Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยจัดเก็บข้อมูล

หน่วยจัดเก็บข้อมูล

Published by Guset User, 2023-08-07 09:48:59

Description: หน่วยจัดเก็บข้อมูล

Search

Read the Text Version

หน่วยจัดเก็บข้อมูล Storage uhit สาขาวิชาการประถมศึกษา

หน่วยจัดเก็บข้อมูล หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้เพื่อ ใช้งานในอนาคต เนื่องจากข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำงานจะอยู่ในแรมหรือหน่วย งานความจำที่ลบเลือนได้ ซึ่งเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลจะสูญหายไป หมด เมื่อต้องการใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมเดิมอีกครั้ง ซีพียูก็จะอ่านข้อมูลจาก หน่วยเก็บข้อมูลเข้าสู่หน่วยหน่วยความจำที่สามารถลบเลือนได้เพื่อประมวลผล ได้อีก หน่วยเก็บข้อมูลมีหลายประเภท เช่น แผนบันทึก ฮาร์ดดิสก์ แผ่น ซีดี แผ่นดีวีดี และหน่วยความจำแบบเฟลช

แผ่นบันทึก แผ่นบันทึก (diskette) หรือฟลอปปี้ดิสก์ (floppy disk) ที่อาจมีใช้กันในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้วมีความจุ 1.44 เมกะไบต์ โดยตัวแผ่นบันทึกทำจากแผ่นพลาสติกบางฉาบผิวทั้งสองด้านด้วยสารแม่เหล็ก และแผนนี้ถูกปกป้องโดย บรรจุอยู่ในของพลาสติกแข็ง มีช่องเปิดให้หัวอ่านเข้าไปอ่านข้อมูลบนแผ่นได้ ซึ่งปกติจะถูกปิดอยู่ แต่เมื่อสอดแผ่น บันทึกเข้าไปในเครื่องอ่าน ช่องนี้จะถูกเปิดออกมาและแผ่นจะถูกหมุนด้วยความเร็วคงที่ค่าหนึ่ง หัวอ่านจะสามารถเลื่อน ไปมาในช่องเปิดเพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูลบนแผ่นทั้งสองด้านได้ การเก็บข้อมูลจะทำโดยบันทึกลงไปที่ผิวของแผ่น ปกติ ใช้ได้ทั้งสองด้าน หัวอ่านของเครื่องขับจึงมีสองหัวแผ่นจะหมุนด้วยความเร็วคงที่ หัวอ่านวิ่งเข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลใน ตำแหน่งที่อยู่ที่ต้องการ ผิวที่ใช้เก็บข้อมูลจะแบ่งเป็นวงเรียกว่า แทร็ก (track) แต่ล่ะแทร็กจะแบ่งเป็นช่องเก็บข้อมูล เรียกว่า เซกเตอร์ (sector) การที่หัวสำหรับอ่านและเขียนข้อมูลเลื่อนเข้าออกจากศูนย์กลางของแผ่นตามแนวเส้นตรง ทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง รวดเร็วกว่าแถบบันทึกที่เป็นการเข้าถึงข้อมูลแบบลำดับ เนื่องจากแผ่นบันทึกข้อมูลมี ขนาดใหญ่ พกพาไม่สะดวก มีความจุน้อยและอ่านเขียนยังทำได้ช้า แผ่นบันทึกจึงค่อย ๆ ลดความนิยมลงไป แต่ก็ ยังคงพบเห็นเครื่องขับแผ่นบันทึกได้บ้าง

ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งเคลือบด้วย สารแม่เหล็กที่ผิวทั้งสองด้านจำนวนหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน มีหัวอ่านหนึ่งหัวต่อหนึ่งด้านของแผ่นบันทึก ข้อมูล ซึ่งยึดติดอยู่บนแขนที่เลื่อนเข้าออกได้ตั้งแต่ด้านนอกจนถึงด้านในสุดของแผ่นอุปกรณ์ทั้งหมดนี้จะ ถูกบรรจุอยู่ในกล่องที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันฝุ่นและการกระทบกระเทือน การบันทึกข้อมูลจะอยู่ในลักษณะเป็น วงแหวน เรียกแจ่ละวงของทุกแผ่นว่า ไซลินเดอร์ (cylinder) และแต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งออกเป็นแซก เตอร์ ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีความจุสูงเช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 160 กิกะไบต์ หรือ 1 เทระไบต์ ฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์รุ่นที่ออกแบบให้ใช้ในกับ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมีขนาดเพียง 1.8 หรือ 2.5 นิ้วอีกทั้งยังมีความจุสูงมากเกือบเทียบเท่าฮาร์ดดิสก์ที่มี ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับคอมพิวเตอร์พีซีตั้งโต๊ะ โดยมีความจุสูงมากกว่า 500 กิกะไบต์ ดังนั้นจึง นิยมนำฮาร์ดดิสก์แบบพกพา

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์แบบพกพา เนื่องจากฮาร์ดดิสก์แบบพกพาเป็นอุปกรณ์ที่ละเอียดอ่อนและบอบบาง เมื่อนำมาใช้เป็น ฮาร์ดดิสก์แบบพกพา จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียหายได้ง่าย การใช้งานจึงควรระมัดระวังไม่ให้ฮาร์ดดิสก์ ตกกระแทกกับพื้น ควรวางในพื้นที่ที่มั่นคงแข็งแรง และสำคัญที่สุดคือควรสำรองข้อมูลสำคัญไว้เสมอ เพราะนอกจากฮาร์ดดิสก์แบบพกพานี้จะเสียหายได้ง่ายแล้ว ลักษณะการใช้งานที่แลกเปลี่ยนกันใช้ บ่อยครั้งหรือมีการพกพาไปที่ต่าง ๆ ก็อาจเป็นเหตุให้ฮาร์ดดิสก์แบบนี้สูญหายได้ง่ายเช่นกัน

แผ่น ซีดี แผ่นซีดี (compact Disc: CD) เป็นแผ่นพลาสติกที่เคลือบด้วยสารสะท้อนแสงมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 5 นิ้ว การอ่านและการเขียนข้อมูลจะใช้ลำแสงเลเซอร์ส่องและสะท้อนกลับ ข้อเด่นของแผ่นซีดีคือ ราคาถูก จุข้อมูลได้มาก คงทน และมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มาก ถึง 750 เมกะไบต์ต่อแผ่น แผ่นซีดีมีหลายประเภทโดยแบ่งตามชนิดการเขียนและอ่านดังนี้ ซีดีรอม (Compact Disc- Read only Memory : CD-ROM) สามารถบันทึกข้อมูลครั้งเดียวโดยถูก บันทึกมาจากโรงงาน ซีดีรอมแสดงดังรูปที่ ฃ 3.38 (ก) ซีดีอาร์ (Compact Disc- Recordable : CD-R) สามารถบันทึกโดยใช้เครื่องขับแผ่นซีดีอาร์ หรือซีดีอาร์ ไดร์ฟ (CD-R drive) ที่สามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ ข้อมูลที่บันทึกไปแล้วไม่สามารถลบหรือบันทึกได้ แต่ หากมีเนื้อหาที่เหลืออยู่ก็สามารถบันทึกข้อมูลอื่นลงในเนื้อที่ว่างได้ ซีดีอาร์ดับเบิลยู (Compact Disc- Rewritable : CD-RW) สามารถลบและบันทึกซ้ำได้หลายครั้ง

แผ่นดีวีดี (Digital Versatile Disc: DVD) ถูกพัฒนามาจากแผ่นซีดี ทำให้ความจุของข้อมูลสูงกว่าแผ่นซีดี สำหรับแผ่นดีวีดีที่ผลิตมาจากโรงงาน จะสามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว เรียกว่าดีวีดีรอม (DVD-ROM) มีความจุสูงถึง 4.7 กิกะไบต์และ 8.5 กิกะไบต์ โดยดีวีดีขนาด 4.7 กิกะไบต์มีการบันทึกข้อมูลแบบหนึ่งชั้น และขนาด 8.5 กิกะไบต์มีการบันทึก ข้อมูลแบบสองชั้นในแผ่นเดียวกันซึ่งในท้องตลาดเรียกดีวีดีที่มีการบันทึกแบบหนึ่งชั้นว่า ดีวีดี 5 และแบบสองชั้นเรียกว่า ดีวีดี 9 และเช่นเดียวกับแผ่นซีดี แผ่นดีวีดีที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะเรียกว่า ดีวีดีอาร์ (DVD-recordable :DVD-R) แผ่นดีวีดีที่ลบและบันทึกซ้ำได้หลายครั้ง จะเรียกว่า ดีวีดีอาร์ดับเบิลยู (DVD-rewritable: DVD-RW) ซึ่งแผ่นดีวีดีที่บันทึกได้เหล่านี้มีด้วยกันสองมาตรฐาน คือบวกและลบ(+ และ – ) โดยมีชื่อย่อเรียกว่า DVD-R DVD-RW DVD+R และ DVD+RW

การดูแลรักษาแผ่นซีดีหรือดีวีดี พื้นผิวของแผ่นซีดีหรือดีวีดีต้องสะอาดและปราศจากรอยขีดข่วนเพื่อ ให้สามารถอ่านหรือบันทึกได้อย่างไม่มีข้อผิดพลาด การหยิบจับ แผ่นควรใช้นิ้วโป้งสอดเข้าไปที่รูตรงกลางแผ่น แล้วใช้นิ้วชี้จับที่ สันขอบแผ่น ไม่ควรหยิบแผ่นด้วยการจับลงไปที่พื้นผิวของแผ่น เพราะคราบเหงื่อจากนิ้วมือจะติดลงไปบนแผ่น ถ้าต้องทำความ สะอาดแผ่นซีดีหรือดีวีดีให้ใช้ผ้านุ่มที่จะไม่ทำให้เกิดรอยชุบน้ำหรือ แอลกฮอล์หมาด ๆ เช็ดเป็นเส้นตรงจากจุดศูนย์กลางออกมาที่ ขอบแผ่น ไม่ควรถูซ้ำไปซ้ำมา

จัดทำโดย นางสาวปริชญา ทองกาล สาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่3


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook