Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

R&D

Published by lawanster, 2021-12-31 23:46:51

Description: R&D

Search

Read the Text Version



หลกั และกระบวนการ R&D ทางการศกึ ษา โสภณ ธนะมัย

หลักและกระบวนการ R&D ทางการศกึ ษา โสภณ ธนะมัย จานวนหนา้ ๔๐ หนา้ พิมพค์ ร้งั ท่ี ๒ : พ.ศ.๒๕๖๑ จานวน ๑๐๐ เลม่ จดั พมิ พโ์ ดย สถาบนั การอาชวี ศกึ ษาเกษตรภาคเหนอื ๒๐๘ หมู่ ๓ ตาบลประดาง อาเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ๖๓๐๐๐ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสติ เมืองเอก ถ.พหลโยธนิ จ.ปทุมธานี ๑๒๐๐๐ โทร. ๐๒ ๙๙๗ ๒๒๐๐-๓๐

ก คำนำ ผู้อำนวยกำรสถำบนั กำรอำชวี ศกึ ษำเกษตรภำคเหนือ เนื้อหาความรู้ในหนังสือ“หลักและกระบวนกำร R&D ทำง กำรศึกษำ ” เป็นหลักยึดท่ีจะช่วยส่งเสริมให้ครู อาจารย์ สามารถนาไป เสริมสร้างทักษะด้านการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา อันจะก่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน หรือการถ่ายทอดความรู้ให้กับ “ศิษย์” ซ่ึงเป็นภารกิจสาคัญยิ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพครู อาจารย์ สถาบัน การอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นสมควรจัดพิมพ์เผยแพร่ เพื่อประโยชน์ต่อครู อาจารย์ และผู้สนใจ จึงได้ดาเนินการขออนุญาตผู้เขียน (อ.ดร.โสภณ ธนะมัย) และทาการจดั พมิ พ์หนังสือเล่มน้ีข้ึน อานิสงส์ที่เกิดข้ึน จากหนงั สือเล่มนี้ ขอมอบใหก้ บั อ.ดร.โสภณ ธนะมัย และคณุ อษุ า เลศิ ฤทธ์ิ ประจักษ์ ทาสี สิงหาคม ๒๕๖๑

ข คำนำ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมามุ่งเน้นเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของคนในประเทศให้มีคุณภาพสามารถที่จะแข่งขันและดารงอยู่ในสังคม ท่ามกลางการเปล่ียนแปลงอย่างเท่าทันและมีความสุข ประการหน่ึงของการ ปฏิรูปการศึกษา คือ การพัฒนาครูในสถานศึกษาให้มีคุณลักษณะท่ีมีการ พัฒนาตนเองอย่างต่อเน่ืองเพ่ือพัฒนางานของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ จดั การเรียนการสอนที่มีประสทิ ธภิ าพ อันจะนาไปสคู่ ณุ ภาพของนกั เรียนทีเ่ ป็น เป้าหมาย การพัฒนาตนเองของครูเพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการ สอนหรือการถ่ายทอดความรู้ให้กับ “ศิษย์” น้ัน การวิจัยเป็นแนวทางที่สาคัญ ประการหนึ่งที่ครูสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้อย่างดีเย่ียม โดยสอดคล้องกับ ธรรมชาติของงานหรือบทบาทหน้าท่ีท่ีเป็นอยู่ นอกจากน้ี ผลงานการวิจัยยัง สามารถส่งเสริมให้ครูมีวิทยฐานะที่สูงขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา บคุ ลากรครตู าม พ.ร.บ.การศึกษา อกี ด้วย หนงั สือเลม่ น้ี จึงเป็นพ้ืนฐานสาหรับ ครูเพื่อสร้างความเข้าด้านการวิจัย แบบ R&D และสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมกับ เนือ้ หาสาระทเี่ ปน็ เฉพาะเจาะจงในทางปฏิบัติ หวังวา่ หนังสอื เลม่ น้ชี ว่ ยส่งเสริม และเป็นแนวทางในการก้าวตามแนวทาง R&D เพื่อพัฒนาคุณภาพของครู ต่อไป โสภณ ธนะมยั

สำรบญั ค จุดมุ่งหมายของหนงั สอื ๑ R&D คอื อะไร ๑ หลกั ของ R&D ๒ กระบวนการ R&D ๔ การเขยี นรายงานการวจิ ยั ๑๙ บรรณานุกรม ๓๔

๑ หลกั และกระบวนการ R&D ทางการศึกษา ๑. จุดมงุ่ หมายของหนงั สือ จุดม่งุ หมายของการเขียนหนังสอื เลม่ เลก็ นีข้ ึ้นมา เพราะประสงค์จะมีส่วน รว่ มในแวดวงวชิ าการทางการวิจยั กบั เขาด้วยเลม่ หนึ่ง โดยปรารถนาที่จะเขียน ให้ผู้รักอาชีพการเป็น “ครู” ทุกคนซ่ึงจาเป็นจะต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้กับ ตนเองตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาตนเพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพของ การถ่ายทอดความรู้ให้กับ “ศิษย์” อย่างมีคุณภาพตลอดไปได้มองเห็นภาพ รูปแบบการวจิ ัยรปู แบบหนงึ่ การวจิ ยั รูปแบบน้ีมีช่ือเรยี กกนั ว่า R&D ซ่ึงนับว่า เปน็ รูปแบบการวจิ ัยที่เหมาะสมกับภารกิจงานประจาด้านการสอนของครูท่ีทา เปน็ งานประจาอยู่แลว้ หนงั สือเลม่ นนี้ าเสนอเนื้อหาสาระท่ีเป็นแค่พ้ืนฐานสาหรับให้ผู้อ่านท่ีสนใจ เร่ือง R&D พอเข้าใจและเห็นภาพของ R&D ทางการศึกษาในมุมกว้าง ส่วนที่ จะลงมือทาการวิจัยรูปแบบ R&D นี้ ท่านผู้อ่านต้องค้นคว้าเจาะจง รายละเอยี ดให้เป็นรูปแบบในทางปฏิบัติเพิ่มข้ึน สาระจากหนังสือเล่มนี้ทาข้ึน เพ่ือชว่ ยท่านสาหรับเปน็ พื้นฐานในการก้าวเดนิ บนเสน้ ทางของ R&D ต่อไป ๒. R&D คอื อะไร ก. เป็นคาย่อของภาษาอังกฤษ “Research and Development” แปล เป็นไทยวา่ “การวจิ ัยและพฒั นา”

๒ ข. คือ การวจิ ยั รปู แบบหนึ่งที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมในเร่ืองใดเร่ืองหนึ่ง โดย ต้องมีการนานวัตกรรมที่สร้างข้ึนน้ันไปทดลองใช้และทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ จนนาไปสู่การใช้ประโยชนไ์ ด้จรงิ ค. แตกต่างจากการวิจัยประเภทอ่ืน โดยเฉพาะอย่างย่ิงการวิจัยเชิง ปริมาณอันยอดนิยม คือ ต้องมี D (Development) ประกอบ R (Research) เพอ่ื สื่อความถงึ การมุ่งเนน้ สกู่ ารใช้ประโยชน์จรงิ จากการทา R&D ง. R&D ทางการศึกษา เช่น R&D ด้านหลักสูตร ด้านส่ือการสอน ด้าน วิธกี ารสอน เป็นตน้ ๓. หลักของ R&D “หลัก” หมายถึง เคร่ืองยึดเหนี่ยว เช่น ถ้าต้องการดารงชีวิตให้มี ความสุข ก็ต้องมีธรรมะเป็นหลัก เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดารงชีวิต มีหลัก R&D ทีส่ าคัญ ๓ หลกั ดงั น้ี หลักที่ ๑ ผลผลิตของการวิจัย (output) ตอ้ งเปน็ นวัตกรรมทถ่ี กู พัฒนาขนึ้ มา คาว่า“นวัตกรรม”มาจากคาภาษาอังกฤษว่า“innovation”ส่วนคากริยา มาจากคาว่า“innovate” ซงึ่ หมายถงึ “to renew” คอื ทาขึน้ มาใหม่ คาว่า“พัฒนา” มองได้ ๒ ลักษณะ คือ หมายถึง การสร้างขึ้นมาใหม่ และการปรับปรุงสง่ิ ทมี่ ีอยูแ่ ล้วให้ดีข้นึ (ต่อยอด) R&D ต้องเอาการพฒั นาเป็นตัวตง้ั เอากระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ

๓ หลกั ท่ี ๒ ผลลัพธข์ องงานวจิ ัย (Outcome) คือ การใชป้ ระโยชน์จรงิ ของผลผลติ ของการวจิ ัย( output) Output อาจถูกนาไปสู่การใช้ประโยชน์ได้โดยตรงของผู้วิจัย เช่น ครูทา R&D เพ่ือพัฒนาหรือแก้ปัญหาการเรียนการสอนของตน หรือผู้บริหาร สถานศึกษาทาR&D เพ่ือใช้พัฒนาหรือแก้ปัญหาในการบริหารจัดการ สถานศึกษาของตนเอง หรือจดสิทธิบัตรนวัตกรรมการบริหารจัดการนั้น เป็น ของตนเองเพ่ือประโยชนท์ างธุรกจิ เปน็ ตน้ นอกจากน้ี output อาจจะถูกนาไปใช้ประโยชน์ในภายหลังก็ได้โดยท่ีมี โครงการวิจัยในระยะต่อไปรองรับ จนนาไปสู่การใช้ประโยชน์จริง ซ่ึงเป็นของ ตนเองหรอื ผู้อน่ื เป็นผูว้ จิ ยั ตอ่ ยอด หลักที่ ๓ การทดลองใชแ้ ละทดสอบประสทิ ธภิ าพของนวตั กรรม ต้ององิ แบบการทดลอง อิงแบบการทดลอง คือ การใช้แบบการวิจัยทดลอง (Experimental research design) แบบการวิจัยทดลองท่ีใช้กันมากใน R&D มี ๒ แบบ ได้แก่ แบบก่ึงทดลอง (Quasi-experimental research design) และแบบทดลองจริง (True-experimental research design) ซึ่งใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบ การทดลองใช้นวตั กรรม

๔ ๔. กระบวนการ R&D ประกอบด้วย ๔ ข้ันตอนหลัก ได้แก่ ก) การกาหนดโจทย์วิจัยเพ่ือ สร้างนวัตกรรม ข) การสร้างนวัตกรรม ค) การทดลองใช้เพ่ือหา ประสิทธิภาพของนวัตกรรม ง) การใช้ประโยชน์นวตั กรรม ก. การกาหนดโจทย์วิจยั เพอ่ื สร้างนวัตกรรม การกาหนดโจทย์วิจัยเปรียบเหมือนการก้าวเท้าแรกของการเดินทางว่าจะมุ่ง ไปที่ใด สมมติว่าท่านจะเดินทางขึ้นเหนือจากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่ แต่ถ้าการ ก้าวเท้าของทา่ น ไม่ว่าจะกา้ วเทา้ ซา้ ยหรอื เทา้ ขวาออกก่อนก็ตามถ้าหากมุ่งลงไป ทางทิศใต้ก็เป็นอันม่ันใจได้ว่า ท่านจะไม่สามารถไปถึงเชียงใหม่อย่างแน่นอน เช่นเดียวกันกับการทาR&D การกาหนดโจทย์วิจัยเปรียบเหมือน “ต้นทาง” ของกระบวนการ R&D การกาหนดโจทย์วิจัยมีลักษณะเป็นข้ันเป็นตอนไล่เลียงลาดับ ต่อเนื่องกนั ไปจนไดโ้ จทย์วจิ ัยโดยเริม่ จาก ๑. วเิ คราะหส์ าเหตตุ ่าง ๆ ของปญั หา ปกติแล้วปัญหาหนงึ่ ๆ จะมีหลายปัญหาย่อย ๆ ที่ต้องการคาตอบซ่อนอยู่ จึงจาเป็นต้องวิเคราะห์หาสาเหตุต่าง ๆ ของปัญหาให้ชัดเจนเป็นเบ้ืองต้น เสียกอ่ น โดยวธิ กี าร ดังน้ี ๑.๑ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เก่ียวข้องกับสภาพปัญหาเพื่อ ยืนยันวา่ เป็นปัญหาจรงิ

๕ ตัวอย่าง ครูชวนชม กระดังงา สอนวิชาวรรณคดี นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีท่ี ๔ ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี สังเกตว่า เม่ือ สอนเน้ือหาเร่ือง “อิเหนา” นักเรียนมักไม่ค่อยสนใจฟัง และเมื่อนึกย้อนหลัง ๓ ปี ก็พบว่า มีลักษณะคล้ายกัน ครูชวนชมจึงย้อนกลับไปดูคะแนนทดสอบ เรื่องอิเหนา ปรากฏว่า นักเรียนรุ่นแรก ๓๐ คน ได้คะแนนสูงสุด ๒๕ จาก ๑๐๐ คะแนน ต่าสุด ๓ คะแนน คะแนนเฉลี่ย ๘ คะแนน ส่วนถัดมา ๒ รุ่น มีลกั ษณะของคะแนน ท่ีได้รบั ใกล้เคยี งกนั ฉะนั้นจากข้อมูลเชิงประจักษ์ผลสัมฤทธ์ิการเรียนสรุปได้ว่า นักเรียน ได้คะแนนต่าในการเรียนเรื่องอิเหนาต่อเนื่องกันมา ๓ ปี จึงเป็นปัญหาที่ครู ชวนชมตั้งใจจะทาการวจิ ัยเพ่อื แกไ้ ขปัญหาน้ี ๑.๒ สารวจสาเหตุของปัญหา ๑.๒.๑ ตรวจสอบเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับปัญหา เพ่ือสารวจสาเหตทุ ่ีมผี ู้ได้ทาการศกึ ษาวิจยั ไวแ้ ล้ววา่ มอี ะไรบา้ ง และ/หรอื ๑.๒.๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพ่ือนครูในแวดวงการเดียวกันท้ัง ในสถานศึกษาเดยี วกนั หรอื ตา่ งสถานศึกษา และ/หรือ ๑.๒.๓ สอบถามความคิดเห็นของนกั เรียนเหลา่ นั้นถงึ สาเหตุ ที่สอบได้คะแนนต่า และ/หรือ ๑.๒.๔ วิธีอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบสาเหตุต่างๆ ให้ครอบคลุม ตวั ปัญหาได้มากท่ีสุด

๖ ๑.๓ สังเคราะห์สาเหตุต่างๆที่รวบรวมได้จากข้ันตอน ๑.๒ ประมวลเข้าด้วยกนั ๒. คัดกรองสาเหตุท่ีสาคัญจากข้ัน ๑.๓ ท่ีสามารถแก้ไขได้ด้วย นวัตกรรม นวัตกรรมเป็นได้ทั้ง process (กระบวนการ/วิธีการ) และ product (ผลิตภัณฑ์ เช่น ชุดการสอน ชุดการเรียนด้วยตนเอง และส่ือการเรียนการ สอนประเภทอน่ื ๆ เปน็ ตน้ ) ๓. ศึกษาเอกสาร และงานวิจัย เพื่อเลือกนวัตกรรมที่เหมาะสม ในการ แก้ไขสาเหตุท่ีถูกเลือกในข้ัน ๒ (สมมติว่า นวัตกรรม คือ ชุดการสอนที่ผู้วิจัย คิดจะสร้างขึ้น) ๔. กาหนดโจทยว์ ิจยั ตัวอย่าง: โจทย์วิจัย ได้แก่ ชุดการสอนท่ีสร้างข้ึนจะทาให้ผลการ เรียน เร่อื ง“อเิ หนา”ของนกั เรียนสงู ขึน้ หรอื ไม่ นาโจทย์วจิ ยั มาเขยี นเปน็ “ชือ่ เร่ืองวิจัย” จากตัวอย่าง คือ การสร้าง ชดุ การสอนวิชาภาษาไทย เรอ่ื ง“อิเหนา”สาหรบั นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปที ี่ ๔ อันท่ีจริงแล้วชื่อเร่ืองวิจัยก็เปรียบเหมือนช่ือของหนังสือต่าง ๆ ที่เรา คนุ้ เคย ไมว่ ่า สามก๊ก ส่ีแผ่นดิน ที่สามารถสื่อให้ผู้อ่านไดท้ ราบถงึ แก่นของเรื่อง (สามก๊ก สื่อถึงสงครามระหว่าง ๓ ก๊ก ส่ีแผ่นดิน ส่ือถึงตัวเอกของเร่ือง คือ แมพ่ ลอย ผา่ นประสบการณ์เร่ืองราวตา่ ง ๆ ของสังคมไทยถึง ๔ รัชกาล)

๗ ถึงแม้วา่ การต้ังช่ือเร่ืองไม่มีกฎเกณฑ์แนน่ อนตายตวั แตม่ ีขอ้ ควรพจิ ารณา อย่างกวา้ ง ๆ ดงั น้ี ๑. ต้ังให้สั้น กะทัดรัด และมีความชัดเจนในรูปของประโยคสมบูรณ์ (มี ประธาน-กริยา-กรรม) สามารถส่ือความหมายได้ตรงกับเนื้อหาสาระของการ วิจยั ๒. ภาษาและสานวนท่ใี ชน้ ้ัน บุคคลทัว่ ไปไม่เฉพาะแต่บคุ คลในวงวิชาการ สามารถอ่านแลว้ เขา้ ใจไดง้ า่ ย ๓. ถ้ามีคาศัพท์ทางเทคนิคหรือคาบัญญัติต่าง ๆ จะต้องใช้คาซึ่งเป็นที่ ยอมรบั กนั โดยทวั่ ไป ข. การสร้างนวตั กรรม ผู้วิจัยศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีจากวรรณกรรม และงานวิจัยท่ี เกีย่ วขอ้ งกบั นวตั กรรม เพ่ือให้ไดแ้ นวทางในการสรา้ งนวัตกรรมของผู้วจิ ยั ตวั อย่าง เกศรินทร บาเพ็ญทาน (๒๕๓๒) สร้างชุดการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง “อเิ หนา” สาหรับนักเรียนชั้นมธั ยมศึกษาปีท่ี ๔ โดยมลี าดับขั้นการสร้าง ดังน้ี ๑. นาเน้ือหาเรอ่ื ง อิเหนา มาแบง่ เป็นหน่วยย่อย ๘ หนว่ ย ๒. กาหนดส่ือการเรียนให้เหมาะสมกับเน้ือหาและจุดประสงค์ของแต่ละ หนว่ ย

๘ ๓. สร้างสือ่ การเรียนแตล่ ะชนดิ ทกี่ าหนดไวใ้ นแตล่ ะหน่วยยอ่ ย ประกอบ ขึ้นเป็นชุดการสอน (โดยศึกษาวิธีสร้างสื่อการเรียน การใช้ตลอดจนการ ประเมนิ ผล) ๔. นาชุดการสอนท่ีสร้างขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจแก้ไข แล้วนามา ปรับปรงุ ตอ่ ไป ในทานองเดียวกัน สมมติว่าผู้วิจัยทาการสร้างชุดการสอน ผู้วิจัย ทาการศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวกับชุดการสอนของผู้อ่ืนต่อไปอีก จนมคี วามเชอื่ ม่นั และสามารถกาหนดแนวทาง การสร้างชุดการสอนของตนเอง ข้นึ มาใช้ได้ พนั ตารวจโทหญงิ นารถรพี อินทรสุวรรณ (๒๕๔๓) ผลิตวดี ทิ ศั น์ เพ่อื การประชาสัมพนั ธเ์ ร่ือง สถาบันพัฒนาขา้ ราชการตารวจ โดยมีลาดับ ขน้ั การสรา้ ง ดงั น้ี ๑. ศึกษาวิธีการสร้างสื่อวีดิทัศน์ โดยศึกษาวิธีการสร้างสื่อวีดิทัศน์จาก หนังสอื ตารา และเอกสารต่าง ๆ และจากงานวจิ ัยทเี่ กี่ยวขอ้ ง ๒. กาหนดขอบเขตของเนื้อเร่ืองท่ีจะนามาสร้างวีดิทัศน์ให้มีความยาว ๒๐ นาที ๓. กาหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ทั่วไป และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ทมี่ ีต่อสอ่ื วดี ิทศั น์

๙ ๔. นาเนื้อเรื่องมาเขียนเป็นบทวีดิทัศน์ เพื่อถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ จนิ ตนาการให้ภาพและเสยี งตรงกับเนอ้ื เรอื่ งที่กาหนด ๕. นาบทวีดิทัศน์ให้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบด้านเน้ือหา ภาษา และเทคนิคสอื่ วดี ทิ ศั น์ แล้วนามาปรับปรงุ แกไ้ ข ๖. นาบทวีดิทัศน์ท่ีแก้ไขแล้ว มาถ่ายทาภาพให้ตรงตามเนื้อเร่ืองของบท วดี ทิ ัศน์ ๗. ตดั ต่อภาพและบนั ทกึ เสยี งประกอบภาพตามบทวดี ิทัศน์ ๘. นาสื่อวีดิทัศน์ท่ีสร้างข้ึนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาแล้วนามา ปรับปรุงแก้ไข จากตัวอย่าง การสร้างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนทั้ง ๒ ตัวอย่างจะ เห็นไดว้ ่ามคี วามสอดคลอ้ งกนั คอื มีลักษณะเปน็ กระบวนการโดยมีลาดับข้ันตอน ตามลาดับต่อเนื่อง ผู้ท่ีประสงค์จะทา R&D การเรียนการสอน สามารถศึกษาได้ จากตัวอย่างงานวิจัยท่ีมีผู้ได้ทาไว้ แล้วนามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงาน R&D ของตนเองตอ่ ไป ค. การทดลองใชเ้ พือ่ หาประสิทธภิ าพของนวตั กรรม การทดลองใช้นวัตกรรมนั้นมีรูปแบบการทดลองมาตรฐานท่ีสามารถ นามาใช้ได้ คือ รูปแบบการวิจัยทดลองที่ใช้กันท่ัวไปในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ รปู แบบการทดลองทน่ี ยิ มใช้มี ๕ รูปแบบ ดังน้ี

๑๐ ๑. แบบกลุม่ เดยี ว มีการทดสอบครง้ั เดียว (One shot case study) วิธกี าร (๑) เลือกกลุม่ ศึกษามา ๑ กลุ่ม (๒) ทดลองใช้นวัตกรรมกับกลมุ่ ศึกษา (๓) ทดสอบกล่มุ ศึกษา ตวั อย่าง นางสาวอรสา ยกย่อง(๒๕๓๕)ทาการวิจัยเพ่ือเป็นวิทยานิพนธ์เร่ือง “ค่าใช้จ่ายประสิทธิผลของชุดการสอนวิชางานเกษตร เร่ือง การอนุรักษ์ดิน และนา้ สาหรับนักเรยี นมัธยมศึกษาตอนต้น” กลุ่มศึกษา = กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งได้จากการ สุ่มตัวอย่างแบบง่ายจานวน ๑๐๐ คน จากนักเรียนทั้งหมด ๔๐๒ คน จานวน ๗ ห้อง โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มาจัดเป็นห้องเรียน จานวน ๒ หอ้ งๆละ ๕๐ คน นวตั กรรม = การสอนโดยใชช้ ดุ การสอน เรื่อง “การอนรุ กั ษด์ นิ และน้า” ทดสอบกลุม่ ศึกษา = นาชุดการสอนไปสอนกับนกั เรียนกลุ่มศกึ ษา ผลการทดลองปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจาก เรียนโดยใช้ชุดการสอน มีคะแนนเฉล่ีย ๑๘.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๒๒ คะแนน คดิ เป็นรอ้ ยละ ๘๔.๕๑

๑๑ เม่ือเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ๑๘.๕๑ กับคะแนนเกณฑ์มาตรฐานร้อย ละ ๘๐ ซ่ึงมีค่าเท่ากับ ๑๗.๖๐ โดยการทดสอบทางสถิติ t-test ปรากฏว่า สูงกวา่ อยา่ งมีนัยสาคญั ทางสถิตทิ ี่ระดับ .๐๕ ๒. แบบกลุม่ เดยี ว แต่มีการทดสอบก่อนและหลัง (One group pretest – posttest design) วิธีการ (๑) เลอื กกลุ่มศกึ ษามา ๑ กล่มุ (๒) ทดสอบกลมุ่ ศึกษาครัง้ ท่ี ๑ (๓) ทดลองใช้นวตั กรรมกบั กลมุ่ ศกึ ษา (๔) ทดสอบกลุ่มศึกษาครง้ั ท่ี ๒ (๕) ตรวจสอบความแตกตา่ งระหวา่ งผลการทดสอบครง้ั ท่ี ๑-๒ ตัวอย่าง นางสาวรัมภา อัครศักด์ิศรี(๒๕๓๓) ทาการวิจัยเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสร้างชุดการเรียนร้ขู ลุย่ ไทยด้วยตนเอง” กลุ่มศึกษา = กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาผู้ใหญ่หลักสูตรการศึกษานอก โรงเรียนสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา ๒๕๓๒ ศูนย์ การศึกษานอกโรงเรยี น จังหวัดราชบุรีที่ไม่เคยฝึกหัดเป่าขลุ่ยไทยมาก่อน แต่มี ความสนใจและสมคั รเขา้ เรยี นตามความสมัครใจ จานวน ๑๒ คน นวัตกรรม = วีดทิ ัศนช์ ดุ การเรียนรขู้ ลยุ่ ไทยดว้ ยตนเอง

๑๒ ทดสอบกลุ่มศึกษาครั้งที่ ๑ = ให้ผู้เรียนทาแบบทดสอบ และทดสอบการปฏิบัติ ก่อนที่จะเรยี นด้วยชุดการเรยี นรู้ ทดสอบกลุ่มศึกษาคร้ังท่ี ๒ = ให้ผู้เรียนทาแบบทดสอบ และทดสอบการปฏิบัติ ในแบบเดียวกนั กับการทดสอบครง้ั ที่ ๑ หลังจากเรยี นด้วยชุดการเรยี นรู้แลว้ ผลการทดลองปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน(๑.๙๖ คะแนน) และหลังเรียน ด้วยชุดการเรียนรู้(๕.๐๓) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่.๐๕ (ทดสอบทางสถิติใช้ t-test) แสดงว่าชุดการเรียนรู้ขลุ่ยไทยด้วยตนเองที่สร้างข้ึนน้ีมี ประสิทธิผล ๓. แบบมี ๒ กลุ่ม (กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง)ทดสอบก่อนและหลัง และมีการสุ่มตวั อย่าง (The pretest – posttest control group design) วธิ ีการ (๑) เลอื กกลุ่มตัวอยา่ งจากกลมุ่ ศกึ ษาแบบสุ่ม (๒) แบง่ กลุ่มตัวอยา่ งเป็น ๒ กลุม่ คือกลุม่ ทดลอง และกลุ่มควบคุมแบบส่มุ (๓) ทดสอบกล่มุ ทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้ แบบทดสอบเดยี วกนั เปรียบเทยี บความแตกตา่ ง กล่มุ ทดลองและกลมุ่ ควบคมุ (๔) ทดลองใชน้ วตั กรรมกบั กลมุ่ ทดลอง

๑๓ (๔) ทดสอบกลุ่มทดลองหลงั การทดลองใชน้ วัตกรรมและกลมุ่ ควบคุม ณ เวลาเดยี วกับทดสอบกลมุ่ ทดลองหลงั การทดลองใชน้ วตั กรรม เปรยี บเทียบความแตกตา่ งระหวา่ ง กล่มุ ทดลองหลงั การทดลองใช้ นวตั กรรมกับ กลมุ่ ควบคมุ ณ เวลาเดยี วกับทดสอบกลมุ่ ทดลอง ตวั อยา่ ง พันตารวจโทหญิงนารถรพี อินทรสุวรรณ(๒๕๔๓) ทาการวิจัยเพ่ือเป็น วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การผลิตวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่อง สถาบัน พฒั นาขา้ ราชการตารวจ” กลุ่มศกึ ษา = กลุ่มตัวอย่างข้าราชการตารวจที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร สารวัตร รุ่นที่ ๕๗ จานวน ๖๐ คน จากการสุ่มโดยวิธีการจับสลากจากผู้ เขา้ รับการอบรมท้งั สน้ิ ๒๑๐ คน จับสลากแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น ๒ กลุ่มๆ ละ ๓๐ คน กาหนดให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง กลุม่ ควบคมุ กาหนดใหเ้ รยี นจากการบรรยายปกติ กลมุ่ ทดลองกาหนดใหเ้ รียนจากสือ่ วดี ทิ ศั น์ท่ีผูว้ จิ ัยสร้างข้ึน นวัตกรรม = สื่อวีดิทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่อง สถาบันพัฒนา ข้าราชการตารวจ

๑๔ ทดสอบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม = ให้ผู้เข้ารับการอบรมทา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ซ่ึงเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันทั้ง ๒ กล่มุ กอ่ นทาการเรยี น ทดสอบกลุ่มทดลองหลังการเรียนด้วยส่ือวีดิทัศน์ และกลุ่มควบคุมหลัง การเรียนด้วยการบรรยายปกติ โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับก่อนทาการ เรยี น รายละเอียดแสดงในผังการทดลองดงั นี้ กลุ่มผู้เขา้ อบรม ทดสอบก่อน ทดลอง ทดสอบหลัง ทดสอบ กลมุ่ ทดลอง ทดสอบ เรยี นจากสอื่ วดี ิ (คะแนนเฉล่ีย (สมุ่ มา ๓๐ (คะแนนเฉลี่ย ทัศน์ ๙.๕๓) ทดสอบ คน) ๔.๗๗) (นวัตกรรม) (คะแนนเฉลี่ย กลุม่ ควบคมุ ทดสอบ เรียนจากการ ๕.๒๗) (สุ่มมา ๓๐ (คะแนนเฉลยี่ บรรยายปกติ คน) ๔.๗๖) จากผังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับการทดสอบก่อน การทดลอง เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับสถาบันพัฒนาข้าราชการ ตารวจ ดว้ ยแบบทดสอบวัดผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนฉบบั เดยี วกัน พบวา่ กลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ย ๔.๗๗ คะแนน กลุ่มควบคุมได้ ๔.๖๗ คะแนน (จากคะแนนเต็ม ๑๓ คะแนน)

๑๕ เมอ่ื ไดร้ บั การทดลองใช้ส่ือวีดิทัศน์ในการเรียน เสร็จแล้วทดสอบหลังการ ทดลองโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ชุดเดิม พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย ๙.๕๓ คะแนน สว่ นกลมุ่ ควบคุมได้ ๕.๒๗ คะแนน เห็นได้ว่าการเรียนผ่าน นวัตกรรมสอื่ วีดิทศั นไ์ ดค้ ะแนนผลสัมฤทธสิ์ ูงกวา่ การเรียนจากบรรยายปกติ ๔. แบบมีการทดสอบหลังทดลองใช้นวัตกรรมและมีการสุ่มตัวอย่าง (The posttest only control group design) วิธกี าร (๑) เลอื กกลุ่มตวั อย่างเป็นกลุม่ ศึกษาแบบสุ่ม (๒) แบง่ กล่มุ ตัวอย่างเปน็ ๒ กลุ่ม คือ กล่มุ ทดลอง และกลุ่มควบคุมแบบสมุ่ (๓) ทดลองใช้นวัตกรรมกบั กลุ่มทดลอง (๔) ทดสอบกลุ่มทดลองและกลมุ่ ควบคมุ โดยใช้ แบบทดสอบเดียวกนั เปรียบเทียบความแตกตา่ ง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุม่ ควบคุม ตวั อยา่ ง จากตัวอย่างวิทยานิพนธ์ของพันตารวจโทหญิงนารถรพี อินทรสุวรรณ ถ้าใช้รูปแบบการทดลองแบบท่ี ๔ น้ี ไม่ต้องดาเนินการขั้นตอนท่ี ๓ คือ ทดสอบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองใช้นวัตกรรมสื่อวีดิทัศน์ (pretest)

๑๖ ๕. แบบมีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลัง ไม่มีการสุ่มตัวอย่าง (The pretest - posttest control group design) วธิ ีการ (๑) เลือกกลุม่ ศึกษามา ๒ กล่มุ ให้เปน็ กลุ่มทดลอง ๑ กลุ่ม และกลมุ่ ควบคุม ๑ กลุ่ม (๒) ทดลองครง้ั แรกกับท้งั ๒ กลมุ่ (๓) ทดลองใช้นวัตกรรมกบั กลมุ่ ทดลอง (๔) ทดสอบครงั้ หลังกับท้ัง ๒ กลมุ่ (๕) ตรวจสอบความแตกตา่ งระหว่างผลความแตกต่างของผลการ ทดสอบ ครงั้ แรกกับครงั้ หลังของกลุม่ ทดลองและกลมุ่ ควบคมุ ตวั อย่าง จากตัวอยา่ งของพนั ตารวจโทหญิงนารถรพี อินทรสุวรรณ ถา้ ใช้รปู แบบ การทดลองแบบท่ี ๕ น้ี ดาเนินการทุกข้ันตอนเหมือนกันกับแบบที่ 3 ยกเว้น เพียงแตไ่ ม่ต้องมีการสุม่ ตัวอย่างเท่านั้น ถึงแม้ว่ารูปแบบการทดลองที่นิยมใช้กัน ๕ รูปแบบ ดังนาเสนอแล้วน้ัน แต่มีวิธีการอ่ืนที่นิยมใช้เช่นเดียวกัน ดังตัวอย่างของนางสาวเกศรินทร บาเพ็ญทาน(๒๕๓๒) ได้ใช้รูปแบบการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของ นวัตกรรมชุดการสอนวิชาภาษาไทย เร่ือง อิเหนา ของ Espich, J.E. และ B.Williams ตามรูปแบบท่ีเสนอไว้ในหนังสือชื่อ Developing Programmed Instructional Materials,๑๘๖๗ ซ่ึงเป็นท่ีนิยมและยอมรับใช้กันอยู่ในวงการ วิชาการสรา้ งสือ่ การเรยี นการสอน

๑๗ ผู้วิจัยได้นาชุดการสอนท่ีสร้างข้ึนไปทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพ จานวน ๓ ครั้ง ๑. ทดลองกับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๔ จานวน ๑ คน โดยให้ นักเรียนเรียนจากชุดการเรียนที่สร้างข้ึนจนครบ ๘ หน่วย แล้วทดสอบหลัง เรียน จากนั้นนาผลการทาแบบฝึกหัดและผลการทดสอบหลังเรียนมา เปรียบเทียบ แล้วนามาปรบั ปรงุ ๒. ครั้งท่ี ๒ ทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี ๔ จานวน ๑๐ คน แล้วนามาปรับปรงุ ๓. คร้ังที่ ๓ ทดลองกับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จานวน ๓๐ คน ปรากฏว่า เมื่อนาผลการทาแบบฝึกหัดและผลการทดสอบหลังการเรียน มาเปรียบเทียบ พบว่า ชุดการสอนท่ีสร้างข้ึนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ มาตรฐานท่กี าหนดตามรปู แบบ Espich and Williams ง. การใช้ประโยชน์นวตั กรรม ปกติการทาวิจัยจะจบลงตรงการเขียนรายงานการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัย ระดับบัณฑติ ศกึ ษาของมหาวทิ ยาลยั กค็ ือ วิทยานิพนธ์ ๕ บท ที่นิยมใช้สาหรับ การเขียนรายงานการวิจัยกันในปัจจุบัน รวมท้ังผลงานวิชาการประเภทงานวิจัย เพ่ือเสนอขอเลื่อนวิทยฐานะของครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนการจะทา ให้ผลการวิจัยถูกนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติได้จริงนั้น ถือว่าไม่ใช่ หน้าท่ีของผู้วิจัย แตส่ าหรับR&D แลว้ การนาผลการวิจยั คือ นวัตกรรมท่ีสร้าง

๑๘ ขึ้นไปใช้ประโยชน์จริงเป็นเงื่อนไขสาคัญ ซ่ึงทาให้ต่างจากการวิจัยในลักษณะ ของวทิ ยานพิ นธท์ ่ัว ๆ ไป การใช้ประโยชน์อาจแบ่งได้ ๒ ประเภท ได้แก่ การใช้ประโยชน์ โดยตรง และการใชป้ ระโยชน์โดยออ้ ม การใช้ประโยชนโ์ ดยตรง คือ ผู้วิจัยสร้างและใช้นวัตกรรมเอง ซ่ึงเป็นการทา R&D จากงานประจา ของผู้วิจัยเองหรือ“ผูใ้ ช้ผลวจิ ัย”ซ่ึงรว่ มทา R&D กับผู้วิจยั เป็นผ้ใู ช้นวัตกรรมเอง การนาไปใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การนาไปผลิตสินค้าเพื่อจาหน่ายในเชิง พาณิชย์ การจดสิทธิบัตรเพ่ือจาหน่ายลิขสิทธ์ิทางปัญญา การนาไปใช้อานวย ความสะดวกในชีวิตประจาวัน การนาไปใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจา ฯลฯ การใช้ประโยชนโ์ ดยอ้อม คือ ผู้อื่นใช้นวัตกรรมท่ีผู้วิจัยคิดค้นข้ึน เช่น เมื่อจดสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สิน ทางปญั ญา มผี ู้สนใจนานวัตกรรมเปน็ แนวทางเพ่ือพัฒนาต่อยอด หรือนาไปใช้ สอน หรือเม่ือตีพิมพ์เผยแพร่ในแวดวงวิชาการ เช่น ในวารสารทั้งในประเทศ และนานาชาติ อาจมผี ู้ใชเ้ ปน็ แนวทางทา R&D ในดา้ นอน่ื ๆ ต่อไป อันท่ีจริงแล้ว ถึงแม้ว่าการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นจะเป็น จุดมุ่งหมายสาคัญของ R&D แต่ก็เป็นการพ้นวิสัยของผู้วิจัยที่จะดาเนินการ

๑๙ ตามลาพังได้ทจี่ ะทาให้นวตั กรรมนน้ั ได้มผี ู้ใช้ประโยชน์จริง นอกเสียจากการ ทา R&D ในงานประจาของผู้วจิ ัยเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้วิจัยทา R&D จนได้นวัตกรรมแต่มิได้เผยแพร่องค์ ความรู้นวัตกรรมที่ได้น้ัน ประโยชน์อันพึงเกิดจากความอุตสาหพยายามก็ไร้ คุณค่า ดังนั้นจึงจะต้องมีกิจกรรมท่ีผู้วิจัย R&D พึงกระทา ได้แก่ การเขียน รายงานวิจัย และ/หรือ การนาเสนอผลงานเพื่อเผยแพร่ และ/หรือ บทคัดย่อ เพ่ือเป็นการเผยแพร่ให้สาธารณะ ชุมชนวิชาการ วงการวิชาชีพ ฯลฯ ได้รับ ทราบ กอ่ ให้เกดิ ประโยชนจ์ ากนวัตกรรมทค่ี ดิ คน้ ข้นึ มาได้น้นั อีกด้วย การเขยี นรายงานการวจิ ัย เป็นการนาเสนอการทาวิจัยอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับส่ิงท่ีได้ทาไปแล้วจน เสรจ็ สนิ้ สมบรู ณ์ ตวั อยา่ งทเ่ี ห็นไดช้ ัด คือ วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ซ่ึง นิยมใชเ้ ป็นแบบอย่างในการเขียนรายงานการวจิ ัยโดยทั่วไป โดยทั่วไปรูปแบบของรายงานการวิจัยประกอบด้วยส่วนสาคัญ ๓ ส่วน ดงั ต่อไปน้ี ส่วนท่ี ๑ สว่ นนา ประกอบดว้ ย ๑.๑ หน้าปก ขอ้ ความท่ปี รากฏบนหนา้ ปก คอื ชอ่ื เรอื่ ง ช่อื ผูท้ าการวจิ ัย ปีท่ีพมิ พ์งานวิจัย ๑.๒ หน้ากติ ติกรรมประกาศ

๒๐ เป็นท่ีท่ีผู้ทาวิจัยได้แสดงความขอบคุณต่อบุคคลต่าง ๆ ท่ีมีส่วน ช่วยเหลือให้งานวิจยั สาเร็จ ๑.๓ หน้าบทคัดย่อ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)บทคัดย่อเป็น การนาเอาสาระสาคัญของการทาวิจัยมาสรุปไว้เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้อ่านเน้ือ เรื่องย่อ ๆ ก่อนท่ีจะตัดสินใจว่าควรอ่านรายงานการวิจัยโดยละเอียดต่อไปท้ังฉบับ หรอื ไม่ สาระสาคัญท่ีควรนามาสรุปในบทคัดย่อประกอบด้วย ปัญหาของการวิจัย วตั ถปุ ระสงค์ที่สาคญั ของการทาวจิ ยั วิธีการดาเนินการวจิ ัย ขอ้ สรปุ และข้อเสนอแนะ ท่สี าคัญ ๑.๔ หนา้ สารบาญเนอ้ื เร่ือง ๑.๕ หนา้ สารบาญตาราง ๑.๖ หน้าสารบาญภาพหรอื แผนภูมิ สว่ นท่ี ๒ ส่วนเนื้อเรอ่ื งประกอบดว้ ย ๒.๑ บทนา กล่าวถึง ก. ความนาทั่วไป ข. ความสาคัญของปญั หาการวิจยั ค. วัตถุประสงค์ของการวจิ ัย ง. สมมตฐิ านการวิจัย(ถ้ามี) จ. ขอบเขตของการวจิ ยั

๒๑ มสี าระสาคัญเพ่อื ช้ีให้ผอู้ ่านทราบถึงปัญหา การวิจยั นนั้ มขี อบข่ายกว้างหรือแคบเพียงใด ฉ. ข้อตกลงเบื้องตน้ (ถา้ มี) มีสาระสาคญั ท่ชี ้ใี หผ้ ้อู ่านทราบถึงเงอ่ื นไข บางอยา่ งเกีย่ วกบั การวิจัยนัน้ ดงั นนั้ เม่ือผอู้ ่าน ทราบผลการวจิ ัยแล้วจะไดเ้ ขา้ ใจว่าผลของการ วิจยั นั้นยอมรับไดภ้ ายใต้ขอ้ ตกลงเบื้องตน้ นี้ ช. นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ เปน็ การใหผ้ ู้อ่านไดเ้ ขา้ ใจความหมายของคาบางคาท่ีผูว้ ิจยั ใช้ เพื่อให้ผู้อ่านไดเ้ ข้าใจตรงกนั ว่าหมายถึงอะไรในการวิจยั เรอื่ งนี้ ๒.๒ การตรวจเอกสารและงานวิจยั เป็นส่วนท่ีกล่าวถึงเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับปัญหาการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่าเร่ืองที่วิจัยน้ันมีทฤษฎีหรือหลักการใดบ้างที่เกี่ยวข้อง กับปัญหานั้น ๆ และมีผูใ้ ดบ้างทาการวิจยั ค้นควา้ ในเรือ่ งท่คี ลา้ ย ๆ กนั ไว้บ้าง ๒.๓ วิธีดาเนินการวิจัย เป็นส่วนที่กล่าวถึงรายละเอียดวิธีการศึกษา ซึ่งเริ่มตั้งแต่กล่าวถึง แหล่งข้อมูล ได้แก่ ลักษณะประชากร ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง วิธีสุ่มกลุ่ม ตัวอย่าง และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (กรณีที่การวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างใน การศึกษา) เครื่องมือท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยระบุให้ทราบว่า

๒๒ ลักษณะเครื่องมือเป็นอย่างไร การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือ (ความ เท่ยี งตรงและความเชื่อม่ัน) หลังจากน้ีก็กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ๒.๔ ผลการวิจัย ในส่วนนี้ของรายงานเป็นการนาเสนอข้อมูลท่ีได้ทาการวิเคราะห์แล้วมา รายงานไปตามลาดับให้สอดคล้องกับลาดับของวัตถุประสงค์การวิจัยและ สมมติฐาน การนาเสนออาจอยู่ในรูปแบบตาราง แผนภูมิ หรือกราฟ ก็ได้ ตามความเหมาะสม และมีการอธิบายความหมายของตัวเลขต่าง ๆ ที่แสดง เพอื่ ใหผ้ ูอ้ ่านเข้าใจความหมายของการวิเคราะห์ทน่ี าเสนอ ๒.๕ สรปุ ผลการวิจยั อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ ส่วนนี้เป็นส่วนสุดท้ายของรายงานการวิจัย ซึ่งจะกล่าวสรุปงานวิจัยท่ีได้ ทามาแต่ต้น โดยกล่าวอย่างย่นย่อเป็นการทบทวนให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหา การวิจยั วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐาน(ถ้ามี) วิธีดาเนินการวิจัย ผล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเน้นการตอบคาถามต่อวัตถุประสงค์และสมมติฐาน อย่างครบถ้วน เม่ือเขียนสรุปผลหมดแล้วจึงอภิปรายผล ซ่ึงก็คือการวิพากษ์ วิจารณ์ผล ของการวิจัยว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกับทฤษฎีหลักการหรือผลงานวิจัยท่ี เก่ยี วขอ้ ง สาหรับในสว่ นของข้อเสนอแนะนั้น เป็นการให้ความคดิ เหน็ ของผู้วิจัยเอง ในลักษณะท่ีจะทาให้ผลวิจัยเกิดประโยชน์มากขึ้น โดยเสนอเกี่ยวกับ

๒๓ ข้อเสนอแนะเพ่ือการทาวิจัยคร้ังต่อไปต่อจากงานวิจัยนี้ หรือชี้ให้เห็นข้อที่ ควรปรับปรุงดัดแปลง เพื่อให้งานวิจัยในลักษณะเดียวกันน้ี เกิดประโยชน์ ยิ่งขึน้ นอกจากนกี้ ็เสนอแนะเกี่ยวกับการท่จี ะนาผลการวิจยั น้ีเป็นพื้นฐานเพ่ือ นาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น เพื่อการวางแผน การดาเนิน นโยบาย ฯลฯ ส่วนที่ ๓ สว่ นอ้างอิง ประกอบด้วย ๓.๑ บรรณานุกรม/เอกสารอ้างองิ เป็นส่วนท่ีแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงแหล่งที่มาของข้อเขียนท่ีอ้างอิงไว้ใน รายงานการวิจัย ๓.๒ ภาคผนวก เป็นส่วนท้ายสุดของรายงานการวิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายท่ีสาคัญ ได้แก่ การให้ข้อมูลท่ีละเอียดเพิ่มเติมสาหรับผู้อ่านซ่ึงควรเป็นตัวอย่างของเครื่องมือ ท่ีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ เป็นต้น นอกจากนี้อาจเป็นการให้คาอธิบายและแสดงวิธีการทางสถิติที่ใช้ซึ่งมี รายละเอยี ดมาก การเขยี นเพื่อเผยแพร่ เป็นการเขียนรายงานการวิจัยอย่างย่อ เพื่อใช้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือแหล่งอ่ืน ๆ นับได้ว่าเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้วิจัยกับบุคคลอื่น ทั้งในแวดวงวิชาการ หรือวิชาชีพเดียวกันกับผู้วิจัย รวมทั้งบุคคลอื่น ๆ ที่ สนใจ

๒๔ โดยปกติแล้ว รปู แบบการเขียนเผยแพร่ไม่มีรูปแบบท่ีแน่นอน ท้ังน้ีขึ้นอยู่ กับแหล่งที่รับข่าวสารการวิจัยเพ่ือการเผยแพร่จะกาหนดขึ้น ดังตัวอย่าง ต่อไปน้ี คาแนะนาสาหรบั ผู้เขียน วทิ ยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสงั คมศาสตร์ วิทยาสารเกษตรสาขาสังคมศึกษาศาสตร์เป็นวารสารทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กาหนดออกปีละ ๓ ฉบับ (เมษายน สิงหาคม และธันวาคม) วัตถุประสงค์เพ่ือพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เชน่ สังคมศาสตร์ ศกึ ษาศาสตร์ มนษุ ยศาสตร์ และอ่ืน ๆ ทั้ง ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจากผู้เขียนภายนอกที่มีงานทางด้าน วิชาการคล้ายคลึงกัน โดยวารสารน้ีมีการเผยแพร่ทั้งในประเทศและ ตา่ งประเทศ เร่ืองท่ีจะส่งมาพิมพ์ในวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ แยก ได้เป็น ๒ ประเภท ๑. บทความวิจัย เป็นการเสนอผลการวิจัยท่ีผู้เขียนได้ดาเนินการด้วย ตนเอง (original article) นาเสนอแนวคิดและประเด็นใหม่ท่ีไม่ซ้าซ้อนกับ เรือ่ งท่เี คยตพี มิ พ์จากทใ่ี ดมาก่อน

๒๕ ๒. บทความปรทิ รรศน์ เป็นบทความทางวิชาการท่ีนาเสนอสาระซึ่งผ่าน การวเิ คราะห์ สงั เคราะหอ์ ยา่ งลุม่ ลึกจากแหลง่ ข้อมูลตา่ ง ๆ ได้แก่ จากทฤษฎี แนวคดิ และงานวจิ ยั โดยมีการอ้างอิงอยา่ งชดั เจน การเตรียมต้นฉบบั ๑. ตน้ ฉบับ เป็นต้นฉบับท่ีใช้ภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษล้วนก็ได้ (ไม่ใช่สาเนา) ควรพิมพ์ดีดบนกระดาษขนาด ๘.๕ X ๑๑ น้ิว พิมพ์หน้า เดยี ว บทความหน่ึง ๆ ควรมคี วามยาวไม่เกนิ ๑๕ หน้าพมิ พ์ ๒. ช่ือเรือ่ ง ระบทุ ้ังภาษาไทยและภาษาองั กฤษ ควรกระชับและตรงกับ เนื้อเรอ่ื ง ๓. ชอื่ ผู้เขยี น ใชช้ ่อื เต็มทงั้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๔. สถานทที่ างานของผเู้ ขยี น สาหรับบทความภาษาไทยให้ระบุจังหวัด และรหัสไปรษณีย์ และให้บอกสถานที่ทางานของผู้เขียนที่สามารถติดต่อได้ สะดวกเป็นภาษาอังกฤษ ๕. บทคัดย่อ ควรสรุปสาระสาคัญของบทความไว้โดยครบถ้วน และ ควรมีความยาวไม่เกิน ๓๐๐ คา หรับบทความภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อ เป็นภาษาอังกฤษ (Abstract) และให้ระบุคาสาคัญ (Key words) จานวนไม่ เกิน ๕ คา ไว้ดว้ ย ๖. เนอื้ หา เนือ้ หางานวจิ ยั ควรประกอบดว้ ยหวั ขอ้ ตอ่ ไปนี้

๒๖ บทนำ อธิบายความสาคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิจัย สมมตฐิ าน(ถ้าม)ี อาจรวมถึงการตรวจเอกสารไว้ด้วย กำรตรวจเอกสำร เป็นการสังเคราะห์สาระจากวรรณคดีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง เพ่ือแสดง แนวความคดิ ทฤษฎี และขอ้ มลู ทม่ี สี ว่ นสมั พนั ธก์ บั เรือ่ งทวี่ จิ ัย วธิ ีดำเนนิ กำรวิจยั ระบวุ ิธกี ารเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล รวมถึงปี พ.ศ. ท่ี ทาการวิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ซ่ึงอาจเป็นวิธีการเชิงคุณภาพหรือวิธีการเชิง ปริมาณข้นึ อยกู่ ับชนดิ ของการวิจัย ผลของกำรวิจยั แสดงผลของการวจิ ยั และขอ้ มลู ต่าง ๆ ท่ไี ด้จากการศึกษาวจิ ยั นนั้ ๆ อาจ มภี าพตาราง และแผนภมู ิประกอบ บทสรุป วจิ ำรณ์ และข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปผลที่ได้รับจากการวิจัยรวมถึงการอภิปรายผล และให้ ข้อเสนอแนะบนพ้นื ฐานของผลการวจิ ยั ๗. ภาพประกอบและตาราง ควรมีเฉพาะท่ีจาเป็น และมีเลขหมาย กากับภาพตามลาดับ ภาพจะต้องชัดเจน แสดงเนื้อหาสาคัญของเร่ือง

๒๗ ภาพถ่ายควรเป็นภาพขาว-ดา ภาพสีใช้ในกรณีท่ีจาเป็น คาอธิบาย ภาพประกอบและตารางให้ใช้ขอ้ ความกะทัดรัด ชัดเจน เปน็ ภาษาองั กฤษ ๘. เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิงภายในเน้ือเรื่องและภายใต้หัวข้อ เอกสารอ้างอิงจะต้องตรงกัน ไม่ควรอ้างอิงเรื่องท่ีไม่เกี่ยวข้องหรือห่างไกล การอ้างอิงต้องถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะต้องมีรายละเอียดสาคัญ เกี่ยวกับเอกสารไว้ครบถ้วน เพื่อสะดวกในการติดตามเอกสารที่ผู้เขียนได้ อ้างอิงไว้ และการอ้างอิงควรใช้รูปแบบเดียวกันโดยสม่าเสมอ โดยใช้ระบบ ชอ่ื และปี ๘.๑ การเรียงลาดับเอกสารเรียงตามลาดับอักษรชื่อผู้เขียนโดยไม่ต้องมี เลขกากับ เร่ิมด้วยรายช่ือเอกสารภาษาไทย และต่อด้วยรายช่ือเอกสาร ภาษาต่างประเทศ ๘.๒ การอา้ งอิงเอกสารท่เี ปน็ ภาษาไทย ช่อื ผ้เู ขียนใชช้ อ่ื เต็ม ๘.๓ การอ้างอิงเอกสารท่ีเป็นภาษาต่างประเทศ ชื่อผู้เขียนให้อ้าง นามสกุลก่อน โดยเขียนเป็นคาเต็ม และตามด้วยชื่ออื่น ๆ ซึ่งย่อเฉพาะอักษร ตัวแรก ในกรณีท่ีชื่อมีคาข้ึนต้นด้วยคาว่า Van. de. der. von. ให้เขียน เติมหนา้ ชอื่ สกลุ สาหรบั ช่ือของผู้เขียนทเ่ี ป็นคนไทย ให้เขียนเปน็ คาเตม็ ด้วย ๙. ข้อแนะนาในการใช้ภาษา ๙.๑ ใช้ภาษาทถ่ี ูกตอ้ ง เขา้ ใจงา่ ยและกะทัดรัด

๒๘ ๙.๒ ใช้คาศัพท์หรือคาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ ประกาศของราชบัณฑติ ยสถาน ๙.๓ การใช้ศัพท์บัญญัติทางวิชาการ ควรใช้ควบคู่กับศัพท์ ภาษาอังกฤษ ๙.๔ การเขียนชื่อเฉพาะหรือคาแปลจากภาษาต่างประเทศที่ปรากฏเป็น ครั้งแรกในบทความ หากจาเป็นก็ควรพิมพ์ภาษาเดิมของชื่อน้ัน ๆ กากับไว้ในวงเล็บ เช่น ไทรบุรี (Kedah) เคปเวอรด์ (Cape Verde) เปน็ ต้น ๙.๕ ไม่ควรใช้ภาษาต่างประเทศในกรณีท่ีมีคาไทยใช้อย่าง แพรห่ ลายอย่แู ลว้ ๙.๖ รักษาความสม่าเสมอในการใช้คาศัพท์ การใช้ตัวย่อ โดย ตลอดท้งั บทความ ๑๐. การตรวจแก้ไขต้นฉบับ คณะกรรมการฯ ของสงวนสิทธิ์ตรวจ แกไ้ ขตน้ ฉบับท่สี ง่ มาพิมพ์ทุกเรื่องตามแต่จะเห็นสมควร ในกรณีท่ีจาเป็น จะ ส่งต้นฉบับเดิมหรือฉบับที่แก้ไขแล้วกลับคืนมายังผู้เขียนเพื่อขอความเห็นชอบ อีกคร้ังหน่ึง ๑๑. ระยะเวลาในการดาเนินการ คณะกรรมการฯ จะดาเนินการ ตั้งแตร่ บั เรอ่ื งจนถงึ พร้อมตีพมิ พ์ ใชเ้ วลาประมาณ ๓ เดอื น

๒๙ รูปแบบการเขียนบทความเพ่อื ลงพมิ พใ์ นวารสารวิจยั มข. (กรุณาจัดเตรียมต้นฉบับบทความทไี่ ดร้ บั การยอมรับใหล้ งพมิ พ์ ตามขอ้ กาหนดน้โี ดยเคร่งครดั ) จดั เตรยี มบทความให้อยู่ในรปู ของบทความวิจยั (Research Article) และ ไม่เคยตพี ิมพเ์ ผยแพรท่ ี่ใดมากอ่ น เขยี นเปน็ ภาษาไทยหรอื ภาษาองั กฤษกไ็ ด้ ซงึ่ มีองค์ประกอบ คอื สว่ นปก (Cover) ประกอบด้วย ๑. ช่อื บทความ(Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๒. ชอ่ื ผู้เขียนทุกคน(Authors) (ระบเุ ฉพาะชือ่ และนามสกลุ โดยไมต่ อ้ งมี คานาหนา้ ชื่อ ตาแหน่ง คณุ วฒุ )ิ ทงั้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ๓. บทคัดยอ่ (Abstract) ทง้ั ภาษาไทยและภาษาอังกฤษความยาวไมค่ วร เกินอยา่ งละ ๑๐ บรรทดั (บทคดั ยอ่ ท่ีเขยี นควรเป็นแบบ Indicative Abstract คือสน้ั และตรงประเด็น และให้สาระสาคัญเท่าน้นั ไมค่ วรเขียนแบบ Informative Abstract ตามแบบทเี่ ขยี นในวิทยานิพนธห์ รอื รายงานการวจิ ัย ฉบับสมบรู ณ์) ๔. คาสาคัญ (Key words) กาหนดคาสาคญั ท่เี หมาะสมสาหรบั การ นาไปใช้ทาคาคน้ ในระบบฐานข้อมลู ซง่ึ ทา่ นคดิ ว่าผู้ทจ่ี ะคน้ หาบทความน้ีควร ใช้ ท้งั คาในภาษาไทยและภาษาองั กฤษ อย่างละไมเ่ กิน ๓ คา

๓๐ ๕. รายละเอียดทเ่ี กีย่ วกับผเู้ ขียน (Author Affiliation) ระบุรายละเอียด เกย่ี วกบั ผเู้ ขยี นแตล่ ะคนไว้ในเชิงอรรถ (Footnote) ใหร้ ะบุตาแหนง่ ทาง วชิ าการ คณุ วุฒิ (ถา้ มี) และสถานทที่ างานของผเู้ ขยี นทกุ คน สว่ นเน้อื หา (Body of the Context) ประกอบดว้ ย ๑. บทนา (Introduction) ครอบคลุมความสาคัญและทม่ี าของปัญหาการ วิจยั วตั ถปุ ระสงคก์ ารวิจัย และวรรณกรรมที่เกย่ี วข้อง บทนาควรเขยี นใน รปู เรยี งความให้รวบรวมเป็นเนื้อเดยี วกัน ๒. วิธีการวจิ ัย หรอื อุปกรณแ์ ละวธิ วี ิจยั หรอื ระเบียบวิธวี จิ ัย (Research Methodology) อธบิ ายวธิ ีการดาเนนิ การวจิ ยั ซ่งึ อาจประกอบดว้ ยหวั ขอ้ ย่อย ๆ เชน่ ประชาชนและกลมุ่ ตวั อย่าง เครอ่ื งมอื ทใ่ี ช้ในการวจิ ยั การเก็บ รวบรวมขอ้ มูลซงึ่ สอดคลอ้ งตามการวิจัยแตล่ ะเรอื่ ง ๓. สรปุ และอภิปรายผล/วิจารณ์ผลการวิจัย (Results and Discussion) ๔. ข้อเสนอแนะ (Recommendations) เสนอแนะแนวทางการนา ผลการวจิ ยั ไปใช้ ๕. กิตตกิ รรมประกาศ(Acknowledgement) ระบุแหลง่ ทนุ หรอื ผมู้ ี ส่วนสนบั สนุนในการทาวจิ ัยให้ประสบผลสาเรจ็ (ถา้ มี)

๓๑ ๖. เอกสารอ้างองิ (References) ใหใ้ ช้ตามแบบที่กาหนดสาหรบั วารสาร วจิ ัย มข. บทคดั ยอ่ เป็นการเขียนรายงานการวิจัยส้ันท่ีสุด ปกติท่ัวไปความยาวไม่ควรเกิน๑ หน้า เพราะว่าบทคัดยอ่ มีจุดประสงคเ์ ฉพาะที่ต้องการให้ผู้สนใจได้อ่านเนื้อหา สาระย่อ ๆ ของงานวิจัยก่อนที่จะตัดสินใจอ่านงานวิจัยท้ังฉบับ โดยปกติแล้ว บทคัดย่อจะถูกกาหนดให้จดั ทาไว้สว่ นหน้าสุดก่อนเนื้อหาของรายงานการวิจัย ๕ บท หรอื รายงานการวิจัยแบบวิทยานิพนธ์ การเขียนบทคัดย่อในลักษณะที่เป็นความเรียงต่อเน่ืองกันไป โดยระบุ สาระที่สาคัญ ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ จานวนและลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และผลการวิจัย โดยสังเขป ตัวอย่าง : บทคัดย่อวิทยานิพนธ์เรื่อง “การผลิตวีดิทัศน์เพ่ือการ ประชาสัมพันธ์ เร่ือง สถาบันพัฒนาข้าราชการตารวจ”ของพันตารวจโทหญิง นารถรพี อินทรสุวรรณ (๒๕๔๓:บทคดั ย่อ) การวิจัยคร้ังน้ีมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) สร้างส่ือวีดิทัศน์เพ่ือการ ประชาสัมพันธ์ เรื่อง สถาบันพัฒนาข้าราชการตารวจ ๒) หาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนโดยผา่ นสือ่ วดี ทิ ศั นเ์ พ่อื การประชาสัมพันธ์ เร่ือง สถาบันพัฒนา ข้าราชการตารวจ

๓๒ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตารวจผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรสารวัตรรุ่น ท่ี ๕๗ จานวน ๖๐ คน แบ่งออกเปน็ ๒ กลุ่มๆละ ๓๐ คน โดยการสุ่ม ตัวอย่างแบบงา่ ย จับสลากเลอื กให้เปน็ กล่มุ ควบคุมและกลุ่มทดลอง การวิจัย คร้ังนี้ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการทดลองแบบ Randomized control group pretest posttest ผลการวิจัยพบว่า ๑) สื่อวีดิทัศน์มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ๒) คะแนน เฉลี่ยของ กลุ่ม ทดลองที่ เรียนผ่า นส่ือ วีดิทั ศน์สูงกว่ าคะ แนน เฉ ล่ียขอ งกลุ่ม ควบคมุ ที่เรียนแบบการบรรยายปกติ โดยผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของกลุ่มทั้ง สองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ โดยคะแนนที (t-test) ตัวอย่าง : บทคัดย่อวิทยานิพนธ์เร่ือง “การสร้างชุดการสอนวิชา ภาษาไทย เร่ือง อิเหนาสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ของนางสาว เกศรนิ ทร บาเพญ็ ทาน(๒๕๓๒:บทคัดย่อ) การวจิ ยั คร้ังนี้มีวัตถปุ ระสงคเ์ พื่อ ๑) สรา้ งชุดการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง อิเหนาสาหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๔ ๒) หาประสิทธิภาพของ ชุดการสอนท่ีสร้างขึ้นให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ และ ๓) เปรียบเทียบความก้าวหน้าในการเรียนจากคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนชุด การสอน

๓๓ กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๓๑ โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี จานวน ๖๐ คน กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster) จากนั้นจึงทดสอบก่อนเรียน และทดลองดว้ ยชุดการสอนทผี่ วู้ จิ ยั สรา้ งขน้ึ แลว้ ประเมินผลด้วยแบบทดสอบ หลังเรียน นาคะแนนแบบฝึกหัดระหว่างเรียนกับคะแนนสอบหลังเรียนของ กลุ่มตัวอย่างมาคานวณหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ นา คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการเรียนโดย ใช้ t-test ผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดการสอนที่สร้างข้ึนมีประสิทธิภาพ ๘๘.๗๘/๘๓.๐๐ คะแนน ที่ได้จากการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน แตกต่างกันอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติท่ีระดับ .๐๑ แสดงว่าชุดการสอน เร่ือง อิเหนา ท่ีสร้างข้ึนนาไปใช้ ในการสอนได้อย่างมีประสิทธภิ าพ

๓๔ บรรณานุกรม เกศรนิ ทร บาเพญ็ ทาน. ๒๕๓๒. การสรา้ งชดุ การสอนวชิ าภาษาไทย เรอ่ื ง “อิเหนา” สาหรบั นกั เรียนชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ ๔. กรุงเทพมหานคร : วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาโท, มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร.์ พันตารวจโทหญิงนารถรพี อินทรสวุ รรณ . -๒๔๔๓ . การผลิตวีดที ัศน์เพือ่ การ ประชาสมั พนั ธ์ เร่อื งสถาบันพฒั นาขา้ ราชการตารวจ.กรงุ เทพมหานคร: วิทยานพิ นธป์ รญิ ญาโท,มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ไพฑูรย์ สนิ ลารตั น์ และสาลี ทองธิว (บรรณาธกิ าร). ๒๕๒๗. การวิจยั ทาง การศึกษา : วธิ ีการสาหรับนกั วิจัย. กรงุ เทพฯ : สหประชาพาณิชย์. รัมภา อัครศกั ดิศ์ ร.ี ๒๕๓๓. การสรา้ งชดุ การเรียนรูข้ ลุย่ ไทยด้วยตนเอง กรงุ เทพมหานคร:วทิ ยานพิ นธป์ รญิ ญาโท, มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ วารสารวจิ ยั มข. http:// www.champa’kku’ac’th/kkurj/ วทิ ยาสารเกษตรศาสตร์ www.rdi.ku.ac.th

๓๕ สธุ ีระ ประเสรฐิ สรรพ์. ๒๕๔๗. วิจยั ...ยังมีอะไรที่ไมร่ ู้ (วา่ ไม่รู้). กรงุ เทพมหานคร : หา้ งหุ้นส่วนจากดั ซโี น ดไี ซน.์ อรสา ยกย่อง. คา่ ใชจ้ ่าย-ประสิทธผิ ลของชุดการสอนวิชางานเกษตร เรอ่ื ง “การอนรุ กั ษด์ ินและน้า” สาหรบั นกั เรียนมธั ยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร:วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญาโท, มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ Natthapong Charoenpit, Kitima Preedeedilok and Prapart Brudhiprabha (ed.). 1990. Research and Development in the Next Decade Asian Perspectives. Bangkok : V.J.Press สวัสดี โสภณ ธนะมัย วทิ ยาลัยส่ิงแวดล้อม มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook