Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชา หลักการยานยนต์ เล่มที่ ๒

วิชา หลักการยานยนต์ เล่มที่ ๒

Published by qacavalry, 2021-10-30 14:52:39

Description: วิชา หลักการยานยนต์ เล่มที่ ๒
รหัสวิชา ๐๑๐๒๒๖๐๖๐๒
หลักสูตร นายทหารยานยนต์
แผนกวิชายานยนต์ กศ.รร.ม.ศม.

Search

Read the Text Version

โรงเรียนทหารมา้ วิชา หลักการยานยนต์ เลม่ ท่ี ๒ รหัสวชิ า ๐๑๐๒๒๖๐๖๐๒ หลักสตู ร นายทหารยานยนต์ แผนกวชิ ายานยนต์ กศ.รร.ม.ศม. ปรัชญา รร.ม.ศม. “ฝึกอบรมวิชาการทหาร วทิ ยาการทันสมัย ธำรงไว้ซง่ึ คุณธรรม”

ปรชั ญา วิสยั ทศั น์ พันธกิจ วตั ถปุ ระสงคก์ ารดำเนนิ งานของสถานศกึ ษา เอกลกั ษณ์ อตั ลกั ษณ์ ๑. ปรัชญา ทหารม้าเป็นทหารเหล่าหนึ่งในกองทัพบกที่ใช้ม้าหรือส่ิงกำเนิดความเร็วอ่ืนๆ เป็นพาหนะเป็นเหล่าที่มีความสำคัญ และจำเป็นเหล่าหน่ึง สำหรับกองทหารขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับเหล่าทหารอ่ืน ๆ โดยมีคุณลักษณะท่ีมีความ คล่องแคล่ว รวดเร็วในการเคลื่อนท่ี อำนาจการยิงรุนแรง และอำนาจในการทำลายและข่มขวัญ อันเป็น คุณลกั ษณะทส่ี ำคญั และจำเป็นของเหลา่ โรงเรียนทหารม้า ศนู ยก์ ารทหารมา้ มีปรชั ญาดงั น้ี “ฝึกอบรมวชิ าการทหาร วทิ ยาการทนั สมัย ธำรงไว้ซึง่ คุณธรรม” ๒. วิสยั ทัศน์ “โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้วิชาการเหล่าทหารม้าที่ทันสมัย ผลติ กำลงั พลของเหลา่ ทหารม้า ให้มีลกั ษณะทางทหารท่ีดี มคี ุณธรรม เพือ่ เปน็ กำลงั หลกั ของกองทัพบก” ๓. พันธกจิ ๓.๑วจิ ยั และพฒั นาระบบการศกึ ษา ๓.๒ พัฒนาคณุ ภาพครู อาจารย์ และบคุ ลากรทางการศึกษา ๓.๓ จดั การฝกึ อบรมทางวชิ าการเหล่าทหารมา้ และเหล่าอื่นๆ ตามนโยบายของกองทพั บก ๓.๔ผลติ กำลังพลของเหลา่ ทหารม้า ให้เปน็ ไปตามวัตถปุ ระสงค์ของหลกั สตู ร ๓.๕ พัฒนาสือ่ การเรียนการสอน เอกสาร ตำราของโรงเรยี นทหารมา้ ๓.๖ปกครองบังคับบัญชากำลังพลของหน่วย และผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่างๆ ให้อยู่บนพื้นฐาน คุณธรรม จรยิ ธรรม ๔. วตั ถปุ ระสงค์ของสถานศกึ ษา ๔.๑เพื่อพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เขา้ รับการศกึ ษาไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพ ๔.๒ เพ่อื พฒั นาระบบการศึกษา และจัดการเรียนการสอนผา่ นส่ืออเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ ให้มคี ณุ ภาพอยา่ งตอ่ เนื่อง ๔.๓ เพื่อดำเนินการฝึกศึกษา ให้กับนายทหารชั้นประทวน ท่ีโรงเรียนทหารม้าผลิต และกำลังพลท่ีเข้ารับ การศึกษา ใหม้ คี วามรู้ความสามารถตามทีห่ นว่ ย และกองทพั บกต้องการ ๔.๔ เพือ่ พฒั นาระบบการบรหิ าร และการจัดการทรพั ยากรสนับสนนุ การเรยี นรู้ ให้เกิดประโยชนส์ ูงสุด ๔.๕ เพือ่ พัฒนาปรับปรุงส่อื การเรียนการสอน เอกสาร ตำรา ให้มคี วามทนั สมยั ในการฝึกศึกษาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ๔.๖เพื่อพัฒนา วิจัย และให้บริการทางวิชาการ ประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่ายทางวิชาการกับ สถาบันการศกึ ษา หน่วยงานอ่ืนๆ รวมทงั้ การทำนบุ ำรงุ ศิลปวัฒธรรม ๕. เอกลกั ษณ์ “เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ทางวิชาการ และผลิตกำลังพลเหล่าทหารม้าอย่างมีคุณภาพเป็นการ เพิ่มอำนาจกำลังรบของกองทพั บก” ๖. อตั ลักษณ์ “เดน่ สง่าบนหลังม้า เก่งกลา้ บนยานรบ”

สารบัญ หน้า 1 ลำดับ วชิ า 6 1 เครอื่ งมือซ่อมบำรงุ ขั้นที่ 2 15 2 การใช้และการดูแลรักษาเครอื่ งมอื 43 3 คณุ ลักษณะของยานยนต์ทหาร 52 4 ระบบมูลฐานของเครอ่ื งยนต์ (องค์ประกอบเครอ่ื งยนต)์ 64 5 การแบง่ ประเภทของเครอ่ื งยนต์ 72 6 ระบบอากาศและนำ้ มนั เชอื้ เพลิงของเครอื่ งยนตแ์ กส๊ โซลีน 75 7 เครอ่ื งปรงุ เช้ือระเบดิ 92 8 ระบบอากาศและนำ้ มันเชื้อเพลงิ ของเคร่อื งยนต์ดเี ซล 9 ระบบหลอ่ ล่นื และระบายความรอ้ น ...................................................

ห น้ า | 1 แผนกวชิ ายานยนต์ กองการศกึ ษา โรงเรียนทหารมา้ ศนู ย์การทหารม้า ----------------------------- เอกสารนำ วชิ า เครื่องมือซ่อมบำรงุ ข้นั ท่ี 2 หมายเลขวชิ า ยน. ………………… 1. ความมุ่งหมาย เพือ่ ใหน้ ักเรยี นมีความรเู้ ก่ยี วกับเคร่ืองมือซ่อมบำรุงชดุ ตา่ ง ๆ ทจ่ี ่ายประจำหนว่ ย 2. ขอบเขต เพ่อื ใหน้ กั เรยี นมคี วามรใู้ นเรอ่ื งต่าง ๆ ดงั นี้ 2.1 เครอื่ งมือซอ่ มบำรงุ ขนั้ หน่วย 2.2 เครือ่ งมอื ชุด ตาม ชกท. 2.3 เคร่อื งมือซอ่ มบำรุงพเิ ศษ 3. ระยะเวลาในการศึกษา - ช่วั โมง 4. หลกั ฐาน - อจย. 17 - 21 พ. ( 28 พ.ค. 27 ) กรมทหารม้า - อจย. 17 - 55 ก. ( 10 ม.ิ ย. 28 ) กองพนั ทหารม้า ( ลาดตระเวน ) - อจย. 17 - 55 พ. ( 19 ต.ค. 22 ) กองพนั ทหารมา้ ( ลาดตระเวน ) - อจย. 17 - 15 ( 25 ม.ค. 19 ) กองพนั ทหารมา้ ( รถถงั ) - คท. 20 P ประจำยทุ โธปกรณ์ 5. งานมอบ ใหน้ ักเรยี นอา่ นเอกสารเพมิ่ เตมิ วชิ า เครอื่ งมอื ซ่อมบำรงุ ขั้นที่ 2 และเครื่องมอื ซ่อมบำรงุ พิเศษ 6. เอกสารจ่ายประกอบเอกสารนำ - เอกสารเพม่ิ เตมิ ----------------------------------------

ห น้ า | 2 แผนกวชิ ายานยนต์ กองการศึกษา โรงเรียนทหารมา้ ศนู ย์การทหารมา้ ----------------------------- เอกสารเพม่ิ เตมิ วิชา เครอ่ื งมอื ซ่อมบำรงุ ขั้นที่ 2 หมายเลขวชิ า ยน. ………………… 1. กล่าวนำ หน่วยทหารทุกระดับจะต้องมีเคร่ืองมือเคร่ืองใช้ประจำหน่วย ซ่ึง ทบ.อนุมัติให้มีไว้ตาม อจย. ของหน่วย รวมท้ังเครื่องมือซ่อมบำรุงขั้นท่ี 2 ในอัตราตามประเภทของหน่วย เพื่อใช้ในการซ่อมบำรุง ยุทโธปกรณข์ องหน่วยใหม้ สี ภาพสมบูรณใ์ ช้ราชการไดต้ ลอดเวลา หน่วยทหารแต่ละหน่วย อาจมีเครื่องซ่อมบำรงุ ในอัตราแตกต่างกัน ตามลักษณะ และขนาดของหน่วย เคร่ืองมือต่าง ๆ น้ี ช่างประจำหน่วยเป็นผู้ใช้ทำการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ภายใต้การกำกับดูแลของนายทหาร ยานยนต์ นายทหารซ่อมบำรุงฯ และนายสิบยานยนต์ อย่างไรก็ดี แม้ว่าหน่วยจะได้รับเคร่ืองมือที่ดีเลิศเพียงใด แต่ถ้าผู้ใช้ ใช้ไม่ถูกวธิ ี ขาดความระมัดระวังในการใช้ ไม่เก็บรักษาให้ถูกต้อง ก็จะทำให้เคร่ืองมือเคร่ืองใช้ชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว เป็นผลกระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงของหน่วย ไปด้วย 2. อธิบาย เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการซ่อมบำรุงระดับหน่วยนั้น กองทัพบกได้อนุมัติให้หน่วยได้รับตาม อตั ราการจดั และยทุ โธปกรณข์ องหนว่ ย (อจย.) โดยทว่ั ไปประกอบด้วยเครื่องมอื ชุดต่าง ๆ ดังนี้ - เครื่องมือชดุ ซอ่ มบำรงุ ขั้นหน่วย - เครอ่ื งมือชดุ ตาม ชกท. - เครอ่ื งมือซ่อมบำรุงพิเศษ 2.1 เคร่ืองมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วย เคร่ืองมือชุดนี้ใช้สำหรับทำการซ่อมบำรุงขั้นท่ี 2 มีชื่อเรียกอีก อย่างหนง่ึ วา่ เคร่อื งมือซ่อมบำรงุ ข้นั ท่ี 2 และแจกจ่ายตาม อจย. ของแต่ละหนว่ ยมี 8 ชนดิ ดงั น้ี 2.1.1 เครื่องซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 1 ทั่วไป หรือเรียกอกี อย่างหน่ึงว่า เครื่องมือซ่อม บำรุงขั้น 2 ชุดหมายเลข 1 ธรรมดา (TOOL KIT ORG. MAINT. SET NO.1 COMMON) เคร่ืองมือชุดนี้จะ แจกจ่ายให้กับหน่วยระดับกองรอ้ ย เพอ่ื ใชใ้ นการซ่อมบำรุงประจำเดือนยานยนต์ล้อ และยานยนตส์ ายพานของ หน่วย ซงึ่ มรี ถ 8 - 75 คนั และชา่ งยานยนต์ 1 - 8 นาย 2.1.2 เคร่ืองมือซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 1 ท่ัวไป เพ่ิมเติม หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า เคร่ืองมือซอ่ มบำรุงขนั้ ท่ี 2 ชุดหมายเลข 1 เพ่มิ เตมิ (TOOL KIT ORG. MAINT. SET NO.1 SUPPLEMENTAL) เครอ่ื งมอื ชุดน้ีจะแจกจา่ ยควบค่กู บั เคร่อื งมอื ซอ่ มบำรงุ ขนั้ หนว่ ย หมายเลข 1 ทัว่ ไป เพ่ือใช้ในการ ปบ. 6 เดือน ยานยนตล์ อ้ และ ปบ. 3 เดือน ยานยนตส์ ายพาน 2.1.3 เครื่องมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 1 ท่ัวไป เสริม หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า เคร่ืองมือซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ชุดหมายเลข 1 เสริม (TOOL KIT ORG.MAINT.SET NO.1 AUGMENTATION) เคร่ืองมือชุดน้ีจะแจกจ่ายควบคู่กับเครื่องมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 1 ทั่วไป เพื่อใช้ในการ ปบ. 6 เดือน ยานยนตล์ ้อญี่ปุ่น 2.1.4 เคร่ืองมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 2 ทั่วไป หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เคร่ืองมือซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ชุดหมายเลข 2 ธรรมดา (TOOL KIT ORG. MAINT. SET NO.2 COMMON) เคร่ืองมือชุดน้ีจะแจกจ่ายให้กับหน่วยระดับกองพัน และกรม เพื่อใชใ้ นการซ่อมบำรุงประจำเดือน ยานยนตล์ ้อ และประจำเดือน ยานยนต์สายพาน ซึ่งมรี ถ 75 - 350 คัน ช่างยานยนต์ 8 - 26 นาย

ห น้ า | 3 2.1.5 เครื่องมือซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 2ท่ัวไป เพ่ิมเติม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องมือซ่อมบำรุงข้ันที่ 2 ชดุ หมายเลข 2 เพมิ่ เตมิ (TOOL KIT ORG. MAINT. SET NO.2 SUPPLEMENTAL) เครื่องมือชุดน้ีจะแจกจ่ายควบคู่กับเคร่ืองมือซ่อมบำรุงข้ันหน่วย หมายเลข 2 ท่ัวไปเพ่ือใช้ในการ ปบ. 6 เดือน ยานยนต์ลอ้ และ ปบ. 3 เดือน ยานยนต์สายพาน 2.1.6 เครื่องมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วยหมายเลข 2 ทั่วไป เสริม หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า เครื่องมือซ่อมบำรุงขั้นที่ 2 ชุดหมายเลข 2 เสริม (TOOL KIT ORG.MAINT.SET NO.2 AUGMENTATION) เครื่องมือชุดน้ีจะแจกจ่ายควบคู่กับเครื่องมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 2 ทั่วไป เพื่อใช้ในการ ปบ. 6 เดือน ยานยนต์ล้อญี่ปนุ่ 2.1.7 เคร่ืองมือชดุ ซอ่ มบำรงุ ข้ันหนว่ ย หมายเลข 5 หรือเรียกอีกอย่างหน่วยว่า เคร่ืองมือชา่ ง เชื่ อ ม ห ม าย เล ข 5 (TOOL KIT ORG. MAINT. NO. 5 OR TOOL KIT WELDER SET NO. 5) เป็ น ชุ ด เคร่ืองมอื เชื่อมแก๊สออ๊ กซอี ะเซททีลีน เครอื่ งมือชดุ น้ีจะแจกจา่ ยใหก้ บั หน่วยระดบั กองรอ้ ย 2.1.8 เครื่องมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 7 (TOOL KIT ORG. MAINT. NO.7) เป็น ชุดโครงรอกใช้ประกอบบน รยบ.2 1/2 ตัน ใช้สำหรับการกู้ซ่อม หรอื ยกย้ายอุปกรณ์ หรอื ยานยนตข์ นาดเบา 2.2 เคร่ืองมือชุดตาม ชกท. คือ เคร่ืองมือชุดท่ีแจกจ่ายให้แก่ เจ้าหน้าท่ีซ่อมบำรุงเพ่ือใช้ในการ ปฏิบตั ิงานตาม ชกท.ของตน ปกติอยู่ในความรับผิดชอบ และการดูแลรักษาของเจ้าหน้าท่ีผู้ได้รับจ่ายเคร่ืองมือ ชุดไวใ้ ชป้ ระจำตัว ได้แก่ 2.2.1 เคร่ืองมือชุดช่างท่ัวไป (TOOL KIT GEN. MECH.)จะแจกจ่ายให้กับช่างยานยนต์ตาม อัตรา 1 หีบ ต่อชา่ งยานยนต์ 1 นาย 2.2.2 เครื่องมือชุดช่างท่ัวไป เสริม (TOOL KIT GEN. MECH. AUG.) แจกจ่ายควบคู่กับ เครื่องมอื ชดุ ช่างทั่วไป 2.2.3 เครื่องมือชุดช่างอาวุธ หรือเครื่องมือซ่อมอาวุธเบา (TOOL KIT AMORER) จะ แจกจา่ ยตาม อจย.ของหน่วย 2.2.4 เครอื่ งมือชดุ ชา่ งซอ่ มปืนใหญข่ ้นั ตน้ จะแจกจา่ ยตาม อจย.ของหนว่ ย 2.2.5 เครอื่ งมือชดุ ชา่ งปอ้ มปืนใหญร่ ถถงั จะแจกจา่ ยตาม อจย.ของหนว่ ย 2.3 เครื่องซ่อมบำรุงพิเศษ (SPECIAL TOOL SET) เป็นเคร่ืองมือพิเศษสำหรับใช้ในการซ่อมบำรุง ข้ันท่ี 2 ของยานพาหนะแตล่ ะชนิดโดยเฉพาะ เคร่ืองมือชุดนมี้ ิไดแ้ จกจ่ายประจำตวั แก่ชา่ งยานยนต์ เคร่ืองซ่อม บำรงุ พิเศษ มี 2 ชนิด ดังนี้ 2.3.1 เครื่องมือซ่อมบำรุงพิเศษชุด A หรือเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า เครื่องมือชุดซ่อมบำรุงข้ันที่ 2 พเิ ศษ A (SPECIAL TOOL SET A) เคร่อื งมือชดุ น้ีจะแจกจ่ายให้หน่วยระดับกองรอ้ ย เพอื่ ใชใ้ นการซ่อมบำรุง ประจำเดือน จำนวน 1 ชุด ต่อยานพาหนะแต่ละชนิดท่ีหน่วยมีอยู่ เคร่ืองซ่อมบำรุงพิเศษชุด A จะปรากฏ รายละเอียดอยู่ในคู่มือทางเทคนิค 20P ของยานพาหนะ ตามปกติเคร่ืองมือชุดนี้จะประกอบด้วยเครื่องมือ จำนวนเล็กนอ้ ย 2.3.2 เครื่องซ่อมบำรุงพิเศษชุด B หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องมือชุดซ่อมบำรุงข้ันที่ 2 พเิ ศษชุด B (SPECIAL TOOL SET B) เคร่ืองมือชุดน้ีจะแจกจ่ายให้แก่หน่วยระดับกองพัน หรือ กรม เพ่ือใช้ใน การซ่อมบำรุงประจำ 3 เดือน ยานยนต์สายพาน เคร่ืองซ่อมบำรุงพิเศษชดุ B จะปรากฏรายละเอยี ดอยู่ในคู่มือ ทางเทคนิค 20P ของยานพาหนะ เคร่ืองมือชุดน้ีจะประกอบด้วยเคร่ืองมือจำนวนมากกว่าเคร่ืองมือซ่อมบำรุง พิเศษชดุ A หมายเหตุ สำหรบั คมู่ ือเทคนิค 20P รุน่ ใหม่ จะปรากฏรายการเฉพาะเครอื่ งมือซอ่ มบำรงุ พเิ ศษ สำหรับใช้ในการซอ่ มบำรงุ ขน้ั ที่ 2 เทา่ น้นั โดยไมแ่ ยกรายการออกเป็นเครอ่ื งมือ ชดุ A และเคร่อื งมอื ชดุ B

ห น้ า | 4 3. ตัวอย่าง อัตราจ่าย เครอ่ื งมอื ซอ่ มบำรุงข้ันหน่วย ของกองพนั ทหารม้า (รถถัง) อจย. 17 - 15 ( 25 ม.ค. 19 ) 3.1 กองบังคับการกองร้อย ร้อย.บก.พัน.ถ. จะมีเจ้าหน้าท่ีซ่อมบำรุงข้ันที่ 2 ประกอบด้วย นาย สบิ ยานยนต์ 1 นาย (จ.), ชา่ งยานยนต์ลอ้ 4 นาย (จ. 1, ส.อ.3) และเสมียนสง่ กำลัง (ชิ้นส่วน) 1 นาย (ส.อ.) ทำ หนา้ ที่ตรวจสภาพ, กำกับดแู ล, ซอ่ มบำรุง และสง่ กำลังชิน้ สว่ นซอ่ มยานยนต์ล้อ ในสว่ น บก.รอ้ ย. จะมเี คร่ืองมือ ดงั นี้ 3.1.1 เครื่องมือชุดชา่ งอาวธุ 2 ชดุ 3.1.2 เครื่องมือชุดช่างท่วั ไป 2 ชุด 3.1.3 เครอ่ื งชุดช่างท่วั ไป เสรมิ 2 ชุด 3.1.4 เครือ่ งมือชดุ ซ่อมบำรุงขน้ั หน่วย หมายเลข 1 ท่วั ไป 1 ชดุ 3.1.5 เครื่องมือชุดซ่อมบำรุงขน้ั หนว่ ย หมายเลข 1 ทั่วไป เพิ่มเติม 1 ชดุ 3.1.6 เครื่องมือชดุ ซอ่ มบำรุงข้ันหน่วย หมายเลข 7 1 ชดุ 3.2 ตอนซอ่ มบำรุง รอ้ ย.บก.พัน.ถ. จะมเี จ้าหน้าทีซ่ ่อมบำรงุ ขั้นที่ 2 ประกอบดว้ ย นายสบิ ยานยนต์ 1 นาย (จ.), ช่างยานยนตส์ ายพาน 6 นาย (จ.2, ส.อ.4), นายสิบรถกู้ 2 นาย (จ.2), ช่างซ่อมปนื ใหญ่รถถัง 2 นาย (จ.1, ส.อ.1), นายสิบช้ินส่วนสาย สพ. 1 นาย (ส.อ.) ทำหน้าท่ีตรวจสภาพ, กำกับดูแล, ซ่อมบำรงุ และส่งกำลัง ชนิ้ สว่ นซอ่ มยานยนตส์ ายพาน ในตอนซ่อมบำรงุ จะมเี ครื่องมอื ดงั น้ี 3.2.1 เครอ่ื งมือชุดซอ่ มบำรุงขั้นหนว่ ย หมายเลข 2 ทั่วไป 1 ชุด 3.2.2 เครื่องมือชดุ ซอ่ มบำรงุ ข้นั หน่วย หมายเลข 2 เพ่ิมเติม 1 ชดุ 3.2.3 เคร่ืองมอื ชุดซ่อมบำรุงขน้ั ที่ 2 พิเศษ ชดุ B สำหรับ ถ.M41 1 ชุด 3.2.4 เครอ่ื งมอื ชดุ ซอ่ มบำรุงขัน้ ที่ 2 พิเศษ ชดุ B สำหรับ รสพ.M577 1 ชดุ 3.2.5 เครื่องมอื ชดุ ซ่อมบำรงุ ขน้ั ที่ 2 พเิ ศษ ชุด B สำหรบั รถสายพานกู้ซ่อม M578 1 ชดุ 3.2.6 เครอ่ื งมือชดุ ซอ่ มบำรงุ ขน้ั ท่ี 2 พเิ ศษ ชุด B สำหรับ รถกู้ 5 ตัน M543 1 ชดุ 3.2.7 เครอ่ื งมือชดุ ซ่อมบำรงุ ข้ันที่ 2 พิเศษ ชดุ B สำหรบั รถพยาบาล M718 1 ชดุ 3.2.8 เครอ่ื งมือชุดซอ่ มบำรุงขั้นที่ 2 พิเศษ ชดุ B สำหรับ รยบ. 1/4 ตัน 1 ชดุ 3.2.9 เครือ่ งมือชดุ ซอ่ มบำรงุ ขน้ั ท่ี 2 พิเศษ ชดุ B สำหรับ รยบ. 3/4 ตนั 1 ชุด 3.2.10 เคร่อื งมอื ชดุ ซอ่ มบำรุงขั้นท่ี 2 พเิ ศษ ชดุ B สำหรบั รยบ. 2 1/2 ตัน 1 ชุด 3.3 ร้อย.ถ. หม่ซู ่อมบำรงุ รอ้ ย.ถ. จะมีเครือ่ งมอื ดังนี้ 3.3.1 เครื่องมือชดุ ช่างอาวุธ 1 ชุด 3.3.2 เครอ่ื งมือชุดชา่ งซ่อมปืนใหญ่รถถงั 1 ชุด 3.3.3 เครื่องมอื ชดุ ชา่ งป้อมปืนใหญร่ ถถัง 1 ชดุ 3.3.4 เครื่องมอื ชุดชา่ งทั่วไป 12 ชุด 3.3.5 เครอ่ื งมือชดุ ชา่ งทัว่ ไป เสริม 12 ชุด 3.3.6 เครอ่ื งมือชุดซอ่ มบำรงุ ขน้ั หนว่ ย หมายเลข 1 ทัว่ ไป 1 ชุด 3.3.7 เครอ่ื งมอื ชดุ ซ่อมบำรุงข้ันหน่วย หมายเลข 1 ท่ัวไป เพ่มิ เติม 1 ชุด 3.3.8 เครื่องมือชุดซอ่ มบำรุงขนั้ หน่วย หมายเลข 2 เสริม 1 ชุด เพื่อใช้ทำการ ปบ. 3 เดอื น ยานยนตส์ ายพาน โดยชุดน้ีจะมเี ครอื่ งมือบางชิ้น เพ่ิมขึน้ เชน่ ชุดเครื่องเชอื่ มไฟฟา้ และชุดเครือ่ งมอื ตรวจสอบระบบไฟฟา้ 3.3.9 เครอ่ื งมอื ชดุ ซอ่ มบำรุงขน้ั หนว่ ย หมายเลข 5 (ชุดเชอื่ มแก๊ส) 1 ชดุ 3.3.10 เครือ่ งมือชดุ พเิ ศษ สำหรับ ถ.M41 1 ชดุ

ห น้ า | 5 4. สรปุ ขีดความสามารถของเคร่อื งมือชดุ ซ่อมบำรุงขน้ั ที่ 2 4.1 เครื่องมือชุดซอ่ มบำรงุ ขนั้ หนว่ ย หมายเลข 1 ท่วั ไป ใช้ทำการ ปบ.ประจำเดอื น 4.2 เครื่องมือชุดซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 1 ทั่วไป และชุดเคร่ืองมือซ่อมบำรุงขั้นหน่วย หมายเลข 1 ทั่วไป เพ่ิมเติม รวมกันมีขีดความสามารถในการ ปบ.ประจำ 3 เดือน ยานยนต์สายพาน หรือ ประจำ 6 เดอื น ยานยนต์ล้อ เชน่ เดยี วกับเคร่อื งมือชดุ ซ่อมบำรุงขัน้ หนว่ ย หมายเลข 2 ----------------------------------------------

ห น้ า | 6 แผนกวชิ ายานยนต์ กองการศกึ ษา โรงเรียนทหารมา้ ศนู ย์การทหารมา้ ----------------------------- เอกสารนำ วชิ า การใช้ และการดแู ลรักษาเครือ่ งมอื หมายเลขวชิ า ยน. ………………… 1. ความมุง่ หมาย วชิ าน้มี คี วามมงุ่ หมายเพื่อใหน้ กั เรียนมีความรู้ และคุน้ เคยกับเคร่อื งมอื ชนิด ตา่ ง ๆ การใช้ และการดูแลรักษาเครื่องมือทถ่ี ูกวิธี 2. ขอบเขตการศกึ ษา ให้นักเรยี นมคี วามรใู้ นเรือ่ งต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 การแบ่งประเภทของเคร่อื งมอื 2.2 ชอ่ื ของเคร่อื งมอื และความมุ่งหมายในการใชง้ าน 2.3 การใช้เครื่องมือท่ีถกู วิธี, ปลอดภยั และมีประสิทธภิ าพสูงสุด 2.4 การตรวจสภาพเครือ่ ง และการดแู ลรกั ษา 3. ระยะเวลาในการศกึ ษา 3 ชว่ั โมง 4. หลกั ฐาน - คท. 9 - 243 การใชแ้ ละการดูแลรกั ษาเคร่ืองมือ และเครอ่ื งวดั 5. งานมอบ ให้นักเรียนอา่ นเอกสารเพม่ิ เตมิ วิชาการใช้และการดูแลรักษาเคร่อื งมอื ชา่ ง 6. เอกสารจ่ายประกอบเอกสารนำ - เอกสารเพิ่มเติม ----------------------------------------------

ห น้ า | 7 แผนกวชิ ายานยนต์ กองการศึกษา โรงเรียนทหารมา้ ศูนย์การทหารมา้ ----------------------------- เอกสารเพม่ิ เติม วิชา การใช้ และการดแู ลรักษาเคร่อื งมอื หมายเลขวิชา ยน. ……………………. 1. กล่าวท่ัวไป การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสภาพดี สามารถใช้ราชการได้ยาวนานนั้น เครื่องมือ ย่อมเป็นส่ิงจำเป็น และมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามแม้ว่าหน่วยงานน้ันจะมีเคร่ืองมือที่มีคุณภาพดีเลิศเพียงใด แต่ถ้าผู้ใช้ใช้ไม่ถูกวิธี หรือไม่มีความ ระมัดระวังในการใช้ และไม่เก็บรักษาให้ถูกต้อง ย่อมจะทำให้เคร่ืองมือต่าง ๆ ชำรุดเสียหาย และเสื่อมสภาพ ก่อนถงึ กำหนดเวลาอนั ควร หรอื ไม่อย่ใู นสภาพพรอ้ มทจี่ ะใช้งานได้ตลอดเวลา 2. ขอบเขต ให้นักเรียนมีความรู้ความคุ้นเคยกับเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ซึ่งช่างได้รับจ่ายไว้ใช้ประจำตัวหรือ ได้รบั อนุมัติให้ใชใ้ นเรือ่ ง คุณลกั ษณะ, หน้าท่ี, ประโยชน์ในการใชง้ าน และวธิ ีการใช้ท่ีถูกต้อง การระมัดระวังใน การใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัยไม่เกิดอันตรายแก่ เคร่ืองมือ, ยุทโธปกรณ์ หรือ ผู้ใช้ รวมท้ังการเก็บรักษา การ ซอ่ มบำรงุ ใหเ้ ครื่องมือมีสภาพดเี สมอ เกิดประโยชน์ และประสทิ ธิภาพในการใช้สงู สดุ 3. การแบ่งประเภทเครื่องมือ เคร่ืองมือช่างสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการใช้งานได้ 6 ประเภท ดงั น้ี - เครื่องมอื ประเภทใชต้ ี เชน่ คอ้ น, เหลก็ ตอกสกัด, เครอ่ื งกระแทก ฯลฯ - เครื่องมือประเภทใช้จับ เช่น ปากกาจบั ของ, คีม, กญุ แจชนิดต่าง ๆ และไขควง - เครื่องมอื ประเภทใช้ตดั เชน่ มดี , เลอื่ ย, เหล็กสกัด, กรรไกร, ตะไบ, หนิ ลับเครอื่ งมือ - เครอ่ื งมอื ประเภทใช้เจาะ เช่น ดอกสวา่ นชนิดตา่ ง ๆ - เครื่องมอื ประเภทใช้วัด เช่น กุญแจวดั แรงบิด, ไมบ้ รรทัด, ฟิลเลอร์เกจ, เครือ่ งวดั มุม สอบล้อ, เครื่องวัดความสึกของดอกยาง, เครอ่ื งวัดไฟฟา้ ฯลฯ - เครื่องมอื ประเภทอืน่ ๆ เชน่ เครือ่ งมือพิเศษ 3.1 เครื่องมือประเภทใช้ตี 3.1.1 ค้อน (HAMMERS) 3.1.1.1 การแบ่งประเภทของค้อน แบ่งตามชนิด, ขนาด และนำ้ หนกั 1) ชนิดแข็ง เช่น ค้อนท้ายตุ้ม, ค้อนท้ายแหลม, ค้อนตอกตะปู, ค้อน ช่างเหล็ก, ค้อนช่างเช่ือม เป็นตน้ 2) ชนิดอ่อน เช่น ค้อนทองเหลือง, ค้อนทองแดง, ค้อนตะกั่ว, ค้อน พลาสติก และคอ้ นไม้เป็นตน้ 3.1.1.2 การตรวจสภาพ ก่อนใช้งานควรตรวจสภาพดูความสกปรกเปรอะเปื้อนไข ขน้ หรือน้ำมนั ความหลวมคลอนของดา้ มค้อน รอยแตก รอยร้าวของด้ามค้อน และตัวค้อน 3.1.1.3 การใช้ จับค้อนให้ถูกต้อง โดยจับที่บริเวณใกล้ปลายสุดของด้ามค้อน ซึ่ง ด้ามค้อนบริเวณนี้จะทำให้เป็นรูปร่างเหมาะสมสำหรับการจับยึดโดยไม่ล่ืนหลุดจากมือในขณะใช้งาน นอกจากน้ีการจับค้อนท่ีถูกตอ้ งยังสามารถควบคุมค้อน และเกิดความหนักหน่วงในการตมี ากท่ีสุด โดยออกแรง น้อยที่สุด เล็ง และตีค้อนให้ตรงศูนย์กลางของจุดท่ีต้องการตีให้เต็มหน้าค้อน เพื่อป้องกันไม่ให้ค้อนแฉลบออก จากชิ้นงาน 3.1.1.4 การดแู ลรักษา

ห น้ า | 8 1) ตรวจรอยแตกร้าวท่ีด้ามค้อน และให้เปล่ียนด้ามค้อนท่ีแตกร้าว ตรวจ ความหลวมคลอนของหวั ค้อน เปลีย่ นหรอื ตอกอัดล่มิ หวั ค้อนใหแ้ น่น ถ้าแกไ้ ขไม่ได้ให้เปลีย่ นด้ามค้อนใหม่ 2) ใช้น้ำมันลินสีด ชะโลมบางด้ามค้อนเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันไม่ให้ด้าม ค้อนท่ที ำดว้ ยไม้แห้งจนแตกร้าว และบิดตัว 3) เปลี่ยนค้อนใหม่ ถ้าหวั ค้อนสึกหรอมาก แตก หรอื ป่ิน 4) ใช้น้ำมันหล่อล่ืนชะโลมบาง ส่วนที่เป็นโลหะของค้อน เมื่อจะต้องเก็บ รักษาไว้เป็นเวลานาน 5) เช็ดไขข้นหรือน้ำมันออกจากหัวค้อนยางให้สะอาด เพ่ือไม่ให้ยาง เสอ่ื มสภาพ 3.2 เครอ่ื งมือประเภทใชจ้ บั 3.2.1 ไขควง (SCREW DRIVERS) 3.2.1.1 การแบ่งประเภทไขควง 1) ไขควงแบบธรรมดาปากแบน 2) ไขควงปากจบี มปี ลายเปน็ จีบ 4 จีบ หรือไขควงฟลิ ลปิ 3) ไขควงปลายงอ (OFF SET SCREW DRIVERS) มีท้ังปากแบน และปาก จีบ 4) ไขควงแบบพิเศษ เช่น ไขควงแบบมีจำปายึดหัวหมุดเกลียวที่จะขัน หรอื ไขควงแบบใช้ตอกขันเข้า หรอื คลายออก 3.2.1.2 การตรวจสภาพ กอ่ นใชไ้ ขควงควรตรวจว่า 1) ไม่เป็นสนิม, สกปรก, เปือ้ นไขข้น หรอื นำ้ มัน 2) แต่งปลายไวอ้ ย่างถูกต้อง 3) ดา้ มไขควงไมช่ ำรดุ แตกรา้ วเนือ่ งจากใช้ค้อนตอก หรือก้าน ไขควงคดงอ เพราะการใชไ้ ขควงงดั แงะ 3.2.1.3 การใช้ 1) ใช้แรงบิดจากมอื เทา่ น้นั (ยกเวน้ ไขควงงานหนักซ่ึงตวั ก้าน ไขควงทำไว้เป็นเหลี่ยมสำหรับใช้กญุ แจจับเพื่อใหไ้ ดแ้ รงบิดเพม่ิ ขึน้ ) 2) จบั ไขควงให้ด้ามต้งั ฉากกับชอ่ งบากที่หัวหมดุ เกลียว เพือ่ ปอ้ งกันไมใ่ ห้หัวหมุดเกลียวปิ่น หรอื ปลายไขควงชำรุด 3) ไขควงน้ัน มีวัตถุประสงค์เพ่ือใช้ขัน หรือคลายควงเกลียวอย่างเดียว เท่านน้ั อยา่ นำไปใช้สำหรับงัดแงะ หรือตดั สิง่ ของแทนสกัด หรือส่ิว 3.2.1.4 การดแู ลรักษา 1) ชำระล้างด้วยน้ำมันทำความสะอาดเป็นคร้ังคราว เช็ดแห้ง และชะโลม บางดว้ ยน้ำมนั ตรงสว่ นทีเ่ ป็นโลหะกอ่ นเกบ็ 2) ถ้าจำเป็นต้องตกแต่งปลายไขควง ควรกระทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเข้า หบี เครอื่ งมือ ถา้ ตกแต่งแกไ้ ขไม่ไดใ้ ห้เปล่ยี นอันใหม่ทดแทน 3.2.2 คมี (PLIERS) 3.2.2.1 การแบ่งประเภท คีมแบ่งประเภทตามลักษณะการสร้างใช้งาน เช่นใช้ สำหรับจบั ยึดอย่างเดยี ว หรือ สรา้ งให้ใช้ได้ทัง้ จากจบั ยดึ และการตดั ดว้ ย 3.2.2.2 การใช้

ห น้ า | 9 1) เลอื กชนิด และขนาดของคมี ให้เหมาะกับชนิด และลักษณะของงานท่ีจะ ทำ 2) หลีกเล่ียงการใชค้ ีมกับของแข็ง ๆ เพราะจะทำให้ฟันจับท่ือ หรือเยนิ ทำ ให้คณุ สมบัติ และประสทิ ธภิ าพในการจับเส่อื มลง 3) อย่าใช้คีมจับหัวแป้นเกลียว และสลักหัวเกลียวเพื่อขันแน่น หรือคลาย ออก 3.2.2.3 การดแู ลรกั ษา 1) ชำระล้างดว้ ยนำ้ มันทำความสะอาดเปน็ ครง้ั คราว เพอ่ื ลา้ ง สิง่ สกปรก หรอื ไขขน้ ออก 2) ทำความสะอาดบริเวณฟันปากคีมดว้ ยแปรง เพือ่ ให้ฟนั จับไดแ้ น่น 3) หยดน้ำมนั หลอ่ ล่นื เลก็ น้อยทีส่ ลักจุดหมุนของปากคมี เพื่อให้ขยับ หมุนตัวได้คลอ่ ง และสึกหรอน้อยลง ให้ชะโลมบางด้วยนำ้ หล่อล่ืน เพ่ือป้องกนั สนิมเมือ่ ไมใ่ ชง้ าน 3.2.3 กุญแจ (WRENCHES) 3.2.3.1 การแบ่งประเภท กญุ แจแบ่งตามลักษณะการสรา้ งได้ดังนี้ 1) กุญแจกระบอก (SOCKET WRENCHES) มลี กั ษณะรปู ทรงกระบอก - ด้านในกระบอกตัดร่องบากไว้เป็นอันดับเต็มรูปวงกลม กุญแจกระบอกมี หลายชนดิ คือ 4, 6, 8 และ 12 เหลี่ยม เรียกตามจำนวนรอ่ งบากทีต่ ัดไว้ กญุ แจกระบอก 12 เหล่ียม เป็นทีร่ จู้ ัก และแพร่หลายมาก แตใ่ นคุณสมบตั ใิ นการจับยดึ จะไมม่ ัน่ คงเท่ากญุ แจกระบอก 6 เหลยี่ ม - ตัวกระบอกทำด้วยโลหะผสมเหลก็ กลา้ เหนียว และแขง็ แรงมาก - กุญแจกระบอกมหี ลายขนาด และมีช่องรับดา้ มกญุ แจเป็นรู สเ่ี หล่ียมทที่ ้ายกระบอก (ขนาดรูสีเ่ หลยี่ มมีขนาดตัง้ แต่ 1/4 - 1 นว้ิ ) - กุญแจกระบอกที่มีอยู่ในหีบเครื่องมือช่างทั่วไป จะใช้คลายหรือขันแป้น เกลยี ว และสลกั เกลยี ว 4 หรอื 6 เหลย่ี มไดท้ ้ังหมด - การขันแน่น หรือการคลายแป้นเกลียว ถ้าทำได้ให้ใชก้ ุญแจกระบอกเสมอ เพราะแข็งแรง และมีกำลังขนั -คลายเกลยี วได้มาก 2) ด้ามกุญแจ (HANDLES) ด้ามกุญแจกระบอกมีหลายแบบ ตาม ลักษณะการใช้งานดังน้ี - ด้ามกุญแจกระบอกชนิดขัน-คลายได้ 2 ทาง (กรอกแกรก) ใช้สำหรับหมุน กญุ แจกระบอกในบรเิ วณทแี่ คบไดโ้ ดยไม่ต้องยกกญุ แจกระบอกออกจากแป้นเกลยี ว หรอื สลกั เกลยี ว - ด้ามกุญแจกระบอกชนิดหัวต่อพับได้ ยาวประมาณ 18 นิ้ว เม่ือใช้เป็นมุม ต้ังฉากกับกุญแจกระบอก จะออกแรงขันหรอื คลายได้มาก - ด้ามกุญแจกระบอกแบบสว่าน ใช้สำหรับขัน-คลายเกลียวที่หลวมตัวอยู่ เข้าหรือออกได้รวดเร็วข้ึน - ด้ามกุญแจกระบอกชนิดหัวต่อเล่ือนได้ (ด้ามตัว T) ช่วยให้ออกแรงขันได้ มากข้ึนในพนื้ ทค่ี บั แคบ - ข้อตอ่ อ่อนกุญแจกระบอก ใชช้ ่วยให้สามารถใช้ด้ามกญุ แจขนั -คลายแป้น เกลยี ว หรอื สลักเกลียวเป็นมุมต่าง ๆ ได้

ห น้ า | 10 3) กุญแจแหวน (BOX WRENCHES) - ใช้ขัน-คลายในพ้ืนท่ีแคบ ๆ สลักเกลียวหรือแป้นเกลียวอยู่ในท่ีจำกัด และ มีพ้นื ท่ีหมุนกุญแจได้เปน็ วงแคบ - ด้านในวงแหวนตัดเป็นบากชนิด 6 เหลี่ยม และ 12 เหลี่ยม ด้ามกุญแจ ยาวทำใหส้ ามารถออกแรงขนั - คลายได้มาก - ตัววงแหวนทำเป็นมุม 15 องศากับด้ามกญุ แจ และทำไว้เป็นมุมกลบั กนั ใน แต่ละด้าน จึงทำให้สามารถถอดแป้นเกลียว และสลักเกลียวได้ แม้ในพื้นท่ีในการหมุนจะจำกัด และสามารถ สอดเขา้ ถึงในทแี่ คบ ๆ ได้ดี - กุญแจแหวนมีประโยชน์เช่นเดียวกับกุญแจกระบอก ขนาดปากกุญแจทำ ไว้เป็นขนาดท่ีถูกต้องสำหรับใช้งานเฉพาะ เม่ือสวมลงเต็มหัวแป้นเกลียว หรือสลักเกลียวจะไม่พลัดหลุดออก จากงาน 4) กญุ แจปากตาย (OPEN-END WRENCHES) - เปน็ กญุ แจที่ปรบั ขนาดไม่ได้ มีปลายเปิดปาก มีขนาดตายตัว - โดยเฉล่ียแล้วในหีบเครื่องมือจะมีกุญแจปากตาย 10 ตัว มีขนาดแตกต่าง กัน ตั้งแต่ 5/16 น้ิว ถึง 1 นิ้ว (ปากของกุญแจจะใหญ่กวา่ ขนาดที่ประทับไว้ท่ีตัวกุญแจประมาณ 15/1,000 นิ้ว เพื่อใหส้ ามารถสวม หรือถอดกญุ แจออกจากหัวแป้นเกลียว หรอื หัวสลักเกลียวได้ง่าย 5) กุญแจเลือ่ น (ADJUSTABLE-END WRENCHES) - เป็นกุญแจท่ีมีปลายเปิดปากราบเรียบไม่มีฟนั และสามารถปรับขนาดของ ปากกญุ แจได้ - เมื่อใช้กุญแจเล่ือนให้สวมปากกุญแจเข้ากับหัวแป้นเกลียว โดยให้แรงดึง อย่ทู างด้านปากกุญแจอนั อยู่กบั ที่เสมอ - เมื่อสวมปากกุญแจเข้ากับหัวแป้นเกลียวแล้ว ให้หมุนควงปรับจนตึง เพอื่ ใหป้ ากกุญแจเล่อื นจับหวั แปน้ เกลยี วกระชบั 6) กุญแจจบั ของกลม (PIPE WRENCHES) - ใช้กับวัตถุท่ีมที รงกลมเท่านน้ั ปากมีฟนั สามารถปรับขนาดของกญุ แจได้ - ฟันของปากกุญแจจะปรากฏเปน็ รอยอยบู่ นสิ่งของที่ใชก้ ุญแจจับเสมอ พงึ หลีกเล่ียงอย่าใชก้ ญุ แจจับของกลมจับวัตถสุ ิ่งของทช่ี ำรดุ ไดง้ ่าย - ลักษณะการใชจ้ ับช้นิ งาน ใหห้ ลักการเช่นเดยี วกบั กุญแจเลือ่ น - กุญแจจบั ของกลมจะมแี รงยดึ จบั ไดด้ ีทส่ี ุดเม่ือชนิ้ งานอยู่ตรง กึง่ กลางของปากกญุ แจ 7) กุ ญ แ จ ห ก เห ลี่ ย ม (HEX KEY WRENCHES OR ALLEN KEY WRENCHES) - ตัวกุญแจเป็นหกเหลี่ยมด้านเท่า งอเป็นรูปตัว L ด้านท่ีใช้ขัน-คลายให้ใช้ ปลายอันสั้น - ตัวกุญแจมีขนาดตา่ ง ๆ กันโดยมีตวั เลขบอกขนาดประทบั ไวท้ ต่ี ัวกุญแจ - ต้องใช้กุญแจหกเหลี่ยมให้ถูกต้องตามขนาดของรูกระบอกของหัวสลัก เกลียว มฉิ ะนน้ั รูกระบอกจะชำรุดเสยี หาย 3.2.3.2 หลกั การใช้กญุ แจ

ห น้ า | 11 1) อย่าเพิ่มแรงในการขันหรือคลายกุญแจชนิดใด ๆ โดยวิธีใช้ค้อนตีที่ด้าม กุญแจ หรือสวมท่อเหล็กเสริมเข้ากับด้ามกุญแจ กุญแจสร้างข้ึนให้มีขนาดเหมาะสมกับแรงหมุนด้วยมือท่ีด้าม ของตวั กุญแจเทา่ นน้ั 2) เลือกใชก้ ุญแจท่ีมีขนาดถูกต้องกับช้ินงานทุกครั้ง อย่าใช้กุญแจปากปรับ ได้ เมือ่ สามารถใช้กญุ แจกระบอกทำงานนน้ั ได้ 3) สวมกุญแจให้จับชิ้นงานได้เต็มหน้าทางแบน และกระชับแน่นกับหัว ของแป้นเกลียว หรือสลักเกลียว หัวสลักเกลียวอาจบ่ิน, ปากกุญแจอาจชำรุด, กุญแจกระบอก หรือกุญแจ แหวนอาจแตกรา้ วได้ ถ้าสวมกญุ แจเข้าท่ไี มส่ นิท 4) เม่ือใช้กญุ แจปากปรับได้ ให้สวมกุญแจลงบนหัวแปน้ เกลียว และขันควง เกลียวปรับปากกุญแจให้กระชับแน่นกับหัวแป้นเกลียว โดยให้ด้านออกแรงดึงอยู่ทางปากกุญแจอันอยู่กับท่ี เสมอ 5) ใหเ้ ลือกใช้กุญแจกระบอก หรือกุญแจแหวนกอ่ นเสมอ ถา้ ใช้ไมไ่ ดจ้ งึ คอ่ ย ใชก้ ญุ แจปากตายในอนั ดับต่อไป ถ้าใชก้ ญุ แจปากตายไมไ่ ดจ้ ึงค่อยใช้กญุ แจปากปรับได้ 6) การออกแรงต่อด้ามกุญแจ ให้ใช้แรงดึงเข้าหาตัว อย่าใช้แรงดัน ออก จากตวั เพ่อื ลดอนั ตรายของขอ้ น้วิ มือซง่ึ อาจแตก หรอื ถลอกในกรณีทกี่ ุญแจหลุดจากชิ้นงาน หรือเมื่อแป้นเกลียว คลายตวั ออกอย่างกะทันหัน 3.2.3.3 การดแู ลรักษาเครื่องมือหลงั การใช้งาน 1) รักษากุญแจให้สะอาด เช็ดด้วยน้ำมันทำความสะอาด เม่ือเปรอะเป้ือน ไขขน้ หรอื นำ้ มัน 2) ตรวจความเสียหาย และซ่อมแกถ้ ้าสามารถทำได้ ถา้ ซอ่ มไม่ได้ให้เปลี่ยน ใหม่ 3) ก่อนนำเข้าเก็บในหีบเครื่องมือ ควรชโลมบางด้วยน้ำมันเสียก่อน ถ้า กุญแจเปียกนำ้ ต้องเชด็ ให้แหง้ และชโลมนำ้ มนั ทุกครัง้ 4) กุญแจปากปรับได้หรือกุญแจเล่ือน ต้องตรวจว่าปากกุญแจสามารถขัน ปรับไดแ้ น่น และตวั ปรับควรสะอาด ไม่ฝืดหรือขดั ตัว 3.2.4 ปากกา (BENCH VISE) เป็นเคร่ืองมอื สำหรบั จบั ยดึ ส่งิ ของไวใ้ หม้ นั่ คง 3.2.4.1 การใช้ เพ่ือป้องกันไม่ให้ผิวของช้ินงานเป็นรอยเสียหาย ให้สวมครอบ ปากกาเสียก่อน ตัวครอบปากกาอาจทำด้วยทองแดง หรือโลหะเน้ืออ่อนชนิดอน่ื ก็ได้ ถ้าไม่มีครอบปากกาให้ใช้ เศษไม้หรือโลหะอ่อนกว่าช้ินงานสอดค่ันระหว่างปากกากับช้ินงาน การใช้เหล็กสกัดหรือตะไบกับช้ินงานที่ใช้ ปากกาจับยึดอยู่น้ัน จะตอ้ งตอกสกดั หรือเขน็ ตะไบเข้าหาตัวปากกาเสมอโดยให้แรงท่ีใชใ้ นการทำงานเป็นแรงท่ี ผลักหรือดันออกไปจากตัวของท่าน 3.2.4.2 การดูแลรักษา ต้องรักษาปลายปากกาให้สะอาดไม่มีน้ำมันหรือไขข้นทำ ความสะอาด กำจดั ผงตะไบ, เศษโลหะ หรือสง่ิ สกปรกต่าง ๆ ซงึ่ ติดอยู่บนเกลยี วตัวหนอนให้หมด แล้วทานำ้ มัน ชโลมบาง 3.3 เคร่อื งมือประเภทใช้ตัด 3.3.1 เหล็กสกัด (CHISELS) 3.3.1.1 การแบ่งประเภท เหล็กสกัดแบ่งประเภทตามลักษณะการสร้าง และการ ใช้งานดงั นี้ 1) สกัดปลายกว้าง และปลายแบน ใช้ตดั หมดุ ย้ำ ตัด หรอื ถากโลหะ

ห น้ า | 12 2) สกัดปลายแคบ มีความกว้างของปลายน้อย ใช้ตัดช่องกุญแจ ทำร่อง ตัดมมุ สเี่ หล่ยี ม 3) สกดั ปลายกลม ใชต้ ดั ทำรอ่ งครงึ่ วงกลม และถากมุมดา้ นใน 4) สกัดปลายข้าวหลามตัด มีปลายสกัดตัดเฉือนไว้เป็นรูปส่ีเหล่ียมข้าว หลามตัด ใชต้ ดั รอ่ งรปู ตวั V และมุมสเี่ หล่ยี ม 3.3.1.2 การตรวจสภาพ กอ่ นใช้งานควรตรวจสภาพความเรียบรอ้ ยดังน้ี 1) สกดั สกปรก เปรอะเปือ้ นน้ำมนั และเปน็ สนมิ หรอื ไม่ 2) การลับปลายสกัดซึ่งทื่อ หรือชำรุดด้วยหินเจียระไน ให้รักษารูปมุม ของของปลายที่ใช้ตัดไว้ตามรูปเดิม อย่าให้ส่วนปลายซึ่งเป็นเหล็กชบุ แข็งเกิดความร้อนสูง โดยทำให้เย็นลงด้วย การจ่มุ นำ้ เปน็ คร้ังคราว ขอบปลายสกดั ควรจะโคง้ เล็กนอ้ ย ตอนกลางของสกดั สูงกว่าตรงริมทัง้ สอง 3) แตง่ หวั สกดั ท่ีบานเป็นรูปดอกเหด็ ให้เขา้ รปู เดมิ ด้วยหินเจียระไน 3.3.1.3 การใช้ 1) การตอกเหล็กสกัด ให้ใช้ค้อนที่มีน้ำหนักเหมาะสมกับขนาดของเหล็ก สกัด (เหลก็ สกัดตัวใหญ่ตอ้ งใช้ค้อนท่มี ขี นาดใหญข่ ้นึ ) 2) จบั เหล็กสกดั ใหเ้ ปน็ มมุ ที่เหมาะสม และสัมพันธ์กับความลกึ ในการตัด 3) จับเหล็กสกัดโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับน้ิวช้ี และไม่จับจนแน่นตามองที่ ปลายสกดั 4) ต้องสวมแว่นตาป้องกันสะเก็ด เพื่อป้องกันดวงตาเมื่อใช้เหล็กสกัดทุก ครงั้ 3.3.1.4 การดูแลรกั ษาหลงั การใชง้ าน 1) เช็ดให้แห้งและสะอาด ถ้าสกปรกให้ล้างให้สะอาดด้วยน้ำมันทำความ สะอาด 2) ในบรเิ วณท้องถ่นิ ทม่ี ีความชืน้ สงู ให้ชโลมเหลก็ สกัดดว้ ยน้ำมนั บาง ๆ เพือ่ กนั สนิม 3) ตบแต่งปลายสกัดท่ีทู่, เยิน, บ่ิน และหัวสกัดที่บานเป็นรูปดอกเห็ดให้ เรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานต่อไป สวมครอบป้องกันคมสกดั กอ่ นนำเขา้ เก็บในหบี เครอื่ งมือ 3.3.2 ตะไบ (FILES) 3.3.2.1 การแบง่ ประเภท ตะไบแบ่งประเภทตามลักษณะของฟัน หรือแบ่ง ตามลักษณะการสรา้ งเปน็ ตะไบแบน, ตะไบครึง่ วงกลม, ตะไบหางหนู และตะไบสามเหลีย่ ม เปน็ ต้น 1) ตะไบฟนั ทางเดียว 2) ตะไบฟันไขว้ 3) ฟันของตะไบ แบ่งช้ันตามความหยาบ และความละเอียด เช่น หยาบ มาก, หยาบปานกลาง, ละเอยี ด และละเอยี ดมาก 4) ขนาดของตะไบแต่ละชนิดแตกต่างด้วยความยาวต้ังแต่ 3 - 18 น้ิว (ความยาวของตะไบกำหนดจากปลายหนา้ ถึงท้ายตะไบ) 3.3.2.2 การใช้ 1) จบั ชิน้ งานทตี่ ้องการตะไบใหม้ ั่นคง หรอื ยึดด้วยปากกา

ห น้ า | 13 2) การตะไบโลหะท่ีแข็งมากให้ออกแรงดัน หรือเข็นตะไบไปทางด้านหน้า เท่าน้ัน (ฟันตะไบมีคมสำหรับใช้ตัดทางเดียวเท่านั้น) การออกแรงกดในขณะเข็นตะไบย้อนกลับจะทำให้ตะไบ ยกตวั ข้ึน เนอ่ื งจากฟนั ตะไบครูดกลับ ซง่ึ ทำใหต้ ะไบทอ่ื เรว็ กวา่ ปกติ 3) เม่ือตะไบโลหะอ่อน การออกแรงกดขณะดึงตะไบกลับ จะช่วยให้ผง ตะไบหลุดออกจากฟนั ตะไบ เรียกวา่ การคายผงตะไบ 3.3.2.3 การตะไบดว้ ยวิธีลากตะไบกลับ ใช้สำหรบั การเกลาผวิ โลหะใหร้ าบเรียบ เป็นพิเศษ 1) ใช้มือท้ังสองข้างจับตะไบ ให้ตั้งฉากกับทิศทางการเข็นตะไบ โดย พยายามจบั ใหม้ ือท้ังสองขา้ งอย่ชู ดิ กันเพื่อป้องกันไม่ให้ตะไบโก่ง หรอื หัก 2) ไม่ควรออกแรงกดตะไบมากเกินไป และแรงกดตะไบจะต้องเท่ากันท้ัง การเขน็ ไปข้างหนา้ และดงึ กลับมาข้างหลงั ความเร็วในการเขน็ ตะไบไมใ่ ช้สง่ิ สำคญั และจำเป็นในการตะไบ 3) เมือ่ ตอ้ งให้ผวิ โลหะเรียบเป็นพเิ ศษ ใหใ้ ช้ผา้ ทรายละเอยี ดพันรอบตะไบ 3.3.2.4 การดูแลรักษา 1) ตะไบใหม่เอี่ยมควรเร่ิมใช้งานคร้ังแรกโดยตะไบโลหะอ่อน เช่น ทองเหลอื ง, บรอนซ์ หรือเหลก็ อ่อนเสยี ก่อน 2) อย่าใช้ตะไบใหม่ในการตัดครบี หรอื รอยขรขุ ระของเหล็กหลอ่ 3) อยา่ ใชต้ ะไบใหมก่ บั สันโลหะที่เปน็ แผน่ บาง จะทำคมตะไบท่อื 4) หลงั จากการใช้งานตะไบใหมจ่ ะมีผงโลหะหรือขตี้ ะไบอุดอย่เู ตม็ 5) การใช้ตะไบที่มีผงโลหะอุดอยู่เต็ม จะทำให้ผิวของชิ้นงานเป็นรอยครูด ไม่สม่ำเสมอกัน 6) วิธีเดียวที่จะป้องกันมิให้ผิวของช้นิ งานเป็นครูด คือ ใชช้ อล์กถูฟันตะไบ เสยี กอ่ นใชง้ าน 7) วิธีท่ีดีที่สุดสำหรับการทำความสะอาดตะไบ คือ การใช้แปรงลวด และ การลวดปลายแบนแคะออก 8) ก่อนเก็บตะไบเข้าหีบเครื่องมือ ให้ใช้กระดาษหรือผ้าพันตะไบเป็นการ ป้องกนั มิใหต้ ะไบเสียดสีกับเครอื่ งมอื อน่ื ๆ ในหบี และควรเกบ็ ตะไบแยกตา่ งหากจากเครอ่ื งมอื อ่ืน ๆ 9) อยา่ ใช้ตะไบเพือ่ ทำงานอืน่ นอกจากการตะไบโลหะ 10) อย่าใช้ตะไบเคาะกับปากกา หรือวัตถุอ่ืนๆ เพื่อให้ผงตะไบหลุดออก เพราะจะทำให้ตะไบหัก เน่ืองจากตะไบทำจากโลหะท่ีแข็งมากและเปราะ จึงหักได้ง่าย ๆ ให้ทำความสะอาด ด้วยแปรงลวด หรือใช้ลวดแคะเทา่ นนั้ 11) อย่าใช้น้ำมันชโลมตะไบ เพราะน้ำมันท่ีชโลมไว้จะเป็นตัวยึดสิ่งสกปรก และผงตะไบให้ตดิ แน่นอยูใ่ นฟนั ตะไบมากขึน้ 12) รักษาตะไบให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ เก็บตะไบให้พ้นจากความชื้น และนำ้ ควรกระดาษพันตะไบเพอื่ ป้องกันไมใ่ ห้หน้าตะไบสมั ผัสกันในท่ีเกบ็

ห น้ า | 14 เลอ่ื ยตัดโลหะ 3.3.3 เล่ือย (SAWS) 3.3.3.1 การแบ่งประเภท เล่ือยสามารถสามารถแบ่งออกได้เป็น เล่ือยตัดไม้ และ 1) เลอื่ ยตัดไม้ (HAND SAW) เป็นเล่ือยสำหรับงานช่างไม้ ใชต้ ดั ไม้ 2) เลื่อยเหลก็ (HACK SAW) เป็นเลอ่ื ยสำหรบั งานชา่ งเหลก็ ใชต้ ดั โลหะ 3.3.3.2 การตรวจสภาพกอ่ นใชง้ าน 1) ฟันเลือ่ ยต้องมสี ภาพดี ฟนั คม และไม่บิน่ หรือหัก 2) ดา้ มเลอื่ ยไม่แตกร้าว และยึดแนน่ มั่นคง 3) ใบเล่ือย (สำหรับเลื่อยตัดเหล็ก) จะต้องยึดเข้ากับโครงเลื่อยโดยให้ฟัน เลอ่ื ยหนั ไปขา้ งหน้า และขันควงยดึ ใบเลอื่ ยให้ตึง 4) ใบเลื่อยที่หมดความคมแล้ว ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะทำให้งานล่าช้า และเปลอื งแรงงานมากกว่าปกติ 3.3.3.3 การใช้ 1) ฟันเลื่อยทำไว้สำหรับตัดได้ทางเดียวเท่านั้นคือ เมื่อดันโครงเล่ือยไป ขา้ งหน้า 2) ในจังหวะท่ีดึงกลับควรยกใบเล่ือยข้ึนเล็กน้อย พอพ้นจากผิววัตถุท่ีกำลัง เลื่อยอยู่ อยา่ ออกแรงกดในขณะชกั เลอ่ื ยกลับ 3) ขณะเลื่อยต้องรักษาใบเล่ือยให้ตรง อย่าให้ใบเลื่อยบดิ ตวั เพราะจะทำให้ ใบเล่ือยหัก ออกแรงกดเลื่อยให้สม่ำเสมอกันตลอดช่วง และไม่ต้องใช้แรงกดมากนัก จังหวะในการชักเล่ือยไม่ เกนิ 40 - 50 ครัง้ ตอ่ นาที 4) จับยึดวัตถุท่ีตอ้ งการตัดให้มั่นคง อย่าให้ขยับตัวหรือบิดไปมา จะทำให้ใบ เล่อื ยหกั 5) เพื่อให้การเล่ือยเที่ยงตรง ควรใช้ตะไบบากตรงตำแหน่งท่ีต้องการเลื่อย เสยี กอ่ น ใช้ความระมัดระวงั ใหม้ ากเมือ่ ช้ินงานใกล้จะขาด และออกแรงกดเล่อื ยแต่น้อย 3.3.3.4 การดูแลรกั ษา 1) เก็บรักษาใบเล่ือยไว้ในท่ีแห้ง และใช้น้ำมันชะโลมบางใบเล่ือยไว้เพื่อ ปอ้ งกนั สนิม 2) อย่าใชเ้ ลือ่ ยไม้ตดั ผ่านตะปู หรอื เศษโลหะที่ยังคาอยูใ่ นไม้ 3) อย่าใช้ส่ิงของท่ีมีน้ำหนักมากกว่าวางทับเลื่อย จะทำให้เล่ือยคดได้ ในขณะหยุดพกั ให้วางเล่ือยแบนราบกบั พ้นื ได้ หรือวางไวใ้ นจดุ ที่จะไมท่ ำฟนั เลือ่ ยชำรุดเสยี หาย 4) อย่าออกแรงกดดัน เม่ือใบเล่ือยติดเพราะถูกหนีบ ให้ใช้ล่ิมตอกแยกรอย ตดั ใหถ้ ่างออก 5) ด้ามเลือ่ ยที่ชำรดุ , แตก, รา้ ว หรือหกั ตอ้ งเปล่ียนใหมท่ ันที 6) หมน่ั ลบั ใบเลือ่ ยให้คมดว้ ยการถตู ะไบเป็นครั้งคราว 7) คลายเกลียวยดึ ใบเลือ่ ยเหล็กให้หย่อนเสมอเมือ่ ไมไ่ ดใ้ ช้งาน 8) ระวังอย่าให้ฟนั เล่อื ยสัมผัสหรือกระแทกกับโลหะอน่ื ๆ เพราะจะทำให้ฟัน เลือ่ ยชำรุด

ห น้ า | 15 แผนกวิชายานยนต์ กองการศึกษา โรงเรียนทหารม้า ศนู ยก์ ารทหารมา้ คา่ ยอดศิ ร สระบุรี ---------- เอกสารเพ่มิ เตมิ วิชา คุณลกั ษณะของยานยนตท์ หาร (CHARACTERISTICS OF MILITARY VEHICLES) 1. กล่าวนำ การที่จะนำยุทโธปกรณ์ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสมบูรณ์ท่ีสุดโดยไม่เกิด ผลเสีย หรือใช้งานไม่ได้ผลนั้น ผู้ใช้จำเป็นจะต้องทราบลักษณะ และขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ในเร่ือง ต่าง ๆ เพอ่ื ให้สามารถพจิ ารณาตกลงใจในการนำไปใชง้ านไดถ้ ูกตอ้ งตามคุณลักษณะ และขีดความสามารถของ ยานพาหนะน้นั ๆ เพอ่ื ใหก้ ารปฏบิ ัตภิ ารกจิ สำเร็จลง ตามความมุ่งหมายท่ไี ดต้ ั้งไว้ทกุ ประการ 2. กล่าวท่ัวไป ยุทโธปกรณ์โดยเฉพาะในเรื่องของยานยนต์ในสมัยปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเกี่ยวกับ การแผนแบบรุดหน้าไปมาก ทงั้ ในด้านคณุ ลักษณะ และขีดความสามารถ มีการสร้างอุปกรณ์เพ่มิ เติมเสริมแตง่ ให้มีขีดความสามารถตามความต้องการของผู้ใช้อย่างกว้างขวาง และถ้าเป็นยานยนต์ทางทหาร ซ่ึงมีความ ต้องการในเร่ืองลักษณะ และขดี ความสามารถสูง น้นั จะต้องมีการออกแบบใหล้ ะเอียด และรดั กุมมากท่ีสุดเท่าที่ จะทำได้ เพือ่ ให้ได้ผลการปฏบิ ัติทด่ี ที ้ังในทางธุรการ และทางยุทธวิธี 3. อธิบาย ลักษณะของยานยนต์ทางทหารนั้น คุณลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการส่วนมากนิยมเรียกกัน เปน็ คำจำกดั ความ หรือนยิ ามศัพท์ เพือ่ ให้เข้าใจศัพท์ และข้อความที่ไดต้ ัง้ ไว้ และง่ายตอ่ การค้นหา ท่ีใช้กันเป็น สว่ นมาก มดี งั น้ี 3.1 การขับทุกล้อ (ALL WHEEL DRIVE) คือการขับซ่ึงทุก ๆ ล้อได้รับกำลังสำหรับขับให้ยาน ยนต์เคล่อื นทีไ่ ป เพื่อใหม้ ีความคลอ่ งแคลว่ ในการเคลอ่ื นทีส่ ูง 3.2 มุมถึงลาด (ANGLE OF APPROACH) คือมุมสูงสุดของลาดซ่ึงยานยนต์สามารถแล่นเข้าถ ในทางราบ และเร่ิมไต่ลาดได้โดยไม่มีส่วนใดนอกจากล้อรถ หรือสายพานของรถเท่านั้นท่ีแตะกับพ้ืนลาด 3.3 มุมจากลาด (ANGLE OF DEPARTURE) คือมุมสูงสุดของลาดซ่ึงยานยนต์สามารถแล่นลง จากลาดได้โดยไมม่ สี ว่ นใดๆ ของยานยนตแ์ ตะพนื้ ลาดนอกจากล้อรถ หรือสายพานเท่าน้นั 3.4 เกราะ (ARMOR) คือ โครงสร้างแบบใดๆ ก็ตาม ท่ีใช้ปดิ หุ้มเพื่อป้องกันยานยนต์ทางทหาร จากอำนาจการยงิ ของข้าศึก 3.5 ยานยนต์ท่ีสามารถเปลี่ยนสภาพของแบบได้ (CONVERTIBLE) คือยานยนต์ที่ออกแบบไว้ แลว้ ให้สามารถปฏิบัติงานท้ังเปน็ ยานยนต์ประเภทล้อ หรอื ยานยนต์ประเภทสายพานได้ 3.6 กำลงั ฉดุ ลาก (DRAWAR PULL) คือ กำลังฉุดลากของเครอื่ งยนตท์ ข่ี อพว่ ง (PINTLE) 3.7 การลอยตัว (FLOATATION) คือ จำนวนน้ำหนักบรรทุกในทุก ๆ ตารางน้ิวของพื้นท่ี ท่ียาง หรอื สายพานรถสัมผัสพน้ื ขณะท่ยี างรถมไิ ด้ยบุ ตัวลงเลยหน่วยความดนั ของการลอยตัวจะเทา่ กับความดนั ของ ลมในยางรถ หรอื อาการลอยตัวของระยะเคร่ืองพยุงตวั รถของรถสายพาน 3.8 ความสามารถในการข้ึนลาด (GRADE ABILLITY) คือลาดที่ชันที่สุดซึ่งยานพาหนะ ซึ่งติดตั้ง อุปกรณ์ครบและน้ำหนักบรรทุกเตม็ ท่ี สามารถขา้ มไปไดด้ ว้ ยความเร็วตามท่ีกำหนดไว้ ( คดิ เป็น %) 3.9 ความสามารถในการลุยนำ้ (FORDABILITY) คือ ขีดความสามารถในการขับเคล่ือนไปในลำ น้ำ ซึ่งบอกความลึกของน้ำเป็นนิ้ว ท่ียานยนต์สามารถลุยผ่านไปได้โดยใช้แรงขับเคลื่อนภายในตัวเอง และไม่ ทำให้เกดิ ความเสยี หายต่อสว่ นทส่ี ำคัญของยานยนต์ 3.10 รัศมีวงเล้ียว (TURNING RADIUS) คือรัศมีของส่วนโค้งซ่ึงลากจากจุดศูนย์กลางระหว่างล้อโดยล้อหน้า อนั นอกของยานยนตน์ ้นั เลยี้ วดว้ ยวงเล้ยี วท่แี คบทส่ี ุด

ห น้ า | 16 3.11 ความสูงพน้ พนื้ (GROUND CLEARANCE) คือ ระยะหา่ งจากพนื้ ดินกบั จุดตำ่ สดุ ใตท้ อ้ งรถ 3.12 น้ำหนักกดพ้ืน (GROUND PRESSURE) คือ น้ำหนักของยานยนต์ท้ังหมดที่เฉลี่ยไปตาม พ้นื ท่ผี ิวของลอ้ หรอื สายพาน คิดเปน็ ปอนด์/ตารางนว้ิ หรอื กก./ตารางเซนติเมตร 3.13 ความจุในการบรรทุกผู้โดยสาร (PASSENGER CAPACITY) คือ จำนวนผู้โดยสารรวมทั้ง เจา้ หนา้ ทป่ี ระจำรถ ซึ่งไดอ้ อกแบบไวใ้ ห้สามารถบรรทุกไดโ้ ดยมพี นื้ ทน่ี งั่ อยา่ งสบาย 3.14 ลักษณะของยานยนต์ทหาร (MILITARY CHARACTERISTIONS) คือข้อกำหนดขั้นมูลฐาน สำหรับยานพาหนะทีใ่ ชใ้ นราชการ มดี ังนี้ 3.15 คร่อมข้ามภูมิประเทศ (CROSS COUNTRY) คือ พื้นท่ีที่แตกต่างไปจากถนนท่ีได้สร้างไว้ ซ่ึงหมายถึงภูมิประเทศท่ีไม่เคยใช้เลย หรือเหมือนธรรมชาติทุกประการ เช่น พื้นทราย เนินดิน หรือพื้นที่เป็น หนอง บึงท่ัว ๆ ไป 3.16 ระยะปฏิบัติการ (CRUISING RANGE) คือ ระยะทางทั้งหมดที่ยานยนต์สามารถปฏิบัติงาน ได้ โดยใชน้ ้ำมันเช้อื เพลงิ เต็มถงั ของยานยนต์นั้น ๆ 3.17 ส่ิงบรรทุก (STOWAGE) คือ อปุ กรณท์ ีเ่ กบ็ ไดภ้ ายในยานพาหนะน้ัน ๆ 3.18 น้ำหนักบรรทุก (PAY LOAD) คือ น้ำหนักสัมภาระ หรือผู้โดยสาร รวมทั้งพลประจำรถ ซ่ึงกำหนดความปลอดภยั ในการใชย้ านพาหนะน้นั ๆ 3.19 ปัจจัยในการขับเคลื่อน (TRACTIVE FACTOR) คือ แรงดันของยางต่อพื้นต่อน้ำหนักรถ เปน็ ปอนด์ ซึ่งสามารถใชข้ ับเคลอ่ื นยานยนต์ ณ พื้นผวิ ทย่ี างสมั ผัส 3.20 น้ำหนักรวมของรถ (VEHICLE GROSS WEIGHT) คือน้ำหนักท้ังหมดของรถที่ติดต้ัง อุปกรณ์ และได้รับการบริการเพื่อเตรียมให้พร้อมปฏิบัติการแล้ว –รวมท้ังพลประจำรถ -รวมทั้งน้ำหนักของ สมั ภาระ หรือผู้โดยสารทไ่ี ดร้ บั อนุมัตใิ ห้บรรทกุ ได้ 3.21 น้ำหนักแท้ของรถ (NET WEIGHT) หรือน้ำหนักของรถที่ติดตง้ั อปุ กรณ์ในสภาพปฏบิ ัติการ พรอ้ มดว้ ยน้ำมนั เชอื้ เพลงิ – นำ้ - นำ้ มันหล่อลน่ื เรียบรอ้ ย แต่ไม่มีพลประจำรถ หรือนำ้ หนักบรรทุก 3.22 ยานพาหนะขนส่ง (TRANSPORT VEHICLES) ยานพาหนะขนส่งทางทหารแบ่งโดยท่ัว ๆ ไป เปน็ 2 ประเภท คือ (1) ยานพาหนะทางธรุ การ ไดแ้ ก่ยานพาหนะธรรมดา ซึ่งได้ออกแบบให้มีความเหมาะสมใน การทหารน้อยที่สุด เดิมใช้ตามที่บังคับการ-ค่ายพัก และสถานที่ขนส่งต่าง ๆ และเป็นรถที่จะปฏิบัติภารกิจ ตามความตอ้ งการไดเ้ ฉพาะบนถนนทไ่ี ดเ้ ตรยี มไว้ดีแลว้ เท่านั้น (2) ยานพาหนะทางยุทธการ เป็นยุทโธปกรณ์ตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์ของหน่วยทาง ยุทธวิธี และสว่ นมากสร้างขนึ้ ให้เป็นแบบมาตรฐานของกองทัพบกโดยเฉพาะ ยานพาหนะทางยทุ ธวธิ มี ลี ักษณะ พเิ ศษหลายประการ ซึง่ ยานพาหนะธรรมดาไมม่ ี 4. ลักษณะพเิ ศษของยานยนต์ทางยุทธวธิ ี มดี งั น้ี คือ 4.1 ขับทุกล้อ (ALL WHEEL DRIVE) เพื่อใหม้ คี วามคลอ่ งแคลว่ ในการเคลื่อนท่สี งู 4.2 มียางแบบสงคราม (COMBAT TIRES) เพื่อป้องกนั ยางรวั่ ในขณะปฏิบตั กิ าร 4.3 มีโครงเหล็กกันหม้อน้ำ และโคมไฟหน้า (STURDY RADIATOR AND LAMPGUARDS) เพื่อปอ้ งกันกิ่งไม้และพมุ่ ไม้ขณะใชง้ านในสนามโดยใช้ไฟพราง 4.4 มีกันชนหน้า และหลัง (STURDY FRONT AND REAR BUMPERS) เพื่อป้องกันการชนกัน ขณะว่ิงรถกันเป็นขบวน (ทงั้ ในการฝึก และในการปฏบิ ัติการรบ) นอกจากน้ียงั เป็นการชว่ ยในขณะท่รี ถติดหล่ม ดว้ ย (MIRED VEHICLE)

ห น้ า | 17 4.5 มีขอลากจูง (TOWING HOOKS) และขอพ่วง (TOWING PINTLES) สำหรับลากจูงรถที่ไม่มี กำลงั ในตัวเอง 4.6 มีเครื่องปลดการขับเพลาหน้า (DECLUTCHING) เพ่ือลดการสึกหรอของยาง และเคร่ือง กลไกขณะว่ิงบนถนนท่มี ีพนื้ ท่ผี วิ เรียบ 4.7 มีมุมถึงลาด และมุมลงจากลาดสูง (MAXIMUM ANGLES OF APPROACH) เพื่อให้เกิด ความคล่องแคลว่ ในการปฏิบตั งิ านในพืน้ ทไ่ี มร่ าบเรียบ และในภูมิประเทศทไ่ี มเ่ คยประสบมากอ่ น 4.8 ลุยน้ำได้ลึก (DEEP FORDABILITY) เพื่อให้ยานพาหนะสามารถข้ามลำธารได้ด้วยกำลังของ ตนเอง 4.9 รถทุกชนิด และทุกขนาดควรมีสมรรถนะเท่าเทียม กัน (EQUAL PERFORNANCE ABILITY) เพือ่ สะดวกในการเคลือ่ นท่เี ปน็ รปู ขบวนภายในระยะเวลาท่ีกำหนด 4.10 มีความสูงพ้นพ้ืนมากท่ีสุด (MAXIMUM GROUND CLEARANCE) และให้ทรงตัวอยู่ได้ดี ในขณะปฏบิ ตั กิ ารในภูมิประเทศ และในพนื้ ที่เป็นโคลน หรือหนองบึง 4.11 มรี ะยะว่างระหว่างอา่ งน้ำมันเคร่ืองยนต์ กบั เพลาส่งกำลังอันหน้า เพียงพอทจ่ี ะป้องกนั มิ ให้เกิดกระทบกนั ขน้ึ เมอื่ ใช้รถในทุก ๆ สภาพพืน้ ที่ 4.12 มีการติดต้ังที่ดี ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ติดตั้งกับตัวรถโดยเฉพาะอย่างย่ิงเคร่ืองยนต์ เคร่ือง เปล่ียนความเร็วและเครื่องเพ่ิมเพลาขับ แบบที่ดีในการติดต้ังน้ัน คือการรับน้ำหนัก 3 จุด ซ่ึงมีปลอกรับโค้ง (CIRCULAR TRUNNION) รบั อยู่จดุ หนึ่ง 4.13 มีฝาปิดห้องเคร่ืองยนต์เอยี งลง (SLOPING ENGINE HOODS) เพอ่ื ให้ทศั นะวิสยั ของพลขับ ดีขึ้น และมองเห็นเส้นทางเมอื่ ใชไ้ ฟพรางขับเดยี่ ว และการขับเป็นขบวน 4.14 มีไฟพรางขับ (BLACK OUT DRIVING) ทั้งหนา้ และหลังสำหรบั ใช้ในขณะปฏิบัตกิ ารรบ 4.15 มีป๊ัมถ่ายเทน้ำมันเครื่อง (SCAVENGING OIL CIRCULATING PUMP) ติดตั้งอยู่ท้ัง ด้านหนา้ และด้านหลังของอา่ งนำ้ มันเคร่อื งของเคร่อื งยนต์ เพ่ือหมุนเวยี นนำ้ มันกลบั มายงั ปัม๊ นำ้ มนั เคร่ืองหลัก ซ่งึ จะทำให้น้ำมันเครื่องหมนุ เวยี นไดใ้ นขณะที่ปฏิบตั ิงานบนที่ลาดชัน 4.16 มี เครื่องกรองน้ำมันเช้ือเพลิง ช่วยขจัดน้ำ และฝุ่นละอองออกจากน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นกรองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ก่อนท่ีจะไปถึงปั๊มน้ำมันเช้ือเพลิง น้ำ และฝุ่นละอองจะพอกพูน ข้นึ เร่อื ย ๆ จนก่อปัญหา เกิดข้อขัดข้องขึ้นเมือ่ ใช้ยานยนตใ์ นสนาม 4.17 มกี ารป้องกนั การรบกวนวิทยุ เพอ่ื ป้องกนั การรบกวนการใช้วทิ ยุ และเพอื่ ปอ้ งกนั การ คน้ หาตำแหน่งของรถ จากสถานรี ับฟัง/คน้ หาของข้าศกึ 4.18 มีการระบายอากาศในห้องเพลาข้อเหว่ียงของเครื่องยนต์ เพื่อลดการสึกหรอหรือชำรุด ของช้ินส่วนท่ีมีการเคล่ือนไหว และเพ่ือรักษาคุณสมบัติของน้ำมันหล่อล่ืน โดยการขจัดน้ำมันเช้ือเพลิง และ ความชืน้ ท่เี กดิ จากการกลัน่ ตวั ของน้ำ ของนำ้ มันหลอ่ ลน่ื ในห้องเพลาข้อเหวย่ี งของเครอ่ื งยนต์ 4.19 มอี ุปกรณ์ช่วยในการติดเครื่อง (ARCTICIZING EQUIPMENT) เพื่อช่วยให้ตดิ เครื่องยนต์ ในเขตที่มีอณุ หภูมิตำ่ กวา่ ศูนย์องศาโดยใชเ้ ครอ่ื งทำความรอ้ น และฉนวนคลุมบนแบตเตอร่ีและห้องเคร่ืองยนต์ 4.20 มีอุปกรณ์ช่วยในขณะปฏิบัติงานในเขตทุรกันดาร (DESERTIZING EQUIPMENT) ซ่ึง ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็นคือ เคร่ืองทำลม ถังรับน้ำล้นจากหม้อน้ำรังผึ้ง ฝาปิดหม้อน้ำชนิดรักษาความ ดันเพ่ือป้องกันมใิ ห้ของเหลวระบายความร้อนกลายเปน็ ไอสูญหายไป หรือเกดิ การสูญเสยี ขณะท่ีรถลงลาดชัน มีฝาปิดถังน้ำมันเช้อื เพลิง และรักษาความดนั เพื่อช่วยในการไหลของน้ำมนั เชอ้ื เพลิงเม่อื เกิดไอระเหยของน้ำมัน ค่งั คา้ ง

ห น้ า | 18 4.21 มีล้อติดต้ังอยู่ท่ีดุมล้อ เพ่ือช่วยให้การถอดเปล่ียนล้อทำได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำความ เสยี หายใหแ้ ก่ลูกปนื ลอ้ และทำให้เพ่มิ เติมล้อหน้าเป็นลอ้ ค่ไู ด้เมื่อต้องการ 4.22 มเี พลาชนดิ ลอยตัวเตม็ ท่ี (FULL FLOATING AXLE) เพอ่ื ปอ้ งกันมใิ ห้ลอ้ เสียหายเมอ่ื เพลาหัก 4.23 มีระบบบังคับเล้ียวด้วยกำลัง (POWER STEERING SYSTEMS) เพ่ือให้ยานยนต์ที่มี ขนาดตา่ ง ๆ กนั นน้ั สามารถบังคับเลย้ี วไดค้ ลอ่ งแคลว่ ในภมู ปิ ระเทศ 4.24 มีระบบเพิ่มแรงขับสูงท่ีเฟืองทดเลี้ยว และเพลาล้อ ทำให้เฟืองทดเลี้ยวมีขนาดเล็ก สามารถทำให้เพลาล้อเคลื่อนที่ขึ้น-ลงได้มาก มีความสูงพ้นพ้ืนมากกว่าปกติ เฟืองทดเล้ียวมีระบบป้องกันล้อ ข้างหน่ึงข้างใดหมุนฟรีในขณะติดหล่ม ด้านปลายของเพลาล้อใช้เฟืองบริวารทำให้เกิดทดเฟือง แรงเค้นท่ี กระทำตอ่ เพลาขบั ล้อจงึ มนี อ้ ยกวา่ และทำให้แรงขบั สงู ขนึ้ 5. ยานพาหนะใช้รบ (COMBAT VEHICLES) ในการออกแบบยานพาหนะใช้รบ พึงสังเกตว่า ยานพาหนะใช้รบจะมีทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นขีดจำกัดเช่นเดียวกับรถท่ัวๆ ไป และเพ่ือให้ปฏิบัติภารกิจได้ สมบูรณย์ งิ่ ขน้ึ จะตอ้ งเพมิ่ เตมิ ลักษณะทส่ี ำคญั ข้ึนอีกดังนี้ 5.1 หน่วยกำลัง (POWER PLANT) และขบวนส่งกำลัง (POWER TRAINS) มีเกราะหุ้มอยู่อย่าง มัน่ คงแขง็ แรง 5.2 เครื่องยนต์ติดตงั้ อยู่ทดี่ ้านหน้า หรือดา้ นหลังรถ 5.3 สามารถเคล่ือนทไี่ ด้ภายใต้อณุ หภมู ิประมาณ -65 ฟ ถึง +125 ฟ. 5.4 สามารถปฏิบัติการไดใ้ นพ้นื ท่ี เป็นโคลน และในภูมิประเทศทีเ่ ปน็ ฝนุ่ ละออง รถถังหรือรถหุ้มเกราะมักสร้างตัวรถหุ้มด้วยแผ่นเกราะ รถคอยเหตุ (SCOUT CAR) ซึ่งยึดถือหลักการ ออกแบบเชน่ เดยี วกับรถทั่วๆ ไป แต่ตัวรถมเี กราะหุม้ โดยทั่วไปความสามารถในการปฏิบตั ิงานจะประกอบดว้ ย (1) สามารถปนี ลาดตรงได้ 60 % และไตล่ าดเอยี งได้ 30% (2) มแี รงฉุดลากอย่างน้อยทส่ี ุด 80 % ของน้ำหนักท้ังหมดของรถ (3) มแี รงฉุดลากเมือ่ ใชค้ วามเรว็ สูงอยา่ งนอ้ ยทส่ี ุด 8 % ของนำ้ หนักรวมของรถ (4) มี ความเร็วเฉล่ยี 3 ไมล์/ชม. หรือต่ำกวา่ นน้ั เพอื่ ให้เหมาะสมกบั ความตอ้ งการทางทหาร ยานพาหนะใชร้ บตอ้ งออกแบบใหพ้ ลประจำรถได้รบั ความ สะดวก และปลอดภยั โดยจะตอ้ งจดั ใหม้ ี คณุ ลกั ษณะต่าง ๆ ดังน้ี (1) มกี ารระบายอากาศอยา่ งเพียงพอ (2) พ้ืนทภี่ ายในจะตอ้ งมีเบาะรอง (3) พจิ ารณาอย่างถ่ถี ว้ นเกีย่ วกบั การจัดทนี่ ั่งใหเ้ หมาะสม (4) มีการออกแบบช่องทางเข้า-ออก และช่องหลบ ตลอดจนการขัดกลอนของช่องทางได้ อย่างแน่นหนา มัน่ คง (5) มเี คร่ืองดับเพลิงติดต้งั อยูใ่ นท่ี ๆ มีกำบงั และสามารถนำมาใชไ้ ดส้ ะดวกปลอดภัย (6) พน้ื ทภ่ี ายในควรกว้างขวางพอท่จี ะติดต้งั อุปกรณ์ทีจ่ ำเป็นตอ่ การรบเปน็ อย่างดี 6. การแบ่งประเภทของยานพาหนะในกองทพั คำว่ายานพาหนะที่ใชใ้ นกองทัพนั้น ประกอบดว้ ยยานยนต์ประเภทล้อ และยานยนตป์ ระเภทสายพาน หรือยานยนต์ลอ้ ประกอบสายพาน ตลอดทงั้ ยานพาหนะทุกชนิดทข่ี ับเคล่ือนด้วยตวั เอง รถพว่ ง และรถก่ึงพ่วง ทถ่ี กู ลากจงู โดยพาหนะต่าง ๆ รวมทัง้ รถจักรยานยนตด์ ้วย การแบง่ ประเภทยานพาหนะตามขอ้ บังคบั ของ กองทัพสหรฐั ( AR700 - 105) มีดงั น้ี 6.1 ยานพาหนะแบบใช้งานทั่วไป หรือยานพาหนะเอนกประสงค์ (GENERAL PURPOSE VEHICLES) ได้แก่ ยานยนต์ที่ออกแบบให้ใช้ทดแทนกันได้ สำหรับเคล่ือนย้ายกำลังพล บรรทุกส่ิงอุปกรณ์ กระสุนหรืออุปกรณ์สำหรับลากจูงปืนใหญ่ รถพ่วงหรือก่ึงพ่วง และใช้โดยไม่ต้องเปล่ียนตัวถังหรือโครง

ห น้ า | 19 รถ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการในการลำเลียงทางยานยนต์ท่ัวๆ ไป เช่น รถยนต์บรรทุก 2 1/2 ตัน 6 X 6 เป็นยานพาหนะที่ใช้งานตามความมุ่งหมายท่ัวไป เพราะใช้เป็นพาหนะในการลำเลียงท่ัวไป และมีโครงรถ มาตรฐานไมต่ ้องเปล่ยี นแปลงแต่อย่างใด 6.2 ยานพาหนะติดตั้งอุปกรณ์พิเศษ (SPECIAL EQUIPMENT VEHICLES) ได้แก่ ยานพาหนะ ทีม่ ีโครงรถเหมอื นกับที่ใช้อยใู่ นยานพาหนะแบบใชง้ านทั่ว ไป แต่มีตัวถังพิเศษ หรืออุปกรณพ์ ิเศษตดิ ตงั้ อย่บู น ตัวรถ เช่น รถโรงงาน (ORDNANCE MAINTENANCE TRUCK) ขนาด 2 1/2 ตัน 6 X 6 จัดเป็นรถอยู่ใน ประเภทนเ้ี พราะมตี วั ถงั พเิ ศษสำหรบั เปน็ โรงงานซอ่ ม ตดิ ตงั้ อยบู่ นโครงรถยานพาหนะแบบใชง้ านท่วั ไป 6.3 ยานพาหนะแบบใช้งานพิเศษ (SPECIAL PURPOSE VEHICLES) ได้แก่ยานยนต์ท่ีได้ ออกแบบ และมีความมุ่งหมายเพ่ือนำไปใช้งานพิเศษ ซ่ึงโครงรถไม่มีลักษณะเช่นเดียวกับยานพาหนะ ที่ใช้งาน ทั่วไปใช้แทนได้เลย การแบ่งประเภทชนิดพิเศษน้ีประกอบด้วยรายละเอียดมาก ซ่ึงต้องใช้การบริการทาง เทคนิค รถท่ีใช้สายพานขับเคล่ือน (แทรกเตอร์) ทุกชนิดโดยไม่คำนึงถึงขนาดหรือความมุ่งหมายท่ีต้ังไว้ ยานพาหนะแบบใชง้ านตามความม่งุ หมายพเิ ศษ แตกต่างไปจากยานพาหนะรบโดยส้นิ เชิง 6.4 ยานพาหนะรบ (COMBAT VEHICLES) ได้แก่ยานพาหนะซ่ึงออกแบบไว้เพ่ือใช้ปฏิบัติ ภารกิจการรบโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีเกราะ และติดอาวธุ หรอื ไม่ก็ตาม สำหรับ เกราะ หรืออาวธุ ท่ีนำไปติดต้ังบน ยานพาหนะแบบใช้งานท่ัวไป และบนรถแบบใช้งานพิเศษ หรือยานพาหนะอื่น ๆ น้ันไม่นับว่าเป็นยานพาหนะ รบ 6.5 รถพ่วง (TRAILERS) คือรถท่ีออกแบบไว้ให้ถูกลากจูงโดยยานพาหนะอ่ืน ๆ และจัดให้มีคาน ลากจงู หรอื ขอลากจูงเพอื่ ยดึ ติดกบั ขอพ่วงของรถลากจูง 6.6 รถกึ่งพ่วง (SEMITRAILERS) เป็นยานพาหนะที่ออกแบบไว้สำหรับให้ถูกลากจูง และมีรถลาก จูงรองรบั อยู่ตอนหนา้ ตรงลอ้ ท่ี 5 หรือขอพว่ งอืน่ ๆ ที่คลา้ ยกนั 7. การแบ่งประเภทตามการสัมผสั พ้ืน (CLASSIFICATION BY GROUND CONTACT) นอกจากแบ่ง ประเภทท่ัวๆ ไป ตามทไี่ ดก้ ล่าวมาแลว้ ยานพาหนะยงั แบง่ ออกได้เป็นยานยนต์ประเภทลอ้ ยานยนต์ประเภท สายพาน และยานยนต์ประเภทกึ่งสายพาน ยานยนต์ประเภทล้ออาจแบ่งประเภทตามจำนวนล้อ และตาม จำนวนล้อท่ีขับ เช่น ตามมาตราทานในรายละเอียดของยานพาหนะมีว่า 4 X4, 6X6, 6X4, 4 X2 เลขตัวหน้า หมายถึง จำนวนล้อทั้งหมด เลขตัวหลังหมายถึงจำนวนล้อที่ขับเคลื่อนรถได้ ควรสังเกตได้ว่ายานยนต์ 6 ล้อ ทกุ คันมีซ่ึง 3 เพลา นั้น ล้อที่นับวา่ เปน็ หน่วยหนึ่งน้ัน คือการนบั ล้อไม่ว่าจะเป็นล้อยางเดย่ี วหรอื ล้อยางคู่ และที่ เรียกว่ายานยนต์ประเภทสายพานนั้น ก็เพราะว่ามีสายพานเป็นตัวขับเคลื่อน มุ่งหมายที่จะให้มีพื้นสัมผัสของ สายพานมากข้ึนกว่ายานยนต์ล้อ และมีล้อกดสายพานของยานพาหนะนั้น กับมีราง หรือมีเดือยนำสายพาน อยู่ดา้ นบน ยานยนต์กึ่งสายพานน้ันหมายรวมถึงยานพาหนะท้ังหมดซึ่งส่วนหน่ึงของน้ำหนักอยู่บนล้อด้านหน้า และสามารถบงั คับเลย้ี วได้ ส่วนน้ำหนกั ท่ีเหลอื ตอนหลังของรถอยบู่ นสายพาน …………………………………………………………..

ห น้ า | 20 เครอื่ งยนต์ ENGINE คุณลักษณะเครือ่ งยนตล์ ูกสูบ PISTON ENGINE CHARACTERISTICS ตอนท่ี 1 การทำงานของเครอื่ งยนต์ ENGINE OPERATION 1. กลา่ วนำ 1. เนื่องจากเคร่ืองยนต์ส่ีจังหวะเป็นท่ีนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางจึงใช้เป็นตัวอย่างแสดงถึงการทำงานใน ตอนท่ี 1 และเป็นเครอื่ งยนต์หลกั ในการเปรียบเทยี บกบั เคร่ืองยนต์แบบต่าง ๆ 2. เราสามารถทำความเข้าใจลักษณะการทำงาน ของเคร่ืองยนตแ์ บบลกู สูบไดด้ ที ีส่ ดุ ด้วยการเปรยี บเทียบ กับลักษณะการยิงปืนใหญ่ ภาพ 2-1, A เป็นภาพของลำกล้องปืนใหญ่มีดินส่งกระสุนและลูกกระสุนบรรจุอยู่ ส่วนภาพ 2-1, B แสดงให้เห็นสภาพเม่ือดินส่งกระสุนถูกจุดแล้วเกิดการลุกไหม้อย่างฉับพลัน เป็นการเปล่ียน สถานภาพของดินปืนจากของแข็งทม่ี ีปริมาณน้อยกลายเป็นแก๊สร้อนท่ีมีปรมิ าณมากกว่าเดิมมากมายหลายร้อย หลายพันเท่า ปริมาณแก๊สท่ีเพ่ิมขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดแรงดันมหาศาลจนสามารถขับดันลูกกระสุนให้ว่ิง ออกจากลำกลอ้ งไป ดนิ ปืน ลกู ปืน รปู A ภาพ 2-1 แสดงหลกั การทำงานของเครอ่ื งยนต์ลกู สูบ ในภาพ 2-2, A แสดงให้เห็นภาพเมื่อเอากระบอกสูบและห้องเผาไหม้มาแทนท่ีลำกล้องปืนใหญ่ แล้วเอา ลูกสูบมาใสแ่ ทนลูกกระสุนปนื และเอาสว่ นผสมของนำ้ มนั เช้อื เพลิงกบั อากาศมาใสแ่ ทนดนิ ปืน ในภาพ 2-2, B เมื่อส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศถูกถูกจุดด้วยประกายไฟ เกิดแรงดันแก๊สผลักดันให้ ลูกสบู เคลื่อนลงทางด้านลา่ ง ภาพ 2-2 ลักษณะการทำงานของลกู สบู เครอ่ื งยนต์ 2. การเคลื่อนท่ีกลับไปกลบั มาเป็นการเคลอ่ื นทหี่ มุนรอบ (Reciprocating Motion To Rotary Motion ) แรงที่ได้จากการเคล่ือนท่ีลงของลูกสูบจะถูกใช้ในการหมุนล้อรถยนต์ การนำแรงท่ีได้จากการเคลื่อนที่ แบบชักไปมาในแนวตรงไปหมุนล้อรถ ต้องเปล่ียนให้เป็นแรงขับทางหมุนก่อนโดยใช้เพลาข้อเหวี่ยง (Crank Shaft) เพลาขอ้ เหวยี่ งหมายถึงเพลาหลัก กับเพลาท่ีเป็นขอ้ ต่อก้านสูบท่ีอย่ใู นตำแหนง่ เยื้องกับศนู ย์กลางของ เพลา โดยทำหน้าท่ีเปล่ียนการเคลื่อนที่แบบชักไปมาของลูกสูบเป็นการเคลื่อนท่ีแบบหมุนรอบ เพื่อส่งแรงขับ

ห น้ า | 21 ผ่านระบบขับเคลื่อนไปหมุนล้อรถ ภาพ 2-3 แสดงลักษณะการเชื่อมต่อระหว่างลูกสูบกับเพลาข้อเหวย่ี ง ด้วย ก้านสูบกับข้อต่อเพลาข้อเหวีย่ ง ภาพ 2-4 แสดงลักษณะการแปลงแรงขับทางข้างให้เป็นแรงหมุนทางรอบของ เพลาขอ้ เหวยี่ ง ภาพ 2-3 ลูกสบู กบั เพลาขอ้ เหวยี่ ง ภาพ 2-4 ความสัมพนั ธ์ของลกู สบู กับเพลาข้อเหว่ียง 3. ไอดีกบั ไอเสยี (Intake And Exhaust) ในการติดเคร่ืองยนต์ ต้องป้อนส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศท่ีเรียกว่าไอดีเข้าไปในห้องเผาไหม้ ส่วนแก๊สท่ีได้จากการเผาไหม้ของส่วนผสมดังกล่าวเมื่อดันลูกสูบจนสุดระยะแล้วก็ต้องขับออกไปจากกระบอก สูบ แก๊สส่วนนี้เรียกว่าไอเสียดังน้ันช่องสำหรับให้ไอดีเข้าไหลเข้ากระบอกสูบจึงเรียกว่าช่องไอดี (Intake Port) ส่วนช่องท่ีขับให้ไอเสียออกจากกระบอกสูบก็เรียกว่าช่องไอเสีย (Exhaust Port) ภาพ 2-5 แสดงให้เห็น ลักษณะของช่องไอดีกับช่องไอเสีย แตก่ ารเปิดชอ่ งว่างให้ทะลุถึงหอ้ งเผาไหม้ จะมีปัญหาว่าแรงดันแก๊สที่ได้จาก การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ก็จะรั่วไหลออกทางชอ่ งท้ังสองน้ีจนไม่มีแรงดันให้ลูกสูบเคล่ือนลงได้

ห น้ า | 22 เพอ่ื ขจัดปัญหานีจ้ ึงต้องใช้ล้ินมาทำหน้าทเ่ี ปดิ และปดิ ช่องไอดีกบั ช่องไอเสีย ภาพ 2-6 แสดงลักษณะของลิ้นไอ ดี ลิ้นไอดีกับลิ้นไอเสียถูกเปิดและปิดในห้วงเวลาที่กำหนดด้วยกลไกยกล้ิน (Valve Train) คำอธิบายเร่ือง กลไก ยกลิน้ อยใู่ นข้อ 2-9 ภาพ 2-5 ช่องไอดีกับช่องไอเสยี ภาพ 2-6 ลิ้นไอดีกับล้ินไอเสยี 4. ลักษณะการเคล่อื นทีใ่ นกระบอกสบู (Action In The Cylinder) จุดสูงสุดในกระบอกสูบท่ีลูกสูบเคล่ือนข้ึนมาอยู่ในตำแหน่งน้ี เรียกว่าศูนย์ตายบน (Top Dead Center :TDC) ส่วนจุดต่ำสุดในกระบอกสูบที่ลูกสูบเคลื่อนลงไปอยู่ในตำแหน่งน้ันเรียกกว่าศูนย์ตายล่าง (Bottom Dead Center : BDC) เมื่อลูกสูบเคลอื่ นที่ลงจากตำแหน่งศูนยต์ ายบนถึงตำแหน่งศนู ย์ตายล่าง หรือ เคล่ือนที่ขึ้นจากตำแหน่งศูนย์ตายล่างไปยังศูนย์ตายบน เพลาข้อเหวยี่ งจะหมุนได้ครึ่งรอบพอดี (ภาพ 2-27)ใน แต่ละช่วงที่ลูกสูบเคล่ือนที่ลงจากตำแหน่งศูนย์ตายบนถึงตำแหน่งศูนย์ตายล่าง หรือเคล่ือนท่ีขึ้นจากตำแหน่ง ศูนยต์ ายล่างไปยังศนู ยต์ ายบน จะเรยี กวา่ ชว่ งชกั (Stroke) 5. จงั หวะดูด (Intake Stroke) (ภาพ 2-8 A) จังหวะดูดเร่ิมต้นจากลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายบน ขณะลูกสูบเคลื่อนที่ลงลิ้นไอดีจะเปิดออก การ เคลื่อนท่ีลงของลูกสูบทำให้เกิดสภาพสุญญากาศในกระบอกสูบ ซึ่งจะดูดเอาส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับ อากาศผ่านทางช่องไอดเี ข้ามาในกระบอกสูบ เม่ือลูกสูบเคลื่อนท่ีลงสดุ ระยะอยู่ในตำแหนง่ ศูนย์ตายล่าง ลิน้ ไอดี กจ็ ะปดิ ลง

ห น้ า | 23 ภาพ 2-7 ตำแหนง่ ของลูกสบู 6. จังหวะอัด (Compression Stroke) (ภาพ 2-8, B) จังหวะอัดเริ่มต้นจากลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายล่าง และทั้งล้ินไอดีกับลิ้นไอเสียปิดสนิท เม่ือลูกสูบ เคล่ือนข้ึนถึงศูนย์ตายบน ปริมาตรในกระบอกสูบที่กักส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศไว้ถูกบบี ให้เล็กลง พลงั งานของน้ำมันเช้อื เพลิงกจ็ ะมีความเข้มขน้ สงู จงั หวะอดั ส้ินสุดลงเมื่อลูกสูบเคลอ่ื นถงึ ตำแหน่งศูนยต์ ายบน 7. จงั หวะระเบดิ หรือจงั หวะกำลัง (Power Stroke)(ภาพ 2-8, C) ขณะที่ลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายบนในช่วงส้ินสุดจังหวะอัด หัวเทียน (Spark Plug)(ข้อ 15-3) ถูกทำ ให้เกิดประกายไฟ จุดส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศที่ถูกอัดอยู่ให้เกิดการลุกไหม้อย่างฉับพลัน เหมือนกบั การระเบิดทำให้เกดิ แก๊สร้อนปรมิ าณมากขยายตวั ออก แต่เนอ่ื งจากทั้งลิ้นไอดีและลน้ิ ไอเสียปิดสนิท อยู่ แรงดันแก๊สจึงดันต่อลูกสูบให้เคลื่อนที่ลงพร้อมกับสง่ แรงให้หมุนเพลาข้อเหว่ียง จังหวะระเบดิ สิ้นสุดลงเมื่อ ลกู สบู เคลอ่ื นท่ีลงมาอยใู่ นตำแหน่งศูนยต์ ายลา่ ง 8. จงั หวะคาย (Exhaust Stroke) (ภาพ 2-8, D) ขณะท่ีลูกสูบเคล่ือนถึงศูนย์ตายล่างก็จะส้ินสุดจังหวะระเบิด ลิ้นไอเสียเปิดออก, เป็นการเริ่มต้นของ จังหวะคาย โดยขณะที่ลูกสูบเคลื่อนข้ึนไปยังตำแหน่งศูนย์ตายบนจะดันแก๊สร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของ ส่วนผสมน้ำมันกับอากาศให้ออกจากห้องเผาไหม้ ผ่านทางช่องไอเสีย ครั้นเมื่อลูกสูบเคล่ือนถึงศูนย์ตายบนก็ ส้ินสุดจังหวะคาย ล้ินไอเสียปิดลง และในทันทีที่ล้ินไอเสียปิดลง ล้ินไอดีก็จะเปิดออกเพ่ือเร่ิมจังหวะดูดในรอบ การทำงานตอ่ ไป 9. กลไกยกล้ิน (Valve Train) จะเห็นได้ว่าการทำงานของจังหวะต่าง ๆ ที่อธิบายใน ข้อที่ 2-5 ถึง 2-8 น้ัน การยกล้ินให้ตรงตามห้วง เวลาท่ีกำหนดไวเ้ ป็นส่ิงสำคัญมาก หากลิ้นไอเสียเปิดตรงกลางห้วงจังหวะดูด ลูกสูบก็จะดดู เอาไอเสียเข้าไปใน ห้องเผาไหม้แทนท่ีจะเป็นไอดี คร้ันเมื่อถึงจังหวะระเบิดก็ไม่มีการลุกไหม้เกิดขึ้น เคร่ืองยนต์จึงจำเป็นต้องมี กลไกยกลน้ิ ใหท้ ำหน้าทเ่ี ปิดและเปิดลิน้ ตามหว้ งเวลาที่สมั พันธ์กัน

ห น้ า | 24 ภาพ 2-9, A แสดงกลไกยกลิ้นอย่างง่าย ๆ โดยเพลาข้อเหว่ียงจะส่งแรงขับผ่านเฟืองตั้งจังหวะจุดระเบิด (Timing Gear) ที่เพลาลกู เบ้ยี วมีลกู เบยี้ ว (Cam Lobe) หนา้ ท่ียกลนิ้ ใหเ้ ปดิ ในภาพ B แสดงใหเ้ หน็ วา่ ทล่ี ิ้นจะมี แหนบทำหน้าท่ีดันลิ้นให้อยู่ในตำแหน่งปิดเสมอ เมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุน ลาดลูกเบ้ียวจะแตะกับส่วนล่างของ ถว้ ยยกลิน้ แลว้ สว่ นยอดลูกเบีย้ วจะดนั ถว้ ยยกลิ้นขึ้นดงั แสดงในภาพ C ถ้วยยกลิ้นก็จะดนั ต่อก้านลนิ้ ด้วยแรงดัน ที่มากกว่าแรงดันแหนบทำให้ลิ้นเปิดออก ในภาพ D เม่ือส่วนยอดสูงสุดของลูกเบี้ยวผ่านจุดก่ึงกลางถ้วยยกล้ิน ไป แรงดนั แหนบก็จะดันใหล้ ้ินกลับลงส่ตู ำแหน่งปดิ อีกครั้ง ภาพ 2-8 ลักษณะการทำงานแบบสี่จังหวะ

ห น้ า | 25 การกำหนดห้วงเวลาสำหรับเปิด-ปิดล้นิ ไอดีกับล้ินไอเสียสามารถทำได้โดยการจดั ตำแหน่งลาดลูกเบ้ียว ให้ในอยูใ่ นตำแหน่งทีเ่ หมาะสมบนเพลาลูกเบยี้ ว จากคำอธบิ ายถงึ จังหวะต่าง ๆ ในข้อที่ 2-5 ถึง 2-8 จะเหน็ ได้ ว่าลิ้นไอดีกับลิ้นไอเสียจะสลับกันเปิดอย่างละครั้งในทุก ๆ รอบการทำงาน ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อท่ี 2-4 จะเห็นว่าเพลาข้อเหว่ียงต้องหมุนครบสองรอบเพ่ือให้ได้หนึ่งรอบการทำงานของเคร่ืองยนต์ ความเร็วในการ หมุนของเพลาลูกเบ้ียวจึงต้องเป็นครึ่งหน่ึงของความเร็วเพลาข้อเหว่ียง ซึ่งทำได้โดยการทำให้ฟันเฟืองเพลาข้อ เหว่ียงมีจำนวนเพียงคร่ึงหน่ึงของฟันเฟืองเพลาลูกเบี้ยว ดังแสดงในภาพ 2-10 ท่ีเฟืองท้ังสองจะมีเคร่ืองหมาย ตั้งจงั หวะจดุ ระเบดิ เพอ่ื ใหส้ ามารถประกอบเฟอื งท้งั สองเขา้ ดว้ ยกันไดอ้ ย่างถูกต้อง ภาพ 2-9 ลักษณะการทำงานของกลไกยกลน้ิ

ห น้ า | 26 10. ระบบเครื่องประกอบเคร่อื งยนต์ (Engine Accessory System) 1. ระบบน้ำมันเช้ือเพลิง(Fuel System) ระบบน้ำมันเช้ือเพลิง(บทที่ 4) ทำหน้าที่ป้อนส่วนผสมของ น้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศด้วยสัดส่วนท่ีพอดีให้กับเคร่ืองยนต์ ระบบนี้ยังทำหน้าท่ีปรับอัตราส่วนของไอดีเพ่ือ ควบคมุ ความเรว็ รอบและกำลงั ของเครอ่ื งยนต์ด้วย 2. ระบบจุดระเบิด (Ignition System) ระบบจุดระเบิด (บทท่ี 15) ทำหน้าท่ีจุดส่วนผสมของน้ำมัน เช้อื เพลิงกบั อากาศในหอ้ งเผาไหม้ ตรงตามจงั หวะการทำงานเพ่ือใหเ้ คร่อื งยนต์ติดอย่างต่อเนื่องได้ 3. ระบบระบายความร้อน (Cooling System) ระบบระบายความร้อน (บทที่ 9) ทำหน้าที่ระบายความ ร้อนทเ่ี กดิ จากการสนั ดาปของนำ้ มนั เชื้อเพลิงกบั อากาศใหอ้ อกจากเคร่อื งยนต์ไป 4. ระบบหล่อล่ืน (Lubrication System) ระบบหล่อลื่น (บทที่ 8) ทำหน้าที่ส่งน้ำมันเคร่ืองไปหล่อล่ืน และระบายความร้อนใหช้ ิ้นสว่ นเคลอ่ื นที่ของเครือ่ งยนต์ ภาพ 2-10 เฟอื งตัง้ จงั หวะจดุ ระเบิด ภาพ 2-11 ล้อตุนกำลัง 5. ลอ้ ตนุ กำลงั (Flywheel)(ภาพ 2-11) จากลกั ษณะการทำงานของจังหวะตา่ ง ๆ ทีไ่ ด้กล่าวถึง ในข้อที่ 2-5 ถึง 2-8 จะเห็นได้ว่าเครื่องยนต์จะได้รับกำลังขับในจังหวะระเบิดหรือจังหวะระเบิดเพียงจังหวะ เดียวต่อการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงสองรอบ และจังหวะท่ีเคร่ืองยนต์ได้รับกำลังขับให้หมุนได้น้ีก็มีเพียงคร่ึง รอบของการหมนุ ของเพลาขอ้ เหว่ยี ง ทก่ี ล่าวมาน้ีหมายความวา่ เพลาข้อเหวีย่ งตอ้ งหมนุ ไปเองโดยไม่ไดร้ บั กำลัง หน่ึงรอบคร่ึงของทุก ๆ รอบการทำงานซึ่งมีอยู่ด้วยกันสองรอบของเพลาข้อเหว่ียง ด้วยเหตุน้ีเคร่ืองยนต์ก็อาจ จ่ายกำลังขับออกมาไม่เรียบหรือเดินกระตุก ล้อตุนกำลังถูกนำมาใช้เพ่ือขจัดปัญหาดังกล่าวน้ี ล้อตุนกำลังซึ่งมี นำ้ หนักมากจะทำหน้าดูดกลืนแรงกระแทกอย่างรุนแรงของการหมนุ ของเครื่องยนตใ์ นจงั หวะระเบดิ และสง่ แรง เฉือ่ ยในการหมุนกลบั ใหเ้ พลาขอ้ เหว่ียงเพ่อื ให้เครอื่ งยนตเ์ ดินได้เรียบ ------------------------------

ห น้ า | 27 ตอนที่ 2 การเปรยี บเทยี บเคร่อื งยนตแ์ บบตา่ ง ๆ COMPARISON OF ENGINE TYPES 11. เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine) กับเคร่ืองยนต์สันดาปภายนอก (External Combustion Engine) 1. เคร่ืองยนต์สันดาปภายใน(ภาพ 2-12, A) เครื่องยนต์สันดาปภายใน คือเครื่องยนต์ที่มีลักษณะการเผา ไหมน้ ำ้ มนั เช้ือเพลงิ ภายในเครอ่ื งยนต์ เคร่ืองยนตส์ ่ีจังหวะเป็นเคร่อื งยนต์สันดาปภายใน เพราะมหี ้องเผาไหมอ้ ยู่ ภายในเครื่องยนต์ดังแสดงในภาพ 2-12 2. เครื่องยนตส์ ันดาปภายนอก (ภาพ 2-12, B) เคร่ืองยนต์สันดาปภายนอกคือเคร่ืองยนต์ท่ีมีการเผาไหม้ เชื้อเพลิงอยู่ภายนอกเคร่ืองยนต์ ตัวอย่างเคร่ืองยนต์แบบนี้ได้แก่เครื่องจักรไอน้ำซึ่งมีเชื้อเพลิงลุกไหม้อยู่นอก หมอ้ นำ้ ซ่งึ เป็นส่วนทำไอน้ำแรงดนั สงู แล้วส่งตามทอ่ ไปทำใหเ้ ครอ่ื งยนต์หมนุ ภาพ 2-12 เปรยี บเทียบเครื่องยนตส์ ันดาปภายใน กบั เคร่ืองยนต์สันดาปภายนอก 12. เครื่องยนต์สีจ่ ังหวะ(Four Stroke Cycle) กบั เคร่ืองยนตส์ องจังหวะ(Two Stroke Cycle) เคร่ืองยนตท์ ก่ี ล่าวถึงในตอนที่ 1 เป็นเครื่องยนต์แบบสี่จงั หวะ ยังมเี คร่อื งยนตล์ ูกสูบใชน้ ้ำมันแกส๊ โซลนี อกี แบบหน่ึงที่ไม่มีกลไกยกล้ิน และครบรอบการทำงานโดยการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงเพียงหน่ึงรอบ เรียกว่า เคร่ืองยนต์สองจังหวะหรือสองจังหวะรอบ ดังแสดงในภาพ 2-13เคร่ืองยนต์แบบนี้แทนที่จะให้ช่องไอดีกับช่อง ไอเสียเข้าตรงห้องเผาไหม้ กลับใหไ้ ปเข้าตรงผนังกระบอกสูบ ทุกคร้ังทีล่ กู สบู เคล่อื นลงจากตำแหนง่ ศนู ย์ตายบน เป็นจังหวะระเบิดและในระหว่างที่ลูกสูบเคล่ือนท่ีลงกว่าจะถึงยังตำแหน่งศูนย์ตายล่างก็จะเป็นจังหวะดูดและ จังหวะคายไปพร้อมกัน ส่วนการเคล่ือนที่จากตำแหน่งศูนย์ตายล่างไปยังตำแหน่งศูนย์ตายบนของลูก สูบเป็น จังหวะอดั

ห น้ า | 28 ภาพ 2-13 เครอ่ื งยนต์สองจังหวะ 1. จังหวะลูกสูบเคล่ือนที่ลง (Downward Stroke) (ภาพ 2-14, A) จังหวะระเบิดเริ่มต้นเม่ือลูกสูบ เคล่ือนลงจากตำแหน่งศูนย์ตายบน แรงดันท่ีได้จากการขยายตัวของแก๊สร้อนอันเกิดการเผาไหม้ของน้ำมัน เช้ือเพลิงกับอากาศดันให้ลูกสูบเคล่ือนลง ในตอนแรกลูกสูบจะเคลื่อนบังช่องไอดีที่เจาะทะลุถึงห้องเพลาข้อ เหวี่ยง เป็นการปิดห้องเพลาข้อเหวี่ยงไว้ เมื่อลูกสูบเคล่ือนลงต่อไปก็จะทำให้เกิดแรงดันภายในห้องเพลาข้อ เหวี่ยงที่ปิดไว้ทุกด้าน และมีส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศถูกกักอยู่เม่ือลูกสูบเคลื่อนลงถึงตำแหน่ง ศูนย์ตายล่างก็จะเปิดช่องไอดีกับช่องไอเสีย แรงดันไอดีในห้องเพลาข้อเหวี่ยงก็จะไหลผ่านช่องไอดีเข้ายัง กระบอกสบู พร้อมกับขับให้ไอเสยี ในกระบอกสูบไหลออกไปทางชอ่ งไอเสีย ภาพ 2-14 เคร่ืองยนต์สองจังหวะ

ห น้ า | 29 2. จังหวะลูกสูบเคลอื่ นขนึ้ (Upward Stroke) (ภาพ 2-14, B) ในขณะที่ลกู สูบเคลื่อนที่ขึ้นจะปิดชอ่ งไอดี กับช่องไอเสีย เป็นการปิดช่องเข้าออกกระบอกสูบส่วนบนเพื่อให้ลูกสูบอัดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับ อากาศ ในขณะเดียวกันการเคลื่อนที่ขึ้นด้านบนของลูกสูบก็ทำให้เกิดแรงดูดในห้องเพลาข้อเหว่ียง ดังน้ันเมื่อ ช่องไอดีเข้าจากภายนอกถูกเปิดออกส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศจากภายนอกก็ถูกดูดเข้าในห้อง เพลาข้อเหวี่ยง เม่ือลูกสูบเคลื่อนถึงศูนย์ตายบน หัวเทียนก็ถูกทำให้เกิดประกายไฟจุดส่วนผสมของน้ำมัน เชื้อเพลิงกับอากาศ จากนน้ั ลกู สูบก็จะถกู ดนั ใหเ้ คลอ่ื นที่ลงเป็นการเริ่มจงั หวะระเบดิ อกี ครง้ั 3. ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงกับน้ำมันหล่อล่ืน (The Fuel And Lubrication System) ส่วนผสมของน้ำมัน เชื้อเพลิงกับอากาศต้องไหลผ่านเข้าไปในห้องเพลาข้อเหว่ียงก่อนเข้าไปในยังห้องเผาไหม้ ด้วยเหตุน้ีส่วนผสม น้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศจึงต้องทำหน้าท่ีหล่อลื่นช้ินส่วนที่หมุนกับช้ินส่วนท่ีเคล่ือนเสียดสีกันไปมา โดยใช้ น้ำมันหล่อลื่นเคร่ืองยนต์ในปริมาณเล็กน้อยผสมกับน้ำมันเช้ือเพลิง ครั้นเมื่อส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับ อากาศและน้ำมันหล่อลื่นไหลเข้าในห้องเพลาข้อเหวยี่ งก็จะทำหน้าที่เคลือบ ให้การหล่อลื่นช้ินส่วนเคล่ือนที่ ท่ี เสียดสกี นั ได้ 4. กำลงั เคร่ืองยนต(์ Power Output) ดูเหมือนว่าเคร่ืองยนต์สองจังหวะ จะใหก้ ำลังมากเปน็ สองเท่าของ เคร่ืองยนต์สี่จังหวะ เพราะว่ามีจังหวะระเบดิ ซ่ึงเป็นจังหวะที่ให้กำลังมากกว่ากันถึงสองเท่า แตอ่ ย่างไรก็ตามใน ความเป็นจริงแล้ว ส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศที่ไหลเข้ากระบอกสูบน้ันยังถูกใช้ให้ทำหน้าที่ขับไอ เสียท่ีเกิดจากการเผาไหม้ในจังหวะระเบิดครั้งก่อนหน้าน้ี ให้ออกจากกระบอกสูบดว้ ย จึงมีไอดีส่วนหนึ่งปะปน กบั ไอเสียออกจากเครื่องยนต์ไป ทำให้เคร่ืองยนตไ์ ม่ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมันเชอ้ื เพลิงสูงสุด ประกอบกับที่ชอ่ ง ไอดีกับช่องไอเสียเปิดอยู่ด้วยกันท้ังสองช่องทำให้มีการสูญเสียส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศอีกส่วน หน่ึง อีกประการหนึ่งช่องทางเข้ายังห้องเพลาข้อเหวี่ยงของไอดีก็ถูกเปิดด้วยช่วงเวลาอันส้ันก็เป็นการลด ประสทิ ธิภาพเชิงปรมิ าตรที่ควรจะไดจ้ ากจังหวะระเบดิ ลงอีกด้วยเหมือนกนั 5. ข้อดีและการใช้งาน เคร่ืองยนต์สองจังหวะมีใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เน่ืองจากมีน้ำหนักเบาและ สามารถเดินเครื่องไดด้ ้วยความเรว็ สูงเน่ืองจากไม่ตอ้ งใช้กลไกยกลน้ิ 13. การเปรียบเทียบเคร่อื งยนตด์ ีเซลกับเคร่ืองยนตแ์ ก๊สโซลีน 1. กล่าวท่ัวไป เคร่ืองยนต์ดีเซลมีส่วนประกอบต่างคล้ายกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนส่ีจังหวะเครื่องยนต์ท้ัง สองแบบมีรอบการทำงานเหมือนกันคือ ดดู , อัด, ระเบิด และคาย มีกลไกยกล้ินไอดีและลิ้นไอเสียท่ีเหมือนกัน ภาพ 2-15 แสดงส่วนประกอบของเครอื่ งยนตด์ ีเซล ซง่ึ มีสว่ นทีแ่ ตกต่างกบั เคร่ืองยนตแ์ กส๊ โซลีน ดังนี้ 1.1 เคร่ืองยนต์ดีเซลจุดระเบิดส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศดว้ ยความร้อนท่ีเกิดข้ึนจากการ อัดอากาศในจังหวะอัด ขณะที่เครื่องยนต์แก๊สโซลีนจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้เคร่ืองยนต์แก๊ส โซลีนจึงถูกเรยี กอกี อย่างหนง่ึ ว่าเคร่ืองยนต์ท่ใี ชร้ ะบบจุดระเบดิ ด้วยประกายไฟ (Spark Ignition System) ส่วน เคร่ืองยนต์ดีเซลกถ็ กู เรยี กว่าเครือ่ งยนต์ทีใ่ ช้ระบบจุดระเบิดด้วยการอดั (Compression Ignition System)

ห น้ า | 30 ภาพ 2-15 เครื่องยนตด์ เี ซลส่ีจังหวะ 1.2 เครื่องยนต์ดีเซลอัดอากาศให้มีปริมาตรน้อยลงจนเหลือเพียง 1/20 จากปริมาตรเดิม ในขณะท่ี เครื่องยนต์แก๊สโซลีนอัดส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศให้เหลือ 1/8 ของปริมาตรเดิมเคร่ืองยนต์ดีเซล ต้องอัดอากาศมากเพ่ือให้เกิดความร้อนมากพอสำหรับจุดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ภาพ2-16 แสดงขอ้ แตกตา่ งของเครื่องยนตท์ ้งั สองแบบนี้ 1.3 ในเคร่ืองยนต์แก๊สโซลีนน้ำมันเช้ือเพลิงผสมกับอากาศก่อนเข้าในห้องเผาไหม้ ส่วนเคร่ืองยนต์ ดีเซลดูดอากาศเข้ากระบอกสูบแต่เพียงอย่างเดียวก่อน และน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง ด้วยระบบฉดี น้ำมันเชอื้ เพลิง นำ้ มนั เชื้อเพลงิ จึงผสมกับอากาศในห้องเผาไหม้ ดงั แสดงในภาพ 2-17 ภาพ 2-16 แสดงการเปรยี บเทยี บจงั หวะอัดของเคร่ืองยนต์แกส๊ โซลนี กับเคร่อื งยนต์ดเี ซล

ห น้ า | 31 ภาพ 2-17 เปรยี บเทยี บจงั หวะดูดของเครื่องยนตแ์ ก๊สโซลนี กับเคร่อื งยนตด์ ีเซล 1.4 เครอื่ งยนต์ดีเซล มีการควบคุมความเร็วรอบเคร่ืองยนต์กับกำลังส่งออกของเคร่อื ง ยนต์ด้วยการ ควบคุมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงท่ีฉีดเข้าห้องเผาไหม้ ส่วนปริมาณของอากาศท่ีดูดเข้ากระ บอก สูบจะคงที่ ส่วนเคร่ืองยนต์แก๊สโซลีนมีการมีการควบคุมความเร็วรอบเคร่ืองยนต์กับกำลัง ส่งออก ของเครื่องยนต์ด้วยการจำกัดปริมาณของอากาศท่ีดูดเข้าในกระบอกสูบ ดังแสดงใน ภาพ 2-18 ภาพ 2-18 แสดงการเปรยี บเทียบการควบคมุ กำลงั ของเคร่ืองยนต์แกส๊ โซลีนกบั เครือ่ งยนตด์ เี ซล

ห น้ า | 32 ภาพ 2-19 เคร่ืองยนต์ดีเซลสจ่ี งั หวะ

ห น้ า | 33 2. การทำงาน 2.1 จังหวะดูด (ภาพ 2-19, A) ในตอนเริ่มต้นของจังหวะดูดลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายบนเมื่อ ลูกสูบเคลื่อนที่ลง ลิ้นไอดีเปิด การเคลื่อนที่ลงของลูกสูบทำให้อากาศถูกดูดเข้าในกระบอกสูบ เม่ือลูกสูบถึง ศนู ย์ตายล่าง ลิ้นไอดีปิด เปน็ การสิน้ สุดจงั หวะดูด 2.2 จังหวะอัด (ภาพ 2-19, B) ในตอนเร่ิมต้นของจังหวะอัดลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายล่าง ลูกสูบ เคล่ือนทีข่ ึ้นเป็นการอดั อากาศเมอื่ ลูกสบู เคล่อื นถึงศูนย์ตายบน เป็นการสิ้นสุดจังหวะอัด 2.3 จังหวะระเบิด (ภาพ 2-19, C) ในตอนเริ่มต้นของจังหวะระเบิดลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายบน อากาศถูกอัดอยู่ท่ีส่วนบนของกระบอกสูบ โดยในขณะน้ีจะมีแรงดันอากาศมากถึง 500 ปอนด์ต่อตารางน้ิว (3,448 kPa) การเพ่มิ แรงดันให้สูงขึ้นมากเช่นนี้ทำให้อณุ หภมู ิของอากาศท่ีถกู อดั ในกระบอกสูบข้นึ สูงถงึ 1,000 ๐F (558๐C) จังหวะระเบิดจะเรม่ิ ต้นด้วยการฉดี น้ำมันเชื้อเพลิงเข้าในกระบอกสูบ ความร้อนของอากาศท่ีถูกอดั ตัวจะจุดละอองน้ำมันเช้ือเพลิงให้ติดไฟในทันทีที่ถูกฉีดเข้าไป แก๊สร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ก็ขยายตัวดันให้ ลูกสูบเคลื่อนท่ีลง ส่งกำลังหมุนเพลาข้อเหว่ียง โดยกำลังขับลูกสูบของเครื่องยนต์ดีเซลจะเกิดอย่างต่อเน่ือง ตลอดช่วงชักของจังหวะระเบดิ ซง่ึ ตรงสว่ นน้ีจะแตกต่างกับเคร่ืองยนตแ์ ก๊สโซลีนที่ในจังหวะระเบดิ จะมีการ ลกุ ไหมข้ องสว่ นผสมของน้ำมนั เช้ือเพลิงกบั อากาศอย่างรวดเร็วในตอนตน้ ของชว่ งชกั และจะเผาไหม้น้อยหรอื ไม่ มีการเผาไหม้เลยในตอนท้ายของชว่ งชกั 2.4 จังหวะคาย (ภาพ 2-19, D) ในจังหวะระเบิด เม่ือลูก สูบถูกดันให้เคลื่อนลงถึงศูนย์ตายล่างก็ สิ้นสุดจังหวะระเบิด และเริ่มจังหวะคาย ล้ินไอเสียเปิดออกพร้อมกับลูกสูบเคลื่อนขึ้นขับไอเสียออกจาก กระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนถึงตำแหน่งศูนย์ตายบนล้ินไอเสียก็จะปิด และล้ินไอดีเปิดออก เคร่ืองยนต์ก็ พรอ้ มสำหรับทำงานในวงรอบต่อไป 3. ข้อดีของเครื่องยนต์ดีเซล 3.1 เครื่องยนต์ดีเซลให้ประสิทธิภาพมากกว่าเคร่ืองยนต์แก๊สโซลีน เน่ืองจากมีกำลังอัดมากกว่า สามารถให้กำลังได้มากด้วยความเร็วรอบเคร่ืองยนต์ต่ำ ให้อัตราส่วนของงานต่อปริมาณน้ำมันเช้ือเพลิงได้สูง กว่าเครอ่ื งยนต์แก๊สโซลีน เครอื่ งยนตด์ เี ซลจงึ เหมาะสำหรับรถยนตบ์ รรทุกขนาดใหญ่ 3.2 เครือ่ งยนต์ดีเซลไม่ตอ้ งรบั การปรบั แตง่ วงจรจุดระเบิดเพราะไมใ่ ช้วงจรจดุ ระเบิด 3.3 น้ำมันดีเซลไม่ไวไฟเหมือนกับน้ำมันแก๊สโซลีน จึงมักไม่เกิดการระเบิดของน้ำมันเชื้อเพลิงเม่ือ เกดิ อบุ ตั เิ หตุรถชนกนั 4. ขอ้ เสียของเครือ่ งยนต์ดีเซล 4.1 ตอ้ งทำเครอ่ื งยนต์ให้แขง็ แรงเพื่อใหส้ ามารถมีกำลังอดั ได้สงู จงึ มีน้ำหนกั มาก 4.2 เครือ่ งยนตด์ ีเซลมเี สียงดังมาก 4.3 การเผาไหม้ของนำ้ มนั ดเี ซลใหเ้ ขม่าหรอื ควันดำมากกว่า 4.4 เนื่องจากนำ้ มันดเี ซลไมไ่ วไฟจึงตดิ เคร่ืองในสภาพทม่ี อี ากาศหนาวจดั ไดย้ าก 4.5 เมอื่ เปรียบเทียบกับเครือ่ งยนตแ์ กส๊ โซลีน เครอื่ งยนต์ดเี ซลจะใช้งานไดด้ ีท่ยี า่ นรอบความเร็ว เครือ่ งยนตต์ ่ำ ซึ่งเป็นปัญหาในการใชเ้ ครื่องยนต์ดีเซลในรถยนตน์ งั่ ท่ตี อ้ งการใช้ยา่ นรอบความเรว็ ของ เคร่ืองยนต์ทัง้ สงู มากและต่ำมาก 5. การใชง้ าน เครอื่ งยนตด์ เี ซลถูกใช้กันอยา่ งกวา้ งขวางในรถบรรทกุ ขนาดหนัก, รถไฟ และ เรือยนต์ นอกจากนยี้ ังได้นำมาตดิ ต้ังในรถยนตน์ ง่ั กนั บ้างแล้ว 6. เครื่องยนต์ใชน้ ำ้ มันเช้ือเพลงิ ได้หลายชนิด (Multifuel Engine)(ภาพ 2-20) โดยพ้นื ฐาน แลว้ เคร่อื งยนต์ใชน้ ้ำมันเชอื้ เพลิงได้หลายชนดิ เป็นเคร่อื งยนต์ดเี ซลสจ่ี งั หวะ ทสี่ ามารถใชน้ ำ้ มันเชือ้ เพลงิ

ห น้ า | 34 หลายชนดิ โดยไมต่ ้องทำการจัดปรบั หรอื ดัดแปลงใด ๆ (บทที่ 5 ตอนท่ี 1) ท่ปี ๊มั ฉีดน้ำมันเชื้อเพลงิ ของ เครื่องยนตแ์ บบนีม้ ีอปุ กรณพ์ เิ ศษเรียกว่า เคร่อื งชดเชยปรมิ าณนำ้ มันเชือ้ เพลิง(Fuel Density Compensator) มีหนา้ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงปรมิ าณ น้ำมันเช้ือเพลิงท่ีฉีดเข้าห้องเผาไหม้เพ่ือทำให้กำลังออกของเคร่ืองยนต์คงที่อยู่เสมอไม่ว่าจะเติมด้วยน้ำมัน เช้ือเพลิงชนิดใด ระบบน้ำมันเช้ือเพลิงของเครื่องยนต์แบบนี้มีอธิบายอยู่ใน บทท่ี 5 ตอนท่ี 1 ห้องเผาไหม้ของ เคร่ืองยนต์ใชน้ ้ำมันเชือ้ เพลิงได้หลายชนิดจะทำเป็นเบา้ กลม เพอื่ ช่วยให้น้ำมนั เชื้อเพลิงสามารถเผาไหมไ้ ด้อย่าง สมบรู ณ์ และลดอาการเสยี งเคาะ เรอ่ื งหอ้ งเผาไหม้รปู ไขม่ อี ธิบายอย่ใู นบทที่ 5 ตอนท่ี 1 ภาพ 2-20 เครอ่ื งยนตใ์ ชน้ ำ้ มนั เชือ้ เพลิงได้หลายชนดิ (Multi Fuel Engine) 14. เคร่ืองยนตด์ ีเซลสองจังหวะ (Two Stroke Cycle Diesel) (ภาพ 2-21) 1. กล่าวท่ัวไป เคร่ืองยนตด์ ีเซลสองจังหวะ เป็นเครือ่ งยนตล์ ูกผสมที่สร้างข้ึนโดยอาศัยหลักการทำงานทั้ง ของเครอ่ื งยนตแ์ ก๊สโซลีนแบบสองจงั หวะกับเครื่องยนต์ดเี ซลสจ่ี ังหวะ 1.1 เครื่องยนต์แบบน้ีมีรอบการทำงานทุก ๆ สองช่วงชักหรือทุกรอบการหมุนของเพลาข้อเหว่ียง เหมือนเครอื่ งยนต์แก๊สโซลีนแบบสองจงั หวะ จงึ ให้กำลงั ทุกครง้ั ท่ีลูกสูบเคล่ือนลง 1.2 เปน็ เคร่อื งทีจ่ ุดระเบิดด้วยแรงอัดอยา่ งเดียวกนั กับเคร่ืองยนตด์ ีเซลสีจ่ งั หวะ 1.3 มีลิ้นไอเสียติดตั้งอยู่ส่วนบนของห้องเผาไหม้เหมือนกับเคร่ืองยนต์ดีเซลส่ีจังหวะ ส่วนช่องไอดีเข้า อยู่ตรงผนังกระบอกสบู 1.4 น้ำมันเช้ือเพลิงถูกฉีดเข้าผสมกับอากาศท่ีห้องเผาไหม้เหมือนเครื่องยนต์ดีเซลส่ีจังหวะโดยอากาศ เข้าทางช่องไอดี และนำ้ มันเชือ้ เพลงิ ถูกฉดี เขา้ ห้องเผาไหม้ ด้วยปัม๊ ฉดี น้ำมนั เช้อื เพลงิ 1.5 อากาศไหลเข้ากระบอกสูบด้วยปริมาตรคงที่ มีการควบคุมกำลังส่งออกและความเร็วรอบ เครอื่ งยนต์ ด้วยปริมาณนำ้ มันเชื้อเพลิงท่ฉี ีดเขา้ หอ้ งเผาไหม้

ห น้ า | 35 ภาพ 2-21 เคร่อื งยนตด์ เี ซลสองจังหวะ 1.6 เครอื่ งยนต์ดีเซลสองจังหวะตอ้ งมีเครอ่ื งเพมิ่ ไอดี (Supercharger) ทำหน้าท่ีอดั อากาศเข้ากระบอก สบู เรือ่ งเครอ่ื งเพิม่ ไอดีมีอธบิ ายอยู่ในบทท่ี 4 ตอนท่ี 6 2. ลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์ (ภาพ 2-22) 2.1 การไล่ไอเสียออก (Scavenging) เร่ิมต้นเมื่อลูกสูบอยู่ในตำแหน่งศูนย์ตายล่าง ช่องไอดีท่ีผนัง กระบอกสูบเปดิ อยู่และลิ้นไอเสียเปิด อากาศถูกอดั เข้าและไหลข้ึนสู่ส่วนบนของกระบอกสูบด้วยเคร่อื งเพิ่มไอดี ไอเสียท่ีเกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมนั เชอื้ เพลงิ กับอากาศในวงรอบการทำงานก่อนหนา้ ถูกขบั ออกไปทางช่องไอ เสีย 2.2 จังหวะอัด ขณะที่ลูกสูบเคล่ือนข้ึนสู่ศูนย์ตายบนจะปิดช่องไอดี พร้อมกับลิ้นไอเสียปิด ทำให้ กระบอกสูบส่วนบนถูกปิดสนิท เมื่อลูกสูบเคล่ือนท่ีขึ้นสู่ด้านบนอากาศในกระบอกสูบก็ถูกอัดตัวให้มีปริมาตร เลก็ ลงพร้อมกับเกิดความร้อน และอุณหภูมิข้นึ สงู มาก เชน่ เดยี วกับที่เกิดในเครือ่ งยนต์ดีเซลส่ีจงั หวะ 2.3 จังหวะระเบิด เม่ือลูกสูบเคลื่อนถึงศูนย์ตายบน จังหวะอัดส้ินสุดลง น้ำมันเชื้อเพลิงถูกฉีดเข้าห้อง เผาไหม้ ความรอ้ นจากการอัดอากาศจุดนำ้ มนั เช้ือเพลิงให้เกดิ การลุกไหมข้ ึ้นเปลย่ี นสภาพเป็นแก๊สร้อนมแี รงดัน สูงดันลูกสูบให้เคล่ือนลงพร้อมกับส่งแรงหมุนเพลาข้อเหว่ียง จังหวะระเบิดสิ้นสุดลงเมื่อลูกสูบเคล่ือนลงถึง ตำแหน่งท่ีเปิดช่องไอดีเขา้ ซงึ่ พรอ้ มกนั นัน้ ล้ินไอเสยี กจ็ ะเปิดออกและเรมิ่ การไล่ไอเสยี ออกอกี ครั้ง

ห น้ า | 36 ภาพ 2-22 เคร่ืองยนตด์ ีเซลสองจังหวะ 3. ข้อดีของเครื่องยนต์ดีเซลสองจังหวะมีเหมือนกับเครื่องยนต์ดีเซลส่ีจังหวะเม่ือเปรียบเทียบกับ เครอื่ งยนตแ์ ก๊สโซลีน รวมกบั ขอ้ ดเี พมิ่ อีกดงั นี้ 3.1 เคร่ืองยนต์เดินเรียบกว่าเครื่องยนต์ดีเซลสี่จังหวะ ท่ีเป็นเช่นน้ีเป็นเพราะมีจังหวะระเบิดที่ให้กำลัง ทกุ รอบการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 3.2 เคร่ืองยนตด์ เี ซลสองจังหวะ มีกลไกยกล้นิ ไม่สลบั ซับซ้อนเพราะไมม่ ีล้นิ ไอดี 4. ข้อเสยี ของเคร่อื งยนตด์ ีเซลสองจงั หวะ

ห น้ า | 37 4.1 เคร่ืองยนต์ดีเซลสองจังหวะ ตอ้ งใช้เครื่องเพิ่มไอดชี ่วยอัดอากาศเข้ากระบอกสูบเพ่ือขับไอเสียออก เพราะวา่ ลักษณะการเคลื่อนของลูกสบู ไม่สามารถขับไอเสียออกจากกระบอกสูบได้ การขับเคล่ือนเคร่ืองเพม่ิ ไอ ดีตอ้ งใชก้ ำลงั สว่ นหน่ึงจากเครอ่ื งยนต์ 4.2 เคร่ืองยนต์ดีเซลสองจังหวะ อาจต้องใช้ล้ินไอเสียสองหรือสามอันต่อกระบอกสูบ ทำให้ต้องเพ่ิม กลไกยกล้ิน 4.3 ในลักษณะเดียวกันกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนสองจังหวะ คือเคร่ืองยนต์ดีเซลสองจังหวะจะไม่ได้ให้ กำลงั ออกเปน็ สองเท่าของเครอ่ื งยนตด์ ีเซลส่ีจงั หวะ แมว้ า่ จะมีจงั หวะระเบดิ มากว่าเปน็ สองเท่า เมอื่ ดูในภาพ 2- 23 จะเห็นได้ว่าจังหวะระเบิดเกิดขึ้นเพียงส่วนหนึ่งของช่วงท่ีลูกสูบเคล่ือนลงส่วนในเคร่ืองยนต์สี่จังหวะจังหวะ ระเบิดมีช่วงยาวเต็มทจี่ ากศนู ยต์ ายบนถึงศนู ย์ตายลา่ ง ภาพ 2-23 การเปรยี บเทยี บช่วงชักของจังหวะระเบิด ของเครอื่ งยนตด์ เี ซลสองจังหวะกับส่จี ังหวะ 2-15. เครือ่ งยนต์หลายสบู เปรียบเทียบกับเครือ่ งยนต์สบู เดียว 1. กล่าวท่ัวไป วธิ ีวดั การหมุนของเพลาข้อเหวยี่ งทำได้ด้วยการแบ่งหน่ึงรอบการหมุนออกเป็น 360 องศา จุดเริ่มต้นมาตรฐานที่ตำแหน่งลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน ภาพ 2-24 แสดงวิธีวดั โดยแสดงให้เห็นว่าแตล่ ะช่วงชัก ของของลูกสูบหรือหนึ่งจังหวะเพลาข้อเหว่ียงหมุนได้ 180 องศา หรืออาจกล่าวได้ว่าทุกรอบการทำงานของ เคร่ืองยนต์สจ่ี ังหวะน้ันเพลาขอ้ เหวยี่ งหมนุ สองรอบหรอื 720 องศา 2. การเหลื่อมซ้อนกันของจังหวะระเบิด เคร่ืองยนต์ส่ีจังหวะ สูบเดียว มีจังหวะระเบิดเพียงจังหวะเดียวที่ให้ กำลังขับเพลาข้อเหว่ียง หมายความว่าในจำนวน 720 องศา ของหนึ่งรอบการทำงานของเคร่ืองยนต์ มีเพียง 180 องศาท่ีเพลาข้อเหว่ียงได้รับกำลังขับให้หมุน และในความเป็นจริงแล้วจังหวะระเบิดที่ให้กำลังหมุนเพลา ขอ้ เหวีย่ งมีสั้นกวา่ น้ี ท้ังน้วี ศิ วกรผู้ออกแบบเคร่ืองยนต์ได้พบว่าเครื่องยนต์จะทำงานได้ดีกว่าหากทำให้ล้ินไอเสีย เปดิ ตรงช่วง 4/5 ช่วงชักของจังหวะระเบดิ ทำให้การไดร้ ับกำลังขับจากจังหวะระเบิดลดลงเหลือประมาณ 145 องศา (ข้อ 2-7) โดยแรงที่ใช้ในการทำงานของเคร่ืองยนต์ต้องอาศัยแรงเฉ่ือยจากการหมุนของล้อตุนกำลัง ตลอดรอบการทำงานที่เหลอื

ห น้ า | 38 มากถึง 575 องศา การทำให้เคร่ืองยนต์มีหลายสูบก็จะช่วยให้มีการทำงานได้เรียบข้ึนมากขึ้นอาจกล่าวได้ว่า เคร่ืองยนต์หลายสูบเป็นเคร่ืองยนต์สูบเดียวหลายเครื่องประกอบอยู่ด้วยกัน เครื่องยนต์ที่ใช้กับรถยนต์ทั่วไป เป็นเคร่ืองยนต์สี่, หก หรือ แปดสูบ และหากทำเคร่ืองยนต์ให้มีมากกว่าหนึ่งสูบ สิ่งสำคัญต้องจัดให้จังหวะ ระเบดิ อยู่ในตำแหน่งท่หี า่ งเทา่ กันในรอบการหมนุ ของเพลาข้อเหวี่ยง ภภาาพพ22-2-424วธิ วี ดวั รธิ อวี บดั กราอรบหกมนุารขหองมเนุพลขาอขงอ้ เเพหลวาย่ี ขง อ้ เหวย่ี ง ภาพ 2-25 ลกั ษณะการจัดตำแหน่งลูกสบู ของเคร่อื งยนตห์ ลายสูบ ภาพ 2-26 แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นสัดส่วนของการได้รับแรงหมุนจากจังหวะระเบิดในหน่ึงรอบการ ทำงานเครื่องยนต์สูบเดียวและในภาพ 2-26 อีกเช่นเดียวกัน ที่แสดงการเปรียบเทียบให้เห็นสัดส่วนของการ ได้รับแรงหมุนในจังหวะระเบิดที่เท่ากันในเคร่ืองยนต์สี่สูบซ่ึงจะเห็นได้ว่าช่วงที่ต้องอาศัยแรงหมุนจากล้อตุน กำลังเหลือน้อยลง ในการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 720 องศา มีจังหวะระเบิดท่ีให้กำลัง 4 ครั้ง โดยสามารถทำ ให้เกดิ จังหวะระเบดิ ได้ท่ี จุดเร่ิมตน้ ของทุก ๆ 180 องศาโดยจะเหลือช่วงวา่ งช่วงละ 35 องศาอยู่เท่า ๆ กัน 4 ช่วง ท่ตี ้องอาศยั

ห น้ า | 39 แรงจากลอ้ ตนุ กำลังหมุนเพลาขอ้ เหวี่ยง ถ้าเครื่องยนตม์ ีมากกว่า 4 สบู ช่วงจังหวะระเบิดจะเหลื่อมซ้อนกัน ซึ่ง หมายความว่าก่อนสิ้นสุดจังหวะระเบิดจังหวะใดจังหวะหนึ่ง จะมีจังหวะระเบิดอีกจังหวะหนึ่งเร่ิมเกิดขึ้นดัง แสดงในภาพ 2-25, ในเคร่ืองยนต์หกสูบ มีจังหวะระเบิดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างลูกสูบกัน 25 องศา ในขณะ ที่เครื่องยนต์แปดสูบมีมากถึง 55 องศา ซ่ึงจาก ภาพ 2-26 แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่ายิ่งเครื่องยนต์มีจำนวน ลกู สูบมากเทา่ ใดเครอ่ื งยนต์กจ็ ะสง่ กำลังออกไดเ้ รียบมากขนึ้ ภาพ 2-26 หว้ งท่ีได้กำลงั จากเคร่อื งยนต์ หนง่ึ , สี่, หก และแปดสูบ 3. การเพิ่มกำลังเครื่องยนต์ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าวิธที ี่ดีที่สุดในการเพิ่มกำลังส่งออกของเครื่องยนต์ก็คือ การทำเคร่ืองยนต์ให้มีลูกสูบขนาดเล็กจำนวนหลาย ๆ กระบอกสูบ เครื่องยนต์หลายสูบไม่เพียงแต่จะเดินได้ เรียบเท่านั้นแต่ยังใช้งานได้ดีอีกด้วย ท่ีเป็นเช่นน้ีเพราะว่าลูกสูบขนาดเล็กแต่ละอันท่ีมีน้ำหนักเบากว่าลูกสูบ ขนาดใหญ่ จากลักษณะการทำงานของลูกสูบท่ีต้องวง่ิ ไปมาตลอดเวลา หากลูกสูบมีน้ำหนักมากเกินไปก็จะทำ ให้รองเพลา(Bearing) เกิดการสึกหรอมากไปด้วย และจากลักษณะการทำงานที่เดินได้ไม่เรียบของเคร่ืองยนต์ สูบเดยี ว จะทำใหล้ ดอายุการใช้งานของเครือ่ งยนต์ และอปุ กรณท์ ใ่ี ช้กำลงั ขบั จากเครือ่ งยนตน์ ดี้ ว้ ย 1. กล่าวทั่วไป เคร่ืองยนต์โรตาร่ีเป็นเคร่ืองยนต์แก๊สโซลีนได้มีการผลิตข้ึนใช้กับรถยนต์ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1960 เป็นเครื่องยนต์ท่ีมีวงรอบการทำงานเหมือนกับเครื่องยนต์ลูกสูบ คือมีจังหวะดูด, อัด, ระเบิด และ คาย เหมือนกัน แต่แทนท่ีจะมีลูกสูบว่ิงไปมาหมุนเพลาข้อเหวยี่ งก็ใช้โรเตอร์รูปสามเหลี่ยมหมุนอยู่ในตัวเรือนที่ ทำให้มีรูปร่างพิเศษ ภาพ 2-27 แสดงลักษณะเครื่องยนต์โรตารี่แบบพ้ืนฐาน ขณะที่โรเตอร์หมุนรอบๆ ในตัว

ห น้ า | 40 เรือน โรเตอร์จะส่งแรงหมุนเพลาเย้ืองศูนย์ด้วยเฟืองฟันใน ตัวเรือนมีช่องไอดีเข้ากับช่องไอเสียออกอยู่ตรง ตำแหน่งท่ีเหมาะสม ชอ่ งไอเสยี 2-16. เคร่อื งยนต์ลกู สบู เปรยี บเทียบกบั เครื่องยนตโ์ รตาร่ี (Piston Engine Versus Rotary Engine) ภาพ 2-27 เคร่อื งยนต์โรตารี่ 2. ลักษณะการทำงาน (ภาพ 2-28) 2.1 จังหวะดูด ให้ดูหน้าโรเตอร์(1) โดยให้สังเกตว่าเม่ือหน้าโรเตอร์หมุนผ่านช่องไอดีไปแล้วช่องว่าง ระหวา่ งโรเตอร์กบั ตัวเรือนจะเพิ่มขนึ้ ทำใหส้ ว่ นผสมของนำ้ มนั เช้อื เพลงิ กับอากาศถกู ดูดเข้าทางช่องไอดี 2.2 จังหวะอัด ในขณะท่ีหน้าโรเตอร์(1) หมุนต่อไปในตัวเรือนจะออกห่างจากช่องไอดีเข้าช่องว่าง ระหวา่ งหน้าโรเตอรก์ ับผนังตวั เรือนแคบลงเป็นการอดั สว่ นผสมของน้ำมันเชอื้ เพลิงกบั อากาศ 2.3 จังหวะระเบิด เมื่อหน้าโรเตอร์ (1) หมุนถึงจุดท่ีส่วนผสมของน้ำมันเช้ือเพลิงกับอากาศถูกอัดมาก ท่ีสุดหัวเทียนจะถูกทำให้เกดิ ประกายไฟจุดส่วนผสมของน้ำมันเชอื้ เพลิงกับอากาศเกิดการเผาไหม้เปลี่ยนสภาพ เปน็ แก๊สรอ้ นมีแรงดนั หน้าโรเตอร์ใหห้ มุนไปขา้ งหน้า 2.4 จังหวะคาย เม่ือหน้าโรเตอร์ (1) หมุนต่อไปก็ถึงช่องไอเสียออก ที่จุดน้ีช่องว่างจะแคบลงอีก เมื่อ ชอ่ งวา่ งแคบลงไอเสียกถ็ กู ขบั ออกทางชอ่ งไอเสีย โดยเป็นวงรอบทำงานอย่างต่อเนอื่ ง 2.5 โรเตอร์มีหน้าสามด้าน ให้สังเกตหน้าท้ังสามของโรเตอร์ (1, 2 และ 3) ดงั แสดงใน ภาพ 2-28 แต่ ละหน้าหมุนโดยรอบอยู่ในตวั เรือน โดยโรเตอร์มีเฟืองฟันในขับเฟอื งฟันนอกของเพลาเย้ืองศูนย์ในอัตราส่วนให้ โรเตอร์หมุนหนึ่งรอบต่อเพลาเยื้องศูนย์หมุนสามรอบ ดังน้ันทุกรอบการหมุนของเพลาเย้ืองศูนย์จะได้กำลัง จากจงั หวะระเบดิ หนงึ่ คร้ัง ดงั แสดงในภาพ 2-29 3. ขอ้ ดี ถ้าเพลาเย้อื งศูนย์ไดร้ ับกำลังขับเคลื่อนหน่งึ คร้ังในแต่ละรอบ ลกั ษณะการรบั กำลงั ของเครื่องยนต์โร ตาร่ีก็จะเทียบเท่ากับเครื่องยนต์สี่จังหวะสองสูบ เคร่ืองยนต์โรตารี่สามารถทำให้มีขนาดเล็ก และเนื่องจากไม่ ต้องมีกลไกเคล่ือนที่ไปมากับไม่ต้องมีกลไกยกล้ินทำให้สามารถเดินเคร่ืองยนต์ที่รอบความเร็วสูงได้อย่าง ปลอดภัย ช่วยให้มีความคล่องตัวในการใช้งาน การที่ไม่ต้องมีกลไกเหล่าน้ียังช่วยทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ เรยี บกว่าเคร่อื งยนต์แบบลกู สบู

ห น้ า | 41 3 ภาพ 28 วงรอบการทำงานของเครอื่ งยนต์โรตารี่

ห น้ า | 42 ภาพ 2-29 ความสัมพันธข์ องความเร็วโรเตอรก์ บั เพลาเยอ้ื งศูนย์ 4. ข้อเสีย จากลักษณะของเครื่องยนต์โรตารี่น้ันห้องเผาไหม้จะมีพ้ืนท่ีกว้างมากและต้องสัมผัสกับไอดี เมื่อ โลหะส่วนน้ีเปยี กส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศในจังหวะดูดจากน้ันส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ก็ ถูกจุดให้เกิดการเผาไหม้ในตอนต้นของจังหวะระเบิดทำให้เกิดคราบเขม่าเกาะตดิ อยู่มาก และเน่ืองจากส่วนกัน รั่ว (Seal) ตรงมุมสามเหลี่ยมของโรเตอร์ต้องหมุนเสียดสีกับผนังตัวเรือนด้วยความเร็วสูงทำให้เกิดการสึกหรอ อย่างรวดเร็ว นอกจากน้ีเครื่องยนต์โรตารี่ยังมีความยุ่งยากในการสร้างน่ืองจากต้องมีส่วนโค้งส่วนเว้าที่ใช้ เครื่องจักรแต่งขึ้นรูปไดย้ าก อีกทั้งยากในการดัดแปลงเพื่อพัฒนาเคร่ืองยนต์แบบน้ี เคร่ืองยนต์โรตาร่ีจึงไม่ค่อย จะนยิ มใช้กบั รถยนต์ และไมค่ อ่ ยจะมีการวิจยั และพฒั นาให้เกดิ ประโยชนเ์ ตม็ ท่ีแตอ่ ยา่ งใด 5. การใช้งาน ได้มีการติดตั้งเคร่ืองยนต์โรตารีกับรถยนต์น่ังและอุปกรณ์ขนาดเล็กเช่นเล่ือนหิมะ (Snowmobile) ปกตเิ คร่อื งยนต์โรตารี่จะทำเปน็ แบบมโี รเตอรส์ องอนั ดังแสดงในภาพ 2-30 เคร่ืองยนต์โรตารแี่ บบมโี รเตอรส์ องอันน้ีจะได้กำลังเทยี บเท่าเครือ่ งยนต์ส่ีจงั หวะสสี่ ูบ ภาพ 2-30 เครอื่ งยนต์โรตาร่ีสองโรเตอร์ ------------------------------

ห น้ า | 43 แผนกวชิ ายานยนต์ กองการศกึ ษา โรงเรยี นทหารมา้ ศูนยก์ ารทหารมา้ คา่ ยอดศิ ร สระบรุ ี ---------- เอกสารนำ วชิ า ระบบมลู ฐานของเครอ่ื งยนต์ (องค์ประกอบเครื่องยนต์) 1. ข้อแนะนำในการศกึ ษา วชิ านท้ี ำการสอนแบบ สช.,สด.และ ป. ทัง้ นเ้ี พ่ือความมงุ่ หมายทจ่ี ะใหน้ กั เรียนได้มีความคนุ้ เคยกับ ชนิ้ สว่ นสำคญั ต่างๆ ของเครื่องยนตเ์ สยี กอ่ นที่จะใหน้ ักเรยี นจะได้ศึกษา ถงึ หลักการทำงานของระบบตา่ งๆ ของเคร่อื งยนต์ เพื่อเป็นผลใหน้ ักเรยี นได้มีความเข้าใจไดด้ แี ละ เรว็ ข้ึน ในเมื่อนักเรียนได้ศกึ ษาทางทฤษฏีในขน้ั ต้นต่อไป 2. หัวข้อสำคญั ในการศกึ ษา ช้ินส่วนสำคญั ของระบบมูลฐานเครอ่ื งยนต์ ก. เรอื นสบู และหกระบอกสูบห้องเพลาข้อเหวย่ี ง อา่ งน้ำมันเคร่ืองของเพลาขอ้ เหวี่ยง ข. ฝาเรอื นสบู และปะเก็นฝาสูบ ค. เพลาข้อเหวยี่ ง รองเพลาขอ้ เหวยี่ ง ง. ก้านสบู รองเพลาก้านสบู สลักลกู สบู ลกู สูบ แหวนลกู สบู จ. เพลาลกู เบี้ยว ลนิ้ เบารองลน้ิ ปลอก และกา้ นลิ้น เครื่องกลไกของล้นิ การจกั วางลนิ้ 3. งานมอบ ใหน้ ักเรียนอา่ นเอกสารเพ่มิ เติมกอ่ นเข้าหอ้ งเรยี น 4. คำแนะนำพิเศษ นกั เรยี นควรจะหาโอกาสทำความคุ้นเคยกบั เคร่อื งยนต์มากอ่ น เพ่ือทจ่ี ะให้นักเรยี นได้มีความ เขา้ ใจในคำอธบิ ายของครูได้รวดเร็ว และแจม่ ชดั ขึ้น 5. เอกสารจา่ ยพร้อมเอกสารนำ เอกสารเพม่ิ เตมิ ****************

ห น้ า | 44 แผนกวิชายานยนต์ กองการศกึ ษา โรงเรียนทหารมา้ ศนู ยก์ ารทหารมา้ ค่ายอดศิ ร สระบรุ ี ---------- เอกสารเพ่มิ เตมิ วิชา ระบบมลู ฐานของเครอื่ งยนต์ 1. กลา่ วนำ การทำงานของเคร่ืองยนต์ทุกชนิดที่จะให้สำเร็จสมความมุ่งหมายน้ัน จะต้องประกอบด้วยการทำงานของ ระบบต่างๆ เข้ามาช่วยอีกหลายระบบจึงจะทำให้การทำงานของเคร่ืองยนต์เป็นไปได้โดยสมบูรณ์ แต่ระบบ ต่างๆ นั้น จะยงั ไมข่ อกล่าวถึง จะขอพูดเฉพาะระบบมลู ฐานของเครือ่ งยนตเ์ ท่านนั้ 2. กลา่ วโดยท่วั ไป โดยทั่วๆ ไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนตส์ ันดาปภายในและเคร่ืองยนต์สันดาปภายนอก มักจะต้องมีระบบมูล ฐานของเคร่ืองยนต์เป็นระบบหลักด้วยกันทั้งนั้น ส่วนรูปร่างลักษณะชิ้นส่วนของระบบมูลฐานของเครื่องยนต์ ย่อมผดิ รูปรา่ งแตกต่างกนั ทง้ั นย้ี อ่ มขึ้นอยูก่ ับชนิดและการแผนแบบการสร้างเคร่ืองยนต์ 3. อธบิ าย ระบบมูลฐานของเคร่ืองยนต์สันดาปภายในมีชื่อช้ินส่วน ลักษณะ และการสร้าง, หน้าที่ และการทำงาน ดังต่อไปน้ี 3.1 เรอื นสบู (CYLINDER BLOCK) เรือนสูบ เป็นช้ินส่วนหลักของเครื่องยนต์ เป็นชิ้นส่วนที่ติดตง้ั อยู่กับบนแคร่ของรถอย่างมั่นคง โดยหน้าที่ ถือว่าเป็นโครงสร้างหลัก สำหรับติดตั้งช้ินส่วนของระบบมูลฐานเครื่องยนต์ และยังเป็นที่ติดต้ังช้ินส่วน ประกอบของระบบตา่ งๆ ท่ีช่วยให้เคร่อื งยนต์ทำงานได้สมบรู ณอ์ ีกดว้ ย เชน่ ติดตง้ั - ช้นิ ส่วนประกอบของระบบหลอ่ ลนื่ - ชน้ิ ส่วนประกอบของระบบระบายความร้อน - ชน้ิ สว่ นประกอบของระบบนำ้ มันเช้อื เพลิง - ชน้ิ ส่วนประกอบของระบบจุดระเบิด (และระบบสบู ฉดี เคร่ืองยนตด์ ีเซล) การสร้างเรือนสูงเคร่ืองยนต์สมัยก่อนสร้างขึ้นด้วยเหล็กท่อสีเทา แต่ไม่คงทนต่อการใช้งานสึกหรอ ผุ กร่อนง่าย ปัจจุบันเรือนสูบจะสร้างข้ึนด้วยโลหะผสมนิกเกิล-โครเมียม และโมลิบดีนัม เรือนสูบเคร่ืองยนต์มี อยู่ 2 แบบ คอื 1. แบบระบายความร้อนด้วยของเหลว (น้ำ) จะมีท่อทางเดินของน้ำให้ไหลหมุนเวียน เพ่ือช่วยให้การ ระบายความร้อน 2. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ภายนอกเรือนสูบจะทำเป็นครีบๆ เพื่อสำหรับเป็นช่องเก็บเอา อากาศมาระบายความร้อน แผนแบบของเรือนสูบย่อมขึ้นอยู่กับการวางกระบอกสูบ และแผนแบบของเรือน สบู ที่นยิ มใชก้ นั อยูใ่ นปจั จบุ นั คอื ก. เรือนกระบอกสูบเรียงแถว คือ มีการจัดวางกระบอกสูบทุกกระบอกสูบเรียงเป็นแถวเดียวกันอยู่ เหนอื หอ้ งเพลาขอ้ เหวีย่ ง ข. เรือนกระบอกสูบวางตัวเป็นรูปตัว วี (V-TYPE) คือ มีการจัดวางกระบอกสูบเป็นแนว 2 แถว อยู่ใน ลกั ษณะรูปตัว \"V\" และมีมมุ ระหว่างกระบอกสูบทงั้ สองแถวแตกต่างกนั เชน่ เคร่ืองยนต์ 6 สูบ จะทำมุม 90 องศา 12 สบู จะทำมมุ 75 องศา, 60 องศา, 45 องศา และ16 สบู จะทำมมุ 45 องศา หรือ 135 องศา เปน็ ตน้

ห น้ า | 45 ค. เรือนกระบอกสูบ วางตัวเป็นรูปวงกลม (RADIAL TYPE) กล่าวคือเรือนกระบอกสูบจะไม่เช่ือม ติดต่อกัน เป็นเรือนเด่ียวเหมือนกันท้ังสองแบบท่ีกล่าวมาแล้ว ตัวเรือนกระบอกสูบจะแยกเป็นอิสระแต่ละ กระบอกสูบ และวางตัวเป็นรูปวงกลม เรอื นกระบอกสูบภายนอกจะทำเป็นครีบ สำหรบั ใหอ้ ากาศเขา้ ไประบายความร้อน และนิยมใช้กบั เครอ่ื งบินใบพดั ง. เรือนกระบอกสูบนอนตรงกันข้าม (HORIZONTAL OPPOSED) ตัวเรือนสูบจะมีลักษณะเหมือน เรอื นสูบแบบวงกลม ผดิ กันท่กี ารจดั วางเรอื นสูบเรยี งเป็นแนวนอนเป็น 2 แถว อยตู่ รงกนั ข้าม เท่าน้นั จ. เรอื นกระบอกสูบนอนตรงกนั ขา้ ม โดยมีเพลาข้อเหวย่ี งตั้ง (HORIZONTAL OPPOSED WITH VERTICAL CRANK SHAFT) เคร่ืองยน ต์แบ บ น้ี มี ชิ้น ส่ วน ป ระกอบ เหมือนกับแบบท่ีกล่าวไว้ในข้อ ง. ผิดกันแต่ท่ีเพลาข้อเหว่ียง แทนที่จะวางตัวอยู่ในลักษณะตามแนวทางระดับ กลับวางตวั ในลกั ษณะค่อนขา้ งไปในทิศทางตัง้ ตรง 3.1.1 กระบอกสูบ (CYLINDER) กระบอกสูบท่ีใช้กับเคร่ืองยนต์สันดาปภายใน มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ ระบายความร้อนด้วยของเหลว และชนิดท่ีระบายความร้อนดว้ ยอากาศ ชนิดที่ระบายความร้อนด้วยของเหลว (น้ำ) จะมีปลอกเหล็กสวมหุ้มอยู่ภายนอกกระบอกสูบ และปลอกเหล็กนี้จะหล่อติดอยู่กับเรือนสูบแน่นสนิท เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวสัมผัสกับของเหลว (น้ำ) โดยตรง เพื่อรับความร้อนจากกระบอกสูบมาถ่ายเทให้กับน้ำ สว่ นชนดิ ท่รี ะบายความร้อนดว้ ยอากาศมกั ใช้นิยมให้ปลอกเหล็กสวมหุ้มกระบอกสูบ ทัง้ น้เี พ่อื ตอ้ งการให้อากาศ เข้าไประบายความร้อนในกระบอกสูบได้โดยตรง วัตถุที่นำมาจัดสร้างกระบอกสูบ คือ นิกเกิล,โครเมียม และ เหล็ก 3.1.2 ห้องเพลาข้อเหว่ยี ง (CRANKCASE) ห้องเพลาข้อเหวย่ี งของเคร่ืองยนต์สันดาปภายในที่มีกระบอก สูบเรียงแถวเด่ียว และเครอ่ื งยนต์แบบรูปตัว \"V\" ห้องเพลาข้อเหว่ียงจะหล่อติดเป็นสว่ นเดยี วกับเรือนกระบอก สูบ และมีหนา้ ท่ดี งั ตอ่ ไปน้ี - เป็นฐานรองรบั นำ้ หนัก (โดยมีหูแทน่ เครื่องยดึ ติดกับโครงรถ) - เปน็ เปลอื กหมุ้ เพลาข้อเหวย่ี ง - เป็นที่ติดต้ังช้ินส่วนของระบบหล่อลื่น (ปั๊มน้ำมันเครื่อง และตัวกรองน้ำมันเคร่ืองในอ่างเก็บ น้ำมนั เคร่อื ง) วตั ถุที่สร้างห้องเพลาข้อเหวี่ยงก็เหมือนกับเรือนกระบอกสูบสำหรับห้องเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ แบบวงกลม จะสร้างข้ึนจากโลหะผสมอะลูมิเนียม (ALUMINIUM) และสามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ 3 ส่วน คือ 1. สว่ นหน้า 2. ส่วนกลาง (ซ่ึงเป็นส่วนฐานสำคญั สำหรับตดิ ตั้งองคป์ ระกอบของกระบอกสูบ) 3. ส่วนหลัง (สำหรับเป็นท่ีติดตั้งเคร่ืองอุปกรณ์ของระบบต่างๆ เช่น แมกนีโต,คาร์บูเรเตอร์,สตารท์ เตอร,์ เยนเนอเรเตอร์ เปน็ ตน้ 3.1.3 อ่างน้ำมันเคร่ืองของห้องเพลาข้อเหว่ียง (OIL PAN) เครื่องยนต์โดยท่ัวๆ ไป ยกเว้นเคร่ืองยนต์ วงกลม ส่วนมากอ่างน้ำมันข้อเหวี่ยงจะทำด้วยเหล็กแผ่นที่มีความหนาพอสมควรปกติจะยึดตึดกับห้องเพลา ข้อเหวย่ี งด้วยสกรู น๊อต มหี น้าท่สี ำหรับเป็นภาชนะบรรจนุ ้ำมันเคร่ืองสำหรับไปหลอ่ ลื่นให้กับเครื่องยนต์ ท่ีก้นอ่างข้อเหว่ียงจะเจาะเป็นรูและมีน๊อตอุดปากไว้อย่างสนิท เพื่อเป็นจุดสำหรับถ่ายน้ำมันเคร่ืองท่ีสกปรก หรือหมดคณุ ภาพออกจากอ่างขอ้ เหวี่ยง 3.2 ฝาเรือนสบู (CYLINDER HEAD) 3.2.1 ฝาเรือนสูบ สร้างข้ึนด้วยโลหะผสมและมีเคร่ืองยนต์บางชนิดสร้างขึ้นด้วยโลหะผสมอะลูมิเนียม เพือ่ ให้มนี ้ำหนกั เบา ด้านในจะมรี อยเวน้ จดั เปน็ หอ้ งเผาไหม้เทา่ กับจำนวนกระบอกสบู

ห น้ า | 46 เคร่ืองยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยของเหลว ฝาเรือนสูบ มีท่อทางเดินของน้ำเจาะตรงกับท่อทางเดินของน้ำท่ี เรือนกระบอก เพื่อให้น้ำไหลผ่านหมุนเวียนได้ รอยเว้าของห้องเผาไหม้จะเจาะรูและทำเกลียวไว้เพ่ือใส่หัว เทียน (สำหรับเคร่ืองยนตท์ ่ีจุดระเบิดด้วยหัวเทียน) ฝาเรือนสูบยึดติดกับเรือนสูบด้วยน๊อต สำหรับเครื่องยนต์ท่ี ออกแบบการวางล้ิน เช่น ตัว \"I\" หรือ \"F\" จะมีท่ีติดต้ังเครื่องกลไกของลิ้นประกอบอยู่ด้วย ส่วนฝาสูบของ เครื่องยนต์ชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศภายนอกฝาเรือนสูบจะทำเป็นครีบๆ เพื่อผลในการระบายความ รอ้ น 3.2.1 ปะเก็นฝาสูบ (GASKET) ประเก็นฝาเรือนสูบจะทำด้วยโลหะผสม (METAL ASBESTOS) \"แอสเบสตอส\" นีเ้ ปน็ แร่ชนิดหนึง่ ท่ีมสี ีขาวเปน็ ใยแข็ง มีประสิทธิภาพในการทนตอ่ ความรอ้ นสงู และไมค่ ่อยไหม้ ไฟ ปะเก็นฝาสูบมีหน้าที่เป็นตัวเช่ือมรอยต่อระหว่างผิวหน้าของฝาเรือนสูบกับผิวหน้าของกระบอกสูบให้สนิท กัน เพ่ือรักษากำลังอัดและป้องกันมิให้ส่วนผสมไอดี หรือแก๊สร่ัวไหล ทั้งยังป้องกันน้ำรั่วไหลซึมเข้าไปภายใน กระบอกสบู อีกดว้ ย 3.3 เพลาข้อเหว่ียง (CRANK SHAFT) หน้าท่ีของเพลาข้อเหวี่ยงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของ เคร่ืองยนต์ก็ได้ เพราะข้อเหวย่ี งรับเอาปฏิกิริยาจากลูกสูบทั้งหมดไว้ แล้วมาเปลี่ยนแปลงการข้ึน-ลงของลูกสูบ และก้านสูบให้ เป็นการเคล่ือนไหวในทางหมุน และส่งแรงบิดน้ีไปยังล้อตุนกำลังและคลัตช์เพลาข้อเหว่ียงสร้าง ขึ้นด้วยโลหะผสมเหล็กกล้าและนิกเกลิ ข้อเหว่ยี งทุกข้อจะกลมและเจียรไนขัดผิวหน้าจนเรียบ เพลาขอ้ เหว่ียง ของเครื่องยนตท์ ุกชนิดมรี ูปรา่ งลกั ษณะคล้ายคลึงกัน ยกเวน้ ข้อเหวยี่ งของเครอื่ งยนตแ์ บบวงกลม เชน่ เพลาข้อ เหว่ียงเคร่ืองยนต์ 4 สูบ จะมีจุดรองรับอยู่ 3-5 จุดแต่ส่วนมากจะมี 3 จุด ข้อเหวี่ยงท้ัง 4 ข้อ จะอยู่ในแนว เดียวกัน ข้อเหวี่ยงสูบ 2 สูบ, 3 สูบ จะมีมุมแตกต่างกับข้อเหว่ียง 1 สูบและ 4 สูบ ไป 180 องศา สำหรับเพลา ข้อเหว่ียงของเครื่องยนต์ 8 สูบ \"V\" จะมีข้อเหวยี่ ง 2 ข้อ ในแถวหนึ่งอยู่ตรงกับข้อเหวย่ี งอีก 2 ข้อ ไป 90 องศา ส่วนเพลาข้อเหว่ยี งเคร่ืองยนต์สูบเรียงแถวเดียว (INLINE) มขี อ้ แตกต่างกบั เพลาข้อเหว่ียงของเครอ่ื งยนต์ 8 สูบ \"V\" เล็กน้อย คือส่วนปลายข้อเหว่ียงทั้งสองข้าง จะมีมุมแตกต่างกับข้อเหวย่ี งตอนกลางท้ัง 4 ข้อ ไป 90 องศา สำหรับเพลาข้อเหว่ียงเคร่ืองยนต์ 6 สูบ อาจมีจุดรองรับ 3 จุด , 4 จุด หรือ 7 จุด ก็ได้ ข้อเหว่ียงสำหรับสวม ก้านสูบน้ันสร้างไว้ให้เป็นมุมแตกต่างกัน อยู่ 3 ระดับ โดยกำหนดให้มุมแตกตา่ งกนั 120 องศา ดว้ ยวิธีจัดให้ข้อ เหวี่ยง 2 ข้อ อยู่ในระดับเดยี วกันเป็นคู่ๆ กันไป 3 คู่ คือ ข้อเพลาท่ี 1 และ 6 อยู่ในระดับ 1, ข้อเพลาที่ 2 และ 5 อยใู่ นระดับ 2, ขอ้ เพลาท่ี 3 และ 4 อยูใ่ นระดบั 3 เปน็ ต้น ความเค้นท่ีเกิดขึ้นกับเพลาข้อเหวี่ยง (CRANK SHAFT STRESS) ใดๆ ก็ตามจะต้องมีขีดจำกัดของ ความเรว็ อยจู่ ุดหนง่ึ เสมอ และถา้ ความเรว็ เกินกวา่ จดุ นน้ั แล้วจะทำใหเ้ พลาเร่ิมส่ันคลอน เราเรยี กวา่ ความเร็วนนั้ ว่า \"ความเร็ววิกฤต\" (CRITICAL SPEED) หรือความเร็วช่วงอันตราย ในกรณีท่ีเกิดการสั่นอย่างรุนแรงน้ีบ่อยๆ อาจทำให้เพลาข้อเหวี่ยงขาดได้ เพ่ือที่จะให้เคร่ืองยนตต์ ิดได้เรียบจำเป็นที่เพลาขอ้ เหวย่ี งตอ้ งมีการจัดทำให้อยู่ ในสภาพท่ีสมดลุ ในขณะที่วางนิ่งอยู่กับจุดรองรบั หรือขณะหมุนด้วยความเร็วสูง เพื่อเป็นการแก้อาการส่ัน และ ให้เกดิ การสมดุลนน้ั เขาจงึ ถว่ งน้ำหนกั ไวท้ เี่ พลาข้อเหว่ียง น้ำหนักที่ใช้ถ่วงอาจจะหล่อติดกับตัวเพลา หรือจะเป็นชนิดยึดติดด้วยสกูรน๊อตย้ำก็ได้ ทั้งนี้ย่อมข้ึนอยู่กับการ ออกแผนแบบ 3.3.1 รองเพลาขอ้ เหวย่ี ง (รองเพลาหลัก MAIN BEARING) รองเพลาข้อเหวี่ยงนี้ จะหล่อหลอมด้วยโลหะเป็นกรอบวงกลมผา่ ซีก มีความหนาพอเหมาะกับขนาด ชนิดของข้อเหวี่ยง ซีกหน่ึงจะอัดตัวอยู่กับจุดรองรับเพลาข้อเหวี่ยงทุกจุด และอีกซีกหนึ่งจะอัดตัวอยู่กับรอง เพลาขอ้ เหว่ียง รองเพลาข้อเหวี่ยงทั้ง 2 ซีก จะมีขอบกันรุน เพ่อื ปอ้ งกนั มิให้รองเพลาข้อเหวย่ี งหมุนตามขณะที่ เพลาขอ้ เหวี่ยงหมุน ตรงกลางของรองเพลาท้ังสองซกี จะเจาะรูไวส้ ำหรับใหน้ ้ำมนั เครอ่ื งในระบบหล่อล่ืนไหลเข้า ไปช่วยในการหล่อลื่น และป้องกันการเสียดสี ระหว่างเพลาและรองเพลาท้งั 2 ตามธรรมดา รองเพลาข้อเหว่ียง

ห น้ า | 47 จะเป็นแบบสำเร็จคือ เมื่อนำมาใช้งานไม่ต้องมีการตกแต่งกันมาก และเมื่อชำรุด หรือสึกหรอ สามารถถอด ออกเปล่ยี นได้โดยง่าย 3.3.2 ลอ้ ตุนกำลัง (ล้อช่วยแรง FLY WHEEL) หน้าที่ของล้อตุนกำลังคือ สะสมกำลังงานที่ได้จากการทำงานของเครื่องยนตใ์ นจังหวะกำลัง ชว่ ยให้ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนให้ลูกสูบทำงานในจังหวะดูด,อัด และจังหวะคาย ขนาดของล้อตุนกำลังขึ้นอยู่กับจำนวน ของกระบอกสูบ ขอบของลอ้ ตุนกำลังมีกรอบวงแหวนอดั ติดแน่นอยกู่ ับขอบล้อตุนกำลัง เฟอื งตัวนใ้ี ชส้ ำหรับกิน กับฟันเฟืองสตาร์ทเตอร์ซ่ึงเป็นตัวหมุนเพลาข้อเหว่ียง เพ่ือให้ชิ้นส่วนต่างๆ ของเคร่ืองยนต์เปิดการทำงาน ดา้ นหลังของล้อตนุ กำลงั จะถูกเจยี รนยั และขดั ถูจนมผี วิ หนา้ เรียบ ซงึ่ ใช้เปน็ ดา้ นสมั ผัสกับแผน่ คลัตช์ และยังเปน็ ท่ีติดต้งั ชุดเรอื นคลตั ชอ์ กี ด้วย 3.4 ก้านสบู (CONNECTING ROD) ก้านสูบของเครื่องยนต์ ทำหน้าท่ีเปน็ ตวั ต่อลูกสูบเข้ากับเพลาขอ้ เหวี่ยง ซ่ึงมปี ลายด้านหนึ่ง ของก้านสูบ สวมติดอยู่กับลูกสูบด้วยสลักลูกสูบ และปลายอีกด้านหนึ่งสวมติดอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยงด้วยสลักเกลียว ส่วนมากก้านสูบจะมีรูปลักษณะคล้ายตวั ไอ \"I\" ทำดว้ ยเหล็กกลา้ ผสมกบั โลหะอืน่ ๆ มีความคงทนต่อภารกรรม สงู ท่ีรูปลายบนของก้านสูบ จะมีปลอกโลหะอัดแน่น ใส่ไว้สำหรับรองรับสลักลกู สูบ และป้องกันมใิ ห้สลักลูกสูบ เสยี ดสีกันกับรปู ลายบนของกา้ นสูบทำให้สึกหรอ ส่วนปลอกโลหะนถ้ี ้าเกดิ การสึกหรอแล้ว สามารถเปลยี่ นใหม่ ได้ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายนอ้ ย ที่รูปลายล่างของก้านสูบจะผ่าครึ่งสำหรับถอดแยก เพื่อท่ีจะสวมใส่เข้ากับข้อเหวี่ยงได้โดยง่าย และ เม่อื นำมาประกบกันเข้าไวอ้ ย่างเดมิ แลว้ จะถกู ยึดแน่นด้วยสลักเกลยี ว 2 ตัว 3.4.1 รองเพลาก้านสูบ หน้าท่ีหรือรูปร่างลักษณะก็คล้ายๆ กับรองเพลาหลัก ผิดกันแต่ว่าวงเล็กกว่าและผิวหน้าของรอง เพลาก้านสบู ถูกฉาบดว้ ยบรอนซ์และเอยี ดออ่ นกว่า รองเพลาก้านสบู มี 2 แบบ คอื - แบบสำเร็จ จัดทำอย่างประณีตได้มาตรฐาน มีขนาดบอกกำกับไว้ต้ังแต่ 0-30 (แบบของ VP.เป็น แบบทมี่ ีคุณภาพดีมคี วามคงทนต่อการสึกหรอด)ี เวลานำมาใช้ไมต่ อ้ งตกแต่งมาก - แบบกึ่งสำเรจ็ ปกติจะอดั แนน่ ตดิ กับก้านสบู และประกับก้านสบู เวลานำมาใช้จะต้องมีการ ตกแต่งให้กระชับพอดีกับขอ้ เพลา ข้อสังเกต ท่ีรอยต่อประกับของรองเพลาน้ัน จะมีร่องบาก และรอยสันนูน ซ่ึงทั้ง 2 รอยนี้จะต้อง ประกบใหต้ รงกนั พอดี เพื่อป้องกันมใิ หร้ องเพลาก้านสูบเลอ่ื นตวั หมนุ ตามไปกับเพลาข้อเหว่ยี ง 3.4.2 สลักลกู สูบ (PISTION PIN) สลักลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นสลักต่อลูกสูบกับก้านสูบไว้ สลักลูกสูบ ทำด้วยเหล็กผสมโดยขัดผิวให้ เรียบและนำไปชุบให้แข็งคงทนต่อการสึกหรอ สลักลูกสูบต่อเข้ากับลูกสูบและก้านสูบ มีใช้อยู่ด้วยกัน 3 แบบ คอื - แบบตายตัว (FIXED PIN) คือ สลักลูกสูบจะยึดติดกับลูกสูบด้วยควงเกลียวไว้กับรูลูกสูบข้างใด ข้างหน่ึง และกา้ นสูบจะขยบั เขยอ้ี นคลอนตวั ได้บนสลกั ลกู สบู - แบบก่ึงลอยตัว (SEMIFLOATING PIN) คือ สลักลูกสูบยึดติดกับรูปลายบนของก้านสูบด้วยสลัก เกลียว และสลกั ลูกสูบจะขยบั เขย้อื นคลอนตัวไดเ้ ฉพาะในรูปสลักลกู สูบเท่าน้ัน - แบบลอยตัว (FULL FLOATING PIN) คือสลักลูกสูบจะหมุนได้เป็นอิสระท้ังในรูก้านสูบและรูสลัก ลกู สบู และมีแหนบสปรงิ ลอ๊ คบังคบั ปลายสลักลกู สูบไวท้ งั้ 2 ขา้ ง เพือ่ มใิ หส้ ลักเลื่อนตวั ออกจากรูสลักของลูกสบู 3.4.3 ลูกสูบ (PISTON)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook