Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ไมเกรน

ไมเกรน

Published by pirayahomhuan, 2021-10-03 15:29:29

Description: ไมเกรน

Search

Read the Text Version

MIGRAINE HEAD ACHE ไมเกรน

สารบัญ 01 ไมเกรน (Migraine) 02 อาการไมเกรน 03 ระยะอาการปวดหัวไมเกรน 04 เกณฑ์วินิจฉัยปวดหัวไมเกรน 05 ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน

สารบัญ 06 แนวทางการป้องกัน 07 แนวทางใช้ยารักษา 08 พฤติกรรมควรทำ สำหรับ คนเป็นไมเกรน 09 สรุป 10 อ้างอิง

“ไมเกรน (Migraine)” เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับ สารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและ คลายตัวมากกว่าปกติ เกิดอาการปวดหัวตุ๊ บ ๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้น

อาการไมเกรน ปวดศรีษะข้างเดียว ปวดศรีษะตุ้บ ๆ เป็นจังหวะ ปวดมากจนทำอะไรไม่ได้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดบริเวณเบ้าตา ทนแสงจ้า หรือเสียงดังไม่ได้

4 ระยะอาการปวดหัวไมเกรน 1. ระยะบอกเหตุล่วงหน้ า 2. อาการเตือนนำ (Prodrome) : ปวดตึง (Aura) : มองเห็นผิด ตามต้นคอ หรืออารมณ์ ปกติ เช่น เห็นแสงระยิบ แปรปรวน ระยับ 3. อาการปวดศีรษะ (Headache) : ปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือปวดหัวข้างเดียว 4. เข้าสู่ภาวะปกติ (Postdrome) : อ่อนเพลีย วิงเวียน เกิดอาการสับสน

เกณฑ์วินิจฉัยว่าเป็นปวดหัวไมเกรน สมาคมปวดศีรษะนานาชาติ (The International Headache Society: IHS) ได้จัดให้อาการปวดหัว ไมเกรน อยู่ในอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ (Primary headache) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด และเส้นประสาทในสมอง ไม่ได้เกิดจากโรค เกณฑ์วินิจฉัยเป็นปวดหัวไมเกรน คุณมีอาการ 2 ใน 3 อย่างนี้หรือไม่ ? ประเมินแบบ ID migraine คลื่นไส้หรืออาเจียน มีอาการแพ้แสง ปวดมาก จนทำงานไม่ได้ 1 วัน

ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน อาหาร เช่น ชีส อากาศที่ร้อนเกิน แอลกอฮอล์ ผงชูรส ไป หรืออากาศที่ อาหารที่ผสมไนไตรท์ เช่น ไส้กรอก แฮม ร้อนชื้น z ออฟฟิ ศซินโดรม z แสงไฟสว่าง z แสงไฟกระพริบ หรือแสงแดดที่จ้า ความเครียด และการอดนอน หลังจากคลอดบุตร ประจำเดือน

แนวทางการป้องกันอาการ ปวดหัวไมเกรน อาการปวดหัวไมเกรนสามารถป้ องกันได้ ถ้ามาพบแพทย์ เพื่อรับแนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจสามารถทำให้ความถี่ ของการปวดหัวไมเกรนลดลงได้ โดยแพทย์จะเริ่มแนะนำให้ใช้ยา ป้ องกันเมื่อ - มีอาการไมเกรน 4 ครั้งใน 1 เดือนขึ้นไป - มีข้อห้ามต่อการใช้ยาแก้ปวดหัวเฉียบพลัน เช่น มีประวัติ แพ้ยา ตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น การป้องกันไมเกรนโดยใ ช้ยาฉีด 1.การฉีดยาชาเข้าที่เส้นประสาทบริเวณท้ายทอย (occipital nerve block) เป็นการรักษาที่ได้ผลดี สำหรับโรคไมเกรนเรื้อรัง และ แทบไม่มีผลข้างเคียง ยกเว้นอาการชาตามหนังศีรษะ เป็นการ รักษาทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ป่ วยที่อาจจะทนรับผลข้างเคียง ของยาป้ องกันไมเกรนตัวอื่น ๆ ไม่ได้ 2.การฉีดยาชื่อ anti CGRP (Calcitonin-gene-related peptide) เป็นยาที่มีผลในการยับยั้งการทำงานของ CGRP ในช่วงที่มี อาการไมเกรน ซึ่งแพทย์จะฉีดให้เดือนละครั้ง โดยจะฉีดทางใต้ ผิวหนัง *CGRP หรือ Calcitonin gene related peptide เป็น peptide ชนิดหนึ่งที่พบใน ระบบประสาท มีหน้ าที่ทำให้หลอดเลือดเกิด การขยายตัว และเกี่ยวข้องกับการส่งกระแส ประสาทความเจ็บปวด ผู้ป่วยไมเกรนมักจะ พบว่ามีสารนี้หลั่งออกมามาก ทำให้มีอาการ ปวดศีรษะอย่างต่อเนื่ องจนเกิดไมเกรน กำเริบ

การป้องกันไมเกรนโดยการกินยา การกินยาป้ องกันโรคไมเกรนต่อเนื่องเป็นเวลา 6 – 12 เดือน อาจช่วย ทำให้ความถี่ของอาการลดลงได้ถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ของผู้ป่วย การกินยาป้ องกันโรคไมเกรนต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ 1.กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น amitriptyline, nortriptyline มี ประสิทธิภาพในการลดความถี่ของการเกิดไมเกรนได้ดีมาก แพทย์มักใช้ ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรก ๆ เนื่องจากสรรพคุณที่ช่วยในการนอนหลับ และ สามารถช่วยลดอาการปวดของโรคออฟฟิ ศซินโดรม 2.กลุ่มยากันชัก เช่น topiramate มีประสิทธิภาพดีโดยเฉพาะสำหรับโรค ไมเกรน ช่วยลดความถี่ในการเกิดไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือนได้ ประมาณ 33% แต่อาจมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง เช่น ทำให้มีอาการมึนงง เกิดอาการชา เป็นต้น 3.กลุ่มยาลดความดัน เช่น propranolol ยากลุ่มนี้อาจมีประสิทธิภาพใน การป้ องกันไมเกรนน้ อยกว่ากลุ่มยา 2 ข้อข้างต้น แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้ ช่วยลดความดันโลหิตได้ จึงสามารถใช้กับผู้ป่วยปวดหัวไมเกรน ที่มีโรค ความดันโลหิตสูงเป็ นโรคร่วม

แนวทางใช้ยารักษาปวดหัวไมเกรน 1. กรณีปวดหัวไม่รุนแรง แนะนำให้กินเป็นอันดับแรก คือ พาราเซตามอล เนื่องจาก ยาชนิดนี้สามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลายโดย เฉพาะอาการปวดศีรษะจากไมเกรนแบบไม่รุนแรง 2. กรณีปวดหัวรุนแรง อาจเลือกใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen, ibuprofen ซึ่งเป็น NSAIDs ที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว เหมาะกับโรค ไมเกรน สามารถหาซื้อง่ายตามร้านขายยา แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้ อาจก่อความระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ จึงแนะนำว่า ให้กินยา พร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที นอกจากนี้ ยังมียาในกลุ่ม NSAIDs ที่ระคายเคือง กระเพาะอาหารน้ อยกว่า เช่น Etoricoxib และ Celecoxib ซึ่งก็ สามารถใช้บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ควร หาซื้อกินเอง จนกว่าแพทย์จะแนะนำให้กินได้ ยากลุ่ม NSAIDs สามารถมีผลข้างเคียงต่อตับและไตได้ จึงควรระมัดระวัง ไม่กินยาประเภทนี้เกิน 4 – 10 เม็ดต่อเดือน และควรกินภายใต้คำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด กลุ่มยาแก้ปวด NSAIDs

กลุ่มยาแก้ปวด เฉพาะสำหรับอาการปวดหัวไมเกรน ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) อย่างเช่น eletriptan หรือ sumatriptan พบว่ามีประสิทธิภาพดีและมีผลข้างเคียงน้ อยกว่า NSAIDs โดยจะออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ช่วยทำให้ หลอดเลือดในสมองหดตัว ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ สมอง และ ขา ควร ระมัดระวังการใช้ และควรใช้ภายใต้คำสั่งแพทย์ ควรเว้นระยะ การกินยาอย่างน้ อย 12 ชั่วโมง และไม่ควรกินต่อเนื่องเกิน 10 เม็ดใน 1 เดือน กลุ่มยาแก้ปวดทริปแทน (Triptan) ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids) เช่น Cafergot ยากลุ่มนี้รักษาได้ผลดี แต่ก็มีผลข้างเคียงที่สำคัญมาก คือ ทำให้เส้นเลือดตีบ หรืออาจทำให้ขาหรือนิ้วดำ จึงไม่ควรกิน ติดต่อกันเป็ นเวลานาน กลุ่มยาแก้ปวดเออร์กอต อัลคาลอยด์

3 พฤติกรรมควรทำ สำหรับ คนเป็นไมเกรน 1. หลีกเลี่ยงปั จจัยกระตุ้น 2. ออกกำลังกายอย่าง การนอนไม่เพียงพอ มี สม่ำเสมอ ช่วยในการปรับ ความเครียด การมองแสง ระดับสารเคมีในร่างกาย จ้า เป็นต้น และยังทำให้เกิดการหลั่ง สาร Endorphins อีกด้วย 3. ควรหยุดพัก 10 – 20 นาที เมื่อเริ่มรู้สึกปวด หัวไมเกรน

สรุป อาการปวดหัวไมเกรน เกิดจากความผิดปกติ ชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้เรารู้สึก คลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง และปวดหัวตุ๊บ ๆ จนไม่เป็น อันทำงานทำการ วิธีในการประเมินตัวเองเบื้องต้นที่ สะดวกและอยากแนะนำก็คือ ID migraine แนวทางการป้ องกันอาการปวดหัวไมเกรนที่ เหมาะสม คือ การปรับจากพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยง สิ่งเร้าที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน นอกจากนี้ การใช้ยา เพื่อป้ องกันและรักษา ก็นับได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดี แต่ยาบางชนิดก็อาจมีผลข้างเคียงที่ต้องระมัดระวังใน การใช้ และไม่ควรเลือกใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำ จากแพทย์ก่อน สุดท้ายนี้ เราควรศึกษาโรคนี้ให้รู้เท่าทันและไม่ ตื่นตระหนกเกินไป ถ้าเรามีอาการปวดหัวไม่ว่าจะมา จากสาเหตุของไมเกรนหรือไม่ก็ตาม หากยังมีอาการ ปวดหัวหนักขึ้นหรือเป็นอยู่เรื่อย ๆ ควรรีบไปพบ แพทย์ เพื่อรับการตรวจโรคและรับรักษาอย่างถูกต้อง จะดีที่สุด

อ้างอิง รับพร ทักษิณวราจาร.(2564).ปวดหัวไมเกรน อาการเป็น อย่างไร ควรรักษาแบบไหนดี ? [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:https://www.praram9.com. (2564, 24 สิงหาคม)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook