Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือ_พัฒนาทักษะสมอง_EF_สำหรับครูปฐมวัย

คู่มือ_พัฒนาทักษะสมอง_EF_สำหรับครูปฐมวัย

Published by Chalermkiat Deesom, 2020-05-10 02:08:16

Description: คู่มือ_พัฒนาทักษะสมอง_EF_สำหรับครูปฐมวัย

Search

Read the Text Version

5. วิธีการใดที่ไม่ใช่วินัยเชิงบวกและยับยั้งพัฒนาการ ทกั ษะสมอง EF เนื่องจากการสร้างวินัยเชิงบวกเป็นแนวความคิดที่เป็นนามธรรม อธิบาย กวา้ งๆ เพอ่ื ไมใ่ หต้ ายตวั แตส่ ามารถยดื หยนุ่ ปรบั เปลยี่ นไดไ้ ปตามแตล่ ะสถานการณ ์ เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพฤติกรรมมนุษย์แล้ว ย่อมต้องมีความหลากหลาย ลึกซึ้ง และสลับซับซ้อน พฤติกรรมหน่ึงๆ ท่ีเกิดขึ้นน้ัน ถึงแม้จะเป็นพฤติกรรมเดียวกัน ก็อาจจะมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน และต้องการการตอบสนองท่ีแตกต่างกัน ออกไปก็ได้ ดังน้ันหากว่าเป็นหลักการตายตัวจะไม่สามารถน�ำไปใช้กับทุก สถานการณ์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าหลักการสร้างวินัยเชิงบวกจะมีข้อดี คือ มีความ ยืดหยุ่น สามารถน�ำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละคนได้ แต่ข้อควร ระวังก็คือ หากน�ำหลักการสร้างวินัยเชิงบวกไปใช้ด้วยความไม่เข้าใจ ใช้ผิดวิธี หรือเข้าใจผิด คิดว่าวิธีการที่ใช้อยู่เป็นหลักการสร้างวินัยเชิงบวก ก็จะสามารถ ยับยั้งพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้เช่นเดียวกับวิธีการสร้างวินัยเชิงลบเลยทีเดียว ดังนั้นในส่วนน้ีจึงได้น�ำวิธีการสอนที่ไม่ถือว่าเป็นหลักการสร้างวินัยเชิงบวก มาแสดงไว้เป็นตัวอย่าง พร้อมทั้งอธิบายวิธีการตรวจสอบว่าวิธีการนั้นเป็น วิธีการที่ตรงตามหลักการสร้างวินัยเชิงบวกหรือไม่ โดยการใช้โมเดล 5 T ของ ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ในการวิเคราะห์เพ่ือความกระจ่าง และสามารถ นำ� หลักการสร้างวนิ ัยเชิงบวกไปใช้ด้วยความเข้าใจ 151

Time Out การ Time Out เด็ก คือการจับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมแยกออกไป จากกลุ่มและให้นั่งอยู่คนเดียว อาจจะให้น่ังที่มุมห้อง หรือจัดสถานท่ีเฉพาะ เอาไว้ เพื่อให้ส�ำนึกผิด นั่งคิดว่าตนเองแสดงพฤติกรรมอะไรท่ีไม่เหมาะสมและ สงบสติอารมณ์ โดยมีการก�ำหนดเวลาว่าจะให้เด็กน่ังแยกอยู่คนเดียวกี่นาที เช่น “หนูผลักเพ่ือนล้ม ไปน่ัง Time Out 5 นาทีนะคะ แล้วค่อยกลับมาเม่ือครบ 5 นาทแี ลว้ ” ลองคิดดูว่า จะเกิดอะไรขึ้นเม่ือครบ 5 นาทีแล้วเด็กยังไม่สงบสติอารมณ์ หรือยงั ไม่ส�ำนึก ถา้ ใหเ้ ดก็ นง่ั สำ� นกึ ผดิ ตอ่ ไปอกี ครง้ั หนง่ึ กจ็ ะยงิ่ ทำ� ใหเ้ ดก็ รสู้ กึ ไมพ่ อใจมากขน้ึ และ กระตุ้นให้เด็กแสดงความก้าวร้าวหรือตัดสินใจท�ำพฤติกรรมท่ีผู้เล้ียงดูต้องการ เพราะกลัว แต่ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองและ ตัดสินใจท�ำพฤติกรรมท่เี หมาะสม Time Out 152

หากวเิ คราะหห์ ลกั การท�ำงานตาม Model 5 T พบว่า Time Out นนั้ • ไม่ได้มีการตั้งพฤติกรรมเป้าหมาย (Target Behavior) ซึ่งตามหลักการแล้ว จะต้องมีการก�ำหนดพฤติกรรมท่ีเหมาะสม เป็นพฤติกรรมท่ีผู้เลี้ยงดูสามารถ สอนเด็กให้ฝกึ ปฏิบัติได้ แตก่ ารให้ “เดก็ ส�ำนกึ ผิด” ไม่ใชพ่ ฤตกิ รรมท่ีเหมาะสม ท้ังยังเป็นการฝืนธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และเป็น “นามธรรม” ไม่ใช่เป็นพฤติกรรมท่ีผู้เลี้ยงดูสามารถสอนให้ฝึกปฏิบัติได้ เนื่องจากเด็กยัง ไม่สามารถส�ำนึกผิดได้ในขณะที่ตนเองก�ำลังมีความรู้สึกไม่ปลอดภัย นอกจากนั้นเด็กอาจใช้เป็นโอกาสในการท�ำผิดได้ เช่น ตั้งใจแกล้งเพื่อนแล้ว ขอครไู ปน่งั Time Out เพ่ือแสดงใหค้ รเู หน็ ว่าตนเองรสู้ กึ ผดิ • ไมม่ กี ารสอน (Teach) และขาดความเชอ่ื ใจ (Trust) ของผเู้ ลย้ี งดแู ละเดก็ ปฐมวยั Time Out จงึ ไม่ใช่การสรา้ งวนิ ยั เชิงบวก เพราะเปน็ การควบคุม ไม่ใช่การสร้าง วินัยเชิงบวก ไม่ใช่การสร้างแรงจูงใจเพ่ือให้เกิดจิตส�ำนึก และยังเป็นวิธีการ เลีย้ งดทู ีส่ ามารถยับย้งั พัฒนาการทักษะสมอง EF ของเดก็ ปฐมวัยอีกด้วย การสอนใน Model 5 T ต้องเป็นการส่ือสารอย่างมีประสิทธิภาพ คือการให้ ขอ้ มลู ทเี่ พยี งพอตอ่ การทำ� ความเขา้ ใจวา่ พฤตกิ รรมเปา้ หมายคอื อะไร และแสดงออก มาอย่างไร รวมถึงต้องเป็นการสื่อสารท่ีต้องตอบสนองความต้องการพ้ืนฐาน ทางจิตใจของเด็กไปพร้อมๆ กันด้วย เพ่ือจูงใจให้เด็กตัดสินใจและท�ำพฤติกรรม เปา้ หมายดว้ ยตวั ของเขาเอง แตก่ าร Time Out เดก็ เพอ่ื ใหส้ ำ� นกึ ผดิ เปน็ การสอื่ สาร ท่ีให้ข้อมูลไม่เพียงพอท่ีเด็กจะสร้างภาพการส�ำนึกผิดได้ ว่าคืออะไร และต้องคิด ต้องท�ำอย่างไร นอกจากนี้ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการพ้ืนฐานทาง จิตใจของเดก็ ได้อีกด้วย เพราะในขณะท่ีผเู้ ลยี้ งดตู อ้ งการใหเ้ ดก็ ไดไ้ ตร่ตรอง ส�ำรวจ พฤติกรรมของตนเองนั้น ผู้เลี้ยงดูกลับไปกระตุ้นสมองลิมบิคให้ท�ำงานด้วยการ ท�ำให้เด็กร้สู ึกไมป่ ลอดภยั ท�ำใหส้ ภาวะอารมณ์ของเดก็ ไมพ่ รอ้ มที่จะคิดได้ และที่ส�ำคัญ การเพ่ิมจ�ำนวนนาทีและจ�ำนวนครั้งท่ีให้เด็กนั่งส�ำนึกผิดก็เปรียบ เสมือนการลงโทษ เพราะเป็นการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่ท�ำให้เด็ก มคี วามรสู้ กึ โกรธอาย ไมพ่ งึ พอใจหรอื เสยี ใจเพม่ิ มากขน้ึ เปน็ การทำ� ลายความเชอื่ ใจ และฐานท่ีม่ันทางใจของเด็ก ซึ่งนอกจากจะเป็นการตัดโอกาสเด็กออกจากการ 153

ฝึกฝนทักษะสมอง EF ในการควบคุมก�ำกับตนเองจนเกิดเป็นวินัยในตนเองแล้ว (Internal Control) ยังเป็นการตัดโอกาสเด็กออกจากการส่ังสมประสบการณ์ ในการสร้างความผูกพันแบบปลอดภัยท่ีจะพัฒนาไปเป็นคุณภาพจิตใจของเขา อกี ดว้ ย แลว้ จะเกิดอะไรขึน้ หากผา่ นไปแค่ 2 นาที เดก็ เกดิ ความรู้สกึ ผิด แลว้ อยากกลบั เข้ากล่มุ หากอนุญาตให้กลับเข้ากลุ่มก็จะท�ำให้เด็กเรียนรู้ว่าค�ำพูดของผู้เล้ียงดูไม่ ศักดิ์สิทธ์ิ กลายเป็นวิธีการเล้ียงดูท่ียืดหยุ่นจนละเลยการสอน ส่งผลให้เด็กใช้เป็น โอกาสในการท�ำพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสมอีกได้ เช่น ตัดสินใจตีเพ่ือน เพราะรู้ว่า เม่อื ถกู Time Out กน่ี าทีก็ตามก็จะกลับเข้ากลมุ่ ไดเ้ มื่อบอกครวู ่าส�ำนึกผดิ แลว้ แต่หากครใู หส้ ำ� นกึ ผดิ ตอ่ จนครบ 5 นาที เด็กก็จะรู้สกึ วา่ เขาถกู ลงโทษทันที ไม่ว่าจะทางไหน ก็ผิดหลักการท�ำงานของการสร้างวินัยเชิงบวก ตาม Model 5 T ซึ่งจะไม่สามารถท�ำให้เด็กเกิดแรงจูงใจท่ีจะพัฒนาตนให้บรรลุเป้าหมาย พฤติกรรมได้ หลักการสร้างวินัยเชิงบวกตาม Model 5 T ท่ีน�ำมาใช้แทน Time Out คือ Time In หรอื การให้เวลาเดก็ อยกู่ บั ตัวเองโดยมเี ราแนะน�ำอยเู่ คยี งข้าง เพ่อื ช่วยให้ เขาจดั การกบั อารมณต์ วั เอง โดยการใชห้ ลกั การสอนวธิ กี ารจดั การอารมณ์ ผา่ นการ แสดงความเหน็ อกเห็นใจ เช่น “ครูเข้าใจว่าหนูไม่ชอบท่ีเพื่อนแซงคิว หนูเลยผลักเพ่ือนล้ม หนูพร้อมเม่ือไหร่ หนูไปขอโทษเพอื่ น และใชค้ ำ� พูดบอกเพ่ือนนะคะวา่ หนูรูส้ ึกอยา่ งไร” วิธีน้ีจะเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกทักษะสมอง EF โดยตรง เพราะเด็กจะเป็น คนควบคุมความพร้อมของตนเอง ไม่ใช่การก�ำหนดเวลา และที่ส�ำคัญคือ การแสดงความเข้าใจและการบอกชื่ออารมณ์นั้นๆ ยังเป็นการส่ือสารท่ีป้อน ข้อมูล และตอบสนองความต้องการพ้ืนฐานทางจิตใจของเด็กไปพร้อมๆ กัน ส่งผลให้เด็กสามารถน�ำข้อมูลเข้าไปช่วยผ่อนคลายอารมณ์ตนเอง และทักษะ สมอง EF สามารถควบคมุ การท�ำงานไดง้ ่ายขนึ้ อีกด้วย 154

Ignore หรอื การเพกิ เฉยต่อความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของเด็ก Ignore 155 การเพิกเฉยตอ่ ความต้องการพืน้ ฐานทางจิตใจของเด็ก คอื การปล่อยเด็กให้ทำ� พฤตกิ รรมไมเ่ หมาะสม และทำ� เปน็ ไมส่ นใจเดก็ แบบไมม่ หี ลกั เกณฑ์ ซง่ึ บางครง้ั อาจ จะเป็นการท�ำร้ายจิตใจของเด็กมากกว่าเป็นการสอนและฝึกฝนพฤติกรรมที่ เหมาะสม เพราะเม่ือเด็กไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ สิ่งเดียวท่ีเด็กจะสนใจเรียนรู้และจดจ�ำจากสถานการณ์น้ันก็คือ ความไม่มั่นคง ปลอดภัยท่ไี ด้รับจากผเู้ ลย้ี งดู ไมใ่ ชค่ วามหวังดที ี่ผู้เลยี้ งดูตอ้ งการสอน ผลก็คือ เด็กจะรู้สึกขาดความมั่นคง ไม่ปลอดภัย และจะแสดงความต้องการ ออกมาเป็นพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสม รูปแบบการเพิกเฉยต่อความต้องการพื้นฐาน ทางจติ ใจของเด็ก ได้แก่ • การบอกให้ท�ำโดยไม่มีค�ำอธิบาย เช่น “แม่ส่ังให้ท�ำ ก็ต้องท�ำ” “หนูต้อง แบง่ เพราะหนเู ปน็ พี”่ • การปลอ่ ยใหเ้ ดก็ อยใู่ นอารมณแ์ ละความรสู้ กึ ทไ่ี มด่ ี โดยไมม่ กี ารแสดงความเขา้ ใจ เช่น “อยากรอ้ ง ก็รอ้ งไปเลย” • การยุส่งพฤติกรรมที่สามารถท�ำร้ายจิตใจ ร่างกายและส่ิงของได้ เช่น “อยาก ร้องใช่ม้ัย ร้องให้ดังอีก ดังอีก” “บอกว่ามีดมันอันตราย ไม่ฟัง งั้นเอาไปถือ เลย” “อยากไป ง้นั ไปคนเดยี วเลย” อันท่ีจริงแล้ววิธีการเพิกเฉยหรือ ignore ตามเทคนิค 101s การสร้างวินัย เชงิ บวก (The 101s Principles of Positive Discipline) ของ ดร. แคธาลนี ซี เคอรซ์ ยี ์ ไดเ้ สนอวธิ กี ารเพกิ เฉยทน่ี า่ สนใจวา่ ผเู้ ลย้ี งดคู วรถามตวั เองวา่ พฤตกิ รรมทเ่ี รากำ� ลงั จะสอนนน้ั เปน็ พฤตกิ รรมทสี่ งั คมคาดหวงั และจำ� เปน็ ตอ้ งสอน หรอื เปน็ เพยี งพฤตกิ รรม ทร่ี บกวนใจผเู้ ลย้ี งดคู นเดยี วเทา่ นนั้ เชน่ เดก็ กำ� ลงั นงั่ กดปากกาเลน่ เดก็ ชอบดรู ายการ ทวี ที ่ีเราไม่ชอบ เดก็ อยากไดเ้ ส้อื ตวั หนงึ่ แตแ่ มซ่ ้อื อกี ตวั หน่ึงทแ่ี มช่ อบให้ เป็นต้น ดังน้ัน “การลองเพิกเฉยพฤตกิ รรมท่ีรบกวนใจผสู้ อนเพยี งคนเดยี วบ้าง จะชว่ ย เพม่ิ เวลาในการมองหาสงิ่ ดๆี เพอื่ ชมเดก็ ไดม้ ากขนึ้ ทำ� ใหบ้ รรยากาศและสมั พนั ธภาพ ดีข้ึนดว้ ย” (Katharine C. Kersey)

ส่วนพฤตกิ รรมทห่ี ้ามใช้วิธกี ารเพกิ เฉยเด็ดขาด ได้แก่ • พฤติกรรมท่เี ปน็ อนั ตรายตอ่ ตวั เด็ก คนอื่นและสงิ่ ของ • พฤติกรรมทท่ี ำ� รา้ ยจิตใจตวั เดก็ คนอ่นื และสิง่ ของ หลักการสร้างวินัยเชิงบวกท่ีสามารถน�ำมาใช้แทนการเพิกเฉยน้ัน มีหลายหลัก การโดยขนึ้ อยกู่ บั พฤตกิ รรมเปา้ หมาย แตห่ ลกั การหนง่ึ ทสี่ ามารถนำ� มาใชไ้ ดเ้ ลย คอื การสอนวิธีการจัดการอารมณ์ผ่านการแสดงความเห็นอกเห็นใจ เพื่อผ่อนคลาย อารมณใ์ หอ้ ยใู่ นระดบั ทที่ กั ษะสมอง EF สามารถควบคมุ การทำ� งานและตดั สนิ ใจทำ� พฤตกิ รรมเป้าหมายได้ 6. การสรา้ งวินยั เชิงบวกมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร หลังจากที่ศึกษาหลักการสร้างวินัยเชิงบวกไปแล้วว่าแต่ละหลักการใช้ อย่างไร และมเี ทคนคิ อะไรทเี่ ป็นกญุ แจสำ� คญั ท�ำใหเ้ ด็กๆ เกดิ การยอมรับ อยากให้ ความร่วมมือกับผู้เล้ียงดู ในส่วนนี้จะอธิบายเพิ่มเติมถึงแนวทางปฏิบัติว่าเม่ือ เลือกหลักการสร้างวินัยเชิงบวกได้แล้ว จะน�ำหลักการน้ันไปลงมือปฏิบัติอย่างไร ให้เกดิ ประสิทธภิ าพและประสิทธิผล กำ� หนดพฤติกรรมเป้าหมายกอ่ นสอนทกุ ครง้ั ก่อนที่จะพูดอะไร ต้องรู้ก่อนว่าพฤติกรรมที่ต้องการคืออะไร เพ่ือหลีกเล่ียง การหยดุ พฤตกิ รรมดว้ ยการหา้ ม การตอ่ วา่ การขม่ ขู่ ซงึ่ เปน็ การกระตนุ้ สญั ชาตญาณ การต่อต้านของเดก็ พฤติกรรมเปา้ หมายต้องชัดเจน และน�ำไปสู่เป้าหมายระยะยาว เป้าหมายระยะยาว คือ มีระเบียบวินัย พฤติกรรมเป้าหมายระยะสั้น คือการ สอนและฝึกฝนพฤติกรรมการกิน การนอน การดูแลตนเอง การช่วยเหลอื งานบ้าน 156

มีความอ่อนโยนและแน่วแน่ การสอนด้วยหลักการสร้างวินัยเชิงบวกจะต้องมีขอบเขตชัดเจนว่าอะไรควรท�ำ และไม่ควรท�ำ ถงึ แมว้ า่ เดก็ จะก�ำลังทดสอบขอบเขตว่าเขาสามารถแสดงพฤตกิ รรม เกนิ ขอบเขตไดม้ ากหรอื นอ้ ยแคไ่ หน ผเู้ ลยี้ งดกู จ็ ำ� เปน็ ตอ้ งมคี วามแนว่ แนใ่ นขอบเขต ของตนเอง แต่ไม่จ�ำเป็นต้องเผด็จการ บังคับให้เด็กอยู่ในขอบเขตทันที เช่น การ ทะเลาะกับเด็ก จนกว่าเด็กจะกินข้าวให้หมดจาน แต่ใช้ความอ่อนโยนในการให้ โอกาสเดก็ ไดเ้ รยี นรจู้ ากผลการตดั สนิ ใจของเขาได้ เชน่ หากเดก็ เลอื กทจ่ี ะไมก่ นิ ขา้ ว ก็เก็บข้าวทันทีเมื่อถึงเวลาเก็บ ให้เขาเรียนรู้ท่ีจะหิวและรอจนกว่าจะถึงเวลา กินขา้ วในมอื้ ต่อไป เปน็ คนกระท�ำ (Action) ไม่ใช่เปน็ คนตอบสนอง (Reaction) ผู้เล้ียงดูเด็กจ�ำเป็นจะต้องระลึกไว้เสมอว่า ต้องเป็นคนกระท�ำให้เด็กเกิด แรงจูงใจท่ีจะท�ำพฤติกรรมเป้าหมาย เช่น เม่ือเด็กโมโห พูดไม่เพราะใส่เรา เราจะ ตอ้ งรบี กำ� หนดพฤตกิ รรมเปา้ หมายวา่ จะใหเ้ ขาควบคมุ อารมณแ์ ละขอโทษ จงึ เลอื ก การแสดงความเข้าใจและรอให้เขาขอโทษเม่ือเขาพร้อม เป็นต้น ไม่ใช่เป็นคน ตอบสนองต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น เม่ือเด็กโมโหแล้วพูดไม่เพราะใส่เรา แล้วเรา หนั ไปต่อวา่ และแสดงความโกรธทนั ที ติดตามการสอนจนบรรลุพฤตกิ รรมเป้าหมายทกุ ครง้ั การสอนพฤติกรรมเป้าหมาย จ�ำเป็นจะต้องติดตามการสอนทุกคร้ังว่าเด็กท�ำ พฤติกรรมเป้าหมายส�ำเร็จหรือไม่ เช่น เมื่อสอนให้เด็กเก็บของเล่น ก็ต้องติดตาม ให้แนใ่ จว่าเมอ่ื เลน่ เสรจ็ แล้ว เด็กได้ลงมอื เกบ็ ของเล่นเข้าท่เี รยี บรอ้ ย ดงั ทไ่ี ดก้ ลา่ วมาแลว้ วา่ พฤตกิ รรมของมนษุ ยม์ คี วามหลากหลายและสลบั ซบั ซอ้ น จงึ จ�ำเปน็ อย่างยิ่งที่ผ้เู ลี้ยงดจู ะต้องเขา้ ใจทงั้ หลกั การสรา้ งวินยั เชงิ บวกและแนวทาง การน�ำหลักการไปปฏิบัติ เพราะหลักการสร้างวินัยเชิงบวกคือวิธีการใช้หลักการ น้ันๆ ให้ถูกต้อง แต่แนวทางปฏิบัติเป็นวิธีการน�ำหลักการนั้นไปใช้ให้ส�ำเร็จ เกิดประสทิ ธภิ าพและประสิทธผิ ลสูงที่สุด 157

หรือหากจะเปรียบเทียบให้หลักการสร้างวินัยเชิงบวกเป็นด่ังรถยนต์ที่สามารถ ไปรับและส่งเด็กให้ถึงจุดหมายได้แล้ว แนวทางปฏิบัติก็เปรียบได้กับเข็มทิศท่ีคอย นำ� ทางใหไ้ ปสจู่ ดุ หมายโดยสวสั ดภิ าพนน่ั เอง ดงั นนั้ การจะพาเดก็ คนหนงึ่ ไปใหถ้ งึ จดุ หมายปลายทาง ผเู้ ลย้ี งดจู ะขบั รถเปน็ เพยี งอยา่ งเดยี วไมไ่ ด้ แตต่ อ้ งรเู้ สน้ ทางทจี่ ะมงุ่ ไปส่จู ุดหมายปลายทางดว้ ย นอกจากปัจจัยทางพันธุกรรมแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ส�ำคัญต่อการส่งเสริม พัฒนาการทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยก็คือปัจจัยการเลี้ยงดู ในขณะที่ทักษะ สมอง EF ซง่ึ เปน็ ทกั ษะสำ� คญั มีหนา้ ที่ควบคุมความคดิ อารมณ์ และพฤติกรรม ยัง มีพัฒนาการจ�ำกัดในช่วงปฐมวัย เด็กต้องเรียนรู้พฤติกรรมท่ีเป็นบรรทัดฐานของ สังคม และฝึกฝนทักษะสมอง EF ของตนเอง ในการจัดการควบคุมความต้องการ อารมณ์ และความคิด ให้แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมท่ีถูกต้องเหมาะสม ซึ่งด้วย พัฒนาการท่ียังมีจ�ำกัดอยู่นี้ ท�ำให้การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF มีความ ทา้ ทายอย่ไู ม่นอ้ ย เดก็ จะเรยี นรู้และฝึกฝนตนเองใหม้ ีระเบียบวินยั ในตนเองและใน สังคมได้ส�ำเร็จ ต่อเมื่อผู้เล้ียงดูสามารถรักษาสมดุลระหว่างความต้องการของเด็ก ความคาดหวังของตนเอง และบรรทัดฐานของสังคมได้อย่างม่ันคง ต่อเนื่องและ ยาวนานเพยี งพอทเ่ี ด็กจะสามารถควบคมุ ตนเองได้ ดังน้ันการสร้างวินัยเชิงบวกจึงเป็นเคร่ืองมือท่ีจะช่วยให้พ่อแม่ ครูและผู้เลี้ยงดู สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจของเด็กไปพร้อมๆ กับการสอน และฝกึ ฝนทกั ษะสมอง EF ไดอ้ ยา่ งสอดคลอ้ งกบั ธรรมชาตกิ ารเรยี นรแู้ ละพฒั นาการ ของเด็กปฐมวัย ท�ำให้ม่ันใจได้ว่าวิธีการเล้ียงดูนั้นจะไม่ไปยับยั้งการเรียนรู้และ พฒั นาการของเดก็ แตช่ ว่ ยสง่ เสรมิ พฒั นาการทกั ษะสมอง EF ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ สูงสดุ 158

สรุป • วินัยเชิงบวก หมายถึงกระบวนการสอนและฝึกฝนพฤติกรรมท่ีเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเป็น กระบวนการควบคมุ ภายในตนเอง ซง่ึ ตอ้ งมกี ารสงั่ สมประสบการณแ์ ละฝกึ ฝนควบคมุ พฤตกิ รรมของตนเอง ใหไ้ ด้ จนเป็นทกั ษะ ลักษณะนิสยั และจิตสำ� นึก • วินัยเชิงบวก เป็นแนวทางการปลูกฝังจิตส�ำนึกสองเร่ืองที่ส�ำคัญต่อการพัฒนาและการด�ำรงชีวิตอย่าง ปกติสุข ไดแ้ ก่ การมวี นิ ัยในตนเองและความเห็นอกเห็นใจผู้อ่นื • วินัยเชิงบวก เปน็ เครื่องมอื สำ� คัญที่จะท�ำให้เด็กไดพ้ ฒั นาทกั ษะสมอง EF ทอ่ี ยูบ่ นพืน้ ฐานความสัมพนั ธ์ที่ดี ระหว่างผู้ใหญ่กบั เดก็ • การลงโทษ การใช้คำ� พูดทที่ �ำร้ายจติ ใจ ร่างกาย ไม่ยอมรบั ฟังความตอ้ งการและความคิดเห็นของเดก็ ล้วน เปน็ วธิ กี ารทล่ี ดิ รอนสทิ ธขิ องเดก็ ลดคณุ คา่ ความเปน็ มนษุ ย์ ทำ� ใหเ้ ดก็ ขาดความภาคภมู ใิ จในตนเอง โหยหา ความรกั ความอบอุน่ ความม่ันคงปลอดภยั ในชีวติ ยดึ ตดิ แต่ความตอ้ งการของตนเอง จนไมส่ ามารถพัฒนา เป็นจติ สำ� นกึ ทดี่ ีต่อตนเองและผูอ้ น่ื ได้ • การมรี ะเบยี บวินัยและทกั ษะสมอง EF เป็นทักษะสำ� คญั ทตี่ ้องกระต้นุ สง่ เสริมตง้ั แต่ชว่ งปฐมวัย เพราะเด็ก ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความมีระเบียบวินัยในตนเองและสังคม และสมองส่วนหน้า ซ่ึงเป็นท่ีปฏิบัติการของ ทักษะสมอง EF ก็ยังพัฒนาไม่เตม็ ที่ • การสรา้ งวนิ ยั เชิงบวกท่มี ีประสทิ ธิภาพ จะต้องมอี งคป์ ระกอบและหลักการทำ� งานตามโมเดล 5 T ไดแ้ ก่ Target Behavior –พฤตกิ รรมเปา้ หมาย Teach- การสอนพฤตกิ รรมเปา้ หมาย Train- การฝกึ ฝนพฤตกิ รรม เปา้ หมาย Time- เวลาในการพฒั นาจติ สำ� นกึ และฐานทมี่ น่ั ความเชอ่ื ใจ Trust- ความเชอ่ื ใจของผเู้ ลย้ี งดแู ละเดก็ • 5 หลกั สำ� คญั ในการสรา้ งวนิ ยั เชงิ บวก ไดแ้ ก่ การมสี ว่ นรว่ มในการกำ� หนดขอบเขต ขอ้ ตกลง การเสนอทางเลอื ก อยา่ งมขี อบเขต การสอนวธิ กี ารจดั การอารมณผ์ า่ นการแสดงความเหน็ อกเหน็ ใจ การชมอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ และการพูดคยุ ในระดับสายตาเด็ก • Time Out ไม่ใช่การสร้างวินัยเชิงบวก เพราะไม่มีการตั้งพฤติกรรมเป้าหมาย การให้เด็ก “ส�ำนึกผิด” ไมใ่ ชพ่ ฤตกิ รรมทเ่ี หมาะสม เปน็ นามธรรมทไี่ มส่ ามารถปฏบิ ตั ไิ ด้ และฝนื ธรรมชาตกิ ารเรยี นรขู้ องเดก็ ปฐมวยั 159

8 Multi-skilled Self-Discipline Positive Mind Team Work To be loved Planning & & Trust Organization คณุ ลกั ษณะและบทบาทของครูปฐมวัย ทสี่ ่งเสรมิ การพัฒนาทักษะสมอง EF คณะท�ำงานชุดจัดท�ำคมู่ อื การพัฒนาทกั ษะสมอง EF เรียบเรียง 160

เปน็ ที่ทราบกันดวี ่าคณุ ลกั ษณะของครมู ีผลอยา่ งยง่ิ ต่อการพัฒนาเด็ก ในบทนี้มี ความประสงค์จะชวนให้ครูกลับมาตรวจสอบตัวเองว่าเรามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ในการส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF เพ่ือที่จะน�ำไปสู่การพัฒนาตนเองในแง่มุม ตา่ งๆ และในตอนท้ายของบทจะกลา่ วถงึ บทบาทของพ่อแมท่ ่มี ีต่อการส่งเสรมิ การ พฒั นาทกั ษะสมอง EF เพอื่ ใหเ้ ปน็ ประโยชนต์ อ่ ครทู จี่ ะใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู นำ� ไปสรา้ งความ รู้ความเข้าใจให้กับพ่อแม่ของเด็ก เพ่ือให้บทบาทของพ่อแม่มีความเหมาะสม สอดคลอ้ งและเป็นไปในทศิ ทางเดยี วกับครู ครปู ฐมวยั ผู้ทีจ่ ะช่วยสง่ เสรมิ การพัฒนาทกั ษะสมอง EF ใหเ้ ด็กปฐมวยั ควรจะมี คุณลักษณะส�ำคญั ๆ ดงั น้ี 1. มีความร้เู รอื่ งทกั ษะสมอง EF EF ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการท�ำงานของสมอง รู้จัก องคป์ ระกอบของทกั ษะสมอง และสามารถวเิ คราะหไ์ ดว้ า่ ในกระบวนการเรยี นรหู้ รอื พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นนั้นก�ำลังพัฒนาทักษะสมอง EF ด้านใด รวมทั้งควรมี ความใส่ใจ ไตร่ตรอง และมุ่งเป้าหมายสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนอง การพัฒนา EF ให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนหม่ันตรวจสอบบทบาทของ ตัวเองว่าได้ให้โอกาสเด็กในการพัฒนาทักษะสมอง EF อย่างเต็มที่ หรือกลับเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาทักษะของเด็กโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เม่อื ครไู ดม้ าเรยี นรเู้ รอ่ื งการพัฒนาทักษะสมอง EF จะพบว่า “ยง่ิ เรยี นรู้ กจ็ ะย่งิ ลงลึก” เพราะเม่ือครูท่ีเป็นคนส�ำคัญ (Key Person) ตระหนัก เข้าใจ เรียนรู้และ น�ำสู่การปฏิบัติ ผลท่ีเกิดข้ึนกับเด็กจะท�ำให้ครูเบิกบานไปกับการเรียนรู้ของเด็ก ท่ีท้ังสนุก น่าอัศจรรย์ใจ แค่เปล่ียนจากค�ำถามปลายปิดท่ีเคยชิน “บ้านของลูกหมู ตวั แรกท�ำดว้ ยอะไร” สู่ค�ำถามปลายเปดิ ชวนคดิ “ถา้ เด็กๆ เปน็ ลูกหมู เดก็ ๆ จะท�ำ อย่างไรได้บา้ ง” 161

Positive Mind 2. ใจกว้าง และมีทศั นะเชิงบวก (Positive Mind) Multi-skil ed ครตู อ้ งมคี วามเชอื่ มน่ั ในเดก็ เชอื่ วา่ เดก็ ทกุ คนมศี กั ยภาพ เปลยี่ นแปลง และพฒั นา ได้ ครตู อ้ งมีความเช่ือม่นั ในตัวเอง เชื่อว่าครูสามารถส่งเสริมทักษะสมอง EF ใหเ้ ด็ก เกิดการเปล่ียนแปลงและพัฒนาได้ เม่ือครูมีความเช่ือท่ีถูกต้องแล้ว ครูจะเป็นคนท่ีเปิดกว้าง ยอมรับความเป็นจริง ของเดก็ เปดิ รบั ความคดิ เหน็ และมคี วามหวงั เสมอ ครทู ม่ี ที ศั นะเชงิ บวกจะมองเหน็ ความก้าวหนา้ ของเด็กแมจ้ ะเกิดขน้ึ เพียงเลก็ นอ้ ย และไม่ละเลยที่จะสะท้อนให้เดก็ ได้เหน็ ความกา้ วหน้าของตัวเอง ก่อให้เกิดแรงจงู ใจทจ่ี ะพฒั นาตนเองอยา่ งตอ่ เนื่อง ครูท่ีเปิดกว้างจะยอมรับได้ว่าเด็กเล็กยังไม่สามารถอธิบายอารมณ์ความรู้สึกของ ตวั เองไดด้ ี และมคี วามหวงั วา่ เราจะมวี ธิ กี ารทด่ี ที จ่ี ะชว่ ยสง่ เสรมิ ใหเ้ ดก็ เขา้ ใจอารมณ์ ของตวั เอง และสามารถส่อื สารความรสู้ กึ ของตวั เองใหด้ ขี นึ้ ได้ เมื่อเราแปล “ความหวัง” สู่การก�ำหนดเป้าหมาย จะช่วยให้ความหวังของเรา มีความชัดเจน เพื่อน�ำมาสู่การก�ำหนดแนวทางการปฏิบัติที่สามารถประเมิน ความส�ำเรจ็ ได้ 3. มีความเชย่ี วชาญในทกั ษะทห่ี ลากหลาย (Multi-skilled) • ทักษะการสังเกตท่ีละเอียดลออ : ครูท่ีมีทักษะการสังเกตที่ละเอียดลออ จะ มองเห็นส่ิงท่ีเด็กส่ือสารด้วยภาษากายได้เป็นอย่างดี เช่น ท่าทาง สายตา น�้ำเสียง ท�ำให้สามารถรับรู้และเท่าทันอารมณ์ของเด็ก ครูท่ีช่างสังเกตจะไวต่อการรับรู้ บรรยากาศในการเรียนการสอน และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงที สามารถสังเกตเห็นความกระตือรือร้นหรือความอ่อนล้าในการเรียนของเด็ก มองเหน็ วธิ ีเรยี นรแู้ ละความกา้ วหน้าของเด็กเป็นรายบคุ คล หรอื เมื่อทำ� งานร่วมกนั เป็นกลุ่ม ครูที่ช่างสังเกตจะสามารถหาจังหวะที่เหมาะสมท่ีจะเข้าไป ถอยออกมา หรอื เพยี งเฝา้ ดูอยูใ่ กลๆ้ เพ่อื ให้เกิดผลตามวตั ถปุ ระสงค์ 162

• ทักษะการส่ือสารเชิงบวก : ครูท่ีมีการสื่อสารทางบวกจะมีอิทธิพลต่อเด็ก อย่างมาก ทั้งในเรื่องทัศนคติการเรียนรู้ การเห็นคุณค่าในตัวเอง มีก�ำลังใจที่จะคิด และลงมือท�ำ หากครูใช้ค�ำพูดที่เป็นการสื่อสารทางบวก เช่น “หนูคงก�ำลังใช้ความ พยายามอยา่ งมากเลย” เดก็ จะมกี ำ� ลงั ใจทจ่ี ะเผชญิ กบั ปญั หาและพยายามตอ่ ไป “ครู เหน็ ว่าหนูแบ่งไม้ไอศกรีมของหนูให้เพ่ือนใช้ดว้ ย หนเู ป็นเด็กมีน�้ำใจ” เดก็ จะมคี วาม รู้สึกทีด่ ีต่อตนเองและคงท�ำพฤติกรรมท่ีดีนน้ั ตอ่ ไป • ทักษะการกระตนุ้ ให้เด็กคดิ : ครูทม่ี ีทกั ษะการกระต้นุ ให้เด็กคดิ มักจะใชค้ �ำถาม ปลายเปิดอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นให้คิดอย่างหลากหลาย และรับฟังความคิดเห็น ของเด็ก จัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้สังเกต ส�ำรวจ แล้วเกิดค�ำถามท่ีต้องการค�ำตอบ บางกิจกรรมก็มีการสร้างเงื่อนไขเพ่ือให้เด็กต้องเผชิญกับปัญหา เช่น “กรรไกรมี 3 อันเท่าน้นั หนูมกี นั 5 คน ต้องแบง่ กันใชน้ ะคะ” การจัดวัสดอุ ุปกรณ์ทห่ี ลากหลาย ท�ำให้เด็กต้องตัดสินใจเลือก การให้เด็กได้ท�ำกิจกรรมที่มีลักษณะสร้างสรรค์ ซ่ึงไม่มี ถูกหรือผิด เช่น งานศิลปะสร้างสรรค์ ดนตรีและการเคลื่อนไหว การประดิษฐ์ ผลงาน เป็นต้น • ทักษะการสร้างแรงจูงใจ : ครูต้องสร้างความกระตือรือร้นให้ตัวเองอยู่เสมอ เพราะความกระตือรือร้นของครูจะส่งผ่านไปเป็นแรงจูงใจให้เด็กๆ อยากเรียนรู้ จะทำ� ใหบ้ ทเรยี นของครสู นกุ เรา้ ใจ ครทู ม่ี ที กั ษะการสรา้ งแรงจงู ใจ มกั จะตงั้ เปา้ หมาย ที่ท้าทาย และถ้าเป็นเป้าหมายใหญ่ให้แตกเป็นเป้าหมายย่อย เพราะเมื่อเด็ก ท�ำเป้าหมายย่อยส�ำเร็จก็เป็นแรงจูงใจภายในที่จะไปสู่เป้าหมายต่อไปได้โดยง่าย การให้เด็กได้ตั้งสมมติฐาน หรือคาดเดาผลด้วยตัวเอง เป็นแรงจูงใจให้ลงมือท�ำ หรือเรียนรู้เพื่อให้รู้ว่าค�ำตอบจะตรงกับที่คาดเดาไว้หรือไม่ นอกจากน้ีนิทาน ละคร ก็จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กได้อย่างดี โดยเฉพาะในเร่ืองของลักษณะนิสัย คุณธรรม จรยิ ธรรม 163

Self-Discipline • ทักษะการประเมนิ : ครูที่มที กั ษะการประเมิน จะต้องมีความรดู้ า้ นพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย มีความสามารถในการจับประเด็นท่ีน่าสนใจหรือ สอดคลอ้ งกบั เปา้ หมาย มที กั ษะการสงั เกต การจดบนั ทกึ พฤตกิ รรมและปจั จยั สำ� คญั ท่ีส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก มีความสามารถในการสื่อสารผลการประเมินให้ กับผู้เกี่ยวข้องได้อย่างดี สามารถช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และมีทัศนคติท่ีดีต่อการ ประเมินตนเอง และนำ� มาปรบั ปรุงหรือพัฒนาผลงานและการกระท�ำของตน • ทักษะการคาดเดาผลล่วงหน้า : ครูที่มีทักษะการคาดเดาผลล่วงหน้า จะต้อง เปน็ คนทชี่ า่ งสงั เกต คดิ ไดฉ้ บั ไว จนิ ตนาการไดช้ ดั วา่ กระบวนการเรยี นการสอนหรอื กิจกรรมจะด�ำเนินไปอย่างไร ความคาดหวังและส่ิงท่ีจะเกิดข้ึนในแต่ละข้ันตอน คืออะไร ถ้ามีสถานการณ์ท่ีไม่ได้คาดคิด น่าจะเกิดอะไรได้บ้าง เพื่อตั้งรับหรือ ตอ่ ยอดตอ่ ไปได้อย่างเหมาะสม 4. มวี นิ ยั ในตนเอง (Self- Discipline) เร่ืองของการพฒั นาทักษะสมอง EF อาจจะเป็นเรอ่ื งใหมส่ ำ� หรับครู และครูกจ็ ะ ต้องเปล่ียนพฤติกรรมและบทบาทของตนในบางด้าน เช่น เปล่ียนจากที่ครูริเร่ิม เป็นเด็กริเร่ิม เปล่ียนจากผู้สอนเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ เปลี่ยนจากผู้พูดเป็นผู้ฟัง ฯลฯ เพือ่ สรา้ งโอกาสใหเ้ ดก็ ได้พัฒนาทักษะสมอง EF ใหแ้ ข็งแรงยิ่งขึ้น เป็นท่ีทราบกันดีว่าการปรับเปล่ียนพฤติกรรมความเคยชิน เป็นสิ่งท่ีท�ำไม่ได้ โดยง่าย ต้องอาศัยการตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งท่ีจะเกิดขึ้น มีเป้าหมายการ เปล่ียนแปลงที่ชัดเจน มีวิธีการปฏิบัติ และมีวินัยที่ก�ำกับให้ตนเองจดจ่อกับการ กระทำ� ทจ่ี ะนำ� ไปสเู่ ปา้ หมาย เรยี กวา่ เกาะตดิ กบั เปา้ หมาย และหมน่ั ประเมนิ ตนเอง เพ่ือให้เห็นความก้าวหน้า เกิดแรงจูงใจภายในท่ีจะช่วยให้การก�ำกับวินัยในตนเอง มปี ระสิทธภิ าพย่ิงขึ้น 164

5. ทำ� งานเปน็ ทีม (Team Work) Team Work การท�ำงานเป็นทีมประกอบด้วยผู้ท่ีมีความเกี่ยวข้องกับเด็ก ได้แก่ ครู พ่อแม่ To be loved ผปู้ กครอง เพอื่ นครู ผบู้ รหิ าร บคุ ลากรในโรงเรยี น ตลอดจนเครอื ขา่ ยทม่ี จี ดุ มงุ่ หมาย & Trust เดียวกัน การท�ำงานเป็นทีมจะช่วยให้เกิดกระบวนการแลกเปล่ียนเรียนรู้ ถ่ายเท ข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเร่ืองทักษะสมอง EF ในเด็กต่อไป อีกท้ัง Planning & การท�ำงานเป็นทีมยังก่อให้เกิดพลังร่วมกันท่ีจะเก้ือหนุนให้การท�ำงาน มีความ Organization สนุกสนานและเกดิ แรงจงู ใจใฝส่ มั ฤทธ ์ิ ในยุคเทคโนโลยีขา่ วสาร (IT) มสี ว่ นชว่ ยให้เกิดการถา่ ยเทข้อมลู ไดอ้ ยา่ งรวดเร็ว และกว้างขวางย่ิงขึ้น สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้โดยง่าย และยังสามารถ แลกเปลยี่ นประสบการณ์ไดก้ บั กลมุ่ ความสนใจเดียวกนั 6. เปน็ ทรี่ ักและไว้ใจของเดก็ (To be loved & Trust) เมอื่ ครมู คี วามผกู พนั ทดี่ ี เปน็ ทรี่ กั และไวใ้ จของเดก็ จะทำ� ใหเ้ ดก็ มคี วามรสู้ กึ มนั่ คง ปลอดภัย พร้อมท่ีจะเรียนรู้ และก้าวสู่สังคมที่กว้างข้ึน การแสดงออกถึงความรัก ไม่เพียงแต่การบอกรัก โอบกอด แต่ยังรวมถึงการพร้อมรับฟัง และรับรู้ความรู้สึก ของเด็กท้ังความรู้สึกทางบวกและทางลบ การให้โอกาสเด็กได้คิด เลือกและ ตัดสินใจ สนับสนุนให้เด็กได้รู้สึกภูมิใจกับความส�ำเร็จ ให้ก�ำลังใจเม่ือเด็กรู้สึกท้อ เสยี ใจ เศรา้ ทำ� ใหเ้ ด็กรสู้ ึกว่าไดร้ ับการยอมรบั ใหอ้ ภัย และใหโ้ อกาสที่จะปรบั ปรงุ เมือ่ ทำ� ผิดพลาด รวมทงั้ ยินดีและช่ืนชมเมือ่ เดก็ มีพฤติกรรมทเ่ี หมาะสม 7. วางแผนและจัดการงานเปน็ (Planning & Organization) มีการท�ำงานอย่างเป็นระบบ ในลักษณะวิจัยและพัฒนา (Research and Development) คือ มีการก�ำหนดเป้าหมาย วางแผน มีกระบวนการท�ำงาน และประเมินผล สามารถสะท้อนผลการเรียนรู้ของเด็กและของครู ประเมินตนเอง ว่าแนวทางที่ปฏิบัติน้ันถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร เพ่ือน�ำสู่การพัฒนาตน พัฒนางาน 165

บทบาทของพ่อแม่เพ่ือสนับสนุนการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเดก็ คณุ ครคู วรสง่ เสรมิ ให้พ่อแม่มคี วามตระหนักถงึ ความส�ำคญั ยิ่งของตนในการ พัฒนาทักษะสมอง EF บทบาทของพ่อแมค่ วรจะเปน็ ดังน้ี 1. มีความสนใจ ใฝร่ ู้ พ่อแม่ควรหาความรู้ความเข้าใจท่ีเก่ียวข้องกับการส่งเสริมการพัฒนาทักษะ สมอง EF และความรู้อื่นท่ีเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะที่จ�ำเป็น ส�ำหรับลูกจากหลากหลายแหล่งที่เช่ือถือได้ การแลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน ผู้ปกครองร่วมไปกับครูของลูก ค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือหรือ Website แล้วน�ำ ความรมู้ าวิเคราะหแ์ ละปรับให้เหมาะสมกบั วิถีชวี ิตของพ่อแมแ่ ละลกู 2. สรา้ งความผกู พันทีด่ ี ความรักความผูกพันในครอบครัว ระหว่างพ่อแม่กับลูก ระหว่างพ่อกับแม่ และสมาชิกในครอบครัว บนพื้นฐานของความรัก ให้เกียรติ ให้อภัย และยอมรับ ในความแตกต่าง ความผูกพันที่ดีในครอบครัวจะเป็นรากฐานที่ส�ำคัญของความ ม่ันคงทางจิตใจ เห็นคุณค่าของตนเอง ท�ำให้มีความพร้อมที่จะเปิดโลกการเรียนรู้ มีความกระตือรือรน้ มชี ีวิตชีวา มีจติ ใจท่ีเขม้ แขง็ กลา้ เผชิญกบั ปัญหาและอุปสรรค เชน่ เดยี วกนั ความผูกพนั ทด่ี กี ็จะมผี ลต่อการพฒั นาทักษะสมอง EF เพราะสมองจะ เปิดรับการเรยี นรแู้ ละทำ� งานได้ดใี นสภาวะที่คนเรารู้สกึ ม่นั คง ปลอดภัย 3. เรียนรูท้ ่ีจะรจู้ กั ลูก การพัฒนาลูกให้มีทักษะสมอง EF ท่ีดี และการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ของลกู นนั้ ไมใ่ ชเ่ พยี งการนำ� ความรแู้ ละกระบวนการตา่ งๆ มาใชท้ นั ที แตพ่ อ่ แมต่ อ้ ง ให้ความส�ำคัญกับการเรียนรู้ “ลูก” ให้รู้จักท่ีจะเข้าใจและยอมรับความเป็นตัวตน ของลกู ความสามารถ ความถนดั จดุ แข็งจุดออ่ นของลกู ไมเ่ อาลกู มาเปรยี บเทยี บ กัน หรือเปรียบเทียบกับเด็กอื่น การเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูกด้วยการท�ำกิจกรรม 166

หรือลงมือท�ำส่ิงต่างๆ ไปด้วยกัน เช่น สนุกกับการท�ำอาหาร เตรียมจัดงาน วันเกิดให้คุณยาย จะช่วยให้เราเข้าใจลูกได้ดีขึ้น ได้เห็นวิธีคิด วิธีการท�ำงาน การตัดสินใจเลือกและยังได้สนุกสนาน ได้เผชิญอุปสรรคไปพร้อมๆ กัน ลูกๆ จะรู้สกึ ว่าพ่อแมร่ ่วมทกุ ข์รว่ มสขุ ไปดว้ ยกนั 4. ฝึกวนิ ยั เชิงบวก การฝึกวินัยเชิงบวก หมายถึง การฝึกฝนให้ลูกมีพฤติกรรมท่ีเหมาะสม โดย เกิดจากการก�ำกับตัวเองได้ ภายใต้บรรยากาศท่ีดีในการฝึกฝน ลูกจะรู้สึกถึง ความกา้ วหนา้ ทเ่ี พมิ่ ขน้ึ ภมู ใิ จทสี่ ามารถกำ� กบั ตวั เองได้ ไดเ้ รยี นรวู้ ธิ กี ารทจ่ี ะวเิ คราะห์ พฤตกิ รรมของตนวา่ มผี ลตอ่ ตนเองหรอื ผอู้ น่ื อยา่ งไร และเรยี นรวู้ ธิ ที จี่ ะพฒั นาตนเอง เมื่อลูกใช้วินัยก�ำกับตัวเองไปเป็นระยะเวลานานก็จะเกิดเป็นพฤติกรรม ความเคยชิน และค่อยๆ กลายเป็นลักษณะนิสัยที่ดี และลงลึกถึงการมีจิตส�ำนึก ท่ีดีในที่สุด เช่น การฝึกให้ลูกเก็บของเล่นของใช้เข้าท่ีทุกคร้ัง ลูกจะเติบโตเป็นคน ที่มีความรับผิดชอบต่อการกระท�ำของตน เป็นคนมีระเบียบ มีส�ำนึกต่อการรักษา สิ่งแวดล้อม เปน็ ต้น เมื่อการฝึกวินัยเชิงบวกเป็นการฝึกการก�ำกับตัวเองของลูก จึงหลีกเล่ียงการฝึก ดว้ ยวธิ กี ารลงโทษ เพราะเปน็ การควบคมุ โดยใชอ้ ำ� นาจจากภายนอกทจี่ ะหยดุ พฤตกิ รรม ท่ีไม่เหมาะสมเพียงชวั่ คร้งั ชัว่ คราว หรอื เมอ่ื อยตู่ ่อหนา้ ผใู้ หญเ่ ดก็ หยดุ ท�ำพฤติกรรม ได้แตจ่ ะมีความรู้สกึ ทางลบ เช่น ความเครียด กดดนั กลวั โกรธ นัน่ ย่อมกลา่ วไดว้ ่า การฝึกด้วยการลงโทษไม่อาจสร้างวินยั ในตนเองให้เกิดข้ึนกบั เดก็ ไดน้ นั่ เอง การสร้างวินัยเชิงบวกท่ีช่วยส่งเสริมพัฒนาการทักษะสมอง EF ของเด็กได้ อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ จะต้องมอี งคป์ ระกอบ 5 T (Thanasetkorn, 2009) ไดแ้ ก่ • T-Target behavior (กำ� หนดเป้าหมายพฤตกิ รรมทีต่ อ้ งการฝึก) • T-Teach (สอนวา่ จะตอ้ งท�ำอยา่ งไร) • T-Train (ฝกึ ฝนให้ทำ� จนเกดิ ความคลอ่ งแคล่ว) • T-Time (ให้เวลาในการฝกึ และค่อยๆ พัฒนาเป็นจติ สำ� นึกทด่ี ี) • T-Trust (การฝกึ ฝนอยภู่ ายใต้ความรู้สกึ “เช่อื ใจกนั ” ของพ่อแม่และลกู ) (ดูรายละเอยี ดเพ่ิมเติมในบทท่ี 7) 167

5. เป็นตน้ แบบพฤตกิ รรมท่พี งึ ประสงค์ เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการเลียนแบบ และแบบอย่างที่เด็กเลียนแบบมากท่ีสุดคือ พ่อแม่ พฤติกรรมของพ่อแม่อยู่ในสายตาของเด็กตลอดเวลา ดังนั้น พฤติกรรมใด ที่ต้องการให้เกิดกับลูกต้องเร่ิมต้นท่ีพ่อแม่ก่อน หรืออย่างน้อยก็เริ่มไปพร้อมๆ กับลูก ดงั คำ� กลา่ วที่ว่า ลกู ท�ำให้พอ่ แม่มีนสิ ัยท่ดี ีขนึ้ อยากใหล้ กู ตืน่ แตเ่ ช้า พ่อแมก่ ็ ต้องต่ืนแต่เช้าด้วยเช่นกัน อยากให้ลูกกินผัก แม้พ่อจะไม่ชอบกิน ก็ต้องกินผักไป พรอ้ มกบั ลกู ดังนน้ั หากต้องการให้ลูกมกี ารพัฒนาทักษะสมอง EF ที่ดี พ่อแมต่ ้อง พยายามพฒั นาตนใหม้ อี งคป์ ระกอบของทกั ษะสมอง EF ทงั้ 9 ดา้ นไปพรอ้ มๆ กบั ลกู ด้วย เช่น ถ้าต้องการให้ลูกมีทักษะด้านควบคุมอารมณ์ พ่อแม่ก็ต้องเป็นต้นแบบ ในการควบคุมอารมณ์ดว้ ยเช่นกนั 6. ให้โอกาสลกู ไดเ้ รยี นรแู้ ละเผชิญปญั หา การเรียนรู้ของเด็กนอกจากจะเรียนรู้จากการเลียนแบบ ดังได้กล่าวไว้ในข้อ 5 แล้ว การเรียนรขู้ องเดก็ จะเกดิ จากการไดร้ บั ประสบการณต์ รงจากการไดฟ้ ัง ได้ดม ได้เห็น ได้ล้ิมรส ได้สัมผัสและลงมือท�ำสิ่งต่างๆ และเด็กน้ันเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา การเรยี นรทู้ ด่ี จี งึ ควรใหโ้ อกาสเดก็ ไดห้ ยบิ จบั และลงมอื ทำ� เรม่ิ จากกจิ วตั รประจำ� วนั ของตนเอง การช่วยงานบา้ น การมีน้ำ� ใจช่วยเหลอื ผูอ้ ่ืน การเล่นและทำ� กิจกรรมที่ สนุกสนาน เม่ือลงมือท�ำย่อมเกิดการเรียนรู้และเผชิญกับปัญหาในชีวิตประจ�ำวัน ลูกจะได้ รับโอกาสในการฝกึ ทักษะการลงมอื ท�ำและแก้ปัญหาดว้ ยตัวเอง หากตดิ ขดั กไ็ ด้รบั การชี้แนะอย่างเหมาะสม ย่ิงท�ำมากก็ยิ่งท�ำให้เกิดการพัฒนาทักษะสมอง EF ในหลายด้านด้วยกัน หรืออาจจะเรียกว่าได้ฝึกทักษะครบทุกองค์ประกอบก็ว่าได ้ เชน่ ด้านจดจอ่ ใส่ใจ จ�ำเพอ่ื ใช้งาน ยืดหยนุ่ ความคดิ ยัง้ คิดไตร่ตรอง รเิ ร่ิมลงมอื ทำ� เปน็ ตน้ และจะนา่ เสยี ดายแคไ่ หนถา้ เราไมป่ ลอ่ ยใหล้ กู ไดท้ ำ� อะไรดว้ ยตวั เอง เพราะ กลัวลูกท�ำไม่ได้ท�ำไม่ดี ใจร้อนด่วนท�ำให้ลูกเสียเอง หรือสุขใจที่ได้ท�ำให้ลูกเพราะ เห็นว่ายังเล็ก ดังน้ัน เม่ือลูกประสบปัญหาท่ีลูกพอรับมือได้ อย่ายื่นมือเข้าไปช่วย เร็วเกินไป ปล่อยให้ลูกได้เผชิญปัญหาและหาทางแก้ด้วยตนเอง การให้ลูกเผชิญ 168

ปญั หานน้ั แมล้ กู จะรสู้ กึ กดดนั บา้ ง เครยี ดบา้ ง กเ็ หมอื นเปน็ การใหว้ คั ซนี ลกู ทจี่ ะเตบิ โต อย่างแข็งแรง และให้ลูกได้พบกับความสุขจากความส�ำเร็จที่เกิดจากสติปัญญาและ ความเพยี รพยายามของตนเอง 7. ใหร้ ับผิดชอบงานบ้าน การมอบหมายงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ให้ลูกท�ำ จะท�ำให้ลูกเป็นคนรักการท�ำงาน มีทักษะในการท�ำงาน ขยัน กระตือรือร้น รู้จักวางแผนและลงมือท�ำ มีความ รับผิดชอบและมีน�้ำใจฯลฯ น่ันคือลูกได้พัฒนาทักษะสมอง EF ไปพร้อมกันหลายๆ ดา้ น เพราะงานบา้ นเป็นการเรยี นรู้จากการลงมือท�ำ (Learning by Doing) การรับผิดชอบงานบ้าน ยังมีความส�ำคัญอีกด้านหนึ่งที่เราไม่อาจมองข้ามไป คือ การรบั รถู้ งึ “ความเปน็ ครอบครวั เดยี วกนั ” นน่ั คอื การใชเ้ วลาดว้ ยกนั ความรบั ผดิ ชอบ บา้ นของเรา การทำ� งานบา้ นดว้ ยกนั กลุ กี จุ อชว่ ยเหลอื กนั โดยไมต่ อ้ งเอย่ ปาก การสาน สมั พนั ธด์ ว้ ยการรว่ มทกุ ขร์ ว่ มสขุ กบั คนในครอบครวั การทำ� งานบา้ นจงึ เปน็ เครอื่ งมอื ในการสร้างความรักความห่วงใยในครอบครัว สิ่งเหล่านี้จะท�ำให้เด็กมีจิตใจที่ หนกั แนน่ พรอ้ มเผชญิ ปญั หาและอปุ สรรค มแี รงจงู ใจใฝส่ มั ฤทธ์ิ เพราะมบี า้ นเปน็ ฐาน ที่ม่ันทางใจ มีคนในครอบครัวที่พร้อมจะให้ก�ำลังใจ ให้อภัย และยินดีเมื่อประสบ ความส�ำเร็จ เด็กเหล่าน้ีจะเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว และขยาย ความรักความผกู พันสคู่ รอบครวั ท่ีใหญข่ ้นึ คือสงั คมและประเทศชาติ 169

8. ตั้งเปา้ หมายความส�ำเร็จของลูก หากถามพอ่ แมท่ ม่ี ลี กู เลก็ ๆ วา่ ตงั้ เปา้ หมายอะไรใหก้ บั ชวี ติ ลกู สว่ นใหญก่ จ็ ะตอบ ตรงกนั วา่ ตอ้ งการให้ลูกประสบความส�ำเร็จในชวี ิตและมีความสุข แต่เมื่อพจิ ารณา ถึงส่ิงท่ีพ่อแม่ให้การอบรมเลี้ยงดูลูก กลับมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย บางครอบครัวเร่งรัดการอ่านเขียนเรียนเร็ว บางครอบครัวปล่อยให้อยู่กับ Ipad, Iphone บางครอบครัวให้ลูกมีกิจกรรมเสริมพัฒนาการมากมายจนเรียกว่า Over Program บางครอบครวั มกี จิ กรรมของครอบครวั ทท่ี ำ� รว่ มกนั เชน่ ไปทำ� ขนม บ้านคุณยา่ ช่วยคุณแม่ซักผา้ ชว่ ยคณุ พ่อลา้ งรถ เมือ่ เป็นเชน่ น้ี เปา้ หมายปลายทาง ทีไ่ ดร้ ับจงึ ให้ผลทแ่ี ตกต่างกนั อยา่ งแนน่ อน ลองทบทวนดูดีกว่าว่าเป้าหมายปลายทางที่ต้ังไว้ หรือเป้าหมายหลักน้ันเป็น เป้าหมายที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิตลูกอย่างย่ังยืนหรือไม่ คิดต่อให้ชัดว่า อะไรที่จะบอกถงึ ความสำ� เรจ็ ในชวี ิตของลกู และความสขุ ในชีวิตคอื อะไร ทีส่ ดุ แลว้ ลูกสามารถด�ำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าในตนเอง ผู้อื่น รวมถึงต่อธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ เพราะทัศนะต่อการด�ำรงชีวิตจะมีผลต่อการเลี้ยงดูลูก และการเลย้ี งดลู กู จะหลอ่ หลอมทง้ั ความคิดและจติ ใจของลูก เมอื่ เปา้ หมายปลายทางหรอื เปา้ หมายหลกั ชดั เจนแลว้ ตอ้ งมเี ปา้ หมายระยะสนั้ และกระบวนการย่อยท่ีรองรับและสอดคล้องกับเปา้ หมายหลัก เป้าหมายต้องอยู่ ในใจเสมอ ให้หมั่นตรวจสอบสิ่งท่ีท�ำกับผลท่ีลูกได้รับอยู่เสมอว่าหลุดเป้าหมายไป หรอื ไม่ ตอบสนองความตอ้ งการ ความพรอ้ มและธรรมชาตขิ องลกู หรอื ไม่ แตอ่ ยา่ งไร ก็ดีเป้าหมายก็ต้องมีความยืดหยุ่นให้พอเหมาะพอดี อย่าติดกับความคิดเดิม อย่างเดยี ว ตอ้ งปรับให้เหมาะกับลูกและสภาพการณท์ เี่ ปน็ จรงิ ในปัจจุบันดว้ ย 9. ท�ำงานรว่ มกบั ครู เมื่อลูกเข้าโรงเรียนก็ไม่ได้หมายความว่าภาระการฝึกฝนอบรมเลี้ยงดูตกไปเป็น ของครูและโรงเรียน เพราะบ้านยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อลูก ให้ถือว่าบ้าน และโรงเรียนเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาลูกร่วมกัน แต่เน่ืองจากความเชื่อ ทัศนคติ และประสบการณ์ของครูและพ่อแม่แต่ละคนก็แตกต่างกัน จึงต้องหม่ันพูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกัน เพื่อให้มีเป้าหมายท่ีตรงกัน และมีวิธีการอบรม 170

เล้ียงดูไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันซ่ึงจะเป็นผลในทางลบ ต่อลูก การทำ� งานร่วมกนั ระหวา่ งบา้ นและโรงเรยี นควรอยบู่ นทัศนะเชงิ บวก ไม่ว่าจะ เป็นความเชื่อใจ ให้การสนับสนุนและให้ก�ำลังใจซ่ึงกันและกัน พ่อแม่ควรให้ความ เคารพในวิชาชีพครู เคารพในวธิ กี ารทำ� งานของคร ู หากสงสยั ข้องใจ หรอื ไมพ่ อใจ ควรไตถ่ ามเพอื่ ทำ� ความเขา้ ใจใหต้ รงกนั ไมค่ วรเกบ็ ความขนุ่ ขอ้ งใจเพราะจะกระทบ ต่อสัมพันธภาพท่ีดี ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาลูก อีกทั้งการบ่นว่าลับหลังครู แตอ่ ย่ตู อ่ หนา้ ลกู จะทำ� ให้ลกู เกดิ ความสบั สน กงั วลใจ เพราะส่วนใหญเ่ ดก็ นนั้ จะรกั ทง้ั พอ่ แม่และรักครู เม่ือพ่อแม่มีสัมพันธภาพท่ีดีต่อกัน ท้ังสองฝ่ายจะประสานมือ ประสานใจ เป็นหนึ่งในการพัฒนาลูกไปในทิศทางเดียวกัน พ่อแม่และครูจะมีความสุข ความเบิกบานใจที่ไดเ้ ห็นความกา้ วหนา้ ของของคนทเี่ รารกั เติบโตอยา่ งงดงาม การมที ศั นคตทิ ่ีดีต่อกัน จะเป็นจดุ เร่มิ ต้นของการทำ� งานร่วมกนั ระหว่างบ้านและโรงเรยี น ความรู้ความเขา้ ใจท่ีถกู ต้อง จะทำ� ให้ การทำ� งานมุง่ ส่เู ปา้ หมายเดียวกัน การแลกเปลย่ี นความคิดเห็น จะทำ� ใหก้ ารท�ำงานมีความสอดคล้องกันระหวา่ งบ้านและโรงเรยี น 171

ภาคท่ี 3 172

การจัดประสบการณ์ การเรียนรทู้ ี่พฒั นา ทกั ษะสมอง EF 173

9 กิจกรรมโครงงาน WHO WHO ศลิ ปะท่เี น้นกระบวนการ กจิ กรรมเพื่อสง่ เสรมิ ทักษะสมอง EF บนฐาน พัฒนาการท้งั 4 ด้าน การเล่นอิสระ เลน่ บทบาทสมมตแิ ละเล่นละคร ตัวอยา่ งกิจกรรมการเรยี นรู้ เพือ่ พัฒนาทักษะสมอง EF อาจารยธ์ ดิ า พทิ ักษ์สนิ สขุ , อาจารย์ววิ รรณ สารกจิ ปรชี า อาจารยก์ รองทอง บุญประคอง, อาจารย์ภวู ฤทธิ์ ภูวภริ มยข์ วญั , อาจารย์เกศินี วัฒนสมบตั ิ 174

ในบทที่ 9 น้ี จะเปน็ การน�ำเสนอตัวอยา่ งกิจกรรมทส่ี ่งเสริมพฒั นาทกั ษะสมอง EF ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ครูและผู้เก่ียวข้องได้เห็นแนวทางในการจัดกิจกรรม ให้กับเด็ก และยังเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์กิจกรรมที่สนุกสนานและ ก่อให้เกิดการเรยี นรู้ทมี่ คี ุณค่าต่อการพัฒนาทกั ษะสมองของเด็ก การจัดกิจกรรมจะมีความหมายยิ่งข้ึนหากคุณครูได้น�ำประสบการณ์มา แลกเปลย่ี นเรียนรูร้ ว่ มกัน น�ำเรื่องเลา่ ทีส่ ร้างความเบิกบานใจ ประหลาดใจ ชวนคิด ชวนติดตามไปกบั การเรียนรูข้ องเดก็ ๆ ผา่ นการสังเกต รับฟังและเรียนรรู้ ว่ มกับเด็ก อย่างเป็นหน่ึงเดียวกัน มาสู่การเรียนรู้ท่ีจะเข้าใจธรรมชาติของเด็ก เข้าใจวิธีท�ำ ความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเด็ก เด็กจะท�ำหน้าที่เป็นครู ให้เราได้พัฒนาความเป็นครูปฐมวัยมืออาชีพ หากเราให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมี ความสุข เราก็จะท�ำงานและเรียนรอู้ ยา่ งมีความสขุ ไปพร้อมๆ กบั เด็ก ในตอนต้นของบทจะน�ำเสนอตัวอย่างกิจกรรมท่ีมีลักษณะเป็นกิจกรรม ระยะยาวทปี่ ระกอบดว้ ยกจิ กรรมยอ่ ยๆ หลายกจิ กรรมรอ้ ยเรียงต่อเน่อื งกัน ไดแ้ ก่ • กจิ กรรมโครงงาน (Project Approach) • กิจกรรมศิลปะทเี่ น้นกระบวนการ (Process Art) • การเลน่ อสิ ระ (Free Play) • การเลน่ บทบาทสมมตแิ ละเล่นละคร สว่ นถดั ไปจะนำ� เสนอกจิ กรรมทม่ี ลี กั ษณะเปน็ กจิ กรรมเดย่ี ว โดยระบวุ ตั ถปุ ระสงค์ กระบวนการ/วธิ กี าร สือ่ /อุปกรณ์ และกจิ กรรมเพ่มิ เตมิ พร้อมภาพประกอบ 175

176

กจิ กรรมโครงงาน : Project Approach อาจารย์เกศินี วัฒนสมบัติ การเรยี นการสอนแบบโครงงาน (Project Approach) เปน็ การเรยี นรทู้ สี่ ง่ เสรมิ ให้เด็กแสวงหาค�ำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหน่ึงอย่างลุ่มลึก เพ่ือสร้างองค์ ความรู้ด้วยตนเอง ในการเรียนรู้แบบโครงงานเด็กจะได้เรียนรู้กระบวนการหา ความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ทั้งกิจกรรมในและนอกห้องเรียน การเรียนรู้น้ัน เปดิ โอกาสใหเ้ ดก็ ไดค้ ดิ วางแผน ตดั สนิ ใจ คน้ ควา้ ทดลอง แกป้ ญั หา และทำ� กจิ กรรม ต่างๆ ด้วยตนเอง โครงงานอาจจะเป็นได้ท้ังกิจกรรมรายบุคคล ร่วมมือท�ำในกลุ่ม ย่อย และที่เดก็ ๆ ท้ังห้องทำ� ร่วมกัน 177

การหาข้อมูล กิจกรรมอาจมีท้ังการหาข้อมูล การวางแผนงาน แลกเปล่ียนประสบการณ์ บทบาทสมมติ ทัศนศึกษา เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ สังเกต ทดลองสร้างสรรค์และ น�ำเสนอผลงาน ฯลฯ โดยในระหว่างท�ำกิจกรรมนั้น ครูจะ จดบันทึกการเรียนรู้ของเด็กในด้านต่างๆ ท�ำให้สามารถ ติดตามผลพัฒนาการและศักยภาพด้านต่างๆ ท้ังด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญาของเด็กได้ อยา่ งตอ่ เนื่องและมีประสิทธิภาพ คิดวางแผน สังเกต สนทนา ทดลอง ตัดสินใจ แก้ปัญหา 178

Executive Functions ทีเ่ กิดจากการเรยี นรู้แบบโครงงาน (Project Approach) ควา มจำ� เพือ่ ใช้งาน (Working Memory) ในการเรียนแบบโครงงานน้ัน เด็กๆ จะต้องน�ำความรู้ท่ีตนเองได้ค้นหา แล้ว เช่ือมโยงกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวันและประสบการณ์เดิม เพ่ือน�ำข้อมูลที่รับรู้นั้น มาสกู่ ารลงมอื ปฏบิ ตั จิ รงิ รวมถงึ เพอ่ื นำ� มาวเิ คราะหห์ รอื คน้ หาคำ� ตอบกบั คำ� ถามใหมๆ่ หรือสิ่งที่เด็กสงสัยในห้องเรียน รวมถึงใช้ส่ิงท่ีเด็กเรียนรู้มาน้ัน น�ำมาแก้ปัญหา และถกปัญหากันระหวา่ งเพื่อนๆ ในชนั้ เรยี นอีกดว้ ย เด็กๆ เรียนรู้เรื่องของ ประเภทขยะว่า ขยะแต่ละประเภท คืออะไร และจ�ำแนกขยะตามสีของถังขยะ คุณครูจึงให้เด็กๆ ลองน�ำขยะจริงๆ ท่ีทุกคนน�ำมา เอามาเชื่อมโยงกับสิ่งที่ เด็กๆ เรียนรู้มาเพื่อดูว่าเด็กๆ สามารถจดจ�ำและน�ำความรู้นั้น มาใช้ได้จริงแค่ไหน 179

การยั้งคดิ ไตร่ตรอง (Inhibitory Control) การเรยี นแบบโครงงานนนั้ จะมกี จิ กรรมทเี่ ดก็ ๆ จะตอ้ งทำ� รว่ มกนั หรอื ทำ� ดว้ ยกนั ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปล่ียนประสบการณ์ระหว่างกัน การทดลอง การเล่นบทบาทสมมติต่างๆ ดังน้ันเด็กๆ จึงจ�ำเป็นต้องมีการย้ังคิดไตร่ตรองเสมอ เพ่ือให้ตนเองปฏิบัติตามกติกาในการท�ำกิจกรรมร่วมกัน ว่าใครท�ำหน้าที่ บทบาท อะไร และในเวลาใด นอกจากน้ันเดก็ ๆ ยงั ตอ้ งควบคุมตนเองในการทำ� กจิ กรรมต่างๆ ท่ีต้องใช้ความระมัดระวัง เช่น กิจกรรมท�ำอาหารท่ีใช้อุปกรณ์ท่ีมีความคม ความร้อนและอันตรายอ่ืนๆ เด็กๆ จึงต้องรู้จักควบคุมตนเอง ให้กระท�ำในสิ่งท่ี เหมาะสมและปลอดภัยเท่านน้ั เด็กๆ ช้ันอนุบาล 1 อดใจนั่งน่ิง ดูผีเส้ือผสม พันธุ์ โดยไม่ส่งเสียง และเข้าใกล้ 180

การยืดหยุน่ ความคิด (Shift/Cognitive Flexibility) ในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมโครงงาน เด็กๆ จะได้เปรียบเทียบจินตนาการและ ตอ่ ยอดจากความรทู้ มี่ อี ยเู่ พอ่ื สรา้ งสง่ิ ใหมห่ รอื สงิ่ ทใี่ กลเ้ คยี ง และเดก็ ๆ จะตอ้ งยอมรบั ฟังความคิดเห็นใหม่ๆ ท่ีได้จากเพ่ือนๆ หรือจากการทดลองค้นคว้าต่างๆ ท่ีเกิดขึ้น ในโครงงานอกี ด้วย การแต่งนิทานในโครงงาน หนังสือ เด็กๆ ท้ังห้องจะร่วมกัน แต่งนิทาน 1 เล่ม ร่วมกัน แต่ละคน จะแต่งนิทานคนละ 1 ประโยค เร่ิมจาก คนแรกท่ีเริ่มเรื่อง แล้วคนต่อไปแต่งนิทาน ต่อจากคนแรก และแต่งต่อๆ กันไปจน คนสุดท้ายจะต้องจบเร่ืองนิทานให้ได้ ในโครงงานจระเข้ ชั้นอนุบาลสอง คุณครูให้เด็กๆ ลองจินตนาการว่า ถ้าจระเข้ผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอ่ืน จะได้สัตว์หน้าตาเป็นแบบใด เด็กๆ จะต้ังช่ือสัตว์ชนิดนี้ว่าอะไร 181

การจดจอ่ ใส่ใจ (Focus/Attention) การเรียนรูผ้ า่ นกิจกรรมโครงงาน เด็กๆ จะไดท้ ำ� กิจกรรมดว้ ยการลงมือปฏิบตั ิ จริง ไม่วา่ จะเปน็ การทดลอง การสังเกต การทำ� งานศิลปะและกิจกรรมอื่นๆ ดังนน้ั เด็กๆ จะได้ฝึกฝนทักษะในการจดจ่อ ใส่ใจ เพ่ือไม่ให้เสียสมาธิในการท�ำกิจกรรม ต่างๆ ให้ส�ำเร็จ ในโครงงานหอย เด็กๆ ได้สังเกตหอยแต่ละชนิด บันทึกหอยท่ีตนเองสนใจเป็นรูปภาพ และน�ำมาสร้างเป็นโมบายหอยชนิด ต่างๆ ไว้ในห้องเรียนโดยช้ินงาน แต่ละช้ินนั้น จะมีหลายขั้นตอน และใช้ระยะเวลากว่าจะ ท�ำให้ส�ำเร็จ การควบคมุ อารมณ์ (Emotional Control) การเรยี นรรู้ ว่ มกนั การทำ� งานรว่ มกนั ทำ� ใหเ้ ดก็ ๆ ไดเ้ รยี นรทู้ จ่ี ะควบคมุ อารมณแ์ ละความตอ้ งการของตนเอง 182

ก าร ติดตามประเมนิ ตนเอง (Self-Monitoring) การท�ำงานหรือสร้างสรรค์ช้ินงานของเด็กๆ ไม่ได้ลงเอยด้วยความส�ำเร็จทุกครั้ง เดก็ ๆ จงึ มโี อกาสทจี่ ะวเิ คราะหส์ งิ่ ทที่ ำ� และผลงานตนเอง และพฒั นาชน้ิ งานจนเปน็ ทพี่ อใจ โครงงานบุญ ในโครงงานผักยานพาหนะ เด็กชั้นอนุบาลสาม ได้ลองทบทวน เด็กๆ ออกแบบและท�ำชิ้นงาน ความรู้สึกตนเองหลังท�ำความดีว่า มีการแก้ไขจนกว่าจะท�ำได้ ตนเองรูส้ ึกเชน่ ไรบ้าง เพื่อวิเคราะห์ ใกล้เคียงแบบท่ีออกไว้ การกระท�ำของตนเอง มากท่ีสุด กับผลที่เกิดขึ้นทางใจ การริเร่ิมและลงมือท�ำ (Initiating) การวางแผนและจัดการท�ำงานให้ส�ำเร็จ (Planning and Organizing) และ การมงุ่ เปา้ หมาย (Goal-Directed Persistence) การเรยี นรผู้ า่ นกจิ กรรมโครงงาน เปน็ กระบวนการทส่ี ง่ เสรมิ ใหเ้ ดก็ รเิ รม่ิ วางแผน และลงมอื ทำ� เปดิ โอกาสให้เด็กไดล้ องผดิ ลองถูก จนเกดิ ผลงานหรือเกิดบทสรุปของการเรียนรู้จากการลงมอื ท�ำ ในโครงงานขยะ เด็กๆ อนุบาล 1 อยากน�ำขยะเหลือใช้ มาท�ำเครื่องแต่งกายเพื่อใช้ในการแสดง เด็กๆ จึงวางแผนร่วมกัน แบ่งงาน และลงมือท�ำจนส�ำเร็จ 183

184

ศลิ ปะที่เน้นกระบวนการ : Process Art อาจารยว์ ิวรรณ สารกิจปรชี า การท�ำงานศิลปะมีหลากหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ ในท่ีน้ีจะขอน�ำเสนอ การจดั ประสบการณศ์ ลิ ปะสำ� หรบั เดก็ ปฐมวยั ทเี่ รยี กวา่ “ศลิ ปะทเี่ นน้ กระบวนการ” หรือ Process Art เนื่องจากการจัดกิจกรรมศิลปะในลักษณะน้ีจะสอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF ได้เป็นอย่างดี เรามาท�ำความเข้าใจกับค�ำว่า “Process Art” ทีจ่ ะกลา่ วถงึ ในบทนก้ี นั ก่อน 185

“Process Art” จะใหค้ วามส�ำคัญกบั มวลประสบการณ์ทเี่ ดก็ ได้รับขณะ ที่เด็กก�ำลังสร้างสรรค์งานศิลปะ จึงมุ่งเน้นให้เด็กได้คิดอย่างอิสระ ได้ ตัดสินใจด้วยตัวเอง แล้วลงมือสร้างสรรค์งานโดยไม่ต้องพะวงถึงความ สวยงามหรอื ความถกู ผดิ ของผลงาน Process Art จงึ ไมไ่ ดใ้ หค้ วามสำ� คญั ว่าผลงานของเด็กจะออกมาสวยงามหรอื ตอ้ ง “ดดู ”ี 186

Howard Gardner เคยกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ด้านศิลปะจะ งอกเงยได้ดีจากการท่ีเด็กๆ ได้ลงมือท�ำด้วยตัวเอง ไม่ใช่แค่เพียง ลอกเลียนแบบจากผู้อื่น แต่สร้างสรรค์ข้ึนมาเอง ไม่ว่าจะเป็นการวาด การปัน้ ระบายสี หรือประดษิ ฐ์ กิจกรรมศลิ ปะชว่ ยเสริมสร้างใหเ้ ด็กๆ ไดส้ รา้ งสรรคแ์ ละท�ำให้เกดิ ความเขา้ ใจในโลกรอบตวั ผลงานจะเปน็ การแสดงออกถงึ สงิ่ ตา่ งๆ รอบ ตวั ทเ่ี ดก็ ไดม้ ปี ระสบการณเ์ ดมิ อยู่ หรอื บางครง้ั เปน็ การแสดงความรสู้ กึ และบางคร้ังเป็นการแสดงถึงความคิดใหม่ๆ ของตัวเด็กเอง ผู้ใหญ่ อาจจะดูไม่สวย ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ แต่ผลงานนั้นคือสิ่งที่แสดงออกถึง ประสบการณแ์ ละความสนใจของเดก็ อย่างแท้จริง จากตวั อย่างของการทำ� งานศิลปะ ส่งิ ที่ส�ำคัญท่สี ุด ในการจดั ประสบการณ์ • กระบวนการ เกดิ จากการใหเ้ ดก็ ไดส้ ำ� รวจทดลองใชส้ อื่ ศลิ ปะตา่ งๆ อยา่ งเสรี ให้เดก็ ได้ท�ำงานศิลปะ โดยไม่มแี รงกดดันท่ีจะลอกเลยี นแบบหรอื ทำ� ใหอ้ ยใู่ นขอบเขตที่ก�ำหนด คือ กระบวนการ • กระบวนการ เกดิ จากการใหเ้ ดก็ ไดท้ ดลองกบั สนี ำ�้ ไดเ้ หน็ การผสมสขี องสนี ำ�้ ไม่ใชผ่ ลงาน สีตา่ งๆ ทเี่ ดก็ ๆ ป้ายลงบนกระดาษ • กระบวนการ เกดิ จากการไดส้ มั ผสั สอ่ื วสั ดอุ ปุ กรณต์ า่ งๆ ดว้ ยตวั เอง ไดเ้ ลอื ก ใช้ส่อื เช่น กระดาษทม่ี ีขนาด รูปทรง สี พนื้ ผิว ต่างๆ กนั ออกไปดว้ ยตนเอง ได้เลือกใชส้ แี บบต่างๆ ด้วยตนเอง ไดต้ ดั ได้ฉีก ขย�ำ ตามความคิดของตนเอง ใชส้ อื่ ทมี่ อี ยใู่ นชวี ติ ประจำ� วนั มาสรา้ งสรรคผ์ ลงาน เลอื กใชว้ ธิ กี ารทำ� ใหส้ ง่ิ ตา่ งๆ ติดกันดว้ ยตนเอง • กระบวนการ คือเสรีภาพทจ่ี ะทดลองและพอใจ ภาคภูมใิ จ ทีจ่ ะสรา้ งสรรค์ งาน โดยไมต่ อ้ งกงั วลถึงผลงานทอ่ี อกมา • กระบวนการ คือการสร้างสรรค์อะไรสักอย่างหนึ่งที่เป็นของตัวเด็ก คนนั้นจริงๆ และไมต่ อ้ งลอกเลียนแบบใคร 187

ศิลปะที่เน้นกระบวนการเป็นส่ิงส�ำคัญท่ีจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากการสัมผัส สิ่งต่างๆ ท่ีมีพื้นผิวลักษณะต่างกัน ท�ำให้เกิดโอกาสท่ีเด็กจะได้แสดงออกถึง ประสบการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับตนในทุกแง่มุม ช่วยให้เด็กๆ ได้ทดลอง สร้างสรรค์ เสรมิ สรา้ งทกั ษะการคดิ และตดั สนิ ใจ ชว่ ยใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจในสงิ่ ตา่ งๆ รอบตวั เดก็ และศิลปะจะเป็นส่ิงทส่ี นุกสนานส�ำหรับเดก็ ศิลปะท่ีเน้นกระบวนการจะมลี ักษณะ ดังนี้ 1. เปิดโอกาสให้เด็กได้ท�ำตามที่เด็กคิด หรืออยากทดลองท�ำ ไม่มีการก�ำหนด ขัน้ ตอนการทำ� งาน 2. ยอมรบั ผลงานทหี่ ลากหลายของเดก็ ไมม่ คี วามคาดหวงั ในผลงานวา่ จะตอ้ งออก มาเปน็ อย่างโน้นอยา่ งนี้ ไม่มีตวั อย่างใหเ้ ดก็ เลียนแบบ 3. สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความเต็มใจและมีความสุขท่ีจะท�ำ คือเด็กได้ลงมือ เลือก คิด ท�ำ ด้วยตนเอง เมื่อตนเองต้องการ ไม่บังคับให้ท�ำ แต่ใช้วิธีการ เชญิ ชวนดว้ ยความออ่ นโยน แตห่ ากเดก็ ยืนยันว่าไมอ่ ยากท�ำก็ใหย้ อมรบั 4. ยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา ไม่มีข้อจ�ำกัดตายตัวในเรื่องของ “เวลา” เด็กอาจขอ ท�ำต่อในวันรุ่งขึ้น หรืออาจจะขอต่อเติมงานหลังจากเสร็จไปแล้ว หรือหยุดท�ำ เมอ่ื ตนเองพอใจแมว้ ่าครจู ะร้สู กึ วา่ ยงั ไม่เสรจ็ 188

5. ไดท้ ำ� ดว้ ยวธิ ตี า่ งๆ และใชว้ สั ดอุ ปุ กรณท์ แี่ ตกตา่ งกนั ไป มอี ปุ กรณ์ เครอ่ื งมอื และ วัสดุท่ีหลากหลายให้เด็กได้เลือกใช้ เลือกทดลอง เพื่อให้เด็กได้เลือก เช่น การติดวัสดุ บางคนอาจเลือกใช้เทปกาว กาวน้�ำหรือใช้เชือกผูกก็ได้ วัสดุ ที่น�ำมาท�ำงานศิลปะท่ีหลากหลายจะกระตุ้นการคิด การส�ำรวจ ตัดสินใจ เลือกและทดลองท�ำของเด็ก และที่ส�ำคัญเด็กได้ “ค้นพบ” หมายถึงเด็กๆ จะค้นพบวิธีใหม่ๆ วัสดุใหม่ๆ ด้วยตนเอง เรียนรู้สิ่งท่ีเกิดขึ้นเมื่อทดลองใช้ ส่ิงต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น เรียนรู้เองว่ากาวแบบไหนจะใช้กับวัสดุแบบไหน กระดาษแบบใดโดนกาวมากๆ จะเปน็ อย่างไร กระดาษแบบไหนโดนนำ�้ จะเป็น อย่างไร เป็นต้น 6. ได้ส�ำรวจ เด็กๆ จะส�ำรวจส่ิงท่ีต้องการท�ำ ส�ำรวจส่ืออุปกรณ์ท่ีจะใช้ ส�ำรวจ สิ่งต่างๆ รอบตัว น�ำมาสร้างสรรค์ผลงาน ไม่จ�ำกัดวัสดุท่ีเด็กจะท�ำงานศิลปะ แต่ละครั้งว่าต้องใช้วัสดุอะไร แต่ครูจะจัดวัสดุให้เด็กได้เลือกอย่างหลากหลาย เพ่ือให้เด็กได้ส�ำรวจ ได้พิจารณาไตร่ตรอง มีอิสระในการเลือก ได้ใช้ประสาท สมั ผสั ได้ทดลองท�ำ และวสั ดุทหี่ ลากหลายจะกระต้นุ ใหเ้ กดิ ความคดิ สรา้ งสรรค์ ไดด้ ี 7. มีโอกาสในการเผชิญกับปัญหาและค้นพบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง เม่ือเด็ก ประสบปัญหาในการท�ำงาน อย่าด่วนเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ควรเปิดโอกาส ให้ได้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง เพราะเป็นโอกาสให้เด็กได้ค้นหาและค้นพบวิธีการ ทำ� งานใหม่ๆ เป็นการเรียนรู้และสะสมประสบการณ์ ควบคไู่ ปกบั ความรูส้ กึ ทด่ี ี ตอ่ ตนเอง 189

ทำ� อย่างไร • จดั ประสบการณต์ รงกบั สง่ิ ตา่ งๆ รอบตวั เดก็ ๆ เนน้ การใชป้ ระสาทสมั ผสั ทงั้ หา้ • จัดหาสื่ออุปกรณ์ท่ีหลากหลายและเพ่ิมลดเพ่ือให้ใช้ส่ิงต่างๆ ท่ีแปลกใหม่ อยูเ่ สมอ หรอื จัดให้ตามท่ีเด็กคิดและต้องการ • จดั สอื่ อุปกรณท์ ี่เพยี งพอตอ่ ความต้องการใชข้ องเดก็ หลายๆ คน • ใชค้ ำ� ถามท่เี หมาะสมกบั การใหเ้ ด็กๆ คิดและรบั รวู้ า่ กำ� ลงั ท�ำอะไรอยู่ • ฟงั เดก็ ๆ เล่าถงึ ส่ิงที่ทำ� อย่างสนใจ  • ให้เวลาเพียงพอท่ีเด็กจะท�ำจนส�ำเร็จ และให้โอกาสเปลี่ยนแปลงปรับปรุง ได้อีกตามความต้องการ • ในบางโอกาส ใหเ้ ดก็ ๆ เลา่ ข้นั ตอนการท�ำงานศลิ ปะและการคิดของเดก็   • ยอมรับ และเคารพ (Respect) ผลงานของเดก็ ทกุ ช้นิ ของทกุ คน ไม่ว่าผลงาน นัน้ จะออกมาเป็นอย่างไรกต็ าม แล้วจะเป็นอย่างไร • จะไม่มีผลงานเด็กที่เหมือนกันหมดติดบอร์ดอีกต่อไป เพราะเด็กแต่ละคน จะมีผลงานออกมาไมเ่ หมอื นกนั • จะไมม่ ีการบงั คบั ให้เด็กๆ ทำ� ศิลปะ • มสี อ่ื อุปกรณห์ ลากหลาย แปลกใหม่ ใหเ้ ดก็ ๆ ไดเ้ ลอื กใช้อยา่ งเสรี • ไม่มีการวาดให้เด็กดู ไม่มีการสอนเด็กวาด ไม่มีการสอนเด็กๆ ต่อจุด ไม่มี worksheet แบบฝกึ หดั ทำ� ศิลปะ • ไม่มีการทำ� แบบให้ดู ไมม่ กี ารสอนป้นั หรอื ประดิษฐ์ตามแบบ • ไม่มีการบอกกล่าวตัดสินผลงานของเด็ก แต่ยอมรับและเคารพผลงาน ของเด็กๆ ทกุ คน ทุกชิน้ 190

Process Art เกี่ยวข้องกบั Executive Functions (EF) อยา่ งไร สง่ิ แรกคอื กระบวนการในการทำ� ศลิ ปะ ดว้ ยการใหเ้ ดก็ ทำ� อยา่ งเสรไี มม่ ผี ดิ มถี กู จึงท�ำให้เด็กๆ มีความม่ันใจในตัวเองสูงท่ีจะท�ำตามความคิดของตนเองจนส�ำเร็จ สามารถจดจอ่ ทำ� กจิ กรรมไดใ้ นระยะเวลานานขน้ึ เรอ่ื ยๆ อนั เปน็ ทกั ษะกำ� กบั ตนเอง ท่ีดี สามารถท่ีจะเรียนรู้ที่จะใช้สื่อต่างๆ ด้วยตนเอง พัฒนาและใช้ทักษะการคิด แก้ปัญหาได้ดี สามารถวางแผนในการเลือกใช้ส่ืออุปกรณ์ มีทักษะในการท�ำงาน กับเพื่อน พัฒนาอารมณ์และสังคม ยืดหยุ่นเปล่ียนแปลง ใช้สิ่งทดแทนแปลกใหม่ ไปเรื่อยๆ ได้  มีทักษะปฏิบัติได้ดี ท้ังการริเริ่มสร้างสรรค์ การคิดวางแผน การมี เป้าหมาย รวมถึงเมื่อลงมือกระท�ำอาจจะไม่สามารถท�ำตามแผนได้ ก็จะสามารถ ยืดหยุ่นความคิดและแก้ปัญหา เช่น ใช้วัสดุอื่นหรือวิธีอื่นทดแทน บางคร้ังท�ำตาม ที่ตนคิด แต่เพ่ือนๆ ให้ความคิดมาใหม่ ก็สามารถยืนหยัดให้เหตุผลของตน หรือยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงตามที่ตกลงกันใหม่ได้ เมื่อท�ำ Process Art ที่เน้น กระบวนการไปเร่ือยๆ แล้ว เด็กจะสามารถควบคุมอารมณ์ มีความพยายาม ทำ� ใหส้ ำ� เรจ็ ไดด้ ีขึ้นเร่ือยๆ มา..มา..มาชว่ ยกนั ใหเ้ ดก็ ๆ ไดท้ ำ� ศลิ ปะทเี่ นน้ กระบวนการใหม้ ากกวา่ ผลงาน กนั ใหม้ ากขน้ึ ดกี วา่ อยา่ ไปรบี เรง่ สอนเดก็ ใหว้ าดหรอื ประดษิ ฐอ์ อกมาสวยๆ ตามใจผูใ้ หญ่อีกตอ่ ไป ผลงานที่ออกมาจากความคิดความสามารถของเด็กเอง น่าภูมิใจมากกว่า ผลงานท่ีให้เด็กท�ำตามผู้ใหญ่ เด็กจะพัฒนาให้เห็นผลงานที่ดีข้ึนเร่ือยๆ แลว้ ผใู้ หญ่จะ “ตกใจ!!!” 191

192

WHO EF กบั การเล่นอสิ ระ (Free Play) การเล่นคือภาษาที่เป็นสากลของเด็ก เด็กเรียนรู้ ที่จะเข้าใจกัน และเรียนรู้ที่จะเข้าใจโลกรอบตัวผ่าน อาจารย์ธดิ า พิทักษ์สินสขุ การเล่น เด็กเรียนรู้ส่ิงต่างๆ มากมายจากการเล่น การเล่นช่วยให้เด็กมีทักษะทางสังคม เช่น แบ่งปัน ผลัดกันเล่น มวี นิ ัยท่จี ะก�ำกับตนเอง อดทนตอ่ คนอื่น การเล่นอสิ ระ คือ อะไร Play Scotland Organization การเล่นอิสระของเด็กหมายถึงการเล่นที่เด็กมีอิสระในการเล่น ไม่ว่าจะเล่น อะไร เลน่ กบั ใคร เลน่ อย่างไร จะยตุ ิการเลน่ หรือเปล่ียนแปลงการเล่นเม่ือใดก็ขึ้น กับการตัดสินใจของเด็กเอง การเล่นอิสระจึงไม่ได้มีการก�ำหนดเป้าหมายโดยครู แตจ่ ะเป็นการเลน่ อยา่ งอสิ ระตามธรรมชาติของเดก็ แมว้ า่ ครจู ะเปน็ ผเู้ ลอื กสรรวสั ดอุ ปุ กรณ ์ จดั สถานทหี่ รอื กำ� หนดบรเิ วณใหเ้ ดก็ เล่นและก�ำหนดกติกาบางอย่าง เช่น กฎของความปลอดภัย กติกาการเล่นร่วม กนั แตอ่ ย่างไรกด็ ี ในการเลน่ อสิ ระ ครูกไ็ มไ่ ดเ้ ป็นผกู้ ำ� กบั การเล่นของเดก็ เดก็ จะ เป็นผู้ก�ำหนดการเล่นเอง และหากครูมาร่วมเล่นด้วย ครูก็ต้องลดบทบาทของ ความเปน็ ครใู หเ้ ปน็ เพยี งผรู้ ว่ มเลน่ และใหเ้ ดก็ เปน็ ผนู้ ำ� ในการเลน่ เพอ่ื เปดิ โอกาส ให้เด็กได้รับประโยชน์จากการเล่นอสิ ระอย่างเต็มที่ 193

ลกั ษณะของการเลน่ อสิ ระ & การเลน่ ที่มแี บบแผน เล่นอิสระ เล่นอยา่ งมแี บบแผน • เดก็ เป็นผตู้ ัดสินใจทจี่ ะเล่น • การเลน่ เกิดจากครกู ำ� หนดหรอื วางแผน • เปา้ หมายกำ� หนดโดยเด็ก หรือเล่นโดย • เปา้ หมายก�ำหนดโดยครู ไม่ไดก้ �ำหนดเป้าหมายไว้กอ่ น • ผลผลติ ของการเลน่ มคี วามเหมอื นหรอื คลา้ ยคลงึ กนั • ผลผลติ ของการเลน่ แตกต่างกนั ไป • การเลน่ มขี น้ั ตอน มกี ตกิ า กำ� หนดไวอ้ ยา่ งชดั เจน • การเล่นมคี วามยืดหยุ่น ปรบั เปลย่ี นไปตาม • การเล่นยุติเมื่อสิ้นสดุ แผนการเลน่ ท่คี รูก�ำหนด สถานการณ์และความต้องการของผเู้ ลน่ • ครูมักจะมีบทบาทในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น • การเลน่ ยตุ เิ มอ่ื เดก็ ตดั สนิ ใจเลกิ เลน่ หรอื เมอื่ ตอ้ ง อาจจะเข้าไปแก้ปัญหาเอง หรือกระตุ้นให้เด็ก ไปท�ำกจิ กรรมอื่น เปน็ ผแู้ ก้ปญั หา • การเล่นด�ำเนินไปอย่างลื่นไหล ต่อเนื่อง เมื่อมี • เด็กมีอิสระในการเล่นท่ีอยู่ในกรอบท่ีครูก�ำหนด อปุ สรรคกป็ รบั เปลย่ี นการเลน่ ไป เพอื่ ใหก้ ารเลน่ เนอ่ื งจากครมู เี ปา้ หมาย และกำ� หนดวตั ถปุ ระสงค์ ด�ำเนนิ ต่อไปอยา่ งสนกุ สนานเพลิดเพลิน ทีช่ ดั เจนไวเ้ รยี บร้อยแล้ว • เดก็ มอี สิ ระอยา่ งเตม็ ทตี่ ลอดการเลน่ ทง้ั เปา้ หมาย วิธีการ การตัดสินใจเลือก การแก้ปัญหา การ ต่อยอด การเริ่มและยุติการเล่น ต้องการเล่น ตามลำ� พงั หรือชวนเพ่ือนเลน่ ด้วย 194

ท�ำไมการเลน่ อสิ ระจึงเป็นสง่ิ ท่ีโปรดปรานของเด็ก การเลน่ อสิ ระราวกบั เปน็ ชีวิตจิตใจของเดก็ เดก็ จะใชเ้ วลาเล่นอยา่ งเพลิดเพลิน ไดเ้ ปน็ เวลานาน เมอ่ื ลองพจิ ารณาอยา่ งใครค่ รวญเราจะพบคำ� ตอบวา่ ทำ� ไมการเลน่ อิสระจึงเป็นที่ติดใจเด็กเหลือเกิน ท่ีแน่ๆ คือ คงไม่ใช่เพียงแค่ความสนุกสนาน แตส่ ่ิงที่ผูกโยงให้เด็กเล่นอย่างต่อเนือ่ ง คือ • ได้คิด และได้ลองท�ำดู เด็กจึงสนุกกับการสรรหาวิธีเล่นที่หลากหลายตามแต่ ใจนกึ เพลดิ เพลนิ กบั ความคดิ สรา้ งสรรคแ์ ละจนิ ตนาการ ไดต้ อ่ ยอดความคดิ ของ ตนแบบไม่รจู้ บ • มีอสิ ระ ปราศจากความกดดนั ท่มี าจากความคาดหวงั ผลของครู • ไม่กลัวท่ีจะล้มเหลว ผิดก็คิดใหม่ท�ำใหม่ ยังท�ำได้ไม่ดีก็ท�ำซ้�ำ หากพยายามท�ำ แล้วลม้ เหลว ก็ไม่เสียหน้า ไม่โดนต�ำหนิ • ได้ภูมิใจกับความส�ำเร็จที่เกิดจากความคิดและการลงมือท�ำของตนเอง ตั้งแต่ ความส�ำเร็จย่อยที่เกิดข้ึนระหว่างทาง และความภูมิใจกับผลงานที่เกิดข้ึน ปลายทาง • รสู้ กึ ดตี อ่ ตนเองทมี่ คี วามสามารถเพมิ่ ขน้ึ ทง้ั การคดิ และการลงมอื ทำ� ทำ� ใหป้ ญั หา หรืออุปสรรคกลายเป็นส่ิงท้าทาย มีความคล่องแคล่วในการลงมือท�ำ ตัดสินใจ ได้เร็วขึ้น มีล�ำดับข้ันตอนที่ดีในการท�ำงาน ว่าควรท�ำอะไรก่อนหลัง มีความ ผิดพลาดน้อยลง • สนกุ กบั การเลน่ ทไี่ ดส้ ำ� รวจ ไดค้ าดเดาผล หรอื เฝา้ รอดผู ลจากสงิ่ ทย่ี งั ไมร่ คู้ ำ� ตอบ • อยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลายแต่มีชีวิตชีวา มีความสนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย เพลิดเพลิน และแปลกใหม่ 195

“การเล่นอยา่ งอิสระตามธรรมชาติ หรอื free การเล่นอสิ ระส�ำคญั อยา่ งไร และเกีย่ วขอ้ งกับการพัฒนา play ทเ่ี ดก็ ไดเ้ ลน่ กนั อยา่ งอสิ ระ นอกจากเดก็ ทกั ษะสมอง EF อย่างไร จะเพลดิ เพลนิ มคี วามสขุ แลว้ การเลน่ ยงั พฒั นา สมองของเด็กอกี ด้วย” การเลน่ อยา่ งอสิ ระ เปน็ การเลน่ ทม่ี ปี ระโยชนต์ อ่ การพฒั นาเดก็ อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเปน็ ด้านร่างกาย อารมณ์ สงั คมและจิตใจ นพ.จอม ชมุ ชว่ ย จิตแพทยเ์ ดก็ และวัยรนุ่ • การเล่นมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ท้ังกล้ามเนื้อ มดั เลก็ -ใหญ่ ระบบการรบั สมั ผสั การทำ� งานประสานกนั ระหวา่ ง อวยั วะส่วนต่างๆ และการท�ำงานของสมอง • ชว่ ยใหเ้ ดก็ มที กั ษะในการอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ นื่ ไมว่ า่ จะเปน็ การแบง่ ปนั อดทนอดกลัน้ จัดการกบั ความขัดแย้ง ประนปี ระนอม ใหอ้ ภัย เจรจาตอ่ รอง • ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะคิดและลงมือท�ำ ส่ิงต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นต้นทางของการส่งเสริมทักษะ ด้านการคิด วางแผน ลงมือท�ำ กล้าเผชิญปัญหา จนก่อให้เกิด นิสัยของความขยัน กระตือรือร้น สนุกที่จะคิดและสร้างสรรค์ สิ่งตา่ งๆ • การเลน่ ทป่ี ราศจากการชน้ี ำ� หรอื กำ� กบั โดยผใู้ หญจ่ ะทำ� ใหเ้ ดก็ ได้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ผลัดกันเป็นผู้น�ำผู้ตามอย่างเป็น ธรรมชาต ิ และทักษะในการท�ำงานกลุ่มกับเพ่อื นเดก็ ด้วยกนั • เด็กได้ผ่อนคลาย มีความสุขและเพลิดเพลิน การเล่นสมมติยัง ชว่ ยให้เด็กได้ระบายความวติ กกังวล หรือความทุกขท์ ี่มีอย่ใู นใจ 196

การเล่นอสิ ระกบั การพัฒนาทกั ษะสมอง EF การเลน่ อสิ ระมคี วามสำ� คญั อยา่ งยง่ิ ตอ่ การพฒั นาทกั ษะสมอง EF การเลน่ อสิ ระ เป็นสิ่งที่เด็กสนุกสนานและพร้อมเล่นทุกเมื่อ เด็กสนุกที่ได้ออกแบบการเล่นเอง ได้ใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และน�ำทุกทักษะท่ีฝึกฝนมาใช้ในการเล่น ภายใตบ้ รรยากาศของความมอี สิ ระทจี่ ะเลน่ และลงมอื ทำ� ดว้ ยตนเอง การเลน่ อสิ ระ จึงเป็นห้วงเวลาท่ีเอ้ืออ�ำนวยต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF ให้กับเด็กได้ เป็นอย่างดี โอกาสที่เดก็ ได้รบั จากการเล่นอสิ ระ ทักษะสมอง EF • เดก็ เปน็ ผรู้ เิ รมิ่ และตดั สนิ ใจทจี่ ะเลน่ และเลอื กวธิ ี • รเิ ริม่ ลงมือทำ� (Initiating) เลน่ ดว้ ยตนเอง เดก็ สนกุ ทจี่ ะสรา้ งสรรคก์ ารเลน่ ใหม่ๆ หรือเล่นซ�้ำๆ เพ่ือให้เกิดทักษะใหม่ๆ • มุ่งเป้าหมาย และเพยี รพยายาม คดิ และลงมอื ท�ำได้อยา่ งรวดเรว็ (Goal-Directed Persistence) • เด็กเป็นผู้ก�ำหนดเป้าหมายการเล่นเอง และ พยายามไปส่เู ป้าหมายดว้ ยความมุ่งมนั่ ไมว่ ่าจะ • จ�ำเพอ่ื ใช้งาน มอี ุปสรรคหรือไมส่ �ำเรจ็ ก็มีความเพยี รพยายาม (Working Memory) ทำ� ตอ่ ไป ดว้ ยการหาวธิ ใี หมๆ่ อปุ กรณใ์ หมๆ่ เพอื่ มุง่ สู่เปา้ หมายท่ีเดก็ ตง้ั ใจ • เด็กมีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เก่า น�ำมาสู่การเล่น ท้ังการต้ังเป้าหมาย วิธีการเล่น การเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบการเล่น ตลอดจน วธิ กี ารแก้ปญั หา 197

โอกาสท่เี ด็กไดร้ ับจากการเลน่ อสิ ระ ทกั ษะสมอง EF • การเล่นมีความยืดหยุ่น ปรับเปล่ียน ไปตาม • ยดื หย่นุ ความคดิ สถานการณ์และความต้องการของผู้เล่นและ (Shifting / Cognitive Flexibility) หากมีเพ่ือนร่วมเล่นด้วย การเล่นอาจมีการปรับ เปล่ียนเพื่อให้การเล่นสนุกสนานย่ิงขึ้น หรือมี แรงบันดาลใจใหม่ • เด็กมีการวางแผนการเล่น จะท�ำอะไร ใช้อะไร • วางแผนและจัดระบบด�ำเนินการ ประกอบการเลน่ ชวนใครมาเลน่ ดว้ ย และระหวา่ ง (Planning and Organizing) เลน่ อาจมกี ารปรบั แผนเปน็ ระยะๆ หากพบอปุ สรรค หรือให้วิธีเล่นใหม่ๆ เพื่อให้การเล่นด�ำเนินไป อยา่ งลนื่ ไหล ตอ่ เนอ่ื ง หรอื สนกุ สนานทา้ ทายยงิ่ ขน้ึ • ในระหว่างการเล่นย่อมต้องเกิดอุปสรรคระหว่าง • ควบคมุ อารมณ์ ทางที่อาจท�ำให้เด็กรู้สึกผิดหวัง ล้มเหลว หรือ มี (Emotional Control) ความขัดแย้งกับเพื่อน แต่เด็กจะพยายามอดทน อดกลั้นและหาวิธีการที่จะผ่านอุปสรรคเพื่อให้ การเลน่ ยงั คงด�ำเนนิ ตอ่ ไปได้ • เดก็ เรยี นรทู้ จ่ี ะยบั ยงั้ ชงั่ ใจ และปรบั เปลยี่ นการเลน่ • ยบั ย้ังชงั่ ใจ คิดไตรต่ รอง เมื่อเห็นว่าการเล่นอาจจะท�ำให้เกิดปัญหา หรือ (Inhibitory Control) ท�ำให้ต้องยุติการเล่น ท�ำให้ครูหรือเพ่ือนคนอื่นไม่ พอใจ เช่น เสียงดังมาก เฉอะแฉะเกินไป แม้จะ เห็นว่าการเลน่ เช่นนนั้ ช่างสนกุ เหลือเกิน 198

โอกาสทีเ่ ด็กไดร้ บั จากการเล่นอิสระ ทักษะสมอง EF • ระหว่างที่เด็กเล่น ส่ิงที่เห็นได้ชัดเจน คือ การมุ่ง • จดจ่อใสใ่ จ ความสนใจ มีสมาธิอยู่กับส่ิงที่เล่นอย่างต่อเน่ือง (Focus / Attention) และจดจอ่ ไดเ้ ปน็ ระยะเวลานานกวา่ การทำ� กจิ กรรม อน่ื ๆ เพราะเปน็ การจดจอ่ ทเ่ี ตม็ ไปดว้ ยหลากหลาย อารมณใ์ นทางบวก เชน่ ความสนกุ สนาน เพลดิ เพลนิ ตืน่ เตน้ ท้าทาย ภาคภมู ใิ จ • ระหว่างที่เด็กเล่นจะเห็นว่าเด็กได้มีการประเมิน • ตดิ ตาม ประเมนิ ตนเอง ตนเองอยู่เป็นระยะว่าจะเกินก�ำลังหรือไม่ ต้องหา (Self – Monitoring) เพื่อนมาช่วยหรือเปล่า สูงเกินกว่าจะปีนไหม การเล่นช่วยให้เด็กได้ตรวจสอบตัวเอง รู้จุดอ่อน จดุ แขง็ ทกั ษะทีต่ ้องฝึกฝนเพ่มิ เตมิ เพ่ือให้การเล่น ของตนดีขึ้นหรอื ประสบความส�ำเร็จ 199

200


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook