Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อารยธรรมโรมัน

อารยธรรมโรมัน

Published by Wanwisa Paeluk-in, 2022-07-04 06:58:28

Description: เรื่องอารยธรรมโรมัน เกี่ยวกับ ประวัติ ระบบการปกครอง การศึกษา วิถีชีวิตฯ

Search

Read the Text Version

อารยธรรมโรมัน Roman Civilization

คำนำ หนังสือเล่มนี้เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชาระเบียนหนังสือ (ง22201) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่2 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้เกี่ยวกับ อารยธรรมโรมัน ประวัติ ระบบการปกครอง การศึกษา วิถีชีวิตฯ ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการนำเสนอ เนื่ องจากเป็ นเรื่องที่น่าสนใจ รวมทั้งทำให้ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมโรมัน ที่เกิดขึ้นและมีมายาวนานจนถึงในปั จจุบัน คณะผู้จัดทำ

สารบัญ เนื้ อหา 4 ประวัติอารยธรรมโรมันแบบย่อ 5 ปัจจัยส่งเสริมการขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมัน 6 สภาพภูมิศาสตร์ของแหลมอิตาลี 7 ระบบปกครอง 8 กองทัพโรมัน 9 การขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมัน 10 การสถาปนาจักรวรรดิโรมัน 11 ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมัน 12 มรดกของอารยธรรมโรมัน 13 ด้านการปกครอง 14 ด้านเศ รษฐกิจ ด้านเกษตรกรรม 15 ด้านการค้า ด้านอุตสาหกรรม ด้านสังคม 16 ภา ษาละติน 17 การศึกษา 18 ด้านวรรณกรรม 19 การก่อสร้างและสถาปัตยกรรม 20 ด้านวิทยาการต่างๆ 21 วิถีชีวิตของชาวโรมัน บรรณานุกรม รายชื่อสมาชิก

4 ประวัติอารยธรรมโรมันแบบย่อ อารยธรรมโรมันมีศูนย์กลางอยู่ที่แหลมอิตาลี เป็นอารยธรรมของพวก อินโด-ยูโรเปียนเผ่าละติน (Latin) ซึ่งอพยพจากทางตอนเหนือมาตั้งถิ่นฐาน ในแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเรียกตัวเองว่า “โรมัน” พวกโรมันได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนที่เป็นศูนย์กลาง ความเจริญของอารยธรรมเฮลเลนิสติกซึ่งสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อน คริสต์ศักราช และดินแดนอื่นๆ ทั้งในยุโรปและแอฟริกาเหนือ ทำให้อารยธรรม ของโลกตะวันออกซึ่งผสมผสานอยู่ในอารยธรรมกรีกได้ขยายเข้าไปในทวีป ยุโรป และเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกในปัจจุบัน

5 ปั จจัยส่งเสริมการขยาย อำนาจของจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิโรมันขยายอำนาจ ที่ยิ่งใหญ่เหนือดินแดนต่างๆ นานหลายร้อยปี โดยมีปัจจัย สำคัญที่ส่งเสริมการขยาย อำนาจของโรมันคือ สภา พ ภูมิศาสตร์ของแหลมอิตาลี ระบอบการปกครอง และ กองทัพโรมัน 5

6 สภาพภูมิศาสตร์ของแหลมอิตาลี แหลมอิตาลีตั้งอยู่กึ่งกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างคาบสมุทรบอลข่านและคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่ง สะดวกต่อการติดต่อกับเอเชียไมเนอร์และยุโรปตอนใต้ นอกจากนี้รูปร่างของแหลมอิตาลียังเปรียบเสมือน รองเท้าบูตที่ยื่นเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้สามารถติดต่อกับดินแดนรอบๆ ทะเล เมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะตอนเหนือของทวีปแอฟริกา อนึ่ง ตอนเหนือของแหลมอิตาลีแม้จะมีเทือกเขา แอลป์ (Alps) ขวางกั้นแต่ชาวโรมันก็สามารถติดต่อกับดินแดนตอนกลางของยุโรปได้ไม่ยากนักเนื่องจาก มีช่องเขาที่สามารถเดินทางผ่านได้ นอกจากนี้ชายฝั่งทะเลที่ยาวเหยียดของแหลมอิตาลีก็ช่วยให้ชาวโรมัน ติดต่อกับดินแดนอื่นๆได้สะดวก ลักษณะที่ตั้งดังกล่าวแม้จะเคยเป็นจุดอ่อนที่เปิดโอกาสให้ศัตรูที่เข้มแข็ง กว่าเข้ามารุกรานชาวโรมันสมัยโบราณได้โดยง่าย แต่ในทางตรงข้าม ชาวโรมันก็ใช้ประโยชน์จากสภาพ ภูมิศาสตร์ของตนในการรุกรานดินแดนอื่นๆ ทั่วทุกทิศ จนขยายอำนาจเป็นจักรวรรดิโรมันในเวลาต่อมา สภาพภูมิศาสตร์ของแหลมอิตาลียังมีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมเอกภาพของชาวโรมัน ลักษณะ ภูมิประเทศของแหลมอิตาลี แม้จะมีเทือกเขาอะเพนไนน์ (Apennine) ทอดขนานตามความยาวของ รองเท้าบูต แต่เทือกเขานี้ก็ไม่สูงชันเหมือนกับภูเขาในดินแดนกรีก จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการติดต่อค้าขาย ภายในและการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง นอกจากนี้ แหลมอิตาลียังมีพื้นที่ราบเชิงเขาที่มีดินอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีภูมิอากาศที่อบอุ่นช่วยให้การเพาะปลูกได้ผลดี ชาวโรมันจึงมีเศรษฐกิจรุ่งเรือง สามารถขยาย ตลาดการค้าภายในดินแดนของตนและไม่ต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศมากนัก 5

7 ระบบปกครอง ชาวโรมันได้สถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐขึ้น หลังจากรวมอำนาจในแหลมอิตาลีได้ ระบอบสาธารณรัฐ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ชาวโรมัน เพราะเป็นระบอบ ที่เปิดโอกาสให้พลเมืองโรมันทุกคนทั้งชนชั้นสูง สามัญ ชน และทหาร มีส่วนร่วมในการปกครอง ด้วยการเลือก ตั้งตัวแทนของกลุ่มตนเข้าไปบริหารออกกฎหมาย กำหนดนโยบายต่างประเทศ และประกาศสงคราม โดยมี กงสุล (Consull) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่ ประมุขและบริหารการปกครองทุกด้าน การมีส่วนร่วมใน การปกครองของพลเมืองโรมันทำให้สาธารณรัฐโรมัน แข็งแกร่งมั่นคงและเจริญก้าวหน้า ต่อมาเมื่อโรมันขยายอำนาจครอบครองดินแด นอื่นๆอย่างรวดเร็ว จึงเปลี่ยนระบอบปกครองเป็น จักรวรรดิ มีจักรวรรดิเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด จักรวรรดิ ได้แต่งตั้งชาวโรมันปกครองอาณานิคมต่างๆ โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมดินแดนต่างๆ และส่งผลให้ จักรวรรดิโรมันมีอำนาจยืนยาวหลายร้อยปี

8 กองทัพโรมัน ความเข้มแข็งของกองทัพโรมันเป็ นปั จจัยหนึ่ งที่ส่งเสริมการ ขยายอิทธิพลของจักรวรรดิโรมัน กองทัพโรมันมีชื่อเสียงในด้าน ความสามารถและประสิทธิภาพการรบ ความสำเร็จส่วนใหญ่เกิด จากการจัดองศ์กรภายในกองทัพที่ดีเยี่ยมและการฝึ กฝนทหารให้ มีประสิทธิภาพและมีวินัย โดยใช้บท ลงโทษที่รุนแรง นอกจากนี้ ความเข้มแข็งของกองทัพยังรวมถึงความรับผิดชอบของทหาร แต่ละคนอีกด้วย (ทหารโรมันประกอบด้วยพลเมืองชายทุกคน มีหน้ าที่รับใช้กองทัพในยามเกิดศึกสงคราม ทหารเหล่านี้ไม่มี ตำแหน่งในกองทัพ เว้นแต่ได้ปฏิบัติหน้ าที่เกินกว่า 10 ปีขึ้นไป) 6

9 การขยายอำนาจของจักรวรรดิ โรมัน ชาวโรมันโบราณที่อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมอิตาลี ประกอบด้วยเผ่าที่สำคัญ 2 เผ่า คือ พวกละติน ซึ่งอพยพมาจาก ทางตอนเหนือ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตที่ราบตะวันตก และตาม แนวแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber River) จากนั้นได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นรวมทั้งกรุงโรม อีกเผ่าหนึ่งคือพวกอีทรัสคัน (Etruscans) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียไมเนอร์เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสต์ ศักราช พวกอีทรัสคันได้ขยายอาณาเขตรุกรานดินแดนของพวก ละติน และสถาปนากษัตริย์ปกครองแหลมอิตาลีเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลังจากขยายอำนาจปกครองได้ ประมาณ 100 ปี พวกอีทรัสคันก็สูญเสียอำนาจ และผสม กลมกลืนกับพวกละตินจนกลายเป็นชาวโรมันในเวลาต่อมา ความ เจริญรุ่งเรืองที่พวกอีทรัสคันสร้างไว้ให้แก่อารยธรรมโรมันคือ การนำตัวอักษรกรีกเข้ามาใช้ในแหลมอิตาลี ซึ่งต่อมาได้พัฒนา เป็นอักษรโรมัน พัฒนาการของสาธารณรัฐในโรมัน ชาวโรมันได้ สถาปนาสาธารณรัฐโรมันขึ้นหลังจากอีทรัสคันเสื่อมสลายไป จากนั้นได้ขยายอำนาจทั่วแหลมอิตาลีและในดินแดนรอบๆ ทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างปี 264-146 ก่อนคริสต์ศักราช โรมัน ได้ทำสงครามพูนิก (Punic War) กับคาร์เทจ (Carthage) ถึง 3 ครั้ง คาร์เทจเป็นนครริมฝั่ งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอน เหนือของทวีปแอฟริกาในเขตประเทศตูนิเชียปัจจุบัน ในอดีตเป็น อาณานิคมที่ชาวฟินิเซียนสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าในเขต ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาได้เจริญเติบโตและมั่งคั่งพร้อมทั้งมี อาณานิคมของตนหลายแห่ง เมื่อโรมันขยายอำนาจลงมาทางใต้ ของแหลมอิตาลีได้เกิดขัดแย้งกับคาร์เทจ ซึ่งมีอาณานิคมอยู่ไม่ ไกลจากแหลมอิตาลีมากนัก คาร์เทจพ่ายแพ้แก่โรมันในสงคราม พูนิกทั้ง 3 ครั้ง ทำให้โรมันมีอำนาจเหนือดินแดนรอบทะเล เมดิเตอร์เรเนียนด้านตะวันตก รวมทั้งสเปน ซึ่งอุดมด้วยเหมือง ทองและเงิน นอกจากนี้แล้ว โรมันยังเอาชนะอาณาจักรซิโดเนียซึ่ง เป็นพันธมิตรของคาร์เทจได้เมื่อปี 147 ก่อนคริสต์ศักราช ดังนั้น นครรัฐกรีกทั้งปวง ตลอดจนดินแดนในเขตเอเชียไมเนอร์ซึ่งเป็น อดีตอาณานิคมของมาซิโดเนียจึงอยู่ภายในอำนาจของโรมันด้วย

10 การสถาปนาจักรวรรดิ โรมัน การทำสงครามขยายอำนาจครอบครองดินแดนต่างๆ ทำให้เกิดผู้นำทางการทหาร ซึ่งได้รับความจงรักภักดีจากทหารของตน เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันระหว่างกลุ่ม ผู้นำกองทัพกับสมาชิกสภาซีเนตซึ่งคุมอำนาจปกครองอยู่เดิม ในปี 46 ก่อนคริสต์ศักราช จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar)แม่ทัพโรมัน ซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ที่แหลมอิตาลี สเปน กรีก และอียิปต์ ได้เข้าควบคุมกรุงโรม ปีต่อ มาเขาได้รับการสถาปนาเป็นผู้เผด็จการ (Dictator) และมีอำนาจสูงสุดเทียบเท่า กษัตริย์ ขณะนั้นโรมันยังคงปกครองในระบอบสาธารณรัฐ แต่อำนาจขององค์กร การเมืองถูกลิดรอน เช่น การเพิ่มจำนวนสมาชิกในสภาซีเนตจากเดิมซึ่งมีเพียง 300 คน เป็น 900 คน และยังอนุญาตให้สมาชิกมาจากพลเมืองกลุ่มอื่นๆ ได้นอก เหนือจากเดิมที่สงวนให้เฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น นอกจากนี้ซีซาร์ยังให้สถานะ “พลเมืองโรมัน” แก่ประชาชนทั่วไปตามเขตต่างๆ มากขึ้น นโยบายดังกล่าวช่วยเพิ่ม อิทธิพลและอำนาจของซีซาร์ เป็นเหตุให้มีผู้อิจฉาริษยาอำนาจของเขา ซีซาร์ถูก ลักลอบสังหารเมื่อปี 44 ก่อนคริสต์ศักราช

11 ความเสื่อมของจักรวรรดิโรมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 180 จักรวรรดิโรมันเริ่มเสื่อมอำนาจลง เนื่องจากไม่สามรถปกครอง จักรวรรดิที่มีขนาดกว้างใหญ่มากๆได้ บางช่วงต้องมีการแต่งตั้งจักรพรรดิร่วม เพื่อแยกกันปกครองจักรวรรดิ ใน ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ได้ปกครอง จักรวรรดิโรมัน และเกิดเหตุการณ์สำคัญ 2 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์แรก ได้แก่การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากกรุงโรมไปยัง กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) เมื่อ ค.ศ. 330 ทำให้จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกเป็น 2 ส่วน คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งยังคงมีศูนย์กลางที่กรุงโรม และจักรวรรดิไบแซน ไทน์หรือหรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือนครอิสตันบูลในประเทศตุรกี) ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง และถูกรุกรานในเวลาต่อมา เหตุการณ์ที่ 2 คือการที่จักรพรรดิคอนสแตนตินหันไปนับถือศาสนาคริสต์ และทำให้คริสต์ศาสนาแพร่หลายในเขตจักรวรรดิโรมัน และกลายเป็นศาสนาหลัก ของโลกตะวันตกในเวลาต่อมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยสิ้น เชิง จักรวรรดิโรมันตะวันตกอ่อนแอลงตามลำดับเพราะถูกทำลายโดยพวก อารยชนสำคัญ 2 เผ่า คือ เผ่าเยอรมันซึ่งมาจากทางเหนือของแม่น้ำไรน์และแม่ น้ำดานูบ และพวกฮัน (Huns) ซึ่งเป็นเชื้อสายเอเชียมาจากทางเหนือของทะเลดำ พวกเยอรมันโจมตีกรุงโรมได้ใน ค.ศ. 410 และปล้นสะดมทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้ เกิดความระส่ำระสายขึ้นในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในที่สุดจักรพรรดิองค์ สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ถูกโค่นใน ค.ศ. 476 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นปีที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย แม้ว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังดำรงอยู่ต่อ ไปก็ตาม

12co 61 มรดกของอารยธ รรมโรมัน ชาวโรมันได้ใช้เวลานานกว่า 600 ปีในการผสมผสานและ หล่อหลอมอารยธรรมของตน ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิ โรมันที่กว้างใหญ่ ความโดเด่นของอารยธรรมโรมันเกิดจาก รากฐานที่แข็งแรง ซึ่งได้รับจากอารยธรรมกรีกและอารยธรรมของดินแดนรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผสานกับความเจริญก้าวหน้าที่เป็น ภูมิปัญญาของชาวโรมันเองที่พยายามคิดค้นและสร้างระบบ ต่างๆ เพื่อดำรงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันไว้ ทำให้ จักรวรรดิโรมันเจริญก้าวหน้า ทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม

13 ด้านการปกครอง ด้านการปกครอง อารยธรรมด้านการปกครองเป็นภูมิปัญญาของ ชาวโรมันที่ได้พัฒนาระบอบการปกครองของตนขึ้นเป็นระบอบ สาธารณรัฐและจักรวรรดิ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับ จักรวรรดิโรมัน จุดเด่นของการปกครองแบบโรมัน คือการให้ พลเมืองมีส่วนร่วมในการบริหารราชการส่วนกลาง และการ ปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย การปกครองส่วนกลาง พลเมืองโรมันแต่ล่ะกลุ่ม ทั้ง ชนชั้นสูง สามัญชน และทหาร ต่างมีโอกาสเลือกผู้แทนของตน เข้าไปบริหารประเทศรวม 3 สภา คือ สภาซีเนต (Senate) ซึ่งเป็น ตัวแทนของกลุ่มแพทริเซียน (Patricians) หรือชนชั้นสูง สภา กองร้อย (Assembly of Centuries) ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่ม ทหารเหล่าต่างๆ และราษฎร (Assembly of Tribes) ซึ่งเป็น ตัวแทนของพวกพลีเบียน (Ple-beians) หรือสามัญชนเผ่าต่างๆ รวม 35 เผ่า แต่ละสภามีหน้าที่และอำนาจแตกต่างกัน รวมทั้งการ คัดเลือกเจ้าหน้าที่ไปบริหารงานส่วนต่างๆ แต่โดยรวมแล้วสภาซี เนตมีอำนาจสูงสุด เพราะได้ควบคุมการปกครองทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนกำหนดนโยบายต่างประเทศ ด้วย กฎหมายโรมัน โรมันมีกฎหมายมาตั้งแต่สมัยสาธารณรัฐ ในระยะแรกกฎหมายไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์ การบังคับใช้ กฎหมายเป็นไปตามวินิจฉัยของผู้พิพากษาซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นสูง ดังนั้นพวกสามัญชนจึงเรียกร้องให้เขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์ ซึ่งต่อมาได้แกะสลักบนแผ่นไม้รวม 12 แผ่นเรียกว่า กฎหมายสิบ สองโต๊ะ (Twelve Tables) ความโดดเด่นของกฎหมายโรมันคือ ความทันสมัย เพราะมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับ โครงสร้างการปกครองที่เปลี่ยนเป็นระบอบจักรวรรดิและสภาพ แวดล้อมของประชาชนในทุกส่วนของจักรวรรดิ นอกจากนี้ ตุลาการชาวโรมันยังมีส่วนทำให้เกิดการยอมรับหลักการพื้นฐาน ของกฎหมายว่า ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคกันภายใต้ กฎหมาย ซึ่งรวมถึงกระบวนการยุติธรรมที่ยึดเป็นแบบอย่าง ปฏิบัติต่อมาถึงปัจจุบันคือ ให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหาทุกคนเป็นผู้ บริสุทธิ์ไว้ก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ามีการกระ ทำความผิด

14 ด้านเศรษฐกิจ ด้านเกษตรกรรม จักรวรรดิโรมันมีนโยบายส่งเสริมการผลิตทางด้าน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม รวมทั้งการค้ากับดิน แดนภายในและภายนอกจักรวรรดิ เดิมชาวโรมันในแหลมอิตาลีประกอบเกษตรกรรมเป็นหลัก และ พึ่งพิงการผลิตภายในดินแดนของตน ต่อมาเมื่อจักรวรรดิ โรมันขยายอำนาจออกไปครอบครองดินแดนอื่นๆ การเพาะ ปลูกพืชและข้าวในแหลมอิตาลีเริ่มลดลง เนื่องจากรัฐส่งเสริม ให้ดินแดนอื่นๆ นอกแหลมอิตาลีปลูกข้าว โดยวิธีการปฏิรูป ที่ดิน ดินแดนที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่ในแคว้นกอล (Gaull) เขต ประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน และตอนเหนือของแอฟริกา ส่วนพื้นที่ การเกษตรในแหลมอิตาลีส่วนใหญ่เปลี่ยนไปทำไร่องุ่นและ เลี้ยงสัตว์

15 ด้านการค้า ด้านการค้า การค้าในจักรวรรดิโรมันรุ่งเรืองมาก มีทั้งการค้ากับดิน แดนภายในและนอกจักรวรรดิ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าเจริญ รุ่งเรือง ได้แก่ ขนาดของดินแดนที่กว้างใหญ่และจำนวนประชากร ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่สามารถรองรับสินค้าต่างๆได้มาก นอกจาก นี้การจัดเก็บภาษีการค้าก็อยู่ในอัตราต่ำและยังมีการใช้เงินสกุล เดียวกันทั่วจักรวรรดิ ด้านอุตสาหกรรม ความรุ่งเรืองทางกาค้าของจักรวรรดิโรมันส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ดินแดนที่มีการประกอบอุตสาหกรรมที่ สำคัญได้แก่ แหลมอิตาลี สเปน และแคว้นกอล ซึ่งผลิตสินค้าประเภท เครื่องปั้ นดินเผาและสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมในเขตจักรวรรดิ โรมันส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ด้านสังคม ด้จักรวรรดิโรมันมีความเจริญด้านสังคมมาก ที่สำคัญได้แก่ ภาษา การ ศึกษา วรรณกรรม การก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม วิทยาการต่างๆ และ วิถีดำรงชีวิตของชาวโรมัน

16 ภาษาละติน ชาวโรมันพัฒนาภาษาละตินจากตัวพยัญชนะในภาษา กรีกที่พวกอีทรัสคันนำมาใช้ในแหลมอิตาลี ภาษาละติน มีพยัญชนะ 23 ตัว ใช้กันแพร่หลายในมหาวิทยาลัย ของยุโรปสมัยกลาง และเป็นภาษาทางราชการของ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมาจนถึงศตวรรษ 1960 นอกจากนี้ภาษาละตินยังเป็นภาษากฎหมายของ ประเทศในยุโรปตะวันตกนานหลายร้อยปีและเป็นราก ของภาษาในยุโรป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และโรมาเนีย ภาษาละตินยังถูกนำไปใช้เป็น ชื่อทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับภาษากรีกด้วย

17 ก า ร ศึ ก ษ า โรมันส่งเสริมการศึกษาแก่ประชาชนของตนทั่วจักรวรรดิใน ระดับประถมและมัธยม โดยรัฐจัดให้เยาวชนทั้งชายและ หญิงที่มีอายุ 7 ปี เข้าศึกษาในโรงเรียนประถมโดยไม่ต้อง เสียค่าเล่าเรียน ส่วนการศึกษาระดับมัธยมเริ่มเมื่ออายุ 13 ปี วิชาที่เยาวชนโรมันต้องศึกษาในระดับพื้นฐาน ได้แก่ ภาษา ละติน เลขคณิต และดนตรี ผู้ที่ต้องการศึกษาวิทยาการ เฉพาะด้าน ต้องเดินทางไปศึกษาตามเมืองที่เปิดสอนวิชา นั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น กรุงเอเธนส์สอนวิชาปรัชญา นครอะ เล็กซานเดรียสอนวิชาการแพทย์ ส่วนกรุงโรมเปิดสอนวิชา กฎหมาย คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

18 ด้านวรรณกรรม โรมันได้รับอิทธิพลด้านวรรณกรรมจากกรีก ประกอบกับได้ รับการส่งเสริมจากจักรพรรดิโรมัน จึงมีผลงานด้าน วรรณกรรมจำนวนมากทั้งบทกวีและร้อยแก้ว มีการนำ วรรณกรรมกรีกมาเขียนเป็ นภาษาละตินเพื่ อเผยแพร่ในหมู่ ชาวโรมัน และยังมีผลงานด้านประวัติศาสตร์ นัก ประวัติศาสตร์โรมันที่มีชื่อเสียงคือ แทซิอุส (Tacitus) ซึ่ง วิพากษ์การใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยของชาวโรมัน ส่วนกวีที่มีชื่อ เสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโรมันคือ ซิเซโร (Cicero) ซึ่งมีผล งานจำนวนมากรวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

19 การก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ผลงานด้านการก่อสร้างเป็นมรดกที่ยิ่งใหญ่ของชาวโรมัน โรมัน เรียนรู้พื้นฐานและเทคนิคการก่อสร้าง การวางผังเมืองและระบบ ระบายน้ำจากกรีกจากนั้นได้พัฒนาระบบก่อสร้างของตนเอง ชาว โรมันได้สร้างผลงานไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ถนน สะพาน ท่อส่ง น้ำประปา อัฒจันทร์ครึ่งวงกลม สนามกีฬา ฯลฯ อนึ่ง ในสมัยนี้มี การใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างอย่างแพร่หลาย นอกจากผล งานด้านการก่อสร้างแล้ว โรมันยังมีผลงานด้านสถาปัตยกรรมซึ่ง ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปกรรมที่งดงามจำนวนมาก เช่น พระราชวัง วิหาร โรงละครสร้างเป็นอัฒจันทร์ครึ่งวงกลม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรมันจะรับสถาปัตยกรรมกรีกเป็นต้นแบบ งานสถาปัตยกรรมของตน แต่ชาวโรมันก็ได้พัฒนารูปแบบที่เป็น เอกลักษณ์ของตนด้วย เช่น ประตู วงโค้ง และหลังคาแบบโดม โคลอสเซียม สถานที่บันเทิงของชาวโรมัน

20 ด้านวิทยาการต่างๆ ชาวโรมันไม่ได้พัฒนาความเจริญก้าวหน้ าด้าน วิทยาศาสตร์มากนัก แต่ได้สร้างคุณูปการสำคัญให้แก่ ชาวโลกซึ่งได้แก่การรวบรวมและบันทึกวิทยาการ ต่างๆ ที่ได้รับมาและตกทอดเป็นมรดกแก่ชาวโลก เช่น ตำราด้านการแพทย์ ดาราศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สัตวแพทย์ ฯลฯ อย่างไรก็ตามการแพทย์และ สาธารณสุขของโรมันนับว่าก้าวหน้ ามาก แพทย์โรมัน สามารถผ่าตัดรักษาโรคได้ห ลายโรค โดยเฉพาะการ ผ่าตัดทำคลอดทารกจากทางหน้ าท้องของมารดา ซึ่ง เรียกว่า ศัลยกรรมซีซาร์ (Caesarean Operation) นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงพยาบาลระบบบำบัดน้ำ เสียและสิ่งปฏิกูล

21 วิถีชีวิตของชาวโรมัน ความเจริญรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน ทำให้ชนชั้นสูงชาวโรมันและผู้มี ฐานะมั่งคั่งดำรงชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยหรูหรา ทั้งการสร้างคฤหาสน์ที่โอ่อ่า สุขสบาย มีสิ่งบำเรอความสะดวกครบถ้วน ลักษณะเด่นที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต ที่หรูหราของชาวโรมันคืออ่างอาบน้ำ ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในบ้านและที่อาบน้ำ สาธารณะ ในทางตรงข้ามประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน โดยเฉพาะใน กรุงโรมมีคนจนจำนวนมากซึ่งมีชีวิตยากจน ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและ ขาดสวัสดิการ ลักษณะเช่นนี้สะท้อนถึงปัญหาสังคมของเมืองใหญ่ที่เจริญ ก้าวหน้าทางด้านวัตถุ แต่มักประสบปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยสรุป อารยธรรมสมัยโบราณคือเมโสโปเตเมียและอียิปต์ แม้จะมี แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตทวีปเอเชียและทางตอนเหนือของแอฟริกา แต่ความ เจริญส่วนใหญ่กลับเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากกรีก และโรมันรับเอาความเจริญของอารยธรรมอียิปต์และเมโสโปเตเมียไป พัฒนาและผสมผสานกลมกลืนเป็นอารยธรรมของตน ซึ่งได้ลืบทอดไปสู่ ทวีปยุโรปพร้อมกับการขยายตัวของจักรวรรดิโรมัน ทำให้อารยธรรมตะวัน ตกหล่อหลอมขึ้นจากความหลากหลาย ส่วนอารยธรรมจีนและอินเดียเป็น อารยธรรมหลักของอารยธรรมตะวันออกโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากโลก ภายนอกไม่มากนัก เป็นพลให้พัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและ อารยธรรมตะวันตกในเวลาต่อมาต่างมีเอกลักษณ์ของตนเอง

บรรณานุกรม ประวัติศาสตร์สากล. (ม.ป.พ). อารยธรรม โรมัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20มิถุนายน 2565 จาก : www.sites.google.com.

ผู้จัดทำ ด.ญ.วันวิสา แพลูกอินทร์ เลขที่21 ด.ญ.ชุติกาญจน์ ปรีเอี่ยม เลขที่24 ด.ญ.อัจฉริยา ถวิลไพร เลขที่41


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook