Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Ebookเอกเทศสัญญา อจ.มาตา

Ebookเอกเทศสัญญา อจ.มาตา

Published by suweerayaamp, 2021-10-21 10:54:14

Description: Ebookเอกเทศสัญญา อจ.มาตา

Search

Read the Text Version

มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง เอกเทศสัญญา คณะนิติศาสตร์

สมาชิกใน 1.นางสาว สุดารัตน์ แสงสว่าง กลุ่ม 632081077 หน้าที่:1.หาฎีกา ข้อมูล 2.นางสาว สุวีรยา หวานสง 632081082 หน้าที่:1.ทำเพาเวอร์ พ้อยคนเดียวแปลงไฟล์เป็นอีบุ๊คเอง หาฎีกาและข้อมูล 3.นางสาว ธัญลักษณ์ มุขสง 632081097หน้าที่:หาฎีกาแลข้อมูล 4.นางสาว เยาวริน จันทร์แจ่มศรี 632081099หน้าที่:หาฎีกาแลข้อมูล 5.นายสุรชาติ ปูตีล่า 632081080หน้าที่:หาฎีกาและ ข้อมูล

สัญญาซื้อขาย แบบของสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สัญญาจะซื้อจะขายหรือคำมั่นจะซื้อจะขาย อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดซึ่งสังหาริมทรัพย์ที่ มีราคาสองหมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป

คำนำ E-book เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา เอกเทศสัญญา ชั้นปีที่2เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง แบบของสัญญาซื้อขายและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็น ประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมี ข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อม รับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ หน้า เรื่อง 17 42 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และ 67 สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ 76 สัญญาจะซื้อจะขายหรือคำมั่นจะซื้อจะขาย 80 อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดซึ่งสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาสองหมื่นบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป บทสรุป อ้างอิง

หน้าที่1 แบบของ สัญญาซื้อขาย

หน้าที่2 การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้น คู่สัญญาต้องการความคล่องตัวและอิสระ เป็นอันมาก หากมีการไปกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆ อันส่งผลให้เกิดข้อยุ่งยากก็จะ เป็นอุปสรรดในการซื้อขายระหว่างคู่สัญญา โดยเฉพาะการซื้อขายทรัพย์สินที่มีหลายช่องทางใน ปัจจุบัน ดังนั้น ในการทำสัญญาซื้อขายโดยทั่วไปนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนด \"แบบ\" ของสัญญา เอาไว้ เช่น ซื้อขนมกิน ซื้อน้ำดื่ม ซื้อเสื้อผ้าสวมใส่ ชื้อรถยนต์ เป็นต้น เมื่อฝ่ายหนึ่งเสนอซื้อ อีก ฝ่ายสนองขาย สัญญาซื้อขายก็เกิดขึ้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายก็โอนไปยังอีกฝ่ายทันที แต่อย่างไรก็ดี การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินบางอย่างบางประเภทนั้นในสายดากฎหมายมองว่า เป็นเรื่องใหญ่ จะต้องเข้ามาคุ้มครองดูสัญญาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยเฉพาะการทำสัญญา ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์พิเศษ เช่น ที่ดิน บ้าน อาคาร สัตว์พาหนะ เป็นต้น ซึ่งกฎหมายได้กำหนดเรื่องของ \"แบบ\" เอาไว้ หากไม่ทำตามแบบ สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน ดังกล่าวก็จะตกเป็นโมฆะ

แบบของนิติกรรม หมายถึง พิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้และบังคับให้ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมต้องปฏิบัติตามเพื่อความสมบูรณ์ของ นิติกรรม หากไม่ปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ โดยทั่วไปนิติกรรมไม่ต้องทำตามแบบก็มีผลใช้บังคับได้เพียงแต่แสดงเจตนาเท่านั้น แต่มีนิติกรรมบางอย่างที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบ เพราะเป็นนิติกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อรัฐหรือประชาชน โดยส่วนรวมได้ นิติกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ทำตามแบบนี้ ผู้ทำนิติกรรมจะต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ ด้วยจึงจะมีผลใช้บังคับได้ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 ว่า “การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ”

สามารถแบ่งประเภทของ”แบบ นิติกรรม” ได้5ประเภท

แบบแห่งนิติกรรม 1.ต​ ้องทำเป็นหนังสือและจด 3.ต​ ้องทำเป็นหนังสือ 4.​ต้องทำเป็นหนังสือ ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 2.ต​ ้องจดทะเบียนต่อ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ระหว่างกันเอง

5.​ต้องทำตามแบบพิเศษที่กฎหมาย กำหนดไว้ หมายความว่า นิติกรรมที่ทำขึ้นมีกฎหมายระบุแบบไว้ให้ทำ โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ทำนิติกรรมประเภทดังกล่าวจะต้องทำตาม แบบที่กฎหมายกำหนดไว้จึงจะใช้บังคับได้ เช่น การออก เช็ค เช็คจะต้องมีรายการระบุไว้ตามที่ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988 กำหนดไว้คือ มีคำบอกชื่อ ว่าเป็นเช็ค มีคำสั่งให้ใช้เงินจำนวนแน่นอนโดยปราศจาก เงื่อนไข มีชื่อหรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร มีชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ มี สถานที่ใช้เงิน มีวันและสถานที่ออกเช็ค และมีลายมือชื่อผู้ สั่งจ่าย หากผู้ใดออกเช็คโดยขาดรายการใดรายการหนึ่ง ไป เช็คนั้นก็ไม่มีผลใช้บังคับทางกฎหมาย

1.​ต้องทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ทำ นิติกรรมที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำตามแบบนี้ จะต้องทำขึ้นหรือ ตกลงกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง นิติกรรมดังกล่าว นิติกรรมนั้นจึงจะมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้น ถ้าทำเป็น ลายลักษณ์อักษรเพียงอย่างเดียวแต่ไม่นำไปจดทะเบียน ก็จะไม่มีผลใช้ บังคับแต่อย่างใด นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะเพราะทำผิดแบบ นิติกรรมที่ต้องทำตามแบบดังกล่าวได้แก่ สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ สัญญาขายฝาก สัญญาจำนอง สัญญาแลกเปลี่ยน อสังหาริมทรัพย์ สัญญาให้อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

2.ต​ ้องจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ทำนิติกรรมจะตกลงทำ นิติกรรมด้วยวาจาหรือทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ แต่จะต้องทำการ จดทะเบียนนิติกรรมที่ตกลงกันนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะมีผลใช้ บังคับได้ เช่น การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนหย่า การจด ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจด ทะเบียนบริษัทจำกัด เป็นต้น

3.ต​ ้องทำเป็นหนังสือต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ทำนิติกรรมต้องทำ นิติกรรมขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร และมิใช่ทำ ขึ้นไว้เองเท่านั้น แต่จะต้องไปทำเป็นลายลักษณ์ อักษรไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะมีผลใช้ บังคับได้ เช่น การทำพินัยกรรมแบบเอกสาร ฝ่ายเมือง การคัดค้านตั๋วแลกเงิน การขอดู เอกสารของทางราชการ เป็นต้น

4.ต้องทำเป็นหนังสือ ระหว่างกันเอง หมายความว่า ผู้ทำนิติกรรมจะต้องทำนิติกรรมเป็นลาย ลักษณ์อักษรเสมอจึงจะมีผลใช้บังคับได้ และเป็นการทำลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ทำ นิติกรรมกันเองโดยไม่ต้องนำไปจดทะเบียนแต่อย่างใด เช่น การทำหนังสือรับสภาพหนี้ การทำสัญญาเช่าซื้อ การ โอนหนี้ การทำพินัยกรรมแบบธรรมดาและแบบเขียนเองทั้งฉบับ เป็นต้น

ข้อสังเกต ทำเป็นหนังสือไม่ เท่ากับมีหลัก ฐานเป็นหนังสือ

1.สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ มาตรา 456 มาตรา456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้า มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึง ซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อ ขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

มาตรา 456วรรคแรกสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นสัญญาจะตกเป็นโมฆะ

1.ต้องทำเป็น หนังสือ นิติกรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ลง ลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ไม่มี บทบัญญัติใดระบุว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายจะต้องลงชื่อในวันทำ สัญญานั้น ต้องมีการลงลายมือชื่อ ของทั้งฝ่ายผู้ซื้อและฝ่ายผู้ ขาย

สำหรับลักษณะและรูปแบบของ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ การใช้ปากกา บนแป้นที่ชื่อต่อกับเครื่อง การใช้ลักษณะ การใช้รหัสประจำตัว อิเล็กทรอนิกส์เขียน คอมพิวเตอร์หรือไฟล์เอกสารที่ ทางชีวภาพของบุคคลมา บัตรอัจฉริยะหรือสมาร์ทการ์ด ลายมือชื่อลงบน แปลงเป็นข้อมูล คอมพิวเตอร์ ทำขึ้น อิเล็กทรอนิกส์

2.การจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ การจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินอันเป็นวัตถุ แห่งสัญญาซื้อขายนั้นคืออะไร เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับจดทะเบียนนั้นก็มีความแตกต่าง กัน เช่น….

1.อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน หากเป็นที่ดินที่มีโฉนดนั้นก็จะต้องไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงาน ที่ดินสาขานั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497

2.แพ หากเป็นการซื้อขายแพก็จะต้องไปจด ทะเบียนต่อนายอำเภอตามพระราช บัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457

3.เรือ หากเป็นการซื้อขายเรือ ก็ต้องจดทะเบียนต่อนายอำเภอและปฏิบัติตามพ ระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และ พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 แต่หากเป็นเรือตามพระราชบัญญัติเรือ ไทย พ.ศ. 2481 ก็จะต้องจดทะเบียนที่เมืองท่าขึ้น ทะเบียนของเรือ

4.สัตว์พาหนะ หากเป็นสัตว์พาหนะก็จะต้อง จดทะเบียนกับนายทะเบียนที่ที่สัตว์นั้นอยู่โดยมีนายอำเภอเป็น นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติ สัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 เป็นต้น

1.อสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดิน และทรัพย์ อันติดอยู่กับที่ดิน มีลักษณะเป็นการถาวร หรือ ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และ ยังหมายรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ ที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือ ประกอบเป็นส่วนเดียวกับที่ดินนั้นด้วย (ประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139) จากประมวลแพ่งฯ มาตรา 139 เราจะเห็น ได้ว่าคำว่า “อสังหาริมทรัพย์” ตาม กฎหมาย ได้แก่

โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ คำว่า “ที่ดิน” นอกจากที่เราเข้าใจโดยทั่วๆ 3.ทรัพย์อันประกอบเป็นอัน 4.ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ไปกันแล้วว่าคือ พื้นดินที่เราเห็นๆ กันอยู่ เดียวกันกับที่ดินนั้น เช่น กรวด กรรมสิทธิ์, สิทธิครอบครอง, ภาระจำยอม, สิทธิ ทุกวี่วัน แต่จะหมายรวมถึงเฉพาะพื้นดินที่ หิน ดิน ทราย น้ำ แร่ธาตุต่างๆ อาศัย, สิทธิเหนือพื้นดิน, สิทธิเก็บกิน, ภาระติดพัน เราใช้ประโยชน์ต่างๆ บนพื้นผิวโลก หรือ 2.ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะ บนที่ดินนั้นๆ ในอสังหาริมทรัพย์ จะรวมไปถึงเหนือผิวโลก (ท้องฟ้าเหนือ เป็นการถาวรเช่นอาคาร บ้านเรือน ที่ดินเรา) และใต้โลก (ใต้ดิน) ด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1860/2539 การซื้อขายที่งอกซึ่งงอกมาจากที่ดินอันมีกรรมสิทธิ์นั้น เป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อทั้งคู่ทำสัญญาซื้อขายกันเอง ไม่ได้ทำตามแบบ สัญญา ซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ (คำพิพากษา ฎีกาที่ 4062/2535 ได้วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน)

ข้อควรจำ หากเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แต่ต้องรื้อ และสำคัญ ถอน หรือขนย้ายเอาไปนั้น สัญญา มาก ซื้อขายก็ไม่จำต้องทำตามแบบ ดังนั้น การซื้อขายบ้านเรือนอันจะต้องรื้อถอนออก ไปไม่จำต้อง จดทะเบียนตามกฎหมาย กล่าวคือ ไม่จำต้องทำ สัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายก็สมบูรณ์

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ดิน

ระบบกฎหมายที่ดินของไทยนั้น แบ่งประเภทที่ดินซึ่ง เอกชนสามารถมีสิทธิที่จะเป็น เจ้าของได้ 2 ประเภท คือ 1. ที่ดินมีโฉนดู และ 2. ที่ดินไม่มี โฉนด ซึ่งที่ดินมีโฉนดนั้นถือเป็นที่ดิน ประเภทเดียวที่สามารถมีทรัพยสิทธิที่ชื่อว่ากรรมสิทธิ์ ใครเป็นเจ้าของที่ดินนั้นย่อมเป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ ส่วนที่ดินที่ไม่มีโฉนดเรียกกันว่าที่ดินมือเปล่า ซึ่งอาจมีการออกเอกสารสิทธิทาง ทะเบียน แต่เอกสารสิทธินั้นจะต้องไม่ใช่โฉนด ใครเป็นผู้ ครอบครองที่ดินมือเปล่านี้ไม่มีกรรมสิทธิ์ มีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น

ข้อสังเกต สำหรับที่ดินที่มือเปล่านั้น ด้วยเหตุเพราะเจ้าของที่ดินมือเปล่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น แต่อย่างใด จะมีก็เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น (การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้นย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ ครอบครอง) ซึ่งการซื้อขายที่ดินมือเปล่านั้นสามารถทำได้โดยการโอนสิทธิดรอบ ครองให้แก่ผู้ซื้อตามมาตรา 1377-1380 ดังนั้น การซื้อขายที่ดินมีอเปล่าด้วยการส่งมอบที่ดิน มือเปล่าให้แก่กันนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็สมบูรณ์ตามกุฎหมาย การถือที่ดินมือเปล่าย่อมได้มาซึ่งสิทธิครอบครองอันอาจมอบโอนให้ แก่กันได้และผู้รับโอนย่อมได้สิทธิครอบครองยันบุคคลอื่นได้

คำพิพากษา ฎีกา การที่ บ. ได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็น ที่ดินมือเปล่าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว จึงเป็นการโอนสิทธิ ครอบครองที่ดินให้แก่ผู้ซื้อโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่1212/2536 ไม่จำต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น ซื้อขายที่ดิน มือเปล่า ถ้าได้ส่งมอบที่ให้ผู้ซื้อครอบครองแล้ว ผู้ ขายย่อมหมดสิทธิในที่นั้น และผู้ซื้อได้สิทธิ ครอบครอง ผู้ขายจะฟ้องเรียกที่ดินคืนไม่ได้ (คำ พิพากษาฎีกาที่ 3196/2543 ได้วินิจฉัยใน ทำนองเดียวกัน)

2.สังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษ มีราย ละเอียดดังนี้

1.เรือ เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป (เรือที่มีระวาง ตั้งแต่ 5 ตันกรอสอันเป็นขนาดของระวาง เรือที่คำนวณได้ตามกฎข้อบังคับสำหรับการ ตรวจเรือ โดย 1 ตันกรอสเท่ากับ 2.83 ลูกบาศ ก็เมตร หรือ 100 ลูกบาศก์ฟุต) ไม่ว่าจะเป็นเรือยนต์ หรือเรือกลไฟ หากมีระวางตั้งแต่ 5 ต้นขึ้นไป การ ซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

2.แพ หมายถึง เรือนแพอันเป็นที่อยู่อาศัย ของคน หากซื้อขายกันจะต้องทำเป็น หนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่หากเป็นแพไม้ไผ่ แพซุง แพที่ใช้ใน การดูดและดำแร่ หรือแพขนานยานยนต์ไม่ถือว่าอยู่ใน นิยามความหมายตามมาตรานี้'

3.สัตว์พาหนะ ' 3. สัตว์พาหนะ สำหรับสัตว์พาหนะนั้นจะต้อง พิจารณาตามบทนิยามในพระราชบัญญัติ สัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 ซึ่งหมายถึง สัตว์ที่ใช้ใน การขับขี่ ลากเข็น และบรรทุก ได้แก่ ช้าง โค กระบือ สอ ลาซึ่งได้ทำตั๋วรูปพรรณตามที่ กฎหมายบังคับไว้

คำพิพากษา จำเลยได้ขายกระบือให้แท่ผู้ ฎีกา เสียหายไปแล้ว แต่ยังไม่จด นตามพระราชบัญญัติสัตว์ ที่303/2503 พาหนะ พ.ศ. 2482 มาตรา 14 การซื้อขายกระบือจึงตก เป็นโมฆะ

คำพิพากษา แม่ม้าเป็นม้าแข่ง แสดงว่าได้ใช้งานแล้วจึงอยู่ใน ฎีกา ที่ต้องให้ทำตั๋วรูปพรรณตามพระราชบัญญัติสัตว์พา ที่1539/2526หนะฯ และเป็นสัตว์พาหนะตกอยู่ภายใต้บังคับ ของมาตรา 456 แม้จะซื้อแม่ม้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ไม่ได้ซื้อ เพื่อเอาไปใช้ในการขับขี่หรือลากเซ็น ก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนการ ซื้อขายต่อเจ้าพนักงาน

ข้อควรระวัง อย่างไรก็ดี หากไม่ใช่สัตว์พาหนะตามคำนิยามของพระราช บัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 ก็ไม่จำต้องทำตามแบบของกฎหมาย เช่น ซื้อกระบืออายุ ประมาณ 5 ปี ซึ่งยังไม่ได้ทำตั๋ว รูปพรรณเพื่อส่งไปทำเนื้อกระป้อง กระบือดังกล่าวไม่อยู่ในบัง ดับต้องนำไปจดทะเบียนทำตั๋วรูป พรรณตามมาตรา 8 (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติสัตว์ พาหนะฯ ดังนั้น การซื้อขายกระบือ เพื่อส่งไปทำเนื้อกระป้องหรือซื้อกระบือเพื่นำไปฆ่าทำลูกชิ้นที่ โรงงาน ไม่ถือเป็นการซื้อขายสัตว์ พาหนะ จึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนตามมาตรา 456

สรุปสำคัญมาก การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์พิเศษชอบ ด้วย กฎหมาย กล่าวคือ มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายก็ สมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายย่อม โอนไปยังผู้ซื้อในทันทีเมื่อได้ ทำสัญญากันตามมาตรา 458 ไม่จำต้องพิจารณาเรื่องการส่งมอบ หรือการชำระราคากันแต่อย่างใด เช่น เมื่อคู่สัญญาได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การ ซื้อขายที่ดินย่อมเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายย่อมโอนไป ยังผู้ซื้อทันทีเมื่อได้ทำสัญญา กันดามมาดรา 458 การชำระราคาทรัพย์สินที่ขายเป็นเพียงข้อ กำหนดของสัญญาเท่านั้น หาใช่ สาระสำคัญที่จะทำให้สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด'

2. สัญญาจะซื้อจะ ขาย หรือคำมั่นจะ ซื้อจะขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิด พิเศษ

สำหรับสัญญาจะซื้อจะขาย หรือดำมั่นจะซื้อจะขาย อสังหาริมทรัพย์หรือ สังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษนั้น มาตรา 456 วรรรคสอง

วรรคสอง สัญญาจะขายหรือ จะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขาย ทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรค หนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็น หนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลง ลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด เป็นสำคัญ หรือได้วางประจำ ไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วน แล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดี หาได้ไม่

เมื่อพิจารณาบทมาตรา 456 วรรดสอง แล้วจะเห็นได้ว่า หาก เป็นการทำสัญญาจะซื้อ ะขาย หรือคำมั่นจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น กฎหม นตในเรื่องของ \"แบบ\"เอาไว้แต่อย่างใด คู่สัญญาจึงไม่จำต้อง ไปทำเป็นหนังสื อพนักงานเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ดี หากจะต้องมีการฟ้องร้อง บังดับคดีกันตาม ขาย หรือคำมั่นจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น จะต้อ เป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ้ายผู้ต้องรับผิด เป็นสำคัญ 2. ได้วาง หรือ 3. ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว มิเช่นนั้นจะไม่สามารถฟ้อง ร้องบังดับคดีกันได้ มีรายละเอียดดังนี้

การฟ้องร้องบังดับคดีกันตาม ขาย หรือคำมั่นจะซื้อจะขาย อสังหาริมทรัพย์หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่าง ใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็น สำคัญ หลักฐานเป็นหนังสือ (Written evidence) หมายถึง หนังสือฉบับเดียวหรือหลายฉบั ที่ทำกันเป็นลายลักษณ์อักษรในทำนองว่าได้มีการทำสัญญาขึ้นแล้วจริงๆ นอกจากนั้น จะต้อง มีการลงลายมือชื่อของฝ้ายที่ต้องรับผิดก็ใช้ได้แล้ว หรือจะลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายก็ได้ ไม่มี อนึ่ง ฝ่ายที่ต้องรับผิดนั้นคือฝ่ายที่จะถูกฟ้องร้องบังคับคดีให้ต้องปฏิบัติตามสัญญา จะ เป็นฝ่ายผู้ซื้อหรือฝ่ายผู้ขายก็ได้

ตัวอย่าง นาย ก. เขียนจดหมายลงลายมือชื่อของตนไปยังนาย ข. เพื่อตอบรับคำเสนอขายพระเครื่องหลวงปู่ทวดของนาย ข. ในราคา 1,000,000 บาท ดังนี้ หากต่อมานาย ก. ผู้ซื้อไม่ ชำระในที่ราคา นาย ข. ผู้ขายก็สามารถนำเอาจดหมาย (หลักฐานเป็นหนังสือ) ที่ลงลายมือชื่อของนาย ก.(ผู้ต้องรับ ผิด) ไปฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานเป็น หนังสือ คือ หนังสือที่แสดงความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อ ในหนังสือหรือเอกสารนั้น (ผู้ใดลงชื่อ ผู้นั้นรับผิด) งนี้ ทั้งนี้ ความประสงค์ของกฎหมายที่ต้องมีหลักฐานเป็น หนังสือนั้น ก็เพียงเพื่อความมั่นคงแน่นอนเท่านั้น กฎหมาย ไม่ได้บังดับไว้ว่าต้องเขียนหรือทำในรูปหรือแบบอย่างใด หากกรณีมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดปรากฏ แจ้งชัดพอรับฟังได้ ศาลย่อมบังคับตามหลักฐานนั้นๆ ได้\"

คำพิพากษาฎีกาที่ 1505/2518 การที่จำเลยลงลายมือชื่อผู้ขอขายที่ดิน น.ส.3 ยื่นต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ (อำเภอ) เป็นหลักฐานแห่ง สัญญาจะขายที่ดินอยู่ในตัว

กฎหมายต้องการเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดในการ ฟ้องร้องบังคับคดี ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือนั้นอาจเป็นเอกสารอะไรก็ได้ที่เป็นลายลักษณ์ จำต้องมีพยานลงลายมือชื่อ โดยไม่จำต้องทำในรูปแบบของสัญญาแต่อย่างใด อาจเป็น จดหมาย ดังนั้น รายงานการประชุม บันทึกประจำวัน หรือใบบันทึกข้อตวามก็ได้ ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือนั้นไม่ จำาเป็นต้องมีอยู่ในขณะทำสัญญาได้ แต่จะต้องมีอยู่ในขณะฟ้องบังคับคดี ทั้งนี้ การ ชื่อให้พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า \"เมื่อมีกิจการ อันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุดคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แ หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น...\" กล่าวคือ จะเขียนชื่อเล่น ชื่อจริง ลายมือสวย หรือ ไม่สวย ไม่ว่าจะเขียนภาษาไทยหรือภาษาใดก็ย่อมใช้เป็นลายมือชื่อตามกฎหมายได้ อนึง หาก บุคคลนั้นเขียนหนังสือไม่ได้ ก็อาจใช้วิธีพิมพ์เป็นลายพิมพ์นิ้วมือ ลงแกงได้ หรือเครื่องหมายอื่น ก็ได้โดยมีพยานรับรองสองคน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook