Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ไต้หวันในหนึ่งนาที 2020-2021 (ฉบับภาษาไทย)

ไต้หวันในหนึ่งนาที 2020-2021 (ฉบับภาษาไทย)

Published by Nulek Labour, 2021-01-13 01:03:39

Description: 2020-2021 Taiwan at a Glance

Search

Read the Text Version

2020-2021 ไตห้ วนั ในหนึ่งนาที จัดพิมพ์โดยกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

ข้อมูลทั่วไปของไตห้ วัน ชื่อทางการ สาธารณรฐั จนี (ไต้หวัน) ธงประจําชาติ ดอกไม้ประจาํ ชาติ ดอกเหมย พน้ื ท่ี (ไต้หวัน 36,197 ตารางกิโลเมตร และเกาะรอบนอก) ประชากร 23.6 ล้านคน (ปี 2019) กลุ่มชาติพนั ธ์ุ เปน็ ชาวจนี เชือ้ สายฮ่ันมากกวา่ 95 เปอร์เซ็นต์ (รวมท้ังจนี ฮกเกี้ยน จีนฮากกา และกลมุ่ อ่นื ๆ ท่ีเดมิ มาจากจีนแผ่นดินใหญ่) 2 เปอร์เซนตเ์ ป็นชนพ้นื เมืองมาลาโย-โพลีเนเซยี และอกี 2 เปอรเ์ ซนต์เปน็ ผู้ตั้งถ่ินฐานใหม่ ซ่ึงส่วนมากมาจากจนี แผ่นดนิ ใหญ่ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาล ประชาธิปไตยแบบพหุพรรค ประธานาธบิ ดี ไชอ่ งิ เหวิน เมอื งหลวง กรุงไทเป เทศบาล กรุงไทเป, นครนวิ ไทเป, นครเถาหยวน, นครไถจง, นครไถหนาน, นครเกาสง สกุลเงนิ ประจําชาติ ดอลลารไ์ ตห้ วันใหม่ (NT$ หรือ TWD) ภาษา ภาษาจนี กลาง ภาษาจนี ฮกเกย้ี น (ภาษาไตห้ วนั ) ภาษาจีนฮากกา และภาษาออสโตรนีเซยี น ศาสนาหลัก ศาสนาพุทธ ลัทธเิ ต๋า ลทั ธอิ นตุ ตรธรรม, ศาสนาตามความเช่อื ดั้งเดิมของจีน ศาสนาครสิ ต์ และศาสนาอิสลาม

2020-2021 ไตห้ วนั ในหนง่ึ นาที จัดพมิ พโ์ ดยกระทรวงการตา่ งประเทศ สาธารณรฐั จนี (ไต้หวนั )

2020 - 2021 ไตห้ วนั ในหนง่ึ นาที จัดพมิ พ์โดยกระทรวงการตา่ งประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) No. 2, Ketagalan Blvd., Taipei 10048, Taiwan, ROC http://www.mofa.gov.tw จัดพมิ พโ์ ดย China Color Printing Co., Inc. 229 Baoqiao Rd., Xindian, New Taipei 23145, Taiwan, ROC บรรณาธิการ : Jeff Lee, May Tseng, Jim Hwang, Ed Moon, Torie Gervais บรรณาธิการสมทบ : Meg Chang, Oscar Chung, Marilyn Ding, Pat Gao, Kelly Her, Laura Huang ท่ีมาของรปู ภาพ : Chang Su-ching, Chen Mei-ling, Chin Hung-hao, Huang Chung-hsin and courtesy of Sun Moon Lake National Scenic Area Administration ผอู้ อกแบบกราฟฟิกและจัดหน้าสอื่ ส่ิงพิมพ์ : Lin Hsin-chieh ผแู้ ทนจำ� หน่าย: Taiwan Panorama Magazine No. 2, Tianjin Street Taipei 10051, Taiwan, ROC โทรศพั ท:์ (+886-2) 2392-2256 http://www.taiwan-panorama.com หมายเลขแคตตาล็อก : MOFA-TL-BO-109-013-I-1 GPN: 1010901409 ISBN: 978-986-5447-18-2 พมิ พ์ครง้ั ท่ี 1, C16 ตุลาคม 2020 พมิ พ์ทีไ่ ตห้ วนั ราคา: NT$70 US$2 สงวนลขิ สิทธิ์ ห้ามผลิตหนงั สือเล่มน้ซี �้ำ ไมว่ า่ บางสว่ นหรอื ทัง้ หมด โดยไม่ได้รับอนญุ าตเป็นลายลักษณ์อกั ษรจากผู้ถอื ลขิ สทิ ธิ์ หน่วยงานติดตอ่ : กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจนี (ไต้หวนั ) โทรศพั ท:์ (+886-2) 3356-8198

เกาะหมาจู่ ไทเป หมเู่ กาะเซง็ กากุ ชอ่ งแคบไต้หวนั นิวไทเป มหาสมุทรแปซฟิ กิ เถาหยวน เกาะจินเหมิน ไถจง ไต้หวนั เกาะเผงิ หู ไถหนาน เกาะกรนี เกาะหลันอว่ี m เกาสง 3000 2000 1000 500 250 50 0 จีนแผ่นดนิ ใหญ่ ไตห้ วนั หมเู่ กาะตงซา (หมเู่ กาะปราตสั ) หม่เู กาะซซี า หมเู่ กาะจงซา (หมเู่ กาะพาราเซล) (หม่เู กาะแมคเคลิ้ สฟวิ ด์) ฟลิ ปิ ปินส์ เวียดนาม ทะเลจนี ใต้ หมเู่ กาะหนานซา (หมเู่ กาะสแปรตลีย)์ มาเลเซยี

สารบัญ 2 ธรรมชาติของไตห้ วัน 8 ประชากร 12 ประวัติศาสตร์ 24 ระบบการเมอื ง 32 การต่างประเทศ 44 ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งสองฝัง่ ชอ่ งแคบไตห้ วนั 50 เศรษฐกิจ 60 วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี 68 การศึกษา 72 วฒั นธรรม 76 ส่อื มวลชน 80 การท่องเที่ยวไต้หวัน



ธรรมชาติ ของไต้หวัน คณุ ทราบหรอื ไม่ ภูเขาหยกของไตห้ วัน เปน็ ยอดเขาที่สงู ท่สี ดุ ในเอเชียตะวนั ออก ประมาณร้อยละ 20 ของพ้ืนทป่ี ระเทศ เปน็ พนื้ ทอี่ นรุ ักษ์ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ต้ังอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวนั ตก ระหวา่ งประเทศญปี่ ุน่ และประเทศฟิลปิ ปนิ ส์ โดยมอี าณาเขต ครอบคลมุ ถงึ หมู่เกาะเผงิ หู จนิ เหมนิ และหมาจู่ รวมไปถงึ เกาะตา่ งๆ ในบริเวณโดยรอบมากมาย อาณาเขตของไตห้ วนั และเกาะรอบนอก มีพ้ืนทที่ ง้ั หมด 36,197 ตารางกโิ ลเมตร ไตห้ วนั มขี นาดใกล้เคยี ง กบั ประเทศเนเธอร์แลนด์ แตม่ ีประชากรราว 23 ลา้ นคน ซึง่ มีความ หนาแน่นกว่า 3 ใน 4 ของประเทศตา่ งๆ ในโลก ไตห้ วันไม่ได้มเี พียง แค่ความงดงามทางธรรมชาติเทา่ นนั้ ยังมเี ทอื กเขาทม่ี ียอดเขาท่ีสงู กว่า 3,000 เมตรจากระดับน้ำ� ทะเลอีกหลายแหง่ รวมถงึ ยอดเขาท่ี สูงที่สุดในเอเชยี ตะวนั ออกอย่างภเู ขาหยก (อวซี้ าน) และบริเวณเชิง เขาทเ่ี ปน็ ปา่ ซึ่งมเี นอ้ื ทเี่ กนิ กว่าครงึ่ ของพ้ืนท่ที ้งั หมด นอกจากนี้ บน เกาะแหง่ นยี้ งั มีภูเขาไฟ ทีร่ าบสงู ทร่ี าบชายฝงั่ และพื้นที่แอ่งกระทะ 2

ธรณีวทิ ยาทางทะเลทีม่ ีชอ่ื เสียงของแหลมตะวันออกเฉยี งเหนอื และอทุ ยาน แหง่ ชาติชายทะเลอห๋ี ลาน คือโขดหนิ ทม่ี รี ปู ทรงคลา้ ยแทน่ เทยี นทม่ี ีลกั ษณะ พเิ ศษเฉพาะตวั (ภาพจาก Ke Zhih-cheng)

อีกด้วย ตลอดจนหมู่เกาะเตียวอวี๋ซึ่งต้ังอยู่ทางตะวันออกเฉียง เหนอื ของไต้หวัน และเกาะอีกจ�ำนวนหน่งึ ในทะเลจีนใต้ รวมทั้งเกาะ ต่างๆ ในหมู่เกาะตงซา (ปราตัส) หนานซา (สแปรตลีย์) ซซี า (พารา เซล) และจงซา (แมคเค้ิลสฟวิ ด)์ ตา่ งก็เป็นสว่ นหนึง่ ในพ้นื ท่ีของ ไตห้ วนั ดว้ ยเชน่ กนั อาณาเขตของไต้หวันอยู่บนเส้นทางของกระแสน�้ำอุ่นนอกชายฝั่ง ตะวันออกของภาคพืน้ ทวปี เอเชยี โดยอยใู่ นเขตภมู ิอากาศเฉพาะตวั ทนี่ ่าอยู่ ซึง่ มคี วามหลากหลายตง้ั แต่เขตรอ้ นจนถึงเขตอบอุน่ ดว้ ย ภาพรวม 36,197พื้นทปี่ ระเทศ : ตารางกิโลเมตร 394ความยาวของพรมแดนไต้หวนั : กโิ ลเมตร 144ความกวา้ งของพรมแดนไตห้ วนั : กิโลเมตร ภเู ขาหยกยอดเขาทส่ี งู ทส่ี ุด : (3,952 เมตร) 7,930อุณหภมู เิ ฉลี่ยตลอดปี : ตารางกโิ ลเมตร 22°Cอณุ หภมู เิ ฉลย่ี ตลอดปี : (องศาเซลเซียส) 18°C 29°Cเดอื นมกราคม เดือนกรกฎาคม 4

5ธรรมชาติของไต้หวัน ผนื ดินทีอ่ ดุ มสมบรู ณ์ ประกอบกับปริมาณน�้ำฝนทเี่ พียงพอ จึงเปน็ แดนสวรรค์ของอุตสาหกรรมการเกษตรที่สามารถปลูกผักหรือ ผลไมไ้ ดแ้ ทบทุกชนิด และยงั ท�ำใหเ้ กาะแหง่ น้เี ป็นพน้ื ที่สันทนาการท่ี น่าอัศจรรยอ์ ีกด้วย ในช่วงฤดูหนาว สามารถชมหมิ ะตกได้บนเนิน เขาเหอฮวนซานในเมืองหนานโถว แลว้ เดินทางไปอีกเพยี ง 200 กิโลเมตร เพอ่ื ไปสูดอากาศบรสิ ทุ ธท์ิ เ่ี มอื งผงิ ตง และเพลิดเพลินกับ การด�ำน้�ำตื้นตามแนวปะการงั ทางตอนใต้สุดของเกาะ ในขณะเดยี วกนั เกาะเลก็ ๆ กม็ ลี กั ษณะเฉพาะทางธรรมชาติ เชน่ เสา หนิ บะซอลตบ์ นหมเู่ กาะเผิงหู และบอ่ น�้ำแรร่ ้อนบรเิ วณแนวชายฝั่ง ของเกาะกรีนและเกาะกุยซาน พนั ธไ์ุ ม้และสตั ว์ประจำ�ถิ่น เขตภมู อิ ากาศในเขตรอ้ นถงึ อบอนุ่ ของไตห้ วนั และลกั ษณะภมู ปิ ระเทศ ท่ีหลากหลาย ทำ� ใหเ้ กาะแหง่ น้ีอดุ มไปดว้ ยพันธุไ์ ม้และสัตวป์ ระจำ� ถน่ิ นานาชนดิ ประกอบดว้ ย สตั วเ์ ลยี้ งลกู ดว้ ยนม 125 ชนดิ นก 788 ชนดิ สตั วเ์ ลอ้ื ยคลาน 134 ชนดิ สตั วค์ รงึ่ บกครงึ่ นำ้� 42 ชนดิ ผเี สอ้ื 454 ชนดิ และปลา 3,265 ชนดิ ทม่ี ถี นิ่ ทอ่ี ยอู่ าศยั ในไตห้ วนั สำ� หรบั พชื พนั ธต์ุ า่ งๆ ของไตห้ วนั ประกอบดว้ ย เฟริ น์ 881 ชนดิ พชื ดอก 4,875 ชนดิ และพชื เมลด็ เปลอื ย 36 ชนดิ เพอ่ื ปกปอ้ งระบบนเิ วศอนั เปน็ ทอ่ี ยอู่ าศยั ของพชื และสตั วเ์ หลา่ นี้ รฐั บาลไดส้ งวนพน้ื ทป่ี ระมาณ รอ้ ยละ 20 ของพน้ื ทป่ี ระเทศใหเ้ ปน็ พน้ื ทคี่ มุ้ ครอง ประกอบดว้ ย อทุ ยานแหง่ ชาติ 9 แหง่ อทุ ยานธรรมชาตแิ หง่ ชาติ 1 แหง่ เขตอนรุ กั ษ์ ระบบนเิ วศทางธรรมชาติ 22 แหง่ พน้ื ทป่ี า่ สงวน 6 แหง่ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า 20 แห่ง และถ่ินที่อยู่อาศัยหลักของสัตว์ป่า 37 แห่ง

ปลาแซลมอนไต้หวันขึ้นช่ือว่าเป็นพันธุ์สัตว์น�้ำที่มีชื่อเสียงที่สุดของ ไตห้ วัน เชอ่ื กนั ว่าปลาชนดิ นี้ถูกกกั ไวใ้ นแหล่งน้�ำท่ีเยน็ จัดบนภูเขาใน ภาคกลางของไตห้ วันในชว่ งยคุ นำ�้ แข็งยุคสุดท้าย เม่ือน้�ำทะเลลด ระดบั ลงอย่างรวดเร็ว ปลาแซลมอนไต้หวันจึงไม่สามารถอพยพ ไปกลับระหวา่ งน�ำ้ จืดกบั นำ้� เคม็ ไดอ้ กี ต่อไป เพอื่ คุม้ ครองสตั ว์นำ้� ที่ ใกล้สูญพนั ธชุ์ นดิ น้ี จึงไดม้ ีการจดั ตัง้ เขตรกั ษาพันธ์ุปลาแซลมอน ไต้หวนั ขึน้ ในแมน่ ้ำ� ต้าเจี่ยตอนบนในอทุ ยานแห่งชาตเิ สวย่ี ปา้ แมวดาวเพศเมยี เขา้ รับการรกั ษาการติดเชอ้ื ทดี่ วงตา ณ ศนู ยว์ จิ ยั และอนุรกั ษพ์ ันธสุ์ ตั ว์พิเศษ ท่ีต้ังอยใู่ นเมืองหนานโถว กอ่ นที่จะถกู น�ำ ไปปล่อยคนื สูธ่ รรมชาติ (ภาพจาก Chen Mei-ling) 6

7ธรรมชาติของไต้หวัน อทุ ยานแหง่ ชาติ อุทยานแห่งชาติ อุทยานแหง่ ชาตทิ างทะเล อทุ ยานแหง่ ชาตทิ าง จินเหมนิ เผิงหูตอนใต้ ทะเลตงซา อุทยานแห่งชาตหยางหมิงซาน อุทยานแหง่ ชาติเสวย่ี ปา้ อุทยานแหง่ ชาตทิ าโรโกะ อุทยานแหง่ ชาตอิ วี้ซาน อทุ ยานแหง่ ชาตไิ ถเจยี ง อทุ ยานแห่งชาตเิ ข่นิ ตงิ

ประชากร คณุ ทราบหรอื ไม่ ไตห้ วนั มกี ลมุ่ ชนพน้ื เมอื งทไ่ี ดร้ บั การยอมรบั อยา่ งเปน็ ทางการ ทง้ั หมด 16 กลมุ่ ไตห้ วนั เปน็ บา้ นอกี หลงั ของผตู้ ง้ั ถน่ิ ฐานใหมร่ าว 530,000 คน ซง่ึ สว่ นใหญม่ าจากจนี แผน่ ดนิ ใหญ่ และ เอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ไต้หวันมักถูกมองว่าเป็นสังคมของชาวจีนเช้ือสายฮ่ัน ที่ประชากร กว่าร้อยละ 95 เป็นรุ่นหลังของบรรพบุรุษชาวฮ่ัน แต่ในความเป็น จริงแล้ว ไต้หวันมีกลุ่มประชากรที่ซับซ้อนกว่านั้น ผู้อพยพชาวจีน ระลอกแล้วระลอกเล่าที่เร่ิมเดินทางเข้ามาไต้หวันในช่วงศตวรรษท่ี 17 เป็นชนกลุ่มน้อยท่ีไม่รู้หนังสือและมีวัฒนธรรมประเพณีที่แตก ต่างกัน อย่างไรก็ดี ไต้หวันในยุคปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่าง กันได้เจือจางลงไปแล้ว ด้วยการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์และการใช้ ภาษาจีนกลางเป็นภาษาราชการ ไต้หวันเป็นสังคมวัฒนธรรมที่มี ความหลากหลาย ที่ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ฮ่ัน กลุ่มชาติพันธุ์ ในตระกูลมาลาโย-โพลีเนเซีย และผู้ต้ังถ่ินฐานใหม่จากท่ัวโลก หลาย ปีมาน้ี พบว่ามีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้จ�ำนวนมากเข้ามาพ�ำนักอาศัยอยู่ในไต้หวัน ซ่ึง 8

คณุ แมถ่ ่ายรปู เซลฟ่คี ่กู บั ลกู ชาย ณ สวนสาธารณะตา้ หู (ภาพจาก Chen Mei-ling)

ภาพรวม 23,603,121ประชากร: (ปี 2019) โครงสร้างประชากร: 15-64 ป:ี 65 ปีขน้ึ ไป 0-14 ป:ี 12.75% 71.96% 15.28% ชาตพิ ันธ:์ุ ชนพน้ื เมอื งไต้หวนั ผตู้ ้ังถิ่นฐานใหม่: คนจีนชาวฮั่น: 2.4% 2.2% 95.4% ส่วนมากมาจากการแต่งงานร่วมกับชาวไต้หวัน ตราบจนปัจจุบัน มีผู้ตั้งถ่ินฐานใหม่ในไต้หวัน เป็นจ�ำนวนกว่า 530,000 คน นอกจากน้ี ไต้หวันยังประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ภาษาออสโตรนี เซียนทงั้ หมด 16 กลุ่ม ซง่ึ ครองสัดส่วนร้อยละ 2 ของประชากร ทั้งหมด โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในไตห้ วนั ต่างก�ำลงั เร่งฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของชนพ้ืนเมืองในประเทศตระกูล ภาษาออสโตรนีเซียนให้คงอยู่สืบไป ซ่ึงจะเหน็ ไดจ้ ากการจดั ตงั้ สถานี 10

11ประชากร 7.42อัตราการเกิด (ป2ี 019) : (ตอ่ ประชากร 1,000 คน) 7.44อตั ราการตาย (ป2ี 019) : (ต่อประชากร 1,000 คน) 80.9อายุขยั เฉลี่ย (ปี 2019): ปี ชาย: หญิง: 77.7 ปี 84.2 ปี โทรทศั น์ทีน่ ำ� เสนอเร่ืองราวเก่ยี วกับกิจการชนพนื้ เมอื งไตห้ วัน และ การผ่านกฎหมายตา่ งๆ ทีเ่ กี่ยวข้องกบั ชนพนื้ เมอื ง การผสมผสานและการมปี ฏสิ ัมพนั ธร์ ะหวา่ งประชาชนไตห้ วนั ทำ� ให้ สังคมด�ำเนินไปในทิศทางท่ีเปิดกว้างและก้าวไปสู่อนาคต โดยได้ น�ำเอาองค์ประกอบต่างๆทางวัฒนธรรมจากท่ัวโลกมาหลอมรวม กลายเป็นรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีความกลมกลืนเป็นหนึ่ง เดียว

ประวัติศาสตร์ คณุ ทราบหรอื ไม่ ผลู้ า่ อาณานคิ มทง้ั ชาวดตั ชแ์ ละชาวสเปน เขา้ มาตง้ั ถน่ิ ฐานในไตห้ วนั ในชว่ งตน้ ศตวรรษท่ี 17 ประชากรราว 1.2 ลา้ นคนไดอ้ พยพยา้ ยถน่ิ ฐานจากจนี แผน่ ดนิ ใหญม่ ายงั ไตห้ วนั พรอ้ มกบั รฐั บาลสาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) ในชว่ งปลายทศวรรษท่ี 1940 เขา้ สทู่ ศวรรษท่ี 1950 สาธารณรัฐจนี (ไตห้ วัน) สถาปนาขึ้นในปี 1912 ทปี่ ระเทศจีนแผน่ ดินใหญ่ ในช่วงเวลาน้ันไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น จากผลของสนธสิ ญั ญาชิโมโนเซกิ ค.ศ. 1895 ซึง่ ราชวงศ์ชงิ ไดย้ ก ไต้หวนั ให้อยู่ในการครอบครองของญี่ปุ่น หลังส้ินสุดสงครามโลก ครั้งท่ี 2 ญปี่ นุ่ ยอมจำ� นนและคืนไตห้ วนั ใหก้ ลบั มาอย่ใู นการปกครอง โดยรฐั บาลสาธารณรัฐจนี (ไต้หวัน) ในปี 1945 คณะรัฐบาลของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ย้ายถิ่นฐานมายังไต้หวัน ในปี 1949 ในระหว่างเกิดสงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์ ของจีน นับแต่นั้นเป็นต้นมา สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ใช้อ�ำนาจ ปกครองตนเองในพ่ืนที่ไต้หวันและเกาะรอบนอก ท�ำให้ไต้หวันและ จีนต่างอยู่ภายใต้การปกครองของ 2 รัฐบาลที่แตกต่างกัน ส่วน 12

ประตมิ ากรรมรปู ปั้นชีซ่าของไตห้ วนั ต้งั ตะหง่านอยูใ่ นเมืองจินเหมิน ทำ� หน้าทช่ี ่วยปดั เปา่ มารผจญ และน�ำความโชคดีมาสู่ประชาชนในพน้ื ที่ (ภาพจาก Chin Hung-hao)

อ�ำนาจการปกครองจากรัฐบาลปักก่ิงไม่เคยถูกน�ำมาใช้ในไต้หวัน หรือเกาะรอบนอกท่ีอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เลย ลำ�ดับเหตกุ ารณท์ างประวตั ศิ าสตร์ ล�ำดับเหตกุ ารณต์ ่อไปน้มี งุ่ เน้นไปทป่ี ระวัติศาสตร์ของไตห้ วัน ท่ีได้ รบั การบนั ทึกไว้ย้อนไปเมือ่ ราว 400 ปีก่อน ถึงแมว้ ่าทีน่ จี่ ะเคยเปน็ ท่ี อย่อู าศยั ของชาวมาลาโย-โพลนี ีเซยี มายาวนานหลายพันปี ช่วง เชอื่ กนั วา่ นกั เดนิ เรอื ชาวยโุ รปทล่ี อ่ งเรอื ผา่ นไตห้ วนั ไดบ้ นั ทกึ ทศวรรษ ชอื่ ของเกาะนไ้ี วว้ า่ Ilha Formosa หรอื เกาะทสี่ วยงาม 1500 ไต้หวันยงั คงได้รบั การมาเยือนจากกลุม่ เลก็ ๆ ของพอ่ ค้า ชาวประมง และโจรสลดั จากจนี แผ่นดินใหญ่ 1624 บริษัทอนิ เดยี ตะวนั ออกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามาต้ัง รากฐานธรุ กิจทีภ่ าคตะวนั ตกเฉยี งใต้ของไต้หวัน เพอ่ื ท�ำการแปรรูปเมลด็ พันธุพ์ ืช และมกี ารจ้างงานแรงงานชาว จนี เพ่ือท�ำงานในไร่นาและไร่ออ้ ย 1626 นักผจญภัยชาวสเปนเข้ามาต้ังถิ่นฐานในพื้นท่ีทาง ตอนเหนือของไต้หวัน แต่ถูกชาวดัตช์ขับไล่ออกไปใน ปี 1642 1662 ราชวงศ์หมิง (ปี 1368-1644) ในช่วงท่ีหลบหนกี ารรกุ ราน จากชาวแมนจู ผู้จงรักภกั ดตี อ่ ราชวงศ์หมิง ภายใตก้ ารน�ำ ของเจ้ิงเฉงิ กงหรือโคซงิ กา้ ไดท้ ำ� การขับไล่ชาวดัตชอ์ อก ไปจากไตห้ วัน และยึดอ�ำนาจเหนอื เกาะนี้ 14

15ประวัติศาสตร์ 1683 กองก�ำลงั ทหารในยคุ ราชวงศ์ชงิ (ปี 1644 - 1912) เขา้ ควบคุมพน้ื ทช่ี ายฝั่งตะวนั ตกและทางเหนือของไตห้ วัน 1885 ไตห้ วนั ถกู ประกาศใหเ้ ปน็ มณฑลหนึ่งในยคุ ราชวงศ์ชงิ 1895 ภายหลงั การพา่ ยแพส้ งครามจีน-ญีป่ นุ่ ครัง้ ทห่ี น่งึ (ปี 1894-1895) รฐั บาลของราชวงศช์ ิงได้ลงนามในสนธิ สัญญาชโิ มโนเซกิ ยกอำ� นาจอธปิ ไตยเหนือไตห้ วนั ใหแ้ ก่ ญ่ีป่นุ ซึ่งญ่ีป่นุ ได้เขา้ ครอบครองไตห้ วนั จนกระทง่ั ปี 1945 1911- คณะปฏวิ ตั จิ นี โคน่ ลม้ ราชวงศช์ งิ และกอ่ ตงั้ สาธารณรฐั จนี 1912 (ไตห้ วัน) 1943 ระหวา่ งสงครามโลกครง้ั ที่ 2 เจยี งไคเชก็ ผนู้ ำ� สาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) เขา้ พบปะกบั ประธานาธบิ ดแี ฟลงคลนิ รสู เวลแหง่ สหรฐั อเมรกิ า และนายกรฐั มนตรวี นิ สตนั เชอชลิ แหง่ สหราช อาณาจกั รทกี่ รงุ ไคโร ภายหลงั การประชมุ ไดม้ กี ารบญั ญตั ิ ปฏญิ ญาไคโร โดยระบวุ า่ “…สมควรคนื ฟอรโ์ มซา (ไตห้ วนั ) และเพสคาโดเรส (หมเู่ กาะเผงิ ห)ู ใหแ้ กส่ าธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) 1945 สาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) สหราชอาณาจกั ร และ สหรฐั อเมรกิ า รว่ มกนั ออกแถลงการณพ์ อตสดมั โดยได้ เรยี กรอ้ งใหญ้ ป่ี นุ่ ยอมจำ� นนและปฏบิ ตั ติ ามปฏญิ ญาไคโร อยา่ งไมม่ เี งอ่ื นไข ภายหลงั สงครามโลกครงั้ ที่ 2 ผแู้ ทนรฐั บาลสาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) ยอมรบั การยอมจำ� นนของกองกำ� ลงั ทหารญปี่ นุ่ ในไตห้ วนั นายเฉนิ อ๋ี (Chen Yi) ผนู้ ำ� สงู สดุ ของมณฑล ไตห้ วนั ไดส้ ง่ สารใหก้ บั ผสู้ ำ� เรจ็ ราชการของไตห้ วนั ในยคุ ญป่ี นุ่ โดยมสี าระสำ� คญั ทร่ี ะบไุ วว้ า่ “ในฐานะผนู้ ำ� สงู สดุ ของ

มณฑลไตห้ วนั ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจนี (ไต้หวัน) ขา้ พเจา้ ขอคนื ท่ีดินของรัฐ ประชาชน ระบบการ ปกครอง เศรษฐกจิ แหล่งวฒั นธรรม และทรัพย์สินของ ไตห้ วันทกุ ประการ [รวมทัง้ หม่เู กาะเผงิ หู]” 1947 รัฐธรรมนญู ของสาธารณรฐั จีน (ไต้หวนั ) ถกู ประกาศใช้ เม่อื วันที่ 1 มกราคม และมผี ลบังคบั ใช้ในวนั ที่ 25 ธนั วาคม ในเดอื นมนี าคมและเดือนต่อๆ มา กองกำ� ลังทหารของ สาธารณรฐั จีน (ไต้หวนั ) ทเี่ กณฑ์มาจากจนี แผ่นดนิ ใหญ่ เขา้ ควบคุมสถานการณ์จลาจลในไตห้ วนั ท่เี รม่ิ ปะทขุ ึน้ จาก อบุ ัติการณ์ 28 กุมภาพนั ธ์ 1948 สงครามกลางเมอื งระหวา่ งพรรครฐั บาลสาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) ทนี่ ำ� โดยพรรคกก๊ มนิ ตงั๋ และพรรคคอมมวิ นสิ ต์ แหง่ ประเทศจนี (CCP) ลกุ ลามเปน็ วงกวา้ ง บทเฉพาะกาล เพอ่ื ใชใ้ นการปราบปรามความไมส่ งบจากพรรคคอมมวิ นสิ ต์ ถกู บญั ญตั ขิ น้ึ โดยมผี ลบงั คบั ใหอ้ ยเู่ หนอื รฐั ธรรมนญู สาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) พรอ้ มทงั้ เปน็ การขยายอำ� นาจ ของประธานาธบิ ดคี วบคไู่ ปดว้ ย ซง่ึ นเี่ ปน็ จดุ เรมิ่ ตน้ ของ เหตกุ ารณ์ White Terror โดยเหตกุ ารณด์ งั กลา่ วยดื เยอ้ื จน มาสน้ิ สดุ ลงในปี 1991 เมอื่ มกี ารยกเลกิ บทเฉพาะกาลขา้ งตน้ 1949 รฐั บาลของสาธารณรฐั จนี (ไตห้ วัน) ไดย้ า้ ยถิน่ ฐานไปยงั ไตห้ วัน พร้อมดว้ ยประชาชนราว 1.2 ล้านคน ท่ตี ดิ ตามมา จากจนี แผ่นดนิ ใหญ่ วันท่ี 25 ตุลาคม เกดิ สงครามกูห่ นิงโถวบนเกาะจนิ เหมิน ซงึ่ กองก�ำลังทหารของสาธารณรฐั จนี (ไต้หวนั ) สามารถ เอาชนะกลมุ่ ทหารของ CCP ณ บริเวณชายฝั่งตะวนั ตก เฉียงเหนอื ของเกาะจนิ เหมินได้ กฎอัยการศกึ ถูกประกาศใชใ้ นไตห้ วัน และมีผลบงั คบั ใช้ต่อ มาจนกระท่งั ปี 1987 16

17ประวัติศาสตร์ 1952 ในปี 1951 ประเทศสมาชกิ ของสหประชาชาตทิ งั้ 48 ประเทศ ไดร้ ว่ มลงนามในสนธสิ ญั ญาสนั ตภิ าพซานฟรานซสิ โก โดย การลงนามสนธสิ ญั ญาสนั ตภิ าพระหวา่ งไตห้ วนั – ญปี่ นุ่ ได้ ถกู จดั ขน้ึ ทอี่ าคารรบั รองอาคนั ตกุ ะ กรงุ ไทเป ซงึ่ นบั เปน็ การ ประกาศยตุ สิ งครามของทง้ั สองฝา่ ยอยา่ งเปน็ ทางการ เปน็ ทท่ี ราบกนั ดวี า่ บทที่ 2 ของสนธสิ ญั ญาสนั ตภิ าพซาน ฟรานซสิ โก ญปี่ นุ่ ตอ้ งสละสทิ ธแิ์ ละอำ� นาจการปกครอง ทงั้ หมดทมี่ ตี อ่ ฟอรโ์ มซา (ไตห้ วนั ) และเพสคาโดเรส (หมเู่ กาะ เผงิ ห)ู รวมทง้ั หมเู่ กาะสแปรตลยี่ ์ และหมเู่ กาะพาราเซล รวม ทงั้ สนธสิ ญั ญาและขอ้ ตกลงใดๆ ระหวา่ งจนี และญปี่ นุ่ ทเ่ี กดิ ขนึ้ กอ่ นวนั ท่ี 9 ธนั วาคม ปี 1941ถอื เปน็ โมฆะทนั ที ซงึ่ สบื เนอ่ื งมาจากผลของสงคราม 1954 มกี ารลงนามในสนธิสญั ญาความมั่นคงระหว่าง สาธารณรฐั จีน (ไตห้ วนั ) และสหรัฐอเมรกิ าในกรุงวอชงิ ตนั 1958 วนั ที่ 23 สงิ หาคม เกดิ การยงิ ปืนใหญต่ อบโต้กัน ระหว่าง กองทหารรักษาการณแ์ ห่งสาธารณรัฐจีน (ไต้หวนั ) ทีจ่ นิ เห มนิ กับกองทหารจีนแผ่นดนิ ใหญ่ เป็นระยะเวลากว่า 40 วัน 1966 เขตผลติ สินคา้ เพ่ือการสง่ ออกถกู ก่อตัง้ ขนึ้ เปน็ ครั้งแรก ท่นี ครเกาสง ซึง่ ต้ังอยู่ทางตอนใตข้ องไต้หวนั การจดั ตัง้ เขตพืน้ ท่ดี งั กลา่ ว ถือเป็นการขับเคลื่อนไต้หวันไปสกู่ ารเป็น ประเทศพัฒนาแลว้ อกี ท้งั ยังเป็นตน้ แบบใหก้ ับประเทศอ่ืนๆ ยึดเป็นแนวทางในการน�ำไปประยกุ ตใ์ ช้อกี ด้วย 1968 ระบบการศึกษาภาคบงั คับ 9 ปถี ูกประกาศใช้ ซึ่งในเวลา น้ันมเี พียงไมถ่ งึ 9 ประเทศท่ัวโลกท่ีมีระบบการศึกษาภาค บังคบั ที่มีระยะเวลาเท่ากันหรอื นานกว่า

1971 เมอ่ื วันที่ 25 ตลุ าคม การประชมุ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชา ตไิ ด้มกี ารผา่ นญตั ติทปี่ ระชุม ฉบับท่ี 2758 โดยระบวุ ่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) เปน็ ตวั แทนท่ไี ด้รบั การ ยอมรับเพียงหน่งึ เดียว สาธารณรฐั จีน (ไต้หวนั ) ถอนตวั จาก UN 1979 นกั เคลอ่ื นไหวเพอื่ ประชาธปิ ไตยทจี่ ดั ประทว้ งในนครเกา สงถกู จบั กมุ และคมุ ขงั หรอื ทเ่ี รยี กวา่ เหตกุ ารณฟ์ อรโ์ มซา (Kaohsiung Incident) ซงึ่ จากเหตกุ ารณด์ งั กลา่ ว ได้ พฒั นามาสกู่ ารกอ่ ตง้ั พรรคประชาธปิ ไตยกา้ วหนา้ (DPP) ในปี 1986 1987 กฎอัยการศึกท่ีบังคับใชม้ าตง้ั แตป่ ี 1949 ส้ินสดุ ลง ไดม้ ี การยกเลิกกฎระเบียบวา่ ด้วยการก่อตง้ั พรรคการเมือง ใหม่ และเปิดโอกาสใหป้ ระชาชนและสือ่ มวลชนมเี สรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็น การเปล่ยี นผ่านสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ไดก้ า้ วเขา้ สอู่ กี ขัน้ ทส่ี ูงข้ึน การแลกเปล่ียนระหว่างภาคประชาชนของสองฝง่ั ชอ่ งแคบ ไตห้ วัน เริม่ ต้นขน้ึ 1991 ไดม้ กี ารยกเลิกบทเฉพาะกาลทีถ่ กู บญั ญตั ขิ ึน้ เพ่อื ใช้ ในการปราบปรามและต่อต้านความไม่สงบจากพรรค คอมมวิ นิสต์ นอกจากน้ี ในระหวา่ งปี 1991- 1992 ไดม้ กี ารเลือกต้ังสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรจากเสยี ง ประชาชน รวมถึงสมาชิกสภานติ ิบญั ญัตแิ ละสมาชกิ รัฐสภา นบั ตั้งแต่ปี 1991 – 2005 ไดม้ กี ารแกไ้ ข รฐั ธรรมนญู ของสาธารณรฐั จีน (ไตห้ วัน) แล้วกว่า 7 คร้ัง ไต้หวันได้เข้าเปน็ สมาชกิ ของกลมุ่ ความร่วมมอื ทางเศรษฐกจิ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซฟิ ิก (APEC) 18

19ประวัติศาสตร์ 1992 ผ้แู ทนทีไ่ ด้รบั มอบอ�ำนาจจากรฐั บาลของ 2 ฝ่งั ช่องแคบ ไตห้ วัน พบปะกันเปน็ คร้งั แรกในฮอ่ งกง ซ่งึ ทัง้ สองฝา่ ย ตา่ งร่วมเจรจาหารอื เพอ่ื บรรลฉุ ันทามตริ ว่ มกนั 1995 เรม่ิ มีการจัดต้งั ระบบประกนั สขุ ภาพแห่งชาติ (NHI) 1996 สาธารณรัฐจีน (ไตห้ วนั ) จดั การเลือกตั้งประธานาธิบดขี ้นึ เป็นคร้งั แรก โดยนายหลี่เตงิ ฮยุ และนายเหลียนจัน้ ตวั แทน จากพรรคก๊กมินตง๋ั (KMT) ไดร้ บั คะแนนเสยี งร้อยละ 54 2000 นายเฉนิ สยุ่ เปย่ี นและลวซี่ วิ่ เหลยี น ตวั แทนพรรคประชาธปิ ไตย กา้ วหนา้ (DPP) ไดร้ บั เลอื กตงั้ เปน็ ประธานาธบิ ดแี ละรอง ประธานาธบิ ดี สาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) สน้ิ สดุ การปกครอง ภายใตพ้ รรคกก๊ มนิ ตง๋ั อนั ยาวนานกวา่ 50 ปี นบั เปน็ การ ถา่ ยโอนอำ� นาจบรหิ ารใหก้ บั รฐั บาลชดุ ใหม่เป็นครง้ั แรก 2002 ไต้หวนั เข้ารว่ มเป็นสมาชกิ ขององค์การการคา้ โลก (WTO) 2003 สภานติ ิบญั ญตั ิแห่งสาธารณรฐั จีน (ไตห้ วนั ) ผ่านกฎหมาย วา่ ดว้ ยการออกเสยี งประชามติ เพ่อื ใหส้ ิทธพิ ้นื ฐานแก่ ประชาชนในการลงคะแนนเสียงต่อประเดน็ ท่มี คี วามสำ� คญั ระดบั ท้องถ่ินหรือระดบั ชาติ 2004 มกี ารจัดการลงประชามตริ ะดบั ชาติข้นึ เป็นครงั้ แรก ซ่ึงจัด ข้ึนในวนั เดยี วกบั การเลอื กต้ังประธานาธิบดี สมัยท่ี 3 ของ ไตห้ วัน โดยนายเฉนิ สุ่ยเปย่ี นและลว่ซี ่ิวเหลยี น ได้รับเลือกต้ัง ให้ด�ำรงต�ำแหน่งเปน็ ประธานาธิบดแี ละรองประธานาธิบดี เปน็ สมัยที่ 2 ติดต่อกัน ดว้ ยคะแนนเสยี งขา้ งมากอยา่ งสสู ี

2005 สภานิตบิ ัญญตั สิ าธารณรฐั จีน (ไต้หวนั ) ผ่านการ แก้ไขรัฐธรรมนญู โดยลดจ�ำนวนท่ีนง่ั สมาชกิ สภา นติ ิบญั ญตั ิ (ส.ส.) จาก 225 เปน็ 113 ประกอบกบั ใช้ระบบการเลอื กต้ังแบบเขตเดียวเบอร์เดยี วบตั รลง คะแนนเสียงสองใบ 2008 นายหมา่ องิ จิ่วและนายเซยี ววา่ นฉางแห่งพรรคกก๊ มินตั้ง (KMT) ได้รบั เลือกต้ังเป็นประธานาธบิ ดีและ รองประธานาธบิ ดี สาธารณรัฐจีน (ไตห้ วัน) โดย ได้รบั คะแนนเสียงรอ้ ยละ 58 ซึง่ เป็นการถ่ายโอน อ�ำนาจบริหารครั้งท่ี 2 ของไต้หวัน 2009 ไต้หวนั เขา้ รว่ มการประชุมสมัชชาอนามยั โลก (WHA) ใน ฐานะผสู้ งั เกตการณ์ ซง่ึ เป็นการเข้ารว่ มในกจิ กรรมของ UN เป็นครง้ั แรก นับตั้งแต่ทไ่ี ดถ้ อนตัวจากการเป็นประเทศ สมาชกิ ของ UN ในปี 1971 ประธานาธบิ ดีหมา่ องิ จ่วิ ได้ลงนามในสัตยาบันสารกตกิ า ระหว่างประเทศว่าด้วยสทิ ธิพลเมืองและสิทธิทางการเมอื ง และกติการะหวา่ งประเทศวา่ ด้วยสิทธทิ างเศรษฐกิจ สงั คม และวัฒนธรรม 2010 ไตห้ วันลงนามขอ้ ตกลงกรอบความรว่ มมอื เศรษฐกิจ สองฝงั่ ช่องแคบไต้หวัน (ECFA) กบั จนี แผ่นดนิ ใหญ่ เพื่อ เชือ่ มสัมพันธท์ างเศรษฐกิจและการคา้ ระหวา่ งสองฝั่ง ช่องแคบไต้หวนั 2011 ไต้หวันจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปแี ห่งการ สถาปนาสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 20

21ประวัติศาสตร์ 2012 นายหม่าองิ จิ่ว ผดู้ ำ� รงต�ำแหนง่ ผนู้ ำ� ไตห้ วนั ในขณะนน้ั และ นายอูต๋ ุนอี้ ค่สู มคั รคนใหม่ ซึ่งเปน็ ตัวแทนพรรคก๊กมินตัง๋ ชนะการเลอื กต้งั ประธานาธบิ ดแี ละรองประธานาธบิ ดี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวนั ) ดว้ ยคะแนนเสยี งรอ้ ยละ 51.6 2013 ไตห้ วันลงนามความตกลงว่าดว้ ยความรว่ มมือดา้ น เศรษฐกิจกบั นวิ ซีแลนด์ และความตกลงวา่ ดว้ ยการเปน็ พนั ธมิตรทางเศรษฐกิจกับสงิ คโปร์ ไตห้ วันเขา้ ร่วมการประชุมองคก์ ารการบนิ พลเรอื นระหว่าง ประเทศ (ICAO) ครั้งที่ 38 ในฐานะแขกอาคันตกุ ะของ ประธานคณะมนตรี ICAO 2014 นายหวงั อวี้ฉี ประธานคณะกรรมการกจิ การจนี แผน่ ดิน ใหญ่ สาธารณรัฐจนี (ไตห้ วัน) จัดการประชมุ อย่างเป็น ทางการร่วมกบั นายจางจอื้ จวิน ผู้อำ� นวยการส�ำนักงาน กจิ การไตห้ วนั ของจีน ขึ้นเม่อื เดอื นกมุ ภาพันธ์ที่มณฑล หนานจงิ ซึง่ นบั เป็นการเปิดการเจรจาอยา่ งเปน็ ทางการ ครัง้ แรกระหวา่ งเจา้ หน้าทภ่ี าครฐั ระดบั สูง ท่มี ีหนา้ ที่รบั ผิด ชอบกิจการทเี่ ก่ยี วข้องกบั สองฝั่งชอ่ งแคบไตห้ วัน กลุม่ ผปู้ ระท้วงขบวนดอกทานตะวนั ล้อมสภานิตบิ ัญญตั ิ สาธารณรฐั จนี (ไต้หวนั ) เพอ่ื ตอ่ ตา้ นการผ่านความตกลง การค้าและบริการระหวา่ งสองฝั่งช่องแคบไต้หวัน ในปีเดียวกันน้ี ได้มีการจัดการเลือกต้ังระดับท้องถ่ินท่ี รวม 9 รายการไว้ในการเลือกต้ังครั้งเดียว หรือท่ีทราบ กันในนาม “การเลือกต้ังแบบ nine-in-one” โดยผู้น�ำและ ตัวแทนระดับท้องถิ่นท่ีได้รับเลือกในคร้ังนี้ มีจ�ำนวนท้ังส้ิน 11,130 คน

2015 นายหมา่ องิ จว่ิ ผนู้ ำ� สาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) และนายสจี น้ิ ผงิ ผนู้ ำ� สาธารณรฐั ประชาชนจนี พบปะกนั ทส่ี งิ คโปรใ์ น เดอื นพฤศจกิ ายน ซงึ่ ถอื เปน็ การประชมุ ระหวา่ ง 2 ผนู้ ำ� สงู สดุ ของสองฝง่ั ชอ่ งแคบไตห้ วนั เปน็ ครง้ั แรกในรอบ 66 ปี ไตห้ วนั ลงนามในความตกลงวา่ ดว้ ยการอำ� นวยความ สะดวกทางการคา้ ภายใตอ้ งคก์ ารการคา้ โลก (WTO) พรอ้ ม ดำ� เนนิ การจดั ทำ� ตราสารการยอมรบั และสง่ มอบยงั WTO 2016 นางสาวไชอ่ ิงเหวิน ประธานพรรคประชาธิปไตย ก้าวหนา้ (DPP) และนายเฉนิ เจีย้ นเหรนิ ได้รบั เลือกต้ัง เปน็ ประธานาธบิ ดีและรองประธานาธิบดี สาธารณรัฐจนี (ไต้หวัน) พร้อมกนั นี้พรรค DPP ยงั สามารถคว้าท่นี ัง่ ในสภา นติ ิบัญญัตไิ ด้ทัง้ หมด 68 ทน่ี ั่งจากทัง้ หมด 113 ทนี่ ั่ง ประธานาธบิ ดไี ชอ่ งิ เหวนิ แสดงความขอโทษอยา่ งเปน็ ทางการในฐานะผนู้ ำ� ของประเทศตอ่ ชนพน้ื เมอื งไตห้ วนั สำ� หรบั ความเจบ็ ปวดและการไดร้ บั การปฏบิ ตั ติ อบอยา่ งไม่ ยตุ ธิ รรม ทพ่ี วกเขาตอ้ งเผชญิ มาเปน็ ระยะเวลารว่ มศตวรรษ 2017 กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาภาษาชนพน้ื เมือง ไดร้ บั การ บัญญัติขึน้ เพือ่ อนรุ กั ษแ์ ละส่งเสริมการใช้ภาษาของชนพ้ืน เมอื งท่ีเปน็ ท่รี จู้ กั ทง้ั 16 ชนเผ่าของไต้หวนั ไต้หวนั เป็นเจา้ ภาพจัดงานกฬี ามหาวทิ ยาลัยโลกฤดรู อ้ น ปี 2017 Formosat-5 ดาวเทยี มสังเกตการณ์โลกความแมน่ ย�ำสงู พิเศษดวงแรกของไตห้ วนั ถูกปล่อยขน้ึ สวู่ งโคจร 22

23ประวัติศาสตร์ 2018 คณะกรรมการเปล่ียนผา่ นความเป็นธรรมได้จดั พธิ ี เปิดป้ายอยา่ งเปน็ ทางการขึน้ เม่ือวนั ที่ 31 พฤษภาคม ประธานาธิบดไี ช่อิงเหวนิ แสดงความขอโทษต่อผ้เู คราะห์ รา้ ยจากเหตุการณ์ White Terror ในช่วงระหวา่ งปี 1949 – 1991 หลังจากทีไ่ ด้ตดั สินใจลบบนั ทึกประวัติ ความผิดอาญาท้งั หมดของผเู้ คราะหร์ า้ ย ตามความ เหน็ ชอบของคณะกรรมการฯ 2019 ไตห้ วันผา่ นกฎหมายวา่ ดว้ ยการสมรสของเพศเดียวกัน ซ่ึงนับเปน็ ประเทศแรกในเอเชยี ท่ีอนุญาตใหก้ ลมุ่ รกั เพศ เดียวกันจดทะเบียนสมรสกันได้อยา่ งถูกต้องตามกฎหมาย 2020 ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน และนายไล่ชิงเต๋อจาก พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ชนะการเลือกต้ัง ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ปี 2020 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 57.1 อีก ทั้งพรรค DPP ยังสามารถยึดครองท่ีนั่งส่วนมากใน สภาได้ส�ำเร็จ

ระบบการเมอื ง คณุ ทราบหรอื ไม่ ในไต้หวัน มกี ารเลอื กตง้ั ประธานาธิบดแี ละ รองประธานาธิบดโี ดยตรงทกุ ๆ 4 ปี ส�ำ หรับการเลือกต้งั สมาชิกสภานิตบิ ัญญัตขิ องไตห้ วนั ผู้มีสิทธเิ ลอื กตง้ั แต่ละคนจะได้รบั บตั รเลือกตง้ั 2 ใบ ใบหนึ่งสำ�หรบั ส.ส.แบบแบ่งเขต และอกี ใบส�ำ หรบั พรรคการเมอื ง (ส.ส.ปาร์ตล้ี สิ ต)์ รัฐธรรมนญู แหง่ สาธารณรฐั จีน (ไตห้ วนั ) ซง่ึ ประกาศใช้ ณ วนั ท่ี 1 มกราคม 1947 ไมเ่ คยถูกน�ำมาใชต้ ามวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพอื่ การ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและหลกั นิติธรรม จนกระท่ังในปี 1987 หลังจากที่ได้มีการยกเลิกกฎอัยการศึกในไต้หวนั นับแตน่ ัน้ เป็นตน้ มา ได้มกี ารแกไ้ ขรฐั ธรรมนูญ สาธารณรฐั จีน (ไต้หวัน) รวม 7 ครัง้ ในปี 1991, 1992, 1994, 1997, 1999, 2000 และ 2005 ทัง้ น้ี เพ่ือตอบสนองต่อสถานการณบ์ ้านเมอื งของแตล่ ะชว่ งเวลาใน ประเทศ ผลท่ีตามมาท่ีส�ำคัญประการหนึ่งของการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ นับตงั้ แตป่ ี 1991 รัฐบาลเพ่งิ ตระหนกั เห็นว่าขอบเขตอ�ำนาจศาล และกฎหมายครอบคลมุ เฉพาะพน้ื ทท่ี ี่มอี �ำนาจปกครองเท่าน้ัน โดย 24

ประธานาธิบดไี ช่อิงเหวิน (ท่ี 6 จากซ้าย) จากพรรคประชาธปิ ไตยก้าวหน้า (DPP) และนายไล่ชิงเต๋อ (ที่ 5 จากซ้าย) รว่ มเฉลมิ ฉลองการไดร้ ับต�ำแหนง่ หลงั จากเสร็จสิ้นการเลอื กตั้งประธานาธิบดแี ละรองประธานาธิบดี สาธารณรัฐจีน (ไตห้ วนั ) ปี 2020 (ภาพจาก Chin Hung-hao)

ประธานาธิบดีและสมาชิกสภานิติบัญญัติ ได้รับการเลือกตั้งและ มหี นา้ ทรี่ ับผิดชอบเฉพาะประชาชนในพื้นทีด่ งั กล่าวเท่านนั้ ตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญท่ีประกาศใช้ในเดือนมิถุนายนปี 2005 จ�ำนวนสมาชิกในสภานิติบัญญัติไต้หวันถูกลดลงครึ่งหน่ึงจาก 225 คนเปน็ 113 คน และกำ� หนดใหว้ าระการด�ำรงต�ำแหน่งของ สมาชิกสภานิตบิ ญั ญัติ เพม่ิ ขน้ึ จาก 3 ปเี ป็น 4 ปี ภายใตร้ ะบบการ เลอื กตง้ั สมาชิกสภานติ ิบัญญัติรูปแบบใหม่น้ี แต่ละเขตเลอื กตง้ั จะ เลือกได้เพยี งท่ีนั่งเดียว ผูม้ สี ทิ ธเิ ลอื กต้ังจะไดบ้ ัตรลงคะแนนเสยี ง 2 ใบ ใบหนง่ึ ส�ำหรับส.ส.แบบแบง่ เขต และอีกใบส�ำหรบั พรรคการเมือง (ส.ส.ปาร์ตล้ี ิสต์) ตลอดจนอำ� นาจในการพิจารณาแก้ไขรฐั ธรรมนญู ได้ตกเปน็ ของพลเมอื ง ผา่ นการลงประชามตนิ บั แต่นน้ั เป็นตน้ มา ระดับการปกครอง รฐั บาลส่วนกลางประกอบด้วยประธานาธิบดแี ละสภาท้งั 5 หรอื ที่ เรียกว่า yuan สว่ นรฐั บาลทอ้ งถิน่ ในปจั จบุ ัน ประกอบด้วย 6 กรุง และนคร 13 เมอื ง และ 3 เทศบาลเมือง ซงึ่ มลี �ำดับสถานะเช่นเดยี ว กบั เมอื ง นบั ตั้งแตป่ ี 2014 เป็นต้นมา ผ้วู า่ การและสมาชิกสภานคร และเมอื งของรฐั บาลทอ้ งถนิ่ ท่วั ทุกพน้ื ท่ใี นไตห้ วนั ไดม้ กี ารจดั การ เลอื กตงั้ ขึน้ พรอ้ มกนั ในทกุ 4 ปี โดยครอบคลุมไปถงึ 198 ตำ� บล อ�ำเภอ เมือง และอีก 170 เขต โดยในจ�ำนวนนี้ ประกอบด้วย 6 กลมุ่ ชนพ้นื เมืองเขตภูเขาในไต้หวนั เทศบาลนครเป็นหน่วยงานบริหารระดับสูงท่ีสุด ภายใต้การก�ำกับ ดูแลของรัฐบาลกลาง โดยเทศบาลนครมีบทบาทส�ำคัญในการ 26

27ระบบการเมือง สภาทง้ั 5 ของรฐั บาลกลาง สภาบริหาร กำ� หนดและด�ำเนินนโยบายตา่ งๆ สภานิตบิ ญั ญัติ พจิ ารณาและออกกฎหมาย รับฟงั การชแี้ จงในเรอื่ ง นโยบาย พิจารณาและตรวจ สอบรา่ งงบประมาณ และการ ดำ� เนินงานของรัฐบาล สภาสอบคดั เลอื ก บริหารระบบ ขา้ ราชการพลเรือน สภาตุลาการ ควบคุมดแู ลระบบ ศาลในประเทศ สภาตรวจสอบ ตรวจสอบการทำ� งานของหน่วยงาน ภาครฐั พร้อมท้ังสามารถลงมตไิ ม่ไว้ วางใจเจ้าหนา้ ทภ่ี าครฐั ได้

เขตการปกครองทอ้ งถน่ิ กรงุ ไทเป (เมืองหลวง) นครนวิ ไทเป นครเถาหยวน เทศบาลเมืองซนิ จู๋ เมืองซินจู๋ เมอื งเหมยี วลี่ นครไถจง เมืองจางฮวั่ เมืองเผิงหู นครไถหนาน นครเกาสง 6 กรุงและนคร 3 เทศบาลเมือง 13 เมือง บริหารพัฒนาพื้นท่ีในภูมิภาค โดยจะได้รับงบประมาณในการ สนบั สนุนทีส่ งู และมีโอกาสในการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพม่ิ เติม และ สามารถว่าจ้างข้าราชการในอัตราที่เพ่ิมมากขึ้น โดยเทศบาลนคร ทั้ง 6 นน้ั เรยี งล�ำดบั ตามจำ� นวนประชากร ดงั นี้ นวิ ไทเป ไถจง เกา สง ไทเป เถาหยวน และไถหนาน 28

29ระบบการเมือง เทศบาลเมอื งจหี ลง เมืองเหลยี นเจยี ง เมอื งจินเหมนิ เมอื งอีห๋ ลัน เมอื งฮวาเหลียน เมอื งหนานโถว เมอื งหยุนหลิน เทศบาลเมืองเจียอี้ เมืองเจยี อ้ี เมอื งไถตง เมืองผงิ ตง ตำ�แหน่งประธานาธิบดีและตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้ รับเลือกต้ังโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระการด�ำรงต�ำแหน่ง 4 ปี และสามารถได้รบั เลือกต้ังซ�้ำไดอ้ กี 1 วาระ ประธานาธบิ ดีท�ำ หน้าที่เปน็ ผู้น�ำของประเทศและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด อกี

ทั้งยังเป็นตัวแทนของประเทศในการติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างประเทศ ตลอดจนมีอ�ำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาท้ัง 4 รวมถึงนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีมีหน้าทใ่ี นการเป็น ผูน้ �ำสภาบริหารและคณะรัฐมนตรี และเป็นผู้รายงานแนวทางการ ด�ำเนินนโยบายและผลสัมฤทธ์ิท่ีได้จากการด�ำเนินนโยบายต่อสภา นิติบัญญัติ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรยี ังมีอำ� นาจแต่งตงั้ รัฐมนตรี ของแต่ละกระทรวง ประธานคณะกรรมการ และหน่วยงานตา่ งๆ ภายใต้สภาบรหิ าร และก่อตง้ั ข้นึ เปน็ คณะรฐั มนตรี ทงั้ น้ี เพอื่ พัฒนา ให้การด�ำเนินงานด้านการบริหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จงึ ไดม้ ี การปรับลดจ�ำนวนหน่วยงานภายใต้การก�ำกับดูแลของสภาบริหาร จาก 37 หน่วยงานให้เหลือเพยี ง 29 หนว่ ยงาน การปรับหน่วยงานภายใต้สภาบริหารได้เร่ิมด�ำเนินการอย่างเป็น ทางการเมอ่ื ต้นปี 2012 โดยหนว่ ยงานภายใตส้ ภาบริหารแบ่งออก เปน็ 14 กระทรวง 8 คณะกรรมการ 3 องค์กรอสิ ระ และ 4 องค์ กรอื่นๆ ภายใต้รฐั ธรรมนูญสาธารณรฐั จนี (ไตห้ วัน) การแต่งตัง้ นายกรัฐมนตรีของประธานาธิบดี หรือการแต่งต้ังรัฐมนตรีของ นายกรัฐมนตรี ถูกจำ� กัดใหอ้ ยภู่ ายใต้การใหค้ วามเหน็ ชอบจากสภา นติ บิ ัญญตั ิ ก า ร แ ต ่ ง ต้ั ง ส ม า ชิ ก ส ภ า ต ร ว จ ส อ บ แ ล ะ ส ภ า ส อ บ คั ด เ ลื อ ก ข อ ง ประธานาธบิ ดี รวมถึงผ้พู ิพากษาของสภาตุลาการ ตอ้ งไดร้ บั ความ เหน็ ชอบจากสภานิตบิ ัญญัติ นอกจากน้ี สมาชกิ สภานิติบญั ญัติยงั ต้องลงมตเิ ลอื กประธานสภาฯ และโฆษกสภาฯ โดยท�ำการคัดเลือก จากสมาชกิ สภานิตบิ ญั ญตั ทิ ไี่ ดร้ บั เลอื กให้เป็นสว่ นหนงึ่ ในสภา 30

31ระบบการเมือง พรรคการเมอื ง คำ� วา่ “พรรคฝา่ ยรัฐบาล” หมายถึงพรรคการเมืองทมี่ ีสิทธคิ รอง อ�ำนาจในท�ำเนียบประธานาธิบดี โดยท่ีประธานาธิบดีมีบทบาท ส�ำคัญในการควบคมุ การท�ำงานของพรรคฝ่ายรัฐบาล พรรคกก๊ มนิ ตั๋ง (KMT) ไดด้ ำ� รงต�ำแหน่งประธานาธิบดีในไตห้ วนั มากวา่ 5 ทศวรรษ กอ่ นท่พี รรคประชาธิปไตยกา้ วหนา้ (DPP) จะชนะการเลือก ตงั้ ในปี 2000 และ 2004 พรรค KMT ได้อำ� นาจคนื มาอีกครั้งใน การเลือกตง้ั ประธานาธบิ ดใี นปี 2008 และ 2012 พรรค DPP กลบั มาชนะการเลือกตงั้ ประธานาธบิ ดีอกี ครัง้ ในปี 2016 และ 2020 นับ เป็นการถ่ายโอนอ�ำนาจบรหิ ารครั้งท่ี 3 นับต้ังแตท่ ่ปี ระเทศก้าวเข้าสู่ ความเปน็ ประชาธปิ ไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติในเดือนมกราคมปี 2020 พรรค DPP ควา้ ทนี่ ั่งในสภาไดร้ อ้ ยละ 54 ในขณะทพี่ รรค KMT ไดร้ บั ท่ีน่งั รอ้ ยละ 34 ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ ทม่ี ีทน่ี ่งั ในสภานิติบญั ญตั ิ ประกอบด้วย พรรคประชาชนไตห้ วนั (TPP) พรรคพลังใหม่ (NPP) และพรรคสร้างชาติไตห้ วนั (TSP)

การต่างประเทศ คณุ ทราบหรอื ไม่ 170 ประเทศและเขตพ้ืนท่ที ว่ั โลก มอบสทิ ธยิ กเวน้ การตรวจลงตรา วซี า่ หนา้ ดา่ น และวซี า่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ให้กบั ผ้ถู อื หนงั สือเดินทางสาธารณรฐั จนี (ไต้หวัน) ไตห้ วันเปน็ เพียงประเทศเดียวท่มี ีชอ่ื อยูใ่ นโปรแกรมยกเวน้ การขอวีซ่าของสหรฐั อเมริกา โดยทีไ่ มม่ ีความสมั พนั ธ์ ทางการทตู อยา่ งเป็นทางการกับสหรัฐอเมรกิ า สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เป็นรัฐอธิปไตยและเป็นเอกราช มีกอง กำ� ลังทหารแห่งชาติเปน็ ของตนเอง และด�ำเนนิ กจิ การดา้ นการต่าง ประเทศดว้ ยตนเอง ตามทีบ่ ัญญตั ิไวใ้ นรฐั ธรรมนูญของสาธารณรฐั จีน (ไต้หวนั ) เป้าหมายของประเทศคือ “การสรา้ งสมั พันธไมตรที ่ี ดีกับประเทศอ่ืนๆ และปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศและ กฎบตั รสหประชาชาติ เสริมสร้างความร่วมมอื กบั นานาชาติ ปกปอ้ ง ความยุติธรรมระหว่างประเทศ และรักษาสันติภาพของโลก” สว่ น เป้าหมายสูงสุดของนโยบายการต่างประเทศของไต้หวัน คือ การ สร้างหลักประกันด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการป้องกัน ประเทศชาติและการพัฒนาในระยะยาว รัฐบาลมุ่งมั่นท่ีจะด�ำเนินนโยบายทางการทูตที่เป็นรูปธรรม เพ่ือ บรรลุเป้าหมายในการเอื้อประโยชน์ซ่ึงกันและกันกับประชาคมโลก 32

เวชภณั ฑก์ ารปอ้ งกันโรคระบาดของไตห้ วันเตรยี มล�ำเลยี งสู่ ประเทศพนั ธมิตรและประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลงึ กนั กับไตห้ วนั ภายใตส้ ถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (โควดิ - 19) (ภาพจาก Chen Mei-ling)

โดยนโยบายดังกล่าวได้มีการระบุวัตถุประสงค์และแนวทางไว้อย่าง ชัดเจนวา่ ไต้หวนั ต้องการเสริมสร้างความสัมพันธท์ ่ีแน่นแฟน้ กบั ประเทศพันธมิตรและมิตรประเทศอื่นๆที่มีค่านิยมร่วมกันในด้าน เสรภี าพและประชาธิปไตย ภายใต้แนวทางน้ี การด�ำเนินภารกจิ ทางการทูตของประเทศจึงเปลี่ยนจากการให้ความช่วยเหลือด้าน การต่างประเทศในทิศทางเดียว เป็นการเจรจาซ่ึงกันและกันในรปู แบบ 2 ทิศทาง และประสานความร่วมมือแบบทวิภาคี โดยค�ำนงึ ถงึ การพฒั นาทางอุตสาหกรรมและการตลาดระหว่าง 2 ฝ่าย ภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ท่ีผลักดันโดยประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน ไต้หวันได้เสริมสรา้ งความรว่ มมอื ด้านเศรษฐกจิ และการคา้ การบม่ เพาะบุคลากร การแบ่งปันทรัพยากร และส่งเสริมความเช่ือมโยงใน ภมู ภิ าคกบั 10 ประเทศอาเซียน 6 ประเทศในภูมภิ าคเอเชียใต้ รวม ถึงออสเตรเลยี และนิวซแี ลนด์ โดยมีเปา้ หมายระยะยาวคือการสรา้ ง ความร่วมมือในรูปแบบใหม่ ภายใต้พ้นื ฐานของการเออื้ ประโยชน์ซึ่ง กันและกนั สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูตอย่างเป็นทางการกับ 15 ประเทศท่ัวโลก และเสริมสร้าง ความสัมพันธ์อย่างเป็นรูปธรรมกับประเทศอื่นๆมากมาย อาทิ ออสเตรเลีย แคนาดา ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป ญ่ีปุ่น นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วงระหว่างวันที่ 17 – 21 เมษายน ปี 2018 ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินได้เดินทางไปเยือนราช อาณาจักรเอสวาตีนี ซ่ึงเป็นหนึ่งในประเทศพันธมิตรของไต้หวัน เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีแห่งการประกาศเอกราช ของเอสวาตีนี และยังเป็นวันฉลองพระชนมายุครบ 50 พรรษาของ สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 แห่งเอสวาตีนี อีกท้ังยังประจวบ 34

35การต่างประเทศ นโยบายมงุ่ ใตใ้ หม่ ความร่วมมอื ดา้ นเศรษฐกิจและการค้า การบม่ เพาะบุคลากร ความเช่ือมโยงระหวา่ งภมู ิภาค การแบง่ ปันทรพั ยากร กับเป็นวาระครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูตระหว่างไต้หวัน – เอสวาตีนีอีกด้วย และในระหว่างวันที่ 12 – 20 สิงหาคม ในปีเดียวกันน้ัน ปธน.ไช่ฯ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐ ปารากวัยและเบลิซ ซ่ึงเป็นประเทศที่ต้ังอยู่ในทวีปอเมริกาใต้และ อเมริกากลางตามล�ำดับ ในระหว่างการเยือนครั้งน้ี ปธน.ไช่ฯ ได้เข้า ร่วมในพิธีสาบานตนเข้ารับต�ำแหน่งประธานาธิบดีของMr. Mario Abdo Benitez แห่งสาธารณรัฐปารากวัย ตลอดจนร่วมเจรจา หารือกับผู้น�ำของท้ัง 2 ประเทศข้างต้นอีกด้วย ระหว่างวนั ท่ี 21 – 28 มีนาคม ปี 2019 ปธน.ไชฯ่ ได้เดินทางไป เยอื นประเทศพันธมิตรอยา่ งสาธารณรฐั ปาเลา สาธารณรฐั นาอูรู

และสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ ตามแผนการเดินทางล่องทะเล แห่งประชาธิปไตย ต่อเนื่องจากการเดินทางไปเยือนประเทศแถบ มหาสมทุ รแปซิฟกิ ครงั้ แรกของปธน.ไช่ฯ เมือ่ เดือนตุลาคม ปี 2017 ซ่งึ ปธน.ไชฯ่ ได้เดนิ ทางไปเยอื นสาธารณรฐั หมเู่ กาะมาร์แชลล์ หมู่ เกาะโซโลมอน และตูวาลู นอกจากนี้ เมือ่ วนั ที่ 11 – 12 กรกฎาคม ปธน.ไชฯ่ ยังได้เดินทางไปเยือนประเทศพันธมิตรท่ีตั้งอยู่ในแถบทะเล แครบิ เบยี นอยา่ งสาธารณรัฐเฮติ เซนตค์ ติ สแ์ ละเนวิส เซนตว์ ินเซนต์ และเกรนาดีนส์ และเซนตล์ ูเซีย ตามแผนการเดินทางแหง่ เสรภี าพ และประชาธปิ ไตยอนั ยง่ั ยืน ปี 2019 โดยการเดินทางในคร้งั นี้ ปธน. ไช่ฯ ยงั ไดแ้ วะเยือนนครนวิ ยอรก์ และเมืองเดนเวอร์ (Denver) ของ สหรัฐฯ อกี ดว้ ย การมสี ว่ นรว่ มในระดบั นานาชาติ ไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างรัฐบาลและองค์การย่อย ตา่ งๆ รวม 38 องค์การ ประกอบดว้ ย องคก์ ารการค้าโลก (WTO) องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียแปซิฟิก (APEC) ธนาคารพฒั นาเอเชีย (ADB) ธนาคารเพือ่ การพัฒนาทวปี อเมรกิ า กลาง (CABEI) นอกจากนี้ ไต้หวนั ยงั ไดร้ ว่ มเปน็ ผสู้ ังเกตการณแ์ ละ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในองค์การระหว่างประเทศและองค์การย่อย ตา่ งๆ กว่า 20 องคก์ าร ประกอบดว้ ย ธนาคารเพ่อื การพัฒนาแหง่ ทวีปอเมรกิ า (IDB) ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนายโุ รป (EBRD) และองค์การเพ่ือความรว่ มมือและการพัฒนาทางเศรษฐกจิ (OECD) ทั้งน้ี ไตห้ วนั ให้ค�ำม่นั อยา่ งหนกั แนน่ ว่า จะธำ� รงรักษาอ�ำนาจอธิปไตย และเกียรติยศของประเทศชาติ พร้อมท้ังยกระดับสวัสดิการให้กบั ประชาชนในประเทศ พร้อมทง้ั เขา้ มสี ่วนร่วมในประชาคมโลกอยา่ ง เป็นรูปธรรมและอย่างเป็นมืออาชีพ เพ่ือร่วมสร้างคุณประโยชน์ให้ 36

37การต่างประเทศ กับโลกตอ่ ไป นอกจากนี้ ไตห้ วันยงั จะแสวงหาโอกาสในการเขา้ มสี ว่ น ร่วมในองคก์ ารระหวา่ งรฐั บาลต่างๆตอ่ ไป อาทิ องคก์ ารอนามยั โลก (WHO) องคก์ ารการบนิ พลเรือนระหวา่ งประเทศ (ICAO) และ ต้องการเข้าร่วมเป็นภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปล่ยี นแปลงสภาพภมู ิอากาศ และการประชมุ สมชั ชาองคก์ าร ต�ำรวจอาชญากรรมระหวา่ งประเทศ (INTERPOL) เพื่อคุ้มครอง สวสั ดิการของประชาชน เสรมิ สรา้ งความก้าวหนา้ ให้กับมนษุ ยชาติ ซ่ึงความพยายามเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนอย่างหนักแน่นจาก ประเทศพนั ธมิตรและประเทศที่มีแนวคดิ คล้ายคลึงกัน ณ วนั ท่ี 22 เมษายน ปี 2020 มี 170 ประเทศและเขตพื้นทที่ ่ัวโลกมอบ สิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา วีซา่ หนา้ ดา่ น และวีซ่าอเิ ล็กทรอนกิ ส์ ให้ กบั ผูถ้ ือหนงั สือเดนิ ทางสาธารณรัฐจนี (ไตห้ วัน) นอกจากน้ี ไต้หวัน ยังได้ท�ำข้อตกลงโครงการตรวจลงตราท�ำงานและท่องเท่ียวอย่าง เป็นทางการกับ 17 ประเทศ ความสมั พันธ์ทแี่ ข็งแกร่ง ในบรรดา 38 ประเทศท่ีสามารถเดินทางเข้าสู่เขตอาณา สหรัฐอเมริกาได้โดยไม่ต้องใช้วีซ่า ไต้หวันเป็นเพียงประเทศเดียว ท่ีมีชื่ออยู่ในโปรแกรมยกเว้นการขอวีซ่าของสหรัฐอเมริกา โดยที่ ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกา แสดงให้เหน็ ถึงความสัมพันธอ์ นั ดที ม่ี ีตอ่ กนั ระหวา่ งสองประเทศ กฏ หมายความสัมพันธ์ไตห้ วนั (TRA) ทผี่ ่านการพิจารณาจากรฐั สภา สหรัฐอเมรกิ า ในปี 1979 ยงั คงเปน็ รากฐานทมี่ ั่นคงส�ำหรบั ความ รว่ มมอื ระหว่างไตห้ วัน - สหรฐั ฯ ภายใต้บรบิ ทท่ไี มไ่ ด้มกี ารสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูตอยา่ งเปน็ ทางการระหว่างกนั โดยสหรฐั ฯ ได้เน้นย�ำ้ ถึงค�ำมัน่ ที่ใหไ้ วก้ ับไต้หวันอยเู่ สมอๆ ภายใต้กฎหมายความ

สมั พันธไ์ ตห้ วันและหลกั ประกนั 6 ประการ (Six Assurances) ใน ปี 2018 กฎหมายการเดินทางไต้หวันไดผ้ า่ นความเห็นชอบอย่าง เป็นเอกฉันท์จากรฐั สภาสหรฐั ฯ โดยมปี ระธานาธบิ ดโี ดนลั ด์ ทรัมป์ ผนู้ ำ� สหรฐั ฯ เป็นผู้ลงนามบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว พร้อมกนั น้ี กฎหมายฉบับดังกล่าวยังได้กระตุ้นให้เจ้าหน้าทีร่ ฐั บาลทกุ ระดับ ชนั้ ของไตห้ วันและสหรฐั ฯ เดนิ ทางเยอื นซึ่งกนั และกัน ซ่งึ เปน็ การ แสดงให้เห็นถึงพลังสนับสนุนอันแข็งแกร่งที่ฝ่ายบริหารและฝ่าย นิติบัญญัติของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ มีต่อไต้หวัน ในปี 2020 กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศต่อพันธมิตรไตห้ วันปี 2019 ได้ผ่านความเหน็ ชอบอยา่ งเปน็ เอกฉนั ทจ์ ากรฐั สภาสหรฐั ฯ โดยมีประธานาธบิ ดโี ดนัลด์ ทรมั ป์ ผนู้ ำ� สหรัฐฯ เป็นผู้ลงนามบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยกฎหมายดงั กล่าวมสี าระสำ� คญั ทรี่ ะบุถงึ การสนับสนุนประเทศ ประชาธิปไตยทั่วโลกท่ีต้องการสานสัมพันธ์อันดีกับไต้หวัน และ สนบั สนุนไตห้ วันเขา้ รว่ มในองค์การระหว่างประเทศ ในขณะทีไ่ ตห้ วัน - สหรัฐฯ ขยายความรว่ มมือกันในเชงิ กว้าง รปู แบบหุน้ ส่วนทวิภาคี และความสัมพนั ธร์ ะหว่างไต้หวัน – สหรฐั ฯ ได้ยกระดับขึน้ เป็นหุน้ ส่วนความร่วมมอื ระดับโลก สาธารณรฐั จนี (ไตห้ วนั ) และนครรฐั วาตกิ นั ไดส้ ถาปนาความสมั พนั ธ์ ทางการทตู ระหวา่ งกนั มาเปน็ เวลาชา้ นาน โดยทงั้ สองประเทศตา่ ง ยึดม่ันในคุณค่าของเสรีภาพทางศาสนาและการให้ความช่วยเหลือ ทางดา้ นมนษุ ยธรรม อกี ทง้ั ยงั ยดึ มน่ั ในคา่ นยิ มอนั เปน็ สากลในดา้ น สันติภาพ เสรภี าพ ประชาธปิ ไตย และการเคารพสิทธมิ นุษยชน โดย ไต้หวันจะมุ่งมั่นในการเป็นหุ้นส่วนท่ีขาดไม่ได้ของนครรัฐวาติกันและ ประเทศอ่ืนๆ ในประชาคมโลก เพ่อื รว่ มสรา้ งคณุ ประโยชนใ์ นการเป็น พลงั แห่งความดี และสร้างสนั ตภิ าพให้แก่โลกตอ่ ไป 38

39การต่างประเทศ ในทำ� นองเดียวกนั ไตห้ วนั และสหภาพยุโรป (EU) และประเทศสมาชิก ของ EU ที่ยึดมั่นในค่านิยมสากลร่วมกันในด้านประชาธิปไตย เสรภี าพ สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม ได้พัฒนาความรว่ ม มอื และการแลกเปลี่ยนระหว่างกันอย่างใกล้ชิดในด้านต่างๆ อาทิ ไตห้ วัน – EU ไดเ้ สริมสรา้ งความสมั พนั ธท์ างเศรษฐกจิ และการค้า ระหว่างกันอยา่ งแนบแน่น อกี ทงั้ EU ยังเปน็ หุ้นสว่ นการค้าที่สำ� คญั เปน็ อนั ดับที่ 5 ของไต้หวัน และเป็นแหล่งท่มี าของการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศท่ใี หญ่ทสี่ ดุ ของไตห้ วนั นอกจากนี้ ท้งั สองฝ่ายยงั ได้เร่งเสริมสรา้ งความรว่ มมือในดา้ นต่างๆ ท่ีทว่ั โลกให้ความสนใจ ในปจั จุบัน อาทิ พลงั งานสเี ขียว เทคโนโลยีทนั สมัย และการเปลี่ยน ผ่านสู่ระบบดิจิทลั รวมถึงจะขยายความรว่ มมือระหวา่ งกนั ในดา้ น สิทธมิ นุษยชน ผ่านการจัดการประชุมหารือว่าด้วยสิทธิมนษุ ยชน ประจำ� ปี โดยท้ังสองฝ่ายจะมุ่งม่ันในการพัฒนาภารกิจที่ทั้งสอง ฝา่ ยต่างให้ความสำ� คัญรว่ มกัน อาทิ ความเสมอภาคทางเพศ การ คมุ้ ครองสิทธิมนุษยชนของกลมุ่ บคุ คล LGBTI และสทิ ธิมนุษยชน ของแรงงานต่างชาติ เมอื่ วนั ท่ี 10 เมษายน ปี 2013 ไตห้ วนั และญีป่ ุ่นได้ร่วมลงนามใน ความตกลงว่าด้วยการประมงระหว่างไต้หวัน – ญี่ปุ่น หลังจาก ท่ีได้ผ่านการเจรจาหารือระหว่างกันแล้วกว่า 17 ครั้ง นับตั้งแต่ ปี 1996 โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือขยายพื้นท่ีท�ำการประมงของ เรือประมงไต้หวัน ในน่านน้�ำรอบหมู่เกาะเซ็งกากุฝั่งทะเลจีนตะวัน ออก ความสัมพันธท์ ่แี น่นแฟ้นระหว่างไตห้ วัน – ญี่ปุ่น ยังถูกเนน้ ย้�ำด้วยการเปลี่ยนช่ือส�ำนักงานผู้แทนรัฐบาลญ่ีปุ่นประจ�ำไต้หวัน จากสมาคมแลกเปลยี่ นของญป่ี นุ่ (Interchange Association, Japan) มาเปน็ สมาคมแลกเปลย่ี นระหวา่ งญี่ป่นุ - ไตห้ วนั (Japan- Taiwan Exchange Association) ในเดอื นมกราคมปี 2017 เชน่

เดียวกับการเปลี่ยนชื่อจากสมาคมความสัมพันธ์เอเชียตะวันออก (Association of East Asian Relation) มาเป็นสมาคมความ สัมพนั ธ์ไต้หวัน - ญปี่ ุน่ (Taiwan-Japan Relations Association) เมอ่ื เดือนพฤษภาคม ปี 2017 ไต้หวันและญ่ีปุ่นร่วมจัดการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการ ทางทะเลระหว่างไต้หวัน – ญี่ปุ่นประจ�ำปี คร้ังที่ 4 ขึ้นเม่ือวันท่ี 2 ธันวาคม ปี 2019 ณ กรุงไทเป ซงึ่ เปน็ การประชุมที่จดั ข้ึนเป็น ประจ�ำทกุ ปี นบั ตง้ั แตท่ ่ไี ดจ้ ัดตั้งกลไกการประชุมดังกลา่ วในปี 2016 เปน็ ต้นมา โดยในการประชมุ ทง้ั สองฝ่ายไดร้ ว่ มแสวงหาโอกาส ความร่วมมือในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการประมงและการวิจัย ในเดือนพฤศจกิ ายน ปี 2015 ไต้หวันและฟลิ ปิ ปนิ ส์ไดร้ ว่ มลงนาม ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการด�ำเนินกฎหมายการ ประมงระหวา่ งไต้หวัน – ฟลิ ิปปินส์ เพ่อื ค้มุ ครองความปลอดภัยของ ชาวประมงของทั้งสองฝ่าย ในวันที่ 19 กรกฎาคม ปี 2016 ประธานาธบิ ดีไช่องิ เหวนิ ไดเ้ สนอ 4 หลักการ 5 วธิ ีการ เพ่อื ยตุ ขิ ้อพพิ าทในประเดน็ หมเู่ กาะในทะเลจนี ใต้ โดย 4 หลักการดังกลา่ ว ประกอบดว้ ย (1) ข้อพพิ าทในประเด็น หมู่เกาะในทะเลจีนใต้ควรด�ำเนินการแก้ปัญหาตามกฎหมายสากล และกฎหมายทะเล ประกอบด้วย อนสุ ญั ญาสหประชาชาติว่าด้วย กฎหมายทะเล (UNCLOS) โดยทไี่ ต้หวนั จะยดึ ม่ันในสันติวิธีในการ แกไ้ ขปัญหา (2) ไต้หวนั ควรเขา้ มสี ว่ นรว่ มในกลไกการเจรจาระงบั ข้อพพิ าทระดบั พหุพาคี (3) ประเทศท่เี กย่ี วข้องมหี น้าท่ีรว่ มกัน ธ�ำรงรักษาเสรีภาพในการเดินเรือและการบินในอาณาเขตของ ทะเลจีนใต้ และ (4) ไต้หวันได้เสนอแนะวิธีการยุติข้อพิพาทดังกล่าว 40

41การต่างประเทศ ด้วย “ปล่อยวางข้อพิพาท ร่วมกันพัฒนา” พร้อมยินดีที่จะร่วมมือ กับประเทศที่เกี่ยวข้อง ธ�ำรงรักษาไว้ซ่ึงสันติภาพและเสถียรภาพ ระดับภูมิภาคในทะเลจีนใต้ ภายใต้พ้ืนฐานของการเปิดการเจรจา อย่างเท่าเทียม ตลอดจนร่วมปกป้อง วิจัย และพัฒนาทรัพยากรใน ทะเลจีนใต้ให้คงอยู่สืบไป ส�ำหรับ 5 วิธีการข้างต้น ประกอบด้วย (1) ปกป้องสิทธิท�ำการประมงของประเทศ (2) เข้าร่วมในการเจรจา ระงับข้อพิพาทระดับพหุภาคี (3) เสริมสร้างความร่วมมือทางด้าน วิทยาศาสตร์ (4) เสริมสร้างการตอบสนองด้านมนุษยธรรม และ (5) บ่มเพาะบุคลากรด้านการวิจัยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ทางทะเล ตลอดหลายปมี านี้ รัฐบาลสาธารณรฐั จีน (ไตห้ วนั ) ได้เรง่ ปรบั เปลี่ยนให้เกาะไท่ผิงในหมู่เกาะหนานซาเป็นศูนย์ช่วยเหลือด้าน มนษุ ยธรรมในทะเลจนี ใต้ นับตงั้ แตป่ ี 2000 หลงั จากท่ไี ตห้ วนั ไดร้ ับ อนุมัติให้ครอบครองเกาะตงซาและเกาะไท่ผิง ส�ำนักงานป้องกนั ชายฝัง่ ทะเล ภายใตก้ ารกำ� กบั ดูแลของคณะกรรมการกิจการทาง ทะเล สาธารณรัฐจีน (ไตห้ วัน) ก็ไดด้ �ำเนนิ การตามกลไกในการรบั มือ กับภัยพิบัติและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม รวมถงึ ให้ ความชว่ ยเหลอื บคุ คลทงั้ ในและต่างประเทศ โดยสำ� นักงานปอ้ งกนั ชายฝั่งทะเลมุ่งมั่นท่ีจะเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงลึกกับประเทศ เพ่ือนบา้ น พร้อมรว่ มประสานความร่วมมอื กับหน่วยงานท่ีเก่ียวขอ้ ง ตามนโยบายของรัฐบาล ท้ังน้ี เพอ่ื เสริมสรา้ งใหเ้ กดิ สนั ติภาพและ เสถยี รภาพในทะเลจีนใต้ตอ่ ไป ด้วยพืน้ ทป่ี ระมาณ 0.51 ตารางกโิ ลเมตร เกาะไทผ่ งิ สามารถใช้เป็นท่ี อยู่อาศัยของมนษุ ย์ อกี ท้ังประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะก็ยงั สามารถ ท�ำมาหากินเลย้ี งชพี ไดด้ ว้ ยตวั เอง ซ่ึงสอดคล้องกบั หลักเกณฑ์การ

นยิ ามคำ� วา่ เกาะ ตามท่ีไดร้ ะบุไวใ้ นบทความ 121 ของอนสุ ญั ญา สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ท�ำให้สาธารณรัฐจีน (ไตห้ วนั ) มสี ทิ ธิโดยสมบูรณใ์ นเขตนา่ นนำ้� เขตเศรษฐกจิ จ�ำเพาะทมี่ ี ระยะทางความกว้างไมเ่ กนิ 200 ไมล์ทะเลจากเสน้ ฐาน ภายใต้กรอบ กตกิ าของ UNCLOS ความร่วมมอื แบบเออ้ื ประโยชนซ์ ่งึ กนั และกัน ในฐานะทไี่ ตห้ วนั เปน็ หนงึ่ ในสมาชกิ ของประชาคมโลก ไตห้ วนั จะมงุ่ มน่ั ใหค้ วามชว่ ยเหลอื ดา้ นมนษุ ยธรรมและการควบคมุ โรค ในระหวา่ ง ทเ่ี ข้ามีส่วนร่วมในประชาคมโลกต่อไป ท้ังน้ี เพ่ือร่วมแก้ไขปัญหา ในประเดน็ ตา่ งๆ อาทิ การเปลย่ี นแปลงของสภาพภมู อิ ากาศ การ ก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ในอนาคต ไต้หวันจะเสริม สร้างความร่วมมือกับประเทศพันธมิตรและมิตรประเทศที่มีแนวคิด คลา้ ยคลงึ กนั ตอ่ ไป โดยจะสง่ เสรมิ ใหภ้ าครฐั สรา้ งปฏสิ มั พนั ธร์ ะหวา่ ง กนั ส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจ และส่งเสริมให้เกิดการแลก เปลย่ี นระหว่างภาคประชาชน รวมถึงการประสานความรว่ มมอื กบั มติ รประเทศท่ัวโลก เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมค่านิยมสากลในดา้ น สนั ตภิ าพ เสรภี าพ ประชาธปิ ไตย และสทิ ธมิ นษุ ยชน ใหค้ งอยสู่ บื ไป แนวทางปฏิบตั เิ พ่ือสกัดกัน้ โรคตดิ เช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ของไต้หวนั ประกอบด้วย มาตรการกักตวั เพ่ือสังเกตอาการ การตดิ ตามตวั ผูก้ ักตวั ดว้ ยเทคโนโลยีขน้ั สงู และการใหข้ อ้ มลู การ ระบาดล่าสุดที่โปรง่ ใส หรือที่เรียกกนั โดยท่วั ไปวา่ “รูปแบบไต้หวัน” ซึง่ ผลสัมฤทธ์ิของรูปแบบไต้หวัน น�ำมาซึ่งโอกาสในการประสาน ความร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ในด้านการวิจยั และพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ผ่านสภาวิจัยแห่งชาติ ไตห้ วนั ซง่ึ เป็นสถาบันวจิ ยั ช้นั นำ� ท่ีส�ำคัญที่สดุ ของไตห้ วัน นอกจาก 42

43การต่างประเทศ นี้ ไตห้ วันยังมีขดี ความสามารถทม่ี ากเพียงพอทีจ่ ะแบง่ ปนั เวชภัณฑ์ การป้องกันโรคระบาดให้กับประชาคมโลก อาทิ หน้ากากอนามัย เคร่อื งวดั อุณหภูมิทางหนา้ ผาก ถุงมอื อนามัย แวน่ ครอบตา ชุด อุปกรณ์ปอ้ งกันส่วนบคุ คล ชุดตรวจคดั กรอง และอปุ กรณท์ างการ แพทยอ์ นื่ ๆ อนึ่ง ขอ้ ตกลงว่าด้วยความร่วมมอื ดา้ นการบรจิ าคและ แลกเปลย่ี นเวชภัณฑท์ างการแพทย์ทีส่ ำ� คัญๆ ท่ีไต้หวนั ร่วมลงนาม กับมติ รประเทศ ไดร้ บั การเผยแพร่ผา่ นส่อื อยา่ งลน้ หลาม ประสบ ความส�ำเรจ็ ในการเช่อื มมิตรภาพกบั นานาประเทศท่วั โลก การเปลี่ยนแปลงทางสงั คม เสรีภาพทางเศรษฐกิจ และการเปล่ียน ผา่ นสกู่ ารเป็นประชาธิปไตยของไตห้ วัน นำ� มาซง่ึ สภาพแวดล้อมท่ี เออื้ ประโยชน์ตอ่ ภาคเอกชนและองคก์ ารนอกภาครัฐ สังคมพลเมอื ง ในปัจจุบันมีบทบาทส�ำคัญต่อการสร้างหลักประกันด้านหลักธร รมาภิบาล และส่งเสริมใหซ้ อฟต์พาวเวอรข์ องไต้หวนั กา้ วข้ึนสเู่ วที นานาชาติ นอกจากนอ้ี งคก์ ารนอกภาครัฐ (NGOs) ยังมีสว่ นช่วย ในการยกระดับภาพลักษณไ์ ต้หวนั ด้วยการเข้าร่วมโครงการความ รว่ มมือระดับนานาชาตทิ ี่หลากหลาย ทัง้ น้ี เพื่อให้สอดคล้องกับเปา้ หมายการพัฒนาอยา่ งยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ (UN)

ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง สองฝง่ั ชอ่ งแคบไตห้ วนั คณุ ทราบหรอื ไม่ ในเดือนธนั วาคม ปี 1987 ไตห้ วันไดย้ กเลิกคำ�สง่ั ห้าม ประชาชนเดินทางกลบั ไปเยีย่ มญาติที่ประเทศจนี รัฐบาลผอ่ นปรนกฎระเบยี บการเดินทางไปเยือนประเทศ จีนของประชาชนชาวไตห้ วัน ซง่ึ มีผลบงั คับใชน้ บั ต้งั แต่ เดอื นธันวาคมปี 2008 เปน็ ต้นไป พร้อมเปดิ เที่ยวบิน ตรงระหวา่ งสองฝงั่ ช่องแคบไต้หวนั นบั ตงั้ แตท่ มี่ กี ารอพยพยา้ ยถนิ่ ฐานของรฐั บาลมายงั ไตห้ วนั ในปี 1949 คณะรฐั บาลมอี ำ� นาจการปกครองเหนอื ทกุ พนื้ ทข่ี องไตห้ วนั เกาะเผงิ หู เกาะจนิ เหมนิ เกาะหมาจู่ และเกาะเลก็ ๆ บรเิ วณโดยรอบ ในขณะท่ี จนี แผน่ ดนิ ใหญอ่ ยภู่ ายใตก้ ารปกครองของรฐั บาลปกั กง่ิ ชว่ งปลาย ปี 1980 ไตห้ วนั ไดเ้ รง่ ผลกั ดนั กระบวนการทางประชาธปิ ไตย โดยได้ ยกเลกิ กฎระเบยี บวา่ ดว้ ยการไปมาหาสขู่ องภาคประชาชนระหวา่ งสอง ฝง่ั ชอ่ งแคบไตห้ วนั ปจั จบุ นั นกั ธรุ กจิ ไตห้ วนั เปน็ หนง่ึ ในกลมุ่ นกั ลงทนุ รายใหญท่ สี่ ดุ ของจนี เฉพาะระหวา่ งปี 1991 จนถงึ ปลายเดอื นมนี าคม ปี 2020 รฐั บาลไตห้ วนั ไดอ้ นมุ ตั โิ ครงการลงทนุ ในจนี ของผปู้ ระกอบ การไตห้ วนั กวา่ 44,056 ราย รวมมลู คา่ การลงทนุ ทง้ั สน้ิ 188,500 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั มลู คา่ การคา้ ระหวา่ งชอ่ งแคบไตห้ วนั ในปี 2019 อยู่ ท่ี 149,200 ลา้ นดอลลารส์ หรฐั โดยในปเี ดยี วกนั นน้ั ยอดนกั ทอ่ งเทย่ี ว จนี ทเ่ี ดนิ ทางมาทอ่ งเทยี่ วในไตห้ วนั มจี ำ� นวนกวา่ 2.68 ลา้ นคน 44


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook