Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วันสุทรภู่ 2563

วันสุทรภู่ 2563

Published by ฺBuengsamphan Digital Library, 2020-06-26 11:11:10

Description: 26-มิถุนายน

Search

Read the Text Version

26 มิถนุ ายน วันสุนทรภู่ ห้องสมุดประชาชนอาเภอบึงสามพนั

วนั สุนทรภู่ หมายถงึ วนั คล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร(สนุ ทรภ)ู่ เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝา่ ยพระราชวงั ซึง่ มีผลงานด้านบทกลอนทีม่ คี ุณค่าแกแ่ ผ่นดินเป็นจานวนมาก ความเปน็ มาวันสุนทรภู่ องคก์ ารศกึ ษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึง่ เปน็ ผู้ที่มหี นา้ ที่ส่งเสริม และเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชกิ ต่าง ๆ ท่วั โลก ด้วยการประกาศ ยกยอ่ งเชดิ ชเู กยี รติบคุ คลผมู้ ผี ลงานดีเดน่ ทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปขี ้นึ ไป ประจาทุกปี โดยมวี ตั ถปุ ระสงค์ โดยสรุป คือ

เพอ่ื เผยแพรเ่ กียรติคณุ และผลงานของผมู้ ผี ลงานดีเด่นทาง ด้าน วัฒนธรรมระดบั โลกใหป้ รากฎแก่มวลสมาชิกทัว่ โลก เพ่อื เชญิ ชวนใหป้ ระเทศสมาชิกมีส่วนรว่ มในการจดั กิจกรรม เฉลิมฉลองรว่ มกับ ประเทศทีม่ ีผไู้ ดร้ บั การยกย่องเชดิ ชูเกยี รติ ในการน้ี รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแหง่ ชาติวา่ ดว้ ยการศกึ ษาวิทยาศาสตรแ์ ละวัฒนธรรมแหง่ สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเปน็ ผูส้ ืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มผี ลงานดีเด่นทางวฒั นธรรม เพอ่ื ให้ยเู นสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและไดป้ ระกาศยกยอ่ งสุนทรภู่ให้ เปน็ บคุ คลผู้มีผลงาน ดีเด่นทางวฒั นธรรมระดับโลกในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปเี กิด เมื่อวนั ที่ ๒๖ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๒๙ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นายเสวตร เป่ยี มพงศส์ านต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดาเนนิ การจดั ต้งั

สถาบันสุนทรภู่ข้ึนเพือ่ สนบั สนนุ การจัดกิจกรรมเก่ียวกบั ชีวิตและงานของ สนุ ทรภใู่ หแ้ พร่หลายในหมเู่ ยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น จึงได้ กาหนดให้วันที่ ๒๖ มถิ ุนายน ของทกุ ปี เป็น วนั สนุ ทรภู่ ชวี ประวตั ิสุนทรภู่ ประวตั ิสนุ ทรภวู่ ยั เดก็ (พ.ศ.๒๓๒๙ - ๒๓๔๙) แรกเกิด - อายุ ๒๐ ปี พระสนุ ทรโวหาร (ภ่)ู มีนามเดิมว่า ภู่ เปน็ บตุ รขุนศรีสงั หาญ (พลับ) และแม่ ชอ้ ย เกิดในรชั กาลที่ ๑ กรุงรตั นโกสินทร์ เมือ่ วันจนั ทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่า ปี มะเมยี จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเชา้ ตรงกับวันที่ ๒๖ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๓๒๙ ที่บา้ นใกล้กาแพงวังหลงั คลองบางกอกน้อย สุนทรภเู่ กิดได้ไม่นาน

บดิ ามารดาก็หย่าจาก กนั ฝ่ายบดิ ากลับไปบวชที่บ้านกรา่ เมอื งแกลง ส่วน มารดา คงเป็นนางนมพระธิดา ในกรมพระราชวงั หลงั (กลา่ วกันว่าพระองค์เจ้า จงกล หรือเจา้ ครอกทองอย)ู่ ไดแ้ ตง่ งานมสี ามีใหม่ และมีบตุ รกับสามใี หม่ ๒ คน เป็นหญิง ชื่อฉิมและนิม่ ตวั สุนทรภูเ่ องไดถ้ วายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวัง หลังต้งั แตย่ งั เดก็ สนุ ทรภเู่ ปน็ คนเจ้าบทเจ้ากลอน สันทดั ทัง้ สักวาและเพลงยาว เมอ่ื รุ่นหนุ่มเกิด รักใคร่ชอบพอกับนางขา้ หลวงในวงั หลัง ช่อื แมจ่ ัน ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวัง หลงั พระองค์ก็กริว้ รับสัง่ ให้นาสุนทรภแู่ ละจนั ไปจองจาทันที แต่ทงั้ สอง

ถูกจองจาได้ไม่นาน เมือ่ กรมพระราชวัง หลังเสดจ็ ทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ท้งั สองกพ็ น้ โทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแตโ่ บราณ ที่จะมกี ารปลอ่ ยนกั โทษเพอ่ื อทุ ิศส่วนพระราชกศุ ลแด่ พระมหากษัตรยิ ์หรือพระราชวงศ์ ช้ันสูงเมอ่ื เสด็จสวรรคต หรือทิวงคตแลว้ แม้จะพ้นโทษ สนุ ทรภู่และจันก็ยังมิอาจสมหวังในรัก สนุ ทรภถู่ ูกใช้ ไปชลบรุ ี ดงั ความตอนหน่งึ ในนิราศเมอื งแกลงว่า \"จะกรวดน้าคว่าขนั จนวันตาย แม้เจา้ นายทา่ นไมใ่ ชแ้ ลว้ ไม่มา\" แตเ่ จา้ นายท่านใดใชไ้ ป และไปธรุ ะเรื่องใดไมป่ รากฎ อยา่ งไรก็ดี สนุ ทรภู่ได้เดินทาง เลยไปถึงบ้านกรา่ เมืองแกลง จงั หวัดระยอง เพื่อไปพบบิดาที่จากกนั กว่า ๒๐ ปี สุนทรภเู่ กิดล้มเจบ็ หนักเกือบถึงชีวิต กว่าจะกลับมากรุงเทพฯ กล็ ่วงถงึ เดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๓๔๙

ประวัติสุนทรภู่วยั ฉกรรจ์ (พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙) อายุ ๒๑ - ๓๐ ปี หลังจากกลับจากเมอื งแกลง สุนทรภ่ไู ด้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจา้ ปฐมวงศ์ พระโอรสองคเ์ ลก็ ของกรมพระราชวังหลัง ซึง่ ทรงผนวชอยูท่ ี่วดั ระฆัง ในชว่ งนีส้ นุ ทรภกู่ ส็ มหวงั ในรักไดแ้ มจ่ นั เป็น ภรรยา สนุ ทรภ่คู งเป็นคนเจา้ ชู้ แต่งงานได้ไม่นานก็เกิดระหองระแหงกับแม่จันยังไมท่ ันคนื ดี สนุ ทรภกู่ ต็ อ้ งตามเสดจ็ พระองคเ์ จา้ ปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพทุ ธบาท จ.สระบรุ ี ในวัน

มาฆบูชา สนุ ทรภูไ่ ด้แต่งนริ าศ เร่ืองที่สองขึน้ คือ นิราศพระบาท สนุ ทรภตู่ ามเสดจ็ กลับถงึ กรงุ เทพฯ ในเดือน ๓ ปี พ.ศ.๒๓๕๐ สุนทรภมู่ บี ตุ รกบั แม่จนั ๑ คน ชื่อหนพู ัด แต่ชวี ิตครอบครวั ก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในทีส่ ุดแมจ่ ันก็รา้ งลา ไป พระองคเ์ จา้ จงกล (เจา้ ครอก ทองอย)ู่ ไดร้ ับอุปการะหนูพดั ไว้ ชวี ิตของทา่ นสนุ ทรภชู่ ่วงน้ีคง โศกเศรา้ มิใช่น้อย ประวัติชีวิตของสุนทรภ่ใู นชว่ งปี พ.ศ.๒๓๕๐ - ๒๓๕๙ กอ่ นเข้ารับราชการ ไม่ชัดแจ้ง แต่เชอ่ื วา่ ท่านหนคี วามเศร้าออกไปเพชรบุรี ทาไร่ทานาอยู่กับ หมอ่ มบญุ นาคในพระราชวงั หลงั ดังความตอนหนึ่งในนิราศ เมืองเพชร ที่ ท่านย้อน ราลึกความหลงั สมยั หน่มุ ว่า

\"ถึงตน้ ตาลบา้ นคุณหมอ่ มบุญนาค เม่อื ยามยากจนมาได้อาศยั มารดาเจา้ คราวพระวงั หลังครรไล มาทาไรท่ านา ทา่ นการุญ\" ประวัติสุนทรภรู่ ับราชการคร้งั ที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๖๗) อายุ ๓๐ - ๓๘ ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเปน็ มหากวีและทรงสน พระทยั เรอ่ื งการละครเปน็ อย่างย่ิง ในรัชสมยั ของ พระองค์ ได้กวดขันการ ฝึกหัดวิธีราจนไดท้ ี่ เปน็ แบบอย่างของละครรามาตราบทกุ วันน้ี พระองค์ยงั ทรง พระราชนิพนธบ์ ทละคร ข้นึ ใหมอ่ ีกถึง ๗ เรอ่ื ง มเี ร่ืองอเิ หนาและเร่ือง รามเกยี รติ์ เป็นตน้

มลู เหตุทีส่ นุ ทรภไู่ ดเ้ ข้ารับราชการ น่าจะเนอ่ื งมาจากเรือ่ งละครนี้ เอง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับกรณีทอดบตั รสนเทห่ ์ เพราะจากกรณี บัตร สนเทห่ น์ ัน้ คนทีม่ สี ว่ นเก่ยี วขอ้ งถูกประหารชวี ิตถึง ๑๐ คน แมแ้ ต่ นายแหโขลน คนซือ้ กระดาษดินสอ ก็ยังถูกประหารชีวิตดว้ ย มหี รือ สุนทรภจู่ ะรอดชวี ิตมาได้ นอกจากนี้ สนุ ทรภู่เป็นแต่เพยี งไพร่ มีชีวิต อยูน่ อกวังหลวง ช่วงอายกุ ่อนหน้านี้ก็วนเวียน และเวียนใจอยกู่ ับเร่อื ง ความรกั ทีไ่ หนจะมเี วลามายุ่งเก่ยี วกับเรื่องการเมือง

(กรณีวิเคราะหน์ ี้ มไิ ดร้ ับรองโดยนักประวตั ิศาสตร์ เปน็ ความเหน็ ของคุณ ปราโมทย์ ทศั นาสวุ รรณ เขียนไว้ในหนงั สอื \"เที่ยวไปกบั สนุ ทรภู\"่ ซึง่ เหน็ ว่า มูลเหตุทีส่ ุนทรภไู่ ดเ้ ข้า รบั ราชการ น่าจะมาจากเรื่องละครมากกวา่ เร่อื งอ่นื ซึ่ง ขา้ พเจ้า พเิ คราะหด์ ูก็เห็นน่าจะจรงิ ผิดถูกเชน่ ไรโปรดใชว้ ิจารณญาณ) อีกคราวหนึ่งเม่อื ทรงพระราชนิพนธเ์ รื่องรามเกียรติ์ตอนศกึ สิบขุนสิบรถ ทรงพระราชนิพนธ์บทชม รถทศกัณฐ์ว่า \"รถทีน่ ง่ั บุษบกบัลลังกต์ ้ังตระหง่าน กว้างยาวใหญเ่ ท่าเขาจกั รวาล ยอดเยยี่ มเทียมวิมานเมืองแมน

ดุมวงกงหันเป็นควันควา้ ง เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน สารถีขี่ขบั เข้าดงแดน พน้ื แผน่ ดินกระเดน็ ไปเปน็ จุณ\" ทรงพระราชนิพนธม์ าได้เพียงนี้ ทรงนกึ ความทีจ่ ะต่อไปอยา่ งไรใหส้ มกับทีร่ ถใหญโ่ ตปานน้ันก็นึกไม่ ออกจึงมีรบั ส่งั ให้สนุ ทรภ่แู ต่งตอ่ สนุ ทรภู่แตง่ ต่อวา่ \"นทีตีฟองนองระลอก กระฉอกกระฉอ่ นชลข้นขุน่ เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อนนต์หนนุ ดินดานสะทา้ นสะเทือน ทวยหาญโห่รอ้ งก้องกัมปนาท สุธาวาสไหวหวน่ั ลนั่ เลือ่ น บดบังสรุ ิยนั ตะวันเดือน คลาดเคลือ่ นจัตรุ งค์ตรงมา\" กลอนบทนเ้ี ป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลิศหล้านภาลัยยิ่งนกั

นบั แต่นัน้ ก็นับสุนทรภู่เป็นกวีที่ปรึกษาด้วยอีกคนหนึง่ ทรงตง้ั เป็นทีข่ ุนสุนทรโวหาร พระราชทานที่ให้ ปลกู เรอื นที่ทา่ ชา้ ง และใหม้ ีตาแหนง่ เฝ้าฯ เปน็ นจิ แมเ้ วลาเสดจ็ ประพาสก็โปรดฯ ใหส้ นุ ทรภลู่ งเรือพระที่นั่งไปด้วย เปน็ พนักงานอ่านเขยี นในเวลาทรง พระราชนิพนธบ์ ทกลอน สนุ ทรภู่ ประวตั ิสนุ ทรภู่ออกบวช (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๘๕) อายุ ๓๘ - ๕๖ ปี วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจาก แผน่ ดินและผืนฟ้าจะร่าไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึง่ ที่มีโอกาสสูงสดุ ในชีวิต ไดเ้ ปน็ ถึงกวีทีป่ รกึ ษา ในราช สานกั ก็หมดวาสนาไปด้วย

\"ทรงขัดเคืองสนุ ทรภ่วู า่ แกลง้ ประมาทอีกครั้งหนึ่ง แตน่ ้นั ก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกลา้ เจ้าอยูห่ ัว ทรงมนึ ตึงต่อสุนทรภู่มา จนตลอดรชั กาลที่ ๒ ... \" จะโดยตง้ั ใจหรอื ไมต่ ้งั ใจ เพยี งคดิ ได้ดว้ ยเฉพาะหน้า ตรงนัน้ ก็ตาม สุนทรภ่กู ไ็ ดท้ าการไมเ่ ป็นที่พอพระราชหฤทยั ประกอบกับ ความอาลัยเสียใจหนักหนาในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลยั สนุ ทรภู่ จึงลาออกจากราชการ และต้ังใจบวชเพ่อื สนอง พระมหากรณุ าธิคณุ สนุ ทรภู่ได้ เผยความในใจน้ี ในตอนหนึง่ ของนริ าศภูเขาทอง ว่า \"จะสร้างพรตอตส่าหส์ ่งบญุ ถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทงั้ วสา เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา

ขอเปน็ ข้าเคยี งพระบาททกุ ชาติไป\" เม่อื บวชแลว้ ท่านไดอ้ อกจาริกแสวงบญุ ไปยังที่ตา่ งๆ เลา่ กันว่า ท่านได้เดินทางไปยังหัวเมอื งต่างๆ หลายแหง่ เช่นเมืองพิษณโุ ลก เมืองประจวบคีรีขนั ธ์ จนถึงเมอื งถลางหรอื ภเู ก็ต และเชอ่ื กนั วา่ ท่าน คงจะเขียนนริ าศเมอื งตา่ งๆ นี้ไวอ้ ยา่ งแนน่ อน เพยี งแตย่ ังค้นหาตน้ ฉบับไม่พบ ชพี จรลงเท้าสนุ ทรภอู่ ีกครง้ั เม่อื ท่านเกิดไปสนใจเรื่องเลน่ แรแ่ ปรธาตุและยาอายวุ ัฒนะ ถึงแก่ อุตสาหะ ไปคน้ หา ทาให้เกิด นริ าศวัดเจา้ ฟ้า และนริ าศสุพรรณ ปี พ.ศ.๒๓๘๓ สุนทรภู่มาจาพรรษา อยูท่ ี่วดั เทพธิดาราม ทา่ นอยทู่ ี่น่ไี ด้ ๓ พรรษา คืนหนง่ึ เกิดฝันร้าย ว่าชะตาขาด จะถงึ แกช่ วี ิต จึงได้ แต่งเร่อื งราพันพิลาป ซึ่งทาใหท้ ราบเรื่องราว ในชีวิตของท่านอกี เปน็ อนั มาก จากน้ันจึงลาสกิ ขาบท เมอ่ื ปี พ.ศ.๒๓๘๕ เพ่อื เตรียมตวั จะตาย รบั ราชการครง้ั ที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๙๘) อายุ ๕๖ - ๖๙ ปี

เม่อื สึกออกมา สุนทรภู่ไดร้ ับพระมหากรณุ าธิคณุ จากพระบาทสมเดจ็ พระปิ่นเกล้าเจ้าอย่หู ัว คร้งั ทรง พระยศเปน็ สมเด็จพระเจา้ น้องยาเธอ เจา้ ฟ้ากรมขนุ อิศเรศรังสรรค์ โปรดอปุ ถัมภใ์ หส้ ุนทรภู่ ไปอยู่พระราชวงั เดิมดว้ ย ตอ่ มา กรมหม่นื อปั สรสดุ าเทพ ทรงพระเมตตา อปุ การะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันวา่ ชอบพระราชหฤทัย ในเรื่องพระอภยั มณี จึงมีรบั สง่ั ให้สนุ ทรภูแ่ ต่งต่อ นอกจากน้ี สนุ ทร ภยู่ งั แต่งเรอ่ื ง สิงหไตรภพถวายกรมหมืน่ อัปสรฯ อกี เรื่องหนึ่ง แมส้ นุ ทรภู่จะอายุมากแล้ว แตท่ ่านกย็ ังรักการเดินทางและรกั กลอนเปน็ ที่สดุ ทา่ นไดแ้ ตง่ นริ าศไว้อีก ๒ เรอ่ื งคอื นริ าศพระประธม และนิราศเมืองเพชร สุนทรภไู่ ด้รับพระราชทานบรรดาศกั ดิเ์ ปน็ \"พระ สนุ ทรโวหาร\" ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ขณะที่ท่านมอี ายุ ได้ ๖๕ ปแี ลว้ ท่าน ถึงแก่อนจิ กรรมเม่อื ปี พ.ศ.๒๓๙๘ รวมอายไุ ด้ ๖๙ ปี

เกร็ดความรูป้ ระวัติของสนุ ทรภู่ ในเรื่องประวัติและผลงานของท่านสุนทรภนู่ ี้ นายเทพ สุนทร ศารทลู ผ้มู ผี ลงานดีเดน่ ทางวัฒนธรรมท่านหนึ่ง กล่าวไวว้ ่าทา่ น ได้ศกึ ษาและค้นคว้าชีวิตและงานของสนุ ทรภูม่ าเป็นเวลานานถึง ๓๘ ป(ี พ.ศ.๒๔๙๕-๒๕๓๓) และไดพ้ ิมพห์ นังสอื เร่ือง \"ชีวประวัติ ของพระสนุ ทรโวหาร(ภู่ ภเู่ รือหงส)์ \" เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓ เปน็ วิทยานพิ นธ์โดยพิสดารเผยแพร่ประวตั ิของทา่ นสุนทรภู่ที่เพิ่งพบ ใหมห่ ลายประการ ซึ่งหากใครสนใจในรายละเอียดก็ไปค้นอ่าน ได้ แตใ่ นทีน่ ีจ้ ะขอนามาบอกกล่าวเป็นบางเรือ่ งคือ ตาแหน่งของสนุ ทรภู่ เป็น หลวงสนุ ทรโวหาร มิใช่ ขนุ สนุ ทรโวหารตามที่เคยว่ากัน เพราะในทาเนียบ นามบรรดาศกั ดิไ์ มม่ ีตาแหนง่ ขุน มแี ต่ หลวง

บดิ าสุนทรภู่ช่อื ขุนศรีสังหาญ(พลบั ) ตาแหน่งปลัดกรมขวาศักดินา ๓๐๐ไร่ จากการค้นควา้ ได้พบวา่ บทกวีเดมิ ทีม่ ิใชส่ นุ ทรภแู่ ต่งมี ๕ เร่อื ง แตเ่ ปน็ ผลงานของศิษย์ของทา่ น คอื สภุ าษติ สอนหญิง เปน็ ของนายภู่ จุลละภมร นิราศพระแทน่ ดงรงั เป็นของเสมยี นมี มี ระเสน นริ าศวัดเจา้ ฟา้ ของนายพดั ภูเ่ รือหงส์ (ลกู ชายสนุ ทรภู)่ นริ าศอิเหนา ของกรมหลวงภวู เนตรนรินทรฤ์ ทธิ์ และบทละคร เร่อื งพระอภัยนุราช เปน็ ของพระยาเสนาภูเบศร์ (ใส สโรบล) นอกจากนี้นายเทพ ยังพบผลงานใหมข่ องทา่ นสุนทรภอู่ กี ๕ เร่อื งคอื เพลงยาวราพรรณพลิ าป(แตง่ ถวายกรมหมื่นอปั สรสดุ า เทพ ซึง่ กล่าวว่าเปน็ เพลงยาวสังวาสทีย่ าวที่สดุ ในโลก-เพลงยาว สังวาสคือเพลงยาวทีแ่ ต่งเกี้ยวกัน) เพลงยาวสุภาษิตโลกนติ ิ ตารายาอัฐกาล(ตาราบอกฤกษย์ ามเดินทาง) สบุ ินนมิ ติ คากลอน

และตาราเศษนารี(เปน็ ตาราบอกลักษณะนารีถงึ คุณลักษณะ และวาสนานารีสาหรบั ชายหนมุ่ เลือกค)ู่ ทีก่ ลา่ วว่าสภุ าษิตสอน หญิงมิใชส่ นุ ทรภแู่ ตง่ แต่เปน็ ของนายภู่ จลุ ละภมร ศษิ ย์สุนทรภู่ น้นั นายเทพใหข้ ้อสงั เกตวา่ เพราะชื่อภูเ่ หมอื นกัน แตเ่ รือ่ งท่นี าย ภแู่ ต่งจะมบี ทไหวค้ รทู กุ เรื่อง ผิดกับท่านสนุ ทรภู่ที่แต่งกลอนจะ ไมเ่ คยมบี ทไหว้ครเู ลย เม่อื พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลา้ นภาลัยสวรรคต พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจ้าอย่หู วั ขึ้นครองราชย์ สนุ ทรภกู่ ลัวภยั ที่เคยได้ล่วงเกินพระองค์มาก่อน จงึ ได้ หนีไปบวชทีว่ ดั อรุณฯ ในนามหลวงสุนทรโวหารนอกราชการ ไม่เคยถกู ถอดยศหรอื ปลดตาแหน่งใดเลย และตลอดระยะเวลาทีบ่ วชอยู่ ๒๗ พรรษา รัชกาลที่ ๓ ก็ไมเ่ คย แตะตอ้ งข้องแวะกับสุนทรภู่ นอกจากน้พี ระองคเ์ จ้าลกั ขณานคุ ณุ และกรมหมืน่ อปั สร สดุ าเทพ พระโอรสธิดาในรชั กาลที่ ๓ ยงั ให้ความอุปการะแก่สุนทรภดู่ ้วยซ้า ซึ่งหาก

พระองคถ์ ือโทษโกรธเคืองสุนทรภู่ ดังทีห่ ลายคนอา่ นบทกลอนของสุนทรภู่แล้วเข้าใจ ผิด ในฐานะพระเจ้าแผน่ ดิน สุนทรภู่คงจะไม่พ้นพระราชอาญาแลว้ แตพ่ ระองค์ทรง พระคณุ ธรรมประเสรฐิ ยิ่ง จึงไม่เคยลงโทษสุนทรภู่แต่อยา่ งใดเลย บทกวีนพิ นธ์ของสนุ ทรภู่ บทกวีนพิ นธข์ องทา่ นสนุ ทรภู่ ทงั้ หมดเทา่ ที่พบ มีอยู่ ๒๕ เรอ่ื ง เป็นนิราศ ๙ เร่อื ง นยิ ายประโลมโลก ๕ เรอ่ื ง บทเสภา ๒ เร่อื ง สุภาษติ ๓ เรอ่ื ง บทละคร ๑ เร่อื ง บทเหก่ ล่อม ๔ เรอ่ื ง และบทราพันอีก ๑ เร่ือง นริ าศ ๙ เรอ่ื ง คือ นริ าศ เมอื งแกลง นริ าศพระบาท นริ าศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ นิราศวดั เจา้ ฟา้ นิราศ อิเหนา นิราศพระแทน่ ดงรงั (ฉบับสามเณรกล่นั ) นริ าศพระประธม และนิราศ เมอื งเพชร นิยายประโลมโลก ๕ เร่อื ง คือ โคบตุ ร พระอภยั มณี พระไชยสรุ ิยา ลกั ษณวงศ์ และสิงหไกรภพ บทเสภา ๒ เร่อื ง คือ ขุนช้างงขุนแผน (ตอนกาเนดิ พลายงาม) และพระราชพงศาวดาร สุภาษติ ๓ เร่ือง คือ สวัสดิรักษา เพลงยาว

ถวายโอวาท และสภุ าษติ สอนหญิง บทละคร ๑ เร่อื ง คือ อภยั นุราช บทเห่ กลอ่ ม ๔ เร่อื ง คือ เห่เร่อื งจบั ระบา เหเ่ รื่องกากี เหเ่ ร่อื งพระอภัยมณี และเห่เรอ่ื งโคบตุ ร และบทราพัน ๑ เร่อื ง คือเรือ่ งราพันพิลาป ในประวัติสุนทรภขู่ องสมเดจ็ กรมพระยาดารงราชานภุ าพน้นั ปรากฏวา่ บทกวีนิพนธข์ อง ทา่ นสุนทรภู่ทง้ั หมดเทา่ ที่พบมอี ยู่ ๒๔ เร่อื ง ขาดไป ๑ เร่อื ง คือราพันพิลาป ซึ่งค้นพบภายหลงั และเรื่องนิราศพระแท่นดงรัง ซึ่งนายมี หมื่นพรหมสมพตั รสรเป็นผู้แตง่ ไม่ใชน่ ิราศพระแท่นดง รงั ฉบับสามเณรกลัน่ ซึง่ ท่านสุนทรภ่เู ป็นผ้แู ตง่ ในปี ๒๕๐๔ กรมศิลปากรไดพ้ มิ พ์นริ าศพระ แทน่ ดงรงั ของนายมฉี บบั ชาระใหมโ่ ดยอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดกี รมศิลปากรในขณะน้นั ซึ่ง ได้อา้ งข้อมูลต่างๆ เป็นหลักฐานแสดงนายมเี ปน็ ผูแ้ ต่งแนน่ อนไม่ใชท่ ่านสุนทรภู่

แตท่ ี่ผเู้ ขยี นได้เอานิราศพระแท่นดงรังฉบบั สามเณรกล่นั มาเปน็ บทกวีนิพนธ์ ของท่านสนุ ทรภู่แทนนิราศพระแท่นดงรงั ของนายมกี เ็ พราะในงานวนั สุนทรภู่ พ.ศ. ๒๕๓๗ สถาบันสนุ ทรภู่ได้จดั ใหม้ ีการสมั มนาเรือ่ ง \"ใครเป็นผู้แต่งนริ าศ พระแท่นดงรังฉบบั สามเณรกล่นั ” และได้ข้อสรปุ ว่าผู้แต่งนา่ จะเปน็ ท่านสุนทรภู่ ไม่ใชส่ ามเณรกลั่นเชน่ เดียวกับนิราศวัดเจ้าฟา้ ที่ระบุว่าเณรหนูพดั เปน็ ผู้แต่ง แต่เปน็ ความจริงทีร่ บั กนั ภายหลงั ว่าท่านสุนทรภู่เปน็ ผู้แต่ง ถ้าหากวา่ สามเณร กลั่นเปน็ ผูแ้ ต่งนิราศพระแทน่ ดงรงั จริงแลว้ กห็ มายความวา่ สามเณรกลนั่ ซึ่งมี อายแุ คเ่ ดก็ วยั รุน่ แต่งนริ าศไดด้ ีเทา่ กับท่านสุนทรภู่ และดีกวา่ นายมีซึง่ เป็นลกู ศษิ ย์เอกคนหนง่ึ ของทา่ นสนุ ทรภู่ ซึง่ ไมม่ ีทางจะเปน็ ไปได้ อันทีจ่ ริงในตอนทา้ ย ของนริ าศพระแทน่ ดงรัง ท่านสุนทรภกู่ เ็ ผยความในใจในเรอ่ื งรกั ของผใู้ หญ่ อยา่ งท่านไมใ่ ช่ของเดก็ อย่างสามเณรกล่นั ทานองเดียวกบั ที่ทา่ นสนุ ทรภู่ราพัน ถึงผูส้ ูงศกั ดิ์ไว้ในราพันพิลาปน่นั เอง ท่านราพันว่า

จะออกปากฝากรกั ก็ศักดิต์ ่า กลัวจะซา้ ถมทบั ไม่นบั ถือ ถึงยามนอนรอ้ นฤทยั ดงั ไฟฮอื ชมแตช่ ือ่ กค็ อ่ ยช่นื ทุกคืนวนั เวลาหลับคลบั คล้ายไมว่ ายเวน้ ไดพ้ บเหน็ ช่นื ใจแตใ่ นฝัน ขอฝากปากฝากคาทีร่ าพัน ใหท้ ราบขวญั นัยนาด้วยอาวรณ์ ฯ ด้วยเหตนุ ี้ จึงเหน็ วา่ นิราศพระแท่นดงรงั ทีเ่ ปน็ บทกวีนพิ นธ์ ของท่านสนุ ทรภู่นนั้ ไมใ่ ชฉ่ บับของนายมี แตเ่ ป็นฉบับของ สามเณรกลัน่ จากวรรณกรรม ๒๕ เร่อื งของท่านสุนทรภู่นน้ั เปน็ ที่เหน็ ไดว้ า่ ท่านสุนทรภ่เู ปน็ อัจฉรยิ จินตกวีที่มพี รสวรรค์เป็น พเิ ศษในการนิพนธว์ รรณกรรมซึง่ ไมม่ ีใครเทียบเท่าท้ังในอดีต และในปัจจบุ นั และอาจตลอดถึงในอนาคต ในการชมธรรมชาติ

เชน่ ชมนก ชมไม้ ชมสวน ชมป่าดงพงพี และขุนเขาลาเนาไพร ไม่ว่าจะในนิราศหรือในนยิ ายประโลมโลก ทา่ นไดจ้ าแนก แยกแยะชนดิ ลักษณะ สภาพ และความงดงามของนานา ธรรมชาติไว้อยา่ งละเอียด โดยเฉพาะฝนการกล่าวถึงธรรมชาติ ของคน ทั้งในการชมโฉม การเกีย้ วพาราสี การแสดงความรัก ความหงึ หวง การครา่ ครวญ ความโศกเศร้า หรือความอศั จรรย์ ท่านได้พรรณนาไว้อย่างพสิ ดารดว้ ยคารมที่คมคาย ไพเราะ ซาบซ้งึ ตรึงใจและไม่ซ้าซ้อนกนั ในการพรรณนาถึงภาวะสิ่งแวดล้อม สภาพความเปน็ อยู่และ ขนบธรรมเนยี มประเพณีของคนในวงั ในกรงุ ในชนบทหรอื ในป่าในดง ท่านก็พรรณนาไว้

โดยละเอียดถถ่ี ว้ นเช่นเดียวกับการพรรณนาถึงลักษณะของราช รถ พระเมรุมาศ โบสถ์วิหาร ตลอดจนการรบทัพจับศึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาหรบั นยิ ายประโลมโลกนัน้ ทกุ เรื่องท่านได้ วางเนอ้ื เร่อื งไว้อยา่ งสขุ ุมรอบคอบ สมเหตุสมผล และเหมาะสม กลมกลืน ไมม่ ีขาดไม่มเี กิน ตวั สาคัญในเรือ่ งทกุ เร่ืองจะมี อุปนิสัย พฤติกรรม กริยาและคารมเสมอตน้ เสมอปลายตลอด ท้ังเร่อื ง นอกจากนัน้ ท่านยังได้ฝากภาษติ หรอื คติธรรมตลอดจน คาสอนอนั เป็นสัจธรรมไวใ้ นวรรณกรรมของท่าน รวมทง้ั ความคิดล้ายคุ อันเกย่ี วกับสิ่งประดิษฐห์ ลายอย่างทีเ่ กีย่ วกบั วิทยาศาสตร์และวิทยาการสมัยใหมท่ ีค่ นในสมัยของท่านคิดไม่ ถึงว่าจะเกดิ มีขึน้ นี้คือข้อสรปุ ของความเปน็ อัจฉรยิ ะในการ นพิ นธ์บทกวีนพิ นธอ์ ันสงู สง่ ของมหากวีไทย

บทกวีนพิ นธข์ องทา่ นสนุ ทรภเู่ กือบทงั้ หมดเปน็ กลอนแปด เฉพาะ นริ าศสุพรรณเป็นโคลงสี่สุภาพ และพระไชยสุรยิ าและบทเห่เป็น กาพย์ ท่านสุนทรภ่ไู ดร้ บั การยกย่องวา่ เป็นผู้ต้นคดิ กลอนตลาด หรอื ทีเ่ รยี กว่ากลอนสุภาพ คือ กลอนแปดนัน่ เอง เป็นคากลอนที่ใช้ ถ้อยคาตรงๆ หรือ คาตลาด ฟงั ง่าย เข้าใจงา่ ย มีสัมผสั ใน และมี ระดับเสียงขึ้นลงเหมือนเสียงดนตรี ทาใหฟ้ ังไพเราะร่นื หู ซึง่ ไมม่ ีกวี ผใู้ ดเคยทามาก่อน ในบรรดาบทกวีนพิ นธเ์ หล่าน้ี ได้มีผ้แู ปลหรือย่อเรื่องเป็น ภาษาต่างประเทศบา้ งแลว้ เชน่ นิราศเมอื งแกลง นริ าศพระประธม พระไชยสรุ ยิ า ราพนั พิลาป

และพระอภัยมณี บทกวีนิพนธท์ ยี่ ิง่ ใหญข่ องท่านสนุ ทรภู่ คือ พระอภยั มณี ซึ่งเปน็ คากลอนมีจานวนถงึ ๒๕,๔๑๒ คากลอน หรือ ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คา คดิ เปน็ บทโศลกของพราหมณ์ เท่ากับ ๑๒,๗๐๖ บท ยาวกว่าบทกวีนิพนธส์ มัยกรกี โบราณอันลอื โลกเรื่อง อิลเลียด (Iliad)และออดิสซีย์ (Odyssey) ของมหากวีโฮเมอร์ ซึง่ มคี วาม ยาวประมาณ ๑๒,๕๐๐ บทโศลก และสารานกุ รมบรติ านกิ ายกย่องวา่ เป็นงานอันดบั แรกและยิ่งใหญ่ที่สดุ ของวรรณคดีโลก บทกวีนพิ นธ์ที่ ยาวกวา่ เรื่องพระอภัยมณี เหน็ จะมกี ็แต่มหาภารตของอินเดียเท่าน้ัน ส่วนบทกลอนในวรรณกรรมเร่อื งอื่นๆ นอกจากพระอภัยมณีมีจานวน รวมกัน ๑๐,๙๒๐ บท เมอ่ื รวมกบั บทกลอนในพระอภัยมณีแล้วกจ็ ะมี จานวนถึง ๒๓,๖๒๖ บท

สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพ ได้ทรงให้ความเหน็ ไว้ใน ประวัติทา่ นสนุ ทรภู่ว่า ถ้าจะให้เลือกกวีไทยบรรดาที่มชี อ่ื เสียง ปรากฏในพงศาวดาร คดั เอาแตท่ ีว่ ิเศษเพยี ง ๕ คน ใครๆกเ็ ห็น จะตอ้ งเอาชื่อทา่ นสุนทรภู่ไวใ้ นกวี ๕ คน น้ันด้วย ผลงานบางสว่ นของสุนทรภู่ ผลงานของสนุ ทรภู่มีอยมู่ ากมายและหลากหลายตามที่กล่าวมาแลว้ ซึ่งเท่าที่ปรากฏเร่อื งและยังมี ฉบบั อย่ใู นปจั จุบัน คอื ประเภทนิราศ ได้แก่ นริ าศภูเขาทอง นริ าศเมอื งแกลง นิราศพระบาท นริ าศพระประธม นริ าศเมอื งเพชร นริ าศวดั เจ้าฟ้า นริ าศอิเหนา นริ าศพระแท่นดงรงั และนิราศเมอื งสุพรรณ

(เปน็ เร่อื งเดียวทีแ่ ต่งเปน็ โคลง เพือ่ ลบคาสบประมาทที่วา่ ทา่ นเก่งแต่แตง่ กลอนเท่านน้ั ) ประเภทนิทาน ได้แก่ เรอ่ื งโคบตุ ร พระอภัยมณี พระไชยสุรยิ า ลกั ษณวงศแ์ ละสงิ หไกรภพ ประเภทสุภาษติ ไดแ้ ก่ สวสั ดิรกั ษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนหญิง ประเภทละคร ไดแ้ ก่ พระอภัยนรุ าช ประเภทเสภา ไดแ้ ก่ เรื่องขุนชา้ งขุนแผน ตอนกาเนดิ พลายงาม และเร่ืองพระราช พงศาวดาร ซึง่ สันนิษฐานวา่ เป็นงานนิพนธช์ ิน้ สดุ ทา้ ยของสุนทรภู่ ประเภทบทเหก่ ล่อม ไดแ้ ก่ เหเ่ รื่องจับระบา เรอ่ื งกากี เรอ่ื งพระอภยั มณี และเรือ่ งโคบุตร

อนสุ าวรีย์สุนทรภู่ อนุสาวรีย์สุนทรภู่ตั้งอยู่ที่ ถนนเสน้ ทาง แกลง-แหลมแม่พมิ พ์ ตาบล บา้ นกรา่ อ.แกลง จ.ระยอง สร้างสาเร็จตั้งแตว่ นั ที่ 5 มนี าคม 2513 และเปิดอย่างเปน็ ทางการในวนั ที่ 25 พฤษภาคม 2513 ครอบคลุมพื้นที่ 8.5 ไร่ โดยเงินทใ่ี ชส้ รา้ งน้ันส่วนใหญ่เปน็ เงินบริจาคของทัว่ ประเทศไทย รูปร่างลักษณะของอนุสาวรีย์สนุ ทรภจู่ ะต้ังอย่บู นเนนิ สงู รอบด้วยบ่อนา้ มีรูปปั้นของตัวละคนตา่ งๆ ในวรรณคดีที่สุนทรภไู่ ดแ้ ตง่ ขน้ึ ประดบั อยโู่ ดยรอบ ท้ังหมดออกแบบโดยศาสตราจารย์ ศลิ ป์ พรี ะศรี ขอ้ มลู จาก: เวบ็ ไซตส์ านกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ กระทรวงวฒั นธรรม, Wikipedia


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook