Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทศกาล

เทศกาล

Published by nisainab.620, 2022-01-31 04:47:50

Description: เทศกาล

Search

Read the Text Version

วัฒนธรรมสรรค์สร้าง เศรษฐกิจสร้างสรรค์







คำนำ

สารบัญ

สารบัญ





นาซิดาแฆ

นาซิดาแฆ น า ซิ ด า แ ฆ \" เ ป็ น อ า ห า ร พื้ น เ มื อ ง ที่ นิ ย ม ม า ก ใ น จั ง ห วั ด ย ะ ล า เ ป็ น อ า ห า ร ที่ มี ชื่ อ แ ป ล ก แ ล ะ มี ร ส ช า ติ ที่ เ ป็ น เ อ ก ลั ก ษ ณ์ เ ฉ พ า ะ นาซิดาแฆ สุดยอดอหารเช้าที่ขึ้นชื่อของชาวไทย มุ ส ลิ ม มั ก เ รี ย ก ค ว า ม ส น ใ จ จ า ก นั ก ชิ ม อ า ห า ร ไ ด้ เ ส ม อ \"นาซิดาแฆ\" เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้าย ข้าวมันของไทย ใช้ข้าวสามชนิดคือข้าวเหนียว ข้าว เจ้า และข้าวซ้อมมือ นิยมทำเลี้ยงรับรองแขก สำหรับ วิธีการกินมันทานคู่กับแกงกะหรี่ แกงไก่ แกงเนื้อ และ แกงปลาโอสดๆ แกงไข่ เป็นแกงกะทิที่มีส่วนผสมของ เครื่องเทศกลิ่นหอม ชวนน่ารับประทาน คำว่า นาซิดาแฆ มีหลายความหมาย หนึ่งในนั้น หมายถึง ข้าวสำหรับคนอนาถา การได้ชื่อนี้สืบเนื่องมา จากส่วนประกอบสำคัญ ของนาซิดาแฆ เป็นส่วนผสม ระหว่างข้าวข้าวกับข้าวเหนียว ผู้มีรายได้น้อยถ้ามีข้าว จ้าวกับข้าวเหนียวเพียงบางส่วน ก็สามารถนำมาปนกัน ทำ เ ป็ น อ า ห า ร ไ ด้ แ ล้ ว ประเพณี นาซิดาแฆ เป็นอาหารพื้นเมืองที่เป็น เอกลักษณ์ของคนไทยนับถือศาสนาอิสลาม ในภาคใต้ รั บ ป ร ะ ท า น เ ป็ น อ า ห า ร มื้ อ ห ลั ก ใ น ต อ น เ ช้ า แ ล ะ ง า น ป ร ะ เ พ ณี สำ คั ญ

ข้าวยำ

ข้าวยำ ข้าวยำ เป็นอาหารประจำถิ่นของชาวบ้านในพื้นที่ จังหวัดยะลา จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งนี้ ข้าวยำ นิยมรับประทานในมื้อเช้า และมื้อเย็น เป็น อาหารที่ทำรับประทานง่าย หรือหาซื้อง่ายมีขายเกือบทุก ชุมชน เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ปรุงมีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ผักสดจากริมรั้ว ปลาที่ที่คั่วสามารถหาได้ตามตลาดในชุมชน พร้อมกับภูมิปัญญาในการถนอมอาหารแปรรูปจากปลาสดก ลายเป็นบูดูที่มีรสชาติอร่อย กลมกล่อม ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงข้าวยำ ข้าวยำเป็นอาหารพื้นบ้านที่ดูเรียบง่าย แต่อุดมด้วย คุณค่าทางโภชนาการ รสชาติอร่อย พร้อมสีสันครบถ้วน ชวนน่ารับประทานเครื่องปรุงในการทำข้าวยำ ประกอบด้วย4 ส่วน คือ เครื่องปรุงที่ทำข้าว ได้แก่ ข้าวเจ้า ตะไคร้ซอย เครื่องปรุงที่ทำน้ำบูดู ได้แก่ บูดู กะทิ พริกแห้ง,หอมแดง,ส้มแขก,น้ำตาลแว่น,ตะไคร้,ใบมะกรูด ส้มแขก เครื่องปรุงที่ทำซามาได้แก่ กุ้ง,พริกไทย มะพร้าวคั่ว และผักข้างเคียงเช่น ถั่วฝักยาวซอย,แตงกวาซอย,ใบมะกรูด ถั่วงอก ดอกดาหลา เนื้อส้มโอ มะนาว มะม่วงสับเป็นเส้น วิธีทำ ซาวข้าวให้สะอาด หุงด้วยน้ำผสมขมิ้น หุงจนสุก พักไว้ วิธีทำน้ำบูดู ปั่นพริกแห้ง หอมแดงตั้งไว้ นำหัวกะทิ ตั้งไฟ ใส่ส้มแขก ใส่พริกแห้งที่ปั่นไว้ จนแตกมัน ใส่บูดู น้ำตาลแว่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ส่วนวิธีทำซามา กุ้งปอกเปลือกล้างให้สะอาด นำไปต้ม ใส่เกลือ น้ำตาลแว่น เคี่ยวจนแห้งสุก จากนั้นโขลกพริก ไทย หอมแดง มะพร้าวคั่ว ให้เข้ากัน แล้วนำไปคลุกกับกุ้ง เวลารับประทานจะตักข้าว ใส่ซามา ใส่ผัก และราดบูดู

ไก่กอและหรือไก่ฆอและ

การทำไก่กอและ ประวัติความเป็นมาของ ไก่กอและ (สูตรโบราณ) เป็นอาหารมลายู ปักษ์ใต้ คำว่า \"golek\" ในภาษามลายู หรือ ฆอและ หมายถึง กลิ้งก็คือการเอาไก่ไปกลิ้ง บนไฟ รสชาติของไก่กอและคือเนื้อไก่จะนุ่ม รสกลมกล่อม ด้วยเครื่องปรุงรับประทาน กับข้าวสวยไก่กอและสูตรโบราณนี้ ได้รับ การสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ไก่กอและสูตรโบราณ นี้จะเป็นสูตรเฉพาะเป็นของโบราณจริงๆ ไม่มีการเติมแต่งสี และกลิ่นลงไป นอกจาก วัสดุธรรมชาติเท่านั้น สมัยก่อนทำไก่กอและ รับประทานกับข้าวเหนียวใบพ้อ (ตูปะ) ข้าวหลาม ข้าวเหนียวและทำกินในวันสำคัญ โดยเฉพาะวันรายอ หรือวันจัดงานแต่งงาน เป็นต้น ที่สำคัญ การทำไก่กอและถ้าไม่มีไก่ สามารถทำกับปลา,หอย,กุ้ง,หมึก,ปู และ เนื้อก็ได้ จะมีรสชาติไปอีกแบบ ไก่กอและ หรือ ไก่ฆอและเป็นอาหารมลายูปักษ์ใต้ของไทย คำว่า\"golek\" ในภาษา มลายู หรือ ฆอและ หมายถึง กลิ้ง คงหมายถึงการเอาไก่ไปกลิ้งบนไฟ การราดน้ำกระทิปรุงรส มาราดบนตัวไก่แล้วย่างไฟ เมนูไก่กอและเป็นอาหารที่ชาวมุสลิมแถบชายแดนใต้ของไทยทำรับ ประทานกัน โดยเฉพาะที่ปัตตานีจะมีชื่อเสียงมาก บางแห่งจะทำไก่ฆอและขายคู่กับข้าวหลาม ด้วย ไก่กอและในภาษามลายูปัตตานีจะอ่านว่า \"อาแยฆอและ\" คำว่า อาแย (Ayam) แปลว่า ไก่ ฆอและ (Golek) แปลว่า กลิ้ง อาแยฆอและ จึงแปลว่า ไก่กลิ้ง ก็น่าจะหมายถึงการย่าง เพราะต้องคอยพลิกกลับไปมา นอกจากจะใช้ไก่ทำแล้ว ยังสามารถใช้เนื้อสัตว์อื่น ๆ ทำได้ ถ้า ใช้หอยแครงสดทำ เรียกว่า \"กือเปาะห์ฆอและ\" ใช้ปลาทำ เรียกว่า \"อีแกฆอและ\" ถ้าใช้เนื้อทำ เรียกว่า \"ดาฆิงฆอและ\"

ซอเลาะลาดอ

ซอเลาะลาดอ แปลว่า พริกยัดไส้ เป็นอาหารพื้นถิ่น ของทางภาคใต้ ตอนล่างเกิดจากการนำวัตถุดิบประจำ ถิ่นที่หาได้ง่ายอย่าง มะพร้าว พริกหยวก และปลาทู มาประกอบอาหารที่ให้รสชาตที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว วิธีทำซอเลาะลาดอ เริ่มจากการไส้โดยนำ เนื้อปลาทูนึ่งโขลกรวมกับหัวแดง,กระเทียม, พริกไทย,และเนื้อมะพร้าวขูด,จนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำมานวดกับไข่ไก่ จนเข้ากันดี อีกครั้งหนึ่ง นำพริกกยวกมาผ่ากลางเอาเมล็ดออกล้างให้สะอาด แล้วนำไส้ที่ทำไว้ยัดใส่ตรงกลางพริกหยวกให้แน่น น้ำกะทิตั้งไฟจนเดือดปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว และเกลือ นำพริกหยวกที่ยัดไส้ไว้ใส่ลงในน้ำกะทิ เคี่ยวจนพริกสุกใส เป็นอันเสร็จ บางบ้านอาจใช้วิธี น้ำพริกหยวกที่ยัดไส้แล้วนำไปย่างหรือทอด แทนการเคี่ยวในน้ำกะทิก็ได้

ซาเต๊ะ

สะเต๊ะ เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบาง ๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อม เครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด เชื่อกันว่าสะเต๊กรูปแบบแรกมีที่มาจากอาหารชวา วิธีการปรุง สะเต๊ะ (ข้าวอัด) เป็นอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อ ถ้ามา3 จังหวัดชานแดนใต้ต้องได้รับประทาน สะเต๊ะ (ข้าวอัด) ถึงจะรู้ว่ารสชาติอร่อยและหาทานที่อื่นไม่ได้ สะเต๊ะ (ข้าวอัด) แบ่งการปรุงเป็นสามส่วน คือ 1. ส่วนของข้าว ในส่วนของการเตรียมข้าวมีวิธีการปรุงโดยการเอาข้าวสารเจ้าผสมกับน้ำต้ม แบบต้มข้าวต้ม เมื่อเดือดให้กวนจนข้าวแตกค่อนข้างละเอียด และกวนจนข้าวสุกน้ำแห้ง จาก นั้นนำไปห่อผ้าขาว (ใช้ผ้าขาวที่เตรียมไว้เฉพาะ) ตั้งทับเอาไว้จนเนื้อข้าวแห้งจัดกันเป็นก้อน 2. ส่วนของเนื้อ เลือกเนื้อสันสวย ๆ ล้างให้สะอาดและหั่นเป็นชิ้นเล็ก (เสียบกับไม้ลูกชิ้น) จากนั้นนำไปหมักกับซีอิ๋วขาว ตะไคร้ คลุกกับขมิ้นผงนิดหน่อย หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-5 ชั่วโมง แล้วนำไปเสียบย่างไฟ (ย่างไฟเมื่อจะรับประทาน) 3. ส่วนที่เป็นน้ำแกง ใช้น้ำกะทิผสมกับพริกแดง หอม กระเทียม ที่ตำละเอียด ตั้งบนเตาไฟเมื่อ น้ำกะทิเดือด ให้เติมน้ำมะขามเปียก และเครื่องปรุงรสต่าง ๆ พร้อมกับถั่วลิสงที่ตำพอละเอียด จากนั้นตั้งบนเตาเคี่ยวต่อไปจนแตกมัน จึงยกลงจากเตาไฟ เมื่อรับประทาน เมื่อจะรับประทานให้นำส่วนของข้าวมาหั่นเป็นชิ้นพอคำ ใส่จานราดน้ำแกง รับประทานกับเนื้อย่างร้อน ๆ

น้ำกระเจี๊ยบ

สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่าผักเก็งเค็ง, ส้มเก่งเค็ง, ส้มตะเลงเครงอีสาน), มีถิ่นกำเนิดในประเทศ ซูดาน อินเดีย มาเลเซียและประเทศไทย โดยในประเทศไทย มีแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ จังหวัดลพบุรี, สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรีและฉะเชิงเทรา จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ ๕๐-๑๘๐ เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้าน มีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ ๓ แฉก หรือ ๕ แฉกใบเว้าลึก หรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูป เรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและ ความยาวใกล้เคียงกันประมาณ ๘-๑๕ ซ.ม. และก้านใบมี ความยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่า คือสีม่วงแดงดอกมีเกสร ตัวผู้ เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้นมีริ้วประดับเรียวยาว ปลายแหลมมี ๘ - ๑๒ กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน ออกหุ้มเมล็ดไว้มีสีแดงเข้ม และหักง่าย เมื่อดอกบานเต็ม ที่ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะของ ผลเป็นรูปวงที่มีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น ๕ แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ ๓๐-๓๕ เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสี แดง น้ำหุ้มผลอยู่เราจะเรียกส่วนนี้ว่า กลีบกระเจี๊ยบหรือ กลีบรองดอก (CALYX) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่า เป็นดอกระเจี๊ยบนั่นเอก

ซัมบูซะ

ซัมบูซะ ซัมบูซะหรือซัมซะเป็นขนมพื้นบ้านที่คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นิยมรับ ประทานเป็นขนมหวานในสมัยอดีตนั้นขนมซัมบูซะเป็นขนมที่หารับประทานได้ ยากเนื่องจากนิยมทำกันเฉพาะในวันสำคัญเท่านั้นเช่นวันถือศีลอดในเดือนรอม ฎอน แต่ในปัจจุบันขนมซัมบูชะสามารถหาซื้อรับประทานได้ในตลาดโดยเฉพาะ ในพื้นที่จังหวัดยะลามีลักษณะคล้ายขนมปอเปี๊ยะทอดหรือกะหรี่พัฟรูปลักษณ์ ภายนอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ประกอบด้วย ๒ ส่วนคือไส้ขนมและแป้งห่อขนม ทำให้สุกด้วยการนำลงทอดในน้ำมัน

ขนมดอกไม้ หรือ “ตือปงบูงอ”

ขนมดอกไม้ หรือที่ชาวบ้านเรียกในท้องถิ่นว่า “ตือปงบูงอ” เป็นขนมหวานที่ชาวบ้านในท้อง ถิ่นนิยมทำรับประทานในช่วงเดือนถือศีลอด (เดือนรอมฎอน) เป็นขนมหวานที่ทำง่าย สามารถทำ เองในครอบครัว หรือ สามารถหาซื้อได้ในเดือนถือศีลอด ขนมดอกไม้จะรับประทานโดยจิ้มกับน้ำ เชื่อมที่หวาน อร่อย ชื่นใจ เครื่องปรุงที่ใช้ในการทำขนมดอกไม้ ประกอบด้วย -แป้งข้าวเหนียว -แป้งข้าวเจ้า -น้ำ -ไข่ไก่ -น้ำมันพืช -น้ำตาลทราย -น้ำตาลปี๊บ วิธีทำ ผสมแป้งข้าวเหนียวและแป้งข้าวเจ้า และใส่น้ำพร้อมนวดเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ กดให้แบนเล็กน้อย ชุบไข่แล้วนำไปทอดน้ำมันร้อน ทอดจนสุกเหลือง ตักขึ้น การทำน้ำเชื่อมโดยเคี่ยวน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำ เคี่ยวจนข้นเหนียว

รอเยาะ

รอเยาะ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งมีคุณค่าทางอาหาร ลักษณะเช่นเดียวกับสลัด เส้นหมี่ลวก เต้าหู้ทอด และกุ้งชุบแป้งทอดนั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กขนาดนิ้วมือ ถั่วงอก แตงกวาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ผักบุ้งลวกหั่นเป็นชิ้นเล็กและไข่ต้ม รอเยาะหรือเต้าขั้วประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์เรียกว่า โรจะอินโดนีเซียเรียกว่า รูจะก์ เป็นประเภทหนึ่งในอาหารมาเลย์และอินโดนีเซีย น้ำยำทำจากกะปิ เกี่ยวกับน้ำตาลโตนด น้ำมะขามเปียก พริก มีรสหวานโรยถั่วลิสงในพิธีครรภ์เจ็ดเดือนในเกาะชวาจะมีรอเยาะ เป็นอาหารสำคัญในพิธีและใช้เสี่ยงทายเพศทารกถ้าหญิงมีครรภ์ชอบรอเยาะหวานทารก จะเป็นผู้หญิงถ้าชอบรสเผ็ดจะเป็นผู้ชายในภาคใต้ของประเทศไทยมีอาหารชนิดนี้เช่นกัน ในจังหวัดยะลาเรียกว่ารอเยาะสงขลาเรียกว่าเต้าขั้วหรือสลัดทะเลสาบ, สุราษฎร์ธานีเรียก ว่าผักบุ้งไต่ราว, ภูเก็ตเรียกว่าอูแซ่, และสตูลเรียกว่าปัสมอส

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ ขนมถั่วแปบ เป็นขนมพื้นบ้านที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดี มีคุณค่าทางโภชนาการ สูง เพราะมีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่มีโปรตีนสูง มีแป้งมะพร้าวงา และ น้ำตาลที่ให้พลังงานสูง เหมาะที่จะเป็นอาหารยามว่าง ตอนบ่ายของเด็ก ๆ มี รสชาติเป็นที่ถูกใจ ถั่วเขียวเป็นธัญพืชที่มีเส้นกากใยในตัว ทำให้ระบบขับถ่ายเป็น ปกติ ส่วนงาที่ใช้ให้ไขมัน ที่ประโยชน์ต่อเส้นผม ทำให้ผมดขลับเงางามไม่หงอก ขาวง่าย ถ้ารับประทานกันเป็นประจำ ถั่วแปบเป็นขนมไทยอีกชนิดหนึ่ง ที่ยังพอ หาทานได้ทั่วไป

ขนมอาแป

ขนมอาแป เป็นขนมที่มีความนิยมมากในสมัยโบราณของชาวมุสลิม เป็นขนมที่ไว้ กินเล่น และยังสามารถใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา เช่น ในงานศพ งานแต่งงาน งานเข้าสุนัต ขนมอาแปนำมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อาทิเช่น เมื่อมีคนเสียชีวิต เป็นเวลา ๗ วัน ญาติของผู้เสียชีวิตจะช่วยทำขนมอาแปเป็นจำนวนมาก โดยนำขนม อาแปมาจัดใส่จากพร้อมห่อด้วยกระดษาสีต่าง ๆ แล้วบริจาคให้แก่คนที่มางานศพ และคนที่อ่านคัมภีร์อัลกุรอานอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต

ขนมหัวมันหน้ ากะทิ

ขนมมันสำปะหลัง ชาวบ้านเขาเรียกว่า ขนมหัวมัน เพราะสมัยก่อนชาวบ้านปลูกมันเยอะ มาก ขายก็ไม่ค่อยได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาจะปลูกมันเกือบทุกบ้าน ชาวบ้านก็เลยคิดค้น ลองทำหัวมันมาเป็นขนมหวาน พอทำให้ชาวบ้านมาลองชิมทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อร่อย ก็เลยทำขายจนถึงปัจจุบันนี้ เขาทำขายกันที่ตลาดเช้าต่าง ๆ มีทั่วทุกตลาดก็ว่าได้ เป็นขนมพื้นบ้านที่ทำกันมา แต่โบร่ำโบราณ เพราะมันเป็นสิ่งที่ชาวบ้านเขาปลูกไว้แถว ๆ ริมรั้วบ้านหรือแถว ๆ สวนหลังบ้านไม่ต้องดูแลมากถอนปีละครั้ง ก่อนน้ำท่วม นอกจากที่นำ มาต้มเกลือกินแล้ว นำมาเชื่อมก็ได้นำมาทำขนมหัวมันก็ได้ แกงก็ได้ ทำลูกเห็ดทอด หรือทำ ขนมนึ่งกินกับมะพร้าวคลุก แล้วแต่บรรยากาศที่จะทำกินกัน





ผ้าปะลางิง

' ผ้ า ป ะ ล า งิ ง ' ภู มิ ปั ญ ญ า ท้ อ ง ถิ่ น ข อ ง ช า ว บ้ า น ใ น จั ง ห วั ด ย ะ ล า ผ้าทอพื้นบ้านปะลางิง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านในจังหวัดยะลา ในอดีตนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม โพกศีรษะหรือนำมาคาดเอว อีกนัยหนึ่งเพื่อบอกสถานะทางสังคม หากเป็นชนชั้นขุนนาง ผ้าปะลางิงที่ใช้จะถักทอ ด้วยไหมแท้ทั้งหมด ส่วนสีจะพิมพ์ทับด้วยทองลวดลาย การเย็บการตกแต่งด้วยแล่งเงินแล่งทอง ให้ดูสมฐานะ แต่ใน กลุ่มชาวบ้านใช้เป็นผ้าฝ้ายผ้าชนิดนี้ถูกค้นพบว่า มีการใช้จริงตามหลักฐานทางภาพถ่าย ในหอจดหมายเหตุ ในปี 2472 เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส จ.ปัตตานี โดยชาวบ้านที่มารอรับเสด็จได้แต่ง กายด้วยผ้าปะลางิง หลังจากนั้นผ้าพื้นบ้านชนิดนี้ได้เลือนหายไปกว่า 80 ปี ผ้ า โ บ ร า ณ ที่ ใ ช้ แ ก ะ ล ว ด ล า ย เ พื่ อ ฟื้ น ฟู ขึ้ น อี ก ค รั้ ง ผ้าปะลางิง เกิดขึ้นเมื่อ ปิยะ สุวรรณพฤกษ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มศรียะลาบาติก ได้ศึกษาค้นคว้าและถักทอผ้าปะ ลางิงขึ้น 2 ผืน เป็นลายผ้าจวนตานี ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จ.กรุงเทพฯ พร้อมตัว แม่พิมพ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มศรียะลาบาติกผู้นี้ยังได้ผลิตผ้าปะลางิงลายโบราณต่างๆ จำนวน 32 ผืน แต่น่าเสียดายหลังจาก นั้นผ้าทั้งหมดตกอยู่ในมือของชาวต่างชาติ ผืนผ้าปะลางิงให้กลับมาอีกครั้งยังไม่หยุดเท่านี้ นายปิยะ สุวรรณพฤกษ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มศรียะลาบาติกและเจ้าของ ผลิตภัณฑ์ผ้าปะลางิง หลังเรียนจบตนทำงานออกแบบอยู่ที่กรุงเทพฯ จนกระทั่งมีเหตุการณ์ทำให้กลับบ้านเกิด อ.เมือง จ.ยะลา ได้พบผ้าเก่าของยาย เป็นผ้าปะลางิงลายโบราณ สัมผัสแล้วรู้สึกได้ถึงความแตกต่างจากผ้าทอภาคใต้ทั่วไป ทำให้ตนได้เริ่มศึกษาความเป็นมา รวมถึงกระบวนการทำลวดลายต่างๆ ของผ้าชนิดนี้ ยิ่งมาพบภาพโบราณปี 2472 ทำให้ตนไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมทั้งจากหอสมุดและผู้รู้ลายผ้าโบราณ ระยะเวลากว่า 8 ปี นับตั้งแต่ ปี 2552 ทำให้ตน เกิดความตั้งใจและมุ่งมั่นในฟื้นฟูและอนุรักษ์ พร้อมกับประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ด้วย ลายของผ้าปะลางิง กระบวนการทำผ้าปะลางิงมีความซับซ้อนและขั้นตอนยากกว่าผ้าบาติก ทั้งการทอ การพิมพ์ลาย การมัดย้อม หรือแม้กระทั่งการสร้างบล็อกไม้พิมพ์ เหมือนรวบรวมเทคนิคการทำผ้าของภาคใต้มาอยู่ในผ้าหนึ่งผืนนับว่าเป็น เอกลักษณ์ของผ้าผืนนี้ ลวดลายของผ้าปะลางิง แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตใต้ เช่น ลายจากกระเบื้องโบราณ ลายจากช่องลมตามสถาปัตยกรรมเก่า ลายจากแม่พิมพ์ขนมโบราณ ลายการละเล่นว่าวหรือการแกะลายผ้าโบราณ ต่างๆ นอกจากนี้มีลวดลายที่ถูกพัฒนาขึ้นอีกกว่า 200 ลาย

ผ้ า บ า ติ ก

ผ้ า บ า ติ ก ภู มิ ปั ญ ญ า ท้ อ ง ถิ่ น ช า ว บ้ า น จั ง ห วั ด ย ะ ล า ผ้าบาติก เป็นเอกลักษณ์ในจังหวัดยะลา ที่มีมาอย่างยาวนานเป็น 100 ปี เราจึงนำวิธี การโบราณ ทั้งพิมพ์จากบล็อกทองเหลือง และงานเขียนมือและบล็อกเป็นสื่อผสมผสานเพื่อให้ ออกมาเป็นลวดลายที่ร่วมสมัย และแบบประยุกต์ขึ้นมา ทำให้เกิดลวดลายต่าง ๆ ขึ้นมา ต้นแบบมีทั้งผ้านุ่ง ผ้าถุง หรือผ้าตัดเสื้อก็ได้ แต่เมื่อมาทำลายประยุกต์ก็อาจจะทำเป็นผ้าสำหรับ ตัดเสื้อ ชุดแฟชั่น หรือทำกระเป๋า ปกหนังสือปกสมุด หรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถ แปรรูปได้จากลายผ้า” ก า ร นำ ล า ย ผ้ า พ ร ะ ร า ช ท า น ป ร ะ ยุ ก ต์ ร่ว ม บ า ติ ก เ ขี ย น มื อ น.ส.ดาริน ดวงเต็ม ประธานกลุ่มเก๋บาติก จ.ยะลา ซึ่งเป็น กลุ่มทำผ้าบาติก 1 ใน 4 กลุ่มของ จ.ยะลา ที่ได้รับพระราชทาน ลายผ้าพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ผู้ที่ออกแบบลายผ้าพระราชทาน ชื่อลาย “ผ้ามัดหหมี่ลายของเจ้าฟ้าหญิงสิริวัณณวรีฯ”รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับการคัดเลือก จากสำนักงานพัฒนาชุมชน จ.ยะลา ซึ่งได้เดินทางไปออกบูทแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกที่เมืองทองธานี จนได้รับ พระราชกรุณาธิคุณ ได้รับลายผ้าพระราชทานดังกล่าว น.ส.ดารินดวงเต็ม กล่าวอีกว่า ตนเองได้ตั้งใจ ที่จะนำลายผ้าพระราชทานต้นแบบ มาพัฒนา และประยุกต์ ซึ่งลายผ้าพระราชทานมีความหมายในลายผ้าเริ่มต้นจากตัว “ขอ” หรือตัว “S” หมายถึง “พระนามของพระองค์ท่าน”มี 10 แถว หมายถึง “รัชกาลที่ 10” และ“ลายรูปหัวใจ”สื่อให้เห็นถึงความรักที่มีต่อ ประชาชนของพระองค์ “ทั้งนี้ ลายต้นแบบมีทั้งผ้านุ่ง ผ้าถุง หรือผ้าตัดเสื้อก็ได้ แต่เมื่อมาทำลายประยุกต์ก็อาจจะทำ เป็นผ้าสำหรับตัดเสื้อ ชุดแฟชั่น หรือทำกระเป๋า ปกหนังสือ ปกสมุด หรือผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ที่ สามารถแปรรูปได้จากลายผ้า”

ผ้ า ป า เ ต๊ ะ

ผ้ า ป า เ ต๊ ะ ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของชายแดนใต้ ผ้าปาเต๊ะ เป็นเครื่องนุ่งห่มอันเป็นเอกลักษณ์ของชายหญิงแดนใต้ ด้วยสีสันและลวดลาย ที่สดใสสวยงาม บ่งบอกถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างดี ซึ่งการวาดลวดลายจะไม่ แตกต่างกับผ้าบาติกมากนัก แต่ผ้าปาเต๊ะ มีลวดลายที่ประณีตซับซ้อนกว่า และมีมากกว่าสอง ลายขึ้นไปบนผ้าผืนเดียว จึงทำให้ผ้าปาเต๊ะมีความโดดเด่นสะดุดตา การแต่งกายด้วยผ้าปาเต๊ะ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแหลมมาลายู สืบเนื่องมาจากการติดต่อค้าขายในอดีต แต่ปัจจุบันได้มี การนำผ้าปาเต๊ะมาประยุกต์ใช้ให้มีความหลากหลาย ทั้งกระเป๋า เสื้อผ้า ผ้าพันคอ และอื่นๆ กลุ่มสตรีจาเราะกางา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจาก ทางเทศบาลเมืองเบตง ที่ได้ส่งเสริมความรู้และทักษะด้านอาชีพการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าปาเต๊ะ ให้กับกลุ่มอาชีพจาเราะกางา เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพ เป็นการเพิ่ม รายได้ และลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรี จาเราะกางา ใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์ ร่วมกันพัฒนาก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน พึ่งพาตนเองตลอดจนมี การดำเนินชีวิตบนพื้นฐาน แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้นำผ้าปาเต๊ะมาเป็นวัตถุดิบ หลักในการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าผ้า,หมวก,พวงกุญแจ,แมส ฯล เนื่องจาก เป็นผ้าปาเต๊ะมีลวดลายสวยงามอยู่ในตัว และนำมาออกแบบให้ทันสมัย สามารถนำมาใช้ใน ชีวิตประจำวันได้



ผ้ามัดย้อมสี มายา “ ผ้ า สี ม า ย า ” ก ลุ่ ม ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ผ้้ า สี ม า ย า บ้านหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จ า ก ดิ น แ ล ะ ภ า พ สร้างแนวคิดใหม่ นำดินมายา ม า ย้ อ ม สี ผ้ า เ กิ ด เ ป็ น ผ้ า สี ม า ย า ว า ด ฝ า ผ นั ง ถ้ำ เ อ ก ลั ก ษ ณ์ เ ฉ พ า ะ ถิ่ น ผ้ า ข อ ง ค น ยะลา และเป็นผ้าที่มีที่เดียวใน อ า ยุ พั น ปี สู่ ประเทศไทย ล ว ด ล า ย บ น ผื น ผ้ า “ผ้าสีมายา” มีความเป็นมาคือ การนำเอาดินที่อยู่ภายในถ้ำภูเขา กำปั่น และภูเขาวัดถ้ำ ซึ่งเป็นดินลักษณะเฉพาะที่ชาวบ้านใช้เป็นปุ๋ยใน ค ว า ม ภู มิ ใ จ ช า ว การเพาะปลูกต้นไม้ โดยจะทำให้ต้นไม้นั้น มีความเจริญงอกงามที่ดีมาก แต่ในช่วงระยะหลังๆ การนำเอาดินมายามาทำเป็นปุ๋ยได้ลดน้อยลงชาว ยะลา บ้านจึงได้ช่วยกันคิดและนำเอาดินมายามาทำประโยชน์ให้มากกว่านี้ จึง ได้แนวคิดในการนำเอาดินมายามาทำเป็นสีย้อมผ้า โดยเอาดินมายามาทำ ลวดลายของผ้ามัดย้อมสีมายา เป็นสี เนื่องจากเคยสังเกตพบว่า หากเสื้อเลอะดินมายาแล้วจะล้างออก ทั้งหมด 8 แบบ คือ ยาก เลยมีความคิดว่าน่าจะเอามาทำสีย้อมเสื้อขาวได้ เพื่อให้เกิดเป็น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนในพื้นที่ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจาก 1.ลายใยแมงมุม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในการนำเอาดินมายาดังกล่าวไปตรวจสอบ 2.ลายปล้องไผ่ พบว่า สามารถจะนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าได้จริงๆ 3.ลายดอกทานตะวัน 4.ลายข้าวหลามตัด ดินมายามีความพิเศษคือ เป็นดินที่ผสมกับมูล หรือขี้ค้างคาวทับถม 5.ลายดอกพิกุล กันมาเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปี และมีอยู่ที่เดียวในจังหวัดยะลา คือ 6.ลายขดลวด ที่บ้านหน้าถ้ำ จ.ยะลา 7.ลายริ้วทอง และ 8.เป็นลายภาพเขียนบนผนัง ภายในถ้ำ ซึ่งเป็นภาพเขียนสอง ยุค 2 สมัย คือ สมัยศรีวิชัย ประมาณ 2 พันปี และยุคก่อน ประวัติศาสตร์ แต่ละภาพมีอายุ มากกว่า 3 พันปี ซึ่งถือเป็นสิ่ง ล้ำค่า และความภาคภูมิใจของ ชาวบ้าน ต.หน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา





เทศกาลประเพณี ชักพระ

เทศกาลประเพณี ชักพระ ประเพณีชักพระ เป็นวัฒนธรรม ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีที่พราหมณ์ศาสนิกชน อันดีงามของท้องถิ่นร่วมกันแสดงออก ถึงคุณธรรม ความรัก ความรักความ และพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ สันนิฐานว่า สามัคคีในหมู่คณะรวมทั้งเป็นการเสริม ประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรก ในประเทศอินเดียตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ สร้าง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วย ที่นิยมนำเอาเทวรูปออกแห่แหนในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแห่เทวรูป งานของรัฐภาคเอกชน ชุมชน และวัด พระอิศวร เทวรูปพระนารายณ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธมาก ยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ คือ ชุมนุมเรือพระ, ประกวดเรือพระ, พิธี สมโภชเรือพระ การประกวดขบวนแห่ เรือพระ การแข่งขันตีโพน การแข่งขัน กลองยาว การแข่งขันแทงต้น ซัดต้ม การแข่งขันขูดมะพร้าว, การแข่งขัน กีฬาพื้นบ้าน นิทรรศการอาหารและ ขนมพื้นบ้านการแสดงของนักเรียนการ แข่งขันเต้นบาสโลบการแสดงมหรสพ และการแสดงธรรมเทศนาทุกคืน โดยมี เรือพระในพื้นที และ จังหวัดใกล้เคียง ลากพระหรือชักพระ เป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนากระทำหลังจากวันมหา ปวารณาหรือวันออกพรรษา ๑ วัน ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยพุทธศานา สนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่ เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อน แล้วแห่แหนชักลากไปตามลำน้ำหรือตามถนนหนทาง ถ้าท้องถิ่นใน อยู่ริมน้ำหรือมีลำคลอง ก็ลากพระทางน้ำ ถ้าห่างไกลลำคลองก็ลากพระทางบก แล้ว แต่สภาพภูมิประเทศเหมาะแก่การลากประเภทไหน ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนแตกเติมต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง มีการ ตั้งหีบรับเงินอนุโมทนา มีเครื่องขยายเสียงเชิญชวน บางท้องถิ่นจัดงานบันเทิงอื่น ๆ ประกอบมีการประกวดนางงาม งานลากพระก็มีประชาชนที่อยู่ใกล้ตลาดนิยมซื้อต้ม จากตลาดแทนการทำเองก็มีมากขึ้น ปรากฏการณ์ทำนองนี้พบมากขึ้นในประเพณีพื้น เมืองทุกอย่างและทุกท้องถิ่น

งานมหกรรมแข่งขัน นกเขาชวาอาเซียน

งานมหกรรมแข่งขัน นกเขาชวาอาเซียน ยะลาเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่างที่นิยมเสียงของ นกเขาและยังเชื่อว่านกเขาเป็นสัตว์มงคล ที่จะนำโชคลาภมาให้ แก่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากเป็นนกเขาที่มีลักษณะถูกต้อง ตามตำรา ด้วยเหตุนี้ทางเทศบาลเมืองยะลาร่วมกับชมรมผู้เลี้ยง นกเขาชวาจังหวัดยะลา จึงจัดให้มีการแข่งขันนกเขาชวาเสียง ชิงแชมป์อาเซี่ยน ครั้งที่ ๑ ขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี ๒๕๒๙ ต่อ มาได้จัดเป็นงานเทศกาลประจำปีของจังหวัดยะลา ณ บริเวณ สนามสวนขวัญเมือง กำหนดการจัดงานคือ เสาร์ – อาทิตย์ แรกของเดือนมีนาคมทุกปี ผลปรากฏเป็นที่นิยมของผู้ที่เลี้ยง นกเขาจากทั่วภูมิภาคของประเทศไทยและประเทศในกลุ่ม อาเซียน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย ในการแข่งขันได้แบ่งระดับเสียง ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับ เสียงเล็ก ระดับเสียงกลาง และระดับเสียงใหญ่ ปัจจุบันเทศบาลนครยะลาร่วมกับชมรมนกเขาชวา เสียงจังหวัดยะลาและกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นผู้จัดการแข่งขัน นอกจากมีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงแล้วยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การชนโค ชนแกะ ชนไก่ ตกปลา และจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์การเลี้ยงนกเขาชวาทุกชนิด

ง า น ส ม โ ภ ช ห ลั ก เ มื อ ง ย ะ ล า


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook