Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การดูแลและพัฒนาเด็ก วัย 3-6 ปี

การดูแลและพัฒนาเด็ก วัย 3-6 ปี

Published by kasma_55, 2020-10-06 00:24:06

Description: การดูแลและพัฒนาเด็ก วัย 3-6 ปี

Search

Read the Text Version

คูม ือสําหรับพอแม เพือ่ เผยแพรค วามรูดานการดูแลและพัฒนาเดก็ ตอน เดก็ วยั อนบุ าล 3-6 ป 1

คู่มอื สำ� หรบั พ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ดา้ นการดแู ลและพฒั นาเดก็ ตอน เด็กวัยอนบุ าล 3-6 ปี ทีมบรรณาธกิ าร เมอื งนอ้ ย พญ.สุธาทพิ ย์ เอมเปรมศิลป์ โรจน์มหามงคล ศ.คลินกิ พญ.วินัดดา ปยิ ะศิลป์ ผศ.พญ.ปราณี ชื่นสุวรรณ พญ.พัฏ รศ.พญ.อิสราภา คณะอนุกรรมการ Child Health Supervision ทะรกั ษา รศ.พญ.ประสบศร ี อึง้ ถาวร พญ.จรยิ า ช่นื สวุ รรณ พญ.วันดี นิงสานนท์ ผศ.พญ.อสิ ราภา ณศี ะนนั ท์ ศ.คลนิ ิก พญ.วินัดดา ปยิ ะศิลป์ พญ.นยั นา เฟ่ืองฟู รศ.พญ.จันท์ฑติ า พฤกษานานนท์ พญ.อดศิ ร์สดุ า มานะบริบูรณ์ รศ.นพ.อดิศักด์ ิ ผลิตผลการพิมพ์ รศ.พญ.บุญยง่ิ เอมเปรมศลิ ป์ รศ.นพ.พงษศ์ กั ด ิ์ นอ้ ยพยัคฆ์ พญ.สธุ าทพิ ย ์ ปรู านธิ ิ ผศ.(พเิ ศษ)นพ.เทอดพงศ ์ เต็มภาคย์ พญ.ปองทอง ISBN จดั พมิ พ์โดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แหง่ ประเทศไทย สมาคมกมุ ารแพทยแ์ หง่ ประเทศไทย ช้ัน 9 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วจิ ัย ถนนเพชรบรุ ตี ดั ใหม่ เขตห้วยขวาง กรงุ เทพฯ10310 โทร. 0-2716-6200-1 โทรสาร 0-2716-6202 E-mail: [email protected] http://www.thaipediatrics.org ลิขสทิ ธข์ิ องราชวทิ ยาลัยกุมารแพทย์แหง่ ประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทยแ์ หง่ ประเทศไทย ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของสำ� นักหอสมดุ แหง่ ชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data 2

สารจากประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แห่งประเทศไทย ดว้ ยเทคโนโลยกี ารสอ่ื สารทล่ี ำ�้ สมยั ในปจั จบุ นั ทำ� ใหพ้ อ่ แมม่ อื ใหมส่ ามารถรบั รขู้ อ้ มลู ขา่ วสารตา่ ง ๆ จากส่ือต่าง ๆ ทางมอื ถือไดอ้ ย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ขอ้ มลู เหลา่ นี้อาจจะไมไ่ ด้รบั การกล่ันกรอง ซึ่งเมื่อน�ำไปใช้ในการเลยี้ งลูกอาจจะไมเ่ หมาะสมกับลูกของตนเอง หนงั สอื เลม่ นไี้ ดร้ วบรวมความรแู้ ละหลกั เกณฑใ์ นการเลยี้ งลกู ในวยั ตา่ ง ๆ เพอ่ื ใหพ้ อ่ แมไ่ ดร้ บั มอื กับอารมณ์และพัฒนาการของลูกในแต่ละวัย ทั้งน้ีเพ่ือความเหมาะสมแก่ลูกในวัยนั้น อีกท้ังการวาง แนวทางแกไ้ ขปญั หาตา่ ง ๆ ท่ีอาจจะเกดิ ขึ้น หนงั สอื เลม่ นจี้ งึ ใหห้ ลกั เกณฑต์ า่ ง ๆ ในการเลย้ี งลกู ทค่ี รบถว้ นแตก่ ารเลยี้ งลกู ยงั ตอ้ งอาศยั ความ รัก ความใกลช้ ิด ความเอาใจใส่ และความต่อเนอื่ งต้ังแตเ่ ล็กจนโต เพือ่ ทจ่ี ะได้ผู้ใหญค่ นหนึ่งทีส่ มบูรณ์ ทกุ ๆ ดา้ นในยคุ 4G น้ี (ศาสตราจารยน์ ายแพทยพ์ ภิ พ จิรภญิ โญ) ประธานราชวทิ ยาลยั กมุ ารแพทย์แหง่ ประเทศไทย นายกสมาคมกมุ ารแพทยแ์ หง่ ประเทศไทย 3

บทนำ� ใครๆก็มักพูดวา่ เด็ก คอื อนาคตของชาติ แต่คนท่มี คี วามรทู้ ี่แทจ้ รงิ ในการพฒั นาเดก็ จนท�ำให้ เดก็ เตบิ โตไดอ้ ยา่ งเตม็ ที่ พฒั นาความรคู้ วามสามารถ จนทำ� ประประโยชนต์ อ่ ตนเองและผอู้ น่ื ไดก้ ลบั มไี มม่ าก สงั คมในปจั จบุ นั พบปญั หาเดก็ ไทยมปี รมิ าณสงู ขนึ้ ชดั เจน ทงั้ ๆทป่ี รมิ าณเดก็ ไทยมปี รมิ าณลดลง และสาเหตุหลักมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม หน้าท่ีหลักของกุมารแพทย์นอกจากให้การรักษาดูแล ขณะเจ็บป่วยแล้ว กุมารแพทย์พึงต้องให้ค�ำแนะน�ำครอบครัวในแต่ละช่วงวัยเพื่อเป็นหลักในการเลี้ยงดู พัฒนาเดก็ เราให้เติบโตอยา่ งถกู ทิศทาง เปน็ กำ� ลังส�ำคญั ของครอบครัว เป็นคนดีของสงั คมและประเทศ ชาตติ อ่ ไป แตข่ ณะเดยี วกนั พอ่ แมซ่ งึ่ เปน็ ผทู้ ม่ี คี วามสำ� คญั อยา่ งสงู ตอ่ การสง่ เสรมิ เลยี้ งดู พฒั นาเดก็ รอบดา้ น และใหโ้ อกาสมีประสบการณช์ ีวติ ในด้านตา่ งๆตลอดช่วง 15 ปแี รกของชวี ติ จำ� เปน็ ต้องค้นคว้าหาความ รู้เพื่อนำ� ไปใช้ในการเล้ยี งดแู ละพฒั นาเด็กต่อไป ในการทำ� งานนี้ ตอ้ งขอขอบคณุ ทมี บรรณาธกิ ารทกุ ชว่ งวยั ทกุ ทา่ นทเี่ สยี สละเวลาอนั มคี า่ รวบรวม ความรู้ท่ีทันสมัย ข้อมูลส�ำคัญ เรียบเรียงจนผู้ที่ต้ังใจอ่านจะเข้าใจได้ง่าย ท้ังนี้เพ่ือประโยชน์ที่มีต่อเด็ก ต่อพ่อแม่ ต่อผู้ท่ีท�ำงานเก่ียวข้องกับเด็กทุกภาคส่วน ท่ีส�ำคัญ คือ ประโยชน์ที่จะมีต่อสังคม และต่อ ประเทศชาตขิ องเรา (ศ.คลินกิ พญ.วินดั ดา ปยิ ะศิลป)์ ประธานวชิ าการ ราชวทิ ยาลัยกุมารแพทยแ์ หง่ ประเทศไทย 4

สารบญั สารจากประธานราชวิทยาลยั กมุ ารแพทยแ์ ห่งประเทศไทย หนา้ บทนำ� 3 4 บทท่ี 1 ความสาคัญของชว่ งวัย 3-6 ปี 7 สขุ ภาวะเด็กวยั อนบุ าลยคุ ปัจจุบัน ก�ำหนดการดแู ลสขุ ภาพเดก็ ไทย 8 10 บทที่ 2 การเจรญิ เตบิ โต และพฒั นาการ 11 ดา้ นรา่ งกาย 11 ด้านความคดิ การเรียนร้ ู 11 ดา้ นการพูดและการสอื่ สาร 12 ตารางพฒั นาการในเด็กราชวทิ ยาลยั กมุ ารแพทย์แหง่ ประเทศไทย พ.ศ.2557 13 ดา้ นอารมณ์ 14 ดา้ นสงั คม 14 ดา้ นจรยิ ธรรม 16 พัฒนาการทางเพศ 18 บทที่ 3 การส่งเสรมิ สุขภาพ 19 อาหาร 19 การออกกาลงั กาย 25 การดูแลสุขภาพช่องปากและฟนั 26 วคั ซนี 26 ตารางการฉีดวัคซีน มาตรฐานราชวิทยาลยั กุมารแพทย์ พ.ศ.2560 27 การป้องกันอบุ ัติเหตุอันตราย 29 5

บทที่ 4 เทคนคิ การเลย้ี งดูและพัฒนาทกั ษะสาคัญ หนา้ หลกั การสร้างพฤตกิ รรมทีต่ อ้ งการ 31 ฝึกลกู ใหใ้ ช้ชีวติ ในโรงเรียนอนุบาล เตรียมความพร้อมกอ่ นเข้าระดับประถมศึกษา 31 พัฒนาดา้ นอารมณ์ (EQ) 32 ฝึกให้มนั่ ใจตวั เอง 33 การเตรยี มความพรอ้ มในการอ่านเขยี น 34 การฝกึ ระเบียบวินัย 43 44 บทที่ 5 ปญั หาทพี่ บบอ่ ย 47 รับประทานอาหารไม่เหมาะสม 53 พูดชา้ และปญั หาการส่ือสาร กา้ วร้าว 54 ปรับตวั ยาก เข้ากบั เพอ่ื นยาก 56 เดก็ ทถ่ี กู เร่งรดั 57 เด็กกลุ่มเสยี่ งตอ่ ปญั หาการเรียน 59 เดก็ วยั อนุบาลกับสือ่ จอภาพ 61 62 เอกสารอา้ งอิง 64 66 6

ความสำ� คัญของชว่ งวยั อนบุ าล 3 - 6 ปี บทที่ 1 ความสำ� คัญของชว่ งวยั อนุบาล 3 - 6 ปี เด็กวัย 3-6 ปี หรอื เรียกว่าเดก็ วัยกอ่ นเรียน หรือวยั อนบุ าล (preschool) เปน็ วยั ท่สี �ำคญั ระยะ หน่ึงของชีวิต เพราะเป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีพัฒนาการหลายด้านก้าวหน้าข้ึน ท้ังด้านความคิด ภาษา การ สือ่ สาร ดา้ นกล้ามเน้ือ การเคล่ือนไหว และการชว่ ยเหลือตนเอง ท�ำให้เด็กพ่งึ พาตนเองไดอ้ ยา่ งแทจ้ รงิ ซ่ึงเป็นรากฐานส�ำคัญของคนที่จะมีชีวิตอิสระ เป็นตัวของตัวเองเพ่ิมขึ้น นอกจากน้ียังเป็นวัยที่เด็กเริ่ม จากครอบครัวไปสโู่ รงเรียนอนุบาล หรอื ศูนยเ์ ดก็ เลก็ ได้เรียนรกู้ ารอยรู่ ว่ มกับผ้อู ืน่ และใชช้ วี ติ ภายนอก บ้านมากข้ึน แตใ่ นขณะเดียวกัน หากเดก็ วยั นไี้ มไ่ ด้รบั การสง่ เสริมทกั ษะท่ีจ�ำเปน็ ตามชว่ งวยั อาจจะเปน็ จดุ ต้ังตน้ ของปัญหาต่อไปในอนาคต ความรักและความผูกพนั การใหค้ วามรัก ความอบอ่นุ และความม่ันคงทางจติ ใจแก่เด็กอย่างสมำ่� เสมอ ตลอดเวลาท่พี ่อแม่ ลกู อยดู่ ว้ ยกนั จะทำ� ใหเ้ ดก็ รสู้ กึ วา่ ตวั เขามคี ณุ คา่ ทำ� ใหเ้ ขามคี วามมน่ั ใจในตนเอง มองโลกในแงด่ ี มอี ารมณ์ แจม่ ใส เข้าใจความร้สู ึกของผอู้ ่ืน สามารถสรา้ งสัมพนั ธภาพ และทำ� งานร่วมกบั ผอู้ น่ื ได้ดี ควบคุมอารมณ์ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม และมคี วามเหน็ อกเหน็ ใจผอู้ นื่ ซงึ่ เปน็ พน้ื ฐานทสี่ ำ� คญั ในการพฒั นาคณุ ธรรมในตวั เดก็ ตอ่ ไป พ่อแมท่ ี่เล้ยี งลกู ด้วยตนเอง มคี วามไวต่อความตอ้ งการ และการแสดงออกของลกู มปี ฏิสมั พันธ์ ท่ดี แี ละแสดงความรกั ต่อลกู อยา่ งสมำ่� เสมอ โดยการกอด อุม้ สมั ผสั พูดคุย ชนื่ ชม และเล่นกับลูก ใน บรรยากาศครอบครัวทอ่ี บอุ่น ปราศจากความรุนแรง จะชว่ ยส่งเสริมใหเ้ กดิ ความรกั ความผกู พันทีม่ ่ันคง ระหวา่ ง พ่อแม่-ลกู บคุ ลิกภาพของพอ่ แม่ทอ่ี บอุ่น เยอื กเยน็ อารมณด์ ี เปน็ มิตร ย้มิ แยม้ แจม่ ใส ปรบั ตวั งา่ ย สงั คมดี ไมม่ ีปัญหาทางจิตใจ คอื ไมข่ ีก้ งั วล หรือมอี ารมณซ์ มึ เศรา้ จะเลยี้ งดลู ูกใหเ้ กิดความรัก ความผูกพันได้ง่าย ในทางตรงขา้ ม พ่อแมท่ เ่ี ครียด เศร้าโศก วิตกกงั วล จะไมส่ ามารถตอบสนองตอ่ ความตอ้ งการของลูกได้ อย่างเหมาะสม สง่ ผลท�ำให้เดก็ เฉอื่ ยชา ซมึ เศร้า มีความกงั วล และสง่ ผลกระทบต่อระบบการกนิ การ นอน หากปญั หาเรื้อรังไมไ่ ดร้ บั การชว่ ยเหลอื อาจสง่ ผลทำ� ให้พฒั นาการล่าชา้ ได้ เดก็ ทถ่ี กู เลย้ี งดโู ดยปลอ่ ยปะละเลย พอ่ แมไ่ มค่ อ่ ยสนใจ พอ่ แม-่ ลกู มคี วามผกู พนั ทไ่ี มม่ น่ั คง เดก็ จะ 7

ความสำ� คญั ของช่วงวัยอนบุ าล 3 - 6 ปี เตบิ โตมาเปน็ คนทไ่ี มค่ อ่ ยเชอ่ื ใจใคร เกบ็ ตัว เจ้าอารมณ์ ชอบบังคบั ใหค้ นอ่ืนทำ� ตามท่ตี นเองต้องการ ไม่ คอ่ ยเขา้ ใจจิตใจคนอื่น ท�ำใหไ้ ม่ค่อยมีเพื่อน ท�ำงานร่วมกบั ผอู้ ่นื ไดไ้ มด่ ี ดังน้นั ความรกั และความผกู พัน จึงเปน็ พื้นฐานท่ีส�ำคญั ในการเลี้ยงดูให้เดก็ เติบโตอยา่ งมบี ุคลิกภาพท่สี มบรู ณ์ สขุ ภาวะเด็กวยั อนุบาลยุคปจั จบุ ัน เดก็ อายุ 3-6 ปเี ป็นช่วงวัยท่มี คี วามส�ำคัญ สมองและรา่ งกายมกี ารเจรญิ เตบิ โตและพฒั นาตลอด เวลา เปน็ ชว่ งวยั ทม่ี กี ารเรยี นรไู้ ดส้ งู จากการวเิ คราะหส์ ถานการณส์ ขุ ภาวะเดก็ วยั 3-6 ปี โดยราชวทิ ยาลยั กมุ ารแพทย์แหง่ ประเทศไทย พ.ศ. 2552 พบประเด็นสำ� คญั สรปุ ได้ดังน้ี 1. จำ� นวนประชากรกล่มุ เดก็ ปฐมวยั มแี นวโน้มลดลง 2. มแี นวโนม้ ทพ่ี อ่ แมจ่ ะเลยี้ งลกู เองลดลง มแี นวโนม้ ทจี่ ะไปฝากเลย้ี งในสถานเลย้ี งเดก็ ชว่ งกลาง วันมากขนึ้ โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมอื ง 3. พอ่ แมส่ ง่ เสรมิ พฒั นาการใหก้ บั เดก็ นอ้ ยเกนิ ไป ผปู้ กครองจำ� นวนมากละทง้ิ เดก็ โดยเปดิ โทรทศั น์ ให้เดก็ ดูเป็นเวลานาน 4. การเจบ็ ปว่ ยและการเสยี ชวี ิตลดลง โรคทีพ่ บบอ่ ยในเดก็ อายตุ ำ�่ กวา่ 5 ปี คือโรคอุจจาระร่วง และปอดอักเสบ สำ� หรับอตั ราตายมแี นวโน้มลดลง สาเหตกุ ารตายหลกั ในเด็กอนบุ าลและเดก็ วยั เรียน เกิดจากอบุ ตั ิเหตุและจมน�้ำ 5. โรคทป่ี อ้ งกนั ไดด้ ว้ ยวคั ซนี ลดลงมาก เนอ่ื งจากเดก็ สว่ นใหญฉ่ ดี วคั ซนี ปอ้ งกนั วณั โรค บาดทะยกั ไอกรน คอตบี หดั ตบั อกั เสบ ทำ� ใหก้ ารปว่ ยดว้ ยโรคทป่ี อ้ งกนั ไดด้ ว้ ยวคั ซนี ลดลงมาก ยกเวน้ วณั โรค เพราะ มกี ารติดเชื้อวณั โรคในผู้ป่วยเอดสเ์ พิ่มมากขน้ึ 6. ภาวะโภชนาการและการขาดสารอาหาร เด็กวัย 3- 6 ปียังพบภาวะขาดโภชนาการอยู่บ้าง แตพ่ บวา่ เดก็ ทม่ี ภี าวะโภชนาการเกนิ มปี รมิ าณเพมิ่ ขน้ึ และพบวา่ เดก็ จำ� นวนมากตดิ การกนิ หวานและได้ รบั นำ้� ตาลเกนิ ปรมิ าณทเ่ี หมาะสม จากรายงานผลการสำ� รวจสภาวะสขุ ภาพชอ่ งปากระดบั ประเทศทกุ 5 ปี ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 ส�ำนกั ทันตสาธารณสขุ กรมอนามัย พบวา่ เดก็ 3 ปแี ละ 5 ปี มนี ำ้� หนักนอ้ ยกว่า เกณฑ์ ร้อยละ 6.5 และ 12.9 ตามลำ� ดับ มีน�้ำหนักคอ่ นขา้ งนอ้ ย รอ้ ยละ 8.8 และ 11.1 ตามลำ� ดับ มี นำ้� หนกั ตามเกณฑ์ร้อยละ 72.2 และ 70.6 ตามลำ� ดบั มนี ้�ำหนกั คอ่ นข้างมากรอ้ ยละ 3.6 และ 2.8 ตาม ล�ำดับ และมีน�ำ้ หนกั มากเกนิ เกณฑ์ร้อยละ 8.7 และ 7.1 ตามลำ� ดับ 7. ภาวะฟนั ผใุ นเดก็ อนบุ าล แมจ้ ะลดนอ้ ยลงกวา่ การสำ� รวจในพ.ศ.2550 (พบฟนั ผรุ อ้ ยละ 62.8) แตก่ ย็ งั นบั วา่ เปน็ ปญั หาทพ่ี บไดบ้ อ่ ย จากรายงานผลการสำ� รวจสภาวะสขุ ภาพชอ่ งปากระดบั ประเทศทกุ 5 ปี ครง้ั ท่ี 7 พ.ศ. 2555 สำ� นักทนั ตสาธารณสขุ กรมอนามยั พบว่าเด็ก อายุ 3 ปี มฟี นั ผุรอ้ ยละ 51.8 8

สขุ ภาวะเดก็ วยั อนบุ าลยุคปัจจบุ นั และเดก็ อายุ 5 ปี มีฟนั ผรุ ้อยละ 78.5 โดยเด็กในภาคใต้และภาคกลางมฟี นั ผมุ ากทสี่ ุด ปัญหาส�ำคัญทย่ี ัง ต้องการการดูแลเพ่ิมเตมิ คอื การแปรงฟนั เพราะผปู้ กครองของเด็ก 3 ปี ร้อยละ 55.8 ยังปล่อยให้เดก็ แปรงฟนั ด้วยตนเอง มเี ดก็ เพยี งรอ้ ยละ 44.2 ทีม่ ีผปู้ กครองช่วยดูแลการแปรงฟนั ให้ นอกจากนย้ี ังพบวา่ เดก็ เลก็ อายุ 3 ปแี ละ 5 ปี ยงั ดม่ื นมหวานและนมเปรย้ี วเมอ่ื อยทู่ บ่ี า้ นสงู ถงึ รอ้ ยละ 48.9 และ รอ้ ยละ49.9 ตามลำ� ดับ รวมท้ังยงั มกี ารใช้ขวดนมอย่ถู ึงรอ้ ยละ 39.4 ในเด็ก3 ปี ซึ่งนอกจากจะเพม่ิ ความเสย่ี งต่อการ เกิดฟนั ผแุ ล้ว ยังมโี อกาสเกิดความผดิ ปกติของการสบฟันในอนาคต 8. มพี ฒั นาการลา่ ชา้ ผลการสำ� รวจพฒั นาการเดก็ 1-5 ปี ของสำ� นกั สง่ เสรมิ สขุ ภาพ กรมอนามยั โดยใช้เครื่องมอื คัดกรองพัฒนาการ DSPM & DAIM ระหวา่ ง 2 เม.ย.2558-3 เม.ย.2560 พบวา่ เด็กอายุ 42 เดือน 36-47 เดือน และ 48-60 เดือน มพี ัฒนาการสมวยั เพยี งร้อยละ 65 76 และ 78 ตามล�ำดบั โดยพฒั นาที่ล่าช้าสว่ นใหญเ่ ป็นด้านกลา้ มเนื้อมดั เล็กและด้านการชว่ ยเหลือตนเองและด้านสังคม 9. สถานศกึ ษาและสถานรบั เลย้ี งเดก็ ขาดการควบคมุ คณุ ภาพ การจดั บรกิ ารดแู ลเดก็ ปฐมวยั ของ ภาครฐั และเอกชนมี 3 รปู แบบ คือ สถานเล้ยี งเด็ก (รบั เดก็ แรกเกดิ ถงึ 2 ป)ี โรงเรียนเดก็ เล็ก (รับเด็ก 1 ปคี รง่ึ ถึง 3 ปี) และโรงเรียนอนุบาล (รับเดก็ 3-6 ปี ) การจดั บรกิ ารดงั กลา่ วพยายามที่จะให้สอดคล้อง กับพฒั นาการของเด็กในแต่ละวยั แต่ยงั ขาดการควบคุมในดา้ นคณุ ภาพและมาตรฐานของการดูแล 10. ใช้เวลาในการดูโทรทัศน์มากเกินไป เด็กปฐมวัยดูโทรทัศน์เฉล่ียวันละ 1.9 ช่ัวโมง โดยเด็ก กรงุ เทพมหานคร ใชเ้ วลาดโู ทรทัศนม์ ากทส่ี ุดวันละ 2.1 ชวั่ โมง ผเู้ ลีย้ งดูเด็กรอ้ ยละ 40.1 ไม่เคยเลอื ก รายการโทรทศั น์ให้เด็กดู และร้อยละ 23.7 ให้เด็กดูเหมอื นกบั ตนเองดู ในขณะทรี่ ้อยละ 36.2 ทเ่ี ลอื ก รายการโทรทศั นใ์ ห้เด็ก คือ การต์ นู รายการส�ำหรบั เด็ก และละคร จากการส�ำรวจพัฒนาการเด็กอายุ 1-5 ปี ของศนู ยอ์ นามัยที่ 3 กรมอนามยั พ.ศ. 2557 พบวา่ เดก็ อายตุ �ำ่ กว่า 2 ปี ใชส้ อื่ อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ รอ้ ยละ 76.9 แมจ้ ะมคี ำ� แนะนำ� ไมใ่ หเ้ ดก็ ต�่ำกว่า 2 ขวบใชส้ อื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ก็ตาม 9

สขุ ภาวะเดก็ วยั อนุบาลยคุ ปจั จบุ ัน ก�ำหนดการดูแลสขุ ภาพเดก็ ไทย มาตรฐานราชวทิ ยาลยั กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2557 10

การเจริญเติบโต และพฒั นาการ บทท่ี 2 การเจรญิ เติบโต และพัฒนาการ เดก็ วยั 3-6 ปอี ยใู่ นระยะเดก็ วยั กอ่ นเรยี นหรอื วยั อนบุ าล (preschool) เปน็ วยั ทเ่ี รยี นรสู้ งิ่ แวดลอ้ ม ได้มาก พัฒนาการด้านต่าง ๆ ก้าวหน้าข้ึนมาก และมีสังคมกว้างขึ้นจากเดิมที่อยู่กับพ่อแม่เป็นหลัก เป็นการอยู่ร่วมกับครูและเพื่อนท่ีโรงเรียน ดังนั้นครูจึงเป็นอีกบุคคลหน่ึงท่ีมีความส�ำคัญในการส่งเสริม พฒั นาการเด็กวยั น้ี นอกเหนอื จากพ่อแม่หรือบุคคลใกลช้ ิดในครอบครวั การเจริญเตบิ โตและพฒั นาการ 1. ด้านรา่ งกาย เดก็ จะเติบโตเป็นไปอย่างสม�่ำเสมอ โดยเฉลยี่ มนี �้ำหนกั ตัวเพ่มิ ขึ้นปลี ะ 2-2.5 กโิ ลกรัม และมสี ่วน สงู เพม่ิ ปลี ะ 6-8 เซนตเิ มตร เดก็ วยั นจ้ี งึ ดผู อมลงและสงู ขนึ้ กลา้ มเนอ้ื มดั ใหญเ่ จรญิ พฒั นาขนึ้ มาก ควบคมุ การเคล่ือนไหวและทรงตัวในทา่ ตา่ งๆ ได้ดี ชอบหอ้ ยโหน ปนี ป่าย ลน่ื ไถล อายุ 3 ปี เด็กสามารถยนื ขา เดยี วไดช้ ั่วครู่ วิ่งแลว้ หมุนตัวไดโ้ ดยไมล่ ้ม ข้นึ บนั ไดสลบั เท้าได้ ขจี่ กั รยานสามลอ้ เมอื่ อายุ 4 ปี เดก็ จะ สามารถกระโดดขาเดยี ว เดนิ ลงบันไดสลบั เท้าได้ ปนี ตน้ ไม้ และเมือ่ อายุ 5 ปี จะสามารถกระโดดสลบั เทา้ กระโดดขา้ มสง่ิ กีดขวางเต้ยี ๆ ได้ เดนิ ต่อเท้าเปน็ เส้นตรงไดโ้ ดยไมล่ ม้ อายุ 6 ปี เดนิ บนส้นเท้า ใช้ 2 มอื รับลูกบอลท่โี ยนมา และกระโดดไกลได้ประมาณ 120 ซม. ส�ำหรับพัฒนาการด้านการใชก้ ล้ามเนือ้ มอื เดก็ ชว่ งวยั น้สี ามารถวาดรปู ทรงเรขาคณติ งา่ ย ๆ เชน่ วงกลม สเี่ หลี่ยม สามเหลย่ี ม และใชม้ อื ไดค้ ล่องในทุกทศิ ทางถา้ ได้รับการฝกึ ฝน โดยเฉพาะอย่างย่งิ การ ฝึกให้ชว่ ยเหลอื ตนเอง เช่น ถูสบู่ แต่งตัว ตดิ กระดมุ ผูกเชือกรองเท้า หรอื ช่วยงานบ้านอืน่ ๆ จะท�ำให้ มอื และสายตาทำ� งานประสานกนั ไดร้ าบรนื่ มผี ลดตี อ่ การเขยี นหนงั สอื ทำ� ใหเ้ ดก็ เขยี นไดส้ วยและทำ� งาน เรยี บร้อย (ดูรายละเอยี ดในภาคผนวกทา้ ยบท) 2. ดา้ นความคิด การเรยี นรู้ ช่วงวัยนีเ้ ปน็ วยั ทเี่ ด็กมจี ินตนาการและมีความคิดรเิ รม่ิ สร้างสรรค์ อยากรูอ้ ยากเหน็ กระตือรือร้น สามารถแยกแยะความแตกต่างของส่งิ ต่าง ๆ จัดกลุ่มของสัตวแ์ ละรูปทรง เมอื่ ถึงตอนกลางของช่วงวยั นี้ 11

การเจริญเติบโต และพัฒนาการ เดก็ จะสามารถมคี วามคดิ รวบยอดดา้ นพน้ื ฐานจ�ำนวนและตัวเลข เดก็ วยั น้ีจะแกป้ ัญหาตา่ ง ๆ ด้วยสง่ิ ท่ี รบั ร้แู ละจนิ ตนาการของตนเอง โดยยงั ไม่รจู้ กั คดิ ไตร่ตรองอย่างรอบด้าน การแกป้ ัญหาของเขาจึงเป็น แบบลองผิดลองถูก และเรียนรู้จากผลของการกระท�ำ ดังนั้นหากพ่อแม่หรือครูสนับสนุนและให้โอกาส เดก็ ได้ทดลองแก้ปญั หาดว้ ยตนเอง โดยคอยให้ค�ำแนะน�ำ ชมเชยเม่อื เด็กทำ� ส�ำเร็จ ให้ก�ำลงั ใจเมอ่ื ท�ำผิด พลาด พรอ้ มทงั้ ชว่ ยชแ้ี นะวธิ แี กไ้ ขขอ้ ผดิ พลาด จะชว่ ยใหเ้ ดก็ เตบิ โตเปน็ คนกลา้ คดิ กลา้ ทดลองทำ� มคี วาม คดิ สรา้ งสรรค์ และไมเ่ กรงกลวั ตอ่ ปญั หา รวมทง้ั เกดิ ความภาคภมู ใิ จในตนเองเมอื่ สามารถเอาชนะปญั หา ต่าง ๆ ได้ แต่ในทางกลับกัน หากผู้ใหญ่ไม่เปดิ โอกาสใหเ้ ด็กหัดทำ� สง่ิ ต่างๆ หรอื คอยตำ� หนิ หา้ ม เข้มงวด หรือลงโทษมากเกินไป จะเปน็ การหยดุ ยั้งการแสดงออก ทำ� ใหเ้ ด็กกลายเปน็ คนไม่มัน่ ใจ ไมก่ ล้าตัดสินใจ และสง่ ผลเสียต่อการเรียนรู้ในข้ันตอ่ ไปของเดก็ เด็กวัยน้ีมีความคิดด้านเหตุและผลอยู่ในขอบเขตจ�ำกัด ต่างจากความคิดของผู้ใหญ่ โดยเด็กวัยนี้ มักจะเช่ือมโยงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ท่ีต่อเน่ืองกันว่าเป็นเหตุเป็นผลซ่ึงกันและกัน เช่น เด็กวัยอนุบาล คนหนึ่งไปโรงพยาบาลเพราะมีไข้และจ�ำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจ แต่หากก่อนถูกเจาะเลือด เขาท�ำความ ผดิ บางอยา่ งแลว้ ถกู ดวุ า่ ดอื้ เขาอาจเขา้ ใจวา่ การทเี่ ขาถกู เจาะเลอื ดนน้ั เปน็ การทำ� โทษทเี่ ขาเปน็ เดก็ ดอ้ื ดงั น้ัน พอ่ แมห่ รือครูควรมคี วามเขา้ ใจความคดิ ของเดก็ และช่วยอธิบายใหเ้ ดก็ มีความเขา้ ใจทีถ่ กู ต้องตอ่ ไป 3. ด้านการพดู และการส่อื สาร เดก็ วัยอนุบาลมพี ัฒนาการทางภาษาอยา่ งตอ่ เน่อื งและซับซอ้ นข้ึนจากวัยเตาะแตะ ในชว่ งส้ินสดุ วัยอนบุ าล เด็กจะสามารถเข้าใจค�ำพูดของผ้ใู หญไ่ ดเ้ กอื บทง้ั หมด รจู้ กั สี จำ� นวน และเปรยี บเทียบขนาด เล็ก-ใหญ่ จ�ำนวนมาก-น้อย พื้นผิวทแ่ี ตกตา่ งกนั เชน่ เรยี บ-ขรุขระ นมิ่ -แข็ง ได้ ชว่ งอายุ 3 ปี เดก็ จะพดู คยุ ไดเ้ ปน็ ประโยค แมจ้ ะยงั ไมค่ ลอ่ งนกั อาจพบคำ� พดู ซำ�้ ๆ หรอื ฟงั ดคู ลา้ ย ตดิ อา่ งไดเ้ ป็นปกตติ ามวยั ซ่ึงคำ� ซ้ำ� ๆ นีจ้ ะคอ่ ย ๆ หายไปเม่ือเดก็ อายุ 4-5 ปี อีกทง้ั ประโยคที่เด็กพดู จะ ค่อย ๆ ซับซ้อนขนึ้ สามารถเล่าเร่อื งราวทม่ี ลี ำ� ดับขน้ั ตอนใหผ้ ้ใู หญท่ ไ่ี มค่ ุ้นเคยกับเด็กฟงั ได้เข้าใจท้ังหมด หรือเกอื บทั้งหมด เลา่ เร่อื งทเ่ี กิดข้ึนในอดตี และพดู ถงึ อนาคตใกล้ ๆ โดยเขา้ ใจความหมาย เช่น เมอ่ื วาน พร่งุ น้ี เป็นตน้ สามารถพดู ประโยคในเหตุการณท์ ี่เกี่ยวขอ้ งกนั และยกเหตผุ ลง่าย ๆ ได้ เชน่ หนูทำ� นำ�้ หก ตวั เปยี กหมดเลย หนไู มร่ กั นอ้ งเพราะนอ้ งชอบแกลง้ หนู จนกระทง่ั ชว่ งปลายของวยั นค้ี อื เมอื่ อายุ 6 ปี จะ สามารถอธบิ ายความหมายของคำ� ได้ เรม่ิ อ่านสะกดค�ำ นับเลขไดถ้ งึ 30 ในชว่ งวยั อนบุ าลนี้ เดก็ จะชา่ งซกั ถาม โดยมกั จะถามความหมายของคำ� หรอื วลที ไี่ มเ่ ขา้ ใจ หรอื ถาม ถงึ ที่มาหรือเหตุผลของสงิ่ ทีพ่ บเห็นในชีวติ ประจำ� วนั เช่น ทำ� ไมพระจันทรจ์ ึงเป็นรปู วงกลม หนูเกดิ มาได้ อยา่ งไร ของสง่ิ นที้ ำ� งานไดอ้ ยา่ งไร พอ่ แมแ่ ละครคู วรตอบคำ� ถามของเดก็ โดยไมแ่ สดงความหงดุ หงดิ รำ� คาญ 12

การเจริญเติบโต และพฒั นาการ และให้เหตผุ ลง่าย ๆ ทเี่ ด็กเขา้ ใจ รวมทั้งหมนั่ พดู คยุ ในเร่ืองตา่ ง ๆ ชวนใหเ้ ด็กเลา่ เรอ่ื งที่เขาพบเห็นหรอื ไดย้ ินมา เพื่อสง่ เสริมพัฒนาการทางภาษาและต่อยอดความรู้ให้กับเดก็ 13

การเจรญิ เติบโต และพัฒนาการ 4. ดา้ นอารมณ์ เด็กจะรจู้ กั และแสดงอารมณห์ ลากหลายท้ังอารมณ์รัก พอใจ เสยี ใจ ทกุ ขใ์ จ เศรา้ อิจฉา กงั วล กลัว โกรธ กา้ วร้าว เมือ่ อายุ 4 ปีข้ึนไป เด็กจะเร่มิ เขา้ ใจอารมณ์ความรูส้ กึ ของผู้อืน่ ในสถานการณต์ ่าง ๆ โดยการอา่ นทา่ ทแี ละน�ำ้ เสยี ง เช่น ร้วู ่าน้องรูส้ กึ เสยี ใจท่ีไมไ่ ดเ้ ลน่ ของเล่น เร่มิ แสดงความเห็นอกเหน็ ใจผู้ อนื่ จะปรบั เปลย่ี นอารมณแ์ ละระงบั อารมณข์ องตนไดบ้ า้ ง รอคอยไดน้ านขน้ึ ปลอบตนเองและคนอน่ื เปน็ ความกลวั ทจ่ี ะการแยกจากพอ่ แมแ่ ละความกลวั คนแปลกหนา้ จะนอ้ ยลงเมอื่ เทยี บกบั วยั 1-2 ปี สามารถ แยกจากแมไ่ ด้นานข้นึ และสร้างความผูกพนั กับบคุ คลอ่ืนได้ เช่น ครู พี่เลยี้ ง เพื่อน เป็นตน้ แต่ก็ยงั อาจ มีความกงั วลอยบู่ า้ ง โดยเฉพาะเมอื่ เจ็บปว่ ย แปลกที่ หรือมกี ารแยกจากกนั นาน นอกจากนอ้ี าจมคี วาม กลัวอย่างอ่นื เกิดขึน้ จากจินตนาการ เชน่ กลวั ความมืด กลวั สตั ว์ กลัวเสยี งลมพายุ ซึง่ ถือเปน็ ภาวะปกติ ในยามทเี่ ดก็ ประสบเหตกุ ารณท์ ท่ี ำ� ใหเ้ กดิ ความเครยี ดหรอื วติ กกงั วล เชน่ เมอื่ มนี อ้ งใหม่ อาจแสดง พฤตกิ รรมถดถอยกลบั เปน็ เดก็ เลก็ กวา่ เดมิ ไมย่ อมทำ� สง่ิ ทเ่ี คยทำ� ไดแ้ ลว้ เชน่ กลบั มาดดู ขวดนมใหมท่ งั้ ท่ี เคยเลิกขวดนมไดแ้ ลว้ ปัสสาวะรดทนี่ อน ออ้ น ตดิ แม่มากข้นึ อารมณ์โกรธร้องอาละวาดเม่ือถูกขัดใจในวัย 1-2 ปี หากได้รับการฝึกสอนอย่างเหมาะสม เมื่อ เขา้ สวู่ ยั อนบุ าล เดก็ จะควบคมุ อารมณแ์ ละการแสดงออกไดอ้ ยา่ งเหมาะสมมากขนึ้ พอ่ แมแ่ ละครคู วรพดู คุยกบั เด็กเกย่ี วกับอารมณ์ความรสู้ กึ ไมค่ วรตำ� หนิหรอื วิจารณว์ า่ ตัวเด็กนิสัยไม่ดี หากเด็กสามารถพูดถงึ อารมณ์และความรู้สึกได้มากขึ้น จะเห็นว่าการแสดงพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงความโกรธ ความไม่พอใจ เช่น การอาละวาดลงดนิ้ กบั พ้นื จะลดลงไปเช่นกนั 5. ด้านสงั คม เดก็ วยั นเี้ รม่ิ มคี วามสนใจและอยากมสี ว่ นรว่ มในการเลน่ กบั เดก็ อนื่ อยา่ งไรกต็ าม ในระยะแรกของ ชว่ งวยั นี้ เดก็ อาจยงั ทำ� ไดไ้ มด่ นี กั เพราะยงั มคี วามเอาแตใ่ จตนเอง และอาจยงั ไมส่ ามารถเลน่ ตามกฎหรอื กติกา จึงยังคงเหน็ พฤตกิ รรมหวงของ แยง่ ของ ตีตนเองหรอื ตีผอู้ ่นื เม่ือเกดิ ความไม่พอใจ หรือใช้ค�ำพดู ที่ ไมถ่ กู ตอ้ งเหมาะสม พอ่ แมห่ รอื ครจู งึ ควรกำ� กบั ดแู ล เลน่ ไปกบั เดก็ คอยชแี้ นะวธิ กี ารเลน่ และสง่ เสรมิ การ สร้างสัมพันธภาพกับเพ่อื นอย่างเหมาะสม จนทำ� ใหเ้ ดก็ สามารถควบคมุ อารมณต์ วั เอง มีความความเหน็ อกเหน็ ใจผ้อู ืน่ เรยี นรู้การแบ่งปัน ยอมรับกติกา และทำ� ใจเม่ือแพไ้ ด้บา้ ง เด็กวัยน้ีมีจินตนาการ ชอบเล่นสมมติ และเร่ิมเล่นรวมเป็นกลุ่มกับเด็กคนอื่น ๆ โดยการแบ่ง บทบาทในการเล่นจะซับซ้อนขึ้นตามวัย เช่น เล่นบทบาทพ่อ-แม่-ลูก ครู-นักเรียน หรือเลียนแบบตัว ละครในสอื่ ทไ่ี ดด้ ู เปน็ ตน้ ในเดก็ ทเ่ี ปน็ ลกู คนเดยี วหรอื ขาดเพอื่ นเลน่ อาจสรา้ งเพอื่ นสมมตใิ นจนิ ตนาการ ได้ โดยเด็กจะเลน่ คนเดยี ว ส่งเสยี งพดู คุยเล่น เหมือนมีเพอื่ นเล่นจรงิ ๆ อย่ดู ว้ ย ซ่งึ ถอื ว่าเป็นภาวะปกติ ท่ีพบได้ตามวยั 14

การเจรญิ เตบิ โต และพัฒนาการ 15

การเจรญิ เติบโต และพัฒนาการ 6. ด้านจริยธรรม มนุษย์ไม่ได้เป็นสัตว์ประเสริฐตั้งแต่แรกเกิด การที่มนุษย์จะประเสริฐได้เกิดจากการท่ีต้องฝึกฝน และฝืนตนเอง มิฉะนั้นเราก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์ที่ท�ำทุกอย่างไปตามสัญชาตญาณ ผู้ที่พัฒนาตนองจึง สามารถท�ำในสิ่งท่ีถูกต้อง เหมาะสม ทั้งๆท่ีอาจไม่ถูกใจหรือฝืนใจไม่ท�ำส่ิงท่ีไม่ถูกต้องทั้งๆใจปรารถนา อยากจะท�ำ วัยนเี้ ปน็ ช่วงสำ� คัญในการปลกู ฝงั สร้างพฤติกรรมทีด่ ีงามใหค้ นุ้ เคยโดยไปอยูใ่ นชวี ิตประจำ� วัน ท้งั การดแู ลตนเอง กนิ อาหารเอง เคารพกตกิ า รักษามารยาท สอ่ื สารอยา่ งมสี มั มาคารวะผู้อาวโุ ส ฝึกใหม้ ี น้ำ� ใจ เสียสละ ชว่ ยเหลือคนรอบข้าง ความเห็นอกเหน็ ใจผอู้ น่ื และตอบแทนบุญคุณผใู้ หญ่ เชน่ รูว้ ่าแม่ กำ� ลงั เศรา้ และอยากจะเขา้ ไปปลอบ ดงั นนั้ การพฒั นาพฤตกิ รรมคนุ้ เคยทดี่ งี ามนจี้ ะเปน็ การพฒั นาจติ ใจ ไปพรอ้ มกัน คือ ย่ิงช่วยผอู้ น่ื ยิ่งมีน�้ำใจ เสียสละและมจี ติ อาสาเพม่ิ ขน้ึ วัยน้จี ึงเป็นช่วงเวลาสำ� คัญในการ ส่งเสรมิ ใหเ้ ด็กมคี ณุ ธรรม การสร้างพฤตกิ รรมคนุ้ เคยท่ีดงี ามมิไดม้ าจากการสั่ง แต่เป็นการท�ำตามอยา่ งตน้ แบบ คือ พ่อแม่ แตอ่ ยา่ งไรกต็ าม วยั นอ้ี าจยงั ยดึ ตนเองเปน็ ศนู ยก์ ลางและตอ้ งการทำ� ความตอ้ งการของตนเองอยบู่ า้ ง การ ท่ีพอ่ แม่ชวนคุยเพ่อื ให้เดก็ คดิ ตอ่ วา่ ถา้ เราทำ� เช่นนนั้ เรารูส้ กึ อย่างไร คนอ่นื รสู้ กึ อย่างไร และผลกระทบ ต่อตัวเราและคนรอบข้างถ้าเราท�ำเช่นนั้นสม�่ำเสมอจะเกิดอะไร ฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสม�่ำเสมอ สิ่งที่พึงระวงั คือ อยา่ ใช้วิธีบอกหรอื อธิบายมากเกนิ ไปเพราะจะท�ำใหเ้ ด็กเบ่อื และตอ่ ตา้ นไม่ยอมทำ� ตาม ในทส่ี ดุ เดก็ จะควบคมุ ตนเองไดม้ ากขน้ึ อยใู่ นขอบเขตของการทำ� ตามทพ่ี อ่ แมค่ รตู อ้ งการไดอ้ ยา่ ง มคี วามสขุ การฝกึ ใหม้ วี ินัย สะกดกล้นั ความอยากและอดทนหดั รอคอย จนนำ� ไปส่กู ารตัดสนิ ใจของเดก็ เอง เชน่ “แมท่ ราบวา่ หนอู ยากไดข้ นมชน้ิ สดุ ทา้ ยนี้ แตพ่ คี่ งเสยี ใจ เพราะเขายงั ไมไ่ ดก้ นิ ขนมนส่ี กั ชน้ิ เลย” หรอื การสะทอ้ นใหเ้ ดก็ เหน็ วา่ การกระทำ� ของตวั เองมผี ลตอ่ การแสดงออกของผอู้ นื่ อยา่ งไร เชน่ “หนเู หน็ ไหมคะว่านอ้ งเขายม้ิ กวา้ งให้หนตู อนหนูส่งของเล่นให้ สงสยั น้องอยากขอบคณุ หนนู ะคะ” เด็กจะมีแรงจงู ใจในการท�ำความดผี า่ นการเรียนรู้จากผลการกระท�ำของตนเอง เช่น การได้รบั คำ� ชมเชยเมอ่ื เขาท�ำดี หรือการถูกลงโทษเมือ่ เขาท�ำไม่ดี เพราะเขายังต้องการความรกั การยอมรับและการ ชมเชยอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเติบโตข้ึนเด็กจะเรียนรู้คุณธรรมท่ีลึกซ้ึง เช่น การมีน�้ำใจ ความมีเมตตา ความซื่อสัตย์ เป็นต้น ไดม้ ากทสี่ ดุ ผา่ นการสงั เกตแบบอยา่ งจากผู้ใหญ่ทีม่ คี วามสมั พันธท์ ่ี ดกี ับเขาและส่ือทเี่ ขาเห็น 16

การเจรญิ เตบิ โต และพัฒนาการ การเรยี นรเู้ รอื่ งคณุ ธรรมของเดก็ วยั 3-6 ปจี งึ เปน็ การเรยี นรจู้ ากกพอ่ แมแ่ ละครโู ดยตรง ไดท้ งั้ จาก การจงใจและไมจ่ งใจสอน เพราะเดก็ จะเปน็ ผสู้ งั เกตการณท์ ยี่ อดเยย่ี ม และเลยี นแบบผใู้ หญโ่ ดยไมร่ ตู้ วั สงิ่ ทพ่ี อ่ แมแ่ ละครปู ฏบิ ตั ทิ กุ ๆ วนั จงึ มผี ลยง่ิ กวา่ คำ� พดู สง่ั สอน ดงั นน้ั พอ่ แมแ่ ละครจู งึ ควรเปน็ แบบอยา่ ง ที่ดีในการปฏิบตั ติ วั ในชีวิตประจำ� วนั เชน่ การใชก้ รยิ าวาจาสุภาพออ่ นนอ้ ม การเคารพสิทธิของกนั และ กนั การไม่หยบิ ของผูอ้ ืน่ การพูดความจรงิ การไม่รงั แกสตั ว์หรอื ผอู้ ่ืน การใส่ใจหรือให้เกยี รติผอู้ ่ืน ความ มนี �ำ้ ใจชว่ ยเหลอื ผู้อื่นเปน็ ต้น รวมท้งั ก�ำกับดแู ลการเขา้ ถึงส่ือท่เี หมาะสมในการปลูกฝงั จริยธรรมส�ำหรบั เดก็ กฎสำ� คญั ในการสอนใหเ้ ดก็ เขา้ อกเขา้ ใจผอู้ น่ื คอื “จงปฏบิ ตั ติ อ่ ผอู้ น่ื เหมอื นทเี่ ราตอ้ งการใหผ้ อู้ น่ื ปฏบิ ตั ติ ่อเรา” 17

การเจริญเติบโต และพฒั นาการ 7. พฒั นาการทางเพศ เดก็ วยั 3-6 ปี จะเข้าใจว่าตนเองเป็นเพศใด สามารถแยกความแตกตา่ งของลกั ษณะและบทบาท ของแตล่ ะเพศได้ นอกจากนย้ี งั เรม่ิ เขา้ ใจวา่ เพศเปน็ สง่ิ ทตี่ ดิ ตวั ถาวร ไมเ่ ปลย่ี นแปลงตามลกั ษณะภายนอก หรือการแตง่ กาย เชน่ เมอ่ื เด็กเหน็ ผู้หญงิ ทีไ่ ว้ทรงผมสน้ั คล้ายผูช้ าย และใสก่ างเกง เดก็ ก็ยงั สามารถบอก ไดว้ า่ ผทู้ เ่ี ขาเห็นเปน็ ผู้หญิง ไมใ่ ชผ่ ชู้ าย วยั 6 ปี เดก็ จะยอมรับเพศของตนและแสดงบทบาททางเพศที่ เหมาะสม ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศในวัยอนุบาลจะเป็นไปตามธรรมชาติ เด็กอาจสนใจสำ� รวจ อวยั วะเพศหรอื อวยั วะอน่ื ทบ่ี ่งบอกเรือ่ งเพศ จึงไมค่ วรลงโทษเด็ก แตค่ วรช้แี จงง่ายๆ ส้นั ๆ ให้พอเขา้ ใจ แตต่ อ้ งสอนใหร้ จู้ กั สทิ ธขิ องบคุ คล เชน่ จบั หนา้ อกแมห่ รอื ผอู้ นื่ ไมไ่ ด้ นอกจากนค้ี วรสอนเดก็ ใหร้ ะมดั ระวงั ตวั ไมค่ วรใหผ้ อู้ นื่ มาดหู รอื จบั อวยั วะเพศของเดก็ ดว้ ย ไมค่ วรสง่ เสรมิ ใหเ้ ดก็ แสดงหรอื แตง่ ตวั เกนิ วยั หรอื เลยี นแบบการแต่งตัวของผู้ใหญ่ท่ีเปดิ เผยร่างกายอยา่ งไม่เหมาะสม พัฒนาการตามวยั ในดา้ นต่าง ๆ สามารถดไู ด้ในสมดุ บนั ทึกสขุ ภาพแมแ่ ละเดก็ หรือคู่มือเฝา้ ระวงั และสง่ เสรมิ พฒั นาการเดก็ ปฐมวยั (Developmental surveillance and promotion manual; DSPM) ซ่ึง download ได้จาก www.thaichilddevelopment.com หากพบวา่ ไม่เป็นไปตามวยั ควรปรึกษา แพทยห์ รือบุคลากรสาธารณสุข 18

การสง่ เสรมิ สขุ ภาพ บทท่ี 3 การส่งเสรมิ สขุ ภาพ อาหาร เด็กวัยน้ีจะมีน้�ำหนักเพ่ิมข้ึนปีละ 2-2.5 กิโลกรัม และส่วนสูงจะเพ่ิมข้ึนโดยเฉล่ียปีละ 6-8 เซนตเิ มตร เดก็ จะตอ้ งไดร้ บั สารอาหารในปรมิ าณทพ่ี อเพยี งทง้ั ชนดิ และปรมิ าณ ความตอ้ งการสารอาหาร ของเด็กแตล่ ะคนในช่วงนีจ้ ะไมเ่ ท่ากันข้นึ อย่กู บั อัตราการเจรญิ เตบิ โตของเดก็ แต่ละคน ระดบั กิจกรรมที่ ท�ำ และขนาดรา่ งกายของเดก็ หากเด็กไดร้ บั โภชนาการหรือสารอาหารตา่ งๆ ไมเ่ พียงพอ จะส่งผลใหก้ ารเจริญเตบิ โตชา้ กลา้ ม เนอื้ ไมแ่ ข็งแรง ภูมติ า้ นทานตำ่� เกดิ ภาวะโลหติ จาง ในทางตรงข้ามถา้ ได้มากเกินไป กท็ �ำให้มีนำ�้ หนกั เกนิ เกิดโรคอ้วน ซ่ึงส่งผลเสียต่อสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ เด็กวัยน้ีควรกินอาหารหลัก 3 ม้ือ โดยกิน อาหารใหค้ รบ 5 หมู่ และมีอาหารที่หลากหลายในแต่ละหมู่ สำ� หรับอาหารจำ� พวกโปรตนี ควรให้เดก็ รับ ประทานเนือ้ สตั ว์ชนิดเน้อื แดง เชน่ เน้อื หมู เนอ้ื วัว เนอ้ื ไกด่ ้วย เพื่อจะไดร้ บั ธาตเุ หล็ก นอกจากนอ้ี าหาร ทกี่ ินไมค่ วรจะเป็นอาหารท่ีมรี สจัด กลา่ วคือ หวานจดั เค็มจดั หรือมันจดั จนเกินไป รวมทง้ั ควรสง่ เสริม ให้เด็กกินผักผลไม้เป็นประจ�ำ ด่ืมนมรสจืดวันละ 2-3 แก้วหรือกล่องเป็นอาหารว่างระหว่างม้ืออาหาร หรอื กินอาหารทีเ่ ปน็ แหล่งของแคลเซียม เช่น ผลติ ภัณฑ์จากนมจำ� พวกชสี ปลาเล็กปลาน้อยท่ีกนิ ได้ท้งั กระดูก เตา้ หู้ ผกั ใบเขียว เปน็ ต้น เพ่อื ให้ไดร้ บั แคลเซียมในปริมาณเพียงพอ และควรใหอ้ อกก�ำลงั หรอื ว่ิงเลน่ กลางแจง้ บ้าง เพ่อื ร่างกายจะไดส้ ร้างวติ ามนิ ดีจากแสงแดด ซงึ่ จะช่วยในการดูดซึมและสะสมของ แคลเซยี มในกระดกู นอกจากนีต้ อ้ งเอาใจใส่เร่อื งการกินอย่างถูกสขุ อนามยั ได้แก่ การกนิ อาหารปรงุ สุก และสะอาด การลา้ งมือก่อนกินอาหาร และการใช้ภาชนะทส่ี ะอาด การประเมินภาวะโภชนาการ ท�ำโดยการวัดส่วนสูงและชั่งน�้ำหนัก แล้วน�ำมาเทียบกับเกณฑ์ อา้ งองิ โดยแยกตามอายแุ ละเพศ เปน็ ดชั นบี ง่ ชว้ี า่ การเจรญิ เตบิ โตทางดา้ นนำ�้ หนกั เหมาะสมกบั อายหุ รอื ไม่ ถา้ รา่ งกายขาดสารอาหารหรอื เจบ็ ปว่ ย จะมผี ลกระทบทำ� ใหน้ ำ้� หนกั ลดลงกอ่ น แตถ่ า้ ขาดอาหารเรอื้ รงั เป็นระยะเวลานาน จะมีผลต่อความสูงของเด็กด้วย ดังน้ันจึงควรติดตามการเจริญเติบโตของเด็กอย่าง สมำ�่ เสมอ เพอ่ื จะได้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกดิ ขึ้นได้อยา่ งรวดเรว็ และเหมาะสมส�ำหรับเดก็ กรมอนามยั กระทรวงสาธารณสขุ ไดป้ ระกาศใชก้ ราฟการเจรญิ เตบิ โตดา้ นรา่ งกายของเดก็ ชดุ ใหม่ 19

การสง่ เสริมสขุ ภาพ ส�ำหรับเดก็ ไทยอายุแรกเกิด-5 ปี ซง่ึ เปน็ มาตรฐานการเจริญเตบิ โตของเด็ก (child growth standards) ขององค์การอนามยั โลก ค.ศ. 2006 โดยเริม่ ใช้กับเด็กทเี่ กดิ ตง้ั แต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป โดย ชมรมโภชนาการเดก็ แห่งประเทศไทยไดจ้ ัดท�ำเป็นระดบั percentile charts 20

การส่งเสรมิ สุขภาพ ภาคผนวก กราฟน้ำ� หนักของเด็กหญิงไทยอายแุ รกเกิด-5 ปีชุดใหม่ 21

การสง่ เสริมสขุ ภาพ ภาคผนวก กราฟความยาว/ความสูงของเด็กหญงิ ไทยอายแุ รกเกดิ -5 ปชี ดุ ใหม่ 22

การส่งเสรมิ สุขภาพ ภาคผนวก กราฟน้ำ� หนักของเด็กชายไทยอายแุ รกเกดิ -5 ปีชุดใหม่ 23

การสง่ เสริมสุขภาพ ภาคผนวก กราฟความยาว/ความสูงของเด็กชายไทยอายุแรกเกดิ -5 ปชี ดุ ใหม่ 24

การสง่ เสรมิ สุขภาพ การออกก�ำลังกาย การออกกำ� ลงั กายในวัย 3-6 ปจี ะเป็นรากฐานสำ� คัญตอ่ ชวี ติ เด็กไปตลอด การออกกำ� ลงั กาย จะส่งเสริมการพัฒนาระบบประสาท กระดูกและกล้ามเน้ือที่เก่ียวข้องทั้งกล้ามเน้ือมัดใหญ่และกล้าม เนอื้ มดั เลก็ นอกจากนยี้ งั กระตนุ้ การทำ� งานของสมอง สง่ ผลตอ่ การเจรญิ เตบิ โตและพฒั นาความสามารถ รอบดา้ นทง้ั ทางรา่ งกาย อารมณ์ สงั คมและสตปิ ญั ญา ดงั นน้ั พอ่ แมแ่ ละครจู งึ ควรสง่ เสรมิ การออกกำ� ลงั กายของเดก็ วยั อนบุ าลอยา่ งจรงิ จงั และสมำ่� เสมอ เดก็ วยั นต้ี อ้ งการการเลน่ อสิ ระกลางแจง้ อยา่ งนอ้ ยวนั ละ 30 นาที และไมค่ วรปลอ่ ยใหเ้ ดก็ อยกู่ บั สอื่ อเิ ล็กทรอนกิ ส์เป็นเวลานาน เกิน 1 ช่วั โมงต่อวนั จนขาด โอกาสออกกำ� ลังกาย เด็กวัยนม้ี กี ารพัฒนาการท�ำงานของกลา้ มเนื้อท่ีดขี ึ้น เคลอื่ นไหวไดเ้ ร็วและคล่องแคล่ว ทรงตวั ได้ ดี รับและส่งบอลไดต้ รงเปา้ หมาย กระโดดไดไ้ กล ปีนปา่ ยไดเ้ กง่ ประกอบกับการเลน่ เป็นธรรมชาติของ เด็กวยั นี้ ดงั นั้นเขาจึงมกั จะมแี รงจงู ใจในการออกกำ� ลงั กายอยู่แลว้ ขอเพียงได้รับการสง่ เสริมจากพ่อแม่ และครจู ดั กิจกรรมใหเ้ ขาไดอ้ อกก�ำลงั กาย เขามักจะรว่ มมือไดไ้ มย่ ากนัก ส่ิงที่ควรค�ำนึงถึงในการออกก�ำลังกายของเด็กวัยอนุบาล คือ การดูแลเร่ืองความปลอดภัยของ เครอ่ื งเลน่ และสง่ิ แวดลอ้ มทเ่ี ดก็ เลน่ และไมค่ วรใหเ้ ดก็ เลน่ ตดิ ตอ่ กนั นานเกนิ 30 นาทเี พราะจะทำ� ใหก้ ลา้ ม เนอื้ ลา้ และเกดิ อบุ ตั เิ หตจุ ากการหกลม้ ไดง้ า่ ย รวมทง้ั ไมค่ วรใหเ้ ดก็ ออกกำ� ลงั กายในขณะทอี่ ากาศรอ้ นเกนิ ไป และควรให้เดก็ ไดพ้ ักดม่ื น้ำ� ประมาณ ½ - 1 แกว้ เป็นระยะเพอื่ ป้องกนั ภาวะขาดน�้ำจากการออกกำ� ลงั กาย และควรหยุดกิจกรรมเมอ่ื เดก็ แสดงอาการออ่ นเพลยี หรอื เหนอื่ ยจากการเล่น นอกจากนค้ี วรสงั เกต ความผิดปกติของร่างกายเด็ก เช่น การหายใจหอบหรือหายใจแรงหรือได้ยินเสียงวี้ด ๆ อาการเหน่ือย หอบและรมิ ฝปี ากเขยี วคลำ้� ขณะเลน่ หากพบอาการเหลา่ นตี้ อ้ งพาเดก็ ไปพบแพทยเ์ พอื่ ตรวจวนิ จิ ฉยั และ รกั ษาตอ่ ไป 25

การส่งเสรมิ สุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน เด็กวัยน้มี ีพัฒนาการด้านกล้ามเน้ือมือทดี่ ขี ึ้น สามารถขยับมือไปมาเพ่อื แปรงฟันเองได้ แต่เขายัง ไม่สามารถแปรงได้สะอาดหรือไม่ท่ัวถึงพอ พ่อแม่และครูจึงควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันโดยการ ส่งเสรมิ ใหเ้ ดก็ แปรงฟันด้วยยาสีฟนั เด็กทีผ่ สมฟลอู อไรด์ บีบเท่ากบั เมล็ดถว่ั เขียว อยา่ งน้อยวนั ละ 2 คร้งั โดยใหเ้ ดก็ แปรงฟนั เองกอ่ น และผใู้ หญต่ อ้ งแปรงฟนั ซำ้� เพอื่ ใหม้ น่ั ใจในความสะอาดนานอยา่ งนอ้ ย 2 นาที นอกจากนค้ี วรสนบั สนนุ ใหเ้ ดก็ เลกิ ดดู นมจากขวด และควรใหเ้ ดก็ กนิ ของหวานในปรมิ าณนอ้ ย เพอ่ื ชว่ ยลด การเกิดฟันผุ ร่วมกบั พาเด็กไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดอื น เพอื่ ประเมินสขุ ภาพชอ่ งปาก เคลือบฟลูออไรด์ ทผ่ี ิวฟัน และผูป้ กครองจะไดร้ ับความร้เู รอื่ งการดแู ลสุขภาพช่องปากและฟนั ของเด็กจากทนั ตแพทยด์ ว้ ย เดก็ อนุบาลยงั จ�ำเป็นต้องรบั ฟลอู อไรดก์ นิ เสริมไม่นอ้ ยกว่าสัปดาหล์ ะ 4 วันเพอ่ื ป้องกนั ฟันผุ แต่ อยา่ งไรกต็ าม ควรตรวจสอบปรมิ าณฟลอู อไรดใ์ นนำ�้ ดมื่ ของแตล่ ะพนื้ ทก่ี อ่ น เนอ่ื งจากในปจั จบุ นั มกี ารเตมิ ฟลอู อไรดใ์ นนำ�้ ดมื่ หากมปี รมิ าณเพยี งพอสำ� หรบั ปอ้ งกนั ฟนั ผใุ นเดก็ แลว้ ไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งกนิ เสรมิ เนอ่ื งจาก การได้รบั ฟลอู อไรด์มากเกินไปจะท�ำใหฟ้ นั ตกกระ ไมส่ วยงาม วัคซีน วัคซนี ในวยั น้ีมไี มม่ าก ส่วนใหญ่เปน็ วัคซนี ส�ำหรบั กระตนุ้ ภมู คิ มุ้ กนั จากวคั ซนี ที่ทยอยฉีดมาตั้งแต่ แรกคลอด หรอื ใหว้ คั ซนี ทางเลอื กทผี่ ปู้ กครองยงั ไมต่ ดั สนิ ใจฉดี กอ่ นหนา้ น้ี เชน่ ไวรสั ตบั อกั เสบเอ อสี กุ อใี ส ไข้หวดั ใหญ่ ซ่งึ ผ้ปู กครองสามารถปรกึ ษาแพทยเ์ พอ่ื หาขอ้ มลู เพมิ่ เตมิ ได้ วัคซีนที่เด็กอนุบาลควรไดร้ บั 26

การสง่ เสริมสขุ ภาพ ก�ำหนดการดแู ลการฉีดวคั ซีนเดก็ ไทย โดยสมาคมโรคตดิ เชือ้ ในเดก็ แหง่ ประเทศไทย 2560 ราชวทิ ยาลัยกุมารแพทย์แหง่ ประเทศไทย 27

การสง่ เสริมสุขภาพ 28

การสง่ เสรมิ สุขภาพ การปอ้ งกนั อบุ ัติเหตอุ ันตราย เด็กอนุบาลจะมพี ัฒนาการดา้ นต่าง ๆ ดีข้นึ ทงั้ กลา้ มเน้อื มดั ใหญแ่ ละมดั เลก็ ทำ� ใหเ้ คลื่อนไหวได้ คล่องแคลว่ ขน้ึ ใช้มอื หยิบจับและใชง้ านในกิจกรรมต่างๆ ไดด้ ีขึน้ มีอยากรอู้ ยากเห็น อยากทดลองตาม วัย แต่ยังขาดความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ จงึ มีความเสย่ี งทจ่ี ะเกดิ อบุ ัติเหตุได้ จากการสำ� รวจในปี พ.ศ. 2556 พบวา่ อุบัตเิ หตทุ ี่รนุ แรงท่เี กดิ กับเด็กวัยอนบุ าลทีพ่ บบ่อย ไดแ้ ก่ การจมนำ้� การพลัดตกจาก เครอื่ งเล่น อุบัติเหตจุ ราจร โดยเฉพาะขณะซ้อนทา้ ยรถจกั รยานยนต์ การบาดเจบ็ จากของรอ้ นลวก แนวทางป้องกัน มดี ังนี้ 1. จดั สภาพแวดลอ้ มรอบตัวเด็กใหป้ ลอดภัย ท้ังในบา้ น นอกบ้าน และระหว่างเดนิ ทาง • จัดพืน้ ท่ปี ลอดภัยสำ� หรบั เดก็ ในบา้ น โดยแยกเดก็ ออกจากจุดอันตรายเชน่ มปี ระตู หรือ ร้วั เพือ่ แยกพ้ืนที่ของเด็กออกจากแหล่งน�้ำ ห้องครัว บนั ได ระเบยี ง ถนนหรือบริเวณท่ีมยี านพาหนะเข้าถึง • เลือกใชแ้ ละจัดวางเฟอร์นเิ จอรใ์ ห้เหมาะสม เชน่ เลอื กใช้ตหู้ รือชน้ั วางของที่มคี วามม่นั คงไม่ ล้มงา่ ย หรือยดึ ตดิ ก�ำแพง เพือ่ ป้องกันการล้มคว่�ำเมื่อเดก็ เข็น ดนั หรือปนี ป่าย • แยกเกบ็ หรอื จดั วาง สิง่ ของท่อี าจกอ่ อนั ตรายกบั เด็กเพอื่ มิใหเ้ ด็กเข้าถึงได้ เช่น จดั วางของ รอ้ น ของมีคม ไมข้ ีดไฟ สารพษิ อาวธุ ยา ไมใ่ ห้เดก็ เข้าใกลไ้ ด้ เป็นต้น รวมท้งั ไม่ควรนำ� เอายาหรือสาร พิษใสภ่ าชนะทม่ี ลี ักษณะคล้ายภาชนะบรรจอุ าหารหรอื เครื่องดื่ม เพราะอาจทำ� ใหเ้ ด็กเขา้ ใจผิดได้ • ไมใ่ หเ้ ดก็ เลน่ ของเล่นอนั ตราย เชน่ ของเล่นที่มีความแหลมคม มคี วามแรงเช่นปนื อดั ลม หรือ วัตถุ ระเบิด เช่น พลุ ดอกไมไ้ ฟ เป็นต้น รวมทัง้ ไมใ่ หเ้ ดก็ อายุน้อยกว่า 5 ปี เล่นอุปกรณท์ ต่ี อ้ งใช้ทักษะ การทรงตวั บนลูกล้อ เช่น สเกตบอรด์ รองเทา้ มลี ้อ เปน็ ตน้ • จัดให้เด็กเดินทางด้วยความปลอดภัย เช่น ใช้ท่ีน่ังนิรภัยส�ำหรับเด็ก (child car seat) ให้ เหมาะสมตามอายุเมอื่ โดยสารรถยนต์ หลกี เล่ียงการนำ� เดก็ โดยสารไปกบั รถจักรยานยนต์เปน็ ตน้ • รณรงคแ์ ละใหค้ วามรว่ มมอื กบั ชมุ ชนในการจดั พนื้ ทเ่ี ลน่ นอกบา้ นทป่ี ลอดภยั ใหเ้ ดก็ เชน่ สนาม เด็กเลน่ ทไี่ มต่ ิดถนน มที ่กี ้นั ไม่ใหเ้ ดก็ ถูกรถชน มีท่ีปิดกนั้ ไมใ่ หเ้ ดก็ เข้าไปใกลบ้ อ่ น้ำ� ท้องร่อง แมน่ ้�ำ ติดต้งั เครื่องเลน่ สนาม เสาฟุตบอล แป้นบาสอย่างถกู วิธี ม่นั คง ไม่ล้มง่าย เป็นต้น 2. เฝ้าสำ� รวจดูแล ปกปอ้ งคุ้มครอง • ตอ้ งให้เดก็ อยใู่ นระยะมองเหน็ และเข้าถึงตวั เด็กได้ทันที • ไมป่ ล่อยให้เดก็ อยกู่ บั คนทีไ่ ม่คุ้นเคยตามล�ำพงั หรอื บคุ คลอนั ตราย เชน่ ผตู้ ิดยาเสพตดิ ผู้ท่ีมี อารมณ์แปรปรวน ผู้ท่ีเสพตดิ ทางเพศ หรือเมาสุรา เป็นตน้ • ผู้ดแู ลรวู้ ิธกี ารปฐมพยาบาลเบอ้ื งตน้ การปฏิบัตกิ ารก้ชู ีพข้นั พน้ื ฐาน (การเปา่ ปาก นวดหัวใจ) 29

การสง่ เสรมิ สุขภาพ และการป้องกันการบาดเจบ็ ในเดก็ รวมถงึ รู้วธิ ีติดต่อกับหน่วยฉกุ เฉนิ ทางการแพทย์ (1669) และวิธีการ ส่งต่อเด็กในภาวะฉกุ เฉินไปยงั สถานพยาบาลใกล้เคยี ง • ในกรณที เี่ ดก็ ไดร้ บั สารพษิ สามารถขอคำ� ปรกึ ษาเบอื้ งตน้ ไดท้ ศี่ นู ยพ์ ษิ วทิ ยารามาธบิ ดี (0 2201 1083/0-220-11084-6 ) หรอื hotline 1367 (24 ช่ัวโมง) 3. สอนเด็กใหค้ ิดเป็น ฝึกเด็กหัดที่จะหลีกเล่ียงจุดอันตราย ท�ำตามกฎแห่งความปลอดภัย และมีทักษะชีวิตเพื่อความ ปลอดภยั ดังน้ี • ฝกึ ใหช้ ว่ ยเหลือตนเอง เชน่ ฝกึ ใหผ้ ุดข้ึนมาจากนำ�้ แล้วเกาะฝัง่ เม่อื ตกนำ้� ใกล้ขอบฝง่ั และฝกึ ใหล้ กุ ข้นึ ยืนไดใ้ นน�้ำ เม่อื ตกนำ�้ ทีต่ นื้ กว่า 2 ใน 3 ของความสูง รวมท้งั ฝกึ ทกั ษะเพอื่ ความปลอดภัย เช่น เด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป สามารถสอนการลอยตัวในน้ำ� และการวา่ ยน�ำ้ ระยะสัน้ ๆ ได้ อย่างไรก็ตามผ้ดู ูแลยงั คงต้องดูแลใกล้ชิดตลอดเวลาเม่ือเด็กอยู่ใกล้แหล่งน�้ำ ส�ำหรับทักษะเพื่อความปลอดภัยอ่ืน ๆ ท่ีเด็กวัย อนบุ าลควรไดร้ บั การฝกึ หดั เชน่ การขจี่ กั รยานสามลอ้ อยา่ งปลอดภยั เพอื่ ฝกึ หดั การทรงตวั ทงั้ นค้ี วรปลกู ฝังนสิ ยั การสวมหมวกนิรภัยเมื่อข่ีรถจกั รยานหรอื จักรยานยนตด์ ว้ ย • สอนใหร้ จู้ กั จดุ เสยี่ ง สถานการณอ์ นั ตรายอยา่ งงา่ ยๆไมซ่ บั ซอ้ น โดยบอกเลา่ กรณตี วั อยา่ งและ ผลลัพธ์ทเี่ กิดขนึ้ รวมท้ังกำ� หนดกฎแห่งความปลอดภัยที่เขา้ ใจงา่ ยใหเ้ ดก็ ปฏิบัติอย่างสมำ�่ เสมอ เชน่ ไม่ เล่นใกลแ้ หลง่ น้ำ� ไมเ่ ลน่ ใกลถ้ นน ไมว่ ่ิงขา้ มถนนคนเดียว ไม่เล่นสายไฟ ปลกั๊ ไฟ และเครอ่ื งใช้ไฟฟา้ ไม่ เล่นไฟ นำ้� ร้อน และไมร่ บั ส่งิ ของหรอื ไปกบั คนแปลกหน้า เปน็ ตน้ • สอนใหร้ จู้ ักปกปอ้ งร่างกายตนเอง ระมดั ระวงั และวางตัว กบั คนแปลกหนา้ อยา่ งเหมาะสม รวมทง้ั รจู้ กั บอกผดู้ แู ลเมอ่ื มผี อู้ น่ื มาก ระท�ำโดยไม่เหมาะสมเช่น สัมผัสร่างกายในส่วนที่ควรปกป้องโดย เฉพาะหนา้ อก ก้น และอวัยวะเพศ เปน็ ต้น • ฝกึ ใหจ้ ดั การความขดั แยง้ โดยไมใ่ ชค้ วามรนุ แรง เชน่ บอก ครูเม่ือเพื่อนแยง่ ของเล่น เปน็ ตน้ 30

เทคนิคการเลี้ยงดูและพัฒนาทกั ษะสาคัญ บทที่ 4 เทคนคิ การเลี้ยงดแู ละพัฒนาทกั ษะสำ� คญั หลักการสร้างพฤติกรรมทต่ี ้องการ พฤตกิ รรมทพี่ อ่ แมต่ อ้ งการในเดก็ วยั อนบุ าลมกั เปน็ เรอื่ งเลก็ ๆ เชน่ ตอ้ งการใหเ้ ดก็ ชว่ ยเหลอื ตนเอง ใหม้ ากที่สดุ หดั ควบคมุ อารมณ์ เรียนรสู้ ิ่งตา่ งๆ รอบตัวและอยรู่ วมกบั ผ้อู ื่นโดยรจู้ ักกฎเกณฑก์ ติกาบาง อยา่ ง เป็นต้น หลกั การสร้างพฤติกรรมทต่ี อ้ งการ มีวธิ กี ารงา่ ยๆ ดังน้ี 1. ผฝู้ กึ จะตอ้ งรกั เมตตา นมุ่ นวล ปรารถนาดี รบั ผดิ ชอบในการฝกึ ฝนและอยากใหเ้ ดก็ มพี ฤตกิ รรม ทด่ี ี รวมทั้งทำ� ความเข้าใจธรรมชาตขิ องเดก็ แต่ละคน ในแตล่ ะวยั และยอมรับลกั ษณะเฉพาะของเด็ก 2. กำ� หนดเปา้ หมายท่ีชดั เจนในการฝกึ คาดหวงั ให้เหมาะสม 3. สรา้ งบรรยากาศในการฝกึ ทีส่ ดชนื่ รา่ เริง สงบสุข ไมก่ ดดนั 4. ในการฝึกควรส่ือสารกบั เดก็ ตรงๆ ด้วยภาษาง่ายๆท่ีเหมาะกบั วัย 5. ชมเชยเมอ่ื เดก็ ทำ� ไดเ้ พ่มิ ขนึ้ และใหก้ ำ� ลงั ใจเมือ่ เดก็ ท�ำผดิ พลาด 6. ฝึกฝนสม�่ำเสมอ อดทน เข้าใจ ให้เวลาแกเ่ ด็กในการท�ำงาน ไมแ่ ย่งงานของเด็กมาทำ� เอง 7. ฝึกฝนไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน ท่ีมุ่งเน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุดและอยู่รวม กบั ผู้อืน่ ภายใต้กตกิ าเดียวกัน 8. เปิดโอกาสให้เดก็ ท�ำกิจกรรมทที่ ำ� ให้ตอ้ งชว่ ยเหลือตนเองและช่วยผอู้ นื่ ทำ� สง่ิ ต่างๆไดเ้ พ่มิ ข้ึน เพื่อทำ� ให้เกิดความรูส้ กึ ทดี่ ี มองเห็นคุณคา่ และความสามารถของตนเอง 31

เทคนิคการเล้ียงดูและพัฒนาทกั ษะสาคญั วงจรพฒั นา ฝึกลกู ใหใ้ ชช้ วี ิตในโรงเรียนอนบุ าล เดก็ วยั 3-6 ปี ใชเ้ วลาในโรงเรยี นอนบุ าลเพ่ิมขึ้น มพี ัฒนาการท่ีสำ� คัญหลายด้านทพี่ อ่ แมค่ วรสง่ เสริมใหเ้ ด็กเกดิ ความพร้อม ดงั น้ี 1. ช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือตนเองได้เป็นส่ิงส�ำคัญอย่างแรกที่เป็นรากฐานของการก้าว ออกไปในสงั คมอยา่ งมน่ั ใจ พอ่ แมค่ วรฝกึ ใหเ้ ดก็ ชว่ ยเหลอื ตนเองทกุ ดา้ นใหม้ ากทสี่ ดุ เชน่ กนิ ขา้ ว อาบนำ�้ แปรงฟัน แตง่ ตวั เข้าห้องน้ำ� ช่วยงานบ้าน การชว่ ยเหลอื ตนเองนนี้ อกจากจะท�ำให้เดก็ ตอ้ งคิด ตดั สนิ ใจ และลงมอื ทำ� แล้ว ยงั จะท�ำให้เด็กภมู ิใจในตนเองเม่ือเขาทำ� ได้ ระยะแรกพอ่ แมค่ วรสอนหรอื จับมอื ทำ� เม่ือเดก็ ท�ำไดบ้ ้างก็ควรปล่อยใหเ้ ด็กทำ� ดว้ ยตวั เองมากข้นึ ชมและให้กำ� ลังใจเปน็ ระยะ ให้ท�ำบ่อยๆ จน เกิดทกั ษะ คลอ่ งแคลว่ 2. คุมอารมณ์ได้ ฝึกให้เด็กรู้จักอดกลั้น รอคอย และแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม เพ่ืออยู่รวม กับคนอ่ืนไดง้ ่าย โดยมีพอ่ แมเ่ ป็นตน้ แบบของคนทีค่ มุ อารมณต์ นเองได้ ไมย่ ว่ั ยใุ ห้อารมณเ์ สียบ่อยๆ ฝกึ ให้เด็กร้จู กั อารมณข์ องตนเอง และจัดการอารมณ์อยา่ งเหมาะสม เชน่ ถ้าเดก็ โกรธ ร้องอาวะวาด ให้ฝกึ โดยแยกเดก็ ออกมาในทสี่ งบ เพกิ เฉยไมใ่ หค้ วามสนใจ จนกวา่ เดก็ จะสงบลงไดด้ ว้ ยตวั เอง นอกจากนคี้ วร ฝึกให้เด็กรจู้ กั อดทนท�ำในสงิ่ ทคี่ วรท�ำ ซ่งึ อาจเปน็ สง่ิ ทเ่ี ด็กไม่ชอบ เช่น ช่วยเหลือตนเอง ชว่ ยท�ำงานบ้าน เก็บของเลน่ มากกว่าส่งเสริมให้ทำ� ในสงิ่ ท่ชี อบหรอื อยากจะท�ำเท่าน้ัน 3. ดา้ นสตปิ ญั ญา เปดิ โอกาสใหเ้ ดก็ ไดเ้ หน็ และมปี ระสบการณต์ รงเรยี นรจู้ ากสภาพ แวดลอ้ ม พอ่ แมค่ วรหมน่ั พดู คยุ ตงั้ คำ� ถามงา่ ยๆใหเ้ ดก็ คดิ หาคำ� ตอบ และใหค้ ำ� แนะนำ� แกเ่ ดก็ พาเดก็ ออกไปเทยี่ วนอก 32

เทคนิคการเลยี้ งดแู ละพัฒนาทักษะสาคญั บา้ นเพอ่ื ใหห้ ดั สงั เกตสงิ่ รอบตวั หรอื เลา่ นทิ านใหฟ้ งั บอ่ ยๆ ฝกึ สรปุ สง่ิ ทเี่ รยี นรรู้ ว่ มกบั เดก็ ฝกึ ใหเ้ ดก็ จดจำ� ชอื่ นามสกลุ ตวั เอง ทอ่ี ยแู่ ละเบอรโ์ ทรศพั ท์ นอกจากนค้ี วรฝกึ เดก็ ใหม้ ที กั ษะการแกป้ ญั หาดว้ ยตนเองหรอื ขอความชว่ ยเหลือจากผู้อ่นื 4. ดา้ นสงั คม ตอ้ งเตรียมเดก็ ใหพ้ ร้อมในด้านต่อไปน้ี 4.1 ร้จู กั เคารพสทิ ธิผอู้ ่นื รูล้ ำ� ดบั คนในสังคมท่ตี อ้ งยอมรบั เชน่ ผู้ใหญ่ พ่ี เป็นต้น ฝกึ ใหใ้ ชค้ ำ� พูด เชน่ ขอโทษ ขอบคณุ เคาะประตูกอ่ นเข้าห้อง ขออนญุ าตกอ่ นหยิบของคนอ่ืนไปใช้ 4.2 รู้จักการรอคอย 4.3 รู้จกั การให้และการรบั ทเี่ หมาะสม 4.3 ส่งเสริมให้แสดงพฤติกรรมที่ตรงกบั เพศของตัวเดก็ เองท่ถี กู ต้องและเหมาะสม 4.4 ฝึกให้เด็กรู้จักการเล่นตามกติกา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้จักการเล่นได้หลากหลาย ซ่ึงฝึกได้โดยเปิด โอกาสให้เล่นกับเพ่อื น โดยเฉพาะการออกก�ำลงั กายกลางแจ้ง ซึ่งมีผลดตี อ่ ท้งั การเจรญิ เตบิ โต อารมณ์ และการเข้าสังคม 5. ดา้ นร่างกาย เนน้ การออกก�ำลังกาย ส่งเสริมให้เดก็ เลน่ อสิ ระกลางแจ้ง เชน่ วง่ิ เลน่ ในสนาม ปีนป่ายเคร่ืองเล่น ถบี จักรยาน และฝึกการวาดภาพหรอื รูปทรงต่างๆ การเตรียมความพรอ้ มก่อนเขา้ โรงเรยี นระดับประถมศกึ ษา ควรส่งเสรมิ สร้างลักษณะนิสยั ในชว่ งปฐมวยั ดงั น้ี 1. ความแข็งแรงของร่ายกาย ส่งเสริมการออกก�ำลังกาย นอกจากจะท�ำให้ร่างกาย แข็งแรง กระฉับกระเฉง จติ ใจแจม่ ใส มีความกระตือรือรน้ และยงั ทำ� ให้การรบั รู้ได้คลอ่ งแคลว่ 2. การส่งเสริมให้รักการเรียนรู้ โดยเป็นต้นแบบนักเรียนรู้ท่ีดี และจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อเด็ก ในการค้นหาความรู้ และตอบสนองความอยากรอู้ ยากเห็น ซง่ึ ไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งตอบทุกคำ� ถามของเดก็ แต่ ฝกึ ให้เด็กสามารถคน้ หาค�ำตอบจากแหล่งต่างๆ ดว้ ยตนเอง โดยฝกึ คิดเปน็ ท�ำเปน็ ไปพรอ้ มๆ กบั ฝกึ ให้ ลูกคิดถกู ทำ� ถูก นอกจากน้กี ารเลอื กโรงเรยี นอนบุ าลที่เหมาะสมกับเดก็ มสี ำ� คญั ตอ่ การสง่ เสริมการเรียน รู้ โรงเรยี นไมค่ วรเร่งเรยี นด้านวชิ าการมากจนเกินไป แต่เนน้ การท�ำกจิ กรรมเสริมทักษะในการเรียนด้วย เชน่ สมาธิ การใชม้ อื ตา ความคดิ การตดั สินใจ การดู การฟงั การทำ� ตามขั้นตอน เป็นต้น จัดการเรยี น การสอนทีง่ ่าย เหมาะสมกับวัย เพอ่ื ให้เด็กพบกบั ความส�ำเร็จในการเรียนรบู้ อ่ ยครั้ง และนำ� ความรูม้ าใช้ ในชวี ติ ประจ�ำวนั ได้ การสร้างรากฐานการเรยี นรู้ทีด่ ี ทเี่ นน้ การกระตนุ้ ให้เดก็ สนใจท่ีจะเรียนรเู้ อง พึ่งพา ตนเองได้ มีความอดทน ความพยายาม ความรับผิดชอบทมี่ ีตอ่ หน้าทแ่ี ละงานทีม่ อบหมาย ซึง่ จะชว่ ยสง่ เสรมิ ใหเ้ กิดการเรียนร้ทู ีย่ ่งั ยืน 33

เทคนคิ การเลีย้ งดแู ละพฒั นาทกั ษะสาคัญ 3. การสง่ เสริมการปรบั ตวั การท�ำการกติกา และการอยู่รว่ มกบั ผูค้ นในสังคม โดยเน้นเร่อื งการ ใหเ้ ดก็ ชว่ ยเหลือตนเอง การแกป้ ญั หาด้วยตนเอง การใชช้ ีวติ อยใู่ นกตกิ าของทั้งท่ีบา้ น ทโี่ รงเรียน และ ในสนามเดก็ เลน่ และฝกึ ให้เด็กรู้จักควบคมุ อารมณต์ นเองให้เหมาะสม 4. การสรา้ งสมาธิ โดยจดั สภาพแวดลอ้ มท่เี งยี บ สงบ ฝึกท�ำกจิ กรรมที่ต้องใชส้ มาธจิ ดจอ่ ตอ่ เน่อื ง เช่น งานศลิ ปะ ดนตรี เป็นต้น รวมถึงหัดนง่ั สมาธอิ ยา่ งเหมาะสมกับวัย เพ่อื ให้เด็กมคี วามสงบ จิตใจอยู่ ในสภาวะทพ่ี ร้อมส�ำหรับการเรียนรู้ ซงึ่ จะเปน็ พ้นื ฐานในการเรียนรู้ระยะยาว การพัฒนาดา้ นเชาวนอ์ ารมณ์ (EQ) EQ (Emotional Quotient) หมายถงึ ความสามารถของคนในการควบคมุ อารมณ์ จติ ใจ และ รวมถึงทกั ษะการเข้าสงั คมดว้ ย คนที่มี EQ ดี มกั จะเปน็ คนท่มี ีความสุขในชวี ติ และมกั จะประสบความ ส�ำเร็จได้สูง การที่เด็กมีเชาวน์อารมณ์ดีเปรียบเหมือนการมีวัคซีนป้องกัน ท�ำให้เด็กสามารถเผชิญกับ เหตกุ ารณ์ทเี่ ปน็ ความเครยี ดในชีวิต สามารถอย่รู ว่ มกับผอู้ ื่นและประสบความส�ำเร็จในชวี ติ ลกั ษณะของคนทมี่ ี EQ ดี คือ 1. สามารถตระหนกั รอู้ ารมณข์ องตนเอง 2. สามารถควบคุมจัดการกบั อารมณ์ท่เี กดิ ขน้ึ อย่างเหมาะสม 3. รู้จักให้กำ� ลังใจตนเองในทุกสถานการณ์ 4. สามารถตระหนักร้อู ารมณ์ของผู้อน่ื เอาใจเขามาใส่ใจเรา 5. มที กั ษะทางสังคมและรักษาสัมพันธภาพทด่ี กี ับผู้อน่ื ส่ิงทพ่ี ่อแม่และครคู วรท�ำเพ่อื ช่วยให้เด็กสามารถพฒั นาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) 1. ฝกึ ตนเองให้ไวตอ่ การรับร้ภู าวะอารมณข์ องเดก็ 2. ยอมรับทง้ั อารมณด์ ้านบวกและลบของเดก็ 3. ช่วยเด็กให้สามารถหาค�ำอธิบายที่เก่ียวกับอารมณ์และรู้จักอารมณ์ของตนเองให้ชัดเจนข้ึน ตามความรสู้ กึ อย่างทีเ่ ขาเปน็ 4. ฝกึ เด็กให้รจู้ ักยบั ยง้ั อารมณ์ แนะนำ� วิธีการจัดการอารมณ์ของตนเองอยา่ งเหมาะสม 5. กำ� หนดขอบเขตของพฤตกิ รรม และสอนการแสดงออกทเ่ี ปน็ ท่ยี อมรบั 6. สอนทกั ษะการแก้ปัญหาในสถานการณต์ า่ ง ๆ ฝกึ เดก็ ให้คดิ แก้ปัญหาด้วยตนเอง 7. สอนทกั ษะการเขา้ สังคม ฝกึ เดก็ ให้รจู้ กั ปรบั ตัวเข้ากบั สังคม ผปู้ กครองและคณุ ครสู ามารถประเมนิ เชาวนอ์ ารมณเ์ ดก็ อนบุ าล โดยใชแ้ บบประเมนิ ของกรมสขุ ภาพจติ 34

















เทคนคิ การเลีย้ งดแู ละพฒั นาทักษะสาคญั ฝกึ ใหม้ ่ันใจตนเอง ความมนั่ ใจในตนเองแตกตา่ งจากการเอาแตใ่ จตนเองโดยไมน่ กึ ถงึ ความรสู้ กึ ของผอู้ น่ื ความรกั อยา่ ง เดยี วไมเ่ พยี งพอในการฝกึ ฝนลกู ใหป้ ระสบความสำ� เรจ็ การทเี่ ดก็ วยั อนบุ าล 3-6 ปี ชว่ ยเหลอื ตนเองไดเ้ พมิ่ ขนึ้ เลยี นแบบพ่อแม่ และสามารถชว่ ยพ่อแม่ได้ จะท�ำใหเ้ ดก็ วยั นรี้ ู้สกึ วา่ ตวั เองมคี ุณค่า มีความสามารถ มคี วามหมาย เปน็ คนสำ� คญั คนหนงึ่ ในครอบครวั สง่ ผลทำ� ใหเ้ ดก็ ชอบตนเองและจะพยายามทำ� ตนเองให้ ดขี ึน้ เห็นความมงุ่ ม่นั ชดั เจนขึน้ อยากเรยี นรูส้ ิง่ ตา่ งๆ รอบตัวเพม่ิ ขนึ้ พ่อแม่และผู้ใหญ่ท่ีใกล้ชิดกับเด็ก รวมท้ังครูด้วย เป็นผู้สะท้อนส่ิงดีและสิ่งไม่ดีในการแสดงออก ของเด็กให้เด็กรับรู้ เม่อื คนรอบตัวพูดถงึ ตนเองบอ่ ยๆ ไมว่ า่ ดา้ นดีหรือไม่ดี สุดท้ายเดก็ จะเชอื่ วา่ เขาเป็น คนอย่างนน้ั จรงิ ๆ การฝกึ ฝน จึงควรเนน้ จดุ ดีใหม้ ากกว่าการบอกจุดดอ้ ย เพอื่ ให้มกี ารพัฒนาต่อได้ เดก็ ไมต่ อ้ งการคนมาตอกยำ้� วา่ ผดิ พลาดอยา่ งไร แตต่ อ้ งการชน้ี ำ� วา่ จะทำ� อยา่ งไรจงึ จะทำ� ไดถ้ กู ตอ้ ง หรอื ดขี นึ้ กวา่ เดมิ พอ่ แมแ่ ละครคู วรหลกี เลยี่ งการใชค้ ำ� พดู ทร่ี นุ แรง เพราะจะทำ� ใหเ้ ดก็ เสยี ความรสู้ กึ รสู้ กึ วา่ ตัวเองไมม่ ีคุณค่า หากเด็กมพี ฤติกรรมไมเ่ หมาะสม อย่าตำ� หนวิ ่าตัวเดก็ เปน็ คนไมด่ ี แตค่ วรบอกกล่าว เน้นพฤตกิ รรมทเ่ี ดก็ ท�ำแลว้ พอ่ แมห่ รือครเู ห็นว่าไม่เหมาะสมพร้อมกับชีแ้ นะแนวทางแก้ไข การใหก้ ำ� ลงั ใจ การใชค้ ำ� พดู เชงิ บวกจะชว่ ยใหเ้ ดก็ ยอมรบั ไดแ้ ละยอมทำ� ตามมากกวา่ การใชค้ ำ� พดู เชงิ ลบ หรือค�ำพูดรุนแรง ไมว่ า่ ผลของการฝกึ ฝนจะเป็นอยา่ งไรในวันน้ี อยา่ ลืมแสดงให้เด็กเห็นว่าท่าน เช่อื ม่นั ว่าวนั หน่งึ เขาจะท�ำไดแ้ น่นอน 43

เทคนคิ การเล้ยี งดแู ละพัฒนาทักษะสาคญั การเตรยี มความพร้อมสำ� หรับการอ่านเขยี น วยั 3-6 ปเี ปน็ ชว่ งเวลาของการเรยี นรสู้ ำ� หรบั เดก็ ในหลายๆดา้ น โดยเฉพาะการเตรยี มความพรอ้ ม ฝกึ ทกั ษะดา้ นการอ่าน เขยี นหนงั สอื ใหก้ บั เดก็ เพราะเป็นทักษะส�ำคญั ที่เดก็ ทุกคนจะตอ้ งเรียนรู้เมื่อเขา้ สู่ระบบการศึกษาภาคบังคับในช้ันประถมศึกษาตอนต้น และมีความสัมพันธ์กับการประสบผลส�ำเร็จใน การเรยี นของเด็ก การจะเตรียมความพร้อมสำ� หรับทกั ษะการอา่ นเขยี น สามารถทำ� ได้ดงั แตใ่ นช่วงวัยนี้ ถ้าพ่อแม่เข้าใจพ้นื ฐานการเรียนรู้ดังกลา่ ว ทกั ษะพน้ื ฐานของการอ่านเขียน การท่ีเด็กจะอา่ นหนงั สอื ไดน้ ้นั เดก็ จะต้องมีความสามารถพนื้ ฐานต่อไปน้ี 1. สามารถแยกแยะสว่ นประกอบของเสียงในค�ำ (Phonological awareness) ค�ำแต่ละค�ำในภาษาพูดจะประกอบด้วยเสียงย่อย (phoneme) หลายเสียงมารวมกัน เช่น “ปาก” ประกอบด้วยเสยี ง /ป/ - /า/ - /ก/ เมื่อจะเขยี นค�ำในภาษาพดู ออกมาเป็นภาษาเขยี นนนั้ แตล่ ะเสียง ย่อยน้ันจะถูกแทนท่ีด้วยตัวอักษรเฉพาะ ดังน้ันถ้าเด็กจะอ่านหรือเขียนได้จะต้องมีความเข้าใจเก่ียวกับ หนว่ ยยอ่ ยของคำ� ก่อน คือรบั รวู้ า่ คำ� พดู ที่ไดย้ นิ หน่ึงคำ� นั้น จรงิ ๆ แล้วมเี สยี งยอ่ ยประกอบอยู่หลายเสยี ง 2. รจู้ ักตัวอกั ษร (alphabetic) และการใช้ตัวอักษรแทนเสยี ง (phonic) เด็กที่จะอ่านเขียนได้นั้นจะต้องรู้จักตัวอักษรในภาษาของตัวเองว่ามีตัวอะไรบ้าง และรู้ว่าตัวอักษรนั้น แทนเสียงอะไร เชน่ ภาษาไทยน้ันตัวอกั ษร 1 ตวั จะใชแ้ ทนเสยี ง 1 เสยี ง เชน่ เชน่ “ม” แทนเสยี ง /ม/ หรือ ษ, ส, ศ แทนเสยี ง /ส/ เปน็ ตน้ หลงั จากนน้ั เดก็ จะตอ้ งเรียนร้ทู ่ีจะน�ำตัวอกั ษรแต่ละตวั มาแทนท่ี เสียงย่อยแต่ละเสยี งในค�ำ เช่น เมอื่ เดก็ จะอา่ นคำ� วา่ “ยาว” เด็กตอ้ งรูว้ ่า ตวั อกั ษร “ย” แทนเสียง “ยอ” สระ “า” แทนเสยี ง “อา” และ “ว” แทนเสยี ง “วอ” จากนั้นจึงสามารถเอาเสยี งของตวั อักษรท้ัง 3 ตวั มารวมกนั “ยอ-อา-วอ” อา่ นออกมาเป็นคำ� ว่า “ยาว” ได้ 3. รจู้ กั ความหมายของค�ำศัพท์ การจะอ่านหรือเขียนได้ดีน้ัน เด็กมีความจ�ำเป็นที่จะต้องรู้จักความหมายของค�ำศัพท์ หรือเด็กจะต้องมี คลงั ค�ำศพั ท์อยพู่ อสมควร ถา้ เดก็ ไมร่ ้จู กั ความหมายของคำ� นน้ั เช่น ถา้ เดก็ ไมเ่ คยรจู้ กั “คราด” ถงึ แมเ้ ดก็ จะสะกดอ่านค�ำได้ แตย่ อ่ มไม่เขา้ ใจวา่ ส่ิงน้คี อื อะไร 4. สามารถในการจบั ใจความ การจบั ใจความเปน็ พน้ื ฐานของทง้ั ภาษาพดู และภาษาเขยี น ในภาษาพดู เดก็ ทฟี่ งั เรอื่ งตา่ งๆ แลว้ สามารถ จับใจความได้ ก็จะทำ� ใหเ้ ข้าใจเรื่องราวต่างๆ ไดด้ ี เช่นเดียวกับในภาษาเขยี น เด็กทีจ่ บั ใจความได้ดียอ่ ม เข้าใจเรื่องราวทีอ่ า่ นไดด้ กี ว่า รวมท้ังสามารถเขียนบรรยายเรื่องราวไดด้ กี วา่ ด้วย 44

เทคนคิ การเลย้ี งดูและพัฒนาทกั ษะสาคัญ จะเห็นได้ว่าการท่ีเด็กจะสามารถอ่านเขียนได้ดีน้ัน จ�ำเป็นต้องมีทักษะหลายด้าน ไม่ใช่เพียงแค่ การท่องตัวอักษรได้ หรือคัดตามแบบตัวอักษรได้อย่างที่พ่อแม่หลายคนเข้าใจ ซ่ึงถ้าฝึกฝนทักษะในทุก ดา้ นทก่ี ลา่ วมานใ้ี หเ้ ดก็ ไดต้ งั้ แตว่ ยั 3-6 ปจี ะชว่ ยใหเ้ ดก็ อา่ นเขยี นหนงั สอื ไดง้ า่ ยขน้ึ เมอื่ เขา้ สกู่ ารศกึ ษาภาค บังคับ ซง่ึ การฝกึ ฝนสามารถท�ำได้ในแนวทาง ดงั น้ี 1. การฝกึ การแยกแยะสว่ นประกอบของเสียงในคำ� (Phonological awareness) ท�ำได้โดย • การอา่ นหนังสอื ทม่ี คี ำ� คล้องจองใหเ้ ดก็ ฟงั หรือทอ่ งกลอนค�ำคล้องจองกบั เดก็ เชน่ จันทรเ์ อ๋ย จนั ทรเ์ จา้ ซึง่ เด็กๆ มักจะชอบฟังคำ� คลอ้ งจองน้ี และเมือ่ ฟงั บ่อยๆ เดก็ จะตระหนกั ว่า คำ� ทคี่ ล้องจองกัน น้ี มหี น่วยย่อยของเสยี งคล้ายกนั • ฝึกใหเ้ ดก็ แยกแยะพยางค์ เช่น การเลน่ ตบมอื เทา่ กับจ�ำนวนพยางค์ของค�ำ • ฝกึ ให้เดก็ รูจ้ ักแยกเสียงตน้ ของคำ� อาจท�ำไดก้ ารเล่นเกม เช่น ให้เดก็ เลอื กรูปทอ่ี อกเสยี งต้น เหมอื นกัน เชน่ ให้เด็กดูรปู “กบ แก้ว มด” แล้วให้เดก็ เลอื กรูปทอ่ี อกเสียงตน้ เหมอื นกันซงึ่ ก็คอื “กบ” และ “แก้ว” หรือให้เด็กบอกค�ำท่ีขึ้นต้นด้วยเสียงท่ีก�ำหนดมาให้มากท่ีสุด เช่น จงบอกค�ำที่ขึ้นต้นด้วย เสียง “พ” ค�ำตอบคอื “พาน พงุ พัด พิง” เปน็ ต้น • ฝึกใหเ้ ด็กเลน่ เก่ยี วกบั คำ� คลอ้ งจอง เชน่ เล่นตอ่ ค�ำคล้องจองสลับกนั ไป “ไปเท่ยี ว เจยี วไข่ ใส่ เส้อื ” เปน็ ตน้ 2. การฝกึ ให้เดก็ รูจ้ ักตัวอักษรและเสยี งของตวั อักษร • ท่องตัวอักษรตามล�ำดับเป็นรูปแบบหน่ึงท่ีนิยมใช้ฝึกให้กับเด็กกันมานาน เป็นส่วนหนึ่งของ การสอนใหเ้ ดก็ รจู้ กั ตวั อกั ษร เนน้ ความเชอ่ื มโยงระหวา่ งตวั อกั ษรกบั เสยี งตวั อกั ษร เชน่ ฝกึ จบั คตู่ วั อกั ษร กบั ภาพ เชน่ ก-รูปไก่ หรือ พ-รูปพาน เมอื่ เด็กเกง่ ขนึ้ แลว้ อาจจะให้เด็กลองหารปู ภาพอ่ืนๆท่ีขนึ้ ต้นด้วย “ก” นอกเหนอื จากรปู ไก่ ซงึ่ อาจเปน็ รปู ภาพ กา กบ แกว้ เปน็ ตน้ หรอื ฝกึ หยบิ ตวั อกั ษรโดยบอกแตเ่ สยี ง ของตวั อกั ษร เช่น หยิบตัว “ม” “ว”โดยไม่ตอ้ งบอกว่า “ม-มา้ ” หรอื “ว-แหวน” เพือ่ ให้เดก็ ฝึกฟังและ แยกเสียงของตัวอักษร • ฝึกประสมค�ำในรูปแบบง่ายๆ โดยในช่วงแรกควรเร่ิมจากการประสมค�ำโดยใช้สระเดียวแต่ เปลยี่ นพยญั ชนะไปเร่ือยๆ เชน่ มา ยา ตา สา พา จากนั้นจึงคอ่ ยๆ เพม่ิ สระใหมท่ ลี ะตัว และฝกึ ประสม คำ� สลับกัน ไป เชน่ มี นา สี ดา เป็นต้น การสอนจะตอ้ งสนกุ สนาน เปน็ กจิ กรรมทที่ ำ� รวมกบั พอ่ แมโ่ ดยไมม่ กี ดดนั หรอื บงั คบั เพราะเดก็ จะ เรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อเด็กรู้สึกสนุกและสนใจ ถ้าเกิดบรรยากาศตึงเครียดเด็กมักปฏิเสธท่ีจะให้พ่อแม่สอน และเดก็ แตล่ ะคนเรยี นรเู้ กย่ี วกบั ตวั อกั ษรไมเ่ ทา่ กนั ในกรณที เี่ ดก็ พฒั นาทกั ษะการอา่ นเขยี นตวั อกั ษรนไ้ี ด้ ช้ากวา่ เพ่ือน ก็ไม่ควรเปรยี บเทียบหรอื เรง่ รัดเด็ก แตค่ วรจะหม่นั ฝกึ ใหก้ ับเดก็ ไปเรือ่ ยๆ เมือ่ เดก็ มโี อกาส ฝึกฝนมากข้นึ เดก็ ก็จะท�ำไดด้ ขี ึน้ เรื่อยๆ 45

เทคนิคการเลย้ี งดูและพฒั นาทักษะสาคัญ 3. ฝึกใหเ้ ด็กรู้จกั คำ� ศพั ท์ โดยเฉลี่ยเดก็ วยั น้จี ะเรียนรคู้ �ำศัพท์ประมาณ 3.5 ค�ำตอ่ วนั การส่งเสรมิ การเรยี นร้คู �ำศพั ทส์ �ำหรับ เด็กวยั นสี้ ามารถทำ� ไดโ้ ดย • สอนและอธิบายในชวี ติ ประจำ� วัน เปิดโอกาสใหเ้ ด็กได้เหน็ ของจริง เชน่ พาไปตลาด และช้ีให้ เด็กดูผักชนดิ ตา่ งๆ หรอื พาเขา้ ครัว และสอนเกย่ี วกบั อุปกรณต์ ่างๆ ในครัว เช่น หม้อ ตะหลิว เขียง โดย อาจลองสาธติ ใหเ้ ดก็ เหน็ วธิ กี ารใชง้ านรว่ มด้วย ซ่งึ จะทำ� ใหเ้ ดก็ รู้จักคำ� ศพั ท์และจดจำ� ได้ดี • อ่านนิทานส�ำหรับเด็กใหฟ้ ังอยา่ งสมำ�่ เสมอ จะช่วยเพม่ิ คลังคำ� ศพั ทใ์ ห้กับเด็ก โดยเดก็ ที่ไดฟ้ ัง นทิ านสม�ำ่ เสมอจะรจู้ ักคำ� ศพั ท์ทใี่ หมๆ่ ทอี่ าจไม่ไดพ้ บในชวี ติ ประจำ� วนั เช่น หมิ ะ งเู ห่า มังกร พรอ้ มกับ ชร้ั ูปภาพประกอบค�ำศพั ท์เดมิ ซ�้ำๆ จะช่วยใหเ้ ด็กจดจำ� ได้งา่ ยขน้ึ การอ่านนิทานจะท�ำใหเ้ ดก็ เขา้ ใจความ หมายของตัวอักษร และเปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของความสนใจท่จี ะอยากอ่านหนงั สือใหไ้ ด้ด้วยตนเองในเวลาต่อ มา ในการอา่ นนทิ านพอ่ แมค่ วรจะชตี้ ามตวั อกั ษรไปดว้ ยในขณะทอี่ า่ น แตไ่ มจ่ ำ� เปน็ ตอ้ งอา่ นตามตวั อกั ษร อยา่ งเดยี วเท่านนั้ ระหว่างการอา่ นควรมจี ังหวะท่พี ดู คยุ ซกั ถาม หรอื ใหเ้ ดก็ ตอบ โตต้ อบกนั ไปด้วย 4. ฝกึ ให้เดก็ จบั ใจความ • เปดิ โอกาสให้เด็กเล่าเรือ่ งเหตกุ ารณ์ตา่ งๆ เช่น เล่าเรอื่ งการไปทะเล หรือการไปเล่นทีส่ นาม เดก็ เล่น เปน็ ตน้ การเลา่ เรอ่ื งจะฝกึ ให้เด็กเรียบเรียงความคดิ และสรปุ ออกมาเป็นค�ำพดู ซ่งึ เป็นพ้ืนฐาน ของการจับใจความ ในชว่ งแรกๆถ้าเด็กยงั เล่าไมเ่ ปน็ อาจตอ้ งสอนให้เด็กเรม่ิ เลา่ จากพน้ื ฐานว่า ใคร ท�ำ อะไร ท่ีไหน เมือ่ ไร • ให้เด็กจับใจความจากนิทานท่ีอ่านให้ฟัง ในระหว่างท่ีอ่านนิทานให้เด็กฟังเม่ือจบแต่ละส่วน อาจจะให้เดก็ ลองจับใจความสรุปว่ามเี รอ่ื งราวอะไรเกดิ ขึ้น การเตรยี มความพรอ้ มในการอา่ นเขยี นสำ� หรบั เดก็ ชว่ ง 3-6 ปนี นั้ ไมไ่ ดม้ เี พยี งแคก่ ารฝกึ ทอ่ งอกั ษร หรือคัดตัวอักษรเท่าน้ัน แต่มีทักษะอื่นอีกหลายด้านที่พ่อแม่สามารถ ฝึกฝนให้กับเดก็ ได้ และทสี่ �ำคญั ก็คือความสัมพนั ธภาพระหว่างเดก็ และ พอ่ แมจ่ ะดขี ้ึน 46

เทคนคิ การเลย้ี งดแู ละพฒั นาทกั ษะสาคัญ การฝึกระเบียบวินยั ระเบยี บวนิ ยั (discipline) คอื โครงสรา้ งทผ่ี ใู้ หญก่ ำ� หนดขน้ึ เพอ่ื ใหเ้ ดก็ ไดเ้ รยี นรวู้ า่ สง่ิ ใดทเี่ ขาทำ� ได้ สิ่งใดท�ำไม่ได้ อีกท้ังยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการควบคุมตนเองภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่บีบ คน้ั โดยมเี ปา้ หมายใหเ้ ดก็ เลอื กแสดงพฤตกิ รรมทเ่ี หมาะสม และเปน็ ทยี่ อมรบั ในสงั คม ซง่ึ จะสง่ ผลใหเ้ ดก็ สามารถดำ� รงชีวิตอย่ใู นสังคมได้อยา่ งมคี วามสุข และมีคณุ ภาพชวี ติ ท่ดี ตี อ่ ไป ระเบียบวนิ ัยนนั้ เปน็ รากฐานในการอยู่รวมกนั ในสงั คม ซ่ึงจะมกี ฎระเบียบขอ้ บังคับตา่ งๆกำ� หนด ใหส้ มาชิกในสงั คมท�ำตามเพอื่ ประโยชนส์ ขุ รว่ มกนั กระบวนการฝกึ ระเบยี บวนิ ยั ใหเ้ ดก็ เตม็ ใจรบั ฟงั และควบคมุ ตวั เองทำ� ตามกฎกตกิ านน้ั จะเปน็ การ ฝกึ ดว้ ยความรกั และความไวใ้ จ มกี ารใหค้ ำ� แนะนำ� และมที างเลอื กใหเ้ ดก็ หดั เลอื กทำ� ในสง่ิ ทถี่ กู ตอ้ งมากกวา่ สิ่งท่ีถูกใจ โดยมีขอบเขตก�ำหนดพฤติกรรม ฝึกฝนสม่�ำเสมอค่อยๆ กล่อมเกลาจนเด็กเติบโตกลายเป็น ผ้ใู หญท่ ำ� ตวั เหมาะสมเป็นแบบอยา่ ง และเปน็ ทพี่ ง่ึ ของผอู้ นื่ ได้ วยั ใดท่ีเหมาะสมในการฝกึ ระเบยี บวินยั ระเบียบวินัยเป็นส่ิงท่ีต้องฝึกฝนต้ังแต่แรกเกิดและฝึกฝนตลอดชีวิต ผ่านกิจวัตรประจ�ำวัน เช่น การกินการนอนเป็นเวลาตั้งแต่เด็ก เม่ือวัย 3-6ปี จึงฝึกให้ช่วยเหลือตัวเองและผู้อ่ืน เมื่อพูดได้ควรฝึก มารยาททางสังคมในการขออนุญาตเมื่อต้องรบกวนผู้อื่น ฝึกทักษะการชวนผู้อื่นเล่น วัยอนุบาลท่ีเริ่ม เข้าใจการแบง่ ปัน ควรฝกึ ระเบยี บวนิ ัยและมารยาทในการเล่นรว่ มกับผ้อู น่ื วัยเรยี นควรฝกึ ใหร้ ับผิดชอบ ในการเรียน จัดการงานตา่ งๆดว้ ยตนเองและรบั ผิดชอบงานท่พี ่อแม่ครูมอบหมาย เมอื่ เขา้ วยั รนุ่ ควรฝึก ทักษะการจดั การเวลาตนเอง การสรา้ งขอ้ ก�ำหนดในการคบเพ่ือน เปน็ ตน้ วยั อนบุ าล เดก็ สว่ นใหญจ่ ะยอมรบั ความเปน็ จรงิ และขอ้ จำ� กดั ตา่ งๆ ไดบ้ า้ ง ทำ� ตามความเหน็ ชอบ ของผูใ้ หญ่ แตย่ งั มีการยดึ ความพึงพอใจของตวั เองเป็นหลักบ้าง การตดั สนิ ใจยงั ไมด่ ีนักจึงยงั ต้องการพอ่ แมท่ เ่ี ปน็ ต้นแบบ คอยชีน้ ำ� ตรวจสอบความเหมาะสมและปลอดภยั ตัวอย่างการฝกึ วินัยเด็ก พอ่ แม่ประกาศว่าดนิ สอสีเอาไว้ใชก้ บั กระดาษวาดรปู เทา่ นนั้ เม่อื เดก็ ทำ� ตามนไ้ี ดใ้ หช้ มเชย แตถ่ า้ เดก็ ใชด้ นิ สอสขี ดี เขยี นบนผนงั หอ้ ง ควรควบคมุ เดก็ ใหห้ ยดุ ทำ� กจิ กรรมทมี่ ปี ญั หา น้ัน ให้เด็กแยกไปนั่งคนเดียวเงียบๆ ให้มีความสงบพอที่จะทบทวนพฤติกรรมของตนเอง หลังจากสงบ แลว้ ควรสอนใหร้ ับผดิ ชอบโดยใหน้ ำ� ดินสอสไี ปเกบ็ เขา้ ท่แี ละมาท�ำความสะอาดผนงั หอ้ ง เป็นต้น 47

เทคนคิ การเล้ยี งดูและพฒั นาทกั ษะสาคัญ ประโยชน์จากการฝึกวินยั ใหแ้ ก่เดก็ 1. เดก็ สามารถแสดงออกภายในขอบเขตที่เหมาะสมตามกฎระเบยี บสงั คม 2. เรยี นรู้สิทธิ และความเป็นสว่ นตัวทัง้ ของตนเองและผ้อู นื่ 3. เรียนรทู้ ่ีจะรับผิดชอบหน้าท่ีทีต่ นไดร้ บั 4. สามารถควบคุมตนเองได้ดี ในระยะแรกจะเป็นการควบคุมโดยปัจจัยภายนอก เม่ือเด็กฝึก ระเบียบวินัยอย่างสม่�ำเสมอในบรรยากาศที่ดี จะท�ำให้เกิดการควบคุมตัวเองจากภายใน โดยไม่จ�ำเป็น ตอ้ งให้ผูอ้ น่ื หรอื ปัจจัยภายนอกมาควบคมุ 48

เทคนคิ การเลยี้ งดูและพัฒนาทกั ษะสาคัญ หลกั การฝกึ ระเบียบวนิ ยั ให้แก่เดก็ 3-6 ปี • หลักการพนื้ ฐาน 1. พ่อแม่ลูกมีความผูกพันและมีสัมพันธภาพท่ีดีกับเด็กไว้วางใจซ่ึงกันและกันมาก่อน เด็กมี ความเคารพนับถือและย�ำเกรงในตัวผู้ฝกึ เดก็ รับร้ไู ดถ้ งึ ความยุตธิ รรม 2. พอ่ แมต่ อ้ งเปน็ แบบอยา่ งในการมรี ะเบยี บวนิ ยั ใหแ้ กล่ กู เนอ่ื งจากเดก็ มกั ปฏบิ ตั ติ ามสง่ิ ทเ่ี ขา เห็นในชวี ติ ประจ�ำวนั โดยเน้นสิทธขิ องตัวเองและผู้อน่ื ใชเ้ หตุผลประกอบกบั ใสใ่ จในอารมณ์ของเด็ก 3. สมาชิกในครอบครัวควรร่วมกันวางกฎระเบียบของบ้านและมีการสื่อสารให้เด็กและทุก คนในบ้านรับทราบอย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ป้องกันมิให้เด็ก เกิดความสับสน และค�ำนึงถึงพัฒนาการเด็กแต่ละวัย เช่น เล่นของเล่นแล้วต้องเก็บ ท�ำน้�ำหกต้องเช็ด ทำ� ความสะอาด 3 ขวบต้องอาบน้ำ� ทานข้าวเอง โกรธไดแ้ ตจ่ ะตีนอ้ งไมไ่ ด้ หากโกรธมากอาจตีหมอนหรือ ตกุ๊ ตาแทนได้ ถอดเสอ้ื ผา้ ลงตะกรา้ ทกุ ครงั้ เปน็ ตน้ เมอ่ื เขา้ วยั รนุ่ จะใหเ้ ดก็ มสี ว่ นรว่ มในการกำ� หนดกรอบ ขอบเขต • เลอื กฝึกพฤติกรรมทีส่ �ำคญั 2-3 ขอ้ (วางเฉยกบั พฤติกรรมเล็กนอ้ ย เช่น น่งั แกวง่ ขา) เพือ่ ให้ เด็กปฏบิ ัติและจดจ�ำได้ • ตง้ั กฎระเบยี บใหช้ ดั เจน วางขอบเขตการปฏบิ ตั ิ เพอื่ ใหเ้ รยี นรวู้ า่ สง่ิ ใดสามารถทำ� ไดแ้ ละทำ� ไม่ ได้ ถ้าไมท่ ำ� จะพบอะไร ในระยะแรกอาจตอ้ งใช้ค�ำพดู สอนเดก็ ควบคกู่ ับการสมั ผสั เพื่อกำ� หนดพฤตกิ รรม เชน่ ลูกหยิบอาหารจากจานของตัวเองได้แตห่ ยบิ ของจากจานผอู้ น่ื ไมไ่ ด้ การกำ� หนดงานให้เด็กท�ำในสงิ่ ท่งี ่ายไปสู่งานที่ยาก ฝึกใหท้ ำ� งานทไี่ มซ่ บั ซอ้ นไปสู่งานที่ซบั ซอ้ น • สอ่ื สารใหท้ กุ คนในบา้ น รวมทงั้ สอ่ื สารใหเ้ ดก็ เขา้ ใจกฎระเบยี บชดั เจน วางขอบเขตการปฏบิ ตั ิ กำ� หนดสงิ่ ท่ีเดก็ จะเผชิญขอ้ จ�ำกัดหรือบทลงโทษทส่ี มเหตสุ มผลถา้ ไม่ท�ำตามกตกิ า • มเี หตผุ ลซอ่ นอยใู่ นการฝกึ ฝนและบอกเดก็ ชดั เจนเมอ่ื เดก็ ถามวา่ ทำ� ไมจงึ ตอ้ งทำ� ตามคำ� สงั่ เชน่ ความปลอดภัย ความดี ความนา่ รกั ความสามารถท่ีเพ่ิมข้นึ ความเกง่ เช่นถบี จกั รยานขา้ มถนนไม่ ได้ เพราะอาจบาดเจ็บ ทำ� ร้ายน้องหรือคนอื่นไม่ได้เพราะหนจู ะกลายเปน็ คนไมด่ ี ช่วยแมท่ �ำงานบ้านจะ ทำ� ให้เกง่ ทำ� งานเป้นหลายอย่าง เปน็ ต้น • ชมเมอื่ เดก็ ทำ� ตามได้ การแสดงความชนื่ ชมทง้ั ดว้ ยวาจา และภาษากาย เชน่ กอด หอมแกม้ พดู ชมเชย หรือให้สิทธิเดก็ ได้เลอื กทำ� ในส่งิ ที่ชอบ เป็นตน้ จะทำ� ใหเ้ ด็กรูส้ ึกดแี ละภาคภูมิใจในตนเอง จน อยากท�ำดตี อ่ ไปจนในทสี่ ุดเด็กควบคมุ ตนเองได้อตั โนมตั ิ • ฝกึ ฝนสมำ่� เสมอนาน 6-12 เดอื น หนกั แนน่ ไมเ่ ปลย่ี นกฎไปมา มคี วามชดั เจนเดด็ ขาดในการ ปฏบิ ตั ติ นเพอื่ รกั ษากฎระเบยี บ ทงั้ นำ�้ เสยี ง ทา่ ทาง และสหี นา้ จะตอ้ งสอ่ื ไดอ้ ยา่ งชดั เจนวา่ การกระทำ� นนั้ 49

เทคนคิ การเลยี้ งดูและพัฒนาทักษะสาคญั ทำ� ได้และท�ำไม่ได้ ไม่เปน็ ท่ียอมรบั ของผใู้ หญ่ หลีกเลี่ยงการข่มขู่ โดยไม่ควบคุมอยา่ งจรงิ จงั • เมอื่ เดก็ ทำ� ไมไ่ ดค้ วรหยดุ การฝกึ ชว่ั คราว พอ่ แมค่ วรใหก้ ำ� ลงั ใจ และวนกลบั มาฝกึ ฝนใหมต่ อ่ ไป อย่าท�ำให้เด็กอบั อาย พ่อแม่ควรควบคุมอารมณต์ นเองไมค่ วรตะเพดิ ดดุ ่า หรอื ประณามเด็ก หากพ่อ แม่หงุดหงิดมากควรเล่ียงออกไปสงบสตอิ ารมณก์ อ่ น หลังอารมณส์ งบจะเริ่มเหน็ อกเห็นใจลกู และเขา้ ใจ ลกู เรม่ิ มองในมุมมองของเดก็ ได้มากขึน้ จะท�ำให้พ่อแม่มคี วามมน่ั คงในการฝึกระเบียบวนิ ยั มากข้นึ • เม่ือเด็กไม่ยอมท�ำตามกฎกติกาท่ีพ่อแม่วางไว้ ให้หาสาเหตุและแก้ไขไปตามสาเหตุ แต่ถ้า เปน็ เพราะเดก็ ไม่คดิ จะท�ำตาม พ่อแม่จะตอ้ งม่ันคงและยนื ยันใหเ้ ด็กทำ� เช่น ลูกไม่ยอมสวสั ดคี ณุ ยาย ถ้า บอกแลว้ กย็ ังไมท่ ำ� ตามใหจ้ ับมอื เด็กท�ำทา่ สวัสดี โดยไมต่ ้องดุว่าเดก็ ตอ่ หนา้ คนอน่ื เป็นต้น • เมื่อเด็กหงุดหงิดจากการฝึกหรือไม่พอใจท่ีต้องฝืนใจท�ำ สอนให้เด็กรู้จักผ่อนคลาย ความเครียด หาทางออกที่เหมาะสมตามวัย เช่น เม่ือโกรธอาจแยกตัวไปสงบสติอารมณ์หรือฝึกหายใจ เขา้ ออกชา้ ๆ อาจเบีย่ งเบนไปท�ำกจิ กรรมอื่นเชน่ ออกก�ำลังกาย หรือวาดรปู เปน็ ต้น • เมื่อความผิดพลาดเกิดขนึ้ เช่น เด็กทำ� น�ำ้ หก ไปกดั น้อง ไมเ่ ก็บของเลน่ เปน็ ต้น หรือพ่อแม่ สมมติสถานการณ์ตา่ ง ๆ ขึ้นมาเพือ่ ใหเ้ ด็กรู้จกั วิธีคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาได้ทนั ทีเมือ่ เกดิ ปัญหาขึ้นจรงิ เช่น “หากล้างจานแลว้ ท�ำจานหลน่ แตก ลกู จะท�ำอยา่ งไร” เพ่ือฝกึ ให้เดก็ หัดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แต่ ต้องเนน้ ใหเ้ ด็กรบั ผิดชอบตอ่ ผลการกระท�ำ มบี ทลงโทษทเี่ หมาะสม ให้เรว็ ท่สี ุดเทา่ ทจ่ี ะทำ� ได้ ไม่ท้ิงเวลา นาน ไมต่ อ่ ลอ้ ต่อเถยี งกันเมือ่ จะคมุ ให้เดก็ รบั ผดิ ชอบสงิ่ ท่ีตวั เองทำ� • ชว่ ยใหเ้ ดก็ หดั ทบทวนการกระทำ� ของตนเองในแตล่ ะวนั เพอ่ื ฝกึ วเิ คราะหแ์ ละปรบั ปรงุ ทกั ษะ ในการฝึกระเบยี บวนิ ัยรว่ มกับพ่อแม่ 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook