Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สรุปงานนำเสนอเทคนิคการสอน(180)

สรุปงานนำเสนอเทคนิคการสอน(180)

Published by Sudapond Phetsuk, 2021-10-17 08:26:21

Description: สรุปงานนำเสนอเทคนิคการสอน(180)

Search

Read the Text Version

เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง วิธีสอนที่ใช้ในการอภิปรายโดยทันทีไม่มีใครกระตุ้น กลุ่มผู้เรียนเพื่อหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่ กำหนดอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นโดยในขณะนั้นจะ ไม่มีการตัดสินว่า คำตอบหรือทางเลือกใดดีหรือไม่ อย่างไร ขั้นตอนในการระดมสมอง 1.กำหนดปัญหา 2.แบ่งกลุ่มผู้เรียน และอาจเลือกประธานหรือเลขาเพื่อช่วยใน การอภิปรายและ บันทึกผล 3.สมาชิกทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือก สำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด โดย ปัญหาของแต่กลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ 4.คัดเลือกเฉพาะทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้หรือเหมาะสมที่สุด 5.แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน 6.อภิปรายและสรุปผล

Project Method วิธีการสอนแบบโครงการ การสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่ หรือรายบุคคลได้วางโครงการและ ดำเนินงานให้สำเร็วตามโครงการนั้น นับว่าเป็นการสอนที่สอดคล้อง กับสภาพชีวิตจริง เด็กจะทำงานนี้ด้วยการตั้งปัญหาดำเนินการแก้ ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง ขั้นตอนการสอน 1.ขั้นกำหนดความมุ่งหมาย เป็นขั้นกำหนดความหมายและลักษณะโครงการโดยตัวนักเรียนครูจะเป็นผู้ ชี้แนะให้นักเรียนตั้งความมุ่งหมายของการเรียนว่าเราจะเรียนเพื่ออะไรวางแผนหรือวางโครงการ 2.ขั้นวางแผนหรือวางโครงการ เป็นขั้นที่มีคุณค่าต่อนักเรียนเป็นอย่างมาก คือ นักเรียนจะช่วยกันวางแผนว่าทำอย่างไรจึงจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย จะใช้วิธีการใดใน การทำกิจกรรม แล้วจึงทำกิจกรรมที่เหมาะสม 3.ขั้นดำเนินการ เป็นขั้นลงมือกระทำกิจกรรมหรือลงมือแก้ปัญหา นักเรียนเริ่ม งานตามแผนโดยทำ กิจกรรมตามที่ตกลงใจแล้วครูคอยส่งเสริมให้นักเรียนได้กระทำตามความมุ่งหมาย ที่กำหนดไว้ให้นักเรียนคิดและตัดสินใจด้วยตนเองให้มากที่สุดและควรชี้แนะให้ นักเรียนรู้จักวัดผลการทำงานเป็นระยะๆเพื่อการทำกิจกรรมจะได้ลุล่วงไปด้วยดี 4.ขั้นประเมินผล ขั้นประเมินผล หรืออาจเรียกว่า ขั้นสอบสวนพิจารณานักเรียนทำการ ประเมินผลว่ากิจกรรมหรือโครงการที่ทำนั้นบรรลุตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ หรือไม่มีข้อบกพร่องอย่างไรและควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร

TEACHING METHOD วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง เป็นวิธีสอนที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ หรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองทำให้ เกิดประสบการณ์ตรง ขั้นตอนการสอน 1. ขั้นตอนกล่าวนํา 2. ขั้นเตรียมดาํเนินการ 3. ขั้นตอนเสนอผลการทดลอง 4. ขั้นตอนอภิปรายและสรุปผล

วิธีสอนแบบแบ่งกล่มุทำงาน Committee work method 1. เพื่อให้นักเรียนมความรับผิดชอบร่วมกัรในการทำงาน 2. เพื่อฝึกทักษะในการแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่ม 3.เพื่อสร้างวฒันธรรมในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบรู้จัก ทำหน้าที่ ขั้นตอนการสอน 1.ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนด จุดมุ่งหมายของการทำงาน ในแต่ละกลุ่มขั้นตอนนี้เป็นวิธีการทำงานอย่างละเอียด 2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าความรู้ ได้แก่ บอกรายละเอียดของหนังสือใช้ในการค้นคว้า 3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงามตามที่ได้รับหมอบ หมาย

วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและ แก้ปัญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิด โอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ ความคิดของผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น ขั้นตอนการสอน 1. ผู้สอน / ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง 2. ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง 3. ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ 4. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ 5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา วิธีแก้ ปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับเทคนิคและ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง ให้มีประสิทธิภาพ

เทคนิคการสอนแบบสาธิต วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการส อนเป็นส่วนใหญ่โดยมีการแสดงหรือการกระทำ ให้ดูเป็นตัวอย่างนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการ สังเกต การฟังการกระทำหรือการแสดงและอาจ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง ขั้นตอนการสอน 1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสาธิตให้ชัดเจน และต้องสาธิตให้เหมาะสมกับ เนื้อเรื่อง 2. เตรียมอุปกรณ์ในการสาธิตให้พร้อม และตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ 3. เตรียมกระบวนการสาธิต เช่น กำหนดเวลาและขั้นตอน จะเริ่มต้นดำเนินการ และจบลง อย่างไร ผู้สาธิตต้องเข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง 4. ทดลองสาธิตก่อนสอน ควรทดลองสาธิตเพื่อตรวจสอบความพร้อมตลอดจน ผลที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในเวลาสอน 5. ต้องจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิต เพื่อที่นักเรียนจะใช้ ประกอบในขณะที่ มีการสาธิต 6. เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นแล้ว นักเรียนควรได้ทำการสาธิตซ้ำอีก เพื่อเน้นให้เกิด ความเข้าใจดีขึ้น 7. จัดเตรียมกิจกรรมหลังจากการสาธิตเพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ ของการสาธิต นั้น ๆ 8. ประเมินผลการสาธิต โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของนักเรียนและผลของการ เรียนรู้ การ ประเมินผลควรมีกิจกรรมหรือเครื่องมือ เช่น การทดสอบ การให้แสดงความคิดเห็น หรือการ อภิปรายประกอบ

เทคนิคการสอนแบบเกม วิธีสอนโดยใช้เกม คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียน เล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการ เล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปราย เพื่อสรุปการเรียนรู้ ขั้นตอนการสอน 1.ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่นเกม 2.ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา ผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่าง ใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของผู้เรียน 3.ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลควรอภิปรายผลเกี่ยวกับผลการเล่น และวิธีการหรือ พฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนที่ได้จากการสังเกตจดบันทึกไว้ และในการอภิปรายผลควร ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

ACTIVE LEARNING เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ ทางปัญญา ( Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มาก กว่าเนื้อหาวิชา เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการ ลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็น ผู้แนะนํา กระตุ้น หรืออํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียน รู้ขึ้น ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 1.สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน 2.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุก กิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียนรู้ 3.จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน 4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้ เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย 5. วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่าง ชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม 6. ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการ แสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (COC Oa lPl iEgRr aApThIVe rEs LUEnAi tReNdING) กิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ส่งเสริมให้ นักเรียนทำงานร่วมกันโดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถ แตกต่างกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและ กันและมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเอง และสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้การ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีข้อดีหลายประการ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีรูปแบบอย่างหลากหลาย 1. คิดและคุยกัน 2. กิจกรรมโต๊ะกลม 3. คู่ตรวจสอบ 4. การสัมภาษณ์แบบสามขั้นตอน 5. การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม 6.ปริศนาความรู้ (Jigsaw) 7. การสืบสอบเป็นกลุ่ม 8. การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล 9. การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน Find out more on reallygreatsite.com

เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ผู้เรียนสร้างความรู้ในขณะที่ได้รับประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆโดย จัดให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆกับสิ่งเร้าโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ห้าในการสังเกตการเก็บข้อมูลที่เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบตื่นตัวกับ สถานการณ์จริงในชีวิตผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้ ขั้นตอนการสอน 1. .ผู้เรียนสร้างความรู้ในขณะที่ได้รับประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆโดยจัดให้ผู้เรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆกับสิ่งเร้าโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตการเก็บข้อมูลที่เรียนรู้ อย่างมีส่วนร่วมแบบตื่นตัวกับสถานการณ์จริงในชีวิตผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้ 2.การสำรวจและค้นหา (Exploration) ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันการสำรวจตรวจสอบ สังเกตและฟังการโต้ตอบกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนทำการซักถามเพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจ สอบของผู้เรียนและให้เวลาผู้เรียนในการคิดข้อสงสัยตลอดจนปัญหาต่าง ๆ และทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาแก่ผู้เรียน 3.การอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) โดยผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนอธิบายแนวคิดหรือให้ คำจำกัดความด้วยคำพูดของผู้เรียนเองให้ผู้เรียนแสดงหลักฐานให้เหตุผลและอธิบายให้กระจ่าง ให้ผู้เรียนอธิบายให้คำจำกัดความและชี้บอกส่วนต่าง ๆ ในแผนภาพให้ผู้เรียนใช้ประสบการณ์ เดิมของตนเป็นพี้นฐานในการฮธิบายแนวคิด 4.การขยายความรู้ (Elaboration) โดยผู้สอนคาดหวังให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากการชี้บอก ส่วนประกอบต่าง ๆ ในแผนภาพคำจำกัดความและอธิบายสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วส่งเสริมให้ผู้เรียน นําสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ทักษะ 5.การประเมินผล (Evaluation) โดยผู้สอนสังเกตผู้เรียนในการนำแนวคิดและทักษะไปประยุกต์ ใช้ประเมินความรู้และทักษะผู้เรียนหาหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนเปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรม ให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้และทักษะกระบวนการกลุ่มถามคำถามปลายเปิดเช่นทำไมผู้เรียนจึง คิดเช่นนั้น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook