Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore EC2C02E4-5B9C-41A2-9B9A-7C6312226821

EC2C02E4-5B9C-41A2-9B9A-7C6312226821

Published by Pooganlism_ V, 2021-11-26 00:07:24

Description: EC2C02E4-5B9C-41A2-9B9A-7C6312226821

Search

Read the Text Version

การคุกคามทางเพศ Sexual harassment ความไม่ปกติที่ถูกทำให้ปกติ

SEXUAL HARASSMENT ประเด็นที่ศึกษาและนำเสนอ ความหมายของคำว่า “sexual harassment“ รูปแบบของการ sexual harassment ลักษณะของการคุกคามทางเพศ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศ ผลกระทบจากการถูก sexual harassment แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในประเทศไทย

SEXUAL HARASSMENT หมายถึงอะไร? Sexual Harassment หรือ การคุกคามทางเพศ หมายถึง การกระทำทั้งทางร่างกายและคำพูดไม่ว่าจะเป็นมุกตลก สองแง่สองง่าม หรือท่าทางประกอบการพูดที่ทำให้คู่สนทนาหรือคนที่อยู่ด้วยในตอนนั้น รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ เกิด ความรู้สึกถูกคุกคามหรือถูกล้ำเส้น แม้ว่าผู้พูดจะไม่มีเจตนาร้าย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

ความหมายการคุกคามทางเพศโดยทั่วไป การคุกคามทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกใน ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ กล่าวคือ การสร้างความรำคาญ กระอักกระอ่วนใจแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ฟาเลย์ (Farley. 1978 14-15) เป็นผู้เริ่มนำคำนี้ขึ้นมาใช้ในการจัดทำหนังสือเรื่อง \"Sexual Shakedown: The Sexual harassment on the job\" โดยให้คำนิยาม การคุกคามทางเพศว่าเป็นพฤติกรรมของผู้ชายซึ่งแสดงสิทธิใน บทบาททางเพศเหนือหน้าที่การงานของผู้หญิงในฐานะที่เป็นคนงาน โดยพฤติกรรมดังกล่าว ปราศจากการ ตอบสนองและไม่ได้รับการเชื้อเชิญ รวมถึงการกระทำซ้ำๆ ซากๆ เรียกร้อง ชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ และการ ข่มขืน จากคำนิยามข้างต้นสรุปสั้นๆได้ว่า การคุกคามทางเพศ เป็นการแสดงพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เป็นที่ ต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง ความหมายการคุกคามทางเพศในเชิงกฎหมาย การคุกคามทางเพศเป็นพฤติกรรมใดๆก็ตามที่ไม่พึงประสงค์อัน เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเพศ และมีองค์ประกอบของการคุกคามทางเพศ ดังนี้ 1. การกระทำการล่วงเกินทางเพศ เป็นการบังคับให้ยอมจำนนไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม โดยมีข้อตกลงหรือ เงื่อนไขเกี่ยวกับการจ้างงานของบุคคล 2. การก่อให้เกิดการยอมจำนนหรือปฏิเสธ โดยยกเอาเงื่อนไขการตัดสินใจว่าจ้างมาเป็นเครื่องต่อรองต่อลูกจ้าง 3. การกระทำที่มีเจตนา หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของลูกจ้าง อันเป็นการแทรกแซงต่อการทำงานของ บุคคล โดยก่อให้เกิดการข่มขู่ เป็นปฏิปักษ์ หรือรบกวนสภาพแวดล้อมในการทำงาน

รูปแบบของ SEXUAL HARASSMENT สถาบันสหภาพการทำงานหญิง (Working Women United Institute)ได้แบ่งรูปแบบของพฤติกรรมการคุกคามทางเพศออกเป็น 6 แบบ คือ 1. การยักคิ้วหลิ่วตา และการชำเลืองมองรูปร่างของผู้หญิงอย่างไม่รู้จักหยุด 2. การปัดไปโดนเนื้อตัวของผู้หญิงเสมอๆ 3. การขู่ผู้หญิงให้ยอมจำนนต่อการคาดคั้นหรือการเหน็บแนม 4. การจับตัวผู้หญิงซึ่งอยู่ตามลำพัง เพื่อความใกล้ชิดทางเพศซึ่งเป็นการฝืนใจฝ่ายหญิง 5. การซักชวนให้มีเพศสัมพันธ์อย่างเปิดเผย โดยมักจะขู่ถึงการสูญเสียงานหรือการเลื่อนตำแหน่ง 6. การมีเพศสัมพันธ์โดยฝืนใจฝ่ายหญิง จากการสรุปรูปแบบพฤติกรรมของนักวิชาการต่างประเทศ โดยแบ่งพฤติกรรมเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. การคุกคามทางวาจา (Verbal Harassment) เป็นการใช้คำพูดเพื่อสร้างสถานการณ์ที่เป็นการล่วงเกินทางเพศที่ผู้กระทำมักมีเป้าหมาย และกระทำ อย่างจงใจ ซึ่งได้รับการนิยามว่าเป็นการคุกคามทางเพศที่ไม่รุนแรง แต่ทำให้บุคคลที่ถูกคุกคามเกิดความอึดอัดใจ เช่น การพูดวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรูป ร่าง การแต่งตัวที่ส่อไปในทางลามก การเล่าเรื่องตลกลามก การพูดหรือการถามถึงความสัมพันธ์ทางเพศของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในที่สาธารณะ การตาม ตื้อตามจีบบุคคลใดบุคคลหนึ่งทั้งๆ ที่รู้ว่าเขาไม่สนใจ การกระจายข่าวลือ หรือนินทาเกี่ยวกับเรื่องเพศของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง 2. การคุกคามทางอากัปกิริยา (Non-verbal Harassment) เป็นการใช้ภาษากาย แสดงออกทางกริยา ท่าทาง เป็นการคุกคามที่ไม่รุนแรงแต่ทำให้อีก ฝ่ายอึกอัดใจ เป็นการกระทำซ้ำๆ เช่น การจ้องมองอย่างกรุ้มกริ่มหรือส่อในทางเพศ การแสดงสีหน้าเจ้าชู้ การมองเรือนร่างอย่างสำรวจตรวจตรา การ แสดงท่าทางหรือการเคลื่อนไหวร่างกายที่ส่อถึงเจตนาการล่วงเกินทางเพศ การติดภาพโป๊ หรือสิ่งของ อุปกรณ์ที่ลามก 3. การคุกคามทางสัมผัสร่างกาย (Physical Harassment) เป็นการกระทำโดยสัมผัสทางกาย แตะต้องร่างกายของผู้ถูกคุกคามอย่างจงใจ เช่น การ แตะเนื้อต้องตัว รวมทั้งการจัดเสื้อผ้า การกอดจูบ หอมแก้ม หรือการตีก้น สะโพก การยืน เดิน หรือนั่งใกล้ชิดเกินความจำเป็น โดยใช้บางส่วนของ ร่างกายสัมผัสผู้อื่นอย่างจงใจ

ลักษณะของ SEXUAL HARASSMENT แบ่งตามคู่กรณี แบ่งตามคู่กรณี สามารถแยกออกได้ 4 แบบ คือ 1. ชายคุกคามหญิง (Male Harass Female) 2. หญิงคุกคามชาย (Female Harass Male) 3. พวกรักต่างเพศคุกคามพวกรักร่วมเพศ (Heterosexual Harass Homosexual) 4. พวกรักร่วมเพศคุกคามพวกรักต่างเพศ (Homosexual Harass Heterosexual) แบ่งตามการกระทำ แบ่งตามการกระทำการคุกคามทางเพศ 1. การกระทำจากบุคคลภายในครอบครัว (Familial Abuse) เช่น พ่อ แม่ พ่อเลี้ยง ญาติ 2. การกระทำจากบุคคลภายนอกครอบครัวหรือคนแปลกหน้า (Extra Familial Abuse) เช่น คนขับรถ คนงานก่อสร้าง นายจ้าง 3. ลักษณะการคุกคามทางเพศในโรงเรียน 1. Student to Student Sexual Harassment คือ การที่นักเรียนกระทำทางเพศกับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศชายกระทำกับเพศหญิง หรือเพศหญิงกระทำกับเพศชาย เพศหญิงหรือเพศชายกระทำกับเพศเดียวกัน 2. Teacher to Student Sexual Harassment คือ การที่ครูกระทำการคุกคามทางเพศต่อนักเรียน 3. Sexual Harassment of Males คือ การคุกคามทางเพศของเพศชาย 4. Student to Teacher Sexual Harassment คือ การที่นักเรียนกระทำการคุกคามทางเพศต่อครู 5. Group Harassment การกระทำการคุกคามทางเพศเป็นกลุ่มหรือบุคคลผู้เป็นผู้คุกคามมีมากกว่าหนึ่งคน 6. Harassment by Non-Employees การกระทำการคุกคามทางเพศจากบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียน แบ่งตามลักษณะของผู้กระทำการคุกคามทางเพศ อาจจัดแบ่งผู้กระทำได้ใน 2 ลักษณะคือ 1. พวกที่ชอบใช้กำลังบังคับขู่เข็ญ ผู้กระทำการคุกคามทางเพศลักษณะนี้ มักทำเพียงครั้งเดียว หรือกระทำจำนวนน้อยครั้ง ส่วนใหญ่มีการทำร้ายร่างกายร่วม ด้วย เพื่อเป็นการขู่ให้เหยื่อยอมมีเพศสัมพันธ์ด้วย และพบว่ามีผลกระทบต่อจิตใจเหยื่อมากกว่าพวกที่ไม่ได้ใช้กำลังบังคับ 2. พวกที่ไม่ได้ใช้กำลังบังคับ มักมีลักษณะของการหลอกล่อ ชักชวนให้เหยื่อทำ เพื่อแลกกับสิ่งตอบแทนที่นำมาล่อเหยื่อ เช่น รางวัล เงิน หรือการมีความ สัมพันธ์พิเศษ(เป็นคนโปรด) ของผู้ใหญ่ เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการ SEXUAL HARASSMENT ปัจจัยที่ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศที่มักพบบ่อย ๆ ตามที่เป็นข่าว มักเป็นเรื่องของการใช้อำนาจในเรื่องเพศ เช่น ผู้ชายกระทำกับผู้หญิง ผู้ใหญ่ กระทำกับเด็ก หัวหน้ากระทำกับลูกน้อง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจมีสาเหตุดัง ต่อไปนี้ ปัจจัยทางด้านสถานภาพและความสัมพันธ์ของบุคคล เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการถูกคุกคามทางเพศ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คนคุ้นเคย คือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์รู้จักใกล้ชิดสนิทสนม คุ้นเคยไว้วางใจเป็นอย่างดี ซึ่งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นบ่อเกิดที่ทำให้บุคคลเกิดการอยากถูกเนื้อต้องตัว กับ กรณีคนแปลกหน้า คือ บุคคลที่ไม่คุ้นเคยหรือรู้จักกันมาก่อน เช่น นักเลง อันธพาล วัยรุ่นติดสารเสพติด บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดจากคนปกติ ป่วยเป็น โรคจิต โรคประสาททางเพศ เป็นต้น โดยบุคคลดังกล่าวส่วนใหญ่ที่พบเห็นตามข่าวมักจะขาดสติยั้งคิด และมีอารมณ์ทางเพศสูงหรือบางรายเก็บกดทาง เพศซึ่งเป็นสาเหตุแสดงพฤติกรรมทางเพศออกมาในช่วงเวลาที่มีโอกาสได้ ปัจจัยด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม เช่น บ้านหรือที่อยู่อาศัยมีสภาพไม่เหมาะสม เช่น เป็นแหล่งที่เสื่อมโทรมชุมชนแออัดหรือระยะทางระหว่างบ้านกับชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงานตั้งอยู่ในที่เปลี่ยวห่างไกลปลอดจากสายตาผู้คนหรืออาจอยู่ใกล้สถานเริงรมย์ต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์ สถานบริการทางเพศ แหล่งมั่วสุมอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น นับว่ามีความเสี่ยงต่อการเดินทางไปและกลับ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการถูกละเมิดทางเพศได้ ปัจจัยด้านตัวบุคคล เช่น การไม่รักนวลสงวนตัว โดยการแต่งกายที่ล่อแหลมไม่มิดชิด เช่น สวมเสื้อคอลึก ใส่กางเกงหรือกระโปรงสั้นหรือบางเกินไป การ แสดงท่าทีกิริยาบุคลิกที่ไม่เหมาะสมไม่ระมัดระวังที่ทำให้ส่อถึงการยั่วยุ เช่น การก้มจนเห็นของสงวน การนั่ง การยืน การเดิน การที่พูดลักษณะของการ เชิญชวน เป็นต้น หรือ การถูกกระตุ้นจากสื่อต่าง ๆ ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์ลามก เว็บไซต์ที่เน้นเรื่องเพศต่าง ๆ คลิปวิดีโอโป๊ เกมลามก CD DVD ลามก อนาจาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำโดยเมื่อถูกกระตุ้นจากสื่อต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบอันเป็นสาเหตุและส่งผลให้ เกิดการล่วงละเมิดทางเพศขึ้นได้ ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม เป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่คนสร้างขึ้นและปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไป วัฒนธรรมจึงเป็นทุกสิ่งทุก อย่างที่สังคมสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน ในสังคมโดยมีความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของวัฒนธรรมใน แต่ละสังคม

ผลกระทบจากการถูก SEXUAL HARASSMENT ความรุนแรงของการคุกคามทางเพศมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการคุกคามนั้น ๆ และสภาพจิตใจของผู้ถูก กระทำ ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับทางจิตใจมากกว่า ซึ่งความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้นมากจะเป็น เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความเชื่อใจที่มีต่อสังคม, คนอื่นลดลง ความมั่นใจในตัวเองลดลง การเห็นคุณค่าในตัวเองลดลง เกิดอาการซึมเศร้า

แนวคิดและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง แนวคิดเรื่องเพศและเพศสภาพ (Sex andGende) แนวคิดสตรีนิยม แนวคิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทฤษฎีทางชีววิทยา (Biological Theory) ทฤษฎีพัฒนาการ (Developmental Theory) ทฤษฎีความผิดปกติทางจิต (Pathology Theory) ทฤษฎีอำนาจในทางที่ผิด (Abuse of Power Theory) ทฤษฎีวัฒนธรรม (Cultural Theory)

ทำไม SEXUAL HARASSMENT จึงเกิดขึ้นได้ง่าย? ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ การไม่ให้เกียรติกันและกันของคนในปัจจุบัน ไม่ว่าชายหรือหญิงมีส่วนเป็นอย่างมากที่ทำให้เกิดการคุกคาม หรือการล่วง ละเมิดทางเพศได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการแทะโลมที่หลายคนอาจมองข้ามและไม่ได้รู้สึกผิด เพราะขาดการไตร่ตรองว่าสิ่งที่กล่าวไปนั้น เข้าข่าย การคุกคามหรือการล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่อย่างไร ยกตัวอย่างคำที่ส่อไปในทางเพศ เช่น มีค่าเทอมรึยัง, สามีในอนาคต, อยากกินไอติม และ แม่ของลูก เป็นต้น นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันในองค์กรของผู้คน ก็ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดการคุกคาม หรือการล่วงละเมิดทาง เพศได้ง่ายขึ้น เนื่องจากในสถานประกอบการที่ผู้มีอำนาจเหนือกว่า มักจะเอารัดเอาเปรียบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ยอมจำนนต่อความต้องการทาง เพศของตน มิเช่นนั้นอาจได้รับความเดือดร้อน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นโดยมีทั้ง ชายละเมิดหญิง หญิงละเมิดชาย ชายละเมิดชาย หญิงละเมิด หญิง และอีกหนึ่งตัวการสำคัญก็คือ สื่อออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งกำลังมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัญหาหลักก็คือ เรื่องทัศนคติของ สังคมส่วนหนึ่งที่มองว่า โลกออนไลน์คือโลกสมมติ การคุกคามทางเพศผ่านช่องทางนี้ จึงไม่ใช่เรื่องรุนแรงอะไร นั่นจึงทำให้เกิดการคุกคาม หรือการล่วงละเมิดทางเพศได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม

เหยื่อส่วนใหญ่คือ \"เด็ก\" โดยพบว่า ร้อยละ 84.8 เป็นนักเรียน นักศึกษา สถิติที่มูลนิธิฯ ได้เก็บรวบรวมข่าวสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศปี 2562 ในหน้าหนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ พบว่า มีข่าวความรุนแรงที่เกิดขึ้น กว่า 333 ข่าว แบ่งเป็น ข่าวข่มขืน ร้อยละ 43.9 ข่าวบังคับค้าประเวณี ร้อยละ11.7 ข่าวพยายามข่มขืน ร้อยละ 10.2 และอื่นๆ ที่เป็นข่าว อนาจาร, ปล่อยคลิปลามก และกระทำการรุมโทรม สำหรับอายุผู้ถูกกระทำ พบมากที่สุด คือเด็กและเยาวชน 11-15 ปี รองลงมา อายุ 16-20 อายุ 6-10 ปี และอายุ 21-25 ปี อายุผู้ถูกกระทำที่น้อยสุด เป็นเด็กหญิง วัย 4 ขวบ (กรณีข่าว ถูกน้าชายเสพยาบ้าข่มขืน) ส่วนอายุมากสุด คือ อายุ 94 ปี (กรณี ถูกเพื่อนบ้านวัย 63 ปี ข่มขืน) และเมื่อตรวจสอบอาชีพของผู้ถูกกระทำ พบว่า ร้อยละ 84.8 เป็นนักเรียน นักศึกษา นอกจากนี้ ผลสำรวจ ยังพบว่า ความสัมพันธ์ของผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ อันดับแรกเกิดจากบุคคลแปลกหน้า/ไม่รู้จักกัน รองลงมาเป็นคน รู้จักคุ้นเคยและเป็นบุคคลในครอบครัว เช่น ครูกระทำกับนักเรียน นักเรียนกระทำกับนักเรียน เพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน พ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง ฯลฯ ส่วนอันดับสุดท้าย ถูกกระทำจากบุคคลที่รู้จักกันผ่าน Social Network โดยมีปัจจัยกระตุ้น จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด และความต้องการทางเพศ

การคุกคามทางเพศตามกฎหมายของประเทศไทย ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการประกาศใช้กฎหมายที่มุ่งส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 27 ได้วางหลักการเกี่ยวกับความเสมอภาคของเพศชาย และหญิง โดยกำหนดให้เพศชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน และห้ามมิให้นำความแตกต่างของบุคคลในเรื่องเพศ มาเป็นเหตุในการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 8 ได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตรา 16 โดยห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้า งาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง ทั้งนี้ มาตรา 147ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 16 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558 มาตรา 8 ได้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 โดยกำหนดโทษของบุคคล ที่กระทำการใด ๆ ต่อผู้อื่นอันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหาก เป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัล หรือเป็นการกระทำ อันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1เดือน หรือปรับไม่ เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และ ป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 83 (8) กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยมาตรา 84 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 เป็นผู้กระทำผิดวินัย ซึ่งต่อมา ก.พ. ได้ออก กฎ ก.พ. ว่าด้วย การกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 เพื่อกำหนดรูปแบบการกระทำที่จะถือว่าเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามมาตรา 83 (8) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2549 ข้อ 10 ห้ามมิให้นายจ้าง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างาน ผู้ ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 ได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการ ทำงาน และให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ และมอบหมายให้กระทรวงแรงงานขอความร่วมมือหน่วยงานภาคเอกชนรับร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วง ละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานไปดำเนินการตามความเหมาะสม

ข้อเสนอแนะ ควรที่จะบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ โดยบัญญัติเป็นบทบัญญัติมาตราต่างหาก และควรอยู่ในภาค 2 ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยว กับเพศ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ควรที่จะมีการแบ่งแยกระดับของลักษณะการกระทำความผิดเพื่อกำหนดเหตุเพิ่มโทษในการคุกคามทางเพศตามพฤติการณ์และระดับความร้ายแรงของการก ระทำ กล่าวคือ ถ้าเป็นการกระทำการคุกคามทางเพศในกรณี (1) กระทำการคุกคามทางเพศโดยการเฝ้าติดตาม (2) กระทำการคุกคามทางเพศโดยกระทำกับผู้เยาว์อายุต่ำกว่าสิบห้าปี (3) กระทำการคุกคามทางเพศโดยการอาศัยความไว้วางใจหรือสภาพของผู้ถูกกระทำหรือตำแหน่งหน้าที่ หรือความรับผิดชอบของผู้กระทำในการประพฤติผิดทาง เพศ ซึ่งผู้กระทำได้รู้หรือควรจะรู้ในการกระทำความผิดนั้นๆ (4) กระทำการคุกคามทางเพศโดยกระทำกับบุคคลที่มีความเปราะบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากอายุ การเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ความพิการทางร่างกายหรือ จิตใจหรือการตั้งครรภ์ ซึ่งผู้กระทำได้รู้หรือควรจะรู้ในการกระทำความผิดนั้นๆ (5) กระทำการคุกคามทางเพศโดยบุคคลหลายคน โดยมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำผิด หรือสมรู้ร่วมคิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งยังควรนำการบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้บังคับ ควรให้อำนาจผ่านกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการวางระบบเพื่อเป็นการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย การ ยื่นเรื่องร้องทุกข์หรือชี้เบาะแสในคดีเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ สถานศึกษาควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ การบูรณาการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในครอบครัว












Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook