Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ทฤษฎีผลประโยชน์ และกลยุทธ์การเก็งกำไรตามแนวโน้ม - แมงเม่าคลับ

ทฤษฎีผลประโยชน์ และกลยุทธ์การเก็งกำไรตามแนวโน้ม - แมงเม่าคลับ

Published by Thalanglibrary, 2020-12-13 03:05:33

Description: ทฤษฎีผลประโยชน์_และกลยุทธ์การเก็งกำไรตามแนวโน้ม_-_แมงเม่าคลับ

Search

Read the Text Version

คํานํา สวัสดีครับ ผมเองตั้งใจเขียนบทความพิเศษชิ้นนี้ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อเป็นการ ขอบคุณสําหรับ 70,000 Likes ของเว็บไซท์แมงเม่าคลับแฟนเพจ รวมทั้งฉลอง ถึงความสําเร็จในการจัดงาน แมงเม่าทอลค์ 2013 : Inside Trend Following ในเดือนกันยายนที่พึ่งผ่านมา โดยหากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่กําลังสนใจในทฤษฎีผลประโยชน์ในตลาดหุ้น และกําลังเข้าใจผิดว่าทฤษฎีผลประโยชน์หรือ Contrarian Investing นั้นจะต้อง คอยพยายามซื้อสวนเมื่อหุ้นตกและเทขายเมื่อหุ้นขึ้น หรือกําลังคิดว่ากลยุทธ์การ เก็งกําไรตามแนวโน้มแบบ Trend Following คือกลยุทธ์แบบตามแห่แล้วล่ะก็ ผมคงจะต้องบอกว่าคุณกําลังเข้าใจในสิ่งต่างๆผิดไปอย่างมาก และนี่ก็คือสาเหตุ และประเด็นอันน่าสนใจที่ผมต้องการจะพูดถึงในบทความพิเศษชิ้นนี้ ผมหวังว่าทุกคนจะได้รับความรู้, ข้อเท็จจริง รวมถึงวิธีการปฏิบัติที่เป็นรูป ธรรมไม่มากก็น้อยจากบทความชิ้นนี้ และสุดท้ายนี้หากว่าแฟนเพจแมงเม่าคลับ www.facebook.com/mangmaoclub มียอดครบ 100,000 Likes เมื่อ ไหร่ ผมก็ตั้งใจว่าจะเขียนบทความพิเศษหรือจัดกิจกรรมดีๆฟรีๆให้กับเพื่อนๆขึ้น อีกครั้งหนึ่ง แล้วพบกันใหม่อีกครั้งเต็มๆในตอนนั้นครับ :) มด แมงเม่าคลับ www.mangmaoclub.com

ทฤษฎีผลประโยชน์ในตลาดหุ้นไทย ในระยะหลังๆนั้นผมสังเกตุได้ว่าหลักการลงทุนตามทฤษฎีผลประโยชน์ หรือ Contrarian Investing ได้ค่อยๆเริ่มถูกเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นใน วงการตลาดหุ้นไทย (ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี) อย่างไรก็ตาม ผมมักพบว่าหลายๆคนมี ความเข้าใจผิดหลายๆอย่างเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ นอกจากนี้แล้วผมคิดว่าในขณะนี้ตัว ทฤษฎีก็ยังค่อนข้างที่จะมีความคลุมเครือในวิธีการปฏิบัติอยู่อย่างมากด้วยเช่น กัน ดังนั้นเป้าหมายของผมในบทความนี้จึงจะเป็นการว่าด้วยเรื่องของการ พยายามทดลองพิสูจน์ถึงความเป็นจริงของทฤษฎีนี้ออกมา, ทําลายความ คลุมเครือของทฤษฎีทิ้งไป และหาบทสรุปซึ่งจะทําให้พวกเราได้เข้าใจและเห็นถึง ความเข้าใจผิดต่างๆเกี่ยวกับหลักการนี้กัน ดังนั้นบทความนี้จะค่อนข้างยาวสัก หน่อย ต้องค่อยๆอ่านและเปิดใจกันดูนะครับ ว่าแล้วก็เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ! คนส่วนใหญ่ ผิดเสมอ!! … จริงหรือ!? Mass ผิดเสมอ!! … นี่คือสมมติฐานซึ่งถือเป็นใจความสําคัญของทฤษฎี ผลประโยชน์หรือ Contrarian Investing ที่เรากําลังพูดถึงกันอยู่โดยทั่วไปใน ขณะนี้ ซึ่งตามหลักการปฎิบัติแล้วก็คือการพยายามเดิมพันในฝั่งที่ตรงกันข้ามกับ ความคิดของคนส่วนใหญ่นั่นเอง ดังนั้นหากจะมองกันตามหลักของเหตุผลและ ตามทฤษฎีของพาเรโต (Pareto’s Principle) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียนที่ ว่า ทรัพยากรของคนส่วนใหญ่จะตกไปอยู่กับคนส่วนน้อยแล้วล่ะก็ (กฎ 80/20)  หลักการลงทุนแบบ Contrarian Investing จึงดูที่จะตั้งอยู่บนความ เชื่อที่มีน้ําหนักอยู่พอสมควรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมได้เกริ่นนําตั้งแต่ตอนต้นของบทความไปแล้วว่า ด้วยความที่หลักการนี้ยังคงขาดหลักฐานรองรับโดยเฉพาะกับการลงทุนในตลาด หุ้นไทย และตัวอย่างวิธีการนํามาประยุกต์ใช้ในการลงทุนก็ยังค่อนข้างจะมีความ คลุมเครืออยู่เป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้วผู้ที่ได้พยายามนําทฤษฎีนี้มาเผยแพร่ หรือปรับใช้ในการลงทุนของพวกเขา ก็มักที่จะเป็นบรรดานักลงทุนที่ทําการตัดสิน ใจตามวิจารณญาณของตนเองเป็นหลัก ซึ่งนั่นทําให้เราไม่สามารถที่จะทดสอบถึง ความเป็นจริงในภาพรวมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้สักเท่าไหร่นัก ดังนั้นเพื่อที่จะ พยายามพิสูจน์กันว่า Mass Always Wrong! นั้นจริงหรือไม่อย่างเป็นรูปธรรม 1

เราจึงจะต้องพยายามสร้างความชัดเจน (เท่าที่จะทําได)้ ในหลักการนี้กันออกมา เสียก่อน และแน่นอนว่ามันคงจะเริ่มต้นจากที่ไหนไปไม่ได้ นอกจากการที่เราจะ ต้องตอบคําถามแรกให้ได้เสียก่อนว่า … แล้วใครล่ะ ที่ถือเป็นคนส่วนใหญ่ใน ตลาดหุ้น? คนส่วนใหญ่และคนส่วนน้อย โชคดีที่ปัญหาในข้อแรกนี้เป็นสิ่งที่ตอบได้ไม่ยากนัก นั่นก็เพราะเรา สามารถที่จะทําการแบ่งประเภทนักลงทุนตามกลุ่มของนักลงทุนออกมา และวัดถึง จํานวนเม็ดเงินในการซื้อขายของพวกเขาภายใต้กรอบระยะเวลาหนึ่งๆได้ไม่อย่าง ยากเย็นสักเท่าไหร่นัก โดยที่ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากฐานข้อมูลมูลค่าการ ซื้อขายของนักลงทุนแต่ละกลุ่มในตลาดหุ้นไทย ซึ่งได้ถูกบันทึกและจัดเก็บเอาไว้ ราว 13 ปี (เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่จะถึงปี ค.ศ.2000) ซึ่งทําให้เราสามารถที่จะ ตอบคําถามได้อย่างชัดเจนตามนิยามเบื้องต้นนี้ว่า ใครคือผู้ที่ได้สร้างปริมาณการ ซื้อขายเอาไว้ในตลาดหุ้นไทยมากที่สุดดังภาพด้านล่างนี้ 2

ภาพที่ 1 และ 2 : สัดส่วนปริมาณมูลค่าการซื้อขายตลอดระยะเวลากว่า 13 ปี และสัดส่วนปริมาณการซื้อขายตามช่วงเวลาของนักลงทุนแต่ละกลุ่ม จากภาพด้านบนนี้เราคงจะเห็นกันได้ไม่ยากว่าเมื่อวัดจากมูลค่าการซื้อ ขายสะสมมาตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2000 ในภาพแรก รวมถึงมูลค่าการซื้อขายแบบ วันต่อวันนั้นในภาพที่สองนั้น เราคงจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่ากลุ่มของนักลงทุนที่ถือ เป็นคนส่วนใหญ่ของตลาดหรือมีเม็ดเงินมากที่สุดในตลาดนั้น ก็คือนักลงทุนราย ย่อย (Retail Customer) แบบเราๆนั่นเอง! และกลุ่มที่เป็นนักลงทุนที่มีปริมาณ การซื้อขายรองลงมาก็คือกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ และบรรดากลุ่มสถาบันรวมถึง กองทุนต่างๆในเมืองไทยตามลําดับ ดังนั้นแล้วหากจะว่ากันตามทฤษฎีผลประโยชน์แล้วล่ะก็ นักลงทุนรายย่อย ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีเม็ดเงินและปริมาณการซื้อขายที่มากที่สุด จึงจะต้องกลายเป็นหมู ในอวยตามทฤษฎีผลประโยชน์ และจะต้องเจ็บเสมอในภาพใหญ่อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ 3

ลักษณะความสัมพันธ์ของยอดรวมมูลค่าการซื้อขาย ของนักลงทุนแต่ละกลุ่ม (Net Trading Value by Investor Type) เนื่องจากทฤษฎีผลประโยชน์ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่าคุณจะสามารถทํา กําไรจากตลาดได้ก็ต่อเมื่อคุณเป็นคนส่วนน้อยที่คิดและทําในสิ่งที่ต่างออกไป ดัง นั้นคําถามที่สําคัญต่อมาของทฤษฎีผลประโยชน์ก็คือ “แท้จริงแล้วนักลงทุนส่วน ใหญ่และนักลงทุนส่วนนั้อย มีลักษณะการซื้อขายที่แตกต่างกันออกไปหรือไม่ อย่างไร?” ในแว่บแรกคําถามข้อนี้นั้นอาจดูเป็นคําถามที่หาคําตอบได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากนักลงทุนในแต่ละกลุ่มแต่ละพวกก็ย่อมที่จะต้องมีวิธีการซื้อขายเฉพาะตัว ของพวกเขา อย่างไรก็ตาม เราก็ยังพอจะมีวิธีการ (แม้จะไม่สมบูรณ์แบบ) ที่จะ สามารถศึกษาถึง “ภาพรวม” ของลักษณะความสัมพันธ์ในการซื้อขายของพวก เขาออกมาได้อยู่ ด้วยการคํานวณหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) โดยดึงเอาข้อมูลจาก “ยอดซื้อขายสุทธิสะสม” ของนักลงทุน แต่ละกลุ่มในแต่ละช่วงเวลาออกมา ซึ่งผลลัพท์ของพวกมันก็คือตัวเลขที่อยู่ใน ตารางด้านล่างเหล่านี้นั่นเองครับ ภาพที่ 3 : ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) จากยอดซื้อ ขายสุทธิรายวันของนักลงทุนในแต่ละกลุ่ม ภาพที่ 4 : ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) จากยอดซื้อ ขายสุทธิสะสมย้อนหลัง 20 วันของนักลงทุนในแต่ละกลุ่ม 4

Note : ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) มีค่าอยู่ ระหว่าง –1 ถึง 1 โดยตัวเลขที่เป็นบวกจะแสดงให้เห็นว่าลักษณะของการ เคลื่อนไหวนั้นเป็นไปอย่างพร้อมๆกันในทางเดียวกัน และยิ่งค่าเข้าไกล้ 1 เท่า ไหร่ก็จะยิ่งหมายความว่าความสัมพันธ์นั้นแทบจะเป็นไปในลักษณะเดียวกันและ น้ําหนักพอๆกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนตัวเลขที่ติดลบก็คือมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ ตรงข้ามกัน และจะตรงข้ามกันมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเข้าไกล้สู่ค่า –1 แต่หากตัวเลข อยู่ระหว่างช่วงราวๆ –0.3 ถึง 0.3 เราก็จะพออนุมาณได้ว่าลักษณะการ เคลื่อนไหวของพวกมันไม่มีความสัมพันธ์ที่มีนัยยะต่อกันนั่นเอง และจากตารางด้านบนนั้น ข้อสรุปที่ชัดเจนจากตัวเลขที่เกิดขึ้นก็คือ ความ เชื่อของทฤษฎีผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ถูกต้อง!! โดยเมื่อเรามองไปยังค่า Correlation Coefficient แบบรายวันในภาพที่ 3 นั้น เราจะพบว่ายอดซื้อขาย สุทธิของนักลงทุนต่างชาติ (Daily Net FOR) และยอดซื้อขายสุทธิของนักลงทุน รายย่อยนั้น (Daily Net CUST) จะมีค่าที่ติดลบถึง –0.84 ซึ่งหมายถึงรูปแบบ การซื้อขายของนักลงทุนสองกลุ่มนี้นั้น มีลักษณะที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงเลยที เดียว นอกจากนี้แล้วยอดซื้อขายสุทธิของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติก็ยังมีความ สัมพันธ์แบบตรงกันข้ามกับยอดซื้อขายสุทธิของกองทุนไทยแบบอ่อนๆที่ –0.15 อีกด้วย สําหรับในภาพที่ 4 นั้น เนื่องจากผมคิดว่าค่า Daily Correlation Coefficient อาจจะยังขาดความเหมาะสมที่จะตอบโจทย์ถึงความสัมพันธ์ในการ ซื้อขายของนักลงทุนในแต่ละกลุ่มที่เราต้องการได้ชัดสักเท่าไหร่นัก เพราะลักษณะ การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบันมักจะเป็นไปในรูปแบบของ การทยอยซื้อและทยอยขายอย่างต่อเนื่องเป็นช่วงๆ (Campaign Trading) ดัง นั้นผมจึงได้เก็บข้อมูลเพิ่มด้วยการวัดตัวเลขเป็นค่า Correlation Coefficient ของยอดซื้อขายสุทธิสะสมภายใน 20 วันหรือราวหนึ่งเดือนที่ผ่านไปออกมา … และนั่นทําให้ผลของมันเป็นที่ชัดเจนขึ้นอย่างมาก ซึ่งนั่นก็คือเราจะพบว่าบรรดา นักลงทุนต่างชาติมีรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างไปจากนักลงทุนรายย่อยอย่าง พวกเราเป็นอย่างมาก โดยได้ค่าตัวเลขถึง –0.92 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มนัก ลงทุนรายย่อย และ –0.57 เมื่อเทียบกับบรรดานักลงทุนสถาบัน ดังนั้นแล้วมันก็คงจะไม่เกินเลยที่เราจะกล่าวว่า อันที่จริงแล้วคนส่วนน้อย ที่มีลักษณะการซื้อขายที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับคนส่วนใหญ่ในตลาด ก็คือ 5

บรรดากลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่พวกเรามักเรียกกันอย่างชินปากว่าพวก “ฝรั่ง” นั่นเอง ผลกําไรของคนส่วนน้อย เอาล่ะครับ! ในคราวนี้ก็จะมาถึงช่วงเวลาในการพิสูจน์และวิเคราะห์กัน แล้วว่า แท้จริงแล้วคนส่วนใหญ่จะผู้ที่ต้องเจ็บตัวเสมอไป … และคนส่วนน้อยนั้น จะเป็นผู้ที่ได้ครอบครองผลกําไรของคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไปจริงๆอย่างที่เรา เชื่อกันหรือไม่!? และเพื่อที่เราจะสามารถตอบคําถามในข้อนี้ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลและมี หลักฐานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้น วิธีการหนึ่งที่ผมคิดว่าสามารถทําได้ค่อนข้าง ง่ายและเห็นผลลัพท์อย่างชัดเจนที่สุดก็คือการทําการทดสอบย้อนหลัง (หรือการ ทํา Backtesting) กับข้อมูลของตลาดหุ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมานั่นเอง ดังนั้นแล้ว ผมจึงมีความจําเป็นที่จะต้องสร้างนโยบายหรือกฎการลงทุนบางอย่าง เพื่อที่จะ พยายามลอกเลียนแบบลักษณะการลงทุนของนักลงทุนกลุ่มต่างๆออกมาให้ได้ อย่างชัดเจนในระดับหนึ่ง โดยที่นโยบายหรือกฎในการลงทุนที่ผมคิดว่าน่าจะ ตอบโจทย์ได้อย่างตรงไปตรงมาและง่ายต่อความเข้าใจที่สุด ก็คือการสร้างกฏ การซื้อขายซึ่งอ้างอิงจากยอด “ซื้อขายสุทธิสะสม” ของนักลงทุนในแต่ละกลุ่ม ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆขึ้นมา 6

ภาพที่ 5 : กรอบด้านบนคือตัวอย่างสัญญาณการซื้อขายของระบบการลงทุน Net Foreign (ลูกศรสีน้ําเงินคือสัญญาณซื้อ และลูกศรสีแดงคือสัญญาณขาย) โดยในภาพจะเป็นสัญญาณการซื้อขายเมื่อยอดสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ (เส้น สีน้ําเงิน) ตัดขึ้นเหนือเส้น 0 และขายออกเมื่อตัดเส้น 0 ลง ส่วนกรอบด้านล่าง แสดงให้เห็นยอดซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนแต่ละกลุ่มภายใน 10 วันที่ผ่าน มา สําหรับเหตุผลที่ผมเลือกเอายอดซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนแต่ละ กลุ่มออกมาเป็นสัญญาณนั้น ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าผมเชื่อว่ามันน่าจะพอเป็นตัวบ่งชี้ ให้กับเราได้ว่าเมื่อไหร่ที่นักลงทุนในแต่ละกลุ่มกําลังเริ่มที่จะทยอยซื้อสะสมหรือ ระบายหุ้นที่พวกเขามีออกไปนั่นเอง (แน่นอนว่ามันอาจไม่ใช่ความคิดที่สมบูรณ์ แบบนัก เนื่องจากผมต้องการให้ง่ายต่อความเข้าใจมากที่สุด) โดยสําหรับการ ทดสอบประสิทธิภาพของสัญญาณการซื้อขายจากนักลงทุนในแต่ละกลุ่มนั้น ผม จะกําหนดกฏการซื้อขายตามเงื่อนไขต่างๆดังนี้ 7

กฏของระบบ NET Foreign - เริ่มทําการทดสอบย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 4/1/2000 – 25/9/2013 (วันล่าสุดที่ผมเขียนบทความชิ้นนี้) - กําหนดเงินทุนเริ่มต้นเป็นจํานวน 1 ล้านบาท - กําหนดให้กลุ่มตะกร้าของหุ้นที่ลงทุนคือกลุ่มหุ้นที่อยู่ใน SET100 เพื่อ จําลองตะกร้าหุ้นให้ไกล้เคียงกับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบันของไทย - ขนาดการลงทุนแต่ละครั้ง (Position Size) จะเข้าซื้อด้วยเงินทุนครั้ง ละ 5% ของมูลค่าเงินทุนในขณะนั้น (ราว 20 ตัว/สัญญาณ) - สัญญาณซื้อ เมื่อยอดซื้อขายสุทธิสะสมภายในช่วงเวลา 10 วันที่ผ่าน มาของนักลงทุนในกลุ่มนั้นๆกลับมาเป็นบวก (ยอดสุทธิใน 10 วันกลายเป็น บวก) ตัดขึ้นเหนือเส้น 0 เราจะเข้ากวาดซื้อหุ้นทันทีในวันถัดไป - สัญญาณขาย เมื่อยอดซื้อขายสุทธิสะสมภายในช่วงเวลา 10 วันที่ผ่าน มาของนักลงทุนในกลุ่มนั้นๆกลับมาเป็นลบ เราจะขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดออกไปใน วันรุ่งขึ้น - การเลือกหุ้น (Ranking) เนื่องจากเราสามารถจะซื้อหุ้นได้เพียงราวๆ 20 ตัวจาก 100 ในแต่ละครั้ง (เรามีเงินไม่พอจะซื้อหุ้นทุกตัว) เราจึงจะเลือก เฉพาะหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุดภายใน 10 วันที่ผ่านมาเข้าพอร์ทเพียง 20 ตัวเท่านั้น ตามหลักการเลือกหุ้นแบบนําตลาดที่กองทุนประเภท Top Down Investing มักใช้กัน (Leading Stock Theory) โดยหลังจากที่ผมได้ทําการทดสอบระบบเบื้องต้นนี้กับสัญญาณจากยอด ซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนในแต่ละกลุ่มออกมาเรียบร้อยแล้ว ภาพด้านล่างก็ คือผลลัพท์ในการเติบโตของเงินทุน ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการเติบโตของพอร์ทโฟ ลิโอใน “ภาพรวม” ของนักลงทุนแต่ละกลุ่มนั่นเองครับ! 8

ภาพที่ 6 : การเติบโตของเงินทุนจากสัญญาณที่ได้จากยอดซื้อขายสุทธิสะสมของ นักลงทุนแต่ละกลุ่ม (แสดงแบบ Log-Scale) เปรียบเทียบกับผลตอบแทนของ ดัชนี SET Index โดยสีฟ้าคือกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ, สีเขียวคือกลุ่มนักลงทุน สถาบัน, สีส้มคือกลุ่มนักลงทุนรายย่อย และสีเทาคือผลตอบแทนแบบ Buy and Hold จากดัชนี SET Index ภาพที่ 7 : ตารางเปรียบเทียบผลการลงทุนจากสัญญาณที่ได้จากยอดซื้อขาย สุทธิสะสมของนักลงทุนกลุ่มต่างๆ เปรียบเทียบกับผลตอบแทนของดัชนี้ SET Index 9

จากภาพและตารางอัตราส่วนต่างๆของผลตอบแทนที่เกิดขึ้นนั้น (แน่นอน ว่าถึงแม้ในความเป็นจริงแล้วนักลงทุนแต่ละคนในแต่ละกลุ่มอาจได้รับผล ตอบแทนที่มากน้อยแตกต่างกันออกไป) แต่ในภาพรวมนั้นเราจะเห็นได้ว่า สุดท้ายแล้วนักลงทุนรายย่อยจํานวนมากก็คือผู้ที่พ่ายแพ้ในตลาดอย่างชัดเจน! โดยในส่วนของนักลงทุนสถาบันในประเทศไทยนั้น ถึงแม้ว่าพอร์ทโฟลิโอจําลอง จะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวกในระยะยาว แต่พวกเขาก็ยังไม่สามารถที่จะเอาชนะ ผลตอบแทนของตลาดได้อยู่ดี (ตัวเลขนี้คล้ายคลึงกับผลการศึกษาจํานวนมากถึง ผลตอบแทนของกองทุนรวมต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกา) ดังนั้นแล้วเราจึงอาจ ที่จะพูดได้ว่าผู้ที่เป็นผู้ชนะและเป็นคนส่วนน้อยในตลาดที่อย่างแท้จริงก็คือ บรรดากลุ่มของนักลงทุนต่างชาตินั่นเอง Note 2 : สําหรับผลของการทดลองในส่วนนี้นั้น ผมยังอยากจะพูดถึง รายละเอียดปลีกย่อยของมันต่ออีกสักหน่อย โดยหากว่าคุณสังเกตุไปที่ค่า % Trade Win ซึ่งแสดงถึงสัญญาณซื้อของระบบที่ให้กําไรเป็นบวกออกมานั้น เรา จะเห็นได้ว่าตัวเลขที่เกิดขึ้นจากนักลงทุนในแต่ละกลุ่มนั้นแทบจะไม่มีความแตก ต่างกันเลย มิหนําซ้ําแล้วตัวเลขที่ออกมายังให้อัตราความแม่นยําในการทํากําไร ต่ํากว่าการโยนเหรียญอีกด้วย นี่จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า คนส่วน ใหญ่อาจไม่จําเป็นต้องผู้ที่ผิดเสมอไปอย่างที่เชื่อกัน (Mass Always Wrong) แต่ในทางกลับกันแล้วเมื่อคนส่วนใหญ่หรือ Mass เดิมพันผิดทาง พวกเขานั้นมัก จะบาดเจ็บและขาดทุนอย่างหนักต่างหาก (Mass Always Have Large Losses) นอกจากนี้แล้วคุณยังจะสังเกตุได้อีกว่าสัญญาณการซื้อขายจากกลุ่ม นักลงทุนต่างชาติ สามารถที่จะช่วยลดระดับความรุนแรงในการขาดทุนของพอร์ท ได้ดีกว่าสัญญาณจากกลุ่มนักลงทุนอื่นๆเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราความแม่นยํา ในระดับพอๆกัน โดยมันได้แสดงออกมาจากอัตราส่วน % System Max Drawdown ที่เกิดขึ้น และนี่ก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถและ ประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงของพวกเขาได้เป็นอย่างดี! สุดท้ายนี้ก่อนที่เราจะจบในส่วนของการพิสูจน์ถึงทฤษฏีผลประโยชน์และ ผลกําไรของคนส่วนน้อยนั้น ผมเชื่อว่าน่าจะยังมีบางคนที่ยังอาจสงสัยสัยว่า ผล ลัพท์ที่เกิดขึ้นจากการเลือก Parameter หรือจํานวนวันย้อนหลังในการคํานวณ ยอดซื้อขายสุทธิของระบบที่ 10 วันนั้น จะเป็นเพียงความโชคดีหรือความบังเอิญ หรือไม่ที่ทําให้เราได้ข้อสรุปออกมาว่า นักลงทุนส่วนน้อยที่สามารถจะสร้างผล 10

ตอบแทนได้เหนือกว่านักลงทุนกลุ่มต่างๆก็คือกลุ่มของนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้น ผมจึงจะขอทิ้งท้ายในส่วนนี้ไว้ด้วยอัตราผลตอบแทนทบต้น (% Compound Annual Return) จากการเปลี่ยนแปลง Parameter หรือจํานวนวันในการ คํานวณตามระยะต่างๆ ซึ่งก็เชื่อว่าจะทําให้ทุกคนได้เห็นภาพกันอย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าเราจะมองจากในมุมไหนแล้วก็ตาม กลุ่มของนักลงทุนต่างชาติก็ยังคงเป็นผู้ ที่คอยตักตวงผลกําไรจากคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไทยไปนั่นเองครับ ภาพที่ 8 : ผลตอบแทนทบต้น %CAR ของสัญญาณจากยอดซื้อขายสุทธิสะสม ของนักลงทุนแต่ละกลุ่มตาม Parameter หรือจํานวนวันย้อนหลังที่ใช้ใน การ คํานวณ 11

Trend Following กลยุทธ์การเก็งกําไร ตามแนวโน้ม … แต่ไม่ตามคนส่วนใหญ่ หลังจากที่ผมได้ทําการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงของทฤษฎีผลประโยชน์กันไป แล้วนั้น ผมยังมีเรื่องที่อยากจะเขียนต่ออีกสักหน่อยเพื่อให้ครบประเด็นที่ได้กล่าว ไว้ตั้งแต่ตอนแรก ซึ่งนั่นก็คือเรื่องที่หลายๆคนมักมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับแนว ทางการปฎิบัติของทฏษฎีผลประโยชน์นั่นเอง นั่นก็เพราะผมคิดว่าความเข้าใจผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่งของผู้ที่รู้จักทฤษฎีผลประโยชน์แบบผิวเผินก็คือ พวกเขามักจะ หลงผิดไปกับ “ทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น” มากกว่าที่จะพยายามมองไป ยัง “ทิศทางความคิด” ของคนส่วนใหญ่แทน เราควรทําความเข้าใจกันก่อนว่า ถึงแม้ทฤษฎีผลประโยชน์จะชี้ให้เราเห็น ถึงประโยชน์ของการเป็นคนส่วนน้อยที่คิดและทําในสิ่งที่แตกต่างไปจากคนส่วน ใหญ่ แต่มันก็ไม่ได้ตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ตายตัวหรือขึ้นอยู่กับทิศทางการเคลื่อนไหว ของราคา เช่นว่าคุณจะต้องเป็น “ชาวสวน” โดยคอยซื้อหุ้นเฉพาะเมื่อราคาพุ่งลง ต่ํา หรือเป็น “ชาวไร่” ที่จ้องแต่จะขายเมื่อราคาหุ้นวิ่งขึ้นสูงขึ้นไปเลยแม้แต่น้อย เพราะนั่นเป็นเพียงวิธีการหรือ “เปลือก” อย่างหนึ่ง ในการหาผลประโยชน์จาก คนส่วนใหญ่เท่านั้น! ผมคงต้องขอย้ําอีกครั้งว่า หัวใจของทฤษฎีผลประโยชน์นั้นอยู่ที่การ “คิด ต่าง” และ “กระทําต่าง” จากคนส่วนใหญ่โดยที่ไม่จําเป็นต้องขึ้นอยู่กับวิธีการ บางอย่างเพียงอย่างเดียว ดังนั้นแล้วในส่วนสุดท้ายของบทความนี้ ผมจะขอ พิสูจน์ถึงคําพูดของผมผ่านหลักฐานที่ผมจะค่อยๆแสดงออกมาให้ทุกๆคนได้ดูกัน โดยหลักฐานหนึ่งที่ผมเชื่อว่าจะยืนยันถึงคําพูดของผมและสร้างความประหลาดใจ ให้กับหลายๆคนเป็นอย่างมากก็คือ … ผมจะขอนําเอาวิธีการเล่นหุ้นตามแนว โน้มหรือกลยุทธ์การเก็งกําไรแบบ Trend Following ที่หลายๆคนเชื่อกันว่ามัน คือกลยุทธ์แบบ “ตามแห่” หรือ “ตามน้ํา” ไปในทิศทางที่คนส่วนใหญ่กระทํากัน ซึ่งนั่นทําให้เมื่อพิจารณาอย่างผิวเผินแล้ว มันจึงไม่น่าที่จะทํากําไรให้กับพวกเรา ได้เมื่อคิดตามทฤษฎีผลประโยชน์เลย โดยในท้ายที่สุดของบทความนี้ ผมเชื่อผล การวิจัยของผมนั้นน่าที่จะเปิดมุมมองใหม่ๆให้กับหลายๆคนไม่มากก็น้อยว่า กลยุทธ์การเก็งกําไรตามแนวโน้มหรือ Trend Following นั้น ไม่ใช่กลยุทธ์แบบ 12

ตามแห่แบบที่คนส่วนใหญ่ชอบคิดกัน แต่มันคือกลยุทธ์ที่สร้างผลกําไรจากการ เขาไปอยู่ในส่วนคนส่วนน้อยต่างหาก หลักการเบื้องต้นของกลยุทธ์เก็งกําไรแบบ Trend Following ในการที่เราจะพิสูจน์ถึงความเป็นคนส่วนน้อยของบรรดานักเก็งกําไรแบบ Trend Following นั้น ผมจะขอเริ่มต้นด้วยการพูดถึง “แก่น” หรือหลักการพื้น ฐานของกลยุทธ์ Trend Following กันสักเล็กน้อย ผมจะขอเล่าสั้นๆว่าอันที่จริงแล้วโดยเนื้อแท้นั้น หลักการของกลยุทธ์ Trend Following ไม่ได้มีอะไรมากมายไปกว่าการอาศัยการทํากําไรจากแนว โน้มใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในตลาดเลย! และถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้รับประกันว่ามันจะช่วย ให้คุณตัดสินใจ “ถูก” มากกว่า “ผิด” แต่เนื่องจากกลยุทธ์การเล่นหุ้นแบบ Trend Following นั้นมักที่จะช่วยให้คุณได้กําไรก้อนใหญ่ซึ่งเกิดจากการ เคลื่อนไหวแบบสุดโต่งของราคาหุ้นในบางครั้งออกมา มันจึงสามารถที่จะทําให้ ผลกําไรที่ได้มาจากการซื้อขายในครั้งนั้นๆ ช่วยกลบการขาดทุนเล็กๆน้อยๆที่เกิด ขึ้นมาระหว่างทาง จนทําให้พอร์ทโฟลิโอของเราสามารถที่จะกลับมามีกําไร “สุทธิ” ที่เป็นบวกได้นั่นเอง และเมื่อกลยุทธ์แบบ Trend Following นั้นได้ถูก นํามาปรับใช้ร่วมกับการควบคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสมผ่านกลไกการกระจาย ความเสี่ยง (Diversification) และการควบคุมขนาดการลงทุนแล้ว (Risk & Money Management) มันจึงช่วยทําให้หลักการเก็งกําไรตามแนวโน้มสามารถ ที่จะทํากําไรได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวออกมาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ดังนั้นแล้วเพื่อที่จะออกแบบการทดลองให้เป็นกลางและเข้าใจได้ง่ายที่สุด สําหรับการทดลองในคราวนี้นั้น ผมจึงตัดสินใจที่จะเลือกใช้สัญญาณการซื้อขาย แบบ Trend Following ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง ซึ่งนั่นก็คือสัญญาณ การซื้อขายที่เกิดจากการ Breakout ทะลุแนวต้าน หรือการ Breakdown ทะลุ แนวรับของราคาในช่วงเวลาหนึ่งๆมาใช้นั่นเอง 13

ภาพที่ 9 : ตัวอย่างสัญญาณการซื้อขายซึ่งเกิดขึ้นจาก Breakout ทะลุแนวต้าน และการ Breakdown ทะลุแนวรับภายใน 20 วันที่ผ่านมากับดัชนี SET Index (กราฟที่แสดงออกเป็นสีเขียวแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เป็นขาขึ้น สีส้มแสดงให้ เห็นถึงแนวโน้มที่เป็นขาลง) โดยสําหรับการทดลองในคราวนี้นั้น ผมจะเลือกใช้สัญญาณการเกิดแนว โน้มซึ่งเกิดขึ้นจากการ Breakout ทะลุแนวต้าน และการ Breakdown ทะลุแนว รับภายใน 20 วันที่ผ่านมาเป็นกฏในการซื้อขาย หากจะถามว่าทําไมผมจึงเลือก ใช้สัญญาณเหล่านี?้ คําตอบง่ายๆก็คือค่า Parameter ที่ 20 วันเพียงพอที่จะ ช่วยกรองแนวโน้มในระยะกลางถึงยาวของดัชนี SET Index ออกมาได้แล้ว และ เหตุผลอีกอย่างก็คือมันเป็น Parameter ที่ผมได้เลือกใช้เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนว โน้มของ SET Index ในเว็บแมงเม่าคลับมานานหลายปีแล้ว 14

การซื้อแนวโน้มคือการซื้อตั๋วในการเป็นคนส่วนน้อย เมื่อนึกถึงหลักปฎิบัติของกลยุทธ์แบบ Trend Following แล้วล่ะก็ ผม มักจะพูดเสมอกับทุกๆคนว่าต้อง “ซื้อแนวโน้ม อย่าซื้อราคา” … ผมเชื่อว่าคําพูด นี้ศักดิสิทธิ์พอๆกับคําพูดของกลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือ Value Investing ที่ว่าจง “ซื้อมูลค่า อย่าซื้อราคา” เลยทีเดียว ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าเปลือกของวิธีการทั้งสองอย่างจะดูแตกต่างกันสักแค่ไหนนั้น แต่โดยเนื้อแท้ แล้วกลยุทธ์ที่ดูเหมือนจะอยู่ในขั้วที่ตรงกันข้ามกันขนาดนี้ ต่างก็มีใจความอยู่ที่ การใช้ประโยชน์จาก “ความไร้เหตุผล” จากจิตวิทยามวลชนในตลาดหุ้นมาช้า นานแล้ว และความจริงแล้วมันก็คือ “แก่น” ที่เราใช้เพื่อหาวิธีซื้อตั๋วเข้าไปจับจอง ที่นั่งของคนส่วนน้อยในตลาดนั่นเอง โดยในภาพด้านล่างต่อๆไปนี้ผมจะแสดงให้ พวกเราได้เห็นกันว่าการ “ซื้อแนวโน้ม” จะช่วยให้เรา “อัพเกรด” ตัวเองไปเป็น คนส่วนน้อยได้อย่างไร!! ภาพที่ 10 : ยอดจํานวนสัญญาณซื้อขายตามการ Breakout ทะลุแนวต้าน และ การ Breakdown ทะลุแนวรับภายใน 20 วันของดัชนี SET Index ซึ่งเก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 4/1/2000 – 25/9/2013 โดย SET Index ได้เกิดสัญญาณซื้อ ขึ้นทั้งหมด 238 ครั้ง (62.96%) และเกิดสัญญาณขายขึ้นทั้งหมด 140 ครั้ง (37.04%) รวมทั้งสิ้นเป็นจํานวน 378 ครั้ง 15

ภาพที่ 11 : สัดส่วนร้อยละของยอดซื้อสุทธิและยอดขายสุทธิของนักลงทุนต่าง ชาติ เมื่อเกิดสัญญาณการซื้อขายจากการที่ดัชนี SET Index Breakout ทะลุ แนวต้าน และ Breakdown ทะลุแนวรับภายใน 20 วันที่ผ่านมา จากภาพด้านบนนั้นเราจะเห็นได้ว่า สิ่งที่น่าประหลาดใจและตรงข้ามกับ สิ่งที่หลายๆคนเชื่อมาตลอดก็คือ เมื่อเกิดสัญญาณซื้อขึ้นจากการ Breakout ทะลุแนวต้านภายใน 20 วันที่ผ่านมาของดัชนี SET Index - หรือสัญญาณ SET Buy - ขึ้นจํานวน 238 ครั้งนั้น (ซึ่งก็คือเกิดแนวโน้มในขาขึ้น) อัตราส่วนร้อยละ ของยอดสุทธิจากการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติจะเป็นมีค่าเป็นบวก (Net Buy) ถึงเกือบ 80% เมื่อนับจากสัญญาณทั้งหมด และในทางกลับกันแล้วเมื่อ เกิดสัญญาณขายหรือ SET Sell จากการ Breakdown ทะลุแนวรับลงมาจํานวน 140 ครั้งนั้น ยอดสุทธิจากการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติจะติดลบ (Net Sell) ถึงเกือบ 90% เลยทีเดียว และนี่ก็เหตุผลที่ว่าทําไมการซื้อแนวโน้ม จึง เป็นการตีตั๋วเพื่อเดิมพันไปในทางเดียวกับคนส่วนน้อยหรือนักลงทุนต่างชาติได้ เป็นอย่างดี! 16

คนส่วนใหญ่ชอบเฉลี่ยการขาดทุน ในคราวนี้ผมจะแสดงภาพในมุมกลับให้พวกเราได้เห็นกันบ้าง ซึ่งนั่นก็คือ ภาพมุมกลับจากยอดซื้อขายสุทธิของนักลงทุนรายย่อยทั่วๆไปรวมถึงบรรดากลุ่ม นักลงทุนสถาบันนั่นเอง โดยเมื่อเราจับเอาสถิติที่เกิดขึ้นจากสัญญาณ SET Buy และ SET Sell ที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนทั้ง 2 กลุ่มนี้นั้น เราจะเห็นถึงพฤติกรรมของ พวกเขาที่แตกต่างกับนักลงทุนต่างชาติกันอย่างสิ้นเชิง ภาพที่ 12 : สัดส่วนร้อยละของยอดซื้อสุทธิและยอดขายสุทธิของนักลงทุนราย ย่อย เมื่อเกิดสัญญาณการซื้อขายจากการที่ดัชนี SET Index Breakout ทะลุ แนวต้าน และ Breakdown ทะลุแนวรับภายใน 20 วันที่ผ่านมา จากภาพที่ 12 นั้น เราจะเห็นถึงพฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยได้อย่าง ชัดเจนว่า ขณะที่เกิดสัญญาณ SET Buy ขึ้นจํานวน 238 ครั้งนั้น สัดส่วนของ ยอดขายสุทธิของนักลงทุนรายย่อย (Net Sell) จะพุ่งขึ้นไปกว่า 80% เลยที เดียว นอกจากนี้แล้วเมื่อเกิดสัญญาณขายหรือ SET Sell ขึ้นจํานวน 140 ครั้ง 17

ยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนรายย่อย (Net Buy) จะสูงถึงเกือบ 90% เลยทีเดียว สถิติที่เกิดขึ้นนี้อธิบายให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า นักลงทุนรายย่อยส่วน ใหญ่ไม่ได้เป็นพวกที่ชอบแห่เข้าซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาขึ้นเลยแม้แต่น้อย แต่ใน ทางกลับกันแล้วพวกเขามักจะพยายามรีบชิงขายเพื่อทํากําไรกันเพราะกลัวว่าจะ กลับมาขาดทุน โดยเมื่อแนวโน้มกลับกลายเป็นขาลงและพวกเขาเกิดการขาดทุน ขึ้นนั้น พวกเขาจะไม่สามารถยอมรับความจริงได้ว่าพวกเขาได้ตัดสินใจผิดพลาด ไป ยิ่งไปกว่านั้นแล้วพวกเขาก็ยังมักที่จะเกิดความดื้อรั้น โดยพยายามที่จะแก้เกม ด้วยการพยายามเฉลี่ยต้นทุนเมื่อราคาหุ้นตกต่ําลงไปเรื่อยๆ โดยมักหวังว่าเมื่อ ราคาหุ้นเด้งกลับขึ้นมามันจะทําให้พวกเขากลับมามีกําไรจากต้นทุนที่ต่ําลงได้ พฤติกรรมแบบนี้ส่งผลให้ในระยะยาวเมื่อหักลบกลบหนี้กันแล้ว พวกเขาจึงมักที่ จะเกิดการขาดทุนก้อนใหญ่ขึ้นจนทําให้กลบผลกําไรที่เคยมีไปจนหมด แน่นอนว่า พฤติกรรมเหล่านี้ก็ได้ถูกสะท้อนออกมาจากยอดซื้อขายสุทธิของพวกเขาในภาพ ด้านบนนี้เอง ภาพที่ 13 : สัดส่วนร้อยละของยอดซื้อสุทธิและยอดขายสุทธิของนักลงทุน 18

สถาบัน เมื่อเกิดสัญญาณการซื้อขายจากการที่ดัชนี SET Index Breakout ทะลุ แนวต้าน และ Breakdown ทะลุแนวรับภายใน 20 วันที่ผ่านมา สําหรับพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนสถาบันในภาพที่ 13 นั้น หาก คุณยังจํากันได้ว่าแม้ระบบซึ่งสร้างจากยอดซื้อขายสุทธิของกลุ่มนักลงทุนสถาบัน จะไม่สามารถเอาชนะตลาดหรือดัชนี SET Index ได้ แต่อย่างน้อยในที่สุดแล้ว พวกเขาก็ยังมีกําไรในระยะยาว ซึ่งจากสถิติที่แสดงออกมาจากภาพด้านบนนั้น ผมเชื่อว่าถึงแม้ว่ายอดซื้อสุทธิและยอดขายสุทธิของพวกเขาจะมีสัดส่วนพอๆกัน เมื่อตลาดเป็นขาลง แต่ยอดซื้อสุทธิ (Net Buy) ที่กว่า 60% เมื่อตลาดเกิด สัญญาณเป็นขาขึ้นคงน่าที่จะช่วยอธิบายได้ว่า เหตุใดพวกเขาจึงยังมีกําไรที่สูง กว่าบรรดารายย่อยทั่วๆไป และนั่นก็เป็นเพราะพวกเขาได้ตีตั๋วเข้าไปเป็นส่วน หนึ่งของคนส่วนน้อยตามทฤษฎีผลประโยชน์ที่ได้กล่าวไว้นั่นเอง Trend Following หนึ่งในวิธีการแอบลอกการบ้าน จากคนส่วนน้อย! ผมได้พูดไปแล้วว่าการเป็นคนส่วนน้อยมีได้อยู่หลายวิธีโดยไม่จําเป็นต้อง ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์เพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในขณะนี้นั้นผมเชื่อว่าทุกๆคนก็ คงจะเริ่มเห็นภาพกันแล้วว่า การเป็นคนส่วนน้อยนั้นไม่จําเป็นที่เราจะต้องสวมบท ชาวสวน เพื่อซื้อมูลค่าเมื่อคนส่วนใหญ่พากันจิตหลุดเทขายกันลงมาแต่เพียง อย่างเดียว แต่เรายังสามารถที่จะซื้อ “แนวโน้ม” เมื่อคนส่วนใหญ่กลัวว่ากําไรที่มี จะหายไปจนต้องรีบขายทิ้งเพื่อทํากําไรกันออกมาได้เช่นเดียวกัน แต่เพื่อที่จะ ทําให้บทความนี้จบได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นนั้น ผมจึงอยากที่จะนําเอาผลลัพท์ ของผลการทดสอบย้อนหลัง (Backtesting) ที่เกิดขึ้นจากสัญญาณ SET Buy และ SET Sell มาแสดงให้เป็นที่ประจักษ์กันอีกครั้งหนึ่ง สําหรับรายละเอียดต่อไปนี้จะเป็นกฎของระบบง่ายๆที่ผมขอเรียกว่าระบบ Mangmao SET Buy สําหรับการทดลองในครั้งนี้ โดยผมเชื่อว่ามันจะได้สะท้อน ถึงหลักพื้นฐานของการเก็งกําไรตามแนวโน้มออกมาได้เป็นอย่างดีและเป็นกลาง ในระดับหนึ่ง (หากใครอ่านแล้วนึกภาพไปออกให้ย้อนไปดูตัวอย่างสัญญาณ SET Buy – SET Sell ในภาพที่ 9) และนี่ก็คือรายละเอียดของระบบการลงทุนที่ เรากําลังจะทําการทดสอบกันต่อไปครับ 19

กฎของระบบ Mangmao SET Buy - เริ่มทําการทดสอบย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 4/1/2000 – 25/9/2013 - กําหนดเงินทุนเริ่มต้นเป็นจํานวน 1 ล้านบาท - กําหนดให้กลุ่มตะกร้าของหุ้นที่ลงทุนคือกลุ่มหุ้นที่อยู่ใน SET100 เพื่อ จําลองตะกร้าหุ้นให้ไกล้เคียงกับนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบันของไทย - ขนาดการลงทุนแต่ละครั้ง (Position Size) จะเข้าซื้อด้วยเงินทุนครั้ง ละ 5% ของมูลค่าเงินทุนในขณะนั้น (ราว 20 ตัว/สัญญาณ) - สัญญาณซื้อ เมื่อเกิดสัญญาณ SET Buy หรือการ Breakout ทะลุแนว ต้านภายใน 20 วันของดัชนี SET Index เราจะเข้ากวาดซื้อหุ้นในวันถัดไปทันที ยกเว้นในกรณีที่มีหุ้นเต็มพอร์ทและไม่เหลือเงินสดแล้ว (เกิดสัญญาณซ้ําซ้อนขึ้น หลังจากสัญญาณแรก) - สัญญาณขาย เมื่อเกิดสัญญาณ SET Sell หรือการ Breakdown ทะลุ แนวรับภายใน 20 วันของดัชนี SET Index เราจะทําการขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ทิ้งไปในวันรุ่งขึ้นทันที - การเลือกหุ้น (Ranking) เนื่องจากเราสามารถจะซื้อหุ้นได้เพียงราวๆ 20 ตัวจาก 100 ในแต่ละครั้ง (เรามีเงินไม่พอจะซื้อหุ้นทุกตัว) เราจึงจะเลือก เฉพาะหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุดภายใน 10 วันที่ผ่านมาเข้าพอร์ทเพียง 20 ตัวเท่านั้น ตามหลักการเลือกหุ้นแบบนําตลาดที่กองทุนประเภท Top Down Investing มักใช้กัน (Leading Stock Theory) และภาพด้านล่างก็คือผลลัพท์การเติบโตของเงินทุนจากระบบ Mangmao SET Buy System เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ Net Foreign ซึ่งถูก สร้างขึ้นจากยอดซื้อขายสุทธิสะสมภายใน 10 วันของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติใน ช่วงแรกของบทความครับ 20

ภาพที่ 14 : ผลการเติบโตของเงินทุนแบบรายเดือนจากระบบ Mangmao SET Buy และระบบ NET Foreign ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากยอดซื้อขายสุทธิสะสมภายใน 10 วันของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่เห็นภาพด้านบนนี้ คุณคงจะเข้าใจแล้วว่าทําไมผมจึงตั้งหัวข้อ ย่อยในส่วนนี้ว่า “วิธีการแอบลอกการบ้านจากคนส่วนน้อยในตลาดหุ้น” นั่นก็ เพราะเมื่อมองไปยังผลการเติบโตของเงินทุนจากทั้ง 2 ระบบนั้น หากสังเกตุดีๆ คุณจะเห็นว่าไม่ใช่แค่ทั้งสองระบบจะมีผลกําไรทบต้นหรือ %CAR ที่ไกล้เคียงกัน แต่มันยังมี “จังหวะ” และ “น้ําหนัก” ในการขึ้นและลงพอๆกันอีกด้วย โดยเรา สามารถที่จะคํานวณค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของผลตอบแทนรายเดือน (Monthly Correlation Coefficient) ของพวกมันออกมาได้สูงมากๆถึง 0.75 เลยทีเดียว (ขออธิบายแบบชาวบ้านไว้ว่าราว 75% ของผลกําไรจากที่ เกิดขึ้นจากระบบ Mangmao SET Buy สามารถอธิบายที่มาได้จากยอดซื้อขาย สุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาตินั่นเอง) นี่จึงเป็นอีกข้อพิสูจน์ให้เราได้เห็นกัน 21

อย่างชัดเจนว่า ตัวสัญญาณซื้อขายจากกลยุทธ์การเก็งกําไรแบบ Trend Following นั้น นอกจากที่จะมีความสัมพันธ์กับยอดซื้อและขายสุทธิของนักลงทุน ต่างชาติอย่างสูงมากๆดังในภาพที่ 10 ก่อนหน้านี้ แต่ผลตอบแทนรายเดือนจาก กลยุทธ์ Mangmao SET Buy System ก็ยังมีความสัมพันธ์ที่สูงมากๆกับผล ตอบแทนของระบบ NET Foreign ซึงถูกสร้างจากยอดซื้อขายสุทธิสะสมของนัก ลงทุนต่างชาติอีกด้วย! บทสรุปของทฤษฎีผลประโยชน์และกลยุทธ์การเก็ง กําไรตามแนวโน้ม Trend Following ในขณะนี้ผมเชื่อว่าทุกๆคนคงจะได้เข้าใจกันเป็นอย่างดีแล้วว่า เหตุใดผม จึงได้เกริ่นนําตั้งแต่ต้นบทความว่าหลายๆคนกําลังมีความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ ทฤษฎีผลประโยชน์และหลักการเก็งกําไรตามแนวโน้มหรือ Trend Following อยู่ ซึ่งนั่นก็เพราะจากผลการทดลองและการเก็บสถิติต่างๆที่ผ่านมาในบทความนี้ นั้น พวกเราค่อยๆได้พบว่า 1. จากหลักฐานนั้น คนกลุ่มน้อยคือผู้ที่สามารถทํากําไรออกจากตลาดได้ อย่างสม่ําเสมอในระยะยาวตามที่ทฤษฎีผลประโยชน์ว่าไว้จริงๆ อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ไม่จําเป็นจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทํานายตลาดถูกเสมอไป และคนส่วน ใหญ่ก็ไม่จําเป็นต้องคิดผิดเสมอด้วยเช่นกัน ซึ่งอันที่จริงแล้วนั้นผลลัพท์ % Trade Win จากสัญญาณของนักลงทุนในแต่ละกลุ่มบ่งชี้ว่ามันแทบไม่มีความ แตกต่างของความสามารถในการทํานายตลาดของคนกลุ่มต่างๆเสียด้วยซ้ํา ดัง นั้นแล้วความแตกต่างจริงๆจึงไปอยู่ที่กลไกการควบคุมความเสี่ยงที่มี ประสิทธิภาพแตกต่างกันไป มันจึงส่งผลให้คนส่วนน้อยสามารถที่จะสร้างกําไร สุทธิจากตลาดออกมาในระยะยาวได้นั่นเอง 2. กลุ่มนักลงทุนต่างชาติคือคนส่วนน้อยซึ่งสามารถทํากําไรจากคนส่วน ใหญ่ได้อย่างสม่ําเสมอในภาพใหญ่ และพวกเขาเป็นเพียงคนเพียงกลุ่มเดียวที่เรา พอจะอนุมาณได้ว่า พวกเป็นคนกลุ่มที่สามารถทํากําไร “ชนะตลาด” หรือดัชนี SET Index ได้อย่างมีนัยยะสําคัญชัดเจน 3. กลุ่มนักลงทุนต่างชาติมักแสดงยอดซื้อสุทธิเมื่อเกิดสัญญาณ SET Buy ขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงการเข้าซื้อเมื่อตลาดให้สัญญาณเป็นขาขึ้นราว 80% 22

จากสถิติทั้งหมด นอกจากนี้แล้วพวกเขาก็ยังแสดงยอดการขายสุทธิเมื่อตลาดให้ สัญญาณเป็นขาลงถึงราว 90% จากสถิติสัญญาณการขายทั้งหมด 4. จากหลักฐานซึ่งเกิดขึ้นจากยอดซื้อและยอดขายสุทธิของนักลงทุนกลุ่ม ต่างๆนั้น ลักษณะการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติจึงน่าที่จะอยู่ในรูปแบบการ เดิมพันที่เรียกว่า Anti-Martingale (ค่อยๆทยอยเดิมพันเพิ่มขึ้นเมื่อมีกําไร และ ตัดขาดทุนเมื่อเกิดการขาดทุนขึ้น) ซึ่งค่อนข้างที่จะแตกต่างอย่างสุดขั้วกับนัก ลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่ซึ่งมีพฤติกรรมการเดิมพันในรูปแบบที่เรียกว่า Martingale เป็นหลัก (ค่อยๆถัวเฉลี่ยเดิมพันความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อเกิดการ ขาดทุน และชิงขายทํากําไร)  5. ถึงแม้เราอาจจะไม่สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มนักลงทุนต่างชาตินั้นจะใช้ กลยุทธ์การเก็งกําไรตามแนวโน้มหรือ Trend Following เป็นหลักได้ เนื่องจาก ยังอาจมีหลักฐานบางอย่างที่เรามองข้ามไปหรือไม่สามารถทดสอบได้ เช่นใน กรณีที่สุดโต่งที่สุดก็คือ พวกเขาอาจเป็นผู้ควบคุมทิศทางของตลาดในบ้านเราแต่ เพียงผู้เดียวก็เป็นได้ (ซึ่งค่อนข้างเป็นยากมากๆแล้วในปัจจุบันและในอนาคต เนื่องจากตลาดหุ้นทั่วโลกมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น) แต่เราก็ได้เห็นจากหลักฐาน ทางสถิติและการ Backtest กันแล้วว่า ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างยอดซื้อและยอด ขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ, สัญญาณ Breakout-Breakdown ของดัชนี SET Index, รวมถึงผลตอบแทนรายเดือนของระบบ Mangmao SET Buy และ NET Foreign นั้นมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์หรือ Correlation Coefficient ที่ สูงถึง 0.75 เลยทีเดียว ดังนั้นแล้วเราจึงพอที่จะพูดได้ว่ากลยุทธ์การเก็งกําไร ตามแนวโน้มสามารถช่วยให้เราสามารถเดิมพันไปในทางเดียวกับพวกเขา จน เปรียบได้ราวกับว่ามันคือหนทางในการ “ตีตั๋ว” เพื่อเข้าไปสู่โลกของคนส่วนน้อย ในตลาดหุ้นไทยรูปแบบหนึ่ง สุดท้ายนี้จากประเด็นที่ผมได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ผมหวังว่าจะทําให้ พวกเราทุกได้เข้าใจว่า ทฤษฎีผลประโยชน์นั้นไม่ได้ยึดติดอยู่กับวิธีการใดๆเพียง รูปแบบเดียว แต่มันคือการคิดและกระทําต่างออกไปจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่เป็น นอกจากนี้แล้วกลยุทธ์การเก็งกําไรตามแนวโน้มหรือ Trend Following ก็ไม่ใช่ กลยุทธ์แบบแห่ตามคนส่วนใหญ่ แต่แท้จริงแล้วมันคือกลยุทธ์ที่มักเดินไปใน ทิศทางที่ตรงกับคนส่วนใหญ่คิดอีกด้วย ซึ่งหากจะพูดให้ชัดเจนลงไปอีกก็คือ กลยุทธ์การเก็งกําไรตามแนวโน้มคือกลยุทธ์ในการหาประโยชน์จากความไร้ 23

เหตุผลของคนส่วนใหญ่ในตลาดรูปแบบหนึ่ง โดยมักจะกระทําไปในทิศทางที่ตรง ข้ามกับความคิดและพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ตามหลักการของทฤษฎีผล ประโยชน์นั่นเอง และนี่ก็คือทั้งหมดสําหรับประเด็นของบทความนี้ แล้วพบกันใหม่ ในบทความต่อๆไปครับ :) 24

ขอบคุณสําหรับ 70,000 Likes ที่ผ่านมา เพื่อนๆสามารถติดตาม อ่านบทความที่ผมได้เคยขียนเอาไว้ได้จากช่องทางต่อไปนี้ครับ เว็บไซท์ แมงเม่าคลับ www.mangmaoclub.com สื่อสังคมออนไลน์ แมงเม่าคลับแฟนเพจ www.facebook.com/mangmaoclub แมงเม่าทวีท www.twitter.com/mangmaoclub แมงเม่าแชนแนล www.youtube.com/mangmaoclub