Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ตำบลกรูด

ตำบลกรูด

Published by sigobna, 2021-11-29 15:12:19

Description: ตำบลกรูด

Search

Read the Text Version

DIARY ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชา ชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ผู้จัดทำ นายวิญญู แท่นนาค 6116209001134 นายพัทธพล พุ่มเพ็ชร 6116209001149

คำนำ หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญา ตรีสาขารัฐประศาสนศาสตร์วิชาฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพทาง รัฐประศาสนศาสตร์ (BPA0602) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับ ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหา เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานตำบล โครงสร้างของชุมชน โครงสร้างเศรษฐกิจและ อาชีพ สถานที่สำคัญ การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน หนังสือเล่มนี้สามารถดำเนิน การจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์และ สนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากอาจารย์อยับ ซาดัคคาน ที่ได้สละเวลาอันมีค่าแก่ คณะผู้จัดทำ เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำตลอดจนตรวจทานแก้ไข้ข้อบกพร่อง ต่างๆด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งจนหนังสือเล่มนี้สำเร็จสมบูรณ์ลุล่วงได้ด้วย ดี คณะผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ช่วยเหลือและให้กำลังใจในการทำหนังสือครั้งนี้ จนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำบลตลอดจนอำนวยความสะดวกในการ ลงพื้นที่รวมทั้งประสบการณ์ดีๆที่ได้ทำร่วมกับชุมชน ขอขอบคุณสาขารัฐประศาสนศาสตร์ที่มอบความรู้อันเป็น ประโยชน์ รวม ทั้งประสบการณ์ดีๆในการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ตำบลกรูดประการ สุดท้ายนี้คณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับหน่วย งานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป คณะผู้จัดทำ

สารบัญ 01 ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 25 ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ 02 ประวัติความเป็นมาของตำบล 26 แหล่งท่องเที่ยว 03 ขนาดและที่ตั้งของตำบล 28 ศาสนสถาน 04 สภาพทางเศรษฐกิจ 30 แหล่งเรียนรู้ / โรงเรียน 05 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ 07 ลักษณะภูมิประเทศ / การเดินทาง 34 ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน 08 ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน 35 ด้านสิ่งแวดล้อม 36 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 09 ด้านการเมืองการปกครอง 37 ด้านเศรษฐกิจ 10 ข้อมูลประชากร 38 ด้านคุณภาพชีวิต 12 ด้านการศึกษา / ศาสนา / สาธารณสุข 14 บริบทสังคม / ความเป็นอยู่ 39 บรรณานุกรม 15 ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม 40 ภาคผนวก 18 ส่วนที่ 3 โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ 19 แหล่งทุนทางธรรมชาติ 20 แหล่งอาหาร 21 พลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อในตำบล 22 สถานภาพเศรษฐกิจของประชาชน 24 วิสาหกิจชุมชน

สารบัญรูปภาพ ภาพที่ 1 สวนยางพารา ภาพที่ 21 แกงไตปลาแห้ง ภาพที่ 2 สวนผลไม้ ภาพที่ 22 สวนยางพารา ภาพที่ 3 คลองหวาด ภาพที่ 23 วิสาหกิจชุมชนปุ๋ยหมัก ภาพที่ 4 คลองนาแกล ภาพที่ 24 วิสาหกิจชุมชนน้ำยางสด ภาพที่ 5 คลองกำสน ภาพที่ 25 วิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ด ภาพที่ 6 บ่อน้ำ ภาพที่ 26 บ่อน้ำพุร้อน ภาพที่ 7 บ่อน้ำพุร้อน ภาพที่ 27 ถ้ำเขานางเภา ภาพที่ 8 ค่ายลูกเสือ ภาพที่ 28 วัดเขานางเภา ภาพที่ 9 ไร่นา ภาพที่ 29 สำนักสงฆ์บ้านแม่โมกข์ ภาพที่ 10 การขอขมาผู้สูงอายุ ภาพที่ 30 มัสยิดอันเซอรุลเลาะฮ์ ภาพที่ 11 ประเพณีรดน้ำผู้สูงอายุ ภาพที่ 31 มัสยิดสิดรอตุลมุนตาฮา ภาพที่ 12 ประเพณีลากพระ ภาพที่ 32 โรงเรียนวัดเขานางเภา ภาพที่ 13 ประเพณีสารทเดือนสิบ ภาพที่ 33 โรงเรียนบ้านไสใน ภาพที่ 14 สระน้ำ ภาพที่ 34 โรงเรียนท่าเฟืองวิทยา ภาพที่ 15 ฝาย ภาพที่ 35 โรงเรียนบ้านแม่โมกข์ ภาพที่ 16 ขนมจีน ภาพที่ 17 ต้มยำปลาช่อน ภาพที่ 18 ขนมสอดไส้ ภาพที่ 19 แกงส้มปลากระบอก ภาพที่ 20 แกงไตปลาแห้ง

สารบัญตาราง 9 ตารางที่ 1 เขตการปกครอง ตารางที่ 2 10จำนวนประชากรใน ตำบล 11 ตารางที่ 3 ช่วยอายุของประชากร ในตำบล

ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน

2 1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบล เมื่อประมาณ 60 ป ีก่อน ในพื้นที่แห่งนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก นั่นคือ “ต้นมะกรูด” ต่อมาได้มีการตัดโค่นต้นไม้ดังกล่าวจนเกือบหมดเพื่อใช้สอย พื้นที่ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร แต่ยังคงเหลือต้น มะกรูดให้เป็นเอกลักษณ์อยู่ต้นหนึ่ง อยู่ประมาณ 100 กว่าปี จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวบ้านได้เรียกว่า “บ้านกรูด” และทางราชการได้ตั้งชื่อว่า “ตำบลกรูด” ซึ่ง ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน การตั้งถิ่นฐานของประชาชนส่วนใหญ่ อพยพลงมาเห็น ถึงสภาพ พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะ แก่การทำมาหาเลี้ยงชีพ ดั่งคำโบราณ ที่กล่าวว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ โดย เฉพาะอย่างยิ่งส่วนใหญ่พื้นที่ที่เหมาะแก่การตั้ง ถิ่นฐานต้องเป็นพื้นที่โค้งน้ำ หรือ พื้นที่ที่เป็นจุดรวมของสายน้ำทำให้เป็น แหล่งอาหารของสัตว์น้ำ ทำมาหากินได้ เป็นแหล่งเพาะสัตว์น้ำและเป็น ที่ราบลุ่ม สามารถ ทำนาได้ และผู้นำในการตั้ง ถิ่นฐานต่อมามีผู้อพยพมาอยู่มากขึ้น กลายเป็นชุมชนขนาดเล็ก และเมื่อมีการ อพยพมามากขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้าน เดิม องค์การบริหารส่วนตำบลกรูดจัดตั้ง ขึ้นโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เมื่อ วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลกรูดขึ้น ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกรูด อำเก อกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลตำบลกรูด ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน 2554 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2554 มีพื้นที่ความรับผิดชอบ ทั้งหมด 10 หมู่บ้านอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลกรูดทั้งหมด (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

3 1.2 ขนาดและที่ตั้งของตำบล ตำบลกรูดเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอกาญจนดิษฐ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 12กิโลเมตร ตั้งอยู่บนถนนทางหลวงแผ่น ดินหมายเลข 4010 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4143 บรรจบกันและ ขยายตัวออกไปตามถนนสายรองในบริเวณทางหลวงชนบท สฏ 3011 มี เนื้อที่ประมาณ 84.70 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขต ดังนี้ 1) ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลพลายวาส 4) ทิศตะวันตก 3) ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลช้างซ้าย ติดต่อกับตำบลท่าอุแท 2) ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลป่าร่อน (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

4 1.3 สภาพทางเศรษฐกิจ อาชีพราษฎรส่วนใหญ่ มีอาชีพ เกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจที่ สำคัญยางพาราปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกองและทำไร่ เช่น ไร่ข้าวโพด ปลูก พืชผักเพื่อการจำหน่าย เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก เป็นต้น ค้าขายเลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไปและรับราชการ ภาพที่ 1 สวนยางพารา ภาพที่ 2 สวนผลไม้ อาชีพรองของประชาชน - อุตสาหกรรม ได้แก่การ ประกอบกิจการเกี่ยวกับการซ่อม เครื่องยนต์ รถจักรยานยนต์ รับทำ เหล็กดัด รับซื้อของเก่า โรงเลื่อย โรงโม่หิน ร้านรับซื้อน้ำยาง โรงรม - พาณิชยกรรมและบริการ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมประเภทขาย ของชำ ขายอาหาร เครื่องดื่มและ ขายของเบ็ดเตล็ด สถานที่บริการ น้ำมันและร้านค้าปลีกน้ำมัน ฯลฯ (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

5 1.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ 1.4.1 แหล่งน้ำ คลองหวาด(คลองกะแดะ)ไหล ต่อเนื่องจากตำบลป่าร่อน ไหลผ่าน หมู่ที่ 6,2,1,3,5 ตำบลกรูด มีน้ำใช้ ตลอดปี ไหลสู่ตำบลกะแดะ ภาพที่ 3 คลองหวาด คลองนางแกล ไหลผ่าน หมู่ ที่ 9,2,1,4,5, ตำบลกรูด หน้า แล้งน้ำแห้งขอด มีน้ำขังเป็นแอ่ง ไหลสู่ตำบลพลายวาส ภาพที่ 4 คลองนางแกล คลองกำสน ไหลผ่าน หมู่ที่ 10,9,8, ตำบลกรูด หน้าแล้งน้ำแห้งขอด มี น้ำขังเป็นแอ่งไหลสู่ตำบลท่าอุแท ภาพที่ 5 คลองกำสน (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

6 1.4.2 แหล่งน้ำอื่น ๆ - ประปาหมู่บ้าน 6 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 630 แห่ง - บ่อโยก 27 แห่ง - ฝาย 2 แห่ง - สระน้ำ 1 แห่ง - บ่อน้ำบาดาล 6 แห่ง ภาพที่ 6 บ่อน้ำ 1.4.3 ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ตำบลกรูด 1. บ่อน้ำพุร้อน ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 ตำบลกรูด เป็น แหล่งท่องเที่ยว/นันทนาการ ชมบ่อน้ำ ร้อน อาบและแช่น้ำแร่ ภาพที่ 7 บ่อน้ำพุร้อน ภาพที่ 8 ค่ายลูกเสือ 2. ค่ายลูกเสือ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลกรูด บ้านแม่ โมกข์เป็นแหล่ง เรียนรู้ด้าทรัพยากรธรรมชาติ เป็นลักษณะป่าพลุ มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เกิดขึ้นเกิดแหล่งน้ำธรรมชาติที่ราษฎรภายใน หมู่บ้าน ใช้ร่วมกันโดยดึงน้ำมาใช้ผ่านระบบ ประปาผิวดิน (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

7 3. ถ้ำเขานางเภาตั้ง อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลกรูด บ้านกรูด อยู่ใน บริเวณวัด เขานางเภาโดยมีตำนานเล่าขานมาตั้งแต่ โบราณ ภายในถ้ำมีหินงอกและหินย้อยเกิดขึ้นสวยงาม เหมาะกับการศึกษา และชมความงามของถ้ำ 1.5 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลกรูดเป็น ที่ราบสูงสลับที่ราบลุ่ม และป่าสมบูรณ์ เหมาะกับการ ทำการเกษตร สวนผลไม้ ยางพารา โดยมีคลองกะ แดะเป็นคลองสายหลักของตำบล ช่วงฤดูฝนอยู่ ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม จะเกิดน้ำ ทั่วบริเวณตำบล 1.6 การเดินทาง/คมนาคม การเดินทางไปตำบลกรูด อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอประมาณ12กิโลเมตร ตั้งอยู่บนถนนทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 4010 และทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4143 บรรจบกัน และขยายตัวออกไปตาม ถนนสายรองในบริเวณทางหลวงชนบท สฏ 3011 (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565) .

ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน

2.1 ด้านการเมืองการปกครอง เขตการปกครอง ตารางที่ 1 เขตการปกครอง (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

10 2.2 ข้อมูลประชากร ตำบลกรูดมีประชากรทั้งหมด 9695 คน คิดเป็นจำนวน ประชากรชาย 4,764 คน และจำนวนประชากรหญิง 4,931 คน จำนวนหลังคาเรือนในตำบลมี 3314 หลังคาเรือน ชาย 4,764 คน หญิง 4,931 คน 9695 คน (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

11 ตารางที่ 2 จำนวนประชากรในตำบล ตารางที่ 3 ช่วงอายุของประชากรในตำบล (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

12 2.3.ด้านการศึกษา/ศาสนา/สาธารณสุข 1. ด้านการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา (สพฐ.) 5 แห่ง - โรงเรียนบ้านกำสนราษฏร์อุทิศ - โรงเรียนบ้านบ่อน้ำร้อน - โรงเรียนบ้านแม่โมกข์ - โรงเรียนบ้านไสใน - โรงเรียนวัดเขานางเภา โรงเรียนมัธยม 2 แห่ง - โรงเรียนบ้านแม่โมก - โรงเรียนท่าเฟืองวิทยา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีจำนวน 1 แห่ง - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกรูด 2. ด้านศาสนา วัด 1 แห่ง - วัดเขานางเภา ม.1 สำนักสงฆ์ 5 แห่ง - สำนักสงฆ์บ้านไสใน ม.4 - สำนักสงฆ์บ้านแม่โมกข์ ม.7 - สำนักสงฆ์เขาฟ้าผ่า ม.10 - สำนักสงฆ์สำนักไฟ ม.1 - สำนักสงฆ์เขาพับผ้าวารีเขต ม.8 มัสยิด 4 แห่ง - มัสยิดสิดอันซอรุลลอฮ ม.9 - มัสยิดสิดอัสซอลามาตุ้ลอิสลาม ม.9 - มัสยิดสิดรอตุลมุนฮา ม.8 - มัสยิดสิดนูรุลอามาล ม.8 (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

13 3. ด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกรูด จำนวน 1 แห่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านกรูดมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลคอยให้บริการแก่ประชาชนผู้มารับ การรักษาจำนวน 5 คนนอกจากประชาชนจะใช้บริการจากสาธารณสุข แห่งนี้แล้วยังนิยมเดินทางไปรับการรักษายังโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ ตั้ง อยู่ในเขตตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ หากคนไข้รายใดเจ็บป่วย หนักมักถูกส่งตัวมารับการรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ใน เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

14 2.4 บริบทสังคม/ความเป็นอยู่ 2.4.1 อาชีพหลักของประชากร อาชีพหลักของประชากรในตำบลส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืช เศรษฐกิจที่สำคัญยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง และทำไร่ เช่น ไร่ข้าวโพด ปลูกพืชผักเพื่อการจำหน่าย เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก เป็นต้น ค้าขายเลี้ยงสัตว์รับจ้างทั่วไปและรับราชการ 2.4.2 อาชีพรองของประชาชน - อุตสาหกรรม ได้แก่การประกอบกิจการเกี่ยวกับการซ่อมเครื่องยนต์ รถ จักรยานยนต์ รับทำเหล็กดัด รับซื้อของเก่า โรงเลื่อย โรงโม่หิน ร้านรับซื้อน้ำ ยาง โรงรม - พาณิชยกรรมและบริการ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมประเภทขายของชำ ขาย อาหาร เครื่องดื่มและขายของเบ็ดเตล็ด สถานที่บริการน้ำมันและร้านค้าปลีก น้ำมัน ฯลฯ ภาพที่ 9 ไร่ (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

15 2.5 ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม 2.5.1 ประเพณีรดน้ำผู้สูงอายุ แก่ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เดือนเมษายน (เดือน ๕) ของทุก ภาพที่ 10 การขอขมาผู้สูงอายุ ปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้า หรือตอนบ่ายเป็น ภาพที่ 11 ประเพณีรดน้ำผู้สูงอายุ ไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัด หมายสถานที่และวันเวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจ เป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม ความสำคัญ ประเพณีรดน้ำผู้สูงอายุเป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความ เคารพนับถือ แก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของ ตระกูล รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ พิธีกรรม การขอขมา เมื่อเชิญคนแก่ทั้งหลายนั่งในโรงพิธีเรียบร้อยแล้ว ลูก หลานและชาวบ้านที่มาร่วมพิธี จะรวมกลุ่มยืนอยู่ด้านหน้า ของคนแก่ทั้งหลาย ผู้นำในพิธีนำดอกไม้และจุดธูปเทียนพนม มือ แล้วกล่าวขอขมา ทุกคนว่าตามดังนี้ \"กายกรรมสาม วจีกรรมสี่ มโนกรรมสาม หากข้าพเจ้าทั้ง หลายเกิดประมาทพลาดพลั้งแก่ท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจา ก็ดี ด้วยใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ขอให้ท่าน อโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด และขอได้โปรดอำนวยพรให้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีความสุขความเจริญตลอดไป และขอตั้ง จิตอธิษฐานขอให้ท่านเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดไป พิธีการอาบน้ำ การอาบน้ำเป็นการตักน้ำมารดอาบให้คนแก่จนเปียกโชกทั้ง ตัว ปัจจุบันบางหมู่บ้านได้ปรับเปลี่ยนวิธีการในการอาบน้ำ มารดน้ำที่มือทั้งสองของคนแก่แทนเพราะคนแก่ที่มีอายุมาก มีลูกหลานและผู้ที่เคารพนับถือมาก พิธีการอาบน้ำต้องใช้ เวลานานจึงแล้วเสร็จ คนแก่เหล่านั้นอาจรู้สึกหนาวสะท้าน ซึ่งเป็นเหตุให้เจ็บป่วยเป็นไข้ได้ ลูกหลานจะเข้าแถวตักน้ำที่เตรียมไว้ในโอ่ง มารดที่มือหรือที่ ตัวคนแก่ และมอบเครื่องนุ่งห่มเครื่องใช้ให้คนแก่พร้อมกับขอ พร คนแก่ก็จะให้พรลูกหลาน การอาบน้ำจะทำไปตามลำดับ จนครบทุกคน

2.5.2 ประเพณีลากพระ (ชักพระ) 16 วันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระ ไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด ความสำคัญ เป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไป จำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลก มนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน พิธีกรรม การแต่งนมพระ นมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้ บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า \"เรือพระ\" นมพระสร้างเป็น ร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มี ล้อ ๔ ล้ออยู่ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อ ด้วยใบพ้อแขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจก แวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้าน หลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บน สุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ พระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปาง อุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำ พระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของ พระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะ มาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้ว จึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บาง วัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น ปลอดภัย การลากพระ ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คน ลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบท ลากพระเพื่อผ่อนแรง

2.5.3 ประเพณีสารทเดือนสิบ 17 ระยะเวลาของการประกอบพิธีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ นิยมทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ ความสำคัญ เป็นความเชื่อของพุทธศาสนิกชน ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แก่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว หากทำความชั่วจะตก นรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี ต้องอาศัยผลบุญ ที่ลูกหลานอุทิศส่วนกุศลให้แต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายัง โลกมนุษย์เพื่อมาขอ ส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง และจะกลับ ไปนรกในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ในโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่ วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความ กตัญญูกตเวที การจัดสำรับ เริ่มในวันแรม ๑๓ ค่ำ ชาวบ้านจะเตรียมซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่ เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็น สัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ การจัดสำรับ คือ การบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ถาด กาละมัง เข่ง กระเชอ เป็นต้น ชั้นล่างสุดบรรจุอาหารแห้ง ชั้นสองเป็นพืชผักที่ เก็บไว้นาน ชั้นสามเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ขั้นบนสุด ประดับ ขนมสัญลักษณ์เดือนสิบ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ การฉลองสำรับและบังสุกุล เมื่อนำหมฺรับไปวัดแล้ว จะมีการฉลองหฺมฺรับ และทำบุญเลี้ยง พระเสร็จแล้วจึงมีการบังสุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่ง บรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก การตั้งเปรต เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ชาวบ้าน จะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณลานวัด ข้างกำแพงวัด โคนไม้ใหญ่ เรียกว่า ตั้งเปรต เพื่อแผ่ส่วนกุศลเป็นทานแก่ผู้ล่วงลับ ที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่มาร่วมทำบุญให้ การชิงเปรตจะทำตอนตั้ง เปรตเสร็จแล้ว เพราะเชื่อว่าถ้าหากใครได้กินของเหลือจากการเซ่น ไหว้บรรพบุรุษ จะได้รับกุศลเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

ส่วนที่ 3 โครงสร้างเศรษฐกิจ และอาชีพ

19 3.1 แหล่งทุนทางธรรมชาติ 3.1.1 แหล่งน้ำ คลอง 3 สาย คลองหวาด(คลองกะแดะ)ไหลต่อเนื่องจากตำบลป่า ร่อน ไหลผ่าน หมู่ที่ 6,2,1,3,5 ตำบลกรูด มีน้ำใช้ตลอดปี ไหลสู่ตำบลกะแดะ คลองนางแกล ไหลผ่าน หมู่ที่ 9,2,1,4,5, ตำบลกรูดหน้าแล้งน้ำแห้งขอด มี น้ำขังเป็นแอ่ง ไหลสู่ตำบลพลายวาส คลองกำสน ไหลผ่าน หมู่ที่ 10,9,8, ตำบลกรูด หน้าแล้งน้ำแห้งขอด มีน้ำขังเป็นแอ่งไหลสู่ตำบลท่าอุแท 3.1.2 แหล่งน้ำอื่น ๆ ประปาหมู่บ้าน 6 แห่ง บ่อน้ำตื้น 630 แห่ง บ่อโยก 27 แห่ง ฝาย 2 แห่ง สระน้ำ 1 แห่ง บ่อน้ำบาดาล 6 แห่ง (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาล ตำบลกรูด ภาพที่ 14 สระน้ำ ภาพที่ 15 ฝาย (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

3.2 แหล่งอาหาร 20 ต้มยำปลาช่อน อาหารพื้นถิ่น ขนมจีน ภาพที่ 16 ขนมจีน ภาพที่ 17 ต้มยำปลาช่อน ขนมสอดไส้ แกงส้มปลากระบอก ภาพที่ 18 ขนมสอดไส้ ภาพที่ 19 แกงส้มปลากระบอก (จรงค์ ชุมสุข. สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2564.)

21 ผลิตภัณฑ์ของขึ้นชื่อในตำบล แกงไตปลาแห้ง “แกงไตปลา” เป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์ประจำถิ่น รสชาติของเนื้อ ปลาคุณภาพดี ที่ได้ความสดใหม่ และกลิ่นหอมของเครื่องแกง ชาวชุมชน ได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ “แกงไตปลา” แบบที่คุ้นเคยให้เป็น “แกงไตปลาแห้ง” ที่ยังคง รักษารสชาติแบบดั้งเดิม จนกลายเป็นสินค้าของฝากประจำท้องถิ่น สำหรับแกงไตปลาแบบแห้งนี้ นับเป็น ภาพที่ 20 แกงไตปลาแห้ง อาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากปราศจากสาร กันบูด รวมทั้งอุดมไปด้วยโปรตีนจากปลา และสมุนไพร เช่น กระเทียม ขมิ้น ตะไคร้ ข่า พริกขี้หนู พริกไทย มะกรูด โดยเริ่มจากการ ต้มไตปลานานประมาณ 30 นาที เพื่อกรองเอา น้ำใส แล้วนำมาผสมเข้ากับเนื้อปลากระดี่ สมุนไพร กะปิ และน้ำตาลทราย ก่อนบรรจุใส่ ขวดแก้ว เพื่อนำไปอบด้วยความร้อนสูง ซึ่งจะ ช่วยให้สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ได้ยาวนานถึง 1 ปี แล้วนำไปปิดฝา โดยผนึกด้วยซีลอย่างดี ภาพที่ 21 แกงไตปลาแห้ง (โสภิญญา แก้ววิเชียร. สัมภาษณ์ , 19 ตุลาคม 2564)

22 3.3 มวลชนจัดตั้ง 1) กลุ่มออมทรัพย์ 10 กลุ่ม 2) กลุ่มฌาปนกิจ 2 กลุ่ม 3) กลุ่มกองทุนหมู่บาน 10 กลุ่ม 4)กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา 5) ชมรมผู้สูงอายุ(จดทะเบียน) 3.4 สถานภาพเศรษฐกิจของประชาชน ระบบเศรษฐกิจ 3.4.1 การเกษตร พื้นที่การเกษตรในตำบลกรูด โดยจำแนกเป็นประเภทได้ดังนี้ - พื้นที่ปลูก ยางพารา พื้นที่ปลูกปาล์ม - พื้นที่ปลูกเงาะ - พื้นที่ปลูกลองกอง - พื้นที่ปลูก มังคุด - พื้นที่ปลูกทุเรียน - พื้นที่ทำสวนผสม - พื้นที่ปลูกพืชล้มลุก เช่น แตงกวา มะเขือ ภาพที่ 22 สวนยางพารา (สุปราณี พรหมมาก. สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2564)

23 3.4.2 หน่วยธุรกิจที่สำคัญ 6 แห่ง 71 แห่ง - สถานีบริการน้ำมัน 7 แห่ง - ร้านขายของชำ/มินิมาร์ท 1 แห่ง - ร้านซ่อม,มอเตอร์ไซด์,รถยนต์ 1 แห่ง - ร้านตีเหล็ก 1 แห่ง - ร้านรับซื้อของเก่า 3 แห่ง - โรงเลื่อยไม้ยางพารา 2 แห่ง - ลานไม้ 2 แห่ง - ลานปาล์ม 3 แห่ง - โรงโม่หิน 1 แห่ง - ร้านรับซื้อน้ำยาง 1 แห่ง - ร้านรับซื้อยางแผ่น 1 แห่ง - ร้านรับซื้อเศษยาง 2 แห่ง - สหกรณ์โรงรม 31 แห่ง - โรงรม(เอกชน) 3 แห่ง - บ้านเช่า,ห้องเช่า 2 แห่ง - ตู้เอทีเอ็ม 1 แห่ง - ฟาร์มหมู 4 แห่ง - โรงปูนขาว 2 แห่ง - คาร์แคร์ 2 แห่ง - ร้านวัสดุก่อสร้าง 1 แห่ง - โรงน้ำดื่ม/บริการน้ำดื่ม 10 แห่ง - ธนาคาร 2 แห่ง - ร้านเสริมสวย 4 แห่ง - ร้านขายยา - คลินิก 1 แห่ง - โรงโม่หิน (แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรูด 2561 - 2565)

24 3.5 วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปุ๋ยหมัก บ้านท่าเฟือง 26/3 หมู่ 6 ต.กรูด อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 015358378 ภาพที่ 23 วิสาหกิจชุมชนปุ๋ยหมัก วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรวบรวม น้ำยางสดท่าเฟือง2 173 หมู่ 2 ต.กรูด อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 010841565 ภาพที่ 24 วิสาหกิจชุมชนน้ำยางสด ภาพที่ 25 วิสาหกิตชุมชนเพาะเห็ด วิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ด ตำบลกรูด 2/8 หมู่ 7 ต.กรูด อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี HTTP://SMCE.DOAE.GO.TH/ (สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564)

ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ

26 4.1 แหล่งท่องเที่ยว 4.1.1 บ่อน้ำพุร้อนกรูด การเดินทาง บ่อน้ำพุร้อน ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 จากศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ตำบลกรูด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อ เลี้ยวซ้ายเพื่อวิ่งไปยังถนนตลาด ใหม่ เสียงในอำเภอกาญจนดิษฐ์ วิ่งตรงไปใช้ถนนกาญจนวิถี ระยะทาง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันจะมีนักท่อง 2..5 กม.และยังคงวิ่ง ตรงไปยังถนน เที่ยวและชาวบ้านในพื้นที่มาแช่ตัวกัน สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช สาย ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ 401 ใช้ระยะ ทาง 26 กม. เจอสี่แยกให้ ไม่ควรพลาด บ่อน้ำพุร้อนนี้จะมีตาน้ำอยู่ เลี้ยวขวาเพื่อวิ่งเข้าถนนสาย 4010 ใช้ ใต้ดินและมีอยู่ตลอดทั้งปีกับอุณหภูมิที่ ระยะทาง 3.5 กม. เจอทางแยกถนน พอเหมาะไม่ร้อนมาก จึงได้มีการสร้าง สายหลัก ให้เลี้ยวซ้ายและ ชิดถนนช่อง เป็นบ่อหินล้อมรอบและทำทางน้ำให้เดิน ทางขวาเพื่อจะรอกลับรถใช้ระยะทาง 1 ไปยังบ่อและสระที่สร้างไว้เพื่อรองรับนัก กม. หลัง จากนั้นใช้ระยะทางต่อ ท่องเที่ยวและคนภายในชุมชน อีกทั้ง ประมาณ 500 เมตร เจอเห็นป้ายทาง บริเวณภายในยังมีการจัดศาลาไว้ให้พัก เข้า บ่อน้ำร้อนกรูด และ ป้ายโรงเรียน ผ่อน มีห้องน้ำไว้บริการและมีสะพาน บ้านบ่อน้ำร้อน ให้เลี้ยวซ้าย ตรงไปตาม เหล็กทอดยาวไปเพื่อให้ได้ชื่นชม เส้นทางใช้ระยะทาง 2.5 กม. ก็จะถึง ธรรมชาติอีกด้วย บ่อน้ำร้อนกรูด ภาพที่ 26 บ่อน้ำร้อน HTTPS://WWW.RAKBANKERD.COM/ (สืบต้นเมื่อ 9 กันยายน 2564)

27 4.1.2 ถ้ำเขานางเภา ถ้ำเขานางเภาตั้ง อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลกรูด บ้านกรูด อยู่ในบริเวณวัด เขา นางเภาโดยมีตำนานเล่าขานมาตั้งแต่ โบราณ ภายในถ้ำมีหินงอกและหินย้อย เกิดขึ้นสวยงามเหมาะกับการศึกษา และ ชมความงามของถ้ำ โบราณวัตถุที่พบมี ทั้งในวัดและในถ้ำ ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าเป็น ยุคสมัยใดแต่ส้นนิษฐานว่าเป็นสมัย อยุร ยา หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หมู่พระพุทร รูปในอุโบสถเก่าทำจากศิลาทราย แดง เป็นฝีมือช่างพื้นเมืองฐานเสมาที่ไม่ ปรากฏ ใบเสมาทำด้วยศิลารอบๆ วัด สำหรับถ้ำเขานางเภาภายในถ้ำมีชิ้นส่วน พระพุทรรูปศิลาทรายแดงมากมาย และ หมู่พระพุทรรูปต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก HTTPS://CULTURALENVI.ONEP.GO.TH// (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564))

28 4.2 ศาสนสถานของทุกศาสนา 4.2.1 วัดเขาน างเภา วัดเขานางเภา ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา รวมพื้นที่ 2 แหล่งคือวัด และถ้ำ มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ โบราณวัตถุที่พบ มีทั้งในวัดและในถ้ำ ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าเป็นยุคสมัยใดแต่สันนิษฐานว่าเป็นสมัย อยุธยา หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หมู่พระพุทธรูปในอุโบสถเก่าทำจากศิลาทราย แดงเป็นฝีมือช่างพื้นเมืองฐานเสมาที่ไม่ปรากฎ ใบเสมาทำด้วยศิลารอบๆ วัด สำหรับถ้ำเขานางเภาภายในถ้ำมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปศิลาทรายแดงมากมาย และ หมู่พระพุทธรูปต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ภาพที่ 28 วัดเขานางเภา HTTPS://CULTURALENVI.ONEP.GO.TH// (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564)

29 4.2.2 สำนักสงฆ์บ้านแม่โมกข์ สำนักสงฆ์แม่โมกข์ ตั้งอยู่ที่ ถนน ทางหลวงชนบท สฎ. 3011 ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด สุราษฎร์ธานี ภาพที่ 29 สำนักสงฆ์บ้านแม่โมกข์ 4.2.3 มัสยิดอันเซอรุลเลาะฮ์ มัสยิดอันเซอรุลเลาะฮ์ ตั้งอยู่ 44 หมู่ 9 ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพที่ 30มัสยิดอันเซอรุลเลาะฮ์ ภาพที่ 31 มัสยิดสิดรอตุ ลมุนตาฮา 4.2.4 มัสยิดสิดรอตุลมุนตาฮา มัสยิดสิดรอตุลมุน ตาฮาตั้งอยู่ หมู่ 8 ตำบล กรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี HTTPS://CULTURALENVI.ONEP.GO.TH// (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564)

30 4.3 แหล่งเรียนรู้/โรงเรียน 4.3.1 โรงเรียนวัดเขานางเภา โรงเรียนวัดเขานางเภา ตั้งอยู่ หมู่ 1 ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1 ระดับชั้นที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 – ระดับประถม ศึกษาปีที่ 6 โดย นายขุนภักดี สงคราม นายอำเภอ กาญจนดิษฐ์ ได้จัดตั้ง ขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 เมื่อเปีดครั้งแรกตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบล กรูด ชื่อ โรงเรียนประชาบาลตำบลกรูด โดยมีนายกล้ำ ศรีเกิด เป็นครูใหญ่ แต่การสัญจรไปมา ไม่สะดวก จึงย้ายมาส ร้างใหม่ที่วัดเขานางเภา หมู่ 1 ตำบลเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2464 เปิดทำการสอนจนถึง ปัจจุบัน วิสัยทัศน์ \"โรงเรียนวัดเขานางเภา สามารถจัดการศึกษาได้อย่าง ทั่วถึง และมีคุณภาพตามมาตรฐานการ ศึกษา มีสภาพ แวดล้อม และภูมิทัศน์ เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีที่ ทัน สมัย ชุมชนพึงพอใจ และมีส่วนร่วมใน การพัฒนา\" ภาพที่ 32 โรงเรียนวัดเขานางเภา HTTP://THAILAND.KAPOOK.COM/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564)

31 4.3.2 โรงเรียนบ้านไสใน โรงเรียนบ้านไสใน ตั้งขึ้นเนื่องจากชาว ภาพที่ 33 โรงเรียนบ้านไสใน บ้านในหมู่บ้านนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการศึกษา ซึ่งก่อนหน้านี้เด็กๆใน หมู่บ้านไสใน ต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่ โรงเรียนวัดดอนยาด้วยความยากลำบาก ด้วยเหตุนี้เอง นายกลับ จรดิษฐ์ ซึ่งขณะ นั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ได้ชักนำ ชาวบ้านจัดตั้งโรงเรียนด้วยเงินที่ร่วมกัน สละส่วนตัว สร้างอาคารเรียนชั่วคราวเมื่อ ปี พ.ศ. 2480 ต่อมาชาวบ้านและหัวหน้า หมวดการศึกษาสมัยนั้น คือ นายพุ่ม แก้ว กำเนิดได้ทำหนังสือขอนุญาตจัดตั้งต่อ นายอำเภอและทางอำเภอได้อนุญาต และ ได้ทำพิธีเปิดการสอน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2483 มีนักเรียนทั้งหมด 36 คน มีครูทำการสอน 2 คน คือ นายเหี้ยม วิชัย ดิษฐ์ เป็นครูใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจปลูกสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นในพื้นที่ ทางทิศใต้ของอาคารเรียน ป.1ข ในปัจจุบัน นับแต่ก่อตั้ง โรงเรียนมีการ พัฒนามาโดยตลอด ปัจจุบันโรงเรียนมีอาคารเรียน 2 หลัง อาคารประกอบ 3 หลัง รวมจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 6 ห้อง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการพิเศษต่างๆแบ่งครึ่งจากห้องเรียน ห้องวิทยาศาสตร์ แบ่งครึ่งจากห้องเรียน HTTP://THAILAND.KAPOOK.COM/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายยน 2564)

32 4.3.3 โรงเรียนท่าเฟืองวิทยา โรงเรียนท่าเฟืองวิทยา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตำบล กรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดสอนตั้งแต่ระดับ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีเนื้อที่ 35 ไร่ 3 งาน 7 ตาราง วา ในปี พ.ศ. 2527 นายจันทร์ วิชัยดิษฐ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 บ้านท่าเฟือง คณะ กรรมการหมู่บ้าน และสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกรูด ได้มีการประชุม พิจารณาเห็นว่าที่ป่าสงวนสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน จำนวน 35 ไร่ น่า จะนำมาใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง จึงได้พยายามรวบรวมข้อมูล ต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษา เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล บนพื้นที่ดังกล่าวนี้แต่ด้วยอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการ ได้ ภาพที่ 34 โรงเรียนท่าเฟืองวิทยา HTTPS://WWW.TFV.AC.TH/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564 )

33 ในปี พ.ศ. 2540 นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเป็น โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2540 ชื่อ ” โรงเรียนท่าเฟืองวิทยา ” โดยมีนายภิญโญ รินเกลื่อน อาจารย์ 2 โรงเรียน กาญจนดิษฐ์วิทยาคม ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตามคำสั่งกรมสามัญศึกษา โดยมีนายกว้าง รอบคอบ ลงนาม ตามคำสั่งที่ 268/2540 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 4.3.3 โรงเรียนบ้านแม่โมกข์ โรงเรียนบ้านแม่โมกข์ ตั้งอยู่ 41 หมู่ 7 ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ระดับชั้น ที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 – ระดับ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาพทีีี 35 โรงเรียนบ้านแม่โมกข์ HTTPS://WWW.EDUCATIONOFTHAILAND.COM (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564)

ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์ ศักยภาพชุมชน

35 ด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี (จุดแข็ง) สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา (จุดด้อย) การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมโดยรอบ ขยะมูลฝอย ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอย การก่อสร้างคันกั้นน้ำตามแนวลำน้ำหรือใกล้ ให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรก เคียง การยกระดับของถนนบางสายให้สูงกว่า ต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มี ระดับน้ำหลากสูงสุด รวมถึงการก่อสร้างประตู ผลกระทบต่อชุมชยฃน ทั้งนี้เป็นเพราะผลกระทบที่ น้ำตามคู คลองต่างๆ เป็นต้น เพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำ เกิดขึ้นโดยตรงต่อชาวบ้านในชุมชน ขยะมูลฝอยจะ จากภายนอกเข้ามาในพื้นที่ป้องกันได้ ฝนที่ ก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม จะมีผลกระทบต่อ ตกหนักลงในพื้นที่โดยตรงโดยการแก้ไขปรับปรุง สุขภาพอนามัยของคนในชุมชน ทั้งโดยทางตรงและ ระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพสามารถรองรับ ทางอ้อม ทั้งนี้ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่ง อัตราการไหลได้อย่างเหมาะสม และจัดหาพื้นที่ เพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค เช่น แมลงวันแมลงสาบ ยุง บาง ส่วนสำหรับทำท่อระบายน้ำ พร้อมติดตั้ง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่น ๆ ขยะ สถานีสูบน้ำเพื่อสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่กรณี มูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทาง ที่น้ำภายนอกสูงกว่าระดับน้ำภายในพื้นที่ป้องกัน ระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำ สกปรกและเกิดการเน่า โอกาสของชุมชน อุปสรรคและความท้าทาย การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของขยะ มูลฝอย เริ่มต้นด้วย การสร้างจิตสำนึกให้คนใน มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนใน ชุมชนรู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด ชุมชนรู้จักจิตสำนึกในการทิ้งขยะแต่ด้วย ทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน ไม่ สถานการณ์โควิดจึงทำให้เกิดความล่าช้า ว่าจะเป็นถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ ปัจจุบันเนื่อง สาธารณะอื่น ๆ ให้รู้จักทิ้งขยะมูลฝอยลงใน ด้วยสถานการณ์โควิดระบาด ทำให้การการ ภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อน แพร่กระจายของโรคและยังทำให้โครงการ กลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำ การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปด้าอย่าง ไปยัง สถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ล่าช้า รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

36 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี (จุดแข็ง) สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา (จุดด้อย) การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนใน ปัญหาคุณภาพน้ำประปาไม่ได้ มาตรฐาน ซึ่งส่ง ระบบไฟฟ้าประปา ถนนสายหลัก สายรอง ผลกระทบต่อการดํารงชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ สะพาน ท่อระบาย ให้ ประชาชนได้รับการ เนื่องจากน้ำประปาถือเป็นระบบ สาธารณูปโภคที่มี บริการอย่างทั่วถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความสําคัญที่สุดสําหรับการใช้ชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะ อย่างมีระบบเร่งรัดพัฒนาด้านสาธารณูปโภค เป็นการอุปโภคบริโภค การประกอบ อาหาร และการ สาธารณูปการและมีการบริหารสาธารณะใน ชําระล้างสิ่งสกปรก ซึ่งปัญหาคุณภาพน้ำประปาไม่ได้ ทุกด้านให้มีคุณภาพที่มีมาตรฐาน อันจะเป็น มาตรฐานสามารถเกิดขึ้นได้จากปัญหา และข้อจํากัด ส่วนสำคัญในการเพิ่มความสะดวกในการดำรง ของระบบประปาเดิมท่อประปาที่จัดทําจากวัสดุเหล็ก ชีวิต การคมนาคมสัญจร และการประกอบ อาบสังกะสี หากระยะเวลาการใช้งาน นานเกิน อาจทํา อาชีพของประชาชนโดยมีแนวทางในการ ให้ท่อประปาคุณภาพเสื่อมลง ก่อให้เกิดเป็นสนิม ส่ง พัฒนา ผลให้น้ำประปามีคราบแดงจากตะกอน สนิมมาปะปน ในน้ำ ทําให้น้ำไม่สะอาด มีสี มีกลิ่น และส่งผลกระทบ โอกาสของชุมชน ต่อสุขภาพผู้ใช้ งบประมาณซ่อมแซมแก้ปัญหาน้ำ อุปสรรคและความท้าทาย ให้เป็นน้ำที่สะอาดสามารถทำได้ด้วย การปรับสภาพของน้ำ ขาดงบประมาณในการซ่อมแซม และสภาพ อากาศไม่เอื้ออำนวยในการปฎิบัติงาน สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 มีผลกระทบต่อการ ทำงาน ซ่อมแซมหรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีไม่มาก ไม่สามารถ รวมตัวกันได้มาก เพราะอาจจะเป็นแหล่งแพร่ กระจายของเชื้อโรคได้

37 ด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี (จุดแข็ง) สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา (จุดด้อย) สนับสนุนการท่องเที่ยวเป็นการดึงคนจาก ชาวบ้านในชุมชนไม่มีความรู้ในการประกอบ ภายนอกมาเรียนรู้ชุมชน สร้างแรงจูงใจทำให้นัก อาชีพ ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มใน ท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน คือ วิถีชีวิตที่แตกต่าง การฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพ ตาม วัฒนธรรมดั้งเดิม และแหล่งท่องเที่ยวที่มีความอุดม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างรายได้ สมบูรณ์ จุดดึงดูด คือ วิถีชีวิตที่ เรียบง่ายและมีกา เลี้ยงตนเองและครอบครัว และสามารถ ต่อยอด รดำารงชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติการท่องเที่ยวโดย อาชีพสู่ การรวมกลุ่มจัดตังเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความ ชุมชนจึงเป็นรายได้เสริมที่สามารถนำ รายได้นั้นไป เข้มแข็ง สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ OTOP สร้าง ดำรงชีพ โดยที่คนในชุมชนยังคงดำเนินวิถีดั้งเดิม รายได้แก่ครัวเรือน สู่เศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง หรือเป็นการสร้างทางเลือกเรื่องรายได้ให้กับ บาง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ครอบครัว ในการสร้างอาชีพเสริมที่เกี่ยวเนื่องกับ การท่องเที่ยว สร้างงานให้กับคนในชุมชนการท่อง อุปสรรคและความท้าทาย เที่ยว โดยชุมชน จัดสรรรายได้จากการท่องเที่ยว สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาชุมชนและ เนื่องจากเกิดโรคระบาดโควิด 19 ทำให้ สาธารณประโยชน์ เกิดผลกระทบหลายด้าน รวมถึงด้านการเงิน เพราะประชาชนในชุมชนไม่สามารถออกไป โอกาสของชุมชน ทำงานได้ และราคาสิ่งของที่ช้ในชีวิตประจำ วันมีราคาสูงขึ้น การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างอาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้ กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการ พัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรม อาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ ในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่ เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้ จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัว เรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่ม อาชีพที่มีความเข้มแข็ง

38 ด้านคุณภาพชีวิต สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี (จุดแข็ง) สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา (จุดด้อย) สนับสนุนมีโครงการเพื่อประชาชนมี ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ชุมชนที่สั่งสมมาอย่าง จิตสำนึกความรับผิดชอบเพื่อส่วนรวมเพิ่ม ขึ้น มีจิตใจประชาธิปไตยแบบใจกว้าง เคารพ ยาวนาน และต่อเนื่อง ปัญหาความยากจนและหนี้สิน ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อ รักสันติ ความเป็นธรรม ความโปร่งใส ไม่คิด ปัญหาการว่างงานและขาดแคลนงานทำในชุมชน ฉ้อโกงเอาเปรียบคนอื่น มีความไว้วางใจกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันและกัน ปัญหาการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกชุมชน ปัญหาการ ขาดแคลนทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการผลิต ปัญหา ความยากจน ประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร ปัญหาความยากจน มาจากราคาผลผลิตตกต่ำ ปัญหาความยากจนที่มีผลสืบเนื่องมาจากสภาพดิน ฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทาง เกษตรกรรมตกต่ำ โอกาสของชุมชน อุปสรรคและความท้าทาย ส่งเสริมการสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด หมู่บ้าน เน้นการมีส่วนร่วม กระจายอำนาจ ของโรคโควิด19 ทำให้ความเป็นอยู่และการ ทรัพยากร งบประมาณ ความรู้ สู่ท้องถิ่น เพื่อสร้าง ดำเนินชีวิตของประชาชน เปลี่ยนไป ไม่ อาชีพให้ประชาชน มีอาชีพ ทำให้ชุมชนขนาดเล็ก สามารถรวมตัวกันได้เพื่อพูดคุยถึงปัญหา พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจสังคมได้มากขึ้น ชุมชน ประชาชนบางคนก็ไม่สามารถทำงานได้ สามารถผลิต/บริโภคอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อ เนื่องจากที่ทำงานได้ปิดลงทำให้ค่าใช้จ่าย การดำรงชีพได้เอง หรือค้าขายแลกเปลี่ยนในระยะ ไม่พอใช้จ่ายในแต่ละวัน ใกล้ๆ เพิ่มการจ้างงานและผลผลิต การจัดตั้ง สหกรณ์เพื่อร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน เป็นการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น ภายในชุมชน ในรูปแบบของสหกรณ์ที่เปิดรับ สมาชิก คือ คนในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนิน การทางเศรษฐกิจ

บรรณานุกรม จรงค์ ชุมสุข. สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2564. สุปราณี พรหมมาก. สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2564. โสภิญญา แก้ววิเชียร. สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2564. บ่อน้ำพุร้อน. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : https://www.rakbankerd.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564) แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลกรูด 2561-2564. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : http:// www.krut.go.th/. (สืบค้นเมื่อ : 7 กันยายน 2564) มัสยิดสิดรอตุลมุนตาฮา. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : http://www.masjidthai.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564) มัสยิดอันเซอรุลเลาะฮ์. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : http://www.masjidthai.com/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564) รายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่าย ที่ผลิตสินค้าหรือบริการบริการอื่น ๆ. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : http://smce.doae.go.th/ (สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564) โรงเรียนท่าเฟืองวิทยา. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : https://www.tfv.ac.th/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564) โรงเรียนบ้านแม่โมกข์. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : https://www.educationofthailand.com (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564) โรงเรียนบ้านไสใน. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/bansainaischool/home/address (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564) วัดเขานางเภา. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : https://culturalenvi.onep.go.th/ (สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2564) สำนักสงฆ์แม่โมกข์. [ออนไลน์ ] เข้าถึงได้จาก : https://klaiklai.com/ (สืบค้น เมื่อ 9 กันยายน 2564)

ภาคผนวก








Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook