Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้เร่ือง ประเภทและชนิดของอุตสาหกรรมเกษตร

ใบความรู้เร่ือง ประเภทและชนิดของอุตสาหกรรมเกษตร

Published by winita.janploy, 2018-03-28 05:55:51

Description: ใบความรู้เร่ือง ประเภทและชนิดของอุตสาหกรรมเกษตร

Search

Read the Text Version

หนว่ ยที่ 2 เรอื่ ง ประเภทและชนิดของอุตสาหกรรมเกษตรสาระสาคัญ การจัดประเภทของอุตสาหกรรม มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้เกี่ยวข้องทง้ั ภาครฐั และเอกชน ในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล สารวจสรุป รวมทั้งประสานติดต่อในเครือข่ายท้ังในสาขางานอาชีพและสาขางานที่เกีย่ วขอ้ ง ซึ่งการแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมเกษตรสามารถแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามลักษณะการใช้ผลิตภัณฑ์ แบ่งตามกลุ่มของวัตถุดิบ แบ่งตามขั้นของการผลิตและแบ่งตามขนาดกาลังการผลติ หรือตามจานวนของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรเปน็ ต้นจดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้ 1. อธบิ ายการจัดแบ่งประเภทอตุ สาหกรรมได้ 2. บอกความหมายของอุตสาหกรรมเกษตรแตล่ ะประเภทได้ 3. ยกตัวอยา่ งผลติ ภณั ฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแตล่ ะประเภทได้เนือ้ หา1. การจดั แบง่ ประเภทอุตสาหกรรมตามกลุ่มของวตั ถดุ บิ ความเจริญก้าวหน้าในกิจการอุตสาหกรรมในด้านเทคโนโลยีและเทคนิคการผลิต การมีเคร่อื งจกั รเคร่ืองมือท่มี ปี ระสิทธิภาพและความปลอดภัยมีมากขน้ึ รวมทง้ั สภาวะการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เพ่ือเป็นการสะท้อนแนวนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้น ศูนย์บริการขอ้ มลู อตุ สาหกรรมชนบท กรมส่งเสริมอตุ สาหกรรม ไดร้ วมอุตสาหกรรมไว้ 9 ประเภท ดงั นี้คือ 1.1 อุตสาหกรรมผลติ ภัณฑจ์ ากแปง้ 1.2 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑจ์ ากผักและผลไม้ 1.3 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑจ์ าก เนอื้ ปลา และผลิตภัณฑ์ทะเล 1.4 อตุ สาหกรรมผลติ ภัณฑไ์ มแ้ ละเฟอร์นิเจอร์ 1.5 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ซเี มนต์ 1.6 อตุ สาหกรรมเคร่ืองจักรกลและงานโลหะ 1.7 อุตสาหกรรมเคร่ืองป้ันดินเผา 1.8 อุตสาหกรรมยาง

27 1.9 อตุ สาหกรรมไหม จะเห็นได้ว่าการจัดแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมของศูนย์บริการข้อมูลอุตสาหก รรมชนบทกรมสง่ เสริมอุตสาหกรรมได้นาเอาชนิดของวสั ดุหรือวัตถุดบิ ที่ใชท้ าผลติ ภณั ฑเ์ ป็นเกณฑ์ นฤดม บุญ-หลง (2532 : 12)ได้กล่าวถึงความหมาย “อุตสาหกรรม” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 หมายถึง “การทาส่ิงของเพื่อให้เป็นสินค้า” ซ่ึงในปัจจุบันน้ีคาว่า “อุตสาหกรรม” ได้มีความหมายกว้างขวางกว่าเดิมมาก ดังเช่นในพระราชบัญญัติส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2497 ได้วิเคราะห์ศัพท์ คาว่า “กิจการอุตสาหกรรม” หมายความว่า การทาผลิตภัณฑ์ทุกชนิดไม่ว่าจะใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน และให้หมายความรวมถึง อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมท่องเท่ียว และกิจการอื่นซ่ึงจะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุให้เปน็ กิจการอตุ สาหกรรม แต่เดิมได้มีการจัดแบ่งประเภทอุตสาหกรรมออกเป็นหลายแบบด้วยกัน เช่น แบ่งเป็นอุตสาหกรรมหนัก (Heavy Industry) อุตสาหกรรมเบาหรืออุตสาหกรรมขนาดย่อม (Light or SmallScale Industry) และอุตสาหกรรมในครอบครัว (Home or Cottage Industry) ซึ่งมีความหมายแตกตา่ งกนั ไป ดงั น้ี 1. อุตสาหกรรมหนัก หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรกล แรงงานและเงินทุนจานวนมหาศาล เช่น อตุ สาหกรรมเหล็กกลา้ หรอื อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น 2. อตุ สาหกรรมเบา หมายถงึ อุตสาหกรรมทด่ี าเนนิ การโดยนาเอาวตั ถุดิบอนั เป็นผลจากอุตสาหกรรมหนักมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ หรือเป็นอุตสาหกรรมท่ีนาเอาวัตถุดิบมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ต้องใช้ทุนมหาศาลอย่างเช่นอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมส่ิงทออุตสาหกรรมแป้ง เปน็ ตน้ 3. อุตสาหกรรมในครอบครัว หมายถงึ กิจการทท่ี ากันอยภู่ ายในครวั เรือน มักจะเป็นประเภทหัตถกรรม ถ้าจะมีการใช้เครื่องจักรบ้างก็เป็นขนาดเล็ก การผลิตมีทั้งผลิตเพ่ือใช้เองภายในครอบครวั เมื่อเหลอื จึงจาหนา่ ยหรือผลิตจาหนา่ ยเป็นอาชพี เช่น ทาร่ม การจักสานหรอื การทอผา้ ไหม 4. อุตสาหกรรมขนสง่ และบริการ ได้แก่ กิจการในการเคลือ่ นย้าย เช่น การรถไฟ การเดินเรือ และกิจการใหบ้ ริการ เช่น การโรงแรมและการทอ่ งเทีย่ ว 5. อุตสาหกรรมพื้นฐาน ได้แก่ เหมืองแร่ และการเกษตรกรรมอันหมายความรวมถึงการเพาะปลูก เลยี้ งสตั ว์ การประมงและปา่ ไม้ 6. อุตสาหกรรมการผลิต หมายถึง การนาเอาวัตถุดิบมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สาเร็จรูป เช่นอตุ สาหกรรมนมและผลิตภณั ฑน์ ม อตุ สาหกรรมน้ามนั พืช ปัจจุบันใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2503 และได้วเิ คราะห์ศพั ท์ “กิจการอุตสาหกรรม” ไว้ว่า กิจกรรมอุตสาหกรรมที่อยู่ในข่ายที่อาจได้รับการส่งเสริม

28ตามความในพระราชบัญญตั ฉิ บบั น้ี ซึ่งอาจรวมถงึ การเพาะปลกู การเลี้ยงสตั ว์ การประมง การขนส่งและการจัดให้ความสะดวกหรือส่งเสริมการท่องเที่ยว ท้ังนี้ตามที่จะได้มีกฎกระทรวงระบุประเภทขนาด และเง่อื นไขไว้2. การจดั แบง่ ประเภทของอุตสาหกรรมเกษตร 2.1 แบง่ ตามลกั ษณะการใชผ้ ลติ ภณั ฑท์ ผี่ ลติ ไดจ้ ากอุตสาหกรรมเกษตร แบ่งออกเป็น 3ประเภท ดังน้ี 2.1.1 อตุ สาหกรรมอาหาร (food industry) หมายถงึ อตุ สาหกรรมเกษตรที่ผลติผลติ ภัณฑ์ทเ่ี ปน็ อาหารและน้า ซึ่งมนุษยใ์ ชก้ ินและด่มื สามารถแยกออกเป็นกล่มุ ไดด้ งั นี้ คือ 2.1.1.1 อุตสาหกรรมผลติ ภัณฑอ์ าหารสาเร็จรูป (finished – food product)หมายถึง อุตสาหกรรมเกษตรที่ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารท่ีผ่านกระบวนการแปรรูปจนผลิตภัณฑ์สุดท้ายท่ีได้สามารถนามาใช้ในการบริโภคได้เลยโดยไม่ต้องนาไปปรุงแต่งหรือทาให้สุกต่อไปอีก เช่น นมอัดเม็ด โยเกริต์น้าผลไม้พร้อมด่ืม ผลไม้กระป๋อง ปลากระป๋อง ผักกาดกระป๋อง นมข้น นมสเตอริไรส์ หมูหยอง เปน็ ต้นภาพท่ี 2.1 ผลิตภณั ฑ์อาหารสาเรจ็ รูปตราดอยคาทม่ี า : http://www.server3.jobthai.com/special_img/doi_kham.gif, 12 พฤษภาคม 2551. ผลิตภัณฑ์อาหารสาเร็จรูปตามท้องตลาดมีหลากหลายให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ กลุ่มผู้บริโภคส่วนมากจะเป็นกลุ่มผู้ทางานไม่มีเวลาในการประกอบอาหารรับประทานเอง ซึ่งอาหารบางชนิดก็เก็บรักษาได้นานในอุณหภูมิห้อง แต่บางชนิดต้องเก็บในตู้เย็นท่ีมีอุณหภูมิต่า ซ่ึงโดยทั่วไปผู้บริโภคจะมีความรู้พ้ืนฐานในการเก็บรักษาอาหารไม่ให้เส่ือมเสียหรือเน่าเสียก่อนที่จะรับประทานให้หมด ผู้ผลิตอาหารประเภทน้ีจะผลิตตามความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นขนาดของการบรรจุ รูปแบบของภาชนะบรรจุ ลักษณะบรรจุภัณฑ์ท่ีสะดวกต่อการใช้สอย รวมท้ังเรื่องของสารอาหารในกลุ่มของผู้บรโิ ภคท่ีใส่ใจห่วงใยสุขภาพ

29 2.1.1.2 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารกงึ่ สาเร็จรปู (semi – food product)หมายถึง อุตสาหกรรมเกษตรที่ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกระบวนการแปรรูปจนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายแล้ว แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังไม่สามารถบริโภคได้เลยทันที ต้องนาไปปรุงสุกเสียก่อนจึงสามารถบริโภคได้ เช่น บะหมกี่ ึ่งสาเรจ็ รูป กนุ เชียง เสน้ หมี่ วุ้นเสน้ เปน็ ต้นภาพที่ 2.2 แสดงผลติ ภัณฑ์อาหารบะหม่ีกึง่ สาเร็จรูปทมี่ า : http://www.itooza.com/article/2004/image_27_13_001.jpg, 12 พฤษภาคม 2551. ผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสาเร็จรูปโดยส่วนมากผู้ผลิตจะผลิตให้อยู่ในลักษณะของแห้ง ซ่ึงจะมีคณุ สมบัติพิเศษคือเก็บได้นานในอุณหภูมิห้อง มีน้าหนักเบาสะดวกในการพกพาไปได้ง่ายและใช้เวลาในการประกอบเปน็ อาหารไมน่ าน เหมาะกับผู้บริโภคทมี่ ที พี่ ักอาศัยอยู่ห่างไกลตลาดหรอื รา้ นอาหาร 2.1.1.3 อุตสาหกรรมผลติ ภัณฑ์อาหารดิบ (raw – food product) หมายถงึอุตสาหกรรมเกษตรท่ีผลิตอาหารสด ซ่ึงมีคุณภาพและลักษณะใกล้เคียงกับวัตถุดิบ อาหารกลุ่มน้ีได้ผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้นหรือแปรสภาพอย่างง่าย ๆ เช่น การตัดแต่ง การลวก การกะเทาะเปลือก และบรรจุกล่องให้มีขนาดหรือน้าหนักตามกลุ่มผู้บริโภคต้องการ เช่น หมูสันนอก ไส้ตันกระเพาะหมู ข้าวสาร แป้งสาลี เมล็ดถัว่ กงุ้ แกะเปอื ก และผกั ผลไมส้ ดภาพที่ 2.3 แสดงผลิตภณั ฑ์อาหารดบิ ข้าวสาร เนื้อสตั ว์ ผักและผลไม้ทมี่ า : http://www.taradb2b.com/.../X9AEq6IAGQ_hommali.jpg, 12 พฤษภาคม 2551.

30 2.1.2 อุตสาหกรรมกงึ่ อาหาร (semi – food product) หมายถงึ อุตสาหกรรมเกษตร ท่ีผลิตผลติ ภณั ฑ์ทีใ่ ช้เป็นส่วนประกอบหรือปรุงแต่งอาหาร ผลติ ภณั ฑ์เหลา่ นม้ี นษุ ยไ์ มใ่ ชบ้ ริโภคเปน็อาหารโดยตรงแตม่ คี วามจาเปน็ ต้องใช้ ตามจดุ ประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปน้ี 2.1.2.1 เพ่ือปรุงแต่งอาหารให้มีกลิ่นรสตามใจชอบ ตัวอย่างเช่น น้าตาล น้ามันพืช ซอส ซีอว๊ิ เปน็ ต้น 2.1.2.2 เพอ่ื ความสมบูรณท์ างโภชนาการและเพอ่ื ให้เกิดคุณค่าทางอาหารตัวอย่างเช่น ไวตามิน เกลือแร่ กรดอะมโิ น เป็นตน้ 2.1.2.3 เพื่อความจาเป็นต้องใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เพ่ือให้กรรมวิธีในการแปรรูปของอุตสาหกรรมอาหารมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่วัตถุเจือปนอาหาร (Food additive)ตัวอย่างเช่น ฟอสเฟตใช้เติมลงเป็นส่วนประกอบของลูกชิ้นเพ่ือให้ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นมีน้าหนักและอุ้มน้าดขี ณะทาให้สกุ ผงเพรกเตมิ เปน็ ส่วนผสมในกุนเชียงเพ่ือให้กุนเชียงหลังอบแห้งมีสีแดงชมพูสวยน่ารับประทาน เป็นตน้ภาพที่ 2.4 แสดงผลติ ภัณฑ์ก่งึ อาหาร ผงหมกั เนื้อ เครือ่ งเทศขนมอบ ซอสปรุงรสที่มา : http://www.pantown.com/data/11579/board3/198-20050923055102.jpg, 12 พฤษภาคม 2551. 2.1.3 อตุ สาหกรรมผลติ ภัณฑ์ทไ่ี มใ่ ช่อาหาร (non – food product additives) หมายถงึอุตสาหกรรมท่ผี ลติ ผลิตภัณฑ์เครอ่ื งอุปโภคตา่ ง ๆ ทใี่ ช้วตั ถุดบิ จากผลิตผลเกษตร ตวั อยา่ งเชน่อุตสาหกรรมส่ิงทอ ได้แก่ อุตสาหกรรมทอผ้าซึ่งใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบหลัก อุตสาหกรรมทอกระสอบท่ีใช้ปอเป็นวัตถุดิบ อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อ อุตสาหกรรมที่ผลิตเอทธิลแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเช้ือเพลิง อุตสาหกรรมฟอกหนัง เป็นต้น และยังมีอุตสาหกรรมท่ีผลิตผลิตภัณฑ์ท่ีมนุษย์จาเป็นต้องใช้เพื่อดารงชวี ติ อกี อย่างหนึ่งคอื อุตสาหกรรมเภสัชกรรม

31บรรจภุ ณั ฑไ์ บโอ ผลติ ภัณฑ์เอทธลิ แอลกอฮอล์ มนั สาปะหลังในอุตสาหกรรมยาพลาสตกิ ผลติ ภัณฑจ์ ากแปง้ มันภาพท่ี 2.5 แสดงตัวอย่างผลติ ภัณฑ์อุตสาสหาปกะรหรลมังเกในษอตตุ รสทาห่ีไมกร่ใรชม่อยาาหาร ใช้วัตถดุ บิ จากมันสาปะหลงัทีม่ า : ประภาพร ไกยราช. ดัดแปลงมาจาก วารสารเคหการเกษตร 32, 7 (กรกฎาคม 2551): 77. 2.2 แบ่งตามข้นั ของการผลิตผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 2.2.1 อตุ สาหกรรมเกษตรขั้นพ้ืนฐาน (primary agro – industry) หมายถึง อุตสาหกรรมเกษตรทีม่ ีกรรมวิธีการแปรรปู อย่างงา่ ย ๆ เพือ่ เปลี่ยนสภาพผลิตผลเกษตรให้มีสภาพท่ีจะใช้เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมเกษตรอื่น ๆ ต่อไป หรือเปลี่ยนสภาพให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารดิบ ท่ีพร้อมจะนาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต่อไปได้ ทั้งน้ีเพ่ือให้สามารถคงคุณภาพ สะดวกต่อการเก็บรักษาและการขนส่ง เช่น อุตสาหกรรมยางดิบ ซ่ึงแปรรูปน้ายางเป็นยางแผ่นรมควัน หรือยางแท่งอตุ สาหกรรมการบ่มใบยาสูบ อตุ สาหกรรมการทาปอฟอก และอุตสาหกรรมสขี า้ ว ฯลฯ 2.2.2 อตุ สาหกรรมเกษตรการแปรรูปหรือการผลติ (manufacturing agro – industry)หมายถึง อุตสาหกรรมที่ผลิตผลิตภัณฑ์สาเร็จรูป (finished product) และอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ก่งึ สาเรจ็ รปู (semi product ) ซ่ึงมีอยู่ 3 ประเภท เชน่ ประเภทอุตสาหกรรมอาหาร ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สับปะรดกระปอ๋ ง อุตสาหกรรมปลากระป๋อง อุตสาหกรรมผักกาดดองกระป๋อง เปน็ ต้น ประเภทอตุ สาหกรรมกงึ่ อาหาร ตวั อยา่ งเช่น อตุ สาหกรรมนา้ มนั พชือุตสาหกรรมน้าปลา อตุ สาหกรรมซอสปรุงรส เป็นตน้ ประเภทอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและไมอ้ ดั อุตสาหกรรมเภสชั กรรม เป็นตน้ 2.3 อุตสาหกรรมเกษตรแบ่งออกตามขนาดของกาลังผลิตของเคร่ืองจักร และอุปกรณ์ในการผลิต สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ 2.3.1 อุตสาหกรรมขนาดเล็ก (Small – seale agro-industry) หมายถึง อุตสาหกรรมเกษตรที่มีกาลังผลิตขนาดเล็ก ซ่ึงมักจะมีผู้เข้าใจผิดว่ามีความหมายเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมในครอบครัว (home or cottage industry) แท้จริงแล้วอุตสาหกรรมเกษตรขนาดเล็ก หมายถึง กิจการท่ี

32ใช้แรงงานส่วนใหญ่จากภายนอกครอบครัวซ่ึงต้องจ่ายค่าแรงงาน อาจใช้เคร่ืองจักร เครื่องกาเนิดแรงเป็นเคร่ืองทุ่นแรงคนงานมีการบริหารงานที่ดีโดยอาศัยหลักวิชา เช่น การลงทุน การจัดแรงงาน การใช้ระบบเครื่องทุ่นแรง การคิดราคาต้นทุน การแปรรูป การควบคุมคุณภาพ อีกท้ังจะต้องดาเนินการด้านการตลาดและการจัดหาวัตถุดิบ เพ่ือให้การผลิตสามารถดาเนินไปได้โดยต่อเนื่อง ซ่ึงแตกต่างกับการดาเนินการของอุตสาหกรรมในครอบครัว ดาเนินการอยู่ในครัวเรือนโดยอาศัยแรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ ผลิตใช้เองภายในครอบครัวหรือผลิตขึ้นจาหน่ายเป็นอาชีพ อุตสาหกรรมเกษตรขนาดเล็กสว่ นใหญ่จะมีปญั หาในการดาเนนิ งาน โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีในการผลติ การควบคุมคณุ ภาพของผลติ ภัณฑ์และในเรื่องตลาด จงึ จาเป็นจะต้องได้รบั การสนบั สนุนและสง่ เสรมิ จากรัฐบาล 2.3.2 อตุ สาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ (Large-scale agro-industry) หมายถึงอุตสาหกรรมเกษตรที่ดาเนินการผลิต โดยใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เพ่ือให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้เป็นจานวนมากและอาจดาเนินการผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบจากผลพลอยได้ (by-product) หรือของเหลือ (waste) จากการผลิตผลิตภัณฑ์หลัก (main product) เช่น อุตสาหกรรมน้าตาลทราย ซ่ึงใช้วัตถุดิบจากอ้อย ผลิตภัณฑ์หลักท่ีผลิต คือ น้าตาลทราย และกากน้าตาล(molasses) เป็นผลพลอยได้ สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทธิลแอลกออฮล์ หรือทาเหล้ารัม(rum) อีกท้ังยังได้ของเหลือ คือชานอ้อย (bagase) ใช้ทาแผ่นอัด หรือทาเยื่อกระดาษ นอกจากน้ันอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่วนมากจะมีแหล่งผลิตวัตถุดิบของตนเอง เช่น อุตสาหกรรมน้าตาลขนาดใหญ่ จะมีไร่อ้อย ปลูกอ้อยของตนเองเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบส่วนหนึ่งด้วย ดังนั้นอุตสาหกรรมอ้อยและน้าตาลขนาดใหญ่ จะประกอบด้วยไร่อ้อยของโรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมเอทธิลแอลกออฮล์โรงงานอุตสาหกรรมเหล้ารัม โรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษอัด ท้ังน้ีเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบได้เต็มที่และคุ้มค่า อุตสาหกรรมดังกล่าวจึงต้องมีขนาดใหญ่ เพ่ือให้สามารถนาเอาผลพลอยได้และของเหลอื มาใชเ้ ป็นวตั ถดุ บิ ในการผลิตผลติ ภัณฑต์ ่าง ๆ ได้อยา่ งคมุ้ คา่ การลงทุนสรุป “อุตสาหกรรม” ตามความหมายในพจนานกุ รมฉบบั ราชบญั ฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 หมายถึง“การทาส่ิงของเพื่อให้เป็นสินค้า” และให้หมายความรวมถึง อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมขนส่งอุตสาหกรรมท่องเท่ียว แต่การจัดแบ่งประเภทอุตสาหกรรมเกษตรสามารถแบ่งได้หลายลักษณะ เช่นแบ่งตามลักษณะการใช้ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหารได้แก่ กลุ่มอาหารสาเร็จรูป อาหารก่งึ สาเร็จรปู อาหารดบิ อุตสาหกรรมกึ่งอาหารได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ท่ีไม่จัดอยู่ในกลุ่มอาหาร แต่จะใช้ในการประกอบอาหารเพ่ือแต่งกลิ่น รสชาติ สี เนื้อสัมผัสเป็นต้นและอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อาหารได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่นามาใช้ในการอุปโภคเช่น อุตสาหกรรมทอกระสอบป่าน อุตสาหกรรมเภสัช

33กรรมเป็นต้น การแบ่งตามกลุ่มของวัตถุดิบเช่น อุตสาหกรรมน้ามันปาล์ม อุตสาหกรรมยางพาราอุตสาหกรรมยาสูบ เป็นต้น การแบ่งตามข้ันของการผลิตเช่น อุตสาหกรรมข้ันพ้ืนฐาน อุตสาหกรรมการแปรรูป เป็นต้น และการแบ่งตามขนาดกาลังการผลิตเช่น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมขนาดกลาง อุตสาหกรรมขนาดเล็ก เปน็ ตน้เอกสารอ้างอิงกรมอาชวี ศึกษา. การพัฒนาผลติ ภัณฑใ์ หม่. กรงุ เทพฯ: สถาบันพฒั นาครูอาชวี ศึกษาร่วมกับภาควิชา พัฒนาผลติ ภัณฑ์ คณะวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, 2545.วรรณภา เสนาดีและคณะ. “ถอดรหัสมันสาปะหลัง...พชื ทองคาใต้ดิน”. เคหการเกษตร 32, 7 (กรกฎาคม 2551): 71.นฤดม บญุ หลง. หลักการอุตสาหกรรมเกษตร. กรงุ เทพฯ: คณะวชิ าอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2525.นฤดม บุญหลง. รายงานสถานการณอ์ ุตสาหกรรมผลติ ภัณฑ์จาก เนอ้ื ปลา และผลิตภัณฑ์ทะเล. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสรมิ อตุ สาหกรรม, 2532.นฤดม บญุ หลง. การจัดการอุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพฯ: คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวทิ ยาลัย เกษตรศษสตร์, 2532.“ผลิตภัณฑอ์ าหารดบิ .” [ออนไลน์]. เข้าถึงไดจ้ าก: http://www.taradb2b.com/.../X9AEq6IAGQ_hommali.jpg (15 พฤษภาคม 2551)“ผลติ ภณั ฑอ์ าหาร.” [ออนไลน์]. เขา้ ถึงได้ จาก:http://www.server3.jobthai.com/special_img/doi_kham.gif. (15 rAK4k8, 2551)“อุตสาหกรรมอาหาร.” [ออนไลน์]. เขา้ ถงึ ไดจ้ าก: http://www.biotec.or.th/foodindustry/rep01.asp. (กันยายน 2551)“อาหารกง่ึ สาเร็จรูป.” [ออนไลน์]. เขา้ ถึงไดจ้ าก: http://www.itooza.com/article/2004/image_27_13_001.jpg. (15 พฤษภาคม 2551)“เคร่ืองเทศ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:http://www.pantown.com/data/11579/board3/198- 20050923055102.jpg. (15 พฤษภาคม 2551)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook