Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 7 บูรพกษัตริย์

7 บูรพกษัตริย์

Published by สิรดา หันมาก, 2021-09-13 03:02:46

Description: 7 บูรพกษัตริย์

Search

Read the Text Version

พอ่ ขนุ รามค�ำ แหงมหาราช อจั ฉรยิ กษัตรยิ แ์ หง่ อาณาจักรสโุ ขทยั

18 ๗ บรู พกษัตริย์ ราชภักดิ์

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 19 ประวตั ิศาสตร์กอ่ นสมยั สโุ ขทยั และสมยั สุโขทยั ตอนตน้ นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า หลังพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๒ อาณาจักรขอมเริ่มเสื่อมอำ�นาจ ทำ�ให้เผ่า ไททีก่ ำ�ลงั เขม้ แขง็ สามารถตั้งตนเป็นอิสระ โดย “พอ่ ขนุ ศรนี าวนำ�ถม” ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และครอบครองเมืองสุโขทัยกับ ศรีสัชนาลัย ก่อนขยายไปยังเมืองฉอด ลำ�พูน เชียงแสน พะเยา ลุมบาจาย สะค้า และราด

20 ๗ บูรพกษัตริย์ ราชภักดิ์ แต่เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำ�ถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำ�พงได้ เคลื่อนทพั บกุ ยดึ กรงุ สุโขทัย “พอ่ ขนุ ผาเมือง” พระโอรสของพอ่ ขนุ ศรี นาวนำ�ถม ร่วมกับพระสหายนาม “พ่อขุนบางกลางหาว” เจ้าเมือง บางยาง ทำ�ศึกจนยึดอาณาจักรคืนได้สำ�เร็จ แล้วพ่อขุนผาเมืองก็ สนบั สนนุ ใหพ้ อ่ ขนุ บางกลางหาวขนึ้ ครองราชยเ์ ปน็ กษตั รยิ ส์ โุ ขทยั และ ถวายพระนาม “กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์” ก่อนเปลี่ยนมา เป็น “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงที่ ปกครองอาณาจักรสุโขทัยนับจากนั้นมา เมอื่ พอ่ ขนุ ศรอี นิ ทราทติ ยส์ วรรคต “พอ่ ขนุ บานเมอื ง” พระโอรส ไดข้ น้ึ ครองราชย์ กระทง่ั เมอ่ื พระองคส์ วรรคตใน พ.ศ. ๑๘๒๒ พระอนชุ า นามว่า “พระรามราช” หรือ “พ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช” ก็ขึ้นครอง ราชสมบัติและสร้างยุคทองให้แก่อาณาจักรสุโขทัย (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๗๖-๘๘)

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 21 แผนผงั เมืองสโุ ขทัย ที่มา : กรมศิลปากร. ประวัติศาสตร์ชาติไทย. หน้า ๘๙.

22 ๗ บรู พกษัตริย์ ราชภักดิ์ รามคำ�แหง รามผเู้ ขม้ แขง็ พ่อขุนรามคำ�แหงมหาราชได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ที่ เปยี่ มดว้ ยพระอจั ฉรยิ ภาพ ผสู้ รา้ งความเปน็ ปกึ แผน่ มนั่ คงดว้ ยการทรง ประดิษฐ์ลายสือไท (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๘๐) ซึ่งเป็นการวาง รากฐานความเป็นอารยะ ทำ�ให้ไทยเป็นชนชาติที่มีภาษาเป็นของ ตนเอง สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองที่สืบทอดมาเป็นเวลากว่า เจ็ดร้อยปี

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 23 นอกจากนั้นพระองค์ยังได้รับการเชิดชูว่าเป็นมหาราชชาติ นกั รบ ดว้ ยการท�ำ ศกึ สงครามขยายอาณาเขตไปอยา่ งกวา้ งไกลไพศาล สุโขทัยจึงเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร ประกอบกับความเป็น กษัตรยิ ์นักปกครองทีเ่ ปีย่ มด้วยพระเมตตา ท�ำ ใหพ้ สกนิกรใต้พระบรม โพธสิ มภารอยอู่ ยา่ งรม่ เยน็ เปน็ สขุ สโุ ขทยั ในรชั สมยั ของพระองคจ์ งึ ได้ รับการกล่าวขานว่าเป็นรัฐในอุดมคติ อันเนื่องมาจากความเจริญ รุ่งเรืองทุกๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม พระองค์เป็นพระโอรสลำ�ดับที่ ๓ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กับนางเสือง โดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระโอรส ๓ พระองค์ และพระธิดา ๒ พระองค์ พระโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระ โอรสองคร์ องมพี ระนามวา่ “พอ่ ขนุ บานเมอื ง” เปน็ กษตั รยิ ร์ ชั กาลที่ ๒ แห่งอาณาจักรสุโขทัย (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๗๙) ส่วนพระองค์ซึ่ง เปน็ พระโอรสองคเ์ ลก็ เมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษาไดส้ รา้ งวีรกรรมอนั หาญกล้าจนเป็นที่มาของพระนาม “รามคำ�แหง” วีรกรรมในครั้งนั้นได้รับการบันทึกในศิลาจารึก ถอดความ ได้ว่า

24 ๗ บรู พกษัตริย์ ราชภักดิ์ “เมื่อคร้ันพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยกทัพไปตีเมืองฉอดระหว่าง รบพุ่งกับขนุ สามชน ผู้เปน็ เจา้ เมือง พระองค์ไดเ้ พลย่ี งพล�้ำ เสยี ที แต่ทันใดน้ัน พระรามก็ไสช้างเข้าหาขุนสามชนเพื่อทำ�ยุทธหัตถี และสามารถพลิกสถานการณต์ ีทพั ศัตรจู นแตกพา่ ย” หลังจากศึกครั้งนั้นพระบิดาก็ได้พระราชทานนามจากเดิมว่า พระรามเปน็ “พระรามค�ำ แหง” ทมี่ คี วามหมายวา่ “พระรามผเู้ ขม้ แขง็ ” (ประเสริฐ ณ นคร, ๒๕๕๔ : ๒๔) โดยพระองค์เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการทำ�ศึกสงครามปกป้อง อาณาจกั รและขยายอาณาเขต กระทงั่ พระบดิ าและพระเชษฐาสวรรคต พระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วง อาณาจักรสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๒ (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๗๖)

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 25 มหาราชชาตินกั รบ ในชว่ งแรกของการกอ่ รา่ งสรา้ งอาณาจกั ร สโุ ขทยั มศี กึ สงคราม ไม่ว่างเว้น แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และ พระโอรสทั้งสอง คือ พ่อขุนบานเมืองกับพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช ทำ�ให้อาณาจักรแข็งแกร่งและมั่นคงขึ้นตามลำ�ดับ โดยเฉพาะเมื่อ พ่อขุนรามคำ�แหงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์ พระรว่ ง สโุ ขทยั กข็ ยายอาณาเขตไดอ้ ยา่ งกวา้ งใหญไ่ พศาล ทางตะวนั ตกไปถึงเมืองทวาย เมาะตะมะ หงสาวดี ทางเหนือไปถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลัว (ปัว) เมืองชวา (หลวงพระบาง) ทางตะวันออกมี เมืองสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สะค้า เวียงจันทน์ เวียงคำ� (อยู่ ในลาว) ทางใตม้ อี าณาเขตถงึ เมอื งคณฑี พระบาง (นครสวรรค)์ แพรก (ชยั นาท) สพุ รรณภมู ิ (สพุ รรณบรุ )ี ราชบรุ ี เพชรบรุ ี และนครศรธี รรมราช (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๘๐)

26 ๗ บรู พกษัตริย์ ราชภักดิ์ นอกจากการขยายอาณาเขตด้วยการทำ�ศึกสงครามแล้ว พระองค์ได้ดำ�เนินนโยบายเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรที่เข้มแข็ง และมีความสำ�คัญทางยุทธศาสตร์ อาทิ อาณาจักรล้านนาของ “พระยาเม็งราย” และเมืองพะเยาของ “พระยางำ�เมือง” ซึ่งทั้งสาม เป็นพระสหายสนิทศิษย์ร่วมสำ�นักเดียวกัน (สำ�นักพระสุกทันตฤๅษี เมืองละโว้) โดยพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราชได้ช่วยพระยาเม็งรายสร้าง เมืองเชียงใหม่ และยินยอมให้ขยายอาณาเขตล้านนาทางแม่นํ้ากก แม่นํ้าปิง และแม่นํ้าวังได้อย่างสะดวก เพื่อเป็นรัฐกันชนระหว่างจีน กับสุโขทัย ซึ่งเมืองจีนในช่วงเวลานั้นปกครองโดยราชวงศ์หยวนของ มองโกล มี “กุบไลข่าน” พระนัดดาของเจงกิสข่านเป็นปฐมกษัตริย์ พ่อขุนรามคำ�แหงจึงได้ส่งราชทตู ไปเมืองจีน ๓ ครั้งเพื่อเจริญสัมพันธ- ไมตรี (ประเสริฐ ณ นคร, ๒๕๕๔ : ๒๕) ซึ่งการผลิตเครื่องสังคโลก หัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างความมั่งคั่งให้แก่สุโขทัย สนั นษิ ฐานวา่ ไดร้ บั อทิ ธพิ ลจากการตดิ ตอ่ คา้ ขายกบั จนี (กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๘ : ๘๒) เมอื่ อาณาจกั รมคี วามเปน็ ปกึ แผน่ มนั่ คง เปน็ ทเี่ กรงขามจนไมม่ ี เมอื งใดกลา้ เขา้ มากอ่ กวนหรอื รกุ ราน พระองคก์ ไ็ ดข้ ยบั ขยายไปยงั การ พัฒนาในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาและวัฒนธรรมที่มีส่วนสำ�คัญใน การถ่ายทอดองค์ความรู้จากบรรพชนและรวมชนชาติไทยให้เป็นหนึ่ง ดังที่จะกล่าวถึงในบทต่อไป

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 27 กษัตริย์ผทู้ รงประดิษฐอ์ ักษรไทย พ่อขุนรามคำ�แหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย (ลายสือไท) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ โดยแรกเริ่มนั้นไทยยังไม่มีอักษรหรือภาษาเขียน เป็นของตัวเอง จนตกอยู่ใต้อำ�นาจของขอมจึงใช้อักษรขอมเรื่อยมา โดยอักษรขอมนั้นมีที่มาจากภาษามคธของอินเดีย (ศิริวรรณ คุ้มโห้, ๒๕๔๗ : ๙) สอดคล้องกับบันทึกของศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ที่อธิบายว่า “ลายสือไทมีลักษณะพิเศษกว่าตัวหนังสือของชนชาติอื่น ที่ยืมมาจากอินเดีย โดยพระองค์ได้ประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และ วรรณยกุ ตเ์ พมิ่ ขนึ้ เพอื่ ใหเ้ ขยี นแทนเสยี งพดู ของภาษาไทยไดท้ กุ ค�ำ และ น�ำ สระกบั พยญั ชนะมาอยใู่ นบรรทดั เดยี วกนั มกี ารจดั วางรปู แบบใกล้ เคียงกับประเทศตะวันตก คือ เขียนจากซ้ายไปขวา” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๘๐)

28 ๗ บูรพกษัตริย์ ราชภักดิ์ แบบตัวอักษรของพ่อขุนรามคำ�แหง ที่มา : www.thailaws.com หลังจากประดิษฐ์ลายสือไท พ่อขุนรามคำ�แหงก็ทรงบันทึก เหตุการณ์สำ�คัญในยุคสมัยของพระองค์ลงบนศิลาจารึก ทั้งพระราช กรณียกิจด้านการปกครอง กฎหมาย การต่างประเทศ ฯลฯ หลักศิลา จารึกของพ่อขุนรามคำ�แหง หรือที่เรียกว่า “ศิลาจารึกหลักที่ ๑” เป็น แท่งหินชนวนรูปทรงสี่เหลี่ยมยอดมน สูงประมาณ ๑ เมตร ๑๑

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 29 เซนติเมตร กว้าง ๓๕ เซนติเมตร หนา ๓๕ เซนติเมตร มีอักษรจารึก ทั้ง ๔ ด้าน แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่ (๑) พระราชประวัติและพระ ราชกรณียกิจของพระองค์นับแต่ประสูติจนเสด็จขึ้นครองราชย์ (๒) เลา่ เหตกุ ารณต์ า่ งๆ ตลอดจนขนบธรรมเนยี มประเพณขี องสโุ ขทยั และ (๓) กล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัยและสรรเสริญพระเกียรติคุณ ของพระองค์ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำ�แหงจึงทรงคุณค่าในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ๑. ด้านภาษาและสำ�นวนโวหาร เป็นหลักฐานสำ�คัญที่ แสดงให้เห็นถึงการกำ�เนิดของอักษรไทย ๒. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติ พ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสภาพสงั คมของกรงุ สโุ ขทยั เมอื่ เจด็ รอ้ ยกวา่ ปที ผี่ า่ นมา ๓. ดา้ นสงั คม ใหค้ วามรดู้ า้ นกฎหมายและการปกครองสมยั กรงุ สโุ ขทยั วา่ มกี ารปกครองแบบพอ่ ปกครองลกู พระมหากษตั รยิ ด์ แู ล ทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด ๔. ด้านวฒั นธรรม ประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม และประเพณีของชาวสุโขทัย

30 ๗ บรู พกษัตริย์ ราชภักดิ์ กษตั ริย์นักปกครอง ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำ�แหง เป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเจริญ รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากระบอบการปกครองที่มี ประสิทธภิ าพคือ “ปติ ุราชาธิปไตย” หรือ “พอ่ ปกครองลกู ” ก่อให้เกิด ความสงบเรยี บรอ้ ย โดยกษตั รยิ เ์ ปรยี บเสมอื นพอ่ หรอื หวั หนา้ ครอบครวั ที่ดแู ลประชาชนด้วยความรักและเมตตา เป็นที่มาของคำ�ว่า “ไพร่ฟ้า หน้าใส” ที่ปรากฏบนศิลาจารึก ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์นั้น ขุนนาง กับประชาชนตา่ งมีสทิ ธิเทา่ เทียมกัน โดยทรงตรากฎหมายส�ำ คญั สรปุ ได้ ๔ บท ดังนี้ (ศิริวรรณ คุ้มโห้, ๒๕๔๗ : ๑๕)

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 31 ๑. บทมรดก เมอื่ บดิ ามารดาเสยี ชวี ติ ใหท้ รพั ยส์ นิ ตา่ งๆ ของ บิดามารดาตกแก่บุตร ๒. บทท่ีดิน ชาวสุโขทัยทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการ ประกอบอาชีพสุจริตตามความถนัดหรือความสามารถของตน ผู้ที่ ลงแรงหักร้างถางพงจับจองที่ดินทำ�สวนทำ�ไร่ ย่อมมีสิทธิในผืนดินนั้น ๓. บทพจิ ารณา เมอ่ื ผใู้ ดท�ำ ผดิ ไมว่ า่ ลกู เจา้ ลกู ขนุ หรอื ประชาชน การไตส่ วนและตดั สนิ จะเปน็ ไปอยา่ งเทย่ี งตรง ไมเ่ ขา้ ขา้ งฝา่ ยหนง่ึ ฝา่ ยใด ๔. บทฎกี า ประชาชนสามารถรอ้ งทกุ ขต์ อ่ พอ่ ขนุ รามค�ำ แหง ได้โดยตรง โดยพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้แขวนกระดิ่งไว้ที่หน้าประตู ชัน้ นอกเขตพระราชฐาน หากผใู้ ดมเี รือ่ งเดอื ดรอ้ นกส็ ามารถสัน่ กระดิง่ ร้องทุกข์ได้ตลอดเวลา พระมหาติ่ง มหิสฺสโร (ทองหล่อ) ได้นำ�เสนอไว้ในวิทยานิพนธ์ เรอื่ ง “การศกึ ษาวเิ คราะหห์ ลกั จรยิ ศาสตรด์ า้ นการปกครองของพอ่ ขนุ รามคำ�แหงมหาราช ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท” ว่า รปู แบบการ ปกครองของพ่อขุนรามคำ�แหงสามารถสรุปได้ ๒ ลักษณะ คือ (๑) แบบบิดาปกครองบุตร (๒) แบบธรรมราชา โดยเนื้อหาทั้ง ๔ ด้านของ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการปกครองที่ส่งผลต่อ เศรษฐกจิ สงั คม ศาสนา และจารตี ประเพณขี องกรงุ สโุ ขทยั ในรชั สมยั ของพระองค์ ดังนี้

32 ๗ บูรพกษัตริย์ ราชภักดิ์ ด้านที่ ๑ กล่าวถึงการปกครองให้ชาวสุโขทัยอยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุข ด้วยการให้เสรีภาพในการค้าขาย ประกอบอาชีพ และนับถือ ศาสนา ทำ�ให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม ด้านที่ ๒ กลา่ วถงึ การใหท้ าน รกั ษาศลี ซงึ่ เปน็ วถิ ชี วี ติ ของชาว สุโขทัย ด้านที่ ๓ กล่าวถึงความเชื่อทางศาสนา พระราชศรัทธาต่อ ศาสนาพุทธ ด้านที่ ๔ กลา่ วถงึ การทรงใชส้ ตปิ ญั ญาในการอบรมสงั่ สอนให้ ความรู้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าด้านการดำ�เนินชีวิต ศลิ าจารกึ หลกั ท่ี ๑ ที่มา : กรมศิลปากร. ประวัติศาสตร์ชาติไทย. หน้า ๘๑.

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 33 กษัตริย์นักพัฒนา แต่เดิมชาวสุโขทัยนับถือพุทธศาสนานิกายมหายานและพระ ขพงุ ผี ตามทบ่ี นั ทกึ ไวใ้ นศลิ าจารกึ หลกั ท่ี ๑ (ศริ วิ รรณ คมุ้ โห,้ ๒๕๔๗ : ๑๕) กระทงั่ พอ่ ขนุ รามค�ำ แหงไดน้ มิ นตพ์ ระภกิ ษนุ กิ ายเถรวาท (หนิ ยาน) จากนครศรีธรรมราชข้นึ มาเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย เป็นจุดเร่มิ ต้น ทำ�ให้ นิกายนี้เจริญรุ่งเรืองในไทยสืบเนื่องมากว่าเจ็ดร้อยปี โดยพระองคท์ รง สรา้ งพระแทน่ มนงั คศลิ าบาตรขน้ึ เพอ่ื ใหพ้ ระเถระแสดงพระธรรมเทศนา แก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์เสด็จประทับเป็น ประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน (ประเสริฐ ณ นคร, ๒๕๕๔ : ๒๕) นอกจากนพี้ ระองคย์ งั ทรงเปน็ องคศ์ าสนปู ถมั ภก สรา้ งวดั วาอารามตา่ งๆ มากมาย (กรมศลิ ปากร, ๒๕๕๘ : ๘๒)

34 ๗ บูรพกษัตริย์ ราชภักดิ์ ในดา้ นเกษตรกรรมและชลประทาน โปรดใหส้ รา้ งท�ำ นบกกั เกบ็ นํ้าที่เรียกว่า “สรีดภงส์” (ทำ�นบพระร่วง) เพื่อนำ�นํ้าไปใช้ในตัวเมือง สุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง ทำ�ให้สุโขทัยมีนํ้าอุปโภคบริโภคและ เพาะปลูกอย่างอุดมสมบูรณ์ ดังที่บันทึกในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว” สรดี ภงส์ หรือ ทำ�นบพระรา่ ง ที่มา : http://www.panoramio.com/

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 35 ด้านการคมนาคม โปรดให้สร้างถนนพระร่วงจากสุโขทัยไปยัง เมืองศรีสัชนาลัย และจากสุโขทัยไปยังกำ�แพงเพชร ซึ่งเป็นถนนที่มี ความสำ�คัญทางด้านยุทธศาสตร์ การคมนาคม และการค้าขายใน สมัยนั้นเป็นอย่างมาก (ศิริวรรณ คุ้มโห้, ๒๕๔๗ : ๒๑) สว่ นในดา้ นเศรษฐกจิ พระองคท์ รงสง่ เสรมิ การคา้ ดว้ ยการไมเ่ กบ็ ภาษีผ่านด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายใน กรุงสุโขทัย ทำ�ให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองอันเนื่องมาจากชาวสุโขทัยมี เสรีทางการค้า ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ “เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า” (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๘๔) จดหมายเหตุจีนระบุว่า พ่อขุนรามคำ�แหงมหาราชสวรรคตใน พ.ศ. ๑๘๔๑ (ประเสริฐ ณ นคร, ๒๕๕๔ : ๒๕) ซึ่งด้วยพระมหา กรุณาธิคุณอันล้นพ้น รัฐบาลและปวงชนชาวไทยจึงได้ถวายพระราช สมัญญา “มหาราช” แด่พระองค์ และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัด สโุ ขทยั โดยก�ำ หนดใหว้ นั ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรง พบศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นวันพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช นั่นก็คือ วันที่ ๑๗ มกราคมของทุกปี

36 ๗ บรู พกษัตริย์ ราชภักดิ์ แพปลร่อะะขสวนุ มตั รัยิศาสามสโุ คขตำ�ทรแัย์หหตลงอังมรนหชั ปาสลรมาาัยชย หลังจากพอ่ ขุนรามค�ำ แหงมหาราชสวรรคต อาณาจักรสุโขทยั ก็อ่อนแอลง เมืองต่างๆ ที่เคยสวามิภักดิ์ได้ประกาศแยกตัวเป็นอิสระ แตเ่ มอื่ พระยาลไิ ทย (พระมหาธรรมราชาที่ ๑) รชั กาลที่ ๖ แหง่ ราชวงศ์ พระรว่ ง พระนดั ดาของพอ่ ขนุ รามค�ำ แหงขน้ึ ครองราชย์ กท็ รงปราบปราม และรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ทำ�ให้อาณาจักรสุโขทัยกลับมารุ่งเรือง อีกครั้ง

ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์ 37 พระองค์ทรงดำ�เนินพระบรมราโชบายทางการเมืองโดยการ เผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทไปยังดินแดนต่างๆ และ สันนิษฐานว่าในช่วงเวลานั้นได้มีการเผยแพร่อักษรแบบสุโขทัยด้วย โดยอาณาจักรล้านนาได้ปรับประยุกต์อักษรชุดนี้เป็นลักษณะเฉพาะ ตนทีเ่ รียกว่า “อกั ษรฝักขาม” สว่ นอาณาจกั รลา้ นชา้ งไดป้ รบั ประยกุ ต์ เป็น “อักษรไทยน้อย” และพระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรม พุทธศาสนาที่สำ�คัญคือ “ไตรภูมิกถา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” ที่มี อทิ ธพิ ลกบั ความคดิ ความเชอื่ ของชนชาตไิ ทยมาจนถงึ ปจั จบุ นั สว่ นใน ด้านเศรษฐกิจ พระองค์พยายามฟื้นฟูการค้ากับจีน โดยส่งเครื่องราช บรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๘๔-๘๖) แต่ในเวลาต่อมาสุโขทัยก็อ่อนแอลงจนตกเป็นเมืองขึ้นของ อาณาจักรอยุธยาที่กำ�ลังเรืองอำ�นาจ จากนั้นเมื่อพระยาไสลือไทย (พระมหาธรรมราชาที่ ๓) ขึ้นครองราชย์ พระองค์พยายามฟื้นฟู อาณาจักรสุโขทัยขึ้นใหม่โดยการผูกไมตรีกับเมืองน่านเพื่อต่อต้าน อยุธยา แต่พอพระองค์สวรรคต พระโอรสทั้งสองคือ พระยาบานเมือง กับพระยาราม ต่างแก่งแย่งราชสมบัติ สมเด็จพระนครินทราธิราช กษตั รยิ แ์ หง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยาจงึ ชว่ ยไกลเ่ กลยี่ กอ่ นไดบ้ ทสรปุ วา่ ใหพ้ ระยา บานเมืองขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ครองเมือง พษิ ณโุ ลก (ศนู ยก์ ลางของอาณาจกั รในเวลานัน้ ) แลว้ ใหพ้ ระยารามไป ครองเมืองสุโขทัย

38 ๗ บรู พกษัตริย์ ราชภักดิ์ และเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๔ สวรรคต สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ กษตั รยิ แ์ หง่ กรงุ ศรอี ยธุ ยา ทรงผนวกสโุ ขทยั เปน็ สว่ นหนึง่ ของราชอาณาจักร แต่ในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ ๑ และ หลังจากกู้เอกราชได้ ราชวงศ์พระร่วงหรือราชวงศ์สุโขทัยก็กลับมามี บทบาทในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา (กรม ศิลปากร, ๒๕๕๘ : ๘๖-๘๘)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook