Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีกับจิตรกรมมไทย

ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีกับจิตรกรมมไทย

Published by Guset User, 2021-12-27 18:07:31

Description: ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีกับจิตรกรมมไทย

Search

Read the Text Version

ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีกับจิตรกรมมไทย

1.ความหมายของประติมากรรม ประติมากรรม หมายถึง งานศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อการชื่นชม ในคุณค่าทางศิลปะเป็นสำคัญมีการแสดงออกด้วยปริมาตร เป็นรูปทรง 3 มิติ มีความกว้าง ความยาวหรือความลึก ความสูง ซึ่งกิน ระหว่างพื้นที่ในอากาศ สร้างโดยกรรมวิธีต่างๆ สามารถชื่นชมรับรู้ด้วย การมองเห็นทางสายตา ซึ่งเรียกว่าทัศนศิลป์ ประติมากรรม คือ ศิลปะประเภทหนึ่งในสาขาทัศนศิลป์ มีรูปทรง เป็น 3 มิติ ทำขึ้นด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น ดินเหนียว ไม้ หิน โลหะ โดย กรรมวิธีต่างๆ เป็นรูปคน รูปสัตว์ ลวดลาย หรือรูปทรงนามธรรม (ราชบัณฑิตยสถาน,2550: 509) 2.ประเภทของประติมากรรม ด้วยประติมากรรมเป็ นศิลปะที่ว่าด้วยเรื่ องของปริมาตรที่กินพื้ นที่ใน อากาศ ดังนั้นการจำแนกประเภทของประติมากรรมจึงใช้ปริมาตรและ ลักษณะ การกินพื้นที่ในอากาศเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ทั้งนี้ พยูร โมสิกรัตน์ (2548:135 –136) ได้จำแนกประเภทของประติมากรรมออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.1ประติมากรรมร่องลึก (Incised Relief Sculpture) หมายถึงประติมากรรมที่เกิดจากก ารใช้เครื่องมือแกะ 2.2ประติมากรรมรูปนูน (Relief Sculpture) หมายถึง ประติมากรรม ที่สร้างปริมาตรและลักษณะการกินพื้นที่ในอากาศด้วยระดับและ ลักษณะความสูงต่างหรือความนูนของ พื้นผิวงาน 2.3ประติมากรรมลอยตั ว (RoundReliefSculpture) หมายถึง ประติมากรรมที่ชิ้นงานตั้งอยู่โดยอิสระ ไม่มีส่วนหนึ่ง ส่วนใดติดกับพื้นหลัง

3.รูปแบบทางประติมากรรม รูปแบบของประติมากรรม หรือรูปแบบทางศิลปะ (Art Form) หมายถึง ผลรวมจากการผสานรวมตัวกันของส่วนประกอบทางศิลปะ 3.1แบบเหมือนจริง (Realistic) หมายถึง ประติมากรรมที่แสดงรูป ลักษณะของคน สัตว์ สิ่งอื่นๆ 3.2 แบบนามธรรม (Abstract) หมายถึง ประติมากรรมที่ สร้างสรรค์ขึ้นโดยการคลี่คลายและตัดทอนรูปทรงให้ผิดแผกไปจาก รูปทรงธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง 3.3 แบบกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) หมายถึง ศิลปะที่มีการตัด ทอนรูปทรงบางส่วนออกไปจากความเป็ นจริง 4.กรรมวิธีทางประติ มากรรม​ กรรมวิธีทางประติมากรรม หมายถึง วิธีการที่ประติมากร ใช้ในการสร้างผลงานเพื่อให้เกิดรูปทรง 4.1 การปั้น (Modeling) หมายถึง วิธีการสร้างรูปทรง ซึ่งเป็ นวิธีในลักษณะบวก 4.2 การหล่อ (Casting) เป็นกระบวนการสร้างงานประติมากรรม ที่กระทำต่อเนื่ องจากการปั้ นหรือถอดพิมพ์จากงานที่สร้างขึ้ นจาก กรรมวิธีอื่นๆ ที่สำเร็จแล้ว 4.3 การแกะสลัก (Carving) หมายถึง วิธีการสร้างรูปทรง โดยการใช้เครื่องมือกระทำลงบนวัสดุ 4.4 การสลักดุน คือ การใช้เครื่องมือตอกดุนโลหะให้นูนเป็นรูปและ ลวดลายตามต้องการ และแกะหรือสลักให้เป็นเส้น 4.5 การประกอบวัสดุ หมายถึง วิธีการสร้างรูปทรงโดยการใช้ วัสดุต่างๆ หรือวัตถุสำเร็จรูปมาประกอบให้เกิดรูปทรงตาม ที่ต้องการด้วยวิธีการปะติด

5.บทบาทความสำคัญและ ประโยชน์ของประติมากรรม 5.1 บทบาทของประติมากรรมมีความต่างกันตามลักษณะการ ใช้สอยจำแนกได้ 4 ลักษณะ ดังนี้ (1) ประติมากรรมรูปเคารพ ได้แก่ ประติมากรรมที่สร้างขึ้นสำหรับ เคารพบูชาตามความเชื่อ ความศรัทธาของศาสนิกชน (2) ประติมากรรมรูปตัวแทน ได้แก่ ประติมากรรมรูปเปรียบหรือ รูปเหมือนบุคคลรูปเปรียบ คือ รูปสมมติเป็นบุคคลใดๆ (3) ประติมากรรมตกแต่ง คือ บรรดารูปและลวดลายทั้งหลายที่ทำ ขึ้นตามกระบวนการวิธีของประติมากรรมเพื่อประดับตกแต่งสวน และบริเวณบ้าน (4) ประติมากรรมรูปสาธิตและเล่าเรื่อง คือ ประติมากรรมที่สร้าง ขึ้นเพื่อแสดงเรื่องราวหรือวิธีปฏิบัติ 5.2ความสำคัญและประโยชน์ของประติมากรรม (1) เพื่อส่งเสริมลัทธิความเชื่อศาสนาและความเคารพและศรัทธา (2) เพื่อส่งเสริมอ านาจและบารมีของผู้ปกครอง (3) เพื่อยกระดับจิตใจและรสนิยม จุดหมายปลายทางของมนุษย์ใน การดำรงชีวิตประการหนึ่ งคือการ ปลดปล่อยให้พ้นจากสัญชาตญาณป่ าเถื่ อนไปสู่สภาวะอุดมคติ (4) เพื่อแก้ปัญหาที่ว่าง ในการสร้างสถาปัตยกรรมมักจะมีพื้นที่เหลือ อยู่มาก ทั้งส่วนที่เป็นอาคารอยู่ อาศัยและส่วนที่เป็ นที่ว่างโดยรอบอาคาร น.ส.ศศิกานต์ รัชตารมย์ ม.4/7 เลขที่13


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook