Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชา เหล่าทหารสื่อสาร ปี5

วิชา เหล่าทหารสื่อสาร ปี5

Published by military2 student, 2022-05-20 02:41:32

Description: วิชา เหล่าทหารสื่อสาร ปี5

Search

Read the Text Version

สายอากาศ OE-254 เหล่าทหารส่ือสาร 41

6.3 ส่วนประกอบชุด 42 เหลา่ ทหารส่อื สาร

บทท่ี เห ลาทหาร ่ืสอสาร 43 หลกั นยิ มการสอื่ สารทางยทุ ธวธิ ี 1. ความตอ้ งการเบ้อื งตน้ ของระบบการสื่อสารทางยทุ ธวธิ ี ความต้องการเบ้ืองต้นของระบบการสื่อสารทางยุทธวิธีก็คือ จะต้องจัดให้ มีความรวดเร็ว ความเชื่อถือได้ และความปลอดภัยในการส่งข่าวการรบ และส่งข้อ ตกลงใจของผู้บังคับบัญชาภายในและระหว่างกองบัญชาการหน่วยรบต่าง ๆ ระบบ การส่ือสารดังกล่าวน้ัน จะต้องสามารถเปลี่ยนเส้นทาง (RE - ROUTE) ส่งข่าวใหม่ได้ เพ่ือเล่ียงเคร่ืองมือท่ีถูกท�าลาย, เพื่อลดความคับคั่งของข่าว, และเพ่ือเป็นการจัดเส้น ทางเข้าระบบเสียใหม่ให้พอเพียงส�าหรับหน่วยรบ และระบบอาวุธที่ได้ผลัดเปล่ียน เขา้ มาสพู่ นื้ ทน่ี น้ั อยตู่ ลอดเวลา การใชเ้ ครอ่ื งมอื สอื่ สารอยา่ งถกู ตอ้ งคอื ใชแ้ ตเ่ พยี งเทา่ ท่ี ต้องการและเท่าท่ีหน่วยจะสามารถให้การสนับสนุนได้ จะท�าให้เกิดความเช่ือมโยงใน การบังคับบัญชาตามท่ีจ�าเป็นโดยมีความส้ินเปลืองน้อยที่สุด ดังน้ันจะต้องออกแบบ สร้างและใชร้ ะบบการสอ่ื สารทางยทุ ธวธิ ใี หเ้ หมาะสมกบั ขดี ความสามารถของกา� ลงั คน (MAN POWER) และตรงตามความรับผิดชอบต่อภารกิจทางยุทธวิธีของหน่วยใช้, ผู้บังคับหน่วย, และฝ่ายอ�านวยการที่ให้ความสนับสนุนจะต้องไม่ร้องขอ หรือจะต้อง ไม่หวังพ่ึงพาระบบการส่ือสารที่นอกเหนือไปจากความมุ่งหมายหลักของหน่วย ยิ่ง กว่าน้ันระบบการสื่อสารควรจะจ�ากัดการใช้เฉพาะข่าวท่ีส�าคัญเท่านั้น เพราะระบบ การส่ือสารทางยุทธวิธีท่ีมีข่าวซึ่งไม่ส�าคัญมากเกินความสามารถนั้น จะท�าให้ผู้บังคับ บัญชาได้รับข่าวท่ีส�าคัญ ๆ น้อยลงหรืออีกนัยหนึ่งคือ ไม่ควรจัดระบบการส่ือสารให้ มีลักษณะท่ีจะให้มีการส่งข่าวกันอย่างฟุ่มเฟือย เพราะการกระท�าเช่นน้ันจะท�าให้ ประสิทธิภาพในการบังคับบัญชาทางการรบเสียไป ในประการสุดท้ายควรจะได้ใช้ วินัยทางการบังคับบัญชา ให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมระบบการสื่อสารทางยุทธวิธี เช่นเดียวกับที่ใช้ควบคุมอาวุธ, กระสุน และยุทโธปกรณ์อื่น ๆ

44 เหลา่ ทหารส่อื สาร 2. การสอื่ สารทางยทุ ธวธิ รี ะดบั กองรอ้ ย ณ ระดับกองร้อย ใช้พูดโต้ตอบกันสั้น ๆ ระยะใกล้ และโดยทั่วไปไม่ต้อง บันทึกการสื่อสารน้ันไว้ (เช่น แผ่นส�ำเนาโทรพิมพ์) ระบบการสื่อสารระดับน้ีก็เพียงพอกับ ความต้องการเบื้องต้นในการควบคุมตอนร่วม (JOINT SECTION CONTROL) การควบคุม บังคับบัญชาหมวด และการควบคุมบังคับบัญชากองร้อย หน่วยขนาดกองร้อยต่าง ๆ ในกองทพั สนาม กองทพั นอ้ ย และกองพลนน้ั ตามปกตจิ ะมเี ครอื่ งมอื ประจ�ำหน่วยพอเพยี ง ท่ีจะจัดตั้งการสื่อสาร เพ่ือบังคับบัญชาและควบคุมภายในหน่วยของตน การติดต่อใน ระยะต่าง ๆ นี้ คงใช้วิทยุข่ายบังคับบัญชาแบบ ถสม./ปถ.(VHF/FM) ชนิดติดหลัง และ ติดตั้งบนยานยนต์และข่ายโทรศัพท์สนาม ส�ำหรับในกองร้อยทหารราบ ซึ่งเม่ือเทียบกัน แล้วไม่ยุ่งยากเหมือนท่ีหน่วยทหารปืนใหญ่ใช้ในข่ายบังคับบัญชาและควบคุมการยิง ในสถานการณ์ ซ่ึงเคร่ืองมือประจ�ำหน่วยไม่อาจสนองความต้องการได้ หน่วยเหนือจะต้อง ช่วยเหลือให้การสื่อสารเพิ่มเติม 3. การส่ือสารทางยทุ ธวธิ ีระดบั กองร้อย ณ ระดับกองพัน ความต้องการในการสื่อสารมีกว้างขวางข้ึนบ้าง แต่อย่างไร ก็ตามคงลักษณะเดียวกับกองร้อย กล่าวคือ เครื่องมือส่ือสารหลักคงขึ้นอยู่กับวิทยุ ณ ระดับน้ีระยะได้เพิ่มขึ้นและมีความต้องการเกี่ยวกับการสื่อสารที่มีการบันทึกท้ังข่าว ชนดิ ทก่ี �ำหนดชั้นความลับ และไม่ก�ำหนดช้ันความลับ ระบบการสื่อสารของกองพันจัดต้ัง เครอ่ื งมอื ภายในกองบงั คบั การกองพนั ไปยงั กองรอ้ ยตา่ ง ๆ สว่ นตา่ ง ๆ ของกองบงั คบั การและ หน่วยสมทบ ส�ำหรับหน่วยสมทบนั้นตามปกติจะมีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ส�ำหรับติดตั้ง เคร่ืองปลายทาง หรือขยายการสื่อสารออกไปได้ กองพันใช้วิทยุชนิด ถสม./ปถ.(VHF/ FM) ในข่ายบังคับบัญชาและส่งก�ำลังบ�ำรุงและใช้วิทยุโทรพิมพ์ความถี่สูง (HF) หรือ สถานีวิทยุแถบความถี่ด้านเดียวความถ่ีสูง (HF/SSB) ในข่ายของหน่วยเหนือ ณ ระดับน้ี มีความต้องการอย่างท่ีสุดที่จะจัดต้ังทางสายใหญ่ไปหน่วยรองต่าง ๆ เพ่ิมเสริม (BACK UP) ระบบวิทยุของกองพัน จัดให้มีการน�ำสารขึ้นใช้ในระยะท่ีไม่ไกลเกินไป เพ่ือ ความปลอดภัยและเช่ือถือได้กับใช้ส่งมอบข่าวท่ีมีจ�ำนวนมาก ๆ ส�ำหรับข่าวท่ีต้องการ

ความปลอดภยั และใหค้ วามแนน่ อนอยา่ งสงู การสอื่ สารประเภททศั นะและเสยี ง มปี ระโยชน์ เห ลาทหาร ่ืสอสาร 45 อย่างย่ิงในการใช้ในระดับกองพันและระดับท่ีต�่ากว่า เพ่ือใช้ในระบบเตรียมพร้อมและ เตือนภัยภายในกองพัน การบอกฝ่ายระหว่างอากาศกับพ้ืนดิน ควบคุมหน่วยและการ ปฏิบัติการเช่ือมต่อ การส่ือสารทางยุทธวิธีระดบั กองรอย - กองพนั

46 เหลา่ ทหารส่อื สาร 4. การสอื่ สารทางยุทธวิธีระดบั กรม ระบบการส่ือสารของกรม เป็นส่วนหนึ่งที่สนธิเข้ากับระบบการส่ือสารกองพล ทั้งหมด และท�ำหน้าท่ีเป็นส่วนปลายทางทางด้านหน้ากองพันทหารส่ือสารของกองพล จะเช่ือมต่อ บก.กรม ต่าง ๆ เข้ากับ ทก.พล.หลัก และ บก.พล. ส่วนหลังด้วยวิทยุถ่ายทอด ชนิดหลายช่องการส่ือสารและ/หรือเคเบิล ระบบการส่ือสารของกรม จัดให้มีลักษณะดังน้ี 1. การน�ำสารทางพื้นดินและทางอากาศใช้ในเมื่อมีข่าวท่ีต้องส่งมอบเป็น จ�ำนวนมาก และส�ำหรับในกรณีที่ต้องการส่งมอบอย่างเร็ว 2. เคร่ืองมือส่ือสารประเภททัศนะ และเสียงจ�ำกัดเพียงใช้ในระบบเตรียม พร้อมและเตือนภัยภายในท่ีต้ังของกองบัญชาการเท่านั้น 3. วทิ ยเุ ปน็ เครอื่ งมอื สอ่ื สารหลกั ภายในกรม มกี ารใชท้ งั้ วทิ ยชุ นดิ ถสม./ปถ. (VHF/FM) และวิทยุโทรพิมพ์ความถี่สูงหรือวิทยุแถบความถ่ีด้านเดียวความถ่ีสูง (HF/SSB) ข่ายวิทยุกรมน้ัน ปกติประกอบด้วยข่ายบังคับบัญชา และข่ายธุรการ/ส่งก�ำลังบ�ำรุงมี หลายสถานีที่ท�ำงานอยู่ในข่ายวิทยุของกองพล 4. การส่ือสารประเภทสายใช้เป็นหลักระหว่างหน่วยต่าง ๆ ในกอง บัญชาการ และส�ำหรับบังคับอุปกรณ์วิทยุจากระยะไกล เนื่องจากระยะระหว่างกอง บังคับการและหน่วยรอง, สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความจ�ำกัดของ อุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ ท�ำให้ไม่อาจจัดทําระบบทางสายใหญ่อย่างประณีตได้ 5. การสือ่ สารทางยุทธวิธรี ะดบั กองพล ระบบการสื่อสารของกองพล ใช้ระบบการส่ือสารแบบหลายช่องการสื่อสาร และหลายเส้น หลักการส่ือสารตามอัตราซ่ึงท�ำให้เกิด 1. การส่ือสารไปยังหน่วยต่าง ๆ ซึ่งกระจายอยู่อย่างกว้างขวาง 2. ความรับผิดชอบต่อการเปล่ียนแปลงของกองพลในการจัดก�ำลัง เพ่ือ ท�ำการรบและการเปล่ียนแปลงที่ตั้งของหน่วยต่าง ๆ ที่บัญชาการ และสถานท่ีต้ังต่าง ๆ 3. วงจรใช้ร่วมส�ำหรับหน่วยต่าง ๆ ในพ้ืนที่ของกองพลและวงจรใช้เฉพาะ ส�ำหรับการใช้อาวุธและกิจการพิเศษอ่ืน ๆ ในลักษณะเดียวกัน

4. การสนธิเข้ากับระบบการส่ือสารของกองทัพน้อยและกองทัพสนาม เหล่าทหาร ่ืสอสาร 47 5. เครื่องมือที่มีความปลอดภัยส�ำหรับการส่งข่าวที่ก�ำหนดช้ันความลับ 6. เครื่องมือสื่อสารท่ีเชื่อถือได้และส�ำรอง ระบบการส่ือสารของกองพลตามปกติจะประกอบด้วย 1. ศูนย์การสัญญาณที่ส่วนต่าง ๆ ของกองบัญชาการกองพล (หลัก, ส�ำรองและส่วนหลัง) กองบัญชาการช่วยรบของกองพล (SUPPORT COMMAND) และ ในเขตหน้าของพื้นที่กองพล ศูนย์การสัญญาณเหล่าน้ีประกอบด้วยอุปกรณ์ศูนย์ข่าว เจ้าหน้าท่ีน�ำสาร, การอักษรลับ, โทรพิมพ์, และวิทยุเพ่ือเพ่ิมเติมเคร่ืองมือประจ�ำหน่วย ให้แก่หน่วยต่าง ๆ ทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงศูนย์การสัญญาณ ณ ทก.พล.หลัก ทําหน้าท่ีเป็นสถานีปลายทางโทรส�ำเนาให้แก่หน่วยเหนืออีกด้วย 2. ระหว่างศูนย์การสัญญาณต่าง ๆ ปืนใหญ่ของกองพลและแต่ละกรม เชื่อมโยงกันด้วยการสื่อสารแบบหลายช่อง 3. การน�ำสารทางพื้นดินและทางอากาศของกองพล (เครื่องบินจัดจาก กองพันบิน) เช่ือมโยงส่วนต่าง ๆ ของกองบัญชาการกองพลเข้ากับกองบังคับการของ หน่วยรองท่ีส�ำคัญของกองพล 4. ข่ายวิทยุแถบความถ่ีด้านเดียวความถ่ีสูง (HF/SSB), วิทยุโทรพิมพ์ ความถ่ีสูงและวิทยุชนิด ถสม./ปถ. (VHF/FM) 5. สถานีสนธิวิทยุ/สาย ณ ศูนย์การสัญญาณแต่ละแห่ง (ยกเว้นแห่งเดียว ท่ีส่วนหลัง) สามารถท่ีจะเชื่อมกับสถานีวิทยุ ถสม./ปถ. (VHF/FM) ที่ติดตั้งบนยานยนต์ เข้ากับระบบโทรศัพท์ได้ ณ ศูนย์การสัญญาณ กองพันทหารส่ือสารของกองพล (ทหารราบยานยนต์, ยานเกราะ และกองพล ส่งทางอากาศ) ท�ำการติดต้ังและปฏิบัติงานระบบการส่ือสารของกองพล เว้นการสื่อสาร ในอัตราของหน่วยต่าง ๆ ของกองพล, ผู้บังคับทหารส่ือสารของกองพลบังคับบัญชา กองพันทหารส่ือสาร และยังท�ำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าท่ีฝ่ายกิจการพิเศษของผู้บัญชาการ กองพลอีกด้วย

48 เหลา ทหารส่อื สาร การส่อื สารทางยทุ ธวธิ รี ะดบั กรม - กองพล

บทที่ เห ่ลาทหาร ่ืสอสาร 49 คาํ สงั่ การสอ่ื สาร 1. คำาส่ังยุทธการ ค�าส่ังยุทธการเป็นค�าส่ังท่ีผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ออกค�าส่ัง จะแจ้งให้ทราบ สถานการณ์ ภารกิจ ข้อตกลงใจและแผนของการรบ ตลอดจนรายละเอียดทางวิธี ปฏิบัติเพ่ือให้เกิดความม่ันใจว่าการปฏิบัติของหน่วยบัญชาการเป็นส่วนรวมน้ันได้ ประสานกัน ส�าหรับค�าส่ังยุทธการในส่วนท่ีเก่ียวข้องกับการสื่อสาร จะจัดข้ึนโดยอาศัย การประมาณการและการวางแผนของผู้บังคับทหารส่ือสาร หัวข้อของค�าสั่งยุทธการ ประกอบด้วย 5 ข้อ ดังน้ี 1. สถานการณ์ 2. ภารกิจ 3. การปฏิบัติ 4. การช่วยรบ 5. การบังคับบัญชาและการส่ือสาร 2. ประมาณการและแผน เมื่อผู้บังคับบัญชาจะก�าหนดหนทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุภารกิจนั้น ผบู้ งั คบั บญั ชาจา� เปน็ ตอ้ งรใู้ นสง่ิ ตา่ ง ๆ เทา่ ทเี่ ปน็ ไปไดท้ เ่ี กย่ี วกบั ขอ้ ขดั ขอ้ งและอปุ สรรค ที่จะต้องประสบข่าวสารหรือความรู้ดังกล่าวน้ี จะเป็นองค์ประกอบของประมาณ สถานการณ์ของตน (ประมาณการของผู้บังคับบัญชา) ผู้บังคับทหารสื่อสารหรือ

50 เหลา่ ทหารส่อื สาร นายทหารฝ่ายการส่ือสารจะต้องท�ำประมาณสถานการณ์ในท�ำนองเดียวกัน เพ่ือจัดการ ส่ือสารให้ผู้บังคับบัญชาของตน ในอันท่ีจะท�ำให้ภารกิจของหน่วยบรรลุผลส�ำเร็จเมื่อจะ จดั การส่อื สารให้กับผู้บังคับบญั ชา จ�ำเป็นจะต้องได้พิจารณาปัจจัยทส่ี �ำคญั ดังต่อไปน้ี 1. ลักษณะโดยเฉพาะของภารกิจ 2. ก�ำลังและการวางก�ำลังของข้าศึก 3. ท่ีตั้งและท่ีรวมพลของก�ำลังฝ่ายเดียวกัน 4. ที่ต้ังทางการส่ือสารท่ีมีอยู่ก่อนแล้ว 5. หน่วยทหารส่ือสารและยุทโธปกรณ์ท่ีมีอยู่ 6. เวลาที่มีอยู่ส�ำหรับการติดต้ังยุทโธปกรณ์และจัดให้มีการสื่อสาร 7. ภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ และอุปกรณ์การขนส่ง เม่ือได้ก�ำหนดปัจจัยไว้แล้วให้เปรียบเทียบปัจจัยเหล่าน้ัน ต่อจากนั้นให้ พิจารณาก�ำหนดหนทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ นอกจากนั้นให้เพ่งเล็งถึงความสามารถ ของข้าศึกท่ีจะมีผลกระทบกระเทือนต่อหนทางปฏิบัติเหล่าน้ัน เช่น ความสามารถในการ ท้ิงระเบิด การยิงด้วยปืนใหญ่ การดักรับ และการรบกวน หรือแม้แต่ในเรื่องการแทรกซึม และการก่อวินาศกรรม ภายหลังท่ีได้พิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบแล้ว จงึ ถงึ ขน้ั ตกลงใจอนั จะไดใ้ ชเ้ ปน็ มลู ฐานในการทำ� แผนการสอ่ื สารและคำ� สง่ั การสอ่ื สารตอ่ ไป 3. แผนการส่อื สาร แผนการสื่อสารเป็นผลท่ีเกิดจากการประมาณการส่ือสารโดยท่ัวไป แผนการ ส่ือสารควรมีลักษณะอ่อนตัวเพียงพอ เพ่ือให้เกิดการประสานงานอย่างต่อเน่ืองกับฝ่าย อ�ำนวยการต่าง ๆ ของกองบัญชาการตลอดจนต่อเนื่องกับหน่วยสื่อสารท้ังหน่วยเหนือ และหน่วยรอง ๆ ส�ำหรบั ในการยทุ ธ์ท่ีมีขอบเขตกว้างขวางมาก ๆ แล้ว จะต้องทำ� แผนการ ส่ือสารหรือแผนขั้นต้นเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเสนอขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชาเสียก่อน แตส่ ำ� หรบั หนว่ ยเลก็ ๆ มกั จะทำ� แผนการสอื่ สารเปน็ การในใจ เพอื่ ทำ� คำ� สงั่ ทางการสอ่ื สารตอ่ ไป 4. คำ�สง่ั การส่ือสาร เพ่ือให้แผนการสื่อสารสัมฤทธิผลตามภารกิจทางการสื่อสารผู้บังคับทหาร สื่อสารหรือนายทหารฝ่ายส่ือสารจะได้ออกค�ำส่ังการส่ือสารให้กับหน่วยต่าง ๆ ของหน่วย บัญชาการค�ำส่ังการส่ือสารเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในข้อท่ี 5 ของค�ำส่ังยุทธการ ต่อจาก

นั้นผู้บังคับหน่วยทหารสื่อสารต่าง ๆ จะออกค�ำสั่งภายในหน่วยของตน โดยอาศัยค�ำส่ัง เหล่าทหาร ่ืสอสาร 51 ในข้อที่ 5 นั้น ค�ำส่ังการส่ือสารอาจท�ำให้ง่ายเข้า โดยการออกระเบียบปฏิบัติประจ�ำ (รปจ.) หากได้ท�ำระเบียบปฏิบัติประจ�ำ (รปจ.) ข้ึนไว้ก่อนแล้ว ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะ ระบุให้มีการเปลี่ยนแปลง 5. ผนวกการสื่อสาร เพ่ือขยายความเพิ่มเติมจากข้อท่ี 5 ของค�ำส่ังยุทธการดังกล่าวมาแล้ว อาจจะ ออกผนวกการสื่อสารเพิ่มเติมก็ได้ ผู้บังคับทหารสื่อสารหรือนายทหารฝ่ายการส่ือสารของ หน่วยเป็นผู้เตรียมท�ำผนวกการส่ือสาร โดยอาศัยค�ำส่ังการสื่อสารของหน่วยเหนือขึ้นไป ในผนวกการส่ือสารนั้นจะมีวิธีท่ีจะให้ภารกิจทางการสื่อสารของหน่วยเป็นผลส�ำเร็จ ในผนวกการสื่อสารจะก�ำหนดรายละเอียดของสถานการณ์ทางการส่ือสาร และภารกิจ ทางการสอื่ สารทจี่ ะตอ้ งทำ� ไวอ้ ยา่ งสมบรู ณ์ ตลอดจนคำ� สง่ั ทจ่ี ะใหห้ นว่ ยทหารสอื่ สารตา่ ง ๆ ของหน่วยบัญชาการต้องท�ำก็จะปรากฏอยู่ในผนวกการส่ือสารน้ี นอกจากนั้นก็อาจ จะมีอนุผนวกประกอบผนวกการสื่อสารอีกก็ได้ เช่น อนุผนวกที่ว่าด้วยแผนท่ียุทธการ แผนผังวงจร และแผนท่ีเส้นทางวางสาย เป็นต้น 6. ระเบยี บปฏิบตั ปิ ระจำ� (รปจ.) ระเบียบปฏิบัติประจ�ำ (รปจ.) ว่าด้วยการส่ือสารจะก�ำหนดวิธีการอันเป็น แบบแผนในการติดตั้ง การปฏิบัติงาน และการบ�ำรุงรักษาระบบการส่ือสาร รปจ. ว่าด้วย การสื่อสาร จะเป็นเคร่ืองขยายความในค�ำสั่งของผู้บังคับบัญชาท่ีปรากฏอยู่ใน รปจ. ของผู้บังคับบัญชา ซึ่งโดยปกติแล้วใน รปจ. ของผู้บังคับบัญชาจะกล่าวถึงเร่ือง การสื่อสารของกองบัญชาการไว้แต่เพียงเล็กน้อย ผู้บังคับทหารส่ือสารหรือนายทหารฝ่าย การสื่อสารจะเตรียมท�ำ รปจ. ว่าด้วยการส่ือสารของหน่วยบัญชาการ โดยอาศัย รปจ. ว่าด้วยการส่ือสารของหน่วยเหนือข้ึนไป ผู้บังคับหน่วยทหารส่ือสารจะท�ำ รปจ. ว่าด้วย การสื่อสารของหน่วยทหารส่ือสารของตน โดยอาศัยและขยายความจาก รปจ. ว่าด้วย การส่ือสารของหน่วยบัญชาการ รปจ. ว่าด้วยการส่ือสารจะเป็นค�ำส่ังส�ำหรับเจ้าหน้าที่ ผู้ติดตั้งปฏิบัติงาน และบ�ำรุงรักษาระบบการสื่อสารของหน่วยบัญชาการ

52 เหลา่ ทหารส่อื สาร 7. คำ�แนะน�ำ ปฏิบตั ิการสอื่ สาร (นปส.) ค�ำแนะน�ำปฏิบัติการสื่อสาร (นปส.) เป็นค�ำสั่งการรบชนิดหนึ่ง ส�ำหรับหน่วย ท่ีปฏิบัติการสื่อสาร นปส. จะประกอบด้วยค�ำแนะน�ำที่ต้องใช้ในการปฏิบัติต่อระบบ การส่ือสารของหน่วยบัญชาการน้ัน ผู้บังคับทหารส่ือสารหรือนายทหารฝ่ายการส่ือสาร จะควบคุมทางเทคนิคต่อองค์แทนหรือเจ้าหน้าท่ีสื่อสารต่าง ๆ โดยอาศัย นปส. โดยที่ใน นปส. จะปรากฏการแบ่งมอบความถ่ีคลื่นวิทยุ นามเรียกขาน ประมวลลับ กุญแจรหัส และรายการอ่ืน ๆ ที่คล้ายคลึงกัน นปส. เป็นค�ำสั่งทางเทคนิคท่ีจ�ำเป็นในการปฏิบัติ ระบบการส่ือสาร แต่ใน นปส. อาจมีค�ำส่ังทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับประมวลป้ายสาย บัญชีนาม โทรศัพท์ บัญชีหมายเลขโทรศัพท์ พระอาทิตย์และพระจันทร์ข้ึน - ตก บัญชีการแจกจ่าย นปส. และการเทียบเวลาราชการ 8. คำ�แนะนำ�การสือ่ สารประจ�ำ (นสป.) ค�ำแนะน�ำการสื่อสารประจ�ำเป็นชุดหนึ่งของค�ำแนะน�ำที่อธิบายถึงการใช้ รายการต่าง ๆ ใน นปส. โดย นสป. อาจมีค�ำแนะน�ำทางเทคนิคอื่น ๆ ท่ีต้องการ เพื่อประสานงานและควบคุมการปฏิบัติงานการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วย บัญชาการด้วยก็ได้ นสป. ซ่ึงบรรจุค�ำแนะน�ำเพื่ออธิบายถึงการใช้รายการต่าง ๆ ท่ีมีอยู่ใน นปส. นั้น นสป. ที่ใช้ ณ ส่วนต่าง ๆ ของหน่วยบัญชาการอาจมีเรื่องราวเหมือนหรือคล้ายกัน มากส�ำหรับค�ำแนะน�ำท่ีเหมือนกันในหลาย ๆ หน่วยบัญชาการ หน่วยบัญชาการสูงสุด ของหน่วยน้ัน ๆ จะเป็นผู้ท�ำและแจกจ่ายให้ในเม่ือสามารถท�ำรวมกันได้ เพ่ือที่จะให้การ จัดท�ำค�ำแนะน�ำรวมดังกล่าวสะดวกข้ึน บรรดาส่วนต่าง ๆ ภายในหน่วยบัญชาการควร ท�ำตามแบบเอกสารและระบบหมายเลขรายการท่ีเป็นมาตรฐาน ส่วนรายการต่าง ๆ ท่ี ส่วนบัญชาการรองไม่ต้องการก็ให้เว้นไม่กล่าวใน นสป. ของตน

9. ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง นปส. และ นสป. เหล่าทหาร ่ืสอสาร 53 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นปส. เป็นค�ำสั่งทางการสื่อสารชนิดหน่ึง ซ่ึงในเน้ือเรื่อง จะบอกว่าให้ท�ำอะไร ส่วน นสป. (ค�ำแนะน�ำการส่ือสารประจ�ำ) เป็นค�ำส่ังทางการสื่อสาร อีกชนิดหน่ึง ซ่ึงในเน้ือเร่ืองจะบอกว่ามีวิธีท�ำอย่างไรให้ตรงกับความมุ่งหมายของ นปส. ที่มีข้อตรงกัน ดังน้ัน นปส. จึงเปรียบเสมือนค�ำสั่งหลักและ นสป. เป็นค�ำส่ังประกอบ และ ในทางปฏิบัติเพ่ือป้องกันมิให้ข้าศึกวิเคราะห์หนทางปฏิบัติของเราได้ นปส. จึงจ�ำเป็น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ส่วน นสป. นั้นมักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเพราะถือว่าเป็น หลักการใหญ่ ๆ หรือแม่บท ผู้บังคับทหารส่ือสารในแต่ละส่วนของหน่วยบัญชาการรับผิดชอบต่อผู้บังคับ บัญชาเก่ียวกับการควบคุมทางเทคนิค และการก�ำกับดูแลทางฝ่ายอ�ำนวยการต่อ การส่ือสารภายในหน่วยบัญชาการนั้น คำ� แนะนำ� ซ่ึงควบคุมการปฏิบัติงานทางเทคนิคของ การสื่อสารภายในหน่วยบัญชาการ จะบรรจุไว้ในค�ำแนะน�ำการสื่อสารประจ�ำ (นสป.) และค�ำแนะน�ำปฏิบัติการส่ือสาร (นปส.) ของหน่วยบัญชาการนั้น

54 เหลา ทหารส่อื สาร บทท่ี (EกLาEรCสงTคRรOาNมIอCิเลWก็ AทรRอFนAกิRสE) 1. กลา วท่ัวไป เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เมื่อเกิดความขัดแย้งกันข้ึนอย่างรุนแรง ถึงจุดท่ี จะต้องจับอาวุธข้ึนประหัตประหารกันแล้ว ก็จะต้องพยายามน�าเอาเครื่องมือ เคร่ือง ผ่อนแรงหรืออุปกรณ์สนับสนุนทุกชนิดออกมาใช้ในการสู้รบกัน ย่ิงกว่านั้นการสู้รบก็ จะกระท�าในทุกมิติที่สามารถจะกระท�าการต่อสู้กันได้ ท้ังทางบก ทางน�้า ทางอากาศ สงครามอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกมิติหน่ึง เป็นการใช้เครื่องมือในการต่อสู้ นับต้ังแต่วิทยาศาสตร์ได้เจริญมาถึงจุดท่ีมีการใช้เคร่ืองรับ - ส่งวิทยุในการส่ือสารทาง ทหาร นับต้ังแต่นั้นเป็นต้นมาการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ก็เกิดข้ึนในมิติท่ีเป็นพาหะ ของพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความเป็นมาของสงครามอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวได้ว่าเกิดขึ้นคร้ังแรกเมื่อ สงครามโลกคร้ังที่ 1 ในการยุทธ์ท่ีเมืองเทนเนนเบิร์ก ระหว่างกองทัพเยอรมันกับ กองทัพรัสเซีย (แนวรบด้านตะวันออก) ใกล้พรมแดนเยอรมันและรัสเซียระหว่าง วันท่ี 10 ถึง 27 สิงหาคม 1914 กองทัพเยอรมันภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก ฟอนอินเดนเบิก กระจายก�าลังตั้งรับอยู่ใกล้ชายแดนรัสเซีย ตั้งแต่ทางเหนือใกล้ฉนวน ดารซิกมาจนถึงแม่น้�าวิสตุล่า ส่วนกองทัพรัสเซียภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล เรนเนแคมฟ และนายพล แซมโซนอฟ โดยวางก�าลังกองทัพท่ี 1 ตั้งอยู่ทางด้านเหนือ กองทัพที่ 2 ต้ังอยู่ทางด้านใต้ใกล้แม่น�้าวิสตุล่า แม่ทัพกองทัพรัสเซียสั่งการให้กองทัพ ท่ี 1 เคลื่อนที่เข้าประชิดแนวตั้งรับของเยอรมัน และให้ตรึงก�าลังทหารเยอรมันไว้โดย ไมม่ กี ารเขา้ ตี สว่ นกองทพั ท่ี 2 ใหร้ กุ ขา้ มพรมแดนเยอรมนั เพอ่ื เขา้ ยดึ เมอื งเทนเนนเบริ ก์ ค�าส่ังดังกล่าวเป็นการส่งทางวิทยุ (ไม่เข้ารหัส) พนักงานวิทยุของเยอรมันดักรับค�าสั่ง

นี้ได้ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เม่ือแม่ทัพเยอรมันทราบค�ำสั่งการแม่ทัพ เหล่าทหาร ่ืสอสาร 55 รัสเซีย จึงสั่งการให้กองทัพน้อยและกองพลของเยอรมันท่ีต้ังรับอยู่ทางด้านเหนือ รีบเคล่ือนย้ายลงมายังเมืองเทนเนนเบิร์ก โดยมอบหมายให้กองพลทหารม้าเพียง 1 กองพล ด�ำเนินกลยุทธ์ลวงกองทัพท่ี 1 ของรัสเซีย เม่ือกองทัพที่ 2 ของรัสเซียรุกข้าม ดินแดนเยอรมันเข้าโจมตีเพ่ือที่จะยึดเมืองเทนเนนเบิร์ก จึงถูกกองทัพเยอรมันเข้าตีขนาบ จากทางดา้ นเหนอื และจากทางดา้ นหนา้ ของเมอื งเทนเนนเบริ ก์ ยงั ผลใหก้ องทพั รสั เซยี ถอยไป บริเวณท่ีลุ่มของทะเลสาบมาซูเรี่ยน ก่อให้เกิดการสูญเสียแก่กองทัพรัสเซียเป็นอย่างมาก เบื้องหลังชัยชนะของกองทัพเยอรมันในการยุทธ์ท่ีเมืองเทนเนนเบิร์กคือ การดักรับการส่ง ข่าวทางวิทยุ (Radio Interception) ซ่ึงถือว่าเป็นจุดเร่ิมต้นของ Signal Intelligence: SIGINT 2. นยิ ามและความหมาย สงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare: EW) คือ “การปฏิบัติทางทหารท่ีเกี่ยวกับการใช้พลังงานคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อก�ำหนดขยายผลลดหรือป้องกันการใช้ย่านความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของข้าศึก และ ปฏิบัติการซ่ึงมุ่งด�ำรงรักษาการใช้ย่านความถ่ีคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าของฝ่ายเรา” ท้ังนี้เพ่ือ ให้เกิดประโยชน์ต่อการด�ำเนินการสงครามในส่วนรวมของฝ่ายเรา ในการท�ำสงคราม อิเล็กทรอนิกส์ทุกคร้ัง ย่อมจะต้องมีการเตรียมการไว้ต้ังแต่ในยามสงบนั่นคือ การหา ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าของฝ่ายตรงข้ามไว้ล่วงหน้า ท้ังน้ี เพ่ือเป็นข้อมูลให้ผู้บังคับบัญชาน�ำไปใช้ในการวางแผนการท�ำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการทหารขึ้น ข้อมูลท่ีได้จากการกระท�ำดังกล่าวเรียกว่า ข่าวกรองสัญญาณ (Signal Intelligence: SIGINT) ซึ่งมีองค์ประกอบดังรูป SIGINT (Signal Intelligence) (CommunCicOatMionINInTtelligence) (ElectronEicLIINntTelligence)

56 เหลา่ ทหารส่อื สาร ข่าวกรองสัญญาณ (Signal Intelligence: SIGINT) คือ การหาข่าวเก่ียวกับการปฏิบัติการ และการเคลื่อนไหวของฝ่าย ตรงข้ามหรือของประเทศที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายเรา มีความหมายเฉพาะถึงการค้นหา ตรวจจับ ก�ำหนดท่ีต้ัง และบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าของฝ่ายตรงข้าม เพื่อน�ำมารวบรวม วิจัย จัดหมวดหมู่ ตีความ และประเมินค่าของข่าวน้ันๆ เพ่ือประโยชน์ ของฝ่ายตนท่ีจะลดประสิทธิภาพในการใช้คล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้าของฝ่ายตรงข้าม SIGINT เป็นค�ำที่เกิดข้ึนมาก่อนค�ำว่า EW กิจกรรม EW นั้น จะต้อง เร่ิมต้นจากการปฏิบัติการข่าวกรองสัญญาณ (SIGINT) ก่อนเป็นเบ้ืองต้น แม้ว่าจะอยู่ใน ภาวะปกติก็ตาม เพราะสิ่งน้ีเป็นพื้นฐานที่จ�ำเป็นต่อการใช้มาตรการสนับสนุนและการ ต่อต้านทางอิเล็กทรอนิกส์ SIGINT นน้ั จะมพี นั ธกจิ ทเี่ กยี่ วขอ้ งกบั การดกั รบั การแพรค่ ลนื่ แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ของข้าศึก ซ่ึงรวมทั้งการสื่อสารและมิใช่การส่ือสาร แล้วจึงน�ำมาวิเคราะห์ พิสูจน์ทราบ ประเมินค่าสัญญาณท่ีดักรับได้น้ัน เพ่ือที่จะขยายผลเก็บรวบรวมข้อมูลที่เก่ียวข้องกับ เทคนิคกลยุทธ์ข้าศึก และเป็นฐานข้อมูลต่อการน�ำไปใช้เพ่ือการต่อต้าน และตอบโต้ การต่อต้านทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป ในการท�ำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ข่าวกรองทางการ สัญญาณ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข่าวกรองทางการสื่อสารและข่าวกรองทาง อิเล็กทรอนิกส์ ข่าวกรองทางการสื่อสาร (Communication Intelligence: COMINT) เป็นเทคนิคและข่าวกรองที่ได้มาจากการดักรับเฝ้าฟังการติดต่อส่ือสาร ของต่างชาติ และโดยทางอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการรับฟัง แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้าม อาจจะใช้วิธีการส่งข่าวลวงและสถานีวิทยุลวงได้ ฉะนั้นจึงต้องระมัดระวังและตรวจสอบ ข่าวกับแหล่งข่าวอ่ืน ๆ ให้แน่ชัด COMINT เน้นท่ีตรวจค้นบันทึกข่าวถอดรหัสข้อความการสื่อสารของข้าศึก ด้วยการดกั รบั เฝ้าฟัง เก็บรวบรวมข้อมลู และข่าวสาร จากระบบสอ่ื สารทางอิเล็กทรอนกิ ส์ ของขา้ ศกึ และเอามาด�ำเนนิ กรรมวธิ ที างการขา่ วกรองและการแปรรหสั ลบั ท�ำเนยี บกำ� ลงั รบ ข่าวกรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Intelligence: ELINT) คอื การปฏิบตั ทิ ห่ี มายถงึ การเก็บรวบรวม (สงั เกตและบนั ทึก) และด�ำเนิน ตามกรรมวธิ ีต่าง ๆ เพ่อื ให้ได้มาซ่งึ ข้อมูลข่าวกรองจากการแพร่กระจายคลน่ื แม่เหล็กไฟฟ้า ทมี่ ไิ ด้เกดิ จากการตดิ ต่อสอ่ื สารของต่างชาติ ข้อมูลเหล่านจ้ี ะนำ� มาจดั ทำ� “ทำ� เนยี บสถานี อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์” ส�ำหรับดำ� เนินมาตรการต่อต้านทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (ECM) ต่อไป

ELINT มี 3 รปู แบบ คอื เหล่าทหาร ่ืสอสาร 57 1. Navigation Aids (เครอ่ื งช่วยในการเดนิ อากาศ) 2. Identiifcation Friend or Foe (IFF) ระบบพสิ จู น์ฝ่าย 3. Radar เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางทหารขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะน�ำเอาข้อมูลจากข่าว กรองสัญญาณ (SIGINT) มาพิจารณาวางแผนเพ่ือก�ำหนดมาตรการในการท�ำสงคราม อิเล็กทรอนกิ ส์ต่อฝ่ายตรงข้าม 3. มาตรการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ มี 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการสนับสนุน ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare Support Measures: ESM) มาตรการต่อต้านทาง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Counter Measures: ECM) และมาตรการตอบโต้การต่อต้าน ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Counter Counter Measures: ECCM) ดังรูป EW ESM ECM ECCM 3.1 มาตรการสนับสนุนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Warfare Support Measures: ESM) คอื การปฏบิ ตั กิ ารค้นหา ดกั รับ พสิ จู น์ทราบ บนั ทกึ และวเิ คราะห์ เพ่ือ รวบรวมเป็นข้อมูลน�ำมาสนับสนนุ ECM, ECCM และการใช้ก�ำลังทางยทุ ธวธิ อี น่ื ๆ 3.1.1 การค้นหากระทำ� เพือ่ 3.1.1.1 คน้ หาระดบั ความรนุ แรงของพลงั งานแมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ของขา้ ศกึ และสัญญาณต่าง ๆ ทน่ี ่าจะส่งออกมา 3.1.1.2 ระบตุ �ำแหน่งท่ตี ้ังของเครือ่ งส่งวทิ ยุ และที่ตัง้ บก. ของข้าศกึ 3.1.1.3 ระบทุ ศิ ทางการเคลอ่ื นท่ขี องก�ำลังของข้าศกึ 3.1.1.4 ค้นหาเป้าหมายเพ่อื ท�ำการโจมตี

58 เหลา่ ทหารส่อื สาร 3.1.2 การวเิ คราะหเ์ ปน็ การดำ� เนนิ กรรมวธิ ตี อ่ ขา่ วสาร ทส่ี ง่ ออกมาของขา้ ศกึ เพอื่ ได้มาซ่งึ ความรู้เก่ยี วกบั ยทุ ธวิธแี ละการจดั หน่วย เป็นต้น กระทำ� เพอ่ื เปล่ยี นข่าวสารที่ อปุ กรณร์ ะบบหาทศิ ทางไดร้ บั มาใหเ้ ปน็ ขา่ วกรอง นอกจากนก้ี ารด�ำเนนิ งานวเิ คราะหจ์ ะตอ้ ง ใช้เจ้าหน้าท่ขี ่าวกรองทไ่ี ด้รบั การฝึกมาเป็นอย่างดอี กี ด้วย 3.1.3 การบันทึก จะกระท�ำหลังการวิเคราะห์ข้อมูลท่ีได้รับ เพื่อน�ำไปใช้ ประโยชน์ได้ต่อไป โดยการใช้ประโยชน์นน้ั อาจนำ� ไปใช้ตามกิจเฉพาะหรอื ส�ำหรบั อปุ กรณ์ ก่อกวนการสกัดก้ัน ซ่ึงต้องมีอุปกรณ์พร้อมมูล และอาศัยเจ้าหน้าที่ที่มีความชำ� นาญทาง ด้านนเ้ี ป็นอย่างมาก 3.1.4 การดกั รับท�ำให้ทราบถงึ 3.1.4.1 ขา่ วสารเกยี่ วกบั ระบบอเิ ลก็ ทรอนกิ สข์ องขา้ ศกึ ทำ� ใหฝ้ า่ ยเรา สามารถสง่ั การปฏบิ ตั เิ พือ่ ลดผลการรบกวนระบบโดยข้าศกึ 3.1.4.2 ทราบข่าวท่ีตั้งหน่วยและการปฏิบัติของข้าศึก แล้วกระจาย ข่าวสารข่าวกรองท่ไี ด้รบั แก่หน่วยฝ่ายเรา 3.1.4.3 นำ� ข่าวสารท่ไี ด้มาใช้ป้องกันเครอ่ื งมอื ของฝ่ายเรา 3.1.4.4 ท�ำให้ทราบขีดความสามารถของข้าศึกที่จะรบกวนระบบ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ของฝ่ายเราว่ามมี ากน้อยเพยี งใด ณ ทีข่ ้าศกึ ตง้ั อยู่ นอกจากนเ้ี ครื่องมอื ทาง สงครามอเิ ล็กทรอนิกส์ของข้าศกึ ยงั เป็นเป้าหมายส�ำหรับการทำ� ลายอีกด้วย 3.1.4.5 ทำ� ใหท้ ราบวา่ ขา้ ศกึ ไดน้ ำ� เอาวทิ ยซุ งึ่ มคี ณุ ลกั ษณะทางเทคนคิ บางประการเข้ามาในพน้ื ทก่ี ารรบ ดงั น้ันการด�ำเนนิ การด้าน ESM จึงจำ� เป็นจะต้องมีเครอื่ งมือ COMINT และ ELINT ที่มีการค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างดี ประดิษฐ์และพัฒนาผลิตข้ึนมาให้สามารถท�ำการ คน้ หา ดกั รบั จบั ตำ� แหนง่ ทม่ี าของสญั ญาณ และพรอ้ มทจ่ี ะพสิ จู นช์ นดิ หรอื ระบบการสอ่ื สาร และระบบทางอิเล็กทรอนิกส์ของฝ่ายตรงข้าม ซ่ึงมีอยู่หลายระบบดังกล่าวแล้วให้ได้ เพื่อ น�ำมารวบรวมเป็นข่าวกรองทางการสื่อสารและข่าวกรองทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป ซึ่งจะ สนบั สนนุ เพม่ิ เตมิ ใหข้ า่ วกรองสญั ญาณมปี ระสทิ ธภิ าพมากยง่ิ ขน้ึ อนั จะทำ� ใหฝ้ า่ ยอำ� นวยการ สามารถพจิ ารณาประมาณการขดี ความสามารถของระบบการสง่ั การบงั คบั บญั ชา และระบบ อาวธุ ของฝา่ ยตรงขา้ ม เพอื่ ใหผ้ บู้ งั คบั บญั ชาสามารถตกลงใจไดถ้ กู ตอ้ ง การด�ำเนนิ การทาง ด้านข่าว SIGINT จะต้องกระทำ� อย่างต่อเนอ่ื ง โดยใช้เครอ่ื งมอื แบบเดยี วกบั ESM ซง่ึ ดำ� เนนิ การในระดบั หนว่ ยเหนอื การดำ� เนนิ การดา้ น ESM จะกระทำ� ในหนว่ ยทางยทุ ธวธิ สี ามารถนำ�

ขอ้ มลู ดา้ นขา่ วกรองทางสญั ญาณมาใชเ้ ปน็ ประโยชนเ์ สรมิ ดว้ ย การขา่ วกรองทางการสอื่ สาร เหล่าทหาร ่ืสอสาร 59 และข่าวกรองทางอิเล็กทรอนิกส์ท่ีได้จากฝ่ายตรงข้ามที่รับเพิ่มเติมในการด�ำเนินการ ESM ในขณะนน้ั นำ� มาเปน็ ประโยชนใ์ นการประมาณสถานการณแ์ ละตดั สนิ ตกลงใจทจี่ ะทำ� การ ตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามท่ีเผชิญหน้ากับฝ่ายเรา เพ่ือการรบกวนหรือการลวง หรือการทำ� ลาย ให้ระบบการสอ่ื สาร และระบบอาวธุ อิเล็กทรอนิกส์ของฝ่ายตรงข้ามหมดสมรรถนะลงไป 3.1.5 วัตถปุ ระสงค์ของมาตรการ ESM เพ่ือให้ได้ข้อมูลดังน้ี 3.1.5.1 คณุ ลักษณะทางเทคนคิ ของอุปกรณ์น้ัน ๆ ได้แก่ กำ� ลงั ออก อากาศชนิดของสายอากาศย่านความถี่คล่ืนท่ีส่งการปรุงคลื่น (Modulation: MOD) และ คณุ ลักษณะพเิ ศษอ่นื ๆ ของอุปกรณ์สอ่ื สารของข้าศึก 3.1.5.2 ทต่ี ัง้ ของเคร่อื งส่ง 3.1.5.3 ระบบการทำ� งานทางยทุ ธการทใ่ี ช้อุปกรณ์นน้ั ๆ อยู่ 3.1.5.4 ชนดิ อุปกรณ์/ขดี ความสามารถ 3.1.5.5 ข่าวสารทส่ี ่ง 3.1.6 ประโยชน์ของมาตรการ ESM 3.1.6.1 ฝ่ายเราสามารถก่อกวน (Jamming) ระบบการสื่อสารของ ข้าศกึ อย่างได้ผล 1) สามารถวางแผน/ออกค�ำสั่งได้ละเอียดมากข้ึน การระบุ เป้าหมายทางภมู ศิ าสตร์และความถแ่ี น่นอนได้ 2) สามารถคาดการณ์เวลาปฏิบัติการของเครื่องมือข้าศึก ล่วงหน้าได้ 3) สามารถทำ� การ รปภ. ได้อย่างถกู ต้องมเี หตุผล 3.1.6.2 สามารถวางแผนยทุ ธศาสตรก์ ารลวงทางอเิ ลก็ ทรอนกิ สถ์ า้ เรา ทราบการวางกำ� ลังของข้าศกึ 1) แผนสามารถวางได้ตรงตามเป้าหมาย 2) สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าถงึ การตอบโต้ของข้าศกึ ได้ อย่างถกู ต้อง 3) ความรู้เรื่องระบบการสื่อสารของข้าศึกจะท�ำให้เราลวง ข้าศกึ ได้เช่อื ถือมากขึ้น

3.1.6.3 การวางแผนอเิ ลก็ ทรอนกิ สเ์ ชงิ รบั หรอื เชงิ ปอ้ งกนั มผี ลมากขนึ้ เนอื่ งจาก 1) รู้ขดี ความสามารถด้าน EW ของข้าศกึ จะทำ� ให้เราพร้อม ท่จี ะป้องกนั ต่อขีดความสามารถนน้ั ๆ 2) สามารถ รปภ. ได้อย่างถูกต้อง 3) เทคนคิ การปอ้ งกนั สามารถพฒั นาขน้ึ เพอ่ื ตอบโตข้ ดี ความ สามารถในการก่อกวนของข้าศกึ 3.1.6.4 งานข่าวกรองในการจัดท�ำท�ำเนียบก�ำลังรบ เก็บข้อมูลจาก การส่งข่าวของข้าศกึ ผ่านข่ายสอ่ื สารอเิ ล็กทรอนิกส์ 3.1.6.5 จัดท�ำท�ำเนียบสถานีอิเล็กทรอนิกส์ ซ่ึงเป็นพื้นฐานของการ ดำ� เนนิ งาน มาตรการต่อต้านทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ (ECM) และมาตรการตอบโต้การต่อต้าน ทางอิเลก็ ทรอนิกส์ (ECCM) ต่อไป 3.1.7 ความสมั พนั ธ์ระหว่าง SIGINT – ESM 60 เหลา่ ทหารส่อื สาร ข่าวกรองยทุ ธศาสตร์ - ท�ำเนยี บกำ� ลงั รบทาง COMINT ELINT ทางทหาร อิเล็กทรอนกิ ส์ของ ขศ SIGINT สนับสนุนการรบ - ข้อมูลพื้นฐาน - ค้นหา - หาทิศ - แจ้งเตอื น - เฝ้าฟัง - กำ� หนดทต่ี งั้ - ป้องกนั ตนเอง - ดกั รับ - วเิ คราะห์ - ECM, ECCM ESM การรวบรวมขา่ วสารขา่ วกรองโดย SIGINT จะตอ้ งกระทำ� อยา่ งตอ่ เนอื่ ง โดย ใช้เครอ่ื งมอื แบบเดียวกับ ESM แต่จะดำ� เนนิ การโดยหน่วยเหนอื การดำ� เนนิ การด้าน ESM จะกระทำ� ใหห้ นว่ ยทางยทุ ธวธิ สี ามารถน�ำขอ้ มลู จากขา่ วกรองสญั ญาณ (SIGINT) ทไ่ี ดร้ บั มา ใชป้ ระโยชน์ โดยการนำ� ขา่ วกรองทางการสอื่ สาร (COMINT) และขา่ วกรองทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์

(ELINT) เกยี่ วกบั ฝา่ ยตรงขา้ มทไี่ ดร้ บั เพม่ิ เตมิ กบั ในการด�ำเนนิ มาตรการ ESM ในขณะนนั้ น�ำ เหล่าทหาร ่ืสอสาร 61 มาเปน็ ประโยชนใ์ นการประมาณสถานการณ์ และการตกลงใจของผบู้ งั คบั บญั ชาทจ่ี ะทำ� การ ตอบโตต้ อ่ ฝา่ ยตรงขา้ มทเ่ี ผชญิ หนา้ กบั ฝา่ ยเรา เพอื่ การรบกวนหรอื การลวง หรอื การทำ� ลาย ให้ระบบการส่อื สาร และระบบอาวุธอิเลก็ ทรอนกิ ส์ของฝ่ายตรงข้ามหมดสมรรถนะลงไป กล่าวโดยสรปุ มาตรการ ESM เป็นสิง่ จ�ำเป็นอย่างย่ิง ในฐานะเป็นขนั้ แรก ไปสู่การปฏบิ ตั กิ าร EW ด้านการท�ำลายและด้านการป้องกนั ท่เี ป็นผล (การรกุ และการรบั ) 3.2 มาตรการตอ่ ตา้ นทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ (Electronic Counter Measures: ECM) เป็นการปฏิบัติที่กระท�ำเพ่ือขัดขวางหรือลดประสิทธิผลการใช้ คล่นื แม่เหลก็ ไฟฟ้าของข้าศกึ ถอื ว่า ECM เป็นอาวุธหลักของ EW และเป็นองค์ประกอบ ของอำ� นาจกำ� ลงั รบ ประกอบดว้ ยอาวธุ คอื เครอื่ งกอ่ กวนและเครอ่ื งคน้ หาเปา้ หมาย สงั่ การ และการบังคบั บัญชา ควบคมุ ทจ่ี ะใช้อาวุธตามล�ำดับความสำ� คัญของผู้บงั คับบัญชา ในสงครามสมยั ใหมถ่ อื วา่ ECM มคี วามสำ� คญั อยา่ งยง่ิ เนอ่ื งจากวา่ มกี ารใช้ เครอ่ื งมอื ทางอเิ ลก็ ทรอนกิ สอ์ ยา่ งกวา้ งขวางส�ำหรบั ทกุ รปู แบบของการปฏบิ ตั กิ ารทางทหาร ในเรื่องการใช้เทคนิค ECM แบ่งการด�ำเนินการออกเป็น 2 ประเภท คือ การแพร่กระจายคล่นื (ACTIVE) และไม่แพร่กระจายคลื่น (PASSIVE) ดังรูป ECM ACTIVE PASSIVE JAMMING DECEPTION CHAFF FLARE DECOY 3.2.1 การแพรก่ ระจายคลนื่ (ACTIVE) ประกอบดว้ ยการกอ่ กวน (JAMMING) และการลวง (DECEPTION)

62 เหลา่ ทหารส่อื สาร 3.2.1.1 การก่อกวน (JAMMING) คือ การแผ่รังสคี ลืน่ ย้อนกลับด้วย พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าโดยจงใจด้วยความมุ่งหมายที่จะท�ำให้การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ของข้าศกึ ไม่บงั เกิดผลเต็มท่ี 3.2.1.2 การลวง (DECEPTION) คอื การจงใจแพร่คลืน่ แพร่คลื่นใหม่ การดดู ซมึ หรอื การสะทอ้ นพลงั งานแมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ในอาการจงใจทจ่ี ะทำ� ใหข้ า้ ศกึ แปรความ หมายผิด แบ่งออกเป็นการลวงในระบบการสอื่ สารและไม่ใช่ระบบการส่ือสาร 1) การลวงในระบบการสื่อสาร เช่น การส่งข่าวลวงในการ ติดต่อการสื่อสารของฝ่ายเราและคาดว่าสัญญาณนี้ข้าศึกจะดักรับได้ เม่ือดักรับได้แล้วจะ ท�ำให้ข้าศึกหลงผิดในข่าวสารน้ัน หรือถ้าฝ่ายเราทราบนามเรียกขานและความถี่ที่ใช้งาน ในข่ายของข้าศกึ แล้ว เราอาจจะปลอมเป็นสถานีวิทยนุ ้ัน เข้าร่วมการตดิ ต่อส่อื สารเพือ่ การ ดักรบั และลวงข่าวสารต่อฝ่ายข้าศกึ ได้ การลวงในระบบการส่อื สาร แบ่งออกเป็น 2 แบบ (1) การลวงเล่ห์ (MANIPULATIVE DECEPTION) คอื การ แพรค่ ลนื่ แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ของฝา่ ยเราโดยปลอ่ ยขา่ วสารผดิ ๆ โดยเจตนาเพอ่ื ใหข้ า้ ศกึ วเิ คราะห์ และยอมรับข่าวสารอย่างมเี หตมุ ีผล (2) การลวงเลยี น คอื การนำ� เอาการแพรค่ ลนื่ เขา้ ไปสชู่ อ่ ง การสอื่ สารของขา้ ศกึ ซง่ึ เลยี นแบบการปลอ่ ยคลน่ื ของขา้ ศกึ เอง แลว้ สง่ ขา่ วลวงเขา้ ไปในขา่ ย ของข้าศกึ เพือ่ ให้เกิดการสับสนและเข้าใจผิด 2) การลวงมใิ ชร่ ะบบการสอื่ สาร ไดแ้ ก่ การลวงในระบบเรดาร์ ของข้าศึก จะกระท�ำโดยการส่งคล่ืนปลอมเข้าไปให้ปรากฏบนจอภาพเรดาร์ของข้าศึก เพอ่ื ใหข้ า้ ศกึ เขา้ ใจผดิ ทง้ั ทางระยะทางและทศิ ทางของเปา้ หมาย การลวงจะกระทำ� ได้ 2 แบบ (1) การลวงทางระยะ (RANGE DECEPTION) กระท�ำโดยใช้ เครอื่ งรบกวนดกั รบั สญั ญาณของเรดารข์ า้ ศกึ ขยายและสง่ สญั ญาณทมี่ ี PULSE แทรกเขา้ ไป ในระหว่าง PRF ท่เี ท่ากบั PRF (PULSE RECURRENCE FREQUENCY) ของเรดาร์ข้าศกึ ทงั้ น้ี เราตอ้ งทราบ PRF ของเรดารน์ นั้ กอ่ นลว่ งหนา้ จะทำ� ใหป้ รากฏเปา้ บนจอภาพแตเ่ ปน็ ภาพลวง มีระยะทางตรงทางเป้าจรงิ (2) การลวงทางทิศทาง (AZIMUTH DECEPTION) กระทำ� โดยใชเ้ ครอ่ื งรบกวนดกั รบั สญั ญาณของเรดารข์ า้ ศกึ ขยายและสง่ สญั ญาณทม่ี ี PULSE เขา้ ไป ทาง SLIDE LOBE ตาม PATTERN ของสายอากาศด้วยวธิ นี ี้ จอภาพจะเหน็ เป้าหมายปลอม คนละทิศกบั เป้าจริง

การลวงจะเกดิ ขึ้นจากเหตดุ ังต่อไปนี้ เหล่าทหาร ่ืสอสาร 63 1. วนิ ยั ในการส่งข่าวไม่ดี 2. พนักงานวทิ ยชุ อบท�ำอะไรแผลง ๆ ในการท�ำงาน 3. ในข่ายมลี ูกข่ายเยอะ 4. สถานวี ทิ ยเุ คลอื่ นทเี่ รว็ หรอื บรเิ วณทใ่ี ชม้ กี ารสอื่ สารหนาแนน่ 5. ไม่ใช้ระบบบอกฝ่าย การลวงจะทำ� ให้สำ� เร็จได้ต้องทราบ 1. ความถ่ที ใ่ี ช้งาน, ประเภทของสญั ญาณ, ประเภทของ การปรุงคล่นื 2. นามเรยี กขาน, รหสั ลบั , วธิ กี ารรบั รองฝา่ ยเทคนคิ วทิ ยุ 3. ข่าวสารอื่น ๆ ท่ีส�ำคัญเกี่ยวกับการที่จะปฏิบัติงาน ในข่ายของข้าศกึ 3.2.2 การไม่แพร่กระจายคลน่ื (PASSIVE ECM) หมายถงึ เทคนิคทั้งหลาย ท่ีไม่มีการแพร่กระจายคล่นื แม่เหลก็ ไฟฟ้าเพอื่ ใช้กบั เรดาร์ประกอบด้วย 3.2.2.1 CHAFF น�ำมาจาก ALUMINUM STRIPT หรอื NYLON ชบุ ALUMINUM หรือ GLASS CHAFF ประกอบด้วย DIPOLES REFLECTOR ซง่ึ ถูกออกแบบ ให้พอดกี ับ 1/2 ของความยาวคล่นื ความถี่วทิ ยุ (RADIO FREQUENCY) ของเรดาร์ CHAFF สามารถทำ� ใหก้ บั ยา่ นความถก่ี วา้ ง ๆ ไดโ้ ดยการหอ่ DIPOLES ทมี่ คี วามยาวตา่ ง ๆ รวมในหอ่ เดยี วกนั ซ่งึ จะปรากฏคล้ายกบั เป็นเป้าหมายเคลอ่ื นทใ่ี นอากาศ การใช้ CHAFF ใช้ได้ 2 กรณี 1) ช่วยในการทะลทุ ะลวง (PENETRATION AID) คือ โดย การทงิ้ เป็นแถวยาว (STREAM CHAFF DISPENSING) หรอื ทิง้ เป็นจดุ ๆ (RANDOM CHAFF DISPENSING) เป้าหมายทป่ี รากฏในจอเรดาร์ จะทำ� ให้พนกั งานเรดาร์เกดิ ความสบั สนและ ท�ำให้เครอ่ื งบนิ ทเี่ ป็นเป้าหมายจรงิ ทะลทุ ะลวงไปได้ 2) ป้องกนั การติดตาม (AGAINST TRACKING) คือ โดย การทงิ้ เป็นแบบ BURST CHAFF DISPENSING ในขณะที่ป้องกันการตดิ ตาม (TRACKING) ของเรดาร์ระบบควบคมุ การยิงของข้าศกึ และจะต้องประกอบกับท่าทางการบนิ ด้วย

64 เหลา่ ทหารส่อื สาร 3.2.2.2 FLARE ในระบบควบคมุ การยงิ อาวธุ น�ำวถิ ดี ว้ ยความรอ้ น หรอื รงั สีอินฟราเรด (INFRARED MISSILE SYSTEM) น้นั จะมเี ครอื่ งรบั ซึ่งจะรบั แต่เพียงพลงั งาน ยา่ นความถอี่ นิ ฟราเรด ทถี่ กู สง่ ออกมาจากเครอ่ื งยนตข์ องเครอ่ื งบนิ ทต่ี กเปน็ เปา้ หมาย และ จะส่งบังคับอาวุธน�ำวิถี รังสีอินฟราเรดเข้าหาพลังงานรังสีอินฟราเรด หรือความร้อนของ เครือ่ งยนต์ เครอ่ื งบินของเป้าหมายนน้ั ทนั ที ดงั น้นั FLARES จงึ สร้างมาเพอื่ ใช้ในการต่อต้านอาวุธนำ� วถิ ี ด้วยความร้อนหรือรังสีอินฟราเรด โดยท�ำให้เกิดเป็นพลังงานย่านความถ่ีรังสีอินฟราเรด คล้ายกับพลังงานความร้อนของเครื่องยนต์ เคร่ืองบินที่ตกเป็นเป้าหมาย และเม่ือปล่อย FLARES ออกมา กจ็ ะเป็นแหล่งพลงั งานความร้อนแทนเคร่อื งบนิ นัน้ จนทำ� ให้อาวธุ น�ำวถิ ี ด้วยความร้อนเข้าท�ำลาย FLARES แทน 3.2.2.3 DECOY OR DRONES ใช้เป็นการลวงในระบบเรดาร์ของฝ่าย ตรงข้ามให้หลงเป้าหมาย โดยไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป้าหมายจรงิ หรอื เป้าหมายปลอม ในจอเรดาร์จนท�ำให้พนักงานเรดาร์ไม่สามารถติดตามเป้าหมายจริงได้ทันและเกิดสับสน DECOY จะถกู สรา้ งเปน็ ยานคลา้ ยเครอื่ งบนิ ขนาดเลก็ (ซง่ึ จะเปน็ เครอ่ื งรอ่ นหรอื มเี ครอ่ื งยนต์ กไ็ ด้) สามารถน�ำไปพร้อมกบั เครอ่ื งบินโจมตี การท่จี ะให้ DECOY ซงึ่ มขี นาดเล็กสามารถ สะท้อนล�ำคล่ืนเรดาร์ของฝ่ายตรงข้ามให้ใหญ่เหมือนกับเคร่ืองบินโจมตีและเป้าหมายจริง ได้ โดยติดต้งั CORNER REFLECTOR ซ่ึงเป็นกรวย 3.3 มาตรการตอบโต้การต่อต้านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Counter Counter Measures: ECCM) เป็นยทุ ธวิธที างอิเลก็ ทรอนิกส์ ท่ปี ้องกันเครื่องส่งของเรามิให้ข้าศึกรบกวน และปอ้ งกนั การคน้ หาเปา้ หมายของขา้ ศกึ เปน็ สว่ นชว่ ยใหแ้ ถบแมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ของฝา่ ยเรายงั คงอยู่ได้ พนักงานเครอื่ งสอื่ สารเป็นผู้ใช้เทคนคิ ECCM ในสถานการณ์แวดล้อมทางยทุ ธวธิ ี และเปน็ ความรบั ผดิ ชอบทางการบงั คบั บญั ชา ในการฝกึ พนกั งานใหใ้ ชเ้ ทคนคิ เหลา่ นใี้ หไ้ ดผ้ ล ECCM มีความต้องการในการฝึกทางการส่ือสารอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นเรื่องท่ีด�ำเนินการ ร่วมกันอย่างใกล้ชดิ กบั การ รปภ.ส. 3.3.1 กจิ กรรม ECCM ได้แก่ กิจกรรมมาตรการป้องกันและมาตรการแก้ไข เยยี วยา ดงั น้ี

3.3.1.1 มาตรการป้องกันกระท�ำเพื่อป้องกันข้าศึก มิให้สามารถใช้ เหล่าทหาร ่ืสอสาร 65 คลื่นแม่เหลก็ ไฟฟ้าต่อระบบของเรา ได้แก่ 1) การให้มกี ารสอ่ื สารให้น้อยทส่ี ุดเท่าทจี่ �ำเป็น เช่น เตรียม ข่าวก่อนส่ง การส่งข่าวอย่างรวดเร็วแน่นอน และใช้เคร่ืองสื่อสารที่มีขีดความสามารถ ในการส่งข้อมลู ฉบั พลัน 2) ป้องกันการสื่อสารของฝ่ายเราจากการดักรับของข้าศึก ไดแ้ ก่ การใชก้ ำ� ลงั ออกอากาศตำ�่ การใชส้ ายอากาศบงั คบั ทศิ และการเลอื กทต่ี ง้ั สายอากาศ ให้ปลอดภยั 3) การฝึกพนักงานในเร่ืองการหลีกเล่ียงงานวงรอบ การใช้ ระบบรับรองฝ่ายการเข้ารหสั และการใช้ค�ำพดู ตามระเบยี บการ 3.3.1.2 มาตรการแก้ไขเยียวยาเป็นการกระท�ำในเม่ือข้าศึกได้ใช้ กจิ กรรม EW ต่อระบบการสอ่ื สารของฝ่ายเราแล้ว ได้แก่ 1) การจดจำ� ลกั ษณะการกอ่ กวนและการรบกวน โดยจำ� แนก ให้ได้ว่าเป็นการก่อกวนหรือการรบกวน เป็นการรบกวนภายในหรือภายนอก แล้วเสนอ รายงานการก่อกวนหรอื การรบกวน หรอื ท้งั สองอย่าง 2) การปฏบิ ตั เิ มอื่ เผชญิ การกอ่ กวนและการรบกวน โดยดำ� รง การสอื่ สารตอ่ ไป การปรบั แตง่ เครอ่ื งรบั การปรบั หรอื เปลยี่ นสายอากาศ การเปลย่ี นความถ่ี ไปใช้ความถส่ี �ำรอง การย้ายท่ตี ั้งสายอากาศ และหมุนเวยี นการใช้มชั ฌมิ การสื่อสาร 3) การปฏิบัติเมื่อเผชิญกับการลวง ด้วยการใช้ระบบการ รับรองฝ่าย เมื่อใดก็ตามที่เกิดความสงสัย เมื่อถูกถามหรือขอร้องให้รับรองฝ่าย และเม่ือ ส่งข่าวไปถงึ สถานีซึ่งอยู่ภายใต้ค�ำสัง่ ระงบั วทิ ยุ 3.3.2 การวางแผนป้องกนั ภารกจิ ESM และ ECM สว่ นใหญจ่ ะเกยี่ วขอ้ งกบั เรอ่ื งทางดา้ นเทคนคิ สว่ นภารกจิ ECCM จะตอ้ งดำ� เนนิ การโดยเจา้ หนา้ ทท่ี กุ นายภายในหนว่ ย ทจ่ี ะตอ้ งวางแผนการ ใชห้ รอื เปน็ ผใู้ ชอ้ ปุ กรณต์ า่ ง ๆ อาทิ วทิ ยุ เรดาร์ รวมทง้ั เครอื่ งมอื ตรวจการณแ์ ละคน้ หาเปา้ หมาย

66 เหลา่ ทหารส่อื สาร ดังนั้น จะต้องด�ำเนินการฝึกเจ้าหน้าท่ีให้สามารถแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้า ในกรณีทถ่ี กู ก่อกวนซึ่งหมายรวมท้งั จะต้องมมี ัชฌมิ การสอ่ื สารอน่ื ๆ ไว้พร้อม ที่จะใช้งานทดแทนด้วยเสมอ พึงระลึกไว้เสมอว่าขีดความสามารถของท่านในการเอาชนะ ข้าศึกนน้ั ขึ้นอยู่กับขดี ความสามารถของกำ� ลงั ทหารของท่าน ในการปฏิบัตภิ ายใต้สภาวะ ทีถ่ กู ก่อกวนจากฝ่ายข้าศกึ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบแล้ว จะเห็นได้ว่าการก่อกวนมิได้เป็น อาวุธน่ากลวั ในแง่ของ EW และในแง่ความเป็นจรงิ แล้ว ESM ของฝ่ายข้าศกึ เป็นเพยี งสิง่ บ่งชีว้ ่าข้าศกึ จะประสบความส�ำเร็จในการปฏบิ ัติ EW หรอื ไม่ ซึง่ ถ้าหากฝ่ายเราสามารถใช้ มาตรการตา่ ง ๆ อาทิ การพรางและการรกั ษาความปลอดภยั ในการสอื่ สาร (รปภ.ส.) ปอ้ งกนั กำ� ลังและอปุ กรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้พ้นจากฝ่ายข้าศึก ซ่งึ เท่ากับฝ่ายเราได้ดำ� เนินมาตรการ ECCM อนั จะส่งผลให้ฝ่ายข้าศกึ ไม่ได้รับทราบข้อมลู ข่าวสารทเ่ี ป็นประโยชน์จากฝ่ายเราได้ 3.3.3 ความรบั ผิดชอบของผู้บงั คบั บัญชา มาตรการ ECCM นับเป็นความรบั ผดิ ชอบโดยตรงของผู้บงั คับบญั ชา ทกุ ระดบั โดยหลกั การพนื้ ฐานแลว้ ผบู้ งั คบั บญั ชาจะตอ้ งดำ� เนนิ การใหแ้ นใ่ จวา่ หนว่ ยของตน ไดร้ บั การฝกึ ฝนจนสามารถปฏบิ ตั งิ านได้ ภายใตส้ ภาพแวดลอ้ มทเ่ี ตม็ ไปดว้ ยปฏบิ ตั กิ าร EW ของข้าศกึ หัวข้อต่อไปน้ี เป็นแนวทางทจ่ี ะสามารถใช้ในการตรวจสอบขดี ความ สามารถในด้าน ECCM ของหน่วยในการบังคบั บัญชา 1. ตรวจสอบรายงานหลงั การปฏบิ ัติ (After-Action Report) กรณีท่เี กิด การก่อกวนและการลวง รวมท้งั ตรวจสอบประสทิ ธิภาพมาตรการตอบโต้ของฝ่ายเรา 2. ตอ้ งแนใ่ จวา่ จะตอ้ งรายงานทกุ ขนั้ ตอนการปฏบิ ตั ทิ เี่ กดิ การกอ่ กวน และสง่ รายงานนน้ั ไปวเิ คราะห์อยา่ งเหมาะสม โดยนายทหารฝ่ายการสอ่ื สารและนายทหาร ของหน่วยงานรกั ษาความปลอดภยั 3. วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของมาตรการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ท่ฝี ่ายข้าศกึ จะใช้ตอบโต้แผนการปฏิบตั ฝิ ่ายเรา 4. ตอ้ งแนใ่ จวา่ มกี ารฝกึ ปฏบิ ตั เิ ทคนคิ การรกั ษาความปลอดภยั อยา่ ง ต่อเนื่องทกุ วัน ซ่ึงรวมท้งั เปล่ียนนามเรยี กขาน การใช้ระบบรับรองฝ่าย และท่สี ำ� คญั ทส่ี ดุ ก็คอื การควบคมุ การแพร่กระจายคล่นื วทิ ยุ

5. ดำ� เนนิ การให้เจ้าหน้าทส่ี ามารถใช้อปุ กรณ์ ECCM ได้อย่างรวดเรว็ เหล่าทหาร ่ืสอสาร 67 และมปี ระสทิ ธภิ าพ 3.3.4 การ รปภ.ส. (Signal Security: SIGSEC) ตามปกติแล้ว ECCM และการรักษาความปลอดภัยทางการส่ือสาร (SIGSEC) จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด โดยมาตรการทั้งสองต่างก็เป็นมาตรการเชิงรับ และต้งั อยู่บนหลกั การพื้นฐานเดยี วกัน โดยเราจะเห็นว่า หากข้าศกึ ไม่สามารถเข้าถึงส่วนท่ี เปน็ ขอ้ มลู ขา่ วสารของฝา่ ยเราแลว้ กเ็ ปรยี บเสมอื นขา้ ศกึ ทเี่ สอ่ื มสมรรถภาพ หลกั การส�ำคญั ของ SIGSEC กค็ อื ดำ� เนนิ การให้แน่ใจว่า การใช้คลนื่ แม่เหลก็ ไฟฟ้าของฝ่ายเดียวกัน จะไม่ ท�ำให้ฝ่ายข้าศกึ น�ำไปใช้ประโยชน์ได้ สว่ น ECCM กค็ อื การปฏบิ ตั ทิ ง้ั หลายเพอื่ ใหแ้ นใ่ จวา่ ฝา่ ยเราจะสามารถ ใช้อุปกรณ์ตดิ ต่อส่ือสารอปุ กรณ์ตรวจการณ์ และอปุ กรณ์ค้นหาเป้าหมายได้อย่างต่อเน่ือง แม้ว่าฝ่ายข้าศกึ จะพยายามก่อกวนกต็ าม โดยหลักการพนื้ ฐานแล้วเทคนคิ ของ SIGSEC มี จุดมุ่งหมายเพ่ือให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความมั่นใจในด้านการรักษาความปลอดภัย ในการ สอ่ื สาร สว่ นเทคนคิ ECCM จะทำ� ใหผ้ บู้ งั คบั บญั ชามนั่ ใจวา่ จะสามารถดำ� รงการตดิ ตอ่ สอื่ สาร ได้อย่างต่อเนอื่ ง ถา้ หากเราน�ำเทคนคิ ของการรกั ษาความปลอดภยั ในการสอื่ สาร (SIGSEC) มาใช้มากเท่าใด กจ็ ะลดความต้องการในการใช้ ECCM ลงเท่าน้นั จดุ ประสงคข์ องฝา่ ยเราจะตอ้ งท�ำใหแ้ น่ใจวา่ บรรดาการตดิ ต่อสอ่ื สาร การตรวจการณ์ และอุปกรณ์ค้นหาเป้าหมายของฝ่ายเรา สามารถด�ำเนินไปได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพท่ามกลางความพยายามของฝ่ายข้าศกึ ท่ีจะลดประสิทธิภาพของการทำ� งาน ของฝ่ายเรา การดัดแปลงเคร่ืองมือเพื่อให้หลุดพ้นจากการปฏิบัติการด้าน EW ของฝ่าย ข้าศึกดูเหมือนจะเป็นการลงทุนที่สูงเกินไป นอกจากน้ันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ สามารถทำ� ให้เราแก้ไขปัญหาด้าน ECCM ได้ในเวลาใกล้ ๆ น้ี ด้วยเหตนุ ้ภี าระในด้านการ รักษาความปลอดภัย และการปฏิบัติงานด้านการติดต่อส่ือสาร จึงตกอยู่ที่ผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอ�ำนวยการและพนักงานประจ�ำเครื่อง ดังน้ันวิธีท่ีดีที่สุดน่าจะได้แก่การฝึกเจ้าหน้าที่ ท้ังหลายจะต้องได้รับการอบรมให้เข้าใจเกี่ยวกับการก่อกวนและการลวง นอกจากน้ัน เจา้ หนา้ ทฝี่ า่ ยเราจะตอ้ งตระหนกั วา่ ขน้ั ตอนการปฏบิ ตั งิ านทไ่ี มถ่ กู ตอ้ งทง้ั ในดา้ นการใชว้ ทิ ยุ

68 เหลา่ ทหารส่อื สาร และเครอ่ื งมอื สือ่ สารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่เพยี งแต่จะสร้างความเสยี หายต่อภารกจิ ของ หน่วยเท่าน้นั แต่ยงั อาจท�ำให้เกดิ การสญู เสยี ชีวิตของฝ่ายเราได้ การแก้ปัญหา ECCM จะต้องด�ำเนินการโดยเร่งด่วน และเป็น สญั ชาตญาณ แมแ้ ตเ่ จา้ หนา้ ทซ่ี อ่ มบำ� รงุ จะตอ้ งระมดั ระวงั เกยี่ วกบั อนั ตรายทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ขนึ้ ระหวา่ ง ทำ� การซอ่ มบำ� รงุ ซง่ึ ถา้ หากเจา้ หนา้ ทใี่ ชเ้ ครอ่ื งมอื ทไ่ี มเ่ หมาะสมแลว้ อาจจะทำ� ใหฝ้ ่ายขา้ ศกึ รับทราบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของฝ่ายเราได้ ถ้าหากระหว่างซ่อมบำ� รุงมีการใช้ความถ่ี ปฏบิ ตั งิ าน หรอื ทดสอบเครอื่ งมอื ดว้ ยก�ำลงั ออกอากาศสงู ขอ้ มลู ขา่ วสารอนั ทรงคณุ คา่ กจ็ ะ ตกไปอยใู่ นมอื ของขา้ ศกึ ไดโ้ ดยงา่ ยเชน่ กนั บรรดาฝา่ ยอำ� นวยการจะตอ้ งสามารถประเมนิ ผล รายงานการก่อกวน MIJI และรายงานหลงั การปฏบิ ัติงานเพ่ือทจ่ี ะหาทางแก้ไขข้อบกพร่อง ได้ทนั ท่วงที แต่ทง้ั หมดน้ี จะเร่มิ ขน้ึ ได้ก็ต่อเมอ่ื มกี ารฝึกฝนทด่ี ีเท่านน้ั เทคนคิ ECCM อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ก็คอื ด้านการ ปฏิบัติการ และด้านเทคนิค ด้านการปฏิบัติการเป็นวิธีการต่าง ๆ ท่ีเจ้าหน้าท่ีควรปฏิบัติ ส่วนงานด้านเทคนิค ได้แก่ การหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะเพ่ิมหรือดัดแปลงเครื่องมือก่อนที่ จะไปตดิ ตง้ั ใชง้ าน ซง่ึ แนน่ อนทสี่ ดุ การแกป้ ญั หา ECCM จะตอ้ งผสมผสานทง้ั ในดา้ นเทคนคิ และการปฏบิ ตั ิ เสาอากาศจะตอ้ งดดั แปลงใหเ้ ปน็ แบบบงั คบั ทศิ ทาง ขณะเดยี วกนั การปฏบิ ตั ิ การต้องอยู่ในทำ� เลท่เี หมาะสม เพ่อื ให้ผลการใช้งานได้ดีท่สี ุด ECCM สามารถด�ำเนินการได้ท้ังเชิงรุกและเชิงรับ การใช้อุปกรณ์ เข้ารหัสระบบรับรองฝ่ายและที่ตั้งลวงถือว่าเป็นเทคนิค ECCM เชิงรับ การเพิ่มก�ำลังออก อากาศเพ่ือเอาชนะการก่อกวนของฝ่ายข้าศึก หรือการใช้เสาอากาศบังคับทิศทาง ถือว่า เป็นเทคนิค ECCM เชิงรุก ขนาดและลักษณะทางเทคนิคของเคร่ืองมือ จะเป็นตัวก�ำหนด ว่าสมควรใช้มาตรการเชิงรุกหรือเชิงรับ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์แบบหลายช่องการส่ือสาร มักจะมีขนาดใหญ่ยากแก่การเคล่ือนย้าย และโดยปกติแล้วต้องติดตั้งบนพ้ืนที่สูง เพื่อให้ ผลการรับส่งท่ีดีท่ีสุด 3.3.5 การควบคมุ การแพร่กระจายคลืน่ (Emission Control: EMCON) กญุ แจสำ� คญั ทจ่ี ะใหป้ ระสบความสำ� เรจ็ ในการปอ้ งกนั ปฏบิ ตั กิ ารจาก ฝา่ ยขา้ ศกึ กค็ อื การควบคมุ การแพรก่ ระจายคลนื่ การสง่ คลนื่ แมเ่ หลก็ ไฟฟา้ ควรจะกระท�ำตอ่ เมอ่ื มผี ลต่อความสำ� เรจ็ ของภารกจิ เท่านน้ั เจ้าหน้าทว่ี เิ คราะห์ของข้าศกึ สามารถตรวจสอบ

รูปแบบการแพร่กระจายคลื่น จากน้ันก็น�ำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปรายงานผู้บังคับบัญชา เหล่าทหาร ่ืสอสาร 69 ฝ่ายข้าศกึ ได้ การส่งข่าวด้วยระยะเวลาอันสัน้ การเปลย่ี นความถ่ีและนามเรียกขานบ่อย ๆ และการยา้ ยทตี่ ง้ั กเ็ ปน็ วธิ กี ารทจ่ี ะชว่ ยใหพ้ นกั งาน ผบู้ งั คบั บญั ชาประสบความสำ� เรจ็ ในการ ต่อต้านและตอบโต้ความพยายามดำ� เนนิ การสงครามอเิ ลก็ ทรอนิกส์ของฝ่ายข้าศกึ EMCON สามารถท�ำได้โดยรวม และเฉพาะข่าย การกระท�ำโดยรวม ตวั อย่างเช่น ให้ทกุ หน่วยเงยี บฟัง ขณะท่หี น่วยเคล่ือนทย่ี ้ายทางยทุ ธวธิ ี หรืออาจจะกระทำ� เฉพาะข่าย ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ออกแบบว่าข่ายใดควรจะเป็นข่ายบังคับ และข่ายใด ควรจะเป็นข่ายอิสระ การควบการแพร่กระจายคล่ืนควรจะเป็นสิ่งที่ท�ำอยู่ตลอดเวลา การ ติดต่อส่ือสารควรกระทำ� เมื่อต้องการให้บรรลุภารกิจเท่านั้น การมีวินัยและระเบียบปฏิบัติ ทดี่ ี จะชว่ ยใหท้ า่ นท�ำการตรวจการณท์ างอเิ ลก็ ทรอนกิ สแ์ ละการตดิ ตอ่ สอ่ื สารโดยปราศจาก รปู แบบท่ีฝ่ายตรงข้ามจะรบั ทราบได้ การประยุกต์ใช้เทคนิคการรักษาความปลอดภัยทางการสื่อสาร (SIGSEC) ท่ดี ีจะช่วยให้การวางแผน ECCM ง่ายขึน้ ทง้ั นเ้ี นอื่ งจากการวางแผน EW ของ ข้าศึกจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ที่ทราบล่วงหน้าเก่ียวกับรูปแบบรัศมีท�ำการ และ ความถข่ี องเครอื่ งมอื การรกั ษาความปลอดภยั ทางการสอ่ื สารสามารถหลกี เลย่ี ง ESM ของ ฝ่ายข้าศึก ซึ่งเป็นส่ิงท่ีท�ำให้ข้าศึกทราบล่วงหน้า แผนการลวงเลียนนับเป็นสิ่งหน่ึงที่ช่วย ให้ข้าศกึ สับสน ในการส่งั การไปยงั อปุ กรณ์รวบรวมข้อมลู และปฏบิ ตั ิการก่อกวน ผู้บงั คบั บญั ชาตอ้ งตดิ ตงั้ อปุ กรณท์ กุ อยา่ งเทา่ ทมี่ ใี หพ้ รอ้ มใชง้ านกอ่ นหนา้ จะเผชญิ หนา้ กบั ขา้ ศกึ ทาง สงครามอเิ ล็กทรอนกิ ส์



ภาคผนวก

เพลงชาติไทย ประเทศไทยรวมเลอื ดเนื้อชาตเิ ชือ้ ไทย เปนประชารฐั ไผทของไทยทกุ สวน อยูดาํ รงคงไวไดทง้ั มวล ดวยไทยลวนหมายรกั สามคั คี ไทยนร้ี ักสงบแตถงึ รบไมขลาด เอกราชจะไมใหใครขมข่ี สละเลอื ดทกุ หยาดเปนชาตพิ ลี เถลงิ ประเทศชาตไิ ทยทวมี ชี ยั ชโย เพลงสดุดจี อมราชา ถวายบงั คมจอมราชา พระบุญญาเกรกิ ฟาไกล ธ ทรงเปนรมโพธร์ิ มไทร ศูนยรวมใจชาวไทยสมคั รสมาน ถวายพระพรองคราชนิ ี คูบารมีองคราชนั ขอพระองคทรงเกษมสาํ ราญ งามตระการเคยี งขัตติยะไทย อุนไอจากฟาเรอื งรอง แสงทองสองมา ไพรฟาตางสดใส มหาราชา ราชนิ ี ม่ิงขวญั ปวงชนชาวไทย เทดิ ไทพระภวู ไนย ถวายใจสดดุ ี

เพลงสรรเสรญิ พระบารมี ขาวรพทุ ธเจา เอามโนและศริ ะกราน นบพระภมู บิ าล บญุ ดิเรก เอกบรมจักรนิ พระสยามินทร พระยศยงิ่ ยง เย็นศิระเพราะพระบรบิ าล ผลพระคณุ ธ รกั ษา ปวงประชาเปนสขุ ศานต ขอบันดาล ธ ประสงคใด จงสฤษดิด์ งั หวังวรหฤทยั ดจุ ถวายชยั ชโย เพลงสยามานสุ ติ หากสยามยงั อยูยัง้ ยนื ยง เราก็เหมอื นอยูคง ชพี ดวย หากสยามพนิ าศลง ไทยอยูได เราก็เหมอื นมอดมวย หมดส้นิ สกุลไทย ใครรานใครรกุ ดาวแดนไทย ไทยรบจนสดุ ใจขาดดิ้น เสียเนื้อเลือดหลง่ั ไหลยอมสละ ส้นิ แล เสยี ชีพไปเสยี สิ้น ช่อื กองเกยี รติงาม

เพลงรกั ชาติยิง่ ชพี เกิดเปนไทยเปนไทยดงั นาม เพยี บดวยความรกั ชาตยิ ิง่ ทั้งใจทงั้ กายทกุ สิ่ง อกี วาจาจรงิ ทกุ สง่ิ ไป ชาตทิ ่ีรกั ของไทย เราควรเทดิ ไวบชู า มีคุณลนเหลอื ลนคา สดุ จะพรรณนานับได เราเปนไทย ตองใจมคี วามภกั ดชิ์ าติ เราตองพลีชวี าตม สละใหชาตดิ วยความหวงั ดี มาเถดิ พงษวงศวานของไทย เรารวมใจดาํ รงคงชาตดิ วยดี รักชาติเราน้ยี งิ่ ชพี เพลงมารช นศท. เราเหลานกั ศกึ ษาวชิ าทหาร กรมการรกั ษาดนิ แดน ฝกฝนทกุ คนรูจกั ใหรักแผนดนิ ถนิ่ แควนเปนปกแผนแดนไทย ยามศึกเรารวมรบพรอมพลชี วี ัน เคียงกนั ทุกคนรวมใจ ตองเตรียมพรอมความเกรยี งไกร เลอื ดไทยยอมพลีทุกคน เราพรอมผจญผูรกุ ราน ไทยมชี าตศิ าสนามหากษัตริย เกยี รติประวตั เิ ลอื ดไทยหาวหาญ ชอ่ื ไทยอยูคูฟาท่วั กาล เรานกั ศึกษาวชิ าทหารจะรกั ษาสถาบนั เราเหลานกั ศึกษาวิชาทหาร รวมใจสามคั คกี นั เลือดไทยมใิ หไหวหว่นั รวมกันรกั ษาดนิ แดน เราหวงแหนแผนดนิ ไทย

เพลงรกั ชาติย่ิงชพี หากแผนดนิ ตองการพวกเรา เจาปาเขาจงเปนพยาน ขายอมตายดวยความกลาหาญเพื่อบานเมอื งเรา เปนกาํ ลังสาํ รอง ฝกซอมในทกุ เรอื่ งราว ไมยอทอแมจะเหนบ็ หนาวสกั เพยี งใด หากเอกราชกาํ ลังลกุ เปนไฟ จงจับมือรวมใจ สูตอไปดวยความรกั ชาติ *จะไมยอมใหใครยา่ํ ยแี ผนดินนีข้ องเราไปได ยอมเสยี เลือดเสยี เนือ้ เสียกายหากตองเสียแผนดิน จะรกั ษาแผนดนิ ของพอ ตอบแทนคณุ ทานทาํ ใหเรามกี นิ ประเทศสยามจะจาํ เรญิ ไมสน้ิ แผนดินขวานทอง (ประเทศสยามจะจาํ เรญิ ไมส้นิ ...แผนดินขวานทอง) (แรป็ 1) รด. รกั ษาดนิ แดนไมเคยขาดแคลนเร่อื งกองกาํ ลัง เกดิ มาเปนลกู ผูชายตองยอมพลกี ายไมพลาดพลง้ั เปนกองกาํ ลงั สาํ รองพวกเราคัดกรองคนขงึ ขัง รกั ษาเสยี งเกียรตยิ ศไมมีวนั หมดใหคนรุนหลงั (ญ) อาจเปนหญงิ แคเพยี งรางกาย ไมแพชายยอมตายเพื่อชาติ สํารองหญงิ ไมเคยคดิ วาหวาด เพอื่ ชาติผองไทย (ซ้าํ * (ญ)) (แรป็ 2) จงรกั ชาติย่งิ ชพี แมวากายจะวายชวี นั ไมวาจะเปนยงั ไง ก็ขอใหใจน้นั สูฟน อยูใตรมพระบารมพี ระเจาอยูหวั จอมราชันย ทําดีเถดิ อยาขเ้ี กียจ เพอื่ เทิดพระเกยี รติพระองคทาน (ซ้ํา * (ช)) (แร็ป 3) เราจะรวมสบื ทอดพระปณิธานของพอ ตามรอยศาสตรพระราชาดงั ท่ีพระองคไดสานตอ พฒั นาชาตไิ ทยใหกาวไกลโดยไมทอ สบื สานงานจติ อาสาชวยชาวประชาไมรีรอ (ซา้ํ * (ช + ญ))

เพลงรกั ชาติ ความรกั อนั ใด แมรักเทาไหน กไ็ มยง่ั ยนื เชนรักคูรกั รกั แทบจะกลืน กลบั กลายขมขืน่ ลมื ไดภายหลงั แตความรกั ชาติ รกั แสนพศิ วาส รักจนสุดกาํ ลัง กอเกิดมานะ ยอมสละชวี ัง รกั จนกระท่ัง หมดเลือดเน้ือเรา ชวี ติ รางกาย เราไมเสยี ดาย ตายแลวก็เผา ทกุ สงิ่ ยอมคลาด เวนแตชาตขิ องเรา อยาใหใครเขา เหยยี บย่าํ ทาํ ลาย เพลง รด. รนุ ใหมหัวใจ New Gen. ขาคอื นกั ศกึ ษา เสาะหาตาํ รานอกหองเรยี น ไมไดขดี เขยี น ไมไดเรยี นในอาคารหองแอร *ฉนั เรยี นกลางแดด ฉนั รอน ฉนั เหน่ือย ฉันเพลียเหลือเกนิ ฉันเดินยาํ่ ลง ยา่ํ ฝน ยํ่าบนพ้นื ดินไทย ฉันคือกองหนนุ สนับสนนุ การรบของกองทัพไทย ศกึ ษาตําราวชิ าทหาร ขาคอื นศท. ขาคอื รด. รกั ษาดินแดน ไมตองตดั หัวเกรยี น แมยงั เรียนอยู ม.ปลาย มีทง้ั หญงิ ทั้งชาย มาศกึ ษาเลาเรียน ท้งั ผูสาวสวยอกี ถึกทน ยงั พากเพียร เรียนวิชาทหาร ไดความสามคั คี

คา่ นิยมหลกั คนไทย 12 ประการ 1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษตั รยิ  2. ซอื่ สตั ย เสียสละ อดทน มีอุดมการณใ นสง่ิ ทด่ี ีงามเพ่อื สว นรวม 3. กตัญตู อ พอ แม ผูป กครอง ครบู าอาจารย 4. ใฝหาความรู หมนั่ ศึกษาเลา เรยี นทงั้ ทางตรงและทางออ ม 5. รกั ษาวัฒนธรรมประเพณไี ทยอันดงี าม 6. มศี ลี ธรรม รักษาความสัตย หวงั ดตี อผอู ืน่ เผือ่ แผแ ละแบง ปน 7. เขา ใจเรยี นรกู ารเปน ประชาธปิ ไตย อนั มพี ระมหากษตั รยิ ท รงเปน ประมขุ ทถ่ี กู ตอ ง 8. มรี ะเบยี บวนิ ัย เคารพกฎหมาย ผนู อยรจู กั การเคารพผูใหญ 9. มสี ติ รตู วั รคู ดิ รทู าํ รปู ฏบิ ตั ติ ามพระราชดาํ รสั ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา อยหู วั 10. รูจักดํารงตนอยูโดยใชหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดํารัสของ พระบาทสมเด็จพระเจา อยหู ัว รูจ ักอดออมไวใชเมอ่ื ยามจาํ เปน มไี วพ อกนิ พอใช ถา เหลอื กแ็ จกจาํ หนา ย และพรอ มทจ่ี ะขยายกจิ การเมอ่ื มคี วามพรอ มมภี มู คิ มุ กนั ท่ีดี 11. มีความเขมแข็งท้ังรางกายและจิตใจ ไมยอมแพตออํานาจฝายต่ําหรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวตอ บาปตามหลกั ของศาสนา 12. คาํ นงึ ถงึ ผลประโยชนข องสว นรวม และของชาตมิ ากกวา ผลประโยชนข องตนเอง

เขา้ คิวสรา้ งวนิ ยั สรา้ งน�้ำใจ สร้างไมตรี “รักชาติ ย่ิงชีพ” พมิ พ์ที่ ส�ำนกั งานกจิ การโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ โทร. 0 2587 3137 ต่อ 117 โทรสาร 0 2587 3137 ตอ่ 103


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook