Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore EP.22 ณ เกาะบราวน์ซี

EP.22 ณ เกาะบราวน์ซี

Published by DaiNo Scout, 2021-10-01 09:10:31

Description: การอยู่ค่ายพักแรกครั้งแรกของโลก ณ เกาะบราวฯ์ซี
Cr. Sommart Sungkapun

Search

Read the Text Version

รำลึกถึง 31 กรกฎาคม 2450 ที่ บี.-พี. นำเด็ก 20 คน ไปทดลองการอย่คู ่ายพกั แรมทีเ่ กาะบราวน์ซี ประเทศอังกฤษ Thinking of these old days . July 31st - August 9th, 1907 การทดลองอยคู่ า่ ยพกั แรมทีเ่ กาะบราวนซ์ ี เกาะบราวน์ซี (Brownsea) เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่หน้าปากอ่าวเมืองพูล ซึ่งอยู่ทางตอน ใต้ของเกาะอังกฤษมีความยาวประมาณ 1 1/2 ไมล์ ความกว้างที่สุดประมาณ 3/4 ไมล์ มี เนื้อที่ประมาณ 560 เอเคอร์ (ประมาณ 1,440 ไร่) บนเกาะมีตึกใหญเ่ ดิมเป็นที่อยูอ่ าศยั ของ มิสเตอร์ชารลส์ แวน ราอาลท์ (Charles Van Raalte) และมีที่ดินส่วนหนึ่งเหมาะสำหรับการ อยู่ค่ายพกั แรม บ.ี -พี. ไดเ้ ขียนหนงั สอื ถึงเจา้ ของเกาะ ขออนญุ าตใชส้ ถานท่สี ำหรับพาเด็ก มาอยู่ค่ายพักแรม ซึ่งเจ้าของเกาะก็อนญุ าตให้ใช้ด้วยความยินดี ปัจจุบันเกาะนี้เป็นสมบัติ ของชาติ บี.-พี. จัดการเช่าเต็นท์จากเมืองบอร์นมัธ สำหรับเป็นที่พักและจัดเป็นที่ รับประทานอาหารโรงครัว บี.-พี. เช่าเสื่อที่ทำด้วยฟางสำหรับปูนอน เมื่อจัดค่ายเรียบร้อย บี.-พี. ได้สถานที่แล้วได้รวบรวมเด็กจำนวน 20 คนจากโรงเรียนราษฎร์ อีตัน และแฮร์โรว์ และจากทิศตะวันออกของนครลอนดอน บ.ี -พี. ได้แบ่งเด็กออกเปน็ 4 หมู่ ๆ ละ 5 คนโดยใช้ ชื่อ หมู่ว่า หมาป่า (Wolves) วัว (Bulls) นกเคอร์ลิวส์ (Curlews) และนกราเวนส์ (Ravens) แตล่ ะหมมู่ ีหัวหนา้ รับผิดชอบดูแลควบคุม เดก็ ทกุ คนเปลย่ี นเครื่องแต่งกายเป็นแบบอยู่ค่าย สวมเส้อื เช้ิตและกางเกงขาสนั้ และสวมหมวกปกี พับข้าง ดังมีรายชื่อดังน้ี หมหู่ มาปา่ (Wolves) ตดิ Shoulder Knot สนี ำ้ เงิน • Musgrave C. Wroughton (นายหมู่) • Cedric Curteis • John Evan-Lombe • Reginald Giles • Percy Medway

หมู่ววั (Bulls) ตดิ Shoulder Knot สเี ขียว • Thomas Brian Evans – Lombe (นายหม)ู่ • Bertie Blandford • Marc Noble • Arthur Primmer • James Rodney นกเคอลิวส์ (Curlews) ตดิ Shoulder Knot สเี หลอื ง • George Rodney (นายหมู)่ • Terry Bonfield • Richard Grant • Alan Vivian • Herbert Watts นกราเวนส์ (Ravens) ตดิ Shoulder Knot สแี ดง • Herbert Emley (นายหม่)ู • Herbert Collingbourne • Humphrey Nobel • William Rodney • Bertie Tarrant เด็กชื่อ Evans – Lombe, Marc Noble, และ James Rodney และ William Rodney เป็น เด็กที่มาจากโรงเรียนราษฎร์ ส่วน Herbert Emley, Cedric Curteis และ Musgrave C. (Bob) Wroughton, Bertie Blandford, Terry Bonfield, Herbert Collingbourne, Richard Grant, Bertie Tarrant, Alan Vivian และ Herbert Watts เป็นสมาชิกของหน่วยเยาวชน Bourne-mouth 1 สว่ น Giles, Medley และ Primmer ,จากหน่วยเยาวชน Poole 1 คณะผู้ใหญป่ ระกอบด้วย Lord Baden-Powell, Donald Baden-Powell, Percy W.Everett, George Walter Green, Kenneth Mclaren, Henry Robson, William Stevens และ An unknown army chef

ในตอนกลางคืนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2450 บี.-พี. ได้จัดให้เด็กไปนั่งรอบกองไฟเป็น ครั้งแรก โดย บี.-พี. ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการประชุมรอบกองไฟ มีการร้องเพลงร่วมกัน บี.-พี. ได้เล่าประสบการณ์ของตนในอินเดียและแอฟริกาใต้ให้เด็กทุกคนฟัง หลังจากนั้นได้ ชีแ้ จงถึงแผนรายละเอียดกำหนดการท่ีทำในวันต่อไป เป็นการปฐมนิเทศ ก่อนจบการประชุม รอบกองไฟมีการสวดมนต์ ต่อจากนั้นเด็กๆ กลับไปนอนในเต็นท์ ส่วน บี.-พี. กับ พันตรี แมคลาเรนได้ปรึกษาหารอื กนั ถงึ งานท่จี ะทำตอ่ ไปอีกเลก็ น้อยแลว้ จึงเข้านอน กำหนดการประจำวัน ตง้ั แต่วันท่ี 1 ถึงวนั ท่ี 8 สิงหาคม มีดังนคี้ อื ต่นื นอน เวลา 06.00 น. แล้วปฏิบตั ิ - ลา้ งหนา้ แตง่ ตวั ทำความสะอาดท่พี ัก - ด่มื โกโก้ร้อน 1 ถ้วย - ชีแ้ จงกิจกรรมประจำวัน - การบริหารรา่ งกายท่ามือเปลา่ - พิธีชักธงข้นึ สยู่ อดเสา - สวดมนต์ - รับประทานอาหารเช้า - ทำกิจกรรมร่วมกัน - รับประทานอาหารกลางวัน - ทำกิจกรรมรว่ มกัน ฯลฯ วิชาที่สอน ได้แก่ สัญญาณต่าง ๆ การบุกเบิก การผูกเงื่อน การทำสะพาน การวัดตนเอง การคาดคะเนระยะทาง ความสงู นำ้ หนักและจำนวน การอยคู่ า่ ยพกั แรม การสังเกตและจำ และการปฐมพยาบาล เปน็ ต้น

ในตอนกลางคืน บี.-พี. ได้จัดให้เด็กหมู่หนึ่งทำหน้าที่หน่วยรักษาการณ์ โดยจัด อาหารสดให้ในตอนเย็น แล้วให้ออกไปยังสถานที่กำหนด แล้วกลับมาตอนเช้า เด็กต้องนำ ผ้าห่ม เสื้อหนา ๆ เครื่องครัว และไม้ขีดไปด้วย เพราะหุงหาอาหารกันเอง ผลัดกันอยู่เวร จนถึงเวลา 23.00 น. จึงเข้านอน ปรากฏว่าเด็กที่เป็นยามรักษาการณ์ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่าง จริงจัง เจ้าของเกาะ บุตรชายหญิง พยายามจะผ่านเข้าไป แต่เด็กที่เป็นเวรยามก็จับได้และ ส่งกลบั บา้ น รวมทั้ง บี.-พี. ดว้ ย วันสุดท้าย บี.-พี. จัดให้มีการแสดงของเด็ก และเชิญแขกคือ บิดามารดา เจ้าของ เกาะ และชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้มาชม เด็กๆวางแผนจัดกันเอง ฝึกหัดกันเอง มีการ เล่นเกม การแข่งขันประกอบการสาธิตเรื่องปฐมพยาบาล การดับเพลิง การทอเสื่อ และ ยโู ด รายการสดุ ท้าย เป็นการชักเย่อ เมือ่ เด็กได้แยกย้ายกันกลบั บ้านของตนแลว้ ต่อมา บี.- พี. ได้รับจดหมาย และความชื่นชมในการอยู่ค่ายพักแรมครั้งนี้จากเด็ก บิดามารดาของเด็ก นอกจากการสนุกสนานแล้วเด็กยังได้รับทั้งความรู้และได้รับการฝึกอบรมนิสัยใจคอให้รู้จกั คดิ และพึ่งตนเองมากยิ่งข้นึ ดังนั้นมูลเหตุของการให้กำเนิดลูกเสือซึ่ง ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ ได้ตั้งขึ้นเป็นเพราะ ความประทับใจในการปฏิบัติงานของเด็ก เมื่อคราวสงครามที่เมืองมาฟอีคิง เพราะเด็กที่ ท่านทำการฝึกเป็นพิเศษ ในการช่วยรบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดีเยี่ยมและมี ประสทิ ธภิ าพ ในการทำงานสูงด้วย และเมือ่ ท่านได้ออกจากราชการครั้งสุดท้ายท่านก็ได้ทำ โครงการฝึกเด็กขึ้น ณ เกาะบราว์นซี ซึ่ง บี.-พี. ได้เข้าทำการควบคุมการฝึกอบรมด้วย ตนเองตามโครงการที่วางไว้ ปรากฏว่าการฝึกอบรมได้ผลดีสมความมุ่งหมายทุกประการ จึงทำให้ท่านเกิดความบนั ดาลใจท่จี ะพยายามเผยแพรก่ ิจการนใี้ ห้กว้างขวางออกไป

ในปี ค.ศ. 1908 (2451) บี.-พี. ได้เขียนหนังสือการลูกเสือสำหรับเด็กชาย (Scouting for Boys) โดยจัดพิมพ์เป็น 6 ตอน ออกพิมพ์จำหน่ายทุก 2 สัปดาห์ ราคาเล่มละ 4 เพนนี เล่มแรกออกจำหน่ายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2451 เนื้อหาของหนังสือทั้งหมดชี้แจง วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ คำปฏิญาณและกฎ คติ รหัส การแสดงความเคารพ การจับมือ เครื่องแบบ และแนวการฝึกอบรมลูกเสือ เยาวชนสนใจอ่านหนังสือชุดนี้มาก จึงมีการ รวมตัวกันจัดตั้งเป็นหมู่ขึ้น แล้วชักชวนผู้ใหญ่ที่ควรแก่การเคารพนับถือมาเป็นผู้นำ หรือผู้ กำกับของเขา เปน็ ผลให้กิจการลกู เสอื เกิดข้นึ กองลกู เสอื โดยการนำของ บี.-พี. ก็เริ่มตั้งข้ึน อย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษท่ามกลางเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง และ จากนั้นมา การลูกเสือจึงได้ขยายตัวแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว ทั่วเกาะอังกฤษ พร้อม กันนี้ ท่านก็ได้วางกฎ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้เครื่องหมายความสามารถของลูกเสือ และได้จัดตั้งสภากรรมการจังหวัดของลูกเสือ (Local Scout Association) ขึ้นด้วย ต่อมาจึง ขยายไปในประเทศเครอื จักรภพและประเทศอืน่ ๆ เชน่ ค.ศ. 1909 (2452) ประเทศชิลี เป็นประเทศในกลุม่ แรก ค.ศ. 1910 (2453) สหรฐั อเมริกาเปน็ ประเทศในกล่มุ ทส่ี อง ค.ศ. 1911 (2454) ประเทศไทย (สยาม) เป็นประเทศในกลมุ่ ท่สี าม พอปี ค.ศ. 1909 (2452) บี.-พี. ได้จัดตั้งเหล่าลูกเสือสมุทรเสนาขึ้นอีกหน่วยหนึ่ง และได้มีการอยู่ค่ายพักแรมขึ้นที่บัลเลอร์ฮาร์ด ในปีนี้เองท่านได้วางมือจากงานราชการทั้ง ปวง ได้เสยี สละความสุขสว่ นตวั มาทุ่มเทให้กิจกรรมลูกเสืออย่างเตม็ ท่ี กับได้เริ่มทำสำมะโน ลกู เสือข้นึ เป็นคร้ังแรก ปรากฏวา่ มีลูกเสอื ทง้ั สิ้น 109,000 คน ปี ค.ศ. 1911 (2454) ท่านได้เดินทางออกตรวจการปฏิบัติกิจการของลูกเสือ และได้ ให้คำแนะนำในเรื่องการลกู เสือทั่วประเทศองั กฤษ และสหรฐั อเมริกา เมือ่ กลบั มาถึงอังกฤษ ท่านได้จัดงานชุมนุมลูกเสือครั้งแรกที่ Windsor Great Park มีลูกเสือเข้าร่วมชุมนุมประมาณ 30,000 คน ในงานน้ีพระเจา้ กรงุ อังกฤษได้เสดจ็ พระราชดำเนินมาทอดพระเนตรดว้ ย ในปี ค.ศ. 1912 (พ.ศ.2455) รัฐบาลแหง่ สหราชอาณาจกั รอังกฤษ ได้ประกาศรบั รอง กิจการลูกเสือขึ้นอย่างเป็นทางการ พร้อมกับได้ออกกฎหมายคุ้มครองด้วย จากนั้นกิจการ ลูกเสือกไ็ ด้เจริญเติบโตแพร่หลายขยายวงออกไปเป็นลำดับ คติพจน์ท่ที า่ น บี.-พี. ไดใ้ ห้ไวแ้ กก่ ิจการลูกเสือคอื \"Be Prepared\" \"จงเตรียมพรอ้ ม\" Cr. Sommart Sungkapun

ศิลาอนุสรณ์ลกู เสือโลก แผนท่เี กาะบราวน์ซี

โบสถ์เซนต์แมรี สร้าง พ.ศ.2397 ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Brownsea_Island

รำลกึ ถึง 31 กรกฎาคม 2450 ท่ี บี.-พ.ี นำเด็ก 20 คน ไปทดลองการอย่คู ่ายพกั แรมที่เกาะบราวนซ์ ี ประเทศอังกฤษ Thinking of these old days . July 31st - August 9th, 1907


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook