Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รวมเล่มชุดวิชา TO BE NUMBER ONE ม.ต้น

รวมเล่มชุดวิชา TO BE NUMBER ONE ม.ต้น

Published by yenesupaporn, 2020-04-16 04:26:14

Description: รวมเล่มชุดวิชา TO BE NUMBER ONE ม.ต้น

Search

Read the Text Version

เรือ่ งท่ี 2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสรา้ งภมู คิ ุม้ กันทางจติ ใจให้แก่เยาวชน โครงการ TO BE NUMBER ONE ได้กำหนดยุทธศาสตรก์ ารเสริมสร้างภูมิคุม้ กันทางจติ ใจให้แกเ่ ยาวชน โดยการถ่ายทอดความรูแ้ ละฝกึ ทักษะใหแ้ กแ่ กนนำเยาวชนทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อให้สามารถจัดกิจกรรม พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ให้แก่เพ่อื นเยาวชน และสมาชกิ ชมรม TO BE NUMBER ONE ใหม้ สี ุขภาพจิต ที่ดีมีจติ ใจทเี่ ข้มแขง็ อนั จะเป็นการป้องกันปัญหายาเสพติดในอนาคต 2.1 วัตถุประสงค์ 2.1.1 เพื่อถา่ ยทอดความรู้ และฝึกทักษะการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ใหแ้ กแ่ กนนำเยาวชน ทง้ั ในและนอกสถานศกึ ษา 2.1.2 เพือ่ ใหแ้ กนนำเยาวชน สามารถจัดกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)ให้แก่ เพือ่ นสมาชิก 2.1.3 เพอ่ื ใหส้ มาชกิ TO BENUMBERONEมสี ขุ ภาพจิตทดี่ ี มีจิตใจทีเ่ ขม้ แข็ง ปลอดภยั จากปญั หายาเสพตดิ 2.2 รปู แบบการดำเนินงาน รูปแบบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน และการจัดตั้ง ศูนย์เพือ่ นใจ TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE FRIENDCORNER) โดยมรี ายละเอียดดังน้ี 2.2.1 การจดั กิจกรรมเสรมิ สร้างภูมิค้มุ กันทางจติ ใจใหแ้ ก่เยาวชนโดยมวี ตั ถุประสงค์ ดงั น้ี 2.2.1.1 เพื่อให้แกนนำเยาวชนสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ให้แก่เพื่อนเยาวชน ซึง่ จะช่วยป้องกันและแกไ้ ขปญั หายาเสพตดิ ในอนาคต 2.2.1.2 เพอ่ื ให้แกนนำเยาวชนสามารถจดั กิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ให้แก่ เพื่อนเยาวชนไดอ้ ยา่ งเหมาะสม 2.2.1.3 เพ่อื ใหแ้ กนนำเยาวชนได้รับการเสรมิ สรา้ งทักษะในการช่วยเหลือเพอ่ื นเยาวชน ให้มกี ำลังใจที่เข้มแขง็ สามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากยาเสพตดิ 2.2.1.4 เพื่อพัฒนาศกั ยภาพและเสรมิ สร้างภูมคิ มุ้ กนั ทางจติ ใจใหแ้ ก่สมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE วธิ ดี ำเนินการจดั กิจกรรมเสริมสรา้ งภมู ิค้มุ กนั ทางจิตใจให้แกเ่ ยาวชน ดงั น้ี 1) จดั ค่ายพฒั นาแกนนำอาสาสมัคร TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE CAMP FOR LEADERS) สำหรับแกนนำอาสาสมัครในชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจTO BE NUMBER ONE 2) จัดค่ายพัฒนาสมาชิก TO BE NUMBER ONE สู่ความเป็นหนึ่ง (TO BE NUMBER ONE CAMP FOR MEMBERS) สำหรับสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาในชมุ ชนทวั่ ประเทศ ทงั้ ในกรุงเทพมหานครและจังหวดั ภูมิภาคโดยองค์ประธานเสด็จทรงปดิ ค่ายและ พระราชทานเกียรตบิ ตั ร ชุดวิชา TO BE NUMBER ONE เปน็ หน่งึ โดยไมพ่ ่ึงยาเสพติด สค2300122 ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ หน้า 93

3) ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการเสรมิ สรา้ งภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน 4) สนบั สนุนองคค์ วามร้แู ละสอื่ ในการจัดกิจกรรมเสรมิ สรา้ งภูมิคุม้ กันทางจิตใจใหแ้ ก่เยาวชน 2.2.2 การจัดตงั้ ศนู ย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER) การตั้งจัดศูนย์เพื่อนใจTO BENUMBER ONEเป็นกิจกรรมหนึง่ ของชมรม TO BE NUMBER ONE ซึ่งแกนนำอาสาสมัคร(เยาวชน) ประจำศูนย์จะเป็นผู้บริหารจัดการจัดกิจกรรมและให้บริการต่าง ๆ ภายใน ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE เป็นกิจกรรมซึ่งจัดบริการให้กับสมาชิก TO BE NUMBER ONE ที่เข้ามาใน ศูนย์ฯเทา่ น้นั หากกจิ กรรมใดก็ตามที่จัดขน้ึ นอกศูนย์ฯ จะดำเนินการโดยชมรม TO BE NUMBER ONE ซ่ึงบริหาร จัดการโดยคณะกรรมการชมรม (ดูรายละเอยี ดในการจัดตัง้ ศนู ยเ์ พือ่ นใจ TO BE NUMBER ONE) 2.2.2.1 วัตถปุ ระสงค์การจัดต้งั ศูนย์เพอ่ื นใจ TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER) 1) เพอื่ ให้เยาวชนท่ีมีปญั หา หรือตอ้ งการความชว่ ยเหลือไดร้ ับคำปรึกษาแนะนำที่ถูกต้อง เหมาะสมจากผเู้ ชีย่ วชาญหรือเพือ่ นอาสาสมัครท่ผี ่านการอบรม 2) เพื่อให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ และเพ่ิมพูนทักษะจากการฝึกแก้ปัญหา และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ทัง้ ด้วยตนเองและจากกลุม่ เพอ่ื นวัยเดียวกนั 3) เพ่ือให้เยาวชนได้มีโอกาสใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยเข้าร่วมกิจกรรม ท่ีสร้างสรรค์และเสริมสรา้ งความสุขใหก้ บั ตนเอง ดว้ ยการฝึกทกั ษะด้านดนตรี กฬี า ศลิ ปะ ฯลฯ จากผู้เชี่ยวชาญ 4) เพ่ือให้โอกาสแก่เยาวชนได้มีสถานท่ี ๆ เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ในการทำกิจกรรมท่ีสนใจร่วมกนั 5) เพ่ือให้เยาวชนกลุ่มหน่ึงที่มีความสามารถ เข้ารับการอบรมเป็นอาสาสมัครให้ คำปรึกษาเพื่อนช่วยเพ่ือน 2.2.2.2 วิธีดำเนนิ การการจัดตัง้ ศูนยเ์ พอื่ นใจ TO BE NUMBER ONE (TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER) 1) จดั ตง้ั ศูนยเ์ พ่ือนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา 2) จัดต้ังศูนย์เพอื่ นใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานประกอบการ 3) จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และเยาวชน และศูนย์ฝึกอบรมในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ทัณฑสถานและเรือนจำในสังกัด กรมราชทัณฑ์และสำนกั งานคุมประพฤตจิ งั หวดั ในสงั กัดกรมคมุ ประพฤติ 4) จัดตั้งศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในศูนย์การค้า (เฉพาะเมืองใหญ่ที่มีสถานที่ เหมาะสม) เช่น ศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ซีคอนสแควร์ฟิวเจอร์พาร์ค รงั สติ และเดอะมอลล์บางแค ซึ่งทง้ั 4 แห่ง กรมสุขภาพจิตเปน็ ผรู้ ับผดิ ชอบดำเนนิ งานโดยจัดหาแกนนำอาสาสมัคร มาเป็นผู้บริหารจัดการสนับสนุน เป็นผู้ผลิตและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีในการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE รวมทง้ั สนบั สนนุ วิทยากร องค์ความรู้ ตลอดจนคูม่ อื และสือ่ ที่เกีย่ วข้องทุกประเภท ชดุ วชิ า TO BE NUMBER ONE เป็นหนงึ่ โดยไมพ่ ึง่ ยาเสพติด สค2300122 ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น หน้า 94

2.3 ตวั อย่างกจิ กรรมการสร้างความคมุ้ กนั ทางจิตใจ ในยุทธศาสตร์ท่ี 2 เชน่ 2.3.1 การจดั ตงั้ ศนู ยเ์ พ่ือนใจ TO BE NUMBER ONE กจิ กรรมท่ี 1 ศูนยส์ หายคลายทุกข์สร้างสขุ สร้างรอยยม้ิ บรกิ ารใหค้ ำปรกึ ษาแก่สมาชิกชมรม หรอื เยาวชนอืน่ ๆ ทม่ี ีปัญหาโดยคณะกรรมการท่ผี ่านการอบรมการใหค้ ำปรึกษาเบื้องตน้ กิจกรรมที่ 2 สหาย TO BE NUMBER ONE ปรับทุกข์ สร้างสุขสร้างรอยยิ้ม สร้างเสริม ภูมิคุ้มกันทางจิตให้กับสมาชิกในชุมชนแนวคิด เป็นกิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้กับเยาวชน ภายใต้ หลักการ คลายทุกข์ สร้างสุขแก้ปัญหา พัฒนา(EQ) เป็นกิจกรรมในศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นหรือศูนย์สหาย TO BE NUMBER ONE คลายทกุ ข์ สร้างสขุ สรา้ งรอยย้มิ ของชมรม โดยมีวัตถุประสงค์เพือ่ ให้เยาวชนได้มีโอกาสและสถานทีใ่ นการคลายทุกข์ สร้างสุขแก้ปัญหา พฒั นาอีควิ และบริการคลายทกุ ข์ ผูกมติ ร กิจกรรมดำเนินงานของชมรม 1) บริการให้คำปรึกษาแก่สมาชิกชมรมหรือเยาวชนอ่นื ๆ ท่มี ีปัญหา โดยผู้ให้คำปรึกษาทุกคน ผ่านการอบรม การให้คำปรึกษาเบือ้ งต้นมาแล้ว 3 ครั้ง และฟื้นฟูปีละ 1 ครั้ง ตารางเวลาปฏิบัตงิ าน 17.00-20.00 น ผู้ให้คำปรกึ ษาวันละ 3 คน บรกิ ารให้คำปรกึ ษาทงั้ รายกลุม่ และรายบุคคล 2) กิจกรรมฝึกคิดแก้ปัญหาและพัฒนา(EQ) สำหรับสมาชิกผู้ท่ีต้องการพัฒนาความฉลาด ทางอารมณ์ของตนเอง ชมรม TO BE NUMBER ONE 3) ให้เรียนรู้ด้วยตนเองจากแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ด้วยตนเองหรือคู่มือ การเรยี นรทู้ ีว่ ิเคราะหแ์ ละประเมินได้ 4) เรียนร้ทู างอินเตอรเ์ น็ตจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและองคก์ ารบริหารส่วนตำบล ที่เปิดให้บริการฟรีในตอนเย็นทำให้สนุกสนานได้รู้จักเพือ่ น ทำให้ได้พัฒนาอคี ิวของตนเองเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม อย่างมคี วามสขุ ปลอดภัยจากยาเสพติด 5) กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพ่ือสร้างสุข เป็นการแนะนำให้เข้ากลุ่มกิจกรรมต่างๆของชมรม ตามความสนใจของเยาวชน เชน่ กลุ่มเลน่ ดนตรี กลุม่ เล่นกีฬา กลมุ่ ศิลปะ กลุม่ ร้องเพลง เต้นรำ จิตอาสา 2.3.2 การอบรมให้ความร้เู ร่อื งยาเสพติด 1) โครงการรณรงคก์ ารป้องกันและแกไ้ ขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา TOBE NUMBERONE 2) โครงการ “เยาวชนร่นุ ใหม่ รว่ มใจตา้ นภัยยาเสพติด” 3) ชมรม TO BE NUMBER ONE จัดกจิ กรรมทัศนศกึ ษาในสถานท่บี ำบดั ผู้ตดิ ยาเสพติด 2.3.3 การทำบุญทางศาสนา ฟงั เทศน์ 1) ชมรม TO BE NUMBER ONE จัดกิจกรรมโครงการนำสมาชกิ TO BE NUMBER ONE เข้าวัดทุกวนั พระและสอนธรรมศกึ ษาโดยการฟังเทศน์ 2) ชมรม TO BE NUMBER ONE จัดกิจกรรมทำบญุ เล้ยี งพระ ใสบ่ าตรในโอกาสวันสำคญั ตา่ ง ๆ ชดุ วชิ า TO BE NUMBER ONE เปน็ หนงึ่ โดยไมพ่ ่งึ ยาเสพตดิ สค2300122 ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ หนา้ 95

3) ชมรม TO BE NUMBER ONE จัดกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี เช่นแห่เทียน เข้าพรรษา สรงนำ้ พระวันสงกรานต์ 4) ชมรม TO BE NUMBER ONE จัดกจิ กรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูรอ้ น 5) ชมรม TO BE NUMBER ONE จัดกิจกรรมน่ังสมาธิทุกวันตอนเยน็ 2.3.4 การจัดกิจกรรมทใ่ี ช้เวลาว่างใหเ้ ป็นประโยชน์ 1) เล่นดนตรีแบบศิลปิน ขงจื๊อได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีมอบความพึงพอใจท่ีธรรมชาติ ของมนษุ ยไ์ ม่สามารถทำได้” และจากผลการวิจัยก็ระบวุ ่าดนตรีหรอื เสยี งเพลงสามารถกระตุ้นสมองของมนุษย์ได้ดี และนกั วจิ ัยหลายคนกไ็ ด้แสดงผล งานวจิ ัยท่ีบง่ บอกวา่ ผูท้ ีท่ งั้ ฟงั ดนตรีและเปน็ ผูเ้ ล่นเอง มีพ้นื ทหี่ นว่ ยความจำท่ีมากขึน้ 2) อ่านหนังสือให้เหมือนเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้แตะมัน การอ่านหนังสือจะช่วย เพิ่มระดับความฉลาดได้ แต่หมายถึงว่าต้องอ่านแบบไม่ลืมหูลืมตาและอ่านหลากหลายแนวตั้งแต่ นวนิยาย ชีวประวตั ิ ไปจนถงึ บทประพันธ์ต่าง ๆ การอ่านหนังสือช่วยลดความเครียด ช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับอารมณ์ความรู้สึก ที่หลากหลาย และทำให้มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือในสถานการณ์หลากหลาย และ เข้าใกล้กบั เป้าหมายชีวติ ในอนาคตมากขึ้น 3) ฝึกสมาธิเป็นกิจวัตร ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการฝึกสมาธิ คือ การช่วยให้มีโฟกัส และรู้จักเนื้อแท้ของตัวเอง ช่วยลดระดับความเครียดและขจัดความกังวลทั้งหลาย การฝึกสมาธิเป็นประจำทุกวัน ผู้ฝึกจะมีจิตใจที่สงบ รู้จักควบคุมตัวเอง มีความหยั่งรู้ ทำให้สามารถเรียนรู้ คิด และวางแผนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่าง มีประสทิ ธิภาพมากขน้ึ 4) ออกกำลังสมอง การท้าทายสมองให้ทำสิ่งใหม่ๆ ทุกวันจะช่วยเพิ่มความสามารถและ ทำให้ฉลาดขึ้น คุณสามารถฝึกสมองได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การเล่นโซโดกุ ปริศนาตามหน้าหนังสือพิมพ์ เกมกระดาน และปริศนาคำทาย กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยสร้างความเชื่อมโยงของสมอง ผู้เล่นจะได้เรี ยนรู้ การตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในลักษณะที่มีความสร้างสรรค์ พัฒนาความสามารถในการมองเห็น ให้มองได้หลายมมุ มองและสมองมปี ระสิทธิภาพมากย่ิงขน้ึ 5) ออกกำลงั กาย ก็เปน็ เรอื่ งสำคัญการมีร่างกายที่แขง็ แรงกเ็ ป็นเครอื่ งการันตีวา่ สุขภาพสมองดี การออกกำลังเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้สุขภาพดีแล้วยังช่วยลดความตึงเครียด และทำให้นอนหลับง่าย จากการศึกษาทดลองในหนูและมนุษย์ ได้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายสามารถสร้างเซลล์สมองใหม่ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของสมองดขี ึ้น ชดุ วชิ า TO BE NUMBER ONE เป็นหนงึ่ โดยไมพ่ ่งึ ยาเสพติด สค2300122 ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ หน้า 96

6) ลองทำเมนูอาหารหลากหลาย คนที่ลองทำอาหารเมนูแปลกไปจากปกติ มักเป็นคนที่ มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะลองสิ่งใหม่ๆ และเป็นคนที่มีความใส่ใจในเรื่องของรายละเอียด สิ่งที่คุณจะได้ จากการทำอาหาร คือ สามารถทำสงิ่ ตา่ ง ๆ ไดห้ ลากหลาย มีความแมน่ ยำ และตดั สินใจได้อย่างรวดเร็ว 7) ระบายความรสู้ ึกผ่านตวั หนังสือ นอกจากการเขยี นบ่อย ๆ จะเปน็ การเพิม่ ทักษะทางภาษาแล้ว ยังช่วยพัฒนาความสามารถในเรื่องของการโฟกัส ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องเขียนลงในกระดาษเท่านั้น สามารถเขียนที่ไหนก็ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเขียนลงบนมือ หรือแม้แต่ สร้างบลอ็ กของตัวเองขึน้ มา กจิ กรรมท้ายเรือ่ งท่ี 2 ยุทธศาสตรท์ ี่ 2 การเสรมิ สรา้ งภมู ิคุ้มกนั ให้เด็กและเยาวชน (ให้ผู้เรยี นทำกิจกรรมทา้ ยเร่ืองที่ 2 ในสมดุ บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา) ชดุ วชิ า TO BE NUMBER ONE เปน็ หนงึ่ โดยไมพ่ ่งึ ยาเสพตดิ สค2300122 ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น หน้า 97

เรื่องท่ี 3 ยุทธศาสตรท์ ี่ 3 การสรา้ งและพัฒนาเครือข่ายเพ่ือการป้องกนั และแกไ้ ขปญั หายาเสพติด 3.1 วตั ถุประสงค์ 3.1.1 เพอ่ื พัฒนาศกั ยภาพสมาชิกเครือข่าย ผปู้ ฏิบัตงิ าน และผเู้ ก่ียวขอ้ งในโครงการ TO BE NUMBER ONE ใหส้ ามารถดำเนนิ งานปอ้ งกนั และแกไ้ ขปญั หายาเสพติดไดอ้ ยา่ งเขม้ แข็งและมปี ระสิทธภิ าพ 3.1.2 เพื่อผลิตและพัฒนาองค์ความรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้โครงการ TO BE NUMBER ONE สำหรบั เครอื ข่าย TO BE NUMBER ONE ท่วั ประเทศ 3.1.3 เพอ่ื ให้สมาชกิ เครอื ข่าย TO BE NUMBER ONE ไดม้ ีโอกาสแลกเปลยี่ นเรียนรู้ประสบการณ์ ในการทำงานซ่งึ กันและกัน อนั จะนำไปสูก่ ารขยายผล พฒั นาประสิทธิภาพการป้องกนั และแก้ไขปัญหายาเสพติด อยา่ งย่งั ยืน 3.1.4 เพื่อให้สมาชิกเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ท่ัวประเทศ มีกำลังใจ มีความผูกพัน พร้อมที่จะช่วยเหลอื กนั รว่ มแรงร่วมใจกนั ทำงานภายใต้โครงการ TO BE NUMBER ONE อยา่ งจริงจงั ตอ่ เน่อื งซงึ่ จะทำให้เกิดเปน็ พลงั แผ่นดนิ อยา่ งแท้จรงิ 3.2 การดำเนินงาน 3.2.1 พัฒนาระบบการจัดเก็บและรายงานข้อมูลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ต่อคณะกรรมการอำนวยการระดบั จังหวดั 3.2.2 พัฒนาชอ่ งทางการตดิ ต่อส่ือสารระหว่างเครือข่ายสมาชิก TO BE NUMBER ONE และปฏิบัติงาน ในโครงการ TO BE NUMBER ONE และผเู้ กย่ี วข้อง ได้แก่ Fanpang. facebook. TO BE NUMBER ONE กศน.จงั หวดั พังงา Line ส ม า ช ิ ก TO BE NUMBER ONE พ ั ง ง า /Line ผ ู ้ บ ร ิ ห า ร TO BE NUMBER ONE จ ั ง ห ว ั ดพ ัง ง า Line TO BE NUMBER ONE กศน.พังงา 3.2.3 การศึกษาดูงานชมรม TO BE NUMBER ONE ตน้ แบบ 3.2.4 การจัดนทิ รรศการแลกเปลย่ี นเรยี นรูร้ ่วมกบั เครือขา่ ย 3.2.5 การแลกเปลี่ยนกจิ กรรมสร้างสรรค์ 3.2.6 เครอื ขา่ ยเข้มแข็งดว้ ย Social 3.2.7 เข้าร่วมกิจกรรมการประกวด TO BE NUMBER ONE ระดับภาค/ระดบั ประเทศ 3.2.8 เปิดโอกาสให้เยาวชนผู้ที่ถูกควบคุมความประพฤติด้านยาเสพติด เข้ามาทำกิจกรรม ศกึ ษาตอ่ กับ กศน. 3.2.9 สนบั สนนุ วิทยากร เงินทนุ ในการอบรมให้ความรเู้ รื่องยาเสพติดแกห่ นว่ ยงานเครือข่าย 3.2.10 สนบั สนนุ การจัดต้งั ชมรม TO BE NUMBER ONE กศน.ทุกตำบล/อำเภอ หมายเหต:ุ การจัดกิจกรรมแต่ละครง้ั อาจจดั อยู่ในหลายๆยุทธศาสตร์หรืออาจอยู่ในยุทธศาสตรท์ ต่ี ่างกัน ในแตล่ ะครั้งท่ีจดั ท้ังน้ีขึ้นอยูก่ ับวตั ถุประสงคใ์ นการจดั แต่ละคร้ัง ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหน่ึงโดยไมพ่ ึง่ ยาเสพตดิ สค2300122 ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ หน้า 98

3.3 กจิ กรรมการดำเนินงานในโครงการ TO BE NUMBER ONE ประกอบด้วย 3.3.1 กจิ กรรมแลกเปลีย่ นเรยี นรู้การรณรงคป์ ้องกนั และแกไ้ ขปญั หายาเสพตดิ 3.3.2 จดั เกบ็ รวบรวมข้อมลู ของเหล่าสมาชกิ ผา่ นเครอื ข่ายอินเตอรเ์ น็ตเพอ่ื เปน็ การเชอ่ื มโยงเครือข่าย 3.3.3 ประชาสมั พนั ธ์กิจกรรมชมรมทาง Website / facebook ของชมรม 3.3.4 การแลกเปลี่ยนประสบการณข์ องเหล่าสมาชิกระหวา่ งชมรมในเครอื ข่าย 3.3.5 เข้ารว่ มมหกรรมชมรม TO BE NUMBER ONE ระดบั จังหวดั ระดบั ภาคและระดับประเทศ 3.3.6 การผลิตและจำหน่ายผลติ ภัณฑใ์ นโครงการ 3.3.7 การจดั คา่ ย TO BE NUMBER ONE สำหรบั แกนนำ (TO BE NUMBER ONE FOR LEADERS) 3.3.8 การจดั คา่ ย TO BE NUMBER ONE สำหรบั สมาชิก (TO BE NUMBER ONE FOR MEMBERS) 3.3.9 การผลิตและเผยแพรร่ ายการวิทยแุ ละโทรทศั น์ 3.3.10 การจัดมหกรรมรวมพล TO BE NUMBER ONE ระดบั ภาค /ประเทศ 3.3.11 การจัดกิจกรรมการประกวด 3.4 ตัวอย่างกิจกรรมการสรา้ งและพัฒนาเครอื ขา่ ยในยทุ ธศาสตร์ท่ี 3 เช่น 3.4.1 สนับสนุนวิทยากรอบรมให้ความรู้ เงินทุนและอุปกรณ์แก่ชุมชน และสถานศึกษาในการ จัดต้ังชม TO BE NUMBER ONE ศูนย์เพอ่ื นใน TO BE NUMBER ONE การสนับสนุนวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่องการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดให้กับเครือข่ายชมรม TO BE NUMBER ONE เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยเหลือในการดำเนินงาน ตลอดจนการสนบั สนนุ เงนิ ทุนและอุปกรณแ์ กช่ มุ ชน และสถานศกึ ษา 3.4.2 เป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในการจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE แก่ชมรมอื่น การดำเนินงาน โครงการ TO BE NUMBER ONE มียุทธศาสตร์ในเรื่องการสร้างและพัฒนาเครือข่ายชมรมฯ ที่ตั้งขึ้นทั้งในสถานศึกษา สถานประกอบการและในชุมชน เพ่อื รว่ มกันแก้ไขปญั หายาเสพติดในเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ การร่วมมือกัน ของเครอื ข่ายทุกภาคส่วน จะชว่ ยใหก้ ารดำเนนิ งานประสบความสำเรจ็ และมปี ระสิทธภิ าพ 3.4.3 เปิดโอกาสให้ผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติด เข้ามาทำงานได้ โครงการ TO BE NUMBER ONE มเี ปา้ หมายในการแก้ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ซ่งึ เป็นกล่มุ เสยี่ งในเรือ่ งการเข้าไปยุ่งเก่ียวกับยาเสพติด มากที่สุด เยาวชนมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆด้าน เรียกไดว้ า่ ทิศทางการพัฒนา การแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ขึ้นอยกู่ บั คนกลุ่มนี้ การแกป้ ญั หายาเสพตดิ มรี ะบบการดำเนนิ งานที่ครอบคลุม ตั้งแต่การใหค้ วามรู้รณรงคป์ อ้ งกัน และแก้ปัญหาผู้เสพ ซึ่งรวมถึงการให้โอกาสผู้เสพที่ผ่านการบำบัดได้กลับคืนสู่สังคม โดยเฉพาะอย่างย่ิง การให้โอกาสผู้เสพท่ีผา่ นการบำบัดมาช่วยจดั กจิ กรรมแกไ้ ขปญั หายาเสพติด นอกจากจะส่งผลดีต่อการดำเนินงาน ของโครงการแลว้ ยงั เป็นการให้กำลงั ใจแกผ่ ้เู สพที่ผ่านการบำบัด ใหเ้ ห็นคณุ ค่าในตวั เอง คณุ ค่าในการทำความดี กิจกรรมทา้ ยเรื่องที่ 3 ยุทธศาสตรท์ ี่ 3การสรา้ งและพฒั นาเครอื ขา่ ยเพอ่ื การปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหายาเสพติด (ใหผ้ เู้ รียนทำกจิ กรรมท้ายเร่อื งท่ี 3 ในสมดุ บนั ทึกกิจกรรมการเรยี นรู้ประกอบชุดวิชา) ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหนงึ่ โดยไมพ่ ่ึงยาเสพติด สค2300122 ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ หน้า 99

หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 6 TO BE NUMBER ONE กบั ภาวะผู้นำและการทำงานเปน็ ทมี สาระสำคัญ โครงการ TO BE NUMBER ONE มีแนวทางการดำเนินงานในรูปแบบของชมรมTO BE NUMBER ONE ศนู ย์เพ่อื นใจ TO BE NUMBER ONE โดยมเี ยาวชนแกนนำและสมาชกิ เปน็ ผู้ขับเคลื่อนโครงการ และกิจกรรมของ ชมรม เพ่ือแกไ้ ขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จากเหตุผลความสำคัญดังกล่าว การพัฒนาเยาวชนแกนนำและสมาชิกของชมรม ให้มีความรู้ความสามารถและพัฒนาทักษะภาวะผู้นำกับการ ทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่จำเป็นเพือ่ ให้เยาวชนแกนนำเห็นคุณค่าความสำคัญของภาวะผู้นำกับการทำงานเป็นทีม ซ่งึ เป็นปัจจัยสำคัญใหก้ ารดำเนินงานโครงการฯ ประสบความสำเร็จ บรรลตุ ามวัตถุประสงค์ท่ีวางไว้ ตวั ชว้ี ดั 1. อธิบายความหมาย บทบาทและองค์ประกอบของภาวะผนู้ ำ 2. อธบิ ายความหมายคุณลักษณะและการสร้างภาวะผูน้ ำ 3. อธบิ ายความหมาย ความสำคญั ลักษณะของการทำงานเปน็ ทีมทม่ี ีประสิทธิภาพ และกลยุทธใ์ นการสรา้ งทมี งาน ขอบข่ายเนอ้ื หา เรอ่ื งท่ี 1. TO BE NUMBER ONE กบั ภาวะผู้นำ 1.1 ความหมายและบทบาทของภาวะผนู้ ำ 1.2 องค์ประกอบของภาวะผูน้ ำ เรื่องท่ี 2. คณุ ลกั ษณะของผ้นู ำและการสรา้ งภาวะผู้นำ 2.1 คณุ ลกั ษณะของผู้นำ 2.2 การสร้างภาวะผนู้ ำ เรือ่ งท่ี 3. TO BE NUMBER ONE กบั การทำงานเปน็ ทีม 2.1 ความหมาย และความสำคญั ของการทำงานเปน็ ทีม 2.2 ลกั ษณะของการทำงานเป็นทีมท่มี ีประสิทธิภาพ 2.3 กลยุทธ์ในการสรา้ งทมี งาน ชุดวิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหน่งึ โดยไมพ่ ่งึ ยาเสพตดิ สค2300122 ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น หนา้ 100

เวลาท่ีใช้ในการศกึ ษา จำนวน 14 ชว่ั โมง สื่อการเรยี นรู้ 1. ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหนงึ่ โดยไม่พ่ึงยาเสพตดิ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น 2. สมดุ บันทกึ กิจกรรมการเรยี นรปู้ ระกอบชดุ วชิ า 3. ส่อื เสรมิ การเรียนรู้อ่นื ๆ ชุดวิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหนงึ่ โดยไมพ่ ึ่งยาเสพตดิ สค2300122 ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ หนา้ 101

เรอ่ื งท่ี 1. TO BE NUMBER ONE กับภาวะผูน้ ำ 1.1 ความหมายและบทบาทของภาวะผนู้ ำ 1.1.1 ความหมายของภาวะผู้นำ ผู้นำ ( Leader ) คือ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่ม ให้ทำหน้าท่ีของตำแหน่งผู้นำ เช่น การชี้แนะ ส่ังการ และช่วยเหลือให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จ ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้มีการเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการผูอ้ ำนวยการ อธกิ ารบดี เป็นต้น ภาวะผู้นำ (Leadership) คือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่า พยายาม ใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้นชี้นำ ผลักดันให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบคุ คลอื่นมีความเต็มใจและกระตือรอื รน้ ในการทำสิง่ ต่าง ๆตามต้องการ โดยมคี วามสำเร็จของกลมุ่ หรอื องค์การเป็นเป้าหมาย 1.1.2 บทบาทและภาวะผ้นู ำ 1.1.2.1 เปน็ ตวั แทนในทุกสถานการณ์ 1.1.2.2 เปน็ นกั พดู ท่ีดี 1.1.2.3 เป็นนกั เจรจาต่อรอง 1.1.2.4 การสอนงานทด่ี ี 1.1.2.5 เป็นผสู้ ามารถสร้างทีมงานได้ 1.1.2.6 แสดงบทบาทการทำงานเป็นทมี 1.1.2.7 สามารถแก้ปญั หาด้านเทคนิคได้ 1.1.2.8 การประกอบการ 1.2 องคป์ ระกอบของภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำนน้ั มีปจั จยั ที่เปน็ องคป์ ระกอบหลกั 4 ปัจจัย อนั ได้แก่ 1.2.1 ผู้นำ(Leader) หมายถึง ตัวบุคคลที่นำกลุ่ม มีบุคลิกอุปนิสัยในการเป็นผู้นำเพื่อให้ผู้ตาม เกดิ ความไว้วางใจ และสามารถกระตนุ้ ผตู้ ามใหก้ ระทำการต่าง ๆ ให้ประสบความสำเรจ็ 1.2.2 ผู้ตาม (Followers) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลท่ีรับอิทธิพลจากผู้นำที่ต้องการรูปแบบ ภาวะผนู้ ำทแี่ ตกต่างกนั ขนึ้ อยกู่ ับพน้ื ฐานความเขา้ ในในธรรมชาติของมนษุ ย์ 1.2.3 การสื่อความหมาย หมายถึง การสื่อความหมายสองทางไม่เพียงแต่การใช้คำพูดยังรวมถึง การทำให้ดเู ป็นตวั อย่าง 1.2.4 สถานการณ์ (Situation) หมายถึงเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ แตกต่างกนั จงึ ต้องใชว้ ิจารณญาณทเ่ี หมาะสมกับแตล่ ะสถานการณ์ กจิ กรรมทา้ ยเร่ืองที่ 1 TO BE NUMBER ONE กับภาวะผนู้ ำ (ให้ผ้เู รยี นไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 ในสมุดบนั ทึกกจิ กรรมการเรียนรปู้ ระกอบชดุ วชิ า) ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหน่งึ โดยไมพ่ งึ่ ยาเสพติด สค2300122 ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ หน้า 102

เรอื่ งท่ี 2. คุณลักษณะของผู้นำและการสร้างภาวะผ้นู ำ 2.1 คุณลกั ษณะของผูน้ ำ การศึกษาภาวะผู้นำจากคุณลักษณะของผู้นำ (Leader Traits) เป็นวิธีการศึกษาวิธีแรกสุด แต่เนื่องจากการศึก ษาไม่สามารถย ืนยันได้ว่าคุ ณลัก ษณะ ( Trait)ของ ผู้น ำแบบใดที ่จะ ส่ง ผลต่อ ประสิทธ ิ ภาพ ของภาวะผู้นำได้มากที่สุด จึงได้มีผู้ศึกษาถึงลักษณะผู้นำไปในหลายแนวทางทัง้ ในด้านคุณลักษณะบทบาทหน้าที่ แต่ในความเปน็ จรงิ น้นั เราสามารถทจ่ี ะแบ่งผนู้ ำออกเปน็ 2 ลกั ษณะคือ 1) ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่า ผู้บังคับบัญชานั้น คือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหรือให้มีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนนิ การอยา่ งหน่งึ อยา่ งใดตามกฎระเบยี บขององค์กร 2) ผนู้ ำแบบไม่เปน็ ทางการ (Informal Leaders) คือผนู้ ำทไ่ี ม่ใชผ่ ูบ้ งั คบั บญั ชา เพราะไม่มีตำแหน่ง เป็นหัวหนา้ ในองค์กร แตส่ มาชิกในหน่วยให้การยอมรับและยกย่องใหเ้ ป็นผนู้ ำเพราะเขามคี ณุ สมบตั ิ บางประการ ที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การต้องการให้การยอมรับหรือให้ความไว้วางใจเช่น ประสบการณ์ ความรู้ ความ สามารถ มนุษยส์ ัมพนั ธ์ เป็นต้น ล ั ก ษ ณ ะ ส ำ ค ั ญ ป ร ะ ก า ร ห นึ่ ง ข อ ง ผ ู ้ น ำ ไ ม ่ ว ่ า จ ะ เ ป ็ น แ บ บ ท า ง ก า ร ห ร ื อ ไ ม ่ เ ป ็ น ท า ง ก า ร ก ็ คื อ จะต้องมีลูกน้องมีเงื่อนไขในการปกครองต่าง ๆ เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับ การให้คุณ ให้โทษ นอกจากนี้ผู้นำ ยังมเี รื่องของวิสัยทศั น์ ความซื่อสตั ย์ การจดั ความสำคญั ก่อนหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์ การเปลีย่ นแปลง ทางบวก ความสามารถในการแกป้ ญั หา ความสามารถในการสอื่ สารที่ดี และมีวินัย 2.1.1 คณุ ลักษณะดา้ นบุคลกิ ภาพของผู้นำทีม่ ีประสทิ ธิผล มลี กั ษณะดังน้ี 2.1.1.1 เปน็ บุคคลที่ทำให้องค์กรประสบความกา้ วหนา้ และบรรลผุ ลสำเร็จ 2.1.1.2 เปน็ ผู้ท่มี ีบทบาทที่สามารถสรา้ งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ใตบ้ ังคับบัญชา 2.1.1.3 การจูงใจผู้อ่ืนให้ปฏิบัตติ ามการติดต่อสื่อสารและมีอทิ ธิพลเหนือผู้ใต้บังคับบัญชา ตามอำนาจหน้าทขี่ องการบรหิ ารที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 2.1.1.4 ผู้นำมีส่วนทำให้เกิดวิสัยทัศน์ขององค์กรและของพนักงาน ซึ่งรวมถึงผู้นำที่สามารถ ใชอ้ ำนาจอทิ ธิพลตา่ ง ๆ ท้ังทางตรงและทางอ้อมเพ่อื นำกล่มุ ประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหน่งึ ดว้ ย 2.1.1.5 ผู้นำยังเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มให้ปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อใหบ้ รรลเุ ป้าหมายขององค์กร ชุดวชิ า TO BE NUMBER ONE เปน็ หน่งึ โดยไมพ่ ่ึงยาเสพตดิ สค2300122 ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น หน้า 103

2.1.2 คุณสมบตั ผิ ู้นำที่ดี 2.1.2.1 ความรู้ ( Knowledge) การเป็นผู้นำนัน้ ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในทีน่ ี้ มไิ ด้หมายถงึ เฉพาะความรู้ เก่ยี วกับงานในหนา้ ทเ่ี ท่าน้ัน หากแตร่ วมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเตมิ ในด้านอ่ืน ๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผู้นำก็จะยิ่งมั่นคง มากข้ึนเพียงนัน้ 2.1.2.2 ความริเริ่ม ( Initiative) คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขอบเขต อำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็น ที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือ มีใจจดจอ่ งานดี มีความเอาใจใสต่ อ่ หน้าที่ มพี ลังใจท่ตี อ้ งการความสำเร็จอย่เู บอ้ื งหนา้ 2.1.2.3 มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness) ผู้นำที่ดีจะต้อง ไมก่ ลวั ตอ่ อันตรายความยากลำบาก หรือความเจบ็ ปวดใด ๆ ทัง้ ทางกายวาจาและใจผนู้ ำทีม่ ีความกล้าหาญ จะช่วย ให้สามารถผจญต่องานตา่ ง ๆ ใหส้ ำเร็จลุลว่ งไปได้ นอกจากความกลา้ หาญแล้ว ความเดด็ ขาดก็เป็นลักษณะอันหน่ึง ท่จี ะตอ้ งทำใหเ้ กิดมขี ึน้ ในตวั ของผู้นำเองตอ้ งอยใู่ นลกั ษณะของการ\" กล้าได้กล้าเสยี ดว้ ย 2.1.2.4 การมีมนุษย์สัมพันธ์ ( Human relations) ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศทุกวยั ทกุ ระดับการศึกษาได้ ผนู้ ำทม่ี ีมนษุ ย์สัมพนั ธ์ดีจะช่วยให้ ปญั หาใหญเ่ ปน็ ปญั หาเลก็ ได้ 2.1.2.5 มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty) ผู้นำที่ดีจะต้อง อาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผล และความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือ ในการวินิจฉยั สัง่ การ หรอื ปฏิบัติงานดว้ ยจิตทป่ี ราศจากอคติ ปราศจากความลำเอยี ง ไมเ่ ล่นพรรคเล่นพวก 2.1.2.6 มีความอดทน ( Patience) ความอดทนจะเปน็ พลงั อนั หนงึ่ ที่จะผลกั ดนั งานให้ไปสู่ จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง 2.1.2.7 มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม( Alertness ) ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไมย่ ืดยาดขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉบั ไวในการปฏิบัตงิ านทัน ตอ่ เหตกุ ารณ์ ความตื่นตัว เป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรอง ต่อเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุต่าง ๆได้อย่างถูกต้อง พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จัก ควบคมุ ตวั เองนนั่ เอง (Self control) 2.1.2.8 มีความภกั ดี (Loyalty) การเป็นผนู้ ำหรือหัวหน้าทด่ี นี ้นั จำเป็นตอ้ งมคี วามจงรกั ภักดี ตอ่ หมคู่ ณะ ต่อส่วนรวมและตอ่ องคก์ าร ความภักดนี ้ี จะชว่ ยให้หัวหน้าได้รับความไวว้ างใจ และปกปอ้ งภัยอันตราย ในทุกทิศได้เป็นอยา่ งดี 2.1.2.9 มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้นำที่ดีจะต้องๆ ไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิง่ ท่ีไร้เหตุผล ความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกนอ้ ง มคี วามนับถือ และใหค้ วามรว่ มมอื เสมอ ชุดวชิ า TO BE NUMBER ONE เป็นหนงึ่ โดยไมพ่ ึง่ ยาเสพติด สค2300122 ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น หน้า 104

2.2 การสรา้ งภาวะผนู้ ำ การสร้างภาวะผู้นำ กค็ ือสภาพของความเปน็ ผู้นำ ซง่ึ ดไวท์ เอลเซนฮาวเออร์ (Dwight Elsenhower) ไดข้ ยายความไว้ว่าเป็น“ศิลปะในการทำใหผ้ อู้ ่ืนทำในส่ิงท่ีคุณต้องการให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความเต็มใจของพวกเขาเอง” สว่ นวิธีการสร้างภาวะผู้นำหรอื สร้างศิลปะในการทำให้ผู้อน่ื ทำในส่ิงที่ผนู้ ำต้องการให้สำเร็จลุลว่ งได้ด้วยความเต็มใจ ของพวกผู้ปฏิบัตินั้นมีสูตรสำเร็จ 5 ประการ ที่เรียกว่าสูตร 1 2 3 4 5 คือ 1 เข้มแข็ง 2 แกร่งกล้า 3 ศรัทธา 4 คุณค่า 5 สามารถ ดังนี้ 2.1.1 เข้มแขง็ หมายถึง ความเข้มแขง็ 1 ประการ คือ ตอ้ งเปน็ คนเข้มแขง็ ท้ังทางรา่ งกายและ จติ ใจ ไม่หว่ันไหว ไมว่ ่าจะตกอยู่ในสถานการณ์อยา่ งใดกต็ าม 2.1.2. แกรง่ กลา้ หมายถงึ ความแกรง่ กล้า 2 ประการ คือ 1) แกร่งกล้ารบั ผิด 2) แกร่งกล้ารบั ชอบ คือ ต้องแกร่งกล้ารับทั้งผิด รับทั้งชอบ จะรับอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ซงึ่ เปน็ ท่มี าของคำวา่ ความรบั ผดิ ชอบ 2.1.3 ศรัทธา หมายถงึ ความศรัทธา 3 ประการ ได้แก่ 1) ศรัทธาตัวเอง 2) ศรทั ธาเพื่อนร่วมงาน 3) ศรทั ธาหนว่ ยงาน ผู้นำต้องมศี รัทธา โดยเรมิ่ ต้นท่ี ตวั เอง กอ่ น วา่ เราเปน็ คนมีความรู้ มคี วามสามารถ ส่ิงใดที่ ผู้อื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้ และพยายามทำให้ดีกว่า นอกจากศรัทธาในตัวเองแล้ว ต่อมาคือ ศรัทธาเพื่อนรว่ มงาน ตอ้ งรจู้ ักให้ เกยี รตผิ ู้อ่นื เหน็ ความสำคัญและความสามารถของผู้อ่ืน ตลอดจนเข้าใจถงึ วธิ ีการทำงานเป็นทีม สดุ ท้าย คือ ศรัทธาหน่วยงาน หรือองค์กรที่เราสังกัดอยู่ ผู้นำคือตัวแทนของ หน่วยงาน ถ้าเราต้องการสร้างภาวะผู้นำ โดยขาดสำนึกแห่งศรัทธาตอ่ หนว่ ยงานของตนเอง ยอ่ มไม่สามารถจูงใจให้ผ้ตู ามทำงานให้ประสบความสำเรจ็ ได้ 2.1.4 คุณค่า หมายถงึ ความมีคุณคา่ 4 ประการ คอื 1) คุณคา่ แห่งการคดิ 2) คณุ ค่าแหง่ การพดู 3) คณุ ค่าแหง่ การตัดสนิ ใจ 4) คณุ คา่ แห่งการกระทำ คนเป็นผู้นำต้องสร้างคุณค่าให้คนเห็นคนเช่ือถือเคารพรักและศรัทธา การคิด การพูด การตัดสินใจ ตลอดจนการกระทำจึงต้องผ่านการกลั่นกรองมาก่อนเสมอ การสร้างคุณค่าด้วยการคิด คือต้องมี ความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ มีวิสยั ทศั น์ ไม่หยุดนิง่ คดิ ในส่งิ ทีเ่ ปน็ ประโยชนต์ ่อส่วนรวมและอยู่ในกรอบของคุณธรรม ชุดวชิ า TO BE NUMBER ONE เป็นหนึ่งโดยไมพ่ ่งึ ยาเสพตดิ สค2300122 ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ หนา้ 105

2.1.5 สามารถ หมายถึง ความสามารถ 5 ประการ คือ ความสามารถในการ 1) วางแผนงาน 2) มอบหมายงาน 3) ควบคมุ งาน 4) ประสานงาน 5) พฒั นาคน พฒั นางาน ซึ่งทั้ง 5 สามารถนี้ ถือเป็นบทบาท หน้าที่ของผู้นำ โดยเฉพาะผู้นำนักบริหาร เพราะผู้นำ ต้องรู้จักการ วางแผนงาน จะทำสิ่งใด ต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่า จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยใคร ขั้นต่อไป คือมอบหมายให้ผู้ที่ถูกระบุนั้นไปดำเนินการ เรียกว่า การมอบหมายงาน โดยคำนึงอยู่เสมอว่า ผู้บริหาร คือ “ผู้ท่ีทำงานให้เสร็จ โดยไม่ลงมือทำด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีจูงใจ ให้คนอื่นมาทำงาน แทนตนจนสำเร็จ” เมื่อมอบหมายงานแล้ว ก็ต้องรู้จักติดตามงาน ตรวจงาน ว่างานที่มอบให้ผู้อื่นไปทำนั้นได้ผลประการใด มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ วิธีการนี้เรียกว่า การควบคุมงาน และ ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมงานอย่างดีแล้วก็ตาม การทำงานในปัจจุบันไม่ได้กระทำร่วมกับ คนๆ เดียวหรือหน่วยงานเดียว การประสานงาน จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือต้องมีการพัฒนาคน พัฒนางาน อยู่ตลอดเวลา คำว่า พัฒนา คือ การทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อพัฒนาคน จนได้คนเก่ง คนดีแล้ว คนเก่ง คนดี ต้องทำงานดี ทำงานเก่ง คือมกี ารพฒั นางาน เพอ่ื ให้ ได้ผลงานท่ดี ี มีคณุ ภาพ จงึ จะถือเปน็ ความสำเรจ็ ของ ผูน้ ำ นักบรหิ าร ทง้ั หลาย กิจกรรมทา้ ยเร่ืองท่ี 2 คณุ ลักษณะและการสรา้ งภาวะผ้นู ำ (ให้ผู้เรยี นไปทำกิจกรรมท้ายเรอ่ื งที่ 2 ในสมุดบันทกึ กิจกรรมการเรยี นร้ปู ระกอบชุดวชิ า) ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหนึง่ โดยไมพ่ งึ่ ยาเสพติด สค2300122 ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ หนา้ 106

เร่ืองท่ี 3. TO BE NUMBER ONE กบั การทำงานเป็นทมี 3.1. ความหมายและความสำคญั ของการทำงานเปน็ ทีม การทำงานเป็นทมี หมายถึงการร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า1 คนโดยที่สมาชิกทุกคนนัน้ จ ะ ต ้ อ ง ม ี เ ป ้ า ห ม า ย เ ด ี ย ว ก ั น จ ะ ท ำ อ ะ ไ ร แ ล้ ว ท ุ ก คน ต ้ อ ง ย อ ม ร ั บ ร ่ ว ม ก ั น ม ี ก า ร ว า ง แ ผน ก า ร ท ำ ง า นร ่ วมกัน การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์การการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสทิ ธิผลของการบริหารงานการทำงานเปน็ ทีมมีบทบาทสำคัญท่ีจะนำไปสู่ความสำเร็จของงานท่ีต้องอาศัย ความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเปน็ อย่างดี 3.1.1 ลกั ษณะที่สำคัญของทีม 4 ประการไดแ้ ก่ 1) การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล หมายถึง การที่สมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความ เกย่ี วข้องกันในกจิ การของกลุ่ม /ทมี ตระหนกั ในความสำคัญของกันและกนั แสดงออกซง่ึ การยอมรบั การให้เกียรติ กนั สำหรับกลมุ่ ขนาดใหญม่ กั มปี ฏสิ ัมพนั ธ์กนั เปน็ เครือข่ายมากกวา่ การตดิ ต่อกันตัวต่อตัว 2) มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน หมายถึง การที่สมาชิกกลุ่มจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิด กิจกรรมร่วมกันของทีม /กลุ่ม โดยเฉพาะจุดประสงค์ของสมาชิกกลุ่มที่สอดคล้องกับองค์การ มักจะนำมา ซงึ่ ความสำเร็จของการทำงานไดง้ า่ ย 3) การมีโครงสร้างของทีม /กลุ่ม หมายถึง ระบบพฤติกรรม ซึ่งเป็นแบบแผนเฉพาะกลุ่ม สมาชิกกลุ่มจะต้องปฏิบัติตามกฎหรือมติของกลุ่ม ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มแบบทางการ (Formal Group) หรือกลุ่ม แบบไม่เป็นทางการ (Informal Group) ก็ได้ สมาชิกทุกคนของกลุ่มจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามเป็นอย่างดี สมาชิกกลมุ่ ยอ่ ย อาจจะมกี ฎเกณฑ์แบบไม่เป็นทางการ มีความสนิทสนมกันอย่างใกลช้ ิดระหว่างสมาชกิ ดว้ ยกนั 4) สมาชิกมีบทบาทและมีความรู้สึกร่วมกัน การรักษาบทบาทที่มั่นคงในแต่ละทีม / กลุ่ม จะมีความแตกต่างกันตามลักษณะของกลุ่ม รวมทั้งความรู้ความสามารถของสมาชิก โดยจีการจัดแบ่งบทบาท และหน้าที่ ความรับผิดชอบ กระจายงานกันตามความรู้ ความสามารถ และความถนัดของสมาชกิ การทำงานเป็นทีม เป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะผลักดันให้ท่านเป็นผู้นำที่ดีถ้าท่านประสงค์ ท่ีจะนำทีมให้ประส บ ควา มส ำเร ็จ ในก ารท ำง าน ท่ านจ ำเ ป็น ต้อง ค้นห า ค ุณ ลั กษ ณะของ ก าร ทำง าน เป ็ น ที ม ให้พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีอิสระในตัวเอง ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม แล้วจึงนำเอากลยุทธ์ ในการสรา้ งทีมเข้ามาใชเ้ พอ่ื ใหท้ ุกคนทำงานรว่ มกันและประสบความสำเรจ็ ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เปน็ หนึง่ โดยไมพ่ งึ่ ยาเสพตดิ สค2300122 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หน้า 107

3.2 ลักษณะของการทำงานเป็นทมี ท่ีมปี ระสิทธภิ าพ ทีมทีจ่ ะประสบความสำเร็จในการทำงานคือกลุม่ ของบุคคลท่ีทำงานรว่ มกนั เพ่อื ให้บรรลุเป้าหมาย ของทมี โดยมีลักษณะของการทำงานตอ่ ไปน้ี 3.2.1 วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน ท่ีตอ้ งการทำให้องคก์ รบรรลุผลสำเร็จทคี่ าดหวงั ไว้ในการดำเนินงานใหเ้ ป็นไปตามภารกจิ ขององคก์ าร 3.2.2 ความเปิดเผยต่อกัน และการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็นทีม ทีม่ ปี ระสิทธภิ าพสมาชิกจะต้องการแสดงความคดิ เหน็ อยา่ งเปิดเผย ตรงไปตรงมา แกป้ ัญหาอยา่ งเตม็ ใจและจริงใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่นในด้านความต้องการ ความคาดหวัง ความชอบหรือไม่ชอบ ความรู้ความสามารถความสนใจความถนัด จุดเด่นจุดด้อยและอารมณ์ รวมทงั้ ความรสู้ ึกความสนใจนิสยั ใจคอ 3.2.3 การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน โดยแต่ละคนมีเสรีภาพแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับผลร้ายที่จะมีต่อเนื่อง มาภายหลงั สามารถทำใหเ้ กดิ การเปิดเผยตอ่ กัน และกลา้ ทจ่ี ะเผชญิ หน้าเพ่ือแกป้ ญั หาต่าง ๆ ไดเ้ ป็นอยา่ งดี 3.2.4 ความร่วมมอื และการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผนู้ ำกลมุ่ หรอื ทีมจะต้องทำงานอย่างหนัก ในอนั ทีจ่ ะทำใหเ้ กดิ ความรว่ มมอื ดงั นก้ี ารสรา้ งความรว่ มมือกับบุคคลอนื่ ในการสรา้ งความร่วมมือเพื่อความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน และมีบุคคลอยู่สองฝ่ายคือ ผู้ขอความร่วมมือ และผู้ให้ความร่วมมือ ความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้ เมอื่ ฝา่ ยผู้ให้เต็มใจและยินดีจะให้ความร่วมมือ เหตุผลท่ีทำให้ขาดความร่วมมือไม่ช่วยเหลือกัน คอื การขัดผลประโยชน์ ไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่า สัมพันธภาพไม่ดี วัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน ไม่เห็นด้วยกัน วิธีทำงาน ขาดความพร้อมที่จะร่วมมือ หรืองานที่ขอความร่วมมือนั้นเสี่ยงภัยมากเกินไป หรือเพราะความไม่รับผิดชอบ ตอ่ ผลงานส่วนรวม การแก้ปญั หาความขดั แยง้ ในการทำงานเปน็ ทมี ควรใช้วธิ กี ารแก้ปญั หารว่ มกนั ไม่พดู ในลักษณะ ที่แปลความหรือมุ่งตัดสินความ ไม่พูดในเชิงวิเคราะห์ ไม่พูดในลักษณะที่แสดงตนเหนือกว่าผู้อื่น หรือไม่พูด ในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด เสียหน้า อับอาย เจ็บใจ หรือการพยายามพูดหาประเด็นความขัดแย้ง ไม่กล่าว โจมตีวา่ ใครผดิ ใครถกู 3.2.5 กระบวนการทำงานและการตดั สินใจท่ีถูกตอ้ งเหมาะสม งานทม่ี ีประสทิ ธิภาพน้นั ทุกคน ควร จะคดิ ถึงงานหรือคิดถึงผลงานเปน็ อันดบั แรก ตอ่ มาควรวางแผนวา่ ทำอย่างไรงานจงึ จะออกมาดไี ด้ ดงั ที่เราตอ้ งการ อย่างไรก็ตามก่อนที่จะตัดสินใจนั้นจุดมุ่งหมายควรจะมีความขัดแย้งและสมาชิกทุกคน ควรมีความเข้าใจ ในจุดมุ่งหมายของการทำงานเป็นอย่างดี จุดมุ่งหมายที่ชดั เจนถือเป็นหัวใจสำคัญดว้ ยเหตนุ ี้ จุดมุ่งหมายควรตอ้ งมี ความชัดเจน และ สมาชิกทุกคนมีความเข้าใจอย่างดีเพราะจะนำไปสู่แนวทางในการทำงานว่าต้องทำอย่างไร จึงจะบรรลุตามเป้าหมายของงาน ให้ได้ผลของงานออกมาได้อย่างดีที่สุด การตัดสินใจสั่งการ เป็นกระบวนการ ขั้นพื้นฐานของการบริหารงาน ผู้บริหารหรือผู้นำทีมเป็นบุคคลสำคัญในการที่จะมีส่วนในการตัดสินใจ วิธีการ ที่ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจหลายวิธคี ือ ผู้บริหารตัดสินใจเพ่ือแก้ปัญหา โดยไม่ต้องซักถามคนอืน่ หรือ ผู้บริหาร จะรับฟังความคิดเห็นก่อนตัดสินใจ กล่าวคือ ผู้บริหารยังคงตัดสินใจด้วยตนเอง แต่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็น และข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้บริหารได้รับมาจากสมาชิกของทีม บางครั้งผู้บริหารอาจจะตัดสินใจร่วมกับทีมงาน ชุดวิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหนง่ึ โดยไมพ่ ึง่ ยาเสพติด สค2300122 ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ หนา้ 108

ที่คัดเลือกมาโดยที่ผู้บริหารนำเอาปัญหาให้ทีมงานอภิปราย แล้วให้ทีมงานตัดสินใจหรือทีมงานอาจจะมอบหมาย การตัดสินใจให้คนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มย่อม ที่เห็นว่าเหมาะสมก็ได้ขั้นตอนในการตัดสินใจท่ีมีประสิทธิภาพ ประกอบดว้ ยขัน้ ตอนทส่ี ำคัญ 4 ข้นั ตอน คือ 1) ทำความเขา้ ใจอยา่ งชดั เจนในเหตุผล สำหรบั การตดั สนิ ใจ 2) วิเคราะห์ลกั ษณะของปัญหาท่ีจะตัดสินใจ 3) ตรวจสอบทางเลือกต่าง ๆ ในการแกป้ ญั หาโดยพิจารณาถึงผลท่ีอาจเกดิ ตามมาดว้ ย 4) การนำเองผลการตัดสนิ ใจไปปฏบิ ัติ 3.2.6 ภาวะผู้นำที่เหมาะสมผู้นำ ในการทำงานตามบทบาทของผู้นำ คือการแบ่งงานกระจายงาน ให้สมาชิกทุกกลุ่มตามความรู้ ความสามารถสำหรับสมาชิกของทีมงานทีไ่ ดร้ ับการคัดเลือกให้เป็นผู้นำ ต้องพร้อม ที่จะทำหนา้ ทใ่ี ห้เหมาะสมกับงานทไี่ ดร้ ับมอบหมายโดยการให้การสนบั สนุนนำทมี ใหป้ ระสบผลสำเร็จ ส่งเสริมให้มี บรรยากาศทดี่ ีในการทำงาน เปน็ ทมี มกี ารพฒั นาบุคลากรและทมี งาน 3.2.7 การตรวจสอบทบทวนผลงานและวธิ ีในการทำงาน ทมี งานท่ดี ไี ม่เพียงแต่ดูจากลักษณะของทีม และบทบาทที่มีอยู่ในองค์กรเท่านั้น แต่ต้องดูวิธีการที่ทำงานด้วยการทบทวนงาน แนะนำให้ทีมงานได้เรยี นรูจ้ าก ประสบการณท์ ที่ ำรู้จักคดิ การได้รบั ขอ้ มลู ปอ้ นกลบั เก่ยี วกับการปฏบิ ัตงิ านของแต่ละคน หรอื ของทีม 3.2.8 การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพพยายามที่จะรวบรวมทักษะต่าง ๆ ของแต่ละคน การพัฒนาบุคคลากรในองค์กรมักจะมองในเรื่องทั กษะและความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่แล้ว ก็ทำการฝึกอบรมพัฒนาคนให้มีความสามารถสูงขึ้น อันจะมีผลดีในการทำงานให้ดีขึ้น ผู้บริหารหรือผู้นำต้อง มีความรู้ในการบริหารคน สามารถสอนพัฒนาคนให้มีลักษณะที่ดีขึ้น ทีมที่จะประสบความสำเร็จในการทำงาน คือกลุ่มของบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของทีม ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนและเพื่อนร่วมทีม จะต้องยึดถือเป็นกรอบเพื่อทำงานร่วมกันมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน สมาชิกของทีมที่ประสบความสำเร็จ ในการทำงานจะต้องมคี วามเป็นหนึ่งเดียวกันทุก ๆ คนจะถูกดึงเข้ามาในทิศทางเดียวกันเพื่อใหบ้ รรลุความสำเร็จ ในงานและบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วงาน หรือเป้าหมายอาจบรรลุได้เมื่อทำงานร่วมกัน แทนที่ จะต่างคนต่างทำ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะมลี ักษณะโดดเด่นและสมาชิกทุกคนมีความรู้สึกว่า ตนเองมีส่วนร่วม ในความสำเร็จด้วย จัดการด้วยตนเอง ทีมงานที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน มีแนวโน้มว่าจะสร้างโครงสร้าง เฉพาะตนขึ้นมา เนื่องจากสมาชิกยอมรับบทบาทของตนในเวลาต่าง ๆ กัน คล้อยตามความจำเป็นความต้องการ และความสามารถของตน บางคนอาจมีประสบการณ์ในงานเฉพาะอย่าง จึงอาจเป็นคนจัดการให้คนอื่น ๆ ทำตามคนอื่น ๆก็จะทำหน้าที่ในกิจกรรมของตนไปในงานที่เขาคุ้นเคย พฤติกรรมเหล่านี้จะถูกพัฒนา ไปในแนวของโครงสร้างองค์กรและสมาชิกทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม พึ่งพาตัวเองสมาชิกของทีมท่ีประสบความสำเร็จ ในการทำงานจะรว่ มมือกบั คนอ่นื ๆ เพื่อทำงานช้นิ ใดชิน้ หนงึ่ หรือทำให้เป้าหมายสำเรจ็ อยา่ งไม่หลีกเลี่ยง ชดุ วชิ า TO BE NUMBER ONE เป็นหนง่ึ โดยไมพ่ งึ่ ยาเสพติด สค2300122 ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ หน้า 109

3.3 กลยทุ ธ์ในการสรา้ งทมี กลยุทธ์ในการสร้างทีม โดยแนวความคิดแล้วท่านและเพื่อนร่วมทีมย่อมต้องการเป็นทีมที่ประสบ ความสำเร็จในการทำงานโดยมีท่านเป็นผู้นำทมี มีข้นั ตอนหลายขน้ั ตอนที่ท่านควรนำมาใช้เพือ่ ให้บรรลุกระบวนการ อันไดแ้ ก่ 3.3.1 สรา้ งทีมย่อย ๆ ข้นึ มา เห็นได้ชดั วา่ ท่านสามารถช่วยได้ในการกระตุ้นให้ทมี ที่ประสบความสำเร็จ สามารถพฒั นาสมาชกิ อันมีจำกัดได้เม่อื ต้องการ บางทกี ส็ กั 5 คน ซึง่ อาจเปน็ ตัวเลขท่ีดีท่ีสดุ สำหรบั สภาพแวดล้อมท่ัวไป ท่านจำเป็นต้องคิดถึงบุคคลซึ่งประกอบกันเข้าเป็นทีม คงไม่เหมาะสมนักที่จะให้มีพนักงานสองคนซึ่งเป็นนักคิด เข้าร่วมทีมจะทำให้เกิดกรณีพิพาทขึ้นภายในทีม เพราะการริเริ่มและทัศนะที่ไม่สอดคล้องกันฉันใดก็ฉันนั้น เราไม่ควรมนี กั ปฏิบตั กิ ารมากนัก เพราะแตล่ ะคนจะทำงานไปคนละทางสองทาง ดังนน้ั จึงควรนำเอาอัตราส่วนผสม ท่เี หมาะสมเข้ามาใชใ้ นการสร้างทมี ให้มีนักคดิ นักจดั องค์กร นักปฏบิ ตั ิการ และอน่ื ๆซึง่ จะสนบั สนนุ ซึง่ กนั และกัน และตรวจสอบกันเองเป็นไปตามความเหมาะสม 3.3.2 เห็นชอบในเป้าหมาย ให้แน่ใจว่าสมาชิกทุกคนรู้ว่างานของตนคืออะไรมาตรฐาน และเป้าหมายคืออะไรและจะก้าวไปในทิศทางใด บุคลากรแต่ละหน่วยงานจะต้องพยายามรวมกลุ่มเข้าด้วยกัน เพื่อทำงานในหน้าที่อย่างดีที่สุดและให้อยู่ในทีมเดียวกัน สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนจัดรูปงานของตน เข้ากับงานของคนอ่ืน ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมอย่างมีประสิทธภิ าพ และทันเวลาต้องให้สมาชิกทุกคนเหน็ ด้วย กบั สง่ิ ทตี่ นกระทำอยวู่ า่ กำลังทำอะไร ทำเมื่อใดทำอย่างไร เพราะจะชว่ ยให้เกิดการประสานงานและทำงานด้วยกัน อย่างสามคั คกี ลมเกลียว 3.3.3 รู้จักสมาชิกเป็นรายตัว เป็นที่กระจ่างชัดว่า ท่านจะต้องรู้จักสมาชิกแต่ละคนในทีม เป็นอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะสามารถระบุได้ว่าสมาชิกแต่ละคนมีลักษณะสำคัญและองค์ประกอบ อยา่ งใด ทราบจุดแข็งและจุดออ่ นของแต่ละคน ท่านจะต้องติดตอ่ กับแต่ละคนในลกั ษณะท่แี ตกต่างกันยกตัวอย่าง เช่น นักปฏิบัติการจะต้องถูกกระตุ้นให้ทำงานช้าลง รอคอยคิดและรับฟังคนอื่นก่อนที่จะทำงานต่อ ในบางคร้ัง ท่านจะต้องเข้าไปไกล่เกลี่ยสมาชิกของท่าน เช่นระหว่างนักปฏิบัติการกับนักตรวจสอบ ให้ทั้งสองฝ่ายนั่งลง เจรจากนั รบั ฟงั ความคิดเหน็ ของแตล่ ะฝ่ายและยอมรบั ทัศนะของอีกฝ่ายหน่งึ บา้ ง 3.3.4 รักษาไว้ซึ่งการติดต่อสื่อสารที่ดี การติดต่อสื่อสารระหว่างท่านและทีมงานและระหว่างทมี ด้วยกันเอง มีความสำคัญในการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเป็นทีมที่จะประสบความสำเร็จในการทำงาน การติดต่อสื่อสารสองทางอย่างต่อเนื่อง และผลที่ได้รับกลับมาจะช่วยหยุดการซุบซิบนินทา ลดความสับสน ระงับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและฟื้นฟูสัมพันธภาพโดยรวม นับเป็นความจำเป็นที่ทุกคนในองค์กรจะต้อง พูดจากับคนอื่น ๆ ทั้งในการประชุมปกติ ที่เป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการเพื่อก้าวไปข้างหน้า ยอมรับ คำแนะนำตา่ ง ๆ รบั ฟงั และแลกเปลีย่ นความคิดเห็นระหวา่ งกัน กจิ กรรมทา้ ยเรื่องท่ี 3 TO BE NUMBER ONE กับการทำงานเปน็ ทีม (ใหผ้ เู้ รียนไปทำกิจกรรมท้ายเรอื่ งที่ 3 ในสมุดบนั ทกึ กิจกรรมการเรยี นรูป้ ระกอบชุดวชิ า) ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เปน็ หน่งึ โดยไมพ่ ่งึ ยาเสพตดิ สค2300122 ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น หน้า 110

บรรณานุกรม กรมสุขภาพจติ กระทรวงสาธารณสุข. (ความเป็นมา คำขวัญและความหมาย วตั ถปุ ระสงค์โครงการ หลักการ ดำเนนิ งาน แนวทางดำเนนิ งาน) ค่มู อื การดำเนนิ งานโครงการรณรงค์ปอ้ งกันและแกไ้ ขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญงิ อุมลรัตราชกัญญา สริ วิ ัฒนาพรรณวดี ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2560 หน้า 7 – 16. วิทยาลัยเทคนิคพงั งา. บทบาทหนา้ ท่คี ณะกรรมการ. เอกสารประกอบการประเมินชมรม TO BE NUMBER ONE หน้า18 – 19. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ยทุ ธ์ศาสตร์ของ TO BE NUMBER ONE. คูม่ ือการดำเนินงานโครงการ รณรงคป์ อ้ งกันและแก้ไขปัญหายาเสพตดิ TO BE NUMBER ONE ในทลู กระหม่อมหญิงอบุ ลรตั นราชกญั ญา สิริวฒั นาพรรณวดี ฉบับปรบั ปรุงใหม่ ปี 2560 หน้า 25 – 35. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่สมาชิกชมรม. คู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิรวิ ัฒนาพรรณวดี ฉบับปรบั ปรงุ ใหม่ ปี 2560 หน้า 9. หนงั สอื เรยี นสาระทกั ษะการดำเนนิ ชวี ิต. รายวิชา สุขศึกษา พลศกึ ษา (ทช31002) ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ. 2554) เอกสารทางวชิ าการลำดบั ที่ 14/2555 หนงั สือเรียนสาระทกั ษะการดำเนนิ ชีวติ . รายวชิ า สขุ ศึกษา พลศกึ ษา ( ทช21002 ) ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้ (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2554) เอกสารทางวชิ าการลำดบั ที่ 13/2554 สำนกั งาน ป.ป.ส. กระทรวงยตุ ิธรรม. ยุทธศาสตร์การปอ้ งกันและแก้ไขปญั หายาเสพตดิ .. สบื คน้ เมื่อ วันท่ี 7 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.oncb.go.th/Pages/main.aspx/ แผนยทุ ธศาสตรก์ ารป้องกนั และแก้ไขปญั หายาเสพติด พ.ศ. 2558 - 2562 สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE. การจดั ตัง้ ชมรม/ศูนย์เพ่อื นใจ TO BE NUMBER ONE. สบื ค้นเมื่อ วนั ท่ี 7 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.tobenumber1.net ชมรม To Be Number One โรงเรยี นสตรพี ทั ลุง. หลักการจัดตัง้ ชมรม TO BE NUMBER ONE. สืบคน้ เมอ่ื วันที่ 7 กรกฎาคม 2562, จาก : https://2b.spt.ac.th/page/id/7/ สำนักงานโครงการ TO BE NUMBER ONE. ยุทธศาสตรก์ ารดำเนนิ งาน โครงการรณรงคป์ อ้ งกนั และแก้ไข ปญั หายาเสพติด. สบื ค้นเมือ่ วนั ที่ 7 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.tobenumber1.net สำนักงานสาธารณสุขจังหวดั กำแพงเพชร. การดำเนินงานศูนยเ์ พอ่ื ใจ TO BE NUMBER ONE. สบื ค้นเมอ่ื วันที่ 7 กรกฎาคม 2562, จาก http://kpo.moph.go.th/tobekpp/index.php/ คู่มอื การ ดำเนนิ งานศูนย์เพอ่ื นใจ TO BE NUMBER ONE เนตรนภา ห่างภัย. ความหมายของภาวะผ้นู ำ สืบคน้ เมือ่ วันท่ี 30 กนั ยายน 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/444656/ รงั สรรค์ ประเสริฐศรี. บทบาทและภาวะผู้นำ. สืบค้นเมือ่ วันท่ี 30 กันยายน 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/451280 ชดุ วชิ า TO BE NUMBER ONE เป็นหน่ึงโดยไมพ่ ่ึงยาเสพตดิ สค2300122 ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้ หน้า 111

โรงเรยี นดรณุ ศษิ ยพ์ ิทยารงั สรรค.์ คณุ ลักษณะของผู้นำ. สบื ค้นเมือ่ วนั ท่ี 30 กันยายน 2562, จาก https://sites.google.com/site/darunsitpattanarangsan/sara-na-ru/ phawa-phunathangkar-suksa สำนกั งานสาธารณสุขจงั หวดั พังงา. คณะกรรมการดำเนนิ งานโครงการ TO BE NUMBER ONE ในจงั หวัดพงั งา .ระเบยี บวาระการประชุมคณะกรรมการอำนวยการและสรปุ รายงานการประชมุ จากสำนักงาน สาธารณสขุ จงั หวัดพังงา ปีงบประมาณ 2562 วิทยาเทคนคิ พงั งา. การดำเนนิ งานโครงการ TO BE NUMBER ONEและการสง่ ประกวด. สรปุ ผลการ ดำเนินงาน ชมรม TO BE NMBER ONE วทิ ยาลยั เทคนิคพังงา ประจำปกี ารศกึ ษา 2561 สรปุ ผลการดำเนนิ งาน ชมรม TO BE NMBER ONE ชมุ ชนบางมรา ตอตั้ง ประจำปี 2561 กรมสขุ ภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (ม.ป.ป.) คมู่ ือการดำเนินงานโครงการรณรงคป์ อ้ งันและแกไ้ ขปญั หา ยาเสพตดิ TO BE NUMBER ONE ในทลู กระหมอ่ มหญงิ อบุ ลรัตนราชกัญญา สิรวิ ัฒนาพรรณวดี ฉบบั ปรับปรุงใหม่ ปี 2560. โรงเรียนสำเรจ็ รปู โรงเรียนครุ ะบุรีชัยพัฒนาพทิ ยาคม. (2562). ประเภทของยาเสพติด. สบื ค้นเมอ่ื วันที่ 3 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.schoolweb.in.th/sarawut1kcp/ การตรวจหาสารเสพตดิ ในร่างกาย. (2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.Thaiheath.or.th/ สำนักขา่ วชายขอบ. (2562). เสยี งสะทอ้ นคนปลูกฝ่นิ หวังรฐั บาลซูจีชว่ ยเหลือ ยินดีเปลี่ยนอาชพี ใหมป่ ลูกพชื เกษตรอนื่ แทนการทำไรฝ่ น่ิ . สืบคน้ เมือ่ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://transbordernews.in.th/home/?p=10924/ มอร์ฟีน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/yasephtidthalaychiwit/ya-seph-tid-thi-phaer-rabad-ni- prathesthiy/mxrfin/ เฮโรอนี . (2562). สบื ค้นเม่ือ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://tonkla78911.wordpress.com/2015/08/11/เฮโรอนี / กิน ‘ยากล่อมประสาท’ อนั ตรายถึงชวี ติ . (2562). สืบค้นเม่อื วันท่ี 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/27075-/ กัญชา...ยาเสพติดภยั รา้ ยใกล้ตวั . (2562). สืบค้นเมือ่ วนั ที่ 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.aia.co.th/th/life-challenges/articles/Hashish.html HONESTDOCS. (2562). ยาบ้าคืออะไร. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.honestdocs.co/what-is-amphetamine ไทยรฐั ออนไลน.์ (2562). ขนยาหน้าแล้ง. สืบค้นเม่ือ วนั ท่ี 3 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.thairath.co.th/tags/ขนยาเสพตดิ หน้าแล้ง ชดุ วชิ า TO BE NUMBER ONE เปน็ หนง่ึ โดยไมพ่ ่ึงยาเสพติด สค2300122 ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น หน้า 112

ทปี่ รกึ ษา คณะผจู้ ดั ทำ นางรุ่งอรณุ ไสยโสภณ ผอู้ ำนวยการกลมุ่ พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั นางบุษบา ณะแก้ว ผอู้ ำนวยการสำนกั งาน กศน.จงั หวัดพังงา คณะทำงาน ผอู้ ำนวยการ กศน.อำเภอเมืองพงั งา ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอตะก่ัวทงุ่ นายวิทยา คชสิทธิ์ ผอู้ ำนวยการ กศน.อำเภอกะปง นางจติ ราภรณ์ แกว้ วสิ ัย ผอู้ ำนวยการ กศน.อำเภอท้ายเหมือง นายจริ ะนันท์ บุญเรอื ง ผ้อู ำนวยการ กศน.อำเภอทับปดุ ว่าทรี่ อ้ ยตรวี รวฒุ ิ บญุ เฉดิ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอตะก่ัวป่า นางไพลิน หยดย้อย ครชู ำนาญการพิเศษ กศน.อำเภอเมืองพังงา นางสาวมาลิตา หลหี ยัน ครูชำนาญการ กศน.อำเภอเมืองพังงา นางพรพิศ คชสทิ ธ์ิ ครูผู้ช่วย กศน.อำเภอกะปง นางสาลี สถริ วกิ รานต์ ครูผู้ชว่ ย กศน.อำเภอครุ ะบุรี นายภาณุพงศ์ สังขด์ ว้ ง ครูผชู้ ว่ ย กศน.อำเภอเกาะยาว นางฟารีดา้ ราชสำรอง นกั วชิ าการศึกษาปฏิบัตกิ าร นายธนวฒั น์ บวั บาน นักวชิ าการศึกษา นางสาวจีรณา จอกนอ้ ย ครูอาสาสมคั ร นางสาวยวุ รรดา คงแก้ว ครูอาสาสมัคร นายอวริ ทุ ธ์ ภกั ดี ครูอาสาสมคั ร นางสาวปณั ณ์ ศรแี กว้ ครูอาสาสมัคร นางรัตนา เหมหลี ครูอาสาสมัคร นางวยิ ะดา ชพู ยัคฆ์ ครอู าสาสมัคร นางสาวสวุ รรณี แสงแกว้ ครู กศน.ตำบล นางสาวอรอุมา เนยี มหอม ครู กศน.ตำบล นางอมรรัตน์ ทีปะปาล ครู กศน.ตำบล นายสนธยา ภู่อมร ครู กศน.ตำบล นางสาวขนษิ ฐา ฉ่ัวเจรญิ ครู กศน.ตำบล นายศิริศกั ดิ์ เทพณรงค์ ครู กศน.ตำบล นางสาวกนกวรรณ ไชยจรัส ครู กศน.ตำบล นางสาวสายใจ ชลเขตต์ ครู กศน.ตำบล นายปุริน สงวนทรัพย์ นางสาวปรารถนา ภิรมย์ ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เป็นหนึง่ โดยไมพ่ ึ่งยาเสพติด สค2300122 ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น หนา้ 113

นายชาญชยั จนั ทร์ทอง ครู กศน.ตำบล นายวชิ ิต งานวอ่ ง ครู กศน.ตำบล นางสาววิลาวรรณ ชลหัตถ์ ครู กศน.ตำบล นางเพ็ญสินี กลู กิจ ครู กศน.ตำบล นางสาวเพ็ชรรตั น์ พทุ รง ครู กศน.ตำบล นางภนั ทลิ า จรเงนิ ครู กศน.ตำบล นายรัฐศักดิ์ ปานพืช ครู กศน.ตำบล นายคฑาวธุ ปนั่ วารี ครู กศน.ตำบล นางสาวศวิ าพร มนิ สนิ ครู กศน.ตำบล นางสาวอมุ าพร เพชรเกิด ครู กศน.ตำบล บรรณาธกิ าร/พสิ ูจน์อกั ษร ผอู้ ำนวยการกลุ่มพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย ผอู้ ำนวยการ กศน.อำเภอเกาะพงนั นางร่งุ อรณุ ไสยโสภณ ครูชำนาญการวิทยาลยั เทคนิคพังงา นางสาวรชั ฎา โสมเพ็ชร์ นางฉลบฉลยั รัตนกุกสุ มุ นกั วชิ าการสาธารณสขุ ชำนาญการ เจา้ หน้าท่ีปกครองปฏิบัติงาน นายศรรษตรา เกตแุ กว้ นางสาวกรรณเดช ทิมสวัสดกิ ุล นักวิชาการสาธารณสขุ ชำนาญการ ผูป้ ระสานงานโครงการ TO BE NUMBER ONE นางสาวพรพรรณษา ทองสกลุ ครูชำนาญการ นางสาวสมใจ ไวยเจรญิ นางสาววไิ ลวรรณ ทองวล เจา้ พนกั งานสาธารณสขุ ชำนาญงาน ครูผชู้ ว่ ย กศน.อำเภอตะกว่ั ท่งุ นายประสิทธิ์ มุ่งกิจ นางสาววาสนา คงทอง ผรู้ บั ผดิ ชอบโครงการ นักวิชาการศกึ ษา นางสาวยวุ รรดา คงแก้ว ครูผชู้ ว่ ย กศน.อำเภอตะก่ัวทุ่ง นางสาววาสนา คงทอง ครูผู้ช่วย กศน.อำเภอตะกั่วท่งุ จัดรปู เล่ม ครูผู้ชว่ ย กศน.อำเภอกะปง นางสาววาสนา คงทอง ครผู ู้ช่วย กศน.อำเภอเกาะยาว นักวิชาการศึกษา นายภานพุ งศ์ สังขด์ ว้ ง นายธนวฒั น์ บัวบาน นักวิเคราะหน์ โยบายและแผน นางสาวยวุ รรดา คงแกว้ ครู กศน.ตำบล ผอู้ อกแบบปก นายคฤษภ์ สขุ ประเสริฐ นายปรุ ิน สงวนทรพั ย์ ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เปน็ หนง่ึ โดยไมพ่ ่ึงยาเสพตดิ สค2300122 ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น หนา้ 114

ชดุ วิชา TO BE NUMBER ONE เปน็ หนึ่งโดยไมพ่ ึ่งยาเสพตดิ สค2300122 ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนตน้ หน้า 115


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook