Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย

สุขภาพดีด้วยการออกกำลังกาย

Published by suphitchamahaguna, 2021-12-31 19:00:30

Description: งานออกแบบที่ไม่มีชื่อ

Search

Read the Text Version

สุขภาพดีด้วย การออกกำลังกาย ชั ญ ญ า ภั ค ม ห า คุ ณ ม . 6 / 1 2 เ ล ข ที่ 7

ส า ร บั ญ ม า ดู แ ล สุ ข ภ า พ กั น เ ถ อ ะ สุขภาพที่ดีคืออะไร? 1 ปัญหาในการรักษาสุขภาพ 2 วิธีต่างๆในการรักษาสุขภาพ 3 จุดประสงค์ของ 6 การออกกำลังกาย 7 การวิ่ง 11 ซิทอัพ-วิดพื้ น ปั่ นจักรยาน 15

สุขภาพที่ดี คืออะไร? สุขภาพที่ดีในความคิดของคนอ่านคืออะไร ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่ วยง่ายหรืออะไรต่างๆนานาที่เกี่ยว กับความแข็งแรงของเราเผื่อคนที่ยังไม่ทราบเราก็จะมา เกริ่นกันก่อนเลยสุขภาพที่ดีก็คือการมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เจ็บป่ วยง่าย หากป่ วยก็ได้รับการดูแลอย่างดี ไม่เสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควรมีจิตใจที่สบายสะอาด สงบ ไม่ทุรนทุราย มีความเป็นอยู่ในสังคมที่ดีพอ อยู่ใน ครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งหลายๆคนมักเข้าใจว่าการมี สุขภาพที่ดี คือ การไม่อ้วน หรือมีน้ำ หนักที่อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานเท่านั้น แต่ อันที่จริงแล้วการมี สุขภาพที่ดีหมายรวม ถึงการที่เราดูแลตัวเองแบบองค์รวมไม่ว่า จะด้านการรับประทานอาหาร การออก กำลังกาย การพักผ่อน รวมถึงการลด หรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ เพราะการ ที่เรามีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง จึง เป็นสาเหตุของโรคและ ความเจ็บป่ วย ต่างๆ อีกด้วย

ปัญหาต่างๆใน การดูแลสุขภาพ ตัวอย่างพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ที่ทำให้เกิดปัญหา สุขภาพและโรคต่างๆ เหล่านี้ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร - บริโภคหวาน มัน เค็มมากไป - บริโภคผักและผลไม้น้อย - บริโภคอาหารไม่สะอาด พฤติกรรมการออกกำลังกาย - ออกกำลังกายน้อย พฤติกรรมความเครียด พฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรม การล้างมือ ซึ่งความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้หลายคนรู้ดีว่า การกระทำใดก่อเกิด ปั ญหาสุขภาพใดและควรปรับเปลี่ยนการดูแลสุขภาพอย่างไรแต่ก็ ยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เสียทีนั่นเป็ นเพราะว่า...ความ เคยชินหรือรูปแบบพฤติกรรมอัตโนมัติ

วิธีต่างๆในการ รักษาสุขภาพ ถึงเวลาลงมือเปลี่ยนแปลงแล้ว การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้ผล จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยเสริม ซึ่งอาจแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ง่ายๆ ดังนี้ 1. ทบทวนตัวเอง ลองทบทวนพฤติกรรมเคยชินหรืออัตโนมัติที่เรา ทำอยู่เป็นประจำ แล้วทำความเข้าใจถึงรูปแบบสิ่งกระตุ้น รางวัลที่ ได้เพื่อพิจารณาว่าเราควรปรับปรุงในส่วนใดให้ดีขึ้นหรือเราเคยได้ ลองพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นๆมาก่อนหรือเปล่ามีส่วน ใดที่ทำแล้วได้ผลส่วนใดที่ทำแล้วไม่ได้ผลเพื่อ นำมาใช้ประโยชน์ใน ขั้นตอนต่อไป 2. สร้างแรงจูงใจ เราสามารถแบ่งแรงจูงใจได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ แรงจูงใจทางบวกที่เกิดจากความอยาก เช่น อยากหุ่นดี แรงจูงใจทางลบที่เกิดจากความกลัว เช่น กลัวแก่ กลัวทรมาน กลัว พิการ เป็นต้น เราสามารถสร้างแรงจูงใจได้ด้วยวิธีตั้งคำถามเพื่อให้ตัวเราได้ ทบทวนและสัมผัสถึงความรู้สึกอยากและความรู้สึกกลัวที่อยู่ ภายในใจให้มีพลังเพียงพอ อาทิ - สิ่งที่เป็นอยู่มีปัญหาอย่างไร เช่น ความอ้วนและความดันโลหิต สูงเป็น ปัญหาและกระทบกับชีวิตของคุณอย่างไร - หากเราไม่เปลี่ยนพฤติกรรมนั้นจะมีผลอย่างไร - ถ้าเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่แล้วเราจะได้อะไร ชีวิตจะดีขึ้นอย่างไร

3. จัดทำแผนการเปลี่ยนแปลง การจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ ได้เราจำเป็นต้องมีแนวทางที่เป็นรูปธรรม ไม่เป็นไปตามความ เคยชิน แผนการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องมีอะไรบ้าง - มีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นไปได้อยู่ในวิสัยที่ทำได้ด้วยตนเอง - มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น เลิกซื้อของ ขบเคี้ยว มาไว้ในบ้าน ติดภาพหรือข้อความเตือนใจ หลีกเลี่ยง การรับประทาน อาหาร แบบบุฟเฟต์ฯลฯ - มีกัลยาณมิตรที่คอยเตือนและให้กำลังใจเรา เพราะเราควรมี แผนขอ ความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง และควรหลีกเลี่ยงคนที่ จะดึงเราไว้ ในวงจรเดิมๆ เช่น ออกห่างจากเพื่อนที่ชวนดื่มกิน เป็นประจำ พูดคุยกับคนที่มี วิธีมองโลกที่ดีคนที่คิดอะไรเป็น ระบบ คนที่เข้าใจเราและเตือนเราได้ ฯลฯ - มีความคิดดีๆ และคำพูดดีๆ ที่เอาไว้คอยบอกตัวเอง เช่น เมื่ออยู่ใน งานปาร์ตี้ควรมีคำพูดเตือนตัวเองไม่ให้ทานอาหาร มากเกิน เช่น “จะอ้วน ไปถึงไหน” เมื่อรู้สึกขี้เกียจออกกำลังกาย สิ่งที่ต้องระวัง! ความคิดและคำพูดที่จะ “อนุญาต” ให้เราทำสิ่ง ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น “นิดหน่อยน่า ไม่เป็นไร” มีความรู้และ ทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นรู้วิธีคำนวณพลังงานใน อาหารแต่ละประเภทเป็นต้น มีรางวัลให้กับตัวเองในทุกก้าว เล็กๆของความสำเร็จ เช่น ใส่ชุดสวยเมื่อหุ่นดีขึ้น ไปเที่ยวเมื่อ เก็บ เงินที่ไม่ต้องเสียไปกับค่าบุหรี่และค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้มากพอ เป็นต้น

4.แบ่งปันประสบการณ์ การแบ่งปันประสบการณ์เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ มีความสำคัญ เพราะการบอก เล่าเรื่องราวของตัวเองให้คนอื่นฟังจะ เป็นการให้กำลังใจกันและกัน และช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จมากยิ่ง ขึ้น นี่เป็นวิธีเริ่มต้นที่จะทำให้เราก้าวสู่การมีสุขภาพที่ดีเท่านั้น ยังไงมัน ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองอีกว่าจะตั้งใจทำมันจริงๆไหม จะทำอย่าง สม่ำเสมอเพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อตัวเองรึเปล่า การเริ่มต้นไม่ใช่ว่าจะแย่ ตลอด เพียงเรามีความตั้งใจว่าสุขภาพเราต้องดีขึ้นแล้ว เราก็ต้อง พยายามทำให้ดีที่สุดและสิ่งที่ทำมามันจะไม่เสียเปล่าแน่นอน

จุดประสงค์ของ การออกกำลังกาย การเตรียมตัวก่อนเริ่มออกกำลังกายถือเป็นสิ่งสำคัญ ลองตั้งเป้าหมาย ขึ้นมาซัก 1 ข้อ ว่าเราต้องการออกกำลังกายเพื่ออะไร ไม่ว่าจะลดน้ำ หนัก เพิ่มกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้นการตั้งเป้า หมายจะช่วยเป็นแรงผลักดัน กระตุ้นให้เราออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอและที่สำคัญจะช่วยให้เราเลือกวิธีการออกกำลังกายได้ถูกต้อง ตามจุดประสงค์ของเรานั่นเอง ออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง การออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดความ เสี่ยงในการเกิดโรคร้ายต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพที่ดี และเเข็งแรงขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายดีขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โรคความ ดัน และ โรคมะเร็งได้ การออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ควรออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอเป็นประจำ แต่อาจเลือกเป็นการออกกำลังกายแบบเบาๆ อย่างการเดิน การวิ่งเหยาะๆ หรือการเล่นโยคะ ซัก 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ (150 นาทีต่อสัปดาห์) จะช่วยให้ร่า่งกายกระ ฉับกระเฉง ซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุ หรือสำหรับวัยรุ่นที่ยังมีกำลัง อาจ เลือกออกกำลังกายให้หนักขึ้น เช่น การวิ่ง หรือกระโดดเชือก เพื่อ กระตุ้นให้เลือดสูบฉีด ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลา ในการออกกำลังกายประมาณ 20 – 30 นาทีต่อวัน ทำ 3 วันต่อ สัปดาห์

การวิ่ง การวิ่งออกกำลังกายนั้นมี3 ประเภท คือ 1. การเดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพ หรือ Fun Run ใช้ระยะทางน้อยๆ แค่ 3.5 - 5 กิโลเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกายใหม่ๆ หรือนักวิ่งมือใหม่ 2. มินิฮาล์ฟ มาราธอน (Mini half marathon) ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร เป็นระยะทางที่นักวิ่งเพื่อสุขภาพนิยมกันมาก เพราะ ระยะทางไม่มากจนเกินไป และไม่น้อยจนเกินไป เหมาะสำหรับ การออกกำลังกายเพื่อ \"ลดน้ำหนัก\" 3. ฮาล์ฟ มาราธอน (Half marathon) ระยะทาง 21.1 กิโลเมตร เป็นการวิ่งที่เหมาะกับนักวิ่งที่มีประสบการณ์มาไม่น้อย หรือเคย ผ่านการวิ่งมาหลายๆ สนาม ซึ่งการวิ่งประเภทนี้ ผู้วิ่งต้องผ่าน การฝึกซ้อมมาพอสมควร เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

4. มาราธอน (Marathon / Full Marathon) ระยะทาง 42.195 กิโลเมตร เป็นระยะทางมาตรฐานที่จัดแข่งขันการวิ่งระดับ นานาชาติทั่วโลก ส่วนใหญ่จะเป็นสนามสำหรับนักวิ่งมืออาชีพ นักวิ่งต้องผ่านการฝึกฝนเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี และ ต้องผ่านการตรวจสุขภาพก่อนเท่านั้น ถึงจะสมัครวิ่งแบบนี้ได้ 5. อัลตร้า มาราธอน (Ultra marathon) ระยะทางมากกว่า 42.195 กิโลเมตร นักวิ่งที่จะมาวิ่งสนามแบบนี้ ต้องเป็นนักวิ่งที่ แข็งแกร่ง ผ่านสนามวิ่งมาอย่างโชกโชน

How To \"วิ่ง\" 1. วิ่งในความเร็วที่พอเหมาะ การวิ่งเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ไม่ต้องวิ่งเร็ว เพราะ การวิ่งเพื่อเผาผลาญพลังงาน เบิร์นไขมัน ไม่ได้วิ่งเอาความเร็ว แต่ ต้องวิ่งให้ต่อเนื่อง วิ่งในความเร็วที่ตัวเองไปไหวก็พอ ถ้าวิ่งเร็วเกิน ไปจะทำให้คุณเหนื่อยง่าย วิ่ง 2. วิ่งช้า แต่วิ่งให้นาน มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การกีฬาระบุว่า การออกกำลังกายด้วย การ \"วิ่ง\" ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งออกซิเจนจะไป ช่วยให้ไขมันในร่างกายแตกตัว แล้วร่างกายจะนำไขมันนั้นมาใช้ เป็นพลังงานจนหมด จึงช่วยลดไขมันสะสมได้ดี และถ้าคุณวิ่งใน ความเร็วเท่าเดิม แต่วิ่งให้นานขึ้น ก็จะยิ่งเผาผลาญไขมันออกไป ได้มากขึ้น 3. ไม่หักโหมเกินไป

ประโยชน์ดีๆ จากการ \"วิ่ง\" 1. การวิ่งเป็นประจำ ช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ ช่วย ให้การทำงานของหัวใจและปอดดีขึ้น เพิ่มความสมบูรณ์ให้ร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2. การวิ่งออกกำลังกาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคประจำตัว ต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันเลือด โรคเบาหวาน ช่วยลดระดับไข มันในเลือด และช่วย \"ลดน้ำหนัก\" ได้ผลดี 3. การวิ่งช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น ช่วยทำให้ระดับความเครียดลดลง

ซิทอัพ How to ซิทอัพ 1.งอเข่าขึ้น. ปลายเท้าและส้นเท้าวางราบกับพื้น 2.เอาแขนไขว้กันบนหน้าอก หรือ ประสานมือหลังศีรษะ. ... 3.ค่อย ๆ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณ แล้วแขม่วหน้าท้อง เข้ามา 4.ค่อย ๆ ยกศีรษะ ตามด้วยสะบักไหล่ขึ้นช้า ๆ ให้ส้นเท้าและ ปลายเท้าวางติดพื้น. ... 5.ค้างท่านี้ไว้สักครู่หนึ่ง. ... 6.ทำตามขั้นตอนที่ 3-5 ซ้ำ.

ประโยชน์ 1. เพิ่มความแข็งแรงของแกนกลาง 2. ส่งเสริมมวลกล้ามเนื้อ 3. ซิทอัพทำให้คุณเก่งกีฬา 4. สร้างสมดุล และเสถียรภาพ 5. ท่าซิทอัพเพิ่มความยืดหยุ่น 6. ส่งเสริมท่าทาง 7. ลดความเสี่ยงที่หลังจะได้รับบาดเจ็บ 8. ส่งเสริมความแข็งแรงของกะบังลม 9. ซิทอัพส่งให้ประสบความสำเร็จในการเรียน บทสรุปเรื่องการซิทอัพ การซิทอัพมีประโยชน์ในการสร้าง และรักษาแกนกลางที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการซิทอัพโดยให้เบาะซิทอัพ หรือเครื่องซิทอัพ หรือ แม้แต่ซิทอัพด้วยตนเอง นั้นเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหวทุก ประเภท ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ของการหายใจ และความแข็งแกร่งควรจะซิทอัพวันละกี่ครั้ง

วิด พื้ น How to วิดพื้น 1.ค่อยๆย่อลำตัวลงอย่างช้าๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคุณออกแรงฝืน ได้นาน (ห้ามเร็ว เพราะคุณจะไม่ได้ฝึกกล้ามเนื้อเลย) 2.ช่วงย่อตัวลงระวังอย่าให้หลังแอ่น โดยลำคอและลำตัวยังคง เหยียดตรง และให้ระยะหน้าอกและพื้นอยู่ประมาณ 10cm ไม่ต้องติดพื้นและยืดยกขึ้น (หรือหยุดหย่อนตัวลงเมื่อศอก คุณตั้งฉาก) 3.หากคุณต้องการฝึกกล้ามเนื้อส่วนยก ให้งอข้อศอกไปข้างลำ ตัวในจังหวะหย่อนตัวลง 4.หากคุณต้องการฝึกกล้ามเนื้อส่วนกล้ามเนื้อสามหัวหลัง แบน (Triceps) ให้งอข้อศอกไปข้างหลังในจังหวะหย่อนตัว ลง 5.ดังนั้นคุณอาจจะสลับวิดพื้นส่วนหน้าอกบ้างหรือส่วน Triceps สลับกันเพื่อให้ออกกำลังได้นานขึ้น 6.หายใจเข้า (Inhale) ตอนหย่อนตัว 7.หายใจออก (Exhale) ตอนยกตัว

ประโยชน์ การวิดพื้นเป็นการยกน้ำหนักตัวให้ลอยขึ้นด้วยการใช้มือกับแขน เป็นหลัก แต่จริง ๆ แล้ว ในการดันร่างกายที่เต็มไปด้วยน้ำหนัก ตัวให้ลอยขึ้นจากพื้นได้จำเป็นต้องใช้พละกำลังจากกล้ามเนื้อลำ ตัวส่วนบน ไม่ว่าจะเป็นหน้าอก หลังส่วนบน หัวไหล่ ส่งมายัง แขนและข้อมือ นอกจากนี้ ยังต้องใช้กล้ามเนื้อลำตัว หลังส่วนล่าง และขา เพื่อช่วยในการพยุงร่างกายให้เคลื่อนไหวตามการขึ้นลง ของลำตัว ดังนั้น กล้ามเนื้อเหล่านี้จะเกิดการพัฒนาและแข็งแรงขึ้นเมื่อ ทำเป็นประจำ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อลำตัวส่วนบนที่รับน้ำหนัก มากที่สุด ไม่เพียงเท่านี้ นอกจากความแข็งแรงแล้ว การวิดพื้นยัง อาจช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวดูกระชับมากยิ่งขึ้น

ปั่ นจักรยาน ประโยชน์ เรื่องของการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย การปั่น จักรยานจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันส่วนเกินใน ร่างกายได้เป็นอย่างดี การปั่นจักรยานจะช่วยกระตุ้นให้การไหลผ่านของอาหาร ไหลในลำไส้ทำได้เร็วขึ้น จะมีผลให้มีการดูดซับน้ำใน ลำไส้ใหญ่น้อยลง ก้อนอุจจาระก็จะมีความเปียกชื้น ไม่ แข็งแห้ง ทำให้เราถ่ายได้คล่องขึ้น ลดอาการท้องผูกได้ การปั่นจักรยานจะช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองใน ส่วนที่เรียกว่า Hippocampus ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ใช้ใน ด้านความจำ ซึ่งจะเริ่มเสื่อมอย่างรวดเร็วในผู้ที่มีอายุ 30 ขึ้นไป การกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองในส่วนดังกล่าว ขึ้นมาทดแทนจึงสามารถที่จะช่วยป้ องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ เนื่องจากการปั่นจักรยานจะกระตุ้นการทำงานของระบบ การไหลเวียนของเลือด รวมถึงระบบการหายใจ จึงมี ประโยชน์ในด้านการช่วยลดโรคความดัน โรคอ้วน รวม ถึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งประเภทต่างๆ นอกจากนั้น ผลจากการปั่นจักรยานเป็นประจำ ที่ทำให้ เกิดการทำงานที่ดีของระบบการไหลเวียนของเลือด ระบบหายใจ และการลดไขมันสะสมส่วนเกินยังมีส่วน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้กว่า 50% การปั่นจักรยานในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ จะช่วยให้ ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น และทำให้การลำเลียง ออกซิเจน พร้อมทั้งสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ รวมถึง การขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกายทำได้ดีขึ้น

ประโยชน์ ในด้านการรักษาอาการเจ็บป่วย การปั่นจักรยานในระดับ ความเร็วปานกลาง เป็นเวลาประมาณ 30 นาที เป็นประจำ สามารถทำให้อาการปวดหัวไมเกรนลงไปได้มากจนถึง 90% ของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยในสวีเดน เนื่องจากร่างกายมี การหลั่งสาร endorphins ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดใน ร่างกายในปริมาณที่มากพอ การปั่นจักรยานยังมีทั้งช่วยให้นอนหลับได้สนิทขึ้น ช่วยใน ด้านสุขภาพจิต ทำให้จิตใจเบิกบาน ลดความเครียด เสริม สร้างสมาธิ เพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ และยังเป็นการช่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการลดการใช้พลังงานจากถ่านหิน แต่โดยส่วนตัวแล้ว เริ่มมองหาจักรยานตั้งแต่เห็นข้อดีข้อ แรกแล้ว ก็เบิร์นได้ดีขนาดนั้น คงไม่ต้องไปมองหาวิธีออก กำลังกายประเภทอื่นอีกแล้ว

เต้นแอโรบิต เป็นกิจกรรมการออกกำลังกายที่ดัดแปลงและปรับปรุงใหม่ โดยชาวอเมริกัน ชื่อ ๋Jackie Soreson ในปีค.ศ. 1979 โดยเข้า มาในไทยเมื่อปีพ.ศ. 2522 โดยสถานบริหารร่างกายเวิลด์คลับ การเต้นแอโรบิค ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากและ สม่ำเสมอ โดยการเต้นแอโรบิคจะเป็นการออกกำลังกายโดย นำทา่ กายบริหาร การเต้นรำ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น เดิน วิ่ง กระโดด มาผสมผสานกันเป็นท่าชุดเต้นไปตามจังหวะ เพลง ซึ่งเพลงที่ใช้จะต้องมีจังหวะเร็วสนุก เช่น เพลงดิสโก้ เป็นต้น

ขั้นตอนในการฝึกเต้นแอโรบิค มี 3 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย การบริหารข้อต่อสัดส่วนต่างๆของร่างกายและการยืด กล้ามเนื้อในช่วงนี้ควรจะมีชีพจรเต้นอยู่ระหว่าง 100 ครั้งต่อนาที ใช้ เวลาประมาณ 5-10 นาที 2.ช่วงแอโรบิค จำเป็นต้องแบ่งความหนักเบาของกิจกรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพ ของผู้เข้าร่วมจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ชีพจรขณะเต้น ประมาณ 60-80% ของชีพจรสูงสุดและจะต้องคำนึงถึงลักษณะและชนิดของการ เคลื่อนไหวเป็นหลัก คือให้ทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างต่อ เนื่อง 3.ช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นการบริหารกายเฉพาะส่วนและเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดย เน้นที่การยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างช้าๆ เพื่อเข้าสู่ภาวะปกติ การผ่อน คลายจะหยุดค้างในท่านั้นๆประมาณ 5-20 วินาที ส่วนชีพจรควรต่ำ กว่า 100 ครั้งต่อนาที

ประโยชน์ 1.การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น ลดความ เสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ยร้อยละ 40-50 2.ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานเฉลีย่ ร้อยละ 30-40 3.ลดความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และคอเลสเตอรอลในเลือด 4.เพิ่มระดับไขมันดีให้กับร่างกาย 5.ส่งเสริมการทำงานของสมอง ชะลอความเสื่อมของเซลล์ สมอง ลดความเสี่ยงโรคความจำเสื่อมและโรคสมองเสื่อม 6.ช่วยให้อารมณ์ดี ลดความเครียด นอนหลับสนิทและต่อ เนื่องมากขึ้น 7.ลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 8.ลดความเสี่ยงการเกิดโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งรวม ถึงโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ อีกด้วย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook