Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ผูบริการกับการพัฒนาโรงเรียน

ผูบริการกับการพัฒนาโรงเรียน

Published by chalong19bt, 2019-12-02 00:43:48

Description: นายฉลอง บุญถึง

Search

Read the Text Version

ผบู้ ริหารกับการสร้างคณุ ภาพโรงเรียน สู่ความเป็นเลิศ* สรุ ศกั ด์ิ ปาเฮ** รองผ้อู านวยการสานักงานเขตพืน้ ที่การศกึ ษาประถมศกึ ษาแพรเ่ ขต 2 1. บทนา กระแสแห่งการปรับเปลี่ยนทางสังคมในปัจจุบันโดยเฉพาะการจัดการศึกษาในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 8 (ปัจจุบันเข้าสู่ฉบับที่ 11) ได้มุ่งเน้นให้ “การศึกษา” เป็นเคร่ืองมือ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ( Learning Society ) สร้างคนที่มี คุณภาพเพื่อมุ่งสู่ความเป็นมาตรฐานสากล การจัดการศึกษาได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพ บริบท ( Context ) รอบด้าน กระบวนการบริหารจัดการได้มุ่งสู่ระบบของการพัฒนาให้สนองตอบต่อ สังคมยุคข้อมูลสารสนเทศ ดังน้ันคาว่า “มาตรฐานและคุณภาพ” ของการจัดการศึกษาจึงเป็นแนวคิด สาคัญของสังคมที่ได้กล่าวขานกันมากมายในปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงเวลาแห่งยุคปฏิรูปการเรียนรู้ ภายใต้สาระแหง่ พระราชบญั ญัติการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 โรงเรียน/สถานศึกษาเป็นองค์การระดับฐานล่างสุดของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้โครงสร้างของการบริหารจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “เขตพื้นที่ การศกึ ษา” นั้น สถานะขององค์การคือโรงเรียน/สถานศึกษา จะถูกกาหนดบทบาทให้เป็น “นิติบุคคล” ที่รองรบั นโยบายของการบริหารแบบมีสว่ นร่วม และการกระจายอานาจทางการศกึ ษาในเขตพืน้ ทีแ่ ละ สถานศกึ ษาในสังกดั เป็นสภาพการณ์ที่นา่ สนใจและน่าจับตามองจากหลายๆฝา่ ยโดยเฉพาะสงั คมและ *บทความนีเ้ ผยแพร่ในวารสารวิชาการ ปีท่ี 3 ฉบับท่ี 10 เดือนตลุ าคม 2543 หน้า 6 – 12 **นักศกึ ษาปรญิ ญาเอก สาขาศกึ ษาศาสตร์ (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มสธ. รุ่นท่ี 1

-2- ชมุ ชนในท้องถิน่ ทีต่ า่ งก็คาดหวังและเชื่อม่ันว่า โรงเรียน/สถานศึกษายุคใหม่ จะเป็นองค์การหลักสาคัญ ของการสร้างความมั่นใจในด้าน “คุณภาพและมาตรฐาน” ของการจัดการศึกษาให้บังเกิดขึ้นกับ ผลผลิตคือนกั เรียนในท้องถิน่ หรอื ชุมชนน้ันๆได้อย่างมปี ระสิทธิภาพสงู สุด 2. คณุ ภาพการศึกษา : ความหมายและความสาคญั ในบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ได้ให้นิยามคาศัพท์ ที่เกีย่ วข้องกบั คาวา่ “มาตรฐานการศกึ ษา” ไว้ดงั นี้ “มาตรฐานการศึกษา” หมายความว่า ข้อกาหนดที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึง ประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดภายในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อให้เป็นหลักการเทียบเคียง สาหรับส่งเสริม กากบั ดแู ล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ตามนัยแห่งความหมายของมาตรฐานการศึกษาดังกล่าว สามารถแยกออกเป็นคาสาคัญได้ 3 คาได้แก่ ( วิชยั ตันศริ ิ , 2543 : 48 ) 1. “คุณลักษณะ” หมายถึงสิ่งที่เป็นลักษณะสาคัญของการศึกษาในสถานศึกษา เช่น ผลสมั ฤทธิ์ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ 2. “คณุ ภาพ” หมายถึงคุณภาพของคุณลักษณะดังกล่าวเช่น คุณภาพสูง คุณภาพต่า ในนิยาม นีค้ าวา่ “คุณภาพที่พึงประสงค์”หมายถึง พึงประสงค์ของสงั คมซึ่งผู้จัดต้องกาหนดข้นึ มาว่าคืออย่างไร 3. “มาตรฐาน” หมายถึง ความมบี รรทดั ฐานที่ยอมรับกันใหเ้ ปน็ มาตรวัด การกาหนดมาตรฐาน กาหนดข้ึนโดยผู้รับผดิ ชอบ จากนิยามความหมายในพระราชบัญญัติดังกล่าว จะสรุปได้ว่า การสร้างความเป็นมาตรฐาน การศึกษาของชาติน้ัน จะมีปัจจัยสาคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งคุณลักษณะทางการศึกษาที่จะ ก่อให้เกิดคุณภาพที่พึงประสงค์ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับร่วมกัน ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนขอเรียกรวมกันว่า การสรา้ งความเปน็ “คุณภาพการศกึ ษา ( Educational Quality )” คาวา่ “คณุ ภาพ ( Quality )” เป็นคาที่ใช้กันมากโดยเฉพาะในวงการธุรกิจ ซึ่งมีผู้ให้ความหมาย ไว้ต่างกัน ซึ่งในสภาพปัจจุบันจะหมายถึงการทาให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยการทาให้ความต้องการและ ความหวังของลูกค่าได้รับการตอบสนอง เช่น คุณภาพในการศึกษาก็คือ การทาให้ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม เกิดความพึงพอใจ ประทับใจ หรือมั่นใจในคุณภาพของผลผลิตคือนักเรียนที่มีคุณภาพตาม มาตรฐานที่กาหนด ( สมศักดิ์ สนิ ธรุ ะเวชญ์ , 2542 : 45 ) ดังได้กล่าวในเบอื้ งตน้ แลว้ ว่า โรงเรียน/สถานศกึ ษา เปน็ องค์การสาคัญต่อการสร้างสรรค์ความ เป็นมาตรฐานและคุณภาพการศกึ ษาให้บังเกิดขึ้น โดยอาศัยกระบวนการบริหารจัดการที่ดี มีกลไกของ การพฒั นา ที่สอดคล้องสัมพันธ์กนั อย่างเปน็ ระบบ และเกิดข้ึนโดยความร่วมแรงรว่ มใจจากทรัพยากร

-3- บคุ คลในทุกๆฝ่ายที่เกีย่ วข้องทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ดังที่ สงบ ประเสริฐพันธ์ ( 2543 : 48 ) ที่ กล่าวสรุปเกี่ยวกบั เรือ่ งนีไ้ ว้อย่างนา่ สนใจว่า “...คุณภาพของโรงเรียนต้องเกิดจากฝีมือของบุคลากรในโรงเรียน โดยบุคลากร ภายนอกให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดาเนินงานของบุคลากรในโรงเรียน ทุกคนทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงภารกิจอันสาคัญยิ่งนี้ น่ันคือครู อาจารย์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนจะต้องสร้างและพัฒนาคุณภาพของตนให้มีความพี้อมท่ีจะใช้เพื่อประโยชน์ในการ พัฒนาคุณภาพศิษย์ คณุ ภาพนกั เรยี น หรอื คุณภาพของโรงเรยี น...” 3. คุณภาพและมิตคิ ุณภาพของโรงเรียน สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ ( 2542 : 45 – 46 ) ได้กล่าวถึงโรงเรียน/สถานศึกษาที่มีคุณภาพว่า จะต้องเป็นสถานศกึ ษาทีม่ กี ารบริหารจัดการอย่างมปี ระสิทธิภาพในเรือ่ งต่อไปนี้ 3.1 มีความเป็นผู้นาระดับมืออาชีพ ผบู้ ริหารตอ้ งมคี วามมั่นคง มีความมุ่งหวัง ใช้ยุทธศาสตร์ การบริหารทีส่ ่งเสรมิ การมีสว่ นร่วม และเป็นมอื อาชีพระดบั แนวหนา้ 3.2 มีเปา้ ประสงค์และวิสัยทัศน์ร่วมกนั มีวตั ถุประสงค์ที่เป็นเอกภาพ มีการปฏิบัติอย่างคงที่ สมา่ เสมอ เปน็ ลกั ษณะขององค์กรแหง่ ความร่วมมือ 3.3 มีสิ่งแวดล้อมท่ีเอื้อต่อการเรียนรู้ มีบรรยากาศที่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมใน การทางานดึงดดู ใจ

-4- 3.4 มีการเรียนการสอนท่เี ขม้ แขง็ กาหนดเวลาเรยี นไว้สูง เน้นความสาเรจ็ 3.5 มีการสอนท่ีมีความมุ่งหมาย การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ชัดเจน จัดบทเรียนอย่างมีรปู แบบ มกี ารปฏิบตั ิทีป่ รบั ตวั ยืดหยุ่น 3.6 มีความคาดหวังโดยรวมสูง มีความท้าทายทางปัญญา 3.7 มีการเสริมแรงในเชิงบวก มีระเบียบ กฎเกณฑท์ ี่ชัดเจนและเปน็ ธรรม มขี ้อมลู ย้อนกลับ 3.8 มีการติดตามความก้าวหน้า ติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรยี น ประเมินผลการปฏิบัติงาน ของโรงเรียน 3.9 สง่ เสรมิ ความรับผิดชอบของผเู้ รยี น ส่งเสริมให้ผู้เรยี นเคารพนบั ถือตนเอง ส่งเสริมความ รบั ผิดชอบตามตาแหน่งหนา้ ที่ ควบคมุ การปฏิบัติงาน 3.10 มีความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรยี น ผปู้ กครองมีสว่ นร่วมในการเรียนของผู้เรยี น 3.11 มีการจดั การเรียนทีเ่ ป็นระบบ ใช้สถานศึกษาเป็นฐานสาคัญสาหรับการพัฒนาบุคลากร ของสถานศึกษาแตล่ ะแหง่ ทั้งหมดที่กล่าวในเบื้องต้นน้ัน สอดคล้องกับที่ สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ ( 2541 : 11 ) ที่กล่าวว่า โรงเรียนที่มีคุณภาพจะแสดงออกให้เห็นถึง “มิติแห่งคุณภาพ ( Quality Dimensions )” ในด้านต่างๆ ดังตอ่ ไปนี้ กล่าวคือ 1. มีความสามารถในการจัดการศึกษา ( Performance ) โรงเรียนมีความสามารถที่จะจัด การศกึ ษาได้มาตรฐานตามที่มุ่งหวงั และเปน็ ไปตามจดุ มงุ่ หมายของหลักสูตร 2. โรงเรียนมีลักษณะพิเศษ ( Features ) เป็นลักษณะที่โรงเรียนจัดขึ้นเพิ่มเติมจากการจัด การศกึ ษาปกติ เชน่ มีบริเวณที่สะอาดร่มรื่น ส่อื การสอนทนั สมัย จัดหลักสตู รท้องถิน่ 3. บุคลากรเป็นท่ีเชื่อถือไว้ใจได้ ( Reliability ) ท้ังผู้บริหารเป็นที่เชื่อถือได้ว่ามีการบริหาร จดั การทีด่ ี มีภาวะผู้นา ครทู าหน้าที่ทาการสอนเปน็ ที่เช่อื ถือไว้ใจได้ เปน็ ครูมอื อาชีพ 4. โรงเรยี นสามารถทาตามทีป่ ระกาศ หรอื ตกลงไว้กบั ผู้เรยี น หรอื ผู้ปกครอง ( Conformance ) รวมทั้งทาตามกฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกีย่ วข้อง 5. โรงเรยี นใชส้ ื่อการสอนท่ีมีคุณภาพ อาคารสถานท่ีม่ันคงถาวร ( Durability ) สามรรถ ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เต็มศกั ยภาพ เหมาะกบั วยั สะดวกและปลอดภยั 6. ส่งเสรมิ สนบั สนนุ การจัดกิจกรรมบริการนักเรยี น ผู้ปกครอง ชุมชน (Service Ability) เช่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีสนามกีฬา หอประชุม ฯลฯ รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายนามาปรับปรุง แก้ไข

-5- 7. โรงเรยี น จดั บรรยากาศ ท่เี อื้อตอ่ การจัด การเรียนการสอน มีสุนทรยี ภาพ ( Aesthetics ) เชน่ จัดบรรยากาศร่มร่นื จดั กิจกรรมนันทนาการ เป็นต้น 8. มีช่อื เสียงเป็นท่ปี ระจักษ์ ผู้รบั บริการ / หน่วยงานยอมรับ ในคุณภาพ ของโรงเรยี น ( Reputation or Perceived Quality ) เป็นโรงเรียนที่ทุกคนยอมรับว่าจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้ตามทีค่ าดหวงั ไว้ มิติแห่งคุณภาพดังกล่าว โรงเรียน / สถานศึกษาบางแห่งอาจทาได้ครบทุกมิติขึ้นอยู่กับสภาพ ความพรอ้ ม สถานการณ์ และบริบทแวดล้อมของโรงเรียน / สถานศึกษาแห่งนั้น และบางแห่งก็อาจทา ได้ในบางมติ ิเช่นกนั ซึ่งมีความแตกตางกนั ออกไปตามศักยภาพและความพร้อมของแตล่ ะองค์การ 4. ผู้บริหาร : บทบาทการสร้างคณุ ภาพโรงเรยี นสูค่ วามเปน็ เลิศ คุณภาพของโรงเรียน / สถานศึกษาเป็นประเด็นปัญหาหนึ่งที่สังคมไทยกาลังให้ความสาคัญใน อันดับต้นๆ กระทรวงศึกษาธิการกาลังพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพของโรงเรียน / สถานศึกษาด้วย การปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่จะ ช่วยพัฒนาคุณภาพโรงเรียน และเพื่อหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขวิกฤตในเร่ืองคุณภาพการศึกษา โดยรวม ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสาคัญต่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาโรงเรียนก็คือผู้บริหารโรงเรียนนั่นเอง ดังเช่น รัญจวน อินทรกาแหง ( 2537 อ้างถึงใน สงบ ประเสริฐพันธ์ 2543 : 79 ) ที่กล่าวไว้ว่า ผู้นา สถานศึกษาทุกระดับมีบทบาทความรับผิดชอบอย่างสาคัญ ต้ังแต่ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อานวยการ เพราะเป็นผู้ทีม่ อี านาจสงู สดุ ในสถานศกึ ษานั้น ท้ังในการสร้างสรรค์ และในการทาลาย

-6- จากความสาคัญในบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน/สถานศึกษาที่มีบทบาทต่อองค์การ จึงอาจ กล่าวได้ว่าคุณภาพของโรงเรียนจะบังเกิดขึ้นได้หรือไม่อย่างไรนั้น “ผู้บริหารโรงเรียน”จะเป็นตัวแปร สาคัญที่จะสรรค์สร้างให้บังเกิดคุณภาพขึ้นได้ ภายใต้กลไกหรือระบบบริหารจัดการขององค์การนั้นๆ เป็นสาคัญ ดังที่ สงบ ประเสริฐพันธ์ ( 2543 : 90 ) ที่ได้กล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารท้ัง ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรอื ผอู้ านวยการทีม่ ีตอ่ การพัฒนาคณุ ภาพโรงเรยี น / สถานศกึ ษา ไว้อย่างนา่ สนใจว่า “...ยุคโลกาภิวัตน์ ความรู้คืออานาจ ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนในยุคปัจจุบันจะต้องสร้าง ภาพพจน์ใหม่ให้เป็นผู้นาทางวิชาการ มีหน้าท่ีในการนาแนวคิดใหม่ๆไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนา คุณภาพโรงเรียนในด้านต่างๆ ต้องทาตัวเป็นผู้จุดประกายความคิดในการพัฒนาคุณภาพงาน วิชาการในโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่จะต้องนาให้บุคลากรในโรงเรียนได้ตระหนักและ ให้ความสาคญั ท้งั งานวิชาการ งานวิจัย ศกึ ษาหาความรู้...” การสร้างและพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศนั้น ถือได้ว่าเป็นบทบาท ภารกิจของผู้บริหารโดยตรง ดังที่ สุพล วังสินธิ์ ( 2537 : 66 – 67 ) กล่าวไว้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนคือ ผู้นาความเป็นเลิศมาสู่โรงเรียน โดยค่อยๆกาหนดระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโรงเรียนให้ สูงขึ้นเร่ือยๆ ท้ังมาตรฐานของตนเองและมาตรฐานที่ใช้กับผู้อื่น การพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ จะต้องกาหนดนโยบายและสร้างบรรยากาศการบริหารไปพร้อมๆกัน ผู้บริหารต้องมีทักษะ ความสามารถพืน้ ฐานสาคญั 6 ประการคอื (1). มีความคิดสรา้ งสรรคล์ ึกซึง้ (2). การมีความรู้สึกไว (3). การมองการณไ์ กล (4). การเปลี่ยนแปลงได้ (5). การมงุ่ มน่ั และ (6). การอดทน ท้ังหมดเป็นบทบาทสาคัญของผู้บริหารโรงเรียน / สถานศึกษา ต่อการพัฒนาคุณภาพ การศกึ ษาของโรงเรียน เพือ่ สร้างโรงเรียนมงุ่ สคู่ วามเปน็ เลิศ 5. กระบวนการการบรหิ ารโรงเรียนคณุ ภาพส่คู วามเป็นเลิศ โรงเรียนที่มีคุณภาพ ( Quality School ) จะมีรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการศึกษาเพื่อมุ่งสู่ ความเปน็ เลิศที่มลี ักษณะการบริหารจัดการที่มรี ะบบข้ันตอน สามารถวิเคราะห์ ควบคุม กากับ ติดตาม ตรวจสอบได้ และประเมินผลการดาเนินงานได้อย่างชัดเจนเป็นระบบขั้นตอน สามารถนาผลงานมา เปรียบเทียบได้ ในที่นี้ ผู้เขียนขอนาเสนอรูปแบบของการบริหารโรงเรียนคุณภาพมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่ง ได้ปรับประยุกต์มาจากรูปแบบของการบริหารรัฐกิจและภาครัฐหรือส่วนราชการ จากผลการการ วิเคราะห์ ศึกษาวิจัยตามหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (นบส.) ซึ่งตัวแบบของกระบวนการดังกล่าวน่าจะ นามาปรับใช้ได้กับการสร้างระบบบริหารโรงเรียนคุณภาพมุ่งสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะ ประกอบไปด้วยปัจจัยหลัก 9 ประการ ดงั แสดงให้เหน็ จากแผนภูมิต่อไปนี้

-7- แผนภมู ทิ ี่ 1. กระบวนการบริหารโรงเรียนคุณภาพสู่ความเปน็ เลิศ 2. การบริหารคน 6.ความพึงพอใจ ของครู 1.การ 3. นโยบายและ 5.กระบวน 9.ผลของ บริหารและ กลยทุ ธ์การ การ 7.ความพึงพอใจ การบริหาร ผนู้ า บริหาร ปฏิบัติงาน ของนักเรียน/ คณุ ภาพ ผูป้ กครอง โรงเรียน 4.การจัดการ ทรพั ยากร 8.ผลกระทบต่อ สังคม/ท้องถนิ่ ปจั จัย ( Enablers ) ผลลพั ธ์ ( Results ) จากองค์ประกอบทั้ง 9 ประการตามแผนภูมิสามารถอธิบายสรุปได้ดงั นี้ ( สมโภชน์ นพคณุ , 2541 : 19 – 22 ) 1. การบรหิ าร-ผูน้ า ( Management-Leadership ) ผบู้ ริหาร/ผนู้ าเปน็ องค์ประกอบสาคญั ของความเปน็ ผนู้ าองค์การเพื่อสร้างระบบการบริการที่ดีแก่ลูกค้า (นักเรียน/ชมุ ชน) และเพือ่ การพัฒนา ปรับปรงุ กิจกรรมต่างๆให้ดาเนินไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ 2. การบริหารคน ( Staff Management ) เป็นระบบการจัดการทรัพยากรบุคคลใน โรงเรียน/สถานศกึ ษา เพื่อส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน (ครูอาจารย์) ได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและ ปฏิบตั ิงานการจัดการเรียนการสอนบรรลเุ ป้าหมาย 3. นโยบายและกลยุทธ์การบริหาร ( Policies and Strategies ) เป็นการกาหนดและ พัฒนาวิสัยทัศน์ จุดประสงค์ของการดาเนินตามพันธกิจองค์การ ( Mission Statement ) และนโยบาย กลยทุ ธ์ในการดาเนินการพฒั นาการศกึ ษาให้บรรลเุ ป้าหมาย 4. การจดั การทรัพยากรในการปฏิบัติงานในโรงเรียน ( Resources Management ) เป็น การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้บังเกิดประสิทธิภาพและคุ้มค่า ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่า ประโยชน์ มีระบบวิธีการจดั การข้อมลู ขา่ วสารทีม่ ปี ระสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สงู สดุ ต่อโรงเรียน

-8- 5. กระบวนการปฏิบตั ิงาน ( Processes ) โรงเรียนมีการจัดทาโครงการที่สะท้อนถึงลักษณะ งานที่ปฏิบัติ และมีกระบวนการที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นระบบ โครงสร้างรูปแบบใหม่ที่ส่งผลต่อ กระบวนการทางานจะมุ่งในเรอ่ื งประสทิ ธิภาพในการบริการแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ซึ่งมีความต้องการ ( Demand ) หลากหลาย 6. ความพึงพอใจของครูและบุคลากรในโรงเรียน ( Staff Satisfaction ) เป็นผลจาก องค์ประกอบท้ัง 5 ประการขา้ งตน้ ก่อให้เกิดเป็นผลงาน เกิดสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย 7. ความพึงพอใจของลูกค้า/ประชาชน ( Customer/People Satisfaction ) ซึ่งหมายถึง นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชน ชุมชน เป็นผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติหรือการบริการขององค์การ ซึ่งหมายถึงโรงเรียน / สถานศกึ ษา 8. ผลกระทบต่อสังคม/ท้องถ่ิน ( Impact on Society ) ผู้บริหารต้องวิเคราะห์จากท้องถิ่น/ สังคม ได้มององค์การ (โรงเรียน)เป็นอย่างไรที่ส่งผลต่อระบบการบริหารจัดการและผลผลิตที่ส่งผลต่อ สงั คมนนั้ ๆ 9. ผลลัพธ์จากการบริหารจัดการ ( Results ) เป็นผลรวมทั้งหมดขององค์ประกอบทั้ง 8 ประการที่กล่าวมาทั้งหมด และเปน็ ไปตามทีค่ าดหวัง บรรลผุ ลสัมฤทธิ์โดยการประเมินและตรวจสอบ ที่กล่าวมาเป็นองค์ประกอบสาคัญของโรงเรียนที่จะดาเนินบทบาทหน้าที่ของการเป็นโรงเรียนที่ มีคุณภาพก้าวสู่ความเป็นเลิศของระบบการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นรูปแบบกระบวนการที่สอดคล้อง สมั พนั ธ์กัน อย่างไรกต็ ามการบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศจาเป็นต้องนาผลสาเร็จไปเปรียบเทียบกับ มาตรฐานที่สูงกว่า ( Benchmarking ) เพือ่ การพฒั นาปรับปรงุ ใหม้ ีคุณภาพสูงยิง่ ๆขึน้ ไป 6. บทสรปุ โรงเรียน/สถานศึกษา เป็นองค์การทางการศึกษาที่สาคัญระดับฐานล่างต่อการดาเนินบทบาท ภารกิจการสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดผลผลิตทางการศึกษา ท้ังนี้ผู้บริหารโรงเรียนจะเป็นกลไกสาคัญที่จะ นาความสาเร็จและเสริมสร้างคุณภาพทางการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์การน้ันๆ การสร้างคุณภาพ ในโรงเรียนจะก่อให้เกิดความเชื่อม่ัน ความม่ันใจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และสงั คมส่วนรวม ดังนนั้ โรงเรียนที่มีคุณภาพเชิงบริหารจัดการย่อมก่อให้เกิดมิติแห่งความเป็นเลิศใน ระบบการจัดการศึกษายุคใหม่ จึงเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีปัจจัยและองค์ประกอบเสริมที่ หลากหลายเข้ามาช่วยดาเนินการ เพื่อส่งผลต่อความสาเร็จขององค์การได้ในที่สุด “ผู้บริหารโรงเรียน” จงึ มคี วามสาคญั ยิ่ง ที่ตอ้ งกาหนดยทุ ธศาสตร์การบริหารจดั การ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงสุด ให้เกิดการ

-9- พฒั นาคณุ ภาพการบริหารจัดการองค์การซึ่งหมายถึงโรงเรียน ให้เป็นโรงเรียนคุณภาพก้าวสู่ความเป็น เลิศได้ต่อไปในอนาคต ......................... เอกสารอ้างอิง วิชยั ตันศริ .ิ คาอธิบายพระราชบญั ญัติการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สานกั พิมพ์ วิญญูชน , 2542 สงบ ประเสรฐิ พันธุ์. ร่วมกันสรรค์สร้างคุณภาพโรงเรยี น. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์สวุ ีรยิ สาส์น , 2543 สุพล วังสนิ ธิ์. “โรงเรียนเพื่อความเปน็ เลิศ” สารพัฒนาหลกั สตู ร.14 (119)(ตลุ าคม – ธันวาคม 2537 ) หนา้ 65 – 67. สมโภชน์ นพคุณ. “การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศ”. ขา่ วนกั บริหาร. ( กรกฎาคม – กันยายน 2541 ) หนา้ 17 – 22. สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. “มิติคณุ ภาพของโรงเรียน” วารสารสถาบันพัฒนาผ้บู ริหารการศึกษา. 15(2) ( ธันวาคม 2540 – มกราคม 2541 ) หนา้ 10 – 12. สมศกั ดิ์ สนิ ธรุ ะเวชญ์. “คุณภาพ” วารสารวิชาการ. 2 ( 1 ) ( มกราคม 2542 ) หนา้ 45 – 50.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook