ผ้ฟู ังและดูตอ้ งรับสารอยา่ งมวี จิ ารณญาณ โดยเข้าใจเนอ้ื หาสาระ ใชป้ ญั ญาคิดใคร่ครวญ อาศัยความรู้ ความคดิ เหตผุ ลและประสบการณ์แล้วนาไปใชอ้ ยา่ งเหมาะสม จึงจะเกิดประโยชน์สงู สุดตอ่ ตนเองและ สังคม จุดประสงคก์ ารเรียน ๑. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๒.๑.๑ “ลักษณะการส่ือสารที่มีประสิทธิภาพ” แล้ว ผู้เรียน สามารถอธบิ ายลักษณะการส่ือสารที่มีประสทิ ธิภาพได้ ๒. เม่ือศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๒.๑.๒ “ความหมายของการวิเคราะห์และประเมนิ ค่าสาร” แลว้ ผเู้ รียนสามารถอธบิ ายความหมายของการวิเคราะห์และการประเมินค่าสารได้ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ ๔

๓. เม่อื ศึกษาหวั ข้อเรือ่ งที่ ๒.๑.๓ “ประเภทของสาร” แลว้ ผู้เรยี นสามารถระบุประเภทของ สารได้ ๔. เมื่อศึกษาหัวข้อเรื่องที่ ๒.๑.๔ “การวิเคราะห์และการประเมินค่าสารจากการฟัง” แล้ว ผู้เรยี นสามารถวิเคราะห์และประเมนิ คา่ สารจากการฟงั ได้ ๕. เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ืองท่ี ๒.๑.๕ “การวิเคราะห์และการประเมินค่าสารจากการดู” แล้ว ผ้เู รียนสามารถวเิ คราะห์และประเมินคา่ สารจากการดูได้ เนอื้ หา ๑. ลักษณะการสื่อสารทมี่ ีประสทิ ธิภาพ ๒. ความหมายของการวเิ คราะห์และประเมินคา่ สาร ๓. ประเภทของสาร ๔. การวิเคราะห์และการประเมนิ คา่ สารจากการฟงั ๕. การวิเคราะหแ์ ละประเมนิ คา่ สารจากการดู รูปท่ี ๒.๑ แผนผงั ความคดิ การวิเคราะหแ์ ละประเมินค่าสาร ๕ ชุดการเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

๑. ลักษณะการสือ่ สารทีม่ ีประสทิ ธภิ าพ กระบวนการของการส่อื สารที่มีประสทิ ธภิ าพน้นั ท้ังผู้สื่อสารและผรู้ ับสารเปน็ องค์ประกอบ ที่สาคัญย่ิงที่จะต้องมีการรับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองซึ่งกันและกันในลักษณะท่ีเรียกว่าการสอ่ื สาร สองทาง (two ways communication) การพฒั นาทักษะในการสง่ สารและรับสารนนั้ ตอ้ งอาศัยการ คิดเป็นพื้นฐานอันสาคัญอย่างยง่ิ ท้ังน้ีเพราะในการส่งสารไม่ว่าจะด้วยวิธีพูดหรือเขียน ซึ่งเป็นทักษะ การสง่ สาร ผสู้ ่งสารจะต้องใช้ความคิดในการเรียบเรียงถ้อยคาหรอื ขอ้ ความเพ่ือส่ือความหมายให้ผู้รับ สารเกิดความเข้าใจ ขณะเดียวกันผู้รับสารจะต้องใช้ความคิดในการแปลสัญลักษณ์ซึ่งได้แก่ เสียง ถ้อยคาหรือข้อความที่ได้ฟัง ได้อ่านได้ดู เพื่อเกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจในส่ิงนั้น และจับใจความใน ส่วนท่ีอ่านมีความเห็นคล้อยตามหรือโต้แย้ง กระบวนการสือ่ สารดงั กลา่ วปรากฏดงั แผนภาพดังน้ี กระบวนการส่อื สารในบคุ คล ทกั ษะการส่ง ทกั ษะการรับ สาร สาร *เขยี น *ฟงั รปู ท่ี ๒.๒ แผนภาพแสดงความสัมพันธข์ องความคิดกบั ทักษะการสง่ สารและรบั สาร จากแผนภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบทุกส่วนในการสื่อสารสัมพันธ์กันอย่าง ตอ่ เนื่อง การสื่อสารทเ่ี หมาะสมจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันของทกั ษะการส่งสารและรับสารโดยมคี วามคดิ เป็นหัวใจสาคัญ หากการส่งสารขาดความคิดในการเรียบเรียงส่งสารให้สมบูรณ์ ก็จะส่งผลให้สาร คลาดเคล่ือน ขณะเดียวกันถ้าผู้รับสารขาดความคิดในการทบทวนไตร่ตรอง ก็จะทาให้เกิดความ สับสน การรบั สารผิดไปจากทีผ่ ูส้ ง่ สารตอ้ งการ ผู้ฟัง ผู้อ่าน และผู้ดู อยู่ในฐานะการรับสาร โดยใช้ช่องทางการเห็นและการได้ยิน ถ้าสารใช้ ถ้อยคาที่เข้าใจ มีเน้ือหาเหมาะสม และมีการจัดลาดับอย่างดี ผู้รับสารย่อมเข้าใจสาร ตรงตาม ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๖

วตั ถุประสงคท์ ่ผี สู้ ง่ สารต้องการ ดังนนั้ ผู้ท่มี ที ักษะในการรบั สาร ตอ้ งวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ สารอย่างมี ประสทิ ธิภาพ ๒. ความหมายของการวิเคราะห์และการประเมนิ ค่าสาร พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของคาว่า วิเคราะห์และ สาร ดงั น้ี วเิ คราะห์ หมายถงึ ใคร่ครวญ แยกออกเปน็ ส่วนๆ เพื่อศึกษาใหถ้ ่องแท้ สาร หมายถึง แกน่ เน้ือแท้ ขอ้ ความ ถ้อยคา เรอ่ื งราว การวิเคราะห์สาร หมายความโดยรวมว่า การพจิ ารณาใครค่ รวญ ถ้อยคา ขอ้ ความหรอื เร่อื งราว อยา่ งละเอียด เพ่ือให้เขา้ ใจอย่างถ่องแท้ ประเมิน หมายถงึ การประมาณคา่ เทา่ ทค่ี วรจะเปน็ คา่ หมายถงึ มลู คา่ หรอื ราคาของสง่ิ ใด ๆ ท้ังท่เี ปน็ รปู ธรรมและนามธรรมทม่ี ี ประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลย่ี นหรอื ทางจิตใจ การประเมินค่าสาร ความหมายโดยรวมว่า การประมาณคุณประโยชน์ของถ้อยคา ขอ้ ความ เนื้อหา หรอื เรือ่ งราวนัน้ ๆ ๓. ประเภทของสาร สารท่ีใช้สอื่ สารในชีวิตประจาวนั มี ๒ ประเภทดังนี้ ๑. ข้อเท็จจริง คือ สารที่มีอยู่ในโลกมนุษย์และสามารถตรวจสอบหรือพิสูจน์ได้ว่าจริง ตามสารนนั้ เชน่ พระอาทติ ย์ข้ึนทางทศิ ตะวนั ออก คาตอบคอื จรงิ ซึ่งเราสามารถหาคาตอบหรอื พิสจู น์ ได้ ๒. ข้อคิดเห็น คือ สารที่เกิดขึ้นในใจของผู้ส่งสาร อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อ หรือ แนวคดิ ท่ีผูส้ ่งสารมีต่อสงิ่ ใดส่ิงหน่ึงลักษณะของข้อคดิ เหน็ ตรวจสอบความจรงิ ไม่ได้ เป็นแต่เพยี ง สง่ิ ท่ี แสดงให้เห็นว่า ข้อคิดเห็นเป็นท่ียอมรับหรือไม่ สมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร เช่น ผู้หญิงไทยแต่งตัว ตามแฟช่นั ตะวันตกมากเกนิ ไป นักเรียนมัธยมมีคา่ นยิ มต่อการเรยี นมหาวทิ ยาลยั มากกว่าอาชวี ศึกษา ซง่ึ ข้อคดิ เหน็ น้ันแบง่ เป็น ๕ ประเภทคือ ๒.๑ ขอ้ คดิ เห็นเชิงประมาณค่า เปน็ การระบวุ ่า ดี – ไม่ดี เปน็ ประโยชน์ – เปน็ โทษ หรือ ยังไม่ดี – ค่อนข้างดี นับว่าเป็นประโยชน์ ค่อนข้างดี เช่น จากการสารวจ ความนิยมของ ๗ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

ประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาลพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลเพราะ เป็นประโยชน์ต่อผมู้ รี ายไดน้ อ้ ย ประชาชนเห็นว่าการแก้ปญั หายาเสพตดิ ของรฐั บาลทาไดค้ อ่ นข้างดี ๒.๒ ข้อคิดเห็นเชิงแนะนา คือ การบอกล่าวให้ทราบว่าสิ่งใดควรทาหรือควร ปฏิบัติ มีข้ันตอนการปฏิบัติอย่างไร เพราะอย่างไรจึงควรปฏิบัติเช่นนั้น เช่น ผู้บริโภค ควรเลือกใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟ เบอร์ ๕ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าแล้วยังช่วยลด การใช้พลงั งานอกี ดว้ ย ๒.๓ ข้อคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกต คือ การช้ีให้เห็นลักษณะบางประการท่ีแฝงอยู่ ซง่ึ อาจมองข้ามไปเปน็ ลักษณะทน่ี ่าสนใจ น่าพิจารณา นา่ ระมัดระวัง นา่ นาไปศกึ ษาตอ่ เช่น นา้ ทว่ ม ประเทศไทยคร้ังใหญ่ที่ผ่านมาน่าจะเกิดจากการตัดไม้ทาลายป่า ทาให้น้าไหลบ่าอย่างรวดเร็วเพราะ ไม่มีส่งิ ขดี ขวางทางน้า ๒.๔ ข้อคิดเหน็ เชิงตดั สนิ ใจ คอื การยอมรับหรอื ไมย่ อมรบั ในข้อเสนอนน้ั เมอื่ ผสู้ ง่ สารสรุปผลการตัดสินใจ การที่จะยุติการพิจารณาต่าง ๆ ควรมีเหตุผลการพิจารณาต่าง ๆ ควรมี เหตุผลการพิจารณาอย่างชัดเจน เช่น รัฐบาลประกาศจะขึ้นค่าแรงข้ันต่า ๓๐๐ บาทท่ัวประเทศ แนน่ อนภายในปี ๒๕๕๖ ๒.๕ ข้อคิดเห็นเชิงแสดงอารมณ์ คือ สารที่แสดงภาพอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติและอัธยาศัยของผ้สู ่งสาร ในข้อคิดเห็นเชิงแสดงอารมณ์อาจมีสารประเภทอื่นปะปนอยูด่ ้วย เชน่ ...ผลการเลอื กตง้ั ออกมาแล้ว ขอบคุณทกุ ๆ คนท่เี ลอื กฉันเป็น ส.ส.หญิงเขต ๘ รัฐอลิ ลินอยส์ ฉัน ไมส่ ามารถขอบคุณได้เพียงพอสาหรบั ทุกสิ่งทพ่ี วกคณุ ชว่ ยฉนั ในระหวา่ งหาเสยี ง ฉันยงั รู้สึกปลาบปลมื้ กับการสนับสนนุ ทไี่ มเ่ คยห่างหาย กิจกรรมจับคู่ภาพและข้อความทสี่ มั พันธ์กนั ชุดท่ี ๑ https://h5p.org/node/453744 กิจกรรมจับคภู่ าพและข้อความท่ีสัมพันธก์ นั ชุดท่ี ๒ https://h5p.org/node/453759 ๔. การวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ คา่ สารจากการฟงั การฟังเป็นกระบวนการรับรูโ้ ดยผ่านสื่อคอื เรียงในรปู แบบตา่ ง ๆ ขณะฟงั ผู้ฟังตอ้ งให้ความ สนใจ สามารถตีความสงิ่ ทใี่ ชฟ้ งั จงึ จะตอบสนองไดถ้ ูกต้อง ๑. กระบวนการรบั ร้สู ารดว้ ยการฟัง กระบวนการรับรู้สารด้วยการฟงั อย่างสมบรู ณ์ ดงั แสดงเปน็ แผนภมู ติ ่อไปน้ี ชดุ การเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๘

ไดย้ นิ มุ่งความสนใจ เขา้ ใจ ตคี วาม ตอบสนอง รปู ท่ี ๒.๓ แผนภูมิกระบวนการรับรสู้ ารดว้ ยการฟงั จากแผนภูมิขา้ งตน้ อธบิ ายได้ดังน้ี ขน้ั ตอนที่ ๑ การได้ยิน (Hearing) เป็นขนั้ แรกของการฟังเม่ือมีเสียงมากระทบประสาท ขั้นตอนท่ี ๒ การมุ่งความสนใจ (Concentration) ผู้ฟังจะมุ่งความสนใจไปตามเรื่อง ทไ่ี ด้ยนิ นน้ั ขั้นตอนที่ ๓ การเข้าใจ (Comprehension) ผู้ฟังรับรู้และเข้าใจสารน้ันได้ ถ้าผู้ส่งสาร ส่ง สารอย่างครบถว้ นสมบูรณ์ ข้ันตอนท่ี ๔ การตีความ (Interpretation) เมื่อเข้าใจจึงถึงข้ันวิเคราะห์ค้นหาความหมาย ของสารว่ามีเจตนาทีแ่ ทจ้ รงิ อยา่ งไร ส่วนใดเป็นข้อเทจ็ จรงิ ส่วนใดเปน็ ข้อคดิ เห็นพร้อมทง้ั ประเมินค่า สารว่ามคี ณุ ค่าหรือประโยชนเ์ พยี งใด ขัน้ ตอนท่ี ๕ การตอบสนอง (Reaction) เมอ่ื ผ้ฟู งั คิดวเิ คราะห์ วนิ ิจและประเมินค่าแลว้ ก็จะ ตอบสนองอย่างใดอย่างหน่งึ ตอ่ ผสู้ ง่ สาร ๒. ประโยชน์ของการฟัง ประโยชนข์ องการฟัง จาแนกได้ดงั น้ี ๒.๑ ประโยชน์สว่ นตน ๒.๑.๑ การฟังเปน็ เครอื่ งมอื ของการเขยี น ผู้ท่ีเรยี นหนังสอื ไดด้ ตี ้องมี การฟังทด่ี ี ด้วย คอื ต้องฟังคาอธิบายใหร้ ้เู รอ่ื งและจบั ใจความสาคญั ใหไ้ ดจ้ ึงจะทาให้การเรียนมีประสิทธภิ าพ ไม่ วา่ จะเป็นการฟังคาอธบิ ายในห้องเรียน การฟงั อภิปราย การฟังบทความ ลว้ นแต่ช่วยพัฒนาสตปิ ญั ญา ทาใหเ้ กิดความรูแ้ ละเกิดความเฉลยี วฉลาดจากการฟงั ๒.๑.๒ การฟังช่วยให้ผู้ฟังพัฒนาความสามารถในการพูด พัฒนาความสามารถใน การใช้ภาษา เพราะการฟงั ทาให้ผ้ฟู งั มคี วามร้กู วา้ งข้นึ และมปี ระสบการณ์มากขนึ้ ๙ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

๒.๑.๓ การฟังชว่ ยปูพนื้ ฐานความคิดท่ีดใี ห้กบั ผฟู้ ัง ซงึ่ จะได้จากการฟงั เรื่องราวที่มี คุณค่ามีประโยชน์จากผู้อื่น ช่วยพัฒนาสตปิ ัญญาแก่ผู้ฟัง การได้รับข้อคิดเห็นท่ีมีประโยชน์ทาให้เกดิ แนวความคดิ ใหม่ ๆ ได้ ๒.๑.๔ การฟังช่วยให้ผู้มีมารยาทในการฟัง สามารถเข้าสังคมกับผู้อ่ืนได้เช่น รู้จัก ฟังผู้อืน่ ร้จู กั ซกั ถามโต้ตอบไดต้ ามกาลเทศะ ๒.๒ ประโยชน์ทางสังคม ๒.๒.๑ การฟังทาให้เกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เช่น การฟัง ประกาศ ฟงั ปราศรัย ฟงั การอภิปราย เปน็ ต้น ๒.๒.๒ การฟังช่วยให้ประพฤติดี ปฏิบัติให้สังคมเป็นสุข เช่น ฟังธรรม ฟังเทศนา ฟงั คาแนะนา การอบรม เป็นต้น ๒.๓ ประโยชนข์ องการฟังเชงิ วเิ คราะห์ ๒.๓.๑ บอกไดว้ า่ สารทฟี่ ังสว่ นใดเป็นความจรงิ สว่ นใดเป็นความเหน็ ๒.๓.๒ กระตุน้ ใหผ้ ฟู้ งั เกดิ ความคิด และทศั นะทีก่ ว้างไกล ๒.๓.๓ ไม่ทาให้ผู้ฟังตกเป็นเหย่ือของคาโฆษณาชวนเช่ือ และรู้จักตัดสินใจด้วย ตนเองอย่างถกู ตอ้ ง ๒.๓.๔ รจู้ กั ประเมินค่าเรื่องที่ฟังด้วยความรอบคอบและมเี หตผุ ลซ่ึงนาไปใช้ ประโยชน์ในชีวติ ประจาวนั ได้เปน็ อยา่ งดี ๓. ลกั ษณะการฟงั เพ่อื วิเคราะหแ์ ละประเมินค่า ๓.๑ การฟังเพอื่ วเิ คราะห์ ผู้ฟังต้องนาสารมาแยกย่อยเน้ือหาออกเป็นส่วน ๆ โดยอาศัยการตรึกตรอง การ วิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงจากเนื้อหาต้องพิจารณาทั้งวัจนภาษา (Verbal communication) และอวัจนภาษา (Non-Verbal communication) ผู้ฟังต้องใคร่ครวญและพยายามขจัดสิ่งต่อไปนี้ ออกไปในขณะท่ีฟัง ได้แก่ ๓.๑.๑ ท่าทางและรูปร่างหน้าตาของผู้พูด โดยไม่เกิดอคติต่อรูปร่างหน้าตาที่ไม่ สวยงามของผพู้ ูดเพราะอาจทาใหใ้ จเอนเอียงและเปน็ ปฏปิ กั ษต์ อ่ เรื่องทฟี่ งั ๓.๑.๒ เสียงหรืออากัปกิริยาของผู้พูด ต้องไม่เป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้เสื่อม ศรทั ธาตอ่ ผพู้ ูด ๓.๑.๓ การใช้ภาษาของผพู้ ูด ผู้พูดบางคนอาจไม่สันทัดในการใชภ้ าษาทด่ี ี อาจใช้ ถ้อยคาหรือสานวนไม่ถูกต้อง ผู้ฟังต้องพยายามใจกว้างท่ีจะเข้าใจ และพยายามเลือกรับส่ิงที่เป็น ประโยชนแ์ ละความรู้จากการฟังน้นั ให้ได้ ชุดการเรียน วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี ๑๐

๓.๑.๔ เพศของผู้พูด บางกรณีเพศของผู้พูดอาจตรงกันข้ามกับความรู้ของผู้พูด เช่นผู้หญิงมีความรู้ในเร่ืองวิศวกรรมหรือผู้ชายมีความรู้ทางด้านคหกรรม ผู้ฟังไม่สมควรที่จะเกิด ความคดิ ทไี่ ม่อยากฟังหรือไม่เชื่อในสาระท่ไี ดฟ้ ัง เพราะผพู้ ดู อาจจะมีความเชีย่ วชาญในเร่ืองท่พี ดู เป็น อย่างดกี ็ได้ ๓.๑.๕ ความสนใจในเรื่องที่ฟัง หากเรื่องที่ฟังไม่ใช่เรื่องท่ีตนสนใจ มักจะสรุป ความว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ซึ่งความจริงอาจมีประโยชน์มาก ดังน้ันผู้ฟังไม่ควรที่จะมีความคิดคับแคบ เพราะจะทาให้ความรคู้ บั แคบ ไมห่ ลากหลาย ๓.๒ การฟังเพื่อวินิจฉยั และประเมินค่า การฟังเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การฟังเพ่ือหาคุณค่าด้วยการตัดสินใจจาก การ ไตร่ตรอง ใคร่ครวญอย่างดีแล้วจากกระบวนการวิเคราะห์สารน้ันอย่างปราศจากอคติ ผู้ฟังจะต้อง พิจารณาหาคุณค่าของสารซ่ึงจะประกอบด้วย ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นและความน่าฟัง ผู้ฟังไม่ควรตดิ ใจผู้พูดที่ พูดน่าฟัง จนลืมนึกถึงความคิดหรือข้อคิดเห็นซ่ึงเป็นส่ิงสาคัญท่ีสุด และข้อเท็จจริงมี ความสาคญั อันดบั ตอ่ มาการประเมนิ ค่าสารจากการฟังน้ันมหี ลกั ดังตอ่ ไปนี้ ๓.๒.๑ มีใจเปน็ กลาง ผฟู้ งั ตอ้ งสามารถรับฟังข้อคิดเห็นทีถ่ ูกต้องตาม ขอ้ เท็จจริง แมข้ ้อคดิ เหน็ น้นั จะไม่ตรงกับข้อคิดเหน็ ของผ้ฟู งั ๓.๒.๒ ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ฟังเป็นเกณฑ์ในการตัดสินสิ่งท่ีได้ฟังว่า ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เพราะอารมณ์และความรู้สึกเป็นสิ่งไม่แน่นอน จึงไม่ใช่เกณฑ์มาตรฐานในการ ตดั สนิ เรื่องราวทฟี่ งั ๓.๒.๓ ความสาคัญผิดทางเหตผุ ลและการชวนเชอ่ื อาจเกดิ ขน้ึ โดยการอา้ ง เหตุผลที่ไม่สมควร ความสาคัญผิดในเน้ือหาและความสาคัญผิดในอารมณ์ท่ีถูกเร้าจนเกิดความคิด คลอ้ ยตามอย่างไมค่ ิดถึงเหตผุ ล การพดู บางประเภท เช่น โฆษณา การอภิปรายหาเสียง ผฟู้ งั จะตอ้ งระมัดระวังในการหา เหตุผลท่ีถูกต้องก่อนประเมินค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการโฆษณาซึ่งต้องเก่ียวข้องกับผู้บริโภคใน ชีวติ ประจาวนั เราจงึ ตอ้ งพิจารณาให้ถถ่ี ้วนก่อนตัดสินใจ ๔. วธิ กี ารวเิ คราะห์และประเมนิ ค่าจากการฟัง ก่อนการประเมินค่าผฟู้ งั ควรปฏบิ ัตดิ งั น้ี ๔.๑ ฟังด้วยความตั้งใจ ผู้ฟังต้องมีสมาธิติดตามเรื่องราวที่ฟงั ให้ตลอดพร้อมท้ังแยกแยะ ได้ว่าขอ้ ความใดเป็นใจความสาคัญ ขอ้ ความใดเป็นพลความ ๑๑ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี

๔.๒ ฟังแล้วจับประเด็นได้ ผู้ฟังต้องจับประเด็นหลักของเรื่องที่ฟังโดยพิจารณาจาก บรบิ ท ๔.๓ ผู้ฟังต้องสังเกตกิริยาท่าทางหรือน้าเสียงประกอบกับถ้อยคาหรือข้อความ เพื่อหา ความสัมพันธ์กนั แลว้ สรุปว่าอะไรเป็นขอ้ เท็จจรงิ อะไรเป็นขอ้ คดิ เห็นของผพู้ ดู ๔.๔ ตีความถ้อยคา สานวนโวหารประกอบคาพูดที่พูดขยายเร่ืองตามกลวิธี การพูด เพือ่ ใหน้ ่าสนใจ สามารถสรุปแนวคดิ หรือความหมายท่ผี พู้ ดู แฝงไว้ในสารนน้ั ได้ ๔.๕ เม่ือจับประเดน็ สาคัญของเร่ืองได้ สามารถแยกแยะได้ว่าขอ้ ความใดเปน็ ขอ้ เทจ็ จรงิ ข้อความใดเป็นข้อคิดเห็นแล้วก็จะประมาณค่าได้วา่ ส่ิงใดเป็นความรู้ เป็นข้อคิดที่เป็นประโยชน์หรอื เป็นขอ้ ทไี่ มค่ วรปฏบิ ตั ิ เพ่อื นามาปรบั ใช้ในชีวติ ประจาวนั ตอ่ ไป กจิ กรรมเรยี งลาดับกระบวนการรบั รสู้ ารดว้ ยการฟัง https://h5p.org/node/453784 ๕. การวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ คา่ สารจากการดู การดูเป็นการใช้สายตาเพ่ือให้เห็น ประกอบกับการพิจารณาเพ่ือให้เกิดความเข้าใจใน การดนู ั้น การดูต้องอาศัยการสังเกตและพิจารณาในรายละเอียด ติดตามอย่างต่อเน่ืองจึงจะทาให้ การดูเกิด ประสทิ ธผิ ล ๑. จดุ ม่งุ หมายในการดู บุคคลมีจดุ มุ่งหมายของการดูในชวี ติ ประจาวนั ดงั ต่อไปนี้ ๑.๑ เพอ่ื ความเพลิดเพลนิ ผอ่ นคลาย เชน่ การดลู ะคร ดภู าพยนตร์ ดเู กมโชว์ ดกู าร์ตนู ดกู ารละเลน่ ดูกฬี า ดรู ายการต่าง ๆ ทางสื่อโทรทศั น์ เปน็ ต้น ๑.๒ เพื่อความรู้และความเข้าใจ เช่น รายการข่าว สารคดี หรือรายการปกิณกะอ่ืน ๆ เช่น รายการกระจกหกด้าน กบนอกกะลา ท่องโลกกว้าง คุณพระช่วย ถ้าคุณแน่อย่าแพ้เด็กประถม จดหมายเหตกุ รงุ ศรฯี เปน็ ต้น ๑.๓ เพ่ือให้เกิดความคิด นาแง่คิดที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน เช่น รายการสู้แล้วรวย เรือ่ งจรงิ ผา่ นจอ วันน้ที ีร่ อคอย มดคนั ไฟ ปราชญ์เดนิ ดิน คนคน้ ฅน เป็นต้น ๑.๔ เพอ่ื ความจรรโลงใจ ทาให้เกิดความรสู้ กึ ดี เบกิ บานผ่องแผ้ว ยกระดบั จิตใจให้สงู ข้นึ เชน่ รายการพระมาแลว้ คากล่าวใหโ้ อวาท สนุ ทรพจน์ แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง การแสดง พระ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี ๑๒

ธรรมเทศนา ตลอดจนละคร หรือคาประพันธ์ ซึ่งผู้ดูสามารถรับรู้ความคิดและนาไปใช้ประโยชน์ นอกเหนอื จากความเพลดิ เพลนิ ได้ ๑.๕ เพื่อประเมินผลและวจิ ารณ์ ผดู้ ูต้องพิจารณาวา่ การสง่ สารนั้นควรเชื่อถือได้ เพียงใด เป็นโฆษณาชวนเชอ่ื หรอื ไม่ ผู้ส่งสารมอี คติหรือไม่ มีจุดประสงคอ์ ย่างไร เช่น โฆษณา ข่าว การเมอื ง รายการมิติล้ลี ับ บนั ทกึ ลกึ ลบั กจิ กรรมจุดมงุ่ หมายในการดูสารแต่ละประเภท https://h5p.org/node/453807 ๒. ลกั ษณะของการดู การดใู นชวี ิตประจาวนั ของบคุ คลมี ๒ ลกั ษณะดงั น้ี ๒.๑ ดูโดยไมผ่ า่ นสือ่ เปน็ การใช้สายตาในการดูสง่ิ ตา่ ง ๆ ทเี่ ปน็ ของจรงิ และกาลงั ปรากฏ ให้เห็นอยู่ ได้แก่ การดูการแสดง เช่น ลิเก ดนตรี มายากล กายกรรม ฯลฯ การดูกีฬา กรีฑา เช่น ฟุตบอล ตะกร้อ พุ่งแหลน วิ่ง ฯลฯ ดูสิ่งก่อสร้าง ตึกรามบ้านช่อง สถาปัตยกรรม จิตรกรรม หรือ ประติมากรรม ดูกิจกรรมท่ีตนเองกระทา ดูการสาธิตจากผอู้ ื่น การดูส่ิงแวดลอ้ มรอบตวั เช่น ดูต้นไม้ รถแลน่ ผ่าน คนทเ่ี ดนิ สวนมา สตั ว์เลย้ี ง นก ทิวทัศน์ ฯลฯ ๒.๒ การดโู ดยผ่านส่อื ได้แก่ สือ่ สง่ิ พมิ พ์ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นติ ยสาร แผ่นพับ ปา้ ยโฆษณา ฯลฯ สอ่ื โสตทศั นปู กรณ์ เช่น กลอ้ งถ่ายรปู กล้องสอ่ งทางไกล กลอ้ งจุลทรรศน์ ตลอดจน สอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทศั น์ ซดี ีรอม วดี ีทศั น์ โทรศัพทม์ ือถอื ฯลฯ เป็นต้น ๓. วิธีวิเคราะหแ์ ละประเมนิ ค่าจากการดูโดยทัว่ ไป การวเิ คราะหแ์ ละประเมินคา่ จากการดู มวี ธิ กี ารดงั นี้ ๓.๑ ติดตามเรือ่ งท่ดี อู ย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ ๓.๒ ใช้ความรู้ประสบการณ์ พิจารณาส่ิงท่ีดูอย่างละเอียด แยกแยะข้อเท็จจริง ขอ้ คิดเห็นอยา่ งมเี หตผุ ล ๓.๓ จับประเด็นสิ่งท่ีดูจนสามารถตอบตนเองได้ว่าได้รับความรู้ ข้อคิดและ ความ เพลิดเพลนิ จากส่งิ ท่ีดู ๓.๔ บอกประโยชนแ์ ละคณุ ค่าจากการดูได้ ๔. การวิเคราะหแ์ ละประเมินค่าสารจากการดูโทรทัศน์ ๑๓ ชุดการเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

โทรทัศนเ์ ปน็ ส่อื ประเภทโสตทศั น์ที่ไดร้ บั ความนยิ มจนกลายเปน็ ส่วนหนึง่ ของวิถชี ีวติ ใน สังคมยคุ ปัจจบุ นั ด้วยความสามารถในการเขา้ ถึงทกุ ครวั เรือน ความรวดเร็วใน การสื่อสาร ความดึงดูดใจจากภาพเคล่อื นไหวและเสยี ง ตลอดจนความหลากหลายของรายการ ๔.๑ ประเภทของรายการโทรทศั น์ รายการโทรทัศนจ์ าแนกตามเน้ือหาแบง่ ออกเป็น ๔ ประเภท ได้ดังนี้ ๔.๑.๑ รายการแนวข่าวสารและสารคดี ได้แก่ รายการข่าวและวิเคราะห์ข่าว รายการสารคดี รายการศกึ ษา รายการสนทนา รายการบรรยายนอกสถานที่ ๔.๑.๒ รายการแนวบันเทิงคดี ได้แก่ รายการละคร รายการตลก ภาพยนตร์ การ์ตูน เกม และแข่งขันตอบปญั หาปกณิ กะบนั เทิง ดนตรี เพลงและกีฬา ซึง่ แยกย่อยแนวรายการได้ อกี ๒ ลกั ษณะ คอื ๑) รายการแนวท่ีมีส่วนร่วมของผู้ชมและวิทยากรรับเชิญ ได้แก่ รายการ เปิดสายจากผชู้ ม รายการอภิปราย รายการเพ่ือผูบ้ รโิ ภค ๒) รายการโฆษณา ได้แก่ โฆษณาสินค้า ประกาศบริการ รายการรณรงค์ เพื่อสังคม ปัจจุบันมีรายการผสม ๒ ลักษณะ ได้แก่ รายการแนวละครผสมตลก รายการสารคดีผสม ละคร เป็นตน้ ๔.๒ การวเิ คราะห์ข่าวจากการดู ข่าว คือ การรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนโดยนักข่าวจะเป็นผู้คอย สังเกตการณ์แล้วรายงานไปให้ผู้รับสารรับรู้ แต่ทั้งนี้ด้วยข้อจากัดในด้านเนือ้ ท่ีและเวลาของสือ่ จึงทา ให้ไม่สามารถรายงานเหตุการณ์ทุกอย่างได้ ผู้สื่อข่าวหรือนักข่าว จึงต้องเลือกนาเสนอเพียงบางข่าว บางประเด็นเท่านั้นขึ้นอยู่กับวา่ ข่าวน้ัน ๆ มีคุณค่าของความเป็นข่าว (News worthiness) มากน้อย เพียงใด โดยเกณฑ์ท่ีใช้ในการพิจารณาคุณค่าของข่าวสารคือ องค์ประกอบของข่าว (News elements) ไดแ้ ก่ ๔.๒.๑ องค์ประกอบของข่าว ๑) ความรวดเร็ว (Immediacy) หรือความสด (Timeliness) ข่าวจะต้องเป็น เหตุการณ์ที่มีความรวดเร็วในการนาเสนอและเป็นเหตุการณ์ท่ีมีความทันสมัย สดใหม่ ทันต่อ เหตุการณ์ ๒) ความใกล้ชิด (Nearness) ข่าวท่ีมีความใกล้ชิดกับผู้รับสารมากเท่าใด ผู้รบั สารกจ็ ะใหค้ วามสนใจต่อขา่ วมากย่งิ ข้นึ ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๑๔

๓) ความสาคัญหรือความเด่น (Prominence) ท้ังน้ีอยู่ท่ีว่าข่าวน้ันจะเด่นใน เร่ืองใด อาจเป็นเร่ืองของบุคคลที่มีความเด่น ฐานะของผู้เป็นข่าว เวลาหรือสถานที่ที่เป็นข่าวจะมี ความสาคญั ต่อข่าวเชน่ กนั ๔) ผลกระทบ (Impact) คือ ความใกล้ชิด เก่ียวข้องกับผู้รับสารโดยตรง หรอื มผี ลกระทบตอ่ คนจานวนมาก ๕) ความมีเงอ่ื นงา (Suspense) เงือ่ นงา คอื การค้นหาขอ้ เทจ็ จริง การมปี ม ในขา่ ว เง่ือนงา นา่ สนใจ นา่ ติดตาม ๖) ความผิดธรรมดา (Oddity) อาจเปน็ เร่อื งของคนในข่าว สง่ิ ของหรอื อ่นื ๆ ทส่ี ามารถเป็นข่าวได้นนั้ ต้องมีความแปลก เป็นทีน่ ่าสนใจของผู้บรหิ าร ๗) ความขัดแย้ง (Conflict) อาจเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล ประเทศหรือระหว่างประเทศ เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับ ผู้ชุมนุม เรยี กร้องประชาธิปไตย หรือความขัดแยง้ ใน ๓ จงั หวดั ชายแดนภาคใตข้ องไทย ๘) องค์ประกอบของเพศ (Sex) เก่ียวกับความสัมพันธร์ ะหว่างชาย-หญิง เชน่ ความรัก การแต่งงาน การหยา่ รา้ ง เพศทส่ี าม รวมทั้งการประกวดความงาม เป็นตน้ ๙) อารมณ์ (Emotion) เป็นข่าวที่สะเทือนอารมณ์ผู้รับสาร เม่ือรับรู้แล้วรู้สึก คลอ้ ยตามข่าว เชน่ ขา่ วการตาย การสูญเสีย ชีวิตท่ีรนั ทด ๑๐) ความก้าวหน้า (Development) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ข่าววชิ าการ การพัฒนา ๑๑) ความตลกขบขนั ของชวี ติ (Drama) ๔.๒.๒ คณุ ภาพของขา่ ว ข่าวจะต้องตอบสนองตอ่ สงั คมอยา่ งมคี ุณภาพ โดยพิจารณาได้จากส่ิงตอ่ ไปน้ี ๑) ข่าวจะตอ้ งมีความถูกต้องสมบูรณ์ ๒) ขา่ วตอ้ งมคี วามสมดุลและเที่ยงตรง ๓) ข่าวจะต้องมีความสดและทันตอ่ เหตกุ ารณ์ ๔) ขา่ วจะต้องมีความเปน็ กลาง ๕) ข่าวจะต้องมีความกะทัดรัดชัดเจนและรายงานด้วยภาษาง่าย เลี่ยงคา ศพั ท์เทคนิค ๔.๒.๓ ขอ้ สงั เกตการนาเสนอขา่ วทางโทรทศั น์ การนาเสนอขา่ วทางโทรทัศนม์ ีข้อที่ควรสังเกตดงั ตอ่ ไปนี้ ๑๕ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

๑) ไม่สามารถนาเสนอข่าวไดร้ วดเร็วเท่าวิทยุเพราะมีข้อจากัดเร่ืองภาพ และ การตดั สญั ญาณจากรายการปกติ ๒) เสนอข่าวไดเ้ ชน่ เดยี วกบั วิทยุแต่อาจมีปญั หาในการตดิ ตงั้ อุปกรณ์ ๓) เสนอข่าวได้นอ้ ยกว่ารายการวิทยุ ๔) แม้จะให้รายละเอยี ดไดม้ ากกว่าวทิ ยุแตก่ น็ อ้ ยกวา่ หนังสือพิมพ์ ๕) เรา้ ความสนใจผู้ชมไดม้ ากที่สดุ เพราะมที ง้ั ภาพและเสียง ๖) ตอ้ งต้ังใจดแู ละฟงั ยกเวน้ ต้องการฟงั เพยี งอยา่ งเดียว ๗) สามารถดไู ด้ทุกเพศทกุ วยั ๔.๒.๔ แนวคิดสาคัญตอ่ คุณลักษณะและคุณค่าของขา่ ว แนวคิดทางการสื่อสารที่มีต่อคุณลักษณะของข่าวและคุณค่าของข่าว ประกอบดว้ ย ๑) แนวคิดตามโครงสร้างหน้าท่ี แนวคิดน้ีเช่ือว่าคุณค่าข่าวเป็นคุณลักษณะท่ี มอี ยแู่ ล้วโดยธรรมชาติในบางเร่อื งหรอื บางเหตกุ ารณ์ สื่อมวลชนนาเสนอเพ่ือชว่ ยใหส้ ังคมทราบความ เคล่ือนไหวตา่ ง ๆ ทเี่ กิดข้ึนในชมุ ชนและโลก ๒) แนวคิดเชิงวิพากษ์ แนวคิดน้ีเชื่อว่าข่าวเป็นเสมือนสินค้าท่ีถูกผลิตขึ้นมา โดยถกู กาหนดและควบคมุ โดยชนชนั้ ปกครองหรือเจา้ ของทนุ เพ่ือตอบสนอง ความตอ้ งการ ของตลาดให้มากทส่ี ดุ ขา่ วที่มีคุณคา่ จึงหมายถึงขา่ วท่ีขายไดแ้ ละค่านิยมตา่ ง ๆ ในเนอ้ื หาข่าวเปน็ ส่งิ ท่ี ถูกกาหนดและควบคุมโดยชนชนั้ ปกครองหรอื เจ้าของทุน ๓) แนวคิดทางวัฒนธรรมศึกษา แนวคิดนี้เช่ือว่า “ข่าว” ไม่ใช่รายงานตาม ความเป็นจริงท้ังหมดท่ีเกิดขึ้น แต่เป็นเพียง “ความจริงท่ีถูกประกอบสร้าง” บนพ้ืนฐานข้อเท็จจริง ของเหตุการณ์นั้น ๆ โดยผู้รายงานข่าวจะเป็นผู้สร้างความหมายให้กับเรื่องท่ีเกิดขึ้นในสังคมโดยใช้ เทคนิคหรือทักษะของมืออาชีพท่ีผู้ชมคุ้นเคย มีการเข้ารหัสทางวัฒนธรรมและผ่านกระบวนการ ครอบงาทางสังคม ข่าวจึงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าและค่านิยมบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้นเพ่ือครอบงามุมมอง อ่นื ๆ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๑๖

กิจกรรมลกั ษณะของข่าวท่ดี มี ีคุณภาพ http://bit.ly/thaiact25 ๕. การวิเคราะหจ์ ากการดูละครโทรทศั น์ ละคร หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นจากการนาภาพ ประสบการณ์และจินตนาการ ของมนษุ ย์มาผูกเปน็ เรือ่ งราวแล้วนาเสนอแก่ผู้ชมโดยมผี แู้ สดงเป็นผสู้ อ่ื ความหมาย ๕.๑ ประเภทของละคร แบง่ ออกเป็น ๒ ประเภทดงั นี้ ๕.๑.๑ ละครแนวเหมือนจริง (Representation drama) คือละครที่ให้ภาพชีวิต ความเป็นจริงสะท้อนชีวิตในสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนออกมาเป็นเร่ืองราว ดังคากล่าวที่ว่า “ละครคือชวี ติ ” ๕.๑.๒ ละครแนวไม่เหมือนจริง (Presentation drama) คือ ละครที่ให้ภาพของ การแสดงหลุดออกไปจากชีวิตประจาวัน โดยยึดคนดูเป็นเป้าหมายสาคัญเพ่ือให้คนดูเกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลนิ ตนื่ เตน้ และผดู้ จู ะเกิดความร้สู กึ วา่ สง่ิ ทป่ี รากฏไม่ใชช่ ีวติ จรงิ เชน่ การแสดงโขน ละครรา ซึ่งฉากและเคร่ืองแต่งกายจะหรูหราเกินจริง แต่ก็สวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจง มีเสน่ห์ ประทบั ใจคนดู ๕.๒ องคป์ ระกอบของละคร การแสดงทเ่ี ป็นละครจะตอ้ งมอี งคป์ ระกอบ ดังน้ี ๕.๒.๑ เรื่อง (Story) ตัวละครเจรจาไปตามเนื้อเร่ืองของบทละคร ผู้เขียนบท จะต้องมคี วามสามารถในการบรรยายบุคลกิ ลกั ษณะนิสยั ของตวั ละครได้ชัดเจน ๕.๒.๒ เนื้อหาสรุป (Subject) หรือแนวคิด (Theme) เช่น ต้องการให้เกิด ความกตญั ญู ความรักชาติ หรอื มงุ่ สอนจริยธรรม ๕.๒.๓ นิสัยตัวละคร (Characterization) บุคลิกลักษณะนิสัยของตัวละครต้อง ตรงกบั เนอ้ื หาสรุป ๕.๒.๔ บรรยากาศ (Atmosphere) หมายถึง การสร้างบรรยากาศรอบ ๆ ท่ี เก่ียวกบั ตัวละคร เพ่ือชว่ ยใหผ้ ู้ชมละครมคี วามรสู้ กึ คล้อยตามไปกับตัวละคร ๑๗ ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

๕.๓ จดุ มุ่งหมายของละคร ละครมีจดุ มงุ่ หมายเพ่อื ตอบสนองความตอ้ งการของมนษุ ย์ ๓ ระดบั ดังน้ี ๕.๓.๑ อารมณ์ ละครมีจุดมุ่งหมายให้ความบันเทิงแก่มนุษย์ได้ผ่อนคลาย ความเครยี ด บางครัง้ อาจกระต้นุ อารมณ์ใหเ้ กิดความรสู้ ึกต่ืนเต้น ทาใหม้ นุษยม์ ีความสขุ กระตอื รือร้น ในการดาเนินชีวิต ๕.๓.๒ สมอง ละครให้คุณค่าทางสติปัญญา โดยการดูละครแล้วกลับมาพิจารณา ปัญหาต่าง ๆ เก่ียวกับตนเอง เกย่ี วกบั สังคมส่วนรวม ๕.๓.๓ จิตใจ ความสัมพันธ์ของละครกับจิตใจมนุษย์มีมาแต่โบราณ จะเห็นได้ว่า ละครตะวันออกและตะวันตกล้วนถือกาเนดิ มาจากพิธบี วงสรวงเทพเจ้า เพอ่ื ขอพรพระและให้เทพเจ้า บนั ดาลสิง่ ทต่ี นปรารถนา ดังน้ัน ผู้ดูละครจึงควรดูอย่างวิเคราะห์ว่า ละครสามารถให้ได้ท้ังความบันเทิงกระตุ้น เร้าความคิด ให้การศึกษา ความสนุกสนาน เพลินเพลิน สอนบทเรียน ให้ความฝันท่ีคนดูปรารถนา เป็นเสมือนโลกท่ีงดงาม ให้ผู้คนหลีกหนีจากชีวิตที่สับสน ได้พักสมองคลายความเครียดได้ชั่วขณะ หน่งึ หากผู้ดูดอู ยา่ งเขา้ ใจจะทาใหไ้ ด้รบั ทงั้ อรรถรสและประโยชน์จากการดอู ยา่ งเต็มที่ กิจกรรมข้อคดิ ทไี่ ด้จากเพลง ชดุ ที่ ๑-๔ เพลงท่ี ๑ https://h5p.org/node/453801 เพลงที่ ๒ https://h5p.org/node/453802 เพลงที่ ๓ https://h5p.org/node/453803 เพลงที่ 4 https://h5p.org/node/453805 ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี ๑๘

เอกสารอา้ งอิง กองเทพ เคลอื บพณิชกลุ . (๒๕๔๒). การใชภ้ าษาไทย. กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร.์ การฟงั . (ม.ป.ป.). สบื คน้ เมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘, จาก http:www. edu. e-tech.ac.th/mdec/learning/thai๒๐๐๐/unit๐๐๔.html. . (ม.ป.ป.). สบื คน้ เมื่อ ๒๗ มถิ ุนายน ๒๕๕๘, จาก http://www.panyathai.or.th /wiki/index.php. คณะกรรมการวิชาภาษาไทยเพือ่ การสอื่ สาร ศนู ยว์ ชิ าบูรณาการ หมวดวชิ าศกึ ษาทั่วไป. (๒๕๔๙). ภาษาไทยเพอ่ื การสอื่ สาร. กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร.์ คณาจารยภ์ าควชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สาร คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลยั หอการค้าไทย. (๒๕๔๒). ภาษาไทยเพือ่ การสอื่ สาร. พิมพ์ครง้ั ที่ ๒. กรงุ เทพฯ : ดบั เบล้ิ นายน์พรน้ิ ตง้ิ . ฉวีวรรณ คหู าภินนั ท.์ (๒๕๔๒). เทคนิคการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร. ดนยา วงศ์ธนะชัย. (๒๕๔๒). การอา่ นเพื่อชีวิต. สถาบนั ราชภฎั พบิ ูลสงคราม. พรวิภา ไชยสมคุณ. (๒๕๔๘). การอา่ น. เชยี งใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม.่ มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช. (๒๕๔๒). เอกสารประกอบการสอนชดุ การอา่ นภาษาไทย หนว่ ยที่ ๘-๑๕ (พิมพ์คร้ังท่ี ๗) นนทบรุ ี : มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช. ๑๙ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี

กจิ กรรมที่ ๒.๑.๑ คาช้แี จง ให้นกั ศกึ ษา ดรู ายการข่าวทางโทรทศั น์มา ๑ ขา่ ว แลว้ ทากจิ กรรมต่อไปนี้ ๑. ข่าวท่ดี ูเปน็ ขา่ วประเภทใด ๒. ให้นกั ศึกษาสรุปเน้อื หาของข่าวทดี่ มู าใหเ้ ขา้ ใจ ๓. ให้นักศกึ ษาแสดงความคิดเหน็ เก่ยี วกับเหตุการณท์ ่ีเกิดขน้ึ ในขา่ ว ๔. นกั ศึกษาไดป้ ระโยชน์อะไรจากการดูขา่ ว ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ ๒๐

กิจกรรมท่ี ๒.๑.๒ จุดประสงค์เชงิ พฤตกิ รรม ๑. สามารถสรุปความจากสารทไ่ี ดจ้ ากการฟงั ได้ ๒. วเิ คราะห์สารทีไ่ ด้รบั จากการฟังและดไู ด้ ๓. ประเมินคา่ สารท่ไี ด้จากการฟงั และดไู ด้ คาชแ้ี จง ใหน้ ักศกึ ษาดูโฆษณาทางสถานโี ทรทศั น์มาคนละ ๑ โฆษณาแลว้ ตอบคาถามต่อไปน้ี ๑. รายการโฆษณาทไ่ี ดด้ เู ปน็ โฆษณาสนิ คา้ อะไร......................................................... ๒. จดุ ประสงค์ของการโฆษณาคอื อะไร……………………………………………………………… ๓. สรรพคณุ ของสนิ ค้ามีอะไรบา้ ง .................................................................................................................................. .................................................................................................................................. ๔. สิ่งท่ีทาใหเ้ กดิ ความม่นั ใจในสินคา้ คือ .................................................................................................................................. ๕. ทา่ นคิดวา่ การโฆษณาสนิ คา้ น้ันมคี วามนา่ เช่ือถือหรือไม่ เพราะเหตใุ ด ................................................................................................................................... ................................................................................................................................... ๖. ถ้านักศึกษาเป็นผบู้ ริโภค จะตดั สินใจอย่างไร จงอธบิ ายและให้เหตผุ ล ................................................................................................................................... ๗. กล่มุ ผบู้ ริโภคที่เหมาะสมกบั สินคา้ ชนดิ นี้ ควรเป็นกลมุ่ ใด ……………………………………………………………………………………………… ๒๑ ชดุ การเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ

แผนการเรียน มอดลู ท่ี ๒.๒ การวเิ คราะห์ สังเคราะห์ และประเมนิ คา่ สารจาการอา่ น มอดลู ท่ี ๒.๒ โปรดอ่านหัวข้อเรื่อง แนวคิดและจุดประสงค์การเรียนของมอดูลที่ ๒.๒ แล้วจึงศึกษา รายละเอียดตอ่ ไป หัวขอ้ เรือ่ ง การวิเคราะห์และประเมินค่าสารจากการอ่าน แนวคดิ ในสังคมปัจจุบันมีช่องทางการนาเสนอข้อมูลให้ฟังและดูจานวนมาก ผู้ที่รู้จักเลือกท่ีจะฟัง และดู เมื่อได้รับข้อมูลแล้วรู้จักวิเคราะห์ ประเมินค่าเพ่ือนาไปใช้ในทางสร้างสรรค์เป็นส่ิงท่ีจาเป็น เพราะผลท่ีตามมาจากการอ่าน จะเปน็ ผลบวกหรือลบต่อสงั คม ขนึ้ อยกู่ ับ การนาไปใช้ ดังนนั้ ผู้ฟังและดูตอ้ งรับสารอยา่ งมวี จิ ารณญาณ โดยเขา้ ใจเนื้อหาสาระ ใช้ปัญญาคิดใครค่ รวญ อาศยั ความรู้ ความคดิ เหตผุ ลและประสบการณ์แล้วนาไปใชอ้ ย่างเหมาะสม จงึ จะเกิดประโยชนส์ ูงสุดต่อตนเองและ สังคม จุดประสงคก์ ารเรียน เม่ือศึกษาหัวข้อเร่ือง “การวิเคราะห์และการประเมินค่าสารจากการอ่าน” แล้ว ผู้เรียน สามารถวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ คา่ สารจากการอา่ นได้ ชดุ การเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ ๒๒

เน้อื หา การวิเคราะหแ์ ละประเมินคา่ สารจากการอ่าน การอา่ นเปน็ ทกั ษะทจ่ี าเป็นอยา่ งยิง่ ต่อการศึกษาหาความรแู้ ละพฒั นาชีวิตซง่ึ นอกจากจะทา ให้เกิดความรู้แล้ว ยังก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้รับแนวคิดในการดาเนินชีวิต การอ่านเป็นหัวใจหลักของการศึกษาทุกระดับและเป็นเคร่ืองมือใน การแสวงหาความรตู้ ่าง ๆ (กรมวชิ าการ, ๒๕๔๖) ดงั นนั้ การอา่ นจึงเป็นความรู้พ้ืนฐานสาคัญเพื่อใช้ใน การศึกษาหาความรู้ การติดตอ่ สอ่ื สารและใช้ใน การดารงชีวิตประจาวัน กจิ กรรม ชว่ ย “สาน” สมั พนั ธ์ “สาร” ใหถ้ กู ต้อง https://h5p.org/node/453809 กจิ กรรมข้อความจริง ข้อความเท็จ https://h5p.org/node/453811 ๑. ข้นั ตอนของการอ่านโดยท่ัวไป ๑.๑ กาหนดจุดประสงค์ในการอา่ นใหแ้ นน่ อน ก่อนการอ่านหนังสือทุกครั้งผู้อ่านต้องต้ังวตั ถุประสงค์ไว้ว่าตอ้ งการอ่านเพื่ออะไร เพ่ือความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเพื่อศึกษาหาความรู้ ขณะอ่านต้องพยายามค้นหาสิ่งท่ีต้องการ จากหนังสือที่อ่านให้ได้มากที่สุด เพ่ือให้ได้รับประโยชน์จากการอ่านอย่างคุ้มค่า การอ่านหนังสือ โดยท่ัวไปมหี ลายวิธดี ังนี้ ๑.๑.๑ อ่านผ่าน ๆ หรืออ่านคร่าว ๆ การอ่านแบบนี้ไม่ต้องอ่านรายละเอียดแต่ จะอ่านเฉพาะหัวข้อสาคัญเพื่อหาแนวทางหรือหาส่ิงท่ีเราต้องการ บางตอนก็ข้ามไปบ้างเม่ือเห็นว่า ขอ้ ความนนั้ ไม่ใช่สง่ิ ทีเ่ ราตอ้ งการ ใช้กับการอา่ นหนังสือพมิ พห์ รอื นวนิยาย ๑.๑.๒ อ่านอยา่ งละเอยี ด วิธนี ีต้ ้องอา่ นละเอยี ดทุกตวั อกั ษร ตอ้ งให้ ความสนใจ มาก อ่านอย่างมีสมาธิ ไม่หยุดครึ่ง ๆ กลาง ๆ ขณะอ่านต้องพยายามติดตามเร่ือง ถ้ามีข้อความตอน ใดทเ่ี ห็นวา่ ควรจะจดจาควรขดี เส้นใตไ้ ว้ให้เหน็ เดน่ ชดั การอา่ นแบบน้ใี ช้อา่ นตาราเรียน บทความ ๑.๑.๓ อ่านอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ หมายถึง การอ่านอย่างละเอียด ทุก ตัวอกั ษร และเม่อื อ่านจบแลว้ ตอ้ งแยกแยะได้ว่าอะไรคือข้อเทจ็ จรงิ อะไรคอื ความเหน็ อะไรถูก อะไร ๒๓ ชุดการเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

ผิด ถ้าผิดก็ต้องทราบว่าผดิ อย่างไร ขณะอ่านควรใชค้ วามคิดวิจารณ์ในเร่ืองทอี่ ่านด้วยวา่ วธิ ีเขียนเปน็ อย่างไร ชอบหรือไมช่ อบ ตอนไหนเพราะเหตใุ ด วิธีน้ีใช้กับการอ่านกฎเกณฑ์ ทฤษฎีต่าง ๆ ตลอดจน คาโฆษณาชวนเช่อื ๑.๑.๔ พยายามทาความเข้าใจกบั เรือ่ งท่ีอ่าน ๑.๑.๕ มสี มาธใิ นการอ่าน ๑.๑.๖ อ่านจบ ทบทวนเรอื่ งทอี่ ่านอกี ครง้ั ๒. ประโยชน์เฉพาะหน้าจากการอ่าน ๒.๑ ชว่ ยใหเ้ ป็นคนเรยี นเกง่ เพราะเม่อื อ่านเก่งแลว้ จะเรยี นวชิ าต่าง ๆ ไดด้ ี ๒.๒ ช่วยให้เป็นผู้ประสบความสาเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะได้อ่าน เอกสารทใ่ี หค้ วามรใู้ นการปรบั ปรงุ งานของตนอยเู่ สมอ ๒.๓ ช่วยใหไ้ ดร้ บั ความบันเทิงในชวี ติ มากข้นึ เพราะการไดอ้ ่านวรรณกรรมดี ๆ ย่อมทาให้เกิดความเพลดิ เพลนิ ในยามว่าง ๒.๔ ช่วยทาใหผ้ ูท้ ส่ี งั คมยอมรบั เพราะผู้ท่อี ่านมากจะรู้จักปรับตวั ให้เข้ากับสงั คมได้ดี ๒.๕ ช่วยทาให้เปน็ คนทน่ี ่าสนใจเพราะผู้ทอ่ี ่านหนงั สอื มากจะมคี วามคดิ ลึกซึง้ และกว้างขวางสามารถแสดงความรู้ ความคิดเห็นดี ๆ มีประโยชนไ์ ด้ทกุ แห่งทกุ เวลา ๓. การอา่ นวเิ คราะห์ การอ่านวิเคราะห์ หมายถึง การอ่านเพื่อแยกแยะข้อความท่ีอ่านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผลของเร่ือง จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร สมั พนั ธ์กนั อย่างไร เหมือนหรอื แตกต่างกันอย่างไร การอ่านวิเคราะห์ช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเร่ืองที่อ่าน ฝึกให้อ่านอย่าง รอบคอบ ช่วยให้เข้าใจเร่ืองนั้นอย่างแท้จริง ช่วยพัฒนาสติปัญญาเพราะต้องใช้เหตุผลในการอธบิ าย แง่มุมต่าง ๆ ซึ่งทักษะในการอ่านนี้สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ และจะนาไปใช้ในการอ่าน ประเมินค่าตอ่ ไป ๓.๑ วธิ ีการอา่ นด้วยความวิเคราะห์ ๓.๑.๑ ผู้อ่านควรอ่านเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นประจาให้ต่อเน่ืองกัน และติดตามเรื่อง นัน้ อย่างสมา่ เสมอ ๓.๑.๒ ผูอ้ ่านควรอา่ นเรือ่ งทีต่ นสนใจอย่างสมา่ เสมอ ชดุ การเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี ๒๔

๓.๑.๓ ควรอ่านบทความท่ีมีการวิเคราะห์วิจารณ์ เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านได้รู้ ความคดิ ของคนอืน่ ๆ และยังเปน็ การเพม่ิ พูนความรใู้ หม่ ๆ อกี ดว้ ย ๓.๑.๔ ถ้าผู้อ่านมีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อบทวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้เขียนคน อ่นื จะทาให้ผู้เขยี นน้นั ได้รู้ว่าท่ีเขาคดิ น้นั คดิ ถูกหรือผิดอย่างไร ๓.๑.๕ ถ้าผู้อ่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อ่านคนอ่ืน จะทาให้รู้และ เข้าใจความคิดของผู้อ่านคนอ่ืน ซ่ึงจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ หรือเกิดความคิดในส่ิงท่ีเรา คดิ ไมถ่ งึ มาก่อน ๓.๒ ขอ้ เสนอแนะในการอ่านดว้ ยความวเิ คราะห์ ๓.๒.๑ อ่านหนังสือเร่ืองน้ัน ๆ อย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ และพินิจพิจารณาหา เหตุผลประกอบ ๓.๒.๒ อ่านหนังสืออื่น ๆ ประกอบ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจท่ีถูกต้องก่อนท่ีจะ ประเมนิ คา่ ๓.๒.๓ ใช้ความรู้ ประสบการณ์ และวิจารณญาณในการแยกแยะส่วนที่ดี ส่วนที่ บกพรอ่ งอย่างมีเหตุมผี ล ๓.๒.๔ เม่ืออ่านหนังสือเร่ืองน้ัน ๆ จบ สามารถตอบตนเองได้ว่า ได้รับอะไรบ้าง จากการอ่านเร่ืองน้ัน ๆ เช่น ได้รับความรู้ ความบันเทิง ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ และเร่ืองนั้นมี คุณคา่ อยา่ งไร เป็นต้น ๓.๓ ประโยชน์ของการอ่านดว้ ยความวิเคราะห์ ๓.๓.๑ ได้รู้ว่าขอ้ มลู ส่วนใดเป็นความจรงิ สว่ นใดเปน็ ความเห็น ๓.๓.๒ ทาใหผ้ ู้อา่ น มีความใฝร่ ู้ อยากอ่านหนังสอื อยเู่ สมอ ๓.๓.๓ เป็นการกระตุ้นใหผ้ ู้อา่ นเกิดความคดิ และทัศนะท่ีกวา้ งไกลออกไปเม่ือได้ตั้ง คาถาม ถามตนเองอย่เู สมอ ๆ ๓.๓.๔ ผู้อา่ นจะไมย่ ึดมนั่ ในตาราเพียงเลม่ หนึ่งเล่มใดอีกตอ่ ไป ๓.๓.๕ ผู้อ่านจะไม่ตกเป็นเหย่ือคาโฆษณาชวนเช่ือ แต่จะรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง อยา่ งถกู ตอ้ ง ๓.๓.๖ รู้จักการประเมินค่าเรื่องท่ีอ่าน ด้วยความรอบคอบและอย่างมีเหตุ มีผล ซึง่ สามารถนาไปใชป้ ระโยชน์ในชวี ติ ประจาวัน ในสังคม หรอื แม้แต่ในการศกึ ษาวิชาอ่นื ๆ ได้ ๒๕ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ

๔. การอ่านประเมนิ ค่า การอ่านประเมนิ ค่า เปน็ การอา่ นเพ่ืออธิบายลกั ษณะดี ลกั ษณะบกพร่องของงานเขยี นใน แง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ ด้านเนื้อเรื่อง ด้านความคิดเห็น ด้านทานองแต่ง เป็นต้น อธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจ แล้วต้องวินิจฉัยว่างานนั้นเขียนดีหรือไม่ดี ผู้ประเมินค่าจะต้องหยิบยกส่วนประกอบที่สาคัญมา วพิ ากษว์ ิจารณ์ทกุ แง่ทุกมมุ เพ่อื ให้ผ้อู า่ นคล้อยตามและเหน็ ดีเห็นงามตามมุมมองของผูป้ ระเมนิ ค่า ซงึ่ ผลจากการเผยแพร่การประเมินค่า จะช่วยให้เกิดงานเขียนที่สร้างสรรค์ ทาให้ผู้เขียนหรือ ผู้แต่ง สร้างสรรค์งานคุณภาพเพอ่ื ผอู้ า่ นและช่วยให้งานเขียนแพร่หลายยิ่งขน้ึ ๔.๑ การอา่ นประเมินค่าโดยทว่ั ไป ๔.๑.๑ ต้องอาศัยหลักเกณฑก์ ารประเมนิ ค่าตามชนดิ ของสารทอ่ี า่ น ๔.๑.๒ ต้องมีความสามารถในการอ่าน ใช้วิจารณญาณใคร่ครวญทุกแง่ทุกมุมของ งานเขียน ๔.๑.๓ ตอ้ งค้นหาข้อดี ข้อบกพร่องของงานเขยี นให้ได้ กิจกรรมจัดกลมุ่ แนวทางในการวเิ คราะหแ์ ละประเมนิ คา่ สารแตล่ ะประเภท http://bit.ly/thaiact28 ๔.๒ รูปแบบของงานเขยี น รปู แบบของงานเขียนโดยทัว่ ไปแบง่ เป็น ๒ รูปแบบดงั นี้ ๔.๒.๑ สารคดี เสนอความรู้ท่ีน่าสนใจ ถูกต้อง และน่าเช่ือถือ เสนอความเห็นที่มี เหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จริงใจ และเป็นกลาง การนาเสนอเร่ืองสนุกสนาน ชวนติดตาม ตอ่ เนื่อง ใชภ้ าษาชัดเจน เข้าใจงา่ ย เหมาะกบั ผู้อา่ น ๔.๒.๒ บันเทิงคดี การอ่านบันเทงิ คดตี อ้ งพิจารณาสว่ นประกอบดงั น้ี ๑) พิจารณาองคป์ ระกอบของเรื่อง ชุดการเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวิชาชพี ๒๖

(๑) โครงเรื่องต้องแสดงการกระทา และเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยง ต่อเนื่องกนั มลี ักษณะสมจริง (๒) เนอ้ื เร่ืองกอ่ ให้เกิดความเพลิดเพลินและสตปิ ญั ญาแกผ่ ู้อา่ น (๓) แนวคิดของเร่อื งชดั เจนและมีคุณค่าแก่ผอู้ ่าน (๔) ตัวละครและฉากมีลักษณะสมจริง และช่วยเสนอแนวคิดของ เร่ือง ๒) การเสนอเร่อื งชวนตดิ ตาม เร้าความสนใจของผ้อู ่าน ๓) การใช้ภาษาชัดเจน และเข้าใจงา่ ย ๔.๓ คณุ สมบัติของผปู้ ระเมนิ คา่ ผปู้ ระเมินค่าจากการอา่ นควรมคี ุณสมบัตดิ ังน้ี ๔.๓.๑ มีความรเู้ ก่ียวกบั ผลงานทีป่ ระเมินค่า ๔.๓.๒ รู้หลกั การประเมนิ ค่า หรือหลักการวิพากษ์วิจารณ์ ๔.๓.๓ มีความรใู้ นสาขาวชิ าการต่าง ๆ ๔.๓.๔ เปน็ นกั อา่ นและสนใจงานทุกประเภท ๔.๓.๕ มีใจกวา้ ง ยอมรับฟงั ความคดิ เหน็ ของผอู้ ่ืน ๔.๔ หลักการอ่านประเมินค่า ๔.๔.๑ พิจารณาความถูกต้องของภาษาจากเรื่องท่ีอ่าน ภาษาท่ีไม่ถูกต้องจะทาให้ เกิดความคลาดเคลอื่ นไปจากความหมายทแี่ ท้จริง ความถูกต้องของภาษามีหลายลักษณะ เช่น การ ใชค้ าผิดความหมาย การเรยี งคาในประโยคผดิ การไมร่ ู้จกั เว้นวรรคตอน เป็นต้น นับเปน็ องค์ประกอบ สาคญั ตอ่ การสอื่ ความหมาย ๔.๔.๒ พจิ ารณาความต่อเนอื่ งของประโยค ว่าเปน็ ขอ้ ความท่ีไปกนั ได้ ไมข่ ดั แยง้ กนั หรือข้อความท่ีให้ความก้าวหน้าแก่กัน หากข้อความใดมีเนอ้ื หาสับสนวุน่ วาย ไม่เข้ากับหลักตามขอ้ น้ี ให้ถือวา่ เปน็ เรือ่ งท่ไี มค่ วรอา่ น ๔.๔.๓ พิจารณาความต่อเน่ืองของความหมาย ความหมายท่ีต่อเนื่องต้องมีแกน หลักในการเช่ือมโยงความหมาย เช่น การเขียนชีวประวัติ อาจใช้ช่วงเวลาของชีวิตเป็นหลักเกณฑ์ เป็นต้น ๔.๔.๔ เมื่ออ่านแล้วต้องแยกข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น และความรู้สึกจาก เรอ่ื งท่อี ่าน ๒๗ ชดุ การเรยี น วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

ตัวอย่าง “ประเทศหน่ึง ๆ ต่างมีระบอบการปกครองแตกต่างกันออกไป ประเทศรัสเซียได้ชอ่ื วา่ เปน็ ประเทศท่ีปกครองด้วยระบบสังคมนิยม ไม่มีศาสนา ไม่มีพระมหากษัตริย์ ถ้าข้าพเจ้าต้องมีชีวิตอยูท่ ่ี น่ันคงจะอดึ อัดมิใชน่ อ้ ย เพราะข้าพเจ้าถือวา่ ทงั้ สองสถาบนั น้ีคือ ศนู ย์รวมจิตใจของทกุ คน” (การ พดู ตามนยั เนอื้ หา : อรวรรณ ปิลันธนโ์ อวาท) ข้อเท็จจริง – ประเทศหน่ึง ๆ ต่างมีระบอบการปกครองของตนเองไม่เหมือนประเทศอ่ืน ประเทศรสั เซยี มีการปกครองตามระบอบสงั คมนยิ ม ไมม่ ีศาสนา ไม่มีพระมหากษตั ริย์ ความคิดเห็น – เพราะข้าพเจา้ ถือว่าท้งั สองสถาบนั นี้ คอื ศูนยร์ วมจติ ใจของทกุ คน ความรู้สึก – ถา้ ข้าพเจ้าต้องมีชีวิตอย่ทู นี่ นั่ คงจะอึดอดั ใจมใิ ช่นอ้ ย ๔.๔.๕ พิจารณาดูความสัมพันธ์ของหลักการและตัวอย่างว่ามีความจริงอย่างไร สมเหตุผลหรอื ไม่ กอ่ นทจ่ี ะเช่อื ในเร่อื งทอี่ า่ นนน้ั ๔.๔.๖ ประเมินขอ้ เท็จจรงิ ความคดิ เห็น และความรสู้ กึ วิเคราะห์ ความ เป็นไปในความคิดของผ้เู ขยี น กบั ความคิดเหน็ สว่ นตวั ของเรา ผลลพั ธ์แหง่ การประเมินน้ันจะกอ่ เปน็ ความคิดสรา้ งสรรค์ใหก้ ับเราหรือไม่ ตัวอย่างการประเมินค่าหนังสือรวมเร่อื งส้ัน “ความนา่ จะเป็น” ของปราบดา หยุ่น ชดุ การเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๒๘

“ความนา่ จะเปน็ ” แสดงความสามารถของผูเ้ ขยี นในการนาเรื่องท่ีไม่น่าจะเปน็ เรื่อง มาเขยี นให้เป็นเรื่องน่าขบคิดหรือต้งั คาถามโดยไม่ใหค้ าตอบ เร่ืองส้นั ในรวมเรอื่ งส้ันชดุ น้ีมลี ีลาและกลวธิ ีการเขียนเฉพาะตวั และมี ความ หลากหลายแปลกใหมใ่ นดา้ นกลวิธีและขนบวรรณศลิ ป์ นอกจากน้ี ยังมคี วามโดดเด่นด้านการ เลน่ กับภาษาอย่างมีรากฐานทางวัฒนธรรม ดว้ ยคณุ สมบัติดังกลา่ วขา้ งต้น หนงั สือรวมเรอ่ื งสน้ั “ความน่าจะเปน็ ” ของ ปราบ ดา หยุ่น จึงมีความดีเด่นสมควรแก่การยกย่องเป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่ง อาเซียน (ซไี รต)์ ของประเทศไทยประจาปี ๒๕๕๕ ท่มี า : คาประกาศของคณะกรรมการตดั สินรางวัลซไี รต์ กจิ กรรมประเภทของบทความ http://bit.ly/thaiact29 เสริมความรสู้ าหรบั นกั อ่าน กิจกรรมตามหากันจนเจอ ชดุ ที่ ๑ https://h5p.org/node/453812 ชุดท่ี ๒ https://h5p.org/node/453719 ชดุ ที่ ๓ https://h5p.org/node/453721 ชุดที่ ๔ https://h5p.org/node/453718 ชดุ ที่ ๕ https://h5p.org/node/453717 ชดุ ท่ี ๖ https://h5p.org/node/453715 ๒๙ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชพี

สรปุ การรู้เท่าทันการสื่อสาร เป็นทักษะชีวิต เป็นวิธีคิดที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน การ วิเคราะห์และประเมินค่าสารเป็นพื้นฐานในการฝึกการรู้เท่าทันการสื่อสาร ซ่ึงเป็นการฝึกให้ผสู้ ่อื สาร รู้เท่าทันการสื่อสารทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การรู้เท่าทันจุดมุ่งหมายแท้ ๆ ของผู้ ส่งสาร รู้เท่าทัน ความหมายแท้ ๆ ของสาร รูเ้ ท่าทันส่อื รูเ้ ท่าทนั ผลโดยตรงและผลกระทบสบื เนอ่ื งของการสอื่ สารครง้ั นั้น การวเิ คราะหส์ ารทาใหไ้ ด้ฉุกใจคดิ และการประเมนิ คา่ คอื การเลอื กรบั สารอยา่ งเหมาะสม โดย ใชว้ ิจารณญาณในการคดิ ไตร่ตรอง ซงึ่ เปน็ หนทางหนึง่ ที่จะช่วยฝึกให้ผู้เรยี นเปน็ เด็กฉลาด รู้จักคิด การที่ผู้สื่อสารสามารถวางท่าทีต่อการสื่อสารคร้ังน้ัน ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีวิธีคิด และวิธีทา (มีการคิดและการตัดสินใจ การเลือกท่าทีท่ีเหมาะสม และการลงมือทา) ท่ีเหมาะแก่ สถานการณ์หรือภาวการณ์นั้น โดยมีเป็นหมายสูงสุดเพ่ือให้เป็นผู้มีวุฒิภาวะเข้าใจโลก และรู้เท่าทัน ชีวิต ดังนั้น การวิเคราะห์และประเมินค่าสารเป็นทักษะที่จาเป็นอย่างย่ิงต่อการส่ือสารและพัฒนา ชีวิต เพราะจะทาให้มีวิจารณญาณในการคิดอันจะเป็นประโยชน์ใน การดาเนินชีวิตในยุคข้อมูล ข่าวสาร ชุดการเรยี น วิชาทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๓๐

กจิ กรรมท่ี ๒.๒ จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ เพอ่ื ให้นักศกึ ษาสามารถ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมนิ ค่าสารท่ีอา่ นไดอ้ ยา่ ง เหมาะสม คาชแ้ี จง ให้นกั ศกึ ษาศกึ ษา และปฏิบตั ิกจิ กรรมดังน้ี ใหน้ ักศกึ ษาวเิ คราะห์ สังเคราะห์และประเมนิ คา่ สารจากการอ่านบทความ แสดงความ คิดเหน็ ในวารสารมตชิ นรายสปั ดาห์ มา ๑ บทความ โดยตอบคาถาม ดงั นี้ ๑. ใหน้ ักศกึ ษาบอกรูปแบบของสาร และสรปุ สาระสาคัญของสารทไ่ี ดร้ บั ๒. ใหน้ ักศกึ ษาอธิบายความรสู้ กึ ทไ่ี ดจ้ ากการอ่านสารทไ่ี ด้รับ ๓. ให้นักศึกษาบอกคุณคา่ ท่ไี ด้จากการอา่ นสาร ๔. ให้นักศึกษาบอกข้อบกพร่องของสารท่ไี ดอ้ า่ น ๕. นักศกึ ษามแี นวคิด หรอื มีแนวปฏบิ ัติอย่างไรจากส่ิงทไ่ี ดจ้ ากการอา่ นสาร ๖. ให้นักศึกษาสรปุ ประโยชนท์ ไี่ ดจ้ ากการอ่านสารท่ีไดร้ บั ๓๑ ชุดการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเชิงวชิ าชีพ

เอกสารอา้ งอิง คณาจารย์ภาควชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสอ่ื สาร คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั หอการคา้ ไทย. (๒๕๔๒). ภาษาไทยเพือ่ การสอื่ สาร (พิมพ์ครั้งท่ี ๒) กรงุ เทพฯ : ดับเบ้ิล นายนพ์ ร้ินติ้ง. ฉวีวรรณ คูหาภนิ ันท์. (๒๕๔๒). เทคนคิ การอ่าน. กรุงเทพฯ : ศลิ ปาบรรณาคาร. ดนยา วงศ์ธนะชัย. (๒๕๔๒). การอ่านเพอื่ ชีวติ . สถาบันราชภฎั พบิ ลู สงคราม. พรวภิ า ไชยสมคุณ. (๒๕๔๘). การอา่ น. เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่. มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธริ าช. (๒๕๔๒). เอกสารประกอบการสอนชดุ การอ่านภาษาไทย หน่วยที่ ๘-๑๕. พิมพ์คร้งั ที่ ๗. นนทบรุ ี : มหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช. ชุดการเรียน วิชาทกั ษะภาษาไทยเชงิ วิชาชีพ ๓๒

แบบประเมินตนเองหลงั เรียน หน่วยท่ี ๒ http://bit.ly/thai-test2 ๓๓ ชดุ การเรยี น วชิ าทักษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ

คณะกรรมการ ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี • คณะท่ปี รกึ ษา เลขาธกิ ารคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายประชาคม จนั ทรชติ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายธวชั ชัย อุ่ยพานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา นายพีระพล พูลทวี ผู้ชานาญการดา้ นการจดั การอาชีวศึกษาระบบทวภิ าคี นายสรุ ตั น์ จั่นแย้ม ในสถานศกึ ษาของรัฐและเอกชน ผูช้ านาญการด้านการจดั การเรยี นการสอนอาชวี ศึกษา นางสาววัลลภา อยูท่ อง และกระบวนการเรียนรู้ ผู้อานวยการศูนยอ์ าชีวศึกษาทวภิ าคี นางรงุ่ นภา จิตตป์ ระสงค์ ผอู้ านวยศูนยส์ ่งเสรมิ และพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนอื นายวิทยา ใจวถิ ี • คณะกรรมการวิชาการ ผู้ชานาญการด้านการจดั การเรยี นการสอนอาชวี ศึกษา นางสาววลั ลภา อยู่ทอง และกระบวนการเรยี นรู้ ผ้อู านวยศูนยส์ ่งเสริมและพัฒนาอาชวี ศกึ ษาภาคเหนือ นายวทิ ยา ใจวถิ ี หนว่ ยศึกษานิเทศก์ นายประพนธ์ จุนทวิเทศ ศนู ย์ส่งเสรมิ และพัฒนาอาชวี ศึกษาภาคเหนอื นางสาวพมิ พร ศะริจนั ทร์ ศูนยส์ ง่ เสรมิ และพฒั นาอาชวี ศกึ ษาภาคเหนือ นางสุดสาย ศรศี กั ดา • คณะกรรมการวชิ าการด้านการจัดทาเนอ้ื หาชุดการเรยี นภาษาไทย นางนวภรณ์ อุ่นเรือน ข้าราชการบานาญ นางนยั รัตน์ กลา้ วเิ ศษ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย นางสาวศรีเพญ็ มะโน วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยพี ะเยา นางยอดขวญั ศรมี ่วง วทิ ยาลัยอาชีวศกึ ษาพษิ ณโุ ลก นางสาวดาวสกาย พูลเกษ วทิ ยาลัยเทคนคิ กาแพงเพชร นางกีระตกิ าญน์ มาอยูว่ งั วทิ ยาลยั เทคนคิ เพชรบรู ณ์ นายตะวนั ชัยรตั วิทยาลยั สารพดั ช่างเชียงใหม่ นายอานนท์ ลสี ีคา วทิ ยาลยั อาชีวศกึ ษาอดุ รธานี ชดุ การเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชีพ ๓๔

คณะกรรมการ (ตอ่ ) ชุดการเรยี น วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชงิ วชิ าชพี • คณะกรรมการวิชาการดา้ นการจดั ทาส่ือชุดการเรียน นางสาวพิมพร ศะรจิ นั ทร์ ศูนย์สง่ เสริมและพฒั นาอาชีวศกึ ษาภาคเหนือ นายธนสาร รุจิรา หนว่ ยศกึ ษานเิ ทศก์ นายนพิ นธ์ รอ่ งพชื วิทยาลัยอาชีวศกึ ษาแพร่ นายภมู ิพัฒน์ วนพพิ ัฒน์พงศ์ วทิ ยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก นางกนกขวัญ ลืมนัด วทิ ยาลยั สารพัดช่างสมุทรสงคราม • คณะบรรณาธิการและรูปเล่ม หนว่ ยศึกษานเิ ทศก์ นายประพนธ์ จนุ ทวเิ ทศ ศนู ยส์ ง่ เสริมและพฒั นาอาชีวศึกษาภาคเหนอื นางสาวพิมพร ศะริจนั ทร์ • ออกแบบปก หนว่ ยศกึ ษานิเทศก์ นายธนสาร รุจิรา ๓๕ ชุดการเรียน วชิ าทกั ษะภาษาไทยเชิงวชิ าชพี

   ศนูยสงเสรมและพฒันาอาชวีศกึษาภาคเหนือ ถ.หัสดิเสวต.ชางเผอืกอ.เมอืงจ.เชยีงใหม50300 โทร.0-5322-2278โทรสาร0-5322-4677e-mail:[email protected]


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook