Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 4 การขี้นรูปร้อน

4 การขี้นรูปร้อน

Published by kroojira, 2020-05-08 01:17:27

Description: 4 การขี้นรูปร้อน

Search

Read the Text Version

การขน้ึ รูปร้อน 20102-2007 <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การขึ้นรูปรอ้ น สาระสาคัญ การขึ้นรูปชิ้นส่วนต่างๆ นอกจากจะใช้เครื่องมือกลพื้นฐานและเคร่ืองมือกล ซีเอ็นซีแล้ว ยังสามารถข้ึนรูปด้วยวิธีการอ่ืน คือ การนาชิ้นส่วนไปผ่านกระบวนการให้ ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิการตกผลึกใหม่แล้วจึงนาช้ินส่วนนั้นมาผ่านกระบวนการตี การรีด การอัด เพ่ือให้ได้ชิ้นส่วนที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น คุณสมบัติในด้านต่างๆ จะดี ข้ึน และมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น โดยกรรมวธิ ีดังกล่าวน้ีเรียกว่ากรรมวิธีการขึ้น รูปร้อนและเพ่ือให้สามารถเลือกใช้กรรมวิธีในการข้ึนรูปร้อนให้เหมาะสมกับชิ้นส่วน ผเู้ รยี นจึงต้องศึกษารายละเอียดและกระบวนการตา่ งๆ เก่ียวกบั การขึ้นรูปรอ้ นให้มีความ เขา้ ใจ <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 4 การข้ึนรปู ร้อน บทนา การขึ้นรูปร้อน (Hot working) เป็นกระบวนการข้ึนรูปหรือแปรรูปโลหะ โดย กระบวนการขึ้นรูปร้อนน้ีจะกระทาในขณะที่โลหะมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิการตกผลึก ใหม่(Recrystallization Temperature) ซึ่งอุณหภูมิการตกผลึกใหม่ของโลหะแต่ละ ชนิดไม่เท่ากัน เช่น กรณีของเหล็กกล้าอุณหภูมิน้ีจะอยู่ในช่วง 500-700 องศาเซลเซียส ส่วนในกรณโี ลหะอนื่ ดคู า่ ได้จากตารางที่ 4.1 ตารางที่ 4.1 อณุ หภูมกิ ารตกผลกึ ใหมข่ องโลหะชนิดต่างๆ กรรมวิธีการข้ึนรูปร้อนท่ีนามาใช้ทาให้โลหะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นชิ้นงานนั้นมี หลายวิธี เช่น การตีดว้ ยคอ้ น (Hammering) การตีอัด (Press Forging) การรีด(Rolling) และการอัดรีด(Extrusion) เป็นต้น ซึ่งการนาโลหะมาผ่านการข้ึนรูปร้อนนั้น จะทาให้ เกิดผลดีกบั โลหะในแง่ตา่ งๆ หลายประการดังน้ี <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

1.ทาให้เน้ือโลหะมีความหนาแน่นเพิ่มข้นึ ลดความพรุนของเน้ือโลหะลง 2.สารมลทิน (Impurities) และสารฝังใน (Inclusions) ท่ีปะปนอยู่ในเน้ือโลหะ จะถูกทาให้แตกหักเป็นผลละเอียด และถูกบังคับให้กระจายตัวอยู่ในเนื้อโลหะอย่าง สม่าเสมอกว่าเดิม 3.ทาให้เกรนของโลหะมขี นาดเล็กลง 4.คุณสมบัติด้านต่างๆ ของโลหะดีข้ึนเนื้อโลหะจะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous)มากขนึ้ กวา่ เดมิ 4.1 การรดี ข้ึนรูปร้อน การรีดข้ึนรูปร้อน (Hot Rolling) เป็นการรีดท่ีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิการ จัดเรียงผลึกใหม่ แล้วนาไปผ่านลูกรีดเพ่ือลดขนาดพ้ืนท่ีหน้าตัดลงให้ได้ขนาดชิ้นงานท่ี เหมาะสมกับการนาไปใช้งานต่อไป สาหรับการรีดโลหะวัตถุดิบที่นาใช้ในการรีดเรียกว่า โลหะกึ่งสาเร็จรูป (Semi-Finished Steel Product) ซ่ึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ แท่งโลหะพ้ืนท่ีหน้าตัดรูปส่ีเหล่ียมจัตุรัส (Bloom) ขนาดพ้ืนท่ีหน้าตัดอย่างน้อย 150x150 มม. แท่งโลหะพ้ืนท่ีหน้าตัดรูปที่เหลี่ยมจัตุรัสท่ีเล็กกว่า Bloom (Billet) มี ขนาดพ้ืนท่ีหน้าตัดต้ังแต่ 40x40 มม. และแท่งโลหะพ้ืนที่หน้าตัดเป็นส่ีเหล่ียมผืนผ้า (Slab) ขนาดความกวา้ งต่าสดุ 10 น้ิว หนา้ 1½ นวิ้ ดงั รปู ท่ี 4.1 รูปท่ี 4.1 เหล็กกง่ึ สาเรจ็ รปู <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

จากรูปท่ี 4.1 เม่อื นาเหล็กกง่ึ สาเร็จรปู มาผ่านกระบวนการรดี จะทาให้ได้ผลผลติ ดังรูปที่ 4.2 รูปท่ี 4.2 การรดี ขึน้ รูป จากรูปที่ 4.2 เมื่อนาเหล็กก่ึงสาเร็จรูปไปผ่านกระบวนการให้ความร้อนแล้วจึง นาไปรดี ขน้ึ รปู ดว้ ยกรรมวธิ ตี ่างๆ ดงั นี้ 4.1.1 การรีดเปน็ แผ่น การรดี เปน็ แผ่น ( Flat Rolling) เป็นการนาสแลบ (Slab) ไปอบที่เตาและให้ ความร้อนอย่างช้าๆ จนถึงอุณหภูมิการีด แล้วนาไปรีดบนลูกรีดจนได้ขนาดความหนา และความกว้างตามที่ต้องการ มีอยู่ 2 ลักษณะคือ การรีดเป็นโลหะแผ่น (Flat Plate) ความหนามากกว่า 6 มม. และการรีดเป็นโลหะแผ่นบาง (Sheet Metal)โดยทั่วไปความ หนานอ้ ยกวา่ 6 มม. ดังรูปที่ 4.3 รปู ท่ี 4.3 การรีดเปน็ แผ่น <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

4.1.2 การรีดขึ้นรูป การรีดขึ้นรูป (Shape Rolling) เป็นการนาเอาโลหะก่ึงสาเร็จรูปบลูม (Bloom) ไปอบในเตาให้ความรอ้ นอย่างชา้ ๆ จนถึงอุณหภมู ิการรีด แลว้ นาไปรีดข้ึนรปู ตามต้องการ เชน่ I-Beam , U-Beam ตวั อยา่ งดงั รปู ท่ี 4.4 รปู ท่ี 4.4 การรดี ข้ึนรูป 4.1.3 การรดี ในลกั ษณะอนื่ ๆ การรีดในลักษณะอื่นๆ เป็นกรรมวิธีการรีดร้อน ซึ่งโลหะที่นามาข้ึนรูปนี้ไม่ใช่ โลหะก่ึงสาเรจ็ รปู แตเ่ ปน็ โลหะที่ผ่านกรรมวิธกี ารผลิตอื่นมากอ่ นดงั นี้ 1.การรีดวงแหวนหรือห่วง (Ring Rolling) เป็นการลดขนาดความหนา และเพิ่ม ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นงาน ซึ่งชิ้นงานเปล่ียนรูปไปเนื่องจากการยืดตัวของ โลหะ ดงั รูปที่ 4.5 รูปที่ 4.5 การรีดวงแหวน 2.การรีดเกลียว (Thread Rolling) เป็นการทาเกลียวภายนอกด้วยแม่พิมพ์ (Die) ซง่ึ แมพ่ มิ พ์มี 2 แบบคือ แบบแผน่ ดังรปู ที่ 4.6 และแบบกลม ดงั รปู ท่ี 4.7 รูปท่ี 4.6 การรีดเกลียวบนแม่พิมพ์แบบแผน่ <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

รูปที่ 4.7 การรดี เกลยี วบนแม่แบบแบบกลม 4.1.4 ผลทเ่ี กิดขน้ึ จากการรีดรอ้ น ผลที่เกิดข้ึนจากการรีดร้อนต่อโลหะในขณะทาการรีด เกรนของเหล็กจะเปล่ียน รูปร่าง โดยเกรนของโลหะปกติจะมีเม็ดโต จะถูกบีบตัวจนลีบในขณะผ่านการกดของ ลกู กล้งิ และจะเปลย่ี นเมด็ เกรนใหมท่ นั ทีทาให้โลหะมคี ุณสมบัตทิ ี่ดีข้นึ ดังรูปที่ 4.8 รปู ท่ี 4.8 การข้ึนรปู และการเปล่ียนขนาดของเกรนในชนิ้ งาน 4.2 การตีข้นึ รปู รอ้ น การตีข้ึนรูปร้อน (Hot Forging) เป็นกระบวนการข้ึนรูป หรือแปรรูปโลหะให้ กลายเป็นชิ้นงานโดยใช้แรงทุบ ตี อัด หรือกระแทก ร่วมกับการใช้แบบดาย(Die) หรือไม่ ใชแ้ บบดายก็ได้ กระบวนการนีแ้ บง่ ออกเป็นชนดิ ยอ่ ยๆ ได้หลายชนดิ <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

4.2.1 การตดี ว้ ยค้อน การตีด้วยค้อน (Hammering or Smith Forging) เป็นวิธีการที่ช่างตีเหล็กใน สมัยโบราณใช้กันโดยการตีอาศัยแรงงานจากคน วิธีการในสมัยก่อนน้ันจะไม่ใช้แบบดาย การตีให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ จะต้องอาศัยทักษะและความชานาญพิเศษของช่าง แต่ใน ปัจจุบันนี้ใช้แบบดายเปิด (Open Dies Forging)ช่วยในการขึ้นรูปและใช้เคร่ืองจักรช่วย ในการตขี น้ึ รูปเพอื่ ใหก้ ารทางานงา่ ยขนึ้ ดงั รูปที่ 4.9 รปู ที่ 4.9 การตีขึ้นรูปด้วยเคร่ืองจักร 4.2.2 การตีกระแทก การตีกระแทก (Drop Forging)การตีข้ึนรูปด้วยวิธีการนี้จะใช้แบบดายท่ีมี ลักษณะเป็นแบบดายปิด (Closed Dies Forging) ซึ่งจะแตกต่างจากแบบดายที่ใช้ใน กรณีการตีด้วยค้อนที่เป็นแบบดายเปิดตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ลักษณะการทางานในกรณี การตีกระแทกดงั รปู ที่ 4.10 รูปที่ 4.10 การขึน้ รปู แบบ Drop Forging <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

4.2.3 การตบี บี การตีบบี (Upset Forging) เป็นกรรมวิธีที่ใชใ้ นการผลติ ช้นิ งานท่ีมรี ปู ร่างเป็นบ่า หรือขอบโดยการเตรียมชิ้นงานมาก่อนให้มีขนาดใกล้เคียงกับแบบดายท่ีจะใช้ในการขึ้น รปู ดังรูปท่ี 4.11 รปู ท่ี 4.11 ลกั ษณะช้ินงานท่ีได้จากการตีบีบ 4.2.4 การตรี ดี การตีรีด (Roll Forging) เป็นการตีโดยการใช้ลูกรีด (Roll) หมุนกลิ้งไปบน ช้ินงานโดยนาโลหะท่ีผ่านการอบให้ร้อนจนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิการตกผลึก ใหม่ ป้อนเข้าไปในเคร่ืองรีด ลูกรีดจะหมุนกล้ิงไปบนช้ินงานทาการตีรีดจนกระท่ังได้ ขนาดตามที่ต้องการ ดงั รูปที่ 4.12 แสดงหลักการทางานของเครื่องตีรีด ส่วนในรูปที่4.13 แสดงการทาลอ้ ดว้ ยวธิ ีการตรี ีด รปู ท่ี 4.12 หลกั การทางานของเครื่องตรี ีด <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

รปู ที่ 4.13 แสดงการทาลอ้ ดว้ ยวิธีการตรี ีด 4.3 การอัดขึน้ รูปรอ้ น การอัดข้ึนรูปร้อน (Hot Extrusion) เป็นกระบวนการอัดและรีดให้โลหะเคลื่อน ออกจากห้องอัดผ่านแบบดายออกมาเป็นช้ินงาน ชิ้นงานที่ได้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็น แท่งยาว ส่วนรูปร่างลักษณะของพื้นที่หน้าตัดของช้ินงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของแบบ ดายที่ใช้ กระบวนการอัดรีดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ การอัดรีดโดยตรง (Direct Extrusion) การอัดรีดโดยอ้อม (Indirect Extrusion) และการอัดรีดโดยการกระแทก (Impact Extrusion) มีรายละเอียดดังนี้ 4.3.1 การอดั รดี โดยตรง การอัดรีดโดยตรง (Direct Extrusion) โลหะท่ีผ่านการอบให้ร้อนจนกระทั่งมี อุณหภูมิสูงกว่าอณุ หภูมิการตกผลึกใหม่(Recrystallization Temperature) ถูกนามาใส่ ลงในห้องอัด (Chamber) จากกนั้นอาศัยแรงอัดจากก้านกระทุ้ง (Ram) อัดให้โลหะ เคล่ือนท่ีผ่านแบบดาย ออกจากห้องอดั กาลายเป็นชิ้นงาน ทิศทางที่ช้ินงานเคล่ือนท่ีออก จากหอ้ งอดั น้ันจะเป็นไปในทิศทางเดยี วกับการเคลื่อนที่ของกา้ นกระทงุ้ ดงั รูปที่ 4.14 รปู ท่ี 4.14 การอัดรีดโดยตรง <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

4.3.2 การอดั รีดโดยอ้อม การอัดรีดโดยอ้อม (Indirect Extrusion) จะมีลักษณะการทางานคล้ายคลึงกับ การอัดรีดโดยตรงจะแตกต่างกันตรงทิศทางท่ีชน้ิ งานเคล่อื นท่ีออกจากห้องอดั จะสวนทาง กับทิศทางการเคล่อื นท่ีของกา้ นกระทุ้งดงั รปู ที่ 4.15 รูปท่ี 4.15 การอัดรีดโดยอ้อม 4.3.3 การอัดรดี โดยการกระแทก การอัดรีดโดยการกระแทก (Impact Extrusion) กระบวนการนี้ใช้วิธีกระแทก ก้านกระทุ้งเข้าหาโลหะท่ีอยู่ภายในห้องอัด โลหะจะถูกกระแทกให้เคล่ือนตัวออกจาก ห้องอัดผ่านแบบดายออกมากลายเป็นชิ้นงาน โดยปกตินิยมใช้กับงานแปรรปู เย็น (Cold Working) แต่ในกรณีท่ีชิ้นงานมีขนาดใหญ่หรือชิ้นงานมีผนังหนามากๆ จะไม่สะดวกใน การทางานแปรรปู เยน็ จงึ จาเปน็ ตอ้ งทาในลักษณะงานแปรรปู ร้อน ดังรปู ที่ 4.16 รูปท่ี 4.16 การอัดไหลแบบกระแทก <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

4.4 การดึงขึ้นรปู รอ้ น การดงึ ขน้ึ รปู ร้อน (Hot Drawing) กระบวนการน้จี ะนาโลหะทีผ่ า่ นการอบ จนกระทัง่ มีอุณหภมู สิ ูงกว่าอุณหภมู กิ ารตกผลึกใหมม่ าดันหรือดงึ ให้เคลื่อนตวั ผ่านแบบ ดายกจ็ ะไดช้ ้นิ งานตามทต่ี ้องการช้นิ งานทเ่ี หมาะสาหรับการผลิตด้วยวิธนี ไี้ ดแ้ ก่ เหลก็ เส้น เส้นลวด ทอ่ ผนงั หนา เป็นต้น ดังรปู ท่ี 4.17 รูปท่ี 4.17 แสดงลักษณะการดงึ ข้ึนรูป 4.5 การผลติ ท่อ การผลิตท่อ (Pipe and Tube Manufacturing) แบบมีตะเข็บ และแบบไร้ ตะเข็บ มีกระบวนการที่สาคญั ดงั น้ี 4.5.1 การผลติ ทอ่ แบบมีตะเข็บ การผลิตตอ่ ท่อแบบมีตะเขบ็ ประกอบด้วยกระบวนการดังนี้ 1.การเช่ือมชนด้วยไฟฟ้า (Electric Welding) เป็นกระบวนการเช่ือม ท่อโดยใชก้ ระแสไฟฟ้าประกอบด้วย การเช่ือมชนด้วยความต้านทานไฟฟ้า และการเช่อื ม ชนด้วยการเหน่ียวนากระแสไฟฟ้ามกั ใช้ผลิตท่อที่มีความหนาไมม่ ากนัก (ส่วนใหญ่ที่ใชจ้ ะ มีความหนาไม่เกิน 8 มม. และเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอก ½-8 นิ้ว) รอยเชื่อมของท่อท่ี ผลิตโดยวิธีน้ีจะได้แนวเชื่อมตรงตามความยาวท่อ กรรมวิธีผลิตเรมิ่ จากการคลี่เหล็กแผ่น ม้วน แล้วตัดแบ่งให้ได้ขนาดความกว้างของเหล็กแผ่นใกล้เคียงกับความยาวของเส้นรอ บวงทต่ี ้องการม้วนท่อ จากนน้ั นาเขา้ เคร่อื งรีดทาการรดี ให้เป็นท่อ ในขณะที่แผ่นเหล็กนั้น มอี ุณหภูมิอยู่ท่ีอุณหภูมิบรรยากาศปกติ โดยใช้ชุดลูกรีด (Rolls)จากนั้นเช่ือมรอยต่อของ ขอบให้ติดกันโดยใช้เคร่ืองเช่ือมไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ดังรูปที่ 4.18 สาหรับการใช้งานของ <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

ท่อผลิตจากการเช่ือมชนด้วยความต้านทานไฟฟ้า เช่น ใช้เป็นท่อน้า ท่อเหล็กโครงสร้าง ท่อขนสง่ ก๊าซ และน้ามนั เปน็ ตน้ รปู ท่ี 4.18 การผลติ ท่อด้วยวธิ กี ารเชอื่ มชนดว้ ยไฟฟ้า 2.การเชื่อมท่อแบบเกลียว (Spiral) เป็นการเช่ือมท่อเหล็กกล้า โดยวิธี Submerged Arc Welding (SAW) โดยแนวเช่ือมจะมีลักษณะเป็นขดเป็นวงคล้ายสปริง กรรมวิธีน้ีสามารถผลิตท่อท่ีมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้กว้างและความยาวมากๆ ได้ โดยอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150-3300 มม. ความหนาท่ีใช้กันส่วนใหญ่ประมาณ 3-19 มม. ท่อเช่ือมแบบเกลียว แบบ 2 ด้านจะสามารถทนความดันได้มากกว่าท่อเชื่อม แบบแนวเช่ือมตรงถึง 25% เม่ือเทียบท่ีความหนาของผนังเท่ากัน การใช้งานของท่อ ประเภทน้ี เช่น ทอ่ สาหรับส่งน้ามนั ดิบ งานขุดเจาะ เปน็ ต้น ดังรูปท่ี 4.19 <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

รปู ที่ 4.19 การผลิตท่อโดยการเชอื่ มท่อแบบเกลียว 3.การเชอื่ มท่อแนวตะเข็บตรง ท่อเชื่อมแนวตะเข็บแบบตรง Arc Welding เช่น Double Submerged Arc Weld (DSAW) ช่ือนี้มาจากการเชื่อมท่อด้วยวิธี Arc โดยมี Flux ปกคลุมขณะที่ทาการ เช่ือม โดยจะทาการเชื่อมท้ังด้านในและด้านนอกด้วยกระบวนการที่แยกกันจึงเรียกว่า Double การเช่ือมท่ีแยกกันนจ้ี ะทาให้เกิดการผสมชองเนื้อรอยเช่ือมของกันและกันทาให้ ได้รอยเชือ่ มที่มคี ุณภาพสูง ท่อแบบ DSAW น้ีมกั มีขนาดเสน้ ผ่านศูนย์กลางด้านนอกใหญ่ และผนังหนากว่าเม่ือเทียบกับท่อแบบการเชื่อมชนด้วยความต้านทานไฟฟ้า การใช้งาน ของท่อ DSAW เชน่ งานขนส่งนา้ มนั และกา๊ ซความดนั สงู ดงั รูปท่ี 4.20 รปู ท่ี 4.20 การผลิตท่อโดยการเช่ือมท่อแนวตะเขบ็ ตรง <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

4.5.2 การผลิตทอ่ แบบไม่มีตะเขบ็ การผลิตทอ่ แบบไม่มตี ะเข็บ มีกระบวนการท่สี าคญั ดังนี้ 1.การแทงขึ้นรูปร้อน (Hot Piercing) เป็นกรรมวิธีการผลิตท่อท่ีไม่มีตะเข็บ ซ่ึง จะทาให้ท่อมีคุณภาพสูง ทนต่อแรงอัดได้สูงมาก แต่ผลิตยุ่งยากกว่าแบบมีตะเข็บ และมี ความหนากว่า การผลิตท่อโดยใช้เพลาแกนดันระหว่างกลางชิ้นงานและให้วิ่งในทิศทาง เดียวแท่งแกนจะเป็นตัวนาศูนย์ก่อนใช้แรงอัดและความร้อนของเหล็กเป็ นตัวควบคุม ขนาดของรทู อ่ ดังรปู ท่ี 4.21 รูปที่ 4.21 การผลติ ท่อท่ไี ม่มีตะเข็บ 2.การอัดรีดท่อ (Tube Extrusion) การอัดรีดท่อเป็นกรรมวิธีผลิท่อแบบไม่ ตะเข็บอีกวิธีหน่ึงใช้หลักการเหมือนกับการอัดรีดโดยตรง การทาวิธีน้ีตัดอัดจับชิ้นงาน หมุนด้วยความเร็วมากประมาณ 10 ฟุตต่อนาทีใช้ผลิท่อเหล็กพวกเหล็กกล้าคาร์บอนต่า อาจจะทาวิธีการขึ้นรูปเย็นก็ได้อุณหภูมิของชิ้นงานก่อนนามาอัดขึ้นรูปประมาณ 2,400 องศาฟาเรนไฮต์ ดงั รปู ที่ 4.22 <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

รปู ที่ 4.22 การอัดไหลท่อ 4.6 การหมุนขน้ึ รปู ร้อน การหมนุ ขน้ึ รูปร้อน (Hot Spinning) เปน็ วธิ ีการขน้ึ รปู โลหะแผ่นให้เปน็ ชิ้นงานท่ี มีรูปร่างสมมาตรโดยใช้ความร้อนที่สูงกว่าอุณหภูมิการตกผลึกใหม่ ลักษณะการหมุนข้ึน รูปร้อนจะใช้เครื่องจักรในการหมุนข้ึนรูปโลหะซึ่งจะมีลักษณะคล้ายเครื่องกลึง โดยขณะ ชิน้ งานกาหมนุ จะมีการใหค้ วามร้อนอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็จะมีเครื่องมือมา กด ลงบนแผน่ โลหะเพ่อื ใหแ้ ผ่นโลหะเกิดการเปลี่ยนแปลงรปู ร่าง ดงั รปู ท่ี 4.23 <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

รปู ท่ี 4.23 การหมนุ ข้ึนรูปรอ้ น สรปุ สาระสาคญั การข้ึนรูปร้อน เป็นกระบวนการขึ้นรูปหรือแปรรูปโลหะโดยทาให้โลหะมี อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิการตกผลึกใหม่ ซึ่งข้อดีของการข้ึนรูปร้อนคือ ทาให้เนื้อโลหะมี ความหนาแน่นเพ่ิมขึ้น ลดความพรุนของเน้ือโลหะลง สารมลทิน และสารฝังในที่ปะปน อยู่ในเนื้อโลหะจะถูกทาให้แตกหักเป็นผงละเอียด และถูกบังคับให้กระจายตัวอยู่ในเนื้อ โลหะอย่างสม่าเสมอกวา่ เดมิ ทาให้เกรนของโลหะมีขนาดเลก็ ลง และคุณสมบัตดิ ้านต่างๆ ของโลหะจะดขี ึ้น เนอ้ื โลหะจะมลี ักษณะเป็นเน้อื เดียวกันมากขน้ึ กวา่ เดิม <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>

แสงสวา่ งจงบังเกดิ แด่ท่าน จริ ยทุ ธ์ โชติกุล ช่างกลโรงงาน วทิ ยาลัยเทคนคิ ศรีสะเกษ <<<<<<<< Jirayut Chotikul @ Sisaket Technical College >>>>>>>>


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook