Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ทช11001

หนังสือวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ทช11001

Published by somjatewab, 2020-05-26 22:21:22

Description: หนังสือวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับประถมศึกษา่

Search

Read the Text Version

1

2 เอกสารสรุปเน้ือหาทตี่ องรู รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ ประถมศึกษา รหัส ทช11001 หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 สํานักงานสง เสริมการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย สํานักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธกิ าร หา มจําหนาย หนงั สือเรยี นน้จี ดั พมิ พด ว ยเงนิ งบประมาณแผน ดนิ เพ่อื การศกึ ษาตลอดชวี ติ สําหรับประชาชน ลขิ สทิ ธ์เิ ปนของสํานักงาน กศน.สํานกั งานปลัดกระทรวงศกึ ษาธกิ าร



4 สารบญั หนา คาํ นาํ คําแนะนาํ การใชเอกสารสรปุ เนือ้ หาทต่ี อ งรู บทท่ี 1 เศรษฐกิจพอเพยี ง รากฐานการดาํ เนินชวี ติ ของคนไทย 1 เรื่องที่ 1 ความเปนมา ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 1 เรอ่ื งที่ 2 ความหมาย ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง 2 เรื่องที่ 3 หลักแนวคิดของเศรษฐกจิ พอเพยี ง 3 เรอ่ื งที่ 4 ความสําคญั ของเศรษฐกิจพอเพียง 4 บทที่ 2 ปฏิบตั ิตนดี มคี วามพอเพียง 6 เรอ่ื งที่ 1 วธิ คี ดิ วิธปี ฏิบัติ วธิ ีใหคุณคาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 6 เรื่องที่ 2 การปฏิบัติตนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง 7 บทที่ 3 รูใ ช รูจา ย 10 เรอื่ งที่ 1 การวางแผนการใชจ ายของตนเองและครอบครัว 10 เร่อื งท่ี 2 การบันทึกรายรบั – รายจา ยของตนเองและครอบครวั 11 เรื่องที่ 3 การลดรายจายและเพ่มิ รายไดใ นครัวเรอื น 14 เรอ่ื งท่ี 4 การออม 15 บทที่ 4 ชวี ิตสดใส พอใจเศรษฐกจิ พอเพยี ง 17 เรอ่ื งที่ 1 ทฤษฎใี หม 17 เรอ่ื งที่ 2 แผนชีวิต 21 บทท่ี 5 การประกอบอาชพี ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง เพื่อการสรา งรายไดอ ยางมนั่ คง ม่ังคัง่ และย่ังยืน 24 เรื่องท่ี 1 ความหมาย ความสาํ คัญ ประเภท สาขาอาชีพตา งๆ การตดั สินใจเขา สูอาชีพ24 เรอ่ื งที่ 2 การสรา งงานอาชพี ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 5 กลุม อาชีพใหมท เี่ นน ความเปนไทย 26 เรอ่ื งที่ 3 คุณธรรมทส่ี ง ผลใหประสบความสาํ เร็จในการประกอบอาชีพ 28 กิจกรรมทา ยเลม 29 บรรณานกุ รม 36 คณะผจู ดั ทาํ 37

5 คําแนะนําการใชเ อกสารสรปุ เนอ้ื หาท่ตี องรู หนังสือเรยี นสรุปเน้ือหารายวชิ าเศรษฐกิจพอเพียง ทช11001 ระดับประถมศึกษา เปนการ สรุปเน้ือหาจากหนังสือเรียนสาระทักษะการดําเนินชีวิตท่ีจัดทําข้ึน สําหรับผูเรียนท่ีเปนนักศึกษา นอกระบบ ในการศึกษาหนังสอื สรุปเนือ้ หา รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ผูเรยี นควรปฏบิ ตั ดิ ังนี้ 1. ศึกษาโครงสรา งรายวิชาเศรษฐกจิ พอเพียง สาระทกั ษะการดําเนนิ ชีวติ ทช11001 ระดบั ประถมศึกษา หลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2554) ใหเขาใจกอน 2. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาของแตละบทอยางเพ่ือความเขาใจอยางชัดเจน จนครบ 5 บท 3. หากตองการศกึ ษารายละเอียดเพิ่มเติมจากตํารา หนังสือเรียนท่ีมีอยูตามหอ งสมุดหรอื รา นจําหนา ยหนังสือเรียนหรือครูผูส อน

1 บทท่ี 1 เศรษฐกิจพอเพยี ง รากฐานการดําเนินชวี ิตของคนไทย เร่อื งที่ 1 ความเปน มา ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปนแนวทางการดําเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติท่ีพระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัวทรงมีพระราชดํารัสช้ีแนะแกพ สกนิกรชาวไทยมานานกวา 30 ป ดังจะเห็นไดวา ปรากฏความหมาย เปนเชิงนัยเปนคร้ังแรกในพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัสของพระบาท สมเด็จพระเจา อยูหัวในป พ.ศ. 2517 พระองคไดท รงเนนย้ําแนวทางการพัฒนาบนหลักแนวคิด ที่พ่ึงตนเอง เพื่อใหเกิดความพอมี พอกิน พอใชของคนสวนใหญโดยใชหลักความพอประมาณ การคํานึงถึงการมีเหตุผล การสรางภูมิคุมกันที่ดีในตัวเอง และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไมใ ห ประมาท ตระหนกั ถงึ การพัฒนาอยา งเปน ข้ันเปนตอนทีถ่ ูกตอ งตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเปน กรอบในการปฏบิ ัติและการดาํ รงชีวิต ในชวงทปี่ ระเทศไทยประสบกบั ภาวะวกิ ฤติเศรษฐกิจในป พ.ศ. 2540 นบั เปนบทเรียนสําคัญ ที่ทําใหประชาชนเขาใจถึงผลจากการพัฒนาท่ีไมค ํานึงถึงระดับความเหมาะสมกับศักยภาพของ ประเทศ พงึ่ พิงความรู เงินลงทนุ จากภายนอกประเทศเปนหลัก โดยไมไดส รางความมั่นคงและเขม แข็งหรือสรางภูมิคุมกันท่ีดีภายในประเทศ ใหสามารถพรอ มรับความเส่ียงจากความผันผวนของ ปจ จยั ภายในและภายนอกจนเกดิ วิกฤตการณ ทางเศรษฐกิจครั้งใหญสงกระทบอยางรุนแรงตอสังคมไทย รัฐบาลตระหนักถึงความสําคัญในการ แกไขปญหาดงั กลา ว ใหเกิดการพัฒนาที่ย่งั ยืนในสงั คมไทยอยางเปนระบบดวยการกําหนดนโยบาย ดานการศึกษา โดยนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเปนแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐาน การศึกษาทุกระดับ ใชคุณธรรมเปนพ้ืนฐานของกระบวนการเรียนรูที่เช่ือมโยง ความรวมมือระหวางสถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา ใหมีสวนรวม ในการจัดการศึกษา เพ่ือใหผูเรียนเกิดทักษะความรู ทักษะและเจตคติ สามารถนําไปประยุกตใช ในชีวิตประจาํ วนั ไดอ ยา งสมดุลและยัง่ ยนื

2 เร่อื งท่ี 2 ความหมาย ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง เศรษฐกิจพอเพยี ง คอื อะไร เศรษฐกจิ พอเพียง เปนปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดํารงอยูและปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดับ ตั้งแตครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ท้ังในการพัฒนาและการบริหารประเทศ ใหดําเนินไปในทาง สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อใหก าวทันตอยุคโลกาภิวัตน ความพอเพยี ง หมายถึง ความพอประมาณ ความมเี หตุผล รวมถึงความจําเปนที่ตองมีระบบคุมกัน ในตัวท่ีดพี อสมควรตอ การมผี ลกระทบใดๆอนั เกิดจากการเปลย่ี นแปลงท้ังภายนอกและภายใน ท้ังนี้ จะตอ งอาศัยความรอบรู ความรอบคอบ และความระมดั ระวังอยางยงิ่ ในการนาํ วชิ าการตา ง ๆ มาใช ในการวางแผนและการดาํ เนนิ การ ทกุ ข้นั ตอน และขณะเดียวกันจะตอ งเสริมสรางพื้นฐานจิตใจของ คนในชาติโดยเฉพาะเจาหนาท่ีของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ ใหม ีสํานึกในคุณธรรม ความซ่ือสัตยสุจริตและใหมีความรอบรูท ่ีเหมาะสม ดําเนินชีวิตดวยความอดทน มีความเพียร พยายาม มีสติปญญา และความรอบคอบ เพื่อใหส มดุลและพรอ มตอการรองรับความเปล่ียนแปลง อยางรวดเร็ว และกวางขวาง ทั้งทางดานวัตถุ สังคม สิ่งแวดลอม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกไดเปนอยา งดี ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจําเปนท่ีตองมี ระบบภูมคิ ุมกนั ในตวั ทีด่ ีพอสมควรตอ การมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งน้ีจะตองอาศัยความรอบรู ความรอบคอบและความระมัดระวังอยางยิ่งในการนํา วิชาการตาง ๆ มาใชใ นการวางแผน และการดําเนินการทุกข้ันตอน และขณะเดียวกันจะตอง เสรมิ สรา งพื้นฐานจติ ใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจาหนาทขี่ องรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจ ในทุก ระดับ ใหม ีสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตยสุจริต และใหมีความรอบรูท่ีเหมาะสม ดําเนินชีวิต ดวยความอดทน ความเพยี ร มสี ตปิ ญ ญา และความรอบคอบ เพ่อื ใหสมดุลและพรอ มตอการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอยา งรวดเร็วและกวางขวาง ท้ังทางดานวัตถุ สังคม สิ่งแวดลอม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกไดเ ปน อยา งดี

3 เร่อื งที่ 3 หลกั แนวคดิ ของเศรษฐกิจพอเพยี ง เปนปรัชญาชี้แนะแนวทางการดํารงอยูและปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเปนโดยมีพื้นฐานมา จากวถิ ชี วี ิตดง้ั เดมิ ของสงั คมไทย สามารถนํามาประยุกตใ ชไดต ลอดเวลาและเปนการมองโลกในเชิง ระบบที่มีการเปลยี่ นแปลงอยตู ลอดเวลา มุงเนนการรอดพนจากภัยและวิกฤติ เพื่อความม่ันคงและ ความย่ังยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพยี งสามารถนาํ มาประยุกตใ ชกบั การปฏบิ ัติตนไดในทุกระดับ โดยเนน การปฏบิ ตั บิ นทางสายกลาง และการพัฒนาตนอยา งเปนขัน้ ตอน แผนภาพแสดงแนวคดิ เศรษฐกิจพอเพยี ง ความพอเพียงจะตองประกอบดว ย 3 หว ง 2 เง่อื นไข ดงั นี้ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีท่ไี มนอยเกนิ ไปและไมมากเกินไปโดยไมเบียดเบียน ตนเองและ ผอู ืน่ เชน การผลติ และการบริโภคทอ่ี ยูในระดบั พอประมาณ

4 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงน้ัน จะตองเปนไป อยา งมีเหตุผลโดยพจิ ารณาจากเหตุปจจัยท่ีเกย่ี วของตลอดจนคาํ นึงถงึ ผลท่คี าดวา จะเกิดข้ึนจากการ กระทําน้นั ๆ อยา งรอบคอบ การมีภูมิคุมกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวใหพรอมรับผลกระทบและ การเปลี่ยนแปลงดานตางๆ ท่ีจะเกิดข้ึนโดยคํานึงถึงความเปนไปไดข องสถานการณต างๆ ที่คาดวา จะเกดิ ข้นึ ในอนาคตทง้ั ใกลและไกล เง่อื นไข การตดั สินใจและการดําเนินกิจกรรมตางๆ ใหอ ยูในระดับพอเพียงนั้น ตองอาศัยทั้งความรู และคุณธรรมเปน พื้นฐาน กลาวคอื เงอื่ นไขความรู ประกอบดว ย ความรอบรูเ ก่ียวกับวิชาการตางๆ ที่เกี่ยวของอยางรอบ ดาน ความรอบคอบท่ีจะนําความรูเหลาน้ันมาพิจารณาใหเ ช่ืองโยงกัน เพ่ือประกอบการวางแผน และความระมดั ระวงั ในข้ันปฏิบตั ิ เง่ือนไขคุณธรรม ทจี่ ะตอ งเสรมิ สรางประกอบดวย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความ ซอ่ื สัตยสจุ รติ และมีความอดทน มีความเพียร ใชสตปิ ญ ญาในการดําเนนิ ชวี ิต เรอ่ื งท่ี 4 ความสาํ คญั ของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ความสาํ คัญของเศรษฐกจิ พอเพยี งที่สง ผลตอ ประชาชน ดงั นี้ 1. เกิดแนวคิดท่มี ุงเนนพงึ่ พาตนเองเปนหลัก ท่ีมีอยูใ นตัวเอง เพ่ือนํามาพัฒนาคุณภาพชีวิต ใหเกดิ ประโยชนส งู สดุ ตอ ตนเอง ครอบครวั และชุมชน ซง่ึ จะทาํ ใหสามารถดาํ รงชวี ิตอยูไดอ ยา งย่ังยนื 2. ทาํ ใหมคี วามเขมแข็งในจิตใจ โดยยดึ หลักการพ่งึ พาตนเองเปนหลัก เม่ือพ่ึงตนเองไดแลว ทาํ ใหจ ติ ใจสงบเขมแข็ง ไมว ิตกกังวล 3. เกดิ ความรวมมือ ความกระตอื รอื รน ความสามัคคีในชุมชน และประเทศชาติ 4. เกดิ การมีสว นรวม คิดวิเคราะห แกป ญหารว มกนั 5. ทําใหม ีความเปนอยู พอมี พอกนิ ลดปญหาความยากจน

5 “เม่ือสงั คมไทยเปนสังคมเศรษฐกจิ พอเพยี ง คนไทยดาํ รงชวี ิตบนทางสายกลาง มีสามหวงสําคญั คลองใจในการดําเนนิ ชีวติ ไดแก ความพอประมาณ ความมีเหตผุ ล การมีภูมิคุม ในตวั ทดี่ ี มีสองเงื่อนไขกาํ กบั ชีวติ อยางเครงครดั ไดแ ก เงื่อนไข ความรทู ป่ี ระกอบดว ยรอบรู รอบคอบ ระมัดระวงั เงื่อนไขคณุ ธรรม ซ่ึงมคี วามซ่อื สตั ยส ุจรติ อดทน เพยี ร มีสติปญญา อยใู นชวี ิต ชีวติ มแี ตค วามสุขเศรษฐกจิ สดใส สงั คม อนุ ใจ สิ่งแวดลอ มอดุ มสมบรู ณ วัฒนธรรม เขมแขง็ ยงั่ ยนื ”

6 บทที่ 2 ปฏิบตั ิตนดี มคี วามพอเพียง เร่อื งที่ 1 วธิ คี ิด วธิ ีปฏิบตั ิ วิธใี หค ณุ คา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง วิธีคิด การจะนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกตใชใหไดผลดีในการดําเนินชีวิต จําเปน จะตอ ง เรม่ิ ตนจากการมีความรู ความเขาใจที่ถูกตอ งวาเศรษฐกิจพอเพยี งหมายถึงอะไร และ มหี ลกั การสาํ คญั อะไรบางทีจ่ ะนาํ ไปใชเปนแนวทางสูการปฏบิ ัติ ตลอดจนเหน็ ถึงประโยชนจากการที่ จะนาํ ไปใชในชีวติ ประจําวัน เพื่อให รอดพนและสามารถดาํ รงอยไู ดอยางมั่นคงและยั่งยนื วิธีปฏิบัติ หลังจากท่ีไดทําความเขาใจอยางถูกตองแลว ก็จําเปนจะตองทดลองนํามา ประยุกตใชก ับ ตนเอง ท้ังในชีวิตประจําวันและการดําเนินชีวิตสามารถอยูร วมกับผูอื่นไดอยางมี ความสุข โดยคํานึงถึง การพ่ึงพาตนเองเปนเบื้องตน การทําอะไรท่ีไมส ุดโตงไปขางใดขางหนึ่ง การใชเหตุผลเปนพ้ืนฐาน ในการตัดสินใจและการกระทําตาง ๆ ตลอดจนการสรางภูมิคุมกันท่ีดี เพ่ือพรอมรับตอการเปลี่ยนแปลง จะไมทําอะไรท่ีเสี่ยงจนเกินไปจนทําใหตนเองหรือคนรอบขาง เดือดรอนในภายหลัง การใฝรูอ ยางตอเนื่องและใชความรูดวยความรอบคอบและระมัดระวัง ความซื่อสัตย ความไมโ ลภ ความรูจ ักพอ ความขยันหม่ันเพียร การไมเ บียดเบียนกัน การรูจัก แบง ปนและชวยเหลือซ่ึงกันและกนั อยางไรกต็ าม การที่จะสรางภาวะความรูความเขาใจท่ีถูกตองอยางลึกซึ้งเกี่ยวกับเศรษฐกิจ พอเพียงเพื่อใหส ามารถนาํ ไปประยุกตใชไดนั้น จาํ เปนที่จะตอ งเรียนรูดวยตนเองหรอื รวมกับผูอ่นื วิธีการใหคุณคา การเรียนรูจากการปฏิบัติ การแลกเปล่ียนขอคิดเห็น และประสบการณ ระหวา งผูทม่ี คี วามสนใจรวมกัน จะทําใหสามารถตระหนักถงึ ประโยชนแ ละความสขุ ทจ่ี ะไดรับ จากการนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช แลวเกิดการปรับเปล่ียนความคิดเห็นและนอ มนําเอา เศรษฐกิจพอเพียงไปใชใ นการดาํ เนนิ ชวี ติ ตอ ไป จิตสํานกึ ที่ตระหนักถงึ ความสขุ ท่เี กิดจากความพอใจในการใชชีวิตอยางพอดี และรูจักระดับ ความพอเพียงจะนําไปสูการประกอบสัมมาอาชีพหาเลยี้ งตนเองอยา งถกู ตอง ไมใ หอ ดอยาก จนเบียดเบียนตนเอง หรือไมเกิดความโลภจนเบียดเบียนผูอื่น แตมีความพอเพียงที่จะคิดเผื่อแผ แบงปนไปยงั คนอน่ื ๆ ในชมุ ชนหรือองคกรและสงั คมได อยา งไรก็ตาม ระดับความพอเพียงของแตละคนจะไมเ ทากันหรอื ความพอเพียงของคน คนเดียวกัน แตตางเวลาก็อาจเปล่ียนแปลงไปได แลวแตเง่ือนไขภายในและภายนอก ตลอดจน สภาพแวดลอมทีม่ ผี ลตอ ความพอเพียง

7 เรอื่ งที่ 2 การปฏบิ ัตติ นตามแนวทางปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ในฐานะทเี่ ปน พสกนิกรชาวไทย จงึ ควรนอมนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงท่ีพระบาท สมเดจ็ พระเจาอยูหวั ภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงมพี ระราชดาํ รสั มาประพฤตปิ ฏบิ ัติตน ดังน้ี 1. ยึดความประหยดั ตดั ทอนคา ใชจายในทุกดา น ลดละความฟมุ เฟอยในการดํารงชีวิตอยาง จริงจัง ดงั กระแสพระราชดาํ รัส ความวา “ ...ความเปน อยูทีต่ อ งไมฟ ุมเฟอย ตองประหยดั ไปในทางทถ่ี ูกตอ ง...” 2. ยึดถอื การประกอบอาชีพ ดว ยความถูกตอ ง สจุ ริต แมจ ะตกอยูในภาวะขาดแคลน ในการดาํ รงชวี ิตก็ตาม ดังกระแสพระราชดํารัส ความวา “...ความเจริญของคนทั้งหลายยอมเกิดจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพชอบ เปน หลักสําคญั ...” 3. ละเลิกการแกง แยง ผลประโยชนและแขงขนั กันในทางการคาขาย ประกอบอาชีพแบบตอ สูก นั อยางรนุ แรงดังอดีต ดงั กระแสพระราชดาํ รสั ในเรอื่ งนี้ ความวา “...ความสุขความเจริญอันแทจริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหาได ดวยความ เปนธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทาํ ไมใชไดมาดว ยความบังเอิญหรือดวยการแกง แยง เบียดบงั มาจากผอู ่ืน...” 4. ไมห ยุดน่ิงท่ีจะหาทางใหชีวิตหลุดพนจากความทุกขยากคร้ังนี้ โดยตองขวนขวายใฝหา ความรูใ หเ กิดมีรายไดเพ่ิมพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเปนเปาหมายสําคัญ ดังกระแสพระราชดํารัส ตอนหนึง่ ท่ีใหค วามหมายชัดเจนวา “...การทีต่ องการใหทุกคนพยายามที่จะหาความรู และสรางตนเองใหม่ันคงน้ี เพื่อตนเอง เพื่อจะใหตนเองมีความเปนอยูที่กาวหนา ที่มีความสุข พอมีพอกินเปนขั้นหนึ่ง และข้ันตอไปก็คือ การมีเกียรตวิ า ยืนไดดว ยตนเอง...” 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด ละ สิ่งชั่วใหห มดสิ้นไป ทั้งดวยสังคมไทยที่ลมสลายลงใน ครั้งน้ี เพราะยังมีบุคคลจํานวนมิใชน อยที่ดําเนินการโดยปราศจากความละอายตอแผนดิน ดงั กระแสพระราชดาํ รัส ความวา “... พยายามไมกอความช่ัวใหเปนเครื่องทําลายตัว ทําลายผูอื่น พยายามลด ละ ความช่ัว ที่ตัวเองมีอยู พยายามกอความดีใหแกตัวอยูเสมอ พยายามรักษาและเพ่ิมพูนความดีที่มีอยูนั้นให งอกงามสมบูรณขนึ้ ...”

8 หลักของความประมาณ (พอ ด)ี 5 ประการ (จากขอสรปุ ของสภาพัฒน) 1. พอดดี านจติ ใจ เขม แข็ง มีจิตสาํ นกึ ทด่ี ี เอือ้ อาทร ประนปี ระนอมนกึ ถงึ ประโยชนส ว นรวม 2. พอดดี า นสงั คม ชวยเหลือเกอื้ กูล รูจักสามคั คี สรา งความเขมแข็งใหค รอบครัว และชุมชน 3. พอดีดานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม รูจักใชและจัดการอยางฉลาด และ รอบคอบเกิดความยง่ั ยนื สูงสดุ 4. พอดีดานเทคโนโลยี รูจ ักใชเทคโนโลยีท่ีเหมาะสมและสอดคลอ งตอความตองการเปน ประโยชน สภาพแวดลอ มและเกิดประโยชนตอสวนรวมและพฒั นาจากภมู ปิ ญญาชาวบานกอน 5. พอดีดา นเศรษฐกจิ เพ่ิมรายได ลดรายจา ย ดํารงชวี ิตอยางพอควร พออยู พอกิน สมควร ตามอตั ภาพและฐานะของตน หลกั ของความมีเหตผุ ล 1. ยดึ ความประหยัด ตดั ทอนคาใชจ ายในทุกดาน ลดความฟมุ เฟอยในการดาํ รงชีวติ 2. ยึดถือการประกอบอาชีพดวยความถูกตอง สุจริต แมจะตกอยูในภาวะขาดแคลน ในการดํารงชวี ิต 3. ละเลิกการแกง แยงผลประโยชน และแขงขันในทางการคาขายประกอบอาชีพแบบตอสู กันอยาง รนุ แรง 4. ไมหยุดน่ิงทจี่ ะหาทางในชีวิตใหห ลุดพน จากความทกุ ขยาก 5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด เลิก ส่ิงยั่วยุกิเลสใหห มดสิ้นไป ไมกอความชั่วใหเ ปนเครื่อง ทําลายตัวเอง ทาํ ลายผอู ่ืน ----------------------------------- * จากหนงั สอื เศรษฐกจิ พอเพยี ง สาํ นกั งานคณะกรรมการพิเศษเพ่ือประสานงานโครงการอันเนื่อง มาจาก พระราชดําริ หนา 27 พิมพคร้งั ท่ี 3 กรกฎาคม 2548

9 หลกั ของการมภี มู ิคุม กนั 1. มีความรู รอบคอบ และระมดั ระวัง 2. มีคณุ ธรรม ซอื่ สตั ยสจุ รติ ขยัน อดทนและแบงปน การปฏบิ ตั ติ นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เปนแบบอยางและแนวทางใหบ ุคคล ครอบครัว ชุมชน นํามา ประยกุ ตใชใ นการดาํ รงชวี ติ ดงั นี้ 1. ยึดหลักความประหยัด ไมใ ชจายฟุมเฟอย ใชในส่ิงท่ีจําเปน และรูจ ักเก็บออมไวใ ชใ น อนาคต 2. ยึดหลักความซื่อสัตยสุจริต ความถูกตองในการประกอบอาชีพ และการดําเนินชีวิตไม เหน็ แกต วั 3. ยดึ หลักความไมแกงแยงชงิ ดีกัน รจู กั การพึ่งพากนั ไมเ อารัดเอาเปรียบและแขงขนั โดยใช วิธรี นุ แรง 4. ยึดหลักการใฝร ใู ฝเ รยี น หมั่นศึกษาหาความรู ใชส ตปิ ญญาในการดาํ เนนิ ชวี ิตการประกอบ อาชีพเพือ่ ใหมีรายไดไวใชจ า ย โดยยึดความพอเพียงเปนหลกั 5. ยดึ หลกั การทาํ ความดี ลด ละ ความชว่ั และส่ิงอบายมุขทั้งปวง เพื่อใหต นเอง ครอบครัว และสังคม อยอู ยา งเปน สุข

10 บทที่ 3 รูใช รจู าย เร่ืองท่ี 1 การวางแผนการใชจา ย กอ นที่จะใชจายเงนิ เราควรจัดสรรเงินทีม่ ีอยูใหต รงกบั ความตอ งการ โดยการวางแผนการ ใชจา ยเงนิ ไวกอ น การวางแผนการใชจ ายเงิน หมายถึง การที่บุคคลจัดสรรรายรับ - รายจาย ของตนเอง ซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติ ดงั น้ี 1. การหารายได ทกุ คนตองประกอบอาชีพ เพ่ือใหมีรายไดป ระจาํ และหากมเี วลาวางควรหา รายไดเ สริม เพอ่ื จะไดม รี ายไดพ อกับการใชจายในการดาํ รงชีพ 2. การใชจ า ยใหพจิ ารณาใชจ ายในสง่ิ ท่ีจาํ เปน จรงิ ๆ เชน ใชจ า ยเปนคาอาหาร เครือ่ งนุงหม ท่อี ยูอาศัย ยารักษาโรค โดยคาํ นึงถึงคุณคาของสิง่ ท่ีซอื้ วา มีคุณภาพและคมุ คา เงิน ไมใ ชซ อ้ื เพราะ คาํ โฆษณาชวนเชือ่ การประหยดั ควรรจู กั เกบ็ ออมเงนิ ไวใชจายเม่ือคราวจําเปน เชน เม่ือเจ็บปวย โดยวางแผน ใหมีรายจา ยนอยกวารายไดม ากที่สดุ กจ็ ะมีเงนิ เก็บเครอื่ งใชท ชี่ าํ รุดเสียหาย ควรซอ มแซมใหใ ชได อยูเสมอ ประหยัดพลงั งานและทะนุถนอมเครอื่ งใชใหม ีอายุการใชงานไดน าน การเปน หน้ีโดยไมจาํ เปน เพราะยมื เงนิ มาใชจายสุรุยสรุ า ย เชน การยมื เงินมาจดั งานเลี้ยง ในประเพณี ตาง ๆ จะทําใหชีวิตมีความลําบาก สรา งความเดือดรอนใหต นเองและครอบครัว แตถาหากเปนหน้ี เพราะนําเงินมาลงทุนในกิจการทีส่ ามารถใหผลคมุ คาก็อาจจะเปน หน้ีได 3. การบนั ทึกรายรบั - รายจาย เปนวิธีการวางแผนที่สําคัญ การบันทึกรายรับ - รายจาย ในชีวติ ประจําวัน เพ่อื ใหท ราบวาในวันหน่งึ สปั ดาหหนง่ึ เดือนหน่ึง เรามีรายไดจากอะไร เทาไรและ จา ยอะไร อยางไร ควรจะวางแนวทางในการใชจา ยอยา งไรจงึ จะพอและทีเ่ หลือสะสมไวเ ปนทุนหรือ เก็บสะสมไวใ ชจายในยามจําเปน การบันทึกรายรับ - รายจาย จึงเปนขอมูลหลักฐานแสดง ใหเห็นแหลงที่มาของรายไดและที่ไปของรายจาย ซ่ึงจะนําไปสูการต้ังเปาหมายลดรายจาย การเพิม่ รายได และการออมตอไป

11 เรอ่ื งท่ี 2 การบันทกึ รายรับ - รายจายของตนเองและครอบครวั เม่ือเรามีรายไดและนําเงินรายไดไ ปใชจายซือ้ สง่ิ ทจ่ี าํ เปน สิ่งใดท่ีมีราคาสูงก็ไมจ ําเปนตองซ้ือ ทันทีแตใ หต ้ังเปาหมายไวว า จะเกบ็ หอมรอมรบิ ไวจนมากพอแลว จงึ ซื้อ ดังน้ันเราจึงควรวางแผนการ ใชจา ยไวลวงหนา วาเราตองซอ้ื อะไร เทาไหร เมื่อใด เราคงเคยไดยินขาวชาวนาขายท่ีนาไดเงินเปนแสนเปนลาน แตเมื่อเวลาผานไปไมก ่ีป เขากลับไมเหลือเงนิ เลย ตองไปเชา ทน่ี าของคนอน่ื ทํากิน เรื่องดังกลาวเปนตัวอยางของบุคคลท่ีไม มีการวางแผนการใชเงิน ดังน้ันกอนที่เราจะใชจายเงินเราควรจัดสรรเงินที่มีอยู ใหตรงกับความ ตองการดวยการวางแผนไว วธิ กี ารวางแผนที่สาํ คญั วิธีการหนึ่ง คือ การบันทกึ รายรับ - รายจาย “หากอยากมชี วี ติ ที่มัง่ ค่งั สมบรู ณ ตอ งลงมือบันทึกรายรบั - รายจา ยตัง้ แตบัดน”ี้ ขอควรคํานงึ ในการใชจายเงนิ และจดบนั ทึกรายรบั รายจาย 1. กาํ หนดความคาดหวังและเปาหมายวาจดบนั ทกึ เพือ่ อะไร 2. วางแผนรบั - จายกอนใชเ งนิ 3. กอนซื้อส่ิงใดตอ งพิจารณาใหดกี อนวาสิ่งน้นั จําเปน หรอื ไม 4. จดบนั ทกึ ทกุ ครง้ั ทกุ วัน ทกุ บาท ทุกสตางคท ีม่ กี ารรับและจายเงนิ 5. หมน่ั ตรวจสอบบญั ชวี า มีรายการใดท่ใี ชเงนิ ไมเ หมาะสม หากมีตอ งแกไขทนั ที 6. เก็บใบเสรจ็ หรือหลกั ฐานการรบั เงนิ - จายเงนิ ไวเ พื่อตรวจสอบกับบัญชที จ่ี ด “การจดบันทกึ รายรบั - รายจาย” หรอื การจดบญั ชี จะชว ยใหเราทราบวาเรามีรายรับมาก นอยแคไ หน เราสามารถลดคา ใชจา ยรายการใดออกไปไดบาง “การจดบัญชี” ทําใหเราสรางสมดุล ระหวางรายไดแ ละรายจายที่เหมาะสมแกฐ านะการเงินของเราไดเ ปนอยางดี การจดบัญชีครัวเรือน เปนการจดั ทําบัญชีรายรับ รายจายของครอบครัว เราสามารถจัดทํา บัญชี แบบทีง่ า ย ผูท่ีไมเคยมีความรูเร่ืองการบัญชีมากอนก็ทําเองไดโดยการแยกรายการออกเปน รายรับและรายจาย รายรับ ไดแ ก เงินเดือน คาจาง ผลตอบแทนท่ีไดจากการทํางาน เงินท่ีไดจ าก การขาย ผลผลิต การเกษตร หรือทรัพยสิน เปนตน รายจายไดแก คาใชจายเพื่อซื้อสินคาสําหรับ ในการอุปโภค บริโภค คาน้ําประปา คาไฟฟา คาโทรศัพท คาซอ มแซม คาอุปกรณเคร่ืองใช เคร่อื งไม เครื่องมือ คา รถ คาอาหาร คา เชา เปนตน

12 ตัวอยา ง รายรับ รายจา ย ขายผลผลิตทางการเกษตร 2,500 บาท 1 ม.ี ค. 52 จายเงนิ ซ้ือของใชใ นบา น 500 บาท 5 ม.ี ค. 52 จา ยเงนิ ซื้อขา วสาร 300 บาท 7 ม.ค. 52 จา ยคา นํ้า คา ไฟ 250 บาท 10 มี.ค. 52 ขายผลผลติ ทางการเกษตร 1,250 บาท 15 มี.ค. 52 จา ยคาซอื้ ปยุ 300 บาท 20 ม.ี ค. 52 จายคาอาหาร 200 บาท 25 มี.ค. 52 ตัวอยา ง การจดบญั ชคี รัวเรอื น วัน เดือน ป รายการ รายรบั รายจา ย คงเหลือ 1 ม.ค. 52 ขายผลผลิต 2,500 - 2,500 5 ม.ค. 52 ซ้อื ของใช 500 - 2,000 7 ม.ค. 52 ซอ้ื ขาวสาร 300 - 1,700 10 ม.ค. 52 จายคา นา้ํ คาไฟ 250 - 1,450 15 ม.ค. 52 ข า ย ผ ล ผ ลิ ต ท า ง ก า ร 1,250 - 2,700 เกษตร 20 ม.ค. 52 จายคา ซื้อปุย 300 - 2,400 25 ม.ค. 52 จา ยคา อาหาร 200 - 2,200 รวม 3,750 - 1,550 - 2,200 รายรบั สงู กวา รายจาย 2,200

13 การบันทึกรายรับ - รายจาย หรือการจดบัญชีท้ังของตนเองและครอบครัวมีความสําคัญ ตอชีวิตของคนไทยเปนอยางย่ิง ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจา อยูห ัว พระราชทานแกคณะบคุ คลตาง ๆ ท่เี ขา เฝาถวายพระพรชยั มงคลเนอ่ื งในวโรกาสวนั เฉลิม พระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต ความวา “...เมื่อ 40 กวาป มผี ูหนง่ึ เปนขาราชการชนั้ ผนู อ ยมาขอเงนิ ที่จรงิ ไดเ คยใหเงนิ เขาเล็ก ๆ นอย ๆ แตเขาบอกวาไมพ อเขากม็ าขอยืมเงินขอกเู งินก็บอก...เอา ให...แตขอใหเ ขาทาํ บัญชีรายรับ - รายจาย รายรับก็คือเงินเดือนของเขาและรายรับท่ีอุดหนุนเขาสวนรายจายก็เปนของท่ีใชในครอบครัว ...ทหี ลงั เขาทาํ ...ตอมา เขาทําบัญชีมาไมขาดทุน แลวเขาสามารถที่จะมีเงินพอใชเ พราะวาบอกให เขาทราบวา มีเงินเดือนเทาไหรจะตอ งใชภ ายในเงนิ เดอื นของเขา...” บุคคลตัวอยา งการสรางชีวติ ใหมอ ยางพอเพยี งดว ยบญั ชีครัวเรอื น นายเจน ชูใจ ราษฎร หมู 4 ตาํ บลพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ผูประสบความสําเร็จจาก การทําบญั ชคี รัวเรอื น กลา ววา “จบเพยี งประถมศกึ ษาปท่ี 4 พอแมยากจน มีอาชีพทํานาเปนหลัก ตอมาไดร ับมรดกเปน ทีน่ า 10 ไร จงึ ทาํ นาเรอ่ื ยมา แตก็สามารถสงลูกเรียนสูง ๆ ได เนื่องจากสราง วินัยในการใชจายเงินอยางมีระบบ มีพอแมเปนแบบอยางท่ีดีในเร่ืองความมีระเบียบในการใชเงิน ทองแตล ะบาทแตละสตางค โดยในสมัยพอ ใชถานหุงขาว เขียนคาใชจายในแตละวันท่ีขางฝาขาง บาน จึงจดจํามาปฏบิ ตั ิ เร่มิ จากจดบนั ทกึ ชัว่ โมงการทํางานวา ภายใน 1 เดือน มีความขยันหรอื ขเ้ี กยี จมากนอ ยแคไ หน ภายหลงั มาทําบัญชีการใชจายในครัวเรือนในชว งทําไรนาสวนผสม เมื่อป 2528” กวา 20 ป ที่ทําบัญชีครัวเรือนมาทําใหทุกวันนี้มีชีวิตในครอบครัวอยูอยางมีความสุข ปจจุบันมที น่ี ารวมกวา 50 ไร โดยการซอ้ื สะสมมา มีเงนิ ฝากธนาคาร โดยมีคติวา จากน้ําที่ตักมาจน เต็มโอง เวลาน้ําพรอ งตองเตมิ ใหเต็ม ถาปลอยใหนํ้าแหง ขอด ชีวิตก็จะเหน่ือยจะทําใหชีวิตบั้นปลาย ลําบาก” นายเจน กลา ว น่ันคือประโยชนท ี่เห็นไดชัดจากการทําบัญชีครัวเรือนที่ไมเพียงแตจะชวยใหความเปนอยู ของครอบครัวดีข้ึนเทาน้ัน แตยังสรางสังคมใหเปนปกแผน สงผลไปถึงเศรษฐกิจอันม่ันคงของ ประเทศในอนาคตขางหนา อีกดวย (จตุพร สขุ อนิ ทร และ ปญญา มังกโรทัย, 2552 : 30)

14 เร่อื งท่ี 3 การลดรายจา ยและเพิ่มรายไดใ นครัวเรอื น การลดรายจายในครัวเรือน ปญหาเร่ืองหนี้สินในครอบครัวหรือปญหารายรับไมพอกับ รายจายเปน ปญ หาท่ที ําใหป ระชาชนหนักใจ การปองกันและแกไ ขปญหาเรื่องหนี้สิน มีหลักงาย ๆ วาตองลดรายจา ยและเพิ่มรายไดใหมากขน้ึ การลดรายจายสามารถทาํ ไดโดยการสาํ รวจคา ใชจายใน เดือนทผี่ า นมาแลวจดบันทึกดูวา ในครอบครวั มกี ารใชจ า ยอะไรไปบางและรายการใดที่ไมจําเปนนา ตัดออกไปได ก็ใหต ัดออกไปใหห มดในเดือนถัดไปก็จะสามารถลดรายจายลงได แตทุกคนใน ครอบครัวตอ งชว ยกัน เพราะถา คนหน่ึงประหยดั แตอีกคนยงั ใชจ า ยฟมุ เฟอยเหมือนเดิมก็คงไมไ ดผล ตองชีแ้ จงสมาชกิ ทกุ คนในบา นเมอ่ื ลดรายจา ยไดแ ลว กเ็ อารายรบั ของทงั้ บา นมารวมกันดูวาจะพอกับ รายจายหรอื ไม ถา พอและยังเหลือ ก็คงตองเอาไปทยอยใชหนี้และเก็บออมไวเผ่ือกรณีฉุกเฉินเชน การเจ็บปวย อุบตั ิเหตุ เปน ตน แตถ า รายไดย ังนอยกวารายจายก็ตองชวยกันคิดวาจะไปหารายได เพม่ิ มาจากไหนอีก โดยสรุปการใชจ า ยเงินมี 3 แบบ คอื 1. ใชตามใจชอบ เปน การใชไ ปเรือ่ ย ๆ แลวแตว า ตอ งการอะไรกซ็ ื้อ เงนิ หมดกห็ ยุดซอ้ื 2. ใชต ามหมวดท่แี บง ไว เชน - คา อาหารและคา เส้ือผา - คา รักษาพยาบาล - คาทําบญุ กศุ ล - เก็บออมไวใ ชในอนาคต ฉุกเฉนิ - คาศึกษาเลาเรยี นของบุตร ฯลฯ 3. ใชตามแผนการใชที่กําหนดไวล วงหนา เปนการใชตามโครงการที่ไดวางแผนไวลวงหนา แลวนั้น ซึ่งเปนวิธีการที่ถูกตอง ซ่ึงสามารถนําหลักการทางวิชาการมาใชใ นการปฏิบัติการวาง แผนการใชจายในครอบครัวขอปฏิบัติของการใชจายภายในครอบครัว มีส่ิงท่ีพึงปฏิบัติ 3 ประการ คอื - การทาํ บญั ชีรายรบั - รายจาย - การประหยดั - การออมทรพั ย ครอบครัวตองมีการวางแผนจัดการรายรับ - รายจาย เพ่ือใหมีทรัพยสินเพียงพอจะซ้ือ หรอื จัดหาส่งิ ท่ีครอบครวั ตองการ เพือ่ ความสงบสขุ และความเจรญิ ของครอบครวั

15 เรื่องที่ 4 การออม การออม คือ การสะสมเงินทีละเล็กทีละนอย เมื่อเวลาผานไปเงินก็จะเพ่ิมพูนข้ึน การออม สวนใหญจะอยใู นรปู การฝากเงินกับธนาคาร จดุ ประสงคห ลกั ของการออม เพอ่ื ใชจา ยในยามฉกุ เฉิน ยามเราตกอยูในสภาวะลาํ บาก การออมจงึ ถือวา เปนการลงทนุ ใหกับความม่นั คงในอนาคตของชีวติ หลกั การออม ธนาคารออมสินไดใ หแนวคิดวา “ออม 1 สวนใช 3 สวน เน่ืองจากการออมมี ความสาํ คัญตอ การดาํ รงชวี ิต แมบ างคนมีรายไดไ มม ากนัก คนเปนจํานวนมากออมเงนิ ไมไ ด เพราะมี คาใชจ ายมากใชเงินเกินตัว รายรับมีไมพอกับรายจาย เมื่อเรามีรายไดเ ราจะตองบริหารจัดการเงิน ของตนเอง หากเราคิดวาเงินออมเปนรายจายอยางหน่ึงเชนเดียวกับรายจายอื่นๆ เงินออมจะเปน รายการแรกท่ีตองจายทุกเดือน โดยอาจกําหนดวาอยางนอยตองจายเปนรอยละเทาไรของรายได และทําจนเปนนิสัยแลวคอยวางแผน เพ่ือนําเงินสวนที่เหลือไปเปนคาใชจายตางๆ เทาน้ีเราก็มี เงินออม การลดรายจาย สามารถกระทาํ ไดดังน้ี 1. ทาํ สวนครัวและเลี้ยงสัตวไ วส าํ หรับบรโิ ภค โดยใชพ ืชผกั พนื้ บา นท่มี ใี นทองถิ่น ผักที่ใชเปน ประจํา ผักท่ีปลูกไดงายไมตองดูแลมากมาปลูกไวในครัวเรือน เชน ผักบุง ผักคะนา ผักขม ชะอม ฟกทอง แตงกวา มะเขือ ถ่ัวฝกยาว ขา ตะไคร ตนหอม กระเทียม ตําลึง และการเล้ียงปลาดุก เลี้ยงกบ เลี้ยงไก เปน ตน ซ่ึงหากเราสามารถปลกู ผกั สวนครัว เลี้ยงสัตวไวรับประทานในครัวเรือนได เอง โดยไมตองไปซื้อหามาจากตลาด ก็จะทําใหครัวเรือนสามารถลดรายจายได แตหากผลผลิต เหลือเฟอจากการบรโิ ภคแลว เรานําไปขายก็จะเปนการเพิ่มรายไดอ ีกดว ย 2. การประหยัด การออมในครัวเรือน โดยการรูจักใชทรัพยสิน เวลา ทรัพยากรตามความ จาํ เปน ดวยความระมดั ระวงั โดยใหเกดิ ประโยชนค ุมคา มากท่ีสดุ รจู กั ดํารงชวี ติ ใหเหมาะสมกับสภาพ ความเปนอยูสวนตัว รวมทั้งการอดออม ลดรายจายที่ไมจําเปน ประหยัดพลังงาน รูจักการใช พลงั งานจากแสงอาทิตย เปน ตน 3. การลด ละ เลิก อบายมุข โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง จากการท่ีชอบไปงาน สังคม ดื่มเหลา ฟงเพลง เตนรํา กลับบานดึก ก็ตองเลิกการกระทําท่ีไมจําเปน และเปนผลเสียตอ สขุ ภาพรางกาย ส้ินเปลือง 4. การจดั ทําบญั ชคี รวั เรอื น คอื การรูจ กั จดทกุ คร้ังทีจ่ าย บรหิ ารการใชจายใหเหมาะสมกับ ตนเอง สิง่ ใดท่เี กินความจําเปนในชวี ิตก็ตอ งไมใ ชจาย 5. การใชพ ลงั งานอยางประหยดั เชน การประหยดั นํา้ ประหยัดไฟ ใชเ ทาทีจ่ ําเปน เปนตน

16 การเพม่ิ รายได การเพม่ิ รายไดนนั้ มหี ลากหลายวิธี นอกจากการประกอบอาชพี หลกั แลว เรายังสามารถเพ่ิม รายไดได ดังน้ี 1. การปลูกผักสวนครัว สําหรับไวรับประทานเองในครัวเรือน และแบงปนใหเพ่ือนบาน ท่ีเหลือ จึงนําไปขาย ก็จะทําใหมีรายไดเพ่ิมขึ้น เชน การปลูกพริก มะเขือ ชะพลู ตนหอม ผักชี ชะอม ตาํ ลงึ ผกั หวาน เปนตน 2. การประกอบอาชีพเสริม โดยใชทรัพยากร วัตถุดิบท่ีมีอยูในครัวเรือน ในชุมชนมาใชให เกิดประโยชนสูงสุด และเปนการลดตนทุนการผลิตใหคุมคาและประหยัด เชน การถนอมอาหาร แปรรูป งานหัตถกรรมสิ่งประดิษฐ การผลิตกลาไมดอกไมประดับ การเล้ียงไกพ้ืนเมือง การเพาะ ถั่วงอก การเพาะเหด็ การทําปยุ ชีวภาพ การเลยี้ งปลาดกุ ในบอ ซีเมนต การทําเฟอรนิเจอรจากไมไผ เปนตน 3. การพัฒนาอาชีพเดิม เปนการพัฒนาอาชีพเดิมใหดีขึ้น โดยการหาความรูเพ่ิมเติมจาก การเขารวมเวทีประชาคมในชุมชน การศึกษาดูงาน การเขารับการอบรม เพ่ือนําความรูมาพัฒนา อาชีพในการขยายพันธุมะนาวขายก็อาจไปหาความรูเพิ่มเติมเก่ียวกับการขยายพันธุ มะนาวไมมี เมล็ด มะนาวน้าํ ดี ลกู ดก ตนเล็กแตใหผลผลิตสูง และศึกษาเร่ืองการขายพันธุมะนาวทางเว็บไซต เพือ่ ขยายการตลาดใหสามารถขายผลผลิตไดมากขนึ้ เปนตน

17 บทที่ 4 ชีวติ สดใส พอใจเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องท่ี 1 ทฤษฎใี หม เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหมเ ปนแนวทางปฏิบัติ เพื่อตองการใหคนสามารถพึ่งพาตน เองไดในระดับตาง ๆ อยา งเปนขัน้ ตอน โดยลดความเสี่ยงเก่ียวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือ การเปลยี่ นแปลงของปจจัยตา งๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุมีผล การสรางความรู ความขยนั หมนั่ เพยี ร ความอดทน สตปิ ญญา การชวยเหลอื ซงึ่ กันและกนั และความสามคั คี 1. ความเปน มาของทฤษฎใี หม ตลอดระยะเวลาท่ีพระบาทสมเด็จพระเจา อยูห ัวทรงครองราชยน้ัน พระองคไดเ สด็จพระ ราชดําเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรมยังภูมิภาคตางๆท่ัวประเทศ พระราชประสงคท่ีแทจริง ของพระองคคือ การเสด็จฯออก เพ่ือซักถามและรับฟงความทุกขยากในการดําเนินชีวิตของพสก นิกรชาวไทย จึงมีพระราชดําริแนวคิดใหมในการบริการจัดการท่ีดินของเกษตรกรใหมีสัดสวน ในการใชพ ้ืนทด่ี นิ ใหเกดิ ประโยชนสูงสดุ รูปแบบหนึ่ง คอื การเกษตรทฤษฎีใหม 2. หลักการและข้นั ตอนของเกษตรทฤษฎีใหม แนวคิดใหมในการบริหารจัดการที่ดินของเกษตรกรใหมีสัดสวน ในการใชพื้นท่ีดินใหเ กิด ประโยชนสูงสุดตามแนวทางทฤษฎใี หม มีหลกั การและขั้นตอนดงั น้ี 1. ทฤษฎใี หมข ้ันตน หลกั การของทฤษฎใี หมข ั้นตน ประกอบดว ย 1) มีทดี่ นิ สาํ หรับการจัดแบงแปลงท่ีดิน เพ่ือใหเกิดประโยชนสูงสุดน้ี พระบาทสมเด็จ พระเจาอยูหัว ทรงคํานวณจากอัตราถือครองท่ีดินถัวเฉล่ียครัวเรือนละ 15 ไร อยางไรก็ตามหาก เกษตรกรมีพนื้ ทถ่ี ือครองนอ ยกวาหรอื มากกวาน้ี กส็ ามารถใชอัตราสวน 30 : 30 : 30 : 10 ดังน้ี พื้นที่สวนที่ 1 รอยละ 30 ใหขุดสระเก็บกักน้ํา เพ่ือใชเ ก็บกักนํ้าในฤดูฝนและใชเสริม การปลูกพชื ในฤดูแลง ตลอดจนการเล้ียงสตั วนํ้า และพืชนาํ้ ตางๆ พื้นที่สวนที่ 2 รอยละ 30 ใหป ลูกขาวในฤดูฝน เพ่ือใชเปนอาหารประจําวันสําหรับ ครอบครัวใหเ พียงพอตลอดป เพือ่ ตดั คา ใชจ ายและพึ่งตนเองได พน้ื ท่ีสวนท่ี 3 รอยละ 30 ใหป ลกู พืชผัก พืชไร พืชสมุนไพร ไมผ ล ไมย ืนตน ฯลฯ เพื่อใช เปนอาหารประจําวัน หากเหลอื บรโิ ภคก็นาํ ไปจาํ หนา ย พื้นทีส่ ว นที่ 4 รอยละ 10 เปนที่อยอู าศยั เล้ียงสัตว และโรงเรือนอน่ื ๆ

18 2) มีความสามัคคี เนื่องจากการเกษตรทฤษฎีใหมขั้นตน เปนระบบการผลิตแบบ พอเพียงท่ีเกษตรกรสามารถเล้ียงตัวเองไดใ นระดับท่ีประหยัดกอน ทั้งน้ีชุมชนตองมีความสามัคคี รวมมอื รวมใจในการชวยเหลือซึ่งกันและกนั ทํานองเดยี วกบั การลงแขกแบบด้งั เดิมเพื่อลดคาใชจา ย 3) ผลผลิต เน่ืองจากขาวเปนปจจัยหลักท่ีทุกครัวเรือนจะตองบริโภค ดังนั้น จึงประมาณวาครอบครัวหน่ึงทํานา 5 ไร จะทําใหมีขาวพอกินตลอดป โดยไมต องซื้อ เพื่อยึดหลัก พงึ่ ตนเองได 4) มีนํา้ เนอ่ื งจากการทาํ การเกษตรทฤษฎีใหมตองมีนํ้า เพื่อการเพาะปลูกสํารองไวใ ช ในฤดูแลง ดังน้ัน จงึ จาํ เปนตองกันทด่ี นิ สวนหน่ึงไวข ดุ สระนํ้า โดยมีหลักวาตองมีน้ําเพียงพอที่จะทํา การเพาะปลูกไดต ลอดป 2. ทฤษฎใี หมขน้ั ทีส่ อง หรอื เรยี กวา ทฤษฎีใหมขั้นกาวหนาเปนข้ันท่ีเกษตรกรจะพัฒนา ตนเองไปสูข ้ันพออยูพอกิน เพ่ือใหมีผลสมบูรณย่ิงข้ึนโดยใหเ กษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุมหรือ สหกรณร ว มแรงรว มใจกันดาํ เนินการในดานตางๆ ดงั น้ี 1) ดานการผลิต เกษตรกรจะตอ งรวมมือในการผลิตโดยเริ่มต้ังแตขั้นเตรียมดิน การหา พนั ธพุ ืช ปุย การหาน้ํา และอ่นื ๆ เพ่ือการเพาะปลูก 2) ดา นการตลาด เม่ือมผี ลผลิตแลว จะตองเตรียมการตาง ๆ เพื่อการขายผลผลิตใหได ประโยชนส งู สุด เชน การเตรียมลานตากขาวรวมกัน การจัดหายุงรวบรวมขาว เตรียมเครื่องสีขาว ตลอดจนการรวมกนั ขายผลผลติ ใหไดร าคาดี และลดคาใชจา ยลงดว ย 3) ดานความเปนอยู เกษตรกรตองมีความเปนอยูท่ีดีพอสมควรโดยมีปจจัยพื้นฐานใน การดาํ รงชีวิต เชน อาหาร ทอี่ ยอู าศัย เครือ่ งนงุ หม เปน 4) ดา นสวัสดกิ าร แตล ะชุมชนควรมีสวัสดิการและบรกิ ารท่ีจําเปน เชน สถานอี นามยั เมอื่ ยามเจบ็ ไขหรอื มกี องทุนไวก ูยืม เพื่อประโยชนในกิจกรรมตาง ๆ ของชุมชน 5) ดานการศึกษา ชุมชนควรมีบทบาทในการสงเสริมการศึกษา เชน มีกองทุนเพื่อ การศกึ ษา ใหแ ก เยาวชนในชุมชน 6) ดานสังคมและศาสนา ชุมชนควรเปนที่รวมในการพัฒนาจิตใจและสังคม โดยมี ศาสนาเปนท่ียึด 3. ทฤษฎีใหมข ั้นที่สาม เปนขั้นพัฒนาเกษตรกรหรือกลุมเกษตรกรใหกาวหนาดวย การติดตอประสานงาน เพ่ือจัดหาทุนหรือแหลง เงิน เชน ธนาคาร หรือเอกชนมาชวยในการลงทุน และพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ ซึ่งทง้ั สองฝายจะไดร ับประโยชนรวมกัน ดงั น้ี 1) เกษตรกรสามารถขายขา วไดใ นราคาสงู โดยไมถ กู กดราคา 2) ธนาคารกับบริษัทสามารถซ้ือขาวบริโภคในราคาต่ํา เพราะซื้อขาวเปลือกโดยตรง จากเกษตรกรและนํามาสีเอง 3) เกษตรกรสามารถซ้ือเครอ่ื งอุปโภคบรโิ ภคไดใ นราคาตา่ํ เพราะรวมกนั ซ้ือเปนจํานวน มาก เน่ืองจากเปน กลมุ สหกรณ สามารถซอ้ื ไดใ นราคาขายสง

19 4) ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคคล เพ่ือไปดําเนินการในกิจกรรมตางๆ ใหเกดิ ผลดีย่งิ ข้ึน 3. ประโยชนข องทฤษฎีใหม 1. การพ่ึงตนเอง ทฤษฎีใหมยึดถือหลักการท่ีวา ตนเปนท่ีพ่ึงแหงตน โดยมุงเนนการผลิต พืชผลใหเ พียงพอกับความตองการบริโภคในครัวเรือนเปนอันดับแรก เม่ือเหลือพอจากการบริโภค แลว จงึ คาํ นงึ ถงึ การผลิตเพอ่ื การคา เปน อันดับรองลงมา ผลผลติ สว นเกนิ ทีอ่ อกสูตลาดก็จะเปนกําไร ของเกษตรกร 2. ชุมชนเขมแข็ง ทฤษฎีใหมใหความสําคัญกับการรวมกลุมของชาวบาน ท้ังน้ีกลุม ชาวบานจะทําหนาท่ีเปนผูดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตางๆ ใหหลากหลายครอบคลุม ทั้งการเกษตรแบบผสมผสาน หัตถกรรม การแปรรูปอาหาร การทําธรุ กิจการคาขาย การทองเท่ียว ระดับชมุ ชน ฯลฯ เม่อื องคก รชาวบา นเหลา น้ไี ดร บั การพฒั นาใหเขมแขง็ และมีเครือขา ยท่ีกวางขวาง มากขึ้นแลว เกษตรกรในชมุ ชนกจ็ ะไดร ับการดูแลใหมีรายไดเพิ่มขึ้น รวมทั้งการไดรับการแกปญหา ในทกุ ดาน เม่ือเปน เชน นี้เศรษฐกจิ โดยรวม ของประเทศก็สามารถเติบโตไปไดอยางมีเสถียรภาพ 3. ความสามัคคี ทฤษฎีใหมต้ังอยูบนพ้ืนฐานของการมีความเมตตา ความเอ้ืออาทร และ ความสามัคคีของสมาชกิ ในชมุ ชน ในการรวมมอื รว มใจเพอ่ื ประกอบอาชีพตาง ๆ ใหบ รรลุผลสําเร็จ ประโยชนที่เกิดขึ้นจึงมิไดห มายถึงรายไดแ ตเพียงดานเดียว หากแตรวมถึงประโยชนในดานอ่ืน ๆ ดวย ไดแ ก การสรางความมั่นคงใหก ับสถาบันครอบครัว สังคม ชุมชน และความสามารถในการ อนุรักษท รัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอม ตัวอยางการนาํ หลกั เศรษฐกจิ พอเพยี งมาใชเปนแนวทางปฏบิ ัติของเกษตรทฤษฎีใหม ซึง่ เปน แนวทางในการพัฒนาดา นการเกษตรอยา งเปนขั้นตอนในพ้ืนท่ีท่ีเหมาะสม ซึ่งแบงเปน 3 ขั้น ดงั นี้ *

20 กรณีตัวอยา ง ปลกู ทุกอยางท่ีกิน กินทุกอยา งทป่ี ลูก ชวี ติ อยไู ดอยา งย่งั ยืน * กรณตี ัวอยาง ปลูกทกุ อยา งทก่ี นิ กนิ ทกุ อยา งทป่ี ลูก ชวี ติ เปน สุขไดอยางยัง่ ยืน นายบุญเปง จันตะ ภา เกษตรกรบานหวยถางปูตา น ตําบลไมยา อําเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชยี งราย ดําเนินชวี ิตโดยยดึ แนวทางเศรษฐกิจพอเพยี งจนเปนที่ยอมรับโดยทัว่ ไป เดิมนายบุญเปง จันตะ ภา มีฐานะยากจน เคยออกไปขอทาน เพ่ือหาอาหารมาใสทอง หลงั จากไปเรยี นในวัดไดนาํ หลักคณุ ธรรมมาใชในชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยยึดหลักอิทธิบาท 4 และพรหมวิหาร 4ในป 2529 ไปทํางานประเทศบรูไน หวังใหฐานะครอบครัวดีขึ้น แตไมสําเร็จ จึงเดินทางกลบั มาเก็บเงนิ ไดเพียงสองพันกวาบาท ตอมาไดปรับความคิดวา ถามีความขยันเหมือน ทํางานที่ประเทศบรูไน อยูเมืองไทยก็มีรายไดอยางพอเพียง ป 2542 รัฐบาลใหมีการพักชําระหน้ี แตบุญเปง พักไมได เนื่องจากมียอดหนี้เปนแสน ไดนําเอารูปในหลวงมาต้ังสัจอธิษฐานวา ขา พเจา และครอบครัวจะขยันเพม่ิ ขึน้ ลด ละ เลิก ในสิ่งทไ่ี มจําเปน กินทกุ อยางทป่ี ลูก ปลูกทุกอยาง ทีก่ นิ และจะขอปลดหนภ้ี ายใน 4 ป นายบญุ เปง พ่งึ พาตนเองดว ยการทําเกษตรทฤษฎีใหม ลงแรงทุกอยางดว ยตนเอง ใชภูมิ ปญ ญาทองถ่ินประยกุ ตก บั ความรูใหม ๆ ท่ีไดไปศึกษาดูงานอีก การใชทรัพยากรอยา งรูคณุ คาทําให ประหยดั เงินลงทุนเกิด รายได จากการขายผลผลิตการเกษตรตลอดท้ังป รูจักอดออม ไมเ ปน หน้ี ทาํ ใหดาํ เนนิ ชีวิตไมเดอื ดรอ น ไมเ บยี ดเบยี นตนเองและผอู ่นื พฒั นา ปรับปรงุ การประกอบอาชพี จนประสบความสาํ เรจ็ และยังถา ยทอดความรูชว ยสงั คม

21 บนพื้นที่ 10 ไร 1 งาน 35 ตารางวา มีการแบงสัดสวนตามหลักทฤษฎีใหมไดอยางลงตัว เปนนาขาว 5 ไร ปลูกขาวเหนียวปละ 1 คร้ัง โดยปลูกสลับกับขาวโพด แตงโม แตงไทย อีก 5 ไร ปลูกผัก สมนุ ไพร ไมผ ล เชน ลาํ ไย มะมวง กลวย และสวนสุดทายเปนเรือนพักอาศัยพอเหมาะกับ ครอบครวั มโี รงเลี้ยงสัตว กระบือ สุกร ไกพ ืน้ เมืองและจ้งิ หรดี ความสําเรจ็ ในชวี ติ ของนายบุญเปง นับเปนบทพิสจู นไ ดเ ปน อยา งดีวา “เศรษฐกิจ พอเพียง” สามารถนํามาปรบั ใช ใหเกดิ ประโยชนส ูงสดุ ตอ ครอบครวั ชมุ ชนหากรจู ักคดิ ใช กนิ อยอู ยา งพอเพียงชวี ติ กด็ าํ รงไดอยางดีย่ิงขึน้ และม่นั คง (จากหนังสือพมิ พเ ดลนิ วิ ส หนา 10 ฉบับวนั พฤหสั บดีท่ี 12 กมุ ภาพนั ธ พ.ศ. 2552) การแนะนาํ สง เสริมใหสมาชกิ ในครอบครัวเห็นคณุ คาและนาํ ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงไปประยกุ ตใช เม่อื เราเรียนรูปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนเกิดความเขาใจอยางถองแทและนําสูการ ปฏิบัติในการดําเนินชีวิตและการประกอบอาชีพแลว เราจะเห็นประโยชนและคุณคาของปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ซ่ึงสมควรอยางยิ่งท่ีเราจะตองแนะนําสงเสริมใหส มาชิกในครอบครัวเห็น คณุ คา และนาํ ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งไปประยกุ ตใชในการดาํ เนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ดว ยเชนกนั หลักในการแนะนํา คอื การทสี่ มาชิกในครอบครัวใชชีวิตบนพื้นฐานของการรูจักตนเอง สามารถพึ่งตนเองไดแ ละดําเนินชีวติ อยา งพอกนิ พอใช โดยไมเบียดเบียนผอู ่นื ทําใหเกิดความสุขและ ความพอใจในการดําเนนิ ชีวติ อยา งพอเพียง พยายามพัฒนาตนเองอยางตอเน่ืองเพ่ือใหส ามารถอยู อยา งพอเพียงไดใ นทกุ สถานการณ ท้งั นส้ี มาชิกในครอบครัวอาจจะรวมกนั ทาํ แผน ชวี ิต เรอื่ งที่ 2 แผนชีวติ ในการดําเนินชีวิตทุกคนตองการไปใหถึงเปาหมายดวยกันทั้งส้ิน แตการท่ีจะไปถึง เปา หมายไดจ ะตอ งมกี ารวางแผนชวี ิตทดี่ ี มีความมงุ มัน่ ในการที่จะกาวไปใหถ งึ การวางแผนอยางนอ ยกท็ ําใหเ รารูวาเราจะเดนิ ไปทศิ ทางไหน ยาํ้ เตือนวา ตองทาํ อะไร ยงั ไมไ ดทาํ อะไร แมแ ตแมบานจะทาํ อาหารในแตล ะม้ือยังตอ งวางแผน และเห็นอาหารจานนั้นอยูใน จิตนาการเหลือแตออกไปหาวัตถุดิบและลงมือปรุงอาหารใหสําเร็จ ซึ่งแมบานก็ตองเขียนรายการ วัตถุดิบท่ีตองซื้อ เปนการวางแผนกอนปรุงอาหารซ่ึงจะไดไมม ีปญหาวากลับบานแลวลืมซ้ือ ซง่ึ เหตุการณน้ีมักเกิดข้นึ บอยๆ ชีวิตคนเราก็เชน เดียวกนั ตองคิดกอนปรุงโดยตองรูวาจะปรุงใหเปน อะไร ซึ่งเรียกวาแผนชีวิต แตสําหรับคนท่ียังไมรูก็ตองเขียนวาตัวเองชอบอะไร หรือตองการอะไร จะดีกวาดําเนนิ ชีวิตโดยไรจุดหมาย

22 แผนชวี ิต คือ ส่งิ ทเ่ี ราฝนหรือคาดหวงั อยากจะใหเ กดิ ขน้ึ จริงในอนาคตโดยเราจะตองวางแผน กาํ หนดทศิ ทางหรือแนวทางในการดาํ เนนิ ชีวติ เพื่อใหเราไปถงึ เปา หมาย ทาํ ใหเ ราเกิดความพึงพอใจ และสุขแผนชีวิต มีหลายดาน เชน แผนชีวิตดานอาชีพ แผนชีวิตดานครอบครัว เปนตน แผนชีวิต แตล ะคน แตละครอบครัวจะแตกตางกัน ขึ้นอยูกับวาใครจะใหความสําคัญกับแผนชีวิตดานใด มากกวา กนั แผนดานการพัฒนาอาชีพ ใหมองถึงศักยภาพที่มีการพัฒนาได ความถนัด ความสามารถ ของตนเอง มองถึงทุนท่ีมีในชุมชน เชน ทรัพยากร องคความรู ภูมิปญญา แหลง เงินทุน การตลาด ความตอ งการของคนในชมุ ชน โดยมกี ารจัดการความรูข องตนเอง เพอ่ื ใหเกิดความรใู หม แผนชีวิตดา นครัวเรือน ใหม องถงึ หลกั ธรรมในการดาํ รงชีวติ การสรางภูมิคมุ กันใหกับคนใน ครอบครัวที่มีการเรียนรูตลอดชีวิต เพ่ือนําองคความรูม าสรางภูมิคุมกันท่ีดี นอกจากนี้การนําบัญชี ครัวเรือนมาวิเคราะหรายจายท่ีไมจ ําเปนมาจัดทําแผนการลดรายจาย เพิ่มรายได และตองมีการ ประเมนิ แผนท่ที ําดว ยวา สาํ เรจ็ มากนอยเพียงใด แผนชวี ิตดานครัวเรือน เชน (1) การจัดทาํ บญั ชรี ายรับ - รายจา ยในครัวเรอื น มีการวางแผนการใชจาย เชน จาย 3 สวน ออม 1 สวน เพอื่ ใหเกดิ การมีระเบยี บวนิ ัยในการใชจาย การลด ละ เลิกอบายมุข การศึกษา ใหร เู ทาทนั กระแสบริโภคนยิ ม การวางแผนควบคมุ รายจายในครัวเรอื น (2) การลดรายจายในครวั เรือน เชน การปลกู ผักสวนครวั การผลิตปุยชวี ภาพไวใชทดแทน ปยุ เคมีการผลิตผลิตภัณฑเครอ่ื งใชภายในครัวเรอื น (3) การเพ่ิมรายไดใ นครัวเรือน แปรรูปผลผลิต การทําเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืช สมุนไพร ฯลฯ หรืออาจจะเริ่มจาก การจัดทาํ แผนชีวิตครวั เรอื น อาจจะดาํ เนินการ ดังนี้ 1. จัดทําขอมลู ของครวั เรอื น 2. คน หาศักยภาพของตนเอง ทกั ษะในการประกอบอาชพี ทนุ สถานการณในการประกอบอาชพี 3. คน หาปญหาของครวั เรอื น 4. กําหนดเปาหมายของครัวเรือนเพื่อใหหลุดพนจากความยากจน 5. วางแผนการแกป ญ หาของครวั เรอื น 6. บันทึกการปฏบิ ตั ติ ามแผน 7. บันทกึ การประเมนิ ผล

23 กรณตี ัวอยาง สุรชยั มรกตวจิ ติ รการ เกษตรพอเพียง แหงบา นปาไผ * บานเกษตรกรพอเพียงตามแนวพระราชดําริของ สุรชัย มรกตวิจิตรการ ตั้งอยูท ่ีบานปาไผ ต.แมโปง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม สุรชัย ไดเ ลาชีวิตของตนเองวา “ชีวิตคงไมมาถึงวันน้ีหากไมมี ศรัทธาแรงกลา ตอองคพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ผมเร่ิมตนจากศูนย เดิมผมคาขายเส้ือผา สาํ เร็จรปู ป 2540 เจอวิกฤตเศรษฐกิจ มีหนี้สนิ แปดแสนบาท คดิ จะฆา ตวั ตาย แมใ หส ติวาทําไมไมสู ทําใหผมคิดใหม ต้ังสติแลวมุงหนาไปที่ศูนยการศึกษาการพัฒนาหวยฮองไคร อันเน่ืองมาจาก พระราชดําริ ดว ยใจทีม่ ุงม่ันวามีกินแนหากเดินตามแนวทางของในหลวง ท่ีนี่เองไดเรียนรูและทํา ความเขา ใจคําวา “เศรษฐกจิ พอเพยี ง” “อยางถอ งแท” เราเริ่มตนจากการเลี้ยงสัตวตามความถนัดทั้ง ปลา ไก วัว กบ ตอมาปลูกพืชผักสวนครัว โรงเพาะเห็ด กลายเปนไรนาสวนผสมทีท่ ําทกุ อยา งเชอื่ มโยงกันอยางเปน ระบบและมีประสิทธภิ าพ เวลาผานไปไมกี่ป สุรชัย กลายเปนผูเชี่ยวชาญ มีความรูในสิ่งท่ีตนเองลงมือทํา ไมวาจะ เปนการทํา ปุยหมัก ปุย อนิ ทรีย การเล้ยี งหมูหลุม การเลีย้ งไก วัว ปลา กบ การทํากาซชีวภาพจาก มลู สัตว การนําของเหลวจากสัตวไปเลีย้ งพชื การนาํ ของเหลวจากพชื ไปใชกบั สตั ว “ในหลวงสอนคนไทยมากวา 20 ป วา ใหเช่อื มธรรมชาติเขา ดว ยกนั คนไทยไมชอบคดิ ไมชอบวิเคราะห ไมล งมือทํา แตใชเงินนําหนา ตองแกดวย 5 ร คือ รวมพลัง รวมคิด รวมกันทํา รว มกันสรปุ บทเรียน และรวมกันรับผล และยึดคําสอนที่วาตองระเบิดจากขางใน คือ เขาใจตัวเอง กอนส่งิ แรก คือ ตน ทุนตาํ่ ทาํ บญั ชคี รัวเรอื น ตดั ส่งิ ฟมุ เฟอยออกจากชวี ิต คดิ อยา งรอบคอบ ไมขเ้ี กียจ สรางภูมิคุมกันไมหลงกระแส ไมห ลงวัตถุนิยมท่ีสําคัญไมแขงกับคนรวยแตทุกคนตองคิด ตอ งฝน เองวาอะไรเหมาะทีส่ ุด จะสาํ เรจ็ หรอื ลมเหลวอยทู ี่คุณภาพคน ปจจุบัน สุรชัย ยังเดินหนาตามแผนชีวิตของตนเอง เพื่อหวังปลดหนี้ภายในไมเ กิน 5 ป ดว ยการกเู งนิ 2 ลา นบาท ซอื้ ทีด่ นิ หลังบานเพอ่ื สรางฐานการผลิต ผมตองการพิสจู นวา คนจนหากมงุ ม่ันที่จะสูแ บบเขาใจศักยภาพตนเอง รับรองอยูไดอ ยางมี ศกั ด์ศิ รี และเปน ชวี ิตท่ยี ั่งยนื ปลอดภยั ” (จนิ ตนา กิจมี หนังสือพิมพมติชน หนา 10 วันเสารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552)

24 บทท่ี 5 การประกอบอาชพี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง เพ่อื การสรา งรายได อยา งมน่ั คง มง่ั ค่งั และยัง่ ยืน เร่อื งที่ 1 ความหมาย ความสําคญั ประเภท สาขาอาชพี ตางๆ การตัดสินใจประกอบอาชีพ 1.1 ความหมาย ความสาํ คญั 1.2ประเภทของงานอาชีพ 1.3กลมุ งานอาชีพตา ง ๆ 1.4การตดั สินใจประกอบอาชีพ 1.1 ความหมาย ความสาํ คญั อาชีพ หมายถึง ชนิดของงานหรือกิจกรรมของบุคคลประกอบอยู เปนงานที่ทําแลว ไดร บั ผลตอบแทนเปน เงินหรอื ผลผลติ อาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง คอื งานทบ่ี ุคคลทาํ แลวไดรบั ผลตอบแทน เปน เงินผลผลิต โดยหยดึ หลักสําคัญ 5 ประการในการดําเนินการ ไดแก 1. ยึดหลักทางสายกลางในการดาํ เนนิ ชีวติ 2. มีความสมดุลระหวา งคน ชมุ ชน และสิ่งแวดลอ ม 3. มคี วามพอประมาณ พอเพียงในการผลิต การบริโภค และการบรกิ าร 4. มีภูมิคมุ กนั ในการดําเนินชวี ติ และการประกอบอาชีพ 5. มคี วามเทาทนั สถานการณชมุ ชน สงั คม อาชีพมคี วามสาํ คญั ตอชีวติ คนเราอยางมาก เพราะเปน ความมัน่ คงของตนเองและครอบครัว คนท่ีมีอาชีพจะเปนคนที่ไดรับการยกยอง ไดรับการยอมรับนับถือ เราตองทํางานหาเงิน มีเงิน รายได หรอื สรางผลผลติ เนื่องจากตองดํารงชีวติ ดวยปจ จัย 4 คอื อาหาร เครื่องนุงหม ยารักษาโรค และท่อี ยอู าศยั การประกอบอาชพี จึงเปนสงิ่ สาํ คัญยิง่ ตอมนุษยทุกคน 1.2 ประเภทของงานอาชีพ อาชีพสามารถแบง ออกไดเ ปน 2 ประเภทคอื 1. อาชีพอิสระ คือ อาชีพที่ตนเองเปนเจาของกิจการ โดยลงทุนเอง วางแผนเอง ตดั สนิ ใจเอง จัดบรกิ ารและขายเอง

25 2. อาชีพรับจา ง คือ อาชพี ทีอ่ ยใู นกิจการของนายจาง มีรายไดจากคา จา งและ สวัสดิการ ตางๆ 1.3 กลุม งานอาชพี ตางๆ การสรางงานอาชพี ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทนี่ ี้ แบง กลมุ อาชพี เปน 5 กลุมอาชีพใหม คอื 1. เกษตรกรรม 2. อตุ สาหกรรม (ในครอบครัว) 3. พาณชิ ยกรรม 4. ดานความคิดสรา งสรรค 5 อาํ นวยการและอาชีพเฉพาะทาง 1.4 การตดั สนิ ใจประกอบอาชีพ การตดั สนิ ใจที่จะประกอบอาชีพอะไรก็ตาม จะตองมีสิ่งที่จะตองคิดหลายดา น ทง้ั ตอ งดูขอมลู มีความรู มีทุน แรงงาน สถานที่ มกี ลวิธกี ารขายและคุณธรรมในการประกอบอาชีพ ดว ย ขอ ควรคาํ นงึ ในการตัดสนิ ใจประกอบอาชพี มีดังนี้ 1. การตดั สินใจประกอบอาชีพโดยใชขอมลู อยางเหมาะสม ในการประกอบอาชีพ ผเู รียนตองใชข อมลู หลายๆ ดา น เพ่อื การตัดสนิ ใจ ขอ มูล ที่สาํ คัญ คอื ตองรจู กั ตนเองวา มคี วามชอบหรือไม มสี ภาพแวดลอ มในครอบครัว ชุมชน ที่เหมาะสม กบั การประกอบอาชีพ นัน้ ๆ หรอื ไม และขอ มลู ท่ีสําคัญ คอื ความรูทางวชิ าการ 2. มคี วามรูว ิชาชีพนัน้ ๆ การประกอบอาชพี อะไรกต็ องมคี วามรใู นวิชาชพี น้ัน ๆ อยางดี เพราะการมี ความรู ในวชิ า น้ันๆ อยา งดี จะทําใหสามารถปรับปรุงพัฒนาอาชพี นน้ั ๆ ไดดีย่ิงข้ึน 3. มที นุ แรงงาน และสถานที่ ทนุ แรงงาน สถานที่ เปนองคป ระกอบสําคัญในการประกอบอาชีพทําใหเ กดิ ความมั่นใจในการประกอบอาชีพเปนไปอยา งราบร่ืน 4. มีวิธีการปฏบิ ตั ิงานและจัดการอาชีพ มขี ้นั ตอน กระบวนการ การจัดการท่ีเหมาะสม มปี ระสทิ ธิภาพ ทาํ ใหง าน ประสบความสาํ เรจ็ ลดตน ทนุ การผลิต มีผลผลติ ไดมาตรฐานตามท่ตี ้งั เปา หมายไว 5. มกี ลวิธีการขาย การตลาด กลวิธกี ารขาย การตลาดทสี่ ามารถตอบสนองความตอ งการ ความพึงพอใจ ของลูกคา ยอ มทาํ ใหยอดขายเปนไปตามเปา หมาย

26 6. มีการจัดการการเงนิ ใหมเี งนิ สดหมุนเวียนสามารถประกอบอาชีพไปไดอยา ง ตอ เนอ่ื งไมขดั ของ 7. การจดั ทาํ บัญชีรายรบั – รายจาย เพ่ือใหทราบผลการประกอบการ 8. มีมนุษยสัมพันธและมีจติ บริการ การมีมนษุ ยส มั พนั ธท ี่ดกี บั ลกู คา มีความ เปน กันเอง โดยเฉพาะการใชค าํ พูดทีเ่ หมาะสม เพอ่ื สรา งความพึงพอใจใหก ับลกู คา ไปพรอ มกับการ มีจิตบริการใหล ูกคา ดวยความจริงใจ ตอ งการเห็นลูกคามคี วามสขุ ในการบรโิ ภคสนิ คา 9. มีคณุ ธรรมในการประกอบอาชีพ ผูผลติ และผขู ายมคี วามซอื่ สตั ยตอ ลกู คา ใช วตั ถุดบิ ทมี่ ีคณุ ภาพ ไมใ ชสารเคมที ี่มีพษิ ในผลติ ภณั ฑ ซึง่ สงผลตอสขุ ภาพ สง่ิ แวดลอ ม และการ ดําเนินชวี ิตของลกู คา เรอื่ งที่ 2. การสรางงานอาชีพตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง ในที่น้ีไดแบงกลุมอาชพี 5 กลุมอาชีพใหม คือ 1. เกษตรกรรม 2. อุตสาหกรรม (ในครอบครัว) 3. พาณิชยกรรม 4. ดา นความคิดสรางสรรค 5. อํานวยการและอาชพี เฉพาะทาง โดยวิเคราะหแ บงกลมุ 5 กลุมอาชพี ใหม ดา นการผลติ กับดานการบริการ กลมุ อาชพี ดานการผลิต ดานการบริการ 1. เกษตรกรรม 1. แปรรปู ผลผลติ * พืช ตนไม ตัวอยางการตบ แตงตนไม การจัดดอกไม - อาหารหลกั ประดับในงานมงคล งานศพ - อาหารวาง การดแู ลตนไม การจัดสวน - ขนม * สตั ว เชน เลยี้ งสุนขั - เครอื่ งดมื่ (นํ้าตะไคร การดแู ลตดั ขน กระเจ๊ียบ ใบเตย ขิง สปั ปะรด เสาวรส ฯลฯ) 2. เพาะเหด็ (แปรรปู ) 3. เพาะพนั ธุไม 4.การเลีย้ งไกไข 5. ขยายพนั ธพุ ชื 6. ปลูกสมนุ ไพร

27 กลมุ อาชีพ ดานการผลิต ดา นการบริการ 2 . อุ ต ส า ห ก ร ร ม ( ใ น 1. ไมนวดเทา ไมก ดเทา * บรรจสุ นิ คา ครอบครวั ) 2. ผลิตภณั ฑจ ากกะลามะพรา ว * สงสินคา ตามบาน 3. ผลิตเครื่องประดบั ทํามือ รา น โดยใชมอเตอรไซต 4. ผลิตสินคา จากวสั ดุเหลือใช * ประกอบสินคา/ผลิตภัณฑ 5. รองเทา แตะ เคร่อื งใช ประดบั เชน ประกอบชอ ดอกไม ตบแตง 6. ตะกรา จากกาบหมาก 7. เกา อ้ที างมะพราว 3. พาณิชยกรรม 1. นาํ้ เตาหูกบั ปาทอ งโก * การขายตรง 2. เครอื่ งดม่ื นํา้ เตาหู กาแฟ * การขายปลีก 3. ผลิตปุยชวี ภาพ นํ้าหมัก * การขายสง 4. ดานความคดิ สรา งสรรค 1 . อ อ ก แ บ บ บ ร ร จุ ภั ณ ฑ ( ผ า * บริการผกู ผา ตบแตง งานพธิ ี กระดาษ พลาสตกิ ฯลฯ) ตา ง ๆ 2. ออกแบบเครื่องใชตาง ๆ (ดวย * ลําตดั หมอรํา วสั ดเุ หลอื ใชตา งๆ) * รองเพลงพืน้ บาน 3. ออกแบบเฟอรน เิ จอร * เปา ขลุย 4 . ด น ต รี พ้ื น บ า น ( โ ป ง ล า ง อังกะลุง) 5. การออกแบบเครือ่ งประดับ 5. การอํานวยการและ การแพทยทางเลือก (การนวดแผน * หวั หนางาน อาชพี เฉพาะทาง ไทย ผอ นคลาย บําบัด รกั ษา) * Organizer รับจัดงาน วันเกดิ ฉลองงานแตง * รบั ตกแตง สถานที่

28 เรื่องที่ 3 แนวทางการประกอบอาชพี ท่ีสงผลตอความสาํ เรจ็ แนวทางการประกอบอาชีพใหป ระสบผลสําเร็จ ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง มีเงื่อนไขความรแู ละคณุ ธรรมดังน้ี 3.1 มีความรคู อื ตองรอบรู รอบคอบและระมดั ระวงั ความรอบรู มีความหมายมากกวาคําวา ความรู คือนอกจากจะอาศัยความรูในเชิงลึก เกยี่ วกบั งานทจ่ี ะทําแลว ยงั จําเปนตองมีความรูในเชิงกวาง ไดแกความรู ความเขาใจในขอเท็จจริง เกีย่ วกับสภาวะแวดลอ มและสถานการณท เี่ กยี่ วพนั กบั งานท่จี ะทําทง้ั หมด ความรอบคอบ คือ การทาํ งานอยา งมีสติ ใชเ วลาคดิ วิเคราะห ขอ มูลรอบดาน กอนลงมือ ทาํ ซึ่งจะลดความผิดพลาด ขอบกพรอ งตาง ๆ ทําใหงานสําเรจ็ ไดอ ยางมีประสิทธิภาพ ใชตนทนุ ต่ํา ระมัดระวัง คือ ความไมประมาท ใหความเอาใจใสในการทํางานอยางตอเนื่องจนงาน สําเรจ็ ไมเกดิ ความเสยี หายตอ ชีวติ และทรัพยส ิน หรืออุบัตเิ หตุอนั ไมค วรเกิดข้นึ 3.2 คุณธรรมท่ีสงเสริมการประกอบอาชีพใหประสบความสําเร็จ คือ ความซ่ือสัตย สุจริต ขยัน อดทน แบงปน การประกอบอาชีพตองสัมพันธเกี่ยวของกับบุคคล สังคม และ สง่ิ แวดลอม อยา งหลีกเลี่ยงไมได เพ่ือใหการประกอบอาชีพประสบผลสําเร็จตามเปาหมาย ไดรับ การสนับสนนุ จากผเู กีย่ วขอ ง ผูรวมงาน และลูกคา ผูประกอบอาชีพตองมีคุณธรรม ซื่อสัตย สุจริต ขยนั อดทน แบง ปน ความขยัน อดทน คือ ความต้ังใจเพียรพยายามทําหนาท่ีการงาน การประกอบอาชีพ อยา งตอเน่อื ง สม่ําเสมอ ความขยันตองปฏิบัติควบคูกับการใชสติปญญา แกปญหาจนงานเกิดผล สําเร็จผูท ่มี คี วามขยัน คอื ผูทต่ี ้งั ใจประกอบอาชีพอยางจริงจังตอเนื่อง ในเรื่องท่ีถูกท่ีควร มีความ พยายามเปน คนสูง าน ไมท อ ถอย กลาเผชญิ อปุ สรรค รกั งานที่ทํา ตง้ั ใจทาํ หนา ท่อี ยางจริงจัง ซ่ือสัตย คือการประพฤตติ รง ไมเ อนเอยี ง จรงิ ใจ ไมม ีเลหเหล่ยี ม ผทู มี่ คี วามซื่อสตั ย คือ ผูที่ประกอบอาชีพตรงไปตรงมา ไมคดโกง ไมเอาเปรียบผูบริโภค ไมใชวัตถุที่เปนอันตราย และคํานงึ ถงึ ผลกระทบกบั สภาพแวดลอ ม ความอดทน คอื การรักษาสภาวะปกติของตนไวไมวาจะกระทบกระท่ังปญหาอุปสรรคใด ผูมีความอดทน ในการประกอบอาชีพ นอกจากจะอาศัยปญญาแลว ลวนตองอาศัย ขันติ หรือ ความอดทนในการตอสูแกไ ขปญหาตาง ๆ ใหง านอาชพี บรรลุความสําเรจ็ ดว ยกนั ทงั้ ส้ิน การแบงปน / การให คือ การแบงปนสิ่งที่เรามี หรือสิ่งที่สามารถใหแกผูอื่นไดและ เปน ประโยชนแก ผทู ่รี ับ การใหผ ูอน่ื ทบ่ี ริสุทธิใจไมห วงั ส่ิงตอบแทนจะทําใหผ ูใหไ ดร ับความสุข ที่เปนความทรงจาํ ทย่ี าวนาน

29 การประกอบอาชพี โดยรจู ักการแบงปนหรือใหสง่ิ ตา ง ๆ ท่สี ามารถใหไดแก ลูกคาและชุมชน ของเรา ยอ มไดร บั การตอบสนองจากลกู คาในดา นความเชื่อถือ กจิ กรรมทา ยเลม แผนการปรับปรงุ วถิ ีชีวติ ตามปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง เรื่องทตี่ อ งการปรบั ปรงุ .................................................................................................................................. วธิ กี ารปรบั ปรุง .............................................................................................................................................. ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ผลการปรับปรงุ .............................................................................................................................................. ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... บคุ คลทีม่ ีสวนรว มในการปรบั ปรุง ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ปญ หาอปุ สรรค ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................

30 แนวทางแกไ ข ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... กจิ กรรมทา ยเลม ตัวอยางสมดุ บนั ทกึ รายรบั – รายจา ยในครวั เรอื น ของ นาย/นาง/นางสาว...................................................................................................................... ประจําเดอื น..................................................................พ.ศ.............................. วนั เดอื น รายการ รายรบั รายจาย คงเหลอื ป

31 หมายเหตุ สรปุ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ขอ เสนอแนะ ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. กจิ กรรมทายเลม แผนเขาสอู าชพี หรอื พฒั นาอาชพี ของผเู รยี น ชือ่ ...................................................นามสกลุ .................................................ระดับ.......................... หลกั คิดเศรษฐกิจพอเพียง แผนอาชพี ของผเู รียน ผลท่คี าดหวัง (ได/ ไมได) • ความพอประมาณ แผนอาชพี ท่ีคํานงึ ถึง หลักคิดเศรษฐกจิ พอเพยี ง • มีเหตุมผี ล 1. ………………………………………………… ........................ • มภี มู คิ ุม กนั ในตวั ท่ีดี 2. ………………………………………………… ........................ • มคี ณุ ธรรมนาํ ความรู 3. ………………………………………………… ........................ • นาํ ไปสู 4. ………………………………………………… ........................ เศรษฐกิจ/สังคม/ 5. ………………………………………………… ........................ ส่งิ แวดลอม/ 6. ………………………………………………… ........................ วัฒนธรรมอยา งสมดุล พรอม 7. ………………………………………………… ........................ รบั ตอ 8. ………………………………………………… ........................ การเปลี่ยนแปลง 9. ………………………………………………… ........................ 10. ………………………………………………… ........................ (บันทกึ ตามความจริง)

32 สรุปผลของการวางแผนเขา สูอาชีพ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ขอเสนอแนะตนเอง ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. กิจกรรมทายเลม เรือ่ งกระบวนการวางแผนชวี ติ ใหผ เู รียนศกึ ษาตามประเดน็ ตอ ไปน้ี 1. ความหมายและความสําคญั ของการวางแผนดาํ เนนิ ชีวิต ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ 2. ธรรมะในการดาํ เนินชีวิต ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................

33 3. ใหท ําบัญชคี รัวเรอื น 1 สปั ดาห โดยใชแ บบฟอรมในใบความรูที่ 2 เรอื่ งการทาํ บญั ชี ครวั เรือน ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................

34 กิจกรรมทายเลม 5 1. จงบรรยายวิธีการทาํ เกษตรในปจจบุ ันของทานและวิเคราะหต ามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพยี ง ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................. 2. จงอธบิ ายวา ถาเปลยี่ นมาทาํ การเพาะปลกู โดยวธิ เี กษตรธรรมชาติจะสอดคลองตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงอยา งไร ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ 3. ถา ทา นทําเกษตรธรรมชาติ ทานจะมวี ิธกี ารปรบั ปรงุ ดินอยางไร เพราะเหตใุ ด ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ...............................................................................................................................................

35 4. ถาทานทําเกษตรธรรมชาติทา นจะมีวธิ กี ารปองกนั และกาํ จัดโรคและแมลงศัตรูพชื อยางไร จงอธบิ าย ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................

36 บรรณานุกรม การศกึ ษานอกโรงเรียน, สํานกั งานบรหิ ารงาน. คมู อื การบรู ณาการเรยี นรูเศรษฐกจิ พอเพียงสาํ หรบั กลุมเปา หมายการศกึ ษานอกโรงเรยี น, 2550. การศกึ ษานอกโรงเรียน, สาํ นกั บรหิ ารงาน. รายงานประเมินผลโครงการสง เสริมการ เรยี นรเู พอื่ พฒั นาเศรษฐกิจพอเพียง. กรงุ เทพ, 2550. กลาง, ศูนยก ารศึกษานอกโรงเรยี นภาค. หลักสตู รเศรษฐกิจพอเพียงสําหรบั เกษตรกร. 2549. (อัดสําเนา) ขบั เคล่อื นเศรษฐกิจพอเพยี ง,สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกจิ และสงั คม แหงชาต.ิ นานา คําถามเกย่ี วกบั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง, 2548. จตุพร สขุ อนิ ทร และมงั กโรทัย. สรางชวี ติ ใหมอยา งพอเพียงดวยบัญชคี รวั เรอื น. เดลินิวส หนา 30 ฉบบั ท่ี 20 เมษายน พ.ศ. 2522. จนิ ตนา กจิ มี. เกษตรพอเพยี งแหง บานปาไผ. มติชน หนา 10 ฉบับวนั เสาร 8 มีนาคม พ.ศ. 2552. ตะวันออกเฉยี งเหนอื , ศนู ยการศกึ ษานอกโรงเรียนภาค(ศนอ.) “ศ.อ.ศ.อ.”. แนวทางการ พฒั นาศนู ย การเรียนชุมชนขับเคลอื่ นเศรษฐกิจพอเพียง. จงั หวัดอบุ ลราชธานี: 2540. ปลดั กระทรวงศึกษาธิการ, สํานักงานบริหารงาน. แนวทางการจดั การศกึ ษานอกโรงเรยี นตาม แนวเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนโดยกระบวนการการศกึ ษานอกโรงเรียน. กรงุ เทพ หา งหนุ สว น จาํ กัด โรงพิมพอักษรไทย: 2550. ปลกู ทกุ อยา งทกี่ นิ กนิ ทกุ อยางทปี่ ลกู ชีวติ อยไู ดอยางย่ังยนื . เดลินิวส หนา 10 ฉบบั วนั พฤหสั บดีท่ี 12 กมุ ภาพนั ธ พ.ศ. 2552. พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหง ชาต,ิ คณะอนกุ รรมการขบั เคลื่อนเศรษฐกจิ และสังคม แหงชาต.ิ ตัวอยางเศรษฐกิจพอเพียงทข่ี า พเจา รูจัก, 2550. พัฒนาการเศรษฐกิจและสงั คมแหง ชาติ, สาํ นักงาน. เศรษฐกิจพอเพียงคอื อะไร, 2550. เอกรนิ ทร ส่มี หาศาล และคณะ, คณุ ธรรมนาํ ความรูส.ู ..เศรษฐกิจพอเพียง ป.6. กรุงเทพฯ : บรษิ ัท อกั ษรเจริญทัศน อาท จํากดั . มปพ.

37 คณะผูจัดทํา ทป่ี รกึ ษา เลขาธกิ าร กศน. นายสรุ พงษ จาํ จด รองเลขาธกิ าร กศน. นายประเสริฐ หอมดี ผอู ํานวยการกลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบ นางตรนี ุช สุขสุเดช และการศึกษาตามอธั ยาศัย ผูอาํ นวยการ สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ นายวิเชียรโชติ โสอบุ ล รองผอู าํ นวยการ สถาบนั กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื นายทรงเดช โคตรสิน ผสู รปุ เนอ้ื หา ผอู ํานวยการ กศน.อําเภอกูแกว จงั หวดั อดุ รธานี นางอภิญญา ลบี อ นอ ย ผอู าํ นวยการ กศน.อําเภอทงุ เขาหลวง จงั หวดั รอยเอ็ด นางไพบูลย สตั นาโค ขาราชการชํานาญ นางอรญั ญา บวั งาม ครู กศน.อาํ เภอกแู กว จงั หวัดอุดรธานี นางสาวอรอนงค เชิญชม ผตู รวจและบรรณาธกิ าร ผูอาํ นวยการ กศน.อาํ เภอกูแ กว จงั หวัดอดุ รธานี นางอภญิ ญา ลีบอ นอ ย ผอู ํานวยการ กศน.อําเภอทงุ เขาหลวง จังหวดั รอยเอ็ด นางไพบูลย สตั นาโค ขา ราชการชาํ นาญ นางอรัญญา บวั งาม ครู กศน.อําเภอกแู กว จังหวัดอุดรธานี นางสาวอรอนงค เชิญชม ผพู มิ พต น ฉบับ นางสาวอรอนงค เชิญชม ครู กศน.อาํ เภอกแู กว จังหวัดอุดรธานี ผูออกแบบปก กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบ นายศุภโชค ศรีรัตนศลิ ป และการศกึ ษาตามอัธยาศัย

38


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook